ปริยัติธรรม
หนังสือ สังสารวัฏ โดย สุรีย์ มีผลกิจ
สถานที่ตั้งของ รูปพรหมภูมิ อยู่สูงจากเทวภูมิชั้นปรนิมมิตวสวัตตีขึ้นไป ๑,๔๓๖,๐๐๐ โยชน์ รูปพรหมทั้งหลายมีสีสันวรรณงดงาม รัศมีแห่งรูปพรหมนั้นรุ่งเรืองกว่าเทวดาในเทวโลก พรหมภูมิมีเพียงเพศบุรุษ ไม่มีสตรี แม้ว่าสตรีจะเจริญฌานสมาบัติได้ ก็บังเกิดได้เพียงชั้นปริสัชชาพรหม มิอาจล่วงขึ้นไปถึงพรหมโลกชั้นสูง กว่านั้นได้ ท้าวมหาพรหมทั้งหลายล้วนมีรูปงาม มีรัศมีรุ่งเรืองดุจแสงแห่งประทีป โอภาสงาม อาการภายในคือ ตับ ไต ไส้พุง หรืออัฏฐิน้อยใหญ่มิได้มีในกายแห่งพรหม คงมีแต่เกสา นขา ทันตาเท่านั้น เพราะฉะนั้นพรหมทั้ง หลายจึงมิสามารถรับกลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ได้ เพราะไม่มีฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ พรหมทั้งหลายมีปีติ ๕ เป็นอาหาร พรหมมิได้บริโภคอาหาร เพราะอิ่มอยู่ด้วยปีติสุข วิมานแห่งพรหมทั้งปวงก็ล้วน แล้วไปด้วยแก้วประพาฬ ภายในวิมานไม่มีนางเทพอัปสรฟ้อนรำ เครื่องดนตรีดีดสีตีเป่า เหมือนเทวดาในกามภูมิ วิมานหนึ่งจะมีพระพรหมอยู่เพียงองค์หนึ่ง ในพรหมโลกนั้นมีแต่สิริไสยาสน์กับทิพยภูษา ไม่มีทิพยบริขารอื่นอีก
รูปภูมิ ๑๖บุคคลที่บังเกิดในรูปภูมิ ๑๖ ด้วยอํานาจรูปาวจรกุศล คือ ผู้ที่เจริญฌานสมาบัติขั้นต่าง ๆ ได้แก่ บุคคลที่เจริญรูปาวจรกุศลจนได้ ปฐมฌาน เมื่อทําลายขันธ์แล้วก็ได้บังเกิดในปฐมฌานภูมิ ๓ ได้แก่
- พรหมปาริสัชชา พรหมโลกชั้นที่ ๑ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จปฐมฌาน อย่างสามัญ พรหมชั้นนี้มีอายุ ๑ ใน ๓ ของมหากัป เป็นพรหมที่คอยรับใช้มหาพรหมา
- พรหมปุโรหิตา พรหมโลกชั้นที่ ๒ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จปฐมฌาน อย่างปานกลาง พรหมชั้นนี้มีอายุ ๑ ใน ๒ มหากัป เป็นพรหมที่ปรึกษากิจการของมหาพรหมา
- มหาพรหมา พรหมโลกชั้นที่ ๓ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จปฐมฌาน อย่างประณีต พรหมชั้นนี้มีอายุ ๑ มหากัป เป็นพรหมที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
ในปฐมฌานภูมิทั้ง ๓ นี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน เหมือนกับพื้นที่มนุษย์ ตั้งอยู่ในท่ามกลางอากาศ สูงขึ้นไปจากเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน สวนดอกไม้ สระโบกขรณีอันล้วน แล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีรัศมีสวยงามยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในพรหมชาลสูตรว่า เมื่อกาลที่โลกพินาศ ด้วยเพลิงประลัยกัลป์ น้ำประลัยกัลป์ ลมประลัยกัลป์ ปฐมฌานภูมินี้ย่อมถูกทําลายไปทุกครั้ง และถึงกาลที่โลกเริ่ม ตั้งขึ้นใหม่ปฐมฌานก็ตั้งขึ้นก่อน โดยมีมหาพรหมองค์เดียวเกิดขึ้นก่อน ต่อมาก็พรหมปุโรหิตา และพรหมปาริสัชชา จึงเกิดขึ้นตาม บาลีแสดงถึงมหาพรหมใช้เอกพจน์ ส่วนพรหมปุโรหิตา และพรหมปาริสัชชาใช้พหูพจน์ ท่านจึง สันนิษฐานว่า มหาพรหมภูมิมีองค์เดียว ส่วนปาริสัชชาภูมิ และปุโรหิตาภูมิมีพรหมอาศัยอยู่จํานวนมาก
บุคคลที่เจริญรูปาวจรกุศลจนได้ ทุติยฌาน และ ตติยฌาณ ทําลายขันธ์แล้ว ย่อมได้ไปบังเกิดใน ทุติยฌานภูมิ ๑ ได้แก่
- พรหมปริตตาภา พรหมโลกชั้นที่ ๔ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จทุติยฌาน และตติยฌาน อย่างสามัญ พรหมชั้นนี้มีอายุ ๒ มหากัป เป็นพรหมที่รับใช้อาภัสสราพรหม
- พรหมอัปปมาณาภา พรหมโลกชั้นที่ ๕ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จทุติยฌาน และตติยฌาน อย่างปานกลาง พรหมชั้นนี้มีอายุ ๔ มหากัป เป็นพรหมที่ ปรึกษากิจการงาน ของอาภัสสรพรหม
- พรหมอาภัสสรา พรหมโลกชั้นที่ ๖ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จทุติยฌาน และตติยฌาน อย่างประณีต พรหมชั้นนี้มีอายุ ๘ มหากัป เป็นพรหมที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
ทุติยฌานภูมิ ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากปฐมฌานภูมิประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ พื้นที่ของ ทุติยฌานภูมิอยู่ในระดับเดียวกัน ล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยวิมาน อุทยาน สระโบกขรณี และต้น กัลปพฤกษ์ ทุติยฌานภูมินี้เป็นที่เกิดแห่งผู้ที่ได้ทุติยฌานและตติยฌาน การให้ผลปฏิสนธิในทุติยฌานภูมิด้วยกัน เพราะทุติยฌานกุศลสามารถละวิตกองค์ฌานได้ และตติยฌานกุศลสามารถละวิจารองค์ฌานได้ แต่ฌานทั้งสอง ก็มิอาจก้าวล่วงปีติได้ จึงยังไม่อาจส่งผลให้บังเกิดในตติยฌานภูมิ ฉะนั้น ทุติยฌานวิบาก และตติยฌานวิบาก ทั้งสองนี้ จึงปฏิสนธิได้ในทุติยฌานภูมิด้วยกัน
บุคคลที่ได้เจริญรูปาวจรกุศลได้ จตุตถฌาน ทําลายขันธ์แล้วได้ไปบังเกิดใน ตติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่
- ปริตตสุภา พรหมโลกชั้นที่ ๗ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จจตุตถฌาน อย่างสามัญ พรหมชั้นนี้มีอายุ ๑๖ มหากัป เป็นพรหมที่รับใช้สุภกิณหาพรหม
- อัปปมาณสุภา พรหมโลกชั้นที่ ๘ ผู้เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จจตุตถฌาน อย่างปานกลาง พรหมชั้นนี้มีอายุ ๓๒ มหากัป เป็นพรหมที่ปรึกษากิจการงานของ
- สุภกิณหาพรหม สุภกิณหา พรหมโลกชั้นที่ ๙ ผู้เจริญสมถภาวนา จนสําเร็จจตุตถฌาน อย่างประณีต พรหมชั้นนี้มีอายุ ๖๔ มหากัป เป็นพรหมที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
ตติยฌานภูมิ ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากทุติยฌานภูมิประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ พื้นที่ของ ตติยฌานภูมิอยู่ในระดับเดียวกัน ล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยวิมาน อุทยาน สระโบกขรณี และต้น กัลปพฤกษ์ เช่นเดียวกับปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ
จตุตถฌานภูมิ ๗
บุคคลใดเจริญรูปาวจรกุศลจนได้ ปัญจมฌาน เมื่อทําลายขันธ์แล้วก็ได้ไปบังเกิดใน จตุตถฌานภูมิ คือ เวหปผลาภูมิ และอสัญญสัตตาภูมิ ซึ่งเป็นพรหมที่อยู่ระดับชั้นเดียวกัน
เวหัปผลา พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ ภูมิอันเป็นที่บังเกิดของผู้ที่เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จ ปัญจมฌาน ซึ่งเป็นผลของกุศลที่เกิดจากอุเบกขาเวทนา เป็นผลที่ประเสริฐ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ให้ผลบริบูรณ์ พรหมชั้นนี้มีอายุ ๕๐๐ มหากัปทุกองค์
อสัญญสัตตา พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ ภูมิอันเป็นที่บังเกิดของผู้ที่เจริญรูปาวจรกุศล จนสําเร็จ ปัญจมฌานที่ไม่ปรารถนามีนามคือจิต ปรารถนามีแต่รูปอย่างเดียว พรหมชั้น นี้มีอายุ ๕๐๐ มหากัปทุกองค์
** อรรถกถาสังคีติสูตร ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย และปฏิสัมภิทามรรค กล่าวไว้ว่า ในครั้งเมื่อ พระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ พวกฤาษีที่เจริญวาโยกสิณยังจตุตถฌานให้เกิดแล้ว มีความหน่ายจากจิต เห็นว่ากองทุกข์ ทั้งมวลอาศัยจิตที่ถือเอาอารมณ์ต่าง ๆ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ จึงเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ เมื่อพิจารณาเห็นโทษแห่งจิตดังนี้แล้ว เจริญปัญจมฌาน ตั้งความปรารถนาที่จะไม่มีจิต
ครั้นทําลายขันธ์แล้ว ด้วยอํานาจของปัญจมฌานกุศล ได้ไปบังเกิดในอสัญญีภพ คือภูมิที่ไม่มีจิต ที่เรียกกันว่า พรหมลูกฟัก (เพราะไม่มีจิต) ผู้ใดตั้งมั่นอยู่ในอิริยาบถใดในมนุษยโลก ผู้นั้นก็ได้ไปบังเกิดในอสัญญีภพ ในสภาพที่นั่ง นอน หรือยืนเช่นนั้นตลอดกาล ดํารงอยู่ตลอด ๕๐๐ มหากัป จึงจุติ
เวหัปผลาภูมิ และ อสัญญสัตตาภูมิ ตั้งอยู่ในท่ามกลางอากาศในระดับเดียวกัน ห่างจากตติยฌานภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ ล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยวิมาน อุทยาน สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์
สุทธาวาส ๕
สุทธาวาสภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์จากกามราคะ เป็นต้น ได้แก่ อนาคามีบุคคล และ พระอรหันต์ ทั้งหลายที่ได้ปัญจมฌาน ส่วนบุคคลอื่นนอกนั้นแม้จะได้ปัญจมฌานก็มิอาจบังเกิดในภูมินี้ได้ ท่านกล่าวว่า ภูมิอัน เป็นที่อยู่ของพระอนาคามี และพระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น ภูมินั้นจึงชื่อว่า สุทธาวาสภูมิ
- อวิหา พรหมโลกชั้นที่ ๑๒ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้ที่เจริญรูปาวจรกุศล ที่ได้ ปัญจมฌาน และเจริญวิปัสสนาจนสําเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล ที่มี สัทธินทรีย์แก่กล้า
- อตัปปา พรหมโลกชั้นที่ ๑๓ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้ที่เจริญรูปาวจรกุศล ที่ได้ ปัญจมฌาน และเจริญวิปัสสนาจนสําเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล ที่มี วิริยินทรีย์แก่กล้า
- สุทัสสา พรหมโลกชั้นที่ ๑๔ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้ที่เจริญรูปาวจรกุศล จนได้ ปัญจมฌาน และเจริญวิปัสสนาจนสําเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล ที่มี สตินทรีย์แก่กล้า
- สุทัสสี พรหมโลกชั้นที่ ๑๕ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้ที่เจริญรูปาวจรกุศล จนได้ ปัญจมฌาน และเจริญวิปัสสนาจนสําเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล ที่มี สมาธินทรีย์แก่กล้า
- อกนิฏฐา พรหมโลกชั้นที่ ๑๖ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้ที่เจริญรูปาวจรกุศล จนได้ ปัญจมฌาน และเจริญวิปัสสนาจนสําเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล ที่มี ปัญญินทรีย์แก่กล้า
สุทธาวาสภูมิ ๕ ภูมินี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ แต่ละชั้นก็สูงห่างกัน ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ ตามลําดับ อกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิที่สูงสุด อกนิฏฐาพรหม ชื่อว่าเป็นพรหมที่มีคุณธรรมสูงที่สุด
ส่วนพรหมชั้นสุทัสสีพรหม สุทัสสาพรหม อตัปปาพรหม และอวิหาพรหม เมื่อยังไม่บรรลุเป็น พระอรหันต์ สิ้นอายุลงแล้วจะต้องเกิดในสุทธาวาสภูมิเบื้องบนขึ้นไป ย่อมไม่เกิดซ้ำภูมิที่อยู่เดิม หรือเกิดในภูมิที่ ต่ำกว่าเป็นอันขาด จะต้องปรินิพพานในอกนิฏฐาภูมินั้นเอง ท่านกล่าวไว้ว่า ข้อนี้ย่อมแสดงว่า อกนิฏฐาพรหมเจริญ ด้วยศีลคุณ สมาธิคุณ และปัญญาคุณ ยิ่งกว่ารูปพรหมในมิอื่นทั้งปวง
** อรรถกถา วิภังคปกรณ์ กล่าวว่า พรหมชั้นอวิหามีอายุ ๑,๐๐๐ มหากัป พรหมชั้นอตัปปามีอายุ ๒,๐๐๐ มหากัป พรหมชั้นสุทัสสามีอายุ ๔,๐๐๐ มหากัป พรหมชั้นสุทัสสีมีอายุ ๘,๐๐๐ กัป พรหมชั้นอกนิฏฐา มีอายุ ๑๖,๐๐๐ มหากัป บรรดาพระอนาคามีที่อุบัติในสุทธาวาส ๕ ชั้นนี้ รวมทั้งพระอนาคามีที่บังเกิดจาก ปฐมฌานภูมิผ่านพรหมโลกทั้ง ๙ ชั้นแล้ว ดํารงอยู่ในอกนิฏฐาภูมิ พระอนาคามีเหล่านี้จะไม่เวียนกลับลงไปสู่โลกอีก ย่อมปรินิพพานในสุทธาวาสภูมินี้ การปรินิพพานของพระอนาคามีในสุทธาวาสภูมิมี ๕ ประเภท คือ
- อันตรปรินิพพายี ปรินิพพานในระหว่างคือบังเกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว อายุยังมิทันถึงกึ่ง หนึ่งก็ปรินิพพานโดยกิเลสนิพพาน
- อุปหัจจปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จวนจะถึงอายุพ้นกึ่งแล้ว หมายถึงจวนจะสิ้นอายุจึงปรินิพพาน
- อสังขารปรินิพพายี พระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ใช้ความเพียรนัก
- สสังขารปรินิพพายี ระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยใช้ความเพียรมาก
- อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี พระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ได้สําเร็จอนาคามีในชั้นอกนิฏฐา แล้วจึงปรินิพพาน
** อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ หน้า ๗๑๕ แสดงไว้ว่า เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ ทรงดําริว่า ผมของเราไม่เหมาะแก่สมณะ จําจักตัดผมเหล่านั้นด้วยพระขรรค์ ทรงจับพระขรรค์ อันคมกริบด้วยพระหัตถ์ขวา รวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงอธิษฐานว่า ถ้าเราจักเป็น พระพุทธเจ้าไซร้ ผมนี้จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่ได้เป็น ก็จงหล่นลงเหนือพื้นดิน ทรงตัดแล้วเหวี่ยงไปในอากาศ กําพระจุฬามณีนั้น ลอยขึ้นไปไกลประมาณโยชน์หนึ่งแล้วตั้งอยู่ในอากาศ ท้าวสักกะทรงนําผอบรัตนะขนาดโยชน์ หนึ่งรับกําพระจุฬามณีนั้น ทรงบรรจุไว้ในจุฬามณีเจดีย์ สําเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการไว้ในภพดาวดึงส์
ต่อจากนั้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงดําริอีกว่า ผ้ากาสีที่สวมใส่เหล่านี้มีค่ามาก ไม่ควรแก่สมณเพศ ลําดับนั้น ฆฏิการพรหม ผู้เป็นสหายเก่าแต่ครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตลอดพุทธันดรหนึ่ง ทรงทราบว่า วันนี้สหายเราออกมหาภิเนษกรมณ์ เราจักนําสมณบริขารไปเพื่อสหายนั้น
สมณบริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคต และผ้ากรองน้ำ
พระโพธิสัตว์ทรงครองผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ถือเพศบรรพชาสูงสุด ทรงเหวี่ยงคู่ผ้าฉลองพระองค์ นั้นไปในอากาศ ท้าวมหาพรหมรับผ้าคู่นั้นแล้ว สร้างทุสสะเจดีย์ สําเร็จด้วยรัตนะขนาด ๑๒ โยชน์ บรรจุฉลอง พระองค์นั้นไว้ภายพระเจดีย์ในพรหมโลก