ปริยัติธรรม
หนังสือ สังสารวัฏ โดย สุรีย์ มีผลกิจ
คําว่า โลก หรือ จักรวาล มีความหมายเดียวกัน คือแผ่นดินแผ่นฟ้าอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกทั้งหลาย เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เป็นต้น ในฎีกาสฬายตนวรรคกล่าวว่า จักรวาล ชื่อว่า โลก เพราะเป็นที่อาศัยอยู่ แห่งสัตว์ และพืช เป็นต้น
คัมภีร์ชินาลังการฎีกา หน้า ๙๐-๑๕๓ พรรณนาพุทธเขต ๓ แสดงเรื่องเกี่ยวกับจักรวาล ความว่าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงมีพระคุณหาที่สุดมิได้ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ย่อมทรงทราบโลกนี้และโลกอื่น ด้วยพระสัพพัญญตญาณ ทรงเป็นดวงอาทิตย์หนึ่งเดียวในพุทธเขต ๓ คือ ชาติเขต อาณาเขต และวิสัยเขต ในเขตทั้งสามนั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น มงคลจักรวาลหนึ่งเป็นเรือนประสูติ หนึ่งหมื่นจักรวาลถัดจากนั้น ชื่อว่า ชาติเขต หนึ่งแสนโกฏิจักรวาล ชื่อว่า อาณาเขต จักรวาลอันหาที่สุดมิได้ หาประมาณมิได้ ชื่อว่า วิสัยเขต
ส่วนคําว่า โลก หมายถึงโลก ๓ อย่าง คือ สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลกสังขารโลก ได้แก่ สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย และถูกทําลายย่อยยับไป
สัตวโลก ได้แก่ โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย
โอกาสโลก ได้แก่ แผ่นดินแผ่นฟ้าที่มีอยู่โดยธรรมชาติ เรียกว่าโลกธาตุ หรือจักรวาล หรือภาชนะโลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกทั้งหลาย
สําหรับสัตว์โลกและสังขารโลก เชื่อว่าทุกท่านผู้ศึกษาคงเข้าใจในความหมายอย่างชัดเจนอย่างดีแล้ว ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโอกาสโลก หรือภาชนโลก อันได้แก่โลกธาตุหรือจักรวาลอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์โลกทั้งปวง
จักรวาลโลกธาตุ หรือ ภาชนะโลก
คัมภีร์ซินาลังการฎีกา หน้า ๙๓-๕๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า โลกธาตุขนาดเล็ก ประมาณหนึ่งพันจักรวาล ชื่อว่าจูฬนีโลกธาตุ มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรส่องทิศทั้งหลายให้สว่างอยู่เท่าใด โลกโดยประมาณหนึ่งพันเท่านั้น เรียกว่า สหัสสี คือหนึ่งพันโลกธาตุ
โลกธาตุหนึ่ง ประกอบด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป มีทวีปน้อยสองพันแวดล้อม มีภูเขาจักรวาลเป็น ขอบ เขต นี้นับเป็นจักรวาลหนึ่ง ในจักรวาลนั้นว่าโดยส่วนยาว ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ โดยส่วนกว้าง ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ นี้เป็นปริมาณแห่งจักรวาลหนึ่ง หนึ่งแสนโกฏิจักรวาลเห็นปานนี้ ย่อมพินาศย่อมตั้งขึ้นและย่อมดํารงอยู่ พร้อม ๆ กับเตโชสังวัฏฏกัป เป็นต้น อาณาเขตของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีประมาณเท่านี้
คําว่า จักรวาล มีสัณฐานดังหลุม ดุจวงล้อแห่งรถ ดุจหลุมกลมเสมอกัน ความหนาแห่งพื้นน้ำและแผ่นดินที่ดํารงอยู่ โดยกําหนดเป็นสิ่งรองรับโลก ท่านมิได้กล่าวการกําหนดไว้ว่า ด้านขวางกลมประมาณเท่านี้ ในเวลาที่โลกจะพินาศพร้อมกัน จะเกิดความพินาศในที่ประมาณเท่าใด พื้นน้ำและแผ่นดินก็จะแผ่ไปในที่ประมาณเท่านั้น แสนโกฏิจักรวาลตั้งอยู่เหนือผิวน้ำนั้นดุจเรือ ดุจถาด และดุจใบไม้ของพวกมนุษย์ และจักรวาลเหล่านั้น แต่ละจักรวาลไม่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะถ้าเกี่ยวเนื่องถึงกันก็จะไม่พึ่งเคลื่อนไหว
ถามว่า จักรวาลเหล่านั้น ตั้งอยู่บนผิวน้ำได้อย่างไร ?ตอบว่า จักรวาลหนึ่ง ตั้งอยู่บนผิวน้ำดุจเรือ มีแผ่นดินศิลาตั้งอยู่เป็นพืดเดียวกันจนถึงภูเขาจักรวาล รองรับแผ่นดินร่วน เพื่อมิให้น้ำจากภายนอกไหลเข้ามาภายใน ที่จะกดจักรวาลให้จมลง แผ่นดินร่วนตั้งอยู่บน แผ่นดินศิลาดุจภาชนะสัมฤทธิ์วางอยู่ ภูเขาจักรวาลตั้งอยู่โดยรอบ ดุจขอบปากภาชนะสัมฤทธิ์ อยู่ดุจภาชนะวางไว้ในภาชนะสัมฤทธิ์นั้น แผ่นดินร่วนตั้งอยู่ดุจภาชนะวางไว้ในภาชนะสัมฤทธ์ มหาสมุทรทั้ง ๔ ตั้งอยู่ดจรสแห่งกับข้าวมากมายที่ใส่ในภาชนะภูเขาสิเนรุราช ตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล ดุจเสากระโดงเรือที่ตั้งอยู่ท่ามกลางลําเรือใหญ่ มีภูเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อมรอบ มีทวีปใหญ่ ๔ ทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร สระใหญ่ ๗ ป่าหิมพานต์ พระอาทิตย์พระจันทร์หมุนเวียนโคจรส่องแสงสว่าง
ภูเขาสิเนรุภูเขาสิเนรุราช มีสัณฐานกลม เป็นภูเขาสูงสุด หยั่งลึกลงในห้วงมหรรณพ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ยอดสูงจากน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์
รวมความสูงของสิเนรุราช ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ ข้างทิศปาจีนเป็นเงิน ทิศใต้เป็นแก้วอินทนิล ทิศตะวันตกเป็นแก้วผลึก ทิศเหนือเป็นทองคํามีเนื้อที่ ๘,๐๐๐ โยชน์ ภายใต้ภูเขาสิเนรุมียอด ๓ ยอดที่ กับแผ่นดินศิลา ชื่อภูเขา ตรีโกฏิ ตั้งรองรับภูเขาสิเนรุราช หยังลงไปในที่ประมาณ ๔,๐๐๐ โยชน์ ภูเขาสิเนรุจึงมั่นคงดุจหนีบไว้ด้วยคีม ส่วนที่ตั้งอยู่ภายใต้เรียกว่าแผ่นดินศิลา สถานที่ตั้งอยู่สุดรอบเรียกว่าราเขาจักรวาล ในสถานที่เหล่านั้น แผ่นดินศิลาหนา ๑๒๐,๐๐๐ โยชน์ ภูเขาจักรวาลก็หนา ๑๒๐,๐๐๐ โยชน์ รวมทั้งสองส่วนท่านกล่าวว่า
น้ําที่รองรับแผ่นดินนั้นหนาประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่บนลม
ลมที่รองรับน้ํา พัดพุ่งขึ้นจรดท้องฟ้าสูง ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี้คือความตั้งอยู่แห่งโลก
ต่อแต่นั้นมีภูเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อมรอบภูเขาสิเนรุราช เป็นส่วนกลม ภูเขาทั้ง ๗ ชื่อว่า ยุคันธร อิสินธร กรวีกะ สุทัสสสนะ เนมินธร วินตกะ และอัสสกัณณะ ภูเขาเหล่านี้ตั้งอยู่หยั่งลงในมหาสมุทรแยกกันแต่ละภูเขา ดุจมณฑลแห่งร่ม ในระหว่างภูเขาสัตตบริภัณฑ์มีทะเลสีทันดร น้ำทั้งหมดเป็นห้วงน้ำไหลไปยังส่วนแห่งทิศเดียวกัน ในเวลาที่จักรวาลถูกลมพายุใหญ่ที่ภูเขาจักรวาล ภูเขาหิมพานต์ ภูเขาสิเนรุราช และสัตตบริภัณฑ์พัดกระหน่ำ จนหวั่นไหว แม้กระนั้นก็ยังกระเพื่อม เพราะจักรวาลไหวน้ําจึงเพิ่มขึ้นในที่นี้จนล้นออก ในฎีกาแห่งมหาปรินิพพาน สูตรท่านก็กล่าวไว้ว่า ที่ชื่อว่าลมพายุแรงภายใต้จากแผ่นดิน พัดลมที่หนุนน้ําแล้ว ย่อมพัดยกจักรวาลขึ้นเบื้องบน พร้อมกับน้ํานั้นด้วย เมื่อลมพัดผ่านไปแล้ว น้ําก็ล้นออกไป แผ่นดินรองน้ําย่อมเชื่อมประสานลม น้ําจึงไม่ไหลออก
ทวีป ๔ทวีปใหญ่ ๔ กับทวีปน้อยที่เป็นบริวาร ๒,๐๐๐ ตั้งอยู่ภายนอกภูเขาเขาอัสสกัณฑ์ ในทิศทั้ง ๔ คือ
ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุราช ท่ามกลาง นีลสาคร มีสัณฐานดังเรือนเกวียน กว้างยาว ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีทวีปน้อย ๕๐๐ กว้างเท่ากัน เป็นที่อยู่ของมนุษย์และสัตว์ทั้งปวง ๓,๐๐๐ โยชน์ เป็นป่า หิมพานต์ ๔,๐๐๐ โยชน์ อีก ๔,๐๐๐ โยชน์เป็นน้ําทะเลชื่อโลณสาคร มีนคร ๘๔,๐๐๐ นคร มีกุสาวดีราชธานี เป็นเมืองหลวง มีแว่นแคว้น คาม นิคม ชนบทเหมาะสมกับนครเหล่านั้น เรียงรายด้วยแม่น้ําที่ไหลไปหลายพันสาย สมบูรณ์ด้วยอุทยานและป่าไม้ ถิ่นคนตั้งอยู่ในแนวแม่น้ํา ใบหน้าของมนุษย์ในชมพูทวีปมีสัณฐานดังเรือนรถ มีความสูงประมาณ ๔ ศอก ชาวชมพูทวีปไม่มีกําหนดอายุแน่นอน บางคราวมีอายุ ๑ อสงไขยกัปบ้าง ๑๐ ปีบ้าง เพราะชาวชมพูทวีปบางคราวมีศีลดี บางคราวทุศีล ในเวลาที่มีศีลดีอายุย่อมเจริญ เวลาที่ทุศีลอายุย่อมเสื่อม อายุ ที่เป็นไปโดยประมาณ ๑๐๐ ปี
ภูเขาหิมพานต์ที่ตั้งอยู่ในชมพูทวีปสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด ในป่าหิมพานต์มี ต้นหว้า เป็นต้นไม้ประจําทวีป วัดรอบลําต้น ๑๕ โยชน์ กิ่งรอบลําต้นยาว ๕๐ โยชน์ แผ่รอบบริเวณ ๑๐๐ โยชน์สูง ๑๐๐ โยชน์ นอกจากนั้นมีต้นแคฝอย ต้นงิ้ว ต้นหว้า ต้นปาริชาติของพวกเทวดา ต้นกระทุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นตึก ต้นแคฝอย เป็นต้นไม้ของพวกอสูร ต้นงิ้วเป็นต้นไม้ของพวกครุฑ
อุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุราช ท่ามกลาง ปีติสาคร ประดิษฐานอยู่นอกภูเขา อัสสกัณณะ ทวีปมีสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส วัดโดยรอบ ๘,๐๐๐ โยชน์ มีต้น กัลปพฤกษ์ เป็นต้นไม้ประจําทวีป มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีป เป็นผู้มีศีลดีในกาลทั้งปวง ศีล ๕ ย่อมบริสุทธิ์ตลอดกาล เพราะไม่ถือครอง ไม่ยึดถือสิ่งใดว่า เป็นของตน มนุษย์เหล่านี้ไม่ต้องหว่านพืชไม่ต้องนําไถออกไปไถ ถ้ามนุษย์เหล่านี้ต้องการจะบริโภคโภชนะข้าวสาลี ก็จะถือเมล็ดข้าวสาลีอันเว้นจากรําและแกลบ จากรวงข้าวสาลีที่เกิดเอง ใส่ในภาชนะทองคํา แล้วนําวางบนก้อนหิน ๓ ก้อนเสมือนเตา ไม่ต้องใช้ไม้ฟื้นและไฟ ในขณะนั้นไฟลุกขึ้นจากก้อนหินหุงภัตร เมื่อสุกไฟก็ดับไปเอง เมื่อไฟดับ มนุษย์เหล่านั้นก็รู้ว่าข้าวสุก เวลาจะบริโภค ไม่ต้องทํากับข้าวและแกงรสใดที่มนุษย์เหล่านี้ปรารถนาและต้องการ ย่อมสําเร็จ หากมนุษย์เหล่านี้ไม่ปรารถนาจะหุงหาอาหารบริโภค ก็จะบริโภคอาหารจากต้นกัลปพฤกษ์ เพียงเหยียด มือไปที่โคนต้น หรือระหว่างกิ่งเพื่อต้องการ ในขณะนั้นภัตรมีรสแกงหลายอย่างตามความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น ให้ได้บริโภคทุกอย่าง มิใช่แต่เพียงภัตร แม้สิ่งที่พึงลิ้ม พึงดื่ม จึงขบเคี้ยว สิ่งบริโภค ผ้า ดอกไม้ เครื่องประดับ ที่นอน ที่นั่ง ย่อมสําเร็จดังที่ปรารถนาทุกอย่าง ชื่อว่าจิตตระหนี่ของชาวทวีปนี้ไม่มี ท่านผู้มีฤทธิ์มีพระพุทธเจ้า และ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น มักจะไปรับบิณฑบาตในทวีปนี้เสมอ
ต้นกัลปพฤกษ์นั้น ยาวและกว้าง ๑๐๐ โยชน์ สูง ๑๐๐ โยชน์ มีกิ่งก้านปริมณฑลแผ่ออกไป ๓๐๐ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ในภูมิภาคอันเป็นเนินแห่งเขาหิมพานต์ด้านเหนือ ให้พวกมนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปได้เคี้ยวกิน ดื่ม ประดับดอกไม้ที่ปรารถนา ไล้ทากลิ่นหอม ส่วนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หากประสบเวทนาใกล้คลอดเกิดขึ้นเมื่อใด ก็นั่งหรือนอนคลอดในที่นั้นแล้วทิ้งทารกทั้งหลายหลีกไป ผู้ที่จะให้ทารกที่เกิดอาบน้ํา ดื่มนมหรือให้บริโภคย่อมไม่มี พอทารกเหล่านั้นเอานิ้วมือใส่ปาก น้ํานมก็จะไหลออกมา ทารกเหล่านั้นก็ได้ดื่มนม สบาย ไม่ลําบากลุกเดินไป แม้มารดาก็จําไม่ได้ ว่าทารกนี้เป็นบุตรของเรา แม้บุตรก็จําไม่ได้ว่าหญิงนี้เป็นมารดาของเรา มารดากับบุตรจํากัน ไม่ได้อย่างนี้ ราคะย่อมไม่เกิดแก่กันและกัน เพราะอํานาจแห่งตัณหา พวกเขาไม่มีการยึดถือว่าเป็นคู่ครองของผู้ใด ไม่มีการกําหนดว่านี้ภรรยาของเรา นี้บุตรของเรา พวกชาวทวีปนี้ดํารงชีพอยู่ ๑,๐๐๐ ปีแล้ว เคลื่อนจากอัตภาพ นั้นแล้ว ย่อมเกิดในอุตตรกรทวีปนั้นอีก หรือเกิดในสวรรค์ ย่อมไม่บังเกิดในอบาย เพราะมีศีลบริสุทธิ์ ใบหน้าของชาวอุตตรกุรุทวีปสี่เหลี่ยมดังตั้ง สูงประมาณ ๑๒ ศอก อายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปี
ปพพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุราช ท่ามกลาง ขีรสาคร ประดิษฐานอยู่นอกภูเขาอัสสกัณณะ มีสัณฐานกลมดังวงแว่นตา วัดโดยรอบ ๗,๐๐๐ โยชน์ มี ต้นซึก เป็นต้นไม้ประจำทวีป สูงใหญ่เท่ากับไม้หว้าในชมพูทวีป มีส่วนเป็นภูเขา แม่น้ํา ถิ่นมนุษย์ตั้งอยู่ตามแนวภูเขา ในโลกบัญญัติกล่าวว่า ปุพพวิเทหทวีปนี้มีลานกว้างสีทอง มีสังฆารามที่ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะสถิตอยู่เป็นประจำ มนุษย์ทวีปนี้ มีดวงหน้ากลมดังสัณฐานทวีป สูงประมาณ ๔ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี
อปรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุราช ท่ามกลาง ผลึกสาคร ประดิษฐานอยู่นอก ภูเขาอัสสกัณณะ ทวีปมีสัณฐานดังพระจันทร์ครึ่งซีก วัดโดยรอบ ๗,๐๐๐ โยชน์ มีส่วนที่เป็นแม่น้ำ ภูเขา มีต้นกระทุ่ม เป็นต้นไม้ประจําทวีปสูงใหญ่เท่ากับไม้หว้าในชมพูทวีป มนุษย์ในทวีปนี้มีดวงหน้าดังสัณฐานของทวีป สูงประมาณ ๖ ศอก ถิ่นมนุษย์ตั้งอยู่ตามแนวภูเขา เป็นถิ่นมั่งคั่งรุ่งเรือง คลาคล่ําไปด้วยผู้คน ชาวอปรโคยานทวีป สูงประมาณ 5 ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี
ป่าหิมพานต์จักรวาลแต่ละจักรวาล มีส่วนที่เป็นป่าหิมพานต์ ๓,๐๐๐ โยชน์ เขาหิมพานต์สูง ๕๐๐ โยชน์ เนินเขาสูง ๓๐๐ โยชน์ ยอดสูง ๒๐๐ โยชน์ เขาหิมพานต์นั้นประดับด้วยยอดทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐ ยอด เช่นเขา จิตรกฏ สุทัสสนา กาฬกูฏ ไกรลาสกุฏ คันธมาทนกฏ เป็นต้น
ที่เรียกว่าภูเขาหิมพานต์นั้น ด้วยมีความหมายว่า น้ําค้างตกลงในภูเขานั้นหนักนัก ภูเขาหิมพานต์จึง วิจิตรไปด้วยปัญจมหานที คือ คงคามหานที ยมนามหานที อจิรวดีมหานที สรภูมหานที มหิมหานที และแม่น้ํา น้อยอีกเป็นอันมาก กระแสน้ํานี้จะหลั่งไหลพัดผ่านไปโดยรอบเขาหิมพานต์ ประมาณโดยกลมได้ ๙,๐๐๐ โยชน์