มหาสุญญตาสูตร

มหาสุญญตาสูตร

ปริยัติธรรม

หนังสือ สังสารวัฏ โดย สุรีย์ มีผลกิจ

ความไม่มีที่สุดแห่งสัตว์โลกทั้งหลาย

ภพภูมิของสัตว์โลกทั้ง ๓๑ ภูมิ ดังกล่าวมาแล้วทั้งมวลนี้ เป็นภูมิที่สัตว์ทั้งหลายต้องไปอุบัติหลังจาก สิ้นชีวิตในอัตภาพนั้นๆ แล้ว ตามแต่กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่แต่ละชีวิตได้กระทําไว้ วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ อย่างมิรู้จบสิ้น ตราบใดที่ยังมิบรรลุมรรคผลนิพพาน วัฏฏะก็ยังพาดําเนินต่อไปด้วย กิเลสวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ เสวยทุกข์บ้างสุขบ้างในท่ามกลางสังสารวัฏ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ยาวนานจนไม่สามารถรู้เบื้องต้นเบื้องปลาย

** มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้า ๒๖-๓๗ อรรถกถา มหาสุญญตาสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การอยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะ เป็นสิ่งที่สัตว์ทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติ เคยชิ้นมามากแล้วในสังสารวัฏ การอยู่เป็นหมู่เป็นคณะก็ได้คุ้นเคยกันมามากแล้วในนรก ในกําเนิดสัตว์เดรัจฉาน เปรตและอสุรกาย ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก

นรกหมื่นโยชน์แน่นไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย เสมือนทะนานที่เต็มด้วยผลดีบุก เหล่าสัตว์ในสถานที่ลงโทษ ด้วยเครื่องจองจํา ๕ ประการ มีประมาณหรือกําหนดไม่ได้ กําเนิดสัตว์เดรัจฉาน หมู่ปลวกในจอมปลวกแต่ละจอม หมู่มดแดงในแต่ละรัง ย่อมประมาณหรือกําหนดไม่ได้ ในภพภูมิเปรตมีกายสูงคาวุตหนึ่งก็มี กิ่งโยชน์ก็มี เต็มไป ด้วยหมู่เปรต ในภพภูมิอสูรมีหมู่คณะประมาณหมื่นโยชน์ ก็เบียดเสียดเหมือนช่องหูอันเต็มไปด้วยเข็มที่สอดในรูหู

ในมนุษยโลกเฉพาะกรุงสาวัตถี มีคนห้าล้านเจ็ดแสนตระกูล ในกรุงราชคฤห์มีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิเป็นต้น แม้ในเทวโลก พรหมโลกตั้งแต่ภุมมัฏเทวดา (เทวดาบนพื้นดิน) ขึ้นไป ก็อยู่กันเป็นหมู่เป็นคณะ เทพบุตร แต่ละองค์ย่อมมีเทพอัปสรผู้ฟ้อนรำถึงสองโกฏิ บางองค์มีถึงเก้าโกฏิ แม้พรหมโลกจํานวนนับหมื่นก็อยู่รวมเป็นหมู่ เป็นคณะในที่แห่งเดียวกัน เหล่าสัตว์ที่อยู่เป็นหมู่เป็นคณะย่อมเดือดร้อน สัตว์นิกายจึงไม่มีที่สุดด้วยประการนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า เราบําเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มายาวนานถึงสื่อสงไขยกับอีกแสนกัป ก็เพื่อ การกําจัดการอยู่รวมกันเป็นคณะ เราจักแสดงพระสูตรชื่อ มหาสุญญตาปฏิบัติ ซึ่งจักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบท สําหรับกุลบุตรผู้ใคร่ต่อการศึกษา ให้เป็นเหมือนกระจกสําหรับส่องหมู่สัตว์ที่วางไว้ ณประตูเมือง เมื่อเราปรินิพพาน ไปแล้ว ล่วงไปถึง ๕,๐๐๐ ปี กุลบุตรทั้งหลายเมื่อระลึกถึงพระสูตรนี้ จักยินดีในการหลีกออกจากหมู่ ไม่ยินดีใน การคลุกคลี ยินดีใน เนกขัมมสุข เป็นไปเพื่อสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น ยินดีใน สัมโพธิสุข เป็นไปเพื่อรู้พร้อมซึ่งมรรค จักบรรลุพระอรหัตภายในพรรษา จักกระทําที่สุดแห่งวัฏฏะทุกข์ให้สิ้นไป แล้วปรินิพพาน

ดูก่อน อานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลี ยินดีในการคลุกคลี ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลี บันเทิง อยู่ในหมู่คณะ ย่อมไม่งามเลย เพราะภิกษุที่ชอบคลุกคลีผูกพันเป็นหมู่คณะ ย่อมไม่อาจจะยังโลกิยคุณ และ โลกตตรคุณให้เกิดขึ้นได้ จริงอย่างนั้น พระวิปัสสิโพธิสัตว์ แวดล้อมด้วยบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป เที่ยวไป ๗ ปี ก็ไม่อาจจะยังสัพพัญญตญาณให้เกิดขึ้นได้ ครั้นหลีกออกจากการอยู่เป็นคณะแล้ว ขึ้นสู่โพธิมณฑล ๗ วัน ก็ยังคุณ แห่งสัพพัญญให้เกิดขึ้นแล้ว แม้พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เที่ยวไปตลอด ๖ ปี ก็ไม่สามารถจะยังคุณแห่ง สัพพัญญให้เกิดขึ้นได้ ครั้นปัญจวัคคีย์หลีกไปแล้ว เสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑลก็ยังพระสัพพัญญตญาณให้เกิดขึ้นแล้ว

ดูก่อนอานนท์ การคลุกคลีผูกพันด้วยหมู่คณะ ย่อมยังความยาวนานของสังสารวัฏ อย่างไม่มีที่สุด แห่งสัตว์โลกทั้งหลาย นี้แล ความไม่มีที่สุดแห่งนิกายสัตว์ทั้งหลาย

๓. สุญญตวรรค หมวดว่าด้วยสุญญตา ๑. จูฬสุญญตสูตร ว่าด้วยสุญญตา สูตรเล็ก

[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ณปราสาทของมิคารมาตาใน บุพพารามเขตกรุงสาวัตถีครั้นเวลาเย็นท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่งณที่สมควรได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของ เจ้าศากยะชื่อนครกะแคว้นสักกะณที่นั้นข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า อานนท์ปัจจุบันนี้เราอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม๒ โดยมากข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับมาดีแล้วรับมาดีแล้วใส่ใจไว้ดีแล้วทรงจำไว้ ดีแล้วหรือพระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกต้องอานนท์ข้อนั้นเธอสดับมาดีแล้วรับมาดี แล้วใส่ใจไว้ดีแล้วทรงจำไว้ดีแล้วทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้เราอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม โดยมากเปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมาตาหลังนี้ว่างจากช้างโค ม้าและลาว่างจากทองและเงินว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษไม่ว่างอยู่ อย่างเดียวคือภิกษุสงฆ์เท่านั้นแม้ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันไม่ใส่ใจความ สำคัญว่าบ้านไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะความสำคัญว่าป่า จิตของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไปในความสำคัญว่าป่า

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในความสำคัญว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะอาศัยความสำคัญว่าบ้านไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญ ว่ามนุษย์มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่าอย่างเดียว

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าบ้าน
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าป่าเท่านั้นด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตา(ความว่าง)ตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๗๗] อีกประการหนึ่งภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ไม่ใส่ใจความ สำคัญว่าป่าใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้นจิตของเธอ จึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไปในความสำคัญว่าแผ่นดินเปรียบเหมือน หนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อยเป็นของปราศจากรอยย่นแม้ฉันใดภิกษุก็ ฉันนั้นเหมือนกันไม่ใส่ใจถึงความลุ่มๆดอนๆแห่งแผ่นดินนี้ซึ่งมีแม่น้ำลำธาร เต็มไปด้วยตอหนามมีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอทั้งหมดใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้นจิตของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไป ในความสำคัญว่าแผ่นดิน

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในความสำคัญว่าแผ่นดินนี้ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะอาศัยความสำคัญว่ามนุษย์ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความ สำคัญว่าป่ามีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดินอย่างเดียว

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้นด้วย อาการอย่างนี้เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๗๘] อีกประการหนึ่งภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าป่าไม่ใส่ใจความสำคัญ ว่าแผ่นดินใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้นจิต ของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไปในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะนี้ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่าไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย ความสำคัญว่าแผ่นดินมีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะอย่างเดียว

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๗๙] อีกประการหนึ่งภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าแผ่นดินไม่ใส่ใจ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่า วิญญาณัญจายตนะเท่านั้นจิตของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไปใน ความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะนี้ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดินไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะมีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะอย่างเดียว

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดิน
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๘๐] อีกประการหนึ่งภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่า อากิญจัญญายตนะเท่านั้นจิตของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไปใน ความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะนี้ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะมีอยู่เพียงความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะอย่างเดียว

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๘๑] อีกประการหนึ่งภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะไม่ ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะเท่านั้นจิตของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและ น้อมไปในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ไม่มี ความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะมีอยู่เพียงความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะอย่างเดียว

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ เท่านั้นด้วยอาการอย่างนี้เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๘๒] อีกประการหนึ่งภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะไม่ ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิตเท่านั้นจิตของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไปใน เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะมีอยู่เพียงความกระวนกระวายคือ ความเกิดแห่งอายตนะ๖ที่อาศัยกายนี้เท่านั้นเพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความเกิดแห่งอายตนะ๖ที่อาศัยกายนี้ เท่านั้นเหตุมีชีวิตเป็นปัจจัยด้วยอาการอย่างนี้เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๘๓] อานนท์อีกประการหนึ่งภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะใส่ใจอยู่อย่างเดียวคือ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเท่านั้นจิตของเธอจึงแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและน้อมไปใน เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้ แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดาเมื่อภิกษุ นั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะภวาสวะและอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้วไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย กามาสวะในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยภวาสวะในญาณนี้ไม่มี ความกระวนกระวายเพราะอาศัยอวิชชาสวะมีอยู่เพียงความกระวนกระวายคือ ความเกิดแห่งอายตนะ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้นเพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย

รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากกามาสวะ
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากภวาสวะ
รู้ชัดว่า ความสำคัญนี้ว่างจากอวิชชาสวะ
รู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่อย่างเดียวคือความเกิดแห่งอายตนะ๖ที่อาศัยกายนี้ เท่านั้นเพราะมีชีวิตเป็นปัจจัยด้วยอาการอย่างนี้เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่

อานนท์การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริงไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้

[๑๘๔] อานนท์ในอดีตสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเข้าถึง สุญญตาอันบริสุทธิยอดเยี่ยมอยู่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้เข้าถึง สุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่ ในอนาคตสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็จักเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่ ในปัจจุบันสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่

อานนท์เพราะเหตุนั้นเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าถึงสุญญตา อันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้วท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคดังนี้แล


พิมพ์