พระพุทธปริตร (ภาคพิสดาร) ชยะมังคลอัฏฐกะคาถา (คาถาพาหุง ๘ ชัยมงคล : พร้อมอรรถาธิบาย) ผู้เขียน ปัญญา ใช้บางยาง และคณะ
“ปริตต” (อ่านว่า ปะ-ริด-ตะ-หรือ ปริตร, ปะ-ริด) แปลได้หลายอย่าง เช่น ปริตร, ปริตต์, เครื่องคุ้มครอง, เครื่องคุ้มครองป้องกัน, การคุ้มครองรักษา สําหรับในที่นี้หมายถึง เครื่องคุ้มครองป้องกัน หรือการป้องกัน หรือการคุ้มครองรักษา
ศัพท์ว่า “ปริตต” พึงทราบว่า โดยทั่ว ๆ ไปท่านใช้ในความหมายว่า “ป้องกัน” เช่น “เอว์ เม ปริตตาตูน, ปศุสุปิ โส มหตุตก์ (แปลว่า) ครั้น (พญาวานรนั้น) ให้ข้าพเจ้า (คนผู้ที่ลิง ช่วยขึ้นจากหุบเหว) เป็นผู้ “ป้องกัน” (เฝ้ายาม, อารักขา, รักษาป้องกันภัยให้พญาลิงที่หมดแรง จะของีบหลับสักพัก) แล้วจึงหลับไปครู่หนึ่ง” มหากปิชาดก ขุ.ชาติงสตินิบาต ข้อ ๒๓๗๑) วิธี การปริตร (ป้องกัน) ในชาดกเรื่องนี้คือ เฝ้ายาม ช่วยให้พญาลิงรู้สึกปลอดภัยจะได้หลับโดย ไม่กังวล (ไม่ใช่การสวดปริตร)
ในอรรถกถาเตลปัตตชาดก เล่าว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าให้ทรายและด้าย (ปริตตะวาลุกา และปริตตะสุตตะ) แก่พระโพธิสัตว์ไว้ใช้ป้องกัน (ปริตตะ) ภัยจากพวกยักษ์ (ดู ชา.อ.๑/๒/ ๒๖๕-๒๗๐) ปริตรในกรณีนี้จึงหมายถึงสิ่งป้องกันตัว (มิใช่การสวดปริตร) ส่วนพระปัจเจก พุทธเจ้าทําอย่างไรกับทรายและด้าย เพื่อให้พวกยักษ์กลัวนั้น ท่านไม่ได้ระบุวิธีการไว้
ส่วน “พระปริตร” ในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท มุ่งหมายถึง “การป้องกัน เช่น เดียวกัน ต่างกันแต่ที่ “วิธีการ” คือ วิธีการปริตร (ป้องกัน, รักษา) ของพุทธ ได้แก่ การกล่าว สัจวาจา, การกล่าวคํานอบน้อมและสรรเสริญพระรัตนตรัย, การระลึกถึงพระรัตนตรัย, การ ไตร่ตรองธรรม (โพชฌังคปริตร) การแผ่เมตตา และการบอกกล่าวบอกเล่าให้อมนุษย์ทราบ
เมื่อพระปริตร คือ การคุ้มครองป้องกัน หรือการคุ้มครองรักษา ถามว่า คุ้มครองป้องกันหรือรักษาใคร? ตอบว่า คุ้มครองรักษาตนและผู้อื่น
ถามว่า พระปริตรช่วยคุ้มครองป้องกัน หรือคุ้มครองรักษาจากสิ่งใด ? ตอบว่า ให้พ้น จากความวิบัติแห่งชีวิต (เช่น วัฏฏกปริตร) ให้พ้นจากความทุกข์ (เช่น อังคุลิมาลปริตร) ให้พ้น จากภัย คือ ความกลัวอมนุษย์ (เช่น ธชัคคปริตร เมตตปริตร) และภัยจากสัตว์ร้าย ให้พ้นจากโรคหรือความเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โพชฌังคปริตร) และให้ประสบกับสมบัติ คือ ความสุข ความสวัสดีมงคล (เช่น รตนปริตร)
พระปริตรจําแนกได้ ๕ ยุคเพื่อให้เห็นภาพต้นกําเนิดและพัฒนาการของพระปริตรในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท จึงขอแบ่งปริตรออกเป็น ๕ ยุคตามกาลเวลา ดังนี้
๑. ปริตรสมัยก่อนพุทธกาล
๒. ปริตรสมัยพุทธกาล
๓. ปริตรในคัมภีร์มิลินทปัญหา
๔. ปริตรในคัมภีร์อรรถกถา
๕. ปริตรในยุคเจ็ดตํานาน สิบสองตํานาน และปริตรในจตุพภาณวาร
ปริตรสมัยก่อนพุทธกาล ในที่นี้หมายถึง สมัยที่พระพุทธเจ้าโคตมะของพวกเรายังไม่ตรัสรู้
๑. ปริตรสมัยก่อนพุทธกาล เป็นกาลที่พระพุทธเจ้าของพวกเรายังเป็นพระโพธิสัตว์บําเพ็ญบารมีอยู่ ยังไม่ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปริตรในครั้งนั้นอยู่ในลักษณะทําปริตร คือทําการป้องกันตน (เช่น โมรชาดก) และอยู่ในรูปของ “สัจกิริยา” แปลว่าการกระทําสัจจะ กล่าวคําสัตย์เพื่อช่วยรักษาตนและผู้อื่น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ท่านบันทึกไว้ในคัมภีร์ขุททกนิกายชาดก (อยู่ในรูปคาถา) และอรรถกถาชาดก (การเล่าเรื่องประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจคาถาในชาดก)
ปริตร (การคุ้มครองป้องกัน, การคุ้มครองรักษา) และสัจกิริยาในครั้งนั้น ขอยกมาเป็น ตัวอย่าง ๕ เรื่อง คือ
๑. เรื่องวัฏฏกชาดก ลูกนกคุ้มโพธิสัตว์ใช้วิธีกล่าวสัจวาจา ว่าด้วยภาวะความจริงที่ตนเองเป็นอยู่ คุ้มครองป้องกันตนเองจากไฟป่า (ดู วัฏฏกปริตร)
๒. เรื่องโมรชาดก นกยูงทองโพธิสัตว์ใช้วิธีกล่าวนอบน้อมพระอาทิตย์และพระพุทธเจ้าในอดีต รักษาตนเองให้ปราศจากภัยทั้งกลางวันและกลางคืน (ดูโมรปริตร)
๓. เรื่องสุปปารกชาดก สุปปารกโพธิสัตว์ตาบอด แต่ทําหน้าที่เป็นต้นหนเรือคอยบอกทิศทางที่เรือควรจะไป มีคนบนเรือ ๗๐๐ คน แต่แล่นผิดทิศ ไปพบแหล่ง รัตนะต่าง ๆ ในท้องทะเล เช่น ทองคํา และเงิน เมื่อนําขึ้นบนเรือแล้ว เผชิญ คลื่นที่ยกตัวสูง เรือกําลังเป็นดุจจะตกลงสู่เหวลึก พระโพธิสัตว์ถือถาดใส่น้ํา ยืนอยู่ที่แอกเรือ กระทําสัจกิริยา (กล่าวคําสัตย์) ว่า
ยะโต สะรามิ อัตตานัง ยะโต ปัตโตส์มิ วิญญุตั้ง
นาภิชานามิ สัญจิจจะ เอกะปาณัมปิ หิงสิตั้ง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิง นาวา นิวัตตตุ
ตั้งแต่ข้าพเจ้าถึงความรู้เดียงสา ข้าพเจ้าระลึกได้ว่าไม่เคยแกล้งเบียดเบียน สัตว์แม้สักตัวหนึ่ง ด้วยสัจวาจานี้ ขอเรือจงกลับโดยสวัสดิภาพเกิด (ขุ.ซา ข้อ 9500)
ปรากฏว่าเรือที่แล่นผิดทิศทางมา ๔ เดือน ได้กลับถึงท่าเรือที่บ้านเกิด อย่างปลอดภัย โดยใช้เวลาเพียงวันเดียว ทั้งยังแล่นขึ้นไปบนบก หยุดที่หน้า ประตูบ้านของนายเรือผู้ว่าจ้างให้พระโพธิสัตว์เป็นต้นหนอีกด้วย คนบนเรือได้แบ่งทรัพย์กันแล้วบําเพ็ญบุญ (ดู ชา.อ.๑/๖/๔๑-๘, สุปปารกชาดก ขุ.ชา เอกาทสกนิบาต ข้อ ๑๕๘๔-๑๖00, มจร.๒๗/๑๐๘-๑๒๐/๓๗๑-๓)
๔. เรื่องสีวิราชชาดก ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าสีวิราช ทรงบริจาคดวงตา ทั้งสองข้างให้แก่พราหมณ์ตาบอด (ท้าวสักกะแปลงมา) แพทย์ได้ทําการนําดวงตาของพระองค์ออก ทําให้ทรงเป็นคนตาบอด แต่ทรงปลื้มปีติพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาทรงทําสัจกิริยาว่า
เอ มัง ยาจิตมายันติ นานาโคตตา วะนิพพะกา
โยปี มัง ยาจะเต ตัตถะ โสปิ เม มะนะโส ปิโย
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ จักขุ เม อุปะปัชชะถะ
(คําแปล) วณิพกทั้งหลายผู้มีโคตรต่าง ๆ กัน มาเพื่อจะขอกับข้าพเจ้า บรรดาวณิพกเหล่านั้น คนใดขอดวงตา ผู้นั้นก็ย่อมเป็นที่รักแห่งใจของข้าพเจ้า, ด้วยสัจวาจา (หรือด้วยการกล่าวคําสัตย์) นี้ ขอดวงตาจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า (ดวงตาได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ข้างหนึ่ง)
๕. เรื่องสุวัณณสามชาดก ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นสุวัณณสามะ ดูแลปรนนิบัติบิดามารดาผู้บวชเป็นดาบสแล้ว ท่านทั้งสองตาบอดเพราะถูกพิษงู ต่อมาสุวัณณสามะถูกพระเจ้าปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ ซ่านไปทำให้สลบลึกดุจเสียชีวิตแล้ว มารดาบิดาผู้เป็นดาบสตาบอด และนางเทพธิดาได้ทำสัจกิริยาเพื่อขจัดพิษให้บุตชายด้วยการกล่าวสัจวาจา เป็นอันมาก เป็นต้นว่า
เยนะ สัจเจนะยัง สาโม ธัมมะจารี ปุระ อะหุ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วิสัง สามัสสะ หัญญะตุ
เยนะ สัจเจนะยัง สาโม พรัหมะจารี ปุเร อะหุ
ลูกสามะนี้ ได้เป็นผู้ประพฤติธณรมเป็นปกติมาก่อน ด้วยสัจวาจานี้ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป ดังนี้เป็นต้น
ปริตรสมัยพุทธกาล หมายถึงปริตรที่พระพุทธเจ้าโคตมะของพวกเราทรงแนะนํา
๒. ปริตรสมัยพุทธกาล เป็นปริตร คือ วิธีการคุ้มครองป้องกัน ที่พระพุทธเจ้าทรง แนะนําให้ภิกษุทั้งหลายกระทําหรือประพฤติ ซึ่งปรากฏอยู่ในพระธรรมเทศนาต่าง ๆ จํานวน มาก เช่น การแผ่เมตตา (เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์) และการประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ (ทําให้ไม่ตายในวัยหนุ่ม) (ยกเว้นอาฏานาฏิยสูตรที่มีเหตุเกิดจากความปรารถนาดีของเทวราชาของพวกเทวดา) ในกาลหลังพุทธปรินิพพาน พระสงฆ์ได้นํามาเป็นบทสวดพระปริตรจํานวน มาก และเรียวลงจนเหลือจํานวน ๖ ปริตร อย่างในปัจจุบัน คือ
๑. ธชัคคปริตร พระพุทธเจ้าตรัสแนะให้ภิกษุทั้งหลายใช้วิธีระลึกถึงพระรัตนตรัย
ขจัดความกลัว ความหวาดหวั่น และความขนพองสยองเกล้า
๒. ขันธปริตร พระพุทธเจ้าตรัสแนะให้ภิกษุทั้งหลายใช้วิธีแผ่เมตตาไปในตระกูล
พญางู ๔ ตระกูล เพื่อคุ้มครองรักษาตนจากงูทั้งหลาย
๓. อังคุลิมาลปริตร พระพุทธเจ้าตรัสแนะให้พระองคุลิมาลใช้วิธีกล่าวสัจวาจา
ช่วยคุ้มครองให้หญิงคลอดบุตรง่าย
๔. อาฏานาฏิยปริตร ท้าวเวสวัณมหาราช กราบทูลอาฏานาฏิยารักษ์แด่พระพุทธเจ้า
ขอให้ทรงบอกกล่าวแก่พุทธบริษัท และทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับไว้ เล่า เรียน ทรงจําไว้ เพื่อใช้รักษาตนจากการถูกอมนุษย์รบกวน โดยใช้วิธีบอกกล่าว แก่พวกอมนุษย์ว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นับถือนอบน้อมพระพุทธเจ้า การรังแก พุทธบริษัทก็เท่ากับละเมิดเทวอาชญาของท้าวมหาราช, วิธีที่ใช้บอกกล่าว ก็คือ บอกเล่าตามคําที่ท้าวมหาราชกราบทูลถวายไว้นั่นแหละ โดยการพูดบอกเล่า ก็ได้ หรือท่องสาธยายก็ได้ ยามที่พุทธบริษัทพํานักอยู่ในเสนาสนะป่า หรือ สถานที่ ๆ คิดว่าอาจมีอมนุษย์ (คือยักษ์) มารบกวน, ข้อสังเกตในวิธีใช้อาฏานาฏิยารักษ์ก็คือ การบอกกล่าว หรือท่องสาธยายก็ดี ผู้กล่าวหรือผู้สาธยาย ย่อมต้องรู้ความหมายของถ้อยคําทั้งหมดด้วย เพราะตอนที่พระศาสดาตรัส อนุญาตไว้นั้น ตรัสว่า “จงเล่าเรียน จงทรงจํา” คือ เป็นกระบวนการเรียนไว้จําไว้ด้วยความเข้าใจดีแล้ว พร้อมจะนําไปใช้
๕. เมตตปริตร พระพุทธเจ้าตรัสแนะให้ภิกษุทั้งหลายผู้จะอยู่บําเพ็ญสมณธรรมในป่าให้ใช้วิธีแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งปวง เพื่อรักษาตนด้วย เพื่อเป็นกรรมฐานด้วย
๖. รตนปริตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนที่กรุงเวสาลี
(ซึ่งอรรถกถาเล่าว่า กําลังประสบ ภัย ๓ อย่าง คือ ทุพภิกขภัย ๑ อมนุสสภัย ๑ โรคภัย ๑ พวกอมนุษย์เข้ามา กินซากศพคนตายในกรุง แล้วไม่ยอมออกไป พระศาสดาตรัสสอนรัตนสูตรแก่ พระอานนท์ที่ประตูพระนครเวสาลี มีเหล่าพระราชกุมารลิจฉวี ทําปริตร (คือ จัดกําลังอารักขา, คุ้มครองป้องกัน ดังนั้นจึงเข้าใจไว้เสมอ ๆ ว่า “ปริตร” มิได้หมายถึงพระปริตที่สวดกันในบัดนี้เสมอไป)
๓. ปริตรในคัมภีร์มิลินทปัญหา
มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์บาลีที่แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๕๐๐ ท่านกล่าวถึงชื่อบทสวด พระปริตรไว้ ดังนี้
ก. มิลินทปัญหาฉบับอักษรพม่า กล่าวไว้ ๗ ปริตร คือ รตนสูตร เมตตสูตร ขันธปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร และอังคุลิมาลปริตร (มิลินท.๒/๑๙๐)
ข. ส่วนมิลินทปัญหาฉบับอักษรไทย กล่าวไว้ ๕ ปริตร คือ ขันธปริตร สุวัตถิปริตร (รตนสูตร) โมรปริตร ธชัคคปริตร และอาฏานาฏิยปริตร (ซึ่งไม่มีเมตตปริตร และอังคุลิมาล ปริตร ขณะที่ฉบับอักษรพม่ามี)
เมื่อนํารายชื่อมารวมกันก็จะได้จํานวน ๗ ปริตร คือ๑. รตนปริตร
๒. ขันธปริตร
๓. ธชัคคปริตร
๔. อาฏานาฏิยปริตร
๕. โมรปริตร (ปริตรทั้ง ๕ นี้มีอยู่ในมิลินทปัญหาทั้งฉบับพม่าและฉบับไทย)
๖. เมตตปริตร
๗. อังคุลิมาลปริตร
จะเห็นว่าไม่มีอิสิคิลิปริตร โพชฌังคปริตร และวัฏฏกปริตร (และเรื่องสัจกิริยาที่นาง โสภณีทําให้แม่น้ําคงคาไหลกลับ ก็มีเฉพาะในมิลินทปัญหาเท่านั้น, มิลินท.๑๗๓)
๔. ปริตรในคัมภีร์อรรถกถา
“อรรถกถา” (บาลีว่า อตถกถา » หรือ อฏฐกถา) ได้แก่ อรรถ (ความหมาย) + กถา (ถ้อยคํา) จึงแปลว่า ถ้อยคําบอกความหมาย
ถามว่า เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด?
ตอบว่า มีตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งผู้อธิบายความหมายก็คือ พระพุทธเจ้าบ้าง หรือบรรดา พระสาวกทั้งหลายบ้าง
อรรถกถาไม่ใช่การแต่งขึ้นใหม่ แต่เป็นงานรวบรวมประมวลจากชาวพุทธรุ่นหนึ่งสู่ชาวพุทธ อีกรุ่นหนึ่ง คือเป็นการบอก การสอน การอธิบายพระธรรม และพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงหรือทรงบัญญัติไว้
คําอธิบายที่เรียกว่า อรรถกถา ก็เริ่มมีตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสพระวินัยหรือพระสูตรนั้น จบลง ภิกษุทั้งหลายได้สดับฟังแล้วเมื่อพบปะกันก็สนทนาธรรมกัน มีเนื้อหาที่สําคัญ หรือเป็น ประโยชน์ท่านก็กําหนดจดจํากันไว้ (เรียกว่า อนุพุทธสังวัณณิตะ คือ คําอธิบายของพระสาวก ทั้งหลาย)
บางครั้งขณะสนทนากัน พระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงทราบเรื่องที่กําลังสนทนากันแล้ว ก็ ตรัสอธิบายเรื่องนั้นให้พวกท่านเข้าใจชัดเจนจนกว้างขวางยิ่งขึ้น, หรือบางครั้งภิกษุทั้งหลายก็ ทูลถามความสงสัยต่าง ๆ เช่น พุทธพจน์ที่เพิ่งตรัสจบไปใหม่ ๆ พระองค์ก็ตรัสอธิบายที่ไม่ยาว ไม่ถึงกับเป็นพระธรรมเทศนา ภิกษุทั้งหลายก็ถือเป็นเรื่องสําคัญที่จะจดจําไว้เป็นคําอธิบายแก่ ศิษย์บ้าง แก่ภิกษุอาคันตุกะบ้าง พวกท่านถือพุทธาธิบายนั้นเป็นมาตรฐานในการอธิบาย (เรียก ว่า พุทธสังวัณณิตะ คือ คําอธิบายของพระพุทธเจ้า)
คําอธิบายสั้น ๆ อย่างนี้แหละคือ อรรถกถา ตรงตามความหมายของศัพท์ที่ว่า “ถ้อยคํา บอกความหมาย”ดังนั้น อรรถกถาแรกก็คือพระพุทธพจน์ หรือพุทธวจนะ ซึ่งมาจากพระพุทธเจ้านั้นเอง พระสงฆ์ก็เก็บสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
๕. ปริตรในยุคเจ็ดตํานาน, สิบสองตํานาน และปริตรในจตุพภาณวารสมัยที่มีการจัดพระปริตรเป็น ๒ ชุด คือ เจ็ดตํานาน และสิบสองตํานานนั้น ไม่มีผู้ใด สามารถระบุปีของการจัดพระปริตรเป็น ๒ ชุดนี้ได้ชัดเจน รู้กันเพียงว่าเกิดขึ้นในลังกาแน่นอน เพราะมีประเพณีเกี่ยวกับการสวดพระปริตรบันทึกไว้จํานวนมาก
อ.ธนิต อยู่โพธิ์ บอกเล่าความเป็นมาของพระปริตร ๒ แบบ และพัฒนาการของการ สวดมนต์ของชาวลังกา ซึ่งชาวพุทธไทยรับเข้ามาพร้อม ๆ กับการเข้ามาของพระพุทธศาสนา หินยาน (=เถรวาท) แบบลังกาวงศ์ ไว้ว่า
“การเลือกคัดพระพุทธวจนะในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก มารวมเข้าเป็นคัมภีร์ พระปริตต์สําหรับสวดหรือพร่ําบ่นภาวนานั้น คงจะมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบย่อและ แบบพิสดาร แบบย่อเรียกว่า “ปริตต์” และแบบพิสดารเรียกว่า “มหาปริตต์” หรือเรียกตามจํานวนของพระปริตต์ ว่า “สัตตปริตต์ (เจ็ดตํานาน)” แบบหนึ่ง และ “ทวาทสปริตต์ (สิบสองตํานาน)” แบบหนึ่ง
ต่อมาในกาลใดกาลหนึ่ง พระมหากษัติย์ในทวีปลังกา เช่นที่มีพระนามระบุ ถึงมาข้างต้น ได้โปรดให้ใช้พระปริตต์นั้นเป็นแบบฉบับสําหรับสวดในพระราชพิธี จึงเรียกแบบ สัตตปริตต์ ว่า “จุลราชปริตต์” และเรียกแบบ ทวาทสปริตต์ ว่า “มหาราชปริตต์”
คัมภีร์พระปริตต์ดังกล่าวนี้ ชาวลังกาเขาเรียกและรู้จักกันในภาษาสิงหศว่า “ปิริต-โปตะ” และอาจเป็นว่าในสมัยต่อมาพระเถระชาวลังกาคงจะได้เลือกคัด พระสูตรและพระพุทธวจนะอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก สําหรับสวดเป็นครั้งเป็นคราว ครั้นเลือกคัดมารวมไว้มากเข้า ก็จําต้องแบ่งธรรมประเภทออกสวดกําหนดเป็น ตอน ๆ เรียกว่า “ภาณวาร” มี ๔ ภาณวาร เรียกรวมว่า “จตุภาณวาร” จตุภาณวารในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงของเรามีธรรมประเภท ๒๒ ภาค แต่ ของลังกาดูเหมือนจะมีจํานวนมากกว่า ซึ่งลังกาอาจเพิ่มเติมขึ้นอีกในภายหลัง ก็ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงไม่อาจทราบกันว่า ใครเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์จตุภาณวาร? และรวบรวมขึ้นแต่เมื่อใด? เพราะคงจะรวบรวมขึ้นหลายครั้งหลายคราว ตาม แต่เหตุการณ์โดยพระเถระต่างสมัย เมื่อมีคัมภีร์จตุภาณวารขึ้นแล้ว การสวด ราชปริตต์ในลังกาทวีปก็เลิกไป แม้ฉบับก็สูญ จนพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรง หาได้ฉบับจากเมืองยะไข่ ไปประทานจึงกลับมีขึ้น การสวดมนต์ของพระลังกา สวดพระสูตรและคาถาต่าง ๆ ตามสะดวก แต่การสวดภาณวารในลังกายังนับถือกันมาก ดูเหมือนชาวลังกาจะรู้จักและเรียกคัมภีร์จตุภาณวารรวม ๆ กันไปว่า “ปิริต-โปตะ” ด้วย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) กล่าวถึงประโยชน์ของพระปริตรไว้ว่า“ความหมายและการใช้ประโยชน์จากปริตร ต่างกันไปตามระดับการพัฒนาของบุคคล ตั้งแต่ชาวบ้านทั่วไป ที่มุ่งให้เป็นกําลังอํานาจปกปักรักษาคุ้มครองป้องกัน จนถึงพระอรหันต์ ซึ่งใช้เจริญธรรมปีติ แต่ที่ยืนเป็นหลักคือ ช่วยให้จิตของผู้สวดและผู้ฟัง เจริญกุศล เช่นศรัทธา ปสาทะ ปีติปราโมทย์ และความสุข ตลอดจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ รวมทั้งเตรียมจิตให้พร้อมที่จะ ก้าวสู่ภูมิธรรมที่สูงขึ้นไป คือเป็นกุศลภาวนา เป็นจิตตภาวนา “ (พจนาฯ ศัพท์/๒๑๑)