ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
นิพพาน เป็นธรรมชาติที่สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ (สนุติลกฺขณํ) การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า นิพพานนี้เป็นธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาอย่างเด็ดขาคนั้นเอง โดยเหตุนี้พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้เข้าถึงซึ่งขันธปรินิพพานแล้ว วัฏฏทุกข์ต่าง ๆ ที่เป็นการ เกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, เป็นต้น เหล่านี้ก็ดับสูญสิ้นทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ดังมีวจนัตถะว่า วานโต นิกฺขนฺตนฺติ = นิพพานํ (วา) นิพฺพายนุติ สพฺเพ วฏฏทุกฺขสนฺตาปา เอตสุมินุติ = นิพฺพานํ (วา) นิพฺพายนุติ อริยชนา เอตสุมินฺติ = นิพฺพานํ ธรรมชาติใดย่อมพ้นจากตัณหาที่ชื่อว่า วานะ อันเป็นเครื่องร้อยภพน้อยภพใหญ่ให้ติดต่อกันอย่างเด็ดขาด ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า นิพพาน (หรือ) วัฏฏทุกข์ และความเดือดร้อนต่างๆ ย่อมไม่มีในนิพพานนี้ ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นที่คับแห่งวัฏฏทุกข์ และความเดือดร้อนต่างๆ นี้ชื่อว่า นิพพาน (หรือ) พระอริยบุคคลทั้งหลายเมื่อถึงซึ่งขันธปรินิพพานแล้วย่อมดับสูญสิ้น คือ ไม่เกิด ไม่ตาย ฉะนั้น ธรรมชาติที่ทําลายการเกิด การตาย ให้สูญสิ้นหมดไปชื่อว่า นิพพาน
คําว่า นิพพาน เมื่อตัดบทแล้วได้ ๒ บท คือ นิ + วาน
นิ แปลว่า พ้น หรือ ออก
วาน แปลว่า ตัณหา
เมื่อรวมบททั้งสองเข้ากันแล้วเป็น นิวาน แปลว่า พ้นจากตัณหา หรือออกจากตัณหา คําว่า นิวานะ เป็นนิพพานนั้น เป็นไปโดยนัยไวยากรณ์ คือ ว ตัวเดียวให้เป็น ว ว สองตัว (โดยภาวะ) ว ว สองตัว เปลี่ยนเป็น พ พ สองตัว ฉะนั้น จึงเป็น นิพพาน
ปทมจุจุตมจุจนต์ อสุขตมนุตตร์
นิพพานมิติ ภาสนุติ วานมุตตา มเหสโย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้แสวงหาซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ย่อมกล่าวสภาวธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้มีอยู่โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวด้วยสังขตธรรม ไม่มีความตาย และก้าวล่วงไปจากขันธ์ ๕ เสียได้ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ประเสริฐสุดนั้นว่า นิพพาน
อธิบายในคาถาข้อนี้ว่า พระอนุรุทธาจารย์พรรณนาคุณของพระนิพพานและแสดง ให้รู้ว่า นิพพานนั้นคืออะไร
การพรรณนาคุณของพระนิพพานในคาถานี้ มีอยู่ ๕ บท คือ ปทํ บทหนึ่ง อจจุตํ บทหนึ่ง อจุจนตํ บทหนึ่ง อสงขตํ บทหนึ่ง อนุตตร์ บทหนึ่ง รวมเป็น ๕ บทเหล่านี้ เป็นสภาพของพระนิพพาน ฉะนั้น ธรรมใดมีสภาพ ๕ อย่างดังกล่าวนี้แล้ว ธรรมนั้นแหละ ชื่อว่า พระนิพพาน ตามคํากล่าวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
คําว่า ปทํ แปลว่า ส่วนหนึ่ง หมายความว่า สภาวธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ มีอยู่โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวด้วยสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน
คําว่า อจจุตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ตาย หมายความว่า ไม่มีเกิด ไม่มีตาย เพราะความ ตายจะมีได้ก็ต้องมีความเกิด เมื่อไม่มีความเกิดแล้วความตายก็มีไม่ได้ ได้แก่ พระนิพพาน
คําว่า อจุจนตํ แปลว่า ธรรมที่ก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และอนาคต ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า พระนิพพานนั้นก้าวล่วงจากขันธ์ ๕ ที่ดับไปแล้ว คือ ปุพพันต ขันธ์ และก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่จะเกิดข้างหน้า คือ อปรันตขันธ์ แม้ว่าไม่ได้แสดงการก้าวล่วง ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันก็จริง แต่เมื่อได้แสดงความก้าวล่วงจากขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคตแล้ว การแสดงการก้าวล่วงจากขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันก็สําเร็จไปด้วย เพราะถ้าขันธ์ ๕ ที่เกิดไปแล้ว และที่จะเกิดต่อไปข้างหน้าไม่มีแล้ว ขันธ์ ๕ ที่กําลังเกิดก็มีไม่ได้ อุปมา เหมือนมีคนพูดว่า เราไม่เคยเห็นเลือดที่ในตัวปู และต่อไปข้างหน้าก็จะไม่แลเห็นเช่นเดียวกัน การพูดเช่นนี้ก็หมายความว่า ในปัจจุบันนี้เขาไม่แลเห็นนั้นเอง
ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันนี้แหละ เป็นอนาคตขันธ์ของขันธ์ ๕ ที่ล่วงไปแล้วและจะ เป็นอดีตขันธ์ของขันธ์ ๕ ที่จะเกิดต่อไปข้างหน้าอีก ฉะนั้นจึงไม่จําเป็นต้องแสดงการก้าวล่วงจากปัจจุบันขันธ์ โดยเฉพาะและเป็นที่รู้ได้ว่าพระนิพพานนี้ เป็นธรรมที่พ้นจากกาล ทั้ง ๓ เรียกว่า กาลวิมุต และเป็นธรรมที่พ้นจากขันธ์ ๕ เรียกว่า ขันธวิมุต
คําว่า อสงฺขตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า พระนิพพานนี้เป็นธรรมที่ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป เพราะธรรมดา จิต เจตสิก รูป เหล่านี้ เกิดขึ้นได้ก็โดยมีปัจจัย ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ๒-๓-๔ เป็นผู้ปรุงแต่ง เรียกว่า สังขตธรรม เมื่อพูดโตยสามัญแล้วคําว่า อสังขตธรรม ก็ได้แก่ บัญญัติด้วยเหมือนกัน แต่สําหรับในที่นี้แสดงแต่เฉพาะปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีจริงๆ ฉะนั้น อสังขตธรรมในที่นี้จึงหมายเอาพระนิพพานเท่านั้น
คําว่า อนุตฺตรํ แปลว่า เป็นธรรมที่ประเสริฐ ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า ธรรมอื่นๆ ที่จะประเสริฐกว่าพระนิพพานนั้นไม่มีเลย เมื่อว่าโดยส่วนรวมแล้ว อนุตตรธรรม ก็ได้แก่ โลกุตตรจิตและเจตสิก ๓๖ นิพพาน แต่สําหรับในที่นี้หมายเอาพระนิพพานอย่างเดียว ก็เพราะคาถาที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น แสดงถึงเรื่องพระนิพพานอย่างเดียว
คําว่า นิพพาน เมื่อแยกออกแล้วมี ๒ บท คือ นิ + วาน, นิ แปลว่า พ้น วาน แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องเกี่ยวโยงไว้ หมายถึง ตัณหา เมื่อรวม ๒ บทเข้ากันแล้วเป็น นิวาน แปลว่า ธรรมที่พ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง หมายถึงพ้นจากตัณหา ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
วินติ สสิพพตติ = วานํ ธรรมชาติใดย่อมเป็นผู้เกี่ยวไว้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อ ว่า วาน ได้แก่ ตัณหา วานโต นิกขนุตนุติ = นิพพาน ธรรมชาติใดย่อมพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง คือตัณหา ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า นิพพาน
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลกนี้ ความเกิดและความตายในคนหนึ่งๆ ที่ผ่าน มาแล้วนั้นมากมายจนไม่สามารถจะคํานวณได้ว่า เคยเกิดเคยตายมาแล้วเท่าไร และต่อไป ข้างหน้า ความเกิดและความตายก็จะมีต่อไปเรื่อยๆ กําหนดไม่ได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอาศัยตัณหา คือความพอใจ ติดใจ ต้องการในอารมณ์ต่างๆ นั้นเอง เป็นผู้เกี่ยวสัตว์ไว้ไม่ให้หลุดพ้นจากความเกิดและความตายไปได้ เหมือนหนึ่งช่างเย็บผ้าที่เอาผ้าหลายๆ ชิ้นมาเย็บให้ติดต่อกันฉันใด ตัณหาก็เปรียบได้เหมือนกับช่างเย็บผ้า คือเกี่ยวสัตว์ในภพเก่าให้ติดต่อกันกับภพใหม่เรื่อยๆ ไป ด้วยเหตุนี้แหละตัณหาจึงได้ชื่อว่า วาน
สําหรับพระนิพพานนั้น เป็นธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาไปแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า นิวาน คําว่า วาน เป็นชื่อของธรรมที่ไม่ดี แต่เมื่อมีคําว่า นิ ประกอบอยู่ข้างหน้าแล้วก็ กลายเป็นชื่อของธรรมที่ดีที่สุดไป เช่นเดียวกับผู้ที่ได้ชื่อว่า พระขีณาสพ คําว่า ขีณาสพ นี้ เมื่อแยกออกแล้วได้ ๒ บท คือ ขีณ + อาสว, ขีณ = หมด อาสว = ธรรมที่ไหลไปได้ใน ๓๑ ภูมิ ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ชื่ออาสวะเป็นชื่อที่ไม่ดี แต่เมื่อเอาคําว่า ขีณะ เติมลงข้างหน้า แล้ว กลายเป็นสิ่งที่ดีไป ว่าโดยบุคคล ได้แก่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ดังนี้
แสดงประเภทของพระนิพพาน
นิพพาน มี ๑
พระนิพพาน เมื่อว่าโดยสภาวลักขณะแล้วมีอย่างเดียว คือ สันติลักขณะ หมายถึง สงบจากกิเลสและขันธ์ ๕ ทั้งหลาย ที่กล่าวว่าพระนิพพานว่าโดยสภาวลักขณะของตนแล้ว มีอยู่อย่างเดียวนั้น ไม่เหมือนกับวัตถุสิ่งของที่มีสิ่งเดียว แต่มีเจ้าของหลายๆ คน ฉะนั้น จะใช้สิ่งของนั้นพร้อมๆ กันไม่ได้ จําเป็นจะต้องผลัดกันใช้ทีละคน ส่วนพระนิพพานหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานแล้ว ย่อมได้เข้าถึงสันติสุขด้วยกันทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่า นิพพาน คือ สภาพสันติสุขนี้นับไม่ถ้วน แล้วแต่จํานวนพระอรหันต์ที่ปรินิพพานไปแล้ว
นิพพาน มี ๒
พระนิพพาน เมื่อว่าโดยปริยายแห่งเหตุ (การณูปจารนัย) แล้วมี ๒ คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน หมายความว่า นิพพานที่เป็นไปกับขันธ์ ๕ คือ วิบาก และกัมมชรูปที่เหลือจากกิเลสทั้งหลาย ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังแสดงวจนัตถะว่า
(๑) กมุมกิเลเสหิ อุปาที่ยตีติ = อุปาทิ (วา) อารมุมณกรณวเสน ตณหา ทิฏฐีห์ อุปาที่ยตีติ = อุปาทิ
กรรมและกิเลสเหล่านี้ ย่อมยึดถือเอาขันธ์ ๕ คือ วิบาก และ กัมมชรูป ว่าเป็น ของเรา ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือ วิบาก และ กัมมชรูปนี้ ชื่อว่า อุปาทิ
หรืออีกนัยหนึ่ง ตัณหาและทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมยึดถือเอาขันธ์ ๕ คือ วิบาก และกัมมชรูป โดยการกระทําให้เป็นอารมณ์ของเรา ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือ วิบาก และกัมมชรูปนี้ชื่อว่า อุปาทิ
(๒) สิสุสติ อวสสุสตีติ = เสโส, อุปาทิ จ เสโส จาติ = อุปาทิเสโส ขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูป ชื่อว่า เสสะ เพราะยังเหลืออยู่จากกิเลส ขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูป เหล่านี้ชื่อว่า อุปาทิ ด้วย ชื่อว่า เสสะ ด้วย เพราะ ถูกกรรมและกิเลสยึดถือเอาว่าเป็นของเรา หรือถูกตัณหาและทิฏฐิยึดถือเอา โดยการกระทํา ให้เป็นอารมณ์ และเป็นธรรมที่ยังเหลืออยู่จากกิเลส ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือวิบาก และกัมมชรูป เหล่านี้ ชื่อว่า อุปาทิเสส
หมายความว่า วิบากและกัมมชรูปที่วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารเหล่านี้ ย่อมเกิดเกี่ยวเนื่องกันกับกิเลสอยู่เสมอ ครั้นเมื่ออรหัตตมรรคประหาณกิเลสทั้งหลายหมดสิ้นไปโดยไม่มีเหลือแล้ว แต่วิบากและกัมมชรูปซึ่งเป็นผลของกิเลสเหล่านั้นยังเหลืออยู่ ฉะนั้นวิบากและกัมมชรูปนี้แหละ จึงได้ชื่อว่า อุปาทิเสส เมื่อว่าโดยปุคคลาธิษฐานแล้ว ก็ได้แก่ร่างกายของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นเอง
. (๓) สห อุปาทิเสเสน ยา วตตตีติ = สอุปาทิเสสา นิพพานใด ย่อมเกิดพร้อมด้วยวิบากและกัมมชรูปที่เหลือจากกิเลสทั้งหลาย ฉะนั้น นิพพานนั้น ชื่อว่า สอุปาทิเสส ได้แก่ นิพพานที่พระอรหันต์ทั้งหลายเข้าไปรู้แจ้ง ในข้อที่ว่านิพพานที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยวิบากและกัมมชรูปนั้นไม่เหมือนกับจิตที่เกิดพร้อมด้วยเจตสิก มุ่งหมายเอาว่าวิบากและกัมมชรูปที่ยังเหลืออยู่นั้นเป็นเหตุให้รู้ถึง พระนิพพาน
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน หมายความว่า นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕ คือ วิบาก และ กัมมชรูปเหลืออยู่ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว ดังแสดงวจนัตถะว่า
นตฺถิ อุปาทิเสโส ยสุสาติ = อนุปาทิเสโส
ขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูปที่เหลือ ไม่มีแก่นิพพานใด ฉะนั้น นิพพานนั้นชื่อ ว่า อนุปาทิเสส
ในการที่ว่า เมื่อว่าโดยปริยายแห่งเหตุแล้ว นิพพานมี ๒ อย่างนั้น หมายความว่า วิบาก กับกัมมชรูปยังคงเหลืออยู่ และไม่มีเหลืออยู่ ทั้ง ๒ นี้ เป็นเหตุให้รู้ถึงสภาวะของ พระนิพพาน ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่าพระนิพพานมี ๓ ตามเหตุดังกล่าวนั้น แต่ก็เป็นการแสดงโดยปริยายไม่ใช่โดยตรงทีเดียว
อนึ่ง สอุปาทิเสสนิพพานนั้น จะเรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน ก็ได้ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ซึ่งเข้าไปรู้แจ้งพระนิพพานนั้น ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ได้ปรินิพพาน
อนุปาทิเสสนิพพาน จะเรียกว่า สัมปรายิกนิพพาน ก็ได้ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อปรินิพพานแล้ว จึงเข้าถึงพระนิพพานนั้น
การแสดงพระนิพพานทั้ง ๒ ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพานนี้ เป็นการแสดงโดยอภิธรรมนัย
ส่วนการแสดงโดยสุตตันตนัยนั้น มีแจ้งอยู่แล้วในปุจฉาวิสัชนาโชติกะ หลักสูตร ชั้นอาจารย์อภิธรรมกถูกะโท
นิพพาน มี ๓
๑. สุญญตนิพพาน
๒. อนิมิตตนิพพาน
๓. อัปปณิหิตนิพพาน
๑. สุญญตนิพพาน หมายความว่า ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้นสูญสิ้นจาก กิเลสและขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่แล้ว ฉะนั้น จึงเรียกว่า สุญญตนิพพาน
๒. อนิมิตตนิพพาน หมายความว่า ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น ไม่มีนิมิต เครื่องหมาย รูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะอย่างใดเลย ธรรมดารูปขันธ์นั้น ย่อมมีรูปกลาปเกิดรวมกันอยู่ ฉะนั้น รูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะจึงปรากฏได้ ส่วนนามขันธ์ ๕ แม้ว่า รูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะ ปรากฏไม่ได้ เหมือนรูปขันธ์ก็จริง แต่ความเกิดสืบต่อกันของนามขันธ์ ทั้ง ๔ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปรจิตตวิชานนอภิญญาลาภีบุคคลทั้งหลายย่อมเห็นได้ด้วยปัญญา คล้ายกับว่า นามขันธ์ ๔ เหล่านั้น มีรูปร่าง สัณฐาน ฉะนั้น จึงมีนิมิตเครื่องหมาย ส่วนความเป็นอยู่ของพระนิพพาน ไม่เป็นเช่นนั้นแม้แต่ประการใดเลย ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน
๓. อัปปณิหิตนิพพาน หมายความว่า ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น ไม่มีอารมณ์ ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ และไม่มีตัณหาที่เป็นตัวต้องการอยู่ในนิพพานนั้น อธิบายว่า สังขตธรรมทั้งหลาย ที่เป็นรูปก็ตาม นามก็ตาม ต้องมีสภาพปณิหิตะ คือ มีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ หรือมีตัณหา ทั้ง ๒ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง แม้ว่า โลกุตตรจิตเจตสิกเหล่านี้ จะไม่มีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ และไม่มีตัวตัณหาก็จริง แต่ก็ยังไม่พ้นจากความเป็นปณิหิตธรรม เพราะต้องเกิดอยู่กับบุคคล ส่วนนิพพานนั้น ไม่ได้เกิดอยู่ภายในบุคคล เป็นธรรมภายนอกโดยส่วนเดียว ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัปปณิหิตะ
คําว่า นิพพาน เมื่อตัดบทแล้วได้ ๒ บท คือ นิ + วาน
นิ แปลว่า พ้น หรือ ออก
วาน แปลว่า ตัณหา
เมื่อรวมบททั้งสองเข้ากันแล้วเป็น นิวาน แปลว่า พ้นจากตัณหา หรือออกจากตัณหา คําว่า นิวานะ เป็นนิพพานนั้น เป็นไปโดยนัยไวยากรณ์ คือ ว ตัวเดียวให้เป็น ว ว สองตัว (โดยภาวะ) ว ว สองตัว เปลี่ยนเป็น พ พ สองตัว ฉะนั้น จึงเป็น นิพพาน
ปทมจุจุตมจุจนต์ อสุขตมนุตตร์
นิพพานมิติ ภาสนุติ วานมุตตา มเหสโย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้แสวงหาซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ย่อมกล่าวสภาวธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้มีอยู่โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวด้วยสังขตธรรม ไม่มีความตาย และก้าวล่วงไปจากขันธ์ ๕ เสียได้ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ประเสริฐสุดนั้นว่า นิพพาน
อธิบายในคาถาข้อนี้ว่า พระอนุรุทธาจารย์พรรณนาคุณของพระนิพพานและแสดง ให้รู้ว่า นิพพานนั้นคืออะไร
การพรรณนาคุณของพระนิพพานในคาถานี้ มีอยู่ ๕ บท คือ ปทํ บทหนึ่ง อจจุตํ บทหนึ่ง อจุจนตํ บทหนึ่ง อสงขตํ บทหนึ่ง อนุตตร์ บทหนึ่ง รวมเป็น ๕ บทเหล่านี้ เป็นสภาพของพระนิพพาน ฉะนั้น ธรรมใดมีสภาพ ๕ อย่างดังกล่าวนี้แล้ว ธรรมนั้นแหละ ชื่อว่า พระนิพพาน ตามคํากล่าวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
คําว่า ปทํ แปลว่า ส่วนหนึ่ง หมายความว่า สภาวธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ มีอยู่โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวด้วยสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน
คําว่า อจจุตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ตาย หมายความว่า ไม่มีเกิด ไม่มีตาย เพราะความ ตายจะมีได้ก็ต้องมีความเกิด เมื่อไม่มีความเกิดแล้วความตายก็มีไม่ได้ ได้แก่ พระนิพพาน
คําว่า อจุจนตํ แปลว่า ธรรมที่ก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และอนาคต ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า พระนิพพานนั้นก้าวล่วงจากขันธ์ ๕ ที่ดับไปแล้ว คือ ปุพพันต ขันธ์ และก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่จะเกิดข้างหน้า คือ อปรันตขันธ์ แม้ว่าไม่ได้แสดงการก้าวล่วง ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันก็จริง แต่เมื่อได้แสดงความก้าวล่วงจากขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคตแล้ว การแสดงการก้าวล่วงจากขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันก็สําเร็จไปด้วย เพราะถ้าขันธ์ ๕ ที่เกิดไปแล้ว และที่จะเกิดต่อไปข้างหน้าไม่มีแล้ว ขันธ์ ๕ ที่กําลังเกิดก็มีไม่ได้ อุปมา เหมือนมีคนพูดว่า เราไม่เคยเห็นเลือดที่ในตัวปู และต่อไปข้างหน้าก็จะไม่แลเห็นเช่นเดียวกัน การพูดเช่นนี้ก็หมายความว่า ในปัจจุบันนี้เขาไม่แลเห็นนั้นเอง
ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันนี้แหละ เป็นอนาคตขันธ์ของขันธ์ ๕ ที่ล่วงไปแล้วและจะ เป็นอดีตขันธ์ของขันธ์ ๕ ที่จะเกิดต่อไปข้างหน้าอีก ฉะนั้นจึงไม่จําเป็นต้องแสดงการก้าวล่วงจากปัจจุบันขันธ์ โดยเฉพาะและเป็นที่รู้ได้ว่าพระนิพพานนี้ เป็นธรรมที่พ้นจากกาล ทั้ง ๓ เรียกว่า กาลวิมุต และเป็นธรรมที่พ้นจากขันธ์ ๕ เรียกว่า ขันธวิมุต
คําว่า อสงฺขตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า พระนิพพานนี้เป็นธรรมที่ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป เพราะธรรมดา จิต เจตสิก รูป เหล่านี้ เกิดขึ้นได้ก็โดยมีปัจจัย ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ๒-๓-๔ เป็นผู้ปรุงแต่ง เรียกว่า สังขตธรรม เมื่อพูดโตยสามัญแล้วคําว่า อสังขตธรรม ก็ได้แก่ บัญญัติด้วยเหมือนกัน แต่สําหรับในที่นี้แสดงแต่เฉพาะปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีจริงๆ ฉะนั้น อสังขตธรรมในที่นี้จึงหมายเอาพระนิพพานเท่านั้น
คําว่า อนุตฺตรํ แปลว่า เป็นธรรมที่ประเสริฐ ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า ธรรมอื่นๆ ที่จะประเสริฐกว่าพระนิพพานนั้นไม่มีเลย เมื่อว่าโดยส่วนรวมแล้ว อนุตตรธรรม ก็ได้แก่ โลกุตตรจิตและเจตสิก ๓๖ นิพพาน แต่สําหรับในที่นี้หมายเอาพระนิพพานอย่างเดียว ก็เพราะคาถาที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น แสดงถึงเรื่องพระนิพพานอย่างเดียว
คําว่า นิพพาน เมื่อแยกออกแล้วมี ๒ บท คือ นิ + วาน, นิ แปลว่า พ้น วาน แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องเกี่ยวโยงไว้ หมายถึง ตัณหา เมื่อรวม ๒ บทเข้ากันแล้วเป็น นิวาน แปลว่า ธรรมที่พ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง หมายถึงพ้นจากตัณหา ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
วินติ สสิพพตติ = วานํ ธรรมชาติใดย่อมเป็นผู้เกี่ยวไว้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อ ว่า วาน ได้แก่ ตัณหา วานโต นิกขนุตนุติ = นิพพาน ธรรมชาติใดย่อมพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง คือตัณหา ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า นิพพาน
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลกนี้ ความเกิดและความตายในคนหนึ่งๆ ที่ผ่าน มาแล้วนั้นมากมายจนไม่สามารถจะคํานวณได้ว่า เคยเกิดเคยตายมาแล้วเท่าไร และต่อไป ข้างหน้า ความเกิดและความตายก็จะมีต่อไปเรื่อยๆ กําหนดไม่ได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอาศัยตัณหา คือความพอใจ ติดใจ ต้องการในอารมณ์ต่างๆ นั้นเอง เป็นผู้เกี่ยวสัตว์ไว้ไม่ให้หลุดพ้นจากความเกิดและความตายไปได้ เหมือนหนึ่งช่างเย็บผ้าที่เอาผ้าหลายๆ ชิ้นมาเย็บให้ติดต่อกันฉันใด ตัณหาก็เปรียบได้เหมือนกับช่างเย็บผ้า คือเกี่ยวสัตว์ในภพเก่าให้ติดต่อกันกับภพใหม่เรื่อยๆ ไป ด้วยเหตุนี้แหละตัณหาจึงได้ชื่อว่า วาน
สําหรับพระนิพพานนั้น เป็นธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาไปแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า นิวาน คําว่า วาน เป็นชื่อของธรรมที่ไม่ดี แต่เมื่อมีคําว่า นิ ประกอบอยู่ข้างหน้าแล้วก็ กลายเป็นชื่อของธรรมที่ดีที่สุดไป เช่นเดียวกับผู้ที่ได้ชื่อว่า พระขีณาสพ คําว่า ขีณาสพ นี้ เมื่อแยกออกแล้วได้ ๒ บท คือ ขีณ + อาสว, ขีณ = หมด อาสว = ธรรมที่ไหลไปได้ใน ๓๑ ภูมิ ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ชื่ออาสวะเป็นชื่อที่ไม่ดี แต่เมื่อเอาคําว่า ขีณะ เติมลงข้างหน้า แล้ว กลายเป็นสิ่งที่ดีไป ว่าโดยบุคคล ได้แก่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ดังนี้
แสดงประเภทของพระนิพพาน
นิพพาน มี ๑
พระนิพพาน เมื่อว่าโดยสภาวลักขณะแล้วมีอย่างเดียว คือ สันติลักขณะ หมายถึง สงบจากกิเลสและขันธ์ ๕ ทั้งหลาย ที่กล่าวว่าพระนิพพานว่าโดยสภาวลักขณะของตนแล้ว มีอยู่อย่างเดียวนั้น ไม่เหมือนกับวัตถุสิ่งของที่มีสิ่งเดียว แต่มีเจ้าของหลายๆ คน ฉะนั้น จะใช้สิ่งของนั้นพร้อมๆ กันไม่ได้ จําเป็นจะต้องผลัดกันใช้ทีละคน ส่วนพระนิพพานหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานแล้ว ย่อมได้เข้าถึงสันติสุขด้วยกันทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่า นิพพาน คือ สภาพสันติสุขนี้นับไม่ถ้วน แล้วแต่จํานวนพระอรหันต์ที่ปรินิพพานไปแล้ว
นิพพาน มี ๒
พระนิพพาน เมื่อว่าโดยปริยายแห่งเหตุ (การณูปจารนัย) แล้วมี ๒ คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน หมายความว่า นิพพานที่เป็นไปกับขันธ์ ๕ คือ วิบาก และกัมมชรูปที่เหลือจากกิเลสทั้งหลาย ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังแสดงวจนัตถะว่า
(๑) กมุมกิเลเสหิ อุปาที่ยตีติ = อุปาทิ (วา) อารมุมณกรณวเสน ตณหา ทิฏฐีห์ อุปาที่ยตีติ = อุปาทิ
กรรมและกิเลสเหล่านี้ ย่อมยึดถือเอาขันธ์ ๕ คือ วิบาก และ กัมมชรูป ว่าเป็น ของเรา ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือ วิบาก และ กัมมชรูปนี้ ชื่อว่า อุปาทิ
หรืออีกนัยหนึ่ง ตัณหาและทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมยึดถือเอาขันธ์ ๕ คือ วิบาก และกัมมชรูป โดยการกระทําให้เป็นอารมณ์ของเรา ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือ วิบาก และกัมมชรูปนี้ชื่อว่า อุปาทิ
(๒) สิสุสติ อวสสุสตีติ = เสโส, อุปาทิ จ เสโส จาติ = อุปาทิเสโส ขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูป ชื่อว่า เสสะ เพราะยังเหลืออยู่จากกิเลส ขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูป เหล่านี้ชื่อว่า อุปาทิ ด้วย ชื่อว่า เสสะ ด้วย เพราะ ถูกกรรมและกิเลสยึดถือเอาว่าเป็นของเรา หรือถูกตัณหาและทิฏฐิยึดถือเอา โดยการกระทํา ให้เป็นอารมณ์ และเป็นธรรมที่ยังเหลืออยู่จากกิเลส ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือวิบาก และกัมมชรูป เหล่านี้ ชื่อว่า อุปาทิเสส
หมายความว่า วิบากและกัมมชรูปที่วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารเหล่านี้ ย่อมเกิดเกี่ยวเนื่องกันกับกิเลสอยู่เสมอ ครั้นเมื่ออรหัตตมรรคประหาณกิเลสทั้งหลายหมดสิ้นไปโดยไม่มีเหลือแล้ว แต่วิบากและกัมมชรูปซึ่งเป็นผลของกิเลสเหล่านั้นยังเหลืออยู่ ฉะนั้นวิบากและกัมมชรูปนี้แหละ จึงได้ชื่อว่า อุปาทิเสส เมื่อว่าโดยปุคคลาธิษฐานแล้ว ก็ได้แก่ร่างกายของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นเอง
. (๓) สห อุปาทิเสเสน ยา วตตตีติ = สอุปาทิเสสา นิพพานใด ย่อมเกิดพร้อมด้วยวิบากและกัมมชรูปที่เหลือจากกิเลสทั้งหลาย ฉะนั้น นิพพานนั้น ชื่อว่า สอุปาทิเสส ได้แก่ นิพพานที่พระอรหันต์ทั้งหลายเข้าไปรู้แจ้ง ในข้อที่ว่านิพพานที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยวิบากและกัมมชรูปนั้นไม่เหมือนกับจิตที่เกิดพร้อมด้วยเจตสิก มุ่งหมายเอาว่าวิบากและกัมมชรูปที่ยังเหลืออยู่นั้นเป็นเหตุให้รู้ถึง พระนิพพาน
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน หมายความว่า นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕ คือ วิบาก และ กัมมชรูปเหลืออยู่ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว ดังแสดงวจนัตถะว่า
นตฺถิ อุปาทิเสโส ยสุสาติ = อนุปาทิเสโส
ขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูปที่เหลือ ไม่มีแก่นิพพานใด ฉะนั้น นิพพานนั้นชื่อ ว่า อนุปาทิเสส
ในการที่ว่า เมื่อว่าโดยปริยายแห่งเหตุแล้ว นิพพานมี ๒ อย่างนั้น หมายความว่า วิบาก กับกัมมชรูปยังคงเหลืออยู่ และไม่มีเหลืออยู่ ทั้ง ๒ นี้ เป็นเหตุให้รู้ถึงสภาวะของ พระนิพพาน ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่าพระนิพพานมี ๓ ตามเหตุดังกล่าวนั้น แต่ก็เป็นการแสดงโดยปริยายไม่ใช่โดยตรงทีเดียว
อนึ่ง สอุปาทิเสสนิพพานนั้น จะเรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน ก็ได้ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ซึ่งเข้าไปรู้แจ้งพระนิพพานนั้น ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ได้ปรินิพพาน
อนุปาทิเสสนิพพาน จะเรียกว่า สัมปรายิกนิพพาน ก็ได้ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อปรินิพพานแล้ว จึงเข้าถึงพระนิพพานนั้น
การแสดงพระนิพพานทั้ง ๒ ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพานนี้ เป็นการแสดงโดยอภิธรรมนัย
ส่วนการแสดงโดยสุตตันตนัยนั้น มีแจ้งอยู่แล้วในปุจฉาวิสัชนาโชติกะ หลักสูตร ชั้นอาจารย์อภิธรรมกถูกะโท
นิพพาน มี ๓
๑. สุญญตนิพพาน
๒. อนิมิตตนิพพาน
๓. อัปปณิหิตนิพพาน
๑. สุญญตนิพพาน หมายความว่า ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้นสูญสิ้นจาก กิเลสและขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่แล้ว ฉะนั้น จึงเรียกว่า สุญญตนิพพาน
๒. อนิมิตตนิพพาน หมายความว่า ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น ไม่มีนิมิต เครื่องหมาย รูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะอย่างใดเลย ธรรมดารูปขันธ์นั้น ย่อมมีรูปกลาปเกิดรวมกันอยู่ ฉะนั้น รูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะจึงปรากฏได้ ส่วนนามขันธ์ ๕ แม้ว่า รูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะ ปรากฏไม่ได้ เหมือนรูปขันธ์ก็จริง แต่ความเกิดสืบต่อกันของนามขันธ์ ทั้ง ๔ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปรจิตตวิชานนอภิญญาลาภีบุคคลทั้งหลายย่อมเห็นได้ด้วยปัญญา คล้ายกับว่า นามขันธ์ ๔ เหล่านั้น มีรูปร่าง สัณฐาน ฉะนั้น จึงมีนิมิตเครื่องหมาย ส่วนความเป็นอยู่ของพระนิพพาน ไม่เป็นเช่นนั้นแม้แต่ประการใดเลย ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน
๓. อัปปณิหิตนิพพาน หมายความว่า ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น ไม่มีอารมณ์ ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ และไม่มีตัณหาที่เป็นตัวต้องการอยู่ในนิพพานนั้น อธิบายว่า สังขตธรรมทั้งหลาย ที่เป็นรูปก็ตาม นามก็ตาม ต้องมีสภาพปณิหิตะ คือ มีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ หรือมีตัณหา ทั้ง ๒ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง แม้ว่า โลกุตตรจิตเจตสิกเหล่านี้ จะไม่มีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ และไม่มีตัวตัณหาก็จริง แต่ก็ยังไม่พ้นจากความเป็นปณิหิตธรรม เพราะต้องเกิดอยู่กับบุคคล ส่วนนิพพานนั้น ไม่ได้เกิดอยู่ภายในบุคคล เป็นธรรมภายนอกโดยส่วนเดียว ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัปปณิหิตะ
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว