ปริยัติธรรม
(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐) / (สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
ขันธ์ ๕ หมายถึงตัวตนหรือชีวิตของตน อันประกอบด้วยฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ที่แยกออกเป็น ๕ ขันธ์หรือกอง อันประกอบด้วย รูป(กาย), เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ท่านได้แยกให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ว่า ความเป็นตัวตนหรือชีวิตนั้นเป็นสังขารอย่างหนึ่งที่หมายถึงเป็นสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา จึงย่อมมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา
ปัญจขันธสูตร - พุทธพจน์ แสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ อันมีอยู่เป็นอยู่ตามีภาวะของมัน ที่เป็น ของมันอย่างนั้น เช่นั้นน ตามธรรมดาของมัน มิใช้มีเป็นสัตว์บุคคล อัตตา ตัวตน เราเขา ที่จะยึดถือเอาเป็น เจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาอย่างไร ๆ ได้
บรรดาสิ่งทั้งหลายที่รู้จักเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีอยู่เป็นอยู่เป็นไปในรูปของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มา ประชุมกันเข้า ตัวตนแท้ ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มีเมื่อแยกส่วนต่าง ๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่ พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อย ๆ คือ “รถ” เมื่อนำส่วนประกอบต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า “รถ” แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันจำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว คือ ตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านน มีแต่เพียงคาบัญญัติว่า “รถ” สำหรับสภาพที่มารวมตัว กันเข้าของส่วนประกอบเหล่านน แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆ นั้นเอง ก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันเข้าของ ส่วนประกอบย่อย ๆ ต่อ ๆ ไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจ ในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่าง ๆ มาประชุมเข้าด้วยกัน
เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไป ว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านนเป็นอย่างไรมีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่างและโดยที่พุทธธรรมมีความ เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะในด้านจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุ และจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และมักแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจ
การแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ นั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบ นั้น ๆ แต่ในที่นี้จะแสดงแบบขันธ์ 5 ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร
โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ 5 พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่ บัญญัติเรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ 5 ประเภท หรือ 5 หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์คือ
- รูป ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมที่งหมดของ ร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น
- เวทนา ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉย ๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทาง ประสาททั้ง ๕ และทางใจ
- สัญญา ได้แก่ความกำหนดได้หรือหมายรู้คือกำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะ ต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้น ๆ ได้
- สังขาร ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติ ต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการ แสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่าง ๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติหิริโอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๒๑ ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิอิสสา มัจฉริยะ เป็นต้นเรยกรวมอย่างง่าย ๆ ว่า เครื่องปรุง ของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรืเครื่องงปรุงของกรรม
- วิญญาณ ได้แก่ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การู้รสัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ
คำสอนพระอริยเจ้า
ธรรมเทศนาแนวปฏิบัติ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ขันธ์ห้า คือตัวของเรานี่แหละ ไม่ใช่อื่นไกล ตัวของเราทั้งหมดเรียกว่า ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
คำว่า ธรรมะ ในที่นี้หมายถึง ของมีอยู่เป็นอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด มันเป็นอยู่อย่างนั้น มีอยู่ อย่างนั้น เรียกว่า ธรรมะ
คำว่า เห็นธรรมะ คือเห็นจริงตามของที่มันเป็นเองนั่นเอง มันเป็นอยู่อย่างไร ให้เข้าใจว่า มันเป็นอยู่อย่างนั้น เรียกว่าเห็นสภาพของธรรมะ
ตรงนี้แหละเป็นของสําคัญ เห็นได้ยาก เพราะคนเรานั้นเห็นอะไร ดูอะไร ก็อยากจะดูของใหม่ เรื่อยไป ของเก่าเลยลืมเสีย มันก็เลยไม่ชัดไม่เจนขึ้นมา หากันไปเถิด หาธรรมะ หาเท่าไรก็หาไป ถ้าไม่ เห็นสภาพตามเป็นจริงแล้วก็ไม่เห็นธรรมะอยู่นั่นเอง
ให้เข้าใจว่า ของเป็นอยู่มีอยู่ในตัวของเรา เรียกว่าธรรมะทั้งนั้น อย่างที่เราเห็นธรรมะว่า ความ เกิดก็มีอยู่ ความแก่ก็เป็นอยู่มีอยู่ ความตายก็มีอยู่ในตัวของเรา แต่ไม่อยากดูเลยไม่เห็นธรรมะ อันการที่ไม่เห็นธรรมะ คือการไม่พอใจ ไม่เลื่อมใส ไม่ยินดีกับของที่มีอยู่เป็นอยู่นั่นเอง ครั้นหากเราพอใจเลื่อมใสยินดีในธรรมะที่เป็นอยู่มีอยู่นี้แล้วพิจารณาลงไปเถิดความชัดเจนแจ่มแจ้งก็จะเกิดขึ้น ในใจของเรานี้เอง
เหตุนั้น ท่านผู้พิจารณาธรรม ท่านจึงพิจารณาของในตัวเองอยู่ตลอดเวลา ขอให้มีศรัทธาเลื่อม ใสพอใจยินดีอย่างยิ่งในธรรมะนั้น ๆ ที่มีอยู่ในตัวของเรา ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวของตนเองอย่างยิ่ง
ที่จะอธิบายวันนี้ก็เรียกว่าธรรมะอันหนึ่ง นอกจากธรรมะหลาย ๆ อย่างแล้ว ธรรมะอันนี้ เรียกว่า ขันธ์ห้า คือตัวของเรานี่แหละ ไม่ใช่อื่นไกล ตัวของเราทั้งหมดเรียกว่า ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป ก็มีอยู่ในตัวของเรานี้ เวทนา คือความสุข ความทุกข์ หรือความไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็มีอยู่ในตัวของเรานี้ สัญญา คือความจดจำหมายมั่นว่านั่นนี่ต่าง ๆ สังขาร คือความคิด ปรุงแต่ง วิญญาณ คือความรู้สึก
ที่จะอธิบายในวันนี้มี ๕ อย่างเท่านี้แหละ มีอยู่ในตัวของเรานี้ทั้งหมดแล้ว น้อมลงในตัวของ เรานี่แหละ มีอยู่ในตัวของเรานี้ครบบริบูรณ์แล้วทั้ง ๕ อย่างนี้ แต่เราไม่ได้พิจารณา เหตุนั้นจึงจะ อธิบายเพื่อให้เข้าใจ
รูป เราพิจารณาโดยอาการเป็นของโสโครกไม่สวยไม่งาม ก็มีพร้อมในตัวของเราหมดทุกสิ่ง ทุกประการ เหงื่อไคลไหลออกจากร่างกายเป็นของปฏิกูล เราก็เห็นกันว่าเป็นของปฏิกูล จึงค่อยอาบน้ำ ชำระกายอันเน่าแฟะอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเน่าตั้งแต่ตัวของเรายังไม่ตาย ของสกปรกมันไหลออกมา ที่ภาษาเขาเรียกกันว่าขี้ไคล คือมันค่อยยังชั่วหน่อยหนึ่ง จึงเรียกว่าขี้ไคล มันไม่ใช่ขี้แท้ ๆ มันฝังไคล ชั่วนิดหน่อยเหม็นสาบเหม็นโคลน เหล่านี้ก็มีแล้วในตัวของเรา เรามีครบหมด ขี้มูก น้ำลาย ขี้หู ขี้ตา ล้วนเป็นขี้ทั้งนั้น แต่มันหยาบหน่อยไม่อยากพูด คนเราเลยพูดว่า มูลตา มูลหูเสีย ส่วนที่ถ่ายทอดออก จากร่างกายของเราเรียกว่าขี้ทั้งนั้นแหละ อย่างของเศษของเหลือเราเรียกว่าขี้ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย ขี้กาบมะพร้าว เรียกว่าขี้ทั้งนั้น เศษอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เศษจากมันไปหล่อเลี้ยงร่างกายแล้ว มันไหลออกมาตามที่ต่าง ๆ ทั้งตัวจึงเรียกว่าขี้ อันนี้เป็นธรรมะ ให้พิจารณาให้เห็นเป็นธรรม ของที่เป็น จริงแล้วใครจะปกปิดอย่างไรก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้น พูดให้เห็นตามเป็นจริงจึงเป็นธรรม เรียกว่า พิจารณาให้เป็นของ ปฏิกูล
คราวนี้พิจารณาเป็น ธาตุ เขาเรียกว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นธาตุสี่ ตัวของเราที่ เป็นก้อนนั่งอยู่นี่เรียกว่าเป็นก้อนดินก้อนหนึ่ง ไม่เรียกว่าหญิงหรือชาย ที่เรียกว่าหญิงว่าชายนั้นเป็น แต่สมมติเรียกขึ้นมาเฉย ๆ หรอก อันที่จริงมันเป็นสักแต่ว่า ก้อนธาตุ ทั้งหมด ที่ตั้งเป็นก้อนอยู่นี่ ล้วนเป็นธาตุสี่ทั้งนั้น นี่ก็เป็นธรรมอันหนึ่งเรียก ธรรมธาตุ
หรือจะพิจารณาให้เห็นเป็น อนิจจัง ของไม่เที่ยง หรือเห็นเป็น ทุกขัง เป็นของทนอยู่ไม่ได้ หรือ เห็นเป็น อนัตตา เป็นของไม่ใช่ตนใช่ตัวของใคร เป็นของว่างเปล่า
ของก้อนเดียวนี่แหละพูดถึงเป็น ธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็อันนี้ เป็น อสุภะปฏิกูล ก็อันเดียว กันนี่แหละ มันเป็นธรรม แต่ละอย่าง ๆ พูดว่าเป็น ขันธ์ห้า เขาก็เรียกตัวของเรานี่แหละ แล้วจะไปเอา ที่ไหนอีก ธรรมะมีอยู่ในตัวของเราแล้ว มีความเชื่อมั่นของเราเท่านั้นแหละว่า โอ! เรามีธรรมแล้วนี่ มีธรรมอยู่ในตัวของเราหมดแล้วนี่ (เชื่อมั่นแล้วก็พิจารณาไปซิคราวนี้ พิจารณาเป็นธาตุสี่ก็พิจารณาลง ไป เป็นของอสุภะปฏิกูลก็พิจารณาลงไป เป็นขันธ์ก็พิจารณาลงไป)
รูปขันธ์ เป็นก้อนทุกข์ เกิดขึ้นมาแล้วเป็นทุกข์แสนลำบาก แต่เราไม่เชื่อความทุกข์ของเรา ครั้น เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้ามันทุกข์ก็หายามากินแล้วก็หายไป เดินไปเหนื่อยก็นั่ง นั่งเหนื่อยก็นอน อันนี้แหละ มันบังทุกข์จึงไม่เห็นทุกข์ คนเราไม่เห็นทุกข์จึงไม่เห็นธรรม เห็นทุกข์นั่นแหละจึงเห็นธรรม เปลี่ยน อิริยาบถอยู่อย่างนี้ทุกข์ก็ไม่เกิด ทุกข์ไม่เกิดก็เลยไม่เห็นธรรม แยกออกไปอธิบายได้มากมาย เหลือหลาย อธิบายวันยังค่ำก็ไม่มีจบไม่สิ้นสุดสักที ถ้าพิจารณาเห็นชัดด้วยใจของตนแล้ว จะเห็นว่า กายของเรานี้ไม่มีอะไรเลย จะเห็นเป็นสักแต่ว่ารูปอันหนึ่ง เคลื่อนไหวไปมาอยู่เท่านั้น
เวทนาขันธ์ คือ ความสุข ความทุกข์ หรือุเบกขาความวางเฉย พิจารณาความทุกข์ก็อย่างที่พูด มาแล้วนั่นแหละ เรื่องการเจ็บการปวดต่าง ๆ หรือความหิวโหยกระหาย ความเย็น ความร้อน อ่อนแข็ง ต่าง ๆ สารพัดทุกอย่างล้วนแต่ทุกข์ทั้งนั้น คนเราต้องการแต่ความสุข อันเรื่องทุกข์แล้วไม่อยากจะพูด ถึงเลย แม้ไม่พูดถึงมันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ใช่ไม่พูดเรื่องทุกข์แล้วทุกข์มันจะหายไป เมื่อเกิด อะไรวุ่นวี่วุ่นวายเดือดร้อนแล้วก็พูดว่า แหม! ทุกข์จริง ๆ แล้วก็ลืมไปเสียไม่พิจารณากันจริง ๆ จัง ๆ สุขเวทนานั้นมีน้อยที่สุด มีสุขนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็กลับไปหาทุกข์อีก โดยมากมักเห็นความทุกข์ เป็นสุขไปเสีย ที่เรียกว่าหลงความทุกข์เป็นสุข
แต่ อุเบกขาเวทนา นี่ซิ จะไปหาที่ไหน ในคนเราหาไม่ค่อยพบ น้อยนักน้อยหนาที่จะเป็น อุเบกขาเวทนา มีอุเบกขาประเดี๋ยวเดียวแล้วก็หายไปไม่อยู่ได้นาน ที่เห็นชัดเจนก็ในผู้ที่เข้าสมาธิ สมาบัติ จิตลงมารวมเป็นกลางเฉย ๆ นั่นแหละถึงจะเป็น อุเบกขาเวทนา ถ้าทำสมาธิไม่ได้แล้วมันไม่ เป็นอุเบกขาสักที คิดส่งส่ายโน้นนี่อะไรต่าง ๆ หลายเรื่อง ทั้งอดีตและอนาคต ครั้นถ้าผู้คิดส่งส่าย หลายเรื่องหลายอย่างไม่รวมเป็นสมาธิภาวนาแล้ว จะไม่ได้พบ อุเบกขาเวทนา เลย นี่เป็นอีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ คือจดจำสิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวงหมด รวมทั้งที่จดจำเรื่องราวในอดีตอนาคตเข้ามา ไว้ในใจของตน แล้วก็รักษาเลี้ยงไว้ให้งอกงามอยู่เรื่อย ๆ นี่เรียกว่า สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ คือคิดปรุงแต่งอย่างนั้นอย่างนี้ สารพัดทุกอย่าง ให้มันเกิดมีขึ้นตลอดวันยังค่ำคืนรุ่งหาที่สุดไม่ได้ เรียกว่า สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ วิญญาณตัวนี้เป็นวิญญาณในขันธ์ห้า วิญญาณมีสองอย่าง คือ วิญญาณใน ขันธ์ห้า และ ปฏิสนธิวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณตัวมาเกิดเป็นคนทีแรก ส่วนวิญญาณใน ขันธ์ห้า หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นเบื้องต้นของผัสสะแล้วก็หายไป เช่น ตาเห็นรูป ตัว ผู้รู้ นั้นเรียกว่า วิญญาณ ต่อจากนั้นตัว สัญญา ก็เข้ามาแทน มาจำได้ว่าเป็นรูปนั่นรูปนี่แล้ว สัญญา ก็ดับไป สังขาร ก็เข้ามาปรุงแต่งคิดนึกต่อไป อันความรู้ว่าเป็นรูปทีแรกนั่นเรียกว่า วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ห้า
วิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้า ก็ดี ปฏิสนธิวิญญาณ ก็ดี เป็นตัวเดียวกันนั่นแหละไม่ใช่ตัวอื่นไกล มันเป็นตัวใจตัวเดียวนั่นแหละ แต่มันทำหน้าที่ต่างกัน ถ้าทำหน้าที่เป็นผู้รับรู้ของผัสสะในอายตนะ ทั้งหก เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณตัวนำให้มาเกิด ถ้าไม่มีวิญญาณตัวนี้ก็ไม่มาเกิด มันรวมเอา อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม รวมอยู่หมดในตัววิญญาณนั้น ความจริงแล้ว อวิชชาก็ตัวใจนั้นแหละ ตัณหาก็ตัวใจนั่นแหละ อุปาทานก็ตัวใจนั่นแหละ กรรมก็ตัวใจนั้นแหละ คำว่า มันมารวมอยู่ที่เดียวเป็นแต่คำพูดเฉย ๆ แท้ที่จริงแล้วมันไม่ได้เรียกมารวมกัน ธรรมทั้งสี่อย่างนี้มัน หากทำหน้าที่ของสัตว์ผู้จะเกิดต่างหาก ผู้จะมาเกิดต้องมีธรรมสี่อย่างนี้สมบูรณ์จึงจะเกิดได้
ทำไมจึงเรียกว่า ขันธ์ ขันธ์ แปลว่ากอง หมวดหมู่ เป็นกองไว้ อย่างขันที่เราเรียกของภายนอก ขันใส่ข้าว ขันใส่น้ำ ขันใส่ดอกไม้ ฯลฯ มันเป็นขันอันหนึ่ง เขาใส่เอาไว้ไม่ให้มันกระจัดกระจายไป เรียกว่าขัน อันนี้ก็เหมือนกัน ไม่ให้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กระจัดกระจายไป จัดไว้เป็น หมวดเป็นหมู่แต่ละอย่างไม่ให้มันปนกัน
สมมติบัญญัติอธิบายไปหลายเรื่องหลายอย่าง ล้วนอธิบายถึงเรื่องของ ใจ ตัวเดียวนี่แหละ เรียกว่า ขันธ์ เรียกว่า ธาตุ อายตนะ อะไรต่าง ๆ หลายอย่าง แต่ก็หมายถึงตัวเดียวคือใจนั่นแหละ พอเรียกอันนั้นอันนี้สารพัดต่าง ๆ ไปก็ฟังเพลินไปเลย เลยลืมตัวเดิมคือ ใจ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นผู้เห็นธรรม ใจเป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวงหมด ถ้าไม่มีใจสิ่งทั้งปวง ในโลกก็ไม่มี สิ่งทั้งปวงหมดเกิดจากใจอันเดียว อย่างสร้างบ้านสร้างเรือนใหญ่ ๆ โต ๆ นี่ถ้าใจไม่มี แล้วใครจะไปสั่งสร้าง ตนตัวของเรานี้ถ้าใจไม่มีมันจะอยู่ได้อย่างไร ก็ต้องดับสูญไปละซิ ใจเป็นใหญ่ มันอยู่ได้ก็เพราะใจ
นี่แหละขอให้พิจารณาอย่างนี้ ไม่ต้องไปพิจารณาอื่นไกล ธรรมทั้งหลายนั้นมีอยู่ในตัวของเรา หมด ขอให้เชื่อแน่วแน่ในใจในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า โอ! ธรรมนี้มีอยู่ในตัวของเรานี้เอง จะขึ้นเหนือล่องใต้ จะไปไหนใกล้หรือไกล ธรรมมีอยู่ในตัวเราหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว เราหอบ ธรรมไปแต่เราไม่ดูธรรมของเราน่ะซี มันจึงไม่เห็นธรรม
ครั้นมาดูตรงนี้แล้วเห็นธรรมชัดเจนขึ้นมาว่า อ๋อ! ธรรมอยู่ที่นี่หรอกก็หมดเรื่อง ทีนี้ไม่ต้องวิ่ง หาหรอก ธรรมมีอยู่ในตัวของเราแล้ว จึงว่าขอให้ตั้งศรัทธาเชื่อมั่นเต็มที่แล้วพิจารณาธรรมะ ก็จะไม่มี ที่สิ้นที่สุด ธรรมะมีอยู่ในตัวของเรา อันนี้เป็นธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนทุก ๆ คัมภีร์ ทรงแสดงออกไปจากธรรมะอันนี้อันเดียวเท่านั้น