ธัมมัสสวนะ : การฟังธรรม ทําได้ยาก

ธัมมัสสวนะ : การฟังธรรม ทําได้ยาก

ปริยัติธรรม

หนังสือ พระพุทธวจนะ คาถาธรรมบท จาก...พระไตรปิฎก

อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ

ในหมู่มนุษย์ เหล่าคนที่ข้ามไปถึงฝั่งโน้นมีจํานวนน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกจากนี้ ยังวิ่งเลาะอยู่ฝั่งนี้เที่ยว

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ

ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรม ในธรรมที่ตรัสสอนไว้ดีแล้ว ชนเหล่านั้นข้ามพ้นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น

 

ประชาชนคณะหนึ่งตั้งใจฟังธรรมตลอดคืน คนที่ทําสําเร็จมีจํานวนน้อย

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในถนนเดียวกันภายในกรุงสาวัตถี ได้ร่วมกันถวายทานแล้วตกลง กันอีกว่า พวกเราจะเข้าไปฟังธรรมในพระวิหารเชตวันตลอดคืน พวกเขาเข้ามาฟังธรรมแล้ว บางคนไม่อาจฟังธรรมได้ตลอดคืน เพราะเกิดความยินดีใน  กาม จึงกลับไปสู่เรือน บางคนเกิด โทสะ ไม่ชอบใจก็กลับออกไป บางคนเกิดความ ง่วงนอนมาก ...นอนหลับบ้าง...นั่งสัปหงกบ้าง ไม่อาจฟังธรรมได้ตลอด สว่างแล้วก็กลับสู่เรือน วันนั้นแล พวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาถึงเรื่องดัง กล่าวนี้...พระพุทธเจ้าเสด็จมา ทรงทราบแล้วตรัสสอนว่า “เป็นธรรมดาของสัตว์เหล่านี้ที่อาศัย ภพ ข้องอยู่ในภพทั้งหลายนั่นเทียวเป็นส่วนมาก ผู้ที่ข้ามถึงฝั่งโน้นมีเพียงจํานวนน้อย” และ ตรัสภาษิตนี้

อธิบายพุทธภาษิต : ถึงฝั่งโน้น (ปารคามิโน) คือ ถึงพระนิพพาน, หมู่สัตว์นอกจากนี้ (ผู้ที่ยังไม่ถึงฝั่งโน้น) ยังวิ่งเลาะอยู่ฝั่งนี้ คือ ยังมีสักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวเรา), ในธรรม คือ ในพระธรรมเทศนาที่ตรัสไว้ถูกต้องแล้ว เมื่อฟังธรรมเหล่านั้นแล้วก็ปฏิบัติตามธรรมนั้นให้เต็มที่ จนกระทํามรรคผลให้แจ้งได้ ก็จะถึงฝั่งโน้น (ปารเมสฺสนุติ) คือนิพพาน, ข้ามพ้นบ่วงมาร คือ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ (การตายเกิดวนเวียนอยู่ในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ และ อรูปาวจรภูมิ) ซึ่งเป็นที่อยู่ของมัจจุ (มจจุเธยฺยํ - บ่วงมาร) คือกิเลสมาร ที่ชนเหล่านั้น ผู้ที่ยังอยู่ฝั่งนี้) ก้าวล่วงได้แสนยาก (ดู ธ.อ.๒/๒๕๖-๒๙๗) (อธิบายว่า : ภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ได้ชื่อว่า บ่วงมาร ยังถูกมาร คือ กิเลสคล้องจับไว้ได้ในภพนั้นๆ ภพ ๓ ได้ชื่อว่า เป็นที่อยู่ของสัตว์ ผู้ยังอยู่ฝั่งนี้ด้วย และเป็นที่อยู่ของมาร คือ กิเลสด้วย)

คติธรรมความรู้ กาเลน ธมุมสฺสวน - การฟังธรรมตามกาล ได้แก่ เมื่อใดเกิดความฟุ้งซ่าน หรือเกิดอกุศลวิตก หรือสงสัยในธรรม กาลนั้นแหละควรฟังธรรม ควรสอบถามแก้ความสงสัย ย่อมได้อานิสงส์ คือ ละนิวรณ์ได้ เป็นต้น


พิมพ์