หลวงปู่ดูลย์ อตุโล บรรลุสกทาคามี แยกจิตออกจากกิเลส

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล บรรลุสกทาคามี แยกจิตออกจากกิเลส

คำสอนพระอริยเจ้า

พระราชวุฒจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้เอง แม้จะเป็นพรรษาแรก ของการปฏิบัติกัมมัฎฐานก็ตาม แต่ด้วยความพยายามและด้วยปณิธานอันแน่วแน่ไม่ลดละ ผลแห่งการปฏิบัติก็เริ่มบังเกิดขึ้นอย่าง เต็มภาคภูมิ

กล่าวคือ ในระหว่างที่นั่งภาวนาซึ่งเริ่มตั้งแต่หัวค่ำไปจนถึง ตอนดึกสงัด จิตของท่านค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบ เกิดความปีติชุ่ม เย็น แล้วเกิดนิมิตที่ชัดเจน คือได้เห็นองค์พระพุทธรูปปรากฎขึ้นใน ตัวท่าน สวมทับร่างของท่านได้สัดส่วนพอดี จนดูประหนึ่งว่าท่านเอง เป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง

ท่านพยายามพิจารณารูปนิมิตนั้นต่อไปอีก ก็จะเห็นเป็นอย่าง นั้นอยู่ตลอด แม้กระทั่งออกจากสมาธิแล้ว รูปนิมิตนั้นก็ยังเห็นติดตา อยู่อย่างนั้น จนกระทั่งเช้าได้เดินออกบิณฑบาตสู่ละแวกบ้านของชาว บ้านแถบนั้น นิมิตก็ยังปรากฏอยู่เช่นนั้น ท่านสังเกตดูนิมิตนั้นไป เรื่อยๆ โดยไม่ได้ปริปากบอกใครเลย

ขณะเดินทางกลับจากบิณฑบาต ก่อนที่รูปนิมิตนั้นจะหายไป หลวงปู่ได้พิจารณาถึงตัวท่านเอง ก็ปรากฏเห็นกระดูกทุกสัดส่วน อย่างชัดเจน ด้านนอกมีเนื้อ และหนังหุ้มพันเอาไว้ เมื่อเพ่งพิจารณา ต่อ ก็เห็นว่ากระดูก และเนื้อหนังเหล่านั้นล้วนแต่ประกอบด้วยธาตุ ทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นเอง

เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้น ท่านเกิดความรู้สึกไม่อยากฉัน อาหารในวันนั้น แต่รู้สึกอิ่มเอิบจากการที่จิตเป็นสมาธิ จึงทำความ เพียรต่อไปก็ปรากฏว่ารูปนิมิตนั้นหายไป พอออกจากสมาธิแล้วปรากฎว่าฤทธิ์ไข้ที่ท่านเป็นอยู่ก็หายไปสิ้น เหมือนถูกปลิดทิ้งไปตั้งแต่นั้น นี่คือความมหัศจรรย์ !

หลวงปู่เร่งกระทำความเพียรต่อไปอีก โดยเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้างสลับกันไปตลอดทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ด้วยอาศัยความอิ่มเอิบแห่งจิตที่เป็นสมาธิ

เมื่อจิตสงบได้ที่ พลันก็บังเกิดแสงแห่งพระธรรมปรากฏแก่ จิตของท่านอย่างแจ่มแจ้ง จนกระทั่งท่านสามารถแยกจิตกับกิเลส ออกจากกันได้

รู้ได้ชัดเจนว่า อะไรคือจิต และอะไรคือกิเลส
จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต
และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังรู้ได้อย่างแจ่มแจ้งด้วยว่า "กิเลสส่วน ไหนละได้แล้ว และส่วนไหนบ้างที่ยังละไม่ได้ (ปัจจเวกขณญาณ)"

 

ในครั้งนั้น หลวงปูยั่งไม่ได้เล่าให้ใครฟังนอกจากบอกหลวงปู่ สิงห์ให้ทราบเพียงว่า จิตของท่านเป็นสมาธิเท่านั้น ซึ่งหลวงปู่สิงห์ก็ ชมว่า “ท่านมาถูกทางแล้ว” และอนุโมทนาสาธุด้วย

หลวงปู่รู้สึกบังเกิดความแจ่มแจ้งในตนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน รอให้ถึงเวลาออกพรรษา จะได้ไปกราบเรียนให้พระอาจารย์ ใหญ่ทราบ และขอคำแนะนำในการปฏิบัติขั้นต่อไป กราบนมัสการหลวงปู่มั่น

กาลเวลาที่รอคอยได้มาถึง เมื่อออกพรรษาในปีนั้น ซึ่งเป็นปี พ.ศ. ๒๔๖๕ พระที่จำพรรษา ณ เสนาสนะป่าท่าคันโท กาฬสินธุ์ ต่างก็แยกย้ายกันเดินธุดงค์ต่อไปเพื่อตามหาพระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่ดูลย์ ร่วมธุดงค์ไปกับหลวงปู่สิงห์ แล้วต่อมาก็แยกทางกันต่างองค์ต่างก็มุ่งตามหาพระอาจารย์ใหญ่ตามประสงค์

หลวงปู่ออกจาริกตามลำพังมาถึง หนองหาร จังหวัดสกลนคร แวะไปพำนักที่เกาะเกต อันถือกันในหมู่พระธุดงค์ว่าเป็นแดนแห่งความขลังและอาถรรพ์แรง ชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เกรงกลัวไม่กล้าเข้าไป และก็ขอร้องไม่ให้หลวงปู่เข้าไป เกรงท่านจะไม่ปลอดภัย

แต่หลวงปู่ของเรา กลับเห็นว่าสถานที่แห่งนั้นเหมาะสมที่จะบำเพ็ญภาวนาเพราะเป็นที่สงบสงัด ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปรบกวน เหมาะสมยิ่งนักที่จะตรวจสอบความแข็งแกร่งของจิต

หลวงปู่พำนัก ณ สถานที่แห่งนั้นหลายวัน แล้วจึงเดินทางต่อไปจนถึง บ้านตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน สกลนคร สอบถามชาวบ้านได้ความว่ามีพระธุดงค์จำนวนมากชุมนุมในป่าใกล้ๆ หมู่บ้านนั่นเอง หลวงปู่รู้สึกยินดีอย่างมากคิดว่าต้องเป็น พระอาจารย์ใหญ่มั่น อย่างแน่นอน

หลวงปู่รีบรุดไปสถานที่แห่งนั้น และพบว่าเป็นความจริง เห็นหลวงปู่สิงห์และพระรูปอื่นๆ นั่งด้วยอาการสงบ แวดล้อมพระอาจารย์ใหญ่อยู่

พระอาจารย์ใหญ่หันมาทางหลวงปู่ แล้วบอกแก่คณะว่า “โน้นๆ ท่านดูลย์มาแล้ว! ท่านดูลย์มาแล้ว!”

หลวงปู่มีความปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับรำพึงในใจว่า "ด้วยอำนาจพระพุทธคุณ ประสงค์อย่างไรก็สำเร็จอย่างนั้น”

หลวงปู่เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์ใหญ่ด้วยความเคารพอย่างสุตซึ้ง ได้สนทนาธรรมกันอยู่นานพอสมควร โดยพระอาจารย์ใหญ่เป็นผู้สอบถามและหลวงปู่ดูลย์เป็นผู้กราบเรียน

ถึงตอนหนึ่งหลวงปู่ดูลย์กราบเรียนพระอาจารย์ใหญ่ว่า

"เดี๋ยวนี้กระผมเข้าใจแล้ว กระผมได้ทำความรู้จักกับกิเลสของกระผมได้ดีแล้ว คือ ถ้ารวมกันทั้งหมดแล้วแบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง กระผมละได้เด็ดขาดแล้ว ส่วนที่สองกระผมละได้ครึ่งหนึ่ง และส่วนที่สามกับส่วนที่สี่ กระผมยังละไม่ได้ขอรับ (ปัจจเวกขณญาณ)"

เมื่อได้ยินดังนั้น พระอาจารย์ใหญ่จึงเอ่ยว่า “เก่งมาก ฉลาดมาก ที่สามารถรู้จักกิเลสของตนเอง และการปฏิบัติที่ผ่านมา ที่เล่าบอกนั้น ก็เป็นการถูกต้องดีแล้ว”

จากบทสนทนานี้ แสดงให้เห็นว่า การบำเพ็ญเพียรตามแนวคำสอนของพระพุทธองค์ก็คือ การค้นหาความจริงของตนเอง เป็นการมองลึกลงไปในสภาพตัวตนที่เป็นจริงของตน และอีกประการหนึ่งเป็นการค้นหาสภาพความเป็นจริงแห่งกองทุกข์ นั่นคือกิเลส

เพราะหากไม่รู้จักตนเอง และไม่รู้จักกิเลส ก็ไม่รู้จักกองทุกข์ คือไม่รู้จักกองทุกข์ ก็ไม่สามารถดับทุกข์ให้หมดสิ้นไปได้ เป้าหมายสูงสุดคือสามารถดับทุกข์อย่างชนิดไม่มีเหลืออยู่เลย

พระอาจารย์ใหญ่ และหลวงปู่ดูลย์ ได้สนทนาธรรมกันด้วยความเคร่งเครียด จริงจัง แล้วพระอาจารย์ใหญ่ก็มอบการบ้านให้หลวงปู่ไปพิจารณา ความเป็นอนิจจังของสังขาร และภาวะแห่งการแปรเปลี่ยน โดยเริ่มจากกายและสังขารแห่งตน

โดยพระอาจารย์ใหญ่ได้บอกเป็นคำบาลีเป็นการบ้านให้หลวงปู่นำไปพิจารณาว่า “สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา” นี่คือการบ้านที่พระอาจารย์ใหญ่มอบให้หลวงปู่ก่อนการอำลาในครั้งนั้น

ทักขิไณยบุคคล
รูปประกอบจากหนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)


พิมพ์