ปริยัติธรรม
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
๑) ตามเห็นกายในกายมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลก
๒) ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลก
๓) ตามเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลก
๔) ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและ โทมนัสในโลก
คําจํากัดความอีกแบบหนึ่ง ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรม ว่าดังนี้
“สัมมาสติ เป็นไฉน? สติ คือ การคอยระลึกถึงอยู่เนืองๆ การหวนระลึก (ก็ดี) สติ คือ ภาวะ ที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจําไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม (ก็ดี) สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติ ที่เป็นพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ"
สัมมาสติ ตามคําจํากัดความแบบพระสูตรนั้น ก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง หัวข้อทั้ง ๔ ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
๑) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)๒) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)
๓) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)
๔) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม)
ก่อนจะพิจารณาความหมายของสัมมาสติ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นี้ เห็นว่า ควรทําความเข้าใจทั่วๆ ไป เกี่ยวกับเรื่องสติไว้เป็นพื้นฐานก่อน
สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ
สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกํากับอยู่บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็ คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทําให้แจ้งซึ่ง นิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔
การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้ง สมถะและวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌาน อย่างที่จะกล่าวถึงในเรื่องสัมมาสมาธิอันเป็นองค์ มรรคข้อที่ ๘ ก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จําเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนําตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้
วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติสําคัญในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขว อยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรทําความเข้าใจตามสมควร
จากการศึกษาคร่าวๆ ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดี ขึ้น ทั้งในแง่สาระสําคัญ ขอบเขตความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝน ปฏิบัติ โดยสัมพันธ์กับการดําเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้ และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ไม่ได้มุ่งศึกษาเรื่องวิปัสสนาโดยตรง คงมุ่งเพียงให้เข้าใจวิปัสสนา เท่าที่มองเห็นได้ จากสาระสําคัญของสติปัฏฐานเท่านั้น
สติปัฏฐาน ๔ มีใจความโดยสังเขป คือ:๑. กายานุปัสสนา การพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย
๑.๑ อานาปานสติ คือ ไปในที่สงัด นั่งท่าสมาธิ ตั้งสติกําหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ
๑.๒ กําหนดอิริยาบถ คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไรๆ ก็รู้ชัดในอาการที่เป็นอยู่นั้นๆ
๑.๓ สัมปชัญญะ คือ มีสัมปชัญญะในการกระทําทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่น การก้าวเดิน การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การตื่น การหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น
๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตน ตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า ซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่
สะอาดต่างๆ มากมาย มารวมๆ อยู่ด้วยกัน
๑.๕ ธาตุมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ ๔ แต่ละอย่างๆ
๑.๖ นวสีวิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา ๙ ระยะ ตั้งแต่ตายใหม่ๆไปจนถึงกระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตน ว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
๒. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือ เมื่อเกิดความรู้สึกสุข ก็ดี ทุกข์ ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส ก็รู้ชัด ตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
๓. จิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันจิต คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัด ตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
๔. ธัมมานุปัสสนา การตามดูรู้ทันธรรม คือ
๔.๑ นิวรณ์ ๕ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ ๕ แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัด ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
๔.๒ ขันธ์ คือ กําหนดรู้ว่า ขันธ์ ๕ แต่ละอย่าง คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
๔.๓ อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่า สัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร
๔.๔ โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ ๗ แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
๔.๕ อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า
“ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายใน (-ของตนเอง) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอก (=ของคนอื่น) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกอยู่บ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง;
“ก็แล เธอมีสติดํารงต่อหน้าว่า “มีกายอยู่ เพียงแค่เพื่อความรู้ เพียงแค่เพื่อความระลึก
แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลก”
กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆ คน ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจําวัน ก็คือ การรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ สุขสบายบ้าง ทุกข์ระคายเจ็บปวด ไม่สบายบ้าง เฉยๆ บ้าง เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ ถ้าสุขสบายที่สิ่งใด ก็ชอบใจติดใจสิ่งนั้น ถ้าไม่ สบายได้ทุกข์ที่สิ่งใด ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น เมื่อชอบ ก็อยากรับรู้อีก อยากเสพซ้ํา หรืออยากได้ อยากเอา เมื่อไม่ ชอบ ก็เลี่ยงหนี หรืออยากกําจัด อยากทําลาย
กระบวนการดังกล่าวนี้ ดําเนินไปตลอดเวลา มีทั้งอย่างแผ่วๆ ที่ผ่านไปโดยไม่ได้สังเกต และที่แรงเข้ม สังเกตได้เด่นชัด มีผลต่อจิตใจอย่างชัดเจน และสืบเนื่องไปนาน ส่วนใดแรงเข้ม หรือสะดุดชัด ก็มักชักให้มี ความคิดปรุงแต่งยืดเยื้อเยื่นเย้อออกไป ถ้าไม่สิ้นสุดที่ในใจ ก็ผลักดันให้แสดงออกมาเป็นการพูด การกระทํา ต่างๆ ทั้งน้อยและใหญ่
ชีวิตของบุคคล บทบาทของเขาในโลก และการกระทําต่อกันระหว่างมนุษย์ ย่อมสืบเนื่องออกมาจาก กระบวนธรรมน้อยๆ ที่เป็นไปในชีวิตแต่ละขณะๆ นี้เป็นสําคัญ
ในทางปัญญา การปล่อยจิตใจให้เป็นไปตามกระบวนธรรมข้างต้นนั้น คือ เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกสุขสบาย ก็ ชอบใจ ติดใจ เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ก็ขัดใจ ไม่ชอบใจ ข้อนี้จะเป็นเครื่องกีดกั้นปิดบัง ทําให้ไม่รู้ไม่ เข้าใจ ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง หรือตามสภาวะที่แท้ของมัน ทั้งนี้เพราะจิตใจที่เป็นไปเช่นนั้น จะมีสภาพต่อไปนี้
• ข้องอยู่ที่ความชอบใจ หรือความขัดใจ ตกอยู่ในอํานาจของความติดใจ หรือขัดใจนั้น ถูกความชอบ ใจหรือไม่ชอบใจนั้นเคลือบคลุม ทําให้มองเห็นเอนเอียงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ตรงตามที่มันเป็นจริง
• ตกอดีต หรือลอยอนาคต กล่าวคือ เมื่อคนรับรู้แล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตของเขาจะ ข้องหรือขัดอยู่ ณ ส่วนหรือจุดหรือแง่ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ของอารมณ์นั้น และจับเอาภาพของอารมณ์นั้น ณ จุดหรือส่วนหรือแง่ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น เก็บค้างไว้หรือเอาไปทะนุถนอม และคิดปรุงแต่งหรือฝันฟ้ามต่อไป
การข้องอยู่ที่ส่วนใดก็ตาม ซึ่งชอบใจหรือไม่ชอบใจ และการจับอยู่กับภาพของสิ่งนั้นซึ่งปรากฏอยู่ในใจ ของตน คือการเลื่อนไหลลงสู่อดีต การคิดปรุงแต่งต่อไปเกี่ยวกับสิ่งนั้น คือการเลื่อนลอยไปในอนาคต
ความรู้ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็คือภาพของสิ่งนั้น ณ จุดหรือตอนที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ หรือซึ่งเขาได้คิดปรุงแต่งต่อไปแล้ว ไม่ใช่สิ่งนั้นตามที่มันเป็นของมันเองในขณะนั้นๆ
• ตกอยู่ในอํานาจของความคิดปรุงแต่ง จึงแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ หรือประสบการณ์นั้นๆ ไป ตามแนวทางของภูมิหลัง หรือความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้ เช่น ค่านิยม ทัศนคติ หรือทิฏฐิที่ตนยึดถือนิยมเชิดชู เรียกว่าจิตตกอยู่ในภาวะถูกปรุงแต่ง ไม่อาจมองอย่างเป็นกลางให้เห็นประสบการณ์ล้วนๆ ตามที่มันเป็น
• นอกจากถูกปรุงแต่งแล้ว ก็จะนําเอาภาพปรุงแต่งของประสบการณ์ใหม่นั้น เข้าไปร่วมในการปรุงแต่ง ต่อไปอีก เป็นการเสริมซ้ําการสั่งสมนิสัยความเคยชินของจิตให้แน่นหนายิ่งขึ้น
ความเป็นไปเช่นนี้ มิใช่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหยาบๆ ตื้นๆ ในการดําเนินชีวิตและทํากิจการทั่วไปเท่านั้น แต่ท่านมุ่งเน้นกระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทําให้ปุถุชนมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ เป็นชิ้นเป็น อัน มีสวยงามน่าเกลียด ติดในสมมติต่างๆ ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดําเนินอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ดี กระบวนธรรมเช่นนี้ เป็นความเคยชิน หรือนิสัยของจิต ที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมาคนละ นานๆ เกือบจะว่าตั้งแต่เกิดทีเดียว ๒๐ – ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ – ๕๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคยหัดตัดวงจรลบ กระบวนกันมาเลย การจัดการแก้ไข จึงมิใช่จะทําได้ง่ายนัก ในทันทีที่รับรู้อารมณ์ หรือมีประสบการณ์ ยังไม่ทัน ตั้งตัวที่จะยั้งกระบวน จิตก็แล่นไปตามความเคยชินของมันเสียก่อน
ดังนั้น การแก้ไขในเรื่องนี้ จึงมิใช่จะเพียงตัดวงจรล้างกระบวนธรรมนั้นลงเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไขความ เคยชิน หรือนิสัยที่ไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีกด้วย
องค์ธรรมสําคัญ ที่จะใช้เป็นตัวเบิกทาง และเป็นหลักรวมพลทั้งสองกรณีนั้น ก็คือ สติ การปฏิบัติตาม หลักสติปัฏฐาน ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ กล่าวคือ เมื่อมีสติตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มัน เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ ตลอดเวลา ย่อมสามารถตัดวงจร ทําลายกระบวนธรรมฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย ค่อยๆ แก้ไข ความเคยชินเก่าๆ พร้อมกับสร้างแนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย
จิตที่มีสติช่วยกํากับให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบัน จะมีสภาพตรงข้ามกับจิตที่เป็นไปตามกระบวนธรรม ข้างต้น คือ
• ความชอบใจ หรือขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะการที่จะชอบใจหรือขัดใจ จิตจะต้องข้องขัดอยู่ ณ จุดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง และชะงักค้างอยู่ คือตกลงไปในอดีต
• ไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต ความชอบใจ ไม่ชอบใจ กับการตกอดีต เป็น อาการที่เป็นไปด้วยกัน เมื่อไม่ติด ไม่ข้อง ไม่ค้างอยู่ ตามดูทันอยู่กับสภาวะที่กําลังเป็นไปอยู่ การตกอดีตลอย อนาคต ก็ไม่มี
• ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งเนื่องด้วยภูมิหลังที่ได้สั่งสมไว้ ชักจูงให้แปลประสบการณ์หรือสิ่งที่รับรู้ให้ เอนเอียงบิดเบือน หรือย้อมสี ไปตามอํานาจของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ
• ไม่ปรุงแต่งเสริมซ้ํา หรือเพิ่มกําลังแก่ความเคยชินผิดๆ ที่จิตได้สั่งสมเรื่อยมา
• เมื่อตามรู้ดูทันทุกสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทุกขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็นต้น ของ ตนเอง ที่ไม่พึงปรารถนา หรือที่ตนเองไม่ยอมรับ ปรากฏออกมาด้วย ทําให้ได้รับรู้สู้หน้าเผชิญสภาพที่เป็นจริง ของตนเองตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกลวงตนเอง และทําให้สามารถชําระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาใน ตนเองได้ด้วย
นอกจากนั้น ในด้านคุณภาพจิต ก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส โปร่ง เบิกบาน เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบจํากัดให้คับ แคบ และไม่ถูกเคลือบคลุมให้หมองมัว
สิ่งทั้งหลายตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน พูดเป็นภาพพจน์ว่า ความจริง เปิดเผยตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป หรือไม่ก็ถึงกับ หลอกลวงตัวของมนุษย์เอง ตัวการที่ปิดบัง บิดเบือน หรือหลอกลวง ก็คือ การตกลงไปในกระแสของกระบวน ธรรมดังได้กล่าวข้างต้น เครื่องปิดบัง บิดเบือน หรือหลอก ก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชินคอยชักลากให้เขวไปเสีย อีก โอกาสที่จะรู้ความจริงก็แทบไม่มี
ในเมื่อความเคยชินหรือติดนิสัยนี้ มนุษย์ได้สั่งสมต่อเนื่องกันมานานนักหนา การปฏิบัติเพื่อแก้ไขและ สร้างนิสัยใหม่ ก็ควรจะต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน
เมื่อใด สติตามทัน ทํางานสม่ําเสมอต่อเนื่องอย่างชํานาญ คนไม่ปิดบังตัวเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง และพ้นจากอํานาจความเคยชิน หรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของ มัน และรู้เข้าใจความจริง
ถึงตอนนี้ ถ้าอินทรีย์อื่นๆ โดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมงาน โดยอาศัยสติคอย เปิดทางให้ทํางานได้เต็มที่ ทําให้เกิดญาณทัศนะ ความหยั่งรู้หยั่งเห็นตามเป็นจริง ที่เป็นจุดหมายของวิปัสสนา
แต่การที่ปัญญินทรีย์เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลําดับ รวมทั้งการเล่าเรียนสดับฟังในเบื้องต้นด้วย การเล่าเรียนสดับฟัง และการคิดเหตุผล เป็นต้น จึงมีส่วนเกื้อกูลแก่ การรู้แจ้งสัจธรรมได้
สติปัฏฐาน เป็นอาหารของโพชฌงค์ความจริงนั้น สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญา หรือการใช้ปัญญาต่างหาก เป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้ โอกาส และจะทํางานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกํากับหนุนอยู่ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว ข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสําคัญมากในวิปัสสนา
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติ ก็เพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง ใน ภาษาของการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติ ก็มักเล็งและรวมถึงสัมปชัญญะคือปัญญา ที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมี กําลังกล้าแข็ง หรือชํานาญคล่องแคล่วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทํางาน
ปัญญาที่ทํางานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆ ไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่าสัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญายังดู คล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็น ตัวหลักหรือตัวเด่น แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือน ตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทํางานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัย ในโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น
ถึงตรงนี้ เห็นควรทบทวนหลักซึ่งได้แสดงไว้ตั้งแต่เริ่มเรื่องมัชฌิมาปฏิปทา ที่ว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็น อาหารหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ และโพชฌงค์ ๗ นั้น ก็หล่อเลี้ยงวิชชาและวิมุตติ โดยยกพุทธพจน์มา ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ วิชชาและวิมุตติ พึงกล่าวว่า คือ โพชฌงค์ ๗, แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ พึงกล่าวว่า คือ สติปัฏฐาน ๔,
“สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์, โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์; วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้
ตามพุทธพจน์นี้ ชัดว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ส่งผลแก่วิชชาวิมุตติ เท่ากับเป็นตัวที่ให้สําเร็จมรรคผล ส่วนสติปัฏฐานก็ช่วยโดยหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ นั้น
พุทธพจน์นี้ช่วยให้มองวิปัสสนาได้ชัดขึ้น ในสติปัฏฐานนั้น สติทํางานเป็นพื้นยืนโรงอยู่ ปัญญาในชื่อว่า สัมปชัญญะก็ได้โอกาสทํางานไปด้วย โดยรู้เข้าใจทุกอย่างที่สติจับดึงตรึงไว้หรือเข้าไปถึง สติจับอันใดให้ สัมปชัญญะก็รู้เข้าใจอันนั้น เหมือนว่ามือจับอะไรเสนอมา ตาก็ได้ดูเห็นสิ่งนั้น
ส่วนโพชฌงค์ ก็คือ บนพื้นของสติปัฏฐานนี่แหละ คราวนี้สติจับเรื่องส่งให้ปัญญา ที่ชื่อว่าธรรมวิจัย แล้ว คราวนี้ปัญญาเป็นเจ้าบทบาทรับเรื่องไปวิจัย เหมือนตาได้ดูต่อเนื่องไปทั่วตลอด ตอนนี้ก็เป็นกระบวนธรรมของ ปัญญา ที่เรียกว่าโพชฌงค์ ซึ่งแปลว่า “องค์แห่งการตรัสรู้”
สัมปชัญญะ ก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือปัญญาในชื่ออื่นๆ ก็ดี ที่ทํางานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่ง ทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละคือ วิปัสสนา
สติทํากิจสําคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา หากพูดเปรียบเทียบ ระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับ ในวิปัสสนา อาจช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมานั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิท อยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียว ต่อเนื่องไปสม่ําเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงแค่นั้น สมถะก็สําเร็จ
ส่วนในวิปัสสนา สติกําหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วาง อารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัย โดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทํางาน
หากจะอุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆ ก็ไป ไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศ ก็หมอบนิ่งอยู่ที่หลักนั้นเอง จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ อารมณ์เหมือนหลัก สติเหมือนเชือก
ส่วนในกรณีของวิปัสสนา เปรียบเหมือนเอาเชือกหรือเครื่องยึด ผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุบางอย่าง ไว้ กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดู หรือทํากิจอื่น เช่น ผ่าตัด เป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน เชือกหรือเครื่องยึดคือ สติ คน สัตว์หรือวัตถุที่เกี่ยวข้องคือ อารมณ์ แท่นหรือเตียงคือ จิตที่เป็นสมาธิ การตรวจหรือผ่าตัดเป็นต้นคือ ปัญญา
ที่กล่าวมานั้น เป็นการพูดถึงหลักทั่วไป ยังมีข้อสังเกตปลีกย่อยที่ควรกล่าวถึงอีกบ้าง อย่างหนึ่งคือ ใน สมถะ ความมุ่งหมายอยู่ที่ทําจิตให้สงบ ดังนั้น เมื่อให้สติกําหนดอารมณ์ใดแล้ว สติก็ยึดตรึงดึงจิตกุมไว้กับ อารมณ์นั้น ที่ส่วนนั้นอย่างเดียว ให้จิตจดจ่อแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นเท่านั้น ไม่ให้คลาดไปเลย จนใน ที่สุด จิตน้อมวิ่งแน่วแน่อยู่กับนิมิต หรือมโนภาพของสิ่งที่กําหนด ซึ่งเป็นเพียงสัญญาที่อยู่ในใจของผู้กําหนดเอง
ส่วนในวิปัสสนา ความมุ่งหมายอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจสภาวธรรม ดังนั้น สติจึงตามกําหนดตามจับตาม ถึงอารมณ์เฉพาะตัวจริงของมันตามสภาวะเท่านั้น และเพื่อให้ปัญญารู้เท่าทันครบถ้วนชัดเจนเกี่ยวกับสภาวะของ มัน สติจึงตามกําหนดกํากับจับอารมณ์นั้นๆ ให้ทันความเป็นไปของมัน เพื่อปัญญาจะได้ดูรู้อารมณ์นั้นโดยตลอด เช่น ดูตั้งแต่มันเกิดขึ้น คลี่คลายตัว จนกระทั่งดับสลายไป
นอกจากนั้นจะต้องให้ปัญญาดูรู้อารมณ์ทุกอย่างที่เข้ามา หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญญาจะต้องรู้เข้าใจ เพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง สติจึงเปลี่ยนอารมณ์ที่กําหนดหรือที่จับให้ดูไปได้เรื่อยๆ
อีกทั้งเพื่อให้ปัญญาดูรู้เท่าทันตรงตามที่สิ่งนั้นเป็นอยู่เป็นไปแท้ๆ สติจึงต้องตามจับให้ทันความเป็นไปใน แต่ละขณะนั้นๆ ทุกขณะ ไม่หยุดติดค้างอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอารมณ์ใดๆ
ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น ในสมถะ สติกําหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็น รูปแบบจําเพาะซ้ําไปซ้ํามาภายในขอบเขตจํากัด ส่วนในวิปัสสนา สติตามกําหนดอารมณ์ที่กําลังเคลื่อนไหวหรือ เป็นไปในสภาพใดๆ ก็ได้ ไม่จํากัดขอบเขต
ในสมถะ นิยมให้เลือกกําหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้ จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จํากัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและ อะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือ ในนามและรูป)
ส่วนประกอบสําคัญที่พึงสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ภายในหลักทั่วไปแห่งการปฏิบัตินั้น ซึ่งช่วยให้เห็นลักษณะ พิเศษของวิปัสสนา ที่แตกต่างจากสมถะชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือ โยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการเป็นองค์ธรรมที่จะช่วยให้เกิดปัญญา จึงมีความสําคัญมากสําหรับวิปัสสนา ส่วนในฝ่าย สมถะ โยนิโสมนสิการแม้จะช่วยเกื้อกูลได้ในหลายกรณี แต่มีความจําเป็นน้อยลง บางครั้งอาจไม่ต้องใช้เลย หรือ เพียงมนสิการเฉยๆ ก็เพียงพอ
ขยายความว่า ในการเจริญสมถะ สาระสําคัญมีเพียงให้ใช้สติกํากับจิตไว้กับอารมณ์ หรือคอยนึกถึง อารมณ์นั้นไว้ และเพ่งความสนใจไปที่อารมณ์ ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นจนแน่วแน่
ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผลเกิดขึ้นตามขั้นตอน ก็ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการเลย แต่ในบางกรณีที่จิตไม่ยอม สนใจอารมณ์นั้น ดึงไม่อยู่ คอยจะฟังไป หรือในกรรมฐานบางอย่างที่ต้องใช้ความคิดพิจารณาบ้าง เช่น การเจริญ เมตตา เป็นต้น อาจต้องใช้อุบายช่วยนําจิตเข้าสู่เป้าหมาย ในกรณีเช่นนั้น จึงอาจต้องใช้โยนิโสมนสิการช่วย คือ มนสิการโดยอุบาย หรือทําในใจโดยแยบคาย หรือรู้จักเดินความคิด นําจิตไปให้ถูกทางสู่เป้าหมาย เช่น รู้จักคิด ด้วยอุบายวิธีที่จะทําให้โทสะระงับ และเกิดเมตตาขึ้นมาแทน เป็นต้น
แต่จะอย่างไรก็ตาม ในฝ่ายสมถะนี้ โยนิโสมนสิการที่อาจต้องใช้ ก็เฉพาะประเภทปลุกเร้ากุศลธรรม เท่านั้น ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการประเภทปลุกความรู้แจ้งสภาวะ
ส่วนในฝ่ายวิปัสสนา โยนิโสมนสิการเป็นขั้นตอนสําคัญทีเดียว ที่จะให้เกิดปัญญา จึงเป็นองค์ธรรมที่ จําเป็น โยนิโสมนสิการอยู่ต่อเนื่องกับปัญญา เป็นตัวการทําทางให้ปัญญาเดิน หรือเปิดขยายช่องให้ปัญญา เจริญงอกงาม มีลักษณะและการทํางานใกล้เคียงกับปัญญามาก จนมักพูดคลุมกันไป คือ พูดถึงอย่างหนึ่ง ก็ หมายถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาแยกไม่ค่อยออกว่าอะไรเป็นอย่างไหน