อภิธรรม

อภิธรรม คืออะไร

อภิธรรม คืออะไร

ธรรมะส่วนใหญ่ที่ปรากฏในพระอภิธรรมแท้จริงแล้วก็เป็นธรรมะที่ปรากฏอยู่ในพระสูตร แต่ในพระอภิธรรมจะนําหลักธรรมะเหล่านั้นมาจัด เป็นหมวดหมู่ เป็นประเภทอย่างเป็นระบบ และขยายความให้สุขุมลุ่มลึก ยิ่งขึ้นไปอีก โดยตัดเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแสดงธรรมนั้นๆ ออกไปเพื่อให้เหลือแต่หลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของ ปรมัตถธรรมล้วน ๆ

วิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐาน

ในวิปัสสนากรรมฐานนี้ การสงเคราะห์วิสุทธิ โดยมี ๗ ประการ คือ ๑. สีลวิสุทธิ ๒. จิตตวิสุทธิ ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ

สมถกรรมฐานทีปนี

สมถกรรมฐานทีปนี

สมถภาวนา “กิเลเส สเมตติ สมโถ” ธรรมใดทําให้กิเลสมีกามฉันทนิวรณ์ เป็นต้น สงบลง ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า สมถะ ได้แก่สมาธิ คือ เอกัคคตาที่ใน มหากุศลจิต ๘ และ รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต ๑

ปฏิจจสมุปปาททีปนี และ ปัจจัย ๒๔ โดยย่อ

ปฏิจจสมุปปาททีปนี และ ปัจจัย ๒๔ โดยย่อ

สําหรับธรรมที่เป็นปัจจยุปบันนั้น เป็นปรมัตถ์โดยส่วนเดียวทั้ง ๒ นัย คําว่า ปัจจยะ หรือปัจจัยนั้น หมายความว่า เป็นเหตุของผลที่เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุนั้นๆ

สมุจจยสังคหะ

สมุจจยสังคหะ

แสดงการรวบรวมธรรมที่มีสภาพเข้ากันได้ ที่เรียกว่า สมุจจยสังคหะ นั้น เป็นหมวดๆ มี ๔ หมวดด้วยกัน คือ ๑. อกุศลสังคหะ, ๒. มิสสกสังคหะ, ๓. โพธิปักขิยสังคหะ, ๔. สัพพสังคหะ

นิพพานปรมัตถ์

นิพพานปรมัตถ์

นิพพาน เป็นธรรมชาติที่สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า นิพพานนี้เป็นธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาอย่างเด็ดขาคนั้นเอง ธรรมชาติใดย่อมพ้นจากตัณหาที่ชื่อว่า วานะ อันเป็นเครื่องร้อยภพน้อยภพใหญ่ให้ติดต่อกันอย่างเด็ดขาด ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า นิพพาน (หรือ) วัฏฏทุกข์ และความเดือดร้อนต่างๆ ย่อมไม่มีในนิพพานนี้ ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นที่คับแห่งวัฏฏทุกข์ และความเดือดร้อนต่างๆ นี้ชื่อว่า นิพพาน

รูปปรมัตถ์

รูปปรมัตถ์

รูป เป็นธรรมชาติที่มีการผันแปรเปลี่ยนแปลงสลายไป (รูปฺปนลกฺขณํ) ในเมื่อได้กระทบกันกับเหตุที่ไม่ถูกกันขึ้น เหตุที่ไม่ถูกกันนั้นเรียกว่า วิโรธิปัจจัย ได้แก่ ความเย็น, ร้อน, หิวข้าว, กระหายน้ำ, ยุง, ริ้น, เหลือบ, ไร, ลม, แดด, งูกัด, ตะขาบต่อย, แมลงป่องต่อย เหล่านี้เป็นต้น ดังมีวจนัตถะว่า สีตุณํหาทิวิโรธิปจฺจเยหิ รุปฺปตีติ = รูป ธรรมชาติใดย่อม เปลี่ยนแปลงสลายไปเพราะวิโรธิปัจจัย มีความเย็น ร้อน เป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า รูป

วีถิมุตตสังคหะ - มรณุปปัตติจตุกกะ - ความตาย ๔  ประการ

วีถิมุตตสังคหะ - มรณุปปัตติจตุกกะ - ความตาย ๔ ประการ

สำหรับผู้ที่จะต้องตายด้วยเหตุ ๔ ประการนั้นแหละ ประการใดประการหนึ่ง เมื่อเวลาใกล้จะตาย กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมซึ่งให้เกิดปฏิสนธิในภพหน้าที่เป็นไปเหมือนกับการแสดงตัวให้เด่นชัดตรงหน้ามาปรากฏเหมือนอยู่ในที่เฉพาะหน้าก็ดีกรรมนิมิต

วีถิมุตตสังคหะ - กัมมจตุกกะ

วีถิมุตตสังคหะ - กัมมจตุกกะ

คําว่า “กรรม” หมายความว่าการกระทําที่เกี่ยวด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งทางดี และทางไม่ดี ชื่อว่ากรรม หรือธรรมชาติที่ให้สําเร็จการกระทํานั้นๆ ชื่อว่ากรรม

วีถิมุตตสังคหะ - ปฏิสนธิจตุกกะ

วีถิมุตตสังคหะ - ปฏิสนธิจตุกกะ

ชื่อของปฏิสนธิมี ๔ ประการคือ อปายปฏิสนธิ ๑ กามสุคติปฏิสนธิ ๑ รูปาวจรปฏิสนธิ ๑ อรูปาวจรปฏิสนธิ ๑

วีถิมุตตสังคหะ - ภูมิจตุกกะ

วีถิมุตตสังคหะ - ภูมิจตุกกะ

ในบรรดาจตุกกะ ๔ ประการเหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิ ๔ ได้แก่ อบายภูมิ ๑ กามสุคติภูมิ ๑ รูปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑ รวมเป็นภูมิ ๔

วีถิสังคหะ

วีถิสังคหะ

ปวัตติสังคหะ การรวบรวมความเป็นไปแห่ง จิต เจตสิก ในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล รวมทั้งภูมิและบุคคล ตามสมควร, ปฏิสนธิกาล คือ อุปปาทักขณะ ของปฏิสนธิจิต, ปวัตติกาล คือ ตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต เป็นต้น จนถึงจิตที่ เกิดก่อนจุติจิต หรือตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา จนถึงฐีติขณะของจุติจิต

ปกิณณกสังคหะ

ปกิณณกสังคหะ

คําว่า ปกิณณกะ แปลว่า เรี่ยรายโดยทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น คําว่า ปกิณณกสังคหะ จึงแปลว่า การแสดงสงเคราะห์จิตเจตสิกโดย เรี่ยรายทั่วไป คือ แสดงสงเคราะห์โดย เวทนาบ้าง เหตุบ้าง กิจจ์บ้าง ทวารบ้าง อารมณ์บ้าง วัตถุบ้างเหล่านี้

เจตสิกปรมัตถ์

เจตสิกปรมัตถ์

เจตสิก เป็นธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้นนี้ ต่างกันกับต้นไม้ที่ต้องอาศัยพื้นแผ่นดินเกิดขึ้น เพราะว่าพื้นแผ่นดินกับต้นไม้นั้น พื้นแผ่นดินเป็นฐานอาธาระส่วนต้นไม้เป็นฐานีอาเธยยะ สําหรับจิตและเจตสิกนั้น จิตเป็นนิสสยะ เจตสิกเป็นนิสสิตะ เหมือนกันกับอาจารย์และลูกศิษย์ ทั้งนี้ก็เพราะว่า เจตสิกทั้งหลายจะรู้อารมณ์ได้ก็เพราะอาศัยจิตเป็นหัวหน้า

จิตปรมัตถ์

จิตปรมัตถ์

จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ดังวจนัตถะแสดงว่า “อารมฺณํ จินฺเตตีติ = จิตฺตํ” แปลความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต หมายความว่า เป็น ธรรมชาติที่ได้รับอารมณ์อยู่เสมอทางทวาร ๖

บรรลุนิพพาน

Nirvana Attain (บรรลุนิพพาน) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหน้าที่ของเราชาวพุทธบริษัท เพื่อหวังสืบทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์และพระอริยสงฆ์สาวกให้สืบต่อออกไปนานที่สุด โดยเนื้อหาจะประกอบด้วย "ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ" เพื่อให้ครบถ้วนสมบูณ์ในทุกแง่ของพระธรรมคำสอน โดยหวังว่าท่านทั้งหลายจะได้รับรสพระธรรมที่ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ค้นหาข้อมูล