ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒ กัมมจตุกกะ และมรณุปปัตติจตุกกะ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
อธิบายขยายความกัมมจตุกกะ
คําว่า “กรรม” หมายความว่าการกระทําที่เกี่ยวด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งทางดี และทางไม่ดี ชื่อว่ากรรม หรือธรรมชาติที่ให้สําเร็จการกระทํานั้นๆ ชื่อว่ากรรม ดังมี วจนัตถะว่า “กรณํ กมุมํ” หรือ “กโรนุติ เอเตนาติ กมุมํ” การกระทําชื่อว่ากรรมหรือสัตว์ทั้งหลายย่อมกระทําโดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สําเร็จการ กระทําเหล่านั้น ชื่อว่ากรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต และโลกิยกุศลจิต
พระอนุรุทธาจารย์แสดงกัมมจตุกกะเป็น ๔ จตุกกะ ดังนี้คือ
๑. กิจจจตุกกะ ว่าโดยกิจมี ๔
๒. ปากทานปริยายจตุกกะ ว่าโดยลําดับแห่งการให้ผลมี ๔
๓. ปากกาลจตุกกะ ว่าโดยเวลาทีให้ผลมี ๔
๔. ปากัฏฐานจตุกกะ ว่าโดยฐานะที่ให้ผลมี ๔
ในจตุกกะทั้ง ๔ เหล่านี้ ปากัฏฐานจตุกกะอย่างเดียวที่แสดงตามอภิธรรมนัย คือเป็นนัยที่กล่าวได้แน่นอน ส่วนจตุกกะทั้ง ๓ ที่เหลือแสดงตามสุตตันตนัย คือเป็นนัยที่กล่าวไม่ได้แน่นอน เพียงแต่เป็นไปโดยส่วนมากเท่านั้น
๑. กิจจจตุกกะ
๑. ชนกกรรม
ชนกกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “วิปากกฺขนฺธ กมุมชรูปาน ชเนตติ ชนกํ” กรรมใดย่อมทําให้วิบากนามขันธ์และกัมมขรูปเกิดขึ้น ฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่าชนกกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ โลกิยกุศลกรรม ๑๗
ชนกกรรมนี้เป็นกรรมที่ทําให้วิบากและกัมมชรูป พร้อมทั้งกัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดขึ้นทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล หมายความว่าเมื่อสัตว์ทั้งหลายตายลงแล้วไปเกิดเป็นสัตว์ ดิรัจฉาน เป็นมนุษย์ เทวดา เป็นพรหม เหล่านี้ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจของชนกกรรม ที่ทําให้วิบากและกัมมชรูปเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วก็ต้องมีอวัยวะใหญ่ น้อยเกิดขึ้นตามสมควรแก่สัตว์นั้นๆ พร้อมทั้งมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การรักษาภพ (ภวังค์) เกิดขึ้น เหล่านี้ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจของชนกกรรมที่ทําให้วิบาก, กัมมชรูป และกัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดขึ้นในปวัตติกาล
ชนกกรรมที่สามารถทําให้วิบาก และกัมมชรูปเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล กล่าวคือให้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เป็นต้นได้นั้น ต้องเป็นกรรมชนิดที่ครบกรรมบถเป็นส่วนมากสําหรับชนกกรรมที่ทําให้วิบาก กัมมชรูป และกัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดขึ้นในปวัตติกาล กล่าวคือให้มีอวัยวะใหญ่น้อย พร้อมทั้งการเห็น การได้ยิน เป็นต้น (เว้นภวังคจิต) นั้น เป็นกรรมชนิดที่ครบกรรมบถก็ตาม ไม่ครบก็ตาม และกุศลกรรม อกุศลกรรมที่เกิดขึ้น ในปัญจทวารวิถี หรือที่เกิดขึ้นในเวลาฝันก็ตาม ย่อมมีอํานาจให้วิบาก, กัมมชรูป และ กัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดได้ทั้งสิ้น
วิมานอันเป็นที่อยู่ของพวกเทวดา พรหม หรือไฟ และเครื่องจองจําทรมานของพวก สัตว์นรกเหล่านี้ก็จัดเป็นกัมมปัจจยอุตุชรูปที่เกิดจากชนกกรรมด้วยเหมือนกัน
๒. อุปัตถัมภกกรรม
อุปัตถัมภกกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “กมุมนตร์ วา กมุมนิพฺพตฺตขนธ สนฺตานํ วา อุปัตถมเกตติ อุปถัมภก” กรรมใดย่อมอุปถัมภ์ซึ่งกรรมอื่นๆ และการสืบต่อแห่งขันธ์ที่เกิดขึ้นจากกรรมอื่นๆ ฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่าอุปัตถัมภกกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘
อุปัตถัมภกกรรมนี้ เป็นกรรมที่ช่วยหนุนชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง ช่วยหนุนชนกกรรมที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลนั้นบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง และช่วยหนุนรูปนามที่เป็นวิบากของชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้นานประการหนึ่ง
ก. อุปัตถัมภกกรรม ช่วยหนุนชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสส่งผลนั้น ได้แก่ กุศล อกุศล เหล่านี้แหละ เป็นอุปัตถัมภกกรรมช่วยหนุนชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาส ให้ผลได้มีโอกาสส่งผลชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลนั้นมี ๒ อย่างคือ ชนกกรรมใน อดีตภพอย่างหนึ่ง และชนกกรรมในปัจจุบันภพอย่างหนึ่ง ฉะนั้น การช่วยหนุนของอุปัตถัมภกกรรมแก่ชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผลให้ได้มีโอกาสส่งผลนั้นจําแนกออกเป็น ๘ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนแก่กุศลชนกกรรมในอดีตภพให้ มีโอกาสส่งผล
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้ มีโอกาสส่งผล
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้ มีโอกาสส่งผล
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ให้มีโอกาสส่งผล
๖. กุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผล
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้มีโอกาสส่งผล
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผล
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล เช่น
นาย ก. เป็นพุทธศาสนิกชน แต่ในปัจจุบันภพ นาย ก. ทําอกุศลเป็นส่วนมากด้วย เหตุนี้ เมื่อนาย ก. มีอาการป่วยลงใกล้จะตาย แต่ยังมีความรู้สึกตัวดีอยู่ นิมิตที่ไม่ดีปรากฏเกิดขึ้นกับนาย ก. ทําให้มีกิริยาอาการผิดปกติไป เมื่อผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเห็นดังนั้นก็รู้ได้ว่า นาย ก. นี้มีนิมิตไม่ดีเกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้น จึงมีจิตใจไม่ผ่องใส ถ้าแตกดับลงในเวลานี้ก็จะไปสู่ทุคติอย่างแน่นอน กุศลอปราปริยเวทนียกรรมของนาย ก. ก็ไม่อาจจะช่วยให้นาย ก. พ้นจากทุคติได้ เพราะจิตใจของนาย ก. ไม่ผ่องใสนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ ผู้ใกล้ชิดนั้นจึงหาทางที่จะแก้ไขอารมณ์ของนาย ก. ที่ไม่ดีอยู่นั้นให้เปลี่ยนเป็นผ่องใสขึ้นโดยนิมนต์พระมาสวดมนต์และแสดงธรรมเทศนาให้ฟัง นําเอาพระพุทธรูปมาตั้งบูชาไว้ใกล้ๆ นาย ก. เพื่อ ให้นาย ก. ได้มีจิตใจน้อมนมัสการต่อพระพุทธรูปนั้น และพยายามหาหนังสือธรรมบทมาอ่านให้ฟัง เมื่อได้จัดการแก้ไขอารมณ์ให้แก่นาย ก. ดังกล่าวนี้แล้วจิตใจของนาย ก. เป็นผ่องใสขึ้น นิมิตที่ปรากฏไม่ดีนั้นก็หายไป นิมิตที่ดีก็ปรากฏขึ้นแทน ฉะนั้นเมื่อนาย ก. สิ้นชีวิตลงแล้ว นาย ก. ก็ได้มีโอกาสไปบังเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดานี้ก็เป็น เพราะกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้มีโอกาสส่งผล ตรงกับข้อความที่แสดงไว้ในอิติวุตตกะว่า
อิมสฺมิ จายํ สมเย กาลกิริยาถ ปุคฺคโล
สกคมหิ อุปปชเชยย จิตตญหิส ปสาทิต ฯ
อิมสุมิ จาย สมเย กาลี กิริยาถ ปุคฺคโล
นิรเย อุปปชฺเชยย จิตฺตญฺหัส ปทูต ฯ
บุคคลนั้นถ้าตายลงในเวลานั้น จะต้องไปเกิดในเทวภูมิแน่นอน เพราะจิตใจของผู้นั้นมีความผ่องใส
บุคคลนั้นถ้าตายลงในเวลานั้น จะต้องไปเกิดในนิรยภูมิแน่นอน เพราะจิตใจของผู้นั้นมีความเศร้าหมอง
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ข. เป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาดี ทําบุญ ทําทานรักษาศีลอยู่เสมอแต่ไม่เคยอบรมจิตใจในการปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา และไม่เคย ศึกษาพระอภิธรรม ฉะนั้นเมื่อนาย ข. ป่วยไข้ใกล้จะตายมีความกลัวและมีความวิตกกังวลห่วงใยในทรัพย์สมบัติลูกหลาน เมื่อเป็นเช่นนี้จิตใจของนาย ข. ก็มีความเศร้าหมองนิมิต ที่ไม่ดีก็ปรากฏขึ้น ทําให้กิริยาอาการของนาย ข. ผิดปกติไป ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่มีความรู้ในธรรมะดีพอ เมื่อสังเกตเห็นดังนั้นก็รู้ได้ว่านาย ข. มีนิมิตที่ไม่ดีปรากฏขึ้นแล้ว และถ้านาย ข. ตายลงในเวลานี้ก็จะไปสู่ทุคติภูมิแน่นอน กุศลต่างๆ ที่นาย ข. ได้ทําไว้ในภพนี้นั้น จะไม่สามารถช่วยนาย ข. ได้เลย ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดนั้นจึงพยายามหาทางที่จะแก้ไขให้นาย ข. ก็มีจิตใจผ่องใสขึ้น นิมิตไม่ดีนั้นก็หายไป นิมิตที่ดีก็ปรากฏขึ้นแทน ฉะนั้นเมื่อนาย ข. สิ้นชีวิตลง ก็ได้มีโอกาสไปเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์ หรือ เทวดา นี้เป็นเพราะกุศลที่เกิด ขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ค. เป็นผู้มีใจบุญได้บําเพ็ญทานรักษาศีลอยู่เสมอในปัจจุบันภพนี้ แต่ไม่เคยอบรมจิตใจในการปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนาและไม่เคยศึกษาพระอภิธรรม ต่อมาเมื่อนาย ค. ใกล้จะตาย เกิดความกลัวตายและวิตกกังวลในทรัพย์สมบัติและลูกหลาน ทําให้จิตใจของนาย ค. มีความเศร้าหมองเป็นอกุศลเกิดขึ้นในเวลานั้นนิมิตที่ไม่ดีก็ปรากฏแก่นาย ค. ทําให้นาย ค. มีหน้าตากิริยาอาการผิดปกติ แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดนั้นไม่มีความรู้ในเรื่องธรรมะ ฉะนั้น จึงไม่มีการแก้ไขแต่อย่างใด เมื่อนาย ค. สิ้นชีวิตลงก็ต้องไปเกิดในทุคติภูมิๆ ใดภูมิหนึ่ง กุศลที่นาย ค. ทําไว้ในชาตินี้ ไม่สามารถช่วยส่งผลให้นาย ค. ไปสู่สุคติได้เลย นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลที่นาย ค. เคยได้ทําไว้ในชาติก่อนๆ ให้มีโอกาสได้ส่งผลประการหนึ่ง
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ง. เมื่อยังอยู่ในเยาว์วัยมักทําอกุศลเป็น ส่วนมาก เช่น มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพสุรายาเมา เป็นต้น ครั้นเมื่อมีอายุมากเข้าแลเห็นโทษในการทําชั่วเหล่านั้น ก็มีความสังเวชสลดใจเกิดขึ้น เลยสละจากเพศฆราวาสเข้า บวชในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระภิกษุ ง. นี้มีอาการป่วยหนัก และหวนคิดไปถึงเมื่อครั้งที่ตนยังหนุ่มๆ อยู่นั้น ได้เคยทําอกุศลไว้มาก ก็ทําให้เกิดความไม่สบายใจกลัวจะไปตก อบายภูมิ เมื่อเป็นเช่นนี้จิตใจของพระภิกษุ ง. นี้ก็มีความเศร้าหมองเดือดร้อนอยู่ จนกระทั่งมรณภาพ พระภิกษุ ง. นี้ก็ไปบังเกิดในนิรยภูมิทันที นี้ก็เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้จะตาย ช่วยหนุนอกุศลที่ตนเคยทําไว้ในภพนี้ได้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๕. กุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภาพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย จ. เป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เชื่อบาป ไม่เชื่อบุญ มีความเห็นว่าการฆ่าสัตว์ไม่บาป, ฆ่าคนจึงจะบาป การทําบุญตักบาตร ไหว้พระสวดมนต์ เหล่านี้ก็ไม่เป็นบุญ ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่พระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้น ทั้งสิ้น ต่อมานาย จ. มาเป็นคนรับใช้อยู่ในบ้านของผู้มีใจบุญ ซึ่งทําบุญให้ทานอยู่เสมอ เช่น มีการใส่บาตรเป็นประจําทุกๆ วัน ไปฟังเทศน์รับอุโบสถทุกๆ วันพระ เป็นต้น และ นาย จ. จะต้องมีหน้าที่หุงข้าวจัดสิ่งของใส่บาตรให้แก่นายทุกวัน ถึงวันอุโบสถก็ต้องติดตามนายของตนไปวัดด้วยเสมอ การกระทําเช่นนี้ทําให้จิตใจของนาย จ. ละจากความเห็นผิดไปได้ และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ครั้นเมื่อนาย จ. เจ็บไข้ลงใกล้จะตาย จิตใจของนาย จ. นี้ไม่มีความเศร้าหมองอย่างหนึ่งอย่างใดเพราะนาย จ. ตัวคนเดียว ทรัพย์สมบัติก็ไม่มี ฉะนั้นจึงไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นห่วงกังวลด้วยเหตุนี้ โลภะ โทสะ โมหะ ชนิดหยาบที่กําลังแรงจึงไม่เกิดกับนาย จ. เมื่อนาย จ. ตายลงก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง แต่กุศลมีการหุงข้าวใส่บาตร ฟังเทศน์เป็นต้น ที่นาย จ.กระทําเป็นปกติอยู่เสมอนั้น แม้ว่าจะไม่มีกําลังพอที่จะส่งผลให้แก่นาย จ. ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ชั้นสูงก็ตาม แต่ก็เป็นกําลังช่วยอุดหนุนแก่กุศลอปราปริยเวทนียกรรมที่นาย จ. เคยกระทําไว้ในอดีตภพ ให้มีโอกาสส่งผลให้นาย จ. ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง นี้ก็เป็นเพราะกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้ มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๖. กุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ฉ. เคยอุปสมบท เคยศึกษาในเรื่องธรรมะ และเคยปฏิบัติสมถะวิปัสสนามา ต่อมานาย ฉ. ลาสิกขาบทออกมาแล้วก็ต้อง ประกอบการอาชีพซึ่งอาชีพของนาย ฉ. นี้เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับอกุศล คือทําการประมง แต่นาย ฉ. ก็ยังมีการทําบุญใส่บาตรทุกๆ วันพระและตั้งใจทําอยู่เสมอมิได้ขาด แต่กุศลอื่นๆ นาย ฉ. ไม่มีโอกาสได้ทํา เมื่อนาย ฉ. พิจารณาถึงความเป็นไปของตัวเองแล้ว ก็รู้สึกว่าอาชีพที่ตนกระทําอยู่นี้เป็นอกุศล จะเปลี่ยนอาชีพใหม่ก็ไม่ได้ เพราะตนไม่มีความรู้อย่างอื่น ฉะนั้น ตนจําเป็นจะต้องหากุศลที่พอจะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้บ้าง นาย ฉ. เมื่อคิดได้ดังนี้ แล้วก็ตั้งใจใส่บาตรทุกๆวันพระมิได้ขาดพร้อมทั้งมีความปิติยินดีในการกระทําของตนด้วย เมื่อถึงเวลาที่นาย ฉ. ใกล้จะตายจิตใจของนาย ฉ. ก็เป็นปกติมิได้เกิดความเศร้าหมองใด ฉะนั้นเมื่อนาย ฉ. ตายลง นาย ฉ. ก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง ด้วยอํานาจแห่งศีลกุศลหรือภาวนากุศลที่นาย ฉ. เคยได้ทํามาในภพนี้
ศีลกุศลหรือภาวนากุศลของนาย ฉ. นี้ เมื่อนึกถึงอาชีพที่เป็นอกุศลแล้วก็รู้ได้ว่าจะไม่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว แต่ที่กลับมาส่งผลให้นาย ฉ. ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง กว่านี้ก็เพราะอาศัยทานกุศลที่นาย ฉ. กระทําอยู่ทุกๆ วันพระนั้นเอง เป็นกุศลที่ช่วยหนุน ศีลกุศล และภาวนากุศลในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ช. ตั้งแต่เล็กจนกระทั่ง เติบโตเป็นหนุ่ม เป็นผู้ที่มีใจเป็นกุศลช่วยบิดามารดาใส่บาตรทุกวันไปฟังธรรมกับบิดา มารดาทุกๆ วันพระ และมีการบริจาคทานอยู่เสมอ เป็นที่หวังได้ว่าถ้านาย ช. ตายลงจะ ไม่ต้องไปตกนรกแน่นอน ครั้นต่อมาเมื่อนาย ช. มีครอบครัวขึ้นแล้ว การทํากุศลของนาย ช. ก็ห่างลงเป็นสําดับไม่มีโอกาสได้ทําเหมือนอย่างก่อน เพราะต้องประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว จิตใจหมกมุ่นอยู่แต่ในการหาเงินหาทอง และหลงเพลิดเพลินอยู่ในความสนุกสนานต่างๆ แต่อกุศลที่เกี่ยวกับทุจริตนั้นนาย ช. ก็มิได้กระทําเป็นดังนี้เรื่อยๆ มาจน กระทั่งนาย ช. สิ้นชีวิต ด้วยเหตุนี้เมื่อนาย ช. สิ้นชีวิตลงจึงได้ไปบังเกิดในนิรยภูมิ เพราะอาศัยอกุศลจิตที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในตอนหลังนี้ ช่วยหนุนอกุศลที่นาย ช. ได้เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ช. ตั้งแต่เล็กจนกระทั่งเติบโตเป็นหนุ่มไม่เคยทํากุศลเลย มีแต่คบเพื่อนพากันเที่ยวเตร่ บางครั้งก็เสพสุราบ้าง ลักขโมยบ้าง ประพฤติเช่นนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งมีอายุครบบวช ผู้ปกครองจึงบังคับให้นาย ช. บวชเพื่อจะได้ละนิสัยเก่าที่ไม่ดีนั้นเสีย นาย ช. ก็ยอมบวช และในระหว่างที่บวชนั้น พระภิกษุ ช. ได้ปฏิบัติกิจของสมณะเป็นอย่างดี และตั้งอกตั้งใจเล่าเรียนศึกษา ปริยัติธรรมมิได้ขาด เมื่อบวชมานานประมาณสัก ๓ พรรษาล่วงแล้วศรัทธาก็ถอยลง การปฏิบัติกิจของสมณะ ก็หย่อนลง ไม่ตั้งใจเล่าเรียนเหมือนแต่ก่อนชอบออกจากวัดไปเที่ยวคุยกับคนโน้นคนนี้ใน เรื่องไร้สาระต่างๆ ชอบฟังวิทยุบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์และ หนังสือทางโลกบ้าง หาเวลา ไปเรียนวิชาทางโลก เพื่อเตรียมตัวสึกบ้างมีจิตใจฟุ้งซ่านไม่สงบเหมือนแต่ก่อน พระภิกษุ ช. มีจิตใจหมกมุ่นไปในทางโลกอยู่เช่นนี้เรื่อยๆ มา ตลอดเวลาประมาณ ๒ - ๓ ปี ก็เผอิญ มาถึงแก่มรณภาพยังไม่ทันได้สึก เมื่อพระภิกษุ ช. มรณภาพลงแล้วก็ได้ไปบังเกิดในดิรัจฉานภูมิ ด้วยอํานาจแห่งอกุศลที่เกิดขึ้นในตอนหลังๆ นี้ช่วยหนุนอกุศลที่พระภิกษุ ช. ได้เคย กระทํามาก่อนบวชให้สามารถส่งผลได้นั้นเอง
ข. อุปัตถัมภกกรรม ช่วยหนุนชนกกรรมที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น มี ๑๐ ประเภท คือ
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๕. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๖. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๙. กุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมี โอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๑๐. อกุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ก. เป็นคนมีนิสัยเฉยๆ มีจิตใจเยือกเย็น กลัวต่อบาป ไม่ทําทุจริต การทํากุศลนั้นทําเพียงเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ทําเป็น ล่ำเป็นสัน เพราะมีฐานะไม่ค่อยดี การอบรมจิตใจในเรื่องธรรมะก็ไม่ใคร่มีโอกาส เพราะมัวแต่ประกอบอาชีพ แต่เมื่อเวลาที่นาย ก. ใกล้จะตายนั้นมีจิตใจผ่องใสเป็นกุศลเกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อนาย ก. ตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาที่มีฐานะดีนี้เป็นเพราะกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมที่นาย ก. เคยทําไว้ในอดีตภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ข. เป็นผู้มีใจบุญ ทํากุศล อยู่เสมอ ไม่ได้ทําทุจริตอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะกลัวต่อบาป เมื่อเวลาที่นาย ข. ใกล้จะตายนั้น มีใจผ่องใสเป็นกุศลเกิดขึ้น ฉะนั้น เมื่อนาย ข. ตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาที่มีฐานะสูงนี้เป็นเพราะกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาลช่วยหนุนกุศลชนกกรรม ที่นาย ข. ได้ทําไว้ก่อนจะตาย ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ค. มีนิสัยตระหนี่เหนียว แน่น ไม่สนใจในเรื่องการกุศล พยายามแต่จะหาเงินอย่างเดียว แต่ก็ไม่ได้ทําทุจริตอย่างใด เมื่อเวลาใกล้จะตายนั้นจิตใจไม่ผ่องใสเป็นอกุศลเกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อนาย ค. ตายลงจึง ได้ไปบังเกิดในอบายภูมิได้รับความลําบากมาก นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่นาย ค. เคยทําไว้ในอดีตภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น เช่น นาย ง. มีใจเป็นอกุศลมาก ไม่เชื่อในบาปบุญคุณโทษ ไม่เชื่อว่าตายแล้วจะต้องเกิดอีก ไม่เชื่อนรก สวรรค์ ด้วยเหตุนี้ นาย ง. จึงกระทําอะไรๆ ตามความพอใจของตน ไม่เชื่อใคร เมื่อเวลาใกล้จะตายมีจิตใจ เศร้าหมองเกิดขึ้น ฉะนั้น เมื่อนาย ง. ตายแล้ว จึงไปบังเกิดในนิรยภูมิเสวยทุกข์ในที่นั้น สิ้นกาลนาน นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่ นาย ง. กระทําอยู่ในปัจจุบันภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ ขึ้นประการหนึ่ง
๕. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น ด.ช. จ. เป็นลูกของผู้ที่มีใจบุญ บิดามารดาสอนให้รู้จักใส่บาตร สวดมนต์ไหว้พระอยู่เสมอ แต่ ด.ช. จ. นี้มีอายุได้เพียง ๕ ขวบเท่านั้นก็ตายลง แล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลก นี้เป็นเพราะกุศลที่ ด.ช. จ. ทําในปวัตติกาลนั้น ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมที่ ด.ช. จ. เคยทําไว้ในอดีตภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นประการหนึ่ง
๖. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกําลังในการให้ ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ฉ. เป็นลูกของผู้ที่มีใจบุญ บิดามารดามีความรู้ในธรรมะ ฉะนั้นจึงได้อบรมนาย ฉ. ให้รู้จักในเรื่องพระพุทธศาสนา รู้จักบาปบุญ นาย ฉ. ก็เชื่อ และปฏิบัติตามคําสั่งสอนของบิดามารดาเป็นอย่างดี ได้พยายามบําเพ็ญทาน ศีล ภาวนาอยู่เสมอ มีอกุศลเกิดได้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อนาย ฉ. ตาย จึงได้ไปบังเกิดในเทวโลก เป็นเทวดาชั้นสูง นี้เป็นเพราะกุศลที่นาย ฉ. กระทําอยู่เสมอๆ นั้นแหละช่วยหนุนกุศลชนกกรรมของนาย ฉ. ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพ ให้มีกําลังส่งผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น สําหรับกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลแล้ว กุศลที่เกิดหลังๆ ก็ช่วยหนุน ให้มีกําลังยิ่งขึ้น และถ้ากุศลที่เกิดหลังๆ มีโอกาสส่งผลแล้ว กุศลที่เกิดก่อนๆ ก็ช่วยหนุน ให้มีกําลังยิ่งขึ้น
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น คือนาย ซ. เป็นลูกของคนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นหนุ่มก็ไม่เคยได้รับการอบรมในเรื่องบาปบุญ ไม่ มีการเคารพคารวะต่อผู้ใหญ่ ชอบสนุกสนานต่างๆ แต่ความประพฤติของนาย ช. นี้ไม่ถึง ทุจริต เมื่อนาย ช. ตายแล้วก็ไปบังเกิดในนิรยภูมิ นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่นาย ช. เคยทําไว้ในอดีตภพ ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภาพที่มีโอกาส ให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ช. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบาป ไม่เชื่อบุญ เห็นว่าการกระทําบุญไม่มีประโยชน์อะไร ทําแล้วก็เสียเปล่า ไหว้เจ้าดีกว่ากลับมาได้กิน ถือศีล ๘ ก็ไม่มีประโยชน์ อดข้าวหิวเปล่าๆ การปฏิบัติอบรมจิตใจก็ไม่มีประโยชน์ เสียเวลาและลําบากเปล่าๆ ไม่ต้องทําอะไรก็ได้ คนตายแล้วก็ต้องเกิดเป็นคนอีก สุนัขตาย แล้วก็เกิดเป็นสุนัขอีก ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น นาย ซ. จึงทําแต่อกุศลเป็นส่วนมาก เมื่อเวลา ที่นาย ช. ตายแล้วก็ไปบังเกิดในนิรยภูมิ เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส นี้ก็เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่นาย ช. ทําอยู่เสมอในภพนี้ที่ได้โอกาส ให้ผลอยู่แล้ว ให้มีกําลังในการให้ ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๙. กุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาส ให้ผล ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น เช่น นาย ณ. มีศรัทธาแก่กล้าเบื่อหน่าย ในเพศฆราวาส เพราะมีโอกาสสร้างกุศลได้น้อยมีแต่เป็นไปในทางอกุศลเป็นส่วนมาก ไม่มีเงินก็ลําบากเพราะไม่มีจะกิน มีก็ลําบากเพราะต้องเป็นห่วง นาย ณ. มองเห็นโทษดังนี้ แล้วก็ละจากเพศฆราวาสเข้าบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติในคันถธุระ และรักษาวินัยอย่างเคร่งครัด เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ตั้งใจสอนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาต่อไป ครั้นมีอายุมากจึงเข้าปฏิบัติวิปัสสนาธุระและทําการแนะนําสั่งสอน ไปด้วย ปฏิบัติอย่างนี้จนถึงสิ้นอายุ เมื่อมรณภาพลงแล้วก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกเป็นเทวดา ชั้นสูง กุศลเก่าๆ ที่นาย ณ. เคยสร้างไว้ในอดีตภพที่เป็นอปราปริยเวทนียกุศลก็มีอยู่ แต่กุศลที่นาย ณ. สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันภพนั้นมีกําลังแรงยิ่งกว่า ฉะนั้น กุศลเท่านั้นจึงไม่ มีกําลังพอที่จะให้ผลปฏิสนธิได้ จึงทําหน้าที่ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อตายจากภพเก่าไปเกิดในภพใหม่แล้วบารมี ต่างๆ ที่สร้างไว้ในภพเก่าๆ นั้น ก็ย่อมช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่มีโอกาส ให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังยิ่งๆ ขึ้น คือให้ได้ไปบังเกิดในสกุลสูง มีฐานะสูงเช่นเดียวกัน
๑๐. อกุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น เช่น นาย ญ. เป็นคนมีใจบาปหยาบช้า ไม่เคยได้ทํากุศลอย่างใด มีแต่ทําอกุศลตลอดมา คือฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง โกงเขาบ้าง เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อนาย ญ. ตาย อกุศลที่ตนกระทําไว้ในภพนี้ได้โอกาสส่งผลให้นาย ญ. ไปเกิดในนรยภูมิ อกุศลเก่าๆ ที่นาย ญ. เคยทําไว้ในอดีตภพก็ช่วยหนุนให้อกุศลที่กําลังส่งผลอยู่นั้นให้มีกําลังบริบูรณ์ขึ้น เปรียบเหมือนคนที่เคยกระทําผิดกฎหมายมาหลายครั้งแล้ว แต่มาครั้งหลังถูกจับได้ เมื่อศาลพิจารณาโทษของผู้นั้นก็รวมเอาคดีเก่าๆ มาสมทบ พิจารณาด้วย แล้วตัดสินลงโทษแก่ผู้นั้นให้หนักขึ้น นี้แสดงให้เห็นว่าการกระทําผิดไว้เมื่อครั้งก่อนๆ แม้ว่าจะรอดจากการถูกจับก็จริง แต่เมื่อเวลาใดที่ผู้นั้นถูกจับตัวได้ ความผิด ครั้งเก่านั้นแหละย่อมช่วยหนุนความผิดครั้งหลังให้ได้รับโทษหนักยิ่งขึ้น ดังนี้
ค. อุปัตถัมภกกรรม ช่วยหนุนรูปนามที่เป็นวิบากของชนกกรรมให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นานนั้น มี ๗ ประการ คือ
๑. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๒. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๓. อกุศลที่เคยทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม อย่างหนึ่ง
๔. อกุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๕. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๖. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๗. อกุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ แสดงตามนัยอรรถกถาและมูลฎีกา ข้อ ๕ ถึงข้อ ๗ แสดง ตามนัยปรมัตถทีปนีฎีกา (ซึ่งเขียนโดยพระอาจารย์แลดีและสังคมภาสาฎีกา(ซึ่งเขียนโดย พระอาจารย์ชนกาภิวงศ์)
๑. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น พระสรีระร่างกาย ผิวพรรณ เสียง เป็นต้น ทั้งภายนอก ภายใน และการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีความประณีต สวยงามเป็นพิเศษกว่ามนุษย์ทั้งหลาย และอารมณ์ต่างๆ ที่ได้รับนั้นก็เป็นอารมณ์ที่ดีเป็นส่วนมาก นี้ก็เป็นเพราะบารมีต่างๆ ที่พระองค์เคยทรงสร้างมาในภพก่อนๆ นั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๒. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ผู้มีใจเป็นกุศล กล่าวคือช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความลําบาก ช่วยบํารุง กิจการงานในพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองถาวร เป็นผู้รักษาตนให้อยู่ในศีลธรรมเสมอ ด้วยอำนาจแห่งการกระทําที่เป็นกุศลเหล่านี้ ย่อมทําให้ผู้นั้นมีความสุขกายสุขใจ ผิวพรรณ ผ่องใส มีเกียรติ ได้รับแต่อารมณ์ที่ดีๆ คือเห็นแต่สิ่งที่ดี ได้ยินแต่เสียงที่ดี เป็นต้น ทั้งปราศจากโรคภัยมีกําลังวังชาแข็งแรง อายุยืน เมื่อมีการเจ็บป่วยขึ้นก็ได้พบกับหมอที่ดี มียาดีรักษาให้หายเร็วๆ มีคนช่วยปฏิบัติให้ได้รับความสะดวกสบายทุกอย่าง เหล่านี้เป็นเพราะกุศลที่ได้กระทําในภพนี้นั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๓. อกุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม ให้เจริญและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ความเป็นอยู่ของสัตว์นรกและเปรตทั้งหลายนั้น เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แต่สัตว์เหล่านั้นก็คงดํารงชีวิตอยู่ได้ยืนนานกว่าปกติ และสุนัขบางตัวอดๆ อยากๆ ร่างกายก็เป็นโรคเรื้อนเต็มตัว เข้าไปใกล้ใครเขาก็ทุบตีเบียดเบียนได้รับทุกขเวทนามาก แต่ถึงกระนั้นสุนัขนั้นก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานตั้งหลายเดือน หลายปี คนบางพวกก็เช่นเดียวกัน มีร่างกายเป็นโรคเรื้อรัง เจ็บปวดทรมานมาก แต่ก็ไม่ตายง่ายๆ ทนทุกข์ทรมานอยู่ได้นานๆ เหล่านี้ก็เป็นด้วยอํานาจแห่งอกุศลอุปัตถัมภกกรรม ในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๔. อกุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญ และตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ผู้ที่มีโรคประจําตัว คือโรคผิวหนัง โรคเส้นประสาท เป็นต้น มีอาการเจ็บปวดอยู่เสมอ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดมาจากอํานาจแห่งอกุศลชนกกรรม แต่ผู้นี้ไม่มีการระวัง ในเรื่องการรักษาตัว เสพสุรายาเมาอยู่เสมอ ฉะนั้น โรคที่เป็นอยู่นั้นจึงกําเริบมากขึ้น ทําให้เกิดความทุกข์กายหนักขึ้น
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉาน เช่น เสือ แมว จิ้งจก เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมเกิดมาจากอกุศลชนกกรรม และสัตว์เหล่านี้ก็มีการเบียดเบียนฆ่าสัตว์อื่นๆ กินเป็นอาหารทําให้ร่างกายของ สัตว์เหล่านี้เจริญเติบโตตั้งอยู่ได้ตลอดชีวิต นี้ก็เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในภพนี้นั้นแหละ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๕. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น สุนัขบางตัวมีเจ้าของเลี้ยงดูรักใคร่ได้รับความสุขสบายอยู่ดีกินดี ในการที่สุนัขได้รับความสุขสบายเหล่านี้ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งกุศลกรรมที่สุนัขนั้นได้เคยกระทําไว้ในภพก่อนๆ นั้นเอง ช่วยหนุนรูปคือร่างกายของสุนัขและนามคือภวังคจิต ที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๖. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น สุนัขบางตัวมีความฉลาดสอนง่าย แสดงความคารวะต่อเจ้าของและผู้อื่น มีการนั่งได้ ยกมือไหว้ได้ เป็นต้น ทําให้เจ้าของและผู้อื่นที่แลเห็นเกิดความเอ็นดูสงสาร และเลี้ยงให้ได้รับความสุขสบาย ได้กินอาหารที่ดีๆ ได้รับความทะนุถนอมเป็นพิเศษ หรือ นกแก้ว นกขุนทอง ที่เจ้าของสอนให้พูดได้ สวดมนต์ได้กล่าวปฏิสันถารได้ ทําให้ผู้ที่ได้ยินเกิดรักใคร่เอ็นดู และนําอาหารมาให้ได้กินอิ่ม ได้รับความสุขสบายเหล่านี้ ก็เป็นเพราะอำนาจแห่งกุศลกรรมที่สุนัขและนกนั้นได้กระทําขึ้นในภพนี้ คือการแสดงความคารวะเป็น ต้นนั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมของสุนัขและนกนั้นให้เจริญและตั้งอยู่ได้
พวกเปรตทั้งหลายที่ได้รับส่วนบุญจากญาติมิตร และตนเองก็ได้อนุโมทนาในส่วนกุศลอันนั้นแล้ว ด้วยอํานาจแห่ง ปัตตานุโมทนากุศลที่พวกเปรตทั้งหลายได้กระทําขึ้นย่อม ทําให้ได้รับความสบายขึ้น พ้นจากความทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งกุศลกรรมที่ตนกระทำขึ้นนั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมของพวกเปรตเหล่า นั้นให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๗. อกุศลที่เคยกระทํามาในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญ และตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ผู้ที่มีอาชีพเป็นชาวประมง ขายอาวุธ ขายสุราแล้วเกิดความร่ำรวย มีความสุขสบายในการกิน การใช้ การบํารุงความเพลิดเพลินต่างๆ ด้วยอาศัยอาชีพเหล่านี้ หรือประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีอํานาจด้วยอาศัยการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ การเป็นชาวประมง การขายอาวุธ ขายสุรา การทําอาวุธเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลทั้งสิ้น แต่อกุศลเหล่านี้เป็นเครื่องช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
ประเภทของอุปัตถัมภกกรรมในข้อ ๗ นี้ เป็นไปไม่แน่นอน มีได้แต่ในสมัยที่เป็นกาลวิปัตติเท่านั้น ในกาลสัมปัตตินั้นมีไม่ได้
๓. อุปปีฬกกรรม
อุปปีฬกกรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “กมุมนฺตรํ วา กมุมนิพฺพตฺตขนฺธสนฺตานํ วา อุปปีเฬตีติ อุปปีฬกํ” “กรรมใดย่อมเบียดเบียนกรรมอื่นๆ และการสืบต่อแห่งขันธ์ ๕ ที่เกิดจากกรรมอื่นๆ นั้น ฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่าอุปปีฬกกรรม” ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ หมายความว่าอุปปีฬกกรรมนี้ เป็นกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีสภาพตรงกันข้ามกับตน (กมุมนฺตรอุปปีฬก) อย่างหนึ่ง และเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ (กมุมนิพฺพตฺตขนฺธสนตานอุปปีฬก) อย่างหนึ่งรวมเป็น ๒
ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีสภาพตรงกันข้ามกับตนนั้นมีทางเบียดเบียน ๒ อย่าง คือ
ก. เบียดเบียนเพื่อให้มีโอกาสส่งผล
ข. เบียดเบียนชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังลดน้อยลงได้ผลไม่เต็มที่
ฉะนั้น การเบียดเบียนของอุปปีฬกกรรมนี้ จึงมี ๓ คือ
ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล
ข. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วให้มีกําลังลดน้อยลง
ค. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ
ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลนั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. กุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล อย่างหนึ่ง
๒. อกุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล อย่างหนึ่ง
อุปปีฬกกรรมนี้ก็ได้แก่ อุปัตถัมภกกรรมนั้นเอง คือในขณะที่กระทําหน้าที่ช่วยหนุนกรรมอื่นๆ อยู่นั้นในเวลาเดียวกันนั้นก็กระทําหน้าที่เบียดเบียนไปด้วย ฉะนั้น การยกตัวอย่างของกุศลอุปปีฬกกรรมในข้อ ๑ ที่ว่า “กุศลที่กระทําในภพนี้เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล” นั้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับการยกตัวอย่างของกุศลอุปัตถัมภกกรรมในข้อ ๑ ที่ว่า “กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาลช่วยหนุนกุศลชนกกรรม ในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลให้ได้มีโอกาสส่งผล” นั้นเอง
ในข้อ ๒ ที่ว่า “อกุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาส ส่งผล” นั้น ยกตัวอย่างทํานองเดียวกันกับอกุศลอุปัตถัมภกกรรมในข้อ ๓ ที่ว่า “อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้ได้มีโอกาสส่งผล"
ข. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วให้มีกําลังลดน้อยลง มี ๒ ประเภท คือ
๑. กุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกําลังลดน้อยลงอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทําอนันตริยกรรม คือปิตุฆาตกรรมอันหนัก นี้จะต้องได้รับผลไปตกอวีจีมหานรก แต่ด้วยพระเจ้าอชาตศัตรูได้สร้างกุศลไว้อย่างมากมาย คือเป็นผู้อุปถัมภ์บํารุงพระพุทธศาสนา เช่น ในการทําสังคายนาก็ได้พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์อุปถัมภ์ และในบรรดาปุถุชนทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้เลื่อมใสนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด ฉะนั้นด้วย อํานาจของกุศลนี้แหละจึงช่วยให้พระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ไปตกในอวีจิมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ เป็นแต่ไปตกในโลหกุมภีอุสสทนรก ซึ่งเป็น นรกขุมเล็กที่เป็นบริวารของอวีจีมหานรก
๒. อกุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกําลังลดน้อยลงอย่างหนึ่งยกตัวอย่างเช่น การทํากุศลที่เจือด้วยอกุศล คือในขณะที่กําลังอยู่นั้นก็มีความชื่นชมยินดีและเห็นประโยชน์ในการกระทําดี แต่เมื่อทําเสร็จแล้วมีอกุศลเกิดขึ้นเกี่ยวกับความไม่พอใจบ้าง เสียดายเงินบ้างเหล่านี้ ซึ่งทําให้ผลของกุศลนั้นมีกําลังลดน้อยลง ฉะนั้นเมื่อผู้นี้ตายแล้วแทนที่จะได้ไปเกิดเป็นเหตุกบุคคล กลับกลายเป็นทวิเหตุกบุคคลไปนี้ก็เพราะอำนาจแห่งอกุศลที่เกิดขึ้นนั้นเองเข้าเบียดเบียนกุศลให้มีกําลังลดน้อยลง
อนึ่ง บุคคลบางคนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่เมื่อเวลาที่คลอดจากครรภ์มารดามาแล้ว ปรากฏว่าผู้นั้นตาบอด หูหนวก จมูกโหว่ เป็นต้นมาแต่กําเนิดเหล่านี้ก็เป็นเพราะว่ากุศลชนกกรรมที่นําผู้นั้นให้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์นั้น ถูกอกุศลอุปปีฬกกรรมเบียดเบียนให้มีกําลังลดน้อยลง ฉะนั้นเมื่อถึงเวลาอันสมควรที่ ตา หู จมูก เป็นต้น จะปรากฏขึ้นแล้วก็กลับไม่ปรากฏ กลายเป็นคนตาบอด หูหนวก เป็นต้นมาแต่กําาเนิด
ค. อุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. อกุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เกิดมามีร่างกายสมบูรณ์เป็นคนแข็งแรงไม่มีโรคภัย แต่ต่อมาภายหลังเกิดเป็นโรคขึ้น เช่น โรคผิวหนัง โรคอัมพาต ทําให้เดินไม่ได้หรือสติฟั่นเฟือนไป กลายเป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย หรือถ้าไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนก็ให้เกิดมีอันเป็นไปในเรื่องทรัพย์สมบัติ ยศ บริวาร ได้รับความเสียหายต่างๆ การอาชีพก็ไม่เจริญขึ้นมีแต่ขาดทุนทําให้เกิดความเดือดร้อนใจต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น เหล่านี้เป็น เพราะ อํานาจแห่งอกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนเคยกระทํามาในภพก่อนๆ หรือภพนี้เข้าเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรม
๒. กุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เกิดมาเป็นคนยากจน หรือเป็นคนขี้โรค มีความลําบากต่างๆ ซึ่งเป็นผลที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรม แต่ผู้นั้นพยายามทําบุญรักษาศีลอยู่เสมอตามสมควร แก่ฐานะของตน ต่อมาภายหลังความลําาบากต่างๆ เหล่านั้นก็หายไป การทํามาหากินก็คล่องขึ้น โรคภัยที่เคยเป็นก็ได้ยาดีมารักษาหาย มีความสุขสบายขึ้นนี้ก็เป็นเพราะอํานาจ แห่งกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนได้สร้างขึ้นนั้น เข้าเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม กล่าวคือความลําบากกายลําบากใจนั้นให้หายไป
๔. อุปมาตกกรรม
อุปมาตกกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “กมฺมนฺตรํ วา กมฺมนิพฺพตฺขนฺธสนฺตานํ วา อุปฆาเตตติ อุปฆาตกํ” กรรมใดย่อมเข้าตัดกรรมอื่นๆ และการสืบต่อแห่งขันธ์ ๕ ที่เกิดจากกรรมอื่นๆ นั้น ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าอุปฆาตกกรรม ได้แก่อกุศลกรรม ๑๒ กุศลกรรม ๒๑ หมายความว่าอุปฆาตกกรรมนี้เป็นกรรมที่ตัดกรรมอื่นๆ และวิบากของกรรมนั้นๆ ให้สิ้นลงอย่างเด็ดขาด และมีสภาพต่างกับอุปปีฬกกรรมคืออุปปีฬกกรรมนั้น เป็นกรรมที่เพียงแต่เบียดเบียนกรรมอื่นๆ และวิบากซึ่งได้แก่อวัยวะร่างกายไม่ให้เกิดขึ้น หรือไม่ให้เจริญขึ้น ไม่ได้เป็นกรรมชนิดที่ทําให้เด็ดขาดลงไป ส่วนอุปฆาตกกรรมนี้เป็นกรรมชนิดที่ติดอย่างเด็ดขาด คือถ้าตัดกรรมแล้ว กรรมนั้นไม่สามารถให้ผลเกิดขึ้นได้เลยตลอดไป ถ้าตัดวิบากของกรรมแล้ว หมายถึงร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้นั้นย่อมเสียไปจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นกรรมนั้นก็ตัดเอาชีวิตของผู้นั้นเสียเลย
การตัดของอุปฆาตกกรรมนี้ มี ๒ อย่าง คือ
ก. ตัดชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (กมุมนฺตรอุปฆาตก)
ข. ตัดนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ ให้เสียไป (กมุมนิพฺพตฺตขนฺธสนุตาน อุปฆาตก)
ก. อุปฆาตกกรรมที่ติดชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไปนั้น มี ๓ ประเภท คือ
๑. กุศลอุปมาตกกรรม อุปฆาตกกรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ทําหน้าที่ตัดอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๒. กุศลอุปมาตกกรรม อุปฆาตกกรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ทําหน้าที่ตัดกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๓. อกุศลอุปมาตกกรรม อุปฆาตกกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ทําหน้าที่ตัดกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๑. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดอกุศลชนกกรรม
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดอกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป เช่น พระองคุลิมาลเถระ เมื่อก่อนที่จะได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น ได้เคยเป็นโจรฆ่าคนมาเสียมากต่อมาก ซึ่งการกระทําของพระองคุลิมาลนี้ จะต้องได้รับผลไปสู่นิรยภูมิอย่างแน่นอน แต่ต่อมาพระองคุลิมาลได้พบกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถูกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรมานจนกระทั่งรู้สึกตัวกลับใจได้ ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้เจริญ วิปัสสนากรรมฐานจนสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยอํานาจแห่งโสดาปัตติมรรคกุศลที่พระองคุลิมาลได้ในตอนแรกนั้นเอง ที่เป็นกุศลอุปฆาตกกรรมที่ตัดรอนอกุศลชนกกรรมของพระองคุลิมาลที่กระทําขึ้นในภพนี้และที่ได้เคยกระทําไว้ในภพก่อนๆ นั้นไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลตลอดไป
๒. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดกุศลชนกกรรม
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป เช่น ผู้ที่ได้เคยสร้างกามาวจรกุศลและมหัคคตกุศลมาแล้ว ต่อมาได้เจริญวิปัสสนาจนสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ฉะนั้น กามาวจรกุศลก็ไม่สามารถส่งผู้นั้นให้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้ มหัคคตกุศลก็ไม่สามารถส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดเป็นพรหมได้ ทั้งนี้ก็เพราะอํานาจแห่งอรหัตตมรรค นั่นเอง ที่เป็นกุศลอุปมาตกกรรมติดกุศลชนกกรรมอื่นๆ ไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลอีกต่อไป
นอกจากนี้ ผู้ที่ทําฌานได้ถึงรูปปัญจมฌาน เมื่อผู้นั้นตายลงแล้วก็จะต้องไปบังเกิดเป็นจตุตถฌานพรหม เป็นเหตุให้ปฐมฌานกุศลไม่สามารถส่งผลให้บุคคลนั้นไปเกิดเป็นปฐมฌานพรหมได้ ทุติยฌานและตติยฌานกุศลก็ไม่สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นทุติยฌานพรหมได้ จตุตถฌานกุศลก็ไม่สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นตติยฌานพรหมได้ นี้ก็เพราะอํานาจแห่งปัญจมฌานกุศลนั้นเอง เป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดมหัคคตกุศลกรรมที่ต่ำกว่า ไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผล
นอกจากนี้ ผู้ใดเจริญสมถภาวนาจนกระทั่งถึงอรูปฌาน เมื่อตายไปแล้วก็ต้องได้ไปบังเกิดเป็นอรูปพรหม เป็นเหตุให้ รูปาวจรกุศลทั้งหมดไม่สามารถส่งผลให้บุคคลนั้นไป เกิดเป็นรูปพรหมได้ นี้ก็เพราะอํานาจแห่งอรูปาวจรกุศลเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัด รูปาวจรกุศลกรรมไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลเช่นเดียวกันในอรูปฌานด้วยกันนั้น อรูปฌานที่สูงกว่าย่อมติดอรูปฌานที่ต่ำกว่าเป็นลําดับกันไป เช่น วิญญาณัญจายตนฌานย่อมติด อากาสานัญจายตนฌานไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผล เป็นต้น ในข้อนี้มุ่งหมายเอาผู้ที่ได้ฌานชั้นสูงนั้นไม่มีนิกันติตัณหาต่อฌานชั้นต่ำหรือภูมิชั้นต่ำเมื่อเวลาใกล้จะตาย เพราะธรรมดาผู้ที่ใกล้จะตายนั้น แม้ว่าจะได้ฌานชั้นสูงแล้วก็ตาม แต่ถ้ามีนิกันติตัณหาคือความพอใจในภูมิหรือฌานที่ต่ำกว่าดังนี้แล้ว ฌานชั้นสูงที่ตนได้อยู่นั้นย่อมสูญสิ้นไป
๓. อกุศลอุปฆาตกกรรมตัดกุศลชนกกรรม
อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลตลอดไป เช่น ผู้ใดผู้หนึ่งได้บําเพ็ญสมถกรรมฐานจนกระทั่งได้ฌาน ต่อมาผู้นั้นได้กระทําอกุศลที่เป็นปัญจานันตริยกรรมเข้าแล้ว อกุศลปัญญานันตริยกรรมนี้ย่อมเป็นอกุศลอุปฆาตก กรรมตัดมหัคคตกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในพรหมโลกได้เลย เช่น พระเทวทัตที่เป็นผู้ได้ฌานอภิญญาแล้ว ต่อมาพระเทวทัตได้กระทําโลหิตุปบาทและสังฆเภทกรรมซึ่งจัดเป็นอนันตริยกรรม ฉะนั้น อนันตริยกรรมนี้จึงเป็นอกุศลอุปฆาตก กรรมตัดมหัคคตกุศลกรรมของพระเทวทัตไม่ให้มีโอกาสได้ไปเกิดในพรหมโลกแล้วตนเองก็ส่งให้ไปเกิดในนิรยโลกแทน
ข. อุปฆาตกกรรมที่ติดนามรูป อันเกิดจากชนกกรรมนั้นๆ ให้เสียไปนั้น มี ๔ ประเภท คือ
๑. กุศลอุปมาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
๒. กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
๓. อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
๔. อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
๑. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก เช่น ผู้ที่ตายไปแล้วไปบังเกิดเป็นสัตว์นรกในนิรยภูมิ ร่างกายและความเป็นไปมีการเห็น การได้ยิน เป็นต้นของสัตว์ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น แต่ในระยะต่อมาสัตว์นรกนั้นระลึกถึงกุศลที่ตนได้เคยกระทําไว้ได้โดยอาศัยการเห็นเปลวไฟแล้วระลึกได้ว่า เราเคยได้บวชพระไว้ได้เคยถวายจีวรแก่พระสงฆ์ไว้ หรือได้เคยปิดทองพระพุทธรูปไว้ เป็นต้น หรือโดยอาศัยพญายมราช เตือนสติให้แล้วก็ระลึกถึงกุศลต่างๆ ที่ตนได้เคยกระทําไว้ขึ้นได้ในขณะที่ระลึกถึงกุศลได้ นั้น มหากุศลจิตย่อมเกิดขึ้นในขณะนั้นสัตว์นรกก็จุติลง แล้วก็ได้ไปบังกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาทันที นี้ก็เป็นเพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเท่านั้นได้เอง เป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
นอกจากนี้ ผู้ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่เป็นคนที่ยากจน มีโรคภัยเบียดเบียนอยู่เสมอรักษาก็ไม่หาย ได้รับแต่ความลําบากกาย ลําบากใจ ไม่เคยได้เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ใช้วัตถุสิ่งของและได้ที่อยู่ที่อาศัยที่ดีๆ เลย ซึ่งล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น ต่อมามีผู้ใจบุญและมีความเข้าใจในเรื่องของพระพุทธศาสนามาช่วยตักเตือนให้คําแนะนําว่า การที่ได้เกิดมาเป็นคนยากจน ไม่ได้พบได้เห็นในสิ่งที่ดีๆ นั้น ก็เป็นเพราะว่าตนไม่เคยได้ สร้างทานกุศลเอาไว้ในชาติก่อน และที่เป็นคนขี้โรคเจ็บไข้อยู่เสมอนั้น ก็เพราะไม่เคยได้ รักษาศีล ฉะนั้น ควรจะพยายามสร้างทานกุศล ศีลกุศล ให้มีขึ้นตามความสามารถที่ตนจะกระทําได้ เมื่อผู้นั้นได้ยินคําแนะนําดังนี้แล้วก็พยายามขวนขวายสร้างกุศลให้เกิดขึ้นโดย เข้าไปอาศัยอยู่ในวัด ช่วยทําการงานที่เป็นเวยยา วัจจกุศลแก่พระภิกษุสามเณรและ สถานที่ที่ในวัดนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานรักษาศีล ๘ ตลอดชีวิต สร้างทานกุศลให้เกิดขึ้นโดย การตั้งน้ำให้เป็นทานแก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาทางวัดนั้น เป็นต้น เมื่อได้สร้างกุศลต่างๆ เหล่านี้อยู่เสมอเป็นนิจแล้ว ก็ทําให้เป็นที่รักใคร่ สงสารแก่คนทั้งหลายที่ไปมาอยู่ในวัดนั้น และได้รับความเอื้อเฟื้อจากบุคคลเหล่านั้นด้วยประการต่างๆ มีอาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่อง นุ่งห่ม เงินทองและยารักษาโรคที่ดีๆ กระทําให้ผู้นั้นได้รับความสุขกายสุขใจขึ้น และโรคภัยที่มีอยู่นั้นก็หายไป นี้ก็เป็นเพราะทานกุศลและศีลกุศลที่ผู้นั้นได้กระทําขึ้นในภพนี้นั้น แหละ เป็นกุศลอุปมาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบากในสุคติภูมิให้หายไปประการ หนึ่ง
๒. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก เช่น ผู้ที่เป็นฆราวาสแล้วได้สําเร็จ เป็นพระอรหันต์ แต่ไม่ได้บวชภายในวันนั้น อํานาจของอรหัตตมรรคนั้นจะเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก คือทําให้ผู้นั้นสิ้นชีวิตลงภายในวันนั้นเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่าคุณของอรหัตมรรค อรหัตผลนั้นเป็นสิ่งอันประเสริฐไม่คู่ควรกับเพศฆราวาส ซึ่งเป็นเพศที่ตั้งอยู่ในฐานะเพียงแค่ศีล ๕ เท่านั้น เปรียบเสมือนน้ํามันของราชสีห์ที่จะต้องรองรับด้วยภาชนะที่เป็นทองอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะสามารถตั้งอยู่ได้ ถ้ารองรับด้วยภาชนะอื่นๆ แล้ว น้ำมันราชสีห์นั้นจะแห้งหายไปหมดฉันใด คุณอันพิเศษของอรหัตมรรค อรหัตผลก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้สําเร็จอรหัตมรรค อรหัตตผลในเพศที่เป็นฆราวาสนั้น ก็ไม่สามารถจะรองรับอรหัตมรรค อรหัตผลนั้นไว้ได้ จะต้องสิ้นชีวิตภายในวันนั้นเอง ต่อมา เมื่อผู้นั้นบวชเป็นสามเณร หรือพระภิกษุแล้วจึงจะดํารงชีวิตต่อไปได้ฉันนั้น
๓. อกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก เช่น ธรรมดาอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายของคนนั้นนับว่าเป็นกุศล วิบากทั้งสิ้น และโดยอวัยวะต่างๆ เหล่านี้นั้นเองเมื่อเวลาที่ได้มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัสถูกต้องในสิ่งที่ดี ก็นับว่า เป็นกุศลวิบากเช่นเดียวกัน แต่ในเวลาต่อมาผู้นั้นเกิดได้รับอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน ถูก ลอบทําร้าย ตกจากที่สูง เป็นต้น ทําให้แขนหัก ขาขาด ตาบอด หูหนวกไปจนตลอดชีวิต นี้ก็เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก ถ้าผู้นั้นสิ้น ชีวิตลงโดยอาศัยอุบัติเหตุ ดังกล่าวมาแล้วนั้นก็นับได้ว่าอกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบากได้ เช่นเดียวกัน คือตัดรูปนั้นได้แก่ร่างกาย นามนั้นได้แก่ภวังคจิต และจักขุวิญญาณที่เป็น กุศลวิบาก เป็นต้น
๔. อกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก เช่น ธรรมดาสัตว์ดิรัจฉานมีสุนัข เป็นต้นนั้น ร่างกายและชีวิตความเป็นไปของสุนัขเป็นต้นนี้ จัดเป็นอกุศลวิบาก ยกเว้น แต่ความสวยงามของร่างกาย และกุศลวิบากจักขุวิญญาณจิต เป็นต้นที่เกิดขึ้นในขณะที่ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้ถูกต้องในสิ่งที่ดีๆ ต่อมาสุนัขนี้เกิดได้รับอุบัติเหตุ คือถูกรถ ชนตาย หรือถูกฆ่าตาย ตกน้ำตาย เป็นต้น การตายของสุนัขเช่นนี้ก็เป็นเพราะอํานาจของอกุศลอุปฆาตกกรรมที่เคยเกิดมาแล้วในภพก่อน หรือภพนี้เป็นผู้ตัดชีวิตและร่างกายที่เป็นอกุศลวิบาก
อนึ่ง อุปฆาตกกรรมที่ตัดนามรูปที่เป็นวิบากของกรรมอื่นๆ นั้น มีลักษณะการตัด ๓ แบบ คือ
๑. ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้วตัวเองก็ไม่ได้ส่งผลให้เกิด และก็ไม่ให้โอกาส แก่ชนกกรรมอื่นๆ ได้ส่งผล
๒. ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้ว ตัวเองส่งผลให้เกิด
๓. ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้ว ให้โอกาสแก่ชนกกรรมอื่นๆ ได้ส่งผล
ตัวอย่างข้อที่ ๑ เช่น พระจักขุปาลเถระ ซึ่งเมื่ออดีตชาติเคยเป็นหมอรักษาตา และได้ทําลายตาของผู้ที่มาให้รักษานั้นบอดไป ฉะนั้นอกุศลกรรมที่พระจักขุปาลเถระได้กระทํานี้ จึงตามสนองทําให้ตาทั้งสองของพระจักขุปาลเถระเสียไปจนตลอดชีวิต นี้ก็เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดวิบากของกุศลชนกกรรม คือทําให้ตาเสียนั้นเอง แต่อกุศลอุปฆาตกกรรมนี้ไม่ได้ส่งผลให้เกิดอีกต่อไป เพราะพระจักขุปาลเถระได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ไม่มีการเกิดอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น อกุศลอุปฆาตกกรรมนี้ จึงเป็นแต่เพียงตัด วิบากของกรรมอื่นๆ เท่านั้น
พระโมคคัลลานเถระที่ถูกพวกโจร ๕๐๐ ทุบตีจนถึงปรินิพพาน ด้วยอํานาจอกุศลกรรมที่เคยตีบิดามารดามุ่งหมายจะให้ตายนั้นก็เช่นเดียวกันคืออกุศลนี้เป็นอุปฆาตกกรรม ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ เท่านั้น ตัวเองไม่ได้ส่งผลให้เกิด
ตัวอย่างข้อที่ ๒ เช่น เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อว่าทุสสีมาร เป็นบริวารของพญามารได้ เอาก้อนหินขว้างศีรษะของพระอัครสาวกเบื้องขวา, ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้ากลาที่ได้ทรมานพระดาบส ชื่อว่าขันติวาที ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์จนถึงตาย นนทยักษ์ที่ได้เอากระบองตีศีรษะพระสารีบุตรขณะกําลังเข้านิโรธสมาบัติอยู่ และเทวทัตที่ได้ประทุษร้ายต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลทั้ง ๔ เหล่านี้ได้รับผลของการกระทําในปัจจุบันทันด่วนโดยถูกธรณีสูบทั้งเป็น และเมื่อตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดในอวีจีมหานรก เสวยทุกข์อยู่นั้น นี้ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งอกุศลอุปฆาตกกรรมตัดวิบากของกรรมอื่นๆ คือทําให้ธรณีสูบ แล้วตัวเองส่งผลให้ไปเกิดในอวีจีมหานรกด้วย
ตัวอย่างข้อที่ ๓ เช่น พระเจ้าพิมพิสาร ในอดีตชาติเคยสวมรองเท้าเข้าไปใน บริเวณพุทธเจดีย์ด้วยอํานาจแห่งอกุศลกรรมอันนี้ เมื่อได้มาเกิดในชาติที่เป็นพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้รับผลคือถูกกรีดฝ่าเท้าจนสวรรคต แต่เมื่อตายแล้วกุศลชนกกรรมอื่นๆ ได้ มีโอกาสส่งผลให้พระเจ้าพิมพิสารไปบังเกิดเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกานี้คืออกุศล อุปฆาตกกรรม ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้วให้โอกาสแก่กุศลชนกกรรมอื่นๆ ได้ส่งผล
๒. ปากทานปริยายจตุกกะ
๑. ครุกกรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “ครฺํ กโรตีติ ครุกํ”
กรรมใดย่อมให้ผลอันหนักแน่นเกิดขึ้น ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าครุกกรรม
หรืออีกนัยหนึ่ง “กมฺมนฺตเรหิ ปฏิพาหิตุํ อสกฺกฺเณยฺยตฺตา ครุกํ กมฺมนฺติ ครูกกมุมํ” “กรรมที่หนักแน่นเพราะกรรมอื่นๆ ไม่สามารถห้ามการให้ผลได้ ฉะนั้น จึง ชื่อว่า ครุกรรม" ได้แก่ ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ที่เกี่ยวกับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ๑ และ โทสมูลจิต ๒ ที่เกี่ยวกับปัญจานันตริยกรรม ๕ หมายเหตุ : สําหรับโลกุตรกุศลกรรมนั้น เป็นครุกกรรมก็จริง แต่ในที่นี้ต้องการแต่กรรมที่จะส่งให้เกิดในภพที่ ๒ ส่วนโลกุตรกุศลนั้นไม่มีหน้าที่ให้เกิด มีหน้าที่แต่จะทําลาย การเกิดตามสมควรแก่กําลังของตนเท่านั้น
กรรมที่ชื่อว่าครุกกรรมนี้ หมายถึงเป็นกรรมที่หนักแน่นสามารถส่งผลให้เกิดในชาติที่ ๒ ติดต่อกันโดยแน่นอน กรรมอื่นๆ ไม่สามารถกั้นไว้ได้ แต่มิได้มุ่งหมายว่าในบรรดาครุกกรรมด้วยกันนั้นจะไม่สามารถกั้นการให้ผลกันได้ หมายความว่า ครุกกรรมอันใดมีกําลังแรงกว่าครุกกรรมอื่นๆ ครุกกรรมอันนั้นจะเป็นผู้ส่งผล ส่วนครุกกรรมที่มีกําลังอ่อนกว่า เป็นตัวส่งผลไม่ได้ เป็นเพียงแต่ช่วยหนุนเท่านั้น แต่แม้ว่าจะไม่มีโอกาสส่งผลให้เกิดโดย เฉพาะก็ตามกรรมนั้นก็ยังได้ชื่อว่าเป็นครุกกรรมอยู่นั้นเอง เพราะถ้าครุกกรรมที่หนักกว่าตนไม่มีแล้ว ครุกกรรมอันนั้นก็จะต้องเป็นผู้ส่งผลให้เกิดในชาติที่ ๒ โดยแน่นอน เช่น ผู้ที่มีนิยตมิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ต่อมาได้ทําปัญจานันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอีก เมื่อเวลาที่ผู้นั้นตายลง นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมนั้นแหละจะเป็นผู้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในมหานรกขุมใดขุมหนึ่งติดต่อกันทันที เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมนี้หนักกว่าปัญญานันตริยกรรม สําหรับปัญจานันตริยกรรมนั้นเป็นแต่เพียงช่วยสนับสนุนในการให้ผลของนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมเท่านั้น
ส่วนในปัญจานันตริยกรรม ๕ อย่างนั้น สังฆเภทกรรมหนักที่สุด ถ้าสมมติว่าผู้ใดหาปัญจานันตริยกรรมครบทั้ง ๕ อย่างแล้ว สังฆเภทกกรรมจะเป็นผู้ส่งผลแก่ผู้นั้น ส่วนกรรมที่เหลือก็เป็นกรรมผู้ช่วยสนับสนุนในการให้ผลของสังฆเภทกกรรมไป
กรรมที่หนักรองลงมาจากสังฆเภทกกรรมนั้นได้แก่โลหิตุปบาท ต่อจากโลหิตุปบาท มาก็ได้แก่อรหันตฆาตกกรรม ย่อมหนักกว่ากรรมที่เหลือ ๒ ส่วน มาตุฆาตกกรรมกับปิตุมาตกกรรมทั้งสองนี้ต้องแล้วแต่คุณสมบัติ คือถ้าบิดาเป็นผู้มีศีลธรรม มารดาไม่มีศีลธรรม ปิตุฆาตกกรรมย่อมหนักกว่าถ้ามารดามีศีลธรรม บิดาไม่มีศีลธรรม มาตุฆาตกกรรม ย่อมหนักกว่า ถ้าบิดาและมารดาทั้ง ๒ มีศีลธรรมด้วยกันหรือไม่มีศีลธรรมด้วยกันแล้ว มาตุฆาตกกรรมย่อมหนักกว่า ด้วยเหตุนี้ ในอังคุตตรอรรถกถาจึงแสดงไว้ว่า
“ทฺวีสุปิ สีเลน วา ทุสฺสีเลน วา สมาเนสุ มาตุฆาตโกว ปฏิสนฺธิวเสน วิปจฺจติ, มาตา หิ ทุกฺกรการิณี พหุปการา จ ปุตฺตานนฺติ"
“หากมารดาบิดาทั้ง ๒ มีสภาพเสมอกันโดยความเป็นผู้มีศีลหรือไม่มีศีลแล้ว มาตุฆาตกกรรมนั้นแหละย่อมส่งผลปฏิสนธิ เพราะว่ามารดานั้นเป็นผู้รับภาระหนักอันกระทําได้โดยยาก และเป็นผู้มีอุปการคุณต่อบุตรทั้งหลายมาก”
มหัคคตกุศลกรรม ๙ ก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้ฌานทั้ง ๙ ที่เรียกว่าสมาบัติ ๘ หรือ ๙ แล้ว ในบรรดาสมาบัติ ๘ หรือ ๙ เหล่านี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นฌานที่หนัก กว่าฌานอื่นๆ ฉะนั้น ถ้าฌานลาภีบุคคลตายลงแล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลนั้น แหละเป็นผู้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ส่วนฌานที่เหลือนั้นเป็นอโหสิกรรมไป จะช่วยอุปถัมภ์ในการส่งผลของเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นไม่ได้
ส่วนรูปฌานทั้ง ๕ นั้น รูปาวจรปัญจมฌานนั้นแหละเป็นผู้ส่งผลให้ไปเกิดใน จตุตถฌานภูมิ รูปฌานที่เหลือนอกนั้นเป็นอโหสิกรรมไปเช่นเดียวกัน
ความแตกต่างระหว่าง การให้ผลของอกุศลครุกกรรมกับกุศลครุกกรรม
อกุศลครุกกรรมนั้น แม้ว่าตนจะไม่มีโอกาสเป็นผู้ส่งผลแต่ก็มีฐานะเป็นอุปัตถัมภกกรรมได้ ส่วนกุศลครุกกรรมนั้น เมื่อตนไม่มีโอกาสได้ส่งผลแล้ว ก็เป็นอโหสิกรรมไป ไม่มีฐานะที่จะเป็นอุปัตถัมภกกรรมได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้แหละ อกุศลครุกกรรมจึงมีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า ปัญจานันตริยกรรมและนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม สําหรับกุศลครุกกรรมนั้นไม่มีชื่อเรียกเป็นพิเศษ ปัญจานันตริยกรรมเมื่อแยกบทแล้วได้ดังนี้ ปญฺจ + อนนฺตร + อิย + กมฺม [ปญฺจ = ๕, อนนฺตร = ภพที่ไม่มีระหว่างคั่นในลําดับแห่งจุติ อิย = ให้ผล, กมฺม = การกระทํา] เมื่อรวมบทแล้วเป็นปัญจานันตริยกรรม แปลว่า การกระทํา ๕ อย่าง ที่ให้ผลโดยไม่มีระหว่างกันในลําดับแห่งจุติ
ดังนั้น พระฎีกาจารย์จึงได้แสดงวจนัตถะว่า “อนนฺตเร นิยุตฺตํ กมุมํ อนนุตริย กมุมํ” “กรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการให้ผลในภพที่ไม่มีระหว่างคั่นในลําดับแห่งจุติ ชื่อว่า อนันตริยกรรม"
นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เมื่อแยกบทแล้วได้ดังนี้ นิยต + มิจฺฉา + ทิฏฐิ + กมฺม (นิยต - แน่นอน, มิจฉา = ผิดจากความเป็นจริง, ทิฏฐิ = ความเห็น, กมฺม - การกระทํา] เมื่อรวมบทแล้วเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม แปลว่า “กรรม คือความเห็นผิดไปจากความเป็นจริงทีให้ผลแน่นอนในลําาดับแห่งจุติ” ดังนั้น พระฎีกาจารย์จึงได้แสดงวจนัตถะว่า “มิจฺฉา ทสฺสนํ มิจฺฉาทิฏฐิ” “ความเห็นที่ผิดไปจากความเป็นจริง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ
“อนนฺตรภฺเว วิปากทานโต นิยตา จ เต มิจฺฉาทิฏฐิ จาติ นิยตมิจฺฉาทิฏฺฐิ” ธรรม อันใดแน่นอนโดยการให้ผลในลําดับแห่งจุติในภพที่ติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น และมีการเห็น ผิดไปจากความเป็นจริง ฉะนั้น ธรรมอันนั้น ชื่อว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ
อธิบายพิเศษในอนันตริยกรรม ๕ อย่าง
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าบิดามารดานั้น แม้จะไม่รู้ว่าผู้ที่ตนฆ่านั้นเป็นบิดามารดาคิดว่า เป็นคนอื่นก็ตาม ถ้าการฆ่านั้นได้สําเร็จลงแล้ว ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงมาตุฆาตกกรรม ปิตุฆาตกกรรม ในตติยปาราชิกอรรถกถาแสดงว่า
“ผู้ใดมีความตั้งใจจะฆ่าผู้อื่น หรือฆ่าสัตว์ดิรัจฉานโดยการใช้ปืน หรือมีดก็ตาม แต่ในการฆ่านั้นเผอิญพลาดไปถูกบิดาหรือ มารดาตายลง ผู้ที่ตนต้องการฆ่าไม่ตาย เช่นนี้ก็นับว่าผู้นั้นได้เข้า ถึงมาตุฆาตกกรรม ปิตมาตกกรรมเช่นเดียวกัน"
บิดามารดาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ลูกเป็นมนุษย์ หรือลูกเป็นสัตว์ดิรัจฉาน บิดามารดา เป็นมนุษย์ ลูกที่ฆ่าบิดามารดาใน ๒ ประเภทนี้ แม้จะไม่ได้ชื่อว่ากระทําอนันตริยกรรมก็ตาม แต่กรรมชนิดนี้ก็จัดเป็นกรรมหนักให้ผลแรงเช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์นั้น แม้ว่าผู้ที่ถูกฆ่าในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ และยังไม่ตายในทันทีก็ตาม แต่ในเวลานั้นเองผู้ถูกฆ่าได้เจริญกรรมฐาน และได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วเข้าสู่ปรินิพพานโดยอาศัยการถูกฆ่านั้น เช่นนี้ผู้ฆ่านั้นก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอรหันต ฆาตกกรรม
ผู้ที่ตั้งใจจะปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพยายามอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ถึงแก่ชีวิต เป็นแต่เพียงห้อพระโลหิตเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าธรรมดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตโดยอาศัยการกระทําของผู้อื่นนั้นไม่มีเลย สมดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า
“พุทฺธานํ ชีวิตสุส น สกฺกา เกนจิ อนุตราโย กาตุํ” ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นมนุษย์หรือ เทวดาก็ตามจะทําอันตรายแก่ชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ย่อมไม่สําเร็จเลย
แต่ในการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับอันตรายเพียงห้อพระโลหิต ดังเช่นพระเทวทัตได้กระทําแก่พระองค์นั้น ก็ได้ชื่อว่าผู้นั้นได้เข้าถึงโลหิตุปปาทกกรรม และโลหิตุปปาทก กรรมนี้แม้จะไม่สําเร็จเป็นปาณาติบาตกรรมบถก็ตาม แต่ก็ได้สําเร็จในข้อพยาบาทกรรมบถ ที่เป็นมโนทุจริต เพราะผู้นั้นมีเจตนาตั้งใจจะฆ่าให้ตาย
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ยุยงสงฆ์ให้แตกกันนั้น ผู้ยุต้องเป็นพระภิกษุด้วยกันอย่างหนึ่ง ผู้ถูกยุก็เป็นพระภิกษุสงฆ์ด้วยกันอย่างหนึ่ง พระภิกษุสงฆ์นั้นเกิดแตกแยกกันคือในพระอุโบสถเดียวกันในเวลาเดียวกัน ร่วมทําสังฆกรรมกันไม่ได้ ต่างแยกกันทําเป็นพวกๆ ไป เมื่อปรากฏผลเช่นนี้แล้ว พระภิกษุซึ่งเป็นผู้ยุในขณะนั้นจะอยู่กับพวกไหนก็ตาม หรือจะไม่ได้อยู่ร่วมด้วยก็ตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงสังฆเภทกกรรม
ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า สามเณร และคฤหัสถ์ทั้ง ๒ นี้ ทําสังฆเภทกกรรมไม่ได้ แต่ถ้าสามเณร หรือคฤหัสถ์ผู้ใดเป็นผู้กระทําการยุยงให้สงฆ์ต้องแตกแยกกันในการงานที่เกี่ยว กับสังฆกกรรมก็ดี หรือในการงานอื่นๆ ก็ดี แม้จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นสังฆเภทกกรรมตามปรมัตถนัยก็จริง แต่ก็จัดเป็นกรรมอันหนักให้ผลแรง และถ้าว่าโดยโวหารนัยแล้วจะเรียกว่าสังฆ เภทกกรรมก็ได้ สําหรับนิยามิจฉาทิฐิกรรมนั้นจะได้อธิบายโดยละเอียดในบทที่เกี่ยวกับ มิจฉาทิฐิที่อยู่ในอกุศลมโนกรรม
๒. อาสันนกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “อาสนุเน อนุสสริตํ อาสนุน” (วา) “อาสนเน กตํ อาสนุนํ” “กรรมที่ดีหรือไม่ดีที่บุคคลระลึกได้ในเวลาใกล้จะตาย ชื่อว่า อาสันนกรรม (หรือ) “กรรมที่ดีหรือไม่ดีที่บุคคลกระทําในเวลาใกล้จะตายชื่อว่า อาสันนกรรม” ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ (เว้นนิยตมิจฉาทิฐิและปัญจานันตริยกรรม) มหากุศลกรรม ๘ (ส่วนมหัคคตกุศลกรรมนั้นไม่จัดเข้าในที่นี้ เพราะเป็นครุกกรรมฝ่ายเดียว)
อธิบายว่า อกุศลกรรมหรือกุศลกรรมบางอย่างที่เราเคยทํามาแล้วเป็นเวลานานและ เราไม่ได้สนใจที่จะนึกถึง จนกระทั่งลืมไปแล้วก็มี แต่เมื่อในเวลาใกล้จะตายนั้นระลึกขึ้นมาได้ ถ้าระลึกได้ถึงเรื่องอกุศลที่เราเคยทําไว้เวลานั้นอกุศลจิตก็เกิดขึ้น อกุศลจิตที่เกิดขึ้น โดยอาศัยการระลึกถึงเรื่องอกุศลได้นี้แหละ ชื่อว่าอกุศลอาสันนกรรม ถ้าระลึกได้ถึงเรื่องกุศลที่เราเคยทําไว้เวลานั้นกุศลจิตก็เกิดขึ้น กุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการระลึกถึงเรื่องกุศลได้นี้แหละ ชื่อว่ากุศลอาสันนกรรม นี้เป็นการอธิบายตามวจนัตถะที่ว่า “อาสนุเน อนุสฺสริตํ อาสนุนํ”
หรือบางคนไม่เคยได้ทําบุญที่เป็นล่ำเป็นสันแต่อย่างใด แต่เกิดมีศรัทธาขึ้นต้องการ จะสร้างกุศลให้เป็นหลักฐานสักอย่างหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งต่อไปข้างหน้าได้แล้วก็กระทํากุศลนั้นๆ มีบวชพระ ทอดกฐิน สร้างศาลา สร้างบ่อน้ำ สร้างโรงเรียน สร้างพระธรรม รักษาอุโบสถ เจริญสมถะวิปัสสนา เป็นต้น ในขณะที่กําลังทํากุศลอยู่นั้นเกิดมีอันเป็นไปทําให้ผู้นั้นต้องสิ้นชีวิตลงก็ดี หรือเมื่อทํากุศลเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาไม่ช้าก็สิ้นชีวิตลงก็ดี กุศลชนิดนี้ได้ชื่อว่ากุศลอาสันนกรรม หรือบางคนเมื่อยังสบายอยู่ไม่เคยคิดที่จะสร้างกุศลให้เกิดขึ้น ต่อเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นทําให้รู้สึกกลัวตาย และมองหาที่พึ่ง เมื่อเห็นว่าตนยังไม่มีที่พึ่งแต่อย่างใด ก็กลัวว่าเมื่อตายแล้วจะต้องไปสู่ที่ ลําบาก ฉะนั้น ผู้นั้นจึงได้ทํากุศลให้เกิดขึ้นมีทานกุศลบ้าง นิมนต์พระมาแล้วรับศีลฟังธรรมบ้าง เจริญสมถะบ้าง วิปัสสนาบ้าง เหล่านี้เป็นต้น ในขณะที่กําลังทํา กุศลนั้นๆ อยู่ได้สิ้นชีวิตลงก็ดี หรือเมื่อได้กระทําเรียบร้อยแล้ว ต่อมาไม่ช้าก็สิ้นชีวิตลงก็ดี กุศลชนิดนี้ก็ได้ชื่อ ว่ากุศลอาสันนกรรม
ส่วนอกุศลอาสันนกรรมนั้น เช่น ผู้ที่กําลังทะเลาะวิวาทแล้วเกิดตีกัน ฆ่าฟันกันขึ้น ผู้ที่ถูกตีหรือถูกยิง ถูกฟันนั้น เกิดตายลงในขณะนั้นก็ดี หรือต่อมาไม่ช้าตายลงก็ดี หรือผู้ ที่กําลังกระทํามิจฉาอาชีพมีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เป็นต้น ในขณะที่กําลังกระทําอยู่นั้นเผอิญ ถูกยิงตาย หรือตายด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดก็ตาม อกุศลเหล่านี้ได้ชื่อว่าอกุศลอาสันนกรรม
หรือบางคนกําลังมีความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่โดยการเสพสุรายาเมาเฮฮากันบ้าง กําลังดูหนังดูละครบ้าง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งการกระทําต่างๆ เหล่านี้จัดเป็นอกุศลทั้งสิ้น ในขณะที่กําลังทําอยู่นั้นเกิดมีเหตุปัจจัยขึ้น ทําให้ผู้นั้นต้องเสียชีวิตลง เช่นนี้ได้ชื่อ ว่าอกุศลเหล่านั้นเป็นอกุศลอาสันนกรรม หรือพวกมิจฉาทิฐิบางพวกเมื่อรู้ว่าตนจะต้องตาย ก็มีการกระทําพิธีฆ่าสัตว์ต่างๆ เอามาบูชายัญ เพื่อตนตายแล้วจะได้ไปสู่สวรรค์ เมื่อการ กระทําได้สําเร็จลงแล้วผู้นั้นก็ตายลง การกระทําเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่าอกุศลอาสันนกรรม นี้ อธิบายตามวจนัตถะที่ว่า “อาสนุเน กตํ อาสนุนํ”
๓. อาจิณณกรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “อาจียติ ปุนปฺปุนํ กรียตีติ อาจิณฺณํ” “กรรมอันใดที่บุคคลพึงสั่งสมไว้บ่อยๆ ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าอาจิณณกรรม” ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ หมายความว่าผู้ที่ทําทุจริตต่างๆ ที่เกี่ยวด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง ใจบ้าง อยู่เสมอๆ จะทําโดยเป็นอาชีพก็ตาม ไม่ใช่อาชีพก็ตามการกระทําเหล่า นี้เรียกว่าอกุศลอาจิณณกรรม ผู้ที่ทําบุญอยู่ เสมอๆ มีการใส่บาตรทุกๆ วัน รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เป็นประจํา มีการสอนการศึกษาในธรรมวินัยอยู่เสมอ เจริญ สมถะวิปัสสนาอยู่เสมอ การกระทําเหล่านี้เรียกว่า กุศลอาจิณณกรรม
อนึ่ง ผู้ที่ทําทุจริตอย่างใดอย่างหนึ่งสําเร็จลงไปแล้วแม้เพียงครั้งเดียว แต่ผู้นั้นหวน คิดถึงอยู่เสมอในการกระทําของตน แล้วก็เกิดวิปปฏิสาร คือความไม่สบายใจ กลุ้มใจและกุกกุจจะ ความรําคาญใจขึ้น หรือเมื่อนึกถึงแล้วทําให้เกิดความยินดีพอใจในการกระทํา ของตนนั้นอยู่เสมอ ความไม่สบายใจ หรือความพอใจที่เกิดขึ้นเสมอๆ โดยอาศัยการระลึก ถึงการกระทําที่เป็นทุจริตของตนนั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็น อกุศลอาจิณณกรรมด้วยเหมือนกัน
ในการกระทําที่เป็นฝ่ายกุศลก็เช่นเดียวกัน แม้จะได้ทําไปเพียงครั้งเดียวแล้วระลึกถึงอยู่เสมอ เมื่อระลึกถึงคราวใดก็ทําให้เกิดปีติโสมนัสในการทําบุญของตนนั้นอยู่เสมอ ความปีติอิ่มใจที่เกิดขึ้นอยู่เสมอโดยอาศัยการระลึกถึงกุศลของตนนั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นกุศลอาจิณณกรรมเช่นเดียวกัน
๔. กฏตตากรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “กฏตฺตา เอว กมฺมนฺติ กฏตฺตากมุมํ” การกระทําที่ได้ชื่อว่ากรรม ก็โดยที่ว่ากระทําลงไปแล้วเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่ากฏัตตากรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ หมายความว่ากุศลกรรมและอกุศลกรรมที่เคย ทํามาแล้วในภพก่อนๆ ซึ่งได้แก่อปราปริยเวทนียกรรมอย่างหนึ่ง และกุศลกรรม อกุศลกรรม ที่ทําในภพนี้ที่ไม่ได้เข้าถึงความเป็น ครุกกรรม อาสันนกรรม และอาจิณณกรรม เป็น กรรมอย่างสามัญ ผู้กระทําไม่ได้มีความตั้งใจอย่างเต็มที่ คล้ายกับว่าไม่เต็มใจทํา การที่ กล่าวได้เช่นนี้ก็เพราะว่า “เอว” ที่อยู่ในบทวิเคราะห์ว่า กฏตฺตา เอว กมฺมํ นั้น เป็นคําปฏิเสธกรรมที่เข้าถึงความเป็น ครุกรรมอาสันนกรรมอาจิณณกรรมนั้นเอง
อนึ่ง ครุกกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรม ทั้ง ๓ นี้ก็จัดเป็นกฏัตตากรรมได้เหมือนกัน เพราะกระทําสําเร็จลงไปแล้ว แต่ที่ไม่เรียกว่ากฏัตตากรรมก็เพราะกรรมเหล่านี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะอยู่แล้ว และคําว่า เอว ที่ประกอบอยู่นั้นก็เป็นเครื่องกีดกั้นไม่ให้ กรรมทั้ง ๓ เหล่านี้ได้ชื่อว่ากภัตตากรรม
กรรมทั้ง ๔ ดังกล่าวมาแล้วนี้ พระอนุรุทธาจารย์แสดงถึงการให้ผลปฏิสนธิคือ ให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น ในภพที่ ๒ ตามลําดับ ฉะนั้นจึงเรียกว่า “ปากทานปริยายจตุกกะ” ซึ่งคําว่า ปาก = ปฏิสนธิผล ทาน = ให้ ปริยาย = วาระ หรือลําดับจตุกกะ = มี ๔ อย่าง เมื่อรวมเนื้อความแล้ว = กรรมที่ให้ผลปฏิสนธิตามลําดับ มี ๔ อย่าง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าผู้ใดมีกรรมทั้ง ๔ อย่างแล้ว ครุกกรรมจะเป็นผู้ให้ผลปฏิสนธิคือ ถ้าได้ฌานก็จะไปเกิดเป็นพรหม ถ้าทําปัญจานันตริยกรรมหรือนิยตมิจฉาทิฐิกรรมก็จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก ส่วนกรรมที่เหลือนั้นให้ผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ ไม่ได้ เป็นแต่เพียงให้ผลในปวัตติกาล ถ้าผู้ใดไม่มีครุกกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายความว่าผู้นั้นไม่ได้ทําปัญจานันตริยกรรม หรือไม่มีความเห็นผิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ และมิใช่เป็นฌานลาภีบุคคล คือปุถุชนธรรมดา และมิได้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี มีแต่กรรมที่เหลือ ๓ ประเภท ในกรณีนี้ อาสันนกรรมจะเป็นผู้ให้ผล ปฏิสนธิให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา อบายสัตว์ ตามสมควรแก่ กรรมและบุคคลในภพที่ ๒ ส่วนอาจิณณกรรมและกฏตตากรรมทั้ง ๒ นั้นจะเป็นผู้ให้ ผลในปวัตติกาล ถ้าผู้ใดไม่มีครุกกรรมและอาสันนกรรม มีแต่กรรมที่เหลือ ๒ ในกรณีนี้ อาจิณณกรรมจะเป็นผู้ให้ผลปฏิสนธิให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา อบายสัตว์ตามสมควรแก่กรรมและบุคคลในภพที่ ๒ เช่นเดียวกัน ส่วนกฏัตตากรรมจะเป็นผู้ให้ผลในปวัตติกาล และ ถ้าผู้ใดไม่มีครุกกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรมทั้ง ๓ หมายความว่าบุคคลชนิดนี้มีชีวิต อยู่ยังไม่ทันจะได้ทํา ทุจริต สุจริตแต่อย่างใดก็ตายลง เมื่อเป็นเช่นนี้ กฏัตตากรรมนั้นแหละ จะเป็นผู้ให้ผลปฏิสนธิให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา อบายสัตว์ตามสมควร เพราะสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในโลกนี้ที่จะไม่มีกฏตตากรรมนั้นย่อมไม่มี
อนึ่ง ในระหว่างอาสันนกรรม และอาจิณณกรรมทั้ง ๒ นี้ ไม่ต้องกล่าวในด้านการ ให้ผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ เมื่อพิจารณาในด้านที่เป็นไปตามปกติแล้วอาจิณณกรรมย่อมมี กําลังมากกว่าอาสันนกรรม เพราะเป็นกรรมที่ทําอยู่เสมอๆ ฉะนั้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา และอังคุตตรอรรถกถา จึงแสดงถึงกรรมที่ให้ผลตามลําดับนั้นว่า
“อปรมฺปิ จตุพฺพิธํ กมุมํ ยํ ครุกํ ยํ พหุลํ ยทาสนุนํ กฎตฺตา วา ปน กมุมนฺติ
“อีกประการหนึ่งกรรมมี ๔ อย่างที่ว่าโดยการให้ผลตามลําดับคือครุกกรรม กรรมอันหนักอย่างหนึ่ง พหุลกรรม กรรมที่ ทำหลายๆ ครั้งอย่างหนึ่ง อาสันนกรรม กรรมที่ทําเมื่อใกล้จะตายอย่างหนึ่ง กฏัตตากรรม กรรมที่ได้เคยทํามาแล้วในภพ ก่อนอย่างหนึ่ง"
แม้ว่า อาจิณณกรรมจะมีกําลังมากกว่าอาสันนกรรมก็จริง แต่ในการจะให้ผลปฏิสนธิ ในภพที่ ๒ นั้น อาสันนกรรมซึ่งเป็นกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้จะตายย่อมสําคัญมากกว่า หมายความว่าตามธรรมดาผู้ที่ใกล้จะตายนั้น กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต อย่างใด อย่างหนึ่ง จะต้องปรากฏใน มรณาสันนชวนะด้วยอํานาจของกรรมที่จะให้ผลปฏิสนธิใน ภพที่ ๒ และกรรมที่มีอํานาจนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏขึ้นใน มรณาสันนชวนะได้นี้ อาสันนกรรมที่เกิดขึ้นใกล้กับมรณาสันนชวนะนั้นแหละ ย่อมมีโอกาสได้มากกว่าอาจิณณกรรมที่เคยทําอยู่เสมอ ทั้งนี้อุปมาเหมือนนายโคบาลต้อนฝูงโคซึ่งมี ทั้งโคแก่และโคหนุ่มให้เข้าอยู่ในคอก เผอิญโคแก่นั้นอยู่ข้างหลัง ฉะนั้นเมื่อเวลาที่โค ทั้งหลายเข้าไปในคอกเรียบร้อยแล้ว โคแก่นั้นจึงอยู่ในที่ใกล้กับประตู พอถึงเวลาเช้านายโคบาลมาเปิดประตูให้ฝูงโคนั้นออก โคแก่ที่ยืนอยู่ที่ปากประตูคอกก็มีโอกาสออกได้ก่อนเพื่อน แม้ว่าจะแก่มีกําลังน้อยก็ตาม ข้อนี้ฉันใด อาสันนกรรมเมื่อว่าโดยกําลังแล้วมีกําลัง น้อยกว่าอาจิณณกรรมก็จริง แต่เป็นกรรมที่เกิดขึ้นใกล้กับมรณาสันนชวนะ และสามารถนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏขึ้นได้เช่นนี้แล้ว ก็เป็นอันตัดสินได้ว่ากรรมนี้ แหละเป็นผู้นําให้สัตว์นั้นปฏิสนธิในภพที่ ๒ ด้วยเหตุนี้ ในอภิธัมมัตถสังคหะจึงแสดงถึง กรรมที่ให้ผลตามลำดับ โดยยกเอาอาสันนกรรมขึ้นไว้ก่อนอาจิณณกรรม
ข้ออุปมาที่ยกไว้ว่า โคแก่อยู่ติดกับปากคอกย่อมออกประตูคอกได้ก่อนโคหนุ่มที่อยู่ข้างหลัง แต่ถ้าโคแก่นั้นไม่มีกําลังพอที่จะเดินออกจากประตูคอกไปได้ โคอื่นๆ ที่อยู่ข้างหลังก็มีโอกาสออกไปได้ก่อนโคแก่ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าอาสันนกรรมที่มีกําลังอ่อนไม่ สามารถนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏในมรณาสันนชวนะได้ก็มี ฉะนั้น อาสันนกรรมที่มีกําลังอ่อนนี้จึงไม่มีโอกาสส่งผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ ได้ ต้องเป็นหน้าที่ของอาจิณณกรรมนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏในมรณสันนชวนะ พร้อมทั้งส่ง ผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ แทน เมื่อเป็นเช่นนี้อาจิณณกรรมก็ต้องอยู่ในลําดับที่ ๒ ส่วน อาสัณณกรรมตกไปอยู่ในลําดับที่ ๓ ตรงกับที่วิสุทธิมรรคอรรถกถา และอังคุตตร อรรถกถาได้แสดงไว้นั้น
อนึ่ง ตามที่วิสุทธิมรรคอรรถกถาแสดงลําดับแห่งการให้ผลของกรรม โดยยกเอาอาจิณณกรรมขึ้นไว้ก่อนอาสันนกรรมนั้น ก็เข้าใจได้อีกว่าอาสันนกรรมของผู้นั้นมีกําลังอ่อน กฏัตตากรรม และอาจิณณกรรมจึงไม่สามารถช่วยสนับสนุนให้ อาสันนกรรมนั้นส่ง ผลปฏิสนธิได้ ด้วยเหตุนี้ จึงตกเป็นหน้าที่ของอาจิณณกรรมที่จะให้ผลปฏิสนธิโดยได้รับ การช่วยเหลือสนับสนุนจากกฏัตตากรรม อันได้แก่อปราปริยเวทนียกรรมนั้นเอง
๓. ปากกาลจตุกกะ
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม นี้มีวจนัตถะแสดงว่า “ทิฏฺโฐ ธมฺโม ทิฏฐธมฺโม”
“สภาพที่เป็นไปอันพึงประจักษ์ได้ในภพนี้ ชื่อว่าทิฏฐธัมมะ” ได้แก่ อัตตภาพที่ปรากฏ ในภพนี้ “เวทียติ อนุภูยตีติ เวทนียํ” ผลอันใดจึงได้เสวย ฉะนั้นผลอันนี้ชื่อว่าเวทนีย ได้แก่ ผลที่เกิดจากกามาวจรกรรม
“ทิฏฺฐธมฺเม เวทนียนฺติ ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ” กรรมที่พึงได้เสวยในอัตตภาพที่ปรากฏ นภพนี้ ฉะนั้นกรรมนั้นชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนีย ได้แก่ อกุศลกรรม และมหากุศลกรรมเจตนาทีในชวนะดวงที่ ๑ (วจนัตถะข้อนี้เป็นการแสดงโดยผลูปจารนัย)
หรืออีกนัยหนึ่ง “ทิฏฐิธมฺเม เวทนียํ ผลํ เอตสฺสาติ ทิฏฐธมฺมเวทนียํ” “ผลที่พึง ได้เสวยในอัตภาพที่ปรากฏในภพนี้มีแก่กรรมนั้น ฉะนั้น กรรมที่มีผลอันพึงได้เสวยในอัตภาพ ที่ปรากฏในภพนี้ จึงชื่อว่าทิฏฐธัมมเวทนีย” ได้แก่ อกุศลกรรม และ มหากุศลกรรมเจตนา ทีในชวนะดวงที่ ๑ (วจนัตถะข้อนี้เป็นการแสดงโดยมุขยนัย)
อธิบาย
การกระทําต่างๆ ของคนเรานั้น จะเป็นทางกาย ทางวาจา ทางใจก็ตาม จะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายไม่ดีก็ตาม ในขณะที่ กระทํานั้นต้องมีชวนะเกิดขึ้น ๗ ครั้งเสมอไปเป็น ส่วนมาก และวิถีจิตที่มีชวนะเกิดขึ้น ๗ ครั้งนี้ ก็มีมากมายนับไม่ถ้วนในการกระทําอย่าง หนึ่งๆ ในบรรดาชวนะ ๗ ครั้งเหล่านี้ เจตนาที่ประกอบอยู่ในชวนะดวงที่ ๑ นั้น ชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม หมายความว่ากรรมชนิดนี้ให้ได้รับผลปรากฏในปัจจุบันภพ คือให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้กิน ได้ถูกต้องที่ดีและไม่ดี และให้กัมมชรูป กัมมปัจจยอุตุขรูป คืออวัยวะในร่างกายและผิวพรรณที่ดีและไม่ดีซึ่งเป็นอเหตุกผลเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่สามารถให้ผลในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล ตั้งแต่ภพที่ ๒ เป็นต้นได้ กล่าวคือ กุศลเจตนา อกุศลเจตนา ที่ประกอบอยู่ในชวนะดวงที่ ๑ นี้ ไม่สามารถจัดแจงให้ผู้นั้นได้ไปเกิดเป็น มนุษย์ เทวดา หรือพวกอบายสัตว์ต่างๆ อันเป็นปฏิสนธิผลได้ และไม่สามารถส่งผลให้ผู้นั้นได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดีต่างๆ อันเป็นปวัตติผลตั้งแต่ภพที่ ๒ เป็นต้นไปได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๑ นี้ มีกําลังไม่มากเท่ากับชวนะดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๗ เพราะ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกไม่ได้รับการช่วยอุปการะจากอาเสวนปัจจัย คือชวนะด้วยกัน ฉะนั้น จึงให้ผลในภพที่ ๒ เป็นต้นไม่ได้ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลดังกล่าวแล้ว ส่วนในการที่ชวนะดวงที่ ๑ นี้ ได้รับการอุปการะจากมโนทวาราวัชชนจิตซึ่งเป็นอนันตรปัจจัยสมนันตรปัจจัยนั้นก็ไม่ใช่เป็นการอุปการะในด้านกําลัง เป็นแต่อุปการะในด้านให้เกิดขึ้นเท่านั้น ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา และนามรูปปริจเฉทอรรถกถาว่า
ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ ปฐมํ ชวนํ ภเว
อสทฺธาเสวนตฺตา วา อสมมตฺตํ ภวนฺตเร ฯ
“ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้นได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๑ เจตนานี้ไม่สามารถส่งผลในภพที่ ๒ ได้ เพราะไม่ได้รับอุปการะจากอาเสวนปัจจัย
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ๒
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. ปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภพนี้เข้าถึงความแก่กล้าแล้ว
๒. อปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภพนี้ยังเข้าไม่ถึงความแก่กล้า
ข้อที่ ๑ ที่ว่ากรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภาพนี้เข้าถึงความแก่กล้าแล้วนั้น หมายความว่าจะให้ได้รับผลปรากฏใน ระหว่าง ๗ วันแน่นอน ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์ได้แสดงไว้ในเทวทหสูตรแห่งอุปริปัณณาสกอรรถกถาว่า
“ยํ ปน สตฺตทิวสพฺภนฺตเร วิปากํ เทติ, ตํ ปริปกฺกเวทนียํ นาม” กรรมใดให้ผลภายใน ๗ วัน กรรมนั้นชื่อว่า ปริปักกเวทนียกรรม ดังเช่นเรื่องชายยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง ชื่อว่ามหาทุคคตะ ได้ถวายภัตตาหารแด่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้ถวายเรียบร้อยแล้วภายใน ๗ วันนั้นเองก็ร่ำรวยขึ้นเป็นเศรษฐี กับเรื่องนายปุณณะและภรรยา ซึ่งเป็นคนยากจน ได้ถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตร แล้วได้เป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน และเรื่องนายกากวฬิยะกับภรรยาที่เป็นคนยากจน ได้มีโอกาสถวายภัตตาหารแก่ พระมหากัสสปเถระ แล้วได้เป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน เช่นเดียวกัน ทั้ง ๓ คนนี้เมื่อเป็นเศรษฐีแล้วก็ย่อม ได้รับอารมณ์ที่ดีต่างๆ มีการเห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ได้กินดี ได้ถูกต้องสัมผัสแต่สิ่งที่ดีๆ เหล่านี้ซึ่งล้วนแต่เป็นกุศลวิบาก จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็นต้น ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ส่วนทางฝ่ายรูปธรรมนั้นก็มีหน้าตาผิวพรรณผ่องใส ร่างกายสมบูรณ์ขึ้นซึ่งเป็นกัมมชรูปกัมมปัจจยอุตุชรูปที่เกิดจากกุศลกรรมนั้นเอง กุศลวิบากจักขุวิญญาณเป็นต้นก็ดี ร่างกาย ผิวพรรณที่สมบูรณ์ผ่องใสก็ดี เหล่านี้ก็เป็นอเหตุกธรรมทั้งสิ้น ฉะนั้น ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้จึงเป็นกรรมที่ให้ผลปรากฏในฝ่ายอเหตุกธรรมเท่านั้น
ปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรมในฝ่ายอกุศลนั้น ดังเช่นเรื่องนันทมานพที่ถูกธรณีสูบ เพราะการทําลายพระอุบลวัณณาเถรีที่เป็นพระอรหันต์เป็นเหตุ และเรื่องชายที่มีอาชีพฆ่าโคคนหนึ่ง ชื่อนันทะ วันหนึ่งอาหารในบ้านเกิดขาดแคลนลงจึงถือมีดไปที่คอกโค แล้วตัด เอาลิ้นโคออกมาให้ภรรยาเอาไปปิ้ง เมื่อภรรยาปิ้งลิ้นโคเสร็จแล้วก็ลงมือกิน ในขณะที่นายนันทะกําลังกินลิ้นโคอยู่นั้น ลิ้นของนายนันทะเองก็ขาดตกลงมาได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก ร้องครวญครางขึ้นด้วยเสียงอันดัง แล้วก็ถึงแก่ความตายอยู่ ณ ที่นั้น ในขณะที่นายนันทะได้รับความเจ็บปวดนั้น ทุกขสหคตกายวิญญาณจิตและจักขุวิญญาณโสต วิญญาณ เป็นต้น ที่เป็นอกุศลวิบากย่อมเกิดขึ้นพร้อมทั้งกัมมชรูป กัมมปัจจยอุตุชรูป อันได้แก่บาดแผลที่เกิดจากลิ้นขาดนั้น
พระเทวทัตที่ถูกธรณีสูบอันเนื่องจากการกระทําโลหิตุปบาท และสังฆเภทกกรรม ก็ดี พระเจ้าสุปปพุทธะที่เป็นพระบิดาของพระเทวทัตและพระนางพิมพา ได้ถูกธรณีสูบเนื่อง จากแสดงการอคารวะขับไล่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี โกกาลิกพราหมณ์ที่ถูกธรณีสูบเนื่อง จากด่าพระอัครสาวกทั้ง ๒ ก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรมทั้งสิ้น
ข้อที่ ๒ ที่ว่ากรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภพนี้ ยังไม่เข้าถึงความแก่กล้านั้น หมายความว่าการกระทํากุศล อกุศลนั้น จะส่งผลให้ปรากฏหลังจาก ๗ วัน ไปแล้วนั่นเอง
รวมความว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้ เป็นกรรมที่ให้ได้รับผลในปัจจุบันภพเท่านั้น ไม่ข้ามภพข้ามชาติไป คือผู้ใดทํากุศล อกุศลในปฐมวัย กรรมนี้จะให้ผู้นั้นได้รับผลในปฐมวัย ก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี, ผู้ใดทํากุศล อกุศลในมัชฌิมวัย กรรมนี้จะให้ผู้นั้นได้รับผล ในมัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี ผู้ใดทํากุศล อกุศลในปัจฉิมวัย กรรมนี้จะให้ผู้นั้นได้รับผล ในปัจฉิมวัยก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมทั้งสิ้น ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอุปริปัณณาสกอรรถกถาว่า
"ยํ ปฐมวเย กตํ ปฐมวเย วา มชฺฌิมวเย วา ปจฺฉิมวเย วา,
มชฺฌิมวเย กตํ มชฺฌิมวเย วา ปจฺฉิมวเย วา, ปจฺฉิมวเย กตํ ตตฺเถว วิปากํ เทติ, ตํ ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ นาม"
“กรรมอันใดที่ได้กระทําในปฐมวัยแล้ว ย่อมให้ผลในปฐมวัย มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัยก็ดี กรรมอันใดที่ได้ กระทําในมัชฌิมวัย แล้ว ย่อมให้ผลในมัชฌิมวัย หรือปัจฉิมวัยก็ดี กรรมอันใดที่ได้ กระทําในปัจฉิมวัยแล้ว ย่อมให้ผลในปัจฉิมวัยนั้นเองก็ดี กรรม อันนั้นชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม”
แสดงการเปรียบเทียบ ผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมกับอุปปัชชเวทนียกรรม
โดยมากเราเข้าใจกันว่า ผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้น เป็นผลที่มีกําลังหนักมาก เพราะการที่ได้เป็นเศรษฐีขึ้นภายใน ๗ วันก็ดี หรือการที่ถูกธรณีสูบลงทันทีก็ดี เหล่านี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะได้รับได้ง่ายๆ และไม่ใช่จะรับได้ทุกๆ คนไป ผู้ที่จะได้รับผลชนิด นี้จะต้องมีกรณีเป็นพิเศษ ทั้งทางดีและทางไม่ดี ด้วยเหตุนี้ จึงทําให้คนทั้งหลายปรารถนา ที่จะได้รับผลจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายดี คือต้องการเป็นเศรษฐีทันตาเห็น และมีความกลัวต่อการที่จะได้รับผลจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายชั่ว คือกลัวถูกธรณีสูบ เป็นต้น แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับการให้ผลของอุปปัชชเวทนียกรรมแล้ว ผลที่ได้รับจากอุปปัชชเวทนียกรรมย่อมมีน้ำหนักมากกว่า เพราะผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้น เป็นแต่เพียงผลที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นเฉพาะชั่วชีวิตเท่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตแล้วผลนั้นก็เป็นอันสุดสิ้นลงพร้อมทั้งอํานาจของทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้นก็หมดลงด้วย ส่วนผลที่ได้รับจากอุปปัชชเวทนียกรรมนั้น คือเมื่อผู้นั้นสิ้นชีวิตลงแล้ว อํานาจแห่งกรรมชนิดนี้ ย่อมเปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนภาวะของผู้นั้นให้ได้รับผลยิ่งขึ้นทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล กล่าวคือถ้าเป็นฝ่ายอกุศลผู้นั้นก็ต้องไปบังเกิดเป็นสัตว์นรก แล้วได้รับความทุกข์ทรมาน ตลอดกาลนาน ถ้าเป็นกุศลก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ชั้นสูง แล้วได้รับความสุข กายสุขใจอย่างสมบูรณ์ตลอดอายุขัยของตนตามภูมินั้นๆ ถ้าจะอุปมาเปรียบเทียบระหว่าง กรรมทั้ง ๒ นี้แล้ว ก็เหมือนต้นไม้ ๒ ชนิดๆ หนึ่งมีแต่ดอกไม่มีผล อีกชนิดหนึ่งมีทั้งดอก ทั้งผล ต้นไม้ชนิดที่มีแต่ดอกนั้นเมื่อออกดอกแล้วก็แล้วกันไม่มีอะไรที่จะเป็นเชื้อสายให้ต้นนั้นแพร่หลายออกไปได้ ส่วนต้นไม้ชนิดที่มีทั้งดอกทั้งผลนั้น เมื่อออกดอกแล้วดอกนั้นเอง เปลี่ยนเป็นผลไป และผลนั้นก็สามารถสืบพืชพันธุ์แพร่หลายออกไปได้ ข้อนี้ฉันใด ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมก็เปรียบเหมือนกับต้นไม้ชนิดที่มีแต่ดอก เพราะส่งผลให้เพียงแต่ในชาตินี้เท่านั้นไม่สามารถตั้งตัวภพให้ปรากฏขึ้นได้ ส่วนอุปปัชชเวทนียกรรมนั้นเปรียบ เหมือนกับต้นไม้ชนิดที่มีทั้งดอกทั้งผล เพราะสามารถตั้งตัวภพให้ปรากฏขึ้นได้ ดังนี้
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นอโหสิกรรมได้หรือไม่?
ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้เป็นกรรมที่มีกําลังอ่อนเนื่องด้วย ไม่ได้รับการอุปการะจากอาเสวนปัจจัย ฉะนั้นจึงให้ผลได้แต่ในภพนี้เท่านั้น แต่การให้ผลนี้ก็ไม่แน่ อาจไม่ให้ผล เป็นอโหสิกรรมไปก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่าทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่ จะส่งผลให้ปรากฏได้นั้น จะต้องอยู่ในลักษณะ ๔ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งคือ
๑. ปฏิปักฺเขหิ อนภิภูตตาย ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หมายความว่าถ้าเป็นกุศลทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากอกุศลกรรมและถ้าเป็นอกุศลทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากกุศลกรรมเช่นนี้แล้วกรรมนั้นจึงจะ ให้ผลปรากฏ ถ้าถูกเบียดเบียนด้วยกรรมที่ตรงกันข้ามแล้ว กรรมนั้นก็ไม่ให้ผล เป็น อโหสิกรรมไป
๒. ปจฺจยวิเสเสน ปฏิลทุธวิเสสตาย มีกําลังพิเศษเพราะได้รับการช่วยอุปการะ จากปัจจัยอันพิเศษ หมายความว่าถ้าเป็นกุศลทิฏฐธัมมเวทนียกรรมก็ต้องประกอบด้วยสัมปัตติ ๔ อย่าง คือคติสัมปัตติ กาลสัมปัตติ อุปธิสัมปัตติ ปโยคสัมปัตติ และถ้าเป็นอกุศล ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็ต้องประกอบด้วยวิปัตติ ๔ อย่าง คือคติวิปัตติ การวิปัตติ อุปธิวิปัตติ ปโยควิปัตติ เช่นนี้แล้วกรรมนั้นจึงจะให้ผลปรากฏ ถ้าประกอบด้วยเหตุที่ตรงกันข้าม กล่าวคือกรรมฝ่ายกุศลประกอบด้วยวิปัตติ ๔ อย่าง หรือกรรมฝ่ายอกุศล ประกอบด้วยสัมปัตติ ๔ อย่าง ดังนี้แล้วกรรมนั้นก็ไม่ให้ผล เป็นอโหสิกรรมไป ความหมาย ของสัมปัตติ ๔ และวิปัตติ ๔ มีดังนี้
ก. คติสัมปัตติ หมายถึงบุคคลที่ได้เกิดอยู่ในสุคติภูมิ มีมนุษย์ เทวดาและพรหม คติวิปัตติ หมายถึงบุคคลที่เกิดอยู่ในทุคติภูมิ มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น
ข. กาลสัมปัตติ หมายถึงสมัยใดที่บุคคลได้อยู่ในประเทศที่มีพระราชาเป็นสัมมาทิฐิบุคคลปกครองบ้านเมืองอยู่ และพระพุทธศาสนาก็ยังคงมีอยู่ ยังไม่สูญสิ้นไป กาลวิปัตติ หมายถึงสมัยใดที่บุคคลได้อยู่ในประเทศที่มีพระราชาเป็นมิจฉาทิฐิบุคคลปกครองบ้านเมืองอยู่ และพระพุทธศาสนาก็เสื่อมสิ้นไปแล้ว
ค. อุปธิสัมปัตติ หมายถึงบุคคลที่เกิดมาแล้วมีอวัยวะใหญ่น้อยคือ ตา หู เป็น ต้นนั้น ครบถ้วนบริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง อุปธิวิปัตติ หมายถึงบุคคลที่ได้เกิดมาแล้วมีอวัยวะใหญ่น้อยขาดตก บกพร่องไม่ครบถ้วน
ฆ. ปโยคสัมปัตติ หมายถึงบุคคลที่อาศัยความเพียรถูก และความคิดที่ถูกแล้ว ท่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสุจริต ไม่ผิดกฎหมายของบ้าน เมือง และไม่ผิดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ปโยควิปัตติ หมายถึงบุคคลที่อาศัยความเพียรผิด และความคิดที่ผิด แล้ว ท่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นทุจริต ผิดกฎหมายของบ้านเมือง และผิดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
๓. ตาทิสสฺส ปุพฺพาภิสงฺขารสุส วเสน สาติสยา มีกําลังหนักแน่นด้วยอำนาจ แห่งปุพพาภิสังขาร ซึ่งมีสภาพเหมาะสมแก่ชวนะดวงที่ ๑ หมายความว่า ก่อนที่จะลงมือ กระทําการงานที่เป็นฝ่ายกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม บุคคลใดได้มีการปรับปรุงจิตใจของตน ให้เกิดความกล้า และอดทนต่อการงานนั้นๆ โดยมีการคิดว่า
ผู้ที่มีความพอใจจะกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่จะไม่สําเร็จย่อมไม่มี หรือผู้ที่มีความเพียรกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่จะไม่สําเร็จย่อมไม่มี หรือ ผู้ที่มีใจตั้งมั่นจะกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่ไม่สําเร็จย่อมไม่มี หรือผู้ที่มีปัญญา จะกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่จะไม่สําเร็จย่อมไม่มี
บุคคลที่มีความคิดเช่นนี้แล้วกระทําการงานใดๆ ก็ตาม จิตที่เกิดขึ้นในขณะที่กําลังทําการงานอยู่นั้นย่อมมีกําลังมาก ฉะนั้น ชวนะดวงที่ ๑ ซึ่งเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรม จึงให้ผลปรากฏในภพนี้ได้ ถ้าไม่ประกอบด้วยปุพพาภิสังขารทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว กรรมอันนั้นก็ไม่มีกําลังพอที่จะส่งผลให้ปรากฏในภพนี้ได้ เป็นอโหสิกรรมไป
๔. คุณวิเสสยุตฺเตสุ อุปการาปการวสปฺปวตฺติยา ชวนะที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยอํานาจแห่งการกระทําที่เป็นคุณความดี หรือที่เป็นการทําลายนั้น ได้กระทําต่อบุคคล ที่ประกอบด้วยคุณอันพิเศษ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอนาคามี เป็นต้น หมายความว่าถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็เหมือนกับชายยากจนเข็ญใจที่ชื่อมหาทุคคตะ ที่ได้ถวายทานแด่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลก็เหมือนกับนันทมานพที่ได้ทําลาย พระอุบลวัณณาเถรีดังนี้แล้ว กรรมอันนั้นก็ส่งผลให้ปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น ถ้ากรรม เหล่านี้ไม่ได้กระทําต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณอันวิเศษดังกล่าวแล้ว กรรมนั้นก็ไม่ส่งผล ให้ปรากฏในภพนี้ เป็นอโหสิกรรมไปโดยส่วนมาก เพราะการกระทําที่เป็นฝ่ายอกุศล แม้ว่าจะไม่ได้กระทําต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณอันพิเศษก็ตาม แต่ให้ผลปรากฏในปัจจุบัน ได้ก็มีอยู่ ดังเช่นเรื่องนายนันทะที่มีอาชีพฆ่าโค ได้ตัดลิ้นโคเอามาปิ้งกินเป็นอาหารแล้ว อกุศลปาณาติบาตที่ตนกระทําอยู่เป็นนิจ ได้เข้าช่วยสนับสนุนแก่ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ทําให้ลิ้นของนายนันทะขาดตกลงมาเฉพาะหน้าในขณะที่กําลังกินอาหารอยู่นั้นเอง
สาเหตุที่ทําให้ผลของทานกุศลปรากฏได้ในภพนี้
สําหรับทานกุศลที่จะสามารถเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วัตถุสัมปทา ปฏิคาหกผู้รับทานนั้น เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์
๒. ปัจจยสัมปทา วัตถุสิ่งของที่นํามาถวายนั้น เป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์
๓. เจตนาสัมปทา ผู้ถวายทานถึงพร้อมด้วยเจตนาอันแรงกล้า
๔. คุณาติเรกสัมปทา พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้รับทานนั้น ได้พร้อม ด้วยคุณอันพิเศษกล่าวคือพึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ
เมื่อครบด้วยองค์ทั้ง ๔ ประการดังกล่าวนี้แล้ว ทานของผู้นั้นก็สําเร็จเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรม และให้ได้รับผลในปัจจุบันทันที ดังที่มีคําแสดงไว้ในธรรมบทอรรถกถาว่า
“จตสุโสปิ สมฺปทา นาม วตฺถุสมฺปทา ปจฺจยสมุปทา เจตนาสมฺปทา คุณาติเรกสมุปชาติ, ตตฺถ นิโรธสมาปตฺติโต วุฏฐิโต อรหา วา อนาคามี วา ทกฺขิเณยโย วตฺถุสมฺปทา นาม, ปจฺจยานํ ธมฺเมน สเมน อุปฺปตฺติ ปจฺจยสมปทา นาม ทานโต ปุพเพ ทานกาเล ปจฺฉาภาเคติ ตีสุ กาเลสุ เจตนาย โสมนสฺสสหคตญาณสมฺปยุตฺตภาโว เจตนาสมปทา นาม, ทุกขิเณยฺยสฺส สมาปตฺติโต วุฏฐิตภาโว คุณาติเรกสมุปทา นามาติ, เอตาสํ อานุภาเวน ทิฏฺฐธมฺเม มหาสมปตฺติ ปาปุณาติ
“ชื่อว่าสัมปทามี ๔ อย่าง คือ ๑. วัตถุสัมปทา ๒. ปัจจยสัมปทา ๓. เจตนาสัมปทา ๔. คุณาดิเรกสัมปทา ในสัมปทา ๔ อย่างนั้น พระอรหันต์หรือพระอนาคามีควรแก่นิโรธสมาบัติ ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล ชื่อว่าวัตถุสัมปทา, การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัย ทั้งหลายโดยธรรมสม่าเสมอ ชื่อว่าปัจจยสัมปทา, ความมีเจตนา ใน ๓ กาล คือในกาลก่อนแต่ให้ ในกาลกําลังให้ ในกาลภาย หลังให้ ประกอบด้วยญาณ และเกิดพร้อมด้วยโสมนัส ชื่อว่า เจตนาสัมปทา, ส่วนการที่ทักขิเณยยบุคคลออกจากสมาบัติ
ชื่อว่าคุณาติเรกสัมปทา ด้วยอานุภาพแห่งสัมปทาทั้ง ๔ นี้ ย่อม ได้บรรลุมหาสมบัติในทันตาเห็นทีเดียว”
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่ไม่สามารถส่งผลให้ปรากฏในปัจจุบันได้แล้ว ย่อมเป็นอโหสิกรรมไปนั้น ไม่ใช่เป็นอโหสิกรรมเมื่อทําเสร็จไปแล้ว ย่อมเป็น อโหสิกรรมในขณะที่กําลังอยู่นั้นเอง ฉะนั้น อโหสิกรรมนี้จึงมีชื่อเรียกได้ ๓ อย่างคือ
๑. นาโหสิกมุมวิปาโก ชื่อว่า กรรมที่ยังไม่ให้ผล
๒. น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก ชื่อว่า กรรมที่จะไม่ให้ผล
๓. นตฺถิ กมฺมวิปาโก ชื่อว่า กรรมที่ไม่มีผล
ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในมัชฌิมปัณณาสกอรรถกถา อังคุลิมาลสูตร ว่า
“ตถา อสกฺโกนฺโต อโหสิกมุมํ นาโหสิกมุมวิปาโก นภวิสฺสติกมุมวิปาโก นตฺถิกมุมวิปาโกติ อิมสฺส ติกสฺส วเสน อโหสิ"
“ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่ไม่สามารถส่งผลโดยอาการดังกล่าวแล้วนั้น ย่อมเป็นอโหสิกรรม โดยประเภทแห่งชื่อ ๓ อย่าง ดังนี้ คือกรรมที่ยังไม่ให้ผลอย่างหนึ่ง กรรมที่จะไม่ให้ผลอย่างหนิ่ง และกรรมที่ไม่มีผลอย่างหนึ่ง”
ผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมในปัจจุบันภพที่ไม่ปรากฏชัดมีหรือไม่? แก้ว่า มีคือผู้ที่ได้ทํากุศลแล้ว ได้รับเกียรติ ได้รับคําสรรเสริญ ได้รับยศอํานาจ ค้าขายดี มีคนชอบ พอรักใคร่ เหล่านี้เป็นต้น และผู้ที่ได้ทําอกุศลแล้วได้รับโทษ ถูกติเตียน ค้าขายขาดทุน มีคนเกลียด เหล่านี้เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผลที่รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้ ย่อมได้ รับแต่เฉพาะในระหว่างที่มี ชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่สามารถที่จะให้ผลในชาติต่อไป
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม
อุปปัชชเวทนียกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “ทิฏฺฐธมฺมสฺส สมีเป อนตฺตเร ปชฺชิตพฺโพ คนฺตพฺโพติ อุปปัชโช"
“ภพที่ได้เข้าถึงติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นที่ใกล้ที่สุดของปัจจุบันภาพ ฉะนั้น ภพนั้นชื่อว่าอุปปัชช ได้แก่ภพที่ ๒
“อุปปชฺช เวทนียํ ผลํ เอตสฺสาติ อุปปชฺชเวทนียํ” “ผลที่ได้รับในภพที่ ๒ มีอยู่แก่กรรมนั้น ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าอุปปัชชเวทนีย
หรือ “อุปปชฺช เวทนียํ อุปปชฺชเวทนียํ” กรรมที่พึงได้รับเมื่อเข้าสู่ภพที่ ๒ ที่ใกล้กับปัจจุบันภพ แล้วชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลชวนะและ มหากุศลชวนะดวงที่ ๗
ในวจนัตถะที่แสดงมานี้ คําว่า อุป ใน อุปปชฺช แสดงถึงเนื้อความว่าใกล้ อีกนัยหนึ่ง คําว่า อุปปชฺช นี้เป็น นิปาตบท แสดงถึงเนื้อความว่าภพที่ ๒ เหมือนกับคําว่า เปจฺจ ที่มาในพระบาลีว่า “อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ” แปลว่า “ในภพนี้ก็ย่อมมีความดีใจ ในภพ หน้าก็ย่อมมีความดีใจ “ซึ่งแสดงเนื้อความถึงภพที่ ๒ (อนันตรภพ) ฉะนั้น ในวจนัตถะที แสดงว่า “อุปปชฺช เวทนียํ อุปปชฺชเวทนียํ” นั้น จะต้องแปลว่ากรรมที่บุคคลพึงได้รับ ในภพที่ ๒ ชื่อว่าอุปปัชชเวทนีย
อธิบายว่า การงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับกาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายที่กําลังทําอยู่นั้น จะสําเร็จลงได้ก็โดยอาศัยเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ นั้นเอง ชวนะดวงที่ ๑ ถึงดวง ที่ ๖ นั้นไม่สามารถให้สําเร็จได้ ฉะนั้น เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ นี้ท่านจึงกล่าวว่า เป็นอัตถสาธิกเจตนา หรือสันนิฏฐาปกเจตนา ดังที่ปรมัตถทีปนีมหาฎีกาแสดงไว้ว่า
“อตฺถสาธิกา ปน สนฺนิฏฺฐาปกภูตา สตฺตมชวนเจตนา อุปปชชเวทนีย์ นาม“ เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ ที่สามารถให้สําเร็จกิจและ เป็นเหตุในการตัดสินเด็ดขาดนั้น ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม”
ข้อนี้ทําให้รู้ได้ว่าเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ นี้ ย่อมเป็นประธานในการงานทั้งหลายที่ให้สําเร็จกิจลงได้ และย่อมส่งผลให้เกิดในภพที่ติดต่อกัน ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ปวัตติกาล ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม
กรรมที่ชื่อว่าปัญจานันตริยกรรม และนิยตมิจฉาทิฐิกรรม เหล่านี้ก็ได้แก่เจตนาที่อยู่ในอกุศลชวนะดวงที่ ๗ นั้นเอง
เจตนาที่ถือว่าเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ในชวนะที่เกิดเพียง ๖ ครั้ง
ตามในชวนะนิยมแห่งวิถีสังคหะแสดงว่า
“กามาวจรชวนานิ สตฺตกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุเมว วา ชวนฺติ" แปลว่า “กามาวจรชวนะ นี้เกิดขึ้นเสพอารมณ์ในวิถีหนึ่งๆ ๗ ครั้งก็มี ๖ ครั้งก็มี
ฉะนั้น ถ้าในวิถีใดมีชวนะเกิดขึ้น ๖ ครั้ง ก็เป็นอันว่าเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๖ นั้นแหละเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม
ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ อุปปชฺชเวทนียํ อปราปริยเวทนียนติ เตสํ สงฺกมนํ นตฺถิ ยถาสาเนเยว ติฏฐนฺติ"
“การย้ายฐานะแห่งการส่งผลของกรรมทั้ง ๓ คือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม อปราปริย เวทนียกรรม ย่อมไม่มี ย่อมตั้งอยู่ในฐานะของตนเท่านั้น”
๓. อปราปริยเวทนียกรรม
อปราปริยเวทนียกรรม คําว่า อปราปริยเวทนียนี้ เมื่อตัดบทแล้วมี ๓ บท คือ อปร + อปร + เวทนีย, อปร หมายถึงภพอื่น, อปร หมายถึงภพอื่น, เวทนีย หมายถึงผล ที่พึงได้รับ แต่ในที่นี้หมายเอากรรมที่ส่งผลเป็นการแสดงโดยผลูปจารนัย เมื่อรวมกันแล้ว เป็นอปราปริยเวทนีย หมายถึงกรรมที่ส่งผลในภพอื่นๆ ดังแสดงวจนัตถะว่า
“อปโร จ อปโร จ อปราปโร, อปราปโร เยว อปราปริยํ, อปราปริเย เวทนียํ อปราปริยเวทนียํ”
“ภพอื่นๆ ชื่อว่าอปราปร, ภพอื่นๆ นั้นแหละชื่อว่าอปราปริย (ในที่นี้อิยปัจจัยไม่มีเนื้อความพิเศษใดๆ) กรรมที่มีผลอัน บุคคลพึงได้รับในภพอื่นๆ ชื่อว่าอปราปริยเวทนีย
การแสดงวจนัตถะดังกล่าวมานี้ แสดงตามบาลีที่มาในอภิธัมมัตถสังคหะที่ใช้คําว่าอปราปริยเวทนีย์ แต่ในพระบาลีอภิธรรมวิสุทธิมรรคมหาฎีกา และในอังคุตตรฎีกา ใช้ ค่าเรียกกรรมนี้ว่า อปรูปริยายเวทนีย
อปร คือภพอื่นที่นอกจากทิฏฐธัมมภพ ได้แก่ภพนี้ และอุปปัชชภพ คือภพหน้า ได้แก่ ภพที่ ๓ เป็นต้นไป ปริยาย หมายถึงภพต่อๆ ไป เวทนีย หมายถึง ผลที่พึงได้รับ แต่ในที่นี้หมายเอากรรมที่ส่งผล เมื่อรวมกันแล้วเป็นอปรูปริยายเวทนีย หมายถึง กรรม ที่ส่งผลในภพต่อๆ ไป ตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป ดังแสดงวจนัตถะว่า
“ปริยายติ ปุนปฺปุนํ อาคจฺฉตีติ ปริยาโย" ภพใดย่อมมีสภาพหมุนเวียน คือตายแล้วก็เกิดใหม่ๆ ฉะนั้น ภพนั้นชื่อว่าปริยาย “อปโร จ โส ปริยาโย จาติ อปรปริยาโย” ภพที่นอก จากทิฏฐธัมมภพและอุปปัชชภพด้วย มีสภาพหมุนเวียน คือตาย แล้วก็เกิดใหม่ๆ ด้วย ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่าอปรูปริยาย ได้แก่ ภพต่างๆ ตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป “อปรูปริยาเย เวทนีย์ ผล เอตสสาติ อปรปริยายเวทนีย์" ผลที่พึ่งได้รับในภพต่างๆ ตั้ง แต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป มีแก่กรรมอันนั้น ฉะนั้นกรรมนั้นจึงชื่อว่า อปรูปริยายเวทนียกรรม
การแสดงวจนัตถะดังกล่าวมานี้ แสดงให้ทราบได้ว่าเมื่อจําแนกภพโดยการได้รับผลของกรรมนั้นๆ แล้ว ก็มีอยู่ ๓ อย่างคือ ๑. ทิฏฐธัมมภพ “ภพนี้” ๒. อุปปัชชภพ “ภพหน้า” ๓. อปรูปริยายภพ “ภพที่ ๓ เป็นต้นไป” ตลอดจนถึงสุดท้ายที่เข้าสู่ถึงพระนิพพาน
เมื่อกล่าวถึงกรรมที่ส่งผลในอปรูปริยายภพแล้ว กรรมนั้นก็ได้ชื่อว่าอปรูปริยายเวทนียกรรม หรืออปราปริยเวทนียกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะตรงกลาง ๕ ดวง คือตั้งแต่ชวนะดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๖ และอปราปริยเวทนียกรรมนี้เมื่อมีโอกาสส่งผลแล้ว ย่อมส่งผลได้เรื่อยๆ ไป ไม่มีการเป็นอโหสิกรรมจนกว่าผู้นั้นจะเข้าสู่พระนิพพานจึงจะเป็น อโหสิกรรม สมดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอังคุตตรอรรถกถา และมัชฌิมปัณณาสก อรรถกถาว่า
“อุภินฺนํ อนุตร ปญฺจชวนเจตนา อปราปริยาย เวทนียกมฺมํ นาม ตํ อนาคเต ยทา โอกาสํ ลภติ, คทา วิปากํ เทติ, สติ สํสารปวตฺติยา อโหสิกมุมํ นาม น โหติ"
“ชวนเจตนา ๕ ดวงที่ตั้งอยู่ในท่ามกลางแห่งชวนะดวงที่ ๑ และดวงที่ ๗ ชื่อว่าอปราปริยาเวทนียกรรม กรรมชนิดนี้เมื่อ เวลาใดในอนาคตกาลได้มีโอกาสแล้ว เวลานั้นย่อมส่งผล เมื่อภวจักรของผู้นั้นยังวนเวียนอยู่ กรรมนี้จะได้ชื่อว่าอโหสิกรรมนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้”
การส่งผลของอปราปริยายเวทนียกรรมนี้ ย่อมส่งผลได้ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ปวัตติกาล แต่มีปัญหาอยู่ว่าเจตนาที่ชื่อว่าอปราปริยเวทนียกรรมนี้ ในวิถีหนึ่งๆ มีอยู่ ๕ เมื่อเป็นเช่นนี้การส่งผลในปฏิสนธิกาลจะส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดถึง ๕ ครั้ง ได้หรือไม่ ข้อนี้ แก้ว่าไม่ได้ อธิบายว่าเจตนาทีในชวนะ ๕ ดวงเหล่านี้ ถ้ามีโอกาสส่งผลในปฏิสนธิกาล แล้ว ก็ย่อมส่งได้เพียงครั้งเดียว คือให้ไปเกิดได้ครั้งเดียวเท่านั้น สําหรับการส่งผลใน ปวัตติกาลไม่จํากัด คือสามารถส่งผลได้หลายภพหลายชาติ ถ้ามีโอกาสเหมาะสม
อนึ่ง การส่งผลในปฏิสนธิกาลของอปราปริยเวทนียกรรมที่ได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีโอกาสแล้ว ย่อมส่งผลได้เพียงครั้งเดียว ในการที่ใช้คําว่า “ถ้ามีโอกาส” นั้น อธิบายว่าการงาน ที่จัดว่าสําเร็จเป็นบุญได้นั้น จะต้องครบบริบูรณ์ด้วยชวนะ ๗ ครั้ง เมื่อบริบูรณ์ด้วยชวนะ ๗ ครั้งแล้ว ก็เรียกว่ากรรมอันหนึ่ง หรือเจตนาอันหนึ่ง และมีกําลังที่จะส่งผลใน ปฏิสนธิกาลได้ ๑ ครั้ง ถ้าวิถีจิตเกิดขึ้น ๒ วิถี ก็ส่งผลได้ ๒ ครั้ง และถ้าวิถีจิตเกิด ๓ ครั้งเป็นต้นไป ก็ส่งผลได้ ๓ ครั้งเป็นต้นไปเช่นเดียวกัน และในบรรดาชวนะ ) ครั้งที่ใน วิถีหนึ่งๆ เจตนาที่มีสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้นั้น มีเพียง ๖ ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะ ดวงที่ ๗ ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม และเจตนาที่อยู่ในชวนะท่ามกลาง ๕ ดวง ชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม ส่วนเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่หนึ่งนั้น ไม่มีสิทธิ์ส่งผลใน ปฏิสนธิกาล ฉะนั้น ถ้าอุปปัชชเวทนียกรรมที่ในวิถีหนึ่งมีโอกาสส่งผลในปฏิสนธิกาลไป แล้ว อปราปริยเวทนียกรรมที่อยู่ในวิถีเดียวกันนั้น ก็ไม่มีโอกาสส่งผลในปฏิสนธิกาลได้อีก เพียงแต่ส่งผลในปวัตติกาลเท่านั้น และถ้าอุปปัชชเวทนียกรรมที่ในวิถีนั้นๆ ไม่มีโอกาสได้ ส่งผลในปฏิสนธิกาลในภพที่ ๒ แล้ว อปราปริยเวทนียกรรมที่ในภพก่อนๆ ก็ได้มีโอกาส ส่งผลในปฏิสนธิกาลแทน เมื่อเป็นเช่นนี้อปราปริยเวทนียกรรมในปัจจุบันภพที่ในวิถีเดียว กันกับอุปปัชชเวทนียกรรมนั้น ก็จะได้มีโอกาสส่งผลปฏิสนธิกาลในภพหน้า ตั้งแต่ภาพที่ ๓ เป็นต้นไป เพราะสิทธิ์ในการส่งผลนั้นยังมีอยู่ ด้วยเหตุนี้ จึงได้ใช้คําว่าถ้ามีโอกาส สมดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
“เอกาย เจตนาย กมฺเม อายูหิเต เอกา ปฏิสนฺธิ โหติ
“เมื่อได้สร้างกรรมด้วยเจตนาอันหนึ่ง คือเจตนาที่มีชวนะ ๗ ครั้งแล้ว ปฏิสนธิครั้งหนึ่งย่อมเกิดขึ้นได้”
ข้อนี้แสดงให้รู้ว่าผู้ที่ไปเกิดในอวีจีมหานรก ด้วยอํานาจอุปปัชชเวทนีกรรมอันเกี่ยว กับปัญจานันตริยะ หรือนิยตมิจฉาทิฐิเหล่านี้ เมื่อพ้นจากอวีจีมหานรกแล้ว บุคคลเหล่านี้ ต้องไปเกิดในอวีจิมหานรกอีก ด้วยอํานาจอปราปริยเวทนียกรรมที่ตั้งอยู่ในวิถีเดียวกันกับ อุปปัชชเวทนียกรรมนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดีการกระทํากรรมอย่างหนึ่งๆ นั้น มีเจตนาอยู่ ๓ หรือ ๔ ประเภทด้วยกัน คือ ปุพพเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นก่อนกระทําอย่างหนึ่ง มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กําลังกระทําอย่างหนึ่ง อปรเจตนา เจตนา ที่เกิดขึ้นภายหลังกระทําอย่างหนึ่ง หรืออปราปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังการ กระทําไปแล้วนานๆ อย่างหนึ่ง
ในบรรดาเจตนาทั้ง ๔ ประเภทเหล่านี้ ประเภทหนึ่งๆ มีสิทธิ์ที่จะส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ ๒ อย่าง คืออุปปัชชเวทนียกรรมและอปราปริยเวทนียกรรม เมื่อรวมแล้วในการ งานอย่างหนึ่งๆ นั้น มีกรรมที่มีสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ ๘ อย่างคือ ในปุพพเจตนา มี ๒ ในมุญจเจตนามี ๒ ในอปรเจตนามี ๒ ในอปราปรเจตนามี ๒ นี้เป็นการนับโดย สามัญ ไม่ได้กล่าวถึงวิถี
ในกรรมทั้ง ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ๔ เป็นอปราปริยเวทนีย กรรม ๔ สําหรับการส่งผลนั้น ถ้าอุปปัชชเวทนียกรรมที่ในเจตนาประเภทใดประเภทหนึ่ง มีโอกาสส่งผลปฏิสนธิแล้ว อุปปัชชเวทนียกรรม ๓ อย่างที่ในเจตนาประเภทใดประเภท อื่นๆ นั้นก็ไม่มีสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิแล้ว เพียงแต่ส่งผลในปวัตติกาลในภพที่ ๒ เท่านั้น และอปราปริยเวทนียกรรม ที่อยู่ในเจตนาประเภทเดียวกันกับอุปัชชเวทนียกรรม ที่ส่งผลปฏิสนธิไปแล้วนั้นก็เป็นอันหมดสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิกาล เพียงแต่ส่งผลในปวัตติกาล เมื่อมีโอกาส นับตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป
สําหรับอปราปริยเวทนียกรรม ๓ อย่าง ที่อยู่ในเจตนาประเภทอื่นๆ นั้นย่อมมีสิทธิ์ ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าผู้นั้นจะเข้าถึงพระนิพพาน ด้วยเหตุนั้นแหละ เมื่อบุคคลได้กระทํากรรมอย่างหนึ่งๆ ลงไปแล้ว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่ว กรรม นั้นก็สามารถส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น ได้หลายภพหลายชาติ และ ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดี กรรมนั้นก็สามารถส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์ หรือเทวดา ได้หลายภพหลายชาติเช่นเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอํานาจแห่งอปราปริยเวทนียกรรมที่อยู่ในเจตนาประเภทต่างๆ มีปุพพเจตนาเป็นต้นนั้นเอง สมดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์ แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
“นานา เจตนา หิ กมฺเม อายูหิเต นานา โหติ ปฏิสนฺธิ”
“ผู้ที่ได้กระทํากรรมด้วยเจตนาต่างๆ มีปุพพเจตนาเป็นต้น การเกิดของผู้นั้นก็ย่อมเกิดได้หลายครั้ง”
การแสดงดังกล่าวมานี้ เป็นการแสดงไปตามคําวินิจฉัยที่ปรากฏในพระบาลีและ อรรถกถาลักขณสังยุต พระบาลีและอรรถกถาจตุตถปาราชิก วิมุติวิโนทนีฎีกาตามเรื่อง ที่แสดงไว้ว่า มีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งประกอบอาชีพในการฆ่าโค เมื่อบุรุษผู้นั้นตายจากโลกนี้ไป แล้วก็ได้ไปเกิดในนรกได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อพ้นจากนรกนั้นแล้ว ก็ไปเกิดเป็นอัฐิสังขลิกเปรต คือเปรตที่มีแต่กระดูก อยู่ในภูเขาคิชฌกูฏ เรื่องนี้มีการ วินิจฉัยว่าการที่บุรุษผู้นั้นไปเกิดในนรกก็ด้วยอํานาจแห่งอุปปัชชเวทนียกรรมที่อยู่ใน มุญจเจตนา ส่วนที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้นด้วยอํานาจแห่งอปราปริยเวทนียกรรมที่อยู่ใน ปุพพเจตนา หรืออปรเจตนา ดังมีบาลีแสดงไว้ในวิมุติวิโนทนีฎีกาว่า
“เตน โคมาตก กมฺมกฺขเณ ปุพฺพเจตนา อปรเจตนา สนฺนิฏฐาปกเจตนาติ เอกสุมิปิ ปาณาติปาเต พหู เจตนา โหนฺติ นานาปาณาติปาเตสุ วตฺตพฺพเมว นตฺถิ ๆ ตตฺถ เอกาย เจตนาย นรเก ปจิตฺวา ตทบญฺญเจตนาสุ เอกาย อุปรา ปริยเจตนาย อิมสฺมี เปตตฺตภาโว นิพฺพตฺโตติ ทสุเสติ”
“โดยเรื่องนี้แสดงให้รู้ว่า ในขณะที่ฆ่าโคนั้นย่อมมีเจตนา เกิดขึ้น ๓ อย่างคือปุพพเจตนา อปรเจตนา มุญจเจตนา แม้ในการฆ่าสัตว์เพียงครั้งเดียวก็มีเจตนาหลายประเภทเกิดอยู่ สําหรับในการฆ่าสัตว์หลายครั้งนั้น ไม่จําเป็นต้อง กล่าวถึงและในบรรดาเจตนา ๓ อย่างนั้น บุรุษที่ฆ่าโคต้องไปรับผลในนรก ก็ด้วยอาศัย อุปปัชชเวทนียกรรมที่อยู่ในมุญจเจตนา แล้วไปเกิดเป็นเปรต ก็ด้วยอาศัยอปราปริยเวทนียกรรมในเจตนาอื่นๆ ที่นอกจากมุญจเจตนา"
เวลาที่อปราปริยเวทนียกรรมหมดอ่านาจลง
โดยมากมักเข้าใจกันว่า อปราปริยเวทนียกรรมนี้ไม่ว่าประเภทใดย่อมสามารถส่งผล ซ้ำกันได้หลายๆ ครั้ง ที่เข้าใจเช่นนี้ก็โดยอาศัยที่กล่าวว่า อปราปริยเวทนียกรรมย่อมส่ง ผลในปวัตติกาลตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป จนกระทั่งถึงภพที่เข้าสู่พระนิพพานซึ่งความจริง นั้นหาได้เป็นเช่นนี้ไม่ เพราะอปราปริยเวทนียกรรมอันใดส่งผลในปวัตติกาลแล้ว อปราปริยเวทนียกรรมอันนั้นก็เป็นอันหมดอํานาจ ไม่มีการติดตามส่งผลได้อีกแม้ผู้นั้นจะยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน ส่วนอปราปริยเวทนียกรรมอันใดที่ยังไม่มีโอกาสส่งผลในปวัตติกาล อปราปริยเวทนียกรรมอันนั้นก็มีโอกาสติดตามส่งผลไปได้ตลอดจนผู้นั้นเข้าถึงพระนิพพาน
ในนิบาตชาตกได้แสดงเรื่องไว้หลายเรื่องที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ตายตัวหนึ่ง เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปเกิดในนรก และเมื่อพ้นกรรมจากนรกไปเกิดในภูมิ ใดภูมิหนึ่งแล้ว ก็ถูกฆ่าตายเรื่อยๆ ไปทุกๆ ชาติ เท่ากับจํานวนขนกของสัตว์ที่ตนฆ่านั้น ด้วยอานาจแห่งอปราปริยเวทนียกรรมในวิถีต่างๆ ที่เกี่ยวกับปุพพเจตนา และอปรเจตนา เมื่อภพสุดท้ายที่จะหมดสิ้นจากกรรมอันนี้ ผู้นั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์และระลึกชาติได้ ฉะนั้น เมื่อตอนที่ถูกฆ่าในครั้งสุดท้ายนั้น ผู้นั้นจึงมีความยินดีที่จะรับกรรมอันนั้นโดยกล่าว ขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้ถูกเขาฆ่าตายมาหลายภพหลายชาติจนนับไม่ถ้วนมาครั้งนี้ข้าพเจ้าพ้นจากกรรมอันนั้นแล้วซึ่งข้าพเจ้าจะไม่ต้องถูกฆ่าอีกต่อไป นี้แสดงให้เห็นว่าอํานาจแห่งอปราปริย เวทนียกรรมนั้นได้หมดสิ้นลงแล้ว จึงหยุดติดตามการส่งผลแม้ผู้นั้นจะยังไม่เข้าถึงพระนิพพานก็ตาม แต่ถ้าอํานาจของกรรมนั้นยังไม่หมด ก็ยังต้องคอยติดตามส่งผลอยู่ เรื่อยๆ ไป ได้โอกาสเวลาใดก็ให้ผลเวลานั้น ฉะนั้น ในเนมิราชชาดกอรรถกถาจึงแสดง ไว้ว่า
“อปราปรเวทนียํ ปน วิปาก๋ อทตฺวา น นสฺสติ"
“อปราปริยเวทนียกรรมย่อมไม่สูญหายไป ถ้ายังไม่ได้ส่งผล” (นี้เป็นการแสดงโดยตรง) การแสดงตามบาลีข้อนี้ทําให้รู้ ได้ว่า เมื่อส่งผลแล้วก็ย่อมสูญหายไป (นี้เป็นการแสดงโดยอ้อม)
๔. ปากัฏฐานจตุกกะ
กรรมเมื่อว่าโดยภูมิอันเป็นที่ให้ผลเกิดขึ้นนั้น มี ๔ อย่าง คือ
๑. อกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต ๑๒
๒. กามาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในมหากุศลจิต ๘
๓. รูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในรูปาวจรกุศลจิต ๕
๔. อรูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอรูปาวจรกุศลจิต ๔
อธิบายขยายความในบาลีข้อที่ ๕ ที่ว่า “ตตฺถ อกุสลํ กายกมุมํ” เป็นต้นใน กัมมจตุกกะนี้ จตุกกะ ๓ คือกิจจจตุกกะ มีชนกกรรมเป็นต้น ปากทานจตุกกะมีครุกกรรม เป็นต้น ปากกาลจตุกกะ มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น เหล่านี้พระอนุรุทธาจารย์มิได้ แสดงขยายความไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะแต่อย่างใด เพราะการแสดงจตุกกะทั้ง ๓ ดังกล่าวแล้วนี้ เป็นการแสดงโดยสุตตันตนัย สําหรับจตุกกะที่ ๔ คือปากัฏฐานจตุกกะมี อกุศลกรรมเป็นต้น เป็นการแสดงโดยอภิธรรมนัย ฉะนั้น จึงได้แสดงขยายความนับตั้งแต่ “ตตฺถ อกุสลํ กายกมุมํ” เป็นต้น จนถึงบทสุดท้ายแห่งกัมมจตุกกะมี “อิตฺถํ มหคฺคตํ ปญญํ” เป็นต้น
อกุศลกรรม เมื่อว่าโดยกรรมทวาร คือเป็นเหตุแห่งการสําเร็จในการกระทําแล้ว ๓ อย่าง คือ
๑. อกุศลกายกรรม ๒. อกุศลวจีกรรม ๓. อกุศลมโนกรรม
คําว่า กรรมทวาร เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ กมฺม + ทฺวาร กมุม หมายถึงการ กระทํา ทวาร หมายถึงเป็นเหตุให้เกิด รวม ๒ บทเข้าแล้วเป็น กมฺมทวาร หมายถึงเป็น เหตุให้เกิดการกระทํา
กรรมทวาร มี ๓ อย่าง คือ
๑. กายทวาร กายเป็นเหตุให้เกิดการกระทํา ได้แก่ กายวิญญัตติรูป
๒. วจีทวาร วาจาเป็นเหตุให้เกิดการกระทํา ได้แก่ วจีวิญญัตติรูป
๓. มโนทวาร ใจเป็นเหตุให้เกิดการกระทํา ได้แก่ จิตทั้งหมด
ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า “สพฺโพปี มโนทฺวารํ” “แม้จิตทั้งหมดก็เป็นมโนทวาร” แต่มโนทวารที่เกี่ยวกับอกุศลกรรมนั้นได้แก่อกุศลจิต ๑๐ ดวง (เว้นโมหมูลจิต)
อกุศลกรรมที่เกิดทางกาย ชื่อว่ากายกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “กายทฺวาร ปวตฺตํ กมฺมํ กายกมฺมํ” การกระทําอกุศลที่เกิดทางกาย ชื่อว่ากายกรรม
อกุศลกรรมที่เกิดทางวาจา ชื่อว่า วจีกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “วจีทฺวาเร ปวตฺตํ กมุมํ วจีกมุมํ” การกระทําอกุศลที่เกิดทางวาจา ชื่อว่าวจีกรรม
อกุศลกรรมที่เกิดทางใจ ชื่อว่ามโนกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “มโนทฺวาร ปวตฺตํ กมฺมํ มโนกมฺมํ” การกระทําอกุศลที่เกิดทางใจ ชื่อว่ามโนกรรม
ความแตกต่างกันระหว่างเจตนากับกรรม
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในฉักกนิบาตอังคุตตรพระบาลีว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา” “ดูกรภิกษุทั้งหลายเหตุที่ บุคคลมีความตั้งใจเป็นเครื่องกระตุ้นแล้วก็กระทําการงานนั้นๆ สําเร็จลงด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยเหตุนี้ตถาคตจึงกล่าวว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม”
อธิบายว่า เจตนาที่เป็นกรรมนี้ย่อมให้อิฏฐผล คือผลที่ดี และอนิฏฐผล คือผล ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้ ดังนั้นท่านฎีกาจารย์จึงได้แสดงไว้ในอภิธัมมาวตารฎีกาว่า “กโรติ อภินิพฺพตฺตติ อิฏฐานิฏฐผลานิ เอเตนาติ กมฺมํ” “บุคคลย่อมกระทําให้อิฏฐผล อนิฏฐ ผลเกิดขึ้นด้วยเจตนา ฉะนั้นเจตนานั้นจึงชื่อว่ากรรม”
ตามธรรมดาคนเราทั้งหลายเมื่อจะกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ต้องมีความตั้งใจเกิด ขึ้นก่อน คือตั้งใจว่าเราจะทําอย่างนั้นอย่างนี้แล้วก็ทําลงไป หรือตั้งใจว่าเราจะพูดเรื่อง นั้นเรื่องนี้แล้วก็พูดไป หรือตั้งใจจะนึกถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วก็นึกไป เมื่อเป็นเช่นนี้การ กระทําต่างๆ ของคนทั้งหลายจึงมีความตั้งใจอันได้แก่เจตนาเป็นผู้นําอยู่เสมอ ด้วยเหตุ พระผู้มีพระภาคจึงทรงกล่าวว่า เจตนานี้แหละชื่อว่ากรรม แต่เจตนากับกรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีความแตกต่างกัน คือ เจตนาเป็นปุพพภาคธรรม คือธรรมที่เกิดก่อนกรรม กรรมเป็นปัจฉาภาคธรรม คือธรรมที่เกิดภายหลังเจตนา นี้เป็นการแสดงโดยอเภทกนัย คือไม่ ได้แสดงแยกประเภท ดังนั้นท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในอุบาลีสูตรแห่ง มัชฌิมปัณณาสก์อรรถกถาว่า “กสุมา เจตนา กมฺมนฺติ วุตฺตา เจตนา มูลกตฺตา กมฺมสฺส” “เพราะเหตุใดพระผู้มีพระภาคจึงทรงกล่าวว่า เจตนาชื่อว่ากรรมก็เพราะการกระทําที่สําเร็จลงนั้นมีเจตนาเป็นมูล
เจตนา ๒๗๖ ประเภทที่ส่งผลในภพที่ ๒ เป็นต้น
อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ รวมเจตนา ๒๐ นี้ เกิดขึ้นโดยอาศัยทางกายมี ๘๐ คือ
สยํกตมูลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการกระทําด้วยตนเองมี ๒๐
อาณตฺติกมูลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการใช้ผู้อื่นให้กระทํามี ๒๐
สมุปชานมูลลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการกระทําโดยรู้คุณและโทษของการกระทํานั้นมี ๒๐
อสมุปชานมูลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการกระทําโดยไม่รู้คุณและโทษ ของการกระทํานั้นมี ๒๐
รวมเป็นอกุศลและกุศลเจตนาที่เกิดทางกายมี ๘๐ อกุศล และกุศลเจตนาที่เกิด ทางวาจามี ๘๐ เช่นเดียวกับทางกาย ส่วนอกุศลและกุศลเจตนาที่เกิดทางใจมี ๑๑๖ คือ อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ มหัคคตกุศลเจตนา ๙ รวม ๒๙ เป็น สยํกตมูลิกเจตนา ๒๙ เป็นอาณตฺติกมูลิกเจตนา ๒๙ เป็นสมุปชานมูลิกเจตนา ๒๙ เป็น อสมุปชานมูลิกเจตนา ๒๙ รวมเป็น ๑๑๖
อกุศลและกุศลเจตนาทีเกิดทางกาย มี ๘๐
อกุศลและกุศลเจตนาที่เกิตทางวาจา มี ๘๐
อกุศลและกุศลเจตนาที่เกิดทางใจ มี ๑๑๖
รวมเป็นเจตนา ๒๗๖ ประเภท ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอังคุตตรอรรถกถาว่า “อิติ สพฺพาปิ ตีสุ ทฺวาเรสุ เทฺวสตานิ ฉสตุตติ จ เจตนา” “เจตนาที่ส่งผล ในภพที่ ๒ แม้ทั้งหมดในทวารทั้ง ๓ มีจํานวน ๒๗๖ ดังนี้"
อธิบายขยายความบาลีข้อที่ ๖ - ๗ - ๘
ที่แสดงถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาต เป็นต้น
เพื่อที่จะแสดงขยายความในอกุศลกรรมที่ว่าโดยทวารทั้ง ๓ นั้น ว่ามีอกุศลกรรม ชนิดไหนบ้าง และมีจํานวนเท่าใด ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงต่อไปว่า กถํ ? ปาณาติปาโต เป็นต้น ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
การกระทําอกุศลที่เกิดทางกายเป็นส่วนมาก ชื่อว่ากายกรรม, กาย = กาย กรรม = การกระทํา, อกุศลกรรม มี ๓ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน ๓. กาเมสุมิจฉาจาร
การกระทําอกุศลที่เกิดทางวาจาเป็นส่วนมาก ชื่อว่าวจีกรรม, วจี = วาจา กรรม = การกระทํา, อกุศลวจีกรรมมี ๔ อย่าง คือ ๑. มุสาวาท ๒. ปิสุณาวาจา ต. ผรุสวาจา ๔. สัมผัปปลาปะ
การกระทําอกุศลที่เกิดทางใจเป็นส่วนมาก ชื่อว่ามโนกรรม, มโน = ใจ กรรม = การกระทํา, อกุศลมโนกรรมมี ๓ อย่างคือ ๑. อภิชฌา ๒. พยาบาท ๓. มิจฉาทิฐิ อกุศลกรรมดังกล่าวมานี้เรียกว่าทุจริต ๑๐
อธิบายในกายกรรม ๓
๑. ปาณาติบาต
คําว่า ปาณาติปาต นี้เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ ปาณ + อติชาต ปาณ เมื่อกล่าวโดยโวหารแล้วก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อว่าโดยปรมัตถสภาวะก็ได้แก่ชีวิตรูป และ ชีวิตินทรีย์เจตสิก คําว่า อติ ในบทว่า อติปาต นั้นแปลเนื้อความได้ ๒ อย่าง คือ สีฆตฺถ แปลว่าเร็วอย่างหนึ่ง อติกุกมนตฺถ แปลว่าก้าวล่วงความเบียดเบียนอย่างหนึ่ง คําว่า ปาต แปลว่าให้ตกไป เมื่อรวมกันแล้วเป็น ปาณาติปาต แปลว่าให้สัตว์หรือให้ชีวิตนั้นตกไปโดยเร็ว หรืออีกนัยหนึ่งแปลว่าก้าวล่วงความเบียดเบียนสัตว์ให้ตกไป
ที่แปลว่าให้สัตว์ตกไปโดยเร็วนั้น หมายความว่าทําให้สัตว์นั้นตายก่อนที่จะถึงกําาหนดอายุของตน ที่แปลว่าก้าวล่วงความเบียดเบียนสัตว์ให้ตกไปนั้น หมายความว่าใช้อาวุธอย่างใดอย่างหนึ่งฆ่าให้สัตว์นั้นตายลง
ดังแสดงวจนัตถะว่า “ปาณํ อติปาเตนฺติ เอเตนาติ = ปาณาติปาโต” “บุคคลทั้ง หลายย่อมฆ่าสัตว์ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้นธรรมที่เป็นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์นั้น ชื่อว่าปาณาติปาต ได้แก่ วธกเจตนา" หรืออีกนัยหนึ่ง ปาณสุส อติปาโต = ปาณาติปาโต “การกระทําให้ สัตว์หรือให้ชีวิตนั้นตกไปโดยเร็ว ชื่อว่าปาณาติปาต” หรือ”เจตนาที่กระทําให้ก้าวล่วงความ เบียดเบียนสัตว์ให้ตกด้วยอาวุธ ชื่อว่า “ปาณาติปาต” ได้แก่วธกเจตนา คือเจตนาที่เป็น เหตุในการฆ่าสัตว์ วธกเจตนานี้ได้ปโยคะทั้ง ๒ อย่าง คือได้ทั้งกายปโยคะ การฆ่าด้วย ตนเอง และวิปโยคะ การใช้คนอื่นให้ฆ่า
วินิจฉัยเกี่ยวกับการฆ่าสัตว์
ในการทําปาณาติบาตนี้ วธกเจตนา คือมีการตั้งใจฆ่าเป็นข้อสําคัญ ผู้ที่ถูกฆ่านั้น เมื่อว่าโดยธรรมาธิษฐานแล้ว ก็ได้แก่ ชีวิตินทรีย์นั้นเอง เป็นผู้ที่ถูกฆ่าและชีวิตินทรีย์ก็มี ๒ อย่าง คือรูปชีวิตินทรีย์อย่างหนึ่ง นามชีวิตินทรีย์อย่างหนึ่ง ในชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ อย่างนี้ จะทําลายได้เฉพาะแต่รูปชีวิตินทรีย์เท่านั้น ส่วนนามชีวิตินทรีย์นั้นทําลายไม่ได้เพราะเป็นนาม เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่ฆ่าสัตว์จะได้ชื่อว่าสําเร็จเป็นปาณาติบาตได้อย่างไรเพราะนามชีวิตินทรีย์ไม่ได้ถูกทําลาย? ข้อนี้อธิบายว่าแม้นามชีวิตินทรีย์จะไม่ถูกทําลายแต่เมื่อ รูปชีวิตินทรีย์ถูกทําลายให้เสียไปแล้ว นามชีวิตินทรีย์ก็ย่อมเสียไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าการ เกิดขึ้นสืบต่อกันของนามชีวิตินทรีย์นี้ย่อมเกี่ยวเนื่องกันกับรูปชีวิตินทรีย์ ดังนั้นผู้ที่ฆ่าสัตว์จึงได้ชื่อว่าสําเร็จเป็นปาณาติบาต สมดังท่านฎีกาจารย์แสดงไว้ในสาธุวิลาสินีฎีกาและ สารัตถทีปนีฎีกาว่า “รูปชีวิตินฺทฺริเยหิ วิโกปิเต อิตรมฺปี ตํ สมฺพนฺธตาย วินสฺสติ” แปลความว่า “เมื่อรูปชีวิตินทรีย์ถูกทําลายแล้ว นามชีวิตินทรีย์ที่นอกจากนี้ก็ได้ชื่อว่าถูก ทําลายด้วย เพราะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน"
อนึ่ง รูปชีวิตินทรีย์ ก็มี ๓ อย่างคือ ๑. อดีตรูปชีวิตินทรีย์ ๒. ปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ๓. อนาคตรูปชีวิตินทรีย์ ดังนั้นในการทําลายรูปชีวิตินทรีย์นี้ก็ได้แก่ทําลายปัจจุบันรูป ชีวิตินทรีย์เท่านั้น และปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ก็มี ๓ อย่างคือ ๑. ขณะปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ๒. สันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ๓. อัทธาปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ขณะปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ นี้ทําลายไม่ได้ เมื่อครบขณะทั้ง ๓ คืออุปปาทะ ฐิติ ภังคะแล้วก็ดับไปเอง
สําหรับสันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ และอัทธาปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ทั้ง ๒ นี้ทําลายได้ เพราะสันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นติดต่อกันระหว่างวิถีที่ มีกุศลชวนะอย่างน้อย ๗ - ๘ วิถีก็ดี หรือรูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นติดต่อกันในระหว่างที่ ร่างกายได้กระทบกับความร้อนมา และความร้อนนั้นยังไม่หายไป เช่นคนที่เดินทางตากแดดมาแล้วเข้ามาในที่ร่ม แต่ขณะนั้นร่างกายยังมีความร้อนอยู่ หรือรูปชีวิติทรีย์ที่เกิดขึ้น ติดต่อกันในระหว่างที่ร่างกายได้กระทบกับความเย็นมา และความเย็นนั้นยังไม่หายไป เช่นคนที่อาบน้ำขึ้นมาใหม่ๆ ในขณะนั้นร่างกายยังมีความเย็นอยู่รูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้น ติดต่อกันในระหว่างความร้อน หรือความเย็นยังมีอยู่นี้แหละชื่อว่าสันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์
ส่วนอัทธาปัจจุบันรูปชีวิติทรีย์นั้น ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดติดต่อกันตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นจนถึงจุติ ดังที่ท่านพระมหาพุทธ โฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในปาราชิกกัณฑอรรถกถาว่า “ตทุภยํ ปิ โวโรเปตุํ สกฺกา” การทําลายรูปชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ คือสันตติปัจจุบันรูป ชีวิตินทรีย์ และอัทธาปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์เหล่านี้ย่อมกระทําได้
องค์ปโยคะของปาณาติบาต
การทําอกุศลนั้นล่วงถึงกรรมบถก็มี ไม่ล่วงถึงกรรมบถก็มี ถ้าล่วงถึงกรรมบถแล้ว การกระทํานั้นก็สําเร็จเป็นชนกกรรม สามารถนําให้ไปเกิดในอบายภูมิได้โดยแน่นอน ถ้าการกระทําบางอย่างแม้ไม่ล่วงกรรมบถ แต่ก็สามารถนําให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ก็มี การกระทําบางอย่างก็ไม่นําให้ไปเกิดในอบายภูมิก็มี เป็นแต่เพียงให้ผลในปวัตติกาล คือ กระทําให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้นั้นต้องได้ประสบความลําบากต่างๆ
ค่าว่ากรรมบถ มาจากคำบาลีที่ว่า กมุมปถ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บทคือ กมุม + ปก กมุม = การกระทํา ปถ = หนทาง เมื่อรวมกันแล้วเป็น กมุมปก แปลว่าการกระทํา ที่เป็นหนทางให้ไปสู่อบายภูมิ การกระทําอกุศลที่จะก้าวล่วงกรรมบถ หรือไม่ก้าวล่วงนั้น ก็ต้องแล้วแต่องค์ปโยคะ คือองค์ที่ประกอบในการกระทํานั้น ฉะนั้นการกระทําอกุศลชนิด ปาณาติบาตที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถนั้นต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต ๒. ปาณสญญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต ๓. วธกจิตฺตํ มีจิตคิดจะฆ่า ๔. ปโยโค ทําความเพียรเพื่อให้ตาย ๕. เตน มรณํ สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้น
เมื่อการกระทาครบองค์ทั้ง ๕ ดังกล่าวนี้ ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถแล้วแต่ถ้าการกระทําไม่ครบองค์ ๕ ก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ ดังมีคาถาแสดงว่า
ปาโณ จ ปาณสกุมิตา มาตจิตตญจุปกุกโม
เตเนว มรณญฺจาติ ปญฺจิเม วธเหตุโยฯ
“องค์ที่เป็นเหตุในการฆ่าสัตว์นั้นมีอยู่ ๕ อย่างดังนี้ คือสัตว์มีชีวิตประการหนึ่ง รู้ว่าสัตว์มีชีวิตประการหนึ่ง มีความตั้งใจจะฆ่าประการหนึ่ง ทําความเพียรเพื่อให้ตาย ประการหนึ่ง สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้นประการหนึ่ง ถ้าการกระทําของผู้นั้นครบ ๔ องค์แรก แต่ขาดองค์ที่ ๕ คือสัตว์นั้นไม่ตายเช่นนี้ การกระทําของผู้นั้นก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ"
การจําแนกปาณาติปาตกรรม โดยมหาสาวัชชะและอัปปสาวัชชะ
สําหรับโทษที่ได้รับจากการฆ่าสัตว์นี้ก็แล้วแต่ว่าสัตว์นั้นมีร่างกายใหญ่หรือเล็ก และมีศีลธรรมหรือไม่มีศีลธรรม ถ้าสัตว์ที่ถูกฆ่านั้นเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น ก็มีโทษมาก เรียกว่ามหาสาวัชชะ เพราะชีวิตนวกกลาปของสัตว์จําพวกนี้ได้ถูก ทําลายลงเป็นจํานวนมาก ถ้าสัตว์ที่ถูกฆ่านั้นเป็นสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง เป็นต้น ก็มีโทษ น้อย เรียกว่าอัปปสาวัชชะ และในระหว่างสัตว์ดิรัจฉานกับมนุษย์ ฆ่ามนุษย์ก็มีโทษมาก กว่าฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์ดิรัจฉาน สําหรับในระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันนั้น ถ้าฆ่าผู้ที่มีศีลธรรม เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น ก็มีโทษมาก ถ้าผู้ถูกฆ่าเป็นคนไม่มีศีลธรรม เช่น พวกโจร ผู้ร้าย เป็นต้น ก็มีโทษ น้อย สําหรับผู้ที่ฆ่าบิดา มารดา พระอรหันต์นั้น ย่อมมีโทษมากเป็นพิเศษ คือเป็นอนันตริยกรรม ถ้าผู้ที่ถูกฆ่านั้นว่าโดยรูปร่างสัณฐานก็เท่ากัน ว่าโดยคุณธรรมก็เท่ากันแล้ว ก็ต้องตัดสินโดยปโยคะ คือในขณะที่ฆ่านั้นใช้ความพยายามมากหรือน้อย ถ้าใช้ความ พยายามมากก็มีโทษมาก ใช้ความพยายามน้อยก็มีโทษน้อย
อนึ่ง ผู้ที่กระทําปาณาติบาตนั้น ผู้หนึ่งรู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศลมีโทษไม่ควร ท่าแต่ก็กระทําลงไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม อีกผู้หนึ่งไม่รู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศล มีโทษแล้วกระทําลงไป ระหว่างคนทั้ง ๒ นี้ ผู้ที่กระทําปาณาติบาตโดยไม่รู้ว่าเป็นอกุศล นั้น ย่อมมีโทษหนักกว่าผู้ที่รู้ว่าเป็นอกุศล ทั้งนี้ก็เพราะว่าบุคคลผู้ที่ไม่รู้จักอกุศลนี้ย่อมเป็น ผู้ที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ ฉะนั้นจึงได้รับโทษมากเป็นมหาสาวัชชะ อุปมาเหมือนช่างตีเหล็ก เผาก้อนเหล็กจนร้อนจัดแล้วเอาขึ้นมาวางไว้ ตัวช่างตีเหล็กเองนั้นรู้ว่าก้อนเหล็กนั้นร้อน ฉะนั้นเมื่อจําเป็นจะต้องเอามือไปจับก้อนเหล็กนั้นก็ย่อมรู้ประมาณในความร้อนไม่จับลงไป เต็มที่เป็นแต่เพียงเอามือแตะๆ ลงเท่านั้นได้รับความร้อนแต่เพียงเล็กน้อย มีบุรุษอีกผู้หนึ่ง มาภายหลังแลเห็นก้อนเหล็กวางอยู่ไม่รู้ว่าก้อนเหล็กนั้นร้อน มีความอยากรู้อยากเห็นก็เอา มือจับก้อนเหล็กนั้นอย่างเต็มที่ ความร้อนของเหล็กนั้นย่อมทําให้มือของบุรุษผู้นี้ไหม้เกรียม ไปซึ่งต่างกับช่างเหล็ก ข้อนี้ฉันใดผู้ที่รู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศล กับผู้ที่ไม่รู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศลก็ย่อมได้รับโทษต่างกันฉันนั้น
ปโยคะ(ความพยายาม) ๖ อย่าง
สาหตุถิโก อาณัตติโก นิสฺสนฺติโย จ ถาวโร
วิชฺชามโย อิทฺธิมโย ปโยคา ฉนิเม มตา ฯ
พึงทราบว่า ปโยคะคือความพยายามนั้นมี ๖ อย่าง คือ
๑. สาหัตถกะ ความพยายามที่ทําด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ความพยายามโดยใช้ผู้อื่นทํา
๓. นิสสัคคิยะ ความพยายามด้วยการปล่อยอาวุธ มีขว้าง ปา เป็นต้น
๔. ถาวระ ความพยายามด้วยการสร้างเครื่องประหารไว้ อย่างถาวร มีการขุดหลุมพราง ท่ามีด ทําปืนไว้ เป็นต้น
๕. วิชชามยะ ความพยายามด้วยการใช้วิชาอาคมและไสยศาสตร์ต่างๆ
๖. อิทธิมยะ ความพยายามด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ ที่เป็นกัมมชิทธิของตน เช่น ใช้ถลึงตาเพ่ง และเคาะเขี้ยวของตน เป็นต้น
๑. สาหัตถิกปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “สสฺส หตฺโถ = สหตฺโถ” “สหตฺเถน นิพฺพตฺโต สหตฺถิโก” มือของตนชื่อว่าสหัตถะ ความพยายามที่เกิดขึ้นโดยมือของตนเอง ชื่อว่าสหัตถิกะ หมายถึงฟันแทงด้วยมีด ตีด้วยไม้ เป็นต้น
๒. อาณัตติกปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “อาณาปนํ = อาณตฺติ” “อาณตฺติยา นิพฺพตฺโต = อาณัตติโก” การใช้ผู้อื่น ชื่อว่าอาณัตติ ความพยายามที่เกิดขึ้นโดยใช้ผู้อื่น ชื่อว่าอาณัตติกะ หมายถึงใช้ด้วยวาจา ใช้ด้วยการเขียนหนังสือใช้ด้วยการให้อาณัติสัญญา ต่างๆ มีพยักหน้า ขยิบตา ชี้มือ เป็นต้น
๓. นิสสัคคิยปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “นิสฺสชฺชนํ = นิสสคฺโค” “นิสฺสคุเคน นิพฺพตฺโต = นิสฺสคฺคิโย” การปล่อยหรือทิ้ง ชื่อว่านิสสัคคะ ความพยายามที่เกิดขึ้นโดย การปล่อยหรือทิ้งอาวุธ ชื่อว่านิสสัคคิยะ หมายถึงการขว้างมีด พุ่งหลาว พุ่งหอก ยิงธนู ขว้างระเบิด ขว้างก้อนหิน เป็นต้น
๔. ถาวรปโยคะ หมายถึงการทําเครื่องประหารชนิดถาวรไว้ เช่น ขุดหลุมพราง ไว้เพื่อให้คนหรือสัตว์ตกลงไป ฝังขวากหนามไว้ หาอาวุธต่างๆ มีมีด ปืน ธนู ลูกระเบิด เป็นต้น ไว้เพื่อใช้ในการสังหาร ข้อนี้แสดงให้รู้ว่าผู้ที่สร้างอาวุธต่างๆ ดังกล่าวนี้ไว้โดยมี วธกเจตนา และถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดนําเอาอาวุธนั้นๆ ไปใช้ในการฆ่าสําเร็จลง ผู้ที่สร้างนั้นแม้จะไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ต้องตกเป็นโทษปาณาติบาตเหมือนกันเพราะเกี่ยวด้วยถาวรปโยคะ
๕. วิชชามยปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “วิชฺชาย นิพฺพตฺโต = วิชฺชามโย" ความพยายามที่เกิดขึ้นด้วยการใช้วิชา ชื่อว่าวิชชามยะ
การกระทําปาณาติบาตที่สําเร็จด้วยวิชาไสยศาสตร์นี้ มีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น การทํายันต์ ลงชื่อ วัน เดือน ของผู้ที่เป็นศัตรู แล้วนําไปเผา ฝัง เฆี่ยนตี ทําให้ศัตรูนั้น เกิดมีอาการล้มเจ็บถึงตาย หรือใช้เสกคาถาอาคม ทําให้ศัตรูนั้นตาย หรือการปั้นรูปปั้น รอยของศัตรู แล้วนําไปฝัง เผา เฆี่ยนตี ทําให้ศัตรูนั้นตาย หรือเอาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของศัตรูมาเสกเวทมนตร์คาถา เผาไฟ ทําให้ศัตรูนั้นตาย หรือใช้ภูตผีปีศาจ เทวดา ไปรังควาญให้ศัตรูนั้นถึงแก่ความตาย เป็นต้น
๖. อิทธิมยปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า“อิทฺธิยา นิพฺพตฺโต = อิทฺธิโย” ความพยายามที่เกิดขึ้นด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ ชื่อว่าอิทธิมิยะ
ในที่นี้หมายเอาอิทธิฤทธิ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรม เรียกว่ากัมมสิทธิ ดังเช่น เรื่องพระเจ้าปิตุที่อยู่ในลังกาทวีป มีอิทธิฤทธิ์ที่เขี้ยว อยู่มาวันหนึ่งมีความโกรธจูฬสุมนเศรษฐี แล้วก็เคาะที่เขี้ยวของพระองค์ เป็นเหตุให้จูฬสุมนเศรษฐีนั้นถึงแก่ความตายทันที และเรื่องท้าวเวสสุวรรณ ในระหว่างที่ยังไม่สําเร็จเป็นพระอริยะได้เคยฆ่าพวกยักษ์ที่เป็นบริวารด้วย การถลึงตาเพ่ง ท่าให้พวกยักษ์เหล่านั้นตายลงเป็นจํานวนมาก ดังนี้เป็นต้น
๒. อทินนาทาน
คําว่า อทินนาทาน นี้เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ อ + ทินฺน + อาทาน อ เป็นคําปฏิเสธ ทินฺน = วัตถุสิ่งของที่เจ้าของอนุญาตให้ อาทาน = ยึดถือเอา เมื่อรวม กันแล้วเป็นอทินนาทาน แปลว่ายึดถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้หรือที่เจ้า ของหวงแหน คําว่า อทินุน คือวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ หรือที่เจ้าของหวงแหนนั้น หมายถึงไม่ได้อนุญาตให้โดยการเขียนหนังสืออนุญาต หรือหยิบยื่นให้ด้วยมือ หรือ ใช้แสดงกิริยาอาการให้รู้ว่าอนุญาตให้ เช่น เสือกไสให้ ใช้เท้าเขี่ยให้ พยักเพยิดให้ เป็น ต้น หรือกล่าววาจา อนุญาตให้ คําว่า อาทาน คือการยึดถือเอานั้น ได้แก่ ลักขโมย ปล้น วิ่งราว ข่มขู่ ฉ้อโกง สับเปลี่ยน เป็นต้น แสดงวจนัตถะในคําว่า อทินนาทาน “น ทินน์ อทินน์” วัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ หรือที่เจ้าของหวงแหน ชื่อว่า อทินนะ
“อทินฺนสฺส อาทานํ อทินฺนาทาน” การยึดถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ ชื่อว่าอทินนาทาน หรืออีกนัยหนึ่ง
“อทินฺนํ อารียนฺติ เอเตนาติ อทินฺนาทานํ” บุคคลทั้งหลายย่อมยึดเอาวัตถุสิ่งของ ที่เจ้าของหวงแหนด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุในการยึดเอาวัตถุสิ่งของ ทีเจ้าของหวงแหนนั้น ชื่อว่า อทินนาทาน ได้แก่ เถยยเจตนา คือเจตนาที่เป็นเหตุ ในการลักทรัพย์ เถยยเจตนานี้ได้ปโยคะ ๒ คือกายปโยคะ การขโมยด้วยกาย และ วจีปโยคะ ใช้วาจาล่อลวง
องค์แห่งปโยคะของอทินนาทาน
การทําอกุศลชนิดอทินนาทานที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ปรปริคฺคหิตํ วัตถุสิ่งของที่มีเจ้าของเก็บรักษาไว้
๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของเก็บรักษาไว้
๓. เถยฺยจิตตฺ มีจิตคิดจะลัก
๔. ปโยโค ทําความเพียรเพื่อลัก
๕. อวหาโร ได้สิ่งของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น
เมื่อการกระทําครบองค์ทั้ง ๕ นี้แล้ว ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถแล้ว ถ้าการกระทําไม่ครบองค์ ๕ ก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ ดังมีคาถาแสดงว่า
ปรสฺส สํ ตถาสญฺญา เถยฺยจิตฺตญฺจุปกฺกโม
เตน หาโรติ ปญฺจงฺคา เถยฺยสฺส ยตนา สมา ฯ
องค์แห่งการลักทรัพย์สิ่งของมี ๕ อย่าง คือสิ่งของของผู้อื่นประการหนึ่ง รู้ว่าเป็นสิ่งของของผู้อื่นประการหนึ่ง มีจิตคิดจะลัก ประการหนึ่ง ทําความเพียรเพื่อลักเอาสิ่งของ นั้นประการหนึ่ง ลักเอาสิ่งของนั้นมาได้สําเร็จประการหนึ่ง
ปโยคะ ๖
ปโยคะ คือความพยายามในการลักทรัพย์นี้มี ๖ อย่าง (เหมือนปโยคะในปาณาติบาต) คือ
๑. สาหัตถกะ ลักด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ใช้ให้คนอื่นลักโดยการใช้วาจาหรือเขียนหนังสือ
๓. นิสสัคคิยะ ลอบทิ้งวัตถุสิ่งของ เช่น ลักลอบเอาสิ่งของที่ต้องเสีย ภาษีทิ้งออกไปให้พ้นเขต
๔. ถาวระ สั่งพรรคพวกไว้ว่า ถ้ามีโอกาสเวลาใดให้พยายามลักเอา สิ่งนั้นๆ มาให้สําเร็จ การสั่งเช่นนี้ก็นับว่าสําเร็จเป็น อทินนาทานได้อย่างหนึ่ง แม้ว่าจะกินเวลานานเท่าใด ก็ตาม เรียกว่าอัตถสาธก คือย่อมทําให้สําเร็จในการลัก ทรัพย์ หรือมีเจตนาจะทําลายทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นให้ เสียหาย เช่น เอาผ้าใส่ลงไปในถังบีบที่มีน้ํามัน เพื่อ ให้ผ้านั้นดูดน้ํามันให้แห้งไป
๕. วิชชามยะ ใช้เวทมนตร์คาถา ทําให้เจ้าของทรัพย์หลงใหลงงงวย หยิบยื่นสิ่งของนั้นๆ มาให้ตน หรือใช้คาถาสะกดทําให้ เจ้าของทรัพย์หลับแล้วก็เข้าไปลักทรัพย์นั้นมา เป็นต้น
๖. อิทธิมยะ ใช้อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับวิชชามยะ แต่ผู้ที่มี อิทธิฤทธิ์นี้ ย่อมไม่กระท่าอทินนาทานที่เป็นโลกวัชชะคือการกระทําที่มีโทษในทางโลก กระทําแต่ในสิ่งที่เอา มาใช้เป็นประโยชน์ แลเจ้าของนั้นก็ไม่มีความเสียหาย แต่อย่างใด ดังเช่นเรื่องสามเณรองค์หนึ่งได้สําเร็จ อภิญญา มีความต้องการ น้ําเพื่อใช้บริโภค ได้ไปขอต่อ พญานาคที่มีหน้าที่ดูแลรักษาสระโบกขรณีนั้น พญานาคไม่ยอมให้ สามเณรนั้นเหาะขึ้นไปบนอากาศ แล้วก็ตักเอาน้านั้นไปจนได้ และเรื่องโทณพราหมณ์ที่ ทําการตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ ต่างๆ ๔ ประเทศ ในระหว่างที่ทําการตวงอยู่นั้นได้ ยักยอก เอาพระเขี้ยวแก้ว เบื้องบนข้างขวาใส่ในมวยผม ของตน พระอินทร์มองเห็นพระเขี้ยวแก้วนั้น ก็ยึดเอา ไปจากมวยผมของพราหมณ์อีกต่อหนึ่ง แล้วนําเอาไป บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ชั้นดาวดึงส์ เรียกว่าเจดีย์จุฬามณี ดังนี้เป็นต้น
การทําอทินนาทานนี้ ถ้าวัตถุสิ่งของที่ลักลอบมานั้นมีราคามากก็เป็นมหาสาวัชชะ คือมีโทษมาก ถ้าวัตถุสิ่งของนั้นมีราคาน้อยก็เป็นอัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อยและในวัตถุ ที่มีราคาเสมอกันนั้น ก็ต้องวินิจฉัยที่เจ้าของ ถ้าเจ้าของเป็นผู้มีศีลธรรมผู้ลักลอบมานั้น ก็มีโทษมาก ถ้าเจ้าของเป็นผู้ไม่มีศีลธรรม ผู้ลักลอบก็มีโทษน้อย
วัตถุจําแนกตามเจ้าของมี ๔ อย่าง คือ
๑. คิหิสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของฆราวาส
๒. ปุคฺคลสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง
๓. คณสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระภิกษุหรือสามเณร ๒ - ๓ รูป
๔. สงฺฆสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระภิกษุหรือสามเณรตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป
ในบรรดาวัตถุ ๔ ประเภทเหล่านี้ ผู้ใดลักทรัพย์ประเภทบุคคลสันตกะ ย่อมมีโทษมากกว่าประเภทคีริสันตกะ ผู้ใดลักทรัพย์ประเภทคุณสันตกะย่อมมีโทษมากกว่าประเภทบุคคลสันตกะ และถ้าผู้ใดลักทรัพย์ประเภทสังฆสันตกะก็ย่อมมีโทษมากกว่าประเภท คณสันตกะ เป็นลําาดับๆ กันไปดังนี้
อีกนัยหนึ่ง วัตถุจําแนกตามเจ้าของ มี ๕ อย่าง คือ
๑. ปุถุชฺชนสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของปุถุชน
๒. โสตาปนฺนสนตก วัตถุนั้นเป็นของพระโสดาบัน
๓. สกทาคามิสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระสกทาคามี
๔. อนาคามีสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระอนาคามี
๕. อรหนฺตสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระอรหันต์
โทษที่ได้รับจากการลักทรัพย์ก็ย่อมมีมากน้อยไปตามลําาดับขั้น สําหรับการลักทรัพย์ของพระอรหันต์นั้นย่อมมีโทษมากที่สุด ดังที่ท่านพระมหาพุทธโฆสเถระแสดงไว้ใน สัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า “ขีณาสวสฺส สนฺตเก อติมหาสาวชฺชํเยว” “การลักทรัพย์ ของพระอรหันต์นั้นย่อมมีโทษอย่างใหญ่หลวง”
วินิจฉัยการลักวัตถุสิ่งของที่เป็นทรัพย์สมบัติของดิรัจฉาน (ติรจฺฉานปริคฺคหาทานวินิจฺฉัย)
ผู้ใดผู้หนึ่งแลเห็นนกเหยี่ยวโฉบเอาชิ้นเนื้อหรือปลาที่ตายแล้วบินผ่านมา ก็กระทํา การขัดขวางโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้นกเหยี่ยวนั้นตกใจทิ้งสิ่งของนั้นลงมา แล้วก็แย่งเอาสิ่งของนั้นมาเสีย เช่นนี้นับว่าผู้นั้นได้กระทําอทินนาทานสําเร็จลงแล้ว แต่ถ้านกเหยี่ยวนั้น โฉบเอาสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่มา เมื่อมีผู้แลเห็นแล้วกระทําการขัดขวางด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ตาม เพื่อให้นกเหยี่ยวปล่อยสัตว์นั้นๆ ลงมา การกระทําชนิดนี้ย่อมไม่สําเร็จเป็นอทินนาทาน เป็นการกระทําที่เป็นกุศลชนิดอภัยทานกุศล
สัตว์ดิรัจฉานอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน คือถ้าสัตว์นั้นไปคาบเอาสิ่งที่ปราศจากชีวิตแล้ว มาจะเป็นหมู ปลา นก เป็ด ไข่ เป็นต้นก็ตาม ถ้ามีคนไปทําการขัดขวางแย่งเอาสิ่งนั้นๆ มาเสีย ก็จัดว่าการกระทําของผู้นั้นสําเร็จเป็นอทินนาทาน
ถ้าสัตว์นั้นไปคาบพาเอาสัตว์ที่มีชีวิตมา เช่น หนู ปลา นก เป็ด ไก่ จิ้งจก แมลง ต่างๆ เป็นต้น ผู้ที่แลเห็นได้เข้าทําการขัดขวางแย่งเอาสัตว์นั้นๆ มาเสีย การกระทํา เช่นนี้ก็ไม่จัดว่าเป็นอทินนาทาน แต่เป็นอภัยทานกุศล ฉะนั้น ท่านฎีกาจารย์จึงได้แสดง ไว้ในวิมุติวิโนทนีฎีกาว่า
“ติรฺจฉานานํ อามิสทาเน กุสลํ วิย เตสํ อามิสอจฺฉินฺทเนปิ อกุสลเมว, สปฺปอาทีนิ คหิตปาณกานํ โมจนตฺถาย วฏฺฏติ" “การให้อาหารแก่สัตว์ดิรัจฉานย่อมสําเร็จเป็นกุศลฉันใด การแย่งเอาอาหารของสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นมาก็ย่อมสําเร็จเป็น อกุศลฉันนั้น การพยายามช่วยนก หนู กบที่ยังมีชีวิตอยู่ที่งู เป็นต้น จับเอามาเพื่อให้พ้นไปนั้น ก็ย่อมกระทําได้โดยไม่เป็นอาบัติ”
สําหรับในพระวินัยนั้น การยึดเอาสมบัติของสัตว์ดิรัจฉานมานั้นย่อมไม่เป็นอาบัติ ดังมีพระบาลีแสดงไว้ในปาราชิกกัณฑ์พระบาลีแห่งทุติยสิกขาบทว่า “อนาปตฺติ ภิกฺขเว ติรจฺฉานคตปริคฺคห” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย การยึดเอาสมบัติที่สัตว์ดิรัจฉานหวงแหนนั้น ไม่เป็นอาบัติ” และท่านอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงความเห็นที่สอดคล้องกับพุทธภาษิตว่า “เสนาทโยปี อามิสํ คเหตฺว่า คจฺฉนฺเต ปาเตตฺวา เหตุํ วฏฺฏติ” “สําหรับภิกษุที่กระทํา ให้วัตถุต่างๆ มีก้อนเนื้อเป็นต้น ที่นกเหยี่ยวเป็นต้น โฉบบินผ่านมานั้นให้ปล่อยตกลงมา แล้วยืดเอาวัตถุนั้นไว้ ย่อมกระทําได้ไม่เป็นอาบัติ" แต่ถึงแม้ว่าการกระทําเช่นนี้ทาง พระวินัยจะไม่จัดเป็นอาบัติก็จริง เมื่อว่าโดยอภิธรรมนัยแล้ว ย่อมสําเร็จเป็นอทินนาทาน
การขโมย ๒๕ ประเภท
การขโมยที่เป็นอทินนาทานนี้ มีอยู่ ๒๕ ประเภท คือ
นานาภณฺฑปญฺจก การขโมยทรัพย์สิ่งของต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตมี ๕ ประเภท
เอกภณฺฑปญฺจก การขโมยเฉพาะสิ่งที่มีชีวิต มี ๕ ประเภท
สาหตฺถิกปญฺจก การขโมยด้วยตนเอง มี ๕ ประเภท
ปุพฺพปโยคปญฺจก การกระทําที่สําเร็จเป็นอทินนาทานก่อนที่จะลงมือขโมย มี ๕ ประเภท
เถยฺยาวหารปญฺจก การฉ้อโกง เปลี่ยนแปลงวัตถุสิ่งของ ทําวัตถุปลอมล่อลวงตัดช่องย่องเบาโดยไม่ให้เจ้าของรู้สึกเหล่านี้มี ๕ ประเภท รวมเป็นการขโมย ๒๕ ประเภท
นานาภณฺฑปญฺจก ๕ ประเภท
๑. อาทิยนอทินฺนาทาน
๒. หรณอทินฺนาทาน
๓. อวหรณอทินฺนาทาน
๔. อิริยาปถวิโกปนอทินฺนาทาน
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน
๑. อาทิยนอทินนาทาน ได้แก่การกระทําให้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเกี่ยวกับที่บ้าน ที่นา ที่สวน หรือบ้านให้ตกมาเป็นสมบัติของตน โดยวิธีฟ้องร้องต่อศาล การกระทําเช่น นี้เรียกว่าเป็นอาทิยน อทินนาทาน แต่ในข้อนี้มิได้มุ่งหมายถึงว่าผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ จะต้องเกี่ยวข้องกันในเรื่องเงินทองแต่ประการใด คือไม่ได้เกี่ยวกับเป็นหนี้สินจํานํา จํานองต่อกัน เป็นการกระทําชนิดถือสิทธิครอบครองในสถานที่นั้นๆ เป็นต้น การกระ ทําโดยวิธีนี้เมื่อผู้เป็นเจ้าของที่หรือเจ้าของบ้านนั้นเกิดท้อใจคิดว่าที่ดินหรือบ้านของเรานี้จะต้องตกเป็นสมบัติของผู้อื่นแน่แล้ว เพียงแค่นี้ผู้มุ่งหมายเอาสมบัตินั้นเป็นอันว่าก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอาทิยน อทินนาทานแล้ว
๒. หรณอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่กําลังนําเอาทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นไปตามหน้าที่ และในขณะที่กําลังนําไปนั้นมีจิตคิดจะขโมยเอาสิ่งของนั้นๆ มาเป็นของตน เมื่อมีจิตคิดจะขโมยเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว แม้แต่จะขยับสิ่งของนั้นเคลื่อนจากที่เดิมไปเพียงเล็กน้อย เช่น ทีแรกแบกของนั้นไว้บนศีรษะ เมื่อคิดจะขโมยแล้วเคลื่อนของนั้นลงจากศีรษะมาไว้บน บ่า หรือทีแรกถือของนั้นไว้ในมือข้างขวา เมื่อคิดจะขโมยแล้วเปลี่ยนของนั้นมาไว้ในมือ ข้างซ้ายเช่นนี้เป็นต้น ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับหรณ อทินนาทานแล้ว
๓. อวหรณอทินฺนาทาน ได้แก่มีผู้นําวัตถุสิ่งของหรือเงินทองมาฝากตนไว้ ครั้น เมื่อเจ้าของมาขอรับคืน ผู้นั้นก็ปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากสิ่งของนั้นๆ ไว้ นี้แหละได้ชื่อว่าเป็น อวหรณ อทินนาทาน และเมื่อเจ้าของมีความหมดหวังที่จะได้ของคืนคิดในใจว่าของตน ที่ฝากไว้นั้นเป็นอันว่าสูญแล้ว เช่นนี้ก็เป็นอันว่าผู้รับฝากของนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยว กับอรหรณ อทินนาทานแล้ว
๔. อิริยาบถวิโกปนอทินฺนาทาน ได้แก่เจ้าของทรัพย์นั่งอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม หรือเดินอยู่ก็ตาม ผู้ขโมยนั้นแลเห็นแล้วคิดในใจว่าจะต้องหาหนทางเอาตัว เจ้าทรัพย์นั้นไปเสียจากที่นั้น แล้วยึดเอาทรัพย์สิ่งของที่ติดตัวไปนั้นมาเป็นของตนเสีย แล้วก็ลงมือกระทําการขู่เข็ญ หรือล่อหลอกให้เจ้าทรัพย์นั้นไปกับตนโดยวิธีหนึ่งวิธีใดก็ตาม เมื่อเจ้าทรัพย์เคลื่อนกายก้าวเท้าไปตามคําสั่งแล้ว เมื่อก้าวไปก้าวแรกก็ได้ชื่อว่าผู้ขโมยนั้น สําเร็จเป็นอิริยาบถวิโกปน อทินนาทาน และเมื่อเจ้าทรัพย์ได้ก้าวเท้าเป็นก้าวที่สอง ก็เป็น อันว่าผู้ขโมยนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอิริยาบถวิโกปนอทินนาทานแล้ว ถ้าผู้ขโมยอุ้มเจ้าทรัพย์ไปก็ต้องตัดสินที่ตัวผู้ขโมยนั้นเอง คือเมื่อผู้ขโมยอุ้มเจ้าทรัพย์ก้าวเท้าเป็น ก้าวแรกก็สําเร็จเป็นอิริยาบถวิโกปนอทินนาทาน และเมื่อผู้ขโมยก้าวเท้าที่สอง ก็เป็นอันว่าผู้ขโมยนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอิริยาบถวิโกปนอทินนาทานแล้ว
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน ได้แก่ทรัพย์สิ่งของต่างๆ ที่เจ้าของวางหรือตั้งไว้ใน ที่ใดที่หนึ่ง (นอกจากในน้ำ) ผู้ขโมยแลเห็นแล้วมีจิตคิดจะขโมยสิ่งนั้นๆ แล้วก็ลงมือหยิบ เคลื่อนส่งของนั้นๆ เมื่อทรัพย์สิ่งของนั้นๆ เคลื่อนจากที่เดิมไปเพียงเล็กน้อย ก็เป็นอันว่า ผู้ขโมยนั้นได้สําเร็จเป็นฐานาจาน อทินนาทาน พร้อมทั้งก้าวล่วงกรรมบถไปด้วยแล้ว
เอกมณฺฑปญฺจก ๕ ประเภท
๑. อาทิยนอทินฺนาทาน
๒. หรณอทินฺนาทาน
๓. อวหรณอทินฺนาทาน
๔. อิริยาปถวิโกปนอทินฺนาทาน
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน
๑. อาทิยนอทินฺนาทาน ได้แก่การยืดกรรมสิทธิ์เอาสวิญญาณกทรัพย์ มีผู้คนหรือ สัตว์เลี้ยงของผู้อื่นมาเป็นสมบัติของตน โดยวิธีฟ้องร้องต่อศาลได้ชื่อว่าเป็นอาทิยนอทิน นาทาน และเมื่อผู้เป็นเจ้าของคิดว่าผู้คน หรือสัตว์เลี้ยงของตนนี้จะต้องตกไปเป็นของของ คนอื่นแน่แล้ว ขณะนั้นผู้ยึดกรรมสิทธิ์นั้นก็เป็นอันว่าได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอาทิยน อทินนาทานแล้ว
๒. หรณอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่พาคนหรือสัตว์เลี้ยงของผู้อื่นซึ่งตนมีหน้าที่พาไป ในที่ต่างๆ ในขณะที่กําลังพาไปนั้น ผู้นั้นมีจิตคิดจะลักพาไปเป็นของตนหรือพาเอาไปขาย เมื่อมีจิตคิดเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วก็ได้ชื่อว่าเป็นหรณอทินนาทาน และหลังจากที่คิดแล้วมีกิริยา อาการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น เปลี่ยนทางเดินหรือเปลี่ยนมือที่สูงเป็นต้น เช่นนี้แล้วก็ เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับหรณ อทินนาทานแล้ว
๓. อวหรณอทินฺนาทาน ได้แก่มีผู้นําคนหรือสัตว์เลี้ยงมาฝากฝังไว้ ครั้นเมื่อผู้ ฝากมารับคืนก็กล่าวอุบายหลีกเลี่ยงต่างๆ เป็นต้นว่า ผู้นั้นผู้นี้มารับไปแล้วหรือหนีไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้คนหรือสัตว์นั้นอยู่เป็นกรรมสิทธิ์ของตน นี้ได้ชื่อว่าเป็นอาหรณ อทินนาทาน และเมื่อเจ้าของหมดหวังคิดว่าตนจะไม่ได้คนหรือสัตว์นั้นคืนมาแน่แล้ว เช่น นี้ก็เป็นอันว่าผู้รับฝากนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอวรรณอทินนาทานแล้ว
๔. อิริยาปถวิโกปนอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่ทําการล่อลวง ลักพาฉุดคร่าเด็กหรือ หญิงสาว หรือสัตว์เลี้ยง ในขณะที่คนหรือสัตว์นั้น นั่ง นอน ยืน เดิน อยู่ก็ตามเพื่อนําไป หาประโยชน์ก้าไรหรือนําไปเป็นกรรมสิทธิ์ของตน เมื่อคนหรือสัตว์นั้นได้เคลื่อนกายจากอิริยาบถเดิม ก้าวเท้าตามผู้นั้นไปเป็นก้าวแรกก็ได้ชื่อว่าผู้นั้นสําเร็จเป็น อิริยาบถวิโกปน อทินนาทาน และเมื่อได้ก้าวเท้าเป็นก้าวที่สองก็เป็นอันว่าผู้นั้นก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอิริยาบถวิโกปนอทินนาทานแล้ว
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน ได้แก่การลักขโมยสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของเขาผูกไว้ ขังไว้ หรือสัตว์นั้นนอนอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่ก็ตาม ผู้ขโมยมีจิตคิดจะขโมยแล้วก็เข้าไปอุ้มหรือจูงสัตว์ นั้นๆ มา เมื่อสัตว์นั้นเคลื่อนกายจากที่เดิมไปแม้เพียงเล็กน้อย ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จ เป็นฐานาจาวนอทินนาทาน พร้อมทั้งก้าวล่วงกรรมบถไปด้วย
สาหตุถิกปญฺจก ๕ ประเภท
๑. สาหตุถิกอทินฺนาทาน
๒. อาณตฺติกอทินฺนาทาน
๓. นิสฺสคฺติยอทินฺนาทาน
๔. อตฺถสาธกอทินฺนาทาน
๕. ธุรนิกฺเขปอทินฺนาทาน
๑. สาหตุถิกอทินฺนาทาน ได้แก่การขโมยทรัพย์สินเงินทองวัตถุสิ่งของต่างๆ และ สิ่งที่มีชีวิตด้วยตนเอง
๒. อาณตฺติกอทินฺนาทาน ได้แก่การใช้ให้ผู้อื่นขโมย
๓. นิสฺสคฺติยอทินฺนาทาน ได้แก่การขโมยชนิดที่สอบเอาของที่ต้องเสียภาษีทิ้ง ไปให้พ้นเขต
๔. อตฺถสาธกอทินฺนาทาน ได้แก่การออกคําสั่งให้พรรคพวกขโมยวัตถุสิ่งของนั้นๆ ถ้ามีโอกาสจะกินเวลานานเท่าใดก็ตาม แม้ว่าผู้รับคําสั่งนั้นจะยังไม่มีโอกาสขโมย จนล่วง เวลาไปตั้งหลายปีแล้วจึงได้โอกาสขโมย ผู้สั่งนั้นก็สําเร็จเป็นอัตถสาธก อทินนาทาน ตั้ง แต่เวลาที่ออกคําสั่งนั้นเอง แต่ถ้าหากว่าผู้รับคําสั่งนั้นตายเสียก่อนที่จะมีโอกาสขโมย ผู้สั่งก็ไม่เป็นอัตถสาธก อทินนาทาน
๕. ธุรนิกฺเขปอทินฺนาทาน ได้แก่ในเวลาที่มีการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อยืดกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินต่างๆ ของผู้อื่นที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ หรืออวิญญาณกทรัพย์ก็ตาม หรือ ในเวลาที่เจ้าของทรัพย์มาขอรับวัตถุสิ่งของเงินทองที่เขานํามาฝากตนไว้ หรือที่ตนไปหยิบ ยืมเขามา แล้วตนก็ปฏิเสธบิดพริ้วไม่รับรู้ก็ตาม เมื่อขณะที่เจ้าของทรัพย์นั้นนึกตัดสินใจว่า ทรัพย์สมบัติของตนนี้จะต้องสูญไปเป็นสมบัติของคนอื่นแน่แล้ว ในเวลานั้นผู้ที่ก่อเรื่อง ดังกล่าวแล้วนี้ ก็เป็นอันว่าสําเร็จในการขโมยที่เรียกว่าธุรนิกเขป อทินนาทาน
ความแตกต่างกันระหว่าง อาณตฺติกอทินฺนาทาน และ อตฺถสาธกอทินฺนาทาน
การใช้ให้คนอื่นขโมยชนิด อาณตฺติกอทินฺนาทาน นั้น ใช้ให้ขโมยในปัจจุบัน ส่วน การใช้ให้ผู้อื่นขโมยชนิด อตฺถสาธกอทินฺนาทาน นั้น ใช้ให้ขโมยเมื่อมีโอกาสในภายหลัง
ปุพฺพปโยคปญฺจก ๕ ประเภท
๑. ปุพฺพปโยคอทินฺนาทาน
๒. สหปโยคอทินฺนาทาน
๓. สํวีทาวหารอทินฺนาทาน
๔. สงฺเกตกมุมอทินฺนาทาน
๕. นิมิตุตกมุมอทินฺนาทาน
๑. ปุพฺพปโยคอทินฺนาทาน การใช้ให้ผู้อื่นขโมยนี้ เมื่อขณะที่กล่าววาจาใช้นั้น แหละก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ ได้ชื่อว่าเป็นบุพพปโยค อทินนาทาน
๒. สหปโยคอทินฺนาทาน ผู้ใดมีจิตคิดจะขโมยของของผู้อื่นกระทําทรัพย์สิ่งของ นั้นๆ ให้เคลื่อนไปจากที่เดิมก็ดี หรือผู้ใดคิดโกงเกี่ยวกับที่ดินจะเป็นที่บ้าน ที่นา ที่สวนก็ ตาม กระทําการย้ายหลักเขตหรือเครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับเขตที่ดินนั้นๆ ให้เคลื่อน ไปจากที่เดิม ในขณะที่กําลังพยายามกระทําการย้ายเขตนี้แหละ ก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ ได้ชื่อว่าเป็นสหปโยค อทินนาทาน
๓. สํวีทาวหารอทินฺนาทาน บุคคลหมู่หนึ่งจํานวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปมีการร่วม คิดตกลงกันที่จะทําการขโมยทรัพย์สมบัติของผู้อื่น แล้วก็ร่วมทางกันไป บุคคลเหล่านี้แม้ คนใดคนหนึ่งลงมือขโมยเพียงคนเดียว กระทําให้ทรัพย์สิ่งของนั้นๆ เคลื่อนไปจากที่เดิม บุคคลที่ไปด้วยกันทั้งหมดก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถพร้อมกัน ได้ชื่อว่าเป็นสังวิทาวหารอทินนาทาน
๔. สงฺเกตกมุมอทินฺนาทาน ผู้ที่ใช้ให้ผู้อื่นไปทําการขโมย โดยกําหนดเวลาลง มือกระทําาให้ เช่น ให้ลงมือขโมยในเวลากลางคืน หรือกําหนดเวลาไว้โดยตรงว่าให้ลงมือ เวลา ๒๔.๐๐ น. ดังนี้เป็นต้น ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นลงมือขโมยตรงตามเวลาที่สั่งไว้ ผู้ใช้ก็เป็น อันว่าล่วงกรรมบถเป็นสังเกตกัมม อทินนาทาน ถ้าผู้รับคําสั่งกระทําการไม่ตรงกับเวลา ที่สั่งไว้ เช่น สั่งว่าขโมยกลางคืนแต่ไปขโมยกลางวัน หรือสั่งให้ขโมยเวลา ๒๔.๐๐ น. แต่ ไปขโมยเวลา ๒๒.๐๐ น. หรือเกินเวลา ๒๔.๐๐ น. ไปดังนี้ ผู้ใช้ไม่ล่วงกรรมบถ แต่เป็นผู้ ขโมยล่วงกรรมบถฝ่ายเดียว
๕. นิมิตตกมุมอทินนาทาน การให้ผู้อื่นขโมย โดยใช้อาณัติสัญญาให้ลงมือทําการ เช่น โบกมือ พยักหน้า ผิวปาก หรี่ตา เป็นต้น ผู้ที่รับใช้เมื่อเห็นอาณัติสัญญาแล้วลง มือทําาการทันที ผู้ใช้ก็เป็นอันล่วงกรรมบถเป็นนิมิตตกัมม อทินนาทาน ถ้าผู้รับใช้นั้นกระทํา การขโมยก่อนได้รับอาณัติสัญญา หรือหลังจากได้รับอาณัติสัญญาล่วงไปแล้ว ผู้ใช้ไม่ล่วงกรรมบถ เป็นแต่ผู้ขโมยล่วงกรรมบถฝ่ายเดียว
เถยฺยาวหารปญฺจก ๕ ประเภท
๑. เถยฺยาวหารอทินฺนาทาน
๒. ปสยฺหาวหารอทินฺนาทาน
๓. ปริกปฺปาวหารอทินฺนาทาน
๔. ปฏิจฺฉนฺนาวหารอทินฺนาทาน
๕. กุสาวหารอทินฺนาทาน
๑. เถยฺยาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่ทําการค้าโดยสั่งหรือดวงวัตถุสิ่งของที่ค้า นั้นไม่ตรงตามจํานวน คือชั่งหรือดวงให้ขาดจํานวนไปก็ดี หรือผู้ซื้อทําการชั่งตวงวัตถุสิ่ง ของนั้นเอาเอง ก็ทําการชั่งตวงสิ่งนั้นๆ ให้เกินจํานวนไปก็ดี หรือผู้ที่ใช้เงินปลอมก็ดี หรือ ผู้ที่กระทําการตัดช่องย่องเบาโดยไม่ให้เจ้าของเห็นก็ดี การกระทําต่างๆ เหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็น เถยยาวหารอทินนาทาน
๒. ปสยฺหาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่เอาทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่นโดยการ ขู่เข็ญบังคับ หรือเบียดเบียนทําร้ายเจ้าทรัพย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นไปเหมือนกับพวกโจร ที่ทําลายความสงบสุขของชนทั้งหลาย การกระทําเช่นนี้ได้ชื่อว่าเป็น ปสัยหาวหารอทินนาทาน
อนึ่ง ผู้ที่มีอํานาจอิทธิพลต่างๆ ได้ใช้อํานาจของตนนั้นบังคับขู่เข็ญต่อชนผู้น้อยกว่า ให้นําเอาทรัพย์สินเงินทองวัตถุสิ่งของต่างๆ มาให้ตน เช่นนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็น ปสัยหาวหารอทินนาทาน
๓. ปริกปฺปาวหารอทินนาทาน นี้ มี ๒ อย่าง คือ
ก. ภณฺฑปริกปฺปาวหารอทินฺนาทาน
ข. โอกาสปริกปฺปาวหารอทินฺนาทาน
ก. ผู้ที่มีความตั้งใจเจาะจงจะขโมยวัตถุนั้นๆ แล้วก็ทําการขโมยวัตถุนั้นๆ มาตรง กับความประสงค์ของตน ได้ชื่อว่าเป็นภัณฑปกัปปาวหาร อทินนาทาน ตัวอย่างเช่น ผู้นั้นมีความตั้งใจจะขโมยกางเกง เมื่อเข้าไปในบ้านของเจ้าทรัพย์ แล้วยกเอาหีบห่อ เป็นต้นของเจ้าทรัพย์นั้นมา ถ้าในหีบห่อเป็นต้นนั้นมีกางเกงอยู่ในนั้น เมื่อขณะที่ยกหีบ ห่อนั้นเคลื่อนที่ก็เป็นอันว่าผู้นั้นสําเร็จในการกระทําภัณฑ์ปริกับปาวหาร อทินนาทาน แต่ ถ้าในหีบห่อเป็นต้นนั้นไม่มีกางเกง มีแต่ของอื่นแล้ว ขณะที่ยกนั้นยังไม่ล่วงกรรมบถ แต่ เมื่อเอาหีบห่อนั้นมาเปิดดูเห็นแต่สิ่งอื่นๆ ไม่มีกางเกงที่ตนตั้งใจจะขโมยอยู่ในนั้น ก็นึกว่า แม้จะไม่ใช่เป็นกางเกงกลายเป็นสิ่งอื่นไปก็เป็นการดีทั้งนั้น เมื่อตัดสินใจดังนี้ ก็ยกเอาหีบห่อเป็นต้นนั้นไป ขณะนั้นแหละก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ล่วงกรรมบถในข้อภัณฑ์ปริกับปาวหารอทินนาทาน
ข. ผู้ที่ทําการขโมยได้ตั้งใจกําหนดขอบเขตสถานที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ขโมยได้ เข้าไปในบริเวณบ้านหรือในบ้านของเจ้าทรัพย์ เมื่อแลเห็นวัตถุสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าแล้ว มีความอยากได้เกิดขึ้น แล้วคิดกะการในใจกําหนดเขตสถานที่ไว้ กล่าวคือเมื่อเอาสิ่งของนั้นมาได้แล้วก็ตั้งใจว่าเราจะนําไปที่ตรงประตูบ้าน หรือที่ใต้ต้นไม้นั้น หรือที่ ริมรั้วนั้นเสียก่อน ถ้าเจ้าของแลเห็นเราก็จะแก้ตัวไปว่าเราอยากชมสิ่งของนั้นๆ แล้วก็จะ นําไปคืนดังที่เดิม ถ้าเจ้าของไม่แลเห็นเราจะนําไปเลย ฉะนั้นเมื่อผู้ขโมยนั้นนําสิ่งของไป ถึงเขตที่ตนก้าหนดไว้ ขณะนั้นยังไม่เป็นการล่วงกรรมบถ ต่อเมื่อนําออกไปพ้นเขตที่ตนกําหนดไว้จึงเป็นอันว่าได้ก้าวล่วงกรรมบถสําเร็จ เป็นโอกาสปริกัปปาวหาร อทินนาทาน
๔. ปฏิจฺฉนฺนาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่เข้าไปในบ้านหรือในบริเวณบ้านหรือในห้องน้ำ ห้องครัว เป็นต้น ของผู้อื่นแล้วแลเห็นวัตถุมีค่า มีแหวน สร้อย นาฬิกา เข็มขัดเป็นต้น ที่เจ้าของถอดวางไว้ หรือทําตกไว้ก็หาหนทางจะเอาสิ่งของนั้นมาเป็นของตนโดยเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาปกปิดของนั้นไว้ หรือหยิบเอาของนั้นไปซุกซ่อนไว้ หรือเอาเท้าเหยียบไว้ หรือคุ้ยดินกลบไว้เสียก่อน รอโอกาสเมื่อเจ้าของไปจากที่นั้นแล้วก็จะนําไปในขณะที่ผู้นั้น ทําการปกปิดสิ่งของอยู่นั้น ยังไม่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถ ต่อเมื่อเจ้าของหาสิ่งของนั้น ไม่พบ แล้วตั้งใจว่าจะมาหาภายหลังอีกแล้วก็ไปจากที่นั้น เมื่อเจ้าของเคลื่อนที่ไปจากที่ ตรงนั้นแล้ว ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ล่วงกรรมบถสําเร็จเป็น ปฏิจฉันนาหารอทินนาทาน
๕. กุสาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่การเปลี่ยนชื่อเจ้าของวัตถุที่ไม่ใช่เป็นของตนให้ เป็นชื่อของตน หรือเปลี่ยนชื่อวัตถุที่ไม่ใช่ของตนให้เป็นของตน เช่น ในการจับสลากวัตถุ สิ่งของต่างๆ สลากที่ตนจับได้นั้นบอกชื่อวัตถุว่าได้ปากกา แต่สลากของอีกคนหนึ่งบอก ว่าได้นาฬิกา เมื่อตนแอบเปิดดูรู้ว่าวัตถุที่ตนจับได้นั้นสู้ของอีกคนหนึ่งไม่ได้ ก็ลอบเปลี่ยนเอาสลากของตนไปให้กับคนที่จับได้นาฬิกา แล้วเอาสลากของคนที่จับได้นาฬิกามาเป็น ของตน หรือบิดา มารดา เมื่อรู้ตัวว่าจะตายได้บอกให้ลูกคนโตเป็นผู้เขียนพินัยกรรมบ่ง ไว้ว่า ลูกคนโตนั้นได้ที่นาและสวน ส่วนลูกคนเล็กซึ่งกําลังไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ต่างประเทศ นั้น ได้ทีดินและตึกแถว เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็ให้อ่านให้ฟัง เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วก็เซ็นชื่อ และใส่ซองเก็บไว้ ต่อมาเมื่อมีโอกาสลูกคนโตก็แอบเปิดซอง เปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า ให้ลูก คนโตได้ที่ดินและตึกแถว ส่วนลูกคนเล็กนั้นได้ที่นาและสวน แล้วก็ปิดซองไว้ตามเดิม เมื่อบิดา มารดานั้นเจ็บหนักก็ได้ให้ไปตามผู้ที่นับถือ หรือทนายความมาให้รับรู้ในพินัยกรรม ที่ได้ให้ลูกคนโตเขียนไว้นั้น แล้วให้เซ็นชื่อเป็นพยาน ต่อมาบิดาหรือมารดานั้นก็ตาย เมื่อเปิดพินัยกรรมต่อหน้าลูกหลาน ญาติพี่น้อง ก็เป็นอันว่าลูกคนโตได้ที่ดินและตึกแถว ลูกคนเล็กได้ที่นาและสวน ตามที่ลูกคนโตได้เปลี่ยนแปลงใหม่นั้น การกระทําดังกล่าวมา นี้ได้ชื่อว่าเป็นกุสาวหาร อทินนาทาน
อธิบายพิเศษในเถยยาวหารอทินนาทาน
แห่งหมวดเถยุยาวหารปญฺจก
ในหมวดเถยฺยาวหารปญฺจก นี้ เถยฺยาวหารอทินฺนาทาน ที่เกี่ยวกับการโกง ได้จําแนกออกเป็น ๔ อย่าง คือ
๑. มานกูฏ ได้แก่การโกงที่เกี่ยวกับการตวงวัตถุสิ่งของ โดยใช้เครื่อง ตวง กระบุง ตะกร้า ปีบ เป็นต้น
๒. ตุลากูฏ การโกงที่เกี่ยวกับการใช้ตาชั่ง
๓. กํสกูฏ การโกงที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนวัตถุสิ่งของมีขัน ถ้วย จาน เป็นต้น
๔. กหาปณกูฏ การโกงที่เกี่ยวกับการทําเงินปลอม ธนบัตรปลอม
มานกูฎ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. หทยเภท ๒. สิขาเภท ๓. รชฺชุเภท
๑. หทยเภท ได้แก่การตวงน้ำมันต่างๆ หรือน้ำผึ้ง โดยทําเครื่องตวงให้เป็นรูไว้ เช่น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื้อก็เอาเครื่องตวงที่เจาะเป็นรูเล็กๆ ไว้ข้างกันนั้นวางลงในภาชนะ ที่ทําไว้รองรับเครื่องตวง เมื่อเทน้ำมันหรือน้ำผึ้งลงในเครื่องตวงแล้ว น้ำมันหรือน้ำผึ้งนั้น ก็จะไหลออกจากเครื่องตวงมาอยู่ในภาชนะที่รองรับ ทําให้ได้จํานวนน้ำมันหรือน้ำผึ้งมาก ขึ้น แต่ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็ปิดรูที่เจาะไว้นั้นเสีย และเมื่อเวลาดวงก็พยายามดวงเร็วๆ และตวงไม่ให้เต็มบริบูรณ์ การโกงชนิดนี้ชื่อว่า หทยเภทมานกฏ
๒. สิขาเภท ได้แก่การตวงข้าว ถั่ว งา เป็นต้น โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมในการตวงนั้น เช่น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื่อก็ค่อยๆ เทสิ่งนั้นๆ ลงในภาชนะเครื่องดวง เพราะการค่อยๆ เท นั้นจะทําให้ได้จํานวนของมากขึ้น และเมื่อตอนที่ปาดของให้เสมอกับขอบภาชนะที่ดวงนั้น ก็ใช้ปาดโหย่งๆ ให้ตรงกลางนูนเล็กน้อย แต่ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็รีบเทสิ่งนั้นๆ ลงในภาชนะเครื่องดวง ในการรีบเทนี้จะทําให้จํานวนของน้อยกว่าค่อยๆ เท และเมื่อตอน ปาดหน้าของนั้นก็ปาตกดลงไปให้ตรงกลางเว้าเล็กน้อย การโกงชนิดนี้เรียกว่า สิขยาเภทมานกุฎ
๓. รชชุเภท ได้แก่การใช้เล่ห์เหลี่ยมในการวัด เช่น วัดผ้า วัดที่ดิน เป็นต้น ถ้าตนวัดเอาของตนก็วัดให้เกินไว้ ถ้าตนวัดให้คนอื่นก็วัดให้ขาดไว้ โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งจับได้ การโกงชนิดนี้ชื่อว่า รัชชุเภทมานกุฎ
ตุลากูฏ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑. รูปกูฏ ๒. องฺคกูฏ ค. คหณกูฏ ๔. ปฏิจฺฉนุนกูฎ
๑. รูปกูฏ ได้แก่การทําลูกตุ้มที่สําหรับวัดน้ำหนักในการชั่งของไว้ ๒ ชนิด ลูกตุ้ม อันหนึ่งใหญ่ อันหนึ่งเล็ก ถ้าตนเป็นฝ่ายซื้อก็ใช้ลูกตุ้มอันใหญ่ถ่วงตาชั่ง เพื่อให้ได้จํานวน ของมาก ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็ใช้ลูกตุ้มอันเล็กถ่วง เพื่อให้จํานวนน้อยลงไป การโกงชนิด นี้ชื่อว่า ตุลารูปกูฏ
๒. องฺคกูฏ ได้แก่ในเวลาที่ชั่งของนั้น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื้อก็ใช้มือกดบนคันตาชั่ง ให้ถ่วงไปทางลูกตุ้ม เพื่อให้ได้จํานวนของมาก ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็ใช้กดถ่วงไปทางที่ใส่ ของ เพื่อให้ได้จํานวนของน้อย การโกงชนิดนี้ชื่อว่า ตุลาอังคกูฏ
๓. คหณกูฏ ได้แก่ในเวลาที่ชั่งของนั้น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื่อก็ใช้มือจับที่ตรงสาย เชือกนั้นให้ต่ำลงถึงโดนเชือก เพื่อให้ได้จํานวนของมาก ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็จับที่ตรงปลายเชือก เพื่อให้จํานวนของนั้นน้อยลง การโกงชนิดนี้ชื่อว่า ตุลาคหณกูฏ
๔. ปฏิจฺฉนุนกูฎ ได้แก่การประดิษฐ์เครื่องชั่งโดยเจาะรูไว้ที่ตรงคันชั่ง แล้วเอา ปรอทหรือก้อนตะกั่วเล็กๆ ใส่ไว้ เมื่อตนเป็นฝ่ายซื้อก็เอียงคันชั่งเทมาทางลูกตุ้ม เพื่อให้ ก้อนปรอทหรือตะกั่วนั้นมาถ่วงทางด้านลูกตุ้ม เพื่อให้ได้จํานวนของมาก ถ้าตนเป็นฝ่าย ขายก็เอียงคันชั่งเทไปทางด้านทีใส่ของ เพื่อให้ก้อนปรอทหรือตะกั่วถ่วงไปทางของเพื่อให้ได้จํานวนของน้อย การโกงชนิดนี้ชื่อว่า ตุลาปฏิจฉันนกฏ
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
คําว่า กาเมสุมิจฉาจารนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ กาเมสุ + มิจฺฉา + อาจร กาเม = ในการเสพเมถุน (กาเมสูติ เมถุนสมาจาเรส)
มิจฺฉา = ลามก คือบัณฑิต ทั้งหลายย่อมติเตียนแน่นอน จร - การประพฤติ (เอกนฺต นินฺทิโต ลามกาจาโร)
เมื่อรวมกันแล้วเป็นกาเมสุมิจฉาจาร แปลว่าการประพฤติลามกในการเสพเมถุน แสดงวจนัตถะในคําว่า กาเมสุมิจฉาจาร “มิจฉา จรณํ มิจฺฉาจาโร” การประพฤติผิด คือกระทําลามกอันบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียนแน่นอน ชื่อว่ามิจฉาจาร
“กาเมสุ มิจฉาจาโร = กาเมสุมิจฉาจาโร” การประพฤติผิด คือกระทํา ลามก อันบัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนแน่นอนในการเสพเมถุน ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร อีกนัยหนึ่ง
“กาเมสุ มิจฉา จรนุติ เอเตนาติ = กาเมสุมิจฉาจาโร” คนทั้งหลายย่อมประพฤติ ผิดในการเสพเมถุนด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมอันเป็นเหตุแห่งการประพฤติผิดในการเสพ เมถุนนั้นชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่ เมถุนเสวนเจตนาที่ประกอบกับโลกชวนะ
อธิบายว่า สามีภรรยาที่ประพฤติอยู่ในกาเมต่อกันนั้น กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการกระทํา ที่ลามก อันบัณฑิตทั้งหลายจะพึงติเตียนเพราะเป็นไปตามธรรมดาของโลก แต่ถ้าชาย หรือหญิงใดประพฤติล่วงกาเมต่อชายหรือหญิงที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาของตน และชายหรือหญิงนั้นมีผู้ปกปักรักษาอยู่ การกระทําของชายหรือหญิงนั้นก็กล่าวได้ว่า เป็นการกระทําอันลามก บัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนเพราะไม่ได้เป็นไปตามธรรมดาโลก ดังนั้น ท่านฎีการจารย์จึงแก้ในคําว่า มิจฉาจารว่า “เอกนฺเต นินฺทิโต ลามกาจาโร” “การประพฤติ อันลามกที่บัณฑิตทั้งหลายฟังติเตียนอย่างแน่แท้” การล่วงกาเมสุมิจฉาจารนี้ย่อมสําเร็จได้ด้วยกายปโยคะอย่างเดียว คือต้องกระทําด้วยกายไม่ใช่ด้วยวาจา หรือใจ
องค์แห่งปโยคะของกาเมสุมิจฉาจาร
การกระทําอกุศลชนิดกาเมสุมิจฉาจาร ที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถนั้นต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. อคมนียวตก วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
๒. ตสฺมี เสวนจิตฺต์ มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
๓. ปโยโค มีความพยายามเสพ
๔. มคฺเคนมคฺคปฏิปตฺติ อธิวาสํ มีความพอใจในการประกอบมรรคซึ่งกันและกัน
เมื่อการกระทําครบองค์ ๔ นี้แล้วก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถกาเมสุมิจฉาจารแล้ว ถ้าไม่ครบองค์ ๔ ก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ ดังที่ท่านฎีกาจารย์แสดงไว้ว่า
วตฺถุํ อคมนียญจ ตสุมิ เสวนจิตฺตตา
ปโยโค มคฺเคนมคฺค ปติปตฺยาธิวาสนํ
อิติ กามสฺส จตฺตาโร ปโยเคโก สาหตฺถิโก ฯ
“วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องอย่างหนึ่ง มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น อย่างหนึ่ง มีความพยายามเสพอย่างหนึ่ง มีความพอใจในการ ประกอบมรรคซึ่งกันและกันอย่างหนึ่ง นี้คือองค์ทั้ง ๔ ของ กาเมสุมิจฉาจารปโยคะนั้นได้ สาหัตถิกปโยคะ คือการกระทําด้วยตนเองอย่างเดียว"
โทษของกาเมสุมิจฉาจาร ที่เป็นมหาสาวัชชะและอัปปสาวัชชะ
ผู้ที่ล่วงเกินแก่ผู้มีศีลธรรม โดยมิได้มีความพอใจยินยอมด้วย ผู้ล่วงเกินนั้นย่อมมีโทษ หนัก ถ้าล่วงเกินแก่ผู้ไม่มีศีลธรรม โดยมิได้มีความพอใจยินยอมด้วยผู้ล่วงเกินนั้นย่อมมีโทษ เบา ถ้าล่วงเกินโดยการเบียดเบียนทําร้ายร่างกาย แม้ว่าผู้ถูกเบียดเบียนนั้นจะเป็นผู้ไม่ มีคุณธรรมพิเศษอย่างใดก็ตาม ผู้ล่วงเกินนั้นก็ย่อมมีโทษหนัก ถ้าทั้งสองฝ่ายมีความยินยอมต่อกันก็ย่อมมีโทษเบา
ในระหว่างปุถุชนกับพระอริยบุคคลนั้น การล่วงปุถุชนย่อมมีโทษเบากว่าการล่วงพระอริยะ ในระหว่างพระอริยบุคคลด้วยกันนั้น การล่วงพระโสดาบันย่อมมีโทษเบากว่าการ ล่วงพระสกทาคามี การล่วงพระสกทาคามี ย่อมมีโทษเบากว่าการล่วงพระอนาคามี การล่วงพระอนาคามี ย่อมมีโทษเบากว่าการล่วงพระอรหันต์
สําหรับการล่วงกาเมสุมิจฉาจารต่อพระอรหันต์นั้น ย่อมมีโทษหนักที่สุดดังเช่นเรื่อง นันทมานพที่ล่วงเกินต่อพระอุบลวัณณาเถรี ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้รับโทษถึงถูกธรณีสูบด้วยอํานาจแห่งทิฏฐธัมมเวทนียกรรม และได้ไปบังเกิดในอวีจิมหานรก เสวยความ ทุกข์แสนสาหัสด้วยอํานาจ แห่งอุปปัชชเวทนียกรรม
อนึ่ง ในองค์ทั้ง ๔ นั้น องค์ที่ ๑ ที่ว่า อคมนียวัตถุ คือวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องนั้น ได้แก่ หญิงหรือชายที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง นั่นเอง
หญิงที่ชายไม่ควรเกี่ยวข้อง มี ๒๐ จําพวก คือ
มา - ปิ - มาปิ - ภะ และภา, ญา - โค - ธัม - สะ - สา
ธะ - ฉัน - โก - ปะ - โอ - โอ - ธะ, กัมมะ - ทา - มหาฯ
๑. มาตุรกฺขิตา หญิงที่มีมารดาปกครองเพราะบิดาตายหรือไม่ได้อยู่กับมารดา
๒. ปิตุรกฺขิตา หญิงที่มีบิดาปกครอง
๓. มาตาปิตุรกฺขิตา หญิงที่มีมารดาบิดาปกครอง (ถ้าหญิงที่มีมารดาปกครอง ผู้เดียว หญิงนั้นไม่ชื่อว่าปิตุรักขิตา ถ้าหญิงที่มีบิดาปกครองผู้เดียว หญิงนั้นก็ไม่ชื่อว่ามา ปิตุรักขิตา และถ้าหญิงที่มีทั้งมารดาและบิดาปกครอง หญิงนั้นก็ไม่ชื่อว่ามาตุรักขิตาและ ปิตุรักขิตา เพราะอยู่ในประเภทมาตาปิตุรักขิตา)
๔. ภคินีรกฺขิตา หญิงที่มีพี่สาวปกครอง หรือมีน้องสาวเป็นผู้ดูแลรักษา
๕. ภาตุรกฺขิตา หญิงที่มีพี่ชายปกครอง หรือมีน้องชายเป็นผู้ดูแลรักษา
๖. ญาติรักขิตา หญิงที่มีญาติเป็นผู้ปกครอง
๗. โคตฺตรกฺขิตา หญิงที่มีตระกูลเดียวกันหรือเชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครอง (ที่ว่า เชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครองนั้น หมายถึงหญิงที่ไปอยู่ในต่างประเทศและอยู่ในความ ปกครองของชนชาติเดียวกับตน มีสถานทูต เป็นต้น)
๘. ธมุมรกฺขิตา หญิงที่มีผู้ประพฤติปฏิบัติศีลธรรมด้วยกันเป็นผู้ปกครอง เช่น หญิงที่บวชชี หัวหน้า เป็นผู้ปกครอง เป็นต้น ดังนั้นในสารัตถทีปนีฎีกากล่าวว่า “เอกํ สตฺถารํ อุทฺทิสฺส ปพฺพชิเตหีติ อิมินา ปณฺทรงฺคปริพฺพาชิกาทโย ทสฺเสติ”
“ท่านอรรถกถาจารย์แสดงให้รู้ถึงปริพพาชก เป็นต้น ที่นุ่งห่มด้วยผ้าขาวโดยใช้ค่า ว่าผู้ที่ออกบวชอุทิศตนต่อพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวกัน”
๙. สปริทณฺฑา หญิงที่กษัตริย์หรือผู้มีอํานาจได้จองตัวไว้
๑๐. สารกขา หญิงที่มีผู้หมายมั่นไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหญิงที่มีคู่หมั้น
หญิงจําพวกสปริทัณฑาและสารักขาทั้ง ๒ นี้ เป็นหญิงที่ไม่มีอิสระคือมีเจ้าของแล้ว ถ้าตนไปยินดีมอบกายให้แก่ชายอื่นแล้ว ก็เท่ากับว่าตนเองขโมยตัวของตนที่มีเจ้าของหวงแหนไปให้กับผู้อื่น ฉะนั้นหญิงนั้นก็เป็นอันว่าได้ล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ดังนั้น ท่านฎีกาจารย์ จึงแสดงไว้ในเตรสกัณฑฎีกาว่า
"ปจฺฉิมานํ ทฺวินฺนนฺติ สารกฺขา สปริทณฺทานํ มิจฺฉาจา โร โหติ ตาสํ สสฺสามิกภาวโต” “หญิง ๒ คนข้างท้าย คือสารักขาและสปริทัณฑานี้ ถ้ายอมมอบตัวให้แก่ชายอื่นแล้วก็เป็นอันว่าประพฤติผิด เพราะหญิงเหล่านี้เป็นผู้มีเจ้าของแล้ว”
สําหรับหญิงที่ถูกบ้านเมืองลงโทษกักขังไว้นั้นไม่เรียกว่าเป็นหญิงพวกสารักขาหรือสปริทัณฑา แม้จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลควบคุมก็เป็นไปคล้ายกับหญิงพวกมาตุรักขิตา ปิตุรักขิตา ฉะนั้นถ้าหญิงจ่าพวกนี้จะไปมอบตัวแก่ชายใดก็ไม่จัดว่าล่วงกาเมสุมิจฉาจาร
๑๑. ธนกฺกีตา หญิงที่ชายซื้อมา เช่น หญิงที่เดินทางมาจากต่างประเทศไม่มีค่าโดยสารเรือ เมื่อถึงที่หมายแล้วเจ้าของเรือได้จัดการเลหลังหญิงนั้น และมีชายไปช่วยออกเงินให้แล้วเอาตัวหญิงนั้นมา หรือหญิงที่มีค่าตัวโดยบิดามารดานําไปขายไว้กับเจ้าของเงิน ชายไปช่วยไถ่ถอนเอาตัวมา ดังนี้เป็นต้น หญิงพวกนี้ได้ชื่อว่าธนักกีตา
๑๒. ฉนฺทวาสินี หญิงที่สมัครใจไปอยู่กับชาย เช่น หญิงที่รักชายคนหนึ่งคนใด แต่ บิดามารดาไม่ยินดียกให้หญิงนั้นก็หนีไปอยู่กับชายนั้น หญิงพวกนี้ได้ชื่อว่าฉันทวาสินี สําหรับชายที่รับหญิงจําพวกนี้ไว้เป็นภรรยาไม่ชื่อว่าเป็นกาเมสุมิจฉาจาร
๑๓. โภควาสินี หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชายโดยหวังในทรัพย์สินเงินทอง
๑๔. ปฏิวาสินี หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชายโดยหวังในเครื่องนุ่งห่ม
๑๕. โอทปตุตกินี หญิงที่เป็นภรรยาชายโดยการแต่งงานที่มีพิธีเอามือเจ้าบ่าวเจ้าสาวจุ่มลงในขันน้ำ การแต่งงานโดยวิธีนี้ผู้ใหญ่ทางเจ้าบ่าวและเจ้าสาวได้จับมือของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจุ่มลงไปในขันน้ำ แล้วอวยพรให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวจงอยู่ด้วยความรักใคร่ปรองดองกันอย่าให้มีความแตกแยกกันเหมือนหนึ่งน้ำในขันที่ไม่มีการแตกร้าวจากกัน สําหรับหญิงไทยที่มีการแต่งงานโดยกระทําพิธีรดน้ำสังข์ก็จัดเข้าอยู่ในหญิงจําพวกโอทปัตตคินี
๑๖. โอภตจุมฺพฎา หญิงที่เป็นภรรยาชายโดยชายนั้นเป็นผู้ช่วยให้พ้นจากการแบกทูนของบนศีรษะ หมายความว่า หญิงจําพวกนี้เป็นคนจนต้องทนของไปขายอยู่ทุกวัน เมื่อมีชายที่เกิดความพอใจในหญิงนั้นรับไปเลี้ยงดูเป็นภรรยาแล้ว หญิงนั้นก็เป็นอันว่าไม่ต้องไปทูนของขายอีกต่อไป ทิ้งผ้าที่รองรับภาชนะนั้นเสียได้
๑๗. ธชาหฎา หญิงที่เป็นเชลยแล้วตกเป็นภรรยาของชายนั้น
๑๘. กมุมการีภริยา หญิงที่เป็นลูกจ้างทํางานในบ้าน หรือในห้างร้านของชายนั้น แล้วชายนั้นเอาเป็นภรรยาด้วย
๑๙. ทาสีภริยา หญิงที่เป็นทาสภายในบ้านของชายนั้น แล้วชายนั้นเอาเป็นภรรยา
๒๐. มุหุตติกา หญิงที่เป็นภรรยาของชายชั่วครั้งชั่วคราว หญิงที่เป็นภรรยาของชาย ๙พวก มีธนักกีตาภรรยา เป็นต้น จนถึงทาสีภรรยา เหล่านั้น เมื่อขณะที่ยังอยู่กับชายนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นภรรยาโดยแท้ แต่สําหรับมุหุตติกาภรรยานั้น เป็นภรรยาชนิดรับจ้างชั่วขณะบ้าง ๓ วัน ๗ วัน หรือ ๑ เดือนบ้าง
ในบรรดาหญิง ๒๐ จําพวกนั้น หญิง ๘ จําพวก มีมาตุรักขิตา เป็นต้น จนถึง ธัมมรักขิตา เหล่านี้ยังไม่ได้มีสามีที่เป็นเจ้าของในร่างกายของตน ตนเองมีสิทธิ์ในร่างกายของตน เมื่อพอใจในชายใดแล้วจะมอบกายให้แก่ชายนั้น ก็กระทําได้ไม่มีผิดในข้อกาเมสุมิจฉาจาร แม้จะมีบิดามารดา ญาติพี่น้อง เป็นต้น เป็นผู้ปกปักรักษาก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นเจ้าของร่างกายเพียงแต่เป็นผู้คุ้มครองดูแล ไม่ให้ชายมาเบียดเบียนข่มเหงได้เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีโทษในทางธรรมก็ย่อมมีโทษในทางโลก คือย่อมเป็นที่ดูถูกติเตียนแก่คนอื่น ซึ่งจะนําความอาย ความเสียใจกลุ้มใจมาสู่ตนได้ ทําให้เกิดเป็นอกุศลที่เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิได้
สําหรับฝ่ายชายทีได้เกี่ยวข้องร่วมกับหญิง ๘ จําพวกที่กล่าวมานี้ ถือว่าเป็นการล่วงศีลกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนหญิงที่เหลืออีก ๑๒ จําพวก มีสปริทัณฑา เป็นต้นจนถึง มุหุตติกา เหล่านี้เป็นหญิงประเภทที่มีสามีแล้ว แม้หญิงจําพวกมุหุตติกาที่เป็นภรรยาชั่ว ครั้งชั่วคราวก็ตาม ก็ถือว่ามีสามีเหมือนกัน ดังนั้นถ้าหญิงเหล่านี้นอกใจสามียอมตัวให้ชาย อื่นล่วงเกินได้แล้ว ก็เป็นอันว่าล่วงศีลกาเมสุมิจฉาจาร
สําหรับหญิงจําพวกนครโสเภณีนั้น ถ้ามีชายคนใดคนหนึ่งมาตกลงจองตัวไว้โดยชําระเงินให้ก่อนแล้ว แต่ยังมิได้ประกอบกิจธุระให้สําเร็จลง ในระหว่างนั้นถ้าหญิงนั้นไป ตกลงรับสินจ้างร่วมกับชายอื่น ก็ถือว่าเป็นการล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ดังที่พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้ในครุธรรมชาดก ถึงเรื่องหญิงนครโสเภณีผู้หนึ่งอยู่ในอิทปัตนครแห่งแคว้นกุรุ ได้รับเงินจํานวนหนึ่งพันกหาปณะจากชายผู้หนึ่งเป็นค่าจองตัวไว้และบอกว่าจะมาหานางในภายหลังแล้วจากไป นางรับเงินจากชายผู้นั้นไว้แล้ว ก็ถือว่าในระหว่างนั้นตัวของ นางเป็นสิทธิ์ของชายผู้นั้น ไปจนกว่านางจะได้สนองความต้องการของเขาให้เสร็จสิ้นไป ฉะนั้นในระหว่างที่ชายนั้นยังไม่มานางก็เฝ้ารออยู่ไม่กล้าจะรับรองชายใดได้ แม้ชายอื่นจะให้เงินแก่นางมากสักเท่าใดก็ตาม นางก็ไม่ยินยอมรับเพราะนางได้ถือศีล ๕ เป็นประจํา กลัวจะล่วงศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร นางได้พยายามรอชายนั้นเป็นเวลาถึง ๓ ปี แม้จะได้รับความลําบากในอาชีพและความเป็นอยู่นางก็ไม่กล้าประพฤติล่วงศีลข้อนี้ได้
ในบรรดาหญิง ๑๒ จําพวกนี้ อย่าว่าแต่จะล่วงกาเมกับชายอื่นเลย แม้จะล่วงกับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังเช่นเรื่องพระนางมัลลิกาเทวีอัครมเหสีของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ที่ได้ล่วงกาเมกับสุนัขในห้องน้ำ เมื่อตายแล้วก็ได้ไปเกิดในอวีจีมหานรก
สําหรับฝ่ายชายนั้น ถ้ามีภรรยาจําพวกใดจําพวกหนึ่งในบรรดาภรรยา ๑๐ จําพวก มีธนักกีตาภรรยาเป็นต้น จนถึงมุหุตติกาภรรยาหรือมีคู่หมั้นที่เป็นประเภทสารักขา แล้วจะนอกใจภรรยาหรือคู่หมั้นของตนไปล่วงกาเมกับหญิงที่เป็นภรรยาของคนอื่น หรือคู่หมั้น ของคนอื่นนั้นไม่ได้ ถ้ากระทําไปก็เป็นอันว่าล่วงกาเมสุมิจฉาจาร
สรุปความว่า ชายจะประพฤติล่วงกาเมในหญิงทั้ง ๒๐ จําพวกไม่ได้ หญิง ๑๒ จําพวก มีสปริทัณฑาเป็นต้น จนถึงมุหุตติกา เหล่านี้จะมอบตัวให้กับชายอื่นไม่ได้ หญิง ๘ จําพวก มีมาตุรักขิตาเป็นต้น จนถึงธัมมรักขิตา เหล่านี้ถ้าตนเองสมัครใจมอบตัวให้กับชายก็ไม่ผิดข้อกาเมสุมิจฉาจาร ดังที่ในมหาวรรคสังยุตตอรรถกถาและเตรสกัณฑ์ฎีกาแสดงว่า
“ปุริสสส ปน ตาสุ วีสติสุ กาเมสุมิจฉาจาโร โหติ, มาตุรักขิตาทีนํ อฏฺฐนฺนํ มิจฉาจาโร นตฺถิ อสฺสามิกตฺตา ตาสุ คตานํ ปุริสานเมว มิจฉาจาโร โหติ มาตาที่หํ รักขิตตตา, เสสานํ ปน ปุริสนฺตรคมเน มิจฺฉาจาโร โหติ, กสฺมา สสฺสามิกภาวโต”
“สําหรับชายนั้นถ้าเสพกาเมในหญิง ๒๐ จําพวก ย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารกรรม กาเมสุมิจฉาจารกรรมย่อมไม่มีแก่หญิง ๘ จําพวก มีมาตุรักขิตาเป็นต้น เพราะยังไม่มีสามี แต่ชายที่เกี่ยวข้องกับหญิง ๘ พวกนี้เท่านั้นเป็นกาเมสุมิจฉาจารกรรม เพราะหญิงเหล่านี้เป็นผู้ที่มีมารดาเป็นต้นดูแลรักษาไว้ ส่วนหญิง ๑๒ พวกที่เหลือเหล่านั้น เมื่อประพฤติล่วงกาเมกับชายอื่นที่ไม่ ใช่สามีของตน ย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารกรรม เพราะเป็นผู้ที่มี สามีเป็นผู้ปกครอง”
การอธิบายวจีกรรม ๔
๑. มุสาวาท
คําว่า มุสาวาทนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มุสา + วาท, มุสา เป็นนิปาตบท แสดงถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ดังเช่นมีคนมาถามเราว่ามีเงินไหม? เรามีแต่ตอบว่าไม่มี หรือเขาถามว่ามีทองไหม? เราไม่มีแต่ตอบว่ามีเงินหรือทองนี้แหละเป็นตัวมุสา คือหมายถึงวัตถุที่ไม่เป็นความจริง หรือในเรื่องราวต่างๆ เรารู้เรื่องนั้นแล้ว แต่เมื่อมีผู้มาถาม เรา ก็กล่าวปฏิเสธว่าไม่รู้ หรือเราไม่รู้แต่บอกว่ารู้เรื่องราวนี้แหละเป็นตัวมุสา คือไม่เป็นไปตรง กับคําพูด
วาท หมายถึงคําพูด เมื่อรวมกันแล้วเป็นมุสาวาท หมายถึงคําพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ดังแสดงจวนัตถะว่า “มุสา วทนฺติ เอเตนาติ มุสาวาโท” คนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่ง วัตถุสิ่งของเรื่องราวที่ไม่จริงกล่าวให้เป็นจริงด้วยเจตนาอันนั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุ แห่งการกล่าวไม่จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท ได้แก่ วิสํวาทนเจตนา คือเจตนาที่ทําให้ผู้อื่น เข้าใจผิด ซึ่งประกอบกับโลภะ โทสะ ชวนะ ที่เกิดในกายทวารและวจีทวาร
การกล่าวมุสาวาทนี้ ใช้โดยวาจาเป็นส่วนมาก ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่ามุสาวาท แต่ใช้โดยอวัยวะส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกายที่ไม่เกี่ยวกับวาจา ก็ได้ชื่อว่ามุสาวาทเช่นเดียวกัน ข้อตัดสินที่จะให้รู้ได้ว่า ผู้นี้กล่าววาจาสําเร็จเป็นมุสาวาทหรือไม่นั้น ต้องตัดสินด้วยองค์ ประกอบ ๔ อย่าง ถ้าการ กล่าวนั้นครบองค์ ๔ ก็สําเร็จเป็นมุสาวาท ถ้าไม่ครบองค์ ๔ ก็ยังไม่จัดว่าเป็นมุสาวาท
องค์แห่งมุสาวาท ๔ อย่าง
๑. อตฺถวตฺกุ สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริงอย่างหนึ่ง
๒. วิสํวาทนจิตฺตตา มีจิตคิดจะมุสาอย่างหนึ่ง
๓. ปโยโค พยายามมุสาด้วยกาย หรือด้วยวาจาตามความประสงค์ ของตนอย่างหนึ่ง
๔. ตทตฺถวิชานนํ ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้น
ในข้อมุสาวาทนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. สําเร็จเป็นมุสาวาทแต่ไม่ล่วงกรรมบถ
๒. สําเร็จเป็นมุสาวาทด้วยล่วงกรรมบถด้วย
การกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ แต่ไม่ทําให้ความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ที่หลงเชื่อแต่อย่างใด ชนิดนี้เป็นแต่เพียงมุสาวาท แต่ไม่ล่วงกรรมบถ คือไม่นําไปสู่อบาย
การกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ และทําความเสียหายให้แก่ผู้ที่หลงเชื่อ ชนิดนี้สําเร็จ เป็นมุสาวาทด้วย ย่อมก้าวล่วงกรรมบถด้วย คือสามารถนําไปสู่อบายได้
ปโยคะ คือความพยายามในการมุสา ๔ อย่าง
๑. สาหัตถิกะ พยายามมุสาด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ใช้ให้คนอื่นมุสา
๓. นิสสัคคิยะ เขียนเรื่องที่ไม่จริงแล้วทิ้งไปให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น ทิ้งจดหมายหรือโฆษณาทางวิทยุ
๔. ถาวระ เขียนเรื่องที่ไม่จริง แล้วปิดประกาศไว้ หรือจารึกไว้ หรือ พิมพ์เป็นหนังสือขึ้น หรืออัดเสียงไว้
ในปโยคะทั้ง ๔ อย่างนี้ สาหัตถิกปโยคะเป็นปโยคะโดยตรง คือเป็นไปโดยส่วนมาก ส่วนปโยคะที่เหลือ ๓ นั้น เป็นไปโดยส่วนน้อย ดังมีคาถาแสดงว่า
มุสาวาทสฺส อตถํ วิสํวาทนจิตฺตตา
ตชฺโช วายาโม ปรสฺส ตทตฺถชานนํ อิติ ฯ
สมฺภารา จตุโร โหนฺติ ปโยเคโก สาหตุถิโก
อาณตติกนิสฺสคฺคิย- ถาวราปิจ ยุชฺชเร ฯ
“องค์ของมุสาวาทมี ๔ อย่างคือ สิ่งของหรือเรื่องราวที่ ไม่จริงอย่างหนึ่ง มีจิตคิดจะทําให้ผู้อื่นเข้าใจผิดอย่างหนึ่ง มีความพยายามด้วยกายหรือด้วยวาจาที่ตรงกับจิตที่คิดจะมุสานั้นอย่างหนึ่ง ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้นอย่างหนึ่ง
ปโยคะนั้นในมหาอรรถกถากล่าวไว้ว่า ได้สาหัตถิกปโยคะอย่างเดียว แต่ในอัฏฐสาลินีอรรถกถากล่าวว่า อาณัตติกะ นิสสัคคิยะ และถาวรปโยคะเหล่านี้ก็ย่อมเป็นได้
สาหัตถิกปโยคะ คือการมุสาด้วยตนเองนั้น ย่อมกระทําได้โดยทางกายหรือทาง วาจา มุสาทางกายนั้น เช่น ต้องการปฏิเสธด้วยอาการสั่นศีรษะ หรือต้องการรับด้วยอาการ พยักหน้า มุสาทางวาจานั้น ก็ได้แก่การกล่าววาจาที่ไม่จริงนั้นเอง
อาณัตติกปโยคะ คือใช้ให้ผู้อื่นมุสานั้น ก็กระทําได้โดยทางกายหรือทางวาจา ใช้ให้ผู้อื่นมุสาทางกาย เช่น เขียนหนังสือส่งให้ผู้นั้นทําการมุสาด้วยกายหรือด้วยวาจา ใช้ให้ผู้อื่นมุสาทางวาจา ก็ได้แก่การกล่าววาจาใช้ให้มุสาด้วยกายหรือด้วยวาจา
สําหรับนิสสัคคิยปโยคะและถาวรูปโยคะทั้ง ๒ นี้ ก็ย่อมกระทําได้โดยทางกายหรือ ทางวาจาเช่นเดียวกัน ดังที่ได้แสดงแล้วนั้น
มุสาวาทที่เป็นศีลวิบัติ และมุสาวาทที่สําเร็จเป็นกรรมบถ
ในองค์ทั้ง ๔ นั้น ถ้าล่วงแต่เพียง ๒ องค์ คือมีจิตคิดจะมุสา และพยายามมุสาด้วย กายหรือด้วยวาจาแล้ว คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ย่อมสําเร็จแต่เพียงเป็นศีลวิบัติเท่านั้น ไม่ก้าวล่วงไปถึงกรรมบถ ถ้าการมุสานั้นครบองค์ ๔ ก็เป็นอันว่าสําเร็จกรรมบถ ใน องค์ที่ ๔ ที่กล่าวว่า ตทตฺถวิชานนํ ผู้อื่นมีความหลงเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้น ข้อนี้แสดง ให้รู้ว่าการพูดมุสานี้ ถ้าผู้ฟังเชื่อตามเนื้อความนั้น ก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ ถ้าผู้ฟังไม่เชื่อ ก็ไม่ล่วงกรรมบถ
กรรมปถมุสาวาท คือมุสาวาทที่ล่วงกรรมบถนั้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
๑. ชนิดที่นําไปสู่อบายได้
๒. ชนิดที่ไม่นําไปสู่อบาย
ชนิดที่นําไปสู่อบายได้นั้น ต้องเป็นมุสาวาทที่ทําให้ผู้หลงเชื่อนั้นเกิดความเสียหายได้ ถ้าผู้ที่เชื่อนั้นไม่ได้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด มุสาวาทชนิดนี้ก็ไม่นําไปสู่อบาย เช่น การพูดมุสาของอํามาตย์ผู้หนึ่งต่อพระราชาเพื่อรักษาศรัทธาของพระราชาไว้และเพื่อรักษาชีวิตของชายผู้หนึ่งไว้ ดังมีเรื่องว่า
สามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นคนยากจนอาศัยอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง ภรรยานั้นมีครรภ์ และมีอาการแพ้ท้องอยากกินอาหารที่เป็นของเสวย จึงได้อ้อนวอนให้สามีออกไปแสวงหามาให้ และถ้านางไม่ได้กินอาหารชนิดที่ต้องประสงค์นี้แล้ว ชีวิตของนางก็ไม่อาจยืนอยู่ต่อไปได้ สามีรักและสงสารภรรยาเกรงว่านางจะตายจึงได้คิดอุบายปลอมเป็นพระเดินอุ้มบาตรเข้าไปในพระราชวัง เพื่อรับบิณฑบาตด้วยกิริยาอันสํารวม ขณะนั้นเป็น เวลาใกล้จะเพล พระราชากําลังจะเสวยพระกระยาหารอยู่แล้วทอดพระเนตรเห็นพระเดินสํารวมมาบิณฑบาตด้วยกิริยาน่าเลื่อมใส ก็เกิดมี พระราชศรัทธาขึ้นด้วยเข้าพระทัยว่า พระองค์นี้คงไม่ใช่เป็นพระสามัญ ต้องเป็นพระที่มีคุณพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเอาอาหาร ที่จะเสวยนั้นใส่บาตรแก่ชายผู้นั้น แล้วรับสั่งให้อํามาตย์ใกล้ชิดผู้หนึ่งสะกดรอยตามไปเพื่อให้รู้แน่ว่ามาจากไหน และจะไปที่ไหน อํามาตย์ก็เดินตามชายผู้นั้นไปโดยที่ผู้นั้นไม่รู้ตัว พอเดินไปถึงศาลาที่พักก็เปลื้องจีวรออกกลับเป็นคนธรรมดา เอาอาหารนั้นให้ภรรยากิน อํามาตย์แลเห็นก็รู้ว่าคนผู้นี้แกล้งหลอกลวงว่าเป็นพระ จึงคิดว่าถ้าเรานําเรื่องนี้ไปทูลต่อ พระราชาตามความเป็นจริงแล้ว ผลร้ายจะบังเกิดแก่บุคคลทั้ง ๒ ฝ่าย คือพระราชาจะเสียศรัทธาที่มีอยู่อย่างแรงกล้า ฝ่ายบุรุษผู้หลอกลวงนี้ก็จะได้รับโทษถึงชีวิต ฉะนั้นจําเป็นที่เราจะต้องพูดเป็นกลางๆ ไว้ เพื่อรักษาประโยชน์ให้ทั้ง ๒ ฝ่าย อํามาตย์จึงกลับมาทูลพระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามพระรูปนั้นไปจนออกนอกเมือง เมื่อออกไปนอกเมืองแล้วผ้าเหลืองนั้นก็หายไปจากสายตาข้าพระพุทธเจ้า พระราชาได้ทรงฟังแล้วเกิดความปีติโสมนัสตรัสว่าแน่แล้วๆ พระองค์นี้ต้องเป็นพระอรหันต์ ทานของเราต้องเป็นทานที่ประเสริฐ
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าค่ากล่าวซึ่งไม่ตรงความจริงที่ทําให้พระราชาเข้าพระทัยผิด แต่ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหาย กลับทําให้เกิดประโยชน์เช่นนี้ ผู้กล่าวแม้จะได้ชื่อว่าเป็นมุสา แต่ก็เป็นมุสาที่ไม่มีโทษ ไม่สามารถนําไปสู่อบาย
ในปัญจาวุธชาดก ปัญจาวุธกุมาร ขณะที่ถูกยักษ์ขนเหนียว ชื่อสิเลสโลมะจับตัวไว้ จะกิน ได้ออกอุบายกล่าวว่าในท้องของเรานี้มีอาวุธ ถ้าเจ้ากินเราอาวุธของเราจะบาดได้ พุงของเจ้าให้ขาดเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ แล้วเจ้าก็จะต้องตายด้วย ยักษ์ได้ยินดังนั้นก็คิดว่า มาณพนี้คงพูดจริง ดังนี้ยักษ์จึงไม่กล้ากินปัญจาวุธกุมาร ที่ปัญจาวุธกุมารกล่าวว่าท้องมี อาวุธนั้นมุ่งหมายเอาญาณาวุธ คือปัญญาที่มีอยู่ในตน แต่ยักษ์เข้าใจว่าเป็นอาวุธจริงๆ เรื่องนี้ก็แสดงถึงว่าการกล่าวมุสาของปัญจาวุธกุมารนี้ ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หลงเชื่อแต่อย่างใด
ในสังสุมารชาดกแสดงไว้ว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นวานรถูกจระเข้ตัวหนึ่งลวงให้ขึ้นหลังเพื่อจะไปส่งที่ฝั่งข้างโน้น พอถึงกลางแม่น้ำจระเข้ก็ จมลง วานรจึงถามว่าท่านแกล้ง ให้ข้าพเจ้าจมนํ้าเพื่อประสงค์อะไร จระเข้กล่าวว่าข้าพเจ้าลวงท่านมาเพื่อต้องการเนื้อหัวใจของท่าน วานรจึงออกอุบายกล่าวว่าหัวใจของข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ในตัว ข้าพเจ้าถอดออกแขวน ไว้ที่ต้นมะเดื่อนั้น แล้วก็ชี้ให้จระเข้ดูผลมะเดื่อ ถ้าต้องการก็จงพาข้าพเจ้ากลับไปส่งที่ต้น มะเดื่อนั้น จระเข้หลงเชื่อก็พาวานรมาส่ง วานรก็กระโดดขึ้นต้นมะเดื่อไป นี้ก็เป็นคํามุสา ที่ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด
อนึ่ง ในการแสดงกิริยาอาการไล่สัตว์มีนก กา เป็นต้น โดยอาการเหมือนกับจะขว้าง หรือยิง ทําให้สัตว์นั้นคิดว่าจะยิงหรือจะขว้างปาตนแล้วก็หนีไป เหล่านี้ก็กล่าวได้ว่าเป็น มุสาทางกาย แต่ไม่ทําให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกัน
มุสาวาทที่เป็นอัปปสาวัชชะและมหาสาวัชชะ
มุสาวาทที่ทําให้เกิดความเสียหายนั้น ถ้าผู้เชื่อมีความเสียหายน้อยมุสาวาทนั้นก็ เป็นอัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อ ถ้าผู้เชื่อมีความเสียหายมาก มุสาวาทนั้นก็เป็นมหาสา วัชชะ คือมีโทษมาก
ผู้ที่เป็นพยานเท็จทําให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน หรือต้องได้รับโทษ ชนิดนี้จัดเป็นมหาสาวัชชะ ภิกษุสามเณรพูดเล่นกัน เช่น องค์หนึ่งไปบิณฑบาตมา อีกองค์หนึ่งถามขึ้นว่าบิณฑบาตได้มามากน้อยเท่าใด องค์แรกก็ตอบว่าได้มากมายจนล้นบาตร ซึ่งความจริงได้มาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ดี หรือผู้ใดผู้หนึ่งได้รับแจกเงินมา มีคนถามว่าได้เงินมาเท่าใด ก็ตอบว่าได้มาหลายร้อย หลายพัน เป็นต้น ซึ่งความจริงได้ มาเพียง ๕ บาท ๑๐ บาทเท่านั้นก็ดี เหล่านี้จัดเป็นมุสาวาทประเภทอัปปสาวัชชะ ผู้ที่กล่าววาจาที่เป็นอนริยโวหาร คือคํากล่าวของผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะ หรือคํากล่าวของผู้ที่เป็น อันธพาล ๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้ จัดเป็นมุสาวาทประเภทมหาสาวัชชะ
อนริยโวหาร ๔ อย่าง
๑. บอกว่า เห็น ในสิ่งที่ตนไม่เห็น
๒. บอกว่า ได้ยิน ในสิ่งที่ตนไม่ได้ยิน
๓. บอกว่า พบ ในสิ่งที่ตนไม่พบ
๔. บอกว่า รู้ ในสิ่งที่ตนไม่รู้
๕. บอกว่า ไม่เห็น ในสิ่งที่ตนเห็น
๖. บอกว่า ไม่ได้ยิน ในสิ่งที่ตนได้ยิน
๗. บอกว่า ไม่พบ ในสิ่งที่ตนพบ
๘. บอกว่า ไม่รู้ ในสิ่งที่ตนรู้
(คําว่า “พบ” ในที่นี้หมายถึงการได้กลิ่น ได้รู้รส ได้ถูกต้อง) สําหรับการมุสาที่ทําให้สงฆ์ต้องแตกแยกกันนั้น จัดเป็นมหาสาวัชชะที่เป็นครุกกรรม
มุสาวาทที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่กล่าว
คํากล่าวมุสาวาทที่ทําให้ผู้อื่นหลงเข้าใจผิด แล้วกระทําให้เกิดความเสียหายได้นั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่กล่าว แต่มุสาวาทชนิดที่ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายยังกล่าวได้ดังที่ในนวกนิบาต หริตชาดก แสดงว่า
“โพธิสตฺตสฺส หิ เอกจฺเจส ฐาเนสุ ปาณาติปาโตปิ,อทินนาทานมฺปิ, กาเมสุมิจฉาจาโรปิ, สุราเมรยมชฺชปานมฺปิ โหติเยว อตฺถเภทกวีสวาทนํ ปุรกฺขิตวา มุสาวาโท นาม น โหติ"
"ในอกุศลกรรมบถบางอย่างคือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดกาเม ดื่มสุราเมรัย เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระโพธิสัตว์ ส่วนการกล่าวมุสาชนิดที่มีเจตนาทําให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั่นย่อมไม่มีเลย"
๒. ปิสุณวาจา
ปิสุณวาจา เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บทคือ ปิสุณ + วาจา ปิสุณ แปลว่าการบดให้ ละเอียด หรือการกระทําให้แตกกระจัดกระจาย วาจา แปลว่า คําพูด เมื่อรวมกันแล้ว เป็นปิสุณวาจา แปลว่าคําพูดที่บดความสามัคคีให้แตกแยกกระจัดกระจาย แสดงวจนัตถะ ว่า "ปีสติ สามคฺคี สญฺจุณฺเนตีติ ปิสุณา" วาจาอันใดย่อมบดความสามัคคี คือทำให้กระจัดกระจายไป ฉะนั้น วาจานั้นชื่อว่าปิสุณา “วทนฺติ เอตายาติ วาจา” บุคคลทั้ง หลายย่อมกล่าวด้วยเจตนานั้น ฉะนั้น เจตนาอันเป็นเหตุแห่งการกล่าวนั้นชื่อว่าวาจา “ปิสุณา จ สา วาจา จาติ ปิสุณวาจา" คำกล่าวที่บดความสามัคคี คือท่าให้แตกแยก กระจัดกระจายด้วย เป็นเจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวนั้นด้วย ฉะนั้น ชื่อว่าปิสุณวาจา
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. กับ นาย ข. เป็นเพื่อนกัน มีความสามัคคีต่อกันต่อมามี บุคคลที่ ๓ เข้ามาพูดส่อเสียดกับนาย ก. โดยกล่าวหาว่านาย ข. พูดนินทา ติเตียนนาย ก. ต่างๆ ทําให้นาย ก. เข้าใจผิดเกิดแตกกันกับนาย ข. ดังนี้ ฉะนั้น คําพูดชนิดนี้ จึงเรียกว่าปิสุณวาจา อีกนัยหนึ่ง คําว่า ปิสุณา นี้ เมื่อว่าโดยบทเดิมแล้วก็ได้แก่ ปิยสุญญกรุณา แต่ที่เป็นปิสุณานั้นก็เป็นไปโดย นัยนิรุตติไวยากรณ์ คือลบอักษรอื่นๆ ออกเสียง คงเหลือ แต่ปิสุณาดังแสดงวจนัตถะว่า “ปียํ สุญญํ กโรตีติ ปิสุณา” คํากล่าวอันใดย่อมทําตัวเอง ให้เป็นที่รักและกระทําผู้อื่นให้สูญจากความรัก ฉะนั้นคํากล่าวอันนั้นชื่อว่าปิสุณา
ยกตัวอย่างเช่น นายดำกับนายขาวมีความรักใคร่ปรองดองกัน นายแดงไม่พอใจ ต้องการให้นายด่ามารักตนและให้เกลียดนายขาว จึงหาเรื่องราวมาพูดยุยงนายด่า โดยกล่าวหาว่านายขาวไม่ดีต่างๆ นานา จนนายดำหลงเชื่อคิดว่านายแดงคงมีความหวังดีต่อตนจึงเกลียดนายขาวแล้วกลับมารักนายแดง ดังนี้คําพูดของนายแดงชนิดนี้ จึงเรียกว่าปิสุณวาจา
องค์แห่งปิสุณวาจา ๔
๑. ภินฺทิตพฺโพ ผู้ที่ถูกทําให้แตกจากกัน
๒. เภทปฺรกฺขาโร มีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน
๓. ปโยโค ทําความเพียรให้แตกจากกัน
๔. ตทตฺถซานน่ ผู้ฟังรู้เนื้อความนั้น
ดังมีคาถาแสดงว่า
“ปิสุณาย ภินทิตพฺโพ ตปุปุรปิยกมุยตา
วายาโม ชานนํ จตุ ภินฺเน กมฺมปโถ ภเว ฯ
“องค์แห่งปิสุณวาจามี ๔ คือผู้ที่ถูกทําให้แตกจากกันอย่างหนึ่ง มีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน และมีความประสงค์ให้รักตนอย่างหนึ่ง ทําความเพียรให้แตกจากกันอย่างหนึ่ง ผู้ฟังรู้เนื้อความนั้นอย่างหนึ่ง เมื่อผู้ถูกส่อเสียดนั้นเกิดแตกแยกกันแล้วก็เป็นอันว่า ก้าวล่วงกรรมบถ"
ในคาถาแสดงถึงองค์ที่ ๒ ที่กล่าวว่าตปฺปุรปิยกมฺยตา คือมีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน และมีความประสงค์ให้รักตนนั้น การมีเจตนามุ่งให้แตกจากกันเป็นข้อสําคัญ ส่วนการมีความประสงค์ให้รักตนนั้นไม่ใช่ข้อสําคัญ เพียงแต่แสดงให้รู้ว่าการกล่าวปิสุณวาจาของบุคคลบางคนก็มีความประสงค์อย่างนี้ด้วยก็มี สําหรับปโยคะนั้นได้ ๒ อย่าง คือ กายปโยคะและวจีปโยคะ
กายปโยคะ การส่อเสียดโดยทางกาย มีการแสดงกิริยาท่าทางให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ความหมายของตน ตัวอย่างเช่น สามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีออกไปทํางาน ภรรยาแอบไปเล่นไพ่ที่บ้านใกล้เคียง เมื่อสามีกลับมาไม่เห็นภรรยาก็ถามญาติของตนที่อยู่ในบ้านด้วยกัน ญาตินั้นไม่ชอบภรรยานี้อยู่แล้ว ต้องการจะให้สามีเกิดแตกร้าวกับภรรยา แต่ไม่บอกด้วยวาจาใช้กิริยาท่าทางชี้ให้รู้ว่าภรรยาไปเล่นไพ่ที่ข้างบ้าน สามีรู้ก็ไม่พอใจภรรยา เมื่อภรรยา กลับมาก็เกิดทะเลาะวิวาทแตกร้าวกัน การแสดงกิริยาท่าทางส่อเสียดเช่นนี้ได้ชื่อว่าส่อเสียดทางกาย
วจีปโยคะ การส่อเสียดโดยทางวาจา คือการพูดให้บุคคล ๒ ฝ่ายเกิดแตกร้าวกัน ดังเช่นมีเรื่องเล่ากันมาว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งมีสามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีเป็นชาวภาคอีสาน ภรรยาเป็นชาวปักษ์ใต้ ทั้ง ๒ มีความรักใคร่กันมาก เป็นเหตุให้พวกหญิงที่อยู่บ้านใกล้เคียงกันนั้นเกิดมีความอิจฉา จึงร่วมคิดกันที่จะทําให้สามีภรรยาทั้ง ๒ นี้แตกแยกกัน โดยแอบบอกกับชายผู้เป็นสามีว่าภรรยาของเขานั้นเป็นผีกระสือ ในเวลากลางคืนเมื่อขณะที่เขานอนหลับนั้น ภรรยาของเขาได้ลุกขึ้นออกไปหาอาหารกิน แต่ก่อนที่จะไปก็ได้ข้ามตัวเขาเสียก่อน เพื่อไม่ให้เขารู้สึกตัวตื่น นางได้ทําเช่นนี้ทุกๆ คืนซึ่งเขาหารู้ตัวไม่ เมื่อหญิงพวกนี้ได้พบกับภรรยาของชายนั้นก็แอบบอกว่า สามีของนางไม่ใช่คนธรรมดา พวกชาวอีสานได้มาบอกให้ฟังว่า สามีของนางนี้เป็นกระทั่งและให้พิสูจน์ดูได้โดยให้แอบคลําดูที่ก้น จะมีหางสั้นๆ งอกอยู่ เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างได้รับคําบอกเล่าเช่นนี้แล้ว ต่างก็คอยจ้องหา โอกาสที่จะพิสูจน์ความจริงกันให้ได้ คืนวันหนึ่งเมื่อสามีภรรยาคู่นี้เข้านอนแล้ว ต่างฝ่ายก็แกล้งทําเป็นหลับ ภรรยาคิดว่าสามีหลับแล้วก็ลุกขึ้นเอื้อมมือจะไปคลําดูที่ก้นของสามี ฝ่ายสามีก็คิดว่าภรรยาเรานี้เป็นผีกระสือและกําลังจะมาข้ามตัวเราแล้ว ก็เลยยกเท้าถีบนางกระเด็นไป ภรรยาก็โกรธลุกขึ้นมาด่าสามีว่าเป็นกระหังสามีก็ว่านางเป็นผีกระสือเลย ต่างทะเลาะกันผลสุดท้ายสามีภรรยาคู่นี้ก็เลยแตกแยกกัน เพราะอาศัยการพูดส่อเสียด ของพวกหญิงที่อยู่ใกล้เคียงนั้นเอง โดยผู้กล่าวนั้นก็ไม่ได้มีความประสงค์จะให้เขามารักตน และเรื่องที่กล่าวนั้นก็ไม่เป็นความจริง ฉะนั้น หญิงผู้กล่าวนั้นก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ เพราะผู้ถูกส่อเสียดนั้นเกิดแตกแยกกัน
การกล่าวปิสุณวาจานี้แม้ว่าจะครบองค์ ๔ แต่ถ้าผู้ที่ถูกส่อเสียดไม่แตกแยกกัน ยังคงเป็นกายสามัคคี จิตตสามัคคีกันอยู่แล้ว ผู้กล่าวนั้นก็ไม่จัดว่าล่วงกรรมบถ ดังที่ท่าน พระมหาพุทธโฆษาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
“ปเร ปน อภินฺเน กมฺมปถเกโท นตฺถิ ภินฺเนเอว” “แม้จะครบองค์ ๔ ก็ตาม เมื่อผู้อื่นไม่แตกแยกกัน ก็ไม่มี การล่วงกรรมบถ ถ้ามีการแตกแยกกันจึงล่วงกรรมบถ"
การจําแนกปิสุณวาจาโดยอัปปสาวัชชะและมหาสาวัชชะ ถ้าผู้ที่ถูกส่อเสียดให้แตกแยกกันนั้นเป็นผู้ที่ไม่มีศีลธรรม ผู้กล่าวก็มีโทษชนิด อัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อย ถ้าผู้ถูกส่อเสียดเป็นผู้มีศีลธรรม ผู้กล่าวก็มีโทษชนิด มหาสาวัชชะ คือมีโทษมาก
๓. ผรุสวาจา
ผรุสวาจา เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ ผรุส + วาจา, ผรุส แปลว่าอย่างหยาบ วาจา แปลว่าคําพูด
เมื่อรวมกันแล้วเป็นผรุสวาจา แปลว่าคําพูดที่หยาบ ได้แก่การด่า การแช่ง แสดง วจนัตถะว่า “ผรุสํ กโรตีติ ผรุสา” คําพูดอันใดย่อมกระทําให้เป็นอย่างหยาบ ฉะนั้นคําพูดอันนั้นชื่อว่าผรุสา ได้แก่การด่าและการแข่งต่างๆ ว่าโดยองค์ธรรมได้แก่เจตนาที่อยู่ในโทสมูลจิต ที่เป็นเหตุแห่งการด่า การแข่งต่างๆ
คําว่า ผรุสา เมื่อกล่าวตามวจนัตถะที่แสดงนั้นแล้ว ก็ได้แก่ ผรุสํ กโรตีติ ผรุสกรณา แต่ได้ลบคําว่า กรณา ออกเสียงตามนัยแห่งนิรุตติไวยากรณ์ ฉะนั้น จึงเหลือเป็นผรุสา อีกนัยหนึ่งคําว่า ผรุสวาจา แบ่งออกเป็น ๓ บท คือ ผร + อุส + วาจา, พร แปลว่าแผ่ อุส แปลว่าเดือดร้อน วาจา แปลว่าคําพูด
เมื่อรวมแล้วเป็นผรุสวาจา แปลว่าคําพูดที่ทําให้ความเดือดร้อนแผ่ไป ดังแสดงวจนัตถะว่า “หทยํ ผรมานา อุสติ ทหตีติ ผรุสา” คําพูดอันใดย่อมกระทําความเดือดร้อนให้แผ่ไปในหัวใจ ฉะนั้น คําพูดอันนั้นชื่อว่าผรุสา “พรุสา จ สา วาจา จาติ ผรุสวาจา” เป็นอย่างหยาบด้วย อย่างหยาบนั้นคือวาจาด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่าผรุสวาจา (หรือแปลอีกนัยหนึ่งตามวจนัตถะที่ ๒) ย่อมกระทําความเดือดร้อนให้แผ่ไปในหัวใจด้วย อันนั้นคือวาจาด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่าผรุสวาจา
วาจาที่เป็นอย่างหยาบที่เรียกว่าผรุสวาจานี้ ผู้ที่ได้ฟังแล้วย่อมทนนิ่งอยู่ไม่ได้ หมายถึงทําให้จิตใจของผู้ฟังนั้นไม่สบายเหมือนหนึ่งถูกฟันเลื่อย ฉะนั้น คําด่าหรือ คําแช่งต่างๆ นั้นจึงได้ชื่อว่าผรุสา นี้กล่าวโดยมุขนัย คือกล่าวโดยตรง ถ้ากล่าวโดย ผลูปจารนัย คือนัยโดยอ้อมแล้ว โทสเจตนาก็ชื่อว่าผรุสาได้ เพราะโทสเจตนานี้เป็นเหตุ การด่า การแช่งนั้นเป็นผล และยกเอาคําว่าผรุสาที่เป็นชื่อของคําหยาบเหล่านั้นเข้าไป ตั้งในโทสเจตนา แล้วจึงเรียกโทสเจตนานี้ว่าผรุส
องค์แห่งผรุสวาจา ๓
๑. โกโป มีความโกรธ
๒. อุปกุฎโฐ มีผู้ถูกด่า
๓. อกโกสนา กล่าววาจาด่า
ดังมีคาถาแสดงว่า
ผรุสาย ตโย โกโป อุปกุฏโฐ อกฺโกสนา
มมุมจฺเฉทกรา คคฆ ผรุสา ผรุสา มตา ฯ
“องค์แห่งผรุสวาจามี ๓ คือมีความโกรธอย่างหนึ่ง มีผู้ถูกด่าอย่างหนึ่ง กล่าววาจา ด่าออกไปอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเจตนาอย่างหยาบที่สามารถทําให้ผู้ฟังเจ็บใจเหมือน หนึ่งฝีที่กําลังกลัดหนอง ถูกกระทบกระทั่งให้แตกเท่านั้นชื่อว่าผรุสวาจา”
คําว่า “มมุมจฺเฉทกรา” นี้ เป็นคําที่แสดงความหมายให้รู้ว่าเจตนาชนิดนี้ต้องเป็น เจตนาชนิดหยาบ ดังนี้แม้ว่าคําที่พูดออกมานั้นจะเป็นถ้อยคําที่สุขุมก็ตาม แต่ถ้ามีเจตนา หยาบแล้ว คําพูดนั้นก็จัดว่าเป็นผรุสวาจาเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ผู้พิพากษาที่กล่าวคําตัดสินประหารชีวิตผู้ต้องหา แม้ว่าในขณะที่กล่าวนั้นจะใช้วาจาสุภาพ มีหน้ายิ้มแย้มก็ตาม แต่เจตนาที่มุ่งหมายให้ประหารชีวิตนั้นจัดเป็นเจตนาอย่างหยาบ ฉะนั้นวาจาที่กล่าวออกมานั้นจึงสําเร็จกรรมบถเป็นผรุสวาจา
ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า บิดา มารดาที่ด่าแช่งลูก หรือครูอาจารย์ที่ด่าลูกศิษย์เพื่อความหวังดีไม่มีเจตนาร้ายแต่อย่างใด ฉะนั้น วาจาที่กล่าวนั้นก็ไม่จัดเป็น ผรุสวาจา ท่านยกตัวอย่างเช่น มารดาห้ามบุตรชายไม่ให้ไปเที่ยวในป่า แต่บุตรไม่เชื่อ ขืนไปจนได้ มารดาจึงด่าแช่งว่า “เจ้าไม่เชื่อขึ้นไปก็ขอให้ถูกควายป่าขวิดตายเถิด” คําแช่ง ของมารดานี้เป็นไปแต่เพียงวาจาด้วยอํานาจความไม่พอใจเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่จัดเป็น ผรุสวาจา
ท่านฎีกาจารย์กล่าวแย้งว่า ค่าค่า แบ่งของบิดา มารดา ครู อาจารย์นั้น ถ้ากล่าว ออกมาด้วยความโกรธจริงๆ แล้ว ก็ย่อมจัดเป็นผรุสวาจาได้ เพราะครบองค์ทั้ง ๓ แต่มีโทษน้อย
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า การกล่าวผรุสวาจานี้ ต้องกล่าวเฉพาะหน้าผู้ที่ถูกด่าจึง สําเร็จเป็นกรรมบถ แต่ในทีฆนิกายฎีกา และมัชฌิมนิกายฎีกากล่าวว่า การกล่าวผรุสวาจา แม้ผู้ที่ถูกด่านั้นไม่ได้อยู่เฉพาะหน้าหรือตายไปแล้วก็ตาม การกล่าวนั้นก็สําเร็จเป็นกรรมบถได้ โดยอ้างว่าผู้น้อยที่กล่าววาจาล่วงเกินต่อผู้ใหญ่มีบิดา มารดา ครู อาจารย์ เป็นต้น ต่อมาผู้นั้นรู้สึกในความผิดของตัว จึงทําการขอขมาต่อท่านเหล่านั้น แม้ท่านเหล่านั้นจะ ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้าหรือตายไปแล้วก็ตาม การขอขมาของผู้นั้นก็ย่อมสําเร็จประโยชน์ คือโทษนั้นหายเป็นอโหสิกรรมไปได้ เมื่อการกล่าวขอขมาโดยที่ไม่มีผู้ถูกด่าอยู่เฉยเฉพาะ หน้าย่อมสําเร็จประโยชน์ได้แล้ว การกล่าวผรุสวาจาโดยไม่มีผู้ถูกด่าอยู่เฉพาะหน้าก็ย่อม สําเร็จกรรมบถได้เช่นเดียวกัน
อักโกสวัตถุ ๑๐
ในองค์ที่ ๓ ทีว่าอักโกสนา คือการกล่าววาจาด่านั้น นักศึกษาพึงทราบวัตถุอันเป็น ที่ตั้งแห่งการด่าที่เรียกอักโกสวัตถุ มีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
ชาติ นาม โคตฺต กมุมํ สิปฺปํ อาพาธ ลิงฺคิกํ
กิเลสาปตฺติ อกฺโกโส ทสโมมสวาทกา ฯ
วาจาที่ใช้ด่านั้นมีอยู่ ๑๐ อย่างคือ
เชื้อชาติ ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, ชื่อ ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง
สกุล ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, การงาน ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง
วิชา ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, โรค ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง
รูปร่างสัณฐาน ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, กิเลส อย่างหนึ่ง
อาบัติ ต่ำ อย่างหนึ่ง, อาบัติ สูง อย่างหนึ่ง
คำด่า ต่ำ อย่างหนึ่ง, คำด่า สูง อย่างหนึ่ง
๑. ชาติ คำด่าที่เกี่ยวกับเชื้อชาติต่ำนั้น เช่น คําว่า ชาติไพร่ ชาติขี้ข้า ชาติยาจก ชาตินักเลง เป็นต้น คําที่เกี่ยวกับชาติสูงนั้น เช่น กล่าวแดกดันว่า ผู้ดีแปดสาแหรก มหาเศรษฐี เป็นต้น
๒. นาม คําด่าที่เกี่ยวกับชื่อ เช่น ด่าว่า ไอ้ทิ่ม ไอ้ทุย ไอ้เหี้ย เป็นต้น คําด่า ที่เกี่ยวกับชื่อสูง เช่น แกล้งเรียกว่า คุณหญิง เจ้าคุณ ท่านหมื่น เป็นต้น
๓. โคตฺต คําด่าที่เกี่ยวกับสกุลต่ำ เช่น ด่าว่า แกมันสกุลหัวขโมย สกุลล่อลวง สกุลมักง่าย เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับสกุลสูง เช่น ด่าประชดว่า สกุลเจ้านาย สกุลเศรษฐี เป็นต้น
๔. กมุมํ คําด่าที่เกี่ยวกับการงานอาชีพต่ำ เช่น คนตีเหล็ก คนทุบหิน คนขนขยะ เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับการงานอาชีพสูง เช่น ช่างทอง ช่างเงิน พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน เป็นต้น
๕. สิปปํ คําด่าเกี่ยวกับวิชาต่ำ เช่น มีวิชาขับรถ วิชาตัดผม วิชาปั้นโอ่ง เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับวิชาสูง เช่น หมอดู หมอยา เป็นครู อาจารย์ เป็นต้น
๖. อาพาโธ คําด่าที่เกี่ยวกับโรคต่ำ เช่น โรคเรื้อน กุฏฐัง ขี้กลาก เกลื้อน เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับโรคสูง เช่น โรคเส้นประสาท โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น
๗. ลิงค์ คําด่าที่เกี่ยวกับรูปร่างสัณฐานต่ำ เช่น อ้วน ผอม เตี้ย สูง แคระ ค่อม เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับรูปร่างสัณฐานสูง เช่น สวย เก๋ สง่า องอาจ กล้าหาญ เป็นต้น
๘. กิเลสา คําด่าที่เกี่ยวกับกิเลสนี้มีแต่ฝ่ายต่ำอย่างเดียว เช่น ด่าว่า เจ้าโทโส คนขี้อิจฉาริษยา คนมีตัณหาจัด มีทิฐิมานะมาก เป็นต้น
๙. อาปตฺติ คําด่าที่เกี่ยวกับอาบัติต่ำ เช่น ค่าว่า เป็นปาราชิก สังฆาทิเสส ค่าค่า ที่เกี่ยวกับอาบัติสูง เช่น อาบัติปาจิตตีย์ ทุกกฏ เป็นต้น
๑๐. อกฺโกโส คําด่าต่ำ เช่น ใช้คําหยาบคายต่างๆ มีด่าพ่อ ด่าแม่ เป็นต้น คําด่า สูง เช่น ด่าว่า สันดานชั่ว เลวทราม สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น
ปโยคะแห่งผรุสวาจา ๒
๑. กายปโยคะ การกล่าวค่าหยาบทางกาย
๒. วจีปโยคะ การกล่าวคําหยาบทางวาจา
การกล่าวคําหยาบทางวาจานั้นย่อมชัดเจนอยู่แล้ว ส่วนการกล่าวคําหยาบทางกายนั้น เช่น เขียนหนังสือด่า หรือแสดงกิริยาอาการหยาบคายต่างๆ ที่ทําให้ผู้เห็นรู้สึกโกรธ อาย ไม่สบายใจ
การจําแนกผรุสวาจาโดยอัปปสาวัชชะ และมหาสาวัชชะ
การด่าผู้มีอุปการคุณ เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติ หรือผู้ที่มีศีลธรรม ผู้ด่าย่อมมีโทษมาก ถ้าผู้ที่ถูกด่าเป็นผู้ไม่มีศีลธรรมผู้ด่าก็มีโทษน้อย
๔. สัมผัปปลาปะ
คําว่า สัมผัปปลาปะนี้แยกได้ - บท คือ สมุผ + ปลาย สมุผ แปลว่าการทําลาย ประโยชน์และความสุข ปลาป แปลว่าการกล่าว เมื่อรวมกันแล้วเป็น สมุผปลาป แปลว่าการกล่าววาจาที่ทําลายประโยชน์และความสุข แสดงวจนัตถะว่า “สํหิตสุขํ ผลติ วินาเสตีติ สมุผํ” วาจาอันใดย่อมทําลายประโยชน์และความสุขต่างๆ เสีย ฉะนั้น วาจานั้น ชื่อว่า สัมผะ
สมุผํ มาจากรากศัพท์เดิมคือ “สํ อุปสัคค ผล ธาตุ กฺวี ปัจจัย ลบ ล และ กฺวี เสียจึงเป็น สมุผํ "
"สมุผํ ปลปติ เอเตนาติ = สมุผปุปลาโป” การกล่าววาจาที่ทําลายประโยชน์และความสุขต่างๆ เสียด้วยเจตนานั้น ฉะนั้นเจตนาที่เป็นเหตุในการกล่าววาจาที่ทําลาย ประโยชน์และความสุขต่างๆ นั้นจึงชื่อว่าสัมผัปปลาปะ
การกล่าววาจาที่เป็นสัมผัปปลาปะนั้น หมายถึงการกล่าวเรื่องราวที่เหลวไหลไม่เป็นสาระ ดังเช่นเล่าเรื่องหนัง เรื่องโขน ละคร หรือพูดจาตลกขบขันต่างๆ หรือผู้แสดง หนัง โขน ละคร นักประพันธ์ที่เขียนเรื่องอ่านเล่นต่างๆ เหล่านี้ จัดเป็นสัมผัปปลาปะทั้งสิ้น เพราะทําให้ผู้ฟัง ผู้อ่าน ไม่ได้รับ ประโยชน์แต่อย่างใด เพียงแต่ทําให้เพลิดเพลินไป ชั่วคราวเท่านั้น กับทั้งทําให้เสียประโยชน์ ที่ควรจะได้ก็ไม่ได้ ที่ได้แล้วก็เสียไป องค์ธรรม ของสัมผัปปลาปะนี้ ได้แก่ อกุศลเจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวสัมผัปปลาปะ สําหรับถ้อย คําที่กล่าวขึ้นนั้นเป็นผล แต่ที่ยกเอาคําว่าสัมผัปปลาปะที่เป็นชื่อของเจตนามาใช้เรียกเป็น ชื่อนั้นเป็นการเรียกชื่อโดยการณูปจารนัย คือเรียกชื่อที่ใกล้เคียงกับเหตุ
อธิบายมโนกรรม ๓
๑. อภิชฌา
คําว่า อภิชฺฌา นี้เป็น อภิ ปพฺพ เฌ ธาตุ อภิ แปลว่า เฉพาะหน้า เณ แปลว่า คิดถึง เมื่อรวมกันแล้วเป็นอภิชฌา แปลว่า คิดถึงเฉพาะหน้า หมายถึงคิดเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเฉพาะหน้า ดังแสดงวจนัตถะว่า “ปรสมฺปตฺตี อภิมุขํ ฌายตีติ อภิชฌา ธรรมชาติใดย่อมคิดถึงทรัพย์สมบัติของผู้อื่นอยู่เฉพาะหน้า ฉะนั้นธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อภิชฺฌา องค์ธรรมได้แก่ โลภะ
โลภะ ๒
๑. ธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยชอบธรรม
๒. อธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยไม่ชอบธรรม
สําหรับโลภะที่เป็นอภิชฌานั้นอยู่ในพวกอธรรมิยโลภะ
ตามธรรมดาบุคคลโดยทั่วไปนั้น เมื่อได้ประสบพบเห็นในอารมณ์ที่ดีต่างๆ มีรูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้นแล้ว ก็ย่อมมีความพอใจอยากได้ในอารมณ์เหล่านั้นด้วยกันทั้งสิ้น แต่ความพอใจอยากได้ของบุคคลเหล่านั้นได้แยกออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน บุคคลประเภทหนึ่ง เมื่อมีความพอใจอยากได้ในสิ่งนั้นๆ แล้ว ก็พยายามเสาะแสวงหาให้ได้มาด้วยความสุจริต คือด้วยการซื้อ ด้วยการแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่น หรือด้วยการขอ ความพอใจอยาก ได้ของบุคคลประเภทนี้จัดเป็นธรรมิยโลภะ ไม่ใช่เป็นอภิชฌาบุคคล อีกประเภทหนึ่งนั้น เมื่อมีความพอใจอยากได้ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งนั้นๆ มาเป็นของ ของตนโดยความไม่ชอบธรรม คือไม่อยากซื้อ ไม่อยากขอ หรือไม่อยากแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด คิดหาหนทางจะขโมยหรือโกง เพื่อให้ได้สิ่งนั้นๆ มาเป็นของของตน ความพอใจอยาก ได้ของบุคคลประเภทนี้จัดเป็นอธรรมิยโลภะ คือตัวอภิชฌา
เมื่อพิจารณาดูแล้วตัวอภิชฌาเมื่อเข้าครอบงําผู้ใดแล้ว ย่อมทําให้จิตใจของผู้นั้นเกิด ความละโมบในสมบัติของผู้อื่นที่เขาหามาได้ด้วยกรรม ญาณ วิริยะ ของเขา ส่วนตนเอง นั้นต้องการที่จะได้มาเปล่าๆ โดยไม่ได้นึกถึงว่าผู้นั้นจะได้รับความเสียหายเดือดร้อนแต่อย่างใด ผู้ที่มีความคิดเช่นนี้แม้ว่าจะยังไม่ได้ลงมือหยิบฉวย ฉ้อโกง หรือบังคับขู่เข็ญเจ้า ของทรัพย์สมบัตินั้นก็ตาม ก็จัดว่าการนึกคิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด น่าละอายมาก แต่ ผู้ถูกอภิชฌาเข้า ครอบงําแล้วนี้ก็สามารถที่จะคิดเช่นนี้ได้โดยไม่รู้สึกหวาดกลัวหรือละอาย แต่อย่างใด ดังนั้นท่านปรมัตถทีปนีฎีกาจารย์จึงแสดงวจนัตถะของอภิชฌานี้ไว้ว่า
“อภิชฺฌายนฺติ อสฺสาทมตฺเต อฐตฺวา ปรภณฺฑสฺส อตฺตโน ปริณามนวเสน เอายาติ อภิชฌา"
“บุคคลทั้งหลายไม่หยุดอยู่เพียงแต่ความพอใจ ย่อมเพ่งเล็ง ด้วยอาการที่จะทําให้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นตกมาเป็นของตน ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมที่เป็นเหตุแห่งการคิดเช่นนั้น ชื่อว่า อภิชฌา
องค์แห่งอภิชฌา ๒
๑. ปรภณฺฑํ ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
๒. อตฺตโนปริณามน มีจิตคิดให้เป็นของของตน
ในองค์ที่หนึ่งกล่าวว่า ปรภณฺฑํ ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นนั้น ในที่นี้มุ่งหมายเอา อวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมด และสวิญญาณกทรัพย์ที่เป็นพวกสัตว์เลี้ยงต่างๆ และมนุษย์ที่เป็นทาสีทาสา หญิงที่มีสามีคู่หมั้นเท่านั้น สิ่งที่นอกจากนี้ไม่จัดว่าเป็นปรภัณฑะ ฉะนั้น หญิง ๘ จําพวกมีมาตุรักขิตาเป็นต้น จนถึง ธัมมรักขิตาเหล่านี้ ถ้าชายคนใดเกิดความพอ ใจคิดอยากได้มาเป็นภรรยาของตนแล้ว ความนึกคิดเช่นนี้ไม่จัดว่าเป็นอภิชฌาทุจริต อนึ่ง โสเรยยมานพที่คิดเป็นอกุศลต่อพระมหากัจจายนะ โดยที่คิดว่าถ้าพระองค์นี้ได้มาเป็นภรรยาของเรา หรือภรรยาของเรามีรูปร่างเหมือนกับพระองค์นี้แล้วก็จะดีมาก เมื่อโสเรยยมานพ คิดเป็นอกุศลเช่นนี้แล้ว เพศชายของโสเรยยมานพก็หายไป กลายเป็นเพศหญิงมาแทน การคิดเป็นอกุศลของโสเรยยมานพนี้จัดเป็นอภิชฌาได้ แต่ไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ เพราะบุคคลที่โสเรยยมานพเพ่งเล็งนี้ไม่จัดอยู่ในพวกปรภัณฑะ แต่ที่ตนได้รับโทษโดยร่างกายเปลี่ยนเพศไปนั้น ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งการคิดล่วงเกินไม่คารวะต่อบุคคลที่เป็นพระ ขีณาสพนั้นเอง
๒. พยาบาท
คําว่า พฺยาปาท นี้เป็น วิ อา ปุพฺพ ปท ธาตุ แสดงวจนัตถะว่า “พฺยาปชฺชติ หิตสุขํ เอเตนาติ พฺยาปาโท” ประโยชน์และความสุขย่อมเสียหายไปด้วยโทสะนี้ ฉะนั้น โทสะ จึงชื่อว่า พยาบาท
อธิบายว่า ความโกรธ ความไม่พอใจ ที่เป็นไปตามธรรมดานั้นยังไม่จัดเข้าเป็นมโน ทุจริต เป็นเพียงพยาปาทกายคันถะเท่านั้น ส่วนโทสะที่เป็นพยาปาทมโนทุจริตนั้นเป็นโทสะ ชนิดหยาบมาก มีอาการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทําลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่นให้เสียหายไป เช่น เมื่อมีความโกรธผู้ใดแล้ว ก็คิดในใจว่าจะทําอย่างใดดีที่ จะทําให้ผู้นั้นเกิดความพินาศเสียหาย หรือนึกแช่งให้ผู้นั้นได้รับความเสียหายต่างๆ โทสะ ชนิดนี้จัดเป็นพยาปาทมโนทุจริต
องค์แห่งพยาบาท ๒
๑. ปรสตฺโต ผู้อื่น
๒. วินาสจินฺตา คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้น
ถ้าครบองค์ ๒ แล้ว โทสะที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ เป็นมโนทุจริต ถ้าเป็นการคิดทำลายตัวเอง ก็ไม่เป็นการล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ คือขาดองค์ที ๑ ที่ว่า ปรสตฺโต ดังมีคาถาที่แสดงถึงองค์แห่งอภิชฌาและพยาบาทว่า
ทุเวภิชฌาย ปรภณฑ์ อตฺตโน ปริณามนํ
พยาปาทสฺส ปรส โต ตสฺส วินาสจินฺตนํ ฯ
“องค์แห่งอภิชฌามี ๒ คือสมบัติของผู้อื่นอย่างหนึ่ง มีจิต คิดอยากได้ให้เป็นของตนโดยไม่ชอบธรรมอย่างหนึ่ง”
องค์แห่งพยาบาทมี ๒ คือผู้อื่นอย่างหนึ่ง คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างหนึ่ง ความต่างกันระหว่างวธกเจตนาที่เกี่ยวกับปาณาติบาตและเกี่ยวกับพยาบาท วธกเจตนา ที่เป็นปาณาติบาตนั้นเป็นเจตนาที่เกี่ยวกับทางกาย จัดเข้าในวิติกกมกิเลส ส่วนวธกเจตนา ที่เป็นพยาบาทนั้นเป็นเจตนาที่เกี่ยวกับทางใจ จัดเข้าในปริฏฐานกิเลส
โทษของพยาบาทที่เป็นมหาสาวัชชะและอัปปสาวัชชะ
ถ้ามีความพยาบาทปองร้ายต่อผู้ที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ ก็มีโทษมาก เป็นมหาสาวัชชะ ถ้าพยาบาทต่อผู้ที่ไม่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ หรือมีบ้างเป็นส่วนน้อย ก็มีโทษน้อย เป็นอัปปสาวัชชะ
๓. มิจฉาทิฏฐิ
คําว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มิจฺฉา + ทิฏฺฐิ มิจฺฉา แปลว่า วิปริต ทิฏฺฐิ แปลว่าความเห็น เมื่อรวมกันแล้วเป็นมิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นที่วิปริต หมายถึงความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริง แสดงวจนัตถะว่า “มิจฺฉา ปสฺสตีติ มิจฺฉาทิฏฺฐิ” ธรรมชาติใดย่อมมีความเห็น วิปริตอันผิดไปจากความเป็นจริง ฉะนั้นธรรมชาติ นั้นชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ทิฏฐิเจตสิก
ตามธรรมดาทิฏฐิเจตสิกนี้ ย่อมมีสภาพที่มีความเห็นผิดไปจากความเป็นจริงตาม สภาวะ และผู้ที่มีทิฏฐินี้ก็ย่อมไม่มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในคําสั่งสอนของสัปบุรุษและบัณฑิตทั้งหลาย คือมีความประพฤติเป็นไปตรงกันข้ามกับคําสั่งสอนเหล่านั้น เมื่อกล่าว ถึงมิจฉาทิฏฐิโดยกว้างขวางแล้ว ย่อมมีอยู่หลายประเภท เช่น สักกายทิฏฐิ ๒ ที่มีความยึดมั่นในขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตัวเป็นตนก็มี มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ที่แสดงไว้ใน พรหมชาลสูตรแห่งศีลขันธวรรคก็มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรแห่ง ศีลขันธวรรคก็มี แต่สําหรับมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวในมโนทุจริตนี้มุ่งหมายเอานิยามิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ ที่สําเร็จเป็นกรรมบถ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอื่นๆ นั้น เป็นแต่เพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น
องค์แห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒
๑. อตฺถวิปรีตตา เนื้อความที่ได้ยึดไว้นั้นผิดจากความเป็นจริง
๒. ตถาภาวุปฏฺฐานํ มีความเห็นว่าเป็นความจริง
ถ้าครบองค์ ๒ แล้ว ความเห็นผิดนั้นก็เป็นอันล่วงกรรมบถเป็นมโนทุจริต ดังมีคาถา แสดงว่า
ทิฏฺฐิยา ทุเว สมฺภารา วตฺถุโต วิปริตตา
ตถาภาเวนุปฏฺฐานํ กมฺมปโถ ติเหว จ ฯ
แปลความว่า องค์แห่งมิจฉาทิฏฐิมี ๒ คือเนื้อความที่ได้ ยึดไว้นั้นผิดจากความเป็นจริงอย่างหนึ่ง มีความเห็นว่าเป็นความ จริงอย่างหนึ่ง ความเห็นผิดที่ล่วงกรรมบถได้นั้นเป็นความเห็น ผิดชนิดนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ เท่านั้น
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓
๑. นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า ทําอะไรก็ตามผลที่ได้รับนั้นย่อมไม่มี
๒. อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กําลังเป็นไปอยู่นั้นไม่ได้ อาศัยเนื่องมาจากเหตุแต่อย่างใด
๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การกระทําต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่สําเร็จเป็นบุญ เป็นบาปแต่อย่างใด
๑. นัตถิกทิฏฐิ ในนิยามิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นี้ ผู้ที่มีความเห็นชนิดนัตถิกทิฏฐินั้นย่อม มีอุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไม่มีการเกิดอีก มีพระบาลีสามัญญผล สูตรแห่งศีลขันธวรรค แสดงถึงความเห็นผิดชนิดนัตถิกทิฏฐิว่า
นตฺถิ ทินูนํ เห็นว่าการทําบุญไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ ยิฏฐํ เห็นว่าการบูชาต่างๆ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ หุตํ เห็นว่าการเชื้อเชิญต้อนรับต่างๆ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ สุกตทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก เห็นว่าการทําดีและทําชั่วไม่ได้รับผลแต่อย่างใดทั้งทางตรงและทางอ้อม
นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่าภพนี้ไม่มี คือผู้ที่กําลังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ที่ เรียกกันว่าภพนี้นั้นย่อมไม่มี เพราะไม่มีการเกิดต่อไปอีก
นตฺถิ ปโร โลโก เห็นว่าภพหน้าไม่มี คือภพอันจะเป็นที่เกิดแห่งภพที่ ปรากฏในปัจจุบันนี้ย่อมไม่มี เพราะเมื่อตายแล้วก็ไม่มีการเกิดอีก
นตฺถิ มาตา เห็นว่าการทํา ทําชั่วต่อมารดา ย่อมไม่ได้รับผลแต่ อย่างใด
นตฺถิ ปิตา เห็นว่าการทําดีทําชั่วต่อบิดา ย่อมไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่าสัตว์ที่เกิดเติบโตขึ้นทีเดียว คือสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม ไม่มี
นตฺถิ โลเก สมณพฺรหฺมณา สมมคฺคตา สมมาปฏิปนฺนา,
เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ
เห็นว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด มีการรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้าต้วยตนเอง แล้วสามารถชี้แจงแนะนําให้เข้าใจได้สมณพราหมณ์ ที่ถึงพร้อมด้วยความสามัคคี และปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านั้น ย่อมไม่มี (หมายความว่าผู้ที่ทําสมถะ วิปัสสนา ได้ฌาน มรรค ผล นั้นไม่มี และผู้ที่ถือเพศเป็นบรรพชิตปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบไม่มี ล้วนแต่เป็นการกล่าวที่เหลวไหลทั้งนั้นซึ่งความจริงเป็นการกระทําที่เป็นไปเพื่ออาชีพเท่านั้น)
ผู้ที่มีนัตถิกทิฏฐิ คือมีความเห็นที่ปฏิเสธผลนี้ก็เท่ากับปฏิเสธอํานาจแห่งกุศลอกุศลเจตนาที่เป็นเหตุแห่งผลต่างๆ เหล่านั้นด้วย ฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดง ไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถาว่า
“วิปากํ ปฏิพาหนฺเตนาปิ กมฺมํ ปฏิพาหิตํ โหติ"
“เมื่อมีการปฏิเสธผลแล้ว ก็ได้ชื่อว่าปฏิเสธกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดผลนั้นด้วย”
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เมื่อพิจารณาถึงความเห็นผิดดังที่ได้กล่าวมาแล้วก็คงจะเกิดความสังเวชสลดใจ และรู้สึกนึกน่ากลัว น่าสงสารต่อบุคคลที่มีความเห็นเช่นนั้น แต่ผู้ที่มีความเห็นชนิดนี้ก็มีเป็นจํานวนมาก ไม่เฉพาะแต่ในลัทธิอื่นๆ เท่านั้น แม้ในลัทธิพุทธศาสนาก็มีเป็นจํานวนไม่น้อย ฉะนั้น ผลที่ได้รับย่อมไม่เลือกบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลลัทธิไหนก็ตามถ้ามีความเห็นผิดชนิดนี้แล้ว เมื่อตายลงก็ต้องไปรับโทษในนิรยภูมิด้วย อาศัยความเห็นผิดชนิดนี้นั้นย่อมเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก ไม่สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าบุคคลจําพวกนี้เป็นพุทธศาสนิกชนเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ส่วนในด้านจิตใจนั้น ไม่มีความเลื่อมใสเชื่อถือต่อคําสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังเช่นไม่เชื่อว่ามีนรก สวรรค์ เป็นต้น ดังนั้น จึงกล่าวได้แน่ว่าบุคคลนั้นไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม เมื่อตายแล้วก็ต้องไปเกิดในนรยภูมิ เมื่อเป็นเช่นนี้หนทางที่จะแก้ให้หายจากความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็มีอยู่ว่าบุคคลนั้นจะต้องอบรมให้เกิดปัญญาในด้านพุทธศาสนาโดย การปฏิบัติวิปัสสนา จนกระทั่งได้สําเร็จเป็นพระอริยะ หรือศึกษาพระอภิธรรมให้เข้าใจ ในสภาวะที่เป็นไปตามความเป็นจริงต่างๆ ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ หรือตนเองต้องเป็น ผู้มีศรัทธาจริต เชื่อต่อคําสั่งสอนของบิดา มารดา ครู อาจารย์ที่มีความรู้ในด้านพุทธศาสนา จึงจะพ้นจากมิจฉาทิฏฐินี้เสียได้ ถ้ามิฉะนั้นแล้วแม้ว่าผู้นั้นจะมีความรู้ในวิชาทางโลกจน ถึงเป็นศาสตราจารย์ก็ตาม ก็ย่อมจะพ้นไปจากมิจฉาทิฏฐิไม่ได้ เพราะความรู้ในวิชาทาง โลกนั้นเป็นไปเพื่อการอาชีพ และการสังคมเท่านั้น
๒. อเหตุกทิฏฐิ ผู้ที่มีความเห็นชนิดอเหตุกทิฏฐินี้ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่ กําลังได้รับความลําบากหรือสบายก็ตาม ไม่ได้อาศัยอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้นเลย เป็นไปเองทั้งนั้น มีพระบาลีที่แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคว่า
“นตฺถิ มหาราช เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย สตฺตานํ สกิเลสาย, อเหตุ อปจจยา สตฺตา สกิลสฺสนฺติ นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา, อเหตุ อปจฺจยา สตฺตา วิสุชฺฌนฺติ
“ชนกเหตุ คือเหตุที่ให้เกิด และอุปัตถัมภกเหตุ คือเหตุที่ ช่วยอุปถัมภ์ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลําบากกาย ลําบากใจ นั้นไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กําลังเศร้าหมองและลําบาก อยู่นั้น ก็ไม่มีชนกเหตุและอุปัตถัมภกเหตุแต่อย่างใด ชนกเหตุ คือเหตุที่ให้เกิด และอุปัตถัมภกเหตุ คือเหตุที่ช่วยอุปถัมภ์ให้สัตว์ ทั้งหลายมีความบริสุทธิ์พ้นจากความลําบากกายลําบากใจนั้น ก็ไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กําลังมีความบริสุทธิ์พ้นจากความลําาบาก กายลําบากใจนั้น ก็ไม่เกี่ยวกับชนกเหตุและอุปัตถัมภกเหตุ แต่อย่างใด”
ความเห็นที่เป็นอเหตุกทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธเหตุ คือการกระทําดี ชั่ว ของสัตว์ทั้งหลายที่กระทํากันอยู่ทุกวันนี้ไม่เชื่อว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดผลได้ ดังนั้นการปฏิเสธ เหตุนี้ก็เท่ากับว่าปฏิเสธผลไปด้วย คือสัตว์ทั้งหลายที่กําลังได้รับความสุข ความทุกข์กัน อยู่ทุกวันก็ไม่นับว่าเป็นผลที่เนื่องมาจากการกระทําดีหรือชั่วของตนเป็นเหตุ ดังนั้นพระ มหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถา ว่า
“นตฺถิ เหตูติ วทนฺโต อุทยํ ปฏิพาหติ” “ผู้ที่กล่าวว่าหรือ เห็นว่าความสุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้นไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุ นี้ก็เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธทั้งเหตุทั้งผลไปด้วย
๓. อกิริยทิฏฐิ ผู้ที่มีความเห็นชนิดอกิริยทิฏฐินี้ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่ทํา ดีก็ตาม ชั่วก็ตามไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ ทําก็สักแต่ว่าทําเท่านั้น มีพระบาลีแสดงไว้ใน สามัญญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคว่า
“กโรโต โข มหาราช การยโต, ฉินฺทโต เฉทาปยโต, ปจโต ปาจาปยโต, โสจยโต โสจาปยโต, กิลมโต กิลมาปยโต, ผนฺทโต ผนฺทาปยโต, ปาณมติปาตาปยโต, อทินนํ อาทิยโต, สนธี ฉินฺทโต, นิลโลปํ หรโต, เอกาคาริกํ กโรโต, ปริปนํเถ ติฎฺฐโต, ปรทารํ คจฺฉโต, มุสา ภณโต, กโรโต น กรียติ ปาปํ”
“ผู้ที่มีความเห็นผิดชนิดอกิริยาทิฏฐิ เห็นว่าการกระทําดีทําชั่วของสัตว์ทั้งหลาย จะทําเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นทําก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบาปเป็นบุญ การทําร้ายโดยตัดอวัยวะของผู้อื่น จะตัดเอง ใช้ให้คนอื่นดัดก็ตาม ก็ไม่ชื่อว่าทําบาป การลงโทษผู้ อ้นโดยการปรับเอาเงิน หรือโดยการเฆี่ยนตีทําให้เขาได้รับความ เดือดร้อน จะทําเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นท่าก็ตาม ก็ไม่ชื่อว่าท่าบาปการเอาวัตถุสิ่งของทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ทําให้เขาได้รับความเศร้าโศกเสียใจ จะทําเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นทําก็ตาม ก็ไม่ชื่อว่า ท่าบาป การลงโทษตนเองให้ลําาบากมีการอดข้าวหรือยอมติด เรือนจํา หรือแนะนําให้ผู้อื่นที่เชื่อถือตนให้ลงโทษตนเองให้ รําบากเหมือนตนนั้น ก็ไม่ชื่อว่าทําบาป ตนเองมีความกระวนกระวายเดือดร้อนใจก็ดี หรือทําให้ผู้อื่นกระวนกระวายเดือดร้อน ใจก็ดี ก็ไม่ชื่อว่าเป็นบาป การฆ่าสัตว์ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่น ฆ่าก็ดี ไม่ชื่อว่าฆ่าสัตว์ คือไม่เป็นบาป การตัดช่องย่องเบาด้วย ตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นติดช่องย่องเบาก็ดี ก็ไม่เป็นบาป การแย่ง ชิงทรัพย์ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นแย่งชิงก็ดี ก็ไม่เป็นบาป บุกรุก เข้าไปในบ้านเขาแล้วแย่งชิงทรัพย์ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นบุกรุกก็ดี ก็ไม่เป็นบาป คอยดักชิงทรัพย์เขาตามทางด้วยตนเอง ก็ดี ใช้ให้คนอื่นคอยดักชิงทรัพย์เขาก็ดี ก็ไม่เป็นบาป การประพฤติ ผิดกาเมในภรรยาของผู้อื่น ก็ไม่เป็นบาป การพูดมุสา ก็ไม่เป็น บาป การกระทําไม่ดีต่างๆ ดังกล่าวมานี้ จะทําด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทําก็ดี เหล่านี้ก็ไม่ชื่อว่าเป็นบาป”
ความเห็นผิดชนิดอริยทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกรรมอันเป็นตัวเหตุ ฉะนั้นจึงเท่ากับว่าปฏิเสธผลของกรรมสําเร็จไปในตัวด้วย ดังนั้น
พระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดง ไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถา ว่า
“กมฺมํ ปฏิพาหนฺเตนาปิ วิปาโก ปฏิพาหิโต โหติ”
“แม้เมื่อปฏิเสธการกระทําบาปบุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่า กับปฏิเสธผลของการกระทําบาปบุญนั้นด้วย”
ความเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิของทิฏฐิทั้ง ๓
ในทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น คณาจารย์เดียรถีย์ ๓ ท่าน คืออาจารย์อชิตะ มีความเห็นชนิด ที่เป็นนัตถิกทิฏฐิ อาจารย์มักขลิโคสาละ มีความเห็นชนิดที่เป็นอเหตุกทิฏฐิ อาจารย์ ปุราณกัสสปะ มีความเห็นชนิดที่เป็นอกิริยทิฏฐิ ความเห็นผิดของคณาจารย์ทั้ง ๓ นี้เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ คือเป็นความเห็นผิดที่มีสภาพส่งผลในนิรยภูมิแน่นอนในลําดับแห่งจุติโดย ไม่มีระหว่างคั่น เพราะความเห็นผิดของท่านทั้ง ๓ นี้ ยึดมั่นแน่นหนามาก แม้พระพุทธองค์ ได้ทรงทรมานด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เลิกถอนความเห็นผิดนั้นเสีย ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ สําหรับ พวกลูกศิษย์ของคณาจารย์ทั้ง ๓ นี้ ในตอนแรกความเห็นผิดที่เกิดขึ้นนั้นยังมีกําลังอ่อน อยู่ ฉะนั้นจึงยังไม่สําเร็จเป็นนิยามิจฉาทิฏฐิ ในเวลาต่อมาเมื่อได้มีการท่องบ่นพิจารณา เนื้อความในค่าสั่งสอนของอาจารย์อยู่เสมอ เหมือนกับผู้ที่เจริญกรรมฐาน และมีความพอ ใจในคําสอนนั้นๆ ในขณะที่พิจารณาและมีความพอใจอยู่นั้นทิฏฐิคตสัมปยุตตชวนะเกิดขึ้น เป็นจํานวนมากมายนับไม่ถ้วน จนกระทั่งจิตนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเกิดขึ้น ในสุดท้าย ทิฏฐิคตสัมปยุตตชวนวิถีที่มีการตัดสินแน่นอนในเนื้อความนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ เกิดขึ้น เหมือนกับวิถีจิตของพระโยคีที่เจริญวิปัสสนากําลังเข้าสู่มรรควิถี ฉะนั้นชวนะ ดวงที่ ๓ ที่ในวิถีสุดท้ายนี้แหละได้ชื่อว่านิยามิจฉาทิฏฐิ คือเป็นความเห็นผิดชนิดที่สามารถ ส่งผลให้เกิดในนิรยภูมิอย่างแน่นอนหลังจากที่ตายลงเพราะความเห็นผิดนี้ แม้พระพุทธองค์จะได้ทรงโปรดอย่างใดก็ตาม ก็ไม่อาจสําเร็จได้
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่ได้ชื่อว่ามิจฉัตตนิยตะ
ความเป็นไปของทิฏฐิกับปัญญาทั้ง ๒ นี้ มีสภาพเป็นไปตรงกันข้ามเข้าร่วมกันไม่ได้ เหมือนความมืดกับความสว่างหรือเหมือนกับคน ๒ คนหันหลังชนกันแล้วออกวิ่ง ไปคนละทาง ต่างคนก็ห่างไกลจากกันไปทุกที ในด้านปัญญานั้นเมื่อมีความเจริญขึ้นจน ถึงได้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ โดยได้รับการอุปการะจากศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิแล้ว ก็ไม่มีสิ่ง หนึ่งสิ่งใดจะมาทําลายปัญญาของผู้นั้นได้เลย ผู้นั้นย่อมมีความเลื่อมใสเป็นพิเศษในพระรัตนตรัยเชื่อในกรรมและผลของกรรม เชื่อว่าตายแล้วจะต้องเกิดอีก ถ้าผู้นั้นยังมีตัณหาอยู่ หมายความว่าปัญญาของผู้นั้นได้เข้าถึงความเป็นสัมมัตตนิยตะ คือเป็นปัญญาที่มีสภาพเป็นความดีและให้ผลแน่นอน ฉะนั้นผู้นั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นพระโสดาบันพ้นจากการไปเกิด ในอบายภูมิอีกต่อไป
ในทํานองเดียวกัน ทางด้านทิฏฐินั้นเมื่อมีความเจริญขึ้นโดยได้รับการอุปการะจาก มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ จนถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดไม่ได้เพราะ ยึดในความเห็นผิดของตนไว้อย่างแน่นหนา เวลานั้นทิฏฐิของผู้นั้นก็เข้าถึงความเป็น มิจฉัตตนิยตะ คือเป็นทิฏฐิที่มีสภาพเป็นความชั่วและให้ผลแน่นอน ฉะนั้น ผู้ที่มีความ เห็นผิดชนิดมิจฉัตตนิยตะ ย่อมไม่มีหวังที่จะได้บรรลุมรรคผล สําเร็จเป็นพระอริยะได้กลับ จะต้องไปเสวยทุกข์ในอวีจิมหานรก ในเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วเป็นเวลานานถึงหมื่น อันตรกัปอย่างแน่นอน เพราะความเห็นผิดชนิดที่เข้าถึงความเป็นมิจฉัตตนิยตะนี้มีโทษร้าย แรงยิ่งกว่าโทษของสังฆเภทกกรรม ดังนั้น พระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ใน อังคุตตรอรรถกถา ว่า
“กปฺปวินาเส มหาชเน พฺรหมฺโลเก นิพฺพตฺเตปิ นิยตมิจฺฉาทิฏฐิโก ตตฺถ อนิพฺพฤติตวาปิฏฐิ จกฺกว่าเฬ นิพฺพตฺตติ, กี ปน ปิฏฐิจากวาฬํ น ฌายตีติ? ฌายติ, ตสฺมึ ฌายมาเนปิ เอส อากาเส เอกสฺมี โอกาเส ปจฺจติเยวาติ วทนฺติ”
“ท่านอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกและอรรถกถา กล่าวไว้ว่าเมื่อโลกถูกทําลาย แม้มหาชนทั้งหลายจะได้ไปเกิดใน พรหมโลกก็ตาม ส่วนผู้ที่มีนิยามิจฉาทิฏฐินั้นไม่มีโอกาสได้ไปเกิด ในพรหมโลก ย่อมไปเกิดในอวีจิมหานรกที่อยู่ในจักรวาลสุดท้าย คือจักรวาลอันดับที่แสนโกฏินั้นเอง มีปัญหาว่าจักรวาลอันดับ สุดท้ายนั้นไม่ได้ถูกไฟทําลายด้วยหรือ? แก้ว่าถูกไฟทําลายด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อจักรวาลอันดับสุดท้ายนี้ถูกไฟทําลายแล้ว ผู้ที่มีนิยามิจฉาทิฏฐินั้นจะต้องไปเสวยทุกข์ในที่ส่วนใดส่วนหนึ่งบน ท้องอากาศ”
พระอรรถกถานี้แสดงให้รู้ว่าในบรรดาโทษของอกุศลต่างๆ นั้น โทษที่เกี่ยวกับ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นโทษที่ร้ายแรงที่สุด สมดังที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ในพระบาลีอังคุตตรว่า
“ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ” แปลความว่า “ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเห็นผิดชนิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้มีโทษอันยิ่ง ใหญ่ที่สุด"
ผู้ที่ถือนิยตมิจฉาทิฏฐิจะมีโอกาสสําเร็จเป็นพระอริยะได้หรือไม่? ผู้ถือนิยตมิจฉาทิฏฐินี้ ถ้าไม่ถอนความเห็นผิดของตนออกเสียแล้ว อย่าว่าแต่จะได้สําเร็จเป็นพระอริยะเลย แม้แต่เมื่อตายจากโลกนี้แล้วก็ยังไม่มีหวังที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ แต่ถ้าหากว่าผู้นั้นถอนความเห็นผิดออกเสียได้ แล้วหันมาเจริญวิปัสสนาก็ย่อมมีหวังที่จะสําเร็จเป็นพระอริยะได้และเมื่อตายจากโลกนี้แล้วก็มีหวังที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาแล้วแต่การกระทําของตน สมดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ในพระบาลีมหาปัฏฐานว่า
“อริยา มิจฺฉตุตนิยต ปหีเน กิเลเส ปจฺจเวกฺขนฺติ, ปุพเพ สมุทาจิณโณ กิเลเส ชานนิติ, มิจฉตุนิยเต ขนฺเธ อนิจฺจโต วิปสฺสนฺติ"
“พระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยมีนิยามิฉาทิฏฐินี้ ย่อมพิจารณากิเลสคือนิยตมิจฉาทิฏฐิที่ตนได้ประหาณไปแล้ว ย่อมเห็นกิเลสคือ
นิยตมิจฉาทิฏฐิที่เคยเกิดมาแล้วในสันดานของตนย่อมพิจารณา นิยตมิจฉาทิฏฐิขันธ์ โดยความเป็นอนิจจะ"
มิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุสําคัญที่ทําให้ทุจริตทั้ง ๑๐ เกิดขึ้นได้
ธรรมดาผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐินั้น ย่อมเป็นผู้ที่ไม่ละอายและหวาดกลัวต่อการทําทุจริตต่างๆ แต่ทุจริตบางอย่างที่จะไม่กล้าทําลงไปนั้นก็เพราะเกรง อํานาจกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ดีก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนเสมอไป ถ้ามีหนทางหลบหลีกได้ก็กล้าทําเช่นเดียวกัน สําหรับทุจริตที่ไม่ผิดต่อกฎหมายนั้นก็เป็นอันว่ากระทําได้อย่างเต็มที่ไม่มีการเกรงกลัว แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ความประพฤติของผู้นี้จึงเป็นไปในทางทุจริต มีกายทุจริตบ้าง วจีทุจริตบ้าง มโนทุจริตบ้าง เป็นส่วนมาก บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐินี้ถ้าจะมีการประกอบกุศล กรรมบ้างก็มักจะเกี่ยวเนื่องด้วยการหาชื่อเสียง การสังคม และเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตน เช่น ช่วยสร้างถนน สร้างโรงเรียน ช่วยในการบรรเทาทุกข์ที่ทางการจัดขึ้น แต่อย่างไร ก็ตามกุศลของบุคคลพวกนี้หาใช่เป็นกุศลอย่างประเสริฐไม่ เป็นเพียงกุศลสามัญเท่านั้น เพราะไม่ได้เป็นไปด้วยอํานาจแห่งกัมมัสสกตญาณ เป็นไปโดยอํานาจแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉะนั้น การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ของบุคคลพวกนี้จึงนับว่าเสียที
การเกิดขึ้นของทุจริตต่างๆ โดยอาศัยมโนทุจริตเป็นเหตุ
อภิชฌา เป็นต้นเหตุให้อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา สัมผัปปลาปะ มิจฉาทิฏฐิ เกิดขึ้นได้
พยาบาท เป็นต้นเหตุให้ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ เกิดขึ้นได้
มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นเหตุให้ทุจริตทั้ง ๑๐ เกิดขึ้นได้
อธิบายในบาลีข้อที่ ๘ ที่ว่า “อญฺญตราปิ วิญญตฺติยา มนสฺมี เยว พาหุลลวุตติโต มโนกมุมฺ นาม"
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่ามโนกรรม เพราะเมื่อยกเว้นจากกายวิญญัติแล้ว ก็เกิดในมโนทวารเท่านั้นเป็นส่วนมาก อธิบายว่าการงานที่เกิดขึ้นทางใจได้ชื่อว่ามโนกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “มนสฺมี ปวตฺตํ กมุมํ มโนกมุม” กรรม ที่เกิดทางใจ ชื่อว่ามโนกรรม ทางใจที่เรียกว่ามโนทวารนั้นมีหลายอย่างคือ
๑. ในวิถีจิตต่างๆ นั้น ภวังคจิต ชื่อมโนทวาร เพราะเป็นเหตุให้วิถีจิตเกิด
๒. จิตทั้งหมดชื่อว่ามโนทวาร เพราะจิตที่เกิดบ่อยๆ เป็นเหตุให้จิตหลังๆ เกิดขึ้น
๓. อกุศลชวนะและกุศลชวนะ ชื่อว่ามโนทวาร เพราะชวนจิตนี้เป็นเหตุให้มโนกรรมสําเร็จลง ดังที่ท่านฎีกาจารย์แสดงวจนัตถะว่า
“มโน เอว ทฺวารนฺติ มโนทฺวารํ” ชวนจิตนั้นแหละเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของมโนกรรม ฉะนั้น จึงชื่อว่ามโนทวาร สําหรับในมโนทุจริตนี้ โลภมูล โทสมูลชวนะที่เกิดพร้อมด้วยอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่ามโนทวาร ส่วนโมหมูลชวนะในที่นี้ไม่ชื่อว่ามโนทวาร เพราะไม่สามารถเป็นเหตุให้ มโนทุจริตทั้ง ๓ เกิดขึ้นได้
ที่ว่าโลกชวนะ และโทสชวนะ ชื่อว่ามโนทวาร คือเป็นเหตุให้มโนทุจริตเกิดนั้นก็เพราะ ในขณะที่อภิชฌาหรือมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นนั้น โลกชวนะนี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่โลภะที่ เป็นตัวอภิชฌา และทิฏฐิที่เป็นตัวมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอํานาจแห่งสหชาตปัจจัย อัญญมัญญ ปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และในขณะที่พยาบาทเกิดขึ้น โทสชวนะก็ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่โทสะที่เป็นตัวพยาบาทด้วยอํานาจแห่งสหชาตะ, อัญญมัญญะ,นิสสยะ, อัตถิ, อวิคตปัจจัย
การช่วยอุปการะของอกุศลชวนะที่ชื่อว่ามโนทวารนี้ แม้ในกายกรรมและวจีกรรม ที่เกิดขึ้น ก็ย่อมช่วยอุปการะอยู่ด้วย เช่น ในการทําปาณาติบาต ขณะนั้นก็ได้รับการ อุปการะจากโทสะชวนะอันเป็นตัวมโนทวารด้วยเหมือนกัน แต่ในการสําเร็จเป็น ปาณาติบาตนั้นจะต้องประกอบด้วยกายวิญญัติอันเป็นตัวกายทวาร เพียงแต่โทสชวนะที่เป็นมโนทวารช่วยอุปการะอย่างเดียวนั้น ย่อมไม่สําเร็จเป็นปาณาติบาตได้ในมุสาวาท ก็เป็นไปเช่นเดียวกัน คือต้องมีวจีวิญญัติที่เป็นตัววจีทวารเข้าประกอบด้วยจึงจะสําเร็จ เป็นมุสาวาทได้ ลําพังแต่โลกชวนะหรือโทสชวนะอันเป็นมโนทวารช่วยอุปการะอย่าง เดียวนั้น ย่อมไม่สําเร็จเป็นมุสาวาทได้ หมายความว่าอกุศลชวนะที่เป็นมโนทวารนี้ ย่อมสาธารณะแก่อกุศลกรรมทั่วไป ทั้งที่เป็นกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่สําหรับกายวิญญัติที่เป็นกายทวาร และวจีวิญญัติที่เป็นวจีทวารนั้น ไม่ได้สาธารณะแก่กรรมทั่วไป คงเกี่ยวเนื่องเฉพาะกรรมบางอย่างคือ กายกรรมและวจีกรรมเท่านั้น
ธรรมดาการที่จะตั้งชื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ปรากฏขึ้นนั้น ก็ต้องอาศัยข้อพิเศษของสิ่งนั้นๆ แต่ละอย่าง แล้วจึงตั้งชื่อขึ้นเพื่อมิให้เป็นการปะปนกัน ฉะนั้นกรรมทั้ง ๓ มีปาณาติบาต เป็นต้น ที่ได้ตั้งชื่อว่ากายกรรมก็โดยอาศัยกายทวารเป็นที่เกิดเป็นพิเศษและกรรมทั้ง ๔ มีมุสาวาทเป็นต้น ที่ได้ตั้งชื่อว่าวจีกรรม ก็โดยอาศัยวจีทวารเป็นที่เกิดเป็นพิเศษดังที่ได้ ตั้งชื่อมาแล้ว
สําหรับกรรมทั้ง ๓ มีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับวิญญัติ ทั้ง ๒ คือกายทวารและวจีทวารแต่อย่างใด คงเกิดขึ้นเฉพาะในมโนทวารเท่านั้น ฉะนั้น ท่านพระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงว่า “อญฺญตฺราปิ วิญฺญัตติยา มนสฺมี เยว พาหุลุลวุตฺติโต” เมื่อเว้นจากกายวิญญัติ และวงวิญญัติแล้ว ย่อมเกิดในมโนทวารเป็นส่วนมาก
ในข้อนี้เมื่อพิจารณาแล้ว คําว่า “มนสฺมี เยว พาหุลุลวุตติโต” เท่านี้ก็น่าจะเป็น คําอธิบายโดยสมบูรณ์แล้ว คืออภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ เกิดในมโนทวารเป็นส่วนมาก แต่ ถ้าหากใช้เขียนเป็นหนังสือหรือกล่าวด้วยวาจาว่า “สมบัติของผู้นี้ถ้าเราได้มาเป็นของ ของเราแล้วก็จะดีมาก” เช่นนี้ก็จัดว่าอภิชฌานี้เกิดในทางกายทวารและวจีทวาร แต่ก็ เป็นส่วนน้อย ฉะนั้นอภิชฌาเป็นต้นที่ได้ชื่อว่ามโนกรรมจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปเพราะการที่ตั้งชื่อว่ามโนกรรมนี้ก็ตั้งขึ้นโดยตัพพาหุลสนัย คือเกิดในทางมโนทวาร เป็นส่วนมาก แต่อย่างไรก็ตามจะใช้กล่าวเพียงว่า “มนสฺมี เยว พาหุลุลวุตติโต” เท่านี้ ก็ยังไม่สละสลวย คือค่ากล่าวตอนต้นและตอนปลายยังไม่ตรงกัน เพราะในกายกรรม ๓ กล่าวไว้ว่า “กายวิญฺญัติสงฺขาเต กายทฺวาร พาหุลุลวุตฺติโต” เพราะเกิดในกายทวาร คือ กายวิญญัติเป็นส่วนมาก” ในวจีกรรม ๔ ก็กล่าวไว้ว่า “วจีญฺญาติสงฺขาเต วจีทฺวาเร พาหุลฺลวุตติโต” เพราะเกิดในวจีทวาร คือวจีวิญญัติเป็นส่วนมาก” แสดงให้เห็นว่า กายกรรมและวจีกรรมเหล่านี้มีคําว่าวิญญัติประกอบอยู่ ส่วนในมโนกรรม ๓ นั้นควร แสดงให้รู้ว่าไม่เกี่ยวกับวิญญัติรูปแต่อย่างใด ดังนั้นพระอนุรุทธาจารย์จึงใช้คําว่า “อญฺญตฺร วิญฺญตติยา” “ยกเว้นวิญญัติเสีย”
“กามาวจรกุศลมฺปิ ฯลฯ ติวิธํ โหติ”
คําว่า “อปิ” ในบทว่า กามาวจรกุศลมปิ นี้เป็น วุตตสมุจจยนิปาตบท คือเป็นบทที่ รวมความที่จะให้รู้ได้ว่า ข้อความที่แสดงไปแล้วและกําลังแสดงอยู่นั้นก็เป็นเช่นเดียวกัน การรวมเนื้อความที่จะให้รู้ได้โดยใช้คําว่า “อปิ” นั้น หมายความว่ามิใช่เพียงแต่อกุศลกรรม อย่างเดียวที่มี ๓ อย่าง แม้กามาวจรกุศลก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน
กามาวจรกุศลกรรม ๑๐
กายกรรม ๓
๑. ปาณาติปาตวีรติ เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทานวิรติ เว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจารวีรติ เว้นจากการผิดกาเม
วจีกรรม ๔
๑. มุสาวาทวีรติ เว้นจากกล่าวก๋าเท็จ
๒. ปิสุณวาจาวีรติ เว้นจากกล่าววาจาส่อเสียด
๓. ผรุสวาจาวีรติ เว้นจากกล่าววาจาหยาบร้าย
๔. สัมผัปปลาปวิรติ เว้นจากกล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์
มโนกรรม ๓
๑. อนภิชฌา มีการสังวรเพื่อไม่ให้อภิชฌาเกิด
๒. อพยาบาท มีการสังวรเพื่อไม่ให้พยาบาทเกิด
๓. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้อง
กามาวจรกุศลกรรม ๑๐ ประการ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้เรียกว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ สุจริต ๑๐ ก็ได้ สุจริต ๑๐ เหล่านี้เมื่อนับโดยพิสดารแล้วมี ๓๐ หรือ ๔๐, มี ๓๐ นั้นคือการ กระทําสุจริตอย่างหนึ่งๆ นั้น จะต้องประกอบด้วยเจตนาทั้ง ๓ คือ
๑. ปุพพเจตนา เจตนาที่เกิดก่อนกระทํา
๒. มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกระทํา
๓. อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในเมื่อกระทําไปแล้ว
ฉะนั้น สุจริต ๑๐ คูณด้วยเจตนา ๓ จึงเป็นสุจริต ๓๐ ส่วนที่ว่ามี ๔๐ นั้นคือการ กระทําสุจริตอย่างหนึ่งๆ นั้น แบ่งเป็น ๔ ประเภท
๑. สาหัตถิกสุจริต ทำด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกสุจริต ให้ผู้อื่นทํา
๓. วัณณภาสนสุจริต กล่าวแสดงประโยชน์ของการกระทําสุจริตนั้น
๔. สมบุญญาสุจริต มีความพอใจในการกระทํานั้นๆ
องค์ธรรมของกามาวจรกุศลกรรม ๑๐
กายกรรม ๓ หรือกายสุจริต ๓ องค์ธรรม ได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก
วจีกรรม ๔ หรือวจีสุจริต ๔ องค์ธรรม ได้แก่สัมมาวาจาเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก
มโนกรรม ๓ หรือมโนสุจริต ๓ ประกอบด้วยอนภิชฌา องค์ธรรม ได้แก่ อโลภเจตสิก อพยาบาท องค์ธรรม ได้แก่ อโทสเจตสิก สัมมาทิฏฐิ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก
เหตุแห่งการตั้งชื่อว่า กายกรรม วจีกรรม
กรรมทั้ง ๓ มีปาณาติปาตวิรติ เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่ากายกรรม ๓ กรรมทั้ง ๔ มี มุสาวาทวิรติ เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่าวจีกรรม ๔ เหล่านี้ ย่อมต่างกันกับชื่อของกายทุจริต ๓ และชื่อของวจีทุจริต ๔ หมายความว่าทุจริต ที่ได้ชื่อว่ากายกรรมก็เพราะเกิดทางกาย เป็นส่วนมาก ทุจริตที่ได้ชื่อว่าวจีกรรมก็เพราะเกิดทางวาจาเป็นส่วนมาก สําหรับกุศล กรรมที่ได้ชื่อว่า กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ เหล่านี้ย่อมเกิดทางใจเป็นส่วนมาก ส่วนทาง กายและทางวาจานั้นโดยมากมักจะไม่ค่อยเกี่ยว เพราะเพียงแต่ตั้งจิตคิดงดเว้นจาก กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่เกิดจากเจตนาเจตสิกอย่างเดียวเท่านี้ ก็ได้ชื่อว่ากุศล กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ได้ด้วย เหตุนี้แหละกุศลกายกรรม ๓ และวจีกรรม ๔ เหล่านี้ จึงได้ชื่อว่าอกิริยสมุฏฐาน หมายความว่ากุศลกรรมที่เกิดขึ้นทางใจไม่ต้องอาศัยกาย วาจา เป็นสมุฏฐาน
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะมีคําถามขึ้นมาว่า กุศลกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ นี้ ไม่มีการเกิด ขึ้นเกี่ยวด้วยกายวิญญัติ วจีวิญญัติ เสียเลยเช่นนั้นหรือ? ข้อนี้แก้ว่าไม่ใช่เช่นนั้นเกิด ขึ้นเกี่ยวกับกายวิญญัติ วจีวิญญัติได้บ้างเหมือนกัน แต่ไม่เสมอไปดังเช่น
ปาณาติปาตวิรติ ผู้ที่ทําการประกอบอาหารรับประทานเองเป็นครั้งคราว ในขณะที่จะลงมือท่าอาหารนั้นได้จับปลาขึ้นมากระทํา ปรากฏว่าปลาตัวนั้นยังมีชีวิตอยู่ก็ทําไม่ลง จึงนําไปปล่อยน้ำเสีย หรือดังเช่นเรื่องนางสุชาดาเมื่อครั้งเป็นนางนกยางทําการสมาทาน ศีล ๕ ในขณะที่จิกปลาขึ้นมาจะกิน เมื่อเห็นปลานั้นยังมีชีวิตอยู่ก็ปล่อยปลานั้นลงน้ำไป อันนี้ได้ชื่อว่าปาณาติปาตวีรติ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยกายวิญญัติ
อทินนาทานวิรัติ ผู้ที่เป็นคนรับใช้อย่างใกล้ชิดสนิทสนมเห็นเพชร พลอยที่นายของตนสวมใส่ตกหล่นลงไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อตนเก็บได้ก็ไม่เอา กลับหยิบยื่นส่งให้แก่นายตามเดิม อันนี้ได้ชื่อว่าอทินนาทานวิรติ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยกายวิญญัติ
กาเมสุมิจฉาจารวิรติ หญิงที่รับหมั้นชายอื่นไว้แล้ว ครั้นชายที่คุ้นเคยกันแต่ เมื่อครั้งก่อนมาเยี่ยมเยียนก็เลิกการปฏิบัติเอาอกเอาใจชายนั้นเสีย เพียงแต่ทําการต้อนรับอย่างธรรมดาสามัญตามธรรมเนียมคนที่เคยรู้จักกัน อันนี้ได้ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจารวิรติ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกายวิญญัติ
กุศลกายกรรม ๓ มีปาณาติปาตวิรติเป็นต้น ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกายวิญญัติดังที่ได้กล่าวนี้ องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิกหรือสัมมาอาชีวเจตสิกตามสมควร
กุศลวจีกรรม ๔ ผู้ที่ชอบพูดปดเป็นปกติอยู่เสมอ หรือชอบพูดส่อเสียดยุยงค่าว่าผู้อื่นด้วยคําหยาบคายต่างๆ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลเหล่านี้ ครั้นได้รับการอบรมศึกษาใน พระธรรมวินัยเป็นอย่างดีแล้ว ก็หยุดกล่าววาจามีคําเท็จเป็นต้น ที่ตนเคยกล่าวมาแล้วแต่ ก่อนๆ นั้นเสียได้ อันนี้ได้ชื่อว่ากุศลวจีกรรม ๔ มีมุสาวาทวิรติเป็นต้น ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับวจีวิญญัติ องค์ธรรมได้แก่สัมมาวาจาเจตสิกหรือสัมมาอาชีวเจตสิก
สรุปความว่า กุศลกรรมที่ได้ชื่อว่ากายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ดังที่ได้กล่าวนี้เกิดขึ้น ทางใจอย่างเดียวก็ได้ เกิดขึ้นทางกายและทางวาจาก็ได้ ดังจะพึงสังเกตดูได้จากองค์ธรรม กล่าวคือถ้าองค์ธรรมนั้นเป็นเจตนาเจตสิกอย่างเดียว กุศลกายกรรม วจีกรรมนั้นก็เกิดทาง ใจ ถ้าองค์ธรรมเป็นตัวสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ กุศลกายกรรม วจีกรรม นั้นก็เกิดทางกายและทางวาจา ด้วยเหตุนี้ พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงไว้ในนามรูป ปริจเฉทปกรณ์ว่า
ตํตํทฺวาริกเมวาหุ ตํตํทฺวาริกปาปโต
วิโมนตสฺส วิญญูตฺติ วินา วา สห วา ปุน ฯ
“การเว้นจากอกุศลทุจริตที่เกิดทางกายและทางวาจานี้ จะไม่เกี่ยวกับวิญญัติหรือเกี่ยวกับวิญญัติก็ตาม อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่าเป็นกุศลกายกรรม วจีกรรมได้ทั้งนั้น ในการตั้ง ชื่อว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในการกระทํากุศลนั้น มีนโยบายอยู่ ๒ ประการ"
นโยบายข้อที่หนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทานเป็นต้น ถ้าสําเร็จด้วยการเคลื่อน ไหวทางกาย บุญกิริยาวัตถุนั้น ๆ ก็ได้ชื่อว่ากุศลกายกรรม ถ้าสําเร็จด้วยการเคลื่อนไหวทางวาจา ก็ได้ชื่อว่ากุศลวจีกรรม ถ้าไม่เกี่ยวด้วยการเคลื่อนไหวแต่อย่างใดๆ เพียงแต่ตั้งใจจะบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาแล้ว ก็ได้ชื่อว่ากุศลมโนกรรม ฉะนั้น บุญกิริยา วัตถุ ๑๐ ตามนโยบายข้อที่หนึ่งจึงมีจํานวนเป็น ๓๐ คือกายกรรมทาน การถวายทาน ด้วยมือของตน วจีกรรมทาน ในขณะที่กําลังเปล่งวาจาถวายทาน หรือการจัดแจงบอก ให้เขานําสิ่งของต่างๆ เข้าไปถวาย มโนกรรมทาน ตั้งใจถวาย กายกรรมศีล การสำรวมกาย วจีกรรมศีล การสํารวมวาจา หรือในขณะที่กําลังเปล่งวาจาสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ มโนกรรมศีล การตั้งจิตคิดงดเว้นตามข้อ สิกขาบทนั้นๆ
กายกรรมภาวนา การนั่งฟังเทศน์ หรือการเดิน ยืน นั่ง นอน ในขณะที่ทําการ เจริญสมถะและวิปัสสนา วจีกรรมภาวนาในขณะที่ท่องบ่นพระธรรมวินัย หรือในขณะที่ใช้ปากบริกรรมในการเจริญสมถะและวิปัสสนา อปจายมัย เป็นต้น จนถึงทิฏฐชุกรรมก็มีอย่างละ ๓ เช่นกัน
นโยบายข้อที่สอง ตามธรรมดาคนเราทั้งหลายนั้น คนที่มีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ก็อยู่ที่การสํารวมระวัง ถ้าไม่มีการสํารวมระวังแล้ว กาย วาจา ใจจะบริสุทธิ์ ไม่ได้ ฉะนั้นเวลาใดกาย วาจา ใจ ไม่บริสุทธิ์เป็นทุจริตเกิดขึ้น ก็รู้สึกตัวของตัวว่า กายสังวร วจีสังวร มโนสังวร ของตนได้เสียไป แล้วก็กลับตั้งความพยายามใหม่ เพื่อยังใจที่เป็นกุศล ให้เกิดมีกามาวจรกุศลบ้าง มหัคคตกุศลบ้าง โลกุตตรกุศลบ้าง เพื่อทําการประหาณอกุศล ทุจริตที่เกิดแล้วนั้น ในระหว่างที่ตั้งใจบําเพ็ญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น ในเวลานั้นถ้า มีการสํารวมระวังทางกายเป็นพิเศษ กุศลที่เกิดขึ้นเรียกว่ากายกรรมกุศลหรือกายสุจริต ถ้ามีการสํารวมระวังทางวาจาเป็นพิเศษ ก็เรียกว่าวจีกรรมกุศลหรือวจีสุจริต ส่วนการ กระทํากุศลต่างๆ ที่นอกจากการสํารวมระวังทางกาย และวาจาเป็นพิเศษนั้น กุศลเหล่า นี้เกิดทางกายก็มี ทางวาจาก็มี ทางใจก็มี แต่อย่างไรก็ตาม การกระทํากุศลเหล่านี้ล้วน แต่เป็นการสังวรทางใจ เพื่อชําระจิตใจให้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น ดังนั้นการกระทํากุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ที่เกิดทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม ซึ่งไม่เกี่ยวกับกาย สังวร วจีสังวรนั้น กุศลเหล่านั้นก็ได้ชื่อว่ามโนกรรมกุศล หรือมโนสุจริตได้เช่นเดียวกัน
การตั้งชื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในการกระทํากุศลตามนโยบายทั้ง ๒ ประการนี้ ประการที่ ๒ เป็นนโยบายที่สําคัญมากในพระพุทธศาสนา และตรงกับพุทธประสงค์ ทั้งนี้ก็เพราะการกระทํากุศลต่างๆ ในพระพุทธศาสนานี้ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล ภาวนา หรือกามะ มหัคคตะ โลกุตตรกุศลใดๆ ก็มุ่งหวังอย่างเดียวที่จะทําใจให้ละจากอกุศลเท่านั้น ฉะนั้น นโยบายประการที่ ๒ จึงจัดเป็นหลักสําคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา
อธิบายบาลีข้อที่ ๑๔ “ตถา ทานสีลภาวนาวเสน”
ตามบาลีข้อนี้แสดงให้รู้ว่ากามาวจรกุศลกรรม ว่าโดยกรรมทวารมี ๓ อย่างที่เรียก ว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น เมื่อว่าโดยประเภทแห่งการ กระทําแล้วก็มี ๓ คือ การบริจาค วัตถุสิ่งของชื่อว่าทานกุศลอย่างหนึ่ง การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อยชื่อว่าศีลกุศลอย่างหนึ่ง การอบรมจิตใจให้มีสมาธิ ปัญญา ชื่อว่าภาวนากุศลอย่างหนึ่ง
อนึ่ง การแสดงกามาวจรกุศลที่สําเร็จเป็นกุศลกรรมบถนั้น เพียงแต่แสดงเป็นสุจริต ๑๐ มีปาณาติปาตวีรติเป็นต้น การแสดงเพียงเท่านี้ยังไม่พอ เพราะกามาวจรกุศลอื่นๆ มี การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ที่สําเร็จเป็นกุศลกรรมบถได้ยังมีอยู่อีกอาศัยเหตุ นี้พระอนุรุทธาจารย์จึงมีความประสงค์ใคร่ที่จะให้รู้ถึงกุศลเหล่านี้ด้วย จึงได้กล่าวต่อไป ว่า “ตถา ทานศีลภาวนาวเสน” ฉะนั้นกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือสุจริต ๑๐ ที่ได้กล่าวแล้ว ในข้างต้น คูณด้วยทาน ศีล ภาวนา จึงมีจํานวนเป็น ๓๐
อีกประการหนึ่งยกเว้นกามาวจรกุศลชวนะที่เกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ปัญจทวารวิถี) ในขณะใกล้จะตาย (มรณาสันนวิถี) ในขณะฝัน (สุบินวิถี) เหล่านี้เสียแล้ว กามาวจรกุศลกรรมที่นอกจากนี้ทั้งหมดจะครบองค์ก็ตาม ไม่ครบองค์ก็ตามล้วนแต่ เป็นหนทาง (กมุมปก) ที่จะให้เข้าถึงสุคติภูมิด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถึงกระนั้นการส่งผลในปฏิสนธิกาลนั้นเอาเป็นที่แน่นอนยังไม่ได้ เพราะว่ากามาวจรกุศลกรรมที่เป็นหนทาง (กมุมปก) ให้ เข้าถึงสุคติภูมิ จะต้องได้รับความอุปการะจากกุศลกรรมที่ในอดีตด้วยจึงจะช่วยทําให้มีกําลังส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ มิเช่นนั้นก็มิอาจที่จะส่งผลได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทาน ศีล ภาวนา เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นหนทางให้เข้าถึงสุคติภูมิได้ทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้พระอนุรุทธาจารย์จึงได้ แสดงต่อไปอีกว่า “ตถา ทานศีลภาวนาวเสน” “กามาวจรกุศลว่าโดยประเภทของทาน ศีล ภาวนา แล้วก็มี ๓ อย่าง
“จิตฺตุปฺปาทวเสน ปเนตํ อฏฺฐวิธํ โหติ”
การกระทํางานต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ อันดีงามทุกประการของชาวโลกซึ่ง สัปบุรุษทั้งหลายได้รับรองว่าเป็นความดี เพราะไม่มีการขัดแย้งอะไรกันต่อคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันชาวโลกทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้นั้น ล้วนแต่เป็นกามาวจรกุศลทั้งสิ้น การงานที่ดีต่างๆ เหล่านั้น เมื่อจะพรรณนาตามโวหารของโลกแล้วก็มีมากมายหลายประการสุดที่จะพรรณนาให้หมดสิ้นได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ตาม ความดีต่างๆ เหล่านี้ หาใช่มีนอกออกไปจากกุศลกรรมบถ ๑๐ และบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ทั้ง ๒ นี้แต่ประการใดไม่ ดังนั้นการแสดงการงานที่ดีงามเป็นกุศลกรรมบถ ๑๐ และ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ เป็นการกล่าวตามโวหารของชาวโลกอันเป็นฝ่ายสุตตันตนัย แต่ถ้า จะกล่าวการงานในจํานวน ๒๐ ประการเหล่านี้ตามสภาวนัยแล้ว ก็ได้แก่การเกิดขึ้น ของมหากุศลจิตตุปบาท ๘ ดวงนี้เท่านั้น
อนึ่ง การงานที่คนทั้งหลายได้กระทํากันอยู่นี้ ถ้าจะว่ากันโดยความจริงแท้แล้วก็ได้แก่ รูปกับนาม คือกายกับใจทั้ง ๒ นี้เท่านั้นที่เป็นผู้กระทําขึ้น กล่าวคือร่างกายมีหน้าที่ทํา ใจมีหน้าที่สั่ง เหมือนคนงานกับนายงานหรือเหมือนตัวรถกับคนขับ เหตุนั้น ผู้ที่ไม่เข้าใจ ในนามธรรม คือจิตใจ เพียงแต่เข้าใจในรูปธรรม คือร่างกายอย่างเดียว เมื่อตนเองกระทํา ไม่ดี หรือเห็นผู้อื่นกระทําไม่ดีก็มิอาจที่จะแก้ไขให้กลับเป็นดีขึ้นได้ เพียงแต่ได้ทําการแก้ไข ด้วยวิธีผิวเผินเล็กๆ น้อยๆ เมื่อตนเองกระทําดี หรือเห็นผู้อื่นกระทําดีจะทําการสนับสนุน ส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปก็ทําไม่ได้เช่นกัน ถ้าจะได้ก็ได้แต่เพียงขั้นเล็กๆ น้อยๆ มิอาจที่จะ สนับสนุนส่งเสริมให้ซาบซึ้งถึงใจจริงได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการแก้ไขและการสนับสนุน ส่งเสริมของคนเรานี้ทําได้เป็นอย่างดีที่สุด เพียงขั้นรูปคือร่างกายอันเป็นสิ่งภายนอกอย่างเดียว
ฝ่ายผู้ที่มีความเข้าใจดีทั้งรูปและนามนั้น ถ้าจะทําการแก้ไขการกระทําทางกาย วาจา ใจ ที่ไม่ดีของตนเอง หรือบุคคลอื่นก็ทําการแก้ไขให้สําเร็จได้ เมื่อมีโอกาสทําการ ส่งเสริมการกระทําทางกาย วาจา ใจ ที่ดีของตนเองหรือบุคคลอื่นแล้วก็สามารถส่งเสริม ให้ชาบซึ้งถึงจิตใจได้เป็นอย่างดี
การเป็นไปเช่นนี้ก็เพราะเนื่องมาจากความสําคัญของรูปและนาม คือกาย ใจ มีความสําคัญต่างกันนั้นเอง คือกายมีหน้าที่ทําตามคําสั่งของใจ ใจมีหน้าที่คิดนึกใคร่ครวญ ไตร่ตรองจัดแจงสั่งให้กาย วาจา ที่เป็นรูปทําการงานตามที่สั่ง โดยเหตุนี้การงานที่ดีอัน เป็นกุศลกรรมบถ และบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่ปรากฏเป็นไปอยู่ในหมู่ชนทุกชั้นทุกภาษาได้ นั้น ก็เพราะสาเหตุเนื่องมาจากมหากุศลจิตตุปบาท ๘ ดวง ซึ่งเป็นนามธรรมคือใจนั้นเอง ถ้าเว้นจากมหากุศลจิตุปบาท ๘ ดวงนี้เสียแล้ว การกระทําดีมีกุศลกรรมบถ และบุญกิริยา วัตถุ ๑๐ ก็ต้องสูญหายไปจากมวลมนุษย์ คงมีแต่การกระทําที่เป็นทุจริตทราชีพอย่างเดียว ปรากฏมีอยู่ในมนุษยโลก ที่เนื่องมาจากอกุศลจิตตุปบาทเป็นผู้สั่ง เมื่อเป็นเช่นนี้โลกมนุษย์ นี้ก็ไม่ต่างอะไรกันกับดิรัจฉานโลก ถ้าจะพูดกันอย่างสั้นๆ แล้ว เวลาใดมหากุศลจิตตุปบาท ๘ ดวง เป็นผู้สั่งกาย วาจา ทํางาน เวลานั้นการกระทําของชนทั้งหลายก็ตั้งอยู่ในกุศล กรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เวลาใดอกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง เป็นผู้สั่งเวลานั้นการกระทํา ก็เป็นทุจริตทราชีพไป เหตุนี้แหละพระอนุรุทธาจารย์จึงมีความประสงค์ใคร่ที่จะให้รู้ถึง สาเหตุที่เป็นตัวองค์ธรรมแห่งการกระทํากุศลกรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ต่อไปด้วยบาลี ว่า “จิตฺตุปฺปาทวเสน ปเนตํ อฏฺฐวิธํ โหติ” “กามาวจรกุศลกรรมนี้ เมื่อว่าโดยการเกิด ขึ้นของจิตแล้วย่อมมี ๘"
อธิบายบาลีข้อที่ ๑๖ ที่แสดงถึงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
คําว่า บุญกิริยาวัตถุนี้เป็นภาษาบาลี แปลว่าความดีที่ควรทําเพราะเป็นเหตุเป็นที่ ตั้งแห่งผลดีเกิดขึ้น เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ ปุญฺญ + กริย + วัตถุ ปุญญ หมายความว่า การงานที่ดีที่สําหรับชําาระความเศร้าหมองเร่าร้อน กฺริย หมายความว่า ควรทํา วตฺถุ หมายความว่า เป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งผลดี ดังแสดงวจนัตถะว่า “อตฺตโน สนฺตานํ ปุนาติ โสเธติ ปุญฺญํ” การกระทําใดย่อมชําระสันดานของตนให้ขาวสะอาด ฉะนั้นการกระทํานั้นชื่อว่าปุญญะ ได้แก่การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
“สปฺปุริเสหิ กาตพฺพนฺติ กิริยํ” การกระทําใดอันสัปบุรุษทั้งหลายควรทํา ควร สร้าง ฉะนั้น การกระทํานั้นชื่อว่า กิริยะ ได้แก่ การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
“เต เต อานิสํสา วสฺสนฺติ ติฏฺฐนฺติ เอตฺถาติ วตฺถุ” อานิสงส์ผลต่างๆ ย่อมตั้งอยู่ในการกระทําอันใด ฉะนั้น การกระทํานั้นชื่อว่าวัตถุ ได้แก่ การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
“กิริยํ ปุญฺญํ ปุญฺญกฺริยํ” ความดีที่สัปบุรุษทั้งหลายควรทําชื่อว่าปุญญกริยะ “ปุญญกฺริยญฺจ ตํ วตฺถุจาติ ปุญฺญกิริยวตฺถุ” การกระทําที่เป็นความดีอันสัปบุรุษทั้งหลายควรทํา และเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์ผล ฉะนั้นการกระทํานั้นชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ ได้แก่การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แสดงเป็น ๒ นัย
คือสุตตันตนัยกับอภิธรรมนัย
แสดงโดยสุตตันตนัย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีจํานวน ๓๐ ได้แก่ กายกรรมทาน วจีกรรม ทาน มโนกรรมทาน เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แสดงโดยอภิธรรมนัย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีจํานวน ๑๑ หรือ ๒๓ คือทานมี ๑ ได้แก่มโนกรรมทานที่เป็นอนุภิชฌา ศีลมี ๒ ได้แก่กายกรรมศีล วจีกรรมศีล ที่เป็นกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ภาวนา อปจายนะ เวยยาวัจจะ ทั้ง ๓ นี้มีอย่างละ ๑ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็นอพยาปาท และสัมมาทิฏฐิ ปัตติทาน ปัตตานุโมทนะ ทั้ง ๒ นี้มีอย่างละ ๑ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็นอนุภิชฌาและ สัมมาทิฏฐิ ธรรมสวนะมี ๑ ได้แก่มโนกรรมที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ธรรมเทศนามี ๑ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็นอนุภิชฌา อพยาบาท สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐซุกัมมะ มี ๑ ได้แก่มโนกรรมที่เป็น สัมมาทิฏฐิ
วจนัตถะของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
พร้อมด้วยคําอธิบายและประเภท
ทาน แสดงวจนัตถะว่า “ทียติ เอเตนาติ ทานํ” ชนทั้งหลายจึงให้โดยเจตนานี้ ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการให้นี้ชื่อว่าทาน คําว่า ทาน ตามวจนัตถะนี้ ได้แก่ ตัวเจตนา อันเป็นเหตุแห่งการให้ทานนั้นสําเร็จลง
อีกนัยหนึ่ง “ทาตพฺพนฺติ ทานํ” สิ่งของอันใดที่ชนทั้งหลายพึงให้ ฉะนั้น สิ่งของ อันนั้นชื่อว่าทาน ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่พึ่งให้ (ทาตพฺพวตถุหรือเทยฺยธมฺม)
วจนัตถะทั้งสองนี้เป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่า ทานมีอยู่ ๒ อย่าง คือเจตนาทานและวัตถุ ทาน ในทานทั้ง ๒ อย่างนี้เจตนาทานมี ๓ ว่าโดยกาล คือปุพพเจตนาทาน เจตนาที่เกิด ขึ้นก่อนในระหว่างที่ยังไม่ได้ให้ ตั้งแต่คิดว่าจะทําบุญให้ทาน หรือตั้งแต่ทําการแสวงหา วัตถุสิ่งของที่เป็น เทยยธรรม บุญจเจตนาทาน เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กําลังให้ อปรเจตนาทาน เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากการให้ทานเสร็จแล้วด้วยความปิติอิ่มเอิบใจในการให้นั้น เจตนาทั้ง ๓ มีปุพพเจตนาทานเป็นต้นนี้ ถ้าได้โอกาสก็จะสามารถส่งผลในปฏิสนธิกาล ให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาได้ ดังที่แสดงไว้ใน พระบาลีอปทานว่า
เอกปุปฺผํ ยชิตฺวาน อสีติกปฺปโกฏิโย
ทุคคติ นาภิชานามิ เอกปุปฺผสฺสิทํ ผลํ ฯ
“การบูชาด้วยดอกไม้หนึ่งดอก ทําให้ข้าพเจ้าไม่เคยรู้จัก ความเป็นอยู่แห่งทุคติภพ มีนรกเป็นต้นว่าเป็นอย่างไร ตลอด
เวลา ๘๐ โกฏิอายุกัป หรือตลอดเวลา ๘๐ โกฏิชาติ นี้แหละเป็นอานิสงส์ผลที่ได้รับจากการถวายดอกไม้เพียงดอกเดียว”
ตามพระบาลี หาใช่ว่าจะส่งผลให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาติดต่อกันอยู่เสมอๆ ตลอด เวลา ๘๐ โกฏิอายุกัป หรือ ๘๐ โกฏิภพชาติได้โดยตรงแต่ประการใดไม่เพียงแต่เป็นต้น เหตุช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๒ ครั้นได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๒ แล้วก็ได้สร้างกุศลต่างๆ ขึ้นใหม่อีกต่อไป กุศลใหม่ในภพที่ ๒ นั้นก็จะช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๓ ต่อไป เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๓ แล้วก็ได้สร้างกุศลต่างๆ ขึ้นใหม่อีกต่อไป กุศลที่เกิดขึ้นใหม่ในภพที่ ๓ นั้นก็จะช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา ในภพที่ ๔ ต่อไป เป็นอย่างนี้ต่อกันเรื่อย ๆ อย่างไม่ขาดสายตลอดเวลา ๘๐ โกฏิภพชาติ ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าอานิสงส์แห่งการบูชาด้วยดอกไม้เพียงดอกเดียวนั้น สามารถช่วยให้พ้นจากทุคติภพได้เป็นเวลาช้านาน
อนึ่ง เจตนาทานทั้ง ๓ มีปุพพเจตนาเป็นต้นนี้ หาใช่มีครบบริบูรณ์ในกาลทั้ง ๓ เสมอไปไม่ กล่าวคือบางครั้ง มุญจเจตนามี แต่ปุพพเจตนา อปรเจตนาไม่มีปุพพเจตนา มี แต่ขาดมุญจนเจตนา อปรเจตนา อปรเจตนามี แต่ปุพพเจตนา บุญจนเจตนาไม่มี บางที่มุญจเจตนา ปุพพเจตนาทั้ง ๒ มี แต่อปรเจตนาไม่มี มุญจเจตนา อปรเจตนามี แต่ปุพพเจตนาไม่มีปุพพเจตนา อปรเจตนามี แต่มุญจเจตนาไม่มี บางทีก็ไม่มีเสียเลย ทั้ง ๓ กาล
ในเจตนาทั้ง ๓ นี้ เมื่อจะว่าโดยการเกิดง่ายหรือยากแล้ว มุญจเจตนาเกิดได้ง่าย อปรเจตนาเกิดได้ยาก ดังนั้นถ้าเจตนาเกิดขึ้นไม่ครบ ๓ กาลดังที่ได้กล่าวแล้ว การทําทาน เช่นนี้ย่อมมีผลไม่ไพบูลย์ ฉะนั้นควรพยายามทําทานให้พร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ ถ้าเจตนา เกิดขึ้นพร้อมทั้ง ๓ กาลด้วยดี การทําทานอย่างนี้ย่อมมีอานิสงส์อย่างไพศาล ดังที่จะพึงเห็นจึงรู้ได้จากความต่างกันของเทวดาทั้ง ๖ ชั้น และประชาชนคนทั้งหลายในโลกนี้ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบัน ว่ามีการเป็นไปต่างกันอย่างไร กล่าวคือต่างกันโดยชาติ โดยสกุลบ้าง โดยฐานะ ทรัพย์สมบัติ บริวารบ้าง ที่เป็นไปดังนี้ก็ล้วนแล้วแต่เนื่องมาจากทาน ศีล ภาวนา ที่ถึงพร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ กาล หรือไม่พร้อมทั้ง ๓ กาลขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่มีเสียเลยนั้นเองเป็นเหตุ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแนะนํา ไว้ในพระบาลีฉฟังคุตตระว่า
ปุพเพว สุมโน ทานา ททํ จิตฺตํ ปสาทเย
ทตฺวา อตฺตมโน โหติ เอสา ปุญฺญสฺส สมฺปทา ฯ
“จงมีความยินดีก่อนที่จะทำ จงยังความเลื่อมใสในขณะที่กําลังทํา เมื่อทําเสร็จแล้วจงยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งใจที่มีอาการทั้ง ๓ ดังนี้เป็นการทําบุญที่สมบูรณ์อย่างสูงสุด คือ ทําให้เสร็จความปรารถนาของตนได้”
และพระมหาพุทธโฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในสัตตนิบาต แห่งอังคุตตรอรรถกถาว่า “ทานญฺหินาม ติสุโส เจตนา ปริปุณฺณํ กาตุํ สกุโกนฺตสฺเสว มหปุผลํ โหติ” “การให้ที ได้ชื่อว่าทานนั้น ต้องเป็นทานที่ถึงพร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ กาลที่ผู้กระทําสามารถทําให้ เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น ทานนั้น จึงจะมีผลอย่างมหาศาล”
วัตถุทานมี ๔ อย่าง คือ
๑. จีวรทาน การถวายจีวรแก่ภิกษุสามเณร หรือการให้เสื้อผ้าเครื่อง นุ่งห่มแก่ผู้ที่ยากจน
๒. บิณฑบาตทาน การถวายอาหารบิณฑบาตหรือการให้ของกินแก่ผู้ที่ยากจน
๓. เสนาสนทาน การถวายที่อยู่อาศัย เช่น สร้างกุฏิ สร้างวิหาร สร้าง อุโบสถ เป็นต้น หรือการให้ที่พักพิงแก่ผู้ที่ยากจน
๔. เภสัชชทาน การถวายยารักษาโรคหรือให้ยาแก่ผู้ที่เจ็บป่วย
การบริจาคทานนั้นมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ดังจะแสดงพอให้เห็นเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
ทานหมวด ๒ (ทุกทาน)
๑. อามิสทาน การให้วัตถุปัจจัยสิ่งของต่างๆ
๒. ธรรมทาน การให้ธรรมเป็นทาน ได้แก่การแสดงธรรมเทศนาการสอนและการสร้างหนังสือธรรมะต่างๆ แจกเป็นธรรมทาน
ในทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นทานที่ประณีตกว่าอามิสทาน ดังมีพระบาลี กล่าวไว้ว่า “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” ซึ่งแปลว่า “ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งหมด" อามิสทาน ให้ผลคือมีทรัพย์สมบัติวัตถุสิ่งของบริบูรณ์ ธรรมทาน ให้ผลคือเกิดปัญญา
อีกนัยหนึ่ง
๑. สาหัตถิกทาน การทำทานด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกทาน ใช้ให้ผู้อื่นทําแทน
สาหัตถิกทาน ประณีตกว่าอาณัตติกทาน เพราะส่งผลให้เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสมบัติพร้อมด้วยบริวาร
อาณัตติกทาน เมื่อส่งผลถึงแม้ว่าจะให้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ก็จริง แต่สําหรับบริวาร นั่นไม่ค่อยจะมี
๑. สัมปชานทาน การทําบุญที่ประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจในผลของการกระทํานั้น
๒. อสัมปทานทาน การทําบุญโดยไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมและผลของกรรม
สัมปชานทาน เมื่อเวลาส่งผลย่อมส่งผลให้ได้เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติพร้อมด้วยปัญญา
อสัมปชานทาน ส่งผลให้เป็นผู้มีทรัพย์ แต่ขาดสติปัญญา
อีกนัยหนึ่ง ๑. วัฏฏนิสสิตทาน การทําบุญด้วยการปรารถนาโภคสมบัติ คือปรารถนา ให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี และปรารถนาภวสมบัติ คือต้องการให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม
๒. วิวัฏฏนิสสิตทาน การทําบุญที่ไม่มีความปรารถนาในโภคสมบัติ และ ภาวสมบัติ ปรารถนาแต่สัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจก โพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณ มหาสาวกโพธิญาณ และปกติสาวกโพธิญาณ อย่างใดอย่างหนึเท่านั้น
วัฏฏนิสสิตทาน ไม่เรียกว่าทานบารมี เป็นทานกุศลสามัญ เมื่อเวลาส่งผลก็ส่งผลให้มีความสุขเพียงแค่มนุษย์ เทวดาเท่านั้น มิอาจจะช่วยให้ถึงมรรค ผลโดยเร็วได้
ส่วนวิวัฏฏนิสสิตทาน เรียกว่าทานบารมี เมื่อเวลาส่งผลให้ได้เสวยความสุขในมนุษย์ และเทวดา และสามารถให้ถึงมรรค ผล นิพพานได้โดยเร็ว
ทานหมวด ๓ (ติกทาน)
ในทานหมวด ๓ นี้ หีนทาน มัชฌิมทาน ปณีตทาน มีอยู่ ๓ นับด้วยกันคือ
นัยที่หนึ่ง หีนทาน การทําบุญชั้นต่ำ ได้แก่การทําบุญที่มีความปรารถนาลาภยศ การยกย่องสรรเสริญ มัชฌิมทาน การทําบุญชั้นกลาง ได้แก่การทําบุญที่มีความปรารถนา มนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ ปณีตทาน การทําบุญชั้นสูง ได้แก่การทําบุญตามแนวทางของพระอริยเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย คือความปรารถนาพระนิพานนั้นเอง
นัยที่สอง หีนทาน การทําบุญชั้นต่ำ ได้แก่ การทําบุญที่มีความปรารถนามนุษย์ สมบัติ เทวสมบัติ มิชฌิมทาน การทําบุญชั้นกลาง ได้แก่ การทําบุญที่มีความปรารถนา สาวกโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ ปณีตทาน การทําบุญชั้นสูง ได้แก่การทําบุญที่มีความ ปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ
นัยที่สาม หีนทาน การทําบุญชั้นต่ำ ได้แก่ การทําบุญที่ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา ย่อหย่อน กล่าวคือมีการพอใจ พยายามสนใจ รอบรู้ในการทําบุญนั้นเพียง เล็กน้อย มัชฌิมทาน การทําบุญชั้นกลาง ได้แก่ การทําบุญที่ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา พอประมาณ กล่าวคือมีการพอใจ พยายาม สนใจ รอบรู้ในการทําบุญดีอย่าง ธรรมดาสามัญทั่วไป ปณีตทาน การทําบุญชั้นสูง ได้แก่การทําบุญที่ประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา อย่างยิ่ง กล่าวคือมีการพอใจ พยายามสนใจ รอบรู้ในการทําบุญนั้น เป็นอย่างดี ถูกต้องตามแนวทางของสัปบุรุษทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ทานมี ๓ คือ
๑. ทาสทาน การทําบุญด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ที่เลวกว่าวัตถุปัจจัยที่ตนใช้ ตนบริโภค
๒. สหายทาน การทําบุญด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ที่เสมอกันกับวัตถุปัจจัยที่ตนใช้ ตนบริโภค
๓. สามิทาน การทําบุญด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ดีกว่าวัตถุปัจจัยที่ตนใช้ ตนบริโภค
อีกนัยหนึ่ง ทานมี ๓ คือ
๑. โลกาธิปไตยทาน การทําบุญที่ปรารภคนส่วนมากเป็นใหญ่ คือตนเอง ไม่มีความพอใจจะทําแต่กลัวผู้อื่นจะดูถูกและติเตียนจึงได้ทำ
๒. อัตตาธิปไตยทาน การทําบุญที่ปรารภตนเองเป็นใหญ่ คือคิดว่าเราเป็นคนมั่งมี ถ้าไม่บริจาคทรัพย์ช่วยเหลือในกิจการนั้นๆ บ้างแล้ว ก็จะเป็นการน่าเกลียดไม่สมควร ฉะนั้น จึงทํา
๓. ธัมมาธิปไตยทาน การทําบุญที่ปรารภธรรมเป็นใหญ่ คือพิจารณาว่า การบริจาคทานนี้ เป็นธรรมที่สัปบุรุษทั้งหลาย นิยมกระทํากัน แม้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เมื่อยังบําเพ็ญบารมีอยู่นั้นก็ได้บําเพ็ญทานบารมีเป็นบาท เบื้องต้นก่อน ตลอดจนกระทั่งสาวกต่างๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็ นิยมในการสร้างทานนี้ เช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาเห็นเป็นประโยชน์ดังนี้ แล้วก็ทําไปตามโอกาสตามกาลเวลา
หมายเหตุ ที่กล่าวแล้วว่าการบริจาคทานมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน แต่ในที่นี้มิได้ แสดงให้ครบหมดทุกหมวด เพียงแต่นํามาแสดงพอเป็นสังเขปนั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าได้แสดง ไว้ในคู่มือการสร้างทานกุศล เหตุนั้น จึงมีจําเป็นที่จะต้องนํามาแสดงในที่นี้อีก
สัปปุริสทาน ๕ อย่าง พร้อมทั้งอานิสงส์
ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว สปปุริสทานาน, กตมานิ ปญฺจ ?
สทฺธาย ทานํ เทติ, สกุกจฺจํ ทานํ เทติ, กาเลน ทานํ เทติ, อนุคฺคหิตจิตโต ทานํ เทติ, อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ ทานํ เทติ.
๑. สุทธาย โข ปน ภิกฺขเว ทานํ ทตฺวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อฑโฒ จ โหติ มหทธโน มหาโภโค, อภิรูโป จ โหติ ทสฺสนีโย ปาสาทิโก ปรมาย วณณโปก วาย สนนาโต
๒. สกุกจจ์ โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อฑฺโฒ จ โหติ มหทธโน มหาโภโค เยปิสฺส เต โหนติ ปุตตาติ วา ทาราติ วา ทาสาติ วา เปสาติ วา กมุมกราติ วา, เตปิ สุสุสสนฺติ โสต โอทหนุติ ปัญญา จิตต์ ปฏิจเปน
๓. กาเลน โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อตฺโฒ จ โหติ มหนฺธโน มหาโภโค, กาลาคตา จสฺส อตฺถา ปรา (ปริปูรา) โทน
๔. อนุคคหิตจิตโต โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสุส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อตฺโต จ. โหติ มหทธโน มหาโภโค, อุฬาเรส จ ปัญจสุ กามคุณสุ โภคาย จิตต นมติ.
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหาจ โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อตฺโฒ จ โหติ มหทธโน มหาโภโค, น จสุส กุโตจิ โภคาน์ อุปฆาโต อาคจนติ อคคิโต วา อุทกโต วา ราชโต วา โจรโต วา อ.ปิยโต วา ทายาทโต. อิมานิ โข ภิกฺขเว ปญฺจ สปปุริสทานานิติ
แปลว่าความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทานมีอยู่ ๕ ประการนั้น ได้แก่อะไรบ้าง? การบริจาคทานโดยความเลื่อมใส เชื่อในการกระทํา และผลของการกระทําที่เป็นสัทธาทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานโดยความเคารพ ทั้งกระทําให้ตัวเองและไทยธรรมนั้นสะอาดหมดจดที่เป็นสักกัจจทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานให้เหมาะสมแก่กาลนั้นๆ ที่เป็นกาลทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานโดยการสละอย่างแท้จริง ไม่มีการยึดเหนี่ยว ห่วงใยในวัตถุทานนั้นๆ ที่เป็นอนุคคหิตทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานโดยไม่มีการกระทบกระเทือนตนเอง และผู้อื่นที่เป็นอนุปหัวจทานอย่างหนึ่ง
๑. สัทธาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานโดย ความเลื่อมใส เชื่อในการกระทําและผลของการกระทํานั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์อย่างมหาศาล มีรูปร่าง สัณฐาน งดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ผิวพรรณวรรณะของร่างกาย ก็เปล่งปลั่ง
๒. สักกัจจทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานโดย ความเคารพทั้งกระทําให้ตนเองและไทยธรรมสะอาดหมดจดนั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์อย่างมหาศาลบุตรภรรยา และสามี ข้าทาส คนใช้ กรรมกรของผู้นั้น ย่อมเชื่อถ้อยฟังคํา เอาอกเอาใจ มิให้ขัดใจในการงานทุกประการ
๓. กาลทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานให้เหมาะสมแก่กาลนั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดขึ้นในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์ มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปฐมวัยอันเป็นวัยหนุ่มสาวมีผลประโยชน์ที่พึงได้อย่างล้นเหลือ
๔. อนุคคหิตทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้บริจาคทานโดย การสละอย่างแท้จริง ไม่มีการยึดเหนี่ยวห่วงใยในวัตถุทานนั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดขึ้นในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์อย่างมหาศาล มีจิตน้อมอยู่ในการที่จะเสวยกามคุณ อารมณ์ที่ตนมีอยู่อย่างผาสุก สบาย มิใช่เพียงแต่เป็นคนเฝ้าทรัพย์
๕. อนุปหัจจทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานโดย ไม่มีการกระทบกระเทือนตนเองและผู้อื่นนั้น ผลของทานชนิด นี้ย่อมเกิดขึ้นในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มากพรั่งพร้อมไปด้วยกามอารมณ์อย่างมหาศาล ทรัพย์สินเงินทอง ที่ตนมีอยู่ก็ปลอดพ้นจากภัยทั้ง ๕ มีอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัย ลูกหลานญาติพี่น้องซึ่งเป็นทายาทที่ไม่ดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาคทาน ๕ อย่างเหล่านี้ได้ ชื่อว่า สัปปุริสทาน (การบริจาคทานของสัปบุรุษทั้งหลาย)
หมายเหตุ สัปปุริสศีลและสัปปุริสภาวนาก็มีเป็น ๕ ประเภทเช่นเดียวกันนี้ต่างกัน ก็เพียงแต่อานิสงส์ คือศีลมีอานิสงส์ให้รับความสุขกายสุขใจ ภาวนามีอานิสงส์ ทําให้จิต ใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีปัญญาดี
ทาน ๔
เมือสรุปแล้วทานมี ๔ อย่าง คือ
๑. เจตนาทาน ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศล ซึ่งเป็นเหตุแห่งการให้ทาน
๒. วัตถุทาน ได้แก่ ปัจจัย ๔ ที่เป็นเทยยธรรม
๓. อโลภทาน ได้แก่ อโลภเจตสิกที่ประกอบกับเจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นเหตุแห่งการให้ทาน
๔. วิรติทาน ได้แก่ วีรติเจตสิก ๓ ที่มีการงดเว้นจากอกุศลทุจริต อันเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายไม่ต้องหวั่นใจในการที่จะมีภัยบังเกิดขึ้น เป็นอภัยทานทั้งที่เป็นภายในและภายนอก
หลักฐานบาลีแสดงการสรุปทานทั้ง ๔ ไว้
๑. เจตสิโก ธมฺโม ทานนุติ ? อามนฺตา (มาในพระบาลีทานกถา สัตตมวรรค คัมภีร์กถาวัตถุ) เจตนาเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลชื่อว่าทานใช่ไหม? แก้ว่า ใช่
๒. เทยยธมฺโม ทานนฺติ ? อามนฺตา (มาในพระบาลีทานกถา สัตตมวรรค คัมภีร์ กถาวัตถุ) วัตถุสิ่งของชื่อว่าทานใชไหม? แก้ว่า ใช่
๓. ติ สมปยุตฺโต อโลโภปิ ทาน นาม ฯ (มาในสุตตสังคหอรรถกถาและมูลฎีกา) อโลภเจตสิกที่ประกอบกับเจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นเหตุแห่งการให้ก็ชื่อว่าทาน
๔. อภยํ เทตีติ อาคตฏฺฐาเน วิรติ ทานํ ฯ (มาในพระบาลีกถาวัตถุ) การที่กล่าว ค่าให้อภัยกันนั้น การให้อภัยนี้ชื่อว่าวิรติทาน
๕. ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต ภิกฺขเว อริยสาวโก อปริมาณานํ สตฺตานํ อภยํ เทติ ฯลฯ อิทํ ภิกฺขเว ปฐมํ ทาน มหาทาน ฯ (มาในอภิสันทสูตร ทานวรรคอัฏฐกนิปาต แห่งพระบาลีอังคุตตระ) พระอริยสาวกได้เว้นแล้วจากปาณาติบาตนั้น ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ การให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายนี้ได้ชื่อว่ามหาทานข้อแรก
ประเภทแห่งศีล
ศีลมี ๔ ประเภท คือ ๑. ภิกขุศีล ๒. ภิกขุนี ๓. สามเณรศีล ๔. คฤหัสถศีล
ในศีล ๔ อย่างนั้น สิกขาบท ๒๒๗ บท ที่แสดงไว้ในภิกขุปาติโมกข์ชื่อว่าภิกขุศีล สิกขาบท ๓๑๑ บท ที่แสดงไว้ในภิกขุนีปาติโมกข์ชื่อว่าภิกขุนศีล สิกขาบท ๑๐ ข้อ มี ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น จนถึงชาตรูปรชตปฏิคคหนา เวรมณี เป็นที่สุดก็ดี เสขิยสิกขาบท ๗๕ ข้อก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าสามเณรศีล สิกขาบท ๕ ข้อ คือปัญจศีลนี้ชื่อว่า คฤหัสถศีล
ในศีล ๔ อย่างนั้น ภิกขุศีลและภิกขุนี้ศีล ไม่ต้องมีการสมาทานโดยเฉพาะ เมื่อหลังจากสวดกรรมวาจาถูกต้องตามหลักภายในสถานที่ที่มีกําหนดขอบเขต ที่เรียกว่าสีมาแล้ว ศีลเหล่านี้ก็สําเร็จไปด้วย
สําหรับสามเณรศีลนั้นก็เช่นเดียวกัน ไม่ต้องมีการสมาทานโดยเฉพาะ เมื่อหลังจากสรณคมน์ทั้ง ๓ ถูกต้องตามหลักที่ผู้ให้และผู้รับ ศีลเหล่านี้ก็สําเร็จไปด้วย
คําว่า คฤหัสถ์ แปลว่าผู้ครองเรือน ดังวจนัตถะว่า คเห ติฏฺฐิตีติ คหฏฺโฐ ผู้ใดอยู่ ในบ้าน ฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า คหัฏฐะ
สําหรับคฤหัสถศีลนั้น ต้องมีการสมาทานโดยเฉพาะ เพียงแต่สมาทานไตรสรณคมน์ แล้วยังไม่เรียกว่าผู้มีคฤหัสถศีล เรียกได้แต่ผู้มีไตรสรณคมน์เท่านั้น
รูปาวจรกุศลกรรม ๕
อธิบายบาลีข้อที่ ๑๘ ที่ว่า “รูปาวจรกุสลํ ปน มโนกมุมเมว ฯลฯ ฌานงฺคเภเทน"
อธิบายว่า การเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลกรรมนี้ต่างกับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศล กรรม คือกามาวจรกุศลกรรมนี้เกิดขึ้นทางกายก็ได้ ทางวาจาก็ได้ ทางใจก็ได้ ฉะนั้น เมื่อ กล่าวโดยกรรมแล้วมี ๓ อย่าง คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ส่วนรูปาวจรกุศลกรรม นั้นเกิดทางกายหรือทางวาจาไม่ได้ ย่อมเกิดเฉพาะในทางใจเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยกรรมก็ย่อมได้มโนกรรมอย่างเดียว เพราะรูปาวจรกุศลกรรมที่ไม่เกี่ยวกับอภิญญานั้น ไม่มีหน้าที่ในการทําให้วิญญัติรูปทั้ง ๒ เกิด คือการเคลื่อนไหวกายและวาจาอันเกิดจากรูปาวจรกุศลที่ไม่เกี่ยวกับอภิญญานั้นไม่มี ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “มโนกมุมเมว” คือเป็นมโนกรรมอย่างเดียว
อีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลนั้นย่อมเกิดได้หลายทาง กล่าวคือ เกิดขึ้นได้จากการบริจาคทานก็มี ที่เรียกว่าทานมัย เกิดขึ้นได้จากการรักษาศีลก็มี เรียกว่าศีลมัย เกิดขึ้นได้จากการเจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานก็มี เรียกว่า ภาวนามัย ส่วนการเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลนั้นย่อมเกิดได้ทางเดียว คือการเจริญ สมถกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรมฐาน ๓๐ เรียกว่าภาวนามัย ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “ตญฺจ ภาวนามยํ” คือรูปาวจรกุศลกรรมนี้ย่อมสําเร็จด้วยภาวนามัย
อีกประการหนึ่ง กามาวจรกุศลกรรมนี้แม้จะมีชนิดมโนกรรมภาวนามัย คือเกิดขึ้น สําเร็จโดยอาศัยการเจริญทางใจก็ตาม แต่ไม่สามารถเข้าถึงความสําเร็จเป็นอัปปนาสมาธิ คือฌานสมาบัติได้ ย่อมเข้าถึงได้เพียงแต่บริกรรมสมาธิ และอุปจารสมาธิที่เป็นบันไดขั้น ต้นของอัปปนาสมาธิเท่านั้น ส่วนรูปาวจรกุศลกรรมนั้นย่อมเข้าถึงความสําเร็จเป็นอัปปนา สมาธิได้หมายความว่าการเจริญสมถกรรมฐานของพระโยคีนั้น ถ้ายังไม่ได้ฌาน รูปาวจรกุศลก็ยังไม่เกิดขึ้น ถ้ารูปาวจรกุศลเกิดก็หมายถึงว่าพระโยคีผู้นั้นถึงฌานแล้ว ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “อปฺปนาปตฺตํ"
อีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลที่มีจํานวนได้ ๘ ดวงนั้น ก็โดยที่จําแนก เกี่ยวเนื่องด้วยเวทนาบ้าง เกี่ยวเนื่องด้วยญาณบ้าง เกี่ยวเนื่องด้วยสังขารบ้าง (ดังที่ได้ แสดงชัดเจนในหลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะตรี) ส่วนการเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลนั้น จําแนก โดยองค์ฌานเป็นหลัก ซึ่งแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท โดยนับตามองค์ฌานที่ประกอบคือ
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๕ เข้าประกอบประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๔ เข้าประกอบประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๓ เข้าประกอบประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๒ เข้าประกอบ คือสุข เอกัคคตา ประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๒ เข้าประกอบ คืออุเบกขา เอกัคคตา ประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รวมเป็นจํานวนรูปปวจรกุศลมี ๕ ดวง นับตามประเภทแห่งองค์ฌานที่เข้าประกอบ ดังกล่าวนี้ ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “ฌานยุคเเทน ปัญจวิธ โหติ” คือว่า โดยประเภทแห่งองค์ฌานแล้ว มี ๕ อย่าง
อรูปาวจรกุศลกรรม ๔
อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๙ ที่ว่า “ตถา อรูปาวจรกุศลญจ มโนกมุมํ ฯลฯ อารมฺมณเภเทน จตุพฺพิธํ โหติ” อธิบายว่าการเกิดขึ้นของอรูปาวจรกุศลกรรมนี้ ว่าโดย ทวารก็เกิดขึ้นทางใจ ว่าโดยการงานที่ให้เกิดก็ย่อมสําเร็จด้วยภาวนามัยอย่างเดียวว่าโดย สมาธิก็ต้องเข้าถึงอัปปนาสมาธิ เหมือนกับการเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลกรรม ดังนั้นพระ อนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “ตถา อรูปาวจรกุศลญฺจ มโนกมุมํ ตมฺปิ ภาวนามยํ อปฺปนาปตฺตํ "
ส่วนการจําแนกอรูปาวจรกุศลกรรมที่แบ่งเป็น ๔ นั้น ต่างกันกับการจําแนก รูปาวจรกุศลกรรม คือรูปาวจรกุศลกรรมนั้น อาศัยองค์ฌานเป็นเครื่องจําแนก ส่วน อรูปาวจรกุศลกรรมทั้ง ๔ เหล่านี้ จําแนกประเภทโดยองค์ฌานไม่ได้ เพราะมีองค์ ฌาน ๒ คืออุเบกขา เอกัคคตา เหมือนกันหมด ส่วนที่แบ่งออกเป็น ๔ ดวงนั้น ก็เป็นไป เกี่ยวเนื่องด้วยอารมณ์กรรมฐานของจิตเหล่านี้ กล่าวคือกุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยมีกสินคฆาฏิ มากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าอากาสานัญจายตนกุศลจิต กุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยมี อากาสานัญจายตนกุศลจิตเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าวิญญานัญจายตนกุศลจิต กุศลจิตที่เกิด ขึ้นโดยมีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าอากิญจัญญายตนกุศลจิต กุศลจิตที่เกิดขึ้น โดยมีอากิญจัญญายตนกุศลจิตเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิตดังนี้ ด้วยเหตุนี้พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “อารมฺมณเเทน จตุพฺพิธํ โหติ"
สรุปความว่า คําว่า “ภาวนามยํ อปฺปนาปตฺตํ” นั้น เป็นการแสดงที่มุ่งหมายให้รู้ ว่ามหัคคตกุศลกรรมทั้ง ๙ เหล่านี้ เกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยการเจริญสมถกรรมฐานมีการ เพ่งอารมณ์กสิณ เป็นต้น ฉะนั้นจึงมีแต่ภาวนามัยอย่างเดียว ไม่มีทานมัยและศีลมัย
ถ้ามีข้อปัญหากล่าวค้านว่า ในปฏิสัมภิทามรรคพระบาลีแสดงว่ามหัคคตกุศลกรรม เหล่านี้ก็จัดเป็นศีลกุศลได้ ดังมีบาลีปรากฏว่า “ปฐมชฺฌาเนน นิวรณานํ, ทุติเยน วิตกฺกวิจารานํ, ตติเยน ปีติยา, จตุตฺเถน สุขทุกขานํ ปหานํ สีสํ เวรมณี สีลํ เจตนา สีลํ สํวโร สีสํ อวีติกฺกโม สีลํ” การประหาณนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน การประหาณ วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การประหาณปิติด้วยตติยฌาน การประหาณสุขทุกข์ด้วย จตุตถฌาน การประหาณเหล่านี้จัดเป็นประหาณศีล เวรมณีศีล เจตนาศีล สังวรศีล อวีติกกมศิล
แก้ว่า ในพระบาลีแสดงไว้จริง แต่เป็นการแสดงโดยนัยปริยาย ไม่ใช่แสดงโดยมุขย นัย เพราะมหัคคตกุศลกรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นได้นั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอาศัยการรักษาศีล ย่อม เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญสมถภาวนาอย่างเดียว ดังกล่าวแล้วข้อนี้เปรียบเหมือนคําที่กล่าว ว่า “พระพุทธองค์ได้ทรงกระทําให้พระเทวทัตผู้ซึ่งคิดทรยศต่อพระองค์นั้นได้ไปสู่นิรยภูมิ” ซึ่งความจริงแล้วพระพุทธองค์ไม่ได้เป็นผู้ทําให้พระเทวทัตไปสู่นิรยภูมิ การกระทําของพระเทวทัตเองนั้นแหละเป็นผู้นําให้ไปสู่นิรยภูมิ สําหรับพระพุทธองค์เป็นแต่เพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการทําให้พระเทวทัตสร้างอกุศลกรรมสําเร็จลงเท่านั้น
อนึ่ง ตั้งแต่บาลีข้อที่ ๕ เป็นต้น จนถึงข้อที่ ๑๙ ที่กล่าวว่า “ตตฺถ อกุสลํ กายกมุมํ วจีกมุมํ มโนกมุมญฺเจติ กมฺมทวารวเสน ติวิธํ โหติ” ฯลฯ จนถึง “ตตฺถ อรูปาวจรกุสลญจ มโนกมุมํ ตมฺปิ ภาวนามยํ อปฺปนาปตฺตํ อารมฺมณเภเทน จตุพุพิธํ โหติ” นั้น พระอนุรุทธาจารย์แสดงให้รู้เพียงแค่ประเภทแห่งกรรมทั้ง ๔ มีอกุศลกรรมเป็นต้น เท่านั้น ยังไม่ได้แสดงถึงปากัฏฐาน คือภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของกรรมทั้ง ๔ เหล่านั้น
ตั้งแต่บาลีข้อที่ ๒๐ มี เอตฺถากุสลกมุมมุทฺธาจฺจรหิตํ เป็นต้น จนถึงข้อที่ ๒๖ มี เตสํ ทฺวาทส ปากานิ เป็นต้นเหล่านี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงถึงปากัฏฐาน คือภูมิอัน เป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของกรรมทั้ง ๔ เหล่านั้นไปตามลําดับ ดังที่จะได้แสดงขยายความ โดยพิสดารต่อไปนี้
อธิบายความในบาลีข้อที่ ๒๐ ที่ว่า “เอตฺถากุสลกมุมมุทธาจฺจรหิตํ” เป็นต้นจน ถึง “ยการหํ วิปจฺจติ” บาลีข้อนี้แสดงถึงภูมิซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของอกุศลกรรม คืออกุศลกรรม ๑๑ (เว้นอุทธัจจสหคตเจตนา) ย่อมส่งผลปฏิสนธิในอบายภูมิทั้ง ๔ หมาย ความว่าผู้ที่ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เหล่านี้ ก็เพราะอาศัยอกุศลกรรม ๑๑ อย่างใดอย่าง หนึ่งเป็นเหตุ ส่วนอุทธัจจสหคตเจตนานั้น ไม่มีหน้าที่ส่งผลปฏิสนธิ หมายความว่าผู้ที่ไป เกิดในอบายภูมิ ๔ โดยอาศัยอุทธัจจสหคตเจตนาเป็นเหตุนั้นย่อมไม่มี สําหรับในปวัตติกาล คือเวลาที่ต่อจากปฏิสนธิมาจนถึงตายนั้น อกุศลกรรมทั้ง ๑๒ ย่อมส่งผลได้ กล่าวคือทําให้อกุศลวิบาก ๗ มีการเห็นไม่ดี การได้ยินไม่ดี เป็นต้น เกิดขึ้นในกามภูมิ ๑๑ และรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตาภูมิ)
เมื่อสรุปความตามบาลีข้อนี้แล้วก็ได้ความว่า ปากัฏฐานของอกุศลกรรมเหล่านี้ ว่า โดยปฏิสนธิกาล ย่อมได้อบายภูมิ ๔ ว่าโดยปวัตติกาลย่อมได้กามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตาภูมิ)
อธิบายบาลีข้อที่ ๒๒ - ๒๓ - ๒๔ ที่ว่า “ตตฺถาปิ ติเหตุกมุกฺกฏ กุสล ฯลฯ ปวตฺเต จ อเหตุกวิปากาเนว วิปจฺจติ” ในบาลีทั้ง ๓ ข้อนี้แสดงถึงการจําแนกมหากุศลกรรมที่มีประเภทต่างๆ กัน มีติเหตุกอุกกัฏฐะเป็นต้น และแสดงถึงผลของกุศลกรรมเหล่านี้โดยเฉพาะๆ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล
มหากุศลกรรมที่กล่าวมาแล้วนี้ เมื่อจําแนกโดยเหตุแล้วมี ๒ อย่างคือ ติเหตุกกุศลอย่างหนึ่งและทวิเหตุกกุศลอย่างหนึ่ง
ติเหตุกกุศลนั้นคือ เมื่อขณะที่ทําการกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็ตาม กุศลจิตของผู้กระทํานั้นประกอบด้วยกัมมัสสกดาญาณ หรือวิปัสสนาญาณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว กุศลชนิดนี้ก็ได้ชื่อว่าติเหตุกกุศลคือกุศลที่เกิด พร้อมด้วยอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔
ความเป็นไปของมหากุศลกรรมที่ประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณนั้น คือบุคคลผู้มีปัญญารู้ในเรื่องกรรมและผลของกรรมว่าการทําดีย่อมได้รับผลดี ทําชั่วได้รับผลชั่วและ บรรดาสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้มีกรรมเป็นใหญ่ มีกรรมเป็นผู้จัดแจง และเมื่อได้กระทําลงไปแล้ว ย่อมต้องได้รับผลของการกระทํานั้นๆ อย่างแน่นอนช้าหรือเร็วเท่านั้น เสมือนหนึ่ง เราเอาก้อนหินทุ่มลงไปในสระน้ำ จะปรากฏว่าน้ำนั้นแตกกระเพื่อมเป็นละลอกคลื่นแผ่ออก ไปเป็นวงกว้าง เมื่อไปสุดขอบสระแล้วละลอกนั้นจะย้อนกลับเข้ามาตรงที่เราเอาก้อนหิน ทุ่มลงไป ถ้าก้อนหินนั้นเป็นก้อนเล็กๆ ละลอกคลื่นก็จะแผ่ไปและย้อนกลับมาโดยช้าๆ และถ้าก้อนหินนั้นเป็นก้อนใหญ่กําลังของก้อนหินนั้นมีมากละลอกคลื่นก็จะแผ่ไปและย้อนกลับมาโดยเร็ว ข้อนี้เปรียบเทียบให้เห็นว่าการกระทําดีหรือชั่วของสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อทำลงไปแล้วย่อมไม่สูญหายไปไหน ต้องได้รับผลแน่นอนเหมือนกับละลอกคลื่นที่แผ่กระจาย ออกไปแล้วย้อนกลับมาที่เก่าฉันนั้น สําหรับการได้รับผลช้าหรือเร็วนั้นก็แล้วแต่เจตนา ความพยายามของผู้กระทํา และคุณสมบัติหรือฐานะของผู้รับการกระทํา หรือข้อสิกขาบท ข้อปฏิบัติอันเป็นที่ตั้งแห่งการกระทํา ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวมานี้แหละ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีกัมมัสสกตาญาณ ฉะนั้น การกระทํากุศลต่างๆ ของบุคคลพวกนี้จึงจัดเป็น ติเหตุกกุศล
ความเป็นไปของมหากุศลกรรมที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณนั้น คือบุคคลผู้มีปัญญารู้ว่าบรรดาสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ที่มีชีวิตก็ตาม ไม่มีชีวิตก็ตาม คงมีแต่รูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้น และรูปนามนี้ก็เป็นของไม่เที่ยง เกิดแล้วย่อมดับไปอยู่เสมอล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น ฉะนั้นในการบําเพ็ญกุศลต่างๆ นั้น บุคคลผู้ถวายก็ดี ปฏิคาหกผู้รับก็ดี ย่อมมีแต่รูปกับนาม และมีสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วัตถุสิ่งของที่เป็นของถวายนั้นก็มีแต่รูป และมีสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กุศลจิตที่เกิดขึ้น แก่เรานั้นก็เป็นนามธรรม และมีสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกัน แต่มีข้อที่แตกต่างกันก็คือ แม้ว่ากุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นจะมีการดับอยู่ทุกๆ ขณะก็ตาม แต่อํานาจของกุศลต่างๆ เหล่านั้นก็หาได้หมดสิ้นไปด้วยไม่ ย่อมติดอยู่ในขันธสันดานของผู้กระทํา แต่เมื่อมีโอกาสเวลาใดก็ส่งผลให้ปรากฏขึ้นในภพนี้และภพหน้า และในขณะที่กุศล จิตเกิดอยู่นั้นก็ทําให้ผู้นั้นมีจิตผ่องใส สบายใจ ไม่เกิดความเดือดร้อน เหมือนกับผู้ที่ยอมเสียเงินเพื่อซื้อน้ำมาอาบ ในขณะที่อาบน้ำนั้นทุกๆ วันที่อาบตัวแล้วก็ไหลลงพื้นดินซึมหาย ไปไม่มีเหลืออยู่ แต่ผู้อาบก็ยอมซื้อน้ำมาอาบทุกวันทั้งนี้ก็เพราะรู้อยู่ว่าแม้น้ำที่อาบนั้นจะ ไม่ติดอยู่ที่ตัวก็จริง แต่น้ำนั้นก็สามารถทําให้ร่างกายได้รับความเย็นชุ่มชื่น และทั้งชําระล้างสิ่งโสโครกที่ติดอยู่ในร่างกายให้หมดไป ข้อนี้ฉันใด อํานาจของกุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้ว ดับไปอยู่ทุกๆ ขณะก็ฉันนั้น ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวมานี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวิปัสสนาญาณ และการกระทํากุศลต่างๆ ของบุคคลพวกนี้จัดเป็นติเหตุกกุศล
การสร้างกุศลต่างๆ ที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณนั้น จัดเป็นกุศลที่สูงสุด ดังนั้นพุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย จึงควรพยายามที่จะให้การบําเพ็ญกุศล ของตนนั้นให้เป็นกุศลที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ หรือกัมมัสสกตาญาณอยู่เสมอ เพื่อ จะได้รับผลเป็นมหัปผลมหานิสังสะ ทั้งในภพนี้และภพต่อๆ ไป
ทวิเหตุกกุศลนั้นคือ เมื่อขณะที่กระทํากุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็ตาม กุศลจิตของผู้กระทํานั้นไม่ได้ประกอบด้วยกัมมัสสกดาญาณ หรือวิปัสสนาญาณแต่อย่างใด กุศลชนิดนี้ ได้ชื่อว่า ทวิเหตุกกุศล คือกุศลที่ เกิดพร้อมด้วยอโลภเหตุ อโทสเหตุเท่านั้น ขาดอโมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ มหากุศลญาณ วิปปยุตตจิต ๔
ความเป็นไปของมหากุศลชนิดนี้คือ การงานที่เป็นกุศลนั้นมิได้มีเฉพาะแต่ในพุทธศาสนิกชนเท่านั้น แม้ชนในศาสนาอื่นๆ หรืออนารยชนบางพวก หรือสัตว์ดิรัจฉานบาง พวกก็มีกุศลเกิดขึ้นได้ เพราะการงานที่เป็นกุศลนั้นก็ได้แก่ การทําดี พูดดี คิดดีนั้นเอง แต่ในการกระทํากุศลของบุคคลดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการพิจารณาที่เกี่ยวกับกัมมัสสกตาญาณหรือวิปัสสนาญาณแต่อย่างใด เพียงแต่ทําเพื่อประโยชน์เฉพาะหน้าหรือทําตามหน้าที่ ตามประเพณีหรือมีผู้บังคับให้ทําเท่านั้น คล้ายกับเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเหตุผลของการทําบุญ เมื่อผู้ใหญ่ใช้ให้ใส่บาตรก็ดี ให้ไหว้พระสวดมนต์ก็ดี ให้ถวายวัตถุปัจจัยแก่พระสงฆ์ก็ดี ก็ทํา ไปตามที่ผู้ใหญ่สั่งให้ทําเท่านั้น
อนึ่ง การกระทําที่เป็นกุศลของผู้ถือพระพุทธศาสนา และผู้ที่กระทํานั้นก็ไม่ใช่เด็กแต่กุศลจิตที่เกิดขึ้นกับผู้นั้นเป็นทวิเหตุกกุศล คือกุศลอย่างสามัญก็มีจํานวนไม่น้อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะบุคคลจําพวกนี้ขาดความรู้ในด้านพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอภิธรรมและทั้งตัวเองก็ไม่สนใจจะพยายามให้รู้ในเรื่องราวของพระอภิธรรมนี้ แม้ในขณะบริจาคทานก็ดี ขณะบวชพระ บวชชีก็ดี ขณะเจริญสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี อาการเป็นไปของบุคคลพวกนี้ย่อมเกี่ยวกับตัณหา มานะทิฏฐิแทบทั้งสิ้น แม้จะมีกิริยา ที่เป็นระเบียบเรียบร้อยก็ตาม ก็เป็นไปแต่เพียงอาการภายนอกเท่านั้น เมื่อว่าตามแนว พระสูตรแล้วก็กล่าวได้ว่าเรียบร้อย แต่ถ้าว่าตามแนวทางพระอภิธรรมแล้วก็ไม่นับว่าเรียบร้อย เพราะผู้นั้นมีจิตมัวหมองไปด้วยอํานาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ ดังนั้นการกระทํากุศล ของบุคคลจําพวกนี้จึงจัดเป็นทวิเหตุกกุศล
จําแนกติเหตุกกุศลและทวิเหตุกกุศลโดยอุกกัฏฐะและโอมกะ
ติเหตุกกุศล และทวิเหตุกกุศลดังกล่าวแล้วนั้น ได้จําแนกออกเป็นอย่างละ ๒ คือ
ติเหตุกกุศล ชนิดอุกกัฏฐะ คือติเหตุกกุศลชั้นสูงอย่างหนึ่ง
ติเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ คือติเหตุกกุศลชั้นต่ำอย่างหนึ่ง
ทวิเหตุกกุศล ชนิดอุกกัฏฐะ คือทวิเหตุกกุศลชั้นสูงอย่างหนึ่ง
ทวิเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ คือทวิเหตุกกุศลชั้นต่ำอย่างหนึ่ง
ความเป็นไปของติเหตุกกุศลและทวิเหตุกกุศลที่เป็นอุกกัฏฐะนั้น คือบุคคลที่บําเพ็ญกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก่อนที่จะทําก็ดี ภายหลังที่ทําเสร็จแล้วก็ดี จิตของ ผู้กระทํานั้นไม่มีอกุศลเข้าเจือปน หมายความว่าก่อนที่จะลงมือกระทํา ผู้นั้นมีความตั้งใจ และเต็มใจที่จะ ประกอบการงานที่เป็นกุศลนั้นๆ อย่างแน่วแน่ ไม่มีการท้อถอยต่อความลําบาก หรือความเหนื่อยยากต่างๆ ที่ตนกําลังได้รับอยู่หรือที่จะได้รับต่อไปข้างหน้า เช่น นี้ได้ชื่อว่าปุพพเจตนาของผู้นั้นเป็นไปโดยบริสุทธิ์ และเมื่อผู้นั้นได้ประกอบการงานที่เป็น กุศลต่างๆ นั้นสําเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีความปิติยินดีไม่ได้คิดถึงความเหนื่อยยากลําบาก หรือความหมดเปลืองแต่อย่างใด มีแต่ความปลื้มใจในการที่ตนได้กระทํากุศลนั้นๆ สําเร็จลงตามความประสงค์ เช่นนี้ได้ชื่อว่าอปรเจตนาของผู้นั้นก็เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ด้วย เหตุนี้ทานกุศล ศีลกุศล หรือภาวนากุศล ที่เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นจะเป็นเหตุกกุศลก็ตาม หรือ ทวิเหตุกกุศลก็ตาม จัดเป็นอุกกัฏฐกุศลคือกุศลชั้นสูง
บุคคลที่บำเพ็ญกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก่อนที่จะทําก็ดี ภายหลังที่ทําเสร็จแล้วก็ดี จิตของผู้กระทํานั้นมีอกุศลเข้าเจือปน หมายความว่าก่อนที่จะลงมือกระทํา ผู้นั้นไม่ได้มีความตั้งใจและเต็มใจที่จะกระทํา หากกระทําไปด้วยความจําเป็นบังคับอย่าง หนึ่งหรือเห็นคนอื่นเขาทําก็ทําเพื่อแข่งกับเขาบ้างอย่างหนึ่ง หรือทําเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตัวในทางโลกอย่างหนึ่ง เช่นนี้ได้ชื่อว่าปุพพเจตนาของผู้นั้นเป็นไปโดยไม่บริสุทธิ์ และเมื่อ ผู้นั้นได้ประกอบการงานกุศลต่างๆ นั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่เกิดปีติโสมนัส กลับมีแต่ ความขุ่นมัวเศร้าหมอง โดยการนึกถึงความเหน็ดเหนื่อยบ้างนึกเสียดายเงินที่ใช้ไปในงาน นั้นบ้าง หรือถ้าความมุ่งหวังประโยชน์ในทางโลกนั้นสําเร็จสมประสงค์ก็เกิดความยินดีพอ ใจ ถ้าไม่สําเร็จสมประสงค์ก็เกิดความกลุ้มใจ เสียใจ เหล่านี้ได้ชื่อว่าอปรเจตนาของผู้นั้น ไม่บริสุทธิ์ด้วยเหตุนี้ ทานกุศล ศีลกุศล หรือภาวนากุศลที่เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นจะเป็นเหตุกกุศล ก็ตาม หรือทวิเหตุกกุศลก็ตาม จัดเป็นโอมากุศล คือกุศลชั้นต่ำ
ในเจตนา ๒ อย่างคือ ปุพพเจตนาและอปรเจตนาที่เป็นเครื่องตัดสินว่ากุศลนั้นๆ จะเป็นอุกกัฏฐกุศลหรือโอมกกุศลนั้น อปรเจตนามีความสําคัญมากกว่าปุพพเจตนา เพราะอปรเจตนาเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากการทํากุศลนั้นๆ สําเร็จแล้วนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ แม้ปุพพเจตนาจะไม่บริสุทธิ์ แต่อปรเจตนาบริสุทธิ์ก็จัดว่าเป็นอุกกัฏฐกุศล หรือแม้ ปุพพเจตนาบริสุทธิ์ก็ตาม ถ้าอปรเจตนาไม่บริสุทธิ์กุศลนั้นก็จัดเป็นโอมากุศล
จําแนกอุกกัฏฐกุศล และโอมกกุศล โดยอปราปรเจตนา
คําว่า อปราปรเจตนา หมายถึงกุศลหรืออกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากอปรเจตนา เกิดล่วงไปแล้ว ระหว่าง ๑ วัน หรือ ๑ เดือน เป็นต้นไป เหล่านี้จัดเป็นอปราปรเจตนาทั้งสิ้น และอปราปรเจตนานี้ถ้าเป็นกุศล คือเมื่อนึกถึงการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ของตนที่ได้ทําไปแม้จะล่วงมาเป็นเวลาหลายวันหรือหลายเดือนแล้วก็ตาม ก็ยังมีความปีติ โสมนัส มีศรัทธาความเชื่อมั่นในกุศลของตน และมีปัญญาความเห็นประโยชน์ในกุศลของ ตนเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นนี้แหละอปราปรเจตนาเป็นกุศลและจัดเป็นชนิดอุกกัฏฐะ ถ้าอปราปรเจตนาเป็นอกุศล คือเมื่อนึกถึงการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาของตนที่ได้ทําไปในเวลาต่อๆ มาแล้ว เกิดความไม่พอใจ เสียดายกลุ้มใจ หรือเกิดความยินดีเพลิด เพลินอันเกี่ยวด้วยตัณหา หรือเกิดความหยิ่งในใจว่าเราทําได้ดีกว่าผู้อื่นอันเป็นตัวมานะ เช่นนี้แหละอปราปรเจตนาเป็นอกุศล และจัดเป็นชนิดโอมกะ ฉะนั้น ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล และโอมากุศล ทวีเหตุกอุกกัฏฐกุศล และโอมกกุศล ทั้ง ๔ อย่างนี้ เมื่อจําแนกโดย อปราปรเจตนาแล้ว ย่อมมี ๘ คือ
๑. ติเหตุกอุกกัฏฐกกัฏฐกุศล
๒. ติเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล
๓. ติเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล
๔. ติเหตุกโอมโกนกกุศล
๕. ทวิเหตุกอุกกัฏฐกกัฏฐกุศล
๖. ทวิเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล
๗. ทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล
๘. ทวิเหตุกโอมโกนกกุศล
ความเป็นไปของติเหตุกกุศลทั้ง ๔ และทวิเหตุกกุศลทั้ง ๔ เหล่านี้ มีดังนี้คือ
ขณะที่มุญจเจตนาเกิดขึ้นประกอบด้วยไตรเหตุ ชื่อว่าติเหตุกกุศล
ขณะที่อปรเจตนาเกิดก็ดี อปราปรเจตนาเกิดก็ดี เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ไม่เจือด้วยอกุศล ชื่อว่า อุกกัฏฐกกัฏฐะ
ขณะที่อปรเจตนาเกิดนั้นดี แต่อปราปรเจตนาไม่ดี ชื่อว่าอุกกฏโฐมกะ
ขณะที่อปรเจตนาเกิดนั้นไม่ดี แต่อปราปรเจตนาดี ชื่อว่าโอมกุกกัฏฐะ
ขณะที่อปรเจตนาเกิดไม่ดี และอปราปรเจตนาก็ไม่ดี ชื่อว่าโอมโกมกะ
ถ้าในขณะที่บุญเจตนาเกิดขึ้นนั้น ประกอบด้วยทวิเหตุ ขาดอโมหะ ชื่อว่าทวิเหตุกกุศล
สําหรับความเป็นไปที่เป็นชนิดอุกกัฏฐกกัฏฐะเป็นต้นนั้นเป็นไปทํานองเดียวกันกับหมวดติเหตุกกุศล
การส่งผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศลเป็นต้น
การส่งผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศลในปฏิสนธิกาล คือให้ได้มหาวิบากญาณสัมปยุตต จิต ๔ เป็นเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงให้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง ส่วนในปวัตติกาล นั้นให้ได้อเหตุกกุศลวิบาก ๘ และมหาวิบาก ๘ รวม ๑๖ เป็นผล หมายถึงเมื่อได้เกิดเป็น มนุษย์หรือเทวดาชั้นสูงแล้ว ก็ย่อมได้รับอารมณ์ต่างๆ ที่ดี มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น
การส่งผลของติเหตุกอุกกัฏฐกกัฏฐะ และติเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล ทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่า โดยธรรมาธิษฐานนั้น ให้ผลเช่นเดียวกันกับติเหตุกอุกกัฏฐกุศล ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แต่เมื่อว่าโดยบุคลาธิษฐานย่อมต่างกันบ้าง คือผลที่ได้รับจากติเหตุก อุกกัฏฐกกัฏฐะนี้ย่อมประณีตกว่าผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศล ส่วนผลที่ได้รับจากติเหตุก อุกกฏโฐมกกุศลนั้น ย่อมต่ำกว่าผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศล
การส่งผลของติเหตุกโอมกกุศล และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศลทั้ง ๒ นี้ ในปฏิสนธิกาล ให้ได้มหาวิบากญาณวิปปยุตตจิต ๔ เป็นทวิเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงให้เกิดเป็นมนุษย์หรือ เทวดาชั้นกลาง ส่วนในปวัตติกาลนั้นให้ได้อเหตุกกุศลวิบาก ๘ และมหาวิบากญาณ วิปปยุตตจิต ๔ รวม ๑๒ เป็นผล หมายถึงเมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นกลางแล้ว ย่อมได้รับอารมณ์ต่างๆ ดีอย่างปานกลาง มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น
การส่งผลของติเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล ติเหตุกโอมโกมากุศล ทวิเหตุกอุกกักจุกกัฏฐ กุศล และทวิเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล ทั้ง ๔ นี้เมื่อว่าโดยธรรมาธิษฐานแล้วให้ผลเช่นเดียวกัน กับติเหตุกโอมกะ และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล แต่เมื่อว่า โดยบุคลาธิษฐานย่อมต่างกันบ้าง คือผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุก อุปัฏฐกกัฏฐกุศล ทั้ง ๒ นี้ย่อมดีกว่าผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมโกมกะ และทวิเหตุก อุกกฏโฐมกกุศล ส่วนผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมโกมกะและทวิเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล ทั้ง ๒ นี้ย่อมต่ำกว่าผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมกะ และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล
การส่งผลของทวิเหตุกโอมกกุศลในปฏิสนธิกาลให้ได้อุเบกขาสันติรณกุศลวิบาก เป็นอเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงให้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นต่ํา กล่าวคือให้เป็นมนุษย์พิกล พิการ มีใบ้ บ้า บอด หนวก เป็นต้น หรือให้เป็นเทวดาชนิดวินิปาติกอสุรา ซึ่งจัดอยู่ใน จําพวกเทวดาผี ส่วนในปวัตติกาลนั้นให้ได้อเหตุกกุศลวิบาก ๘ เป็นผลเท่านั้น หมายถึง ได้รับอารมณ์ต่างๆ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ที่ดีอย่างสามัญ
การส่งผลของทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุกโอมโกมกกุศล ทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่า โดยธรรมาธิษฐานย่อมให้ผลเช่นเดียวกันกับทวิเหตุกโอมกกุศล ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล แต่เมื่อว่าโดยบุคลาธิษฐานมีผลต่างกันบ้างคือ ผลที่ได้รับจากทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐ กุศลนั้นดีกว่าผลของทวิเหตุกโอมกกุศล ผลที่ได้รับจากทวิเหตุกโอมโกมกะย่อมต่ํากว่าผล ของทวิเหตุกโอมกกุศล
อนึ่ง บรรดากุศลต่างๆ มีติเหตุกอุกกัฏฐกุศลเป็นต้นดังกล่าวแล้วนี้ ถ้าเป็นไปพร้อม ด้วยฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา อย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้าถึงอธิบดีแล้ว กุศลนั้นก็ให้อานิสงส์ แรงเป็นพิเศษกว่าที่เป็นไปอย่างธรรมดา หมายถึงให้มียศ มีอํานาจ มีข้าทาสบริวารพรั่ง พร้อม มีผิวพรรณวรรณะงดงาม มีอายุยืน มีสุขภาพดี มีสติ ปัญญาสมบูรณ์ ตามสมควร แก่ประเภทของกุศลนั้นๆ
อธิบายบาลีข้อที่ ๒๗ เป็นต้น จนถึงข้อที่ ๓๕ ที่แสดงถึงการส่งผลของ รูปาวจรกุศลกรรม ๕
การแสดงถึงปากัฏฐานของรูปาวจรกุศลกรรมนั้น ให้พึงเข้าใจตามอภิธัมมัตถสังคหบาลีที่ได้แสดงไว้แล้วในตอนต้น ส่วนความเป็นไปแห่งปริตตะ มัชฌิมะ ปณีตะของ รูปาวจรกุศลกรรมนั้น ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจ ๒ อย่างคือ องค์อธิบดี ๔ อย่างหนึ่ง และ การเข้าสมาบัติอย่างหนึ่ง
๑. ความเป็นปริตตะ มัชฌิมะ และปณิตะ ของฌานที่เกี่ยวเนื่องด้วยองค์อธิบดี นั้น คือตามธรรมดาผู้ที่เจริญสมถภาวนาจนถึงได้ฌานนั้น ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญาของ ผู้นั้นอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเข้าถึงความเป็นอธิบดี และเมื่อขณะที่ฌานเกิดขึ้นนั้นก็จะต้องมีองค์อธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่งประกอบอยู่ด้วยแต่ความเป็นอธิบดีของธรรมเหล่านี้ ถ้าเป็นไปอย่างสามัญแล้ว ฌานที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นปริตตฌาน คือมีอํานาจอ่อน ถ้าองค์ อธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้มีกําลังปานกลาง ฌานที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นชนิดมัชฌิมฌาน คือมีอํานาจปานกลาง และถ้าองค์อธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่งมีกําลังเข้มแข็ง ฌานที่เกิดขึ้น นั้นก็เป็นชนิดปณีตะ คือมีอํานาจสูง ฉะนั้นฌานลาภีบุคคลเมื่อได้ไปบังเกิดในรูปาวจรภูมิ จะเกิดในภูมิใดก็ต้องแล้วแต่ขั้นของฌานที่ตนได้ พร้อมทั้งอํานาจของฌานนั้นๆ ด้วย
๒. ความเป็นปริตตะ มัชฌิมะ และปณีตะ ของฌานที่เกี่ยวเนื่องด้วยการเข้าสมาบัตินั้น คือฌานลาภิบุคคล หลังจากที่ได้ฌานแล้วถ้าไม่ได้เข้าฌานอยู่เสมอๆ เพียงแต่นานๆ จะเข้าสักครั้งหนึ่ง ฉะนั้นฌานที่ตนได้นั้นก็จัดเป็นชนิดปริตตะ ถ้าเข้าฌานพอประมาณ ฌานนั้นก็จะเป็นชนิดมัชฌิมะ ถ้าเข้าฌานอยู่เสมอจนชํานาญ ฌานนั้นก็จัดเป็นชนิดปณีตะ
ความเป็นปริตตะ มัชฌิมะ และปณีตะของฌาน ตามนัยทั้ง ๒ ที่กล่าวมานี้ นัยที่ ๑ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยองค์อธิบดี ใช้เป็นเครื่องตัดสินในการที่ฌานลาภีบุคคลผู้ไปบังเกิดในรูป ภูมินั้นๆ ดังเช่น ผู้ที่ได้ปฐมฌานชนิดปริตตะก็ย่อมไปบังเกิดในพรหมปาริสัชชาภูมิ ถ้าได้ปฐมฌานชนิดมัชฌิมะก็ย่อมไปบังเกิดในพรหมปุโรหิตาภูมิ ถ้าได้ปฐมฌานชนิดปณีตะก็ย่อม ไปบังเกิดในมหาพรหมาภูมิ ดังนี้เป็นต้น
ส่วนนัยที่ ๒ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยการเข้าสมาบัตินั้น ใช้เป็นบาทในการที่ฌานลาภีบุคคล จะกระทําฌานเบื้องสูงให้ปรากฏขึ้น กล่าวคือปฐมฌานลาภี เมื่อประสงค์จะทําทุติยฌาน ต่อไปก็จะต้องเข้าปฐมฌานที่ตนได้นั้นให้ชํานิชํานาญ จนเข้าถึงความเป็นวสี ๕ อย่าง ทุติยฌานจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่เข้าปฐมฌานที่ตนได้อยู่เสมอๆ แล้ว ปฐมฌานนั้นก็จัดเป็น ปริตตะ และไม่สามารถเป็นบาทให้ทุติยฌานเกิดขึ้นได้ด้วย ถ้าปฐมฌานลาภีเข้าปฐมฌาน เสมอ แต่ยังไม่ถึงความเป็นวสี ๕ อย่าง ปฐมฌานนั้นก็จัดเป็นมัชฌิมะและก็ไม่สามารถ เป็นบาทให้ทุติยฌานเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ถ้าปฐมฌานลาภีเข้าปฐมฌานเสมอจนมีความ ชํานาญเป็นวสี ๕ อย่างแล้ว ปฐมฌานนั้นก็จัดเป็นปณีตะ และสามารถเป็นบาทให้ทุติย ฌานเกิดขึ้นได้ ในฌานต่อๆ ไปก็เป็นไปเช่นเดียวกัน
อนึ่ง ทุติยฌานกุศลและตติยฌานกุศลทั้ง ๒ ที่ส่งผลให้บังเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ นั้น มีข้อความอธิบายไว้แล้วในภาคปฏิสนธิจตุกกะ ในบาลีข้อ ๑๒ ที่ว่า “ตถา ทุติยชฺฌาน วิปากํ ตติยชุฌานวิปากญฺจ ทุติยชฺฌานภูมิยํ "
ในบาลีข้อที่ ๓๖ ที่ว่า “ปญฺจมชฺฌานํ ภาเวตฺวา เวหปฺผเลสุ” ซึ่งแปลว่า “เมื่อเจริญปัญจมฌานแล้ว ผลย่อมเกิดในเวหัปผลาภูมิ” นั้นมีความหมายว่าฌานสาภีบุคคล ที่ได้ปัญจมฌานนี้จะเป็นชนิดปริตตะ หรือมัชฌิมะ หรือปณีตะก็ตาม ย่อมไปบังเกิดในเวหัป ผลาภูมิอย่างเดียว และมีจํานวนอายุ ๕๐๐ มหากัปเท่ากัน ข้อนี้แม้ว่าผลของปัญจมฌาน ทั้ง ๓ ประเภทนี้ เมื่อว่าโดยภูมิและอายุขัยจะเหมือนกันก็จริง แต่ผลที่ต่างกันก็มีคือ ว่าโดยคุณสมบัติและทิพยสมบัติแล้ว ผู้ที่ได้ปัญจมฌานชนิดปณีตะ ย่อมมีกุศลสมบัติ คือ อํานาจ และทิพย์สมบัติสูงกว่า ประณีตกว่าชนิดมัชฌิมะและปริตตะ ผู้ที่ได้ปัญจมฌาน ชนิดมัชฌิมะ ย่อมมีคุณสมบัติและทิพยสมบัติสูงและประณีตกว่าชนิดปริตตะ และผู้ที่ได้ ปัญจมฌานชนิดปริตตะนั้น ก็ย่อมมีคุณสมบัติและทิพยสมบัติที่เป็นไปอย่างธรรมดา
ในบาลีข้อที่ ๓๗ ที่ว่า “ตเทว สัญฺญาวิราคํ ภาเวตฺวา อสญฺญสสตฺเตสุ” ซึ่งแปลว่า “เมื่อเจริญปัญจมฌานนั้นแหละ โดยปราศจากความยินดีในสัญญา คือนามธรรมแล้ว ผลย่อมเกิดในอสัญญสัตตาภูมิ” ข้อนี้หมายความว่ามนุษย์และเทวดาที่เป็นปุถุชน หลังจากที่ได้จตุตถฌานแล้วมีการพิจารณาเห็นโทษของนามธรรมว่า ทุกข์ต่างๆ มีความเดือดร้อนใจ ความเสียใจ ความหลง ความไม่สบายต่างๆ เป็นต้นเหล่านี้ก็เนื่องมาจากความจำ ความรู้สึกนั้นเอง ความจํา ความรู้สึกเหล่านี้เสมือนหนึ่งเป็นแผลหรือเป็นโรคที่ร้ายแรง ผู้ที่ได้ พ้นไปจากทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวนี้ ย่อมกล่าวได้ว่า ผู้นั้นได้เข้าถึงทิฏฐธัมมนิพพาน เมื่อฌาน สาภีบุคคลมีความเห็นเช่นนี้แล้วก็นึกพิจารณาถึงโทษของความจํา ความรู้สึกเหล่านี้ว่า “สญฺญาคณฺโฑ สญฺญาโรโค” “ความจํา ความรู้สึกเหล่านี้เหมือนแผล เหมือนโรคที่ร้าย แรง” และหลังจากที่นึกเห็นโทษแล้ว จตุตถฌานลาภก็ปรารถนาภพ ชาติ ที่ปราศจาก นามธรรมแล้วก็ตั้งต้นเพ่งวาโยกสิณเพื่อให้ปัญจมฌานเกิด
การบําเพ็ญเพื่อละนามธรรมนี้ แม้จตุตถฌานลาที่จะสําเร็จมาด้วยการเพ่งกสิณอย่าง ใดก็ตาม แต่เมื่อปรารถนาจะได้ภพ ชาติ ที่ปราศจากนามธรรมแล้ว จะต้องได้ปัญจมฌาน ที่สําเร็จมาจากการเพ่งวาโยกสิณเสมอไป มีอาจารย์บางท่านกล่าวว่าปัญจมฌานที่สําเร็จ มาจากการเพ่งอากาสกสิณก็ย่อมทําให้สําเร็จประโยชน์ได้เหมือนกัน
เมื่อปัญจมฌานเกิดขึ้นแล้ว ปัญจมฌานนั้นได้ชื่อว่าเกิดขึ้นพร้อมด้วยสัญญาวิราคภาวนา และเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปบังเกิดในอสัญญสัตตาภูมิ โดยการปฏิสนธิด้วยรูป อันได้แก่ ชีวิตนวกกลาป ส่วนในปวัตติกาลนั้น ชีวิตนวกกลายนั้นแหละเป็นองค์รักษาภพ และเมื่อจุติชีวิตนวกกลาปก็ทําหน้าที่จุติเช่นเดียวกัน สําหรับร่างกายของอสัญญสัตตพรหมเหล่านี้มีอริยาบถต่างกัน แล้วแต่เมื่อขณะที่ปัญจมฌานลาภตายนั้นตายในอิริยาบถใด ถ้านั่งตายเมื่อไปเกิดเป็นอสัญญสัตตพรหมก็อยู่ในท่านั่ง ถ้ายืนตายก็ ไปเกิดในท่ายืน หรือถ้านอนตายก็ไปเกิดในท่านอน ดังนี้
อธิบายในบาลีข้อที่ ๓๘ ที่ว่า “อนาคามิโน ปน สุทฺธาวาเสสุ อุปฺปชฺชนฺติ” “พระอนาคามีบุคคลที่ได้ปัญจมฌานเท่านั้น ย่อมเกิดในชั้นสุทธาวาสภูมิ ๕”
เมื่อพิจารณาความเฉพาะบาลีในข้อนี้แล้ว ก็ทําให้เข้าใจไปได้สองแง่ว่า ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิทั้งหมด หรือผู้ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามีเหล่านั้นจะได้ฌานขั้นไหนก็ตามเมื่อตายแล้วก็ย่อมไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิทั้งหมดเช่นเดียวกัน แต่ในที่นี้จะต้องพิจารณาในแง่การแสดงถึงเรื่องฌาน และภูมิไปตามลําดับ ดังที่ได้แสดงมาแล้วในตอนต้นเป็นลําดับว่า
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของปฐมฌานนั้น ได้แก่ปฐมฌานภูมิ ๓
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของทุติยฌานและตติยฌานนั้น ได้แก่ทุติยฌานภูมิ ๓
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของจตุตถฌานนั้น ได้แก่ตติยฌานภูมิ ๓
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของปัญจมฌานนั้น ได้แก่จตุตถฌานภูมิ ๓
แต่ในจตุตถฌานภูมิ ๓ อันเป็นผลของปัญจมฌานนี้ มีฐานะไม่เสมอกันได้แบ่งออก เป็น ๓ ประเภท คือผู้ที่ได้ปัญจมฌานอย่างธรรมดาย่อมไปเกิดในเวหัปผลาภูมิ และไม่ จํากัดประเภทบุคคล คือเป็นติเหตุกปุถุชนก็ได้ เป็นผลเสกขบุคคล ๓ ก็ได้ ผู้ที่ได้ปัญจม ฌานที่ประกอบกับสัญญาวิราศภาวนานั้นย่อมไปเกิดในอสัญญสัตตาภูมิ และต้องเป็นเฉพาะแต่ติเหตุกปุถุชนเท่านั้น เพราะธรรมดาอริยบุคคลทั้งหลายนั้นย่อมไม่เจริญฌานที่ ประกอบกับสัญญาวิราศภาวนา ส่วนจตุตถฌานภูมิที่เหลืออีก ๕ อันได้แก่สุทธาวาสภูมิ นั้นแม้ว่าจะป็นผลของปัญจมฌานก็จริง แต่เมื่อว่าโดยบุคลที่จะไปเกิดแล้วย่อมจํากัดบุคคล คือ ต้องเป็นพระอนาคามีเท่านั้น บุคคลนอกนั้นไปเกิดในสุทธาวาสภูมิไม่ได้ ดังนั้นพระ อนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “อนาคามิโน ปน สุทธาวาเส อุปปชฺชนฺติ” และบาลีข้อนี้ ถ้าแสดงโดยสมบูรณ์แล้วจะต้องแสดงว่า “อนาคามิโน ปน ปญฺจมชฺฌานํ ภาเวตวา สุทฺธาวาเสสุ อุปปชุชนฺติ” ซึ่งมีความหมายว่า “พระอนาคามีบุคคลเท่านั้น เมื่อใดเจริญปัญจมฌานให้เกิดขึ้นแล้วย่อมไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิ ๕”
ในการที่มีข้อจํากัดว่า บุคคลที่จะไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติ คือ ต้องเป็นพระอนาคามีด้วยต้องสําเร็จปัญจมฌานด้วย และต้องมีอินทรีย์ทั้ง ๕ อย่าง ใดอย่างหนึ่งแก่กล้าเป็นพิเศษด้วย จึงจะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิได้ ถ้าพระอนาคามีที่ได้ปัญจมฌาน แต่มีอินทรีย์ ๕ เป็นไปอย่างธรรมดาแล้ว พระอนาคามีเหล่านี้ก็ไปบังเกิดใน เวหัปผลาภูมิไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ เพราะในสุทธาวาสภูมินี้มีคุณสมบัติเป็นที่แน่นอนอยู่ ๔ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิๆ ใดภูมิหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ไปเกิดในรูปภูมิอื่นๆ หรือในอรูปภูมิ
๒. ย่อมไม่เกิดภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก
๓. เมื่อตายจากสุทธาวาสภูมิที่ตนเกิดอยู่แล้ว ย่อมไม่ไปเกิดในภูมิที่ต่ำกว่าต้อง ไปเกิดในภูมิที่สูงกว่า
๔. ต้องได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ ภายในสุทธาวาสภูมินั้นเอง
สําหรับในอกนิฏฐาภูมินั้น มีคุณสมบัติพิเศษอีกข้อหนึ่ง คือพระอนาคามีที่อยู่ใน อกนิฏฐาภูมินี้ จะต้องได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ในภพนั้นเอง
อนึ่ง การไปเกิดในสุทธาวาสภูมิของปัญจมฌานลาภีอนาคามีนี้ มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า ถ้าพระอนาคามีบุคคลผู้นั้นมีสัทธินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ แล้วก็ไปเกิดใน ชั้นอวิหาภูมิ ถ้ามีวิริยินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในชั้นอตัปปาภูมิ ถ้ามีสตินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในสุทัสสาภูมิ ถ้ามีสมาธินทรีย์แก่ กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในสุทัสสีภูมิ ถ้ามีปัญญินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่า อินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในอกนิฏฐาภูมิ
ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามีแล้วไม่ได้ไปเกิดในพรหมภูมิมีหรือไม่?
ผู้ที่ได้สําเร็จเป็นพระอนาคามีแล้วย่อมไปเกิดในพรหมภูมิทั้งหมด แม้ว่าพระอนาคามี ผู้นั้นจะเป็นสุกขวิปัสสก คือไม่ได้ทําฌานให้เกิดขึ้นมาก่อนก็ตาม แต่เมื่อเวลาที่ใกล้จะตายนั้น ฌานย่อมเกิดขึ้นเองด้วยอาศัยอํานาจแห่งสมาธิ เพราะธรรมดาฌานจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยมีสมาธิเป็นกําลังอันสําคัญ และศัตรูของสมาธินั้นก็ได้แก่กามฉันทนิวรณ์ ด้วย เหตุนี้พระอนาคามีผู้ซึ่งประหาณกามราคะได้โดยเด็ดขาดแล้วนั้น จึงไม่มีกามฉันทนิวรณ์ ที่เป็นศัตรูของสมาธิ ดังนั้นสมาธิของพระอนาคามีทั้งหลายจึงมีกําลังแก่กล้าเป็นพิเศษ สามารถทําให้ฌานเกิดขึ้นโดยฉับพลันได้
ถ้ามีคําถามๆ ว่า สุกขวิปัสสกพระอนาคามีถูกฆ่าตายในขณะที่กําลังนอนหลับอยู่พระอนาคามีผู้นั้นจะมีฌานเกิดขึ้นหรือไม่? ข้อนี้ตอบว่าฌานเกิดขึ้นได้เพราะพระอนาคามีนั้น มีสมาธิเป็นประจําอยู่เสมอแล้ว และสมาธินี้ก็มีกําลังมากเข้าถึงขั้นอุปจารสมาธิ อีกประการหนึ่งผู้ที่ปราศจากกามราคะนี้ย่อมมีจิตเบื่อหน่ายต่อภูมิที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ย่อมน้อมไปสู่ภูมิที่ปราศจากกามคุณอารมณ์อยู่เสมอ ฉะนั้นพระอนาคามีบุคคลแม้ว่าจะสิ้น ชีพลงในกะทันหันก็ตาม แต่ก่อนที่จุติจิตจะเกิดนั้นฌานย่อมเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงจุติ เมื่อจุติแล้วก็ไปเกิดในพรหมภูมิ แต่จะเกิดในพรหมชั้นไหนนั้นก็ต้องแล้วแต่ฌานที่เกิดขึ้น ถ้าฌานที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฐมฌานก็ไปเกิดในปฐมฌานภูมิ ถ้าเป็นทุติยฌาน หรือตติยฌานก็ไปเกิดในทุติยฌานภูมิเป็นต้น
อนึ่ง พวกเทวดาชั้นสูงตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์เป็นต้นไป ที่ได้สําเร็จเป็นพระอนาคามีนั้น ย่อมมีความเบื่อหน่ายต่อสถานที่ที่ตนอยู่ เพราะเป็นสถานที่ที่แวดล้อมไปด้วยกามคุณ อารมณ์ ดังนั้น เมื่อได้พิจารณาถึงอายุขัยของตน ถ้าอายุขัยของตนนั้นยังเหลืออยู่เป็น เวลานานแล้ว ก็มีการกระทําอธิมุตติกาลังกิริยาคือ อธิษฐานว่าขอให้วิบากนามขันธ์และ กัมมชรูปของเรานี้จงอย่าเกิดอีกต่อไป แล้วก็กลั้นลมหายใจตายเพื่อได้ไปบังเกิดในพรหม โลกอันเป็นสถานที่ที่สงบจากกามคุณอารมณ์ เมื่อขณะที่ใกล้จะจุติฌานก็ได้เกิดแก่พระอนาคามีนั้น และฌานที่เกิดขึ้นแก่พระอนาคามีประเภทสุกขวิปัสสกะนี้ เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน ทั้งสิ้น
อธิบายในบาลีข้อที่ ๓๙ ที่แสดงถึงการส่งผลของอรูปาวจรกุศลกรรม ๔
ในอรูปาวจรกุศลกรรม ๔ นั้น อากาสานัญจายตนกุศลกรรม ย่อมส่งผลให้ อากาสานัญจายตนวิบากเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ
วิญญาณัญจายตนกุศลกรรม ย่อมส่งผลให้วิญญาณัญจายตนวิบากเกิดใน วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนกุศลกรรม ย่อมส่งผลให้อากิญจัญญายตนวิบากเกิดใน อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลกรรมย่อมส่งผลให้เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากเกิด ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
เหล่านี้เป็นการอธิบายในการเกิดขึ้นแห่งผลของอรูปาวจรกุศลกรรม ๔ ที่เป็นไปตามล่าดับ ดังทีบาลีแสดงว่า “ยถากฺกมํ อุปฺปชฺชนฺติ"
หญิงที่ได้ฌานสมาบัติ เมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นพรหมพวกไหน?
ความเป็นอยู่ในพรหมโลกนับตั้งแต่ปฐมฌานภูมิเป็นต้น จนถึงสุทธาวาสภูมิ ๕ ใน ภูมิหนึ่งๆ นั้นมีพรหมอยู่ ๓ จําพวก คือปาริสัชชาพรหมพวกหนึ่ง ปุโรหิตาพรหมพวกหนึ่ง มหาพรหมพวกหนึ่ง ในพรหม ๓ จําพวกนี้ ปาริสัชชาพรหม และปุโรหิตาพรหม ๒ พวกนี้ เป็นบริวารของมหาพรหม หญิงที่ได้ฌานสมาบัติ ๘ หรือ ๙ จะเป็นปุถุชนหรืออริยะก็ตาม เมื่อไปบังเกิดในพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่งแล้ว จะเป็นมหาพรหมไม่ได้ เป็นได้แต่ชั้นปาริสัชชาพรหม และปุโรหิตาพรหมเท่านั้น เช่นเดียวกันกับหญิงที่ไปเกิดเป็นเทวดา ก็เป็นเทวดาชั้นหัวหน้า เช่น เป็นพระอินทร์หรือเป็นพระยามารไม่ได้ ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทน์และสังยุตตอรรถกถาว่า
“อิตฺถิโยปี ปน อริยา วา อนริยา อปี อฏฺฐสมาปติลาภินิโย พฺรหฺมปาริสชฺเชสเยว นิพฺพตฺตนฺติ”
“หญิงทั้งหลาย ที่ได้สมาบัติ ๘ เหล่านี้ เป็นอริยะหรือปุถุชนก็ตาม ย่อมไปเกิด เป็นพรหมที่เป็นบริษัทบริวารของมหาพรหมเท่านั้น”
“ยํ อิตฺถี สกุกตฺตํ กเรยฺย มารตฺตธ กเรยฺย พฺรหฺมตฺตํ กเรยฺย, เนตํ ฐานํ วิชฺชติ, พฺรหฺมตุตนฺติ มหาพฺรหฺมตฺตํ อธิปฺเปตํ” “หญิงใดโดยอาศัยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไปเกิดเป็นท้าวสักกเทวราชหรือพระยามาร หรือท้าวมหาพรหมเหตุ อันนั้นย่อมไม่มีเลย” ที่กล่าวว่าเป็นพรหมนั้น หมายเอาท้าวมหาพรหมนั้นเอง
คําว่า “พฺรหฺมปาริสชฺเซส” ในบาลีข้อที่ ๑ นั้น พรหมปุโรหิตาก็จัดเข้าอยู่ในนี้ด้วย เพราะพรหมปุโรหิตานี้ก็เป็นบริษัทบริวารของมหาพรหมด้วยเหมือนกันทั้งพระพุทธองค์ ก็เคยทรงเรียกพรหมปุโรหิตานี้ว่า “พฺรหฺมปริสา” ก็มี ซึ่งหมายถึงพรหมปุโรหิตานั้นเอง
สําหรับในเนตติพระบาลีท่านได้แสดงไว้อย่างชัดเจนว่า “อิตฺถี มหาพฺรหฺมา สิยา, เนตํ ฐานํ วิชฺชติ” “โดยอาศัยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว หญิงที่ได้ฌานสมาบัติไปเกิด เป็นมหาพรหมเหตุอันนั้นย่อมไม่มีเลย” ในพระบาลีนี้มีความชัดอยู่แล้วว่า หญิงที่ได้ ฌานสมาบัติไปเกิดเป็นมหาพรหมไม่ได้เท่านั้น ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าย่อมไปเกิดเป็นพรหม ๒ พวกที่เหลือได้
อนึ่ง ในการที่หญิงไปเกิดเป็นมหาพรหมไม่ได้นั้น ก็เพราะเหตุว่าอธิบดีทั้ง ๔ ที่เกิด ขึ้นกับหญิงนั้น ย่อมมีกําลังไม่เข้มแข็งเหมือนกับอธิบดีที่เกิดขึ้นกับชาย ด้วยเหตุนี้ฌานที่เกิดขึ้นกับหญิงนั้นจะเป็นฌานไหนก็ตาม ย่อมได้เพียงแค่ปริตตฌานหรือมัชฌิมฌานเท่านั้น ไม่เป็นไปถึงขั้นปณีตฌานเลย และอีกประการหนึ่งเพศหญิงนั้นจัดเป็นเพศที่ต่ํากว่าเพศชาย ฉะนั้น จึงไปเกิดเป็นมหาพรหมไม่ได้ ไม่ว่าภูมิไหนก็ตาม
การเกิดของฌานลาบุคคล ที่เป็นไปตามอํานาจของนิกันติตัณหาและเจโตปณิธิ
ในบาลีที่ได้แสดงไว้ข้างต้นว่า “ปฐมชฺฌานํ ปริตฺตํ ภาเวตฺวา พฺรหฺมปารีสชฺเชส อุปฺปชฺชติ” เป็นต้น ซึ่งแปลว่า “เมื่อเจริญปฐมฌานอย่างต่ำแล้ว ผลย่อมเกิดในพรหม ปาริสัชชาภูมิ” เป็นต้นนั้น การแสดงเช่นนี้เป็นการแสดงที่หมายถึงความเป็นไปตาม ธรรมดาของฌานนั้นๆ แต่ถ้าฌานลาบุคคลนั้นมีนิกันติตัณหา หรือเจโตปณิธิแล้ว การไป เกิดในภูมิต่างๆ ก็ไม่เป็นที่แน่นอน แล้วแต่นิกันติตัณหา หรือเจโตปณิธิของตน คําว่า นิกันติตัณหา หมายถึงมีความติดใจในภูมิที่ตนเคยเกิดมาแล้วหลายๆ ชาติ คําว่า เจโตปณิธิ หมายถึงมีจิตปรารถนาในภูมินั้นๆ ที่เป็นไปด้วยอํานาจฉันทะ ดังเช่นฌาน ลาภีที่เป็นปุถุชนเมื่อเวลาใกล้จะตายมีนิกันติตัณหาในเทวภูมิใดภูมิหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ฌานที่ ได้นั้นก็เสื่อมลง ฉะนั้นเมื่อเวลาตายก็ไปเกิดในเทวภูมินั้นๆ ไม่ไปเกิดในพรหมภูมิ
มนุษย์ เทวดา ที่สําเร็จเป็นโสดาบันหรือสกทาคามี เมื่อได้ฌานแล้วนิกันติตัณหา หรือเจโตปณิธิที่เกี่ยวกับกามสุคติภูมินั้นย่อมไม่มี เพราะฌานสมาธิของพระอริยบุคคลนี้ มั่นคงยิ่งกว่าฌานสมาธิของปุถุชน ฉะนั้นฌานจึงเสื่อมไม่ได้ ท่านเหล่านี้เมื่อตายแล้วจึง ไปเกิดในพรหมภูมิๆ ใดภูมิหนึ่งแล้วแต่ฌานของตน เว้นอสัญญสัตตาภูมิและสุทธาวาสภูมิ และเมื่อเกิดเป็นพรหมแล้ว แม้ยังไม่ได้เป็นพระอนาคามีก็ไม่กลับมาเกิดในกามสุคติภูมิอีก ด้วยเหตุนี้พรหมอริยะ ๒ พวกนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นฌานอนาคามีก็ได้
ปุถุชนหรือโสดาบัน สกทาคามี ที่เป็นมนุษย์ เทวดา ที่ได้สมาบัติ ๘ หรือ ๙ นั้น ถ้ามีเจโตปณิธิ ในพรหมภูมิใดภูมิหนึ่งที่นอกจากอสัญญสัตตาภูมิ และสุทธาวาสภูมิแล้ว เมื่อตายลงก็ไปเกิดในภูมิที่ตนปรารถนานั้นๆ ได้
มนุษย์ เทวดา ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามี ที่ได้สมาบัติ ๘ หรือ ๙ ถ้ามีเจโตปณิธิ ในพรหมภูมิใดภูมิหนึ่ง ที่นอกจากอสัญญสัตตาภูมิแล้ว เมื่อตายลงก็ไปเกิดในภูมิที่ตน ปรารถนานั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน คือพระอนาคามีนั้นถ้าปรารถนาไปเกิดในปฐมฌานภูมิหรือ สุทธาวาสภูมิ หรืออรูปภูมิ ดังนี้แล้วก็ย่อมไปเกิดในภูมิที่ตนปรารถนานั้นๆ ได้ ดังนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ว่า “อิชุฌติ ภิกฺขเว สีลวโต เจโตปณิธิ วิสุทฺธตตา” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาของผู้มีศีลย่อมสําเร็จเพราะเป็นความประสงค์ของผู้ มีจิตบริสุทธิ์”
สําหรับพรหมอริยะที่เป็นโสดาบัน สกทาคามี เหล่านี้ อย่าว่าแต่จะมาเกิดในกามสุคติภูมิเลย แม้แต่ในพรหมภูมิที่ชั้นต่ํากว่าก็ย่อมไม่มาบังเกิด
พระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาสภูมินั้น ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิที่ต่ำกว่าและไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่ ฉะนั้นเมื่อยังไม่ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ย่อมเกิดเลื่อนชั้นขึ้นไปตาม ลําาดับ ถ้าสําเร็จเป็นพระอรหันต์ในชั้นไหนก็ปรินิพพานในชั้นนั้น สําหรับพระอนาคามีที เกิดอยู่ในอกนิฏฐาภูมินั้น ย่อมไม่มีการย้ายไปภูมิอื่นๆ อีก และทั้งไม่มีการเกิดภูมิ ต้อง ปรินิพพานในภูมินั้นแน่นอน
พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ที่เกิดอยู่ในเวหัปผลาภูมิและเนว สัญญานาสัญญายตนภูมินั้น เมื่อยังไม่ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ย่อมไม่เกิดย้ายภูมิต้องเกิด อยู่ในภูมินั้นจนกว่าจะสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น ท่านฎีกาจารย์จึงแสดงไว้ว่า
๑. เวหาปฺผเล อกนิฏฺเฐ ภวคฺเค จ ปติฏฺฐิตา
น ปุนาญฺญตฺถ ชายนฺติ สพฺเพ อริยปุคฺคลา ฯ
๒. น ปุน ตตฺถ ชายนติ สพฺเพปิ สุทฺธวาสิกา
พฺรหฺมโลกคคา เหฎฺรา อริยา โนปปชฺชเรติ ฯ
๑. “พระอริยบุคคลทั้งหลายที่เกิดอยู่ในเวหัปผลาภูมิ อกนิฏฐาภูมิ และยอดภูมิคือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เหล่านี้ย่อมไม่เกิดในภูมิอื่นๆ อีก”
๒. “สุทธาวาสพรหมทั้งหมด ก็ย่อมไม่เกิดในภูมิที่ตน เกิดอยู่อีกพระอริยบุคคลที่เกิดอยู่ในพรหมภูมิทั้งหมด ย่อมไม่เกิดในภูมิเบื้องต่ำ"
อธิบายพิเศษในการส่งผลของทุติยฌานกุศล และตติยฌานกุศล
เมื่อพิจารณาถึงภูมิอันเป็นที่ให้ผลเกิดของทุติยฌานกุศลกับตติยฌานกุศลแล้วเป็น ภูมิเดียวกันคือทุติยฌานภูมิ ดังนั้นเมื่อว่าตามหลักแล้ว ผู้ที่ได้ทุติยฌานอย่างประณีตเมื่อ ตายแล้วก็ไปเกิดในอาภัสสราภูมิ ผู้ที่ได้ตติยฌานอย่างปริตตะเมื่อตายแล้วก็ไปเกิดเพียง แค่ปริตตาภาภูมิ เช่นนี้ก็น่าสงสัยว่าทําไมผู้ที่ได้ตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่สูงกว่าทุติยฌาน นั้นจึงได้รับผลต่ํากว่าทุติยฌาน ทั้งนี้เพราะเหตุใด? ข้อนี้อธิบายว่ากําลังและคุณสมบัติ ของทุติยฌานกุศลกับตติยฌานกุศล ทั้ง ๒ นี้มีเสมอกัน ที่ต่างกันก็คือการเกิดขึ้นกับการระหาณองค์ฌาน กล่าวคือฌานที่เกิดขึ้นครั้งที่ ๒ ได้ชื่อว่าทุติยฌานและมีการประหาณ วิตก ฌานที่เกิดขึ้นครั้งที่ ๓ ได้ชื่อว่าตติยฌาน และมีการประหาณวิจารความต่างกันดัง กล่าวมานี้ก็เป็นไปเนื่องด้วยบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่ต่างกันโดยอํานาจหรือคุณสมบัติ หมาย ความว่าฌานลาที่ผู้นั้นถ้าเป็นมันทบุคคลแล้ว การเกิดขึ้นของฌานและการประหาณองค์ ฌานก็แยกออกเป็น ๒ ฌานดังกล่าวแล้ว ถ้าฌาณลาภีผู้นั้นเป็นตึกขบุคคลการเกิดขึ้นของ ฌาน และการประหาณองค์ฌานนั้น ก็ไม่มีการแยกออกเป็น ๒ ครั้ง คือฌานที่เกิดขึ้น เป็นครั้งที่ ๒ ชื่อว่าทุติยฌานนั้นมีการประหาณวิตก วิจารไปพร้อมกัน ฌานที่เกิดขึ้นครั้ง ที่ ๓ มีหน้าที่ประหาณปีติ ชื่อว่าตติยฌาน ฌานที่เกิดขึ้นครั้งที่ ๔ มีหน้าที่ประหาณสุข ชื่อว่าจตุตถฌาน เป็นอันว่าจบรูปฌาน เรียกว่าจตุกกนัย ด้วยเหตุนี้กําลังและคุณสมบัติ ของทุติยฌาน และตติยฌานจึงไม่ต่างกัน แต่ถ้าฌานลาภีที่เป็นมันทบุคคลด้วยกัน คนหนึ่ง ได้ทุติยฌานอย่างประณีต อีกคนหนึ่งก็ได้ตติยฌานอย่างประณีต แล้วก็ย่อมไปเกิดใน อาภัสสราภูมิด้วยกัน
กัมมจตุกกะ ในปริจเฉทที่ ๕ จบ
คําว่า “กรรม” หมายความว่าการกระทําที่เกี่ยวด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งทางดี และทางไม่ดี ชื่อว่ากรรม หรือธรรมชาติที่ให้สําเร็จการกระทํานั้นๆ ชื่อว่ากรรม ดังมี วจนัตถะว่า “กรณํ กมุมํ” หรือ “กโรนุติ เอเตนาติ กมุมํ” การกระทําชื่อว่ากรรมหรือสัตว์ทั้งหลายย่อมกระทําโดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สําเร็จการ กระทําเหล่านั้น ชื่อว่ากรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต และโลกิยกุศลจิต
พระอนุรุทธาจารย์แสดงกัมมจตุกกะเป็น ๔ จตุกกะ ดังนี้คือ
๑. กิจจจตุกกะ ว่าโดยกิจมี ๔
๒. ปากทานปริยายจตุกกะ ว่าโดยลําดับแห่งการให้ผลมี ๔
๓. ปากกาลจตุกกะ ว่าโดยเวลาทีให้ผลมี ๔
๔. ปากัฏฐานจตุกกะ ว่าโดยฐานะที่ให้ผลมี ๔
ในจตุกกะทั้ง ๔ เหล่านี้ ปากัฏฐานจตุกกะอย่างเดียวที่แสดงตามอภิธรรมนัย คือเป็นนัยที่กล่าวได้แน่นอน ส่วนจตุกกะทั้ง ๓ ที่เหลือแสดงตามสุตตันตนัย คือเป็นนัยที่กล่าวไม่ได้แน่นอน เพียงแต่เป็นไปโดยส่วนมากเท่านั้น
๑. กิจจจตุกกะ
๑. ชนกกรรม
ชนกกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “วิปากกฺขนฺธ กมุมชรูปาน ชเนตติ ชนกํ” กรรมใดย่อมทําให้วิบากนามขันธ์และกัมมขรูปเกิดขึ้น ฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่าชนกกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ โลกิยกุศลกรรม ๑๗
ชนกกรรมนี้เป็นกรรมที่ทําให้วิบากและกัมมชรูป พร้อมทั้งกัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดขึ้นทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล หมายความว่าเมื่อสัตว์ทั้งหลายตายลงแล้วไปเกิดเป็นสัตว์ ดิรัจฉาน เป็นมนุษย์ เทวดา เป็นพรหม เหล่านี้ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจของชนกกรรม ที่ทําให้วิบากและกัมมชรูปเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วก็ต้องมีอวัยวะใหญ่ น้อยเกิดขึ้นตามสมควรแก่สัตว์นั้นๆ พร้อมทั้งมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การรักษาภพ (ภวังค์) เกิดขึ้น เหล่านี้ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจของชนกกรรมที่ทําให้วิบาก, กัมมชรูป และกัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดขึ้นในปวัตติกาล
ชนกกรรมที่สามารถทําให้วิบาก และกัมมชรูปเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล กล่าวคือให้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เป็นต้นได้นั้น ต้องเป็นกรรมชนิดที่ครบกรรมบถเป็นส่วนมากสําหรับชนกกรรมที่ทําให้วิบาก กัมมชรูป และกัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดขึ้นในปวัตติกาล กล่าวคือให้มีอวัยวะใหญ่น้อย พร้อมทั้งการเห็น การได้ยิน เป็นต้น (เว้นภวังคจิต) นั้น เป็นกรรมชนิดที่ครบกรรมบถก็ตาม ไม่ครบก็ตาม และกุศลกรรม อกุศลกรรมที่เกิดขึ้น ในปัญจทวารวิถี หรือที่เกิดขึ้นในเวลาฝันก็ตาม ย่อมมีอํานาจให้วิบาก, กัมมชรูป และ กัมมปัจจยอุตุชรูปเกิดได้ทั้งสิ้น
วิมานอันเป็นที่อยู่ของพวกเทวดา พรหม หรือไฟ และเครื่องจองจําทรมานของพวก สัตว์นรกเหล่านี้ก็จัดเป็นกัมมปัจจยอุตุชรูปที่เกิดจากชนกกรรมด้วยเหมือนกัน
๒. อุปัตถัมภกกรรม
อุปัตถัมภกกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “กมุมนตร์ วา กมุมนิพฺพตฺตขนธ สนฺตานํ วา อุปัตถมเกตติ อุปถัมภก” กรรมใดย่อมอุปถัมภ์ซึ่งกรรมอื่นๆ และการสืบต่อแห่งขันธ์ที่เกิดขึ้นจากกรรมอื่นๆ ฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่าอุปัตถัมภกกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘
อุปัตถัมภกกรรมนี้ เป็นกรรมที่ช่วยหนุนชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง ช่วยหนุนชนกกรรมที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลนั้นบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง และช่วยหนุนรูปนามที่เป็นวิบากของชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้นานประการหนึ่ง
ก. อุปัตถัมภกกรรม ช่วยหนุนชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสส่งผลนั้น ได้แก่ กุศล อกุศล เหล่านี้แหละ เป็นอุปัตถัมภกกรรมช่วยหนุนชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาส ให้ผลได้มีโอกาสส่งผลชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลนั้นมี ๒ อย่างคือ ชนกกรรมใน อดีตภพอย่างหนึ่ง และชนกกรรมในปัจจุบันภพอย่างหนึ่ง ฉะนั้น การช่วยหนุนของอุปัตถัมภกกรรมแก่ชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผลให้ได้มีโอกาสส่งผลนั้นจําแนกออกเป็น ๘ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนแก่กุศลชนกกรรมในอดีตภพให้ มีโอกาสส่งผล
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้ มีโอกาสส่งผล
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้ มีโอกาสส่งผล
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ให้มีโอกาสส่งผล
๖. กุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผล
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้มีโอกาสส่งผล
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผล
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล เช่น
นาย ก. เป็นพุทธศาสนิกชน แต่ในปัจจุบันภพ นาย ก. ทําอกุศลเป็นส่วนมากด้วย เหตุนี้ เมื่อนาย ก. มีอาการป่วยลงใกล้จะตาย แต่ยังมีความรู้สึกตัวดีอยู่ นิมิตที่ไม่ดีปรากฏเกิดขึ้นกับนาย ก. ทําให้มีกิริยาอาการผิดปกติไป เมื่อผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเห็นดังนั้นก็รู้ได้ว่า นาย ก. นี้มีนิมิตไม่ดีเกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้น จึงมีจิตใจไม่ผ่องใส ถ้าแตกดับลงในเวลานี้ก็จะไปสู่ทุคติอย่างแน่นอน กุศลอปราปริยเวทนียกรรมของนาย ก. ก็ไม่อาจจะช่วยให้นาย ก. พ้นจากทุคติได้ เพราะจิตใจของนาย ก. ไม่ผ่องใสนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ ผู้ใกล้ชิดนั้นจึงหาทางที่จะแก้ไขอารมณ์ของนาย ก. ที่ไม่ดีอยู่นั้นให้เปลี่ยนเป็นผ่องใสขึ้นโดยนิมนต์พระมาสวดมนต์และแสดงธรรมเทศนาให้ฟัง นําเอาพระพุทธรูปมาตั้งบูชาไว้ใกล้ๆ นาย ก. เพื่อ ให้นาย ก. ได้มีจิตใจน้อมนมัสการต่อพระพุทธรูปนั้น และพยายามหาหนังสือธรรมบทมาอ่านให้ฟัง เมื่อได้จัดการแก้ไขอารมณ์ให้แก่นาย ก. ดังกล่าวนี้แล้วจิตใจของนาย ก. เป็นผ่องใสขึ้น นิมิตที่ปรากฏไม่ดีนั้นก็หายไป นิมิตที่ดีก็ปรากฏขึ้นแทน ฉะนั้นเมื่อนาย ก. สิ้นชีวิตลงแล้ว นาย ก. ก็ได้มีโอกาสไปบังเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดานี้ก็เป็น เพราะกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้มีโอกาสส่งผล ตรงกับข้อความที่แสดงไว้ในอิติวุตตกะว่า
อิมสฺมิ จายํ สมเย กาลกิริยาถ ปุคฺคโล
สกคมหิ อุปปชเชยย จิตตญหิส ปสาทิต ฯ
อิมสุมิ จาย สมเย กาลี กิริยาถ ปุคฺคโล
นิรเย อุปปชฺเชยย จิตฺตญฺหัส ปทูต ฯ
บุคคลนั้นถ้าตายลงในเวลานั้น จะต้องไปเกิดในเทวภูมิแน่นอน เพราะจิตใจของผู้นั้นมีความผ่องใส
บุคคลนั้นถ้าตายลงในเวลานั้น จะต้องไปเกิดในนิรยภูมิแน่นอน เพราะจิตใจของผู้นั้นมีความเศร้าหมอง
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ข. เป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาดี ทําบุญ ทําทานรักษาศีลอยู่เสมอแต่ไม่เคยอบรมจิตใจในการปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา และไม่เคย ศึกษาพระอภิธรรม ฉะนั้นเมื่อนาย ข. ป่วยไข้ใกล้จะตายมีความกลัวและมีความวิตกกังวลห่วงใยในทรัพย์สมบัติลูกหลาน เมื่อเป็นเช่นนี้จิตใจของนาย ข. ก็มีความเศร้าหมองนิมิต ที่ไม่ดีก็ปรากฏขึ้น ทําให้กิริยาอาการของนาย ข. ผิดปกติไป ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่มีความรู้ในธรรมะดีพอ เมื่อสังเกตเห็นดังนั้นก็รู้ได้ว่านาย ข. มีนิมิตที่ไม่ดีปรากฏขึ้นแล้ว และถ้านาย ข. ตายลงในเวลานี้ก็จะไปสู่ทุคติภูมิแน่นอน กุศลต่างๆ ที่นาย ข. ได้ทําไว้ในภพนี้นั้น จะไม่สามารถช่วยนาย ข. ได้เลย ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดนั้นจึงพยายามหาทางที่จะแก้ไขให้นาย ข. ก็มีจิตใจผ่องใสขึ้น นิมิตไม่ดีนั้นก็หายไป นิมิตที่ดีก็ปรากฏขึ้นแทน ฉะนั้นเมื่อนาย ข. สิ้นชีวิตลง ก็ได้มีโอกาสไปเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์ หรือ เทวดา นี้เป็นเพราะกุศลที่เกิด ขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ค. เป็นผู้มีใจบุญได้บําเพ็ญทานรักษาศีลอยู่เสมอในปัจจุบันภพนี้ แต่ไม่เคยอบรมจิตใจในการปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนาและไม่เคยศึกษาพระอภิธรรม ต่อมาเมื่อนาย ค. ใกล้จะตาย เกิดความกลัวตายและวิตกกังวลในทรัพย์สมบัติและลูกหลาน ทําให้จิตใจของนาย ค. มีความเศร้าหมองเป็นอกุศลเกิดขึ้นในเวลานั้นนิมิตที่ไม่ดีก็ปรากฏแก่นาย ค. ทําให้นาย ค. มีหน้าตากิริยาอาการผิดปกติ แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดนั้นไม่มีความรู้ในเรื่องธรรมะ ฉะนั้น จึงไม่มีการแก้ไขแต่อย่างใด เมื่อนาย ค. สิ้นชีวิตลงก็ต้องไปเกิดในทุคติภูมิๆ ใดภูมิหนึ่ง กุศลที่นาย ค. ทําไว้ในชาตินี้ ไม่สามารถช่วยส่งผลให้นาย ค. ไปสู่สุคติได้เลย นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลที่นาย ค. เคยได้ทําไว้ในชาติก่อนๆ ให้มีโอกาสได้ส่งผลประการหนึ่ง
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ง. เมื่อยังอยู่ในเยาว์วัยมักทําอกุศลเป็น ส่วนมาก เช่น มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพสุรายาเมา เป็นต้น ครั้นเมื่อมีอายุมากเข้าแลเห็นโทษในการทําชั่วเหล่านั้น ก็มีความสังเวชสลดใจเกิดขึ้น เลยสละจากเพศฆราวาสเข้า บวชในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระภิกษุ ง. นี้มีอาการป่วยหนัก และหวนคิดไปถึงเมื่อครั้งที่ตนยังหนุ่มๆ อยู่นั้น ได้เคยทําอกุศลไว้มาก ก็ทําให้เกิดความไม่สบายใจกลัวจะไปตก อบายภูมิ เมื่อเป็นเช่นนี้จิตใจของพระภิกษุ ง. นี้ก็มีความเศร้าหมองเดือดร้อนอยู่ จนกระทั่งมรณภาพ พระภิกษุ ง. นี้ก็ไปบังเกิดในนิรยภูมิทันที นี้ก็เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้จะตาย ช่วยหนุนอกุศลที่ตนเคยทําไว้ในภพนี้ได้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๕. กุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภาพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย จ. เป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เชื่อบาป ไม่เชื่อบุญ มีความเห็นว่าการฆ่าสัตว์ไม่บาป, ฆ่าคนจึงจะบาป การทําบุญตักบาตร ไหว้พระสวดมนต์ เหล่านี้ก็ไม่เป็นบุญ ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่พระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้น ทั้งสิ้น ต่อมานาย จ. มาเป็นคนรับใช้อยู่ในบ้านของผู้มีใจบุญ ซึ่งทําบุญให้ทานอยู่เสมอ เช่น มีการใส่บาตรเป็นประจําทุกๆ วัน ไปฟังเทศน์รับอุโบสถทุกๆ วันพระ เป็นต้น และ นาย จ. จะต้องมีหน้าที่หุงข้าวจัดสิ่งของใส่บาตรให้แก่นายทุกวัน ถึงวันอุโบสถก็ต้องติดตามนายของตนไปวัดด้วยเสมอ การกระทําเช่นนี้ทําให้จิตใจของนาย จ. ละจากความเห็นผิดไปได้ และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ครั้นเมื่อนาย จ. เจ็บไข้ลงใกล้จะตาย จิตใจของนาย จ. นี้ไม่มีความเศร้าหมองอย่างหนึ่งอย่างใดเพราะนาย จ. ตัวคนเดียว ทรัพย์สมบัติก็ไม่มี ฉะนั้นจึงไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นห่วงกังวลด้วยเหตุนี้ โลภะ โทสะ โมหะ ชนิดหยาบที่กําลังแรงจึงไม่เกิดกับนาย จ. เมื่อนาย จ. ตายลงก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง แต่กุศลมีการหุงข้าวใส่บาตร ฟังเทศน์เป็นต้น ที่นาย จ.กระทําเป็นปกติอยู่เสมอนั้น แม้ว่าจะไม่มีกําลังพอที่จะส่งผลให้แก่นาย จ. ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ชั้นสูงก็ตาม แต่ก็เป็นกําลังช่วยอุดหนุนแก่กุศลอปราปริยเวทนียกรรมที่นาย จ. เคยกระทําไว้ในอดีตภพ ให้มีโอกาสส่งผลให้นาย จ. ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง นี้ก็เป็นเพราะกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพให้ มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๖. กุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ฉ. เคยอุปสมบท เคยศึกษาในเรื่องธรรมะ และเคยปฏิบัติสมถะวิปัสสนามา ต่อมานาย ฉ. ลาสิกขาบทออกมาแล้วก็ต้อง ประกอบการอาชีพซึ่งอาชีพของนาย ฉ. นี้เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับอกุศล คือทําการประมง แต่นาย ฉ. ก็ยังมีการทําบุญใส่บาตรทุกๆ วันพระและตั้งใจทําอยู่เสมอมิได้ขาด แต่กุศลอื่นๆ นาย ฉ. ไม่มีโอกาสได้ทํา เมื่อนาย ฉ. พิจารณาถึงความเป็นไปของตัวเองแล้ว ก็รู้สึกว่าอาชีพที่ตนกระทําอยู่นี้เป็นอกุศล จะเปลี่ยนอาชีพใหม่ก็ไม่ได้ เพราะตนไม่มีความรู้อย่างอื่น ฉะนั้น ตนจําเป็นจะต้องหากุศลที่พอจะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้บ้าง นาย ฉ. เมื่อคิดได้ดังนี้ แล้วก็ตั้งใจใส่บาตรทุกๆวันพระมิได้ขาดพร้อมทั้งมีความปิติยินดีในการกระทําของตนด้วย เมื่อถึงเวลาที่นาย ฉ. ใกล้จะตายจิตใจของนาย ฉ. ก็เป็นปกติมิได้เกิดความเศร้าหมองใด ฉะนั้นเมื่อนาย ฉ. ตายลง นาย ฉ. ก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง ด้วยอํานาจแห่งศีลกุศลหรือภาวนากุศลที่นาย ฉ. เคยได้ทํามาในภพนี้
ศีลกุศลหรือภาวนากุศลของนาย ฉ. นี้ เมื่อนึกถึงอาชีพที่เป็นอกุศลแล้วก็รู้ได้ว่าจะไม่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว แต่ที่กลับมาส่งผลให้นาย ฉ. ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง กว่านี้ก็เพราะอาศัยทานกุศลที่นาย ฉ. กระทําอยู่ทุกๆ วันพระนั้นเอง เป็นกุศลที่ช่วยหนุน ศีลกุศล และภาวนากุศลในปัจจุบันภพให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ช. ตั้งแต่เล็กจนกระทั่ง เติบโตเป็นหนุ่ม เป็นผู้ที่มีใจเป็นกุศลช่วยบิดามารดาใส่บาตรทุกวันไปฟังธรรมกับบิดา มารดาทุกๆ วันพระ และมีการบริจาคทานอยู่เสมอ เป็นที่หวังได้ว่าถ้านาย ช. ตายลงจะ ไม่ต้องไปตกนรกแน่นอน ครั้นต่อมาเมื่อนาย ช. มีครอบครัวขึ้นแล้ว การทํากุศลของนาย ช. ก็ห่างลงเป็นสําดับไม่มีโอกาสได้ทําเหมือนอย่างก่อน เพราะต้องประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว จิตใจหมกมุ่นอยู่แต่ในการหาเงินหาทอง และหลงเพลิดเพลินอยู่ในความสนุกสนานต่างๆ แต่อกุศลที่เกี่ยวกับทุจริตนั้นนาย ช. ก็มิได้กระทําเป็นดังนี้เรื่อยๆ มาจน กระทั่งนาย ช. สิ้นชีวิต ด้วยเหตุนี้เมื่อนาย ช. สิ้นชีวิตลงจึงได้ไปบังเกิดในนิรยภูมิ เพราะอาศัยอกุศลจิตที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในตอนหลังนี้ ช่วยหนุนอกุศลที่นาย ช. ได้เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ให้มีโอกาสส่งผลประการหนึ่ง
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล เช่น นาย ช. ตั้งแต่เล็กจนกระทั่งเติบโตเป็นหนุ่มไม่เคยทํากุศลเลย มีแต่คบเพื่อนพากันเที่ยวเตร่ บางครั้งก็เสพสุราบ้าง ลักขโมยบ้าง ประพฤติเช่นนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งมีอายุครบบวช ผู้ปกครองจึงบังคับให้นาย ช. บวชเพื่อจะได้ละนิสัยเก่าที่ไม่ดีนั้นเสีย นาย ช. ก็ยอมบวช และในระหว่างที่บวชนั้น พระภิกษุ ช. ได้ปฏิบัติกิจของสมณะเป็นอย่างดี และตั้งอกตั้งใจเล่าเรียนศึกษา ปริยัติธรรมมิได้ขาด เมื่อบวชมานานประมาณสัก ๓ พรรษาล่วงแล้วศรัทธาก็ถอยลง การปฏิบัติกิจของสมณะ ก็หย่อนลง ไม่ตั้งใจเล่าเรียนเหมือนแต่ก่อนชอบออกจากวัดไปเที่ยวคุยกับคนโน้นคนนี้ใน เรื่องไร้สาระต่างๆ ชอบฟังวิทยุบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์และ หนังสือทางโลกบ้าง หาเวลา ไปเรียนวิชาทางโลก เพื่อเตรียมตัวสึกบ้างมีจิตใจฟุ้งซ่านไม่สงบเหมือนแต่ก่อน พระภิกษุ ช. มีจิตใจหมกมุ่นไปในทางโลกอยู่เช่นนี้เรื่อยๆ มา ตลอดเวลาประมาณ ๒ - ๓ ปี ก็เผอิญ มาถึงแก่มรณภาพยังไม่ทันได้สึก เมื่อพระภิกษุ ช. มรณภาพลงแล้วก็ได้ไปบังเกิดในดิรัจฉานภูมิ ด้วยอํานาจแห่งอกุศลที่เกิดขึ้นในตอนหลังๆ นี้ช่วยหนุนอกุศลที่พระภิกษุ ช. ได้เคย กระทํามาก่อนบวชให้สามารถส่งผลได้นั้นเอง
ข. อุปัตถัมภกกรรม ช่วยหนุนชนกกรรมที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น มี ๑๐ ประเภท คือ
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๕. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๖. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๙. กุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมี โอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๑๐. อกุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่กําลังมีโอกาสให้ผลอยู่อย่างหนึ่ง
๑. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ก. เป็นคนมีนิสัยเฉยๆ มีจิตใจเยือกเย็น กลัวต่อบาป ไม่ทําทุจริต การทํากุศลนั้นทําเพียงเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ทําเป็น ล่ำเป็นสัน เพราะมีฐานะไม่ค่อยดี การอบรมจิตใจในเรื่องธรรมะก็ไม่ใคร่มีโอกาส เพราะมัวแต่ประกอบอาชีพ แต่เมื่อเวลาที่นาย ก. ใกล้จะตายนั้นมีจิตใจผ่องใสเป็นกุศลเกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อนาย ก. ตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาที่มีฐานะดีนี้เป็นเพราะกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมที่นาย ก. เคยทําไว้ในอดีตภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๒. กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ข. เป็นผู้มีใจบุญ ทํากุศล อยู่เสมอ ไม่ได้ทําทุจริตอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะกลัวต่อบาป เมื่อเวลาที่นาย ข. ใกล้จะตายนั้น มีใจผ่องใสเป็นกุศลเกิดขึ้น ฉะนั้น เมื่อนาย ข. ตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาที่มีฐานะสูงนี้เป็นเพราะกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาลช่วยหนุนกุศลชนกกรรม ที่นาย ข. ได้ทําไว้ก่อนจะตาย ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๓. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ค. มีนิสัยตระหนี่เหนียว แน่น ไม่สนใจในเรื่องการกุศล พยายามแต่จะหาเงินอย่างเดียว แต่ก็ไม่ได้ทําทุจริตอย่างใด เมื่อเวลาใกล้จะตายนั้นจิตใจไม่ผ่องใสเป็นอกุศลเกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อนาย ค. ตายลงจึง ได้ไปบังเกิดในอบายภูมิได้รับความลําบากมาก นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่นาย ค. เคยทําไว้ในอดีตภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๔. อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลัง มีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น เช่น นาย ง. มีใจเป็นอกุศลมาก ไม่เชื่อในบาปบุญคุณโทษ ไม่เชื่อว่าตายแล้วจะต้องเกิดอีก ไม่เชื่อนรก สวรรค์ ด้วยเหตุนี้ นาย ง. จึงกระทําอะไรๆ ตามความพอใจของตน ไม่เชื่อใคร เมื่อเวลาใกล้จะตายมีจิตใจ เศร้าหมองเกิดขึ้น ฉะนั้น เมื่อนาย ง. ตายแล้ว จึงไปบังเกิดในนิรยภูมิเสวยทุกข์ในที่นั้น สิ้นกาลนาน นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่ นาย ง. กระทําอยู่ในปัจจุบันภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ ขึ้นประการหนึ่ง
๕. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น ด.ช. จ. เป็นลูกของผู้ที่มีใจบุญ บิดามารดาสอนให้รู้จักใส่บาตร สวดมนต์ไหว้พระอยู่เสมอ แต่ ด.ช. จ. นี้มีอายุได้เพียง ๕ ขวบเท่านั้นก็ตายลง แล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลก นี้เป็นเพราะกุศลที่ ด.ช. จ. ทําในปวัตติกาลนั้น ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมที่ ด.ช. จ. เคยทําไว้ในอดีตภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นประการหนึ่ง
๖. กุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกําลังในการให้ ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ฉ. เป็นลูกของผู้ที่มีใจบุญ บิดามารดามีความรู้ในธรรมะ ฉะนั้นจึงได้อบรมนาย ฉ. ให้รู้จักในเรื่องพระพุทธศาสนา รู้จักบาปบุญ นาย ฉ. ก็เชื่อ และปฏิบัติตามคําสั่งสอนของบิดามารดาเป็นอย่างดี ได้พยายามบําเพ็ญทาน ศีล ภาวนาอยู่เสมอ มีอกุศลเกิดได้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อนาย ฉ. ตาย จึงได้ไปบังเกิดในเทวโลก เป็นเทวดาชั้นสูง นี้เป็นเพราะกุศลที่นาย ฉ. กระทําอยู่เสมอๆ นั้นแหละช่วยหนุนกุศลชนกกรรมของนาย ฉ. ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพ ให้มีกําลังส่งผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น สําหรับกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลแล้ว กุศลที่เกิดหลังๆ ก็ช่วยหนุน ให้มีกําลังยิ่งขึ้น และถ้ากุศลที่เกิดหลังๆ มีโอกาสส่งผลแล้ว กุศลที่เกิดก่อนๆ ก็ช่วยหนุน ให้มีกําลังยิ่งขึ้น
๗. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น คือนาย ซ. เป็นลูกของคนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นหนุ่มก็ไม่เคยได้รับการอบรมในเรื่องบาปบุญ ไม่ มีการเคารพคารวะต่อผู้ใหญ่ ชอบสนุกสนานต่างๆ แต่ความประพฤติของนาย ช. นี้ไม่ถึง ทุจริต เมื่อนาย ช. ตายแล้วก็ไปบังเกิดในนิรยภูมิ นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่นาย ช. เคยทําไว้ในอดีตภพ ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๘. อกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภาพที่มีโอกาส ให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ขึ้นนั้น เช่น นาย ช. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบาป ไม่เชื่อบุญ เห็นว่าการกระทําบุญไม่มีประโยชน์อะไร ทําแล้วก็เสียเปล่า ไหว้เจ้าดีกว่ากลับมาได้กิน ถือศีล ๘ ก็ไม่มีประโยชน์ อดข้าวหิวเปล่าๆ การปฏิบัติอบรมจิตใจก็ไม่มีประโยชน์ เสียเวลาและลําบากเปล่าๆ ไม่ต้องทําอะไรก็ได้ คนตายแล้วก็ต้องเกิดเป็นคนอีก สุนัขตาย แล้วก็เกิดเป็นสุนัขอีก ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น นาย ซ. จึงทําแต่อกุศลเป็นส่วนมาก เมื่อเวลา ที่นาย ช. ตายแล้วก็ไปบังเกิดในนิรยภูมิ เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส นี้ก็เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมที่นาย ช. ทําอยู่เสมอในภพนี้ที่ได้โอกาส ให้ผลอยู่แล้ว ให้มีกําลังในการให้ ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นประการหนึ่ง
๙. กุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาส ให้ผล ให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น เช่น นาย ณ. มีศรัทธาแก่กล้าเบื่อหน่าย ในเพศฆราวาส เพราะมีโอกาสสร้างกุศลได้น้อยมีแต่เป็นไปในทางอกุศลเป็นส่วนมาก ไม่มีเงินก็ลําบากเพราะไม่มีจะกิน มีก็ลําบากเพราะต้องเป็นห่วง นาย ณ. มองเห็นโทษดังนี้ แล้วก็ละจากเพศฆราวาสเข้าบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติในคันถธุระ และรักษาวินัยอย่างเคร่งครัด เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ตั้งใจสอนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาต่อไป ครั้นมีอายุมากจึงเข้าปฏิบัติวิปัสสนาธุระและทําการแนะนําสั่งสอน ไปด้วย ปฏิบัติอย่างนี้จนถึงสิ้นอายุ เมื่อมรณภาพลงแล้วก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกเป็นเทวดา ชั้นสูง กุศลเก่าๆ ที่นาย ณ. เคยสร้างไว้ในอดีตภพที่เป็นอปราปริยเวทนียกุศลก็มีอยู่ แต่กุศลที่นาย ณ. สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันภพนั้นมีกําลังแรงยิ่งกว่า ฉะนั้น กุศลเท่านั้นจึงไม่ มีกําลังพอที่จะให้ผลปฏิสนธิได้ จึงทําหน้าที่ช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อตายจากภพเก่าไปเกิดในภพใหม่แล้วบารมี ต่างๆ ที่สร้างไว้ในภพเก่าๆ นั้น ก็ย่อมช่วยหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่มีโอกาส ให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกําลังยิ่งๆ ขึ้น คือให้ได้ไปบังเกิดในสกุลสูง มีฐานะสูงเช่นเดียวกัน
๑๐. อกุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพที่กําลังมีโอกาสให้ผลให้มีกําลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น เช่น นาย ญ. เป็นคนมีใจบาปหยาบช้า ไม่เคยได้ทํากุศลอย่างใด มีแต่ทําอกุศลตลอดมา คือฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง โกงเขาบ้าง เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อนาย ญ. ตาย อกุศลที่ตนกระทําไว้ในภพนี้ได้โอกาสส่งผลให้นาย ญ. ไปเกิดในนรยภูมิ อกุศลเก่าๆ ที่นาย ญ. เคยทําไว้ในอดีตภพก็ช่วยหนุนให้อกุศลที่กําลังส่งผลอยู่นั้นให้มีกําลังบริบูรณ์ขึ้น เปรียบเหมือนคนที่เคยกระทําผิดกฎหมายมาหลายครั้งแล้ว แต่มาครั้งหลังถูกจับได้ เมื่อศาลพิจารณาโทษของผู้นั้นก็รวมเอาคดีเก่าๆ มาสมทบ พิจารณาด้วย แล้วตัดสินลงโทษแก่ผู้นั้นให้หนักขึ้น นี้แสดงให้เห็นว่าการกระทําผิดไว้เมื่อครั้งก่อนๆ แม้ว่าจะรอดจากการถูกจับก็จริง แต่เมื่อเวลาใดที่ผู้นั้นถูกจับตัวได้ ความผิด ครั้งเก่านั้นแหละย่อมช่วยหนุนความผิดครั้งหลังให้ได้รับโทษหนักยิ่งขึ้น ดังนี้
ค. อุปัตถัมภกกรรม ช่วยหนุนรูปนามที่เป็นวิบากของชนกกรรมให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นานนั้น มี ๗ ประการ คือ
๑. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๒. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๓. อกุศลที่เคยทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม อย่างหนึ่ง
๔. อกุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๕. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๖. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๗. อกุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ แสดงตามนัยอรรถกถาและมูลฎีกา ข้อ ๕ ถึงข้อ ๗ แสดง ตามนัยปรมัตถทีปนีฎีกา (ซึ่งเขียนโดยพระอาจารย์แลดีและสังคมภาสาฎีกา(ซึ่งเขียนโดย พระอาจารย์ชนกาภิวงศ์)
๑. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น พระสรีระร่างกาย ผิวพรรณ เสียง เป็นต้น ทั้งภายนอก ภายใน และการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีความประณีต สวยงามเป็นพิเศษกว่ามนุษย์ทั้งหลาย และอารมณ์ต่างๆ ที่ได้รับนั้นก็เป็นอารมณ์ที่ดีเป็นส่วนมาก นี้ก็เป็นเพราะบารมีต่างๆ ที่พระองค์เคยทรงสร้างมาในภพก่อนๆ นั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๒. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ผู้มีใจเป็นกุศล กล่าวคือช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความลําบาก ช่วยบํารุง กิจการงานในพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองถาวร เป็นผู้รักษาตนให้อยู่ในศีลธรรมเสมอ ด้วยอำนาจแห่งการกระทําที่เป็นกุศลเหล่านี้ ย่อมทําให้ผู้นั้นมีความสุขกายสุขใจ ผิวพรรณ ผ่องใส มีเกียรติ ได้รับแต่อารมณ์ที่ดีๆ คือเห็นแต่สิ่งที่ดี ได้ยินแต่เสียงที่ดี เป็นต้น ทั้งปราศจากโรคภัยมีกําลังวังชาแข็งแรง อายุยืน เมื่อมีการเจ็บป่วยขึ้นก็ได้พบกับหมอที่ดี มียาดีรักษาให้หายเร็วๆ มีคนช่วยปฏิบัติให้ได้รับความสะดวกสบายทุกอย่าง เหล่านี้เป็นเพราะกุศลที่ได้กระทําในภพนี้นั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๓. อกุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม ให้เจริญและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ความเป็นอยู่ของสัตว์นรกและเปรตทั้งหลายนั้น เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แต่สัตว์เหล่านั้นก็คงดํารงชีวิตอยู่ได้ยืนนานกว่าปกติ และสุนัขบางตัวอดๆ อยากๆ ร่างกายก็เป็นโรคเรื้อนเต็มตัว เข้าไปใกล้ใครเขาก็ทุบตีเบียดเบียนได้รับทุกขเวทนามาก แต่ถึงกระนั้นสุนัขนั้นก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานตั้งหลายเดือน หลายปี คนบางพวกก็เช่นเดียวกัน มีร่างกายเป็นโรคเรื้อรัง เจ็บปวดทรมานมาก แต่ก็ไม่ตายง่ายๆ ทนทุกข์ทรมานอยู่ได้นานๆ เหล่านี้ก็เป็นด้วยอํานาจแห่งอกุศลอุปัตถัมภกกรรม ในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๔. อกุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญ และตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ผู้ที่มีโรคประจําตัว คือโรคผิวหนัง โรคเส้นประสาท เป็นต้น มีอาการเจ็บปวดอยู่เสมอ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดมาจากอํานาจแห่งอกุศลชนกกรรม แต่ผู้นี้ไม่มีการระวัง ในเรื่องการรักษาตัว เสพสุรายาเมาอยู่เสมอ ฉะนั้น โรคที่เป็นอยู่นั้นจึงกําเริบมากขึ้น ทําให้เกิดความทุกข์กายหนักขึ้น
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉาน เช่น เสือ แมว จิ้งจก เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมเกิดมาจากอกุศลชนกกรรม และสัตว์เหล่านี้ก็มีการเบียดเบียนฆ่าสัตว์อื่นๆ กินเป็นอาหารทําให้ร่างกายของ สัตว์เหล่านี้เจริญเติบโตตั้งอยู่ได้ตลอดชีวิต นี้ก็เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในภพนี้นั้นแหละ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๕. กุศลที่เคยกระทํามาในภพก่อนๆ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น สุนัขบางตัวมีเจ้าของเลี้ยงดูรักใคร่ได้รับความสุขสบายอยู่ดีกินดี ในการที่สุนัขได้รับความสุขสบายเหล่านี้ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งกุศลกรรมที่สุนัขนั้นได้เคยกระทําไว้ในภพก่อนๆ นั้นเอง ช่วยหนุนรูปคือร่างกายของสุนัขและนามคือภวังคจิต ที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๖. กุศลที่เคยกระทําในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้นั้น เช่น สุนัขบางตัวมีความฉลาดสอนง่าย แสดงความคารวะต่อเจ้าของและผู้อื่น มีการนั่งได้ ยกมือไหว้ได้ เป็นต้น ทําให้เจ้าของและผู้อื่นที่แลเห็นเกิดความเอ็นดูสงสาร และเลี้ยงให้ได้รับความสุขสบาย ได้กินอาหารที่ดีๆ ได้รับความทะนุถนอมเป็นพิเศษ หรือ นกแก้ว นกขุนทอง ที่เจ้าของสอนให้พูดได้ สวดมนต์ได้กล่าวปฏิสันถารได้ ทําให้ผู้ที่ได้ยินเกิดรักใคร่เอ็นดู และนําอาหารมาให้ได้กินอิ่ม ได้รับความสุขสบายเหล่านี้ ก็เป็นเพราะอำนาจแห่งกุศลกรรมที่สุนัขและนกนั้นได้กระทําขึ้นในภพนี้ คือการแสดงความคารวะเป็น ต้นนั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมของสุนัขและนกนั้นให้เจริญและตั้งอยู่ได้
พวกเปรตทั้งหลายที่ได้รับส่วนบุญจากญาติมิตร และตนเองก็ได้อนุโมทนาในส่วนกุศลอันนั้นแล้ว ด้วยอํานาจแห่ง ปัตตานุโมทนากุศลที่พวกเปรตทั้งหลายได้กระทําขึ้นย่อม ทําให้ได้รับความสบายขึ้น พ้นจากความทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งกุศลกรรมที่ตนกระทำขึ้นนั้นเอง ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมของพวกเปรตเหล่า นั้นให้เจริญและตั้งอยู่ได้
๗. อกุศลที่เคยกระทํามาในภพนี้ ช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญ และตั้งอยู่ได้นั้น เช่น ผู้ที่มีอาชีพเป็นชาวประมง ขายอาวุธ ขายสุราแล้วเกิดความร่ำรวย มีความสุขสบายในการกิน การใช้ การบํารุงความเพลิดเพลินต่างๆ ด้วยอาศัยอาชีพเหล่านี้ หรือประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีอํานาจด้วยอาศัยการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ การเป็นชาวประมง การขายอาวุธ ขายสุรา การทําอาวุธเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลทั้งสิ้น แต่อกุศลเหล่านี้เป็นเครื่องช่วยหนุนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้
ประเภทของอุปัตถัมภกกรรมในข้อ ๗ นี้ เป็นไปไม่แน่นอน มีได้แต่ในสมัยที่เป็นกาลวิปัตติเท่านั้น ในกาลสัมปัตตินั้นมีไม่ได้
๓. อุปปีฬกกรรม
อุปปีฬกกรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “กมุมนฺตรํ วา กมุมนิพฺพตฺตขนฺธสนฺตานํ วา อุปปีเฬตีติ อุปปีฬกํ” “กรรมใดย่อมเบียดเบียนกรรมอื่นๆ และการสืบต่อแห่งขันธ์ ๕ ที่เกิดจากกรรมอื่นๆ นั้น ฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่าอุปปีฬกกรรม” ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ หมายความว่าอุปปีฬกกรรมนี้ เป็นกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีสภาพตรงกันข้ามกับตน (กมุมนฺตรอุปปีฬก) อย่างหนึ่ง และเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ (กมุมนิพฺพตฺตขนฺธสนตานอุปปีฬก) อย่างหนึ่งรวมเป็น ๒
ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีสภาพตรงกันข้ามกับตนนั้นมีทางเบียดเบียน ๒ อย่าง คือ
ก. เบียดเบียนเพื่อให้มีโอกาสส่งผล
ข. เบียดเบียนชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกําลังลดน้อยลงได้ผลไม่เต็มที่
ฉะนั้น การเบียดเบียนของอุปปีฬกกรรมนี้ จึงมี ๓ คือ
ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล
ข. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วให้มีกําลังลดน้อยลง
ค. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ
ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลนั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. กุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล อย่างหนึ่ง
๒. อกุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล อย่างหนึ่ง
อุปปีฬกกรรมนี้ก็ได้แก่ อุปัตถัมภกกรรมนั้นเอง คือในขณะที่กระทําหน้าที่ช่วยหนุนกรรมอื่นๆ อยู่นั้นในเวลาเดียวกันนั้นก็กระทําหน้าที่เบียดเบียนไปด้วย ฉะนั้น การยกตัวอย่างของกุศลอุปปีฬกกรรมในข้อ ๑ ที่ว่า “กุศลที่กระทําในภพนี้เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล” นั้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับการยกตัวอย่างของกุศลอุปัตถัมภกกรรมในข้อ ๑ ที่ว่า “กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาลช่วยหนุนกุศลชนกกรรม ในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลให้ได้มีโอกาสส่งผล” นั้นเอง
ในข้อ ๒ ที่ว่า “อกุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาส ส่งผล” นั้น ยกตัวอย่างทํานองเดียวกันกับอกุศลอุปัตถัมภกกรรมในข้อ ๓ ที่ว่า “อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้ได้มีโอกาสส่งผล"
ข. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วให้มีกําลังลดน้อยลง มี ๒ ประเภท คือ
๑. กุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกําลังลดน้อยลงอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทําอนันตริยกรรม คือปิตุฆาตกรรมอันหนัก นี้จะต้องได้รับผลไปตกอวีจีมหานรก แต่ด้วยพระเจ้าอชาตศัตรูได้สร้างกุศลไว้อย่างมากมาย คือเป็นผู้อุปถัมภ์บํารุงพระพุทธศาสนา เช่น ในการทําสังคายนาก็ได้พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์อุปถัมภ์ และในบรรดาปุถุชนทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้เลื่อมใสนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด ฉะนั้นด้วย อํานาจของกุศลนี้แหละจึงช่วยให้พระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ไปตกในอวีจิมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ เป็นแต่ไปตกในโลหกุมภีอุสสทนรก ซึ่งเป็น นรกขุมเล็กที่เป็นบริวารของอวีจีมหานรก
๒. อกุศลที่กระทําในภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกําลังลดน้อยลงอย่างหนึ่งยกตัวอย่างเช่น การทํากุศลที่เจือด้วยอกุศล คือในขณะที่กําลังอยู่นั้นก็มีความชื่นชมยินดีและเห็นประโยชน์ในการกระทําดี แต่เมื่อทําเสร็จแล้วมีอกุศลเกิดขึ้นเกี่ยวกับความไม่พอใจบ้าง เสียดายเงินบ้างเหล่านี้ ซึ่งทําให้ผลของกุศลนั้นมีกําลังลดน้อยลง ฉะนั้นเมื่อผู้นี้ตายแล้วแทนที่จะได้ไปเกิดเป็นเหตุกบุคคล กลับกลายเป็นทวิเหตุกบุคคลไปนี้ก็เพราะอำนาจแห่งอกุศลที่เกิดขึ้นนั้นเองเข้าเบียดเบียนกุศลให้มีกําลังลดน้อยลง
อนึ่ง บุคคลบางคนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่เมื่อเวลาที่คลอดจากครรภ์มารดามาแล้ว ปรากฏว่าผู้นั้นตาบอด หูหนวก จมูกโหว่ เป็นต้นมาแต่กําเนิดเหล่านี้ก็เป็นเพราะว่ากุศลชนกกรรมที่นําผู้นั้นให้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์นั้น ถูกอกุศลอุปปีฬกกรรมเบียดเบียนให้มีกําลังลดน้อยลง ฉะนั้นเมื่อถึงเวลาอันสมควรที่ ตา หู จมูก เป็นต้น จะปรากฏขึ้นแล้วก็กลับไม่ปรากฏ กลายเป็นคนตาบอด หูหนวก เป็นต้นมาแต่กําาเนิด
ค. อุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. อกุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เกิดมามีร่างกายสมบูรณ์เป็นคนแข็งแรงไม่มีโรคภัย แต่ต่อมาภายหลังเกิดเป็นโรคขึ้น เช่น โรคผิวหนัง โรคอัมพาต ทําให้เดินไม่ได้หรือสติฟั่นเฟือนไป กลายเป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย หรือถ้าไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนก็ให้เกิดมีอันเป็นไปในเรื่องทรัพย์สมบัติ ยศ บริวาร ได้รับความเสียหายต่างๆ การอาชีพก็ไม่เจริญขึ้นมีแต่ขาดทุนทําให้เกิดความเดือดร้อนใจต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น เหล่านี้เป็น เพราะ อํานาจแห่งอกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนเคยกระทํามาในภพก่อนๆ หรือภพนี้เข้าเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรม
๒. กุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เกิดมาเป็นคนยากจน หรือเป็นคนขี้โรค มีความลําบากต่างๆ ซึ่งเป็นผลที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรม แต่ผู้นั้นพยายามทําบุญรักษาศีลอยู่เสมอตามสมควร แก่ฐานะของตน ต่อมาภายหลังความลําาบากต่างๆ เหล่านั้นก็หายไป การทํามาหากินก็คล่องขึ้น โรคภัยที่เคยเป็นก็ได้ยาดีมารักษาหาย มีความสุขสบายขึ้นนี้ก็เป็นเพราะอํานาจ แห่งกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนได้สร้างขึ้นนั้น เข้าเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม กล่าวคือความลําบากกายลําบากใจนั้นให้หายไป
๔. อุปมาตกกรรม
อุปมาตกกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “กมฺมนฺตรํ วา กมฺมนิพฺพตฺขนฺธสนฺตานํ วา อุปฆาเตตติ อุปฆาตกํ” กรรมใดย่อมเข้าตัดกรรมอื่นๆ และการสืบต่อแห่งขันธ์ ๕ ที่เกิดจากกรรมอื่นๆ นั้น ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าอุปฆาตกกรรม ได้แก่อกุศลกรรม ๑๒ กุศลกรรม ๒๑ หมายความว่าอุปฆาตกกรรมนี้เป็นกรรมที่ตัดกรรมอื่นๆ และวิบากของกรรมนั้นๆ ให้สิ้นลงอย่างเด็ดขาด และมีสภาพต่างกับอุปปีฬกกรรมคืออุปปีฬกกรรมนั้น เป็นกรรมที่เพียงแต่เบียดเบียนกรรมอื่นๆ และวิบากซึ่งได้แก่อวัยวะร่างกายไม่ให้เกิดขึ้น หรือไม่ให้เจริญขึ้น ไม่ได้เป็นกรรมชนิดที่ทําให้เด็ดขาดลงไป ส่วนอุปฆาตกกรรมนี้เป็นกรรมชนิดที่ติดอย่างเด็ดขาด คือถ้าตัดกรรมแล้ว กรรมนั้นไม่สามารถให้ผลเกิดขึ้นได้เลยตลอดไป ถ้าตัดวิบากของกรรมแล้ว หมายถึงร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้นั้นย่อมเสียไปจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นกรรมนั้นก็ตัดเอาชีวิตของผู้นั้นเสียเลย
การตัดของอุปฆาตกกรรมนี้ มี ๒ อย่าง คือ
ก. ตัดชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (กมุมนฺตรอุปฆาตก)
ข. ตัดนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ ให้เสียไป (กมุมนิพฺพตฺตขนฺธสนุตาน อุปฆาตก)
ก. อุปฆาตกกรรมที่ติดชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไปนั้น มี ๓ ประเภท คือ
๑. กุศลอุปมาตกกรรม อุปฆาตกกรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ทําหน้าที่ตัดอกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๒. กุศลอุปมาตกกรรม อุปฆาตกกรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ทําหน้าที่ตัดกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๓. อกุศลอุปมาตกกรรม อุปฆาตกกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ทําหน้าที่ตัดกุศลชนกกรรมอย่างหนึ่ง
๑. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดอกุศลชนกกรรม
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดอกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป เช่น พระองคุลิมาลเถระ เมื่อก่อนที่จะได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น ได้เคยเป็นโจรฆ่าคนมาเสียมากต่อมาก ซึ่งการกระทําของพระองคุลิมาลนี้ จะต้องได้รับผลไปสู่นิรยภูมิอย่างแน่นอน แต่ต่อมาพระองคุลิมาลได้พบกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถูกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรมานจนกระทั่งรู้สึกตัวกลับใจได้ ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้เจริญ วิปัสสนากรรมฐานจนสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยอํานาจแห่งโสดาปัตติมรรคกุศลที่พระองคุลิมาลได้ในตอนแรกนั้นเอง ที่เป็นกุศลอุปฆาตกกรรมที่ตัดรอนอกุศลชนกกรรมของพระองคุลิมาลที่กระทําขึ้นในภพนี้และที่ได้เคยกระทําไว้ในภพก่อนๆ นั้นไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลตลอดไป
๒. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดกุศลชนกกรรม
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป เช่น ผู้ที่ได้เคยสร้างกามาวจรกุศลและมหัคคตกุศลมาแล้ว ต่อมาได้เจริญวิปัสสนาจนสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ฉะนั้น กามาวจรกุศลก็ไม่สามารถส่งผู้นั้นให้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้ มหัคคตกุศลก็ไม่สามารถส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดเป็นพรหมได้ ทั้งนี้ก็เพราะอํานาจแห่งอรหัตตมรรค นั่นเอง ที่เป็นกุศลอุปมาตกกรรมติดกุศลชนกกรรมอื่นๆ ไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลอีกต่อไป
นอกจากนี้ ผู้ที่ทําฌานได้ถึงรูปปัญจมฌาน เมื่อผู้นั้นตายลงแล้วก็จะต้องไปบังเกิดเป็นจตุตถฌานพรหม เป็นเหตุให้ปฐมฌานกุศลไม่สามารถส่งผลให้บุคคลนั้นไปเกิดเป็นปฐมฌานพรหมได้ ทุติยฌานและตติยฌานกุศลก็ไม่สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นทุติยฌานพรหมได้ จตุตถฌานกุศลก็ไม่สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นตติยฌานพรหมได้ นี้ก็เพราะอํานาจแห่งปัญจมฌานกุศลนั้นเอง เป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดมหัคคตกุศลกรรมที่ต่ำกว่า ไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผล
นอกจากนี้ ผู้ใดเจริญสมถภาวนาจนกระทั่งถึงอรูปฌาน เมื่อตายไปแล้วก็ต้องได้ไปบังเกิดเป็นอรูปพรหม เป็นเหตุให้ รูปาวจรกุศลทั้งหมดไม่สามารถส่งผลให้บุคคลนั้นไป เกิดเป็นรูปพรหมได้ นี้ก็เพราะอํานาจแห่งอรูปาวจรกุศลเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัด รูปาวจรกุศลกรรมไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลเช่นเดียวกันในอรูปฌานด้วยกันนั้น อรูปฌานที่สูงกว่าย่อมติดอรูปฌานที่ต่ำกว่าเป็นลําดับกันไป เช่น วิญญาณัญจายตนฌานย่อมติด อากาสานัญจายตนฌานไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผล เป็นต้น ในข้อนี้มุ่งหมายเอาผู้ที่ได้ฌานชั้นสูงนั้นไม่มีนิกันติตัณหาต่อฌานชั้นต่ำหรือภูมิชั้นต่ำเมื่อเวลาใกล้จะตาย เพราะธรรมดาผู้ที่ใกล้จะตายนั้น แม้ว่าจะได้ฌานชั้นสูงแล้วก็ตาม แต่ถ้ามีนิกันติตัณหาคือความพอใจในภูมิหรือฌานที่ต่ำกว่าดังนี้แล้ว ฌานชั้นสูงที่ตนได้อยู่นั้นย่อมสูญสิ้นไป
๓. อกุศลอุปฆาตกกรรมตัดกุศลชนกกรรม
อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลตลอดไป เช่น ผู้ใดผู้หนึ่งได้บําเพ็ญสมถกรรมฐานจนกระทั่งได้ฌาน ต่อมาผู้นั้นได้กระทําอกุศลที่เป็นปัญจานันตริยกรรมเข้าแล้ว อกุศลปัญญานันตริยกรรมนี้ย่อมเป็นอกุศลอุปฆาตก กรรมตัดมหัคคตกุศลชนกกรรมไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในพรหมโลกได้เลย เช่น พระเทวทัตที่เป็นผู้ได้ฌานอภิญญาแล้ว ต่อมาพระเทวทัตได้กระทําโลหิตุปบาทและสังฆเภทกรรมซึ่งจัดเป็นอนันตริยกรรม ฉะนั้น อนันตริยกรรมนี้จึงเป็นอกุศลอุปฆาตก กรรมตัดมหัคคตกุศลกรรมของพระเทวทัตไม่ให้มีโอกาสได้ไปเกิดในพรหมโลกแล้วตนเองก็ส่งให้ไปเกิดในนิรยโลกแทน
ข. อุปฆาตกกรรมที่ติดนามรูป อันเกิดจากชนกกรรมนั้นๆ ให้เสียไปนั้น มี ๔ ประเภท คือ
๑. กุศลอุปมาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
๒. กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
๓. อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
๔. อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
๑. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก เช่น ผู้ที่ตายไปแล้วไปบังเกิดเป็นสัตว์นรกในนิรยภูมิ ร่างกายและความเป็นไปมีการเห็น การได้ยิน เป็นต้นของสัตว์ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น แต่ในระยะต่อมาสัตว์นรกนั้นระลึกถึงกุศลที่ตนได้เคยกระทําไว้ได้โดยอาศัยการเห็นเปลวไฟแล้วระลึกได้ว่า เราเคยได้บวชพระไว้ได้เคยถวายจีวรแก่พระสงฆ์ไว้ หรือได้เคยปิดทองพระพุทธรูปไว้ เป็นต้น หรือโดยอาศัยพญายมราช เตือนสติให้แล้วก็ระลึกถึงกุศลต่างๆ ที่ตนได้เคยกระทําไว้ขึ้นได้ในขณะที่ระลึกถึงกุศลได้ นั้น มหากุศลจิตย่อมเกิดขึ้นในขณะนั้นสัตว์นรกก็จุติลง แล้วก็ได้ไปบังกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาทันที นี้ก็เป็นเพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเท่านั้นได้เอง เป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
นอกจากนี้ ผู้ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่เป็นคนที่ยากจน มีโรคภัยเบียดเบียนอยู่เสมอรักษาก็ไม่หาย ได้รับแต่ความลําบากกาย ลําบากใจ ไม่เคยได้เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ใช้วัตถุสิ่งของและได้ที่อยู่ที่อาศัยที่ดีๆ เลย ซึ่งล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น ต่อมามีผู้ใจบุญและมีความเข้าใจในเรื่องของพระพุทธศาสนามาช่วยตักเตือนให้คําแนะนําว่า การที่ได้เกิดมาเป็นคนยากจน ไม่ได้พบได้เห็นในสิ่งที่ดีๆ นั้น ก็เป็นเพราะว่าตนไม่เคยได้ สร้างทานกุศลเอาไว้ในชาติก่อน และที่เป็นคนขี้โรคเจ็บไข้อยู่เสมอนั้น ก็เพราะไม่เคยได้ รักษาศีล ฉะนั้น ควรจะพยายามสร้างทานกุศล ศีลกุศล ให้มีขึ้นตามความสามารถที่ตนจะกระทําได้ เมื่อผู้นั้นได้ยินคําแนะนําดังนี้แล้วก็พยายามขวนขวายสร้างกุศลให้เกิดขึ้นโดย เข้าไปอาศัยอยู่ในวัด ช่วยทําการงานที่เป็นเวยยา วัจจกุศลแก่พระภิกษุสามเณรและ สถานที่ที่ในวัดนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานรักษาศีล ๘ ตลอดชีวิต สร้างทานกุศลให้เกิดขึ้นโดย การตั้งน้ำให้เป็นทานแก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาทางวัดนั้น เป็นต้น เมื่อได้สร้างกุศลต่างๆ เหล่านี้อยู่เสมอเป็นนิจแล้ว ก็ทําให้เป็นที่รักใคร่ สงสารแก่คนทั้งหลายที่ไปมาอยู่ในวัดนั้น และได้รับความเอื้อเฟื้อจากบุคคลเหล่านั้นด้วยประการต่างๆ มีอาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่อง นุ่งห่ม เงินทองและยารักษาโรคที่ดีๆ กระทําให้ผู้นั้นได้รับความสุขกายสุขใจขึ้น และโรคภัยที่มีอยู่นั้นก็หายไป นี้ก็เป็นเพราะทานกุศลและศีลกุศลที่ผู้นั้นได้กระทําขึ้นในภพนี้นั้น แหละ เป็นกุศลอุปมาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบากในสุคติภูมิให้หายไปประการ หนึ่ง
๒. กุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก เช่น ผู้ที่เป็นฆราวาสแล้วได้สําเร็จ เป็นพระอรหันต์ แต่ไม่ได้บวชภายในวันนั้น อํานาจของอรหัตตมรรคนั้นจะเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก คือทําให้ผู้นั้นสิ้นชีวิตลงภายในวันนั้นเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่าคุณของอรหัตมรรค อรหัตผลนั้นเป็นสิ่งอันประเสริฐไม่คู่ควรกับเพศฆราวาส ซึ่งเป็นเพศที่ตั้งอยู่ในฐานะเพียงแค่ศีล ๕ เท่านั้น เปรียบเสมือนน้ํามันของราชสีห์ที่จะต้องรองรับด้วยภาชนะที่เป็นทองอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะสามารถตั้งอยู่ได้ ถ้ารองรับด้วยภาชนะอื่นๆ แล้ว น้ำมันราชสีห์นั้นจะแห้งหายไปหมดฉันใด คุณอันพิเศษของอรหัตมรรค อรหัตผลก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้สําเร็จอรหัตมรรค อรหัตตผลในเพศที่เป็นฆราวาสนั้น ก็ไม่สามารถจะรองรับอรหัตมรรค อรหัตผลนั้นไว้ได้ จะต้องสิ้นชีวิตภายในวันนั้นเอง ต่อมา เมื่อผู้นั้นบวชเป็นสามเณร หรือพระภิกษุแล้วจึงจะดํารงชีวิตต่อไปได้ฉันนั้น
๓. อกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก
อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก เช่น ธรรมดาอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายของคนนั้นนับว่าเป็นกุศล วิบากทั้งสิ้น และโดยอวัยวะต่างๆ เหล่านี้นั้นเองเมื่อเวลาที่ได้มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัสถูกต้องในสิ่งที่ดี ก็นับว่า เป็นกุศลวิบากเช่นเดียวกัน แต่ในเวลาต่อมาผู้นั้นเกิดได้รับอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน ถูก ลอบทําร้าย ตกจากที่สูง เป็นต้น ทําให้แขนหัก ขาขาด ตาบอด หูหนวกไปจนตลอดชีวิต นี้ก็เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก ถ้าผู้นั้นสิ้น ชีวิตลงโดยอาศัยอุบัติเหตุ ดังกล่าวมาแล้วนั้นก็นับได้ว่าอกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบากได้ เช่นเดียวกัน คือตัดรูปนั้นได้แก่ร่างกาย นามนั้นได้แก่ภวังคจิต และจักขุวิญญาณที่เป็น กุศลวิบาก เป็นต้น
๔. อกุศลอุปฆาตกกรรมตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก
อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก เช่น ธรรมดาสัตว์ดิรัจฉานมีสุนัข เป็นต้นนั้น ร่างกายและชีวิตความเป็นไปของสุนัขเป็นต้นนี้ จัดเป็นอกุศลวิบาก ยกเว้น แต่ความสวยงามของร่างกาย และกุศลวิบากจักขุวิญญาณจิต เป็นต้นที่เกิดขึ้นในขณะที่ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้ถูกต้องในสิ่งที่ดีๆ ต่อมาสุนัขนี้เกิดได้รับอุบัติเหตุ คือถูกรถ ชนตาย หรือถูกฆ่าตาย ตกน้ำตาย เป็นต้น การตายของสุนัขเช่นนี้ก็เป็นเพราะอํานาจของอกุศลอุปฆาตกกรรมที่เคยเกิดมาแล้วในภพก่อน หรือภพนี้เป็นผู้ตัดชีวิตและร่างกายที่เป็นอกุศลวิบาก
อนึ่ง อุปฆาตกกรรมที่ตัดนามรูปที่เป็นวิบากของกรรมอื่นๆ นั้น มีลักษณะการตัด ๓ แบบ คือ
๑. ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้วตัวเองก็ไม่ได้ส่งผลให้เกิด และก็ไม่ให้โอกาส แก่ชนกกรรมอื่นๆ ได้ส่งผล
๒. ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้ว ตัวเองส่งผลให้เกิด
๓. ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้ว ให้โอกาสแก่ชนกกรรมอื่นๆ ได้ส่งผล
ตัวอย่างข้อที่ ๑ เช่น พระจักขุปาลเถระ ซึ่งเมื่ออดีตชาติเคยเป็นหมอรักษาตา และได้ทําลายตาของผู้ที่มาให้รักษานั้นบอดไป ฉะนั้นอกุศลกรรมที่พระจักขุปาลเถระได้กระทํานี้ จึงตามสนองทําให้ตาทั้งสองของพระจักขุปาลเถระเสียไปจนตลอดชีวิต นี้ก็เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดวิบากของกุศลชนกกรรม คือทําให้ตาเสียนั้นเอง แต่อกุศลอุปฆาตกกรรมนี้ไม่ได้ส่งผลให้เกิดอีกต่อไป เพราะพระจักขุปาลเถระได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ไม่มีการเกิดอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น อกุศลอุปฆาตกกรรมนี้ จึงเป็นแต่เพียงตัด วิบากของกรรมอื่นๆ เท่านั้น
พระโมคคัลลานเถระที่ถูกพวกโจร ๕๐๐ ทุบตีจนถึงปรินิพพาน ด้วยอํานาจอกุศลกรรมที่เคยตีบิดามารดามุ่งหมายจะให้ตายนั้นก็เช่นเดียวกันคืออกุศลนี้เป็นอุปฆาตกกรรม ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ เท่านั้น ตัวเองไม่ได้ส่งผลให้เกิด
ตัวอย่างข้อที่ ๒ เช่น เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อว่าทุสสีมาร เป็นบริวารของพญามารได้ เอาก้อนหินขว้างศีรษะของพระอัครสาวกเบื้องขวา, ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้ากลาที่ได้ทรมานพระดาบส ชื่อว่าขันติวาที ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์จนถึงตาย นนทยักษ์ที่ได้เอากระบองตีศีรษะพระสารีบุตรขณะกําลังเข้านิโรธสมาบัติอยู่ และเทวทัตที่ได้ประทุษร้ายต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลทั้ง ๔ เหล่านี้ได้รับผลของการกระทําในปัจจุบันทันด่วนโดยถูกธรณีสูบทั้งเป็น และเมื่อตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดในอวีจีมหานรก เสวยทุกข์อยู่นั้น นี้ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งอกุศลอุปฆาตกกรรมตัดวิบากของกรรมอื่นๆ คือทําให้ธรณีสูบ แล้วตัวเองส่งผลให้ไปเกิดในอวีจีมหานรกด้วย
ตัวอย่างข้อที่ ๓ เช่น พระเจ้าพิมพิสาร ในอดีตชาติเคยสวมรองเท้าเข้าไปใน บริเวณพุทธเจดีย์ด้วยอํานาจแห่งอกุศลกรรมอันนี้ เมื่อได้มาเกิดในชาติที่เป็นพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้รับผลคือถูกกรีดฝ่าเท้าจนสวรรคต แต่เมื่อตายแล้วกุศลชนกกรรมอื่นๆ ได้ มีโอกาสส่งผลให้พระเจ้าพิมพิสารไปบังเกิดเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกานี้คืออกุศล อุปฆาตกกรรม ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้วให้โอกาสแก่กุศลชนกกรรมอื่นๆ ได้ส่งผล
๒. ปากทานปริยายจตุกกะ
๑. ครุกกรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “ครฺํ กโรตีติ ครุกํ”
กรรมใดย่อมให้ผลอันหนักแน่นเกิดขึ้น ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าครุกกรรม
หรืออีกนัยหนึ่ง “กมฺมนฺตเรหิ ปฏิพาหิตุํ อสกฺกฺเณยฺยตฺตา ครุกํ กมฺมนฺติ ครูกกมุมํ” “กรรมที่หนักแน่นเพราะกรรมอื่นๆ ไม่สามารถห้ามการให้ผลได้ ฉะนั้น จึง ชื่อว่า ครุกรรม" ได้แก่ ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ที่เกี่ยวกับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ๑ และ โทสมูลจิต ๒ ที่เกี่ยวกับปัญจานันตริยกรรม ๕ หมายเหตุ : สําหรับโลกุตรกุศลกรรมนั้น เป็นครุกกรรมก็จริง แต่ในที่นี้ต้องการแต่กรรมที่จะส่งให้เกิดในภพที่ ๒ ส่วนโลกุตรกุศลนั้นไม่มีหน้าที่ให้เกิด มีหน้าที่แต่จะทําลาย การเกิดตามสมควรแก่กําลังของตนเท่านั้น
กรรมที่ชื่อว่าครุกกรรมนี้ หมายถึงเป็นกรรมที่หนักแน่นสามารถส่งผลให้เกิดในชาติที่ ๒ ติดต่อกันโดยแน่นอน กรรมอื่นๆ ไม่สามารถกั้นไว้ได้ แต่มิได้มุ่งหมายว่าในบรรดาครุกกรรมด้วยกันนั้นจะไม่สามารถกั้นการให้ผลกันได้ หมายความว่า ครุกกรรมอันใดมีกําลังแรงกว่าครุกกรรมอื่นๆ ครุกกรรมอันนั้นจะเป็นผู้ส่งผล ส่วนครุกกรรมที่มีกําลังอ่อนกว่า เป็นตัวส่งผลไม่ได้ เป็นเพียงแต่ช่วยหนุนเท่านั้น แต่แม้ว่าจะไม่มีโอกาสส่งผลให้เกิดโดย เฉพาะก็ตามกรรมนั้นก็ยังได้ชื่อว่าเป็นครุกกรรมอยู่นั้นเอง เพราะถ้าครุกกรรมที่หนักกว่าตนไม่มีแล้ว ครุกกรรมอันนั้นก็จะต้องเป็นผู้ส่งผลให้เกิดในชาติที่ ๒ โดยแน่นอน เช่น ผู้ที่มีนิยตมิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ต่อมาได้ทําปัญจานันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอีก เมื่อเวลาที่ผู้นั้นตายลง นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมนั้นแหละจะเป็นผู้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในมหานรกขุมใดขุมหนึ่งติดต่อกันทันที เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมนี้หนักกว่าปัญญานันตริยกรรม สําหรับปัญจานันตริยกรรมนั้นเป็นแต่เพียงช่วยสนับสนุนในการให้ผลของนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมเท่านั้น
ส่วนในปัญจานันตริยกรรม ๕ อย่างนั้น สังฆเภทกรรมหนักที่สุด ถ้าสมมติว่าผู้ใดหาปัญจานันตริยกรรมครบทั้ง ๕ อย่างแล้ว สังฆเภทกกรรมจะเป็นผู้ส่งผลแก่ผู้นั้น ส่วนกรรมที่เหลือก็เป็นกรรมผู้ช่วยสนับสนุนในการให้ผลของสังฆเภทกกรรมไป
กรรมที่หนักรองลงมาจากสังฆเภทกกรรมนั้นได้แก่โลหิตุปบาท ต่อจากโลหิตุปบาท มาก็ได้แก่อรหันตฆาตกกรรม ย่อมหนักกว่ากรรมที่เหลือ ๒ ส่วน มาตุฆาตกกรรมกับปิตุมาตกกรรมทั้งสองนี้ต้องแล้วแต่คุณสมบัติ คือถ้าบิดาเป็นผู้มีศีลธรรม มารดาไม่มีศีลธรรม ปิตุฆาตกกรรมย่อมหนักกว่าถ้ามารดามีศีลธรรม บิดาไม่มีศีลธรรม มาตุฆาตกกรรม ย่อมหนักกว่า ถ้าบิดาและมารดาทั้ง ๒ มีศีลธรรมด้วยกันหรือไม่มีศีลธรรมด้วยกันแล้ว มาตุฆาตกกรรมย่อมหนักกว่า ด้วยเหตุนี้ ในอังคุตตรอรรถกถาจึงแสดงไว้ว่า
“ทฺวีสุปิ สีเลน วา ทุสฺสีเลน วา สมาเนสุ มาตุฆาตโกว ปฏิสนฺธิวเสน วิปจฺจติ, มาตา หิ ทุกฺกรการิณี พหุปการา จ ปุตฺตานนฺติ"
“หากมารดาบิดาทั้ง ๒ มีสภาพเสมอกันโดยความเป็นผู้มีศีลหรือไม่มีศีลแล้ว มาตุฆาตกกรรมนั้นแหละย่อมส่งผลปฏิสนธิ เพราะว่ามารดานั้นเป็นผู้รับภาระหนักอันกระทําได้โดยยาก และเป็นผู้มีอุปการคุณต่อบุตรทั้งหลายมาก”
มหัคคตกุศลกรรม ๙ ก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้ฌานทั้ง ๙ ที่เรียกว่าสมาบัติ ๘ หรือ ๙ แล้ว ในบรรดาสมาบัติ ๘ หรือ ๙ เหล่านี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นฌานที่หนัก กว่าฌานอื่นๆ ฉะนั้น ถ้าฌานลาภีบุคคลตายลงแล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลนั้น แหละเป็นผู้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ส่วนฌานที่เหลือนั้นเป็นอโหสิกรรมไป จะช่วยอุปถัมภ์ในการส่งผลของเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นไม่ได้
ส่วนรูปฌานทั้ง ๕ นั้น รูปาวจรปัญจมฌานนั้นแหละเป็นผู้ส่งผลให้ไปเกิดใน จตุตถฌานภูมิ รูปฌานที่เหลือนอกนั้นเป็นอโหสิกรรมไปเช่นเดียวกัน
ความแตกต่างระหว่าง การให้ผลของอกุศลครุกกรรมกับกุศลครุกกรรม
อกุศลครุกกรรมนั้น แม้ว่าตนจะไม่มีโอกาสเป็นผู้ส่งผลแต่ก็มีฐานะเป็นอุปัตถัมภกกรรมได้ ส่วนกุศลครุกกรรมนั้น เมื่อตนไม่มีโอกาสได้ส่งผลแล้ว ก็เป็นอโหสิกรรมไป ไม่มีฐานะที่จะเป็นอุปัตถัมภกกรรมได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้แหละ อกุศลครุกกรรมจึงมีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า ปัญจานันตริยกรรมและนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม สําหรับกุศลครุกกรรมนั้นไม่มีชื่อเรียกเป็นพิเศษ ปัญจานันตริยกรรมเมื่อแยกบทแล้วได้ดังนี้ ปญฺจ + อนนฺตร + อิย + กมฺม [ปญฺจ = ๕, อนนฺตร = ภพที่ไม่มีระหว่างคั่นในลําดับแห่งจุติ อิย = ให้ผล, กมฺม = การกระทํา] เมื่อรวมบทแล้วเป็นปัญจานันตริยกรรม แปลว่า การกระทํา ๕ อย่าง ที่ให้ผลโดยไม่มีระหว่างกันในลําดับแห่งจุติ
ดังนั้น พระฎีกาจารย์จึงได้แสดงวจนัตถะว่า “อนนฺตเร นิยุตฺตํ กมุมํ อนนุตริย กมุมํ” “กรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการให้ผลในภพที่ไม่มีระหว่างคั่นในลําดับแห่งจุติ ชื่อว่า อนันตริยกรรม"
นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เมื่อแยกบทแล้วได้ดังนี้ นิยต + มิจฺฉา + ทิฏฐิ + กมฺม (นิยต - แน่นอน, มิจฉา = ผิดจากความเป็นจริง, ทิฏฐิ = ความเห็น, กมฺม - การกระทํา] เมื่อรวมบทแล้วเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม แปลว่า “กรรม คือความเห็นผิดไปจากความเป็นจริงทีให้ผลแน่นอนในลําาดับแห่งจุติ” ดังนั้น พระฎีกาจารย์จึงได้แสดงวจนัตถะว่า “มิจฺฉา ทสฺสนํ มิจฺฉาทิฏฐิ” “ความเห็นที่ผิดไปจากความเป็นจริง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ
“อนนฺตรภฺเว วิปากทานโต นิยตา จ เต มิจฺฉาทิฏฐิ จาติ นิยตมิจฺฉาทิฏฺฐิ” ธรรม อันใดแน่นอนโดยการให้ผลในลําดับแห่งจุติในภพที่ติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น และมีการเห็น ผิดไปจากความเป็นจริง ฉะนั้น ธรรมอันนั้น ชื่อว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ
อธิบายพิเศษในอนันตริยกรรม ๕ อย่าง
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าบิดามารดานั้น แม้จะไม่รู้ว่าผู้ที่ตนฆ่านั้นเป็นบิดามารดาคิดว่า เป็นคนอื่นก็ตาม ถ้าการฆ่านั้นได้สําเร็จลงแล้ว ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงมาตุฆาตกกรรม ปิตุฆาตกกรรม ในตติยปาราชิกอรรถกถาแสดงว่า
“ผู้ใดมีความตั้งใจจะฆ่าผู้อื่น หรือฆ่าสัตว์ดิรัจฉานโดยการใช้ปืน หรือมีดก็ตาม แต่ในการฆ่านั้นเผอิญพลาดไปถูกบิดาหรือ มารดาตายลง ผู้ที่ตนต้องการฆ่าไม่ตาย เช่นนี้ก็นับว่าผู้นั้นได้เข้า ถึงมาตุฆาตกกรรม ปิตมาตกกรรมเช่นเดียวกัน"
บิดามารดาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ลูกเป็นมนุษย์ หรือลูกเป็นสัตว์ดิรัจฉาน บิดามารดา เป็นมนุษย์ ลูกที่ฆ่าบิดามารดาใน ๒ ประเภทนี้ แม้จะไม่ได้ชื่อว่ากระทําอนันตริยกรรมก็ตาม แต่กรรมชนิดนี้ก็จัดเป็นกรรมหนักให้ผลแรงเช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์นั้น แม้ว่าผู้ที่ถูกฆ่าในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ และยังไม่ตายในทันทีก็ตาม แต่ในเวลานั้นเองผู้ถูกฆ่าได้เจริญกรรมฐาน และได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วเข้าสู่ปรินิพพานโดยอาศัยการถูกฆ่านั้น เช่นนี้ผู้ฆ่านั้นก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอรหันต ฆาตกกรรม
ผู้ที่ตั้งใจจะปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพยายามอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ถึงแก่ชีวิต เป็นแต่เพียงห้อพระโลหิตเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าธรรมดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตโดยอาศัยการกระทําของผู้อื่นนั้นไม่มีเลย สมดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า
“พุทฺธานํ ชีวิตสุส น สกฺกา เกนจิ อนุตราโย กาตุํ” ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นมนุษย์หรือ เทวดาก็ตามจะทําอันตรายแก่ชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ย่อมไม่สําเร็จเลย
แต่ในการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับอันตรายเพียงห้อพระโลหิต ดังเช่นพระเทวทัตได้กระทําแก่พระองค์นั้น ก็ได้ชื่อว่าผู้นั้นได้เข้าถึงโลหิตุปปาทกกรรม และโลหิตุปปาทก กรรมนี้แม้จะไม่สําเร็จเป็นปาณาติบาตกรรมบถก็ตาม แต่ก็ได้สําเร็จในข้อพยาบาทกรรมบถ ที่เป็นมโนทุจริต เพราะผู้นั้นมีเจตนาตั้งใจจะฆ่าให้ตาย
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ยุยงสงฆ์ให้แตกกันนั้น ผู้ยุต้องเป็นพระภิกษุด้วยกันอย่างหนึ่ง ผู้ถูกยุก็เป็นพระภิกษุสงฆ์ด้วยกันอย่างหนึ่ง พระภิกษุสงฆ์นั้นเกิดแตกแยกกันคือในพระอุโบสถเดียวกันในเวลาเดียวกัน ร่วมทําสังฆกรรมกันไม่ได้ ต่างแยกกันทําเป็นพวกๆ ไป เมื่อปรากฏผลเช่นนี้แล้ว พระภิกษุซึ่งเป็นผู้ยุในขณะนั้นจะอยู่กับพวกไหนก็ตาม หรือจะไม่ได้อยู่ร่วมด้วยก็ตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงสังฆเภทกกรรม
ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า สามเณร และคฤหัสถ์ทั้ง ๒ นี้ ทําสังฆเภทกกรรมไม่ได้ แต่ถ้าสามเณร หรือคฤหัสถ์ผู้ใดเป็นผู้กระทําการยุยงให้สงฆ์ต้องแตกแยกกันในการงานที่เกี่ยว กับสังฆกกรรมก็ดี หรือในการงานอื่นๆ ก็ดี แม้จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นสังฆเภทกกรรมตามปรมัตถนัยก็จริง แต่ก็จัดเป็นกรรมอันหนักให้ผลแรง และถ้าว่าโดยโวหารนัยแล้วจะเรียกว่าสังฆ เภทกกรรมก็ได้ สําหรับนิยามิจฉาทิฐิกรรมนั้นจะได้อธิบายโดยละเอียดในบทที่เกี่ยวกับ มิจฉาทิฐิที่อยู่ในอกุศลมโนกรรม
๒. อาสันนกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “อาสนุเน อนุสสริตํ อาสนุน” (วา) “อาสนเน กตํ อาสนุนํ” “กรรมที่ดีหรือไม่ดีที่บุคคลระลึกได้ในเวลาใกล้จะตาย ชื่อว่า อาสันนกรรม (หรือ) “กรรมที่ดีหรือไม่ดีที่บุคคลกระทําในเวลาใกล้จะตายชื่อว่า อาสันนกรรม” ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ (เว้นนิยตมิจฉาทิฐิและปัญจานันตริยกรรม) มหากุศลกรรม ๘ (ส่วนมหัคคตกุศลกรรมนั้นไม่จัดเข้าในที่นี้ เพราะเป็นครุกกรรมฝ่ายเดียว)
อธิบายว่า อกุศลกรรมหรือกุศลกรรมบางอย่างที่เราเคยทํามาแล้วเป็นเวลานานและ เราไม่ได้สนใจที่จะนึกถึง จนกระทั่งลืมไปแล้วก็มี แต่เมื่อในเวลาใกล้จะตายนั้นระลึกขึ้นมาได้ ถ้าระลึกได้ถึงเรื่องอกุศลที่เราเคยทําไว้เวลานั้นอกุศลจิตก็เกิดขึ้น อกุศลจิตที่เกิดขึ้น โดยอาศัยการระลึกถึงเรื่องอกุศลได้นี้แหละ ชื่อว่าอกุศลอาสันนกรรม ถ้าระลึกได้ถึงเรื่องกุศลที่เราเคยทําไว้เวลานั้นกุศลจิตก็เกิดขึ้น กุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการระลึกถึงเรื่องกุศลได้นี้แหละ ชื่อว่ากุศลอาสันนกรรม นี้เป็นการอธิบายตามวจนัตถะที่ว่า “อาสนุเน อนุสฺสริตํ อาสนุนํ”
หรือบางคนไม่เคยได้ทําบุญที่เป็นล่ำเป็นสันแต่อย่างใด แต่เกิดมีศรัทธาขึ้นต้องการ จะสร้างกุศลให้เป็นหลักฐานสักอย่างหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งต่อไปข้างหน้าได้แล้วก็กระทํากุศลนั้นๆ มีบวชพระ ทอดกฐิน สร้างศาลา สร้างบ่อน้ำ สร้างโรงเรียน สร้างพระธรรม รักษาอุโบสถ เจริญสมถะวิปัสสนา เป็นต้น ในขณะที่กําลังทํากุศลอยู่นั้นเกิดมีอันเป็นไปทําให้ผู้นั้นต้องสิ้นชีวิตลงก็ดี หรือเมื่อทํากุศลเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาไม่ช้าก็สิ้นชีวิตลงก็ดี กุศลชนิดนี้ได้ชื่อว่ากุศลอาสันนกรรม หรือบางคนเมื่อยังสบายอยู่ไม่เคยคิดที่จะสร้างกุศลให้เกิดขึ้น ต่อเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นทําให้รู้สึกกลัวตาย และมองหาที่พึ่ง เมื่อเห็นว่าตนยังไม่มีที่พึ่งแต่อย่างใด ก็กลัวว่าเมื่อตายแล้วจะต้องไปสู่ที่ ลําบาก ฉะนั้น ผู้นั้นจึงได้ทํากุศลให้เกิดขึ้นมีทานกุศลบ้าง นิมนต์พระมาแล้วรับศีลฟังธรรมบ้าง เจริญสมถะบ้าง วิปัสสนาบ้าง เหล่านี้เป็นต้น ในขณะที่กําลังทํา กุศลนั้นๆ อยู่ได้สิ้นชีวิตลงก็ดี หรือเมื่อได้กระทําเรียบร้อยแล้ว ต่อมาไม่ช้าก็สิ้นชีวิตลงก็ดี กุศลชนิดนี้ก็ได้ชื่อ ว่ากุศลอาสันนกรรม
ส่วนอกุศลอาสันนกรรมนั้น เช่น ผู้ที่กําลังทะเลาะวิวาทแล้วเกิดตีกัน ฆ่าฟันกันขึ้น ผู้ที่ถูกตีหรือถูกยิง ถูกฟันนั้น เกิดตายลงในขณะนั้นก็ดี หรือต่อมาไม่ช้าตายลงก็ดี หรือผู้ ที่กําลังกระทํามิจฉาอาชีพมีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เป็นต้น ในขณะที่กําลังกระทําอยู่นั้นเผอิญ ถูกยิงตาย หรือตายด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดก็ตาม อกุศลเหล่านี้ได้ชื่อว่าอกุศลอาสันนกรรม
หรือบางคนกําลังมีความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่โดยการเสพสุรายาเมาเฮฮากันบ้าง กําลังดูหนังดูละครบ้าง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งการกระทําต่างๆ เหล่านี้จัดเป็นอกุศลทั้งสิ้น ในขณะที่กําลังทําอยู่นั้นเกิดมีเหตุปัจจัยขึ้น ทําให้ผู้นั้นต้องเสียชีวิตลง เช่นนี้ได้ชื่อ ว่าอกุศลเหล่านั้นเป็นอกุศลอาสันนกรรม หรือพวกมิจฉาทิฐิบางพวกเมื่อรู้ว่าตนจะต้องตาย ก็มีการกระทําพิธีฆ่าสัตว์ต่างๆ เอามาบูชายัญ เพื่อตนตายแล้วจะได้ไปสู่สวรรค์ เมื่อการ กระทําได้สําเร็จลงแล้วผู้นั้นก็ตายลง การกระทําเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่าอกุศลอาสันนกรรม นี้ อธิบายตามวจนัตถะที่ว่า “อาสนุเน กตํ อาสนุนํ”
๓. อาจิณณกรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “อาจียติ ปุนปฺปุนํ กรียตีติ อาจิณฺณํ” “กรรมอันใดที่บุคคลพึงสั่งสมไว้บ่อยๆ ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าอาจิณณกรรม” ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ หมายความว่าผู้ที่ทําทุจริตต่างๆ ที่เกี่ยวด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง ใจบ้าง อยู่เสมอๆ จะทําโดยเป็นอาชีพก็ตาม ไม่ใช่อาชีพก็ตามการกระทําเหล่า นี้เรียกว่าอกุศลอาจิณณกรรม ผู้ที่ทําบุญอยู่ เสมอๆ มีการใส่บาตรทุกๆ วัน รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เป็นประจํา มีการสอนการศึกษาในธรรมวินัยอยู่เสมอ เจริญ สมถะวิปัสสนาอยู่เสมอ การกระทําเหล่านี้เรียกว่า กุศลอาจิณณกรรม
อนึ่ง ผู้ที่ทําทุจริตอย่างใดอย่างหนึ่งสําเร็จลงไปแล้วแม้เพียงครั้งเดียว แต่ผู้นั้นหวน คิดถึงอยู่เสมอในการกระทําของตน แล้วก็เกิดวิปปฏิสาร คือความไม่สบายใจ กลุ้มใจและกุกกุจจะ ความรําคาญใจขึ้น หรือเมื่อนึกถึงแล้วทําให้เกิดความยินดีพอใจในการกระทํา ของตนนั้นอยู่เสมอ ความไม่สบายใจ หรือความพอใจที่เกิดขึ้นเสมอๆ โดยอาศัยการระลึก ถึงการกระทําที่เป็นทุจริตของตนนั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็น อกุศลอาจิณณกรรมด้วยเหมือนกัน
ในการกระทําที่เป็นฝ่ายกุศลก็เช่นเดียวกัน แม้จะได้ทําไปเพียงครั้งเดียวแล้วระลึกถึงอยู่เสมอ เมื่อระลึกถึงคราวใดก็ทําให้เกิดปีติโสมนัสในการทําบุญของตนนั้นอยู่เสมอ ความปีติอิ่มใจที่เกิดขึ้นอยู่เสมอโดยอาศัยการระลึกถึงกุศลของตนนั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นกุศลอาจิณณกรรมเช่นเดียวกัน
๔. กฏตตากรรม มิวจนัตถะแสดงว่า “กฏตฺตา เอว กมฺมนฺติ กฏตฺตากมุมํ” การกระทําที่ได้ชื่อว่ากรรม ก็โดยที่ว่ากระทําลงไปแล้วเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่ากฏัตตากรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ หมายความว่ากุศลกรรมและอกุศลกรรมที่เคย ทํามาแล้วในภพก่อนๆ ซึ่งได้แก่อปราปริยเวทนียกรรมอย่างหนึ่ง และกุศลกรรม อกุศลกรรม ที่ทําในภพนี้ที่ไม่ได้เข้าถึงความเป็น ครุกกรรม อาสันนกรรม และอาจิณณกรรม เป็น กรรมอย่างสามัญ ผู้กระทําไม่ได้มีความตั้งใจอย่างเต็มที่ คล้ายกับว่าไม่เต็มใจทํา การที่ กล่าวได้เช่นนี้ก็เพราะว่า “เอว” ที่อยู่ในบทวิเคราะห์ว่า กฏตฺตา เอว กมฺมํ นั้น เป็นคําปฏิเสธกรรมที่เข้าถึงความเป็น ครุกรรมอาสันนกรรมอาจิณณกรรมนั้นเอง
อนึ่ง ครุกกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรม ทั้ง ๓ นี้ก็จัดเป็นกฏัตตากรรมได้เหมือนกัน เพราะกระทําสําเร็จลงไปแล้ว แต่ที่ไม่เรียกว่ากฏัตตากรรมก็เพราะกรรมเหล่านี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะอยู่แล้ว และคําว่า เอว ที่ประกอบอยู่นั้นก็เป็นเครื่องกีดกั้นไม่ให้ กรรมทั้ง ๓ เหล่านี้ได้ชื่อว่ากภัตตากรรม
กรรมทั้ง ๔ ดังกล่าวมาแล้วนี้ พระอนุรุทธาจารย์แสดงถึงการให้ผลปฏิสนธิคือ ให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น ในภพที่ ๒ ตามลําดับ ฉะนั้นจึงเรียกว่า “ปากทานปริยายจตุกกะ” ซึ่งคําว่า ปาก = ปฏิสนธิผล ทาน = ให้ ปริยาย = วาระ หรือลําดับจตุกกะ = มี ๔ อย่าง เมื่อรวมเนื้อความแล้ว = กรรมที่ให้ผลปฏิสนธิตามลําดับ มี ๔ อย่าง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าผู้ใดมีกรรมทั้ง ๔ อย่างแล้ว ครุกกรรมจะเป็นผู้ให้ผลปฏิสนธิคือ ถ้าได้ฌานก็จะไปเกิดเป็นพรหม ถ้าทําปัญจานันตริยกรรมหรือนิยตมิจฉาทิฐิกรรมก็จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก ส่วนกรรมที่เหลือนั้นให้ผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ ไม่ได้ เป็นแต่เพียงให้ผลในปวัตติกาล ถ้าผู้ใดไม่มีครุกกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายความว่าผู้นั้นไม่ได้ทําปัญจานันตริยกรรม หรือไม่มีความเห็นผิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ และมิใช่เป็นฌานลาภีบุคคล คือปุถุชนธรรมดา และมิได้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี มีแต่กรรมที่เหลือ ๓ ประเภท ในกรณีนี้ อาสันนกรรมจะเป็นผู้ให้ผล ปฏิสนธิให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา อบายสัตว์ ตามสมควรแก่ กรรมและบุคคลในภพที่ ๒ ส่วนอาจิณณกรรมและกฏตตากรรมทั้ง ๒ นั้นจะเป็นผู้ให้ ผลในปวัตติกาล ถ้าผู้ใดไม่มีครุกกรรมและอาสันนกรรม มีแต่กรรมที่เหลือ ๒ ในกรณีนี้ อาจิณณกรรมจะเป็นผู้ให้ผลปฏิสนธิให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา อบายสัตว์ตามสมควรแก่กรรมและบุคคลในภพที่ ๒ เช่นเดียวกัน ส่วนกฏัตตากรรมจะเป็นผู้ให้ผลในปวัตติกาล และ ถ้าผู้ใดไม่มีครุกกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรมทั้ง ๓ หมายความว่าบุคคลชนิดนี้มีชีวิต อยู่ยังไม่ทันจะได้ทํา ทุจริต สุจริตแต่อย่างใดก็ตายลง เมื่อเป็นเช่นนี้ กฏัตตากรรมนั้นแหละ จะเป็นผู้ให้ผลปฏิสนธิให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา อบายสัตว์ตามสมควร เพราะสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในโลกนี้ที่จะไม่มีกฏตตากรรมนั้นย่อมไม่มี
อนึ่ง ในระหว่างอาสันนกรรม และอาจิณณกรรมทั้ง ๒ นี้ ไม่ต้องกล่าวในด้านการ ให้ผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ เมื่อพิจารณาในด้านที่เป็นไปตามปกติแล้วอาจิณณกรรมย่อมมี กําลังมากกว่าอาสันนกรรม เพราะเป็นกรรมที่ทําอยู่เสมอๆ ฉะนั้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา และอังคุตตรอรรถกถา จึงแสดงถึงกรรมที่ให้ผลตามลําดับนั้นว่า
“อปรมฺปิ จตุพฺพิธํ กมุมํ ยํ ครุกํ ยํ พหุลํ ยทาสนุนํ กฎตฺตา วา ปน กมุมนฺติ
“อีกประการหนึ่งกรรมมี ๔ อย่างที่ว่าโดยการให้ผลตามลําดับคือครุกกรรม กรรมอันหนักอย่างหนึ่ง พหุลกรรม กรรมที่ ทำหลายๆ ครั้งอย่างหนึ่ง อาสันนกรรม กรรมที่ทําเมื่อใกล้จะตายอย่างหนึ่ง กฏัตตากรรม กรรมที่ได้เคยทํามาแล้วในภพ ก่อนอย่างหนึ่ง"
แม้ว่า อาจิณณกรรมจะมีกําลังมากกว่าอาสันนกรรมก็จริง แต่ในการจะให้ผลปฏิสนธิ ในภพที่ ๒ นั้น อาสันนกรรมซึ่งเป็นกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้จะตายย่อมสําคัญมากกว่า หมายความว่าตามธรรมดาผู้ที่ใกล้จะตายนั้น กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต อย่างใด อย่างหนึ่ง จะต้องปรากฏใน มรณาสันนชวนะด้วยอํานาจของกรรมที่จะให้ผลปฏิสนธิใน ภพที่ ๒ และกรรมที่มีอํานาจนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏขึ้นใน มรณาสันนชวนะได้นี้ อาสันนกรรมที่เกิดขึ้นใกล้กับมรณาสันนชวนะนั้นแหละ ย่อมมีโอกาสได้มากกว่าอาจิณณกรรมที่เคยทําอยู่เสมอ ทั้งนี้อุปมาเหมือนนายโคบาลต้อนฝูงโคซึ่งมี ทั้งโคแก่และโคหนุ่มให้เข้าอยู่ในคอก เผอิญโคแก่นั้นอยู่ข้างหลัง ฉะนั้นเมื่อเวลาที่โค ทั้งหลายเข้าไปในคอกเรียบร้อยแล้ว โคแก่นั้นจึงอยู่ในที่ใกล้กับประตู พอถึงเวลาเช้านายโคบาลมาเปิดประตูให้ฝูงโคนั้นออก โคแก่ที่ยืนอยู่ที่ปากประตูคอกก็มีโอกาสออกได้ก่อนเพื่อน แม้ว่าจะแก่มีกําลังน้อยก็ตาม ข้อนี้ฉันใด อาสันนกรรมเมื่อว่าโดยกําลังแล้วมีกําลัง น้อยกว่าอาจิณณกรรมก็จริง แต่เป็นกรรมที่เกิดขึ้นใกล้กับมรณาสันนชวนะ และสามารถนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏขึ้นได้เช่นนี้แล้ว ก็เป็นอันตัดสินได้ว่ากรรมนี้ แหละเป็นผู้นําให้สัตว์นั้นปฏิสนธิในภพที่ ๒ ด้วยเหตุนี้ ในอภิธัมมัตถสังคหะจึงแสดงถึง กรรมที่ให้ผลตามลำดับ โดยยกเอาอาสันนกรรมขึ้นไว้ก่อนอาจิณณกรรม
ข้ออุปมาที่ยกไว้ว่า โคแก่อยู่ติดกับปากคอกย่อมออกประตูคอกได้ก่อนโคหนุ่มที่อยู่ข้างหลัง แต่ถ้าโคแก่นั้นไม่มีกําลังพอที่จะเดินออกจากประตูคอกไปได้ โคอื่นๆ ที่อยู่ข้างหลังก็มีโอกาสออกไปได้ก่อนโคแก่ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าอาสันนกรรมที่มีกําลังอ่อนไม่ สามารถนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏในมรณาสันนชวนะได้ก็มี ฉะนั้น อาสันนกรรมที่มีกําลังอ่อนนี้จึงไม่มีโอกาสส่งผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ ได้ ต้องเป็นหน้าที่ของอาจิณณกรรมนํานิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏในมรณสันนชวนะ พร้อมทั้งส่ง ผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ แทน เมื่อเป็นเช่นนี้อาจิณณกรรมก็ต้องอยู่ในลําดับที่ ๒ ส่วน อาสัณณกรรมตกไปอยู่ในลําดับที่ ๓ ตรงกับที่วิสุทธิมรรคอรรถกถา และอังคุตตร อรรถกถาได้แสดงไว้นั้น
อนึ่ง ตามที่วิสุทธิมรรคอรรถกถาแสดงลําดับแห่งการให้ผลของกรรม โดยยกเอาอาจิณณกรรมขึ้นไว้ก่อนอาสันนกรรมนั้น ก็เข้าใจได้อีกว่าอาสันนกรรมของผู้นั้นมีกําลังอ่อน กฏัตตากรรม และอาจิณณกรรมจึงไม่สามารถช่วยสนับสนุนให้ อาสันนกรรมนั้นส่ง ผลปฏิสนธิได้ ด้วยเหตุนี้ จึงตกเป็นหน้าที่ของอาจิณณกรรมที่จะให้ผลปฏิสนธิโดยได้รับ การช่วยเหลือสนับสนุนจากกฏัตตากรรม อันได้แก่อปราปริยเวทนียกรรมนั้นเอง
๓. ปากกาลจตุกกะ
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม นี้มีวจนัตถะแสดงว่า “ทิฏฺโฐ ธมฺโม ทิฏฐธมฺโม”
“สภาพที่เป็นไปอันพึงประจักษ์ได้ในภพนี้ ชื่อว่าทิฏฐธัมมะ” ได้แก่ อัตตภาพที่ปรากฏ ในภพนี้ “เวทียติ อนุภูยตีติ เวทนียํ” ผลอันใดจึงได้เสวย ฉะนั้นผลอันนี้ชื่อว่าเวทนีย ได้แก่ ผลที่เกิดจากกามาวจรกรรม
“ทิฏฺฐธมฺเม เวทนียนฺติ ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ” กรรมที่พึงได้เสวยในอัตตภาพที่ปรากฏ นภพนี้ ฉะนั้นกรรมนั้นชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนีย ได้แก่ อกุศลกรรม และมหากุศลกรรมเจตนาทีในชวนะดวงที่ ๑ (วจนัตถะข้อนี้เป็นการแสดงโดยผลูปจารนัย)
หรืออีกนัยหนึ่ง “ทิฏฐิธมฺเม เวทนียํ ผลํ เอตสฺสาติ ทิฏฐธมฺมเวทนียํ” “ผลที่พึง ได้เสวยในอัตภาพที่ปรากฏในภพนี้มีแก่กรรมนั้น ฉะนั้น กรรมที่มีผลอันพึงได้เสวยในอัตภาพ ที่ปรากฏในภพนี้ จึงชื่อว่าทิฏฐธัมมเวทนีย” ได้แก่ อกุศลกรรม และ มหากุศลกรรมเจตนา ทีในชวนะดวงที่ ๑ (วจนัตถะข้อนี้เป็นการแสดงโดยมุขยนัย)
อธิบาย
การกระทําต่างๆ ของคนเรานั้น จะเป็นทางกาย ทางวาจา ทางใจก็ตาม จะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายไม่ดีก็ตาม ในขณะที่ กระทํานั้นต้องมีชวนะเกิดขึ้น ๗ ครั้งเสมอไปเป็น ส่วนมาก และวิถีจิตที่มีชวนะเกิดขึ้น ๗ ครั้งนี้ ก็มีมากมายนับไม่ถ้วนในการกระทําอย่าง หนึ่งๆ ในบรรดาชวนะ ๗ ครั้งเหล่านี้ เจตนาที่ประกอบอยู่ในชวนะดวงที่ ๑ นั้น ชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม หมายความว่ากรรมชนิดนี้ให้ได้รับผลปรากฏในปัจจุบันภพ คือให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้กิน ได้ถูกต้องที่ดีและไม่ดี และให้กัมมชรูป กัมมปัจจยอุตุขรูป คืออวัยวะในร่างกายและผิวพรรณที่ดีและไม่ดีซึ่งเป็นอเหตุกผลเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่สามารถให้ผลในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล ตั้งแต่ภพที่ ๒ เป็นต้นได้ กล่าวคือ กุศลเจตนา อกุศลเจตนา ที่ประกอบอยู่ในชวนะดวงที่ ๑ นี้ ไม่สามารถจัดแจงให้ผู้นั้นได้ไปเกิดเป็น มนุษย์ เทวดา หรือพวกอบายสัตว์ต่างๆ อันเป็นปฏิสนธิผลได้ และไม่สามารถส่งผลให้ผู้นั้นได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดีต่างๆ อันเป็นปวัตติผลตั้งแต่ภพที่ ๒ เป็นต้นไปได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๑ นี้ มีกําลังไม่มากเท่ากับชวนะดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๗ เพราะ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกไม่ได้รับการช่วยอุปการะจากอาเสวนปัจจัย คือชวนะด้วยกัน ฉะนั้น จึงให้ผลในภพที่ ๒ เป็นต้นไม่ได้ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลดังกล่าวแล้ว ส่วนในการที่ชวนะดวงที่ ๑ นี้ ได้รับการอุปการะจากมโนทวาราวัชชนจิตซึ่งเป็นอนันตรปัจจัยสมนันตรปัจจัยนั้นก็ไม่ใช่เป็นการอุปการะในด้านกําลัง เป็นแต่อุปการะในด้านให้เกิดขึ้นเท่านั้น ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา และนามรูปปริจเฉทอรรถกถาว่า
ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ ปฐมํ ชวนํ ภเว
อสทฺธาเสวนตฺตา วา อสมมตฺตํ ภวนฺตเร ฯ
“ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้นได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๑ เจตนานี้ไม่สามารถส่งผลในภพที่ ๒ ได้ เพราะไม่ได้รับอุปการะจากอาเสวนปัจจัย
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ๒
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. ปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภพนี้เข้าถึงความแก่กล้าแล้ว
๒. อปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภพนี้ยังเข้าไม่ถึงความแก่กล้า
ข้อที่ ๑ ที่ว่ากรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภาพนี้เข้าถึงความแก่กล้าแล้วนั้น หมายความว่าจะให้ได้รับผลปรากฏใน ระหว่าง ๗ วันแน่นอน ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์ได้แสดงไว้ในเทวทหสูตรแห่งอุปริปัณณาสกอรรถกถาว่า
“ยํ ปน สตฺตทิวสพฺภนฺตเร วิปากํ เทติ, ตํ ปริปกฺกเวทนียํ นาม” กรรมใดให้ผลภายใน ๗ วัน กรรมนั้นชื่อว่า ปริปักกเวทนียกรรม ดังเช่นเรื่องชายยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง ชื่อว่ามหาทุคคตะ ได้ถวายภัตตาหารแด่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้ถวายเรียบร้อยแล้วภายใน ๗ วันนั้นเองก็ร่ำรวยขึ้นเป็นเศรษฐี กับเรื่องนายปุณณะและภรรยา ซึ่งเป็นคนยากจน ได้ถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตร แล้วได้เป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน และเรื่องนายกากวฬิยะกับภรรยาที่เป็นคนยากจน ได้มีโอกาสถวายภัตตาหารแก่ พระมหากัสสปเถระ แล้วได้เป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน เช่นเดียวกัน ทั้ง ๓ คนนี้เมื่อเป็นเศรษฐีแล้วก็ย่อม ได้รับอารมณ์ที่ดีต่างๆ มีการเห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ได้กินดี ได้ถูกต้องสัมผัสแต่สิ่งที่ดีๆ เหล่านี้ซึ่งล้วนแต่เป็นกุศลวิบาก จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็นต้น ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ส่วนทางฝ่ายรูปธรรมนั้นก็มีหน้าตาผิวพรรณผ่องใส ร่างกายสมบูรณ์ขึ้นซึ่งเป็นกัมมชรูปกัมมปัจจยอุตุชรูปที่เกิดจากกุศลกรรมนั้นเอง กุศลวิบากจักขุวิญญาณเป็นต้นก็ดี ร่างกาย ผิวพรรณที่สมบูรณ์ผ่องใสก็ดี เหล่านี้ก็เป็นอเหตุกธรรมทั้งสิ้น ฉะนั้น ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้จึงเป็นกรรมที่ให้ผลปรากฏในฝ่ายอเหตุกธรรมเท่านั้น
ปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรมในฝ่ายอกุศลนั้น ดังเช่นเรื่องนันทมานพที่ถูกธรณีสูบ เพราะการทําลายพระอุบลวัณณาเถรีที่เป็นพระอรหันต์เป็นเหตุ และเรื่องชายที่มีอาชีพฆ่าโคคนหนึ่ง ชื่อนันทะ วันหนึ่งอาหารในบ้านเกิดขาดแคลนลงจึงถือมีดไปที่คอกโค แล้วตัด เอาลิ้นโคออกมาให้ภรรยาเอาไปปิ้ง เมื่อภรรยาปิ้งลิ้นโคเสร็จแล้วก็ลงมือกิน ในขณะที่นายนันทะกําลังกินลิ้นโคอยู่นั้น ลิ้นของนายนันทะเองก็ขาดตกลงมาได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก ร้องครวญครางขึ้นด้วยเสียงอันดัง แล้วก็ถึงแก่ความตายอยู่ ณ ที่นั้น ในขณะที่นายนันทะได้รับความเจ็บปวดนั้น ทุกขสหคตกายวิญญาณจิตและจักขุวิญญาณโสต วิญญาณ เป็นต้น ที่เป็นอกุศลวิบากย่อมเกิดขึ้นพร้อมทั้งกัมมชรูป กัมมปัจจยอุตุชรูป อันได้แก่บาดแผลที่เกิดจากลิ้นขาดนั้น
พระเทวทัตที่ถูกธรณีสูบอันเนื่องจากการกระทําโลหิตุปบาท และสังฆเภทกกรรม ก็ดี พระเจ้าสุปปพุทธะที่เป็นพระบิดาของพระเทวทัตและพระนางพิมพา ได้ถูกธรณีสูบเนื่อง จากแสดงการอคารวะขับไล่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี โกกาลิกพราหมณ์ที่ถูกธรณีสูบเนื่อง จากด่าพระอัครสาวกทั้ง ๒ ก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปริปักกทิฏฐธัมมเวทนียกรรมทั้งสิ้น
ข้อที่ ๒ ที่ว่ากรรมที่จะให้ได้รับผลในปัจจุบันภพนี้ ยังไม่เข้าถึงความแก่กล้านั้น หมายความว่าการกระทํากุศล อกุศลนั้น จะส่งผลให้ปรากฏหลังจาก ๗ วัน ไปแล้วนั่นเอง
รวมความว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้ เป็นกรรมที่ให้ได้รับผลในปัจจุบันภพเท่านั้น ไม่ข้ามภพข้ามชาติไป คือผู้ใดทํากุศล อกุศลในปฐมวัย กรรมนี้จะให้ผู้นั้นได้รับผลในปฐมวัย ก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี, ผู้ใดทํากุศล อกุศลในมัชฌิมวัย กรรมนี้จะให้ผู้นั้นได้รับผล ในมัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี ผู้ใดทํากุศล อกุศลในปัจฉิมวัย กรรมนี้จะให้ผู้นั้นได้รับผล ในปัจฉิมวัยก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมทั้งสิ้น ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอุปริปัณณาสกอรรถกถาว่า
"ยํ ปฐมวเย กตํ ปฐมวเย วา มชฺฌิมวเย วา ปจฺฉิมวเย วา,
มชฺฌิมวเย กตํ มชฺฌิมวเย วา ปจฺฉิมวเย วา, ปจฺฉิมวเย กตํ ตตฺเถว วิปากํ เทติ, ตํ ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ นาม"
“กรรมอันใดที่ได้กระทําในปฐมวัยแล้ว ย่อมให้ผลในปฐมวัย มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัยก็ดี กรรมอันใดที่ได้ กระทําในมัชฌิมวัย แล้ว ย่อมให้ผลในมัชฌิมวัย หรือปัจฉิมวัยก็ดี กรรมอันใดที่ได้ กระทําในปัจฉิมวัยแล้ว ย่อมให้ผลในปัจฉิมวัยนั้นเองก็ดี กรรม อันนั้นชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม”
แสดงการเปรียบเทียบ ผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมกับอุปปัชชเวทนียกรรม
โดยมากเราเข้าใจกันว่า ผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้น เป็นผลที่มีกําลังหนักมาก เพราะการที่ได้เป็นเศรษฐีขึ้นภายใน ๗ วันก็ดี หรือการที่ถูกธรณีสูบลงทันทีก็ดี เหล่านี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะได้รับได้ง่ายๆ และไม่ใช่จะรับได้ทุกๆ คนไป ผู้ที่จะได้รับผลชนิด นี้จะต้องมีกรณีเป็นพิเศษ ทั้งทางดีและทางไม่ดี ด้วยเหตุนี้ จึงทําให้คนทั้งหลายปรารถนา ที่จะได้รับผลจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายดี คือต้องการเป็นเศรษฐีทันตาเห็น และมีความกลัวต่อการที่จะได้รับผลจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายชั่ว คือกลัวถูกธรณีสูบ เป็นต้น แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับการให้ผลของอุปปัชชเวทนียกรรมแล้ว ผลที่ได้รับจากอุปปัชชเวทนียกรรมย่อมมีน้ำหนักมากกว่า เพราะผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้น เป็นแต่เพียงผลที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นเฉพาะชั่วชีวิตเท่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตแล้วผลนั้นก็เป็นอันสุดสิ้นลงพร้อมทั้งอํานาจของทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้นก็หมดลงด้วย ส่วนผลที่ได้รับจากอุปปัชชเวทนียกรรมนั้น คือเมื่อผู้นั้นสิ้นชีวิตลงแล้ว อํานาจแห่งกรรมชนิดนี้ ย่อมเปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนภาวะของผู้นั้นให้ได้รับผลยิ่งขึ้นทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล กล่าวคือถ้าเป็นฝ่ายอกุศลผู้นั้นก็ต้องไปบังเกิดเป็นสัตว์นรก แล้วได้รับความทุกข์ทรมาน ตลอดกาลนาน ถ้าเป็นกุศลก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ชั้นสูง แล้วได้รับความสุข กายสุขใจอย่างสมบูรณ์ตลอดอายุขัยของตนตามภูมินั้นๆ ถ้าจะอุปมาเปรียบเทียบระหว่าง กรรมทั้ง ๒ นี้แล้ว ก็เหมือนต้นไม้ ๒ ชนิดๆ หนึ่งมีแต่ดอกไม่มีผล อีกชนิดหนึ่งมีทั้งดอก ทั้งผล ต้นไม้ชนิดที่มีแต่ดอกนั้นเมื่อออกดอกแล้วก็แล้วกันไม่มีอะไรที่จะเป็นเชื้อสายให้ต้นนั้นแพร่หลายออกไปได้ ส่วนต้นไม้ชนิดที่มีทั้งดอกทั้งผลนั้น เมื่อออกดอกแล้วดอกนั้นเอง เปลี่ยนเป็นผลไป และผลนั้นก็สามารถสืบพืชพันธุ์แพร่หลายออกไปได้ ข้อนี้ฉันใด ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมก็เปรียบเหมือนกับต้นไม้ชนิดที่มีแต่ดอก เพราะส่งผลให้เพียงแต่ในชาตินี้เท่านั้นไม่สามารถตั้งตัวภพให้ปรากฏขึ้นได้ ส่วนอุปปัชชเวทนียกรรมนั้นเปรียบ เหมือนกับต้นไม้ชนิดที่มีทั้งดอกทั้งผล เพราะสามารถตั้งตัวภพให้ปรากฏขึ้นได้ ดังนี้
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นอโหสิกรรมได้หรือไม่?
ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้เป็นกรรมที่มีกําลังอ่อนเนื่องด้วย ไม่ได้รับการอุปการะจากอาเสวนปัจจัย ฉะนั้นจึงให้ผลได้แต่ในภพนี้เท่านั้น แต่การให้ผลนี้ก็ไม่แน่ อาจไม่ให้ผล เป็นอโหสิกรรมไปก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่าทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่ จะส่งผลให้ปรากฏได้นั้น จะต้องอยู่ในลักษณะ ๔ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งคือ
๑. ปฏิปักฺเขหิ อนภิภูตตาย ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หมายความว่าถ้าเป็นกุศลทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากอกุศลกรรมและถ้าเป็นอกุศลทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากกุศลกรรมเช่นนี้แล้วกรรมนั้นจึงจะ ให้ผลปรากฏ ถ้าถูกเบียดเบียนด้วยกรรมที่ตรงกันข้ามแล้ว กรรมนั้นก็ไม่ให้ผล เป็น อโหสิกรรมไป
๒. ปจฺจยวิเสเสน ปฏิลทุธวิเสสตาย มีกําลังพิเศษเพราะได้รับการช่วยอุปการะ จากปัจจัยอันพิเศษ หมายความว่าถ้าเป็นกุศลทิฏฐธัมมเวทนียกรรมก็ต้องประกอบด้วยสัมปัตติ ๔ อย่าง คือคติสัมปัตติ กาลสัมปัตติ อุปธิสัมปัตติ ปโยคสัมปัตติ และถ้าเป็นอกุศล ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็ต้องประกอบด้วยวิปัตติ ๔ อย่าง คือคติวิปัตติ การวิปัตติ อุปธิวิปัตติ ปโยควิปัตติ เช่นนี้แล้วกรรมนั้นจึงจะให้ผลปรากฏ ถ้าประกอบด้วยเหตุที่ตรงกันข้าม กล่าวคือกรรมฝ่ายกุศลประกอบด้วยวิปัตติ ๔ อย่าง หรือกรรมฝ่ายอกุศล ประกอบด้วยสัมปัตติ ๔ อย่าง ดังนี้แล้วกรรมนั้นก็ไม่ให้ผล เป็นอโหสิกรรมไป ความหมาย ของสัมปัตติ ๔ และวิปัตติ ๔ มีดังนี้
ก. คติสัมปัตติ หมายถึงบุคคลที่ได้เกิดอยู่ในสุคติภูมิ มีมนุษย์ เทวดาและพรหม คติวิปัตติ หมายถึงบุคคลที่เกิดอยู่ในทุคติภูมิ มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น
ข. กาลสัมปัตติ หมายถึงสมัยใดที่บุคคลได้อยู่ในประเทศที่มีพระราชาเป็นสัมมาทิฐิบุคคลปกครองบ้านเมืองอยู่ และพระพุทธศาสนาก็ยังคงมีอยู่ ยังไม่สูญสิ้นไป กาลวิปัตติ หมายถึงสมัยใดที่บุคคลได้อยู่ในประเทศที่มีพระราชาเป็นมิจฉาทิฐิบุคคลปกครองบ้านเมืองอยู่ และพระพุทธศาสนาก็เสื่อมสิ้นไปแล้ว
ค. อุปธิสัมปัตติ หมายถึงบุคคลที่เกิดมาแล้วมีอวัยวะใหญ่น้อยคือ ตา หู เป็น ต้นนั้น ครบถ้วนบริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง อุปธิวิปัตติ หมายถึงบุคคลที่ได้เกิดมาแล้วมีอวัยวะใหญ่น้อยขาดตก บกพร่องไม่ครบถ้วน
ฆ. ปโยคสัมปัตติ หมายถึงบุคคลที่อาศัยความเพียรถูก และความคิดที่ถูกแล้ว ท่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสุจริต ไม่ผิดกฎหมายของบ้าน เมือง และไม่ผิดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ปโยควิปัตติ หมายถึงบุคคลที่อาศัยความเพียรผิด และความคิดที่ผิด แล้ว ท่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นทุจริต ผิดกฎหมายของบ้านเมือง และผิดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
๓. ตาทิสสฺส ปุพฺพาภิสงฺขารสุส วเสน สาติสยา มีกําลังหนักแน่นด้วยอำนาจ แห่งปุพพาภิสังขาร ซึ่งมีสภาพเหมาะสมแก่ชวนะดวงที่ ๑ หมายความว่า ก่อนที่จะลงมือ กระทําการงานที่เป็นฝ่ายกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม บุคคลใดได้มีการปรับปรุงจิตใจของตน ให้เกิดความกล้า และอดทนต่อการงานนั้นๆ โดยมีการคิดว่า
ผู้ที่มีความพอใจจะกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่จะไม่สําเร็จย่อมไม่มี หรือผู้ที่มีความเพียรกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่จะไม่สําเร็จย่อมไม่มี หรือ ผู้ที่มีใจตั้งมั่นจะกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่ไม่สําเร็จย่อมไม่มี หรือผู้ที่มีปัญญา จะกระทําการงานใดๆ แล้ว การงานนั้นๆ ที่จะไม่สําเร็จย่อมไม่มี
บุคคลที่มีความคิดเช่นนี้แล้วกระทําการงานใดๆ ก็ตาม จิตที่เกิดขึ้นในขณะที่กําลังทําการงานอยู่นั้นย่อมมีกําลังมาก ฉะนั้น ชวนะดวงที่ ๑ ซึ่งเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรม จึงให้ผลปรากฏในภพนี้ได้ ถ้าไม่ประกอบด้วยปุพพาภิสังขารทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว กรรมอันนั้นก็ไม่มีกําลังพอที่จะส่งผลให้ปรากฏในภพนี้ได้ เป็นอโหสิกรรมไป
๔. คุณวิเสสยุตฺเตสุ อุปการาปการวสปฺปวตฺติยา ชวนะที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยอํานาจแห่งการกระทําที่เป็นคุณความดี หรือที่เป็นการทําลายนั้น ได้กระทําต่อบุคคล ที่ประกอบด้วยคุณอันพิเศษ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอนาคามี เป็นต้น หมายความว่าถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็เหมือนกับชายยากจนเข็ญใจที่ชื่อมหาทุคคตะ ที่ได้ถวายทานแด่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลก็เหมือนกับนันทมานพที่ได้ทําลาย พระอุบลวัณณาเถรีดังนี้แล้ว กรรมอันนั้นก็ส่งผลให้ปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น ถ้ากรรม เหล่านี้ไม่ได้กระทําต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณอันวิเศษดังกล่าวแล้ว กรรมนั้นก็ไม่ส่งผล ให้ปรากฏในภพนี้ เป็นอโหสิกรรมไปโดยส่วนมาก เพราะการกระทําที่เป็นฝ่ายอกุศล แม้ว่าจะไม่ได้กระทําต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณอันพิเศษก็ตาม แต่ให้ผลปรากฏในปัจจุบัน ได้ก็มีอยู่ ดังเช่นเรื่องนายนันทะที่มีอาชีพฆ่าโค ได้ตัดลิ้นโคเอามาปิ้งกินเป็นอาหารแล้ว อกุศลปาณาติบาตที่ตนกระทําอยู่เป็นนิจ ได้เข้าช่วยสนับสนุนแก่ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ทําให้ลิ้นของนายนันทะขาดตกลงมาเฉพาะหน้าในขณะที่กําลังกินอาหารอยู่นั้นเอง
สาเหตุที่ทําให้ผลของทานกุศลปรากฏได้ในภพนี้
สําหรับทานกุศลที่จะสามารถเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วัตถุสัมปทา ปฏิคาหกผู้รับทานนั้น เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์
๒. ปัจจยสัมปทา วัตถุสิ่งของที่นํามาถวายนั้น เป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์
๓. เจตนาสัมปทา ผู้ถวายทานถึงพร้อมด้วยเจตนาอันแรงกล้า
๔. คุณาติเรกสัมปทา พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้รับทานนั้น ได้พร้อม ด้วยคุณอันพิเศษกล่าวคือพึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ
เมื่อครบด้วยองค์ทั้ง ๔ ประการดังกล่าวนี้แล้ว ทานของผู้นั้นก็สําเร็จเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรม และให้ได้รับผลในปัจจุบันทันที ดังที่มีคําแสดงไว้ในธรรมบทอรรถกถาว่า
“จตสุโสปิ สมฺปทา นาม วตฺถุสมฺปทา ปจฺจยสมุปทา เจตนาสมฺปทา คุณาติเรกสมุปชาติ, ตตฺถ นิโรธสมาปตฺติโต วุฏฐิโต อรหา วา อนาคามี วา ทกฺขิเณยโย วตฺถุสมฺปทา นาม, ปจฺจยานํ ธมฺเมน สเมน อุปฺปตฺติ ปจฺจยสมปทา นาม ทานโต ปุพเพ ทานกาเล ปจฺฉาภาเคติ ตีสุ กาเลสุ เจตนาย โสมนสฺสสหคตญาณสมฺปยุตฺตภาโว เจตนาสมปทา นาม, ทุกขิเณยฺยสฺส สมาปตฺติโต วุฏฐิตภาโว คุณาติเรกสมุปทา นามาติ, เอตาสํ อานุภาเวน ทิฏฺฐธมฺเม มหาสมปตฺติ ปาปุณาติ
“ชื่อว่าสัมปทามี ๔ อย่าง คือ ๑. วัตถุสัมปทา ๒. ปัจจยสัมปทา ๓. เจตนาสัมปทา ๔. คุณาดิเรกสัมปทา ในสัมปทา ๔ อย่างนั้น พระอรหันต์หรือพระอนาคามีควรแก่นิโรธสมาบัติ ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล ชื่อว่าวัตถุสัมปทา, การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัย ทั้งหลายโดยธรรมสม่าเสมอ ชื่อว่าปัจจยสัมปทา, ความมีเจตนา ใน ๓ กาล คือในกาลก่อนแต่ให้ ในกาลกําลังให้ ในกาลภาย หลังให้ ประกอบด้วยญาณ และเกิดพร้อมด้วยโสมนัส ชื่อว่า เจตนาสัมปทา, ส่วนการที่ทักขิเณยยบุคคลออกจากสมาบัติ
ชื่อว่าคุณาติเรกสัมปทา ด้วยอานุภาพแห่งสัมปทาทั้ง ๔ นี้ ย่อม ได้บรรลุมหาสมบัติในทันตาเห็นทีเดียว”
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่ไม่สามารถส่งผลให้ปรากฏในปัจจุบันได้แล้ว ย่อมเป็นอโหสิกรรมไปนั้น ไม่ใช่เป็นอโหสิกรรมเมื่อทําเสร็จไปแล้ว ย่อมเป็น อโหสิกรรมในขณะที่กําลังอยู่นั้นเอง ฉะนั้น อโหสิกรรมนี้จึงมีชื่อเรียกได้ ๓ อย่างคือ
๑. นาโหสิกมุมวิปาโก ชื่อว่า กรรมที่ยังไม่ให้ผล
๒. น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก ชื่อว่า กรรมที่จะไม่ให้ผล
๓. นตฺถิ กมฺมวิปาโก ชื่อว่า กรรมที่ไม่มีผล
ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในมัชฌิมปัณณาสกอรรถกถา อังคุลิมาลสูตร ว่า
“ตถา อสกฺโกนฺโต อโหสิกมุมํ นาโหสิกมุมวิปาโก นภวิสฺสติกมุมวิปาโก นตฺถิกมุมวิปาโกติ อิมสฺส ติกสฺส วเสน อโหสิ"
“ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่ไม่สามารถส่งผลโดยอาการดังกล่าวแล้วนั้น ย่อมเป็นอโหสิกรรม โดยประเภทแห่งชื่อ ๓ อย่าง ดังนี้ คือกรรมที่ยังไม่ให้ผลอย่างหนึ่ง กรรมที่จะไม่ให้ผลอย่างหนิ่ง และกรรมที่ไม่มีผลอย่างหนึ่ง”
ผลที่ได้รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมในปัจจุบันภพที่ไม่ปรากฏชัดมีหรือไม่? แก้ว่า มีคือผู้ที่ได้ทํากุศลแล้ว ได้รับเกียรติ ได้รับคําสรรเสริญ ได้รับยศอํานาจ ค้าขายดี มีคนชอบ พอรักใคร่ เหล่านี้เป็นต้น และผู้ที่ได้ทําอกุศลแล้วได้รับโทษ ถูกติเตียน ค้าขายขาดทุน มีคนเกลียด เหล่านี้เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผลที่รับจากทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้ ย่อมได้ รับแต่เฉพาะในระหว่างที่มี ชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่สามารถที่จะให้ผลในชาติต่อไป
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม
อุปปัชชเวทนียกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า “ทิฏฺฐธมฺมสฺส สมีเป อนตฺตเร ปชฺชิตพฺโพ คนฺตพฺโพติ อุปปัชโช"
“ภพที่ได้เข้าถึงติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นที่ใกล้ที่สุดของปัจจุบันภาพ ฉะนั้น ภพนั้นชื่อว่าอุปปัชช ได้แก่ภพที่ ๒
“อุปปชฺช เวทนียํ ผลํ เอตสฺสาติ อุปปชฺชเวทนียํ” “ผลที่ได้รับในภพที่ ๒ มีอยู่แก่กรรมนั้น ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าอุปปัชชเวทนีย
หรือ “อุปปชฺช เวทนียํ อุปปชฺชเวทนียํ” กรรมที่พึงได้รับเมื่อเข้าสู่ภพที่ ๒ ที่ใกล้กับปัจจุบันภพ แล้วชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลชวนะและ มหากุศลชวนะดวงที่ ๗
ในวจนัตถะที่แสดงมานี้ คําว่า อุป ใน อุปปชฺช แสดงถึงเนื้อความว่าใกล้ อีกนัยหนึ่ง คําว่า อุปปชฺช นี้เป็น นิปาตบท แสดงถึงเนื้อความว่าภพที่ ๒ เหมือนกับคําว่า เปจฺจ ที่มาในพระบาลีว่า “อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ” แปลว่า “ในภพนี้ก็ย่อมมีความดีใจ ในภพ หน้าก็ย่อมมีความดีใจ “ซึ่งแสดงเนื้อความถึงภพที่ ๒ (อนันตรภพ) ฉะนั้น ในวจนัตถะที แสดงว่า “อุปปชฺช เวทนียํ อุปปชฺชเวทนียํ” นั้น จะต้องแปลว่ากรรมที่บุคคลพึงได้รับ ในภพที่ ๒ ชื่อว่าอุปปัชชเวทนีย
อธิบายว่า การงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับกาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายที่กําลังทําอยู่นั้น จะสําเร็จลงได้ก็โดยอาศัยเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ นั้นเอง ชวนะดวงที่ ๑ ถึงดวง ที่ ๖ นั้นไม่สามารถให้สําเร็จได้ ฉะนั้น เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ นี้ท่านจึงกล่าวว่า เป็นอัตถสาธิกเจตนา หรือสันนิฏฐาปกเจตนา ดังที่ปรมัตถทีปนีมหาฎีกาแสดงไว้ว่า
“อตฺถสาธิกา ปน สนฺนิฏฺฐาปกภูตา สตฺตมชวนเจตนา อุปปชชเวทนีย์ นาม“ เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ ที่สามารถให้สําเร็จกิจและ เป็นเหตุในการตัดสินเด็ดขาดนั้น ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม”
ข้อนี้ทําให้รู้ได้ว่าเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ นี้ ย่อมเป็นประธานในการงานทั้งหลายที่ให้สําเร็จกิจลงได้ และย่อมส่งผลให้เกิดในภพที่ติดต่อกัน ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ปวัตติกาล ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม
กรรมที่ชื่อว่าปัญจานันตริยกรรม และนิยตมิจฉาทิฐิกรรม เหล่านี้ก็ได้แก่เจตนาที่อยู่ในอกุศลชวนะดวงที่ ๗ นั้นเอง
เจตนาที่ถือว่าเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ในชวนะที่เกิดเพียง ๖ ครั้ง
ตามในชวนะนิยมแห่งวิถีสังคหะแสดงว่า
“กามาวจรชวนานิ สตฺตกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุเมว วา ชวนฺติ" แปลว่า “กามาวจรชวนะ นี้เกิดขึ้นเสพอารมณ์ในวิถีหนึ่งๆ ๗ ครั้งก็มี ๖ ครั้งก็มี
ฉะนั้น ถ้าในวิถีใดมีชวนะเกิดขึ้น ๖ ครั้ง ก็เป็นอันว่าเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๖ นั้นแหละเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม
ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ อุปปชฺชเวทนียํ อปราปริยเวทนียนติ เตสํ สงฺกมนํ นตฺถิ ยถาสาเนเยว ติฏฐนฺติ"
“การย้ายฐานะแห่งการส่งผลของกรรมทั้ง ๓ คือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม อปราปริย เวทนียกรรม ย่อมไม่มี ย่อมตั้งอยู่ในฐานะของตนเท่านั้น”
๓. อปราปริยเวทนียกรรม
อปราปริยเวทนียกรรม คําว่า อปราปริยเวทนียนี้ เมื่อตัดบทแล้วมี ๓ บท คือ อปร + อปร + เวทนีย, อปร หมายถึงภพอื่น, อปร หมายถึงภพอื่น, เวทนีย หมายถึงผล ที่พึงได้รับ แต่ในที่นี้หมายเอากรรมที่ส่งผลเป็นการแสดงโดยผลูปจารนัย เมื่อรวมกันแล้ว เป็นอปราปริยเวทนีย หมายถึงกรรมที่ส่งผลในภพอื่นๆ ดังแสดงวจนัตถะว่า
“อปโร จ อปโร จ อปราปโร, อปราปโร เยว อปราปริยํ, อปราปริเย เวทนียํ อปราปริยเวทนียํ”
“ภพอื่นๆ ชื่อว่าอปราปร, ภพอื่นๆ นั้นแหละชื่อว่าอปราปริย (ในที่นี้อิยปัจจัยไม่มีเนื้อความพิเศษใดๆ) กรรมที่มีผลอัน บุคคลพึงได้รับในภพอื่นๆ ชื่อว่าอปราปริยเวทนีย
การแสดงวจนัตถะดังกล่าวมานี้ แสดงตามบาลีที่มาในอภิธัมมัตถสังคหะที่ใช้คําว่าอปราปริยเวทนีย์ แต่ในพระบาลีอภิธรรมวิสุทธิมรรคมหาฎีกา และในอังคุตตรฎีกา ใช้ ค่าเรียกกรรมนี้ว่า อปรูปริยายเวทนีย
อปร คือภพอื่นที่นอกจากทิฏฐธัมมภพ ได้แก่ภพนี้ และอุปปัชชภพ คือภพหน้า ได้แก่ ภพที่ ๓ เป็นต้นไป ปริยาย หมายถึงภพต่อๆ ไป เวทนีย หมายถึง ผลที่พึงได้รับ แต่ในที่นี้หมายเอากรรมที่ส่งผล เมื่อรวมกันแล้วเป็นอปรูปริยายเวทนีย หมายถึง กรรม ที่ส่งผลในภพต่อๆ ไป ตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป ดังแสดงวจนัตถะว่า
“ปริยายติ ปุนปฺปุนํ อาคจฺฉตีติ ปริยาโย" ภพใดย่อมมีสภาพหมุนเวียน คือตายแล้วก็เกิดใหม่ๆ ฉะนั้น ภพนั้นชื่อว่าปริยาย “อปโร จ โส ปริยาโย จาติ อปรปริยาโย” ภพที่นอก จากทิฏฐธัมมภพและอุปปัชชภพด้วย มีสภาพหมุนเวียน คือตาย แล้วก็เกิดใหม่ๆ ด้วย ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่าอปรูปริยาย ได้แก่ ภพต่างๆ ตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป “อปรูปริยาเย เวทนีย์ ผล เอตสสาติ อปรปริยายเวทนีย์" ผลที่พึ่งได้รับในภพต่างๆ ตั้ง แต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป มีแก่กรรมอันนั้น ฉะนั้นกรรมนั้นจึงชื่อว่า อปรูปริยายเวทนียกรรม
การแสดงวจนัตถะดังกล่าวมานี้ แสดงให้ทราบได้ว่าเมื่อจําแนกภพโดยการได้รับผลของกรรมนั้นๆ แล้ว ก็มีอยู่ ๓ อย่างคือ ๑. ทิฏฐธัมมภพ “ภพนี้” ๒. อุปปัชชภพ “ภพหน้า” ๓. อปรูปริยายภพ “ภพที่ ๓ เป็นต้นไป” ตลอดจนถึงสุดท้ายที่เข้าสู่ถึงพระนิพพาน
เมื่อกล่าวถึงกรรมที่ส่งผลในอปรูปริยายภพแล้ว กรรมนั้นก็ได้ชื่อว่าอปรูปริยายเวทนียกรรม หรืออปราปริยเวทนียกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะตรงกลาง ๕ ดวง คือตั้งแต่ชวนะดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๖ และอปราปริยเวทนียกรรมนี้เมื่อมีโอกาสส่งผลแล้ว ย่อมส่งผลได้เรื่อยๆ ไป ไม่มีการเป็นอโหสิกรรมจนกว่าผู้นั้นจะเข้าสู่พระนิพพานจึงจะเป็น อโหสิกรรม สมดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอังคุตตรอรรถกถา และมัชฌิมปัณณาสก อรรถกถาว่า
“อุภินฺนํ อนุตร ปญฺจชวนเจตนา อปราปริยาย เวทนียกมฺมํ นาม ตํ อนาคเต ยทา โอกาสํ ลภติ, คทา วิปากํ เทติ, สติ สํสารปวตฺติยา อโหสิกมุมํ นาม น โหติ"
“ชวนเจตนา ๕ ดวงที่ตั้งอยู่ในท่ามกลางแห่งชวนะดวงที่ ๑ และดวงที่ ๗ ชื่อว่าอปราปริยาเวทนียกรรม กรรมชนิดนี้เมื่อ เวลาใดในอนาคตกาลได้มีโอกาสแล้ว เวลานั้นย่อมส่งผล เมื่อภวจักรของผู้นั้นยังวนเวียนอยู่ กรรมนี้จะได้ชื่อว่าอโหสิกรรมนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้”
การส่งผลของอปราปริยายเวทนียกรรมนี้ ย่อมส่งผลได้ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ปวัตติกาล แต่มีปัญหาอยู่ว่าเจตนาที่ชื่อว่าอปราปริยเวทนียกรรมนี้ ในวิถีหนึ่งๆ มีอยู่ ๕ เมื่อเป็นเช่นนี้การส่งผลในปฏิสนธิกาลจะส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดถึง ๕ ครั้ง ได้หรือไม่ ข้อนี้ แก้ว่าไม่ได้ อธิบายว่าเจตนาทีในชวนะ ๕ ดวงเหล่านี้ ถ้ามีโอกาสส่งผลในปฏิสนธิกาล แล้ว ก็ย่อมส่งได้เพียงครั้งเดียว คือให้ไปเกิดได้ครั้งเดียวเท่านั้น สําหรับการส่งผลใน ปวัตติกาลไม่จํากัด คือสามารถส่งผลได้หลายภพหลายชาติ ถ้ามีโอกาสเหมาะสม
อนึ่ง การส่งผลในปฏิสนธิกาลของอปราปริยเวทนียกรรมที่ได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีโอกาสแล้ว ย่อมส่งผลได้เพียงครั้งเดียว ในการที่ใช้คําว่า “ถ้ามีโอกาส” นั้น อธิบายว่าการงาน ที่จัดว่าสําเร็จเป็นบุญได้นั้น จะต้องครบบริบูรณ์ด้วยชวนะ ๗ ครั้ง เมื่อบริบูรณ์ด้วยชวนะ ๗ ครั้งแล้ว ก็เรียกว่ากรรมอันหนึ่ง หรือเจตนาอันหนึ่ง และมีกําลังที่จะส่งผลใน ปฏิสนธิกาลได้ ๑ ครั้ง ถ้าวิถีจิตเกิดขึ้น ๒ วิถี ก็ส่งผลได้ ๒ ครั้ง และถ้าวิถีจิตเกิด ๓ ครั้งเป็นต้นไป ก็ส่งผลได้ ๓ ครั้งเป็นต้นไปเช่นเดียวกัน และในบรรดาชวนะ ) ครั้งที่ใน วิถีหนึ่งๆ เจตนาที่มีสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้นั้น มีเพียง ๖ ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะ ดวงที่ ๗ ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม และเจตนาที่อยู่ในชวนะท่ามกลาง ๕ ดวง ชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม ส่วนเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่หนึ่งนั้น ไม่มีสิทธิ์ส่งผลใน ปฏิสนธิกาล ฉะนั้น ถ้าอุปปัชชเวทนียกรรมที่ในวิถีหนึ่งมีโอกาสส่งผลในปฏิสนธิกาลไป แล้ว อปราปริยเวทนียกรรมที่อยู่ในวิถีเดียวกันนั้น ก็ไม่มีโอกาสส่งผลในปฏิสนธิกาลได้อีก เพียงแต่ส่งผลในปวัตติกาลเท่านั้น และถ้าอุปปัชชเวทนียกรรมที่ในวิถีนั้นๆ ไม่มีโอกาสได้ ส่งผลในปฏิสนธิกาลในภพที่ ๒ แล้ว อปราปริยเวทนียกรรมที่ในภพก่อนๆ ก็ได้มีโอกาส ส่งผลในปฏิสนธิกาลแทน เมื่อเป็นเช่นนี้อปราปริยเวทนียกรรมในปัจจุบันภพที่ในวิถีเดียว กันกับอุปปัชชเวทนียกรรมนั้น ก็จะได้มีโอกาสส่งผลปฏิสนธิกาลในภพหน้า ตั้งแต่ภาพที่ ๓ เป็นต้นไป เพราะสิทธิ์ในการส่งผลนั้นยังมีอยู่ ด้วยเหตุนี้ จึงได้ใช้คําว่าถ้ามีโอกาส สมดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
“เอกาย เจตนาย กมฺเม อายูหิเต เอกา ปฏิสนฺธิ โหติ
“เมื่อได้สร้างกรรมด้วยเจตนาอันหนึ่ง คือเจตนาที่มีชวนะ ๗ ครั้งแล้ว ปฏิสนธิครั้งหนึ่งย่อมเกิดขึ้นได้”
ข้อนี้แสดงให้รู้ว่าผู้ที่ไปเกิดในอวีจีมหานรก ด้วยอํานาจอุปปัชชเวทนีกรรมอันเกี่ยว กับปัญจานันตริยะ หรือนิยตมิจฉาทิฐิเหล่านี้ เมื่อพ้นจากอวีจีมหานรกแล้ว บุคคลเหล่านี้ ต้องไปเกิดในอวีจิมหานรกอีก ด้วยอํานาจอปราปริยเวทนียกรรมที่ตั้งอยู่ในวิถีเดียวกันกับ อุปปัชชเวทนียกรรมนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดีการกระทํากรรมอย่างหนึ่งๆ นั้น มีเจตนาอยู่ ๓ หรือ ๔ ประเภทด้วยกัน คือ ปุพพเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นก่อนกระทําอย่างหนึ่ง มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กําลังกระทําอย่างหนึ่ง อปรเจตนา เจตนา ที่เกิดขึ้นภายหลังกระทําอย่างหนึ่ง หรืออปราปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังการ กระทําไปแล้วนานๆ อย่างหนึ่ง
ในบรรดาเจตนาทั้ง ๔ ประเภทเหล่านี้ ประเภทหนึ่งๆ มีสิทธิ์ที่จะส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ ๒ อย่าง คืออุปปัชชเวทนียกรรมและอปราปริยเวทนียกรรม เมื่อรวมแล้วในการ งานอย่างหนึ่งๆ นั้น มีกรรมที่มีสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ ๘ อย่างคือ ในปุพพเจตนา มี ๒ ในมุญจเจตนามี ๒ ในอปรเจตนามี ๒ ในอปราปรเจตนามี ๒ นี้เป็นการนับโดย สามัญ ไม่ได้กล่าวถึงวิถี
ในกรรมทั้ง ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ๔ เป็นอปราปริยเวทนีย กรรม ๔ สําหรับการส่งผลนั้น ถ้าอุปปัชชเวทนียกรรมที่ในเจตนาประเภทใดประเภทหนึ่ง มีโอกาสส่งผลปฏิสนธิแล้ว อุปปัชชเวทนียกรรม ๓ อย่างที่ในเจตนาประเภทใดประเภท อื่นๆ นั้นก็ไม่มีสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิแล้ว เพียงแต่ส่งผลในปวัตติกาลในภพที่ ๒ เท่านั้น และอปราปริยเวทนียกรรม ที่อยู่ในเจตนาประเภทเดียวกันกับอุปัชชเวทนียกรรม ที่ส่งผลปฏิสนธิไปแล้วนั้นก็เป็นอันหมดสิทธิ์ส่งผลในปฏิสนธิกาล เพียงแต่ส่งผลในปวัตติกาล เมื่อมีโอกาส นับตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป
สําหรับอปราปริยเวทนียกรรม ๓ อย่าง ที่อยู่ในเจตนาประเภทอื่นๆ นั้นย่อมมีสิทธิ์ ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าผู้นั้นจะเข้าถึงพระนิพพาน ด้วยเหตุนั้นแหละ เมื่อบุคคลได้กระทํากรรมอย่างหนึ่งๆ ลงไปแล้ว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่ว กรรม นั้นก็สามารถส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น ได้หลายภพหลายชาติ และ ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดี กรรมนั้นก็สามารถส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์ หรือเทวดา ได้หลายภพหลายชาติเช่นเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอํานาจแห่งอปราปริยเวทนียกรรมที่อยู่ในเจตนาประเภทต่างๆ มีปุพพเจตนาเป็นต้นนั้นเอง สมดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์ แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
“นานา เจตนา หิ กมฺเม อายูหิเต นานา โหติ ปฏิสนฺธิ”
“ผู้ที่ได้กระทํากรรมด้วยเจตนาต่างๆ มีปุพพเจตนาเป็นต้น การเกิดของผู้นั้นก็ย่อมเกิดได้หลายครั้ง”
การแสดงดังกล่าวมานี้ เป็นการแสดงไปตามคําวินิจฉัยที่ปรากฏในพระบาลีและ อรรถกถาลักขณสังยุต พระบาลีและอรรถกถาจตุตถปาราชิก วิมุติวิโนทนีฎีกาตามเรื่อง ที่แสดงไว้ว่า มีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งประกอบอาชีพในการฆ่าโค เมื่อบุรุษผู้นั้นตายจากโลกนี้ไป แล้วก็ได้ไปเกิดในนรกได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อพ้นจากนรกนั้นแล้ว ก็ไปเกิดเป็นอัฐิสังขลิกเปรต คือเปรตที่มีแต่กระดูก อยู่ในภูเขาคิชฌกูฏ เรื่องนี้มีการ วินิจฉัยว่าการที่บุรุษผู้นั้นไปเกิดในนรกก็ด้วยอํานาจแห่งอุปปัชชเวทนียกรรมที่อยู่ใน มุญจเจตนา ส่วนที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้นด้วยอํานาจแห่งอปราปริยเวทนียกรรมที่อยู่ใน ปุพพเจตนา หรืออปรเจตนา ดังมีบาลีแสดงไว้ในวิมุติวิโนทนีฎีกาว่า
“เตน โคมาตก กมฺมกฺขเณ ปุพฺพเจตนา อปรเจตนา สนฺนิฏฐาปกเจตนาติ เอกสุมิปิ ปาณาติปาเต พหู เจตนา โหนฺติ นานาปาณาติปาเตสุ วตฺตพฺพเมว นตฺถิ ๆ ตตฺถ เอกาย เจตนาย นรเก ปจิตฺวา ตทบญฺญเจตนาสุ เอกาย อุปรา ปริยเจตนาย อิมสฺมี เปตตฺตภาโว นิพฺพตฺโตติ ทสุเสติ”
“โดยเรื่องนี้แสดงให้รู้ว่า ในขณะที่ฆ่าโคนั้นย่อมมีเจตนา เกิดขึ้น ๓ อย่างคือปุพพเจตนา อปรเจตนา มุญจเจตนา แม้ในการฆ่าสัตว์เพียงครั้งเดียวก็มีเจตนาหลายประเภทเกิดอยู่ สําหรับในการฆ่าสัตว์หลายครั้งนั้น ไม่จําเป็นต้อง กล่าวถึงและในบรรดาเจตนา ๓ อย่างนั้น บุรุษที่ฆ่าโคต้องไปรับผลในนรก ก็ด้วยอาศัย อุปปัชชเวทนียกรรมที่อยู่ในมุญจเจตนา แล้วไปเกิดเป็นเปรต ก็ด้วยอาศัยอปราปริยเวทนียกรรมในเจตนาอื่นๆ ที่นอกจากมุญจเจตนา"
เวลาที่อปราปริยเวทนียกรรมหมดอ่านาจลง
โดยมากมักเข้าใจกันว่า อปราปริยเวทนียกรรมนี้ไม่ว่าประเภทใดย่อมสามารถส่งผล ซ้ำกันได้หลายๆ ครั้ง ที่เข้าใจเช่นนี้ก็โดยอาศัยที่กล่าวว่า อปราปริยเวทนียกรรมย่อมส่ง ผลในปวัตติกาลตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้นไป จนกระทั่งถึงภพที่เข้าสู่พระนิพพานซึ่งความจริง นั้นหาได้เป็นเช่นนี้ไม่ เพราะอปราปริยเวทนียกรรมอันใดส่งผลในปวัตติกาลแล้ว อปราปริยเวทนียกรรมอันนั้นก็เป็นอันหมดอํานาจ ไม่มีการติดตามส่งผลได้อีกแม้ผู้นั้นจะยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน ส่วนอปราปริยเวทนียกรรมอันใดที่ยังไม่มีโอกาสส่งผลในปวัตติกาล อปราปริยเวทนียกรรมอันนั้นก็มีโอกาสติดตามส่งผลไปได้ตลอดจนผู้นั้นเข้าถึงพระนิพพาน
ในนิบาตชาตกได้แสดงเรื่องไว้หลายเรื่องที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ตายตัวหนึ่ง เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปเกิดในนรก และเมื่อพ้นกรรมจากนรกไปเกิดในภูมิ ใดภูมิหนึ่งแล้ว ก็ถูกฆ่าตายเรื่อยๆ ไปทุกๆ ชาติ เท่ากับจํานวนขนกของสัตว์ที่ตนฆ่านั้น ด้วยอานาจแห่งอปราปริยเวทนียกรรมในวิถีต่างๆ ที่เกี่ยวกับปุพพเจตนา และอปรเจตนา เมื่อภพสุดท้ายที่จะหมดสิ้นจากกรรมอันนี้ ผู้นั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์และระลึกชาติได้ ฉะนั้น เมื่อตอนที่ถูกฆ่าในครั้งสุดท้ายนั้น ผู้นั้นจึงมีความยินดีที่จะรับกรรมอันนั้นโดยกล่าว ขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้ถูกเขาฆ่าตายมาหลายภพหลายชาติจนนับไม่ถ้วนมาครั้งนี้ข้าพเจ้าพ้นจากกรรมอันนั้นแล้วซึ่งข้าพเจ้าจะไม่ต้องถูกฆ่าอีกต่อไป นี้แสดงให้เห็นว่าอํานาจแห่งอปราปริย เวทนียกรรมนั้นได้หมดสิ้นลงแล้ว จึงหยุดติดตามการส่งผลแม้ผู้นั้นจะยังไม่เข้าถึงพระนิพพานก็ตาม แต่ถ้าอํานาจของกรรมนั้นยังไม่หมด ก็ยังต้องคอยติดตามส่งผลอยู่ เรื่อยๆ ไป ได้โอกาสเวลาใดก็ให้ผลเวลานั้น ฉะนั้น ในเนมิราชชาดกอรรถกถาจึงแสดง ไว้ว่า
“อปราปรเวทนียํ ปน วิปาก๋ อทตฺวา น นสฺสติ"
“อปราปริยเวทนียกรรมย่อมไม่สูญหายไป ถ้ายังไม่ได้ส่งผล” (นี้เป็นการแสดงโดยตรง) การแสดงตามบาลีข้อนี้ทําให้รู้ ได้ว่า เมื่อส่งผลแล้วก็ย่อมสูญหายไป (นี้เป็นการแสดงโดยอ้อม)
๔. ปากัฏฐานจตุกกะ
กรรมเมื่อว่าโดยภูมิอันเป็นที่ให้ผลเกิดขึ้นนั้น มี ๔ อย่าง คือ
๑. อกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต ๑๒
๒. กามาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในมหากุศลจิต ๘
๓. รูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในรูปาวจรกุศลจิต ๕
๔. อรูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอรูปาวจรกุศลจิต ๔
อธิบายขยายความในบาลีข้อที่ ๕ ที่ว่า “ตตฺถ อกุสลํ กายกมุมํ” เป็นต้นใน กัมมจตุกกะนี้ จตุกกะ ๓ คือกิจจจตุกกะ มีชนกกรรมเป็นต้น ปากทานจตุกกะมีครุกกรรม เป็นต้น ปากกาลจตุกกะ มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น เหล่านี้พระอนุรุทธาจารย์มิได้ แสดงขยายความไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะแต่อย่างใด เพราะการแสดงจตุกกะทั้ง ๓ ดังกล่าวแล้วนี้ เป็นการแสดงโดยสุตตันตนัย สําหรับจตุกกะที่ ๔ คือปากัฏฐานจตุกกะมี อกุศลกรรมเป็นต้น เป็นการแสดงโดยอภิธรรมนัย ฉะนั้น จึงได้แสดงขยายความนับตั้งแต่ “ตตฺถ อกุสลํ กายกมุมํ” เป็นต้น จนถึงบทสุดท้ายแห่งกัมมจตุกกะมี “อิตฺถํ มหคฺคตํ ปญญํ” เป็นต้น
อกุศลกรรม เมื่อว่าโดยกรรมทวาร คือเป็นเหตุแห่งการสําเร็จในการกระทําแล้ว ๓ อย่าง คือ
๑. อกุศลกายกรรม ๒. อกุศลวจีกรรม ๓. อกุศลมโนกรรม
คําว่า กรรมทวาร เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ กมฺม + ทฺวาร กมุม หมายถึงการ กระทํา ทวาร หมายถึงเป็นเหตุให้เกิด รวม ๒ บทเข้าแล้วเป็น กมฺมทวาร หมายถึงเป็น เหตุให้เกิดการกระทํา
กรรมทวาร มี ๓ อย่าง คือ
๑. กายทวาร กายเป็นเหตุให้เกิดการกระทํา ได้แก่ กายวิญญัตติรูป
๒. วจีทวาร วาจาเป็นเหตุให้เกิดการกระทํา ได้แก่ วจีวิญญัตติรูป
๓. มโนทวาร ใจเป็นเหตุให้เกิดการกระทํา ได้แก่ จิตทั้งหมด
ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า “สพฺโพปี มโนทฺวารํ” “แม้จิตทั้งหมดก็เป็นมโนทวาร” แต่มโนทวารที่เกี่ยวกับอกุศลกรรมนั้นได้แก่อกุศลจิต ๑๐ ดวง (เว้นโมหมูลจิต)
อกุศลกรรมที่เกิดทางกาย ชื่อว่ากายกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “กายทฺวาร ปวตฺตํ กมฺมํ กายกมฺมํ” การกระทําอกุศลที่เกิดทางกาย ชื่อว่ากายกรรม
อกุศลกรรมที่เกิดทางวาจา ชื่อว่า วจีกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “วจีทฺวาเร ปวตฺตํ กมุมํ วจีกมุมํ” การกระทําอกุศลที่เกิดทางวาจา ชื่อว่าวจีกรรม
อกุศลกรรมที่เกิดทางใจ ชื่อว่ามโนกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “มโนทฺวาร ปวตฺตํ กมฺมํ มโนกมฺมํ” การกระทําอกุศลที่เกิดทางใจ ชื่อว่ามโนกรรม
ความแตกต่างกันระหว่างเจตนากับกรรม
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในฉักกนิบาตอังคุตตรพระบาลีว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา” “ดูกรภิกษุทั้งหลายเหตุที่ บุคคลมีความตั้งใจเป็นเครื่องกระตุ้นแล้วก็กระทําการงานนั้นๆ สําเร็จลงด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยเหตุนี้ตถาคตจึงกล่าวว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม”
อธิบายว่า เจตนาที่เป็นกรรมนี้ย่อมให้อิฏฐผล คือผลที่ดี และอนิฏฐผล คือผล ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้ ดังนั้นท่านฎีกาจารย์จึงได้แสดงไว้ในอภิธัมมาวตารฎีกาว่า “กโรติ อภินิพฺพตฺตติ อิฏฐานิฏฐผลานิ เอเตนาติ กมฺมํ” “บุคคลย่อมกระทําให้อิฏฐผล อนิฏฐ ผลเกิดขึ้นด้วยเจตนา ฉะนั้นเจตนานั้นจึงชื่อว่ากรรม”
ตามธรรมดาคนเราทั้งหลายเมื่อจะกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ต้องมีความตั้งใจเกิด ขึ้นก่อน คือตั้งใจว่าเราจะทําอย่างนั้นอย่างนี้แล้วก็ทําลงไป หรือตั้งใจว่าเราจะพูดเรื่อง นั้นเรื่องนี้แล้วก็พูดไป หรือตั้งใจจะนึกถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วก็นึกไป เมื่อเป็นเช่นนี้การ กระทําต่างๆ ของคนทั้งหลายจึงมีความตั้งใจอันได้แก่เจตนาเป็นผู้นําอยู่เสมอ ด้วยเหตุ พระผู้มีพระภาคจึงทรงกล่าวว่า เจตนานี้แหละชื่อว่ากรรม แต่เจตนากับกรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีความแตกต่างกัน คือ เจตนาเป็นปุพพภาคธรรม คือธรรมที่เกิดก่อนกรรม กรรมเป็นปัจฉาภาคธรรม คือธรรมที่เกิดภายหลังเจตนา นี้เป็นการแสดงโดยอเภทกนัย คือไม่ ได้แสดงแยกประเภท ดังนั้นท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในอุบาลีสูตรแห่ง มัชฌิมปัณณาสก์อรรถกถาว่า “กสุมา เจตนา กมฺมนฺติ วุตฺตา เจตนา มูลกตฺตา กมฺมสฺส” “เพราะเหตุใดพระผู้มีพระภาคจึงทรงกล่าวว่า เจตนาชื่อว่ากรรมก็เพราะการกระทําที่สําเร็จลงนั้นมีเจตนาเป็นมูล
เจตนา ๒๗๖ ประเภทที่ส่งผลในภพที่ ๒ เป็นต้น
อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ รวมเจตนา ๒๐ นี้ เกิดขึ้นโดยอาศัยทางกายมี ๘๐ คือ
สยํกตมูลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการกระทําด้วยตนเองมี ๒๐
อาณตฺติกมูลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการใช้ผู้อื่นให้กระทํามี ๒๐
สมุปชานมูลลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการกระทําโดยรู้คุณและโทษของการกระทํานั้นมี ๒๐
อสมุปชานมูลิกเจตนา เจตนาที่เกิดจากการกระทําโดยไม่รู้คุณและโทษ ของการกระทํานั้นมี ๒๐
รวมเป็นอกุศลและกุศลเจตนาที่เกิดทางกายมี ๘๐ อกุศล และกุศลเจตนาที่เกิด ทางวาจามี ๘๐ เช่นเดียวกับทางกาย ส่วนอกุศลและกุศลเจตนาที่เกิดทางใจมี ๑๑๖ คือ อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ มหัคคตกุศลเจตนา ๙ รวม ๒๙ เป็น สยํกตมูลิกเจตนา ๒๙ เป็นอาณตฺติกมูลิกเจตนา ๒๙ เป็นสมุปชานมูลิกเจตนา ๒๙ เป็น อสมุปชานมูลิกเจตนา ๒๙ รวมเป็น ๑๑๖
อกุศลและกุศลเจตนาทีเกิดทางกาย มี ๘๐
อกุศลและกุศลเจตนาที่เกิตทางวาจา มี ๘๐
อกุศลและกุศลเจตนาที่เกิดทางใจ มี ๑๑๖
รวมเป็นเจตนา ๒๗๖ ประเภท ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอังคุตตรอรรถกถาว่า “อิติ สพฺพาปิ ตีสุ ทฺวาเรสุ เทฺวสตานิ ฉสตุตติ จ เจตนา” “เจตนาที่ส่งผล ในภพที่ ๒ แม้ทั้งหมดในทวารทั้ง ๓ มีจํานวน ๒๗๖ ดังนี้"
อธิบายขยายความบาลีข้อที่ ๖ - ๗ - ๘
ที่แสดงถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาต เป็นต้น
เพื่อที่จะแสดงขยายความในอกุศลกรรมที่ว่าโดยทวารทั้ง ๓ นั้น ว่ามีอกุศลกรรม ชนิดไหนบ้าง และมีจํานวนเท่าใด ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงต่อไปว่า กถํ ? ปาณาติปาโต เป็นต้น ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
การกระทําอกุศลที่เกิดทางกายเป็นส่วนมาก ชื่อว่ากายกรรม, กาย = กาย กรรม = การกระทํา, อกุศลกรรม มี ๓ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน ๓. กาเมสุมิจฉาจาร
การกระทําอกุศลที่เกิดทางวาจาเป็นส่วนมาก ชื่อว่าวจีกรรม, วจี = วาจา กรรม = การกระทํา, อกุศลวจีกรรมมี ๔ อย่าง คือ ๑. มุสาวาท ๒. ปิสุณาวาจา ต. ผรุสวาจา ๔. สัมผัปปลาปะ
การกระทําอกุศลที่เกิดทางใจเป็นส่วนมาก ชื่อว่ามโนกรรม, มโน = ใจ กรรม = การกระทํา, อกุศลมโนกรรมมี ๓ อย่างคือ ๑. อภิชฌา ๒. พยาบาท ๓. มิจฉาทิฐิ อกุศลกรรมดังกล่าวมานี้เรียกว่าทุจริต ๑๐
อธิบายในกายกรรม ๓
๑. ปาณาติบาต
คําว่า ปาณาติปาต นี้เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ ปาณ + อติชาต ปาณ เมื่อกล่าวโดยโวหารแล้วก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อว่าโดยปรมัตถสภาวะก็ได้แก่ชีวิตรูป และ ชีวิตินทรีย์เจตสิก คําว่า อติ ในบทว่า อติปาต นั้นแปลเนื้อความได้ ๒ อย่าง คือ สีฆตฺถ แปลว่าเร็วอย่างหนึ่ง อติกุกมนตฺถ แปลว่าก้าวล่วงความเบียดเบียนอย่างหนึ่ง คําว่า ปาต แปลว่าให้ตกไป เมื่อรวมกันแล้วเป็น ปาณาติปาต แปลว่าให้สัตว์หรือให้ชีวิตนั้นตกไปโดยเร็ว หรืออีกนัยหนึ่งแปลว่าก้าวล่วงความเบียดเบียนสัตว์ให้ตกไป
ที่แปลว่าให้สัตว์ตกไปโดยเร็วนั้น หมายความว่าทําให้สัตว์นั้นตายก่อนที่จะถึงกําาหนดอายุของตน ที่แปลว่าก้าวล่วงความเบียดเบียนสัตว์ให้ตกไปนั้น หมายความว่าใช้อาวุธอย่างใดอย่างหนึ่งฆ่าให้สัตว์นั้นตายลง
ดังแสดงวจนัตถะว่า “ปาณํ อติปาเตนฺติ เอเตนาติ = ปาณาติปาโต” “บุคคลทั้ง หลายย่อมฆ่าสัตว์ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้นธรรมที่เป็นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์นั้น ชื่อว่าปาณาติปาต ได้แก่ วธกเจตนา" หรืออีกนัยหนึ่ง ปาณสุส อติปาโต = ปาณาติปาโต “การกระทําให้ สัตว์หรือให้ชีวิตนั้นตกไปโดยเร็ว ชื่อว่าปาณาติปาต” หรือ”เจตนาที่กระทําให้ก้าวล่วงความ เบียดเบียนสัตว์ให้ตกด้วยอาวุธ ชื่อว่า “ปาณาติปาต” ได้แก่วธกเจตนา คือเจตนาที่เป็น เหตุในการฆ่าสัตว์ วธกเจตนานี้ได้ปโยคะทั้ง ๒ อย่าง คือได้ทั้งกายปโยคะ การฆ่าด้วย ตนเอง และวิปโยคะ การใช้คนอื่นให้ฆ่า
วินิจฉัยเกี่ยวกับการฆ่าสัตว์
ในการทําปาณาติบาตนี้ วธกเจตนา คือมีการตั้งใจฆ่าเป็นข้อสําคัญ ผู้ที่ถูกฆ่านั้น เมื่อว่าโดยธรรมาธิษฐานแล้ว ก็ได้แก่ ชีวิตินทรีย์นั้นเอง เป็นผู้ที่ถูกฆ่าและชีวิตินทรีย์ก็มี ๒ อย่าง คือรูปชีวิตินทรีย์อย่างหนึ่ง นามชีวิตินทรีย์อย่างหนึ่ง ในชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ อย่างนี้ จะทําลายได้เฉพาะแต่รูปชีวิตินทรีย์เท่านั้น ส่วนนามชีวิตินทรีย์นั้นทําลายไม่ได้เพราะเป็นนาม เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่ฆ่าสัตว์จะได้ชื่อว่าสําเร็จเป็นปาณาติบาตได้อย่างไรเพราะนามชีวิตินทรีย์ไม่ได้ถูกทําลาย? ข้อนี้อธิบายว่าแม้นามชีวิตินทรีย์จะไม่ถูกทําลายแต่เมื่อ รูปชีวิตินทรีย์ถูกทําลายให้เสียไปแล้ว นามชีวิตินทรีย์ก็ย่อมเสียไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าการ เกิดขึ้นสืบต่อกันของนามชีวิตินทรีย์นี้ย่อมเกี่ยวเนื่องกันกับรูปชีวิตินทรีย์ ดังนั้นผู้ที่ฆ่าสัตว์จึงได้ชื่อว่าสําเร็จเป็นปาณาติบาต สมดังท่านฎีกาจารย์แสดงไว้ในสาธุวิลาสินีฎีกาและ สารัตถทีปนีฎีกาว่า “รูปชีวิตินฺทฺริเยหิ วิโกปิเต อิตรมฺปี ตํ สมฺพนฺธตาย วินสฺสติ” แปลความว่า “เมื่อรูปชีวิตินทรีย์ถูกทําลายแล้ว นามชีวิตินทรีย์ที่นอกจากนี้ก็ได้ชื่อว่าถูก ทําลายด้วย เพราะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน"
อนึ่ง รูปชีวิตินทรีย์ ก็มี ๓ อย่างคือ ๑. อดีตรูปชีวิตินทรีย์ ๒. ปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ๓. อนาคตรูปชีวิตินทรีย์ ดังนั้นในการทําลายรูปชีวิตินทรีย์นี้ก็ได้แก่ทําลายปัจจุบันรูป ชีวิตินทรีย์เท่านั้น และปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ก็มี ๓ อย่างคือ ๑. ขณะปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ๒. สันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ๓. อัทธาปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ขณะปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ นี้ทําลายไม่ได้ เมื่อครบขณะทั้ง ๓ คืออุปปาทะ ฐิติ ภังคะแล้วก็ดับไปเอง
สําหรับสันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ และอัทธาปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์ ทั้ง ๒ นี้ทําลายได้ เพราะสันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นติดต่อกันระหว่างวิถีที่ มีกุศลชวนะอย่างน้อย ๗ - ๘ วิถีก็ดี หรือรูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นติดต่อกันในระหว่างที่ ร่างกายได้กระทบกับความร้อนมา และความร้อนนั้นยังไม่หายไป เช่นคนที่เดินทางตากแดดมาแล้วเข้ามาในที่ร่ม แต่ขณะนั้นร่างกายยังมีความร้อนอยู่ หรือรูปชีวิติทรีย์ที่เกิดขึ้น ติดต่อกันในระหว่างที่ร่างกายได้กระทบกับความเย็นมา และความเย็นนั้นยังไม่หายไป เช่นคนที่อาบน้ำขึ้นมาใหม่ๆ ในขณะนั้นร่างกายยังมีความเย็นอยู่รูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้น ติดต่อกันในระหว่างความร้อน หรือความเย็นยังมีอยู่นี้แหละชื่อว่าสันตติปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์
ส่วนอัทธาปัจจุบันรูปชีวิติทรีย์นั้น ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดติดต่อกันตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นจนถึงจุติ ดังที่ท่านพระมหาพุทธ โฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในปาราชิกกัณฑอรรถกถาว่า “ตทุภยํ ปิ โวโรเปตุํ สกฺกา” การทําลายรูปชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ คือสันตติปัจจุบันรูป ชีวิตินทรีย์ และอัทธาปัจจุบันรูปชีวิตินทรีย์เหล่านี้ย่อมกระทําได้
องค์ปโยคะของปาณาติบาต
การทําอกุศลนั้นล่วงถึงกรรมบถก็มี ไม่ล่วงถึงกรรมบถก็มี ถ้าล่วงถึงกรรมบถแล้ว การกระทํานั้นก็สําเร็จเป็นชนกกรรม สามารถนําให้ไปเกิดในอบายภูมิได้โดยแน่นอน ถ้าการกระทําบางอย่างแม้ไม่ล่วงกรรมบถ แต่ก็สามารถนําให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ก็มี การกระทําบางอย่างก็ไม่นําให้ไปเกิดในอบายภูมิก็มี เป็นแต่เพียงให้ผลในปวัตติกาล คือ กระทําให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้นั้นต้องได้ประสบความลําบากต่างๆ
ค่าว่ากรรมบถ มาจากคำบาลีที่ว่า กมุมปถ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บทคือ กมุม + ปก กมุม = การกระทํา ปถ = หนทาง เมื่อรวมกันแล้วเป็น กมุมปก แปลว่าการกระทํา ที่เป็นหนทางให้ไปสู่อบายภูมิ การกระทําอกุศลที่จะก้าวล่วงกรรมบถ หรือไม่ก้าวล่วงนั้น ก็ต้องแล้วแต่องค์ปโยคะ คือองค์ที่ประกอบในการกระทํานั้น ฉะนั้นการกระทําอกุศลชนิด ปาณาติบาตที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถนั้นต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต ๒. ปาณสญญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต ๓. วธกจิตฺตํ มีจิตคิดจะฆ่า ๔. ปโยโค ทําความเพียรเพื่อให้ตาย ๕. เตน มรณํ สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้น
เมื่อการกระทาครบองค์ทั้ง ๕ ดังกล่าวนี้ ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถแล้วแต่ถ้าการกระทําไม่ครบองค์ ๕ ก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ ดังมีคาถาแสดงว่า
ปาโณ จ ปาณสกุมิตา มาตจิตตญจุปกุกโม
เตเนว มรณญฺจาติ ปญฺจิเม วธเหตุโยฯ
“องค์ที่เป็นเหตุในการฆ่าสัตว์นั้นมีอยู่ ๕ อย่างดังนี้ คือสัตว์มีชีวิตประการหนึ่ง รู้ว่าสัตว์มีชีวิตประการหนึ่ง มีความตั้งใจจะฆ่าประการหนึ่ง ทําความเพียรเพื่อให้ตาย ประการหนึ่ง สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้นประการหนึ่ง ถ้าการกระทําของผู้นั้นครบ ๔ องค์แรก แต่ขาดองค์ที่ ๕ คือสัตว์นั้นไม่ตายเช่นนี้ การกระทําของผู้นั้นก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ"
การจําแนกปาณาติปาตกรรม โดยมหาสาวัชชะและอัปปสาวัชชะ
สําหรับโทษที่ได้รับจากการฆ่าสัตว์นี้ก็แล้วแต่ว่าสัตว์นั้นมีร่างกายใหญ่หรือเล็ก และมีศีลธรรมหรือไม่มีศีลธรรม ถ้าสัตว์ที่ถูกฆ่านั้นเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น ก็มีโทษมาก เรียกว่ามหาสาวัชชะ เพราะชีวิตนวกกลาปของสัตว์จําพวกนี้ได้ถูก ทําลายลงเป็นจํานวนมาก ถ้าสัตว์ที่ถูกฆ่านั้นเป็นสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง เป็นต้น ก็มีโทษ น้อย เรียกว่าอัปปสาวัชชะ และในระหว่างสัตว์ดิรัจฉานกับมนุษย์ ฆ่ามนุษย์ก็มีโทษมาก กว่าฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์ดิรัจฉาน สําหรับในระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันนั้น ถ้าฆ่าผู้ที่มีศีลธรรม เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น ก็มีโทษมาก ถ้าผู้ถูกฆ่าเป็นคนไม่มีศีลธรรม เช่น พวกโจร ผู้ร้าย เป็นต้น ก็มีโทษ น้อย สําหรับผู้ที่ฆ่าบิดา มารดา พระอรหันต์นั้น ย่อมมีโทษมากเป็นพิเศษ คือเป็นอนันตริยกรรม ถ้าผู้ที่ถูกฆ่านั้นว่าโดยรูปร่างสัณฐานก็เท่ากัน ว่าโดยคุณธรรมก็เท่ากันแล้ว ก็ต้องตัดสินโดยปโยคะ คือในขณะที่ฆ่านั้นใช้ความพยายามมากหรือน้อย ถ้าใช้ความ พยายามมากก็มีโทษมาก ใช้ความพยายามน้อยก็มีโทษน้อย
อนึ่ง ผู้ที่กระทําปาณาติบาตนั้น ผู้หนึ่งรู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศลมีโทษไม่ควร ท่าแต่ก็กระทําลงไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม อีกผู้หนึ่งไม่รู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศล มีโทษแล้วกระทําลงไป ระหว่างคนทั้ง ๒ นี้ ผู้ที่กระทําปาณาติบาตโดยไม่รู้ว่าเป็นอกุศล นั้น ย่อมมีโทษหนักกว่าผู้ที่รู้ว่าเป็นอกุศล ทั้งนี้ก็เพราะว่าบุคคลผู้ที่ไม่รู้จักอกุศลนี้ย่อมเป็น ผู้ที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ ฉะนั้นจึงได้รับโทษมากเป็นมหาสาวัชชะ อุปมาเหมือนช่างตีเหล็ก เผาก้อนเหล็กจนร้อนจัดแล้วเอาขึ้นมาวางไว้ ตัวช่างตีเหล็กเองนั้นรู้ว่าก้อนเหล็กนั้นร้อน ฉะนั้นเมื่อจําเป็นจะต้องเอามือไปจับก้อนเหล็กนั้นก็ย่อมรู้ประมาณในความร้อนไม่จับลงไป เต็มที่เป็นแต่เพียงเอามือแตะๆ ลงเท่านั้นได้รับความร้อนแต่เพียงเล็กน้อย มีบุรุษอีกผู้หนึ่ง มาภายหลังแลเห็นก้อนเหล็กวางอยู่ไม่รู้ว่าก้อนเหล็กนั้นร้อน มีความอยากรู้อยากเห็นก็เอา มือจับก้อนเหล็กนั้นอย่างเต็มที่ ความร้อนของเหล็กนั้นย่อมทําให้มือของบุรุษผู้นี้ไหม้เกรียม ไปซึ่งต่างกับช่างเหล็ก ข้อนี้ฉันใดผู้ที่รู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศล กับผู้ที่ไม่รู้ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นอกุศลก็ย่อมได้รับโทษต่างกันฉันนั้น
ปโยคะ(ความพยายาม) ๖ อย่าง
สาหตุถิโก อาณัตติโก นิสฺสนฺติโย จ ถาวโร
วิชฺชามโย อิทฺธิมโย ปโยคา ฉนิเม มตา ฯ
พึงทราบว่า ปโยคะคือความพยายามนั้นมี ๖ อย่าง คือ
๑. สาหัตถกะ ความพยายามที่ทําด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ความพยายามโดยใช้ผู้อื่นทํา
๓. นิสสัคคิยะ ความพยายามด้วยการปล่อยอาวุธ มีขว้าง ปา เป็นต้น
๔. ถาวระ ความพยายามด้วยการสร้างเครื่องประหารไว้ อย่างถาวร มีการขุดหลุมพราง ท่ามีด ทําปืนไว้ เป็นต้น
๕. วิชชามยะ ความพยายามด้วยการใช้วิชาอาคมและไสยศาสตร์ต่างๆ
๖. อิทธิมยะ ความพยายามด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ ที่เป็นกัมมชิทธิของตน เช่น ใช้ถลึงตาเพ่ง และเคาะเขี้ยวของตน เป็นต้น
๑. สาหัตถิกปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “สสฺส หตฺโถ = สหตฺโถ” “สหตฺเถน นิพฺพตฺโต สหตฺถิโก” มือของตนชื่อว่าสหัตถะ ความพยายามที่เกิดขึ้นโดยมือของตนเอง ชื่อว่าสหัตถิกะ หมายถึงฟันแทงด้วยมีด ตีด้วยไม้ เป็นต้น
๒. อาณัตติกปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “อาณาปนํ = อาณตฺติ” “อาณตฺติยา นิพฺพตฺโต = อาณัตติโก” การใช้ผู้อื่น ชื่อว่าอาณัตติ ความพยายามที่เกิดขึ้นโดยใช้ผู้อื่น ชื่อว่าอาณัตติกะ หมายถึงใช้ด้วยวาจา ใช้ด้วยการเขียนหนังสือใช้ด้วยการให้อาณัติสัญญา ต่างๆ มีพยักหน้า ขยิบตา ชี้มือ เป็นต้น
๓. นิสสัคคิยปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “นิสฺสชฺชนํ = นิสสคฺโค” “นิสฺสคุเคน นิพฺพตฺโต = นิสฺสคฺคิโย” การปล่อยหรือทิ้ง ชื่อว่านิสสัคคะ ความพยายามที่เกิดขึ้นโดย การปล่อยหรือทิ้งอาวุธ ชื่อว่านิสสัคคิยะ หมายถึงการขว้างมีด พุ่งหลาว พุ่งหอก ยิงธนู ขว้างระเบิด ขว้างก้อนหิน เป็นต้น
๔. ถาวรปโยคะ หมายถึงการทําเครื่องประหารชนิดถาวรไว้ เช่น ขุดหลุมพราง ไว้เพื่อให้คนหรือสัตว์ตกลงไป ฝังขวากหนามไว้ หาอาวุธต่างๆ มีมีด ปืน ธนู ลูกระเบิด เป็นต้น ไว้เพื่อใช้ในการสังหาร ข้อนี้แสดงให้รู้ว่าผู้ที่สร้างอาวุธต่างๆ ดังกล่าวนี้ไว้โดยมี วธกเจตนา และถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดนําเอาอาวุธนั้นๆ ไปใช้ในการฆ่าสําเร็จลง ผู้ที่สร้างนั้นแม้จะไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ต้องตกเป็นโทษปาณาติบาตเหมือนกันเพราะเกี่ยวด้วยถาวรปโยคะ
๕. วิชชามยปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า “วิชฺชาย นิพฺพตฺโต = วิชฺชามโย" ความพยายามที่เกิดขึ้นด้วยการใช้วิชา ชื่อว่าวิชชามยะ
การกระทําปาณาติบาตที่สําเร็จด้วยวิชาไสยศาสตร์นี้ มีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น การทํายันต์ ลงชื่อ วัน เดือน ของผู้ที่เป็นศัตรู แล้วนําไปเผา ฝัง เฆี่ยนตี ทําให้ศัตรูนั้น เกิดมีอาการล้มเจ็บถึงตาย หรือใช้เสกคาถาอาคม ทําให้ศัตรูนั้นตาย หรือการปั้นรูปปั้น รอยของศัตรู แล้วนําไปฝัง เผา เฆี่ยนตี ทําให้ศัตรูนั้นตาย หรือเอาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของศัตรูมาเสกเวทมนตร์คาถา เผาไฟ ทําให้ศัตรูนั้นตาย หรือใช้ภูตผีปีศาจ เทวดา ไปรังควาญให้ศัตรูนั้นถึงแก่ความตาย เป็นต้น
๖. อิทธิมยปโยคะ มีวจนัตถะแสดงว่า“อิทฺธิยา นิพฺพตฺโต = อิทฺธิโย” ความพยายามที่เกิดขึ้นด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ ชื่อว่าอิทธิมิยะ
ในที่นี้หมายเอาอิทธิฤทธิ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรม เรียกว่ากัมมสิทธิ ดังเช่น เรื่องพระเจ้าปิตุที่อยู่ในลังกาทวีป มีอิทธิฤทธิ์ที่เขี้ยว อยู่มาวันหนึ่งมีความโกรธจูฬสุมนเศรษฐี แล้วก็เคาะที่เขี้ยวของพระองค์ เป็นเหตุให้จูฬสุมนเศรษฐีนั้นถึงแก่ความตายทันที และเรื่องท้าวเวสสุวรรณ ในระหว่างที่ยังไม่สําเร็จเป็นพระอริยะได้เคยฆ่าพวกยักษ์ที่เป็นบริวารด้วย การถลึงตาเพ่ง ท่าให้พวกยักษ์เหล่านั้นตายลงเป็นจํานวนมาก ดังนี้เป็นต้น
๒. อทินนาทาน
คําว่า อทินนาทาน นี้เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ อ + ทินฺน + อาทาน อ เป็นคําปฏิเสธ ทินฺน = วัตถุสิ่งของที่เจ้าของอนุญาตให้ อาทาน = ยึดถือเอา เมื่อรวม กันแล้วเป็นอทินนาทาน แปลว่ายึดถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้หรือที่เจ้า ของหวงแหน คําว่า อทินุน คือวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ หรือที่เจ้าของหวงแหนนั้น หมายถึงไม่ได้อนุญาตให้โดยการเขียนหนังสืออนุญาต หรือหยิบยื่นให้ด้วยมือ หรือ ใช้แสดงกิริยาอาการให้รู้ว่าอนุญาตให้ เช่น เสือกไสให้ ใช้เท้าเขี่ยให้ พยักเพยิดให้ เป็น ต้น หรือกล่าววาจา อนุญาตให้ คําว่า อาทาน คือการยึดถือเอานั้น ได้แก่ ลักขโมย ปล้น วิ่งราว ข่มขู่ ฉ้อโกง สับเปลี่ยน เป็นต้น แสดงวจนัตถะในคําว่า อทินนาทาน “น ทินน์ อทินน์” วัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ หรือที่เจ้าของหวงแหน ชื่อว่า อทินนะ
“อทินฺนสฺส อาทานํ อทินฺนาทาน” การยึดถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ ชื่อว่าอทินนาทาน หรืออีกนัยหนึ่ง
“อทินฺนํ อารียนฺติ เอเตนาติ อทินฺนาทานํ” บุคคลทั้งหลายย่อมยึดเอาวัตถุสิ่งของ ที่เจ้าของหวงแหนด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุในการยึดเอาวัตถุสิ่งของ ทีเจ้าของหวงแหนนั้น ชื่อว่า อทินนาทาน ได้แก่ เถยยเจตนา คือเจตนาที่เป็นเหตุ ในการลักทรัพย์ เถยยเจตนานี้ได้ปโยคะ ๒ คือกายปโยคะ การขโมยด้วยกาย และ วจีปโยคะ ใช้วาจาล่อลวง
องค์แห่งปโยคะของอทินนาทาน
การทําอกุศลชนิดอทินนาทานที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ปรปริคฺคหิตํ วัตถุสิ่งของที่มีเจ้าของเก็บรักษาไว้
๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของเก็บรักษาไว้
๓. เถยฺยจิตตฺ มีจิตคิดจะลัก
๔. ปโยโค ทําความเพียรเพื่อลัก
๕. อวหาโร ได้สิ่งของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น
เมื่อการกระทําครบองค์ทั้ง ๕ นี้แล้ว ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถแล้ว ถ้าการกระทําไม่ครบองค์ ๕ ก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ ดังมีคาถาแสดงว่า
ปรสฺส สํ ตถาสญฺญา เถยฺยจิตฺตญฺจุปกฺกโม
เตน หาโรติ ปญฺจงฺคา เถยฺยสฺส ยตนา สมา ฯ
องค์แห่งการลักทรัพย์สิ่งของมี ๕ อย่าง คือสิ่งของของผู้อื่นประการหนึ่ง รู้ว่าเป็นสิ่งของของผู้อื่นประการหนึ่ง มีจิตคิดจะลัก ประการหนึ่ง ทําความเพียรเพื่อลักเอาสิ่งของ นั้นประการหนึ่ง ลักเอาสิ่งของนั้นมาได้สําเร็จประการหนึ่ง
ปโยคะ ๖
ปโยคะ คือความพยายามในการลักทรัพย์นี้มี ๖ อย่าง (เหมือนปโยคะในปาณาติบาต) คือ
๑. สาหัตถกะ ลักด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ใช้ให้คนอื่นลักโดยการใช้วาจาหรือเขียนหนังสือ
๓. นิสสัคคิยะ ลอบทิ้งวัตถุสิ่งของ เช่น ลักลอบเอาสิ่งของที่ต้องเสีย ภาษีทิ้งออกไปให้พ้นเขต
๔. ถาวระ สั่งพรรคพวกไว้ว่า ถ้ามีโอกาสเวลาใดให้พยายามลักเอา สิ่งนั้นๆ มาให้สําเร็จ การสั่งเช่นนี้ก็นับว่าสําเร็จเป็น อทินนาทานได้อย่างหนึ่ง แม้ว่าจะกินเวลานานเท่าใด ก็ตาม เรียกว่าอัตถสาธก คือย่อมทําให้สําเร็จในการลัก ทรัพย์ หรือมีเจตนาจะทําลายทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นให้ เสียหาย เช่น เอาผ้าใส่ลงไปในถังบีบที่มีน้ํามัน เพื่อ ให้ผ้านั้นดูดน้ํามันให้แห้งไป
๕. วิชชามยะ ใช้เวทมนตร์คาถา ทําให้เจ้าของทรัพย์หลงใหลงงงวย หยิบยื่นสิ่งของนั้นๆ มาให้ตน หรือใช้คาถาสะกดทําให้ เจ้าของทรัพย์หลับแล้วก็เข้าไปลักทรัพย์นั้นมา เป็นต้น
๖. อิทธิมยะ ใช้อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับวิชชามยะ แต่ผู้ที่มี อิทธิฤทธิ์นี้ ย่อมไม่กระท่าอทินนาทานที่เป็นโลกวัชชะคือการกระทําที่มีโทษในทางโลก กระทําแต่ในสิ่งที่เอา มาใช้เป็นประโยชน์ แลเจ้าของนั้นก็ไม่มีความเสียหาย แต่อย่างใด ดังเช่นเรื่องสามเณรองค์หนึ่งได้สําเร็จ อภิญญา มีความต้องการ น้ําเพื่อใช้บริโภค ได้ไปขอต่อ พญานาคที่มีหน้าที่ดูแลรักษาสระโบกขรณีนั้น พญานาคไม่ยอมให้ สามเณรนั้นเหาะขึ้นไปบนอากาศ แล้วก็ตักเอาน้านั้นไปจนได้ และเรื่องโทณพราหมณ์ที่ ทําการตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ ต่างๆ ๔ ประเทศ ในระหว่างที่ทําการตวงอยู่นั้นได้ ยักยอก เอาพระเขี้ยวแก้ว เบื้องบนข้างขวาใส่ในมวยผม ของตน พระอินทร์มองเห็นพระเขี้ยวแก้วนั้น ก็ยึดเอา ไปจากมวยผมของพราหมณ์อีกต่อหนึ่ง แล้วนําเอาไป บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ชั้นดาวดึงส์ เรียกว่าเจดีย์จุฬามณี ดังนี้เป็นต้น
การทําอทินนาทานนี้ ถ้าวัตถุสิ่งของที่ลักลอบมานั้นมีราคามากก็เป็นมหาสาวัชชะ คือมีโทษมาก ถ้าวัตถุสิ่งของนั้นมีราคาน้อยก็เป็นอัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อยและในวัตถุ ที่มีราคาเสมอกันนั้น ก็ต้องวินิจฉัยที่เจ้าของ ถ้าเจ้าของเป็นผู้มีศีลธรรมผู้ลักลอบมานั้น ก็มีโทษมาก ถ้าเจ้าของเป็นผู้ไม่มีศีลธรรม ผู้ลักลอบก็มีโทษน้อย
วัตถุจําแนกตามเจ้าของมี ๔ อย่าง คือ
๑. คิหิสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของฆราวาส
๒. ปุคฺคลสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง
๓. คณสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระภิกษุหรือสามเณร ๒ - ๓ รูป
๔. สงฺฆสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระภิกษุหรือสามเณรตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป
ในบรรดาวัตถุ ๔ ประเภทเหล่านี้ ผู้ใดลักทรัพย์ประเภทบุคคลสันตกะ ย่อมมีโทษมากกว่าประเภทคีริสันตกะ ผู้ใดลักทรัพย์ประเภทคุณสันตกะย่อมมีโทษมากกว่าประเภทบุคคลสันตกะ และถ้าผู้ใดลักทรัพย์ประเภทสังฆสันตกะก็ย่อมมีโทษมากกว่าประเภท คณสันตกะ เป็นลําาดับๆ กันไปดังนี้
อีกนัยหนึ่ง วัตถุจําแนกตามเจ้าของ มี ๕ อย่าง คือ
๑. ปุถุชฺชนสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของปุถุชน
๒. โสตาปนฺนสนตก วัตถุนั้นเป็นของพระโสดาบัน
๓. สกทาคามิสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระสกทาคามี
๔. อนาคามีสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระอนาคามี
๕. อรหนฺตสนฺตก วัตถุนั้นเป็นของพระอรหันต์
โทษที่ได้รับจากการลักทรัพย์ก็ย่อมมีมากน้อยไปตามลําาดับขั้น สําหรับการลักทรัพย์ของพระอรหันต์นั้นย่อมมีโทษมากที่สุด ดังที่ท่านพระมหาพุทธโฆสเถระแสดงไว้ใน สัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า “ขีณาสวสฺส สนฺตเก อติมหาสาวชฺชํเยว” “การลักทรัพย์ ของพระอรหันต์นั้นย่อมมีโทษอย่างใหญ่หลวง”
วินิจฉัยการลักวัตถุสิ่งของที่เป็นทรัพย์สมบัติของดิรัจฉาน (ติรจฺฉานปริคฺคหาทานวินิจฺฉัย)
ผู้ใดผู้หนึ่งแลเห็นนกเหยี่ยวโฉบเอาชิ้นเนื้อหรือปลาที่ตายแล้วบินผ่านมา ก็กระทํา การขัดขวางโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้นกเหยี่ยวนั้นตกใจทิ้งสิ่งของนั้นลงมา แล้วก็แย่งเอาสิ่งของนั้นมาเสีย เช่นนี้นับว่าผู้นั้นได้กระทําอทินนาทานสําเร็จลงแล้ว แต่ถ้านกเหยี่ยวนั้น โฉบเอาสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่มา เมื่อมีผู้แลเห็นแล้วกระทําการขัดขวางด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ตาม เพื่อให้นกเหยี่ยวปล่อยสัตว์นั้นๆ ลงมา การกระทําชนิดนี้ย่อมไม่สําเร็จเป็นอทินนาทาน เป็นการกระทําที่เป็นกุศลชนิดอภัยทานกุศล
สัตว์ดิรัจฉานอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน คือถ้าสัตว์นั้นไปคาบเอาสิ่งที่ปราศจากชีวิตแล้ว มาจะเป็นหมู ปลา นก เป็ด ไข่ เป็นต้นก็ตาม ถ้ามีคนไปทําการขัดขวางแย่งเอาสิ่งนั้นๆ มาเสีย ก็จัดว่าการกระทําของผู้นั้นสําเร็จเป็นอทินนาทาน
ถ้าสัตว์นั้นไปคาบพาเอาสัตว์ที่มีชีวิตมา เช่น หนู ปลา นก เป็ด ไก่ จิ้งจก แมลง ต่างๆ เป็นต้น ผู้ที่แลเห็นได้เข้าทําการขัดขวางแย่งเอาสัตว์นั้นๆ มาเสีย การกระทํา เช่นนี้ก็ไม่จัดว่าเป็นอทินนาทาน แต่เป็นอภัยทานกุศล ฉะนั้น ท่านฎีกาจารย์จึงได้แสดง ไว้ในวิมุติวิโนทนีฎีกาว่า
“ติรฺจฉานานํ อามิสทาเน กุสลํ วิย เตสํ อามิสอจฺฉินฺทเนปิ อกุสลเมว, สปฺปอาทีนิ คหิตปาณกานํ โมจนตฺถาย วฏฺฏติ" “การให้อาหารแก่สัตว์ดิรัจฉานย่อมสําเร็จเป็นกุศลฉันใด การแย่งเอาอาหารของสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นมาก็ย่อมสําเร็จเป็น อกุศลฉันนั้น การพยายามช่วยนก หนู กบที่ยังมีชีวิตอยู่ที่งู เป็นต้น จับเอามาเพื่อให้พ้นไปนั้น ก็ย่อมกระทําได้โดยไม่เป็นอาบัติ”
สําหรับในพระวินัยนั้น การยึดเอาสมบัติของสัตว์ดิรัจฉานมานั้นย่อมไม่เป็นอาบัติ ดังมีพระบาลีแสดงไว้ในปาราชิกกัณฑ์พระบาลีแห่งทุติยสิกขาบทว่า “อนาปตฺติ ภิกฺขเว ติรจฺฉานคตปริคฺคห” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย การยึดเอาสมบัติที่สัตว์ดิรัจฉานหวงแหนนั้น ไม่เป็นอาบัติ” และท่านอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงความเห็นที่สอดคล้องกับพุทธภาษิตว่า “เสนาทโยปี อามิสํ คเหตฺว่า คจฺฉนฺเต ปาเตตฺวา เหตุํ วฏฺฏติ” “สําหรับภิกษุที่กระทํา ให้วัตถุต่างๆ มีก้อนเนื้อเป็นต้น ที่นกเหยี่ยวเป็นต้น โฉบบินผ่านมานั้นให้ปล่อยตกลงมา แล้วยืดเอาวัตถุนั้นไว้ ย่อมกระทําได้ไม่เป็นอาบัติ" แต่ถึงแม้ว่าการกระทําเช่นนี้ทาง พระวินัยจะไม่จัดเป็นอาบัติก็จริง เมื่อว่าโดยอภิธรรมนัยแล้ว ย่อมสําเร็จเป็นอทินนาทาน
การขโมย ๒๕ ประเภท
การขโมยที่เป็นอทินนาทานนี้ มีอยู่ ๒๕ ประเภท คือ
นานาภณฺฑปญฺจก การขโมยทรัพย์สิ่งของต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตมี ๕ ประเภท
เอกภณฺฑปญฺจก การขโมยเฉพาะสิ่งที่มีชีวิต มี ๕ ประเภท
สาหตฺถิกปญฺจก การขโมยด้วยตนเอง มี ๕ ประเภท
ปุพฺพปโยคปญฺจก การกระทําที่สําเร็จเป็นอทินนาทานก่อนที่จะลงมือขโมย มี ๕ ประเภท
เถยฺยาวหารปญฺจก การฉ้อโกง เปลี่ยนแปลงวัตถุสิ่งของ ทําวัตถุปลอมล่อลวงตัดช่องย่องเบาโดยไม่ให้เจ้าของรู้สึกเหล่านี้มี ๕ ประเภท รวมเป็นการขโมย ๒๕ ประเภท
นานาภณฺฑปญฺจก ๕ ประเภท
๑. อาทิยนอทินฺนาทาน
๒. หรณอทินฺนาทาน
๓. อวหรณอทินฺนาทาน
๔. อิริยาปถวิโกปนอทินฺนาทาน
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน
๑. อาทิยนอทินนาทาน ได้แก่การกระทําให้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเกี่ยวกับที่บ้าน ที่นา ที่สวน หรือบ้านให้ตกมาเป็นสมบัติของตน โดยวิธีฟ้องร้องต่อศาล การกระทําเช่น นี้เรียกว่าเป็นอาทิยน อทินนาทาน แต่ในข้อนี้มิได้มุ่งหมายถึงว่าผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ จะต้องเกี่ยวข้องกันในเรื่องเงินทองแต่ประการใด คือไม่ได้เกี่ยวกับเป็นหนี้สินจํานํา จํานองต่อกัน เป็นการกระทําชนิดถือสิทธิครอบครองในสถานที่นั้นๆ เป็นต้น การกระ ทําโดยวิธีนี้เมื่อผู้เป็นเจ้าของที่หรือเจ้าของบ้านนั้นเกิดท้อใจคิดว่าที่ดินหรือบ้านของเรานี้จะต้องตกเป็นสมบัติของผู้อื่นแน่แล้ว เพียงแค่นี้ผู้มุ่งหมายเอาสมบัตินั้นเป็นอันว่าก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอาทิยน อทินนาทานแล้ว
๒. หรณอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่กําลังนําเอาทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นไปตามหน้าที่ และในขณะที่กําลังนําไปนั้นมีจิตคิดจะขโมยเอาสิ่งของนั้นๆ มาเป็นของตน เมื่อมีจิตคิดจะขโมยเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว แม้แต่จะขยับสิ่งของนั้นเคลื่อนจากที่เดิมไปเพียงเล็กน้อย เช่น ทีแรกแบกของนั้นไว้บนศีรษะ เมื่อคิดจะขโมยแล้วเคลื่อนของนั้นลงจากศีรษะมาไว้บน บ่า หรือทีแรกถือของนั้นไว้ในมือข้างขวา เมื่อคิดจะขโมยแล้วเปลี่ยนของนั้นมาไว้ในมือ ข้างซ้ายเช่นนี้เป็นต้น ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับหรณ อทินนาทานแล้ว
๓. อวหรณอทินฺนาทาน ได้แก่มีผู้นําวัตถุสิ่งของหรือเงินทองมาฝากตนไว้ ครั้น เมื่อเจ้าของมาขอรับคืน ผู้นั้นก็ปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากสิ่งของนั้นๆ ไว้ นี้แหละได้ชื่อว่าเป็น อวหรณ อทินนาทาน และเมื่อเจ้าของมีความหมดหวังที่จะได้ของคืนคิดในใจว่าของตน ที่ฝากไว้นั้นเป็นอันว่าสูญแล้ว เช่นนี้ก็เป็นอันว่าผู้รับฝากของนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยว กับอรหรณ อทินนาทานแล้ว
๔. อิริยาบถวิโกปนอทินฺนาทาน ได้แก่เจ้าของทรัพย์นั่งอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม หรือเดินอยู่ก็ตาม ผู้ขโมยนั้นแลเห็นแล้วคิดในใจว่าจะต้องหาหนทางเอาตัว เจ้าทรัพย์นั้นไปเสียจากที่นั้น แล้วยึดเอาทรัพย์สิ่งของที่ติดตัวไปนั้นมาเป็นของตนเสีย แล้วก็ลงมือกระทําการขู่เข็ญ หรือล่อหลอกให้เจ้าทรัพย์นั้นไปกับตนโดยวิธีหนึ่งวิธีใดก็ตาม เมื่อเจ้าทรัพย์เคลื่อนกายก้าวเท้าไปตามคําสั่งแล้ว เมื่อก้าวไปก้าวแรกก็ได้ชื่อว่าผู้ขโมยนั้น สําเร็จเป็นอิริยาบถวิโกปน อทินนาทาน และเมื่อเจ้าทรัพย์ได้ก้าวเท้าเป็นก้าวที่สอง ก็เป็น อันว่าผู้ขโมยนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอิริยาบถวิโกปนอทินนาทานแล้ว ถ้าผู้ขโมยอุ้มเจ้าทรัพย์ไปก็ต้องตัดสินที่ตัวผู้ขโมยนั้นเอง คือเมื่อผู้ขโมยอุ้มเจ้าทรัพย์ก้าวเท้าเป็น ก้าวแรกก็สําเร็จเป็นอิริยาบถวิโกปนอทินนาทาน และเมื่อผู้ขโมยก้าวเท้าที่สอง ก็เป็นอันว่าผู้ขโมยนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอิริยาบถวิโกปนอทินนาทานแล้ว
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน ได้แก่ทรัพย์สิ่งของต่างๆ ที่เจ้าของวางหรือตั้งไว้ใน ที่ใดที่หนึ่ง (นอกจากในน้ำ) ผู้ขโมยแลเห็นแล้วมีจิตคิดจะขโมยสิ่งนั้นๆ แล้วก็ลงมือหยิบ เคลื่อนส่งของนั้นๆ เมื่อทรัพย์สิ่งของนั้นๆ เคลื่อนจากที่เดิมไปเพียงเล็กน้อย ก็เป็นอันว่า ผู้ขโมยนั้นได้สําเร็จเป็นฐานาจาน อทินนาทาน พร้อมทั้งก้าวล่วงกรรมบถไปด้วยแล้ว
เอกมณฺฑปญฺจก ๕ ประเภท
๑. อาทิยนอทินฺนาทาน
๒. หรณอทินฺนาทาน
๓. อวหรณอทินฺนาทาน
๔. อิริยาปถวิโกปนอทินฺนาทาน
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน
๑. อาทิยนอทินฺนาทาน ได้แก่การยืดกรรมสิทธิ์เอาสวิญญาณกทรัพย์ มีผู้คนหรือ สัตว์เลี้ยงของผู้อื่นมาเป็นสมบัติของตน โดยวิธีฟ้องร้องต่อศาลได้ชื่อว่าเป็นอาทิยนอทิน นาทาน และเมื่อผู้เป็นเจ้าของคิดว่าผู้คน หรือสัตว์เลี้ยงของตนนี้จะต้องตกไปเป็นของของ คนอื่นแน่แล้ว ขณะนั้นผู้ยึดกรรมสิทธิ์นั้นก็เป็นอันว่าได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอาทิยน อทินนาทานแล้ว
๒. หรณอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่พาคนหรือสัตว์เลี้ยงของผู้อื่นซึ่งตนมีหน้าที่พาไป ในที่ต่างๆ ในขณะที่กําลังพาไปนั้น ผู้นั้นมีจิตคิดจะลักพาไปเป็นของตนหรือพาเอาไปขาย เมื่อมีจิตคิดเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วก็ได้ชื่อว่าเป็นหรณอทินนาทาน และหลังจากที่คิดแล้วมีกิริยา อาการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น เปลี่ยนทางเดินหรือเปลี่ยนมือที่สูงเป็นต้น เช่นนี้แล้วก็ เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับหรณ อทินนาทานแล้ว
๓. อวหรณอทินฺนาทาน ได้แก่มีผู้นําคนหรือสัตว์เลี้ยงมาฝากฝังไว้ ครั้นเมื่อผู้ ฝากมารับคืนก็กล่าวอุบายหลีกเลี่ยงต่างๆ เป็นต้นว่า ผู้นั้นผู้นี้มารับไปแล้วหรือหนีไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้คนหรือสัตว์นั้นอยู่เป็นกรรมสิทธิ์ของตน นี้ได้ชื่อว่าเป็นอาหรณ อทินนาทาน และเมื่อเจ้าของหมดหวังคิดว่าตนจะไม่ได้คนหรือสัตว์นั้นคืนมาแน่แล้ว เช่น นี้ก็เป็นอันว่าผู้รับฝากนั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอวรรณอทินนาทานแล้ว
๔. อิริยาปถวิโกปนอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่ทําการล่อลวง ลักพาฉุดคร่าเด็กหรือ หญิงสาว หรือสัตว์เลี้ยง ในขณะที่คนหรือสัตว์นั้น นั่ง นอน ยืน เดิน อยู่ก็ตามเพื่อนําไป หาประโยชน์ก้าไรหรือนําไปเป็นกรรมสิทธิ์ของตน เมื่อคนหรือสัตว์นั้นได้เคลื่อนกายจากอิริยาบถเดิม ก้าวเท้าตามผู้นั้นไปเป็นก้าวแรกก็ได้ชื่อว่าผู้นั้นสําเร็จเป็น อิริยาบถวิโกปน อทินนาทาน และเมื่อได้ก้าวเท้าเป็นก้าวที่สองก็เป็นอันว่าผู้นั้นก้าวล่วงกรรมบถที่เกี่ยวกับอิริยาบถวิโกปนอทินนาทานแล้ว
๕. ฐานาจาวนอทินฺนาทาน ได้แก่การลักขโมยสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของเขาผูกไว้ ขังไว้ หรือสัตว์นั้นนอนอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่ก็ตาม ผู้ขโมยมีจิตคิดจะขโมยแล้วก็เข้าไปอุ้มหรือจูงสัตว์ นั้นๆ มา เมื่อสัตว์นั้นเคลื่อนกายจากที่เดิมไปแม้เพียงเล็กน้อย ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จ เป็นฐานาจาวนอทินนาทาน พร้อมทั้งก้าวล่วงกรรมบถไปด้วย
สาหตุถิกปญฺจก ๕ ประเภท
๑. สาหตุถิกอทินฺนาทาน
๒. อาณตฺติกอทินฺนาทาน
๓. นิสฺสคฺติยอทินฺนาทาน
๔. อตฺถสาธกอทินฺนาทาน
๕. ธุรนิกฺเขปอทินฺนาทาน
๑. สาหตุถิกอทินฺนาทาน ได้แก่การขโมยทรัพย์สินเงินทองวัตถุสิ่งของต่างๆ และ สิ่งที่มีชีวิตด้วยตนเอง
๒. อาณตฺติกอทินฺนาทาน ได้แก่การใช้ให้ผู้อื่นขโมย
๓. นิสฺสคฺติยอทินฺนาทาน ได้แก่การขโมยชนิดที่สอบเอาของที่ต้องเสียภาษีทิ้ง ไปให้พ้นเขต
๔. อตฺถสาธกอทินฺนาทาน ได้แก่การออกคําสั่งให้พรรคพวกขโมยวัตถุสิ่งของนั้นๆ ถ้ามีโอกาสจะกินเวลานานเท่าใดก็ตาม แม้ว่าผู้รับคําสั่งนั้นจะยังไม่มีโอกาสขโมย จนล่วง เวลาไปตั้งหลายปีแล้วจึงได้โอกาสขโมย ผู้สั่งนั้นก็สําเร็จเป็นอัตถสาธก อทินนาทาน ตั้ง แต่เวลาที่ออกคําสั่งนั้นเอง แต่ถ้าหากว่าผู้รับคําสั่งนั้นตายเสียก่อนที่จะมีโอกาสขโมย ผู้สั่งก็ไม่เป็นอัตถสาธก อทินนาทาน
๕. ธุรนิกฺเขปอทินฺนาทาน ได้แก่ในเวลาที่มีการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อยืดกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินต่างๆ ของผู้อื่นที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ หรืออวิญญาณกทรัพย์ก็ตาม หรือ ในเวลาที่เจ้าของทรัพย์มาขอรับวัตถุสิ่งของเงินทองที่เขานํามาฝากตนไว้ หรือที่ตนไปหยิบ ยืมเขามา แล้วตนก็ปฏิเสธบิดพริ้วไม่รับรู้ก็ตาม เมื่อขณะที่เจ้าของทรัพย์นั้นนึกตัดสินใจว่า ทรัพย์สมบัติของตนนี้จะต้องสูญไปเป็นสมบัติของคนอื่นแน่แล้ว ในเวลานั้นผู้ที่ก่อเรื่อง ดังกล่าวแล้วนี้ ก็เป็นอันว่าสําเร็จในการขโมยที่เรียกว่าธุรนิกเขป อทินนาทาน
ความแตกต่างกันระหว่าง อาณตฺติกอทินฺนาทาน และ อตฺถสาธกอทินฺนาทาน
การใช้ให้คนอื่นขโมยชนิด อาณตฺติกอทินฺนาทาน นั้น ใช้ให้ขโมยในปัจจุบัน ส่วน การใช้ให้ผู้อื่นขโมยชนิด อตฺถสาธกอทินฺนาทาน นั้น ใช้ให้ขโมยเมื่อมีโอกาสในภายหลัง
ปุพฺพปโยคปญฺจก ๕ ประเภท
๑. ปุพฺพปโยคอทินฺนาทาน
๒. สหปโยคอทินฺนาทาน
๓. สํวีทาวหารอทินฺนาทาน
๔. สงฺเกตกมุมอทินฺนาทาน
๕. นิมิตุตกมุมอทินฺนาทาน
๑. ปุพฺพปโยคอทินฺนาทาน การใช้ให้ผู้อื่นขโมยนี้ เมื่อขณะที่กล่าววาจาใช้นั้น แหละก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ ได้ชื่อว่าเป็นบุพพปโยค อทินนาทาน
๒. สหปโยคอทินฺนาทาน ผู้ใดมีจิตคิดจะขโมยของของผู้อื่นกระทําทรัพย์สิ่งของ นั้นๆ ให้เคลื่อนไปจากที่เดิมก็ดี หรือผู้ใดคิดโกงเกี่ยวกับที่ดินจะเป็นที่บ้าน ที่นา ที่สวนก็ ตาม กระทําการย้ายหลักเขตหรือเครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับเขตที่ดินนั้นๆ ให้เคลื่อน ไปจากที่เดิม ในขณะที่กําลังพยายามกระทําการย้ายเขตนี้แหละ ก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ ได้ชื่อว่าเป็นสหปโยค อทินนาทาน
๓. สํวีทาวหารอทินฺนาทาน บุคคลหมู่หนึ่งจํานวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปมีการร่วม คิดตกลงกันที่จะทําการขโมยทรัพย์สมบัติของผู้อื่น แล้วก็ร่วมทางกันไป บุคคลเหล่านี้แม้ คนใดคนหนึ่งลงมือขโมยเพียงคนเดียว กระทําให้ทรัพย์สิ่งของนั้นๆ เคลื่อนไปจากที่เดิม บุคคลที่ไปด้วยกันทั้งหมดก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถพร้อมกัน ได้ชื่อว่าเป็นสังวิทาวหารอทินนาทาน
๔. สงฺเกตกมุมอทินฺนาทาน ผู้ที่ใช้ให้ผู้อื่นไปทําการขโมย โดยกําหนดเวลาลง มือกระทําาให้ เช่น ให้ลงมือขโมยในเวลากลางคืน หรือกําหนดเวลาไว้โดยตรงว่าให้ลงมือ เวลา ๒๔.๐๐ น. ดังนี้เป็นต้น ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นลงมือขโมยตรงตามเวลาที่สั่งไว้ ผู้ใช้ก็เป็น อันว่าล่วงกรรมบถเป็นสังเกตกัมม อทินนาทาน ถ้าผู้รับคําสั่งกระทําการไม่ตรงกับเวลา ที่สั่งไว้ เช่น สั่งว่าขโมยกลางคืนแต่ไปขโมยกลางวัน หรือสั่งให้ขโมยเวลา ๒๔.๐๐ น. แต่ ไปขโมยเวลา ๒๒.๐๐ น. หรือเกินเวลา ๒๔.๐๐ น. ไปดังนี้ ผู้ใช้ไม่ล่วงกรรมบถ แต่เป็นผู้ ขโมยล่วงกรรมบถฝ่ายเดียว
๕. นิมิตตกมุมอทินนาทาน การให้ผู้อื่นขโมย โดยใช้อาณัติสัญญาให้ลงมือทําการ เช่น โบกมือ พยักหน้า ผิวปาก หรี่ตา เป็นต้น ผู้ที่รับใช้เมื่อเห็นอาณัติสัญญาแล้วลง มือทําาการทันที ผู้ใช้ก็เป็นอันล่วงกรรมบถเป็นนิมิตตกัมม อทินนาทาน ถ้าผู้รับใช้นั้นกระทํา การขโมยก่อนได้รับอาณัติสัญญา หรือหลังจากได้รับอาณัติสัญญาล่วงไปแล้ว ผู้ใช้ไม่ล่วงกรรมบถ เป็นแต่ผู้ขโมยล่วงกรรมบถฝ่ายเดียว
เถยฺยาวหารปญฺจก ๕ ประเภท
๑. เถยฺยาวหารอทินฺนาทาน
๒. ปสยฺหาวหารอทินฺนาทาน
๓. ปริกปฺปาวหารอทินฺนาทาน
๔. ปฏิจฺฉนฺนาวหารอทินฺนาทาน
๕. กุสาวหารอทินฺนาทาน
๑. เถยฺยาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่ทําการค้าโดยสั่งหรือดวงวัตถุสิ่งของที่ค้า นั้นไม่ตรงตามจํานวน คือชั่งหรือดวงให้ขาดจํานวนไปก็ดี หรือผู้ซื้อทําการชั่งตวงวัตถุสิ่ง ของนั้นเอาเอง ก็ทําการชั่งตวงสิ่งนั้นๆ ให้เกินจํานวนไปก็ดี หรือผู้ที่ใช้เงินปลอมก็ดี หรือ ผู้ที่กระทําการตัดช่องย่องเบาโดยไม่ให้เจ้าของเห็นก็ดี การกระทําต่างๆ เหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็น เถยยาวหารอทินนาทาน
๒. ปสยฺหาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่เอาทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่นโดยการ ขู่เข็ญบังคับ หรือเบียดเบียนทําร้ายเจ้าทรัพย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นไปเหมือนกับพวกโจร ที่ทําลายความสงบสุขของชนทั้งหลาย การกระทําเช่นนี้ได้ชื่อว่าเป็น ปสัยหาวหารอทินนาทาน
อนึ่ง ผู้ที่มีอํานาจอิทธิพลต่างๆ ได้ใช้อํานาจของตนนั้นบังคับขู่เข็ญต่อชนผู้น้อยกว่า ให้นําเอาทรัพย์สินเงินทองวัตถุสิ่งของต่างๆ มาให้ตน เช่นนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็น ปสัยหาวหารอทินนาทาน
๓. ปริกปฺปาวหารอทินนาทาน นี้ มี ๒ อย่าง คือ
ก. ภณฺฑปริกปฺปาวหารอทินฺนาทาน
ข. โอกาสปริกปฺปาวหารอทินฺนาทาน
ก. ผู้ที่มีความตั้งใจเจาะจงจะขโมยวัตถุนั้นๆ แล้วก็ทําการขโมยวัตถุนั้นๆ มาตรง กับความประสงค์ของตน ได้ชื่อว่าเป็นภัณฑปกัปปาวหาร อทินนาทาน ตัวอย่างเช่น ผู้นั้นมีความตั้งใจจะขโมยกางเกง เมื่อเข้าไปในบ้านของเจ้าทรัพย์ แล้วยกเอาหีบห่อ เป็นต้นของเจ้าทรัพย์นั้นมา ถ้าในหีบห่อเป็นต้นนั้นมีกางเกงอยู่ในนั้น เมื่อขณะที่ยกหีบ ห่อนั้นเคลื่อนที่ก็เป็นอันว่าผู้นั้นสําเร็จในการกระทําภัณฑ์ปริกับปาวหาร อทินนาทาน แต่ ถ้าในหีบห่อเป็นต้นนั้นไม่มีกางเกง มีแต่ของอื่นแล้ว ขณะที่ยกนั้นยังไม่ล่วงกรรมบถ แต่ เมื่อเอาหีบห่อนั้นมาเปิดดูเห็นแต่สิ่งอื่นๆ ไม่มีกางเกงที่ตนตั้งใจจะขโมยอยู่ในนั้น ก็นึกว่า แม้จะไม่ใช่เป็นกางเกงกลายเป็นสิ่งอื่นไปก็เป็นการดีทั้งนั้น เมื่อตัดสินใจดังนี้ ก็ยกเอาหีบห่อเป็นต้นนั้นไป ขณะนั้นแหละก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ล่วงกรรมบถในข้อภัณฑ์ปริกับปาวหารอทินนาทาน
ข. ผู้ที่ทําการขโมยได้ตั้งใจกําหนดขอบเขตสถานที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ขโมยได้ เข้าไปในบริเวณบ้านหรือในบ้านของเจ้าทรัพย์ เมื่อแลเห็นวัตถุสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าแล้ว มีความอยากได้เกิดขึ้น แล้วคิดกะการในใจกําหนดเขตสถานที่ไว้ กล่าวคือเมื่อเอาสิ่งของนั้นมาได้แล้วก็ตั้งใจว่าเราจะนําไปที่ตรงประตูบ้าน หรือที่ใต้ต้นไม้นั้น หรือที่ ริมรั้วนั้นเสียก่อน ถ้าเจ้าของแลเห็นเราก็จะแก้ตัวไปว่าเราอยากชมสิ่งของนั้นๆ แล้วก็จะ นําไปคืนดังที่เดิม ถ้าเจ้าของไม่แลเห็นเราจะนําไปเลย ฉะนั้นเมื่อผู้ขโมยนั้นนําสิ่งของไป ถึงเขตที่ตนก้าหนดไว้ ขณะนั้นยังไม่เป็นการล่วงกรรมบถ ต่อเมื่อนําออกไปพ้นเขตที่ตนกําหนดไว้จึงเป็นอันว่าได้ก้าวล่วงกรรมบถสําเร็จ เป็นโอกาสปริกัปปาวหาร อทินนาทาน
๔. ปฏิจฺฉนฺนาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่ผู้ที่เข้าไปในบ้านหรือในบริเวณบ้านหรือในห้องน้ำ ห้องครัว เป็นต้น ของผู้อื่นแล้วแลเห็นวัตถุมีค่า มีแหวน สร้อย นาฬิกา เข็มขัดเป็นต้น ที่เจ้าของถอดวางไว้ หรือทําตกไว้ก็หาหนทางจะเอาสิ่งของนั้นมาเป็นของตนโดยเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาปกปิดของนั้นไว้ หรือหยิบเอาของนั้นไปซุกซ่อนไว้ หรือเอาเท้าเหยียบไว้ หรือคุ้ยดินกลบไว้เสียก่อน รอโอกาสเมื่อเจ้าของไปจากที่นั้นแล้วก็จะนําไปในขณะที่ผู้นั้น ทําการปกปิดสิ่งของอยู่นั้น ยังไม่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถ ต่อเมื่อเจ้าของหาสิ่งของนั้น ไม่พบ แล้วตั้งใจว่าจะมาหาภายหลังอีกแล้วก็ไปจากที่นั้น เมื่อเจ้าของเคลื่อนที่ไปจากที่ ตรงนั้นแล้ว ก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ล่วงกรรมบถสําเร็จเป็น ปฏิจฉันนาหารอทินนาทาน
๕. กุสาวหารอทินฺนาทาน ได้แก่การเปลี่ยนชื่อเจ้าของวัตถุที่ไม่ใช่เป็นของตนให้ เป็นชื่อของตน หรือเปลี่ยนชื่อวัตถุที่ไม่ใช่ของตนให้เป็นของตน เช่น ในการจับสลากวัตถุ สิ่งของต่างๆ สลากที่ตนจับได้นั้นบอกชื่อวัตถุว่าได้ปากกา แต่สลากของอีกคนหนึ่งบอก ว่าได้นาฬิกา เมื่อตนแอบเปิดดูรู้ว่าวัตถุที่ตนจับได้นั้นสู้ของอีกคนหนึ่งไม่ได้ ก็ลอบเปลี่ยนเอาสลากของตนไปให้กับคนที่จับได้นาฬิกา แล้วเอาสลากของคนที่จับได้นาฬิกามาเป็น ของตน หรือบิดา มารดา เมื่อรู้ตัวว่าจะตายได้บอกให้ลูกคนโตเป็นผู้เขียนพินัยกรรมบ่ง ไว้ว่า ลูกคนโตนั้นได้ที่นาและสวน ส่วนลูกคนเล็กซึ่งกําลังไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ต่างประเทศ นั้น ได้ทีดินและตึกแถว เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็ให้อ่านให้ฟัง เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วก็เซ็นชื่อ และใส่ซองเก็บไว้ ต่อมาเมื่อมีโอกาสลูกคนโตก็แอบเปิดซอง เปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า ให้ลูก คนโตได้ที่ดินและตึกแถว ส่วนลูกคนเล็กนั้นได้ที่นาและสวน แล้วก็ปิดซองไว้ตามเดิม เมื่อบิดา มารดานั้นเจ็บหนักก็ได้ให้ไปตามผู้ที่นับถือ หรือทนายความมาให้รับรู้ในพินัยกรรม ที่ได้ให้ลูกคนโตเขียนไว้นั้น แล้วให้เซ็นชื่อเป็นพยาน ต่อมาบิดาหรือมารดานั้นก็ตาย เมื่อเปิดพินัยกรรมต่อหน้าลูกหลาน ญาติพี่น้อง ก็เป็นอันว่าลูกคนโตได้ที่ดินและตึกแถว ลูกคนเล็กได้ที่นาและสวน ตามที่ลูกคนโตได้เปลี่ยนแปลงใหม่นั้น การกระทําดังกล่าวมา นี้ได้ชื่อว่าเป็นกุสาวหาร อทินนาทาน
อธิบายพิเศษในเถยยาวหารอทินนาทาน
แห่งหมวดเถยุยาวหารปญฺจก
ในหมวดเถยฺยาวหารปญฺจก นี้ เถยฺยาวหารอทินฺนาทาน ที่เกี่ยวกับการโกง ได้จําแนกออกเป็น ๔ อย่าง คือ
๑. มานกูฏ ได้แก่การโกงที่เกี่ยวกับการตวงวัตถุสิ่งของ โดยใช้เครื่อง ตวง กระบุง ตะกร้า ปีบ เป็นต้น
๒. ตุลากูฏ การโกงที่เกี่ยวกับการใช้ตาชั่ง
๓. กํสกูฏ การโกงที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนวัตถุสิ่งของมีขัน ถ้วย จาน เป็นต้น
๔. กหาปณกูฏ การโกงที่เกี่ยวกับการทําเงินปลอม ธนบัตรปลอม
มานกูฎ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. หทยเภท ๒. สิขาเภท ๓. รชฺชุเภท
๑. หทยเภท ได้แก่การตวงน้ำมันต่างๆ หรือน้ำผึ้ง โดยทําเครื่องตวงให้เป็นรูไว้ เช่น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื้อก็เอาเครื่องตวงที่เจาะเป็นรูเล็กๆ ไว้ข้างกันนั้นวางลงในภาชนะ ที่ทําไว้รองรับเครื่องตวง เมื่อเทน้ำมันหรือน้ำผึ้งลงในเครื่องตวงแล้ว น้ำมันหรือน้ำผึ้งนั้น ก็จะไหลออกจากเครื่องตวงมาอยู่ในภาชนะที่รองรับ ทําให้ได้จํานวนน้ำมันหรือน้ำผึ้งมาก ขึ้น แต่ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็ปิดรูที่เจาะไว้นั้นเสีย และเมื่อเวลาดวงก็พยายามดวงเร็วๆ และตวงไม่ให้เต็มบริบูรณ์ การโกงชนิดนี้ชื่อว่า หทยเภทมานกฏ
๒. สิขาเภท ได้แก่การตวงข้าว ถั่ว งา เป็นต้น โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมในการตวงนั้น เช่น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื่อก็ค่อยๆ เทสิ่งนั้นๆ ลงในภาชนะเครื่องดวง เพราะการค่อยๆ เท นั้นจะทําให้ได้จํานวนของมากขึ้น และเมื่อตอนที่ปาดของให้เสมอกับขอบภาชนะที่ดวงนั้น ก็ใช้ปาดโหย่งๆ ให้ตรงกลางนูนเล็กน้อย แต่ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็รีบเทสิ่งนั้นๆ ลงในภาชนะเครื่องดวง ในการรีบเทนี้จะทําให้จํานวนของน้อยกว่าค่อยๆ เท และเมื่อตอน ปาดหน้าของนั้นก็ปาตกดลงไปให้ตรงกลางเว้าเล็กน้อย การโกงชนิดนี้เรียกว่า สิขยาเภทมานกุฎ
๓. รชชุเภท ได้แก่การใช้เล่ห์เหลี่ยมในการวัด เช่น วัดผ้า วัดที่ดิน เป็นต้น ถ้าตนวัดเอาของตนก็วัดให้เกินไว้ ถ้าตนวัดให้คนอื่นก็วัดให้ขาดไว้ โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งจับได้ การโกงชนิดนี้ชื่อว่า รัชชุเภทมานกุฎ
ตุลากูฏ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑. รูปกูฏ ๒. องฺคกูฏ ค. คหณกูฏ ๔. ปฏิจฺฉนุนกูฎ
๑. รูปกูฏ ได้แก่การทําลูกตุ้มที่สําหรับวัดน้ำหนักในการชั่งของไว้ ๒ ชนิด ลูกตุ้ม อันหนึ่งใหญ่ อันหนึ่งเล็ก ถ้าตนเป็นฝ่ายซื้อก็ใช้ลูกตุ้มอันใหญ่ถ่วงตาชั่ง เพื่อให้ได้จํานวน ของมาก ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็ใช้ลูกตุ้มอันเล็กถ่วง เพื่อให้จํานวนน้อยลงไป การโกงชนิด นี้ชื่อว่า ตุลารูปกูฏ
๒. องฺคกูฏ ได้แก่ในเวลาที่ชั่งของนั้น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื้อก็ใช้มือกดบนคันตาชั่ง ให้ถ่วงไปทางลูกตุ้ม เพื่อให้ได้จํานวนของมาก ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็ใช้กดถ่วงไปทางที่ใส่ ของ เพื่อให้ได้จํานวนของน้อย การโกงชนิดนี้ชื่อว่า ตุลาอังคกูฏ
๓. คหณกูฏ ได้แก่ในเวลาที่ชั่งของนั้น เมื่อตนเป็นฝ่ายชื่อก็ใช้มือจับที่ตรงสาย เชือกนั้นให้ต่ำลงถึงโดนเชือก เพื่อให้ได้จํานวนของมาก ถ้าตนเป็นฝ่ายขายก็จับที่ตรงปลายเชือก เพื่อให้จํานวนของนั้นน้อยลง การโกงชนิดนี้ชื่อว่า ตุลาคหณกูฏ
๔. ปฏิจฺฉนุนกูฎ ได้แก่การประดิษฐ์เครื่องชั่งโดยเจาะรูไว้ที่ตรงคันชั่ง แล้วเอา ปรอทหรือก้อนตะกั่วเล็กๆ ใส่ไว้ เมื่อตนเป็นฝ่ายซื้อก็เอียงคันชั่งเทมาทางลูกตุ้ม เพื่อให้ ก้อนปรอทหรือตะกั่วนั้นมาถ่วงทางด้านลูกตุ้ม เพื่อให้ได้จํานวนของมาก ถ้าตนเป็นฝ่าย ขายก็เอียงคันชั่งเทไปทางด้านทีใส่ของ เพื่อให้ก้อนปรอทหรือตะกั่วถ่วงไปทางของเพื่อให้ได้จํานวนของน้อย การโกงชนิดนี้ชื่อว่า ตุลาปฏิจฉันนกฏ
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
คําว่า กาเมสุมิจฉาจารนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ กาเมสุ + มิจฺฉา + อาจร กาเม = ในการเสพเมถุน (กาเมสูติ เมถุนสมาจาเรส)
มิจฺฉา = ลามก คือบัณฑิต ทั้งหลายย่อมติเตียนแน่นอน จร - การประพฤติ (เอกนฺต นินฺทิโต ลามกาจาโร)
เมื่อรวมกันแล้วเป็นกาเมสุมิจฉาจาร แปลว่าการประพฤติลามกในการเสพเมถุน แสดงวจนัตถะในคําว่า กาเมสุมิจฉาจาร “มิจฉา จรณํ มิจฺฉาจาโร” การประพฤติผิด คือกระทําลามกอันบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียนแน่นอน ชื่อว่ามิจฉาจาร
“กาเมสุ มิจฉาจาโร = กาเมสุมิจฉาจาโร” การประพฤติผิด คือกระทํา ลามก อันบัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนแน่นอนในการเสพเมถุน ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร อีกนัยหนึ่ง
“กาเมสุ มิจฉา จรนุติ เอเตนาติ = กาเมสุมิจฉาจาโร” คนทั้งหลายย่อมประพฤติ ผิดในการเสพเมถุนด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมอันเป็นเหตุแห่งการประพฤติผิดในการเสพ เมถุนนั้นชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่ เมถุนเสวนเจตนาที่ประกอบกับโลกชวนะ
อธิบายว่า สามีภรรยาที่ประพฤติอยู่ในกาเมต่อกันนั้น กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการกระทํา ที่ลามก อันบัณฑิตทั้งหลายจะพึงติเตียนเพราะเป็นไปตามธรรมดาของโลก แต่ถ้าชาย หรือหญิงใดประพฤติล่วงกาเมต่อชายหรือหญิงที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาของตน และชายหรือหญิงนั้นมีผู้ปกปักรักษาอยู่ การกระทําของชายหรือหญิงนั้นก็กล่าวได้ว่า เป็นการกระทําอันลามก บัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนเพราะไม่ได้เป็นไปตามธรรมดาโลก ดังนั้น ท่านฎีการจารย์จึงแก้ในคําว่า มิจฉาจารว่า “เอกนฺเต นินฺทิโต ลามกาจาโร” “การประพฤติ อันลามกที่บัณฑิตทั้งหลายฟังติเตียนอย่างแน่แท้” การล่วงกาเมสุมิจฉาจารนี้ย่อมสําเร็จได้ด้วยกายปโยคะอย่างเดียว คือต้องกระทําด้วยกายไม่ใช่ด้วยวาจา หรือใจ
องค์แห่งปโยคะของกาเมสุมิจฉาจาร
การกระทําอกุศลชนิดกาเมสุมิจฉาจาร ที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถนั้นต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. อคมนียวตก วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
๒. ตสฺมี เสวนจิตฺต์ มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
๓. ปโยโค มีความพยายามเสพ
๔. มคฺเคนมคฺคปฏิปตฺติ อธิวาสํ มีความพอใจในการประกอบมรรคซึ่งกันและกัน
เมื่อการกระทําครบองค์ ๔ นี้แล้วก็เป็นอันว่าผู้นั้นได้ก้าวล่วงกรรมบถกาเมสุมิจฉาจารแล้ว ถ้าไม่ครบองค์ ๔ ก็ไม่สําเร็จเป็นกรรมบถ ดังที่ท่านฎีกาจารย์แสดงไว้ว่า
วตฺถุํ อคมนียญจ ตสุมิ เสวนจิตฺตตา
ปโยโค มคฺเคนมคฺค ปติปตฺยาธิวาสนํ
อิติ กามสฺส จตฺตาโร ปโยเคโก สาหตฺถิโก ฯ
“วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องอย่างหนึ่ง มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น อย่างหนึ่ง มีความพยายามเสพอย่างหนึ่ง มีความพอใจในการ ประกอบมรรคซึ่งกันและกันอย่างหนึ่ง นี้คือองค์ทั้ง ๔ ของ กาเมสุมิจฉาจารปโยคะนั้นได้ สาหัตถิกปโยคะ คือการกระทําด้วยตนเองอย่างเดียว"
โทษของกาเมสุมิจฉาจาร ที่เป็นมหาสาวัชชะและอัปปสาวัชชะ
ผู้ที่ล่วงเกินแก่ผู้มีศีลธรรม โดยมิได้มีความพอใจยินยอมด้วย ผู้ล่วงเกินนั้นย่อมมีโทษ หนัก ถ้าล่วงเกินแก่ผู้ไม่มีศีลธรรม โดยมิได้มีความพอใจยินยอมด้วยผู้ล่วงเกินนั้นย่อมมีโทษ เบา ถ้าล่วงเกินโดยการเบียดเบียนทําร้ายร่างกาย แม้ว่าผู้ถูกเบียดเบียนนั้นจะเป็นผู้ไม่ มีคุณธรรมพิเศษอย่างใดก็ตาม ผู้ล่วงเกินนั้นก็ย่อมมีโทษหนัก ถ้าทั้งสองฝ่ายมีความยินยอมต่อกันก็ย่อมมีโทษเบา
ในระหว่างปุถุชนกับพระอริยบุคคลนั้น การล่วงปุถุชนย่อมมีโทษเบากว่าการล่วงพระอริยะ ในระหว่างพระอริยบุคคลด้วยกันนั้น การล่วงพระโสดาบันย่อมมีโทษเบากว่าการ ล่วงพระสกทาคามี การล่วงพระสกทาคามี ย่อมมีโทษเบากว่าการล่วงพระอนาคามี การล่วงพระอนาคามี ย่อมมีโทษเบากว่าการล่วงพระอรหันต์
สําหรับการล่วงกาเมสุมิจฉาจารต่อพระอรหันต์นั้น ย่อมมีโทษหนักที่สุดดังเช่นเรื่อง นันทมานพที่ล่วงเกินต่อพระอุบลวัณณาเถรี ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้รับโทษถึงถูกธรณีสูบด้วยอํานาจแห่งทิฏฐธัมมเวทนียกรรม และได้ไปบังเกิดในอวีจิมหานรก เสวยความ ทุกข์แสนสาหัสด้วยอํานาจ แห่งอุปปัชชเวทนียกรรม
อนึ่ง ในองค์ทั้ง ๔ นั้น องค์ที่ ๑ ที่ว่า อคมนียวัตถุ คือวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องนั้น ได้แก่ หญิงหรือชายที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง นั่นเอง
หญิงที่ชายไม่ควรเกี่ยวข้อง มี ๒๐ จําพวก คือ
มา - ปิ - มาปิ - ภะ และภา, ญา - โค - ธัม - สะ - สา
ธะ - ฉัน - โก - ปะ - โอ - โอ - ธะ, กัมมะ - ทา - มหาฯ
๑. มาตุรกฺขิตา หญิงที่มีมารดาปกครองเพราะบิดาตายหรือไม่ได้อยู่กับมารดา
๒. ปิตุรกฺขิตา หญิงที่มีบิดาปกครอง
๓. มาตาปิตุรกฺขิตา หญิงที่มีมารดาบิดาปกครอง (ถ้าหญิงที่มีมารดาปกครอง ผู้เดียว หญิงนั้นไม่ชื่อว่าปิตุรักขิตา ถ้าหญิงที่มีบิดาปกครองผู้เดียว หญิงนั้นก็ไม่ชื่อว่ามา ปิตุรักขิตา และถ้าหญิงที่มีทั้งมารดาและบิดาปกครอง หญิงนั้นก็ไม่ชื่อว่ามาตุรักขิตาและ ปิตุรักขิตา เพราะอยู่ในประเภทมาตาปิตุรักขิตา)
๔. ภคินีรกฺขิตา หญิงที่มีพี่สาวปกครอง หรือมีน้องสาวเป็นผู้ดูแลรักษา
๕. ภาตุรกฺขิตา หญิงที่มีพี่ชายปกครอง หรือมีน้องชายเป็นผู้ดูแลรักษา
๖. ญาติรักขิตา หญิงที่มีญาติเป็นผู้ปกครอง
๗. โคตฺตรกฺขิตา หญิงที่มีตระกูลเดียวกันหรือเชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครอง (ที่ว่า เชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครองนั้น หมายถึงหญิงที่ไปอยู่ในต่างประเทศและอยู่ในความ ปกครองของชนชาติเดียวกับตน มีสถานทูต เป็นต้น)
๘. ธมุมรกฺขิตา หญิงที่มีผู้ประพฤติปฏิบัติศีลธรรมด้วยกันเป็นผู้ปกครอง เช่น หญิงที่บวชชี หัวหน้า เป็นผู้ปกครอง เป็นต้น ดังนั้นในสารัตถทีปนีฎีกากล่าวว่า “เอกํ สตฺถารํ อุทฺทิสฺส ปพฺพชิเตหีติ อิมินา ปณฺทรงฺคปริพฺพาชิกาทโย ทสฺเสติ”
“ท่านอรรถกถาจารย์แสดงให้รู้ถึงปริพพาชก เป็นต้น ที่นุ่งห่มด้วยผ้าขาวโดยใช้ค่า ว่าผู้ที่ออกบวชอุทิศตนต่อพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวกัน”
๙. สปริทณฺฑา หญิงที่กษัตริย์หรือผู้มีอํานาจได้จองตัวไว้
๑๐. สารกขา หญิงที่มีผู้หมายมั่นไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหญิงที่มีคู่หมั้น
หญิงจําพวกสปริทัณฑาและสารักขาทั้ง ๒ นี้ เป็นหญิงที่ไม่มีอิสระคือมีเจ้าของแล้ว ถ้าตนไปยินดีมอบกายให้แก่ชายอื่นแล้ว ก็เท่ากับว่าตนเองขโมยตัวของตนที่มีเจ้าของหวงแหนไปให้กับผู้อื่น ฉะนั้นหญิงนั้นก็เป็นอันว่าได้ล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ดังนั้น ท่านฎีกาจารย์ จึงแสดงไว้ในเตรสกัณฑฎีกาว่า
"ปจฺฉิมานํ ทฺวินฺนนฺติ สารกฺขา สปริทณฺทานํ มิจฺฉาจา โร โหติ ตาสํ สสฺสามิกภาวโต” “หญิง ๒ คนข้างท้าย คือสารักขาและสปริทัณฑานี้ ถ้ายอมมอบตัวให้แก่ชายอื่นแล้วก็เป็นอันว่าประพฤติผิด เพราะหญิงเหล่านี้เป็นผู้มีเจ้าของแล้ว”
สําหรับหญิงที่ถูกบ้านเมืองลงโทษกักขังไว้นั้นไม่เรียกว่าเป็นหญิงพวกสารักขาหรือสปริทัณฑา แม้จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลควบคุมก็เป็นไปคล้ายกับหญิงพวกมาตุรักขิตา ปิตุรักขิตา ฉะนั้นถ้าหญิงจ่าพวกนี้จะไปมอบตัวแก่ชายใดก็ไม่จัดว่าล่วงกาเมสุมิจฉาจาร
๑๑. ธนกฺกีตา หญิงที่ชายซื้อมา เช่น หญิงที่เดินทางมาจากต่างประเทศไม่มีค่าโดยสารเรือ เมื่อถึงที่หมายแล้วเจ้าของเรือได้จัดการเลหลังหญิงนั้น และมีชายไปช่วยออกเงินให้แล้วเอาตัวหญิงนั้นมา หรือหญิงที่มีค่าตัวโดยบิดามารดานําไปขายไว้กับเจ้าของเงิน ชายไปช่วยไถ่ถอนเอาตัวมา ดังนี้เป็นต้น หญิงพวกนี้ได้ชื่อว่าธนักกีตา
๑๒. ฉนฺทวาสินี หญิงที่สมัครใจไปอยู่กับชาย เช่น หญิงที่รักชายคนหนึ่งคนใด แต่ บิดามารดาไม่ยินดียกให้หญิงนั้นก็หนีไปอยู่กับชายนั้น หญิงพวกนี้ได้ชื่อว่าฉันทวาสินี สําหรับชายที่รับหญิงจําพวกนี้ไว้เป็นภรรยาไม่ชื่อว่าเป็นกาเมสุมิจฉาจาร
๑๓. โภควาสินี หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชายโดยหวังในทรัพย์สินเงินทอง
๑๔. ปฏิวาสินี หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชายโดยหวังในเครื่องนุ่งห่ม
๑๕. โอทปตุตกินี หญิงที่เป็นภรรยาชายโดยการแต่งงานที่มีพิธีเอามือเจ้าบ่าวเจ้าสาวจุ่มลงในขันน้ำ การแต่งงานโดยวิธีนี้ผู้ใหญ่ทางเจ้าบ่าวและเจ้าสาวได้จับมือของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจุ่มลงไปในขันน้ำ แล้วอวยพรให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวจงอยู่ด้วยความรักใคร่ปรองดองกันอย่าให้มีความแตกแยกกันเหมือนหนึ่งน้ำในขันที่ไม่มีการแตกร้าวจากกัน สําหรับหญิงไทยที่มีการแต่งงานโดยกระทําพิธีรดน้ำสังข์ก็จัดเข้าอยู่ในหญิงจําพวกโอทปัตตคินี
๑๖. โอภตจุมฺพฎา หญิงที่เป็นภรรยาชายโดยชายนั้นเป็นผู้ช่วยให้พ้นจากการแบกทูนของบนศีรษะ หมายความว่า หญิงจําพวกนี้เป็นคนจนต้องทนของไปขายอยู่ทุกวัน เมื่อมีชายที่เกิดความพอใจในหญิงนั้นรับไปเลี้ยงดูเป็นภรรยาแล้ว หญิงนั้นก็เป็นอันว่าไม่ต้องไปทูนของขายอีกต่อไป ทิ้งผ้าที่รองรับภาชนะนั้นเสียได้
๑๗. ธชาหฎา หญิงที่เป็นเชลยแล้วตกเป็นภรรยาของชายนั้น
๑๘. กมุมการีภริยา หญิงที่เป็นลูกจ้างทํางานในบ้าน หรือในห้างร้านของชายนั้น แล้วชายนั้นเอาเป็นภรรยาด้วย
๑๙. ทาสีภริยา หญิงที่เป็นทาสภายในบ้านของชายนั้น แล้วชายนั้นเอาเป็นภรรยา
๒๐. มุหุตติกา หญิงที่เป็นภรรยาของชายชั่วครั้งชั่วคราว หญิงที่เป็นภรรยาของชาย ๙พวก มีธนักกีตาภรรยา เป็นต้น จนถึงทาสีภรรยา เหล่านั้น เมื่อขณะที่ยังอยู่กับชายนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นภรรยาโดยแท้ แต่สําหรับมุหุตติกาภรรยานั้น เป็นภรรยาชนิดรับจ้างชั่วขณะบ้าง ๓ วัน ๗ วัน หรือ ๑ เดือนบ้าง
ในบรรดาหญิง ๒๐ จําพวกนั้น หญิง ๘ จําพวก มีมาตุรักขิตา เป็นต้น จนถึง ธัมมรักขิตา เหล่านี้ยังไม่ได้มีสามีที่เป็นเจ้าของในร่างกายของตน ตนเองมีสิทธิ์ในร่างกายของตน เมื่อพอใจในชายใดแล้วจะมอบกายให้แก่ชายนั้น ก็กระทําได้ไม่มีผิดในข้อกาเมสุมิจฉาจาร แม้จะมีบิดามารดา ญาติพี่น้อง เป็นต้น เป็นผู้ปกปักรักษาก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นเจ้าของร่างกายเพียงแต่เป็นผู้คุ้มครองดูแล ไม่ให้ชายมาเบียดเบียนข่มเหงได้เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีโทษในทางธรรมก็ย่อมมีโทษในทางโลก คือย่อมเป็นที่ดูถูกติเตียนแก่คนอื่น ซึ่งจะนําความอาย ความเสียใจกลุ้มใจมาสู่ตนได้ ทําให้เกิดเป็นอกุศลที่เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิได้
สําหรับฝ่ายชายทีได้เกี่ยวข้องร่วมกับหญิง ๘ จําพวกที่กล่าวมานี้ ถือว่าเป็นการล่วงศีลกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนหญิงที่เหลืออีก ๑๒ จําพวก มีสปริทัณฑา เป็นต้นจนถึง มุหุตติกา เหล่านี้เป็นหญิงประเภทที่มีสามีแล้ว แม้หญิงจําพวกมุหุตติกาที่เป็นภรรยาชั่ว ครั้งชั่วคราวก็ตาม ก็ถือว่ามีสามีเหมือนกัน ดังนั้นถ้าหญิงเหล่านี้นอกใจสามียอมตัวให้ชาย อื่นล่วงเกินได้แล้ว ก็เป็นอันว่าล่วงศีลกาเมสุมิจฉาจาร
สําหรับหญิงจําพวกนครโสเภณีนั้น ถ้ามีชายคนใดคนหนึ่งมาตกลงจองตัวไว้โดยชําระเงินให้ก่อนแล้ว แต่ยังมิได้ประกอบกิจธุระให้สําเร็จลง ในระหว่างนั้นถ้าหญิงนั้นไป ตกลงรับสินจ้างร่วมกับชายอื่น ก็ถือว่าเป็นการล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ดังที่พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้ในครุธรรมชาดก ถึงเรื่องหญิงนครโสเภณีผู้หนึ่งอยู่ในอิทปัตนครแห่งแคว้นกุรุ ได้รับเงินจํานวนหนึ่งพันกหาปณะจากชายผู้หนึ่งเป็นค่าจองตัวไว้และบอกว่าจะมาหานางในภายหลังแล้วจากไป นางรับเงินจากชายผู้นั้นไว้แล้ว ก็ถือว่าในระหว่างนั้นตัวของ นางเป็นสิทธิ์ของชายผู้นั้น ไปจนกว่านางจะได้สนองความต้องการของเขาให้เสร็จสิ้นไป ฉะนั้นในระหว่างที่ชายนั้นยังไม่มานางก็เฝ้ารออยู่ไม่กล้าจะรับรองชายใดได้ แม้ชายอื่นจะให้เงินแก่นางมากสักเท่าใดก็ตาม นางก็ไม่ยินยอมรับเพราะนางได้ถือศีล ๕ เป็นประจํา กลัวจะล่วงศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร นางได้พยายามรอชายนั้นเป็นเวลาถึง ๓ ปี แม้จะได้รับความลําบากในอาชีพและความเป็นอยู่นางก็ไม่กล้าประพฤติล่วงศีลข้อนี้ได้
ในบรรดาหญิง ๑๒ จําพวกนี้ อย่าว่าแต่จะล่วงกาเมกับชายอื่นเลย แม้จะล่วงกับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังเช่นเรื่องพระนางมัลลิกาเทวีอัครมเหสีของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ที่ได้ล่วงกาเมกับสุนัขในห้องน้ำ เมื่อตายแล้วก็ได้ไปเกิดในอวีจีมหานรก
สําหรับฝ่ายชายนั้น ถ้ามีภรรยาจําพวกใดจําพวกหนึ่งในบรรดาภรรยา ๑๐ จําพวก มีธนักกีตาภรรยาเป็นต้น จนถึงมุหุตติกาภรรยาหรือมีคู่หมั้นที่เป็นประเภทสารักขา แล้วจะนอกใจภรรยาหรือคู่หมั้นของตนไปล่วงกาเมกับหญิงที่เป็นภรรยาของคนอื่น หรือคู่หมั้น ของคนอื่นนั้นไม่ได้ ถ้ากระทําไปก็เป็นอันว่าล่วงกาเมสุมิจฉาจาร
สรุปความว่า ชายจะประพฤติล่วงกาเมในหญิงทั้ง ๒๐ จําพวกไม่ได้ หญิง ๑๒ จําพวก มีสปริทัณฑาเป็นต้น จนถึงมุหุตติกา เหล่านี้จะมอบตัวให้กับชายอื่นไม่ได้ หญิง ๘ จําพวก มีมาตุรักขิตาเป็นต้น จนถึงธัมมรักขิตา เหล่านี้ถ้าตนเองสมัครใจมอบตัวให้กับชายก็ไม่ผิดข้อกาเมสุมิจฉาจาร ดังที่ในมหาวรรคสังยุตตอรรถกถาและเตรสกัณฑ์ฎีกาแสดงว่า
“ปุริสสส ปน ตาสุ วีสติสุ กาเมสุมิจฉาจาโร โหติ, มาตุรักขิตาทีนํ อฏฺฐนฺนํ มิจฉาจาโร นตฺถิ อสฺสามิกตฺตา ตาสุ คตานํ ปุริสานเมว มิจฉาจาโร โหติ มาตาที่หํ รักขิตตตา, เสสานํ ปน ปุริสนฺตรคมเน มิจฺฉาจาโร โหติ, กสฺมา สสฺสามิกภาวโต”
“สําหรับชายนั้นถ้าเสพกาเมในหญิง ๒๐ จําพวก ย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารกรรม กาเมสุมิจฉาจารกรรมย่อมไม่มีแก่หญิง ๘ จําพวก มีมาตุรักขิตาเป็นต้น เพราะยังไม่มีสามี แต่ชายที่เกี่ยวข้องกับหญิง ๘ พวกนี้เท่านั้นเป็นกาเมสุมิจฉาจารกรรม เพราะหญิงเหล่านี้เป็นผู้ที่มีมารดาเป็นต้นดูแลรักษาไว้ ส่วนหญิง ๑๒ พวกที่เหลือเหล่านั้น เมื่อประพฤติล่วงกาเมกับชายอื่นที่ไม่ ใช่สามีของตน ย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารกรรม เพราะเป็นผู้ที่มี สามีเป็นผู้ปกครอง”
การอธิบายวจีกรรม ๔
๑. มุสาวาท
คําว่า มุสาวาทนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มุสา + วาท, มุสา เป็นนิปาตบท แสดงถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ดังเช่นมีคนมาถามเราว่ามีเงินไหม? เรามีแต่ตอบว่าไม่มี หรือเขาถามว่ามีทองไหม? เราไม่มีแต่ตอบว่ามีเงินหรือทองนี้แหละเป็นตัวมุสา คือหมายถึงวัตถุที่ไม่เป็นความจริง หรือในเรื่องราวต่างๆ เรารู้เรื่องนั้นแล้ว แต่เมื่อมีผู้มาถาม เรา ก็กล่าวปฏิเสธว่าไม่รู้ หรือเราไม่รู้แต่บอกว่ารู้เรื่องราวนี้แหละเป็นตัวมุสา คือไม่เป็นไปตรง กับคําพูด
วาท หมายถึงคําพูด เมื่อรวมกันแล้วเป็นมุสาวาท หมายถึงคําพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ดังแสดงจวนัตถะว่า “มุสา วทนฺติ เอเตนาติ มุสาวาโท” คนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่ง วัตถุสิ่งของเรื่องราวที่ไม่จริงกล่าวให้เป็นจริงด้วยเจตนาอันนั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุ แห่งการกล่าวไม่จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท ได้แก่ วิสํวาทนเจตนา คือเจตนาที่ทําให้ผู้อื่น เข้าใจผิด ซึ่งประกอบกับโลภะ โทสะ ชวนะ ที่เกิดในกายทวารและวจีทวาร
การกล่าวมุสาวาทนี้ ใช้โดยวาจาเป็นส่วนมาก ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่ามุสาวาท แต่ใช้โดยอวัยวะส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกายที่ไม่เกี่ยวกับวาจา ก็ได้ชื่อว่ามุสาวาทเช่นเดียวกัน ข้อตัดสินที่จะให้รู้ได้ว่า ผู้นี้กล่าววาจาสําเร็จเป็นมุสาวาทหรือไม่นั้น ต้องตัดสินด้วยองค์ ประกอบ ๔ อย่าง ถ้าการ กล่าวนั้นครบองค์ ๔ ก็สําเร็จเป็นมุสาวาท ถ้าไม่ครบองค์ ๔ ก็ยังไม่จัดว่าเป็นมุสาวาท
องค์แห่งมุสาวาท ๔ อย่าง
๑. อตฺถวตฺกุ สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริงอย่างหนึ่ง
๒. วิสํวาทนจิตฺตตา มีจิตคิดจะมุสาอย่างหนึ่ง
๓. ปโยโค พยายามมุสาด้วยกาย หรือด้วยวาจาตามความประสงค์ ของตนอย่างหนึ่ง
๔. ตทตฺถวิชานนํ ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้น
ในข้อมุสาวาทนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. สําเร็จเป็นมุสาวาทแต่ไม่ล่วงกรรมบถ
๒. สําเร็จเป็นมุสาวาทด้วยล่วงกรรมบถด้วย
การกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ แต่ไม่ทําให้ความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ที่หลงเชื่อแต่อย่างใด ชนิดนี้เป็นแต่เพียงมุสาวาท แต่ไม่ล่วงกรรมบถ คือไม่นําไปสู่อบาย
การกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ และทําความเสียหายให้แก่ผู้ที่หลงเชื่อ ชนิดนี้สําเร็จ เป็นมุสาวาทด้วย ย่อมก้าวล่วงกรรมบถด้วย คือสามารถนําไปสู่อบายได้
ปโยคะ คือความพยายามในการมุสา ๔ อย่าง
๑. สาหัตถิกะ พยายามมุสาด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ใช้ให้คนอื่นมุสา
๓. นิสสัคคิยะ เขียนเรื่องที่ไม่จริงแล้วทิ้งไปให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น ทิ้งจดหมายหรือโฆษณาทางวิทยุ
๔. ถาวระ เขียนเรื่องที่ไม่จริง แล้วปิดประกาศไว้ หรือจารึกไว้ หรือ พิมพ์เป็นหนังสือขึ้น หรืออัดเสียงไว้
ในปโยคะทั้ง ๔ อย่างนี้ สาหัตถิกปโยคะเป็นปโยคะโดยตรง คือเป็นไปโดยส่วนมาก ส่วนปโยคะที่เหลือ ๓ นั้น เป็นไปโดยส่วนน้อย ดังมีคาถาแสดงว่า
มุสาวาทสฺส อตถํ วิสํวาทนจิตฺตตา
ตชฺโช วายาโม ปรสฺส ตทตฺถชานนํ อิติ ฯ
สมฺภารา จตุโร โหนฺติ ปโยเคโก สาหตุถิโก
อาณตติกนิสฺสคฺคิย- ถาวราปิจ ยุชฺชเร ฯ
“องค์ของมุสาวาทมี ๔ อย่างคือ สิ่งของหรือเรื่องราวที่ ไม่จริงอย่างหนึ่ง มีจิตคิดจะทําให้ผู้อื่นเข้าใจผิดอย่างหนึ่ง มีความพยายามด้วยกายหรือด้วยวาจาที่ตรงกับจิตที่คิดจะมุสานั้นอย่างหนึ่ง ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้นอย่างหนึ่ง
ปโยคะนั้นในมหาอรรถกถากล่าวไว้ว่า ได้สาหัตถิกปโยคะอย่างเดียว แต่ในอัฏฐสาลินีอรรถกถากล่าวว่า อาณัตติกะ นิสสัคคิยะ และถาวรปโยคะเหล่านี้ก็ย่อมเป็นได้
สาหัตถิกปโยคะ คือการมุสาด้วยตนเองนั้น ย่อมกระทําได้โดยทางกายหรือทาง วาจา มุสาทางกายนั้น เช่น ต้องการปฏิเสธด้วยอาการสั่นศีรษะ หรือต้องการรับด้วยอาการ พยักหน้า มุสาทางวาจานั้น ก็ได้แก่การกล่าววาจาที่ไม่จริงนั้นเอง
อาณัตติกปโยคะ คือใช้ให้ผู้อื่นมุสานั้น ก็กระทําได้โดยทางกายหรือทางวาจา ใช้ให้ผู้อื่นมุสาทางกาย เช่น เขียนหนังสือส่งให้ผู้นั้นทําการมุสาด้วยกายหรือด้วยวาจา ใช้ให้ผู้อื่นมุสาทางวาจา ก็ได้แก่การกล่าววาจาใช้ให้มุสาด้วยกายหรือด้วยวาจา
สําหรับนิสสัคคิยปโยคะและถาวรูปโยคะทั้ง ๒ นี้ ก็ย่อมกระทําได้โดยทางกายหรือ ทางวาจาเช่นเดียวกัน ดังที่ได้แสดงแล้วนั้น
มุสาวาทที่เป็นศีลวิบัติ และมุสาวาทที่สําเร็จเป็นกรรมบถ
ในองค์ทั้ง ๔ นั้น ถ้าล่วงแต่เพียง ๒ องค์ คือมีจิตคิดจะมุสา และพยายามมุสาด้วย กายหรือด้วยวาจาแล้ว คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ย่อมสําเร็จแต่เพียงเป็นศีลวิบัติเท่านั้น ไม่ก้าวล่วงไปถึงกรรมบถ ถ้าการมุสานั้นครบองค์ ๔ ก็เป็นอันว่าสําเร็จกรรมบถ ใน องค์ที่ ๔ ที่กล่าวว่า ตทตฺถวิชานนํ ผู้อื่นมีความหลงเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้น ข้อนี้แสดง ให้รู้ว่าการพูดมุสานี้ ถ้าผู้ฟังเชื่อตามเนื้อความนั้น ก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ ถ้าผู้ฟังไม่เชื่อ ก็ไม่ล่วงกรรมบถ
กรรมปถมุสาวาท คือมุสาวาทที่ล่วงกรรมบถนั้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
๑. ชนิดที่นําไปสู่อบายได้
๒. ชนิดที่ไม่นําไปสู่อบาย
ชนิดที่นําไปสู่อบายได้นั้น ต้องเป็นมุสาวาทที่ทําให้ผู้หลงเชื่อนั้นเกิดความเสียหายได้ ถ้าผู้ที่เชื่อนั้นไม่ได้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด มุสาวาทชนิดนี้ก็ไม่นําไปสู่อบาย เช่น การพูดมุสาของอํามาตย์ผู้หนึ่งต่อพระราชาเพื่อรักษาศรัทธาของพระราชาไว้และเพื่อรักษาชีวิตของชายผู้หนึ่งไว้ ดังมีเรื่องว่า
สามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นคนยากจนอาศัยอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง ภรรยานั้นมีครรภ์ และมีอาการแพ้ท้องอยากกินอาหารที่เป็นของเสวย จึงได้อ้อนวอนให้สามีออกไปแสวงหามาให้ และถ้านางไม่ได้กินอาหารชนิดที่ต้องประสงค์นี้แล้ว ชีวิตของนางก็ไม่อาจยืนอยู่ต่อไปได้ สามีรักและสงสารภรรยาเกรงว่านางจะตายจึงได้คิดอุบายปลอมเป็นพระเดินอุ้มบาตรเข้าไปในพระราชวัง เพื่อรับบิณฑบาตด้วยกิริยาอันสํารวม ขณะนั้นเป็น เวลาใกล้จะเพล พระราชากําลังจะเสวยพระกระยาหารอยู่แล้วทอดพระเนตรเห็นพระเดินสํารวมมาบิณฑบาตด้วยกิริยาน่าเลื่อมใส ก็เกิดมี พระราชศรัทธาขึ้นด้วยเข้าพระทัยว่า พระองค์นี้คงไม่ใช่เป็นพระสามัญ ต้องเป็นพระที่มีคุณพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเอาอาหาร ที่จะเสวยนั้นใส่บาตรแก่ชายผู้นั้น แล้วรับสั่งให้อํามาตย์ใกล้ชิดผู้หนึ่งสะกดรอยตามไปเพื่อให้รู้แน่ว่ามาจากไหน และจะไปที่ไหน อํามาตย์ก็เดินตามชายผู้นั้นไปโดยที่ผู้นั้นไม่รู้ตัว พอเดินไปถึงศาลาที่พักก็เปลื้องจีวรออกกลับเป็นคนธรรมดา เอาอาหารนั้นให้ภรรยากิน อํามาตย์แลเห็นก็รู้ว่าคนผู้นี้แกล้งหลอกลวงว่าเป็นพระ จึงคิดว่าถ้าเรานําเรื่องนี้ไปทูลต่อ พระราชาตามความเป็นจริงแล้ว ผลร้ายจะบังเกิดแก่บุคคลทั้ง ๒ ฝ่าย คือพระราชาจะเสียศรัทธาที่มีอยู่อย่างแรงกล้า ฝ่ายบุรุษผู้หลอกลวงนี้ก็จะได้รับโทษถึงชีวิต ฉะนั้นจําเป็นที่เราจะต้องพูดเป็นกลางๆ ไว้ เพื่อรักษาประโยชน์ให้ทั้ง ๒ ฝ่าย อํามาตย์จึงกลับมาทูลพระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามพระรูปนั้นไปจนออกนอกเมือง เมื่อออกไปนอกเมืองแล้วผ้าเหลืองนั้นก็หายไปจากสายตาข้าพระพุทธเจ้า พระราชาได้ทรงฟังแล้วเกิดความปีติโสมนัสตรัสว่าแน่แล้วๆ พระองค์นี้ต้องเป็นพระอรหันต์ ทานของเราต้องเป็นทานที่ประเสริฐ
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าค่ากล่าวซึ่งไม่ตรงความจริงที่ทําให้พระราชาเข้าพระทัยผิด แต่ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหาย กลับทําให้เกิดประโยชน์เช่นนี้ ผู้กล่าวแม้จะได้ชื่อว่าเป็นมุสา แต่ก็เป็นมุสาที่ไม่มีโทษ ไม่สามารถนําไปสู่อบาย
ในปัญจาวุธชาดก ปัญจาวุธกุมาร ขณะที่ถูกยักษ์ขนเหนียว ชื่อสิเลสโลมะจับตัวไว้ จะกิน ได้ออกอุบายกล่าวว่าในท้องของเรานี้มีอาวุธ ถ้าเจ้ากินเราอาวุธของเราจะบาดได้ พุงของเจ้าให้ขาดเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ แล้วเจ้าก็จะต้องตายด้วย ยักษ์ได้ยินดังนั้นก็คิดว่า มาณพนี้คงพูดจริง ดังนี้ยักษ์จึงไม่กล้ากินปัญจาวุธกุมาร ที่ปัญจาวุธกุมารกล่าวว่าท้องมี อาวุธนั้นมุ่งหมายเอาญาณาวุธ คือปัญญาที่มีอยู่ในตน แต่ยักษ์เข้าใจว่าเป็นอาวุธจริงๆ เรื่องนี้ก็แสดงถึงว่าการกล่าวมุสาของปัญจาวุธกุมารนี้ ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หลงเชื่อแต่อย่างใด
ในสังสุมารชาดกแสดงไว้ว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นวานรถูกจระเข้ตัวหนึ่งลวงให้ขึ้นหลังเพื่อจะไปส่งที่ฝั่งข้างโน้น พอถึงกลางแม่น้ำจระเข้ก็ จมลง วานรจึงถามว่าท่านแกล้ง ให้ข้าพเจ้าจมนํ้าเพื่อประสงค์อะไร จระเข้กล่าวว่าข้าพเจ้าลวงท่านมาเพื่อต้องการเนื้อหัวใจของท่าน วานรจึงออกอุบายกล่าวว่าหัวใจของข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ในตัว ข้าพเจ้าถอดออกแขวน ไว้ที่ต้นมะเดื่อนั้น แล้วก็ชี้ให้จระเข้ดูผลมะเดื่อ ถ้าต้องการก็จงพาข้าพเจ้ากลับไปส่งที่ต้น มะเดื่อนั้น จระเข้หลงเชื่อก็พาวานรมาส่ง วานรก็กระโดดขึ้นต้นมะเดื่อไป นี้ก็เป็นคํามุสา ที่ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด
อนึ่ง ในการแสดงกิริยาอาการไล่สัตว์มีนก กา เป็นต้น โดยอาการเหมือนกับจะขว้าง หรือยิง ทําให้สัตว์นั้นคิดว่าจะยิงหรือจะขว้างปาตนแล้วก็หนีไป เหล่านี้ก็กล่าวได้ว่าเป็น มุสาทางกาย แต่ไม่ทําให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกัน
มุสาวาทที่เป็นอัปปสาวัชชะและมหาสาวัชชะ
มุสาวาทที่ทําให้เกิดความเสียหายนั้น ถ้าผู้เชื่อมีความเสียหายน้อยมุสาวาทนั้นก็ เป็นอัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อ ถ้าผู้เชื่อมีความเสียหายมาก มุสาวาทนั้นก็เป็นมหาสา วัชชะ คือมีโทษมาก
ผู้ที่เป็นพยานเท็จทําให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน หรือต้องได้รับโทษ ชนิดนี้จัดเป็นมหาสาวัชชะ ภิกษุสามเณรพูดเล่นกัน เช่น องค์หนึ่งไปบิณฑบาตมา อีกองค์หนึ่งถามขึ้นว่าบิณฑบาตได้มามากน้อยเท่าใด องค์แรกก็ตอบว่าได้มากมายจนล้นบาตร ซึ่งความจริงได้มาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ดี หรือผู้ใดผู้หนึ่งได้รับแจกเงินมา มีคนถามว่าได้เงินมาเท่าใด ก็ตอบว่าได้มาหลายร้อย หลายพัน เป็นต้น ซึ่งความจริงได้ มาเพียง ๕ บาท ๑๐ บาทเท่านั้นก็ดี เหล่านี้จัดเป็นมุสาวาทประเภทอัปปสาวัชชะ ผู้ที่กล่าววาจาที่เป็นอนริยโวหาร คือคํากล่าวของผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะ หรือคํากล่าวของผู้ที่เป็น อันธพาล ๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้ จัดเป็นมุสาวาทประเภทมหาสาวัชชะ
อนริยโวหาร ๔ อย่าง
๑. บอกว่า เห็น ในสิ่งที่ตนไม่เห็น
๒. บอกว่า ได้ยิน ในสิ่งที่ตนไม่ได้ยิน
๓. บอกว่า พบ ในสิ่งที่ตนไม่พบ
๔. บอกว่า รู้ ในสิ่งที่ตนไม่รู้
๕. บอกว่า ไม่เห็น ในสิ่งที่ตนเห็น
๖. บอกว่า ไม่ได้ยิน ในสิ่งที่ตนได้ยิน
๗. บอกว่า ไม่พบ ในสิ่งที่ตนพบ
๘. บอกว่า ไม่รู้ ในสิ่งที่ตนรู้
(คําว่า “พบ” ในที่นี้หมายถึงการได้กลิ่น ได้รู้รส ได้ถูกต้อง) สําหรับการมุสาที่ทําให้สงฆ์ต้องแตกแยกกันนั้น จัดเป็นมหาสาวัชชะที่เป็นครุกกรรม
มุสาวาทที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่กล่าว
คํากล่าวมุสาวาทที่ทําให้ผู้อื่นหลงเข้าใจผิด แล้วกระทําให้เกิดความเสียหายได้นั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่กล่าว แต่มุสาวาทชนิดที่ไม่ได้ทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายยังกล่าวได้ดังที่ในนวกนิบาต หริตชาดก แสดงว่า
“โพธิสตฺตสฺส หิ เอกจฺเจส ฐาเนสุ ปาณาติปาโตปิ,อทินนาทานมฺปิ, กาเมสุมิจฉาจาโรปิ, สุราเมรยมชฺชปานมฺปิ โหติเยว อตฺถเภทกวีสวาทนํ ปุรกฺขิตวา มุสาวาโท นาม น โหติ"
"ในอกุศลกรรมบถบางอย่างคือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดกาเม ดื่มสุราเมรัย เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระโพธิสัตว์ ส่วนการกล่าวมุสาชนิดที่มีเจตนาทําให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั่นย่อมไม่มีเลย"
๒. ปิสุณวาจา
ปิสุณวาจา เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บทคือ ปิสุณ + วาจา ปิสุณ แปลว่าการบดให้ ละเอียด หรือการกระทําให้แตกกระจัดกระจาย วาจา แปลว่า คําพูด เมื่อรวมกันแล้ว เป็นปิสุณวาจา แปลว่าคําพูดที่บดความสามัคคีให้แตกแยกกระจัดกระจาย แสดงวจนัตถะ ว่า "ปีสติ สามคฺคี สญฺจุณฺเนตีติ ปิสุณา" วาจาอันใดย่อมบดความสามัคคี คือทำให้กระจัดกระจายไป ฉะนั้น วาจานั้นชื่อว่าปิสุณา “วทนฺติ เอตายาติ วาจา” บุคคลทั้ง หลายย่อมกล่าวด้วยเจตนานั้น ฉะนั้น เจตนาอันเป็นเหตุแห่งการกล่าวนั้นชื่อว่าวาจา “ปิสุณา จ สา วาจา จาติ ปิสุณวาจา" คำกล่าวที่บดความสามัคคี คือท่าให้แตกแยก กระจัดกระจายด้วย เป็นเจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวนั้นด้วย ฉะนั้น ชื่อว่าปิสุณวาจา
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. กับ นาย ข. เป็นเพื่อนกัน มีความสามัคคีต่อกันต่อมามี บุคคลที่ ๓ เข้ามาพูดส่อเสียดกับนาย ก. โดยกล่าวหาว่านาย ข. พูดนินทา ติเตียนนาย ก. ต่างๆ ทําให้นาย ก. เข้าใจผิดเกิดแตกกันกับนาย ข. ดังนี้ ฉะนั้น คําพูดชนิดนี้ จึงเรียกว่าปิสุณวาจา อีกนัยหนึ่ง คําว่า ปิสุณา นี้ เมื่อว่าโดยบทเดิมแล้วก็ได้แก่ ปิยสุญญกรุณา แต่ที่เป็นปิสุณานั้นก็เป็นไปโดย นัยนิรุตติไวยากรณ์ คือลบอักษรอื่นๆ ออกเสียง คงเหลือ แต่ปิสุณาดังแสดงวจนัตถะว่า “ปียํ สุญญํ กโรตีติ ปิสุณา” คํากล่าวอันใดย่อมทําตัวเอง ให้เป็นที่รักและกระทําผู้อื่นให้สูญจากความรัก ฉะนั้นคํากล่าวอันนั้นชื่อว่าปิสุณา
ยกตัวอย่างเช่น นายดำกับนายขาวมีความรักใคร่ปรองดองกัน นายแดงไม่พอใจ ต้องการให้นายด่ามารักตนและให้เกลียดนายขาว จึงหาเรื่องราวมาพูดยุยงนายด่า โดยกล่าวหาว่านายขาวไม่ดีต่างๆ นานา จนนายดำหลงเชื่อคิดว่านายแดงคงมีความหวังดีต่อตนจึงเกลียดนายขาวแล้วกลับมารักนายแดง ดังนี้คําพูดของนายแดงชนิดนี้ จึงเรียกว่าปิสุณวาจา
องค์แห่งปิสุณวาจา ๔
๑. ภินฺทิตพฺโพ ผู้ที่ถูกทําให้แตกจากกัน
๒. เภทปฺรกฺขาโร มีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน
๓. ปโยโค ทําความเพียรให้แตกจากกัน
๔. ตทตฺถซานน่ ผู้ฟังรู้เนื้อความนั้น
ดังมีคาถาแสดงว่า
“ปิสุณาย ภินทิตพฺโพ ตปุปุรปิยกมุยตา
วายาโม ชานนํ จตุ ภินฺเน กมฺมปโถ ภเว ฯ
“องค์แห่งปิสุณวาจามี ๔ คือผู้ที่ถูกทําให้แตกจากกันอย่างหนึ่ง มีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน และมีความประสงค์ให้รักตนอย่างหนึ่ง ทําความเพียรให้แตกจากกันอย่างหนึ่ง ผู้ฟังรู้เนื้อความนั้นอย่างหนึ่ง เมื่อผู้ถูกส่อเสียดนั้นเกิดแตกแยกกันแล้วก็เป็นอันว่า ก้าวล่วงกรรมบถ"
ในคาถาแสดงถึงองค์ที่ ๒ ที่กล่าวว่าตปฺปุรปิยกมฺยตา คือมีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน และมีความประสงค์ให้รักตนนั้น การมีเจตนามุ่งให้แตกจากกันเป็นข้อสําคัญ ส่วนการมีความประสงค์ให้รักตนนั้นไม่ใช่ข้อสําคัญ เพียงแต่แสดงให้รู้ว่าการกล่าวปิสุณวาจาของบุคคลบางคนก็มีความประสงค์อย่างนี้ด้วยก็มี สําหรับปโยคะนั้นได้ ๒ อย่าง คือ กายปโยคะและวจีปโยคะ
กายปโยคะ การส่อเสียดโดยทางกาย มีการแสดงกิริยาท่าทางให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ความหมายของตน ตัวอย่างเช่น สามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีออกไปทํางาน ภรรยาแอบไปเล่นไพ่ที่บ้านใกล้เคียง เมื่อสามีกลับมาไม่เห็นภรรยาก็ถามญาติของตนที่อยู่ในบ้านด้วยกัน ญาตินั้นไม่ชอบภรรยานี้อยู่แล้ว ต้องการจะให้สามีเกิดแตกร้าวกับภรรยา แต่ไม่บอกด้วยวาจาใช้กิริยาท่าทางชี้ให้รู้ว่าภรรยาไปเล่นไพ่ที่ข้างบ้าน สามีรู้ก็ไม่พอใจภรรยา เมื่อภรรยา กลับมาก็เกิดทะเลาะวิวาทแตกร้าวกัน การแสดงกิริยาท่าทางส่อเสียดเช่นนี้ได้ชื่อว่าส่อเสียดทางกาย
วจีปโยคะ การส่อเสียดโดยทางวาจา คือการพูดให้บุคคล ๒ ฝ่ายเกิดแตกร้าวกัน ดังเช่นมีเรื่องเล่ากันมาว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งมีสามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีเป็นชาวภาคอีสาน ภรรยาเป็นชาวปักษ์ใต้ ทั้ง ๒ มีความรักใคร่กันมาก เป็นเหตุให้พวกหญิงที่อยู่บ้านใกล้เคียงกันนั้นเกิดมีความอิจฉา จึงร่วมคิดกันที่จะทําให้สามีภรรยาทั้ง ๒ นี้แตกแยกกัน โดยแอบบอกกับชายผู้เป็นสามีว่าภรรยาของเขานั้นเป็นผีกระสือ ในเวลากลางคืนเมื่อขณะที่เขานอนหลับนั้น ภรรยาของเขาได้ลุกขึ้นออกไปหาอาหารกิน แต่ก่อนที่จะไปก็ได้ข้ามตัวเขาเสียก่อน เพื่อไม่ให้เขารู้สึกตัวตื่น นางได้ทําเช่นนี้ทุกๆ คืนซึ่งเขาหารู้ตัวไม่ เมื่อหญิงพวกนี้ได้พบกับภรรยาของชายนั้นก็แอบบอกว่า สามีของนางไม่ใช่คนธรรมดา พวกชาวอีสานได้มาบอกให้ฟังว่า สามีของนางนี้เป็นกระทั่งและให้พิสูจน์ดูได้โดยให้แอบคลําดูที่ก้น จะมีหางสั้นๆ งอกอยู่ เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างได้รับคําบอกเล่าเช่นนี้แล้ว ต่างก็คอยจ้องหา โอกาสที่จะพิสูจน์ความจริงกันให้ได้ คืนวันหนึ่งเมื่อสามีภรรยาคู่นี้เข้านอนแล้ว ต่างฝ่ายก็แกล้งทําเป็นหลับ ภรรยาคิดว่าสามีหลับแล้วก็ลุกขึ้นเอื้อมมือจะไปคลําดูที่ก้นของสามี ฝ่ายสามีก็คิดว่าภรรยาเรานี้เป็นผีกระสือและกําลังจะมาข้ามตัวเราแล้ว ก็เลยยกเท้าถีบนางกระเด็นไป ภรรยาก็โกรธลุกขึ้นมาด่าสามีว่าเป็นกระหังสามีก็ว่านางเป็นผีกระสือเลย ต่างทะเลาะกันผลสุดท้ายสามีภรรยาคู่นี้ก็เลยแตกแยกกัน เพราะอาศัยการพูดส่อเสียด ของพวกหญิงที่อยู่ใกล้เคียงนั้นเอง โดยผู้กล่าวนั้นก็ไม่ได้มีความประสงค์จะให้เขามารักตน และเรื่องที่กล่าวนั้นก็ไม่เป็นความจริง ฉะนั้น หญิงผู้กล่าวนั้นก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ เพราะผู้ถูกส่อเสียดนั้นเกิดแตกแยกกัน
การกล่าวปิสุณวาจานี้แม้ว่าจะครบองค์ ๔ แต่ถ้าผู้ที่ถูกส่อเสียดไม่แตกแยกกัน ยังคงเป็นกายสามัคคี จิตตสามัคคีกันอยู่แล้ว ผู้กล่าวนั้นก็ไม่จัดว่าล่วงกรรมบถ ดังที่ท่าน พระมหาพุทธโฆษาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
“ปเร ปน อภินฺเน กมฺมปถเกโท นตฺถิ ภินฺเนเอว” “แม้จะครบองค์ ๔ ก็ตาม เมื่อผู้อื่นไม่แตกแยกกัน ก็ไม่มี การล่วงกรรมบถ ถ้ามีการแตกแยกกันจึงล่วงกรรมบถ"
การจําแนกปิสุณวาจาโดยอัปปสาวัชชะและมหาสาวัชชะ ถ้าผู้ที่ถูกส่อเสียดให้แตกแยกกันนั้นเป็นผู้ที่ไม่มีศีลธรรม ผู้กล่าวก็มีโทษชนิด อัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อย ถ้าผู้ถูกส่อเสียดเป็นผู้มีศีลธรรม ผู้กล่าวก็มีโทษชนิด มหาสาวัชชะ คือมีโทษมาก
๓. ผรุสวาจา
ผรุสวาจา เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ ผรุส + วาจา, ผรุส แปลว่าอย่างหยาบ วาจา แปลว่าคําพูด
เมื่อรวมกันแล้วเป็นผรุสวาจา แปลว่าคําพูดที่หยาบ ได้แก่การด่า การแช่ง แสดง วจนัตถะว่า “ผรุสํ กโรตีติ ผรุสา” คําพูดอันใดย่อมกระทําให้เป็นอย่างหยาบ ฉะนั้นคําพูดอันนั้นชื่อว่าผรุสา ได้แก่การด่าและการแข่งต่างๆ ว่าโดยองค์ธรรมได้แก่เจตนาที่อยู่ในโทสมูลจิต ที่เป็นเหตุแห่งการด่า การแข่งต่างๆ
คําว่า ผรุสา เมื่อกล่าวตามวจนัตถะที่แสดงนั้นแล้ว ก็ได้แก่ ผรุสํ กโรตีติ ผรุสกรณา แต่ได้ลบคําว่า กรณา ออกเสียงตามนัยแห่งนิรุตติไวยากรณ์ ฉะนั้น จึงเหลือเป็นผรุสา อีกนัยหนึ่งคําว่า ผรุสวาจา แบ่งออกเป็น ๓ บท คือ ผร + อุส + วาจา, พร แปลว่าแผ่ อุส แปลว่าเดือดร้อน วาจา แปลว่าคําพูด
เมื่อรวมแล้วเป็นผรุสวาจา แปลว่าคําพูดที่ทําให้ความเดือดร้อนแผ่ไป ดังแสดงวจนัตถะว่า “หทยํ ผรมานา อุสติ ทหตีติ ผรุสา” คําพูดอันใดย่อมกระทําความเดือดร้อนให้แผ่ไปในหัวใจ ฉะนั้น คําพูดอันนั้นชื่อว่าผรุสา “พรุสา จ สา วาจา จาติ ผรุสวาจา” เป็นอย่างหยาบด้วย อย่างหยาบนั้นคือวาจาด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่าผรุสวาจา (หรือแปลอีกนัยหนึ่งตามวจนัตถะที่ ๒) ย่อมกระทําความเดือดร้อนให้แผ่ไปในหัวใจด้วย อันนั้นคือวาจาด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่าผรุสวาจา
วาจาที่เป็นอย่างหยาบที่เรียกว่าผรุสวาจานี้ ผู้ที่ได้ฟังแล้วย่อมทนนิ่งอยู่ไม่ได้ หมายถึงทําให้จิตใจของผู้ฟังนั้นไม่สบายเหมือนหนึ่งถูกฟันเลื่อย ฉะนั้น คําด่าหรือ คําแช่งต่างๆ นั้นจึงได้ชื่อว่าผรุสา นี้กล่าวโดยมุขนัย คือกล่าวโดยตรง ถ้ากล่าวโดย ผลูปจารนัย คือนัยโดยอ้อมแล้ว โทสเจตนาก็ชื่อว่าผรุสาได้ เพราะโทสเจตนานี้เป็นเหตุ การด่า การแช่งนั้นเป็นผล และยกเอาคําว่าผรุสาที่เป็นชื่อของคําหยาบเหล่านั้นเข้าไป ตั้งในโทสเจตนา แล้วจึงเรียกโทสเจตนานี้ว่าผรุส
องค์แห่งผรุสวาจา ๓
๑. โกโป มีความโกรธ
๒. อุปกุฎโฐ มีผู้ถูกด่า
๓. อกโกสนา กล่าววาจาด่า
ดังมีคาถาแสดงว่า
ผรุสาย ตโย โกโป อุปกุฏโฐ อกฺโกสนา
มมุมจฺเฉทกรา คคฆ ผรุสา ผรุสา มตา ฯ
“องค์แห่งผรุสวาจามี ๓ คือมีความโกรธอย่างหนึ่ง มีผู้ถูกด่าอย่างหนึ่ง กล่าววาจา ด่าออกไปอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเจตนาอย่างหยาบที่สามารถทําให้ผู้ฟังเจ็บใจเหมือน หนึ่งฝีที่กําลังกลัดหนอง ถูกกระทบกระทั่งให้แตกเท่านั้นชื่อว่าผรุสวาจา”
คําว่า “มมุมจฺเฉทกรา” นี้ เป็นคําที่แสดงความหมายให้รู้ว่าเจตนาชนิดนี้ต้องเป็น เจตนาชนิดหยาบ ดังนี้แม้ว่าคําที่พูดออกมานั้นจะเป็นถ้อยคําที่สุขุมก็ตาม แต่ถ้ามีเจตนา หยาบแล้ว คําพูดนั้นก็จัดว่าเป็นผรุสวาจาเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ผู้พิพากษาที่กล่าวคําตัดสินประหารชีวิตผู้ต้องหา แม้ว่าในขณะที่กล่าวนั้นจะใช้วาจาสุภาพ มีหน้ายิ้มแย้มก็ตาม แต่เจตนาที่มุ่งหมายให้ประหารชีวิตนั้นจัดเป็นเจตนาอย่างหยาบ ฉะนั้นวาจาที่กล่าวออกมานั้นจึงสําเร็จกรรมบถเป็นผรุสวาจา
ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า บิดา มารดาที่ด่าแช่งลูก หรือครูอาจารย์ที่ด่าลูกศิษย์เพื่อความหวังดีไม่มีเจตนาร้ายแต่อย่างใด ฉะนั้น วาจาที่กล่าวนั้นก็ไม่จัดเป็น ผรุสวาจา ท่านยกตัวอย่างเช่น มารดาห้ามบุตรชายไม่ให้ไปเที่ยวในป่า แต่บุตรไม่เชื่อ ขืนไปจนได้ มารดาจึงด่าแช่งว่า “เจ้าไม่เชื่อขึ้นไปก็ขอให้ถูกควายป่าขวิดตายเถิด” คําแช่ง ของมารดานี้เป็นไปแต่เพียงวาจาด้วยอํานาจความไม่พอใจเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่จัดเป็น ผรุสวาจา
ท่านฎีกาจารย์กล่าวแย้งว่า ค่าค่า แบ่งของบิดา มารดา ครู อาจารย์นั้น ถ้ากล่าว ออกมาด้วยความโกรธจริงๆ แล้ว ก็ย่อมจัดเป็นผรุสวาจาได้ เพราะครบองค์ทั้ง ๓ แต่มีโทษน้อย
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า การกล่าวผรุสวาจานี้ ต้องกล่าวเฉพาะหน้าผู้ที่ถูกด่าจึง สําเร็จเป็นกรรมบถ แต่ในทีฆนิกายฎีกา และมัชฌิมนิกายฎีกากล่าวว่า การกล่าวผรุสวาจา แม้ผู้ที่ถูกด่านั้นไม่ได้อยู่เฉพาะหน้าหรือตายไปแล้วก็ตาม การกล่าวนั้นก็สําเร็จเป็นกรรมบถได้ โดยอ้างว่าผู้น้อยที่กล่าววาจาล่วงเกินต่อผู้ใหญ่มีบิดา มารดา ครู อาจารย์ เป็นต้น ต่อมาผู้นั้นรู้สึกในความผิดของตัว จึงทําการขอขมาต่อท่านเหล่านั้น แม้ท่านเหล่านั้นจะ ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้าหรือตายไปแล้วก็ตาม การขอขมาของผู้นั้นก็ย่อมสําเร็จประโยชน์ คือโทษนั้นหายเป็นอโหสิกรรมไปได้ เมื่อการกล่าวขอขมาโดยที่ไม่มีผู้ถูกด่าอยู่เฉยเฉพาะ หน้าย่อมสําเร็จประโยชน์ได้แล้ว การกล่าวผรุสวาจาโดยไม่มีผู้ถูกด่าอยู่เฉพาะหน้าก็ย่อม สําเร็จกรรมบถได้เช่นเดียวกัน
อักโกสวัตถุ ๑๐
ในองค์ที่ ๓ ทีว่าอักโกสนา คือการกล่าววาจาด่านั้น นักศึกษาพึงทราบวัตถุอันเป็น ที่ตั้งแห่งการด่าที่เรียกอักโกสวัตถุ มีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
ชาติ นาม โคตฺต กมุมํ สิปฺปํ อาพาธ ลิงฺคิกํ
กิเลสาปตฺติ อกฺโกโส ทสโมมสวาทกา ฯ
วาจาที่ใช้ด่านั้นมีอยู่ ๑๐ อย่างคือ
เชื้อชาติ ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, ชื่อ ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง
สกุล ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, การงาน ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง
วิชา ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, โรค ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง
รูปร่างสัณฐาน ต่ำ สูง อย่างหนึ่ง, กิเลส อย่างหนึ่ง
อาบัติ ต่ำ อย่างหนึ่ง, อาบัติ สูง อย่างหนึ่ง
คำด่า ต่ำ อย่างหนึ่ง, คำด่า สูง อย่างหนึ่ง
๑. ชาติ คำด่าที่เกี่ยวกับเชื้อชาติต่ำนั้น เช่น คําว่า ชาติไพร่ ชาติขี้ข้า ชาติยาจก ชาตินักเลง เป็นต้น คําที่เกี่ยวกับชาติสูงนั้น เช่น กล่าวแดกดันว่า ผู้ดีแปดสาแหรก มหาเศรษฐี เป็นต้น
๒. นาม คําด่าที่เกี่ยวกับชื่อ เช่น ด่าว่า ไอ้ทิ่ม ไอ้ทุย ไอ้เหี้ย เป็นต้น คําด่า ที่เกี่ยวกับชื่อสูง เช่น แกล้งเรียกว่า คุณหญิง เจ้าคุณ ท่านหมื่น เป็นต้น
๓. โคตฺต คําด่าที่เกี่ยวกับสกุลต่ำ เช่น ด่าว่า แกมันสกุลหัวขโมย สกุลล่อลวง สกุลมักง่าย เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับสกุลสูง เช่น ด่าประชดว่า สกุลเจ้านาย สกุลเศรษฐี เป็นต้น
๔. กมุมํ คําด่าที่เกี่ยวกับการงานอาชีพต่ำ เช่น คนตีเหล็ก คนทุบหิน คนขนขยะ เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับการงานอาชีพสูง เช่น ช่างทอง ช่างเงิน พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน เป็นต้น
๕. สิปปํ คําด่าเกี่ยวกับวิชาต่ำ เช่น มีวิชาขับรถ วิชาตัดผม วิชาปั้นโอ่ง เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับวิชาสูง เช่น หมอดู หมอยา เป็นครู อาจารย์ เป็นต้น
๖. อาพาโธ คําด่าที่เกี่ยวกับโรคต่ำ เช่น โรคเรื้อน กุฏฐัง ขี้กลาก เกลื้อน เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับโรคสูง เช่น โรคเส้นประสาท โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น
๗. ลิงค์ คําด่าที่เกี่ยวกับรูปร่างสัณฐานต่ำ เช่น อ้วน ผอม เตี้ย สูง แคระ ค่อม เป็นต้น คําด่าที่เกี่ยวกับรูปร่างสัณฐานสูง เช่น สวย เก๋ สง่า องอาจ กล้าหาญ เป็นต้น
๘. กิเลสา คําด่าที่เกี่ยวกับกิเลสนี้มีแต่ฝ่ายต่ำอย่างเดียว เช่น ด่าว่า เจ้าโทโส คนขี้อิจฉาริษยา คนมีตัณหาจัด มีทิฐิมานะมาก เป็นต้น
๙. อาปตฺติ คําด่าที่เกี่ยวกับอาบัติต่ำ เช่น ค่าว่า เป็นปาราชิก สังฆาทิเสส ค่าค่า ที่เกี่ยวกับอาบัติสูง เช่น อาบัติปาจิตตีย์ ทุกกฏ เป็นต้น
๑๐. อกฺโกโส คําด่าต่ำ เช่น ใช้คําหยาบคายต่างๆ มีด่าพ่อ ด่าแม่ เป็นต้น คําด่า สูง เช่น ด่าว่า สันดานชั่ว เลวทราม สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น
ปโยคะแห่งผรุสวาจา ๒
๑. กายปโยคะ การกล่าวค่าหยาบทางกาย
๒. วจีปโยคะ การกล่าวคําหยาบทางวาจา
การกล่าวคําหยาบทางวาจานั้นย่อมชัดเจนอยู่แล้ว ส่วนการกล่าวคําหยาบทางกายนั้น เช่น เขียนหนังสือด่า หรือแสดงกิริยาอาการหยาบคายต่างๆ ที่ทําให้ผู้เห็นรู้สึกโกรธ อาย ไม่สบายใจ
การจําแนกผรุสวาจาโดยอัปปสาวัชชะ และมหาสาวัชชะ
การด่าผู้มีอุปการคุณ เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติ หรือผู้ที่มีศีลธรรม ผู้ด่าย่อมมีโทษมาก ถ้าผู้ที่ถูกด่าเป็นผู้ไม่มีศีลธรรมผู้ด่าก็มีโทษน้อย
๔. สัมผัปปลาปะ
คําว่า สัมผัปปลาปะนี้แยกได้ - บท คือ สมุผ + ปลาย สมุผ แปลว่าการทําลาย ประโยชน์และความสุข ปลาป แปลว่าการกล่าว เมื่อรวมกันแล้วเป็น สมุผปลาป แปลว่าการกล่าววาจาที่ทําลายประโยชน์และความสุข แสดงวจนัตถะว่า “สํหิตสุขํ ผลติ วินาเสตีติ สมุผํ” วาจาอันใดย่อมทําลายประโยชน์และความสุขต่างๆ เสีย ฉะนั้น วาจานั้น ชื่อว่า สัมผะ
สมุผํ มาจากรากศัพท์เดิมคือ “สํ อุปสัคค ผล ธาตุ กฺวี ปัจจัย ลบ ล และ กฺวี เสียจึงเป็น สมุผํ "
"สมุผํ ปลปติ เอเตนาติ = สมุผปุปลาโป” การกล่าววาจาที่ทําลายประโยชน์และความสุขต่างๆ เสียด้วยเจตนานั้น ฉะนั้นเจตนาที่เป็นเหตุในการกล่าววาจาที่ทําลาย ประโยชน์และความสุขต่างๆ นั้นจึงชื่อว่าสัมผัปปลาปะ
การกล่าววาจาที่เป็นสัมผัปปลาปะนั้น หมายถึงการกล่าวเรื่องราวที่เหลวไหลไม่เป็นสาระ ดังเช่นเล่าเรื่องหนัง เรื่องโขน ละคร หรือพูดจาตลกขบขันต่างๆ หรือผู้แสดง หนัง โขน ละคร นักประพันธ์ที่เขียนเรื่องอ่านเล่นต่างๆ เหล่านี้ จัดเป็นสัมผัปปลาปะทั้งสิ้น เพราะทําให้ผู้ฟัง ผู้อ่าน ไม่ได้รับ ประโยชน์แต่อย่างใด เพียงแต่ทําให้เพลิดเพลินไป ชั่วคราวเท่านั้น กับทั้งทําให้เสียประโยชน์ ที่ควรจะได้ก็ไม่ได้ ที่ได้แล้วก็เสียไป องค์ธรรม ของสัมผัปปลาปะนี้ ได้แก่ อกุศลเจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวสัมผัปปลาปะ สําหรับถ้อย คําที่กล่าวขึ้นนั้นเป็นผล แต่ที่ยกเอาคําว่าสัมผัปปลาปะที่เป็นชื่อของเจตนามาใช้เรียกเป็น ชื่อนั้นเป็นการเรียกชื่อโดยการณูปจารนัย คือเรียกชื่อที่ใกล้เคียงกับเหตุ
อธิบายมโนกรรม ๓
๑. อภิชฌา
คําว่า อภิชฺฌา นี้เป็น อภิ ปพฺพ เฌ ธาตุ อภิ แปลว่า เฉพาะหน้า เณ แปลว่า คิดถึง เมื่อรวมกันแล้วเป็นอภิชฌา แปลว่า คิดถึงเฉพาะหน้า หมายถึงคิดเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเฉพาะหน้า ดังแสดงวจนัตถะว่า “ปรสมฺปตฺตี อภิมุขํ ฌายตีติ อภิชฌา ธรรมชาติใดย่อมคิดถึงทรัพย์สมบัติของผู้อื่นอยู่เฉพาะหน้า ฉะนั้นธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อภิชฺฌา องค์ธรรมได้แก่ โลภะ
โลภะ ๒
๑. ธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยชอบธรรม
๒. อธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยไม่ชอบธรรม
สําหรับโลภะที่เป็นอภิชฌานั้นอยู่ในพวกอธรรมิยโลภะ
ตามธรรมดาบุคคลโดยทั่วไปนั้น เมื่อได้ประสบพบเห็นในอารมณ์ที่ดีต่างๆ มีรูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้นแล้ว ก็ย่อมมีความพอใจอยากได้ในอารมณ์เหล่านั้นด้วยกันทั้งสิ้น แต่ความพอใจอยากได้ของบุคคลเหล่านั้นได้แยกออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน บุคคลประเภทหนึ่ง เมื่อมีความพอใจอยากได้ในสิ่งนั้นๆ แล้ว ก็พยายามเสาะแสวงหาให้ได้มาด้วยความสุจริต คือด้วยการซื้อ ด้วยการแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่น หรือด้วยการขอ ความพอใจอยาก ได้ของบุคคลประเภทนี้จัดเป็นธรรมิยโลภะ ไม่ใช่เป็นอภิชฌาบุคคล อีกประเภทหนึ่งนั้น เมื่อมีความพอใจอยากได้ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งนั้นๆ มาเป็นของ ของตนโดยความไม่ชอบธรรม คือไม่อยากซื้อ ไม่อยากขอ หรือไม่อยากแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด คิดหาหนทางจะขโมยหรือโกง เพื่อให้ได้สิ่งนั้นๆ มาเป็นของของตน ความพอใจอยาก ได้ของบุคคลประเภทนี้จัดเป็นอธรรมิยโลภะ คือตัวอภิชฌา
เมื่อพิจารณาดูแล้วตัวอภิชฌาเมื่อเข้าครอบงําผู้ใดแล้ว ย่อมทําให้จิตใจของผู้นั้นเกิด ความละโมบในสมบัติของผู้อื่นที่เขาหามาได้ด้วยกรรม ญาณ วิริยะ ของเขา ส่วนตนเอง นั้นต้องการที่จะได้มาเปล่าๆ โดยไม่ได้นึกถึงว่าผู้นั้นจะได้รับความเสียหายเดือดร้อนแต่อย่างใด ผู้ที่มีความคิดเช่นนี้แม้ว่าจะยังไม่ได้ลงมือหยิบฉวย ฉ้อโกง หรือบังคับขู่เข็ญเจ้า ของทรัพย์สมบัตินั้นก็ตาม ก็จัดว่าการนึกคิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด น่าละอายมาก แต่ ผู้ถูกอภิชฌาเข้า ครอบงําแล้วนี้ก็สามารถที่จะคิดเช่นนี้ได้โดยไม่รู้สึกหวาดกลัวหรือละอาย แต่อย่างใด ดังนั้นท่านปรมัตถทีปนีฎีกาจารย์จึงแสดงวจนัตถะของอภิชฌานี้ไว้ว่า
“อภิชฺฌายนฺติ อสฺสาทมตฺเต อฐตฺวา ปรภณฺฑสฺส อตฺตโน ปริณามนวเสน เอายาติ อภิชฌา"
“บุคคลทั้งหลายไม่หยุดอยู่เพียงแต่ความพอใจ ย่อมเพ่งเล็ง ด้วยอาการที่จะทําให้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นตกมาเป็นของตน ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมที่เป็นเหตุแห่งการคิดเช่นนั้น ชื่อว่า อภิชฌา
องค์แห่งอภิชฌา ๒
๑. ปรภณฺฑํ ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
๒. อตฺตโนปริณามน มีจิตคิดให้เป็นของของตน
ในองค์ที่หนึ่งกล่าวว่า ปรภณฺฑํ ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นนั้น ในที่นี้มุ่งหมายเอา อวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมด และสวิญญาณกทรัพย์ที่เป็นพวกสัตว์เลี้ยงต่างๆ และมนุษย์ที่เป็นทาสีทาสา หญิงที่มีสามีคู่หมั้นเท่านั้น สิ่งที่นอกจากนี้ไม่จัดว่าเป็นปรภัณฑะ ฉะนั้น หญิง ๘ จําพวกมีมาตุรักขิตาเป็นต้น จนถึง ธัมมรักขิตาเหล่านี้ ถ้าชายคนใดเกิดความพอ ใจคิดอยากได้มาเป็นภรรยาของตนแล้ว ความนึกคิดเช่นนี้ไม่จัดว่าเป็นอภิชฌาทุจริต อนึ่ง โสเรยยมานพที่คิดเป็นอกุศลต่อพระมหากัจจายนะ โดยที่คิดว่าถ้าพระองค์นี้ได้มาเป็นภรรยาของเรา หรือภรรยาของเรามีรูปร่างเหมือนกับพระองค์นี้แล้วก็จะดีมาก เมื่อโสเรยยมานพ คิดเป็นอกุศลเช่นนี้แล้ว เพศชายของโสเรยยมานพก็หายไป กลายเป็นเพศหญิงมาแทน การคิดเป็นอกุศลของโสเรยยมานพนี้จัดเป็นอภิชฌาได้ แต่ไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ เพราะบุคคลที่โสเรยยมานพเพ่งเล็งนี้ไม่จัดอยู่ในพวกปรภัณฑะ แต่ที่ตนได้รับโทษโดยร่างกายเปลี่ยนเพศไปนั้น ก็เป็นเพราะอํานาจแห่งการคิดล่วงเกินไม่คารวะต่อบุคคลที่เป็นพระ ขีณาสพนั้นเอง
๒. พยาบาท
คําว่า พฺยาปาท นี้เป็น วิ อา ปุพฺพ ปท ธาตุ แสดงวจนัตถะว่า “พฺยาปชฺชติ หิตสุขํ เอเตนาติ พฺยาปาโท” ประโยชน์และความสุขย่อมเสียหายไปด้วยโทสะนี้ ฉะนั้น โทสะ จึงชื่อว่า พยาบาท
อธิบายว่า ความโกรธ ความไม่พอใจ ที่เป็นไปตามธรรมดานั้นยังไม่จัดเข้าเป็นมโน ทุจริต เป็นเพียงพยาปาทกายคันถะเท่านั้น ส่วนโทสะที่เป็นพยาปาทมโนทุจริตนั้นเป็นโทสะ ชนิดหยาบมาก มีอาการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทําลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่นให้เสียหายไป เช่น เมื่อมีความโกรธผู้ใดแล้ว ก็คิดในใจว่าจะทําอย่างใดดีที่ จะทําให้ผู้นั้นเกิดความพินาศเสียหาย หรือนึกแช่งให้ผู้นั้นได้รับความเสียหายต่างๆ โทสะ ชนิดนี้จัดเป็นพยาปาทมโนทุจริต
องค์แห่งพยาบาท ๒
๑. ปรสตฺโต ผู้อื่น
๒. วินาสจินฺตา คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้น
ถ้าครบองค์ ๒ แล้ว โทสะที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบถ เป็นมโนทุจริต ถ้าเป็นการคิดทำลายตัวเอง ก็ไม่เป็นการล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ คือขาดองค์ที ๑ ที่ว่า ปรสตฺโต ดังมีคาถาที่แสดงถึงองค์แห่งอภิชฌาและพยาบาทว่า
ทุเวภิชฌาย ปรภณฑ์ อตฺตโน ปริณามนํ
พยาปาทสฺส ปรส โต ตสฺส วินาสจินฺตนํ ฯ
“องค์แห่งอภิชฌามี ๒ คือสมบัติของผู้อื่นอย่างหนึ่ง มีจิต คิดอยากได้ให้เป็นของตนโดยไม่ชอบธรรมอย่างหนึ่ง”
องค์แห่งพยาบาทมี ๒ คือผู้อื่นอย่างหนึ่ง คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างหนึ่ง ความต่างกันระหว่างวธกเจตนาที่เกี่ยวกับปาณาติบาตและเกี่ยวกับพยาบาท วธกเจตนา ที่เป็นปาณาติบาตนั้นเป็นเจตนาที่เกี่ยวกับทางกาย จัดเข้าในวิติกกมกิเลส ส่วนวธกเจตนา ที่เป็นพยาบาทนั้นเป็นเจตนาที่เกี่ยวกับทางใจ จัดเข้าในปริฏฐานกิเลส
โทษของพยาบาทที่เป็นมหาสาวัชชะและอัปปสาวัชชะ
ถ้ามีความพยาบาทปองร้ายต่อผู้ที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ ก็มีโทษมาก เป็นมหาสาวัชชะ ถ้าพยาบาทต่อผู้ที่ไม่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ หรือมีบ้างเป็นส่วนน้อย ก็มีโทษน้อย เป็นอัปปสาวัชชะ
๓. มิจฉาทิฏฐิ
คําว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มิจฺฉา + ทิฏฺฐิ มิจฺฉา แปลว่า วิปริต ทิฏฺฐิ แปลว่าความเห็น เมื่อรวมกันแล้วเป็นมิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นที่วิปริต หมายถึงความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริง แสดงวจนัตถะว่า “มิจฺฉา ปสฺสตีติ มิจฺฉาทิฏฺฐิ” ธรรมชาติใดย่อมมีความเห็น วิปริตอันผิดไปจากความเป็นจริง ฉะนั้นธรรมชาติ นั้นชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ทิฏฐิเจตสิก
ตามธรรมดาทิฏฐิเจตสิกนี้ ย่อมมีสภาพที่มีความเห็นผิดไปจากความเป็นจริงตาม สภาวะ และผู้ที่มีทิฏฐินี้ก็ย่อมไม่มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในคําสั่งสอนของสัปบุรุษและบัณฑิตทั้งหลาย คือมีความประพฤติเป็นไปตรงกันข้ามกับคําสั่งสอนเหล่านั้น เมื่อกล่าว ถึงมิจฉาทิฏฐิโดยกว้างขวางแล้ว ย่อมมีอยู่หลายประเภท เช่น สักกายทิฏฐิ ๒ ที่มีความยึดมั่นในขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตัวเป็นตนก็มี มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ที่แสดงไว้ใน พรหมชาลสูตรแห่งศีลขันธวรรคก็มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรแห่ง ศีลขันธวรรคก็มี แต่สําหรับมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวในมโนทุจริตนี้มุ่งหมายเอานิยามิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ ที่สําเร็จเป็นกรรมบถ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอื่นๆ นั้น เป็นแต่เพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น
องค์แห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒
๑. อตฺถวิปรีตตา เนื้อความที่ได้ยึดไว้นั้นผิดจากความเป็นจริง
๒. ตถาภาวุปฏฺฐานํ มีความเห็นว่าเป็นความจริง
ถ้าครบองค์ ๒ แล้ว ความเห็นผิดนั้นก็เป็นอันล่วงกรรมบถเป็นมโนทุจริต ดังมีคาถา แสดงว่า
ทิฏฺฐิยา ทุเว สมฺภารา วตฺถุโต วิปริตตา
ตถาภาเวนุปฏฺฐานํ กมฺมปโถ ติเหว จ ฯ
แปลความว่า องค์แห่งมิจฉาทิฏฐิมี ๒ คือเนื้อความที่ได้ ยึดไว้นั้นผิดจากความเป็นจริงอย่างหนึ่ง มีความเห็นว่าเป็นความ จริงอย่างหนึ่ง ความเห็นผิดที่ล่วงกรรมบถได้นั้นเป็นความเห็น ผิดชนิดนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ เท่านั้น
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓
๑. นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า ทําอะไรก็ตามผลที่ได้รับนั้นย่อมไม่มี
๒. อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กําลังเป็นไปอยู่นั้นไม่ได้ อาศัยเนื่องมาจากเหตุแต่อย่างใด
๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การกระทําต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่สําเร็จเป็นบุญ เป็นบาปแต่อย่างใด
๑. นัตถิกทิฏฐิ ในนิยามิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นี้ ผู้ที่มีความเห็นชนิดนัตถิกทิฏฐินั้นย่อม มีอุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไม่มีการเกิดอีก มีพระบาลีสามัญญผล สูตรแห่งศีลขันธวรรค แสดงถึงความเห็นผิดชนิดนัตถิกทิฏฐิว่า
นตฺถิ ทินูนํ เห็นว่าการทําบุญไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ ยิฏฐํ เห็นว่าการบูชาต่างๆ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ หุตํ เห็นว่าการเชื้อเชิญต้อนรับต่างๆ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ สุกตทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก เห็นว่าการทําดีและทําชั่วไม่ได้รับผลแต่อย่างใดทั้งทางตรงและทางอ้อม
นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่าภพนี้ไม่มี คือผู้ที่กําลังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ที่ เรียกกันว่าภพนี้นั้นย่อมไม่มี เพราะไม่มีการเกิดต่อไปอีก
นตฺถิ ปโร โลโก เห็นว่าภพหน้าไม่มี คือภพอันจะเป็นที่เกิดแห่งภพที่ ปรากฏในปัจจุบันนี้ย่อมไม่มี เพราะเมื่อตายแล้วก็ไม่มีการเกิดอีก
นตฺถิ มาตา เห็นว่าการทํา ทําชั่วต่อมารดา ย่อมไม่ได้รับผลแต่ อย่างใด
นตฺถิ ปิตา เห็นว่าการทําดีทําชั่วต่อบิดา ย่อมไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่าสัตว์ที่เกิดเติบโตขึ้นทีเดียว คือสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม ไม่มี
นตฺถิ โลเก สมณพฺรหฺมณา สมมคฺคตา สมมาปฏิปนฺนา,
เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ
เห็นว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด มีการรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้าต้วยตนเอง แล้วสามารถชี้แจงแนะนําให้เข้าใจได้สมณพราหมณ์ ที่ถึงพร้อมด้วยความสามัคคี และปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านั้น ย่อมไม่มี (หมายความว่าผู้ที่ทําสมถะ วิปัสสนา ได้ฌาน มรรค ผล นั้นไม่มี และผู้ที่ถือเพศเป็นบรรพชิตปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบไม่มี ล้วนแต่เป็นการกล่าวที่เหลวไหลทั้งนั้นซึ่งความจริงเป็นการกระทําที่เป็นไปเพื่ออาชีพเท่านั้น)
ผู้ที่มีนัตถิกทิฏฐิ คือมีความเห็นที่ปฏิเสธผลนี้ก็เท่ากับปฏิเสธอํานาจแห่งกุศลอกุศลเจตนาที่เป็นเหตุแห่งผลต่างๆ เหล่านั้นด้วย ฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดง ไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถาว่า
“วิปากํ ปฏิพาหนฺเตนาปิ กมฺมํ ปฏิพาหิตํ โหติ"
“เมื่อมีการปฏิเสธผลแล้ว ก็ได้ชื่อว่าปฏิเสธกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดผลนั้นด้วย”
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เมื่อพิจารณาถึงความเห็นผิดดังที่ได้กล่าวมาแล้วก็คงจะเกิดความสังเวชสลดใจ และรู้สึกนึกน่ากลัว น่าสงสารต่อบุคคลที่มีความเห็นเช่นนั้น แต่ผู้ที่มีความเห็นชนิดนี้ก็มีเป็นจํานวนมาก ไม่เฉพาะแต่ในลัทธิอื่นๆ เท่านั้น แม้ในลัทธิพุทธศาสนาก็มีเป็นจํานวนไม่น้อย ฉะนั้น ผลที่ได้รับย่อมไม่เลือกบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลลัทธิไหนก็ตามถ้ามีความเห็นผิดชนิดนี้แล้ว เมื่อตายลงก็ต้องไปรับโทษในนิรยภูมิด้วย อาศัยความเห็นผิดชนิดนี้นั้นย่อมเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก ไม่สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าบุคคลจําพวกนี้เป็นพุทธศาสนิกชนเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ส่วนในด้านจิตใจนั้น ไม่มีความเลื่อมใสเชื่อถือต่อคําสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังเช่นไม่เชื่อว่ามีนรก สวรรค์ เป็นต้น ดังนั้น จึงกล่าวได้แน่ว่าบุคคลนั้นไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม เมื่อตายแล้วก็ต้องไปเกิดในนรยภูมิ เมื่อเป็นเช่นนี้หนทางที่จะแก้ให้หายจากความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็มีอยู่ว่าบุคคลนั้นจะต้องอบรมให้เกิดปัญญาในด้านพุทธศาสนาโดย การปฏิบัติวิปัสสนา จนกระทั่งได้สําเร็จเป็นพระอริยะ หรือศึกษาพระอภิธรรมให้เข้าใจ ในสภาวะที่เป็นไปตามความเป็นจริงต่างๆ ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ หรือตนเองต้องเป็น ผู้มีศรัทธาจริต เชื่อต่อคําสั่งสอนของบิดา มารดา ครู อาจารย์ที่มีความรู้ในด้านพุทธศาสนา จึงจะพ้นจากมิจฉาทิฏฐินี้เสียได้ ถ้ามิฉะนั้นแล้วแม้ว่าผู้นั้นจะมีความรู้ในวิชาทางโลกจน ถึงเป็นศาสตราจารย์ก็ตาม ก็ย่อมจะพ้นไปจากมิจฉาทิฏฐิไม่ได้ เพราะความรู้ในวิชาทาง โลกนั้นเป็นไปเพื่อการอาชีพ และการสังคมเท่านั้น
๒. อเหตุกทิฏฐิ ผู้ที่มีความเห็นชนิดอเหตุกทิฏฐินี้ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่ กําลังได้รับความลําบากหรือสบายก็ตาม ไม่ได้อาศัยอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้นเลย เป็นไปเองทั้งนั้น มีพระบาลีที่แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคว่า
“นตฺถิ มหาราช เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย สตฺตานํ สกิเลสาย, อเหตุ อปจจยา สตฺตา สกิลสฺสนฺติ นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา, อเหตุ อปจฺจยา สตฺตา วิสุชฺฌนฺติ
“ชนกเหตุ คือเหตุที่ให้เกิด และอุปัตถัมภกเหตุ คือเหตุที่ ช่วยอุปถัมภ์ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลําบากกาย ลําบากใจ นั้นไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กําลังเศร้าหมองและลําบาก อยู่นั้น ก็ไม่มีชนกเหตุและอุปัตถัมภกเหตุแต่อย่างใด ชนกเหตุ คือเหตุที่ให้เกิด และอุปัตถัมภกเหตุ คือเหตุที่ช่วยอุปถัมภ์ให้สัตว์ ทั้งหลายมีความบริสุทธิ์พ้นจากความลําบากกายลําบากใจนั้น ก็ไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กําลังมีความบริสุทธิ์พ้นจากความลําาบาก กายลําบากใจนั้น ก็ไม่เกี่ยวกับชนกเหตุและอุปัตถัมภกเหตุ แต่อย่างใด”
ความเห็นที่เป็นอเหตุกทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธเหตุ คือการกระทําดี ชั่ว ของสัตว์ทั้งหลายที่กระทํากันอยู่ทุกวันนี้ไม่เชื่อว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดผลได้ ดังนั้นการปฏิเสธ เหตุนี้ก็เท่ากับว่าปฏิเสธผลไปด้วย คือสัตว์ทั้งหลายที่กําลังได้รับความสุข ความทุกข์กัน อยู่ทุกวันก็ไม่นับว่าเป็นผลที่เนื่องมาจากการกระทําดีหรือชั่วของตนเป็นเหตุ ดังนั้นพระ มหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถา ว่า
“นตฺถิ เหตูติ วทนฺโต อุทยํ ปฏิพาหติ” “ผู้ที่กล่าวว่าหรือ เห็นว่าความสุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้นไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุ นี้ก็เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธทั้งเหตุทั้งผลไปด้วย
๓. อกิริยทิฏฐิ ผู้ที่มีความเห็นชนิดอกิริยทิฏฐินี้ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่ทํา ดีก็ตาม ชั่วก็ตามไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ ทําก็สักแต่ว่าทําเท่านั้น มีพระบาลีแสดงไว้ใน สามัญญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคว่า
“กโรโต โข มหาราช การยโต, ฉินฺทโต เฉทาปยโต, ปจโต ปาจาปยโต, โสจยโต โสจาปยโต, กิลมโต กิลมาปยโต, ผนฺทโต ผนฺทาปยโต, ปาณมติปาตาปยโต, อทินนํ อาทิยโต, สนธี ฉินฺทโต, นิลโลปํ หรโต, เอกาคาริกํ กโรโต, ปริปนํเถ ติฎฺฐโต, ปรทารํ คจฺฉโต, มุสา ภณโต, กโรโต น กรียติ ปาปํ”
“ผู้ที่มีความเห็นผิดชนิดอกิริยาทิฏฐิ เห็นว่าการกระทําดีทําชั่วของสัตว์ทั้งหลาย จะทําเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นทําก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบาปเป็นบุญ การทําร้ายโดยตัดอวัยวะของผู้อื่น จะตัดเอง ใช้ให้คนอื่นดัดก็ตาม ก็ไม่ชื่อว่าทําบาป การลงโทษผู้ อ้นโดยการปรับเอาเงิน หรือโดยการเฆี่ยนตีทําให้เขาได้รับความ เดือดร้อน จะทําเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นท่าก็ตาม ก็ไม่ชื่อว่าท่าบาปการเอาวัตถุสิ่งของทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ทําให้เขาได้รับความเศร้าโศกเสียใจ จะทําเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นทําก็ตาม ก็ไม่ชื่อว่า ท่าบาป การลงโทษตนเองให้ลําาบากมีการอดข้าวหรือยอมติด เรือนจํา หรือแนะนําให้ผู้อื่นที่เชื่อถือตนให้ลงโทษตนเองให้ รําบากเหมือนตนนั้น ก็ไม่ชื่อว่าทําบาป ตนเองมีความกระวนกระวายเดือดร้อนใจก็ดี หรือทําให้ผู้อื่นกระวนกระวายเดือดร้อน ใจก็ดี ก็ไม่ชื่อว่าเป็นบาป การฆ่าสัตว์ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่น ฆ่าก็ดี ไม่ชื่อว่าฆ่าสัตว์ คือไม่เป็นบาป การตัดช่องย่องเบาด้วย ตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นติดช่องย่องเบาก็ดี ก็ไม่เป็นบาป การแย่ง ชิงทรัพย์ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นแย่งชิงก็ดี ก็ไม่เป็นบาป บุกรุก เข้าไปในบ้านเขาแล้วแย่งชิงทรัพย์ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นบุกรุกก็ดี ก็ไม่เป็นบาป คอยดักชิงทรัพย์เขาตามทางด้วยตนเอง ก็ดี ใช้ให้คนอื่นคอยดักชิงทรัพย์เขาก็ดี ก็ไม่เป็นบาป การประพฤติ ผิดกาเมในภรรยาของผู้อื่น ก็ไม่เป็นบาป การพูดมุสา ก็ไม่เป็น บาป การกระทําไม่ดีต่างๆ ดังกล่าวมานี้ จะทําด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทําก็ดี เหล่านี้ก็ไม่ชื่อว่าเป็นบาป”
ความเห็นผิดชนิดอริยทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกรรมอันเป็นตัวเหตุ ฉะนั้นจึงเท่ากับว่าปฏิเสธผลของกรรมสําเร็จไปในตัวด้วย ดังนั้น
พระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดง ไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถา ว่า
“กมฺมํ ปฏิพาหนฺเตนาปิ วิปาโก ปฏิพาหิโต โหติ”
“แม้เมื่อปฏิเสธการกระทําบาปบุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่า กับปฏิเสธผลของการกระทําบาปบุญนั้นด้วย”
ความเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิของทิฏฐิทั้ง ๓
ในทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น คณาจารย์เดียรถีย์ ๓ ท่าน คืออาจารย์อชิตะ มีความเห็นชนิด ที่เป็นนัตถิกทิฏฐิ อาจารย์มักขลิโคสาละ มีความเห็นชนิดที่เป็นอเหตุกทิฏฐิ อาจารย์ ปุราณกัสสปะ มีความเห็นชนิดที่เป็นอกิริยทิฏฐิ ความเห็นผิดของคณาจารย์ทั้ง ๓ นี้เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ คือเป็นความเห็นผิดที่มีสภาพส่งผลในนิรยภูมิแน่นอนในลําดับแห่งจุติโดย ไม่มีระหว่างคั่น เพราะความเห็นผิดของท่านทั้ง ๓ นี้ ยึดมั่นแน่นหนามาก แม้พระพุทธองค์ ได้ทรงทรมานด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เลิกถอนความเห็นผิดนั้นเสีย ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ สําหรับ พวกลูกศิษย์ของคณาจารย์ทั้ง ๓ นี้ ในตอนแรกความเห็นผิดที่เกิดขึ้นนั้นยังมีกําลังอ่อน อยู่ ฉะนั้นจึงยังไม่สําเร็จเป็นนิยามิจฉาทิฏฐิ ในเวลาต่อมาเมื่อได้มีการท่องบ่นพิจารณา เนื้อความในค่าสั่งสอนของอาจารย์อยู่เสมอ เหมือนกับผู้ที่เจริญกรรมฐาน และมีความพอ ใจในคําสอนนั้นๆ ในขณะที่พิจารณาและมีความพอใจอยู่นั้นทิฏฐิคตสัมปยุตตชวนะเกิดขึ้น เป็นจํานวนมากมายนับไม่ถ้วน จนกระทั่งจิตนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเกิดขึ้น ในสุดท้าย ทิฏฐิคตสัมปยุตตชวนวิถีที่มีการตัดสินแน่นอนในเนื้อความนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ เกิดขึ้น เหมือนกับวิถีจิตของพระโยคีที่เจริญวิปัสสนากําลังเข้าสู่มรรควิถี ฉะนั้นชวนะ ดวงที่ ๓ ที่ในวิถีสุดท้ายนี้แหละได้ชื่อว่านิยามิจฉาทิฏฐิ คือเป็นความเห็นผิดชนิดที่สามารถ ส่งผลให้เกิดในนิรยภูมิอย่างแน่นอนหลังจากที่ตายลงเพราะความเห็นผิดนี้ แม้พระพุทธองค์จะได้ทรงโปรดอย่างใดก็ตาม ก็ไม่อาจสําเร็จได้
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่ได้ชื่อว่ามิจฉัตตนิยตะ
ความเป็นไปของทิฏฐิกับปัญญาทั้ง ๒ นี้ มีสภาพเป็นไปตรงกันข้ามเข้าร่วมกันไม่ได้ เหมือนความมืดกับความสว่างหรือเหมือนกับคน ๒ คนหันหลังชนกันแล้วออกวิ่ง ไปคนละทาง ต่างคนก็ห่างไกลจากกันไปทุกที ในด้านปัญญานั้นเมื่อมีความเจริญขึ้นจน ถึงได้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ โดยได้รับการอุปการะจากศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิแล้ว ก็ไม่มีสิ่ง หนึ่งสิ่งใดจะมาทําลายปัญญาของผู้นั้นได้เลย ผู้นั้นย่อมมีความเลื่อมใสเป็นพิเศษในพระรัตนตรัยเชื่อในกรรมและผลของกรรม เชื่อว่าตายแล้วจะต้องเกิดอีก ถ้าผู้นั้นยังมีตัณหาอยู่ หมายความว่าปัญญาของผู้นั้นได้เข้าถึงความเป็นสัมมัตตนิยตะ คือเป็นปัญญาที่มีสภาพเป็นความดีและให้ผลแน่นอน ฉะนั้นผู้นั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นพระโสดาบันพ้นจากการไปเกิด ในอบายภูมิอีกต่อไป
ในทํานองเดียวกัน ทางด้านทิฏฐินั้นเมื่อมีความเจริญขึ้นโดยได้รับการอุปการะจาก มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ จนถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดไม่ได้เพราะ ยึดในความเห็นผิดของตนไว้อย่างแน่นหนา เวลานั้นทิฏฐิของผู้นั้นก็เข้าถึงความเป็น มิจฉัตตนิยตะ คือเป็นทิฏฐิที่มีสภาพเป็นความชั่วและให้ผลแน่นอน ฉะนั้น ผู้ที่มีความ เห็นผิดชนิดมิจฉัตตนิยตะ ย่อมไม่มีหวังที่จะได้บรรลุมรรคผล สําเร็จเป็นพระอริยะได้กลับ จะต้องไปเสวยทุกข์ในอวีจิมหานรก ในเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วเป็นเวลานานถึงหมื่น อันตรกัปอย่างแน่นอน เพราะความเห็นผิดชนิดที่เข้าถึงความเป็นมิจฉัตตนิยตะนี้มีโทษร้าย แรงยิ่งกว่าโทษของสังฆเภทกกรรม ดังนั้น พระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ใน อังคุตตรอรรถกถา ว่า
“กปฺปวินาเส มหาชเน พฺรหมฺโลเก นิพฺพตฺเตปิ นิยตมิจฺฉาทิฏฐิโก ตตฺถ อนิพฺพฤติตวาปิฏฐิ จกฺกว่าเฬ นิพฺพตฺตติ, กี ปน ปิฏฐิจากวาฬํ น ฌายตีติ? ฌายติ, ตสฺมึ ฌายมาเนปิ เอส อากาเส เอกสฺมี โอกาเส ปจฺจติเยวาติ วทนฺติ”
“ท่านอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกและอรรถกถา กล่าวไว้ว่าเมื่อโลกถูกทําลาย แม้มหาชนทั้งหลายจะได้ไปเกิดใน พรหมโลกก็ตาม ส่วนผู้ที่มีนิยามิจฉาทิฏฐินั้นไม่มีโอกาสได้ไปเกิด ในพรหมโลก ย่อมไปเกิดในอวีจิมหานรกที่อยู่ในจักรวาลสุดท้าย คือจักรวาลอันดับที่แสนโกฏินั้นเอง มีปัญหาว่าจักรวาลอันดับ สุดท้ายนั้นไม่ได้ถูกไฟทําลายด้วยหรือ? แก้ว่าถูกไฟทําลายด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อจักรวาลอันดับสุดท้ายนี้ถูกไฟทําลายแล้ว ผู้ที่มีนิยามิจฉาทิฏฐินั้นจะต้องไปเสวยทุกข์ในที่ส่วนใดส่วนหนึ่งบน ท้องอากาศ”
พระอรรถกถานี้แสดงให้รู้ว่าในบรรดาโทษของอกุศลต่างๆ นั้น โทษที่เกี่ยวกับ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นโทษที่ร้ายแรงที่สุด สมดังที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ในพระบาลีอังคุตตรว่า
“ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ” แปลความว่า “ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเห็นผิดชนิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้มีโทษอันยิ่ง ใหญ่ที่สุด"
ผู้ที่ถือนิยตมิจฉาทิฏฐิจะมีโอกาสสําเร็จเป็นพระอริยะได้หรือไม่? ผู้ถือนิยตมิจฉาทิฏฐินี้ ถ้าไม่ถอนความเห็นผิดของตนออกเสียแล้ว อย่าว่าแต่จะได้สําเร็จเป็นพระอริยะเลย แม้แต่เมื่อตายจากโลกนี้แล้วก็ยังไม่มีหวังที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ แต่ถ้าหากว่าผู้นั้นถอนความเห็นผิดออกเสียได้ แล้วหันมาเจริญวิปัสสนาก็ย่อมมีหวังที่จะสําเร็จเป็นพระอริยะได้และเมื่อตายจากโลกนี้แล้วก็มีหวังที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาแล้วแต่การกระทําของตน สมดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ในพระบาลีมหาปัฏฐานว่า
“อริยา มิจฺฉตุตนิยต ปหีเน กิเลเส ปจฺจเวกฺขนฺติ, ปุพเพ สมุทาจิณโณ กิเลเส ชานนิติ, มิจฉตุนิยเต ขนฺเธ อนิจฺจโต วิปสฺสนฺติ"
“พระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยมีนิยามิฉาทิฏฐินี้ ย่อมพิจารณากิเลสคือนิยตมิจฉาทิฏฐิที่ตนได้ประหาณไปแล้ว ย่อมเห็นกิเลสคือ
นิยตมิจฉาทิฏฐิที่เคยเกิดมาแล้วในสันดานของตนย่อมพิจารณา นิยตมิจฉาทิฏฐิขันธ์ โดยความเป็นอนิจจะ"
มิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุสําคัญที่ทําให้ทุจริตทั้ง ๑๐ เกิดขึ้นได้
ธรรมดาผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐินั้น ย่อมเป็นผู้ที่ไม่ละอายและหวาดกลัวต่อการทําทุจริตต่างๆ แต่ทุจริตบางอย่างที่จะไม่กล้าทําลงไปนั้นก็เพราะเกรง อํานาจกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ดีก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนเสมอไป ถ้ามีหนทางหลบหลีกได้ก็กล้าทําเช่นเดียวกัน สําหรับทุจริตที่ไม่ผิดต่อกฎหมายนั้นก็เป็นอันว่ากระทําได้อย่างเต็มที่ไม่มีการเกรงกลัว แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ความประพฤติของผู้นี้จึงเป็นไปในทางทุจริต มีกายทุจริตบ้าง วจีทุจริตบ้าง มโนทุจริตบ้าง เป็นส่วนมาก บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐินี้ถ้าจะมีการประกอบกุศล กรรมบ้างก็มักจะเกี่ยวเนื่องด้วยการหาชื่อเสียง การสังคม และเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตน เช่น ช่วยสร้างถนน สร้างโรงเรียน ช่วยในการบรรเทาทุกข์ที่ทางการจัดขึ้น แต่อย่างไร ก็ตามกุศลของบุคคลพวกนี้หาใช่เป็นกุศลอย่างประเสริฐไม่ เป็นเพียงกุศลสามัญเท่านั้น เพราะไม่ได้เป็นไปด้วยอํานาจแห่งกัมมัสสกตญาณ เป็นไปโดยอํานาจแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉะนั้น การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ของบุคคลพวกนี้จึงนับว่าเสียที
การเกิดขึ้นของทุจริตต่างๆ โดยอาศัยมโนทุจริตเป็นเหตุ
อภิชฌา เป็นต้นเหตุให้อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา สัมผัปปลาปะ มิจฉาทิฏฐิ เกิดขึ้นได้
พยาบาท เป็นต้นเหตุให้ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ เกิดขึ้นได้
มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นเหตุให้ทุจริตทั้ง ๑๐ เกิดขึ้นได้
อธิบายในบาลีข้อที่ ๘ ที่ว่า “อญฺญตราปิ วิญญตฺติยา มนสฺมี เยว พาหุลลวุตติโต มโนกมุมฺ นาม"
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่ามโนกรรม เพราะเมื่อยกเว้นจากกายวิญญัติแล้ว ก็เกิดในมโนทวารเท่านั้นเป็นส่วนมาก อธิบายว่าการงานที่เกิดขึ้นทางใจได้ชื่อว่ามโนกรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า “มนสฺมี ปวตฺตํ กมุมํ มโนกมุม” กรรม ที่เกิดทางใจ ชื่อว่ามโนกรรม ทางใจที่เรียกว่ามโนทวารนั้นมีหลายอย่างคือ
๑. ในวิถีจิตต่างๆ นั้น ภวังคจิต ชื่อมโนทวาร เพราะเป็นเหตุให้วิถีจิตเกิด
๒. จิตทั้งหมดชื่อว่ามโนทวาร เพราะจิตที่เกิดบ่อยๆ เป็นเหตุให้จิตหลังๆ เกิดขึ้น
๓. อกุศลชวนะและกุศลชวนะ ชื่อว่ามโนทวาร เพราะชวนจิตนี้เป็นเหตุให้มโนกรรมสําเร็จลง ดังที่ท่านฎีกาจารย์แสดงวจนัตถะว่า
“มโน เอว ทฺวารนฺติ มโนทฺวารํ” ชวนจิตนั้นแหละเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของมโนกรรม ฉะนั้น จึงชื่อว่ามโนทวาร สําหรับในมโนทุจริตนี้ โลภมูล โทสมูลชวนะที่เกิดพร้อมด้วยอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่ามโนทวาร ส่วนโมหมูลชวนะในที่นี้ไม่ชื่อว่ามโนทวาร เพราะไม่สามารถเป็นเหตุให้ มโนทุจริตทั้ง ๓ เกิดขึ้นได้
ที่ว่าโลกชวนะ และโทสชวนะ ชื่อว่ามโนทวาร คือเป็นเหตุให้มโนทุจริตเกิดนั้นก็เพราะ ในขณะที่อภิชฌาหรือมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นนั้น โลกชวนะนี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่โลภะที่ เป็นตัวอภิชฌา และทิฏฐิที่เป็นตัวมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอํานาจแห่งสหชาตปัจจัย อัญญมัญญ ปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และในขณะที่พยาบาทเกิดขึ้น โทสชวนะก็ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่โทสะที่เป็นตัวพยาบาทด้วยอํานาจแห่งสหชาตะ, อัญญมัญญะ,นิสสยะ, อัตถิ, อวิคตปัจจัย
การช่วยอุปการะของอกุศลชวนะที่ชื่อว่ามโนทวารนี้ แม้ในกายกรรมและวจีกรรม ที่เกิดขึ้น ก็ย่อมช่วยอุปการะอยู่ด้วย เช่น ในการทําปาณาติบาต ขณะนั้นก็ได้รับการ อุปการะจากโทสะชวนะอันเป็นตัวมโนทวารด้วยเหมือนกัน แต่ในการสําเร็จเป็น ปาณาติบาตนั้นจะต้องประกอบด้วยกายวิญญัติอันเป็นตัวกายทวาร เพียงแต่โทสชวนะที่เป็นมโนทวารช่วยอุปการะอย่างเดียวนั้น ย่อมไม่สําเร็จเป็นปาณาติบาตได้ในมุสาวาท ก็เป็นไปเช่นเดียวกัน คือต้องมีวจีวิญญัติที่เป็นตัววจีทวารเข้าประกอบด้วยจึงจะสําเร็จ เป็นมุสาวาทได้ ลําพังแต่โลกชวนะหรือโทสชวนะอันเป็นมโนทวารช่วยอุปการะอย่าง เดียวนั้น ย่อมไม่สําเร็จเป็นมุสาวาทได้ หมายความว่าอกุศลชวนะที่เป็นมโนทวารนี้ ย่อมสาธารณะแก่อกุศลกรรมทั่วไป ทั้งที่เป็นกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่สําหรับกายวิญญัติที่เป็นกายทวาร และวจีวิญญัติที่เป็นวจีทวารนั้น ไม่ได้สาธารณะแก่กรรมทั่วไป คงเกี่ยวเนื่องเฉพาะกรรมบางอย่างคือ กายกรรมและวจีกรรมเท่านั้น
ธรรมดาการที่จะตั้งชื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ปรากฏขึ้นนั้น ก็ต้องอาศัยข้อพิเศษของสิ่งนั้นๆ แต่ละอย่าง แล้วจึงตั้งชื่อขึ้นเพื่อมิให้เป็นการปะปนกัน ฉะนั้นกรรมทั้ง ๓ มีปาณาติบาต เป็นต้น ที่ได้ตั้งชื่อว่ากายกรรมก็โดยอาศัยกายทวารเป็นที่เกิดเป็นพิเศษและกรรมทั้ง ๔ มีมุสาวาทเป็นต้น ที่ได้ตั้งชื่อว่าวจีกรรม ก็โดยอาศัยวจีทวารเป็นที่เกิดเป็นพิเศษดังที่ได้ ตั้งชื่อมาแล้ว
สําหรับกรรมทั้ง ๓ มีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับวิญญัติ ทั้ง ๒ คือกายทวารและวจีทวารแต่อย่างใด คงเกิดขึ้นเฉพาะในมโนทวารเท่านั้น ฉะนั้น ท่านพระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงว่า “อญฺญตฺราปิ วิญฺญัตติยา มนสฺมี เยว พาหุลุลวุตฺติโต” เมื่อเว้นจากกายวิญญัติ และวงวิญญัติแล้ว ย่อมเกิดในมโนทวารเป็นส่วนมาก
ในข้อนี้เมื่อพิจารณาแล้ว คําว่า “มนสฺมี เยว พาหุลุลวุตติโต” เท่านี้ก็น่าจะเป็น คําอธิบายโดยสมบูรณ์แล้ว คืออภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ เกิดในมโนทวารเป็นส่วนมาก แต่ ถ้าหากใช้เขียนเป็นหนังสือหรือกล่าวด้วยวาจาว่า “สมบัติของผู้นี้ถ้าเราได้มาเป็นของ ของเราแล้วก็จะดีมาก” เช่นนี้ก็จัดว่าอภิชฌานี้เกิดในทางกายทวารและวจีทวาร แต่ก็ เป็นส่วนน้อย ฉะนั้นอภิชฌาเป็นต้นที่ได้ชื่อว่ามโนกรรมจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปเพราะการที่ตั้งชื่อว่ามโนกรรมนี้ก็ตั้งขึ้นโดยตัพพาหุลสนัย คือเกิดในทางมโนทวาร เป็นส่วนมาก แต่อย่างไรก็ตามจะใช้กล่าวเพียงว่า “มนสฺมี เยว พาหุลุลวุตติโต” เท่านี้ ก็ยังไม่สละสลวย คือค่ากล่าวตอนต้นและตอนปลายยังไม่ตรงกัน เพราะในกายกรรม ๓ กล่าวไว้ว่า “กายวิญฺญัติสงฺขาเต กายทฺวาร พาหุลุลวุตฺติโต” เพราะเกิดในกายทวาร คือ กายวิญญัติเป็นส่วนมาก” ในวจีกรรม ๔ ก็กล่าวไว้ว่า “วจีญฺญาติสงฺขาเต วจีทฺวาเร พาหุลฺลวุตติโต” เพราะเกิดในวจีทวาร คือวจีวิญญัติเป็นส่วนมาก” แสดงให้เห็นว่า กายกรรมและวจีกรรมเหล่านี้มีคําว่าวิญญัติประกอบอยู่ ส่วนในมโนกรรม ๓ นั้นควร แสดงให้รู้ว่าไม่เกี่ยวกับวิญญัติรูปแต่อย่างใด ดังนั้นพระอนุรุทธาจารย์จึงใช้คําว่า “อญฺญตฺร วิญฺญตติยา” “ยกเว้นวิญญัติเสีย”
“กามาวจรกุศลมฺปิ ฯลฯ ติวิธํ โหติ”
คําว่า “อปิ” ในบทว่า กามาวจรกุศลมปิ นี้เป็น วุตตสมุจจยนิปาตบท คือเป็นบทที่ รวมความที่จะให้รู้ได้ว่า ข้อความที่แสดงไปแล้วและกําลังแสดงอยู่นั้นก็เป็นเช่นเดียวกัน การรวมเนื้อความที่จะให้รู้ได้โดยใช้คําว่า “อปิ” นั้น หมายความว่ามิใช่เพียงแต่อกุศลกรรม อย่างเดียวที่มี ๓ อย่าง แม้กามาวจรกุศลก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน
กามาวจรกุศลกรรม ๑๐
กายกรรม ๓
๑. ปาณาติปาตวีรติ เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทานวิรติ เว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจารวีรติ เว้นจากการผิดกาเม
วจีกรรม ๔
๑. มุสาวาทวีรติ เว้นจากกล่าวก๋าเท็จ
๒. ปิสุณวาจาวีรติ เว้นจากกล่าววาจาส่อเสียด
๓. ผรุสวาจาวีรติ เว้นจากกล่าววาจาหยาบร้าย
๔. สัมผัปปลาปวิรติ เว้นจากกล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์
มโนกรรม ๓
๑. อนภิชฌา มีการสังวรเพื่อไม่ให้อภิชฌาเกิด
๒. อพยาบาท มีการสังวรเพื่อไม่ให้พยาบาทเกิด
๓. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้อง
กามาวจรกุศลกรรม ๑๐ ประการ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้เรียกว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ สุจริต ๑๐ ก็ได้ สุจริต ๑๐ เหล่านี้เมื่อนับโดยพิสดารแล้วมี ๓๐ หรือ ๔๐, มี ๓๐ นั้นคือการ กระทําสุจริตอย่างหนึ่งๆ นั้น จะต้องประกอบด้วยเจตนาทั้ง ๓ คือ
๑. ปุพพเจตนา เจตนาที่เกิดก่อนกระทํา
๒. มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกระทํา
๓. อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในเมื่อกระทําไปแล้ว
ฉะนั้น สุจริต ๑๐ คูณด้วยเจตนา ๓ จึงเป็นสุจริต ๓๐ ส่วนที่ว่ามี ๔๐ นั้นคือการ กระทําสุจริตอย่างหนึ่งๆ นั้น แบ่งเป็น ๔ ประเภท
๑. สาหัตถิกสุจริต ทำด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกสุจริต ให้ผู้อื่นทํา
๓. วัณณภาสนสุจริต กล่าวแสดงประโยชน์ของการกระทําสุจริตนั้น
๔. สมบุญญาสุจริต มีความพอใจในการกระทํานั้นๆ
องค์ธรรมของกามาวจรกุศลกรรม ๑๐
กายกรรม ๓ หรือกายสุจริต ๓ องค์ธรรม ได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก
วจีกรรม ๔ หรือวจีสุจริต ๔ องค์ธรรม ได้แก่สัมมาวาจาเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก
มโนกรรม ๓ หรือมโนสุจริต ๓ ประกอบด้วยอนภิชฌา องค์ธรรม ได้แก่ อโลภเจตสิก อพยาบาท องค์ธรรม ได้แก่ อโทสเจตสิก สัมมาทิฏฐิ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก
เหตุแห่งการตั้งชื่อว่า กายกรรม วจีกรรม
กรรมทั้ง ๓ มีปาณาติปาตวิรติ เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่ากายกรรม ๓ กรรมทั้ง ๔ มี มุสาวาทวิรติ เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่าวจีกรรม ๔ เหล่านี้ ย่อมต่างกันกับชื่อของกายทุจริต ๓ และชื่อของวจีทุจริต ๔ หมายความว่าทุจริต ที่ได้ชื่อว่ากายกรรมก็เพราะเกิดทางกาย เป็นส่วนมาก ทุจริตที่ได้ชื่อว่าวจีกรรมก็เพราะเกิดทางวาจาเป็นส่วนมาก สําหรับกุศล กรรมที่ได้ชื่อว่า กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ เหล่านี้ย่อมเกิดทางใจเป็นส่วนมาก ส่วนทาง กายและทางวาจานั้นโดยมากมักจะไม่ค่อยเกี่ยว เพราะเพียงแต่ตั้งจิตคิดงดเว้นจาก กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่เกิดจากเจตนาเจตสิกอย่างเดียวเท่านี้ ก็ได้ชื่อว่ากุศล กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ได้ด้วย เหตุนี้แหละกุศลกายกรรม ๓ และวจีกรรม ๔ เหล่านี้ จึงได้ชื่อว่าอกิริยสมุฏฐาน หมายความว่ากุศลกรรมที่เกิดขึ้นทางใจไม่ต้องอาศัยกาย วาจา เป็นสมุฏฐาน
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะมีคําถามขึ้นมาว่า กุศลกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ นี้ ไม่มีการเกิด ขึ้นเกี่ยวด้วยกายวิญญัติ วจีวิญญัติ เสียเลยเช่นนั้นหรือ? ข้อนี้แก้ว่าไม่ใช่เช่นนั้นเกิด ขึ้นเกี่ยวกับกายวิญญัติ วจีวิญญัติได้บ้างเหมือนกัน แต่ไม่เสมอไปดังเช่น
ปาณาติปาตวิรติ ผู้ที่ทําการประกอบอาหารรับประทานเองเป็นครั้งคราว ในขณะที่จะลงมือท่าอาหารนั้นได้จับปลาขึ้นมากระทํา ปรากฏว่าปลาตัวนั้นยังมีชีวิตอยู่ก็ทําไม่ลง จึงนําไปปล่อยน้ำเสีย หรือดังเช่นเรื่องนางสุชาดาเมื่อครั้งเป็นนางนกยางทําการสมาทาน ศีล ๕ ในขณะที่จิกปลาขึ้นมาจะกิน เมื่อเห็นปลานั้นยังมีชีวิตอยู่ก็ปล่อยปลานั้นลงน้ำไป อันนี้ได้ชื่อว่าปาณาติปาตวีรติ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยกายวิญญัติ
อทินนาทานวิรัติ ผู้ที่เป็นคนรับใช้อย่างใกล้ชิดสนิทสนมเห็นเพชร พลอยที่นายของตนสวมใส่ตกหล่นลงไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อตนเก็บได้ก็ไม่เอา กลับหยิบยื่นส่งให้แก่นายตามเดิม อันนี้ได้ชื่อว่าอทินนาทานวิรติ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยกายวิญญัติ
กาเมสุมิจฉาจารวิรติ หญิงที่รับหมั้นชายอื่นไว้แล้ว ครั้นชายที่คุ้นเคยกันแต่ เมื่อครั้งก่อนมาเยี่ยมเยียนก็เลิกการปฏิบัติเอาอกเอาใจชายนั้นเสีย เพียงแต่ทําการต้อนรับอย่างธรรมดาสามัญตามธรรมเนียมคนที่เคยรู้จักกัน อันนี้ได้ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจารวิรติ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกายวิญญัติ
กุศลกายกรรม ๓ มีปาณาติปาตวิรติเป็นต้น ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกายวิญญัติดังที่ได้กล่าวนี้ องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิกหรือสัมมาอาชีวเจตสิกตามสมควร
กุศลวจีกรรม ๔ ผู้ที่ชอบพูดปดเป็นปกติอยู่เสมอ หรือชอบพูดส่อเสียดยุยงค่าว่าผู้อื่นด้วยคําหยาบคายต่างๆ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลเหล่านี้ ครั้นได้รับการอบรมศึกษาใน พระธรรมวินัยเป็นอย่างดีแล้ว ก็หยุดกล่าววาจามีคําเท็จเป็นต้น ที่ตนเคยกล่าวมาแล้วแต่ ก่อนๆ นั้นเสียได้ อันนี้ได้ชื่อว่ากุศลวจีกรรม ๔ มีมุสาวาทวิรติเป็นต้น ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับวจีวิญญัติ องค์ธรรมได้แก่สัมมาวาจาเจตสิกหรือสัมมาอาชีวเจตสิก
สรุปความว่า กุศลกรรมที่ได้ชื่อว่ากายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ดังที่ได้กล่าวนี้เกิดขึ้น ทางใจอย่างเดียวก็ได้ เกิดขึ้นทางกายและทางวาจาก็ได้ ดังจะพึงสังเกตดูได้จากองค์ธรรม กล่าวคือถ้าองค์ธรรมนั้นเป็นเจตนาเจตสิกอย่างเดียว กุศลกายกรรม วจีกรรมนั้นก็เกิดทาง ใจ ถ้าองค์ธรรมเป็นตัวสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ กุศลกายกรรม วจีกรรม นั้นก็เกิดทางกายและทางวาจา ด้วยเหตุนี้ พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงไว้ในนามรูป ปริจเฉทปกรณ์ว่า
ตํตํทฺวาริกเมวาหุ ตํตํทฺวาริกปาปโต
วิโมนตสฺส วิญญูตฺติ วินา วา สห วา ปุน ฯ
“การเว้นจากอกุศลทุจริตที่เกิดทางกายและทางวาจานี้ จะไม่เกี่ยวกับวิญญัติหรือเกี่ยวกับวิญญัติก็ตาม อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่าเป็นกุศลกายกรรม วจีกรรมได้ทั้งนั้น ในการตั้ง ชื่อว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในการกระทํากุศลนั้น มีนโยบายอยู่ ๒ ประการ"
นโยบายข้อที่หนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทานเป็นต้น ถ้าสําเร็จด้วยการเคลื่อน ไหวทางกาย บุญกิริยาวัตถุนั้น ๆ ก็ได้ชื่อว่ากุศลกายกรรม ถ้าสําเร็จด้วยการเคลื่อนไหวทางวาจา ก็ได้ชื่อว่ากุศลวจีกรรม ถ้าไม่เกี่ยวด้วยการเคลื่อนไหวแต่อย่างใดๆ เพียงแต่ตั้งใจจะบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาแล้ว ก็ได้ชื่อว่ากุศลมโนกรรม ฉะนั้น บุญกิริยา วัตถุ ๑๐ ตามนโยบายข้อที่หนึ่งจึงมีจํานวนเป็น ๓๐ คือกายกรรมทาน การถวายทาน ด้วยมือของตน วจีกรรมทาน ในขณะที่กําลังเปล่งวาจาถวายทาน หรือการจัดแจงบอก ให้เขานําสิ่งของต่างๆ เข้าไปถวาย มโนกรรมทาน ตั้งใจถวาย กายกรรมศีล การสำรวมกาย วจีกรรมศีล การสํารวมวาจา หรือในขณะที่กําลังเปล่งวาจาสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ มโนกรรมศีล การตั้งจิตคิดงดเว้นตามข้อ สิกขาบทนั้นๆ
กายกรรมภาวนา การนั่งฟังเทศน์ หรือการเดิน ยืน นั่ง นอน ในขณะที่ทําการ เจริญสมถะและวิปัสสนา วจีกรรมภาวนาในขณะที่ท่องบ่นพระธรรมวินัย หรือในขณะที่ใช้ปากบริกรรมในการเจริญสมถะและวิปัสสนา อปจายมัย เป็นต้น จนถึงทิฏฐชุกรรมก็มีอย่างละ ๓ เช่นกัน
นโยบายข้อที่สอง ตามธรรมดาคนเราทั้งหลายนั้น คนที่มีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ก็อยู่ที่การสํารวมระวัง ถ้าไม่มีการสํารวมระวังแล้ว กาย วาจา ใจจะบริสุทธิ์ ไม่ได้ ฉะนั้นเวลาใดกาย วาจา ใจ ไม่บริสุทธิ์เป็นทุจริตเกิดขึ้น ก็รู้สึกตัวของตัวว่า กายสังวร วจีสังวร มโนสังวร ของตนได้เสียไป แล้วก็กลับตั้งความพยายามใหม่ เพื่อยังใจที่เป็นกุศล ให้เกิดมีกามาวจรกุศลบ้าง มหัคคตกุศลบ้าง โลกุตตรกุศลบ้าง เพื่อทําการประหาณอกุศล ทุจริตที่เกิดแล้วนั้น ในระหว่างที่ตั้งใจบําเพ็ญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น ในเวลานั้นถ้า มีการสํารวมระวังทางกายเป็นพิเศษ กุศลที่เกิดขึ้นเรียกว่ากายกรรมกุศลหรือกายสุจริต ถ้ามีการสํารวมระวังทางวาจาเป็นพิเศษ ก็เรียกว่าวจีกรรมกุศลหรือวจีสุจริต ส่วนการ กระทํากุศลต่างๆ ที่นอกจากการสํารวมระวังทางกาย และวาจาเป็นพิเศษนั้น กุศลเหล่า นี้เกิดทางกายก็มี ทางวาจาก็มี ทางใจก็มี แต่อย่างไรก็ตาม การกระทํากุศลเหล่านี้ล้วน แต่เป็นการสังวรทางใจ เพื่อชําระจิตใจให้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น ดังนั้นการกระทํากุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ที่เกิดทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม ซึ่งไม่เกี่ยวกับกาย สังวร วจีสังวรนั้น กุศลเหล่านั้นก็ได้ชื่อว่ามโนกรรมกุศล หรือมโนสุจริตได้เช่นเดียวกัน
การตั้งชื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในการกระทํากุศลตามนโยบายทั้ง ๒ ประการนี้ ประการที่ ๒ เป็นนโยบายที่สําคัญมากในพระพุทธศาสนา และตรงกับพุทธประสงค์ ทั้งนี้ก็เพราะการกระทํากุศลต่างๆ ในพระพุทธศาสนานี้ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล ภาวนา หรือกามะ มหัคคตะ โลกุตตรกุศลใดๆ ก็มุ่งหวังอย่างเดียวที่จะทําใจให้ละจากอกุศลเท่านั้น ฉะนั้น นโยบายประการที่ ๒ จึงจัดเป็นหลักสําคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา
อธิบายบาลีข้อที่ ๑๔ “ตถา ทานสีลภาวนาวเสน”
ตามบาลีข้อนี้แสดงให้รู้ว่ากามาวจรกุศลกรรม ว่าโดยกรรมทวารมี ๓ อย่างที่เรียก ว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น เมื่อว่าโดยประเภทแห่งการ กระทําแล้วก็มี ๓ คือ การบริจาค วัตถุสิ่งของชื่อว่าทานกุศลอย่างหนึ่ง การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อยชื่อว่าศีลกุศลอย่างหนึ่ง การอบรมจิตใจให้มีสมาธิ ปัญญา ชื่อว่าภาวนากุศลอย่างหนึ่ง
อนึ่ง การแสดงกามาวจรกุศลที่สําเร็จเป็นกุศลกรรมบถนั้น เพียงแต่แสดงเป็นสุจริต ๑๐ มีปาณาติปาตวีรติเป็นต้น การแสดงเพียงเท่านี้ยังไม่พอ เพราะกามาวจรกุศลอื่นๆ มี การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ที่สําเร็จเป็นกุศลกรรมบถได้ยังมีอยู่อีกอาศัยเหตุ นี้พระอนุรุทธาจารย์จึงมีความประสงค์ใคร่ที่จะให้รู้ถึงกุศลเหล่านี้ด้วย จึงได้กล่าวต่อไป ว่า “ตถา ทานศีลภาวนาวเสน” ฉะนั้นกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือสุจริต ๑๐ ที่ได้กล่าวแล้ว ในข้างต้น คูณด้วยทาน ศีล ภาวนา จึงมีจํานวนเป็น ๓๐
อีกประการหนึ่งยกเว้นกามาวจรกุศลชวนะที่เกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ปัญจทวารวิถี) ในขณะใกล้จะตาย (มรณาสันนวิถี) ในขณะฝัน (สุบินวิถี) เหล่านี้เสียแล้ว กามาวจรกุศลกรรมที่นอกจากนี้ทั้งหมดจะครบองค์ก็ตาม ไม่ครบองค์ก็ตามล้วนแต่ เป็นหนทาง (กมุมปก) ที่จะให้เข้าถึงสุคติภูมิด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถึงกระนั้นการส่งผลในปฏิสนธิกาลนั้นเอาเป็นที่แน่นอนยังไม่ได้ เพราะว่ากามาวจรกุศลกรรมที่เป็นหนทาง (กมุมปก) ให้ เข้าถึงสุคติภูมิ จะต้องได้รับความอุปการะจากกุศลกรรมที่ในอดีตด้วยจึงจะช่วยทําให้มีกําลังส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ มิเช่นนั้นก็มิอาจที่จะส่งผลได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทาน ศีล ภาวนา เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นหนทางให้เข้าถึงสุคติภูมิได้ทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้พระอนุรุทธาจารย์จึงได้ แสดงต่อไปอีกว่า “ตถา ทานศีลภาวนาวเสน” “กามาวจรกุศลว่าโดยประเภทของทาน ศีล ภาวนา แล้วก็มี ๓ อย่าง
“จิตฺตุปฺปาทวเสน ปเนตํ อฏฺฐวิธํ โหติ”
การกระทํางานต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ อันดีงามทุกประการของชาวโลกซึ่ง สัปบุรุษทั้งหลายได้รับรองว่าเป็นความดี เพราะไม่มีการขัดแย้งอะไรกันต่อคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันชาวโลกทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้นั้น ล้วนแต่เป็นกามาวจรกุศลทั้งสิ้น การงานที่ดีต่างๆ เหล่านั้น เมื่อจะพรรณนาตามโวหารของโลกแล้วก็มีมากมายหลายประการสุดที่จะพรรณนาให้หมดสิ้นได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ตาม ความดีต่างๆ เหล่านี้ หาใช่มีนอกออกไปจากกุศลกรรมบถ ๑๐ และบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ทั้ง ๒ นี้แต่ประการใดไม่ ดังนั้นการแสดงการงานที่ดีงามเป็นกุศลกรรมบถ ๑๐ และ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ เป็นการกล่าวตามโวหารของชาวโลกอันเป็นฝ่ายสุตตันตนัย แต่ถ้า จะกล่าวการงานในจํานวน ๒๐ ประการเหล่านี้ตามสภาวนัยแล้ว ก็ได้แก่การเกิดขึ้น ของมหากุศลจิตตุปบาท ๘ ดวงนี้เท่านั้น
อนึ่ง การงานที่คนทั้งหลายได้กระทํากันอยู่นี้ ถ้าจะว่ากันโดยความจริงแท้แล้วก็ได้แก่ รูปกับนาม คือกายกับใจทั้ง ๒ นี้เท่านั้นที่เป็นผู้กระทําขึ้น กล่าวคือร่างกายมีหน้าที่ทํา ใจมีหน้าที่สั่ง เหมือนคนงานกับนายงานหรือเหมือนตัวรถกับคนขับ เหตุนั้น ผู้ที่ไม่เข้าใจ ในนามธรรม คือจิตใจ เพียงแต่เข้าใจในรูปธรรม คือร่างกายอย่างเดียว เมื่อตนเองกระทํา ไม่ดี หรือเห็นผู้อื่นกระทําไม่ดีก็มิอาจที่จะแก้ไขให้กลับเป็นดีขึ้นได้ เพียงแต่ได้ทําการแก้ไข ด้วยวิธีผิวเผินเล็กๆ น้อยๆ เมื่อตนเองกระทําดี หรือเห็นผู้อื่นกระทําดีจะทําการสนับสนุน ส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปก็ทําไม่ได้เช่นกัน ถ้าจะได้ก็ได้แต่เพียงขั้นเล็กๆ น้อยๆ มิอาจที่จะ สนับสนุนส่งเสริมให้ซาบซึ้งถึงใจจริงได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการแก้ไขและการสนับสนุน ส่งเสริมของคนเรานี้ทําได้เป็นอย่างดีที่สุด เพียงขั้นรูปคือร่างกายอันเป็นสิ่งภายนอกอย่างเดียว
ฝ่ายผู้ที่มีความเข้าใจดีทั้งรูปและนามนั้น ถ้าจะทําการแก้ไขการกระทําทางกาย วาจา ใจ ที่ไม่ดีของตนเอง หรือบุคคลอื่นก็ทําการแก้ไขให้สําเร็จได้ เมื่อมีโอกาสทําการ ส่งเสริมการกระทําทางกาย วาจา ใจ ที่ดีของตนเองหรือบุคคลอื่นแล้วก็สามารถส่งเสริม ให้ชาบซึ้งถึงจิตใจได้เป็นอย่างดี
การเป็นไปเช่นนี้ก็เพราะเนื่องมาจากความสําคัญของรูปและนาม คือกาย ใจ มีความสําคัญต่างกันนั้นเอง คือกายมีหน้าที่ทําตามคําสั่งของใจ ใจมีหน้าที่คิดนึกใคร่ครวญ ไตร่ตรองจัดแจงสั่งให้กาย วาจา ที่เป็นรูปทําการงานตามที่สั่ง โดยเหตุนี้การงานที่ดีอัน เป็นกุศลกรรมบถ และบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่ปรากฏเป็นไปอยู่ในหมู่ชนทุกชั้นทุกภาษาได้ นั้น ก็เพราะสาเหตุเนื่องมาจากมหากุศลจิตตุปบาท ๘ ดวง ซึ่งเป็นนามธรรมคือใจนั้นเอง ถ้าเว้นจากมหากุศลจิตุปบาท ๘ ดวงนี้เสียแล้ว การกระทําดีมีกุศลกรรมบถ และบุญกิริยา วัตถุ ๑๐ ก็ต้องสูญหายไปจากมวลมนุษย์ คงมีแต่การกระทําที่เป็นทุจริตทราชีพอย่างเดียว ปรากฏมีอยู่ในมนุษยโลก ที่เนื่องมาจากอกุศลจิตตุปบาทเป็นผู้สั่ง เมื่อเป็นเช่นนี้โลกมนุษย์ นี้ก็ไม่ต่างอะไรกันกับดิรัจฉานโลก ถ้าจะพูดกันอย่างสั้นๆ แล้ว เวลาใดมหากุศลจิตตุปบาท ๘ ดวง เป็นผู้สั่งกาย วาจา ทํางาน เวลานั้นการกระทําของชนทั้งหลายก็ตั้งอยู่ในกุศล กรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เวลาใดอกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง เป็นผู้สั่งเวลานั้นการกระทํา ก็เป็นทุจริตทราชีพไป เหตุนี้แหละพระอนุรุทธาจารย์จึงมีความประสงค์ใคร่ที่จะให้รู้ถึง สาเหตุที่เป็นตัวองค์ธรรมแห่งการกระทํากุศลกรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ต่อไปด้วยบาลี ว่า “จิตฺตุปฺปาทวเสน ปเนตํ อฏฺฐวิธํ โหติ” “กามาวจรกุศลกรรมนี้ เมื่อว่าโดยการเกิด ขึ้นของจิตแล้วย่อมมี ๘"
อธิบายบาลีข้อที่ ๑๖ ที่แสดงถึงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
คําว่า บุญกิริยาวัตถุนี้เป็นภาษาบาลี แปลว่าความดีที่ควรทําเพราะเป็นเหตุเป็นที่ ตั้งแห่งผลดีเกิดขึ้น เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ ปุญฺญ + กริย + วัตถุ ปุญญ หมายความว่า การงานที่ดีที่สําหรับชําาระความเศร้าหมองเร่าร้อน กฺริย หมายความว่า ควรทํา วตฺถุ หมายความว่า เป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งผลดี ดังแสดงวจนัตถะว่า “อตฺตโน สนฺตานํ ปุนาติ โสเธติ ปุญฺญํ” การกระทําใดย่อมชําระสันดานของตนให้ขาวสะอาด ฉะนั้นการกระทํานั้นชื่อว่าปุญญะ ได้แก่การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
“สปฺปุริเสหิ กาตพฺพนฺติ กิริยํ” การกระทําใดอันสัปบุรุษทั้งหลายควรทํา ควร สร้าง ฉะนั้น การกระทํานั้นชื่อว่า กิริยะ ได้แก่ การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
“เต เต อานิสํสา วสฺสนฺติ ติฏฺฐนฺติ เอตฺถาติ วตฺถุ” อานิสงส์ผลต่างๆ ย่อมตั้งอยู่ในการกระทําอันใด ฉะนั้น การกระทํานั้นชื่อว่าวัตถุ ได้แก่ การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
“กิริยํ ปุญฺญํ ปุญฺญกฺริยํ” ความดีที่สัปบุรุษทั้งหลายควรทําชื่อว่าปุญญกริยะ “ปุญญกฺริยญฺจ ตํ วตฺถุจาติ ปุญฺญกิริยวตฺถุ” การกระทําที่เป็นความดีอันสัปบุรุษทั้งหลายควรทํา และเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์ผล ฉะนั้นการกระทํานั้นชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ ได้แก่การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แสดงเป็น ๒ นัย
คือสุตตันตนัยกับอภิธรรมนัย
แสดงโดยสุตตันตนัย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีจํานวน ๓๐ ได้แก่ กายกรรมทาน วจีกรรม ทาน มโนกรรมทาน เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แสดงโดยอภิธรรมนัย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีจํานวน ๑๑ หรือ ๒๓ คือทานมี ๑ ได้แก่มโนกรรมทานที่เป็นอนุภิชฌา ศีลมี ๒ ได้แก่กายกรรมศีล วจีกรรมศีล ที่เป็นกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ภาวนา อปจายนะ เวยยาวัจจะ ทั้ง ๓ นี้มีอย่างละ ๑ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็นอพยาปาท และสัมมาทิฏฐิ ปัตติทาน ปัตตานุโมทนะ ทั้ง ๒ นี้มีอย่างละ ๑ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็นอนุภิชฌาและ สัมมาทิฏฐิ ธรรมสวนะมี ๑ ได้แก่มโนกรรมที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ธรรมเทศนามี ๑ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็นอนุภิชฌา อพยาบาท สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐซุกัมมะ มี ๑ ได้แก่มโนกรรมที่เป็น สัมมาทิฏฐิ
วจนัตถะของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
พร้อมด้วยคําอธิบายและประเภท
ทาน แสดงวจนัตถะว่า “ทียติ เอเตนาติ ทานํ” ชนทั้งหลายจึงให้โดยเจตนานี้ ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการให้นี้ชื่อว่าทาน คําว่า ทาน ตามวจนัตถะนี้ ได้แก่ ตัวเจตนา อันเป็นเหตุแห่งการให้ทานนั้นสําเร็จลง
อีกนัยหนึ่ง “ทาตพฺพนฺติ ทานํ” สิ่งของอันใดที่ชนทั้งหลายพึงให้ ฉะนั้น สิ่งของ อันนั้นชื่อว่าทาน ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่พึ่งให้ (ทาตพฺพวตถุหรือเทยฺยธมฺม)
วจนัตถะทั้งสองนี้เป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่า ทานมีอยู่ ๒ อย่าง คือเจตนาทานและวัตถุ ทาน ในทานทั้ง ๒ อย่างนี้เจตนาทานมี ๓ ว่าโดยกาล คือปุพพเจตนาทาน เจตนาที่เกิด ขึ้นก่อนในระหว่างที่ยังไม่ได้ให้ ตั้งแต่คิดว่าจะทําบุญให้ทาน หรือตั้งแต่ทําการแสวงหา วัตถุสิ่งของที่เป็น เทยยธรรม บุญจเจตนาทาน เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กําลังให้ อปรเจตนาทาน เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากการให้ทานเสร็จแล้วด้วยความปิติอิ่มเอิบใจในการให้นั้น เจตนาทั้ง ๓ มีปุพพเจตนาทานเป็นต้นนี้ ถ้าได้โอกาสก็จะสามารถส่งผลในปฏิสนธิกาล ให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาได้ ดังที่แสดงไว้ใน พระบาลีอปทานว่า
เอกปุปฺผํ ยชิตฺวาน อสีติกปฺปโกฏิโย
ทุคคติ นาภิชานามิ เอกปุปฺผสฺสิทํ ผลํ ฯ
“การบูชาด้วยดอกไม้หนึ่งดอก ทําให้ข้าพเจ้าไม่เคยรู้จัก ความเป็นอยู่แห่งทุคติภพ มีนรกเป็นต้นว่าเป็นอย่างไร ตลอด
เวลา ๘๐ โกฏิอายุกัป หรือตลอดเวลา ๘๐ โกฏิชาติ นี้แหละเป็นอานิสงส์ผลที่ได้รับจากการถวายดอกไม้เพียงดอกเดียว”
ตามพระบาลี หาใช่ว่าจะส่งผลให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาติดต่อกันอยู่เสมอๆ ตลอด เวลา ๘๐ โกฏิอายุกัป หรือ ๘๐ โกฏิภพชาติได้โดยตรงแต่ประการใดไม่เพียงแต่เป็นต้น เหตุช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๒ ครั้นได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๒ แล้วก็ได้สร้างกุศลต่างๆ ขึ้นใหม่อีกต่อไป กุศลใหม่ในภพที่ ๒ นั้นก็จะช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๓ ต่อไป เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดาในภพที่ ๓ แล้วก็ได้สร้างกุศลต่างๆ ขึ้นใหม่อีกต่อไป กุศลที่เกิดขึ้นใหม่ในภพที่ ๓ นั้นก็จะช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา ในภพที่ ๔ ต่อไป เป็นอย่างนี้ต่อกันเรื่อย ๆ อย่างไม่ขาดสายตลอดเวลา ๘๐ โกฏิภพชาติ ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าอานิสงส์แห่งการบูชาด้วยดอกไม้เพียงดอกเดียวนั้น สามารถช่วยให้พ้นจากทุคติภพได้เป็นเวลาช้านาน
อนึ่ง เจตนาทานทั้ง ๓ มีปุพพเจตนาเป็นต้นนี้ หาใช่มีครบบริบูรณ์ในกาลทั้ง ๓ เสมอไปไม่ กล่าวคือบางครั้ง มุญจเจตนามี แต่ปุพพเจตนา อปรเจตนาไม่มีปุพพเจตนา มี แต่ขาดมุญจนเจตนา อปรเจตนา อปรเจตนามี แต่ปุพพเจตนา บุญจนเจตนาไม่มี บางที่มุญจเจตนา ปุพพเจตนาทั้ง ๒ มี แต่อปรเจตนาไม่มี มุญจเจตนา อปรเจตนามี แต่ปุพพเจตนาไม่มีปุพพเจตนา อปรเจตนามี แต่มุญจเจตนาไม่มี บางทีก็ไม่มีเสียเลย ทั้ง ๓ กาล
ในเจตนาทั้ง ๓ นี้ เมื่อจะว่าโดยการเกิดง่ายหรือยากแล้ว มุญจเจตนาเกิดได้ง่าย อปรเจตนาเกิดได้ยาก ดังนั้นถ้าเจตนาเกิดขึ้นไม่ครบ ๓ กาลดังที่ได้กล่าวแล้ว การทําทาน เช่นนี้ย่อมมีผลไม่ไพบูลย์ ฉะนั้นควรพยายามทําทานให้พร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ ถ้าเจตนา เกิดขึ้นพร้อมทั้ง ๓ กาลด้วยดี การทําทานอย่างนี้ย่อมมีอานิสงส์อย่างไพศาล ดังที่จะพึงเห็นจึงรู้ได้จากความต่างกันของเทวดาทั้ง ๖ ชั้น และประชาชนคนทั้งหลายในโลกนี้ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบัน ว่ามีการเป็นไปต่างกันอย่างไร กล่าวคือต่างกันโดยชาติ โดยสกุลบ้าง โดยฐานะ ทรัพย์สมบัติ บริวารบ้าง ที่เป็นไปดังนี้ก็ล้วนแล้วแต่เนื่องมาจากทาน ศีล ภาวนา ที่ถึงพร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ กาล หรือไม่พร้อมทั้ง ๓ กาลขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่มีเสียเลยนั้นเองเป็นเหตุ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแนะนํา ไว้ในพระบาลีฉฟังคุตตระว่า
ปุพเพว สุมโน ทานา ททํ จิตฺตํ ปสาทเย
ทตฺวา อตฺตมโน โหติ เอสา ปุญฺญสฺส สมฺปทา ฯ
“จงมีความยินดีก่อนที่จะทำ จงยังความเลื่อมใสในขณะที่กําลังทํา เมื่อทําเสร็จแล้วจงยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งใจที่มีอาการทั้ง ๓ ดังนี้เป็นการทําบุญที่สมบูรณ์อย่างสูงสุด คือ ทําให้เสร็จความปรารถนาของตนได้”
และพระมหาพุทธโฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในสัตตนิบาต แห่งอังคุตตรอรรถกถาว่า “ทานญฺหินาม ติสุโส เจตนา ปริปุณฺณํ กาตุํ สกุโกนฺตสฺเสว มหปุผลํ โหติ” “การให้ที ได้ชื่อว่าทานนั้น ต้องเป็นทานที่ถึงพร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ กาลที่ผู้กระทําสามารถทําให้ เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น ทานนั้น จึงจะมีผลอย่างมหาศาล”
วัตถุทานมี ๔ อย่าง คือ
๑. จีวรทาน การถวายจีวรแก่ภิกษุสามเณร หรือการให้เสื้อผ้าเครื่อง นุ่งห่มแก่ผู้ที่ยากจน
๒. บิณฑบาตทาน การถวายอาหารบิณฑบาตหรือการให้ของกินแก่ผู้ที่ยากจน
๓. เสนาสนทาน การถวายที่อยู่อาศัย เช่น สร้างกุฏิ สร้างวิหาร สร้าง อุโบสถ เป็นต้น หรือการให้ที่พักพิงแก่ผู้ที่ยากจน
๔. เภสัชชทาน การถวายยารักษาโรคหรือให้ยาแก่ผู้ที่เจ็บป่วย
การบริจาคทานนั้นมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ดังจะแสดงพอให้เห็นเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
ทานหมวด ๒ (ทุกทาน)
๑. อามิสทาน การให้วัตถุปัจจัยสิ่งของต่างๆ
๒. ธรรมทาน การให้ธรรมเป็นทาน ได้แก่การแสดงธรรมเทศนาการสอนและการสร้างหนังสือธรรมะต่างๆ แจกเป็นธรรมทาน
ในทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นทานที่ประณีตกว่าอามิสทาน ดังมีพระบาลี กล่าวไว้ว่า “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” ซึ่งแปลว่า “ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งหมด" อามิสทาน ให้ผลคือมีทรัพย์สมบัติวัตถุสิ่งของบริบูรณ์ ธรรมทาน ให้ผลคือเกิดปัญญา
อีกนัยหนึ่ง
๑. สาหัตถิกทาน การทำทานด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกทาน ใช้ให้ผู้อื่นทําแทน
สาหัตถิกทาน ประณีตกว่าอาณัตติกทาน เพราะส่งผลให้เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสมบัติพร้อมด้วยบริวาร
อาณัตติกทาน เมื่อส่งผลถึงแม้ว่าจะให้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ก็จริง แต่สําหรับบริวาร นั่นไม่ค่อยจะมี
๑. สัมปชานทาน การทําบุญที่ประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจในผลของการกระทํานั้น
๒. อสัมปทานทาน การทําบุญโดยไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมและผลของกรรม
สัมปชานทาน เมื่อเวลาส่งผลย่อมส่งผลให้ได้เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติพร้อมด้วยปัญญา
อสัมปชานทาน ส่งผลให้เป็นผู้มีทรัพย์ แต่ขาดสติปัญญา
อีกนัยหนึ่ง ๑. วัฏฏนิสสิตทาน การทําบุญด้วยการปรารถนาโภคสมบัติ คือปรารถนา ให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี และปรารถนาภวสมบัติ คือต้องการให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม
๒. วิวัฏฏนิสสิตทาน การทําบุญที่ไม่มีความปรารถนาในโภคสมบัติ และ ภาวสมบัติ ปรารถนาแต่สัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจก โพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณ มหาสาวกโพธิญาณ และปกติสาวกโพธิญาณ อย่างใดอย่างหนึเท่านั้น
วัฏฏนิสสิตทาน ไม่เรียกว่าทานบารมี เป็นทานกุศลสามัญ เมื่อเวลาส่งผลก็ส่งผลให้มีความสุขเพียงแค่มนุษย์ เทวดาเท่านั้น มิอาจจะช่วยให้ถึงมรรค ผลโดยเร็วได้
ส่วนวิวัฏฏนิสสิตทาน เรียกว่าทานบารมี เมื่อเวลาส่งผลให้ได้เสวยความสุขในมนุษย์ และเทวดา และสามารถให้ถึงมรรค ผล นิพพานได้โดยเร็ว
ทานหมวด ๓ (ติกทาน)
ในทานหมวด ๓ นี้ หีนทาน มัชฌิมทาน ปณีตทาน มีอยู่ ๓ นับด้วยกันคือ
นัยที่หนึ่ง หีนทาน การทําบุญชั้นต่ำ ได้แก่การทําบุญที่มีความปรารถนาลาภยศ การยกย่องสรรเสริญ มัชฌิมทาน การทําบุญชั้นกลาง ได้แก่การทําบุญที่มีความปรารถนา มนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ ปณีตทาน การทําบุญชั้นสูง ได้แก่การทําบุญตามแนวทางของพระอริยเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย คือความปรารถนาพระนิพานนั้นเอง
นัยที่สอง หีนทาน การทําบุญชั้นต่ำ ได้แก่ การทําบุญที่มีความปรารถนามนุษย์ สมบัติ เทวสมบัติ มิชฌิมทาน การทําบุญชั้นกลาง ได้แก่ การทําบุญที่มีความปรารถนา สาวกโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ ปณีตทาน การทําบุญชั้นสูง ได้แก่การทําบุญที่มีความ ปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ
นัยที่สาม หีนทาน การทําบุญชั้นต่ำ ได้แก่ การทําบุญที่ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา ย่อหย่อน กล่าวคือมีการพอใจ พยายามสนใจ รอบรู้ในการทําบุญนั้นเพียง เล็กน้อย มัชฌิมทาน การทําบุญชั้นกลาง ได้แก่ การทําบุญที่ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา พอประมาณ กล่าวคือมีการพอใจ พยายาม สนใจ รอบรู้ในการทําบุญดีอย่าง ธรรมดาสามัญทั่วไป ปณีตทาน การทําบุญชั้นสูง ได้แก่การทําบุญที่ประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา อย่างยิ่ง กล่าวคือมีการพอใจ พยายามสนใจ รอบรู้ในการทําบุญนั้น เป็นอย่างดี ถูกต้องตามแนวทางของสัปบุรุษทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ทานมี ๓ คือ
๑. ทาสทาน การทําบุญด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ที่เลวกว่าวัตถุปัจจัยที่ตนใช้ ตนบริโภค
๒. สหายทาน การทําบุญด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ที่เสมอกันกับวัตถุปัจจัยที่ตนใช้ ตนบริโภค
๓. สามิทาน การทําบุญด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ดีกว่าวัตถุปัจจัยที่ตนใช้ ตนบริโภค
อีกนัยหนึ่ง ทานมี ๓ คือ
๑. โลกาธิปไตยทาน การทําบุญที่ปรารภคนส่วนมากเป็นใหญ่ คือตนเอง ไม่มีความพอใจจะทําแต่กลัวผู้อื่นจะดูถูกและติเตียนจึงได้ทำ
๒. อัตตาธิปไตยทาน การทําบุญที่ปรารภตนเองเป็นใหญ่ คือคิดว่าเราเป็นคนมั่งมี ถ้าไม่บริจาคทรัพย์ช่วยเหลือในกิจการนั้นๆ บ้างแล้ว ก็จะเป็นการน่าเกลียดไม่สมควร ฉะนั้น จึงทํา
๓. ธัมมาธิปไตยทาน การทําบุญที่ปรารภธรรมเป็นใหญ่ คือพิจารณาว่า การบริจาคทานนี้ เป็นธรรมที่สัปบุรุษทั้งหลาย นิยมกระทํากัน แม้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เมื่อยังบําเพ็ญบารมีอยู่นั้นก็ได้บําเพ็ญทานบารมีเป็นบาท เบื้องต้นก่อน ตลอดจนกระทั่งสาวกต่างๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็ นิยมในการสร้างทานนี้ เช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาเห็นเป็นประโยชน์ดังนี้ แล้วก็ทําไปตามโอกาสตามกาลเวลา
หมายเหตุ ที่กล่าวแล้วว่าการบริจาคทานมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน แต่ในที่นี้มิได้ แสดงให้ครบหมดทุกหมวด เพียงแต่นํามาแสดงพอเป็นสังเขปนั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าได้แสดง ไว้ในคู่มือการสร้างทานกุศล เหตุนั้น จึงมีจําเป็นที่จะต้องนํามาแสดงในที่นี้อีก
สัปปุริสทาน ๕ อย่าง พร้อมทั้งอานิสงส์
ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว สปปุริสทานาน, กตมานิ ปญฺจ ?
สทฺธาย ทานํ เทติ, สกุกจฺจํ ทานํ เทติ, กาเลน ทานํ เทติ, อนุคฺคหิตจิตโต ทานํ เทติ, อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ ทานํ เทติ.
๑. สุทธาย โข ปน ภิกฺขเว ทานํ ทตฺวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อฑโฒ จ โหติ มหทธโน มหาโภโค, อภิรูโป จ โหติ ทสฺสนีโย ปาสาทิโก ปรมาย วณณโปก วาย สนนาโต
๒. สกุกจจ์ โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อฑฺโฒ จ โหติ มหทธโน มหาโภโค เยปิสฺส เต โหนติ ปุตตาติ วา ทาราติ วา ทาสาติ วา เปสาติ วา กมุมกราติ วา, เตปิ สุสุสสนฺติ โสต โอทหนุติ ปัญญา จิตต์ ปฏิจเปน
๓. กาเลน โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อตฺโฒ จ โหติ มหนฺธโน มหาโภโค, กาลาคตา จสฺส อตฺถา ปรา (ปริปูรา) โทน
๔. อนุคคหิตจิตโต โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสุส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อตฺโต จ. โหติ มหทธโน มหาโภโค, อุฬาเรส จ ปัญจสุ กามคุณสุ โภคาย จิตต นมติ.
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหาจ โข ปน ภิกฺขเว ทาน ทาวา ยตฺถ ยตฺถ ตสฺส ทานสฺส วิปาโก นิพฺพตฺตติ, อตฺโฒ จ โหติ มหทธโน มหาโภโค, น จสุส กุโตจิ โภคาน์ อุปฆาโต อาคจนติ อคคิโต วา อุทกโต วา ราชโต วา โจรโต วา อ.ปิยโต วา ทายาทโต. อิมานิ โข ภิกฺขเว ปญฺจ สปปุริสทานานิติ
แปลว่าความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทานมีอยู่ ๕ ประการนั้น ได้แก่อะไรบ้าง? การบริจาคทานโดยความเลื่อมใส เชื่อในการกระทํา และผลของการกระทําที่เป็นสัทธาทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานโดยความเคารพ ทั้งกระทําให้ตัวเองและไทยธรรมนั้นสะอาดหมดจดที่เป็นสักกัจจทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานให้เหมาะสมแก่กาลนั้นๆ ที่เป็นกาลทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานโดยการสละอย่างแท้จริง ไม่มีการยึดเหนี่ยว ห่วงใยในวัตถุทานนั้นๆ ที่เป็นอนุคคหิตทานอย่างหนึ่ง การบริจาคทานโดยไม่มีการกระทบกระเทือนตนเอง และผู้อื่นที่เป็นอนุปหัวจทานอย่างหนึ่ง
๑. สัทธาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานโดย ความเลื่อมใส เชื่อในการกระทําและผลของการกระทํานั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์อย่างมหาศาล มีรูปร่าง สัณฐาน งดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ผิวพรรณวรรณะของร่างกาย ก็เปล่งปลั่ง
๒. สักกัจจทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานโดย ความเคารพทั้งกระทําให้ตนเองและไทยธรรมสะอาดหมดจดนั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์อย่างมหาศาลบุตรภรรยา และสามี ข้าทาส คนใช้ กรรมกรของผู้นั้น ย่อมเชื่อถ้อยฟังคํา เอาอกเอาใจ มิให้ขัดใจในการงานทุกประการ
๓. กาลทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานให้เหมาะสมแก่กาลนั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดขึ้นในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์ มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปฐมวัยอันเป็นวัยหนุ่มสาวมีผลประโยชน์ที่พึงได้อย่างล้นเหลือ
๔. อนุคคหิตทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้บริจาคทานโดย การสละอย่างแท้จริง ไม่มีการยึดเหนี่ยวห่วงใยในวัตถุทานนั้น ผลของทานชนิดนี้ย่อมเกิดขึ้นในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์อย่างมหาศาล มีจิตน้อมอยู่ในการที่จะเสวยกามคุณ อารมณ์ที่ตนมีอยู่อย่างผาสุก สบาย มิใช่เพียงแต่เป็นคนเฝ้าทรัพย์
๕. อนุปหัจจทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่บริจาคทานโดย ไม่มีการกระทบกระเทือนตนเองและผู้อื่นนั้น ผลของทานชนิด นี้ย่อมเกิดขึ้นในภพต่อๆ ไป คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มากพรั่งพร้อมไปด้วยกามอารมณ์อย่างมหาศาล ทรัพย์สินเงินทอง ที่ตนมีอยู่ก็ปลอดพ้นจากภัยทั้ง ๕ มีอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัย ลูกหลานญาติพี่น้องซึ่งเป็นทายาทที่ไม่ดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาคทาน ๕ อย่างเหล่านี้ได้ ชื่อว่า สัปปุริสทาน (การบริจาคทานของสัปบุรุษทั้งหลาย)
หมายเหตุ สัปปุริสศีลและสัปปุริสภาวนาก็มีเป็น ๕ ประเภทเช่นเดียวกันนี้ต่างกัน ก็เพียงแต่อานิสงส์ คือศีลมีอานิสงส์ให้รับความสุขกายสุขใจ ภาวนามีอานิสงส์ ทําให้จิต ใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีปัญญาดี
ทาน ๔
เมือสรุปแล้วทานมี ๔ อย่าง คือ
๑. เจตนาทาน ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศล ซึ่งเป็นเหตุแห่งการให้ทาน
๒. วัตถุทาน ได้แก่ ปัจจัย ๔ ที่เป็นเทยยธรรม
๓. อโลภทาน ได้แก่ อโลภเจตสิกที่ประกอบกับเจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นเหตุแห่งการให้ทาน
๔. วิรติทาน ได้แก่ วีรติเจตสิก ๓ ที่มีการงดเว้นจากอกุศลทุจริต อันเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายไม่ต้องหวั่นใจในการที่จะมีภัยบังเกิดขึ้น เป็นอภัยทานทั้งที่เป็นภายในและภายนอก
หลักฐานบาลีแสดงการสรุปทานทั้ง ๔ ไว้
๑. เจตสิโก ธมฺโม ทานนุติ ? อามนฺตา (มาในพระบาลีทานกถา สัตตมวรรค คัมภีร์กถาวัตถุ) เจตนาเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลชื่อว่าทานใช่ไหม? แก้ว่า ใช่
๒. เทยยธมฺโม ทานนฺติ ? อามนฺตา (มาในพระบาลีทานกถา สัตตมวรรค คัมภีร์ กถาวัตถุ) วัตถุสิ่งของชื่อว่าทานใชไหม? แก้ว่า ใช่
๓. ติ สมปยุตฺโต อโลโภปิ ทาน นาม ฯ (มาในสุตตสังคหอรรถกถาและมูลฎีกา) อโลภเจตสิกที่ประกอบกับเจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นเหตุแห่งการให้ก็ชื่อว่าทาน
๔. อภยํ เทตีติ อาคตฏฺฐาเน วิรติ ทานํ ฯ (มาในพระบาลีกถาวัตถุ) การที่กล่าว ค่าให้อภัยกันนั้น การให้อภัยนี้ชื่อว่าวิรติทาน
๕. ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต ภิกฺขเว อริยสาวโก อปริมาณานํ สตฺตานํ อภยํ เทติ ฯลฯ อิทํ ภิกฺขเว ปฐมํ ทาน มหาทาน ฯ (มาในอภิสันทสูตร ทานวรรคอัฏฐกนิปาต แห่งพระบาลีอังคุตตระ) พระอริยสาวกได้เว้นแล้วจากปาณาติบาตนั้น ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ การให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายนี้ได้ชื่อว่ามหาทานข้อแรก
ประเภทแห่งศีล
ศีลมี ๔ ประเภท คือ ๑. ภิกขุศีล ๒. ภิกขุนี ๓. สามเณรศีล ๔. คฤหัสถศีล
ในศีล ๔ อย่างนั้น สิกขาบท ๒๒๗ บท ที่แสดงไว้ในภิกขุปาติโมกข์ชื่อว่าภิกขุศีล สิกขาบท ๓๑๑ บท ที่แสดงไว้ในภิกขุนีปาติโมกข์ชื่อว่าภิกขุนศีล สิกขาบท ๑๐ ข้อ มี ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น จนถึงชาตรูปรชตปฏิคคหนา เวรมณี เป็นที่สุดก็ดี เสขิยสิกขาบท ๗๕ ข้อก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าสามเณรศีล สิกขาบท ๕ ข้อ คือปัญจศีลนี้ชื่อว่า คฤหัสถศีล
ในศีล ๔ อย่างนั้น ภิกขุศีลและภิกขุนี้ศีล ไม่ต้องมีการสมาทานโดยเฉพาะ เมื่อหลังจากสวดกรรมวาจาถูกต้องตามหลักภายในสถานที่ที่มีกําหนดขอบเขต ที่เรียกว่าสีมาแล้ว ศีลเหล่านี้ก็สําเร็จไปด้วย
สําหรับสามเณรศีลนั้นก็เช่นเดียวกัน ไม่ต้องมีการสมาทานโดยเฉพาะ เมื่อหลังจากสรณคมน์ทั้ง ๓ ถูกต้องตามหลักที่ผู้ให้และผู้รับ ศีลเหล่านี้ก็สําเร็จไปด้วย
คําว่า คฤหัสถ์ แปลว่าผู้ครองเรือน ดังวจนัตถะว่า คเห ติฏฺฐิตีติ คหฏฺโฐ ผู้ใดอยู่ ในบ้าน ฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า คหัฏฐะ
สําหรับคฤหัสถศีลนั้น ต้องมีการสมาทานโดยเฉพาะ เพียงแต่สมาทานไตรสรณคมน์ แล้วยังไม่เรียกว่าผู้มีคฤหัสถศีล เรียกได้แต่ผู้มีไตรสรณคมน์เท่านั้น
รูปาวจรกุศลกรรม ๕
อธิบายบาลีข้อที่ ๑๘ ที่ว่า “รูปาวจรกุสลํ ปน มโนกมุมเมว ฯลฯ ฌานงฺคเภเทน"
อธิบายว่า การเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลกรรมนี้ต่างกับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศล กรรม คือกามาวจรกุศลกรรมนี้เกิดขึ้นทางกายก็ได้ ทางวาจาก็ได้ ทางใจก็ได้ ฉะนั้น เมื่อ กล่าวโดยกรรมแล้วมี ๓ อย่าง คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ส่วนรูปาวจรกุศลกรรม นั้นเกิดทางกายหรือทางวาจาไม่ได้ ย่อมเกิดเฉพาะในทางใจเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยกรรมก็ย่อมได้มโนกรรมอย่างเดียว เพราะรูปาวจรกุศลกรรมที่ไม่เกี่ยวกับอภิญญานั้น ไม่มีหน้าที่ในการทําให้วิญญัติรูปทั้ง ๒ เกิด คือการเคลื่อนไหวกายและวาจาอันเกิดจากรูปาวจรกุศลที่ไม่เกี่ยวกับอภิญญานั้นไม่มี ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “มโนกมุมเมว” คือเป็นมโนกรรมอย่างเดียว
อีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลนั้นย่อมเกิดได้หลายทาง กล่าวคือ เกิดขึ้นได้จากการบริจาคทานก็มี ที่เรียกว่าทานมัย เกิดขึ้นได้จากการรักษาศีลก็มี เรียกว่าศีลมัย เกิดขึ้นได้จากการเจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานก็มี เรียกว่า ภาวนามัย ส่วนการเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลนั้นย่อมเกิดได้ทางเดียว คือการเจริญ สมถกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรมฐาน ๓๐ เรียกว่าภาวนามัย ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “ตญฺจ ภาวนามยํ” คือรูปาวจรกุศลกรรมนี้ย่อมสําเร็จด้วยภาวนามัย
อีกประการหนึ่ง กามาวจรกุศลกรรมนี้แม้จะมีชนิดมโนกรรมภาวนามัย คือเกิดขึ้น สําเร็จโดยอาศัยการเจริญทางใจก็ตาม แต่ไม่สามารถเข้าถึงความสําเร็จเป็นอัปปนาสมาธิ คือฌานสมาบัติได้ ย่อมเข้าถึงได้เพียงแต่บริกรรมสมาธิ และอุปจารสมาธิที่เป็นบันไดขั้น ต้นของอัปปนาสมาธิเท่านั้น ส่วนรูปาวจรกุศลกรรมนั้นย่อมเข้าถึงความสําเร็จเป็นอัปปนา สมาธิได้หมายความว่าการเจริญสมถกรรมฐานของพระโยคีนั้น ถ้ายังไม่ได้ฌาน รูปาวจรกุศลก็ยังไม่เกิดขึ้น ถ้ารูปาวจรกุศลเกิดก็หมายถึงว่าพระโยคีผู้นั้นถึงฌานแล้ว ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “อปฺปนาปตฺตํ"
อีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลที่มีจํานวนได้ ๘ ดวงนั้น ก็โดยที่จําแนก เกี่ยวเนื่องด้วยเวทนาบ้าง เกี่ยวเนื่องด้วยญาณบ้าง เกี่ยวเนื่องด้วยสังขารบ้าง (ดังที่ได้ แสดงชัดเจนในหลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะตรี) ส่วนการเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลนั้น จําแนก โดยองค์ฌานเป็นหลัก ซึ่งแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท โดยนับตามองค์ฌานที่ประกอบคือ
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๕ เข้าประกอบประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๔ เข้าประกอบประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๓ เข้าประกอบประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๒ เข้าประกอบ คือสุข เอกัคคตา ประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รูปาวจรกุศลที่มีองค์ฌาน ๒ เข้าประกอบ คืออุเบกขา เอกัคคตา ประเภทหนึ่ง มี ๑ ดวง
รวมเป็นจํานวนรูปปวจรกุศลมี ๕ ดวง นับตามประเภทแห่งองค์ฌานที่เข้าประกอบ ดังกล่าวนี้ ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “ฌานยุคเเทน ปัญจวิธ โหติ” คือว่า โดยประเภทแห่งองค์ฌานแล้ว มี ๕ อย่าง
อรูปาวจรกุศลกรรม ๔
อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๙ ที่ว่า “ตถา อรูปาวจรกุศลญจ มโนกมุมํ ฯลฯ อารมฺมณเภเทน จตุพฺพิธํ โหติ” อธิบายว่าการเกิดขึ้นของอรูปาวจรกุศลกรรมนี้ ว่าโดย ทวารก็เกิดขึ้นทางใจ ว่าโดยการงานที่ให้เกิดก็ย่อมสําเร็จด้วยภาวนามัยอย่างเดียวว่าโดย สมาธิก็ต้องเข้าถึงอัปปนาสมาธิ เหมือนกับการเกิดขึ้นของรูปาวจรกุศลกรรม ดังนั้นพระ อนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “ตถา อรูปาวจรกุศลญฺจ มโนกมุมํ ตมฺปิ ภาวนามยํ อปฺปนาปตฺตํ "
ส่วนการจําแนกอรูปาวจรกุศลกรรมที่แบ่งเป็น ๔ นั้น ต่างกันกับการจําแนก รูปาวจรกุศลกรรม คือรูปาวจรกุศลกรรมนั้น อาศัยองค์ฌานเป็นเครื่องจําแนก ส่วน อรูปาวจรกุศลกรรมทั้ง ๔ เหล่านี้ จําแนกประเภทโดยองค์ฌานไม่ได้ เพราะมีองค์ ฌาน ๒ คืออุเบกขา เอกัคคตา เหมือนกันหมด ส่วนที่แบ่งออกเป็น ๔ ดวงนั้น ก็เป็นไป เกี่ยวเนื่องด้วยอารมณ์กรรมฐานของจิตเหล่านี้ กล่าวคือกุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยมีกสินคฆาฏิ มากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าอากาสานัญจายตนกุศลจิต กุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยมี อากาสานัญจายตนกุศลจิตเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าวิญญานัญจายตนกุศลจิต กุศลจิตที่เกิด ขึ้นโดยมีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าอากิญจัญญายตนกุศลจิต กุศลจิตที่เกิดขึ้น โดยมีอากิญจัญญายตนกุศลจิตเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิตดังนี้ ด้วยเหตุนี้พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “อารมฺมณเเทน จตุพฺพิธํ โหติ"
สรุปความว่า คําว่า “ภาวนามยํ อปฺปนาปตฺตํ” นั้น เป็นการแสดงที่มุ่งหมายให้รู้ ว่ามหัคคตกุศลกรรมทั้ง ๙ เหล่านี้ เกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยการเจริญสมถกรรมฐานมีการ เพ่งอารมณ์กสิณ เป็นต้น ฉะนั้นจึงมีแต่ภาวนามัยอย่างเดียว ไม่มีทานมัยและศีลมัย
ถ้ามีข้อปัญหากล่าวค้านว่า ในปฏิสัมภิทามรรคพระบาลีแสดงว่ามหัคคตกุศลกรรม เหล่านี้ก็จัดเป็นศีลกุศลได้ ดังมีบาลีปรากฏว่า “ปฐมชฺฌาเนน นิวรณานํ, ทุติเยน วิตกฺกวิจารานํ, ตติเยน ปีติยา, จตุตฺเถน สุขทุกขานํ ปหานํ สีสํ เวรมณี สีลํ เจตนา สีลํ สํวโร สีสํ อวีติกฺกโม สีลํ” การประหาณนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน การประหาณ วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การประหาณปิติด้วยตติยฌาน การประหาณสุขทุกข์ด้วย จตุตถฌาน การประหาณเหล่านี้จัดเป็นประหาณศีล เวรมณีศีล เจตนาศีล สังวรศีล อวีติกกมศิล
แก้ว่า ในพระบาลีแสดงไว้จริง แต่เป็นการแสดงโดยนัยปริยาย ไม่ใช่แสดงโดยมุขย นัย เพราะมหัคคตกุศลกรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นได้นั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอาศัยการรักษาศีล ย่อม เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญสมถภาวนาอย่างเดียว ดังกล่าวแล้วข้อนี้เปรียบเหมือนคําที่กล่าว ว่า “พระพุทธองค์ได้ทรงกระทําให้พระเทวทัตผู้ซึ่งคิดทรยศต่อพระองค์นั้นได้ไปสู่นิรยภูมิ” ซึ่งความจริงแล้วพระพุทธองค์ไม่ได้เป็นผู้ทําให้พระเทวทัตไปสู่นิรยภูมิ การกระทําของพระเทวทัตเองนั้นแหละเป็นผู้นําให้ไปสู่นิรยภูมิ สําหรับพระพุทธองค์เป็นแต่เพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการทําให้พระเทวทัตสร้างอกุศลกรรมสําเร็จลงเท่านั้น
อนึ่ง ตั้งแต่บาลีข้อที่ ๕ เป็นต้น จนถึงข้อที่ ๑๙ ที่กล่าวว่า “ตตฺถ อกุสลํ กายกมุมํ วจีกมุมํ มโนกมุมญฺเจติ กมฺมทวารวเสน ติวิธํ โหติ” ฯลฯ จนถึง “ตตฺถ อรูปาวจรกุสลญจ มโนกมุมํ ตมฺปิ ภาวนามยํ อปฺปนาปตฺตํ อารมฺมณเภเทน จตุพุพิธํ โหติ” นั้น พระอนุรุทธาจารย์แสดงให้รู้เพียงแค่ประเภทแห่งกรรมทั้ง ๔ มีอกุศลกรรมเป็นต้น เท่านั้น ยังไม่ได้แสดงถึงปากัฏฐาน คือภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของกรรมทั้ง ๔ เหล่านั้น
ตั้งแต่บาลีข้อที่ ๒๐ มี เอตฺถากุสลกมุมมุทฺธาจฺจรหิตํ เป็นต้น จนถึงข้อที่ ๒๖ มี เตสํ ทฺวาทส ปากานิ เป็นต้นเหล่านี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงถึงปากัฏฐาน คือภูมิอัน เป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของกรรมทั้ง ๔ เหล่านั้นไปตามลําดับ ดังที่จะได้แสดงขยายความ โดยพิสดารต่อไปนี้
อธิบายความในบาลีข้อที่ ๒๐ ที่ว่า “เอตฺถากุสลกมุมมุทธาจฺจรหิตํ” เป็นต้นจน ถึง “ยการหํ วิปจฺจติ” บาลีข้อนี้แสดงถึงภูมิซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของอกุศลกรรม คืออกุศลกรรม ๑๑ (เว้นอุทธัจจสหคตเจตนา) ย่อมส่งผลปฏิสนธิในอบายภูมิทั้ง ๔ หมาย ความว่าผู้ที่ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เหล่านี้ ก็เพราะอาศัยอกุศลกรรม ๑๑ อย่างใดอย่าง หนึ่งเป็นเหตุ ส่วนอุทธัจจสหคตเจตนานั้น ไม่มีหน้าที่ส่งผลปฏิสนธิ หมายความว่าผู้ที่ไป เกิดในอบายภูมิ ๔ โดยอาศัยอุทธัจจสหคตเจตนาเป็นเหตุนั้นย่อมไม่มี สําหรับในปวัตติกาล คือเวลาที่ต่อจากปฏิสนธิมาจนถึงตายนั้น อกุศลกรรมทั้ง ๑๒ ย่อมส่งผลได้ กล่าวคือทําให้อกุศลวิบาก ๗ มีการเห็นไม่ดี การได้ยินไม่ดี เป็นต้น เกิดขึ้นในกามภูมิ ๑๑ และรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตาภูมิ)
เมื่อสรุปความตามบาลีข้อนี้แล้วก็ได้ความว่า ปากัฏฐานของอกุศลกรรมเหล่านี้ ว่า โดยปฏิสนธิกาล ย่อมได้อบายภูมิ ๔ ว่าโดยปวัตติกาลย่อมได้กามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตาภูมิ)
อธิบายบาลีข้อที่ ๒๒ - ๒๓ - ๒๔ ที่ว่า “ตตฺถาปิ ติเหตุกมุกฺกฏ กุสล ฯลฯ ปวตฺเต จ อเหตุกวิปากาเนว วิปจฺจติ” ในบาลีทั้ง ๓ ข้อนี้แสดงถึงการจําแนกมหากุศลกรรมที่มีประเภทต่างๆ กัน มีติเหตุกอุกกัฏฐะเป็นต้น และแสดงถึงผลของกุศลกรรมเหล่านี้โดยเฉพาะๆ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล
มหากุศลกรรมที่กล่าวมาแล้วนี้ เมื่อจําแนกโดยเหตุแล้วมี ๒ อย่างคือ ติเหตุกกุศลอย่างหนึ่งและทวิเหตุกกุศลอย่างหนึ่ง
ติเหตุกกุศลนั้นคือ เมื่อขณะที่ทําการกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็ตาม กุศลจิตของผู้กระทํานั้นประกอบด้วยกัมมัสสกดาญาณ หรือวิปัสสนาญาณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว กุศลชนิดนี้ก็ได้ชื่อว่าติเหตุกกุศลคือกุศลที่เกิด พร้อมด้วยอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔
ความเป็นไปของมหากุศลกรรมที่ประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณนั้น คือบุคคลผู้มีปัญญารู้ในเรื่องกรรมและผลของกรรมว่าการทําดีย่อมได้รับผลดี ทําชั่วได้รับผลชั่วและ บรรดาสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้มีกรรมเป็นใหญ่ มีกรรมเป็นผู้จัดแจง และเมื่อได้กระทําลงไปแล้ว ย่อมต้องได้รับผลของการกระทํานั้นๆ อย่างแน่นอนช้าหรือเร็วเท่านั้น เสมือนหนึ่ง เราเอาก้อนหินทุ่มลงไปในสระน้ำ จะปรากฏว่าน้ำนั้นแตกกระเพื่อมเป็นละลอกคลื่นแผ่ออก ไปเป็นวงกว้าง เมื่อไปสุดขอบสระแล้วละลอกนั้นจะย้อนกลับเข้ามาตรงที่เราเอาก้อนหิน ทุ่มลงไป ถ้าก้อนหินนั้นเป็นก้อนเล็กๆ ละลอกคลื่นก็จะแผ่ไปและย้อนกลับมาโดยช้าๆ และถ้าก้อนหินนั้นเป็นก้อนใหญ่กําลังของก้อนหินนั้นมีมากละลอกคลื่นก็จะแผ่ไปและย้อนกลับมาโดยเร็ว ข้อนี้เปรียบเทียบให้เห็นว่าการกระทําดีหรือชั่วของสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อทำลงไปแล้วย่อมไม่สูญหายไปไหน ต้องได้รับผลแน่นอนเหมือนกับละลอกคลื่นที่แผ่กระจาย ออกไปแล้วย้อนกลับมาที่เก่าฉันนั้น สําหรับการได้รับผลช้าหรือเร็วนั้นก็แล้วแต่เจตนา ความพยายามของผู้กระทํา และคุณสมบัติหรือฐานะของผู้รับการกระทํา หรือข้อสิกขาบท ข้อปฏิบัติอันเป็นที่ตั้งแห่งการกระทํา ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวมานี้แหละ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีกัมมัสสกตาญาณ ฉะนั้น การกระทํากุศลต่างๆ ของบุคคลพวกนี้จึงจัดเป็น ติเหตุกกุศล
ความเป็นไปของมหากุศลกรรมที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณนั้น คือบุคคลผู้มีปัญญารู้ว่าบรรดาสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ที่มีชีวิตก็ตาม ไม่มีชีวิตก็ตาม คงมีแต่รูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้น และรูปนามนี้ก็เป็นของไม่เที่ยง เกิดแล้วย่อมดับไปอยู่เสมอล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น ฉะนั้นในการบําเพ็ญกุศลต่างๆ นั้น บุคคลผู้ถวายก็ดี ปฏิคาหกผู้รับก็ดี ย่อมมีแต่รูปกับนาม และมีสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วัตถุสิ่งของที่เป็นของถวายนั้นก็มีแต่รูป และมีสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กุศลจิตที่เกิดขึ้น แก่เรานั้นก็เป็นนามธรรม และมีสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกัน แต่มีข้อที่แตกต่างกันก็คือ แม้ว่ากุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นจะมีการดับอยู่ทุกๆ ขณะก็ตาม แต่อํานาจของกุศลต่างๆ เหล่านั้นก็หาได้หมดสิ้นไปด้วยไม่ ย่อมติดอยู่ในขันธสันดานของผู้กระทํา แต่เมื่อมีโอกาสเวลาใดก็ส่งผลให้ปรากฏขึ้นในภพนี้และภพหน้า และในขณะที่กุศล จิตเกิดอยู่นั้นก็ทําให้ผู้นั้นมีจิตผ่องใส สบายใจ ไม่เกิดความเดือดร้อน เหมือนกับผู้ที่ยอมเสียเงินเพื่อซื้อน้ำมาอาบ ในขณะที่อาบน้ำนั้นทุกๆ วันที่อาบตัวแล้วก็ไหลลงพื้นดินซึมหาย ไปไม่มีเหลืออยู่ แต่ผู้อาบก็ยอมซื้อน้ำมาอาบทุกวันทั้งนี้ก็เพราะรู้อยู่ว่าแม้น้ำที่อาบนั้นจะ ไม่ติดอยู่ที่ตัวก็จริง แต่น้ำนั้นก็สามารถทําให้ร่างกายได้รับความเย็นชุ่มชื่น และทั้งชําระล้างสิ่งโสโครกที่ติดอยู่ในร่างกายให้หมดไป ข้อนี้ฉันใด อํานาจของกุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้ว ดับไปอยู่ทุกๆ ขณะก็ฉันนั้น ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวมานี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวิปัสสนาญาณ และการกระทํากุศลต่างๆ ของบุคคลพวกนี้จัดเป็นติเหตุกกุศล
การสร้างกุศลต่างๆ ที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณนั้น จัดเป็นกุศลที่สูงสุด ดังนั้นพุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย จึงควรพยายามที่จะให้การบําเพ็ญกุศล ของตนนั้นให้เป็นกุศลที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ หรือกัมมัสสกตาญาณอยู่เสมอ เพื่อ จะได้รับผลเป็นมหัปผลมหานิสังสะ ทั้งในภพนี้และภพต่อๆ ไป
ทวิเหตุกกุศลนั้นคือ เมื่อขณะที่กระทํากุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็ตาม กุศลจิตของผู้กระทํานั้นไม่ได้ประกอบด้วยกัมมัสสกดาญาณ หรือวิปัสสนาญาณแต่อย่างใด กุศลชนิดนี้ ได้ชื่อว่า ทวิเหตุกกุศล คือกุศลที่ เกิดพร้อมด้วยอโลภเหตุ อโทสเหตุเท่านั้น ขาดอโมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ มหากุศลญาณ วิปปยุตตจิต ๔
ความเป็นไปของมหากุศลชนิดนี้คือ การงานที่เป็นกุศลนั้นมิได้มีเฉพาะแต่ในพุทธศาสนิกชนเท่านั้น แม้ชนในศาสนาอื่นๆ หรืออนารยชนบางพวก หรือสัตว์ดิรัจฉานบาง พวกก็มีกุศลเกิดขึ้นได้ เพราะการงานที่เป็นกุศลนั้นก็ได้แก่ การทําดี พูดดี คิดดีนั้นเอง แต่ในการกระทํากุศลของบุคคลดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการพิจารณาที่เกี่ยวกับกัมมัสสกตาญาณหรือวิปัสสนาญาณแต่อย่างใด เพียงแต่ทําเพื่อประโยชน์เฉพาะหน้าหรือทําตามหน้าที่ ตามประเพณีหรือมีผู้บังคับให้ทําเท่านั้น คล้ายกับเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเหตุผลของการทําบุญ เมื่อผู้ใหญ่ใช้ให้ใส่บาตรก็ดี ให้ไหว้พระสวดมนต์ก็ดี ให้ถวายวัตถุปัจจัยแก่พระสงฆ์ก็ดี ก็ทํา ไปตามที่ผู้ใหญ่สั่งให้ทําเท่านั้น
อนึ่ง การกระทําที่เป็นกุศลของผู้ถือพระพุทธศาสนา และผู้ที่กระทํานั้นก็ไม่ใช่เด็กแต่กุศลจิตที่เกิดขึ้นกับผู้นั้นเป็นทวิเหตุกกุศล คือกุศลอย่างสามัญก็มีจํานวนไม่น้อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะบุคคลจําพวกนี้ขาดความรู้ในด้านพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอภิธรรมและทั้งตัวเองก็ไม่สนใจจะพยายามให้รู้ในเรื่องราวของพระอภิธรรมนี้ แม้ในขณะบริจาคทานก็ดี ขณะบวชพระ บวชชีก็ดี ขณะเจริญสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี อาการเป็นไปของบุคคลพวกนี้ย่อมเกี่ยวกับตัณหา มานะทิฏฐิแทบทั้งสิ้น แม้จะมีกิริยา ที่เป็นระเบียบเรียบร้อยก็ตาม ก็เป็นไปแต่เพียงอาการภายนอกเท่านั้น เมื่อว่าตามแนว พระสูตรแล้วก็กล่าวได้ว่าเรียบร้อย แต่ถ้าว่าตามแนวทางพระอภิธรรมแล้วก็ไม่นับว่าเรียบร้อย เพราะผู้นั้นมีจิตมัวหมองไปด้วยอํานาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ ดังนั้นการกระทํากุศล ของบุคคลจําพวกนี้จึงจัดเป็นทวิเหตุกกุศล
จําแนกติเหตุกกุศลและทวิเหตุกกุศลโดยอุกกัฏฐะและโอมกะ
ติเหตุกกุศล และทวิเหตุกกุศลดังกล่าวแล้วนั้น ได้จําแนกออกเป็นอย่างละ ๒ คือ
ติเหตุกกุศล ชนิดอุกกัฏฐะ คือติเหตุกกุศลชั้นสูงอย่างหนึ่ง
ติเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ คือติเหตุกกุศลชั้นต่ำอย่างหนึ่ง
ทวิเหตุกกุศล ชนิดอุกกัฏฐะ คือทวิเหตุกกุศลชั้นสูงอย่างหนึ่ง
ทวิเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ คือทวิเหตุกกุศลชั้นต่ำอย่างหนึ่ง
ความเป็นไปของติเหตุกกุศลและทวิเหตุกกุศลที่เป็นอุกกัฏฐะนั้น คือบุคคลที่บําเพ็ญกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก่อนที่จะทําก็ดี ภายหลังที่ทําเสร็จแล้วก็ดี จิตของ ผู้กระทํานั้นไม่มีอกุศลเข้าเจือปน หมายความว่าก่อนที่จะลงมือกระทํา ผู้นั้นมีความตั้งใจ และเต็มใจที่จะ ประกอบการงานที่เป็นกุศลนั้นๆ อย่างแน่วแน่ ไม่มีการท้อถอยต่อความลําบาก หรือความเหนื่อยยากต่างๆ ที่ตนกําลังได้รับอยู่หรือที่จะได้รับต่อไปข้างหน้า เช่น นี้ได้ชื่อว่าปุพพเจตนาของผู้นั้นเป็นไปโดยบริสุทธิ์ และเมื่อผู้นั้นได้ประกอบการงานที่เป็น กุศลต่างๆ นั้นสําเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีความปิติยินดีไม่ได้คิดถึงความเหนื่อยยากลําบาก หรือความหมดเปลืองแต่อย่างใด มีแต่ความปลื้มใจในการที่ตนได้กระทํากุศลนั้นๆ สําเร็จลงตามความประสงค์ เช่นนี้ได้ชื่อว่าอปรเจตนาของผู้นั้นก็เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ด้วย เหตุนี้ทานกุศล ศีลกุศล หรือภาวนากุศล ที่เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นจะเป็นเหตุกกุศลก็ตาม หรือ ทวิเหตุกกุศลก็ตาม จัดเป็นอุกกัฏฐกุศลคือกุศลชั้นสูง
บุคคลที่บำเพ็ญกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก่อนที่จะทําก็ดี ภายหลังที่ทําเสร็จแล้วก็ดี จิตของผู้กระทํานั้นมีอกุศลเข้าเจือปน หมายความว่าก่อนที่จะลงมือกระทํา ผู้นั้นไม่ได้มีความตั้งใจและเต็มใจที่จะกระทํา หากกระทําไปด้วยความจําเป็นบังคับอย่าง หนึ่งหรือเห็นคนอื่นเขาทําก็ทําเพื่อแข่งกับเขาบ้างอย่างหนึ่ง หรือทําเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตัวในทางโลกอย่างหนึ่ง เช่นนี้ได้ชื่อว่าปุพพเจตนาของผู้นั้นเป็นไปโดยไม่บริสุทธิ์ และเมื่อ ผู้นั้นได้ประกอบการงานกุศลต่างๆ นั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่เกิดปีติโสมนัส กลับมีแต่ ความขุ่นมัวเศร้าหมอง โดยการนึกถึงความเหน็ดเหนื่อยบ้างนึกเสียดายเงินที่ใช้ไปในงาน นั้นบ้าง หรือถ้าความมุ่งหวังประโยชน์ในทางโลกนั้นสําเร็จสมประสงค์ก็เกิดความยินดีพอ ใจ ถ้าไม่สําเร็จสมประสงค์ก็เกิดความกลุ้มใจ เสียใจ เหล่านี้ได้ชื่อว่าอปรเจตนาของผู้นั้น ไม่บริสุทธิ์ด้วยเหตุนี้ ทานกุศล ศีลกุศล หรือภาวนากุศลที่เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นจะเป็นเหตุกกุศล ก็ตาม หรือทวิเหตุกกุศลก็ตาม จัดเป็นโอมากุศล คือกุศลชั้นต่ำ
ในเจตนา ๒ อย่างคือ ปุพพเจตนาและอปรเจตนาที่เป็นเครื่องตัดสินว่ากุศลนั้นๆ จะเป็นอุกกัฏฐกุศลหรือโอมกกุศลนั้น อปรเจตนามีความสําคัญมากกว่าปุพพเจตนา เพราะอปรเจตนาเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากการทํากุศลนั้นๆ สําเร็จแล้วนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ แม้ปุพพเจตนาจะไม่บริสุทธิ์ แต่อปรเจตนาบริสุทธิ์ก็จัดว่าเป็นอุกกัฏฐกุศล หรือแม้ ปุพพเจตนาบริสุทธิ์ก็ตาม ถ้าอปรเจตนาไม่บริสุทธิ์กุศลนั้นก็จัดเป็นโอมากุศล
จําแนกอุกกัฏฐกุศล และโอมกกุศล โดยอปราปรเจตนา
คําว่า อปราปรเจตนา หมายถึงกุศลหรืออกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากอปรเจตนา เกิดล่วงไปแล้ว ระหว่าง ๑ วัน หรือ ๑ เดือน เป็นต้นไป เหล่านี้จัดเป็นอปราปรเจตนาทั้งสิ้น และอปราปรเจตนานี้ถ้าเป็นกุศล คือเมื่อนึกถึงการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ของตนที่ได้ทําไปแม้จะล่วงมาเป็นเวลาหลายวันหรือหลายเดือนแล้วก็ตาม ก็ยังมีความปีติ โสมนัส มีศรัทธาความเชื่อมั่นในกุศลของตน และมีปัญญาความเห็นประโยชน์ในกุศลของ ตนเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นนี้แหละอปราปรเจตนาเป็นกุศลและจัดเป็นชนิดอุกกัฏฐะ ถ้าอปราปรเจตนาเป็นอกุศล คือเมื่อนึกถึงการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาของตนที่ได้ทําไปในเวลาต่อๆ มาแล้ว เกิดความไม่พอใจ เสียดายกลุ้มใจ หรือเกิดความยินดีเพลิด เพลินอันเกี่ยวด้วยตัณหา หรือเกิดความหยิ่งในใจว่าเราทําได้ดีกว่าผู้อื่นอันเป็นตัวมานะ เช่นนี้แหละอปราปรเจตนาเป็นอกุศล และจัดเป็นชนิดโอมกะ ฉะนั้น ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล และโอมากุศล ทวีเหตุกอุกกัฏฐกุศล และโอมกกุศล ทั้ง ๔ อย่างนี้ เมื่อจําแนกโดย อปราปรเจตนาแล้ว ย่อมมี ๘ คือ
๑. ติเหตุกอุกกัฏฐกกัฏฐกุศล
๒. ติเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล
๓. ติเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล
๔. ติเหตุกโอมโกนกกุศล
๕. ทวิเหตุกอุกกัฏฐกกัฏฐกุศล
๖. ทวิเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล
๗. ทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล
๘. ทวิเหตุกโอมโกนกกุศล
ความเป็นไปของติเหตุกกุศลทั้ง ๔ และทวิเหตุกกุศลทั้ง ๔ เหล่านี้ มีดังนี้คือ
ขณะที่มุญจเจตนาเกิดขึ้นประกอบด้วยไตรเหตุ ชื่อว่าติเหตุกกุศล
ขณะที่อปรเจตนาเกิดก็ดี อปราปรเจตนาเกิดก็ดี เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ไม่เจือด้วยอกุศล ชื่อว่า อุกกัฏฐกกัฏฐะ
ขณะที่อปรเจตนาเกิดนั้นดี แต่อปราปรเจตนาไม่ดี ชื่อว่าอุกกฏโฐมกะ
ขณะที่อปรเจตนาเกิดนั้นไม่ดี แต่อปราปรเจตนาดี ชื่อว่าโอมกุกกัฏฐะ
ขณะที่อปรเจตนาเกิดไม่ดี และอปราปรเจตนาก็ไม่ดี ชื่อว่าโอมโกมกะ
ถ้าในขณะที่บุญเจตนาเกิดขึ้นนั้น ประกอบด้วยทวิเหตุ ขาดอโมหะ ชื่อว่าทวิเหตุกกุศล
สําหรับความเป็นไปที่เป็นชนิดอุกกัฏฐกกัฏฐะเป็นต้นนั้นเป็นไปทํานองเดียวกันกับหมวดติเหตุกกุศล
การส่งผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศลเป็นต้น
การส่งผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศลในปฏิสนธิกาล คือให้ได้มหาวิบากญาณสัมปยุตต จิต ๔ เป็นเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงให้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง ส่วนในปวัตติกาล นั้นให้ได้อเหตุกกุศลวิบาก ๘ และมหาวิบาก ๘ รวม ๑๖ เป็นผล หมายถึงเมื่อได้เกิดเป็น มนุษย์หรือเทวดาชั้นสูงแล้ว ก็ย่อมได้รับอารมณ์ต่างๆ ที่ดี มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น
การส่งผลของติเหตุกอุกกัฏฐกกัฏฐะ และติเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล ทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่า โดยธรรมาธิษฐานนั้น ให้ผลเช่นเดียวกันกับติเหตุกอุกกัฏฐกุศล ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แต่เมื่อว่าโดยบุคลาธิษฐานย่อมต่างกันบ้าง คือผลที่ได้รับจากติเหตุก อุกกัฏฐกกัฏฐะนี้ย่อมประณีตกว่าผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศล ส่วนผลที่ได้รับจากติเหตุก อุกกฏโฐมกกุศลนั้น ย่อมต่ำกว่าผลของติเหตุกอุกกัฏฐกุศล
การส่งผลของติเหตุกโอมกกุศล และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศลทั้ง ๒ นี้ ในปฏิสนธิกาล ให้ได้มหาวิบากญาณวิปปยุตตจิต ๔ เป็นทวิเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงให้เกิดเป็นมนุษย์หรือ เทวดาชั้นกลาง ส่วนในปวัตติกาลนั้นให้ได้อเหตุกกุศลวิบาก ๘ และมหาวิบากญาณ วิปปยุตตจิต ๔ รวม ๑๒ เป็นผล หมายถึงเมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นกลางแล้ว ย่อมได้รับอารมณ์ต่างๆ ดีอย่างปานกลาง มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น
การส่งผลของติเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล ติเหตุกโอมโกมากุศล ทวิเหตุกอุกกักจุกกัฏฐ กุศล และทวิเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล ทั้ง ๔ นี้เมื่อว่าโดยธรรมาธิษฐานแล้วให้ผลเช่นเดียวกัน กับติเหตุกโอมกะ และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล แต่เมื่อว่า โดยบุคลาธิษฐานย่อมต่างกันบ้าง คือผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุก อุปัฏฐกกัฏฐกุศล ทั้ง ๒ นี้ย่อมดีกว่าผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมโกมกะ และทวิเหตุก อุกกฏโฐมกกุศล ส่วนผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมโกมกะและทวิเหตุกอุกกฏโฐมกกุศล ทั้ง ๒ นี้ย่อมต่ำกว่าผลที่ได้รับจากติเหตุกโอมกะ และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล
การส่งผลของทวิเหตุกโอมกกุศลในปฏิสนธิกาลให้ได้อุเบกขาสันติรณกุศลวิบาก เป็นอเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงให้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นต่ํา กล่าวคือให้เป็นมนุษย์พิกล พิการ มีใบ้ บ้า บอด หนวก เป็นต้น หรือให้เป็นเทวดาชนิดวินิปาติกอสุรา ซึ่งจัดอยู่ใน จําพวกเทวดาผี ส่วนในปวัตติกาลนั้นให้ได้อเหตุกกุศลวิบาก ๘ เป็นผลเท่านั้น หมายถึง ได้รับอารมณ์ต่างๆ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ที่ดีอย่างสามัญ
การส่งผลของทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุกโอมโกมกกุศล ทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่า โดยธรรมาธิษฐานย่อมให้ผลเช่นเดียวกันกับทวิเหตุกโอมกกุศล ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล แต่เมื่อว่าโดยบุคลาธิษฐานมีผลต่างกันบ้างคือ ผลที่ได้รับจากทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐ กุศลนั้นดีกว่าผลของทวิเหตุกโอมกกุศล ผลที่ได้รับจากทวิเหตุกโอมโกมกะย่อมต่ํากว่าผล ของทวิเหตุกโอมกกุศล
อนึ่ง บรรดากุศลต่างๆ มีติเหตุกอุกกัฏฐกุศลเป็นต้นดังกล่าวแล้วนี้ ถ้าเป็นไปพร้อม ด้วยฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา อย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้าถึงอธิบดีแล้ว กุศลนั้นก็ให้อานิสงส์ แรงเป็นพิเศษกว่าที่เป็นไปอย่างธรรมดา หมายถึงให้มียศ มีอํานาจ มีข้าทาสบริวารพรั่ง พร้อม มีผิวพรรณวรรณะงดงาม มีอายุยืน มีสุขภาพดี มีสติ ปัญญาสมบูรณ์ ตามสมควร แก่ประเภทของกุศลนั้นๆ
อธิบายบาลีข้อที่ ๒๗ เป็นต้น จนถึงข้อที่ ๓๕ ที่แสดงถึงการส่งผลของ รูปาวจรกุศลกรรม ๕
การแสดงถึงปากัฏฐานของรูปาวจรกุศลกรรมนั้น ให้พึงเข้าใจตามอภิธัมมัตถสังคหบาลีที่ได้แสดงไว้แล้วในตอนต้น ส่วนความเป็นไปแห่งปริตตะ มัชฌิมะ ปณีตะของ รูปาวจรกุศลกรรมนั้น ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจ ๒ อย่างคือ องค์อธิบดี ๔ อย่างหนึ่ง และ การเข้าสมาบัติอย่างหนึ่ง
๑. ความเป็นปริตตะ มัชฌิมะ และปณิตะ ของฌานที่เกี่ยวเนื่องด้วยองค์อธิบดี นั้น คือตามธรรมดาผู้ที่เจริญสมถภาวนาจนถึงได้ฌานนั้น ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญาของ ผู้นั้นอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเข้าถึงความเป็นอธิบดี และเมื่อขณะที่ฌานเกิดขึ้นนั้นก็จะต้องมีองค์อธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่งประกอบอยู่ด้วยแต่ความเป็นอธิบดีของธรรมเหล่านี้ ถ้าเป็นไปอย่างสามัญแล้ว ฌานที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นปริตตฌาน คือมีอํานาจอ่อน ถ้าองค์ อธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้มีกําลังปานกลาง ฌานที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นชนิดมัชฌิมฌาน คือมีอํานาจปานกลาง และถ้าองค์อธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่งมีกําลังเข้มแข็ง ฌานที่เกิดขึ้น นั้นก็เป็นชนิดปณีตะ คือมีอํานาจสูง ฉะนั้นฌานลาภีบุคคลเมื่อได้ไปบังเกิดในรูปาวจรภูมิ จะเกิดในภูมิใดก็ต้องแล้วแต่ขั้นของฌานที่ตนได้ พร้อมทั้งอํานาจของฌานนั้นๆ ด้วย
๒. ความเป็นปริตตะ มัชฌิมะ และปณีตะ ของฌานที่เกี่ยวเนื่องด้วยการเข้าสมาบัตินั้น คือฌานลาภิบุคคล หลังจากที่ได้ฌานแล้วถ้าไม่ได้เข้าฌานอยู่เสมอๆ เพียงแต่นานๆ จะเข้าสักครั้งหนึ่ง ฉะนั้นฌานที่ตนได้นั้นก็จัดเป็นชนิดปริตตะ ถ้าเข้าฌานพอประมาณ ฌานนั้นก็จะเป็นชนิดมัชฌิมะ ถ้าเข้าฌานอยู่เสมอจนชํานาญ ฌานนั้นก็จัดเป็นชนิดปณีตะ
ความเป็นปริตตะ มัชฌิมะ และปณีตะของฌาน ตามนัยทั้ง ๒ ที่กล่าวมานี้ นัยที่ ๑ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยองค์อธิบดี ใช้เป็นเครื่องตัดสินในการที่ฌานลาภีบุคคลผู้ไปบังเกิดในรูป ภูมินั้นๆ ดังเช่น ผู้ที่ได้ปฐมฌานชนิดปริตตะก็ย่อมไปบังเกิดในพรหมปาริสัชชาภูมิ ถ้าได้ปฐมฌานชนิดมัชฌิมะก็ย่อมไปบังเกิดในพรหมปุโรหิตาภูมิ ถ้าได้ปฐมฌานชนิดปณีตะก็ย่อม ไปบังเกิดในมหาพรหมาภูมิ ดังนี้เป็นต้น
ส่วนนัยที่ ๒ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยการเข้าสมาบัตินั้น ใช้เป็นบาทในการที่ฌานลาภีบุคคล จะกระทําฌานเบื้องสูงให้ปรากฏขึ้น กล่าวคือปฐมฌานลาภี เมื่อประสงค์จะทําทุติยฌาน ต่อไปก็จะต้องเข้าปฐมฌานที่ตนได้นั้นให้ชํานิชํานาญ จนเข้าถึงความเป็นวสี ๕ อย่าง ทุติยฌานจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่เข้าปฐมฌานที่ตนได้อยู่เสมอๆ แล้ว ปฐมฌานนั้นก็จัดเป็น ปริตตะ และไม่สามารถเป็นบาทให้ทุติยฌานเกิดขึ้นได้ด้วย ถ้าปฐมฌานลาภีเข้าปฐมฌาน เสมอ แต่ยังไม่ถึงความเป็นวสี ๕ อย่าง ปฐมฌานนั้นก็จัดเป็นมัชฌิมะและก็ไม่สามารถ เป็นบาทให้ทุติยฌานเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ถ้าปฐมฌานลาภีเข้าปฐมฌานเสมอจนมีความ ชํานาญเป็นวสี ๕ อย่างแล้ว ปฐมฌานนั้นก็จัดเป็นปณีตะ และสามารถเป็นบาทให้ทุติย ฌานเกิดขึ้นได้ ในฌานต่อๆ ไปก็เป็นไปเช่นเดียวกัน
อนึ่ง ทุติยฌานกุศลและตติยฌานกุศลทั้ง ๒ ที่ส่งผลให้บังเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ นั้น มีข้อความอธิบายไว้แล้วในภาคปฏิสนธิจตุกกะ ในบาลีข้อ ๑๒ ที่ว่า “ตถา ทุติยชฺฌาน วิปากํ ตติยชุฌานวิปากญฺจ ทุติยชฺฌานภูมิยํ "
ในบาลีข้อที่ ๓๖ ที่ว่า “ปญฺจมชฺฌานํ ภาเวตฺวา เวหปฺผเลสุ” ซึ่งแปลว่า “เมื่อเจริญปัญจมฌานแล้ว ผลย่อมเกิดในเวหัปผลาภูมิ” นั้นมีความหมายว่าฌานสาภีบุคคล ที่ได้ปัญจมฌานนี้จะเป็นชนิดปริตตะ หรือมัชฌิมะ หรือปณีตะก็ตาม ย่อมไปบังเกิดในเวหัป ผลาภูมิอย่างเดียว และมีจํานวนอายุ ๕๐๐ มหากัปเท่ากัน ข้อนี้แม้ว่าผลของปัญจมฌาน ทั้ง ๓ ประเภทนี้ เมื่อว่าโดยภูมิและอายุขัยจะเหมือนกันก็จริง แต่ผลที่ต่างกันก็มีคือ ว่าโดยคุณสมบัติและทิพยสมบัติแล้ว ผู้ที่ได้ปัญจมฌานชนิดปณีตะ ย่อมมีกุศลสมบัติ คือ อํานาจ และทิพย์สมบัติสูงกว่า ประณีตกว่าชนิดมัชฌิมะและปริตตะ ผู้ที่ได้ปัญจมฌาน ชนิดมัชฌิมะ ย่อมมีคุณสมบัติและทิพยสมบัติสูงและประณีตกว่าชนิดปริตตะ และผู้ที่ได้ ปัญจมฌานชนิดปริตตะนั้น ก็ย่อมมีคุณสมบัติและทิพยสมบัติที่เป็นไปอย่างธรรมดา
ในบาลีข้อที่ ๓๗ ที่ว่า “ตเทว สัญฺญาวิราคํ ภาเวตฺวา อสญฺญสสตฺเตสุ” ซึ่งแปลว่า “เมื่อเจริญปัญจมฌานนั้นแหละ โดยปราศจากความยินดีในสัญญา คือนามธรรมแล้ว ผลย่อมเกิดในอสัญญสัตตาภูมิ” ข้อนี้หมายความว่ามนุษย์และเทวดาที่เป็นปุถุชน หลังจากที่ได้จตุตถฌานแล้วมีการพิจารณาเห็นโทษของนามธรรมว่า ทุกข์ต่างๆ มีความเดือดร้อนใจ ความเสียใจ ความหลง ความไม่สบายต่างๆ เป็นต้นเหล่านี้ก็เนื่องมาจากความจำ ความรู้สึกนั้นเอง ความจํา ความรู้สึกเหล่านี้เสมือนหนึ่งเป็นแผลหรือเป็นโรคที่ร้ายแรง ผู้ที่ได้ พ้นไปจากทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวนี้ ย่อมกล่าวได้ว่า ผู้นั้นได้เข้าถึงทิฏฐธัมมนิพพาน เมื่อฌาน สาภีบุคคลมีความเห็นเช่นนี้แล้วก็นึกพิจารณาถึงโทษของความจํา ความรู้สึกเหล่านี้ว่า “สญฺญาคณฺโฑ สญฺญาโรโค” “ความจํา ความรู้สึกเหล่านี้เหมือนแผล เหมือนโรคที่ร้าย แรง” และหลังจากที่นึกเห็นโทษแล้ว จตุตถฌานลาภก็ปรารถนาภพ ชาติ ที่ปราศจาก นามธรรมแล้วก็ตั้งต้นเพ่งวาโยกสิณเพื่อให้ปัญจมฌานเกิด
การบําเพ็ญเพื่อละนามธรรมนี้ แม้จตุตถฌานลาที่จะสําเร็จมาด้วยการเพ่งกสิณอย่าง ใดก็ตาม แต่เมื่อปรารถนาจะได้ภพ ชาติ ที่ปราศจากนามธรรมแล้ว จะต้องได้ปัญจมฌาน ที่สําเร็จมาจากการเพ่งวาโยกสิณเสมอไป มีอาจารย์บางท่านกล่าวว่าปัญจมฌานที่สําเร็จ มาจากการเพ่งอากาสกสิณก็ย่อมทําให้สําเร็จประโยชน์ได้เหมือนกัน
เมื่อปัญจมฌานเกิดขึ้นแล้ว ปัญจมฌานนั้นได้ชื่อว่าเกิดขึ้นพร้อมด้วยสัญญาวิราคภาวนา และเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปบังเกิดในอสัญญสัตตาภูมิ โดยการปฏิสนธิด้วยรูป อันได้แก่ ชีวิตนวกกลาป ส่วนในปวัตติกาลนั้น ชีวิตนวกกลายนั้นแหละเป็นองค์รักษาภพ และเมื่อจุติชีวิตนวกกลาปก็ทําหน้าที่จุติเช่นเดียวกัน สําหรับร่างกายของอสัญญสัตตพรหมเหล่านี้มีอริยาบถต่างกัน แล้วแต่เมื่อขณะที่ปัญจมฌานลาภตายนั้นตายในอิริยาบถใด ถ้านั่งตายเมื่อไปเกิดเป็นอสัญญสัตตพรหมก็อยู่ในท่านั่ง ถ้ายืนตายก็ ไปเกิดในท่ายืน หรือถ้านอนตายก็ไปเกิดในท่านอน ดังนี้
อธิบายในบาลีข้อที่ ๓๘ ที่ว่า “อนาคามิโน ปน สุทฺธาวาเสสุ อุปฺปชฺชนฺติ” “พระอนาคามีบุคคลที่ได้ปัญจมฌานเท่านั้น ย่อมเกิดในชั้นสุทธาวาสภูมิ ๕”
เมื่อพิจารณาความเฉพาะบาลีในข้อนี้แล้ว ก็ทําให้เข้าใจไปได้สองแง่ว่า ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิทั้งหมด หรือผู้ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามีเหล่านั้นจะได้ฌานขั้นไหนก็ตามเมื่อตายแล้วก็ย่อมไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิทั้งหมดเช่นเดียวกัน แต่ในที่นี้จะต้องพิจารณาในแง่การแสดงถึงเรื่องฌาน และภูมิไปตามลําดับ ดังที่ได้แสดงมาแล้วในตอนต้นเป็นลําดับว่า
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของปฐมฌานนั้น ได้แก่ปฐมฌานภูมิ ๓
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของทุติยฌานและตติยฌานนั้น ได้แก่ทุติยฌานภูมิ ๓
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของจตุตถฌานนั้น ได้แก่ตติยฌานภูมิ ๓
ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ผลของปัญจมฌานนั้น ได้แก่จตุตถฌานภูมิ ๓
แต่ในจตุตถฌานภูมิ ๓ อันเป็นผลของปัญจมฌานนี้ มีฐานะไม่เสมอกันได้แบ่งออก เป็น ๓ ประเภท คือผู้ที่ได้ปัญจมฌานอย่างธรรมดาย่อมไปเกิดในเวหัปผลาภูมิ และไม่ จํากัดประเภทบุคคล คือเป็นติเหตุกปุถุชนก็ได้ เป็นผลเสกขบุคคล ๓ ก็ได้ ผู้ที่ได้ปัญจม ฌานที่ประกอบกับสัญญาวิราศภาวนานั้นย่อมไปเกิดในอสัญญสัตตาภูมิ และต้องเป็นเฉพาะแต่ติเหตุกปุถุชนเท่านั้น เพราะธรรมดาอริยบุคคลทั้งหลายนั้นย่อมไม่เจริญฌานที่ ประกอบกับสัญญาวิราศภาวนา ส่วนจตุตถฌานภูมิที่เหลืออีก ๕ อันได้แก่สุทธาวาสภูมิ นั้นแม้ว่าจะป็นผลของปัญจมฌานก็จริง แต่เมื่อว่าโดยบุคลที่จะไปเกิดแล้วย่อมจํากัดบุคคล คือ ต้องเป็นพระอนาคามีเท่านั้น บุคคลนอกนั้นไปเกิดในสุทธาวาสภูมิไม่ได้ ดังนั้นพระ อนุรุทธาจารย์จึงแสดงว่า “อนาคามิโน ปน สุทธาวาเส อุปปชฺชนฺติ” และบาลีข้อนี้ ถ้าแสดงโดยสมบูรณ์แล้วจะต้องแสดงว่า “อนาคามิโน ปน ปญฺจมชฺฌานํ ภาเวตวา สุทฺธาวาเสสุ อุปปชุชนฺติ” ซึ่งมีความหมายว่า “พระอนาคามีบุคคลเท่านั้น เมื่อใดเจริญปัญจมฌานให้เกิดขึ้นแล้วย่อมไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิ ๕”
ในการที่มีข้อจํากัดว่า บุคคลที่จะไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติ คือ ต้องเป็นพระอนาคามีด้วยต้องสําเร็จปัญจมฌานด้วย และต้องมีอินทรีย์ทั้ง ๕ อย่าง ใดอย่างหนึ่งแก่กล้าเป็นพิเศษด้วย จึงจะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิได้ ถ้าพระอนาคามีที่ได้ปัญจมฌาน แต่มีอินทรีย์ ๕ เป็นไปอย่างธรรมดาแล้ว พระอนาคามีเหล่านี้ก็ไปบังเกิดใน เวหัปผลาภูมิไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ เพราะในสุทธาวาสภูมินี้มีคุณสมบัติเป็นที่แน่นอนอยู่ ๔ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิๆ ใดภูมิหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ไปเกิดในรูปภูมิอื่นๆ หรือในอรูปภูมิ
๒. ย่อมไม่เกิดภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก
๓. เมื่อตายจากสุทธาวาสภูมิที่ตนเกิดอยู่แล้ว ย่อมไม่ไปเกิดในภูมิที่ต่ำกว่าต้อง ไปเกิดในภูมิที่สูงกว่า
๔. ต้องได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ ภายในสุทธาวาสภูมินั้นเอง
สําหรับในอกนิฏฐาภูมินั้น มีคุณสมบัติพิเศษอีกข้อหนึ่ง คือพระอนาคามีที่อยู่ใน อกนิฏฐาภูมินี้ จะต้องได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ในภพนั้นเอง
อนึ่ง การไปเกิดในสุทธาวาสภูมิของปัญจมฌานลาภีอนาคามีนี้ มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า ถ้าพระอนาคามีบุคคลผู้นั้นมีสัทธินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ แล้วก็ไปเกิดใน ชั้นอวิหาภูมิ ถ้ามีวิริยินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในชั้นอตัปปาภูมิ ถ้ามีสตินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในสุทัสสาภูมิ ถ้ามีสมาธินทรีย์แก่ กล้าเป็นพิเศษกว่าอินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในสุทัสสีภูมิ ถ้ามีปัญญินทรีย์แก่กล้าเป็นพิเศษกว่า อินทรีย์อื่นๆ ก็ไปเกิดในอกนิฏฐาภูมิ
ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามีแล้วไม่ได้ไปเกิดในพรหมภูมิมีหรือไม่?
ผู้ที่ได้สําเร็จเป็นพระอนาคามีแล้วย่อมไปเกิดในพรหมภูมิทั้งหมด แม้ว่าพระอนาคามี ผู้นั้นจะเป็นสุกขวิปัสสก คือไม่ได้ทําฌานให้เกิดขึ้นมาก่อนก็ตาม แต่เมื่อเวลาที่ใกล้จะตายนั้น ฌานย่อมเกิดขึ้นเองด้วยอาศัยอํานาจแห่งสมาธิ เพราะธรรมดาฌานจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยมีสมาธิเป็นกําลังอันสําคัญ และศัตรูของสมาธินั้นก็ได้แก่กามฉันทนิวรณ์ ด้วย เหตุนี้พระอนาคามีผู้ซึ่งประหาณกามราคะได้โดยเด็ดขาดแล้วนั้น จึงไม่มีกามฉันทนิวรณ์ ที่เป็นศัตรูของสมาธิ ดังนั้นสมาธิของพระอนาคามีทั้งหลายจึงมีกําลังแก่กล้าเป็นพิเศษ สามารถทําให้ฌานเกิดขึ้นโดยฉับพลันได้
ถ้ามีคําถามๆ ว่า สุกขวิปัสสกพระอนาคามีถูกฆ่าตายในขณะที่กําลังนอนหลับอยู่พระอนาคามีผู้นั้นจะมีฌานเกิดขึ้นหรือไม่? ข้อนี้ตอบว่าฌานเกิดขึ้นได้เพราะพระอนาคามีนั้น มีสมาธิเป็นประจําอยู่เสมอแล้ว และสมาธินี้ก็มีกําลังมากเข้าถึงขั้นอุปจารสมาธิ อีกประการหนึ่งผู้ที่ปราศจากกามราคะนี้ย่อมมีจิตเบื่อหน่ายต่อภูมิที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ย่อมน้อมไปสู่ภูมิที่ปราศจากกามคุณอารมณ์อยู่เสมอ ฉะนั้นพระอนาคามีบุคคลแม้ว่าจะสิ้น ชีพลงในกะทันหันก็ตาม แต่ก่อนที่จุติจิตจะเกิดนั้นฌานย่อมเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงจุติ เมื่อจุติแล้วก็ไปเกิดในพรหมภูมิ แต่จะเกิดในพรหมชั้นไหนนั้นก็ต้องแล้วแต่ฌานที่เกิดขึ้น ถ้าฌานที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฐมฌานก็ไปเกิดในปฐมฌานภูมิ ถ้าเป็นทุติยฌาน หรือตติยฌานก็ไปเกิดในทุติยฌานภูมิเป็นต้น
อนึ่ง พวกเทวดาชั้นสูงตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์เป็นต้นไป ที่ได้สําเร็จเป็นพระอนาคามีนั้น ย่อมมีความเบื่อหน่ายต่อสถานที่ที่ตนอยู่ เพราะเป็นสถานที่ที่แวดล้อมไปด้วยกามคุณ อารมณ์ ดังนั้น เมื่อได้พิจารณาถึงอายุขัยของตน ถ้าอายุขัยของตนนั้นยังเหลืออยู่เป็น เวลานานแล้ว ก็มีการกระทําอธิมุตติกาลังกิริยาคือ อธิษฐานว่าขอให้วิบากนามขันธ์และ กัมมชรูปของเรานี้จงอย่าเกิดอีกต่อไป แล้วก็กลั้นลมหายใจตายเพื่อได้ไปบังเกิดในพรหม โลกอันเป็นสถานที่ที่สงบจากกามคุณอารมณ์ เมื่อขณะที่ใกล้จะจุติฌานก็ได้เกิดแก่พระอนาคามีนั้น และฌานที่เกิดขึ้นแก่พระอนาคามีประเภทสุกขวิปัสสกะนี้ เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน ทั้งสิ้น
อธิบายในบาลีข้อที่ ๓๙ ที่แสดงถึงการส่งผลของอรูปาวจรกุศลกรรม ๔
ในอรูปาวจรกุศลกรรม ๔ นั้น อากาสานัญจายตนกุศลกรรม ย่อมส่งผลให้ อากาสานัญจายตนวิบากเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ
วิญญาณัญจายตนกุศลกรรม ย่อมส่งผลให้วิญญาณัญจายตนวิบากเกิดใน วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนกุศลกรรม ย่อมส่งผลให้อากิญจัญญายตนวิบากเกิดใน อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลกรรมย่อมส่งผลให้เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากเกิด ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
เหล่านี้เป็นการอธิบายในการเกิดขึ้นแห่งผลของอรูปาวจรกุศลกรรม ๔ ที่เป็นไปตามล่าดับ ดังทีบาลีแสดงว่า “ยถากฺกมํ อุปฺปชฺชนฺติ"
หญิงที่ได้ฌานสมาบัติ เมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นพรหมพวกไหน?
ความเป็นอยู่ในพรหมโลกนับตั้งแต่ปฐมฌานภูมิเป็นต้น จนถึงสุทธาวาสภูมิ ๕ ใน ภูมิหนึ่งๆ นั้นมีพรหมอยู่ ๓ จําพวก คือปาริสัชชาพรหมพวกหนึ่ง ปุโรหิตาพรหมพวกหนึ่ง มหาพรหมพวกหนึ่ง ในพรหม ๓ จําพวกนี้ ปาริสัชชาพรหม และปุโรหิตาพรหม ๒ พวกนี้ เป็นบริวารของมหาพรหม หญิงที่ได้ฌานสมาบัติ ๘ หรือ ๙ จะเป็นปุถุชนหรืออริยะก็ตาม เมื่อไปบังเกิดในพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่งแล้ว จะเป็นมหาพรหมไม่ได้ เป็นได้แต่ชั้นปาริสัชชาพรหม และปุโรหิตาพรหมเท่านั้น เช่นเดียวกันกับหญิงที่ไปเกิดเป็นเทวดา ก็เป็นเทวดาชั้นหัวหน้า เช่น เป็นพระอินทร์หรือเป็นพระยามารไม่ได้ ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทน์และสังยุตตอรรถกถาว่า
“อิตฺถิโยปี ปน อริยา วา อนริยา อปี อฏฺฐสมาปติลาภินิโย พฺรหฺมปาริสชฺเชสเยว นิพฺพตฺตนฺติ”
“หญิงทั้งหลาย ที่ได้สมาบัติ ๘ เหล่านี้ เป็นอริยะหรือปุถุชนก็ตาม ย่อมไปเกิด เป็นพรหมที่เป็นบริษัทบริวารของมหาพรหมเท่านั้น”
“ยํ อิตฺถี สกุกตฺตํ กเรยฺย มารตฺตธ กเรยฺย พฺรหฺมตฺตํ กเรยฺย, เนตํ ฐานํ วิชฺชติ, พฺรหฺมตุตนฺติ มหาพฺรหฺมตฺตํ อธิปฺเปตํ” “หญิงใดโดยอาศัยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไปเกิดเป็นท้าวสักกเทวราชหรือพระยามาร หรือท้าวมหาพรหมเหตุ อันนั้นย่อมไม่มีเลย” ที่กล่าวว่าเป็นพรหมนั้น หมายเอาท้าวมหาพรหมนั้นเอง
คําว่า “พฺรหฺมปาริสชฺเซส” ในบาลีข้อที่ ๑ นั้น พรหมปุโรหิตาก็จัดเข้าอยู่ในนี้ด้วย เพราะพรหมปุโรหิตานี้ก็เป็นบริษัทบริวารของมหาพรหมด้วยเหมือนกันทั้งพระพุทธองค์ ก็เคยทรงเรียกพรหมปุโรหิตานี้ว่า “พฺรหฺมปริสา” ก็มี ซึ่งหมายถึงพรหมปุโรหิตานั้นเอง
สําหรับในเนตติพระบาลีท่านได้แสดงไว้อย่างชัดเจนว่า “อิตฺถี มหาพฺรหฺมา สิยา, เนตํ ฐานํ วิชฺชติ” “โดยอาศัยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว หญิงที่ได้ฌานสมาบัติไปเกิด เป็นมหาพรหมเหตุอันนั้นย่อมไม่มีเลย” ในพระบาลีนี้มีความชัดอยู่แล้วว่า หญิงที่ได้ ฌานสมาบัติไปเกิดเป็นมหาพรหมไม่ได้เท่านั้น ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าย่อมไปเกิดเป็นพรหม ๒ พวกที่เหลือได้
อนึ่ง ในการที่หญิงไปเกิดเป็นมหาพรหมไม่ได้นั้น ก็เพราะเหตุว่าอธิบดีทั้ง ๔ ที่เกิด ขึ้นกับหญิงนั้น ย่อมมีกําลังไม่เข้มแข็งเหมือนกับอธิบดีที่เกิดขึ้นกับชาย ด้วยเหตุนี้ฌานที่เกิดขึ้นกับหญิงนั้นจะเป็นฌานไหนก็ตาม ย่อมได้เพียงแค่ปริตตฌานหรือมัชฌิมฌานเท่านั้น ไม่เป็นไปถึงขั้นปณีตฌานเลย และอีกประการหนึ่งเพศหญิงนั้นจัดเป็นเพศที่ต่ํากว่าเพศชาย ฉะนั้น จึงไปเกิดเป็นมหาพรหมไม่ได้ ไม่ว่าภูมิไหนก็ตาม
การเกิดของฌานลาบุคคล ที่เป็นไปตามอํานาจของนิกันติตัณหาและเจโตปณิธิ
ในบาลีที่ได้แสดงไว้ข้างต้นว่า “ปฐมชฺฌานํ ปริตฺตํ ภาเวตฺวา พฺรหฺมปารีสชฺเชส อุปฺปชฺชติ” เป็นต้น ซึ่งแปลว่า “เมื่อเจริญปฐมฌานอย่างต่ำแล้ว ผลย่อมเกิดในพรหม ปาริสัชชาภูมิ” เป็นต้นนั้น การแสดงเช่นนี้เป็นการแสดงที่หมายถึงความเป็นไปตาม ธรรมดาของฌานนั้นๆ แต่ถ้าฌานลาบุคคลนั้นมีนิกันติตัณหา หรือเจโตปณิธิแล้ว การไป เกิดในภูมิต่างๆ ก็ไม่เป็นที่แน่นอน แล้วแต่นิกันติตัณหา หรือเจโตปณิธิของตน คําว่า นิกันติตัณหา หมายถึงมีความติดใจในภูมิที่ตนเคยเกิดมาแล้วหลายๆ ชาติ คําว่า เจโตปณิธิ หมายถึงมีจิตปรารถนาในภูมินั้นๆ ที่เป็นไปด้วยอํานาจฉันทะ ดังเช่นฌาน ลาภีที่เป็นปุถุชนเมื่อเวลาใกล้จะตายมีนิกันติตัณหาในเทวภูมิใดภูมิหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ฌานที่ ได้นั้นก็เสื่อมลง ฉะนั้นเมื่อเวลาตายก็ไปเกิดในเทวภูมินั้นๆ ไม่ไปเกิดในพรหมภูมิ
มนุษย์ เทวดา ที่สําเร็จเป็นโสดาบันหรือสกทาคามี เมื่อได้ฌานแล้วนิกันติตัณหา หรือเจโตปณิธิที่เกี่ยวกับกามสุคติภูมินั้นย่อมไม่มี เพราะฌานสมาธิของพระอริยบุคคลนี้ มั่นคงยิ่งกว่าฌานสมาธิของปุถุชน ฉะนั้นฌานจึงเสื่อมไม่ได้ ท่านเหล่านี้เมื่อตายแล้วจึง ไปเกิดในพรหมภูมิๆ ใดภูมิหนึ่งแล้วแต่ฌานของตน เว้นอสัญญสัตตาภูมิและสุทธาวาสภูมิ และเมื่อเกิดเป็นพรหมแล้ว แม้ยังไม่ได้เป็นพระอนาคามีก็ไม่กลับมาเกิดในกามสุคติภูมิอีก ด้วยเหตุนี้พรหมอริยะ ๒ พวกนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นฌานอนาคามีก็ได้
ปุถุชนหรือโสดาบัน สกทาคามี ที่เป็นมนุษย์ เทวดา ที่ได้สมาบัติ ๘ หรือ ๙ นั้น ถ้ามีเจโตปณิธิ ในพรหมภูมิใดภูมิหนึ่งที่นอกจากอสัญญสัตตาภูมิ และสุทธาวาสภูมิแล้ว เมื่อตายลงก็ไปเกิดในภูมิที่ตนปรารถนานั้นๆ ได้
มนุษย์ เทวดา ที่สําเร็จเป็นพระอนาคามี ที่ได้สมาบัติ ๘ หรือ ๙ ถ้ามีเจโตปณิธิ ในพรหมภูมิใดภูมิหนึ่ง ที่นอกจากอสัญญสัตตาภูมิแล้ว เมื่อตายลงก็ไปเกิดในภูมิที่ตน ปรารถนานั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน คือพระอนาคามีนั้นถ้าปรารถนาไปเกิดในปฐมฌานภูมิหรือ สุทธาวาสภูมิ หรืออรูปภูมิ ดังนี้แล้วก็ย่อมไปเกิดในภูมิที่ตนปรารถนานั้นๆ ได้ ดังนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ว่า “อิชุฌติ ภิกฺขเว สีลวโต เจโตปณิธิ วิสุทฺธตตา” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาของผู้มีศีลย่อมสําเร็จเพราะเป็นความประสงค์ของผู้ มีจิตบริสุทธิ์”
สําหรับพรหมอริยะที่เป็นโสดาบัน สกทาคามี เหล่านี้ อย่าว่าแต่จะมาเกิดในกามสุคติภูมิเลย แม้แต่ในพรหมภูมิที่ชั้นต่ํากว่าก็ย่อมไม่มาบังเกิด
พระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาสภูมินั้น ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิที่ต่ำกว่าและไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่ ฉะนั้นเมื่อยังไม่ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ย่อมเกิดเลื่อนชั้นขึ้นไปตาม ลําาดับ ถ้าสําเร็จเป็นพระอรหันต์ในชั้นไหนก็ปรินิพพานในชั้นนั้น สําหรับพระอนาคามีที เกิดอยู่ในอกนิฏฐาภูมินั้น ย่อมไม่มีการย้ายไปภูมิอื่นๆ อีก และทั้งไม่มีการเกิดภูมิ ต้อง ปรินิพพานในภูมินั้นแน่นอน
พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ที่เกิดอยู่ในเวหัปผลาภูมิและเนว สัญญานาสัญญายตนภูมินั้น เมื่อยังไม่ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ย่อมไม่เกิดย้ายภูมิต้องเกิด อยู่ในภูมินั้นจนกว่าจะสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น ท่านฎีกาจารย์จึงแสดงไว้ว่า
๑. เวหาปฺผเล อกนิฏฺเฐ ภวคฺเค จ ปติฏฺฐิตา
น ปุนาญฺญตฺถ ชายนฺติ สพฺเพ อริยปุคฺคลา ฯ
๒. น ปุน ตตฺถ ชายนติ สพฺเพปิ สุทฺธวาสิกา
พฺรหฺมโลกคคา เหฎฺรา อริยา โนปปชฺชเรติ ฯ
๑. “พระอริยบุคคลทั้งหลายที่เกิดอยู่ในเวหัปผลาภูมิ อกนิฏฐาภูมิ และยอดภูมิคือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เหล่านี้ย่อมไม่เกิดในภูมิอื่นๆ อีก”
๒. “สุทธาวาสพรหมทั้งหมด ก็ย่อมไม่เกิดในภูมิที่ตน เกิดอยู่อีกพระอริยบุคคลที่เกิดอยู่ในพรหมภูมิทั้งหมด ย่อมไม่เกิดในภูมิเบื้องต่ำ"
อธิบายพิเศษในการส่งผลของทุติยฌานกุศล และตติยฌานกุศล
เมื่อพิจารณาถึงภูมิอันเป็นที่ให้ผลเกิดของทุติยฌานกุศลกับตติยฌานกุศลแล้วเป็น ภูมิเดียวกันคือทุติยฌานภูมิ ดังนั้นเมื่อว่าตามหลักแล้ว ผู้ที่ได้ทุติยฌานอย่างประณีตเมื่อ ตายแล้วก็ไปเกิดในอาภัสสราภูมิ ผู้ที่ได้ตติยฌานอย่างปริตตะเมื่อตายแล้วก็ไปเกิดเพียง แค่ปริตตาภาภูมิ เช่นนี้ก็น่าสงสัยว่าทําไมผู้ที่ได้ตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่สูงกว่าทุติยฌาน นั้นจึงได้รับผลต่ํากว่าทุติยฌาน ทั้งนี้เพราะเหตุใด? ข้อนี้อธิบายว่ากําลังและคุณสมบัติ ของทุติยฌานกุศลกับตติยฌานกุศล ทั้ง ๒ นี้มีเสมอกัน ที่ต่างกันก็คือการเกิดขึ้นกับการระหาณองค์ฌาน กล่าวคือฌานที่เกิดขึ้นครั้งที่ ๒ ได้ชื่อว่าทุติยฌานและมีการประหาณ วิตก ฌานที่เกิดขึ้นครั้งที่ ๓ ได้ชื่อว่าตติยฌาน และมีการประหาณวิจารความต่างกันดัง กล่าวมานี้ก็เป็นไปเนื่องด้วยบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่ต่างกันโดยอํานาจหรือคุณสมบัติ หมาย ความว่าฌานลาที่ผู้นั้นถ้าเป็นมันทบุคคลแล้ว การเกิดขึ้นของฌานและการประหาณองค์ ฌานก็แยกออกเป็น ๒ ฌานดังกล่าวแล้ว ถ้าฌาณลาภีผู้นั้นเป็นตึกขบุคคลการเกิดขึ้นของ ฌาน และการประหาณองค์ฌานนั้น ก็ไม่มีการแยกออกเป็น ๒ ครั้ง คือฌานที่เกิดขึ้น เป็นครั้งที่ ๒ ชื่อว่าทุติยฌานนั้นมีการประหาณวิตก วิจารไปพร้อมกัน ฌานที่เกิดขึ้นครั้ง ที่ ๓ มีหน้าที่ประหาณปีติ ชื่อว่าตติยฌาน ฌานที่เกิดขึ้นครั้งที่ ๔ มีหน้าที่ประหาณสุข ชื่อว่าจตุตถฌาน เป็นอันว่าจบรูปฌาน เรียกว่าจตุกกนัย ด้วยเหตุนี้กําลังและคุณสมบัติ ของทุติยฌาน และตติยฌานจึงไม่ต่างกัน แต่ถ้าฌานลาภีที่เป็นมันทบุคคลด้วยกัน คนหนึ่ง ได้ทุติยฌานอย่างประณีต อีกคนหนึ่งก็ได้ตติยฌานอย่างประณีต แล้วก็ย่อมไปเกิดใน อาภัสสราภูมิด้วยกัน
กัมมจตุกกะ ในปริจเฉทที่ ๕ จบ
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว