วิวัฏฏะ

วิวัฏฏะ

ปริยัติธรรม

หนังสือ สังสารวัฏ โดย สุรีย์ มีผลกิจ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวิวัฏฏะ ด้วย ทุกขนิโรธอริยสัจ - ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

 

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงวิวัฏฏะ ด้วยทุกขนิโรธอริยสัจ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เพื่อให้ ละอวิชชา อันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะ ยัง วิชชา คืออรหัตตมรรคให้เกิดขึ้น ดังนี้

 

อนัตตา เหตุดับแห่งวัฏฏะทุกข์

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่จะทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ เธอต้องดับวัฎฎะด้วยการละอนุสัย ๓ คือ ละราคานุสัย ในสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัย ในทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัย ในอทุกขมสุขเวทนา

 

อนัตตาในจักขุทวาร

บุคคลควรเล็งเห็น
  • ตา ว่านั่น ไม่ใช่ของเรา นั้น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • รูป ว่านั้น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • จักขวิญญาณ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • จักขุสัมผัส ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • เวทนา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ตัณหา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
นี้คือ เหตุที่ทำให้บุคคลนั้น พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นใน จักขุทวาร


อนัตตาในโสตทวาร

บุคคลควรเล็งเห็น
  • หู ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • เสียง ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • โสตวิญญาณ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • โสตสัมผัส ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • เวทนา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั้น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ตัณหา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
นี้คือ เหตุที่ทําให้บุคคลนั้น พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นใน โสตทวาร


อนัตตาในฆานทวาร

บุคคลควรเล็งเห็น
  • จมูก ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • กลิ่น ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ฆานวิญญาณ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ฆานสัมผัส ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • เวทนา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ตัณหา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
นี้คือ เหตุที่ทำให้บุคคลนั้น พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นใน ฆานทวาร


อนัตตาในชิวหาทวาร

บุคคลควรเล็งเห็น
  • ลิ้น ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • รสว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ชิวหาวิญญาณ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ชิวหาสัมผัส ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • เวทนา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ตัณหา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
นี้คือ เหตุที่ทําให้บุคคลนั้น พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นใน ชิวหาทวาร


อนัตตาในกายทวาร

บุคคลควรเล็งเห็น
  • กาย ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • โผฏฐัพพะ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั้น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • กายวิญญาณ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่เรา นั้น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • กายสัมผัส ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • เวทนา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ตัณหา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
นี้คือ เหตุที่ทําให้บุคคลนั้น พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นใน กายทวาร


อนัตตาในมโนทวาร

บุคคลควรเล็งเห็น
  • ใจ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ธรรมารมณ์ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • มโนวิญญาณ ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • มโนสัมผัส ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • เวทนา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
  • ตัณหา ว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่น ไม่ใช่ เรา นั่น ไม่ใช่ อัตตาของเรา
นี้คือ เหตุที่ทําให้บุคคลนั้น พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นใน มโนทวาร


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน รูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตัณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน หู ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน เสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน โสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน โสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตัณหา

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จมูก ย่อม เบื่อหน่ายแม้ใน กลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ฆานวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตัณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ลิ้น ย่อม แม้ใน รส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตัณหา

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน กาย เบื่อหน่ายแม้ใน โผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน กายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน กายสัมผัส ย่อมเมื่อ แม้ใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตัณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ใจ ย่อมเมื่อ แม้ใน ธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน มโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน มโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตัณหา

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นเมื่อสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วย ความติดใจ จึงไม่มี ราคานุสัย นอนเนื่องอยู่ บุคคลนั้นเมื่อทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ไม่คร่ำครวญทุบอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มี ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่ บุคคลนั้นเมื่ออทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป รู้คุณ รู้โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มี อวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละ ราคานุสัย เพราะสุขเวทนา บรรเทา ปฏิฆานุสัย เพราะ ทุกขเวทนา ถอน อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง วิชชา ให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้จักเป็นผู้ที่กระทําที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน นั่นเป็นฐานะที่มีได้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงวิวัฏฏะโดยความเป็นอนัตตา ละอวิชชา คือละความไม่รู้อันเป็นราก เหง้าของวัฏฏะ ยัง วิชชา คืออรหัตมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว ขณะที่พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรนี้จบลง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป หลุดพ้นจากอาสวะ บรรลุอรหัตตผล ณ ที่นั้น พระธรรมเทศนาสูตรนี้ แม้พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พระโมคคัลลานเถระ และพระมหาเถระ ๘๐ รูปแสดง ก็มีภิกษุบรรลุเป็นพระอรหันต์ครั้งละ ๖๐ รูป

ต่อมาในภายหลัง พระมาไลยเทพเถระในเกาะลังกา ก็ได้แสดงพระสูตรนี้ในโลหะปราสาท พระเถระเมื่ออกจากมหาวิหารแล้ว ก็ไปแสดงที่เจตีบรรพต วัดสากิยวงษ์ วัดกูฎาสี ระหว่างหนองน้ำที่ลานมุกดา ที่เขาปาตกา ที่ปาจีนเฆรกะ ทีฆวาปี ที่ซอกเขาหมู่บ้าน และพื้นที่คนเลี้ยงแพะ จากที่นั้นแล้ว พระเถระก็ไปสู่ จิตตลบรรพต ติสสมหาวิหาร นาคมหาวิหารใกล้ หมู่บ้านกลกัจฉะ วัดกัลยาณี ในวันอุโบสถก็แสดงบนปราสาท พระมาไลยเทพเถระแสดงพระสูตรนี้ ในที่ ๖๐ แห่ง มีผู้สําเร็จพระอรหันต์แห่งละ ๖๐ รูป

เมื่อพระจุลนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกแสดงพระสูตรนี้ ที่วัดอัมพิลกวิหาร มีบริษัทมนุษย์ ๓ คาวุต บริษัทเทวดาหนึ่งโยชน์มาฟังธรรม เมื่อจบพระสูตร ภิกษุหนึ่งพันรูปบรรลุพระอรหันต์ ฉฉักกสูตรนี้เป็นพระสูตร ที่มีผู้บรรลุธรรมมากมาย เพราะเป็นพระธรรมเทศนาที่มีความไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลางและไพเราะในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง ด้วยประการฉะนี้


พิมพ์