ศีล สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ

ศีล สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ

ปริยัติธรรม

หนังสือ ตามรอยพระธรรม ของ พระบรมศาสดา ผู้เขียน สุรีย์ มีผลกิจ

สีลกถา

ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ความมีระเบียบวินัยและความมีมารยาทงดงาม การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน งดเว้นจากความชั่ว ศีลจึงเป็นรากฐาน แห่งการเจริญคุณธรรมที่สูงขึ้น มีสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น

ศีลของคฤหัสถ์

ศีลขั้นพื้นฐาน ที่คฤหัสถ์ควรน้อมนํามาประพฤติปฏิบัติใน ชีวิตประจําวัน ได้แก่ ศีลที่ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่า เว้นจากการใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
  2. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นจากการขโมย
  3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
  4. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ พูดไม่ตรงต่อความที่เป็นจริง
  5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของ ความประมาท และเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษทั้งปวง

การงดเว้นจากความชั่วเหล่านี้ ท่านเรียกว่า ศีล ๕ บ้าง สิกขาบท ๕ บ้าง เบญจศีลบ้าง หรือนิจศีลบ้าง เป็นศีลที่คฤหัสถ์ควร รักษาเป็นประจํา คําว่าศีล มิใช่หมายเพียงความประพฤติทีดีงามทางกายและวาจาเท่านั้น แต่หมายถึงว่าจะต้องมีอาชีพที่สุจริตด้วย

**อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต อรรถกถาปฐมชนสูตร หน้า ๒๑๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทพราหมณ์ ผู้มีอายุล่วงเลยจนเข้าปัจฉิมวัย จึงคิดหาทางที่จะนำตนออกจากทุกข์ พากันเข้ามาบวช แม้บวชแล้วก็ไม่สามารถจะบําเพ็ญวัตรให้บริบูรณ์ได้ เพราะเป็นคนแก่ พระพุทธองค์จึงทรงแนะนําให้ดํารงอยู่ในเบญจศีล พราหมณ์เหล่านั้น สมาทานศีล ๕ รักษาศีล ๕ ตลอดชีวิต สิ้นชีพแล้วได้บังเกิดในสวรรค์

ศีล ๘

ศีลของคฤหัสถ์ นอกจากจะมีศีล ๕ ยังมีศีล ๘ สําหรับอุบาสก อุบาสิกาผู้ต้องการจะขัดเกลาให้ยิ่งขึ้น ศีล ๘ ไม่กําหนดวันรักษา คือ สามารถรักษาได้ทุกวัน ศีลที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ได้แก่

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่า เว้นจากการใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
  2. อทินนาทานา เวรมณี  เว้นจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นจากการขโมย
  3. อพรหมจริยา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
  4. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ พูดไม่ตรงต่อความที่เป็นจริง
  5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของ ความประมาท และเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษทั้งปวง
  6. วิกาลโภชนา เวรมณี เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
  7. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสน มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑน วิภูสนัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น อันเป็นข้าศึกต่อกุศล เว้นจากประดับตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม
  8. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี เว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่

ความแตกต่างระหว่าง ศีล ๕ และศีล ๘

ข้อ ๓ ในศีล ๕ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เฉพาะที่ไม่ใช่คู่ครองของตน แต่ในศีล ๘ ให้งดเว้นโดยเด็ดขาดแม้ในคู่ครองของตนเอง จึงจะชื่อว่า พรหมจริยา คือประพฤติอย่างพรหม

สําหรับ ข้อ ๖ ในศีล ๘ ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันแล้ว จนถึงอรุณขึ้นของวันใหม่ เรียกว่าวิกาล เป็นเวลาที่ต้องเว้นจากการบริโภคอาหารทุกอย่าง เว้นน้ำ ๘ อย่างที่เรียกว่าอัฏฐบาน หรือน้ำปานะ ที่มีพุทธานุญาตไว้ คือ น้ำที่ทําจากผลมะม่วง ๑ ผลหว้า ๑ ผลกล้วยมีเมล็ด ๑ ผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ ผลมะซาง ๑ ผลจันทน์ หรือผลองุ่น ๑ เหง้าบัว ๑ ผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑

ต่อมาทรงมีพุทธานุญาต

  • น้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
  • น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง
  • น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง
  • และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด

ข้อ ๗ ในตอนแรกคือ นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ ให้เว้นจากการขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ท่านห้ามทั้งเล่นเองหรือใช้ให้ผู้อื่นเล่น ในตอนหลังคือ มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภสนัฏฐานา เว้นจากการประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม คําว่า วันหนึ่งคืนหนึ่ง ท่านกําหนดนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษาอุโบสถ จนถึงอรุณขึ้นของวันใหม่

ข้อ ๘ ท่านหมายเอาที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่เกินประมาณ ที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องปูลาดที่วิจิตรงดงาม รวมถึงที่นอนที่ทําด้วยนุ่นหรือสําลี ทั้งนี้เพื่อมิให้ยินดีติดใจในความงาม และการสัมผัสที่อ่อนนุ่มของที่นั่งที่นอนนั้น

การงดเว้น ๓ ข้อหลังในศีล ๘ คือข้อ ๖-๗-๘ เป็นเพียงการ ขัดเกลาความยินดีติดใจในการบริโภคจนเกินประมาณ ในการตกแต่งร่างกายให้สวยงาม ในการนั่งนอนสบายเพียงชั่วครั้งชั่วคราว การผิดศีลในข้อ ๖-๗-๘ จึงไม่มีโทษไปสู่อบาย


ศีลอุโบสถ


ศีลอุโบสถ คือ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิการักษาในวันอุโบสถ คือ ขึ้นและแรม ๘ คํา ๑๕ คํา (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)

องค์ประกอบของศีลอุโบสถมี ๘ ข้อเช่นเดียวกับศีล ๘ ทุกประการ เพียงแต่ผู้มีความประสงค์ที่จะรักษาเฉพาะวันอุโบสถ คือวันหนึ่งคืนหนึ่ง ก็สมาทานอุโบสถศีล

คําว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งท่านกําหนดนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษา ไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ ถ้าน้อยกว่าเวลาที่กำหนดนี้ก็ไม่ชื่อว่า วันหนึ่งคืนหนึ่ง

** อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต อุโบสถสูตร หน้า ๓๘๒-๔๐๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่นางวิสาขามิคารมารดาว่าผู้จะเข้าจําอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อคิดว่าพรุ่งนี้เราจักรักษาอุโบสถ

  • ควรตรวจสอบสิ่งที่ต้องจัดแจงไว้ก่อน ให้เรียบร้อย
  • ควรเปล่งวาจา สมาทานองค์อุโบสถในสํานักภิกษุภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกาผู้รู้ลักษณะของศีล ๘ แต่เช้า ๆ
  • ผู้ที่ไม่รู้บาลีควรอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าขออธิษฐานองค์อุโบสถที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว และควรเปล่งวาจาสมาทาน
  • เมื่อหาผู้อื่นไม่ได้ คือในที่นั้นไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก็ควรอธิษฐานด้วยตนเอง
  • เมื่อเข้าจําอุโบสถแล้ว ไม่พึงวิพากษ์วิจารณ์ คือติหรือชม ความดี ความงาม หรือความบกพร่องของผู้อื่น
  • เมื่อบริโภคอาหารเช้าแล้ว ตรงไปวิหารเพื่อฟังธรรม หรือ มนสิการอารมณ์กัมมัฏฐาน ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งใน ๔๐ ประการ

ศีลอุโบสถมี ๘ องค์ เป็นศีลรวม ถ้าขาดไปองค์ใดองค์หนึ่งก็ไม่เรียกว่าศีลอุโบสถตามพระพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อเดียว ก็ถือว่าขาดหมดทั้ง ๘ ข้อ ฉะนั้นผู้ที่รักษาอุโบสถ ศีลจึงต้องสํารวมระวังกาย วาจาเป็นพิเศษ

จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับนางวิสาขาต่อไปอีกว่า วิสาขา เทวดาเหล่าชั้น จาตุมหาราชิกา มีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ ส่วน ๕๐ ปีของมนุษย์ เป็นคนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดานั้น สตรีหรือบุรุษก็ตาม ที่รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ และมีการบริจาคทาน ด้วยหวังว่า ตนจักได้เสวยผลของทานนั้น เมื่อสิ้นชีพลงจักได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา

วิสาขา เทวดาเหล่าชั้น ดาวดึงส์ มีอายุ ๑๐๐๐ ปีทิพย์ ส่วน ๑๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดานั้น สตรีหรือบุรุษก็ตาม ที่รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ และมีการบริจาคทาน ด้วยคิด ว่าทานเป็นของดีเป็นบุญเป็นกุศล เมื่อสิ้นชีพลงจักได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์

วิสาขา เทวดาเหล่าชั้น ยามา มีอายุ ๒๐๐๐ ปีทิพย์ ส่วน ๒๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดานั้น สตรีหรือบุรุษก็ตามที่ รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ และมีการบริจาคทานด้วยคิดว่าทําตามประเพณีที่บรรพบุรุษเคยกระทํามา เมื่อสิ้นชีพลงจักได้ไปบังเกิดใน สวรรค์ชั้นยามา

วิสาขา เทวดาเหล่าชั้น ดุสิต มีอายุ ๔๐๐๐ ปีทิพย์ ส่วน ๔๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นคนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดานั้น สตรีหรือบุรุษก็ตามที่ รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ และมีการบริจาคทานแก่เหล่าสมณะ และพราหมณ์ผู้ทรงศีล เมื่อสิ้นชีพลงจักได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น ดุสิต

วิสาขา เทวดาเหล่าชั้น นิมมานรดี มีอายุ ๘๐๐๐ ปีทิพย์ ส่วน ๘๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดานั้น สตรีหรือบุรุษก็ตามที่รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ และมีการบริจาคทานเช่นเดียว กับฤาษีในปางก่อน กระทํามหาทานมาแล้ว เมื่อสิ้นชีพลงจักได้ไปบังเกิด ในสวรรค์ชั้น นิมมานรดี

วิสาขา เทวดาเหล่าชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี มีอายุ ๑๖๐๐๐ ปีทิพย์ ส่วน ๑๖๐๐ ปีของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดานั้น สตรีหรือบุรุษก็ตามที่รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ และมีการบริจาคทาน ด้วยจิตที่เลื่อมใสโสมนัส เมื่อสิ้นชีพลงจักได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี

วิสาขา เพราะเหตุนั้น สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล พึงรักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ และทําบุญทั้งหลายอันมีสุขในสวรรค์เป็นผล จะไม่มีผู้ติเตียน ย่อมได้เสวยสุขในสวรรค์อันเป็นแดนสุข

วิสาขา สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล หากได้เจริญธรรมให้สูงยิ่งขึ้น คือ เจริญสมถกรรมฐานเป็นนิจจนได้ฌาน ฌานนั้นก็จะนําเกิดในพรหมโลก หรือหากได้เจริญวิปัสสนาจนสําเร็จมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลใน พระพุทธศาสนาแล้ว ผู้รักษาอุโบสถศีลนั้นก็สามารถจะกําหนดการเกิด ของตนได้ว่ายังมีอีกหรือไม่

** อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยเลขสูตร หน้า ๔๐๐-๔๖๒ กล่าวการถึงการบังเกิดขึ้นในภพใหม่ ของพระอริยบุคคลแต่ละขั้นว่า

พระโสดาบัน กลับมาเกิดอีก แต่อย่างมากก็ไม่เกิน ๗ ชาติ
พระสกทาคามี กลับมาเกิดในมนุษยโลกอีกเพียงครั้งเดียว
พระอนาคามี เกิดในพรหมโลกแล้ว ไม่กลับมาเกิดมนุษยโลกอีก
พระอรหันต์ ไม่กลับมาเกิดอีกเลย

การรักษาศีล จําต้องมีเจตนาวิรัติ คืองดเว้นจากการทําความชั่วทั้งหลายจึงจะได้ชื่อว่าเป็นศีล ถ้าไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น แม้ผู้นั้นมิได้ทําความชั่วก็ไม่ชื่อว่ามีศีล เหมือนเด็กอ่อนที่นอนแบเบาะ แม้จะมิได้ทําความชั่วก็ไม่ถือว่ามีศีล เพราะเด็กไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น การที่จะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีศีล จะต้องมีเจตนาที่จะงดเว้นจากการกระทํา ที่เป็นโทษ

คําว่า วิรัติ หมายถึงการงดเว้นจากความชั่ว มี ๓ ประการ ได้แก่

๑ สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทานเป็นวิรัติของปุถุชนทั่วไปเช่น สมาทานศีล ๕ สมาทานศีล ๘ หรือสมาทานอุโบสถศีล เป็นต้น สมาทานแล้วไม่กระทําทุจริต การงดเว้นเช่นนี้ชื่อว่า สมาทานวิรัติ

๒. สัมปัตติวิรัติ งดเว้นด้วยเหตุการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เป็นวิรัติของผู้ที่มิได้ตั้งใจจะงดเว้นมาก่อน แต่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอัน อาจจะทําให้ล่วงศีลได้ทําให้งดเว้น เช่นมีโอกาสจะฆ่าแต่ไม่ฆ่า มีโอกาส จะลักทรัพย์แต่ไม่ลัก มีโอกาสจะล่วงประเวณีแต่ไม่ล่วง เป็นต้น การงด เว้นเช่นนี้ชื่อว่า สัมปัตติวิรัติ

๓. สมุจเฉทวิรัติ วิรัติของพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป พระอริยบุคคลเป็นผู้มีศีล ๕ บริบูรณ์ เนื่องจากท่านเห็นโทษของการล่วงศีล ขจัดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งความชั่วแล้ว ด้วยอริยมรรค มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น เป็นการละได้โดยเด็ดขาด ไม่มีแม้แต่ความคิดที่จะประกอบกรรมชั่วนั้น การงดเว้นเช่นนี้ ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ

** วิสุทธิมรรค สีลนิเทศ หน้า ๑๓ อ้างคําที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา ถามว่า อะไรเป็นศีล ตอบว่า เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล สังวรคือการสํารวมก็เป็นศีล ความไม่ก้าวล่วงก็เป็นศีล

* เจตนาที่งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราเมรัย ชื่อว่า เจตนาศีล
* ความประพฤติที่งดเว้นจากอภิชฌา พยาบาท มีสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า เจตสิกศีล
* ความสังวร ๕ ประการ ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร ชื่อว่า สังวรศีล
* ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย วาจา ของผู้สมาทานศีลแล้ว ชื่อว่า ความไม่ก้าวล่วงก็เป็นศีล

นอกจากนั้น ศีลยังมีระดับขั้นตามเจตนาของผู้รักษา คือ

  • หีนศีล ศีลที่บุคคลสมาทานรักษา เพื่อปรารถนาโภคสมบัติ หรือปรารถนาภพ ด้วยอํานาจของตัณหา เป็นศีลขั้นต่ำ
  • มัชฌิมศีล ศีลที่บุคคลสมาทานรักษา เพื่อปรารถนาให้ตนหลุด พ้นจากกิเลส เป็นศีลขั้นกลาง
  • ปณีตศีล ศีลที่บุคคลสมาทานรักษา เพื่อปรารถนาให้สัตว์ ทั้งหลายหลุดพ้นจากกิเลสด้วย เป็นศีลขั้นประณีต

อนึ่ง บุคคลประพฤติในสิกขาบท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าควรทํา ชื่อว่า จาริตศีล บุคคลรักษาข้อที่ทรงห้ามด้วยศีล นั้น ชื่อว่า วาริตศีล

อธิบายอินทรียสังวรศีล

ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ แสดงเรื่องการสํารวมอินทรีย์ว่า

  • ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุ แล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ถือเอาซึ่งพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้สำรวมใน จักขุนทรีย์
  • ภิกษุได้ยินด้วย โสตะ แล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ถือเอาซึ่งพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้สํารวมใน โรตินทรีย์
  • ภิกษุดมกลิ่นด้วย ฆานะ แล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ถือเอาซึ่งพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้สํารวมใน ฆานินทรีย์
  • ภิกษุลิ้มรสด้วย ชิวหา แล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ถือเอาซึ่งพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้สํารวมใน ชิวหินทรีย์
  • ภิกษุสัมผัสโผฏฐัพพะด้วย กาย แล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ถือเอาซึ่งพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้สํารวมใน กายินทรีย์
  • ภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วย ใจ แล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ถือเอาซึ่งพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้สํารวมใน มนินทรีย์

คําว่า นิมิต หมายความถึงรูปร่างสัณฐาน ว่าเป็นหญิงหรือชาย อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส เพราะ

  • สุภนิมิต คือ นิมิตที่น่าปรารถนา เป็นปัจจัยให้เกิด ราคะ
  • ปฏิฆนิมิต คือ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา เป็นปัจจัยให้เกิด โทสะ
  • อุเบกขานิมิต คือ นิมิตที่ไม่ได้พิจารณาเป็นปัจจัยให้เกิด โมหะ

คําว่า อนุพยัญชนะ หมายความถึงส่วนต่าง ๆ ในรูปร่างสัณฐานนั้น เช่นมือ เท้า ตา คิ้ว ปาก เป็นต้นอันเป็นส่วนประกอบของรูปร่างนั้น ความพอใจหรือไม่พอใจ มักจะเกิดจากอนุพยัญชนะ เช่น หญิงนี้มีคิ้วงาม มีผมสวย เป็นต้น

** วิสุทธิมรรค สีลนิเทศ หน้า ๔๔ กล่าวถึงเรื่องของพระมหาติสสเถระผู้สํารวมจักขุนทรีย์ว่า หญิงสะใภ้ตระกูลหนึ่ง ทะเลาะกับสามี ได้ตกแต่งประดับกายงามราวกับเทพกัญญา ออกจากอนุราธปุระ เดินทางไปสู่เรือนญาติแต่เช้าตรู่ ระหว่างทางพบกับพระมหาติสสเถระซึ่ง เดินทางจากเจติยบรรพตไปสู่อนุราธปุระเพื่อบิณฑบาต เห็นหญิงนั้นหัวเราะเสียงดังเหมือนจิตวิปลาส พระเถระเห็นฟันของหญิงนั้นเกิดอัฏฐิกสัญญา ได้บรรลุพระอรหัต (ท่านเคยเจริญอัฏฐิกรรมฐานคือกระดูก มาก่อน ร่างของหญิงนั้นจึงปรากฏเป็นร่างกระดูกไปทั้งร่าง)

ฝ่ายสามีเดินทางตามมา พบพระเถระแล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเห็นหญิงเดินผ่านมาทางนี้หรือไม่ พระเถระกล่าวว่า อาตมาไม่ทราบว่าหญิงหรือชายเดินไปจากนี้ แต่ว่าร่างกระดูกกําลังเดินไปในทางใหญ่

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ในการสํารวมจักขุนทรีย์ ท่านเห็นกระดูกฟันของหญิงนั้นแล้วพิจารณาอัฏฐิกรรมฐานท่านไม่ได้ถือเอานิมิตหรือ อนุพยัญชนะ คือรูปร่างหรือส่วนประกอบในกายส่วนอื่นของหญิงนั้น จึงไม่ทราบว่าเป็นหญิงหรือชาย พิจารณากระดูกฟันและกระดูกทั้งหมด ได้ปฐมฌาน อาศัยฌานนั้นเป็นบาทเจริญวิปัสสนา แทงตลอดอริยสัจ ได้บรรลุพระอรหัต

อินทรียสังวร ย่อมสําเร็จด้วยการมี สติ เพราะเมื่อได้เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว ภิกษุมีสติตั้งมั่น มีโยนิโสมนสิการ พิจารณารูปตามความเป็นจริงว่า รูปนี้มีเหตุมีปัจจัยอะไรให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุพิจารณาดังนี้ความพอใจหรือไม่พอใจจักไม่บังเกิดขึ้นจากการเห็นนั้นนี้ชื่อว่า สํารวมในจักขุนทรีย์ในโสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ก็ในทํานองเดียวกัน

ภิกษพึงรักษาอินทรีย์ในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ทั้งหลายเพราะว่าทวารทั้งหลายที่ปิดกั้นป้องกันไว้ดีแล้ว โจรย่อมไม่ปล้นบ้านที่มีประตูปิดกั้นไว้อย่างแข็งแรง ในธรรมบท กล่าวว่า ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด ราคะก็ย่อมรั่วรดจิตใจของบุคคลผู้อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น

บุคคลที่คุ้มครองทวารทั้งหลาย ปิดกั้นกิเลสทั้งหลายไว้ด้วยบานประตูคือสติ ชื่อว่าเป็นผู้สํารวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย

ภิกษใดเลี้ยงชีพด้วยอาการ ๖ ประการนี้ ชื่อว่า มิจฉาอาชีวะ ภิกษุแม้จะไม่ยังชีพด้วย ๖ ประการนั้น แต่ภิกษุนั้นเลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวง ได้แก่การตีสีหน้าหลอกลวง มีความประพฤติหลอกลวง ด้วยการพูดเลียบเคียงก็ดี ด้วยการแสดงอิริยาบถก็ดี เพื่อให้ได้มา ซึ่งลาภ สักการะ หรือให้ผู้อื่นสรรเสริญ ก็ชื่อว่าเป็น มิจฉาอาชีวะ

ภิกษุนั้นเลี้ยงชีพ ด้วยการพูดโอ้อวด พูดเอาใจ พูดเสนอตน พูดยกยอ พูดประจบ เพื่ออาศัยการได้ลาภสักการะ หรือเพื่อให้คนอื่นสรรเสริญ ก็ชื่อว่าเป็น มิจฉาอาชีวะ

ภิกษุเลี้ยงชีพ ด้วยการทํานิมิต ได้แก่การทําให้ผู้อื่นรู้ความมุ่งหมายของตน ด้วยการแสดงท่าที่ทางกายหรือวาจา เลียบเคียงเพื่อให้ถวายปัจจัย ก็ชื่อว่าเป็น มิจฉาอาชีวะ

ภิกษุเลี้ยงชีพ ด้วยการพูดบีบบังคับ ได้แก่การด่า การพูดข่มขู่ การพูดติเตียนการพูดเยาะเย้ย การพูดประจาน การพูดนินทาลับหลัง เพื่ออาศัยลาภสักการะ หรือเพื่อให้คนอื่นสรรเสริญเป็น มิจฉาอาชีวะ

ภิกษุเลี้ยงชีพ ด้วยความต้องการที่จะโกง คือลวงเอาลาภของผู้อื่นซึ่งมีมากกว่า ด้วยลาภที่มีเล็กน้อยของตน ก็ชื่อว่าเป็น มิจฉาอาชีวะ

นอกจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส มิจฉาอาชีวะไว้อีกว่า ภิกษุบริโภคโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธา เลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชชา ได้แก่ การดูฤกษ์ยามในการศึก การพยากรณ์ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ พยากรณ์เหตุการณ์ดินฟ้าอากาศ การให้ฤกษ์มงคล การทําพิธีบูชาไฟ พิธีบวงสรวงบนบาน ทํานายลักษณะ ทํานายฝัน เป็นหมอ ปลุกเสก ทําพลีกรรมด้วยโลหิต รดน้ำมนต์ ปรุงยา เป็น มิจฉาอาชีวะ (ความละเอียดในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร หน้า ๓๑๕-๓๑๙)


อานิสงส์ของศีล

** ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒/๑ หน้า ๒๕๕-๒๕๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอานิสงส์ของศีลไว้ว่า ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ

  1. ย่อมประสบกองแห่งโภคะใหญ่
  2. กิติศัพท์อันงามย่อมฟังไป
  3. จะเข้าไปสู่บริษัทใด เป็นผู้องอาจ ไม่เก้อเขิน
  4. ไม่หลงทํากาละ
  5. ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

** วิสุทธิมรรค สีลนิทเทส หน้า ๒๐-๒๑ กล่าวว่า

เว้นศีลเสียแล้ว ที่พึ่งอื่นของกุลบุตรในพระศาสนาหามีไม่ แม่น้ำใหญ่ทั้งหลายมีคงคา ยมุนา สรภู สรัสวดี เป็นต้น มิอาจชําระมลทินของสัตว์ทั้งหลาย ให้สะอาดได้ แต่น้ำ คือศีล ย่อมชําระมลทินของสัตว์ในโลกนี้ได้ ศีลที่บุคคลรักษาดีแล้ว เป็นอริยศีล ย่อมนําชื่อเสียง และความสุขมาให้ สมบัติใดในมนุษย์และเทวดา สมบัตินั้นผู้มีศีลหาได้ง่าย กลิ่นแห่งศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นคันธชาติทั้งปวง กลิ่นของผู้มีศีล ฟุ้งไปได้ทั้งทวนลมและตามลม ศีลเป็นบันไดขึ้นสู่สวรรค์ และประตูแห่งนิพพาน ใจของผู้มีศีลถึงพร้อม ย่อมแล่นไปสู่นิพพานสมบัติ


กรุธรรม

**ธรรมบทแปลภาค ๔ หน้า ๗๖-๘๑ แสดงว่า ศีล ๕ ก็ชื่อว่า กุรุธรรม ความย่อมีอยู่ว่า ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าธนญชัยเสวยราชสมบัติ อยู่ในนครอินทปัตต์ แคว้นกุรุ พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชานั้น เมื่อเจริญวัยทรงศึกษาศิลปวิทยาทั้งหลายในเมืองตักสิลาแล้ว ได้ดํารงตําแหน่งอุปราช กาลต่อมา พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงดํารงอยู่ใน ทศพิธราชธรรม คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง ๑๐ ประการ ได้แก่

  1. ทาน การให้ สละทรัพย์สิ่งของบํารุงเลี้ยง ช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบําเพ็ญสาธารณประโยชน์
  2. ศีล ความประพฤติดีงาม สํารวมกายวาจา ประกอบแต่การสุจริต ให้เป็นตัวอย่าง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์
  3. ปริจจาคะ เสียสละความสุขสําราญ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  4. อาชชวะ มีความซื่อตรงทรงสัตย์ ปฏิบัติภาระกิจโดยสุจริต มีความจริงใจต่อประชาชน
  5. มัททวะ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือองค์ มีกิริยาสุภาพนุ่มนวล ให้ชนทั้งหลายจงรักภักดียําเกรง
  6. ตบะ มุ่งมันบําเพ็ญเพียรทํากิจให้บริบูรณ์ ระงับยับยั้ง ข่มใจ มิให้กิเลสครอบงําจิตใจ
  7. อักโกธะ ไม่ลุอํานาจความโกรธ ระงับความโกรธ วินิจฉัย ความและกระทําการด้วยจิตอันเป็นกลาง
  8. อวิหิงสา ไม่เบียดเบียนกดขี่ หรือหาเหตุลงโทษประชาราษฎร์ เพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
  9. ขันติ อดทนต่อการงานที่ตรากตรํา ไม่ท้อถอย ไม่ยอมละทิ้ง กรณีที่บําเพ็ญโดยชอบธรรม
  10. อวิโรธนะ วางองค์เป็นหลัก หนักแน่นในธรรม สถิตมั่นในธรรม มีความเที่ยงธรรมในระเบียบแบบแผนหลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว เพราะถ้อยคํา ลาภสักการะ หรืออารมณ์

คำสอนพระอริยเจ้า

หนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

" ศีล " นั้น แปลว่า " ปกติ " คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล๕ ศิล ๘ ศิล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗ และในบ รรดาศีลชนิดเดียวกันก็ยังจัดแบ่งออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล ( ศีลระดับกลาง ) และอธิศีล ( ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์ ) คำว่า " มนุษย์ " นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แ ต่อาจจะเรียกว่า " คน " ซึ่งแปลว่า " ยุ่ง " ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น " มนุษย์ธรรม " ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ ( ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย ) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน


ทั้งในการถือศีลด้วยกันเองก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้ คือ

๑ . การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๒ . การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓ . การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

๔ . การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้ว รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่มี ศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งล้วนแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้นเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆน้อยๆหากไม่มีอกุลกรรมอื่นมาให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่น อานิสงส์ของการรักษา ศีล ๕ กล่าวคือ

๑ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะมีพลานามัยที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้บาดเจ็บหรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันควร

๒ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่น้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบกับช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆเช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

๓ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลในข้อนี้ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบกับรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดาก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

๔ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผลชนิดที่เป็น " พุทธวาจา " มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้ฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี

๕ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำได้ง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติวิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนหรือปัญญานิ่ม

อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่ง ๆ ขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้นจะมีอานิสงส์เพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลาง ๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่า การภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสารวัฏ การภาวนา จึง เป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงสุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุดเป็นกรรมดีอันยิ่งใหญ่เรียกว่า " มหัคคตกรรม " อันเป็นมหัคคตกุศล


พิมพ์