ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และ ปริจเฉทที่ ๗ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
ปกิณณกสังคหะ
มาติกาทั้ง ๖ และคําปฏิญญา
คาถาสังคหะ
๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ เตปญฺญาส สภาวโต
จิตฺตเจตสิก ธมฺมา เตสนฺทานิ ยถารหํ
๒. เวทนาเหตุโต กิจฺจ ทฺวาราลมฺพนวตฺถุโต
จิตฺตุปฺปาทวเสเนว สงฺคโห นาม นียเต
บัดนี้ ข้าพเจ้าจะแสดงปกิณณกสังคหะของจิตและเจตสิก ว่าด้วยอํานาจแห่งการเกิดขึ้นของจิต โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจจ์ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ ตามสมควร
คาถา ๒ คาถานี้ พระอนุรุทธาจารย์แสดงเพื่อมุ่งหมายให้เป็น ปุพพานุสันธิ และ อปรานุสันธิ คือ การติดต่อระหว่างปริจเฉทที่ ๒ ที่แสดงไปแล้ว กับปริจเฉทที่ ๓ ที่จะแสดงต่อไปอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงตั้งหัวข้อของปริจเฉทที่ ๓ นี้ ว่าจะแสดงสังคหะ ๖ อย่างมีเวทนาสังคหะ เป็นต้น อย่างหนึ่ง และเพื่อแสดงปฏิญญา คือ การรับรองว่าจะแสดงขยายความแห่งการเกิดขึ้นของจิต โดย ประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจจ์ ทวาร อารมณ์และวัตถุ ฉะนั้น ในปริจเฉทที่ ๓ ในอภิธัมมัตถสังคหปกรณ์นี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงการจําแนกจิตแต่พวกเดียว โดยเวทนาสังคหะ เป็นต้น
ความจริงการสงเคราะห์โดยเวทนา เหตุ กิจจ์ ทวาร อารมณ์ วัตถุ ที่ชื่อว่า เวทนาสังคหะ เป็นต้นนั้น ไม่ใช่สงเคราะห์แต่จิตอย่างเดียว ต้องสงเคราะห์เจตสิกด้วย เพราะจิตและเจตสิกนั้น เกิดร่วมกันอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ ในหลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท จึงแสดงสงเคราะห์ทั้งจิตและเจตสิก โดย เวทนา เหตุ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาทั้งหลายได้รู้โดยสะดวกสบาย
คําว่า ปกิณณกะ แปลว่า เรี่ยรายโดยทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น คําว่า ปกิณณกสังคหะ จึงแปลว่า การแสดงสงเคราะห์จิตเจตสิกโดย เรี่ยรายทั่วไป คือ แสดงสงเคราะห์โดย เวทนาบ้าง เหตุบ้าง กิจจ์บ้าง ทวารบ้าง อารมณ์บ้าง วัตถุบ้างเหล่านี้
คําว่า นามเตปญฺญาส คือ สภาวธรรม ๕๓ นั้น ได้แก่ จิต ๑ เจตสิก ๕๒ นี้ นับด้วยลักษณะอาการของตน ๆ คือ จิต ๘๙ นั้น เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว มีลักษณะอย่างเดียว คือ มีการได้รับอารมณ์อยู่เสมอ เป็นลักษณะเหมือนกันหมด (อารมุมณวิชานนลูกขณา) ฉะนั้น จึงนับเป็น ๑ ส่วนเจตสิก ๕๒ ดวงนั้น มีลักษณะของตนโดย เฉพาะ ๆ ไม่เหมือนกัน เช่น ผัสสเจตสิกมีลักษณะกระทบอารมณ์ (ผุสนลกขณา) เวทนาเจตสิกมีลักษณะเสวยอารมณ์ (อนุภวนลกขณา) ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น เมื่อรวม จิตและเจตสิกเข้าแล้ว จึงเรียกว่า นามเตปญฺญาส คือ สภาวธรรม ๕๓
เวทนาสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา ชื่อว่า เวทนาสังคหะ
คาถาแสดงเวทนา ๓ และ ๕
ในเวทนาสังคหะนั้น ว่าโดยอารัมมณานุภวนลักขณะ คือ ลักษณะแห่งการเสวยอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา ว่าโดย อินทริยเภท คือ ประเภทแห่งอินทรีย์แล้ว มีเวทนา ๕ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. โสมนัสเวทนา ๔. โทมนัสเวทนา ๕. อุเบกขาเวทนา
คาถาแสดงการจําแนกจิต ๑๒๑ โดยเวทนา ๕
สุขเวทนา และ ทุกขเวทนา ประกอบอยู่ในกายวิญญาณจิต อย่างละ ๑ ดวง โทมนัส เวทนา ประกอบอยู่ในจิต ๒ ดวง โสมนัสเวทนา ประกอบอยู่ในจิต ๖๒ ดวง เวทนาที่นอกจากนี้ คือ อุเบกขาเวทนา ประกอบอยู่ในจิต ๕๕ ดวง
เหตุสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเหตุ ชื่อว่า เหตุสังคหะ
คาถาแสดงเหตุ ๖ หรือ ๙
อกุศลเหตุ มี ๓ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ กุศลเหตุ และ อพยากตเหตุ มีอย่างละ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
คําอธิบาย
คําว่า เหตุ หมายความว่า เป็นธรรมที่ให้ผลเกิดขึ้น และให้ผลธรรมนั้นตั้งมั่น ในอารมณ์ และให้เจริญขึ้นได้
ผลที่เกิดจากเหตุ นั้น ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อพยากตะบ้าง
อารมณ์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สภาพธรรมที่เกี่ยวด้วยสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ชื่อต่างๆ คําพูดต่างๆ เรื่องราวต่างๆ
ธรรมที่เป็นเหตุ
ธรรมที่เป็นเหตุได้นั้น ได้แก่ เจตสิก มีอยู่ ๖ คือ
๑. โลภะ ความอยากได้ ๒. โทสะ ความโกรธ ๓. โมหะ ความไม่รู้ ๔. อโลภะ ความไม่อยากได้ ๕. อโทสะ ความไม่โกรธ ๖. ปัญญา ความไม่หลง คือ รู้
ในบรรดาเหตุทั้ง ๖
๑. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง อโสภณะ และ โสภณะ แล้ว มี ๖ คือ
* อโสภณเหตุ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
* โสภณเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๒. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง อกุศล กุศล อพยากตะ แล้ว มี ๙ คือ
* อกุศลเหตุ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
* กุศลเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เอพยากตเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๓. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง ชาติ แล้วมี ๑๒ คือ
* อกุศลชาติ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
* กุศลชาติ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* วิปากชาติ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* กริยาชาติ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๔. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง ภูมิ แล้ว มี ๑๕ คือ
* กามเหตุ มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* รูปเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* อรูปเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* โลกุตตรเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๕. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง บุคคล แล้ว มี ๒๖ คือ
* เหตุที่เกิดใน ปุถุชน มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน โสดาบันบุคคล มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโมหเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน สกทาคามีบุคคล มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน อนาคามีบุคคล มี ๕ ได้แก่ โลภเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน พระอรหันต์ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
เหตุทําให้ผลธรรมตั้งมั่นได้ในอารมณ์นั้น คือ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น ตลอดจนถึงจิตคิดนึกเรื่องราวต่างๆ แล้ว อกุศลจิต คือ โลภจิต โทสจิต โมหจิต หรือ กุศลจิต คือ ศรัทธาจิต เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ญาณสัมปยุตตจิต เหล่านี้ ย่อม เกิดขึ้น และยึดเอาอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นไว้อย่างมั่นคง นี้แหละ คือ เป็นผลที่ตั้งมั่นในอารมณ์อันเกิดจากเหตุเหล่านั้น
เหตุทําให้ผลธรรมเจริญขึ้นได้นั้น คือ เมื่อจิตที่ยึดเอาอารมณ์ต่าง ๆ นั้น ค่อยๆ มีกําลังมากขึ้น ๆ หมายความว่า โลกะก็ดี โทสะก็ดี หรือศรัทธา เป็นต้น เหล่านั้น ก็ดี เมื่อขณะแรกที่เกิดขึ้นนั้น ยังมีกําลังอ่อนอยู่ ยังไม่ทําให้ลุล่วงไปถึงทุจริตหรือสุจริตได้ แต่ครั้นเมื่อมีกําลัง มากขึ้นแล้ว ย่อมสามารถทําให้ผู้นั้น กระทําทุจริตหรือสุจริตใน บรรดาทุจริต ๑๐ หรือสุจริต ๑๐ นั้นลงไปได้ นี้แหละ คือเป็นผลที่เจริญขึ้นด้วย อาศัยเหตุเหล่านั้น
คาถาแสดงการจําแนกจิต โดยเหตุ
นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบว่า อเหตุกจิต มี ๑๘ เอกเหตุกจิต มี ๒ ทวิเหตุกจิต มี ๒๒ ติเหตุกจิต มี ๔๗
คําอธิบาย
ในจํานวนจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ อเหตุกจิต ประเภทหนึ่ง สเหตุกจิต ประเภทหนึ่ง
อเหตุกจิต จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ มี ๑๘ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ สัมปฏิจฉนจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ โวฏฐัพพนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ รวมเป็นอเหตุกจิต ๑๘
สเหตุกจิต จิตที่ประกอบด้วยเหตุ มี ๗๑ หรือ ๑๐๓ คือ อกุศลจิต ๑๒ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ รวมเป็น สเหตุกจิต ๗๑ หรือ ๑๐๓
การจําแนกสเหตุกจิต โดยเหตุ
ในสเหตุกจิต ๒๑ หรือ ๑๐๓ นั้น
๑. เอกเหตุกจิต จิตที่มีเหตุ 9 มี ๒ ดวง คือ
* โมหมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ คือ โมหเหตุ
๒. ทวิเหตุกจิต จิตที่มีเหตุ ๒ มี ๒๒ ดวง คือ
* โลภมูลจิต ๘ มีเหตุ ๒ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ
* โทสมูลจิต ๒ มีเหตุ ๒ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ
* ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ มีเหตุ ๒ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
๓. ติเหตุกจิต จิตที่มีเหตุ ๓ มี ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง คือ
* กามาวจรญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ มีเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* มหัคคตจิต ๒๗ มีเหตุ ๓ คือ อโลกเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ มีเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
กิจจสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งกิจ ชื่อว่า กิจจสังคหะ
คาถาแสดงกิจ ๑๔ และฐาน ๑๐
แสดงจิตตุปปาทะที่มีนามว่า ปฏิสนธิจิต เป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งกิจ มี ๑๔ กิจ ว่าโดยประเภทแห่งฐาน มี ๑๐ ฐาน
คําอธิบาย
การงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา ใจ เหล่านี้ จะสําเร็จลงได้ก็ต้องอาศัย จิตเจตสิกเป็นผู้ควบคุม การงานที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา จึงสําเร็จได้ ส่วนการงานที่เกี่ยวกับใจ คือ การคิดนึกเรื่องราวต่างๆ นั้น จิตเจตสิกเป็นผู้กระทําเอง ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นและดับลงไป เหมือนกระแสน้ำไหลนั้น ย่อมมีหน้าที่ของตนๆ อยู่ทุกๆ ดวง จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหน้าที่นั้นไม่มีเลย และจิตเจตสิกที่กําลังทําหน้าที่ของตนๆ อยู่นั้นก็ต้องมีสถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานนั้นๆ โดยเฉพาะๆ สถานที่เหล่านี้แหละ ชื่อว่า ฐาน ถ้าจะอุปมาแล้ว จิตและเจตสิกเปรียบเหมือนคน ทํางาน กิจจ์เปรียบเหมือนการงานต่างๆ ฐานเปรียบเหมือนสถานที่ที่คนทํางาน
กิจ ๑๔
หน้าที่ของจิตเจตสิกที่ทําอยู่นั้น มีอยู่ ๑๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิสนธิจิต ทําหน้าที่ สืบต่อภพใหม่
๒. ภวังคจิต ทําหน้าที่ รักษาภพ
๓. อาวัชชนกิจ ทําหน้าที่ พิจารณาอารมณ์ใหม่
๔. ทัสสนกิจ ทําหน้าที่ เห็น
๕. สวนกิจ ทําหน้าที่ ได้ยิน
๖. ฆายนกิจ ทําหน้าที่ รู้กลิ่น
๗. สายนกิจ ทําหน้าที่ รู้รส
๘. ผูสนกิจ ทําหน้าที่ รู้ถูกต้อง
๙. สัมปฏิจฉนกิจ ทําหน้าที่ รับอารมณ์
๑๐. สันตีรณกิจ ทําหน้าที่ ไต่สวนอารมณ์
๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทําหน้าที่ ตัดสินอารมณ์
๑๒. ชวนกิจ ทําหน้าที่ เสพอารมณ์
๑๓. ตทารัมมณกิจ ทําหน้าที่ รับอารมณ์ต่อจากชวนะ
๑๔. จุติจิต ทําหน้าที่ สิ้นจากภพเก่า
ฐาน ๑๐
สถานที่ที่ทํางานของจิตและเจตสิกนั้น มีอยู่ ๑๐ ฐาน คือ
๑. ปฏิสนธิฐาน สถานที่ที่ทํางาน สืบต่อภาพใหม่
๒. ภวังคฐาน สถานที่ที่ทํางาน รักษาภพ
๓. อาวัชชนฐาน สถานที่ที่ทํางาน พิจารณาอารมณ์ใหม่
๔. ปัญจวิญญาณฐาน สถานที่ที่ทํางาน เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้ถูกต้อง
๕. สัมปฏิจฉนฐาน สถานที่ที่ทํางาน รับอารมณ์
๖. สันตีรณฐาน สถานที่ที่ทํางาน ไต่สวนอารมณ์
๗. โวฏฐัพพนฐาน สถานที่ที่ทํางาน ตัดสินอารมณ์
๘. ชวนฐาน สถานที่ที่ทํางาน เสพอารมณ์
๙. ตทารัมมณฐาน สถานที่ที่ทํางาน รับอารมณ์ต่อจากชวนะ
๑๐. จุติฐาน สถานที่ที่ทํางาน สิ้นจากภพเก่า
การจําแนกกิจ ๑๔ โดยจิต
๑. จิตที่ทําหน้าที่ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ มี ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ มหัคคตวิปากจิต ๙
๒. จิตที่ทําหน้าที่ อาวัชชนกิจ มี ๒ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๓. จิตที่ทําหน้าที่ ทัสสนกิจ มี ๒ ดวง คือ จักขุวิญญาณจิต ๒
๔. จิตที่ทําหน้าที่ สวนกิจ มี ๒ ดวง คือ โสตวิญญาณจิต ๒
๕. จิตที่ทําหน้าที่ ฆายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ฆานวิญญาณจิต ๒
๖. จิตที่ทําหน้าที่ สายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๗. จิตที่ทําหน้าที่ ผุสนกิจ มี ๒ ดวง คือ กายวิญญาณจิต ๒
๘. จิตที่ทําหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ มี ๒ ดวง คือ สัมปฏิจฉนจิต ๒
๙. จิตที่ทําหน้าที่ สันตีรณกิจ มี ๓ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓
๑๐. จิตที่ทําหน้าที่ โวฏฐัพพนกิจ มี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๑๑. จิตที่ทําหน้าที่ ชวนกิจ มี ๕๕ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘
๑๒. จิตที่ทําหน้าที่ ตทารัมมณกิจ มี ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓ มหาวิปากจิต ๘
การจําแนกเจตสิก ๕๒ โดยกิจ ๑๔
๑. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๑ มีจํานวน ๑๗ ดวง คือ
* อกุศลเจตสิก ๑๔ วิรตีเจตสิก ๓ ทําหน้าที่ ๑ คือ ชวนกิจ อธิบายว่า อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ เท่านั้น และ อกุศลจิต ๑๒ นั้น ก็ทําหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียว ฉะนั้น อกุศล เจตสิก ๑๔ จึงทําหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียวเหมือนกัน
* วิรตีเจตสิก ๓ ประกอบกับมหากุศลจิต และ โลกุตตรจิต มหากุศลจิต และโลกุตตรจิต ๒ พวกนี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียว ฉะนั้น วิรตีเจตสิก จึงทําหน้าที่ชวนกิจ เช่นเดียวกัน
๒. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๔ มีจํานวน ๒ ดวง คือ
* อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทําหน้าที่ ๔ คือ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ชวนกิจ อธิบายว่า อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้ เมื่อขณะประกอบกับ รูปาวจรวิปากจิต ทําหน้าที่ปฏิสนธิกิจ ภวังค์กิจ จุติกิจ เมื่อขณะประกอบกับมหากุศลจิตมหากริยาจิต รูปาวจรกุศลจิต รูปาวจรกริยาจิต ทําหน้าที่ ชวนกิจ
๓. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๕ มีจํานวน ๒๑ ดวง คือ
* โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ ทําหน้าที่ ๕ คือ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ รวม ๒๑ ดวงเหล่านี้ ไม่ได้ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘ ฉะนั้นจึง เว้นกิจ ๙ อย่าง มี อาวัชชนกิจ เป็นต้น จนถึงโวฏฐัพพนกิจ ซึ่งเป็น หน้าที่ของอเหตุกจิตโดยเฉพาะออกเสีย คงทําหน้าที่เพียง ๕ อย่าง ดังกล่าวแล้วนั้น
๔. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๖ มีจํานวน ๑ ดวง คือ
* ปีติเจตสิก ทําหน้าที่ ๖ คือ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ สันตีรณกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า ปีติเจตสิกนี้ เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็นอกุศล กุศล กริยา และผลจิตเหล่านี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ เมื่อประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต ทําหน้าที่ สันตีรณกิจ ตทารัมมณกิจ เมื่อประกอบกับ โสมนัสสสหคตจิตที่เป็นรูปาวจรวิบาก ทําหน้าที่ ปฏิสนธกิจ ภวังตกิจ จุติกิจ เมื่อประกอบกับ โสมนัสสสหคตจิตที่เป็นมหาวิบาก ทําหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ตทารัมมณกิจ
๕.เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๗ มีจํานวน ๑ ดวง คือ
* วีริยเจตสิก ทําหน้าที่ ๗ คือ ปฏิสนธิกิจ กวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า วีริยเจตสิกนี้ เมื่อประกอบกับอกุศลจิต กุศลจิต กริยาจิต และผสจิตเหล่านี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ เมื่อประกอบกับ มโนทวาราวัชชนจิต ทําหน้าที่ อาวัชชนกิจ โวฏฐัพพนกิจ เมื่อประกอบกับ มหัคคตวิปากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธิจิต ภวังคกิจ จุติกิจ เมื่อประกอบกับ มหาวิปากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ กวังคกิจ จุติกิจ ตทารัมมณกิจ
๖. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๙ มีจํานวน ๓ ดวง คือ
* วิตก วิจาร อธิโมกข์ ทําหน้าที่ ๙ คือ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ สัมปฏิจฉนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า วิตก วิจาร อธิโมกข์ เจตสิก ๓ ดวงนี้ เมื่อขณะประกอบ กับ อกุศลจิต กุศลจิต กริยาจิต และผลจิตเหล่านี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ เมื่อขณะประกอบกับ มโนทวาราวัชชนจิต ทําหน้าที่ อาวัชชนกิจ และ โวฏฐัพพนกิจ เมื่อขณะประกอบกับ สัมปฏิจฉนจิต ทําหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ เมื่อขณะประกอบกับ สันตีรณจิต ทําหน้าที่ สันตีรณกิจ ตทารัมมณกิจ เมื่อขณะประกอบกับ มหัคคตวิปากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ เมื่อขณะประกอบกับ มหาวิบากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ตทารัมมณกิจ
๗. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๑๔ มีจํานวน ๗ ดวง คือ
* สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ทําหน้าที่ ๑๔ คือ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สวนกิจ ฆายนกิจ สายนกิจ ผุสนกิจ สัมปฏิจฉนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ฉะนั้น จึงทําหน้าที่ ๑๔ อย่างทั้งหมดได้
หมายเหตุ เจตสิกที่ทําหน้าที่ ๒, ๓, ๘, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓ ไม่มี เพราะ เจตสิกที่ประกอบกับจิตที่ทําหน้าที่ ๒, ๓, ๘, ๑๐, ๑๑, ๑๑, ๑๒, ๑๓ โดยเฉพาะ นั้น ไม่มี
ทวารสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งทวาร ชื่อว่า ทวารสังคหะ
ทวาร ๖
ทวาร มี ๖ คือ
๑. จักขุทวาร ได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตทวาร ได้แก่ โสตปสาท
๓. ฆานทวาร ได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาทวาร ได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายทวาร ได้แก่ กายปสาท
๖. มโนทวาร ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙
คําว่า ทวาร แปลว่า ประตู สําหรับเป็นที่เข้าออกของคนทั้งหลาย จักขุปสาท เป็นต้น ชื่อว่า ทวาร เพราะเหมือนหนึ่งประตูเป็นที่เข้าออกของวิถีจิตทั้งหลาย ธรรมดาสัตว์ทั้งหลาย ถ้าไม่มีปสาทรูปทั้ง ๕ และภวังคจิตแล้ว วิถีจิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นไม่ได้แล้ว ก็เป็นอันว่า การทํา การพูด การคิด ที่ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ก็มีไม่ได้เช่นเดียวกัน
การจําแนกจิต โดยทวาร ๖
๑. จักขุทวาริกจิต จิตที่เกิดในจักขุทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๒. โสตทวาริกจิต จิตที่เกิดในโสตทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๓. ฆานทวาริกจิต จิตที่เกิดในฆานทวารได้ มี ๔๖ ควง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๔. ชิวหาวิญญาณจิต จิตที่เกิดในชิวหาทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๕. กายทวาริกจิต จิตที่เกิดในกายทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒)
๖. มโนทวาริกจิต จิตที่เกิดในมโนทวารได้ มี ๖๗ หรือ ๙๙ ดวง คือ
* กามจิต ๔๑ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓) มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
๗. ทวารวิมุตตจิต จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ ได้ มี ๑๙ ควง คือ
* อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ มหัคคตวิปากจิต ๙
จิต ๑๙ ดวงนี้ ในขณะทําหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ เป็นทวารวิมุตต์ หมายความว่า ขณะที่ทําหน้าที่ปฏิสนธิและจุตินั้น ตัวเองก็ยังไม่ได้เป็น มโนทวารเพราะไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้น และในขณะที่ทําหน้าที่ภวังค์นั้น ตัวเองก็เป็นมโนทวารอยู่แล้ว
อารัมมณสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งอารมณ์ ชื่อว่า อารัมมณสังคหะ
อารมณ์ ๖
อารมณ์ มี ๖ คือ
๑. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่างๆ
๒. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียงต่างๆ
๓. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสต่างๆ
๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
๖. ธรรมารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน บัญญัติ
คําอธิบาย
อารมณ์ หมายความว่า เป็นที่ยินดี เหมือนหนึ่งสวนดอกไม้เป็นที่ยินดีแก่คนทั้งหลาย ฉันใด อารมณ์ทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น ก็ย่อมเป็นที่ยินดีแก่จิตและเจตสิก ฉันนั้น ดังแสดงวจนัตถะว่า
อา อภิมุขํ รมนุติ เอตุถาติ อารมุมณํ (อา-ปุพพ, รมฺ-ธาตุ, ยุ-ปัจจัย) จิตและเจตสิกทั้งหลาย มายินดีพร้อมหน้ากันในธรรมชาตินี้ ฉะนั้น ธรรมชาตินี้ ชื่อว่า อารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ ๖
อารมณ์นี้ เรียกว่า อาลัมพนะ ก็ได้ หมายความว่า เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกทั้งหลาย เหมือนหนึ่งคนชราหรือทุพพลภาพ ย่อมต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือก เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ ทรงตัวลุกขึ้นและเดินไปได้ ฉันใด จิตเจตสิกทั้งหลายก็เช่น เดียวกัน ต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องอาศัยยึด เพื่อเกิดขึ้นติดต่อกัน ฉันนั้น ดังแสดง วจนัตถะว่า
จิตตฺเจตสิเกหิ อาลมฺพิยดีติ อาลมพณํ
ธรรมชาติอันจิตและเจตสิกทั้งหลายยึดหน่วง ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลัมพณะ ได้แก่ อารมณ์ ๖
อารมณ์ ๖ เหล่านี้ แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. สามัญญอารมณ์ อารมณ์ชนิดสามัญธรรมดาทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
๒. อธิบดีอารมณ์ อารมณ์พิเศษ ที่มีอํานาจครอบครองจิตและเจตสิก และ เหนี่ยวจิตเจตสิกทั้งหลายนั้นให้เข้ามาหาตน เหมือนหนึ่งกุสะราชาที่ ติดตามนางประภาวดีไปเป็นหนทางถึง ๑๐๐ โยชน์ เพราะอํานาจแห่งความสวยงาม คือ รูปารมณ์ของนางประภาวดีสามารถเหนี่ยวรั้งจิตใจของ พระเจ้ากุสะให้ติดตามไปจนถึงได้ หรือ เหมือนหนึ่งรูปภาพที่เขาติดโฆษณาไว้ที่โรงมหรสพ รูปภาพนั้นมีความสวยงามเป็ พิเศษ และเรื่องที่จะแสดง นั้นก็ดีเป็นพิเศษ ฉะนั้น เมื่อคนทั้งหลายที่เดินผ่านไปมาที่ โรงมหรสพนั้น จะเดินผ่านเลยไปเสียไม่ได้ ต้องแวะหยุดดูรูปภาพโฆษณานั้น แล้วก็ เข้าไปชมการแสดง ข้อนี้ฉันใด อารมณ์ที่เป็นอธิบดีก็ฉันนั้น คือ สามารถเหนี่ยวรั้งจิต และเจตสิกให้น้อมไปสู่ตน ดังแสดงวจนัตถะว่า
จิตตฺเจตสิเกหิ อาลมฺพิยดีติ อาลมพณํ
ธรรมชาติใดย่อมหน่วงเหนี่ยวจิตและเจตสิกทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึง ชื่อว่า อาลัมพณะ ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็นอธิบดี
การจําแนกทวาริกจิต และทวารวิมุตตจิต โดยอารมณ์ ๖
๑. จักขุทวาริกจิต ๔๖ มี รูปารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๒. โสตทวาริกจิต ๔๖ มี สัททารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๓. ฆานทวาริกจิต ๔๖ มี คันธารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๔. ชิวหาทวาริกจิต ๔๖ มี รสารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๕. กายทวาริกจิต ๔๖ มี โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๖. มโนทวาริกจิต ๖๗ หรือ ๙๙ มี อารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และกาลวุิมตต์ ตามสมควรแก่อารมณ์
๗. ทวารวิมุตตจิต ที่เกิดขึ้นทําหน้าที่ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ทั้ง ๑๙ ดวงนั้น มีอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ในบรรดาอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ซึ่งเป็นปัจจุบัน อดีต และบัญญัติที่ฉทวาริกมรณาสันนชวนะ รับเอามาจากภพก่อน เมื่อใกล้จะตายเป็นส่วนมาก
คําอธิบาย
อารมณ์ ๖ ที่กล่าวมาแล้วนั้น แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
๑. เตกาลิกอารมณ์ เป็นอารมณ์ที่เกี่ยวด้วย กาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้แก่ จิต เจตสิก รูป
จิต เจตสิก รูป ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์นั้น หมายถึง ขณะที่ปรากฏอยู่เฉพาะ หน้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ กําลังเห็น กําลังได้ยิน กําลังได้กลิ่น กําลังรู้รส กําลังถูกต้อง กําลังรู้ในอารมณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ดับไป เหล่านี้เรียกว่า ปัจจุบันอารมณ์
จิต เจตสิก รูป ที่เป็นอดีตอารมณ์นั้น หมายถึง อารมณ์เหล่านี้ผ่านไปแล้ว คือ ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้กลิ่นแล้ว ได้รู้รสแล้ว ได้ถูกต้องแล้ว สําหรับทางใจนั้น คิด นึกในอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว
จิต เจตสิก รูป ที่เป็นอนาคตอารมณ์นั้น หมายถึง อารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น จะ มาปรากฏ ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ จะเห็น จะได้ยิน จะได้กลิ่น จะได้รู้รส จะได้ถูกต้อง สําหรับทางใจนั้น คิดนึกถึงอารมณ์ที่จะมาปรากฏเหล่านั้น
รวมทั้ง ๓ ประเภทนี้ เรียกว่า เตกาลิกอารมณ์
๒. กาลวิมุตตอารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่เกี่ยวด้วย การทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน บัญญัติ
นิพพาน และ บัญญัติ ที่เป็นกาลวิมุตตอารมณ์นั้น เพราะธรรม ๒ พวกนี้ เป็น อสังขตธรรม ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ฉะนั้น การเกิดขึ้นของ ธรรมทั้ง ๒ พวกนี้ จึงไม่มี เมื่อไม่มีการเกิดขึ้นแล้ว ก็กล่าวไม่ได้ว่า นิพพาน หรือ บัญญัติ เหล่านี้ เป็น ปัจจุบัน อดีต อนาคต เรียกว่า กาลวิมุตตอารมณ์
ที่แสดงว่า จักขุทวาริกจิต เป็นต้น จนถึงกายทวาริกจิต อย่างละ ๔๖ มี รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว นั้น หมายความว่า จักขุทวาริกจิตจะรู้รูปารมณ์ได้ ก็ต้องเป็นรูปารมณ์ที่กําลัง ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเท่านั้น โสตทวาริกจิต เป็นต้น จนถึงกายทวาริกจิต จะรู้ สัททารมณ์ เป็นต้น จนถึงโผฏฐัพพารมณ์ได้ ก็ต้องเป็นอารมณ์ที่กําลังปรากฏอยู่ เฉพาะหน้า เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ก็เพราะว่าจักขุทวาริกจิต เป็นต้น จะเกิดขึ้นได้นั้นต้อง อาศัยอารมณ์เป็นใหญ่ ถ้าไม่มีอารมณ์มาปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว จิตเหล่านี้ก็เกิดขึ้น ไม่ได้
สําหรับมโนทวาริกจิต ๖๗ หรือ ๙๙ ที่มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และกาลวิมุตต์ ตามสมควรแก่อารมณ์นั้น หมายความว่า ถ้าอารมณ์นั้นเป็น จิต เจตสิก รูป กําลังปรากฏเฉพาะหน้าก็ดี ผ่านไปแล้วก็ดี จะปรากฏข้างหน้าก็ดี มโนทวาริกจิตเหล่านี้ย่อมรู้ได้ทั้งสิ้น เรียกว่ารับอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และเมื่อรับกาลวิมุตตอารมณ์นั้น หมายถึง จิตเหล่านี้รับ นิพพาน หรือบัญญัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ ฉะนั้น ที่แสดงว่าตามสมควรแก่อารมณ์นั้น มุ่งหมายเอาดังที่ได้ อธิบายมานี้
ว่าโดยส่วนรวมแล้ว มโนทวาริกจิตย่อมรู้อารมณ์ได้ทั้งหมดที่เป็นปรมัตถ์ก็ตาม บัญญัติก็ตาม แล้วแต่บุคคลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ มโนทวาริกจิต ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้อาศัยอารมณ์เป็นใหญ่ อาศัยจิตเจตสิกเป็นใหญ่ คือ อารมณ์กําลังปรากฏอยู่ก็ดี ดับไปแล้วก็ดี จะเกิดข้างหน้าก็ดี หรือ อารมณ์ที่ไม่ได้เกี่ยวด้วยกาลทั้ง ๓ ก็ดี มโน ทวาริกจิตเหล่านี้ ย่อมสามารถเกิดขึ้นรู้อารมณ์เหล่านั้นได้
ทวาริกวิมุตตจิต คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ทั้ง ๓ อย่างนี้ แม้จะเกิดขึ้น โดยไม่ได้อาศัยทวารหนึ่งทวารใด เกิดขึ้นด้วยอํานาจกรรมในอดีต ก็จริง แต่ก็ยอมรับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๖ อยู่เสมอ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องในปัจจุบันภพ เป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อน ที่มรณาสันนชวนะรับเอามาเมื่อใกล้จะตาย แล้วแต่มรณาสันชวนะของผู้นั้นจะ รับอารมณ์อะไร ถ้ามรณาสันชวนะรับรูปารมณ์แล้ว รูปารมณ์นั้นแหละเป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิต และถ้ามรณาสันนชวนะรับสัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ แล้ว สัททารมณ์ เป็นต้น เหล่านั้นแหละ เป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิด ฉะนั้น จึงได้แสดง ไว้ว่า อารมณ์ของทวารวิมุตตจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๖
อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต นั้น ก็เกี่ยวเนื่องด้วยมรณาสันนชวนะนั้นเอง เพราะธรรมดาอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฎแก่ผู้ที่ใกล้จะตายนั้น ถ้าเป็นรูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ทั้ง ๕ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เรียกว่า กรรมนิมิตอารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ แล้ว แต่สภาพของอารมณ์ที่มาปรากฏเป็นนิมิตนั้น ถ้าเป็นธรรมารมณ์แล้วเรียกว่า กรรมอารมณ์ก็ได้ กรรมนิมิตอารมณ์ก็ได้ คตินิมิตอารมณ์ก็ได้ แล้วแต่สภาพของอารมณ์ ที่มาปรากฏเป็นนิมิตเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต ที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยมรณาสันนชวนะ รับเอามาจากภพก่อน เมื่อใกล้จะตาย จึงเรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต
ส่วนอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาปกตินั้น ไม่เรียก ว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตอารมณ์ เป็นส่วนมาก และอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของพระอรหันต์เมื่อเวลาใกล้จะปรินิพพาน ก็ไม่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตอารมณ์ เพราะไม่มีการเกิดต่อไปอีกแล้ว
ที่กล่าวว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตอารมณ์ ซึ่งเป็นปัจจุบัน อดีต และบัญญัติ นั้น อธิบายว่า ถ้าอารมณ์ของมรณาสันนชวนะ เป็นนิปผันนรูป มี รูปารมณ์ เป็นต้น นั้น เวลาที่จุติจิตดับลงแล้ว อารมณ์นั้นยังไม่ดับไป เมื่อเป็นเช่นนี้ปฏิสนธิจิต และภวังคจิตอย่างมากที่สุด ๖ ดวง ที่เกิดในภพใหม่นั้น ก็มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ส่วน ภวังคจิตที่เกิดต่อจากนั้นมา จนกระทั่งถึงจุติจิตนั้น มี อารมณ์เป็นปัจจุบันไม่ได้ ถ้านิปผันนรูปอารมณ์ ที่กล่าวแล้วนั้นดับลงพร้อมกับจุติจิตก็ดี หรืออารมณ์ของมรณาสันนชวนะนั้น เป็นธรรมารมณ์ที่เป็นจิตเจตสิกก็ดี เช่นนี้ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ในภพใหม่ย่อมมีอารมณ์เป็นอดีต ส่วนปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของกามบุคคลที่เกิดในกามภูมินั้น มี กาลวิมุตตอารมณ์ คือ บัญญัติไม่ได้ เพราะอุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ เหล่านี้ มี อารมณ์ ๖ ที่เป็นกามธรรมอย่างเดียว ฉะนั้น อารมณ์ ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของกามบุคคลจึงเป็นอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันหรือ อดีต อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
ถ้าอารมณ์ของมรณาสันนชวนะนั้น เป็นบัญญัติธรรมารมณ์ คือ บัญญัติที่เกี่ยว กับกรรมฐาน กสิณบัญญัติ เป็นต้นเหล่านี้แล้ว ปฏิสนธิจิต ภวังคจิด จุติจิต ในภพใหม่ ย่อมมีอารมณ์เป็นกาลวิมุตตอารมณ์ คือ บัญญัติ นั้นเอง
อารมณ์ของทวารวิมุตตจิตเหล่านี้ เป็นอนาคตอารมณ์นั้น ย่อมมีไม่ได้ เพราะการรับอารมณ์ของทวารวิมุตตจิตนี้ รับอารมณ์ที่ มรณาสันนชวนะรับเอามาจาก ภพก่อนเมื่อใกล้จะตายนั้นเอง
ที่แสดงว่า ทวารวิมุตตจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอารมณ์ ๖ ที่ เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ซึ่งฉทวาริกมรณาสันนชวนะ รับเอามาจากภพ ก่อนเมื่อใกล้จะตายเป็นส่วนมาก คําที่ว่า เป็นส่วนมาก นั้น หมายความว่า อารมณ์ ของทวารวิมุตตจิตที่ไม่ได้มีอารมณ์ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ซึ่งฉทวาริกมรณาสันนชวนะรับเอามาจากภพก่อนเมื่อใกล้จะตายก็มี เช่น พวกมนุษย์และเทวดาที่เป็น ปัญจมฌานลาภีบุคคล อันเกี่ยวเนื่องด้วยสัญญาวิราคภาวนา เมื่อตายจากกามภูมิแล้ว ก็ไปบังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ เป็นอสัญญสัตตพรหม เมื่อครบอายุขัย ๕๐๐ มหากัปป์ แล้ว ก็จุติลงมาเกิดในกามภูมิ เป็นมนุษย์หรือเทวดาอีก ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของบุคคลเหล่านี้ ย่อมมีอารมณ์ คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ อารมณ์เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นอารมณ์ที่ฉทวาริกมรณาสันนชวนะรับเอามาจากภพก่อน คือ ภพที่เป็นอสัญญสัตตพรหมเมื่อใกล้จะตาย เพราะอสัญญสัตตพรหมนี้จุติด้วยรูป คือ ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้ายนั้นเองอารมณ์ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตของ บุคคลเหล่านี้ เป็นอารมณ์ที่ได้รับมาจากอปราปริยเวทนียกรรม ที่ตนเคยทํามาในภพก่อน ๆ นับตั้งแต่ภาพที่ ๓ เป็นต้นไปตามสมควร หมายความว่า อปราปริยเวทนียกุศล กรรมใด มีโอกาสให้ผลปฏิสนธิในกามภูมิ อารมณ์ของอปราปริยเวทนียกุศลกรรมนั้น แหละ เป็นอารมณ์ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต แห่งทวารวิมุตตจิตของมนุษย์ เทวดาเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้แหละ พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงคําว่า เป็นส่วนมาก ในข้อนี้
วัตถุสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งวัตถุ ชื่อว่า วัตถุสังคหะ
วัตถุ ๖
วัตถุ มี ๖ คือ
๑. จักขุวัตถุ ได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตวัตถุ ได้แก่ โสตปสาท
๓. ฆานวัตถุ ได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาวัตถุ ได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายวัตถุ ได้แก่ กายปสาท
๖. หทัยวัตถุ ได้แก่ หทัยรูป
คําอธิบาย
จิตเจตสิกทั้งหลาย ย่อมอาศัยอยู่ในธรรมใด ฉะนั้น ธรรมที่เป็นที่อาศัยของ จิตเจตสิก เหล่านั้น ชื่อว่า วัตถุ
ธรรมดาพื้นแผ่นดิน ย่อมเป็นที่อาศัยอยู่ของอวิญญาณกวัตถุ คือ บรรดาสิ่งที่ ไม่มีชีวิต มี สถานที่ ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ํา เป็นต้น และสวิญญาณกวัตถุ คือ บรรดาสิ่ง ที่มีชีวิต มี มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น และพื้นแผ่นดินนี้ก็ย่อมรองรับบรรดา อวิญญาณกวัตถุ สวิญญาณกวัตถุทั้งหลายเหล่านั้นไว้ ตามธรรมชาติของตน ข้อนี้ ฉันใด วัตถุรูปทั้ง ๖ มี จักขุวัตถุ เป็นต้น ก็ย่อมเป็นที่อาศัยของจิตเจตสิก ทั้งหลาย และรองรับจิตเจตสิกทั้งหลายนั้น ตามสภาพของตนเช่นเดียวกัน
บรรดาต้นไม้ทั้งหลาย ย่อมเกิดงอกงามเจริญขึ้นได้ ก็โดยอาศัยพื้นแผ่นดิน ฉันใด จิตเจตสิกทั้งหลายปรากฏขึ้นได้และเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไปได้นั้น ก็โดยอาศัย วัตถุรูปทั้ง ๖ ฉันนั้น ฉะนั้น วัตถุรูป ทั้ง ๖ นี้ จึงเปรียบได้เหมือนกับพื้นแผ่นดิน จิต เจตสิกเปรียบเหมือน อวิญญาณกวัตถุ สวิญญาณกวัตถุ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าจิต เจตสิกทั้งหลายอยู่ในวัตถุรูปทั้ง ๖ แต่ข้อหานี้ หาใช่เป็นตามปรมัตถนัยไม่ กล่าว โดยโวหารเท่านั้น เหมือนกับที่กล่าวว่า ต้นไม้ต่างๆ อยู่ในพืช หรือเสียงระฆังอยู่ใน ระฆัง ซึ่งความจริงนั้นต้นไม้ก็ไม่ได้อยู่ในพืช เสียงระฆังก็ไม่ได้อยู่ในระฆัง แล้วแต่ เหตุปัจจัย ถ้าเหตุปัจจัยเกิดขึ้นครบแล้ว ต้นไม้ก็เกิดขึ้นจากพืชได้ เสียงระฆังก็เกิด จากระฆังได้ จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวัตถุรูป ๖ ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีเหตุปัจจัย ครบแล้ว จิตเจตสิกก็เกิดจากวัตถุรูปได้ ถ้าเหตุปัจจัยไม่ครบ จิตเจตสิกก็เกิดจากวัตถุ รูป ๖ ไม่ได้
ธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกเกิดขึ้นจากวัตถุรูป ๖ ได้นั้น มีเหตุที่ เป็นหลักสําคัญอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑. อดีตกรรม ๒. วัตถุ ๓. อารมณ์ เมื่อครบ ๓ อย่างนี้แล้ว จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นจากวัตถุรูป ๖ ได้การแสดงเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ของจิตเจตสิกที่เกี่ยวด้วยวัตถุรูป ๖ ก็มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ในปัญจโวการภูมิเท่านั้น สําหรับในจตุโวการภูมินั้น เหตุปัจจัยที่ทําให้จิตเจตสิกเกิดขึ้น ย่อมมีเพียง ๒ อย่าง คือ ๑. อดีตกรรม ๒. อารมณ์
คาถาแสดงการจําแนกภูมิ ๓๐
โดยวัตถุรูป ๖ และวิญญาณธาตุ ๗
นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบ วิญญาณธาตุ ๗ ที่อาศัยวัตถุรูป ๖ เกิดใน กามภูมิ ๑๑
พึงทราบ วิญญาณธาตุ ๔ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ที่อาศัยวัตถุรูป ๓ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ หทัยวัตถุ เกิดใน รูปภูมิ ๑๕ (เว้น อสัญญสัตตภูมิ)
พึงทราบ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ที่ไม่ได้อาศัยวัตถุรูป เกิดในอรูปภูมิ ๔
การจำแนกวิญญาณธาตุ ๗ ที่เกิดในกามภูมิ ๑๑ โดยวัตถุรูป ๖
๑. จักขุวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย จักขุวัตถุ เกิด
๒. โสตวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย โสตวัตถุ เกิด
๓. ฆนาวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย ฆานวัตถุ เกิด
๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย ชิวหาวัตถุ เกิด
๕. กายวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย กายวัตถุ เกิด
๖. มโนธาตุ ๓ อาศัย หทัยวัตถุ เกิด
๗. มโนวิญญาณธาตุ ๖๗ ได้แก่ กามจิต ๔๑ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) และมหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘ อาศัยหทัยวัตถุเกิด
การจําแนกวิญญาณธาตุ ๔ ที่เกิดในรูปภูมิ ๑๕ โดยวัตถุรูป ๓ (รูเป จตุพพิธา ตัวตถุ นิสสิตา)
๑. จักขุวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย จักขุวัตถุ เกิด
๒. โสตวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย โสตวัตถุ เกิด
๓. มโนธาตุ ๓ อาศัย หทัยวัตถุ เกิด
๔. มโนวิญญาณธาตุ ๖๒ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกริยาจิต ๔ โลกุตตรจิต ๘ เหล่านี้ อาศัยหทัยวัตถุเกิด
วิญญาณธาตุ ๑ ที่เกิดในอรูปภูมิ ๔ โดยไม่ได้อาศัยวัตถุ (อรูเป ธาเควกานิสุสิตา)
มโนวิญญาณธาตุ ๔๖ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๗ (เว้น โสดาปัตติมรรค) เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ได้อาศัยวัตถุรูปอย่างหนึ่งอย่างใด
มาติกาทั้ง ๖ และคําปฏิญญา
คาถาสังคหะ
๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ เตปญฺญาส สภาวโต
จิตฺตเจตสิก ธมฺมา เตสนฺทานิ ยถารหํ
๒. เวทนาเหตุโต กิจฺจ ทฺวาราลมฺพนวตฺถุโต
จิตฺตุปฺปาทวเสเนว สงฺคโห นาม นียเต
บัดนี้ ข้าพเจ้าจะแสดงปกิณณกสังคหะของจิตและเจตสิก ว่าด้วยอํานาจแห่งการเกิดขึ้นของจิต โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจจ์ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ ตามสมควร
คาถา ๒ คาถานี้ พระอนุรุทธาจารย์แสดงเพื่อมุ่งหมายให้เป็น ปุพพานุสันธิ และ อปรานุสันธิ คือ การติดต่อระหว่างปริจเฉทที่ ๒ ที่แสดงไปแล้ว กับปริจเฉทที่ ๓ ที่จะแสดงต่อไปอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงตั้งหัวข้อของปริจเฉทที่ ๓ นี้ ว่าจะแสดงสังคหะ ๖ อย่างมีเวทนาสังคหะ เป็นต้น อย่างหนึ่ง และเพื่อแสดงปฏิญญา คือ การรับรองว่าจะแสดงขยายความแห่งการเกิดขึ้นของจิต โดย ประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจจ์ ทวาร อารมณ์และวัตถุ ฉะนั้น ในปริจเฉทที่ ๓ ในอภิธัมมัตถสังคหปกรณ์นี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงการจําแนกจิตแต่พวกเดียว โดยเวทนาสังคหะ เป็นต้น
ความจริงการสงเคราะห์โดยเวทนา เหตุ กิจจ์ ทวาร อารมณ์ วัตถุ ที่ชื่อว่า เวทนาสังคหะ เป็นต้นนั้น ไม่ใช่สงเคราะห์แต่จิตอย่างเดียว ต้องสงเคราะห์เจตสิกด้วย เพราะจิตและเจตสิกนั้น เกิดร่วมกันอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ ในหลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท จึงแสดงสงเคราะห์ทั้งจิตและเจตสิก โดย เวทนา เหตุ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาทั้งหลายได้รู้โดยสะดวกสบาย
คําว่า ปกิณณกะ แปลว่า เรี่ยรายโดยทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น คําว่า ปกิณณกสังคหะ จึงแปลว่า การแสดงสงเคราะห์จิตเจตสิกโดย เรี่ยรายทั่วไป คือ แสดงสงเคราะห์โดย เวทนาบ้าง เหตุบ้าง กิจจ์บ้าง ทวารบ้าง อารมณ์บ้าง วัตถุบ้างเหล่านี้
คําว่า นามเตปญฺญาส คือ สภาวธรรม ๕๓ นั้น ได้แก่ จิต ๑ เจตสิก ๕๒ นี้ นับด้วยลักษณะอาการของตน ๆ คือ จิต ๘๙ นั้น เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว มีลักษณะอย่างเดียว คือ มีการได้รับอารมณ์อยู่เสมอ เป็นลักษณะเหมือนกันหมด (อารมุมณวิชานนลูกขณา) ฉะนั้น จึงนับเป็น ๑ ส่วนเจตสิก ๕๒ ดวงนั้น มีลักษณะของตนโดย เฉพาะ ๆ ไม่เหมือนกัน เช่น ผัสสเจตสิกมีลักษณะกระทบอารมณ์ (ผุสนลกขณา) เวทนาเจตสิกมีลักษณะเสวยอารมณ์ (อนุภวนลกขณา) ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น เมื่อรวม จิตและเจตสิกเข้าแล้ว จึงเรียกว่า นามเตปญฺญาส คือ สภาวธรรม ๕๓
เวทนาสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา ชื่อว่า เวทนาสังคหะ
คาถาแสดงเวทนา ๓ และ ๕
ในเวทนาสังคหะนั้น ว่าโดยอารัมมณานุภวนลักขณะ คือ ลักษณะแห่งการเสวยอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา ว่าโดย อินทริยเภท คือ ประเภทแห่งอินทรีย์แล้ว มีเวทนา ๕ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. โสมนัสเวทนา ๔. โทมนัสเวทนา ๕. อุเบกขาเวทนา
คาถาแสดงการจําแนกจิต ๑๒๑ โดยเวทนา ๕
สุขเวทนา และ ทุกขเวทนา ประกอบอยู่ในกายวิญญาณจิต อย่างละ ๑ ดวง โทมนัส เวทนา ประกอบอยู่ในจิต ๒ ดวง โสมนัสเวทนา ประกอบอยู่ในจิต ๖๒ ดวง เวทนาที่นอกจากนี้ คือ อุเบกขาเวทนา ประกอบอยู่ในจิต ๕๕ ดวง
เหตุสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเหตุ ชื่อว่า เหตุสังคหะ
คาถาแสดงเหตุ ๖ หรือ ๙
อกุศลเหตุ มี ๓ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ กุศลเหตุ และ อพยากตเหตุ มีอย่างละ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
คําอธิบาย
คําว่า เหตุ หมายความว่า เป็นธรรมที่ให้ผลเกิดขึ้น และให้ผลธรรมนั้นตั้งมั่น ในอารมณ์ และให้เจริญขึ้นได้
ผลที่เกิดจากเหตุ นั้น ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อพยากตะบ้าง
อารมณ์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สภาพธรรมที่เกี่ยวด้วยสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ชื่อต่างๆ คําพูดต่างๆ เรื่องราวต่างๆ
ธรรมที่เป็นเหตุ
ธรรมที่เป็นเหตุได้นั้น ได้แก่ เจตสิก มีอยู่ ๖ คือ
๑. โลภะ ความอยากได้ ๒. โทสะ ความโกรธ ๓. โมหะ ความไม่รู้ ๔. อโลภะ ความไม่อยากได้ ๕. อโทสะ ความไม่โกรธ ๖. ปัญญา ความไม่หลง คือ รู้
ในบรรดาเหตุทั้ง ๖
๑. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง อโสภณะ และ โสภณะ แล้ว มี ๖ คือ
* อโสภณเหตุ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
* โสภณเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๒. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง อกุศล กุศล อพยากตะ แล้ว มี ๙ คือ
* อกุศลเหตุ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
* กุศลเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เอพยากตเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๓. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง ชาติ แล้วมี ๑๒ คือ
* อกุศลชาติ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
* กุศลชาติ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* วิปากชาติ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* กริยาชาติ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๔. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง ภูมิ แล้ว มี ๑๕ คือ
* กามเหตุ มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* รูปเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* อรูปเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* โลกุตตรเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๕. ถ้าจําแนกโดยประเภทแห่ง บุคคล แล้ว มี ๒๖ คือ
* เหตุที่เกิดใน ปุถุชน มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน โสดาบันบุคคล มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโมหเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน สกทาคามีบุคคล มี ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน อนาคามีบุคคล มี ๕ ได้แก่ โลภเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* เหตุที่เกิดใน พระอรหันต์ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
เหตุทําให้ผลธรรมตั้งมั่นได้ในอารมณ์นั้น คือ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น ตลอดจนถึงจิตคิดนึกเรื่องราวต่างๆ แล้ว อกุศลจิต คือ โลภจิต โทสจิต โมหจิต หรือ กุศลจิต คือ ศรัทธาจิต เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ญาณสัมปยุตตจิต เหล่านี้ ย่อม เกิดขึ้น และยึดเอาอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นไว้อย่างมั่นคง นี้แหละ คือ เป็นผลที่ตั้งมั่นในอารมณ์อันเกิดจากเหตุเหล่านั้น
เหตุทําให้ผลธรรมเจริญขึ้นได้นั้น คือ เมื่อจิตที่ยึดเอาอารมณ์ต่าง ๆ นั้น ค่อยๆ มีกําลังมากขึ้น ๆ หมายความว่า โลกะก็ดี โทสะก็ดี หรือศรัทธา เป็นต้น เหล่านั้น ก็ดี เมื่อขณะแรกที่เกิดขึ้นนั้น ยังมีกําลังอ่อนอยู่ ยังไม่ทําให้ลุล่วงไปถึงทุจริตหรือสุจริตได้ แต่ครั้นเมื่อมีกําลัง มากขึ้นแล้ว ย่อมสามารถทําให้ผู้นั้น กระทําทุจริตหรือสุจริตใน บรรดาทุจริต ๑๐ หรือสุจริต ๑๐ นั้นลงไปได้ นี้แหละ คือเป็นผลที่เจริญขึ้นด้วย อาศัยเหตุเหล่านั้น
คาถาแสดงการจําแนกจิต โดยเหตุ
นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบว่า อเหตุกจิต มี ๑๘ เอกเหตุกจิต มี ๒ ทวิเหตุกจิต มี ๒๒ ติเหตุกจิต มี ๔๗
คําอธิบาย
ในจํานวนจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ อเหตุกจิต ประเภทหนึ่ง สเหตุกจิต ประเภทหนึ่ง
อเหตุกจิต จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ มี ๑๘ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ สัมปฏิจฉนจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ โวฏฐัพพนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ รวมเป็นอเหตุกจิต ๑๘
สเหตุกจิต จิตที่ประกอบด้วยเหตุ มี ๗๑ หรือ ๑๐๓ คือ อกุศลจิต ๑๒ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ รวมเป็น สเหตุกจิต ๗๑ หรือ ๑๐๓
การจําแนกสเหตุกจิต โดยเหตุ
ในสเหตุกจิต ๒๑ หรือ ๑๐๓ นั้น
๑. เอกเหตุกจิต จิตที่มีเหตุ 9 มี ๒ ดวง คือ
* โมหมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ คือ โมหเหตุ
๒. ทวิเหตุกจิต จิตที่มีเหตุ ๒ มี ๒๒ ดวง คือ
* โลภมูลจิต ๘ มีเหตุ ๒ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ
* โทสมูลจิต ๒ มีเหตุ ๒ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ
* ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ มีเหตุ ๒ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
๓. ติเหตุกจิต จิตที่มีเหตุ ๓ มี ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง คือ
* กามาวจรญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ มีเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* มหัคคตจิต ๒๗ มีเหตุ ๓ คือ อโลกเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
* โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ มีเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
กิจจสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งกิจ ชื่อว่า กิจจสังคหะ
คาถาแสดงกิจ ๑๔ และฐาน ๑๐
แสดงจิตตุปปาทะที่มีนามว่า ปฏิสนธิจิต เป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งกิจ มี ๑๔ กิจ ว่าโดยประเภทแห่งฐาน มี ๑๐ ฐาน
คําอธิบาย
การงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา ใจ เหล่านี้ จะสําเร็จลงได้ก็ต้องอาศัย จิตเจตสิกเป็นผู้ควบคุม การงานที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา จึงสําเร็จได้ ส่วนการงานที่เกี่ยวกับใจ คือ การคิดนึกเรื่องราวต่างๆ นั้น จิตเจตสิกเป็นผู้กระทําเอง ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นและดับลงไป เหมือนกระแสน้ำไหลนั้น ย่อมมีหน้าที่ของตนๆ อยู่ทุกๆ ดวง จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหน้าที่นั้นไม่มีเลย และจิตเจตสิกที่กําลังทําหน้าที่ของตนๆ อยู่นั้นก็ต้องมีสถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานนั้นๆ โดยเฉพาะๆ สถานที่เหล่านี้แหละ ชื่อว่า ฐาน ถ้าจะอุปมาแล้ว จิตและเจตสิกเปรียบเหมือนคน ทํางาน กิจจ์เปรียบเหมือนการงานต่างๆ ฐานเปรียบเหมือนสถานที่ที่คนทํางาน
กิจ ๑๔
หน้าที่ของจิตเจตสิกที่ทําอยู่นั้น มีอยู่ ๑๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิสนธิจิต ทําหน้าที่ สืบต่อภพใหม่
๒. ภวังคจิต ทําหน้าที่ รักษาภพ
๓. อาวัชชนกิจ ทําหน้าที่ พิจารณาอารมณ์ใหม่
๔. ทัสสนกิจ ทําหน้าที่ เห็น
๕. สวนกิจ ทําหน้าที่ ได้ยิน
๖. ฆายนกิจ ทําหน้าที่ รู้กลิ่น
๗. สายนกิจ ทําหน้าที่ รู้รส
๘. ผูสนกิจ ทําหน้าที่ รู้ถูกต้อง
๙. สัมปฏิจฉนกิจ ทําหน้าที่ รับอารมณ์
๑๐. สันตีรณกิจ ทําหน้าที่ ไต่สวนอารมณ์
๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทําหน้าที่ ตัดสินอารมณ์
๑๒. ชวนกิจ ทําหน้าที่ เสพอารมณ์
๑๓. ตทารัมมณกิจ ทําหน้าที่ รับอารมณ์ต่อจากชวนะ
๑๔. จุติจิต ทําหน้าที่ สิ้นจากภพเก่า
ฐาน ๑๐
สถานที่ที่ทํางานของจิตและเจตสิกนั้น มีอยู่ ๑๐ ฐาน คือ
๑. ปฏิสนธิฐาน สถานที่ที่ทํางาน สืบต่อภาพใหม่
๒. ภวังคฐาน สถานที่ที่ทํางาน รักษาภพ
๓. อาวัชชนฐาน สถานที่ที่ทํางาน พิจารณาอารมณ์ใหม่
๔. ปัญจวิญญาณฐาน สถานที่ที่ทํางาน เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้ถูกต้อง
๕. สัมปฏิจฉนฐาน สถานที่ที่ทํางาน รับอารมณ์
๖. สันตีรณฐาน สถานที่ที่ทํางาน ไต่สวนอารมณ์
๗. โวฏฐัพพนฐาน สถานที่ที่ทํางาน ตัดสินอารมณ์
๘. ชวนฐาน สถานที่ที่ทํางาน เสพอารมณ์
๙. ตทารัมมณฐาน สถานที่ที่ทํางาน รับอารมณ์ต่อจากชวนะ
๑๐. จุติฐาน สถานที่ที่ทํางาน สิ้นจากภพเก่า
การจําแนกกิจ ๑๔ โดยจิต
๑. จิตที่ทําหน้าที่ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ มี ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ มหัคคตวิปากจิต ๙
๒. จิตที่ทําหน้าที่ อาวัชชนกิจ มี ๒ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๓. จิตที่ทําหน้าที่ ทัสสนกิจ มี ๒ ดวง คือ จักขุวิญญาณจิต ๒
๔. จิตที่ทําหน้าที่ สวนกิจ มี ๒ ดวง คือ โสตวิญญาณจิต ๒
๕. จิตที่ทําหน้าที่ ฆายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ฆานวิญญาณจิต ๒
๖. จิตที่ทําหน้าที่ สายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๗. จิตที่ทําหน้าที่ ผุสนกิจ มี ๒ ดวง คือ กายวิญญาณจิต ๒
๘. จิตที่ทําหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ มี ๒ ดวง คือ สัมปฏิจฉนจิต ๒
๙. จิตที่ทําหน้าที่ สันตีรณกิจ มี ๓ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓
๑๐. จิตที่ทําหน้าที่ โวฏฐัพพนกิจ มี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๑๑. จิตที่ทําหน้าที่ ชวนกิจ มี ๕๕ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘
๑๒. จิตที่ทําหน้าที่ ตทารัมมณกิจ มี ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓ มหาวิปากจิต ๘
การจําแนกเจตสิก ๕๒ โดยกิจ ๑๔
๑. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๑ มีจํานวน ๑๗ ดวง คือ
* อกุศลเจตสิก ๑๔ วิรตีเจตสิก ๓ ทําหน้าที่ ๑ คือ ชวนกิจ อธิบายว่า อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ เท่านั้น และ อกุศลจิต ๑๒ นั้น ก็ทําหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียว ฉะนั้น อกุศล เจตสิก ๑๔ จึงทําหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียวเหมือนกัน
* วิรตีเจตสิก ๓ ประกอบกับมหากุศลจิต และ โลกุตตรจิต มหากุศลจิต และโลกุตตรจิต ๒ พวกนี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียว ฉะนั้น วิรตีเจตสิก จึงทําหน้าที่ชวนกิจ เช่นเดียวกัน
๒. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๔ มีจํานวน ๒ ดวง คือ
* อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทําหน้าที่ ๔ คือ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ชวนกิจ อธิบายว่า อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้ เมื่อขณะประกอบกับ รูปาวจรวิปากจิต ทําหน้าที่ปฏิสนธิกิจ ภวังค์กิจ จุติกิจ เมื่อขณะประกอบกับมหากุศลจิตมหากริยาจิต รูปาวจรกุศลจิต รูปาวจรกริยาจิต ทําหน้าที่ ชวนกิจ
๓. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๕ มีจํานวน ๒๑ ดวง คือ
* โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ ทําหน้าที่ ๕ คือ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ รวม ๒๑ ดวงเหล่านี้ ไม่ได้ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘ ฉะนั้นจึง เว้นกิจ ๙ อย่าง มี อาวัชชนกิจ เป็นต้น จนถึงโวฏฐัพพนกิจ ซึ่งเป็น หน้าที่ของอเหตุกจิตโดยเฉพาะออกเสีย คงทําหน้าที่เพียง ๕ อย่าง ดังกล่าวแล้วนั้น
๔. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๖ มีจํานวน ๑ ดวง คือ
* ปีติเจตสิก ทําหน้าที่ ๖ คือ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ สันตีรณกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า ปีติเจตสิกนี้ เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็นอกุศล กุศล กริยา และผลจิตเหล่านี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ เมื่อประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต ทําหน้าที่ สันตีรณกิจ ตทารัมมณกิจ เมื่อประกอบกับ โสมนัสสสหคตจิตที่เป็นรูปาวจรวิบาก ทําหน้าที่ ปฏิสนธกิจ ภวังตกิจ จุติกิจ เมื่อประกอบกับ โสมนัสสสหคตจิตที่เป็นมหาวิบาก ทําหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ตทารัมมณกิจ
๕.เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๗ มีจํานวน ๑ ดวง คือ
* วีริยเจตสิก ทําหน้าที่ ๗ คือ ปฏิสนธิกิจ กวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า วีริยเจตสิกนี้ เมื่อประกอบกับอกุศลจิต กุศลจิต กริยาจิต และผสจิตเหล่านี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ เมื่อประกอบกับ มโนทวาราวัชชนจิต ทําหน้าที่ อาวัชชนกิจ โวฏฐัพพนกิจ เมื่อประกอบกับ มหัคคตวิปากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธิจิต ภวังคกิจ จุติกิจ เมื่อประกอบกับ มหาวิปากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ กวังคกิจ จุติกิจ ตทารัมมณกิจ
๖. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๙ มีจํานวน ๓ ดวง คือ
* วิตก วิจาร อธิโมกข์ ทําหน้าที่ ๙ คือ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ สัมปฏิจฉนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า วิตก วิจาร อธิโมกข์ เจตสิก ๓ ดวงนี้ เมื่อขณะประกอบ กับ อกุศลจิต กุศลจิต กริยาจิต และผลจิตเหล่านี้ ทําหน้าที่ ชวนกิจ เมื่อขณะประกอบกับ มโนทวาราวัชชนจิต ทําหน้าที่ อาวัชชนกิจ และ โวฏฐัพพนกิจ เมื่อขณะประกอบกับ สัมปฏิจฉนจิต ทําหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ เมื่อขณะประกอบกับ สันตีรณจิต ทําหน้าที่ สันตีรณกิจ ตทารัมมณกิจ เมื่อขณะประกอบกับ มหัคคตวิปากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ เมื่อขณะประกอบกับ มหาวิบากจิต ทําหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ตทารัมมณกิจ
๗. เจตสิกที่ทํา หน้าที่ ๑๔ มีจํานวน ๗ ดวง คือ
* สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ทําหน้าที่ ๑๔ คือ ปฏิสนธกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สวนกิจ ฆายนกิจ สายนกิจ ผุสนกิจ สัมปฏิจฉนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทารัมมณกิจ อธิบายว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ฉะนั้น จึงทําหน้าที่ ๑๔ อย่างทั้งหมดได้
หมายเหตุ เจตสิกที่ทําหน้าที่ ๒, ๓, ๘, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓ ไม่มี เพราะ เจตสิกที่ประกอบกับจิตที่ทําหน้าที่ ๒, ๓, ๘, ๑๐, ๑๑, ๑๑, ๑๒, ๑๓ โดยเฉพาะ นั้น ไม่มี
ทวารสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งทวาร ชื่อว่า ทวารสังคหะ
ทวาร ๖
ทวาร มี ๖ คือ
๑. จักขุทวาร ได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตทวาร ได้แก่ โสตปสาท
๓. ฆานทวาร ได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาทวาร ได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายทวาร ได้แก่ กายปสาท
๖. มโนทวาร ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙
คําว่า ทวาร แปลว่า ประตู สําหรับเป็นที่เข้าออกของคนทั้งหลาย จักขุปสาท เป็นต้น ชื่อว่า ทวาร เพราะเหมือนหนึ่งประตูเป็นที่เข้าออกของวิถีจิตทั้งหลาย ธรรมดาสัตว์ทั้งหลาย ถ้าไม่มีปสาทรูปทั้ง ๕ และภวังคจิตแล้ว วิถีจิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นไม่ได้แล้ว ก็เป็นอันว่า การทํา การพูด การคิด ที่ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ก็มีไม่ได้เช่นเดียวกัน
การจําแนกจิต โดยทวาร ๖
๑. จักขุทวาริกจิต จิตที่เกิดในจักขุทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๒. โสตทวาริกจิต จิตที่เกิดในโสตทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๓. ฆานทวาริกจิต จิตที่เกิดในฆานทวารได้ มี ๔๖ ควง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๔. ชิวหาวิญญาณจิต จิตที่เกิดในชิวหาทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒)
๕. กายทวาริกจิต จิตที่เกิดในกายทวารได้ มี ๔๖ ดวง คือ
* กามจิต ๔๖ (เว้น จักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒)
๖. มโนทวาริกจิต จิตที่เกิดในมโนทวารได้ มี ๖๗ หรือ ๙๙ ดวง คือ
* กามจิต ๔๑ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓) มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
๗. ทวารวิมุตตจิต จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ ได้ มี ๑๙ ควง คือ
* อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ มหัคคตวิปากจิต ๙
จิต ๑๙ ดวงนี้ ในขณะทําหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ เป็นทวารวิมุตต์ หมายความว่า ขณะที่ทําหน้าที่ปฏิสนธิและจุตินั้น ตัวเองก็ยังไม่ได้เป็น มโนทวารเพราะไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้น และในขณะที่ทําหน้าที่ภวังค์นั้น ตัวเองก็เป็นมโนทวารอยู่แล้ว
อารัมมณสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งอารมณ์ ชื่อว่า อารัมมณสังคหะ
อารมณ์ ๖
อารมณ์ มี ๖ คือ
๑. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่างๆ
๒. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียงต่างๆ
๓. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสต่างๆ
๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
๖. ธรรมารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน บัญญัติ
คําอธิบาย
อารมณ์ หมายความว่า เป็นที่ยินดี เหมือนหนึ่งสวนดอกไม้เป็นที่ยินดีแก่คนทั้งหลาย ฉันใด อารมณ์ทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น ก็ย่อมเป็นที่ยินดีแก่จิตและเจตสิก ฉันนั้น ดังแสดงวจนัตถะว่า
อา อภิมุขํ รมนุติ เอตุถาติ อารมุมณํ (อา-ปุพพ, รมฺ-ธาตุ, ยุ-ปัจจัย) จิตและเจตสิกทั้งหลาย มายินดีพร้อมหน้ากันในธรรมชาตินี้ ฉะนั้น ธรรมชาตินี้ ชื่อว่า อารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ ๖
อารมณ์นี้ เรียกว่า อาลัมพนะ ก็ได้ หมายความว่า เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกทั้งหลาย เหมือนหนึ่งคนชราหรือทุพพลภาพ ย่อมต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือก เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ ทรงตัวลุกขึ้นและเดินไปได้ ฉันใด จิตเจตสิกทั้งหลายก็เช่น เดียวกัน ต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องอาศัยยึด เพื่อเกิดขึ้นติดต่อกัน ฉันนั้น ดังแสดง วจนัตถะว่า
จิตตฺเจตสิเกหิ อาลมฺพิยดีติ อาลมพณํ
ธรรมชาติอันจิตและเจตสิกทั้งหลายยึดหน่วง ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลัมพณะ ได้แก่ อารมณ์ ๖
อารมณ์ ๖ เหล่านี้ แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. สามัญญอารมณ์ อารมณ์ชนิดสามัญธรรมดาทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
๒. อธิบดีอารมณ์ อารมณ์พิเศษ ที่มีอํานาจครอบครองจิตและเจตสิก และ เหนี่ยวจิตเจตสิกทั้งหลายนั้นให้เข้ามาหาตน เหมือนหนึ่งกุสะราชาที่ ติดตามนางประภาวดีไปเป็นหนทางถึง ๑๐๐ โยชน์ เพราะอํานาจแห่งความสวยงาม คือ รูปารมณ์ของนางประภาวดีสามารถเหนี่ยวรั้งจิตใจของ พระเจ้ากุสะให้ติดตามไปจนถึงได้ หรือ เหมือนหนึ่งรูปภาพที่เขาติดโฆษณาไว้ที่โรงมหรสพ รูปภาพนั้นมีความสวยงามเป็ พิเศษ และเรื่องที่จะแสดง นั้นก็ดีเป็นพิเศษ ฉะนั้น เมื่อคนทั้งหลายที่เดินผ่านไปมาที่ โรงมหรสพนั้น จะเดินผ่านเลยไปเสียไม่ได้ ต้องแวะหยุดดูรูปภาพโฆษณานั้น แล้วก็ เข้าไปชมการแสดง ข้อนี้ฉันใด อารมณ์ที่เป็นอธิบดีก็ฉันนั้น คือ สามารถเหนี่ยวรั้งจิต และเจตสิกให้น้อมไปสู่ตน ดังแสดงวจนัตถะว่า
จิตตฺเจตสิเกหิ อาลมฺพิยดีติ อาลมพณํ
ธรรมชาติใดย่อมหน่วงเหนี่ยวจิตและเจตสิกทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึง ชื่อว่า อาลัมพณะ ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็นอธิบดี
การจําแนกทวาริกจิต และทวารวิมุตตจิต โดยอารมณ์ ๖
๑. จักขุทวาริกจิต ๔๖ มี รูปารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๒. โสตทวาริกจิต ๔๖ มี สัททารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๓. ฆานทวาริกจิต ๔๖ มี คันธารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๔. ชิวหาทวาริกจิต ๔๖ มี รสารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๕. กายทวาริกจิต ๔๖ มี โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
๖. มโนทวาริกจิต ๖๗ หรือ ๙๙ มี อารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และกาลวุิมตต์ ตามสมควรแก่อารมณ์
๗. ทวารวิมุตตจิต ที่เกิดขึ้นทําหน้าที่ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ทั้ง ๑๙ ดวงนั้น มีอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ในบรรดาอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ซึ่งเป็นปัจจุบัน อดีต และบัญญัติที่ฉทวาริกมรณาสันนชวนะ รับเอามาจากภพก่อน เมื่อใกล้จะตายเป็นส่วนมาก
คําอธิบาย
อารมณ์ ๖ ที่กล่าวมาแล้วนั้น แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
๑. เตกาลิกอารมณ์ เป็นอารมณ์ที่เกี่ยวด้วย กาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้แก่ จิต เจตสิก รูป
จิต เจตสิก รูป ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์นั้น หมายถึง ขณะที่ปรากฏอยู่เฉพาะ หน้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ กําลังเห็น กําลังได้ยิน กําลังได้กลิ่น กําลังรู้รส กําลังถูกต้อง กําลังรู้ในอารมณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ดับไป เหล่านี้เรียกว่า ปัจจุบันอารมณ์
จิต เจตสิก รูป ที่เป็นอดีตอารมณ์นั้น หมายถึง อารมณ์เหล่านี้ผ่านไปแล้ว คือ ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้กลิ่นแล้ว ได้รู้รสแล้ว ได้ถูกต้องแล้ว สําหรับทางใจนั้น คิด นึกในอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว
จิต เจตสิก รูป ที่เป็นอนาคตอารมณ์นั้น หมายถึง อารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น จะ มาปรากฏ ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ จะเห็น จะได้ยิน จะได้กลิ่น จะได้รู้รส จะได้ถูกต้อง สําหรับทางใจนั้น คิดนึกถึงอารมณ์ที่จะมาปรากฏเหล่านั้น
รวมทั้ง ๓ ประเภทนี้ เรียกว่า เตกาลิกอารมณ์
๒. กาลวิมุตตอารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่เกี่ยวด้วย การทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน บัญญัติ
นิพพาน และ บัญญัติ ที่เป็นกาลวิมุตตอารมณ์นั้น เพราะธรรม ๒ พวกนี้ เป็น อสังขตธรรม ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ฉะนั้น การเกิดขึ้นของ ธรรมทั้ง ๒ พวกนี้ จึงไม่มี เมื่อไม่มีการเกิดขึ้นแล้ว ก็กล่าวไม่ได้ว่า นิพพาน หรือ บัญญัติ เหล่านี้ เป็น ปัจจุบัน อดีต อนาคต เรียกว่า กาลวิมุตตอารมณ์
ที่แสดงว่า จักขุทวาริกจิต เป็นต้น จนถึงกายทวาริกจิต อย่างละ ๔๖ มี รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว นั้น หมายความว่า จักขุทวาริกจิตจะรู้รูปารมณ์ได้ ก็ต้องเป็นรูปารมณ์ที่กําลัง ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเท่านั้น โสตทวาริกจิต เป็นต้น จนถึงกายทวาริกจิต จะรู้ สัททารมณ์ เป็นต้น จนถึงโผฏฐัพพารมณ์ได้ ก็ต้องเป็นอารมณ์ที่กําลังปรากฏอยู่ เฉพาะหน้า เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ก็เพราะว่าจักขุทวาริกจิต เป็นต้น จะเกิดขึ้นได้นั้นต้อง อาศัยอารมณ์เป็นใหญ่ ถ้าไม่มีอารมณ์มาปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว จิตเหล่านี้ก็เกิดขึ้น ไม่ได้
สําหรับมโนทวาริกจิต ๖๗ หรือ ๙๙ ที่มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และกาลวิมุตต์ ตามสมควรแก่อารมณ์นั้น หมายความว่า ถ้าอารมณ์นั้นเป็น จิต เจตสิก รูป กําลังปรากฏเฉพาะหน้าก็ดี ผ่านไปแล้วก็ดี จะปรากฏข้างหน้าก็ดี มโนทวาริกจิตเหล่านี้ย่อมรู้ได้ทั้งสิ้น เรียกว่ารับอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และเมื่อรับกาลวิมุตตอารมณ์นั้น หมายถึง จิตเหล่านี้รับ นิพพาน หรือบัญญัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ ฉะนั้น ที่แสดงว่าตามสมควรแก่อารมณ์นั้น มุ่งหมายเอาดังที่ได้ อธิบายมานี้
ว่าโดยส่วนรวมแล้ว มโนทวาริกจิตย่อมรู้อารมณ์ได้ทั้งหมดที่เป็นปรมัตถ์ก็ตาม บัญญัติก็ตาม แล้วแต่บุคคลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ มโนทวาริกจิต ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้อาศัยอารมณ์เป็นใหญ่ อาศัยจิตเจตสิกเป็นใหญ่ คือ อารมณ์กําลังปรากฏอยู่ก็ดี ดับไปแล้วก็ดี จะเกิดข้างหน้าก็ดี หรือ อารมณ์ที่ไม่ได้เกี่ยวด้วยกาลทั้ง ๓ ก็ดี มโน ทวาริกจิตเหล่านี้ ย่อมสามารถเกิดขึ้นรู้อารมณ์เหล่านั้นได้
ทวาริกวิมุตตจิต คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ทั้ง ๓ อย่างนี้ แม้จะเกิดขึ้น โดยไม่ได้อาศัยทวารหนึ่งทวารใด เกิดขึ้นด้วยอํานาจกรรมในอดีต ก็จริง แต่ก็ยอมรับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๖ อยู่เสมอ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องในปัจจุบันภพ เป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อน ที่มรณาสันนชวนะรับเอามาเมื่อใกล้จะตาย แล้วแต่มรณาสันชวนะของผู้นั้นจะ รับอารมณ์อะไร ถ้ามรณาสันชวนะรับรูปารมณ์แล้ว รูปารมณ์นั้นแหละเป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิต และถ้ามรณาสันนชวนะรับสัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ แล้ว สัททารมณ์ เป็นต้น เหล่านั้นแหละ เป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิด ฉะนั้น จึงได้แสดง ไว้ว่า อารมณ์ของทวารวิมุตตจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๖
อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต นั้น ก็เกี่ยวเนื่องด้วยมรณาสันนชวนะนั้นเอง เพราะธรรมดาอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฎแก่ผู้ที่ใกล้จะตายนั้น ถ้าเป็นรูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ทั้ง ๕ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เรียกว่า กรรมนิมิตอารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ แล้ว แต่สภาพของอารมณ์ที่มาปรากฏเป็นนิมิตนั้น ถ้าเป็นธรรมารมณ์แล้วเรียกว่า กรรมอารมณ์ก็ได้ กรรมนิมิตอารมณ์ก็ได้ คตินิมิตอารมณ์ก็ได้ แล้วแต่สภาพของอารมณ์ ที่มาปรากฏเป็นนิมิตเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต ที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยมรณาสันนชวนะ รับเอามาจากภพก่อน เมื่อใกล้จะตาย จึงเรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต
ส่วนอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาปกตินั้น ไม่เรียก ว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตอารมณ์ เป็นส่วนมาก และอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของพระอรหันต์เมื่อเวลาใกล้จะปรินิพพาน ก็ไม่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตอารมณ์ เพราะไม่มีการเกิดต่อไปอีกแล้ว
ที่กล่าวว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตอารมณ์ ซึ่งเป็นปัจจุบัน อดีต และบัญญัติ นั้น อธิบายว่า ถ้าอารมณ์ของมรณาสันนชวนะ เป็นนิปผันนรูป มี รูปารมณ์ เป็นต้น นั้น เวลาที่จุติจิตดับลงแล้ว อารมณ์นั้นยังไม่ดับไป เมื่อเป็นเช่นนี้ปฏิสนธิจิต และภวังคจิตอย่างมากที่สุด ๖ ดวง ที่เกิดในภพใหม่นั้น ก็มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ส่วน ภวังคจิตที่เกิดต่อจากนั้นมา จนกระทั่งถึงจุติจิตนั้น มี อารมณ์เป็นปัจจุบันไม่ได้ ถ้านิปผันนรูปอารมณ์ ที่กล่าวแล้วนั้นดับลงพร้อมกับจุติจิตก็ดี หรืออารมณ์ของมรณาสันนชวนะนั้น เป็นธรรมารมณ์ที่เป็นจิตเจตสิกก็ดี เช่นนี้ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ในภพใหม่ย่อมมีอารมณ์เป็นอดีต ส่วนปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของกามบุคคลที่เกิดในกามภูมินั้น มี กาลวิมุตตอารมณ์ คือ บัญญัติไม่ได้ เพราะอุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ เหล่านี้ มี อารมณ์ ๖ ที่เป็นกามธรรมอย่างเดียว ฉะนั้น อารมณ์ ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของกามบุคคลจึงเป็นอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันหรือ อดีต อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
ถ้าอารมณ์ของมรณาสันนชวนะนั้น เป็นบัญญัติธรรมารมณ์ คือ บัญญัติที่เกี่ยว กับกรรมฐาน กสิณบัญญัติ เป็นต้นเหล่านี้แล้ว ปฏิสนธิจิต ภวังคจิด จุติจิต ในภพใหม่ ย่อมมีอารมณ์เป็นกาลวิมุตตอารมณ์ คือ บัญญัติ นั้นเอง
อารมณ์ของทวารวิมุตตจิตเหล่านี้ เป็นอนาคตอารมณ์นั้น ย่อมมีไม่ได้ เพราะการรับอารมณ์ของทวารวิมุตตจิตนี้ รับอารมณ์ที่ มรณาสันนชวนะรับเอามาจาก ภพก่อนเมื่อใกล้จะตายนั้นเอง
ที่แสดงว่า ทวารวิมุตตจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอารมณ์ ๖ ที่ เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ซึ่งฉทวาริกมรณาสันนชวนะ รับเอามาจากภพ ก่อนเมื่อใกล้จะตายเป็นส่วนมาก คําที่ว่า เป็นส่วนมาก นั้น หมายความว่า อารมณ์ ของทวารวิมุตตจิตที่ไม่ได้มีอารมณ์ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ซึ่งฉทวาริกมรณาสันนชวนะรับเอามาจากภพก่อนเมื่อใกล้จะตายก็มี เช่น พวกมนุษย์และเทวดาที่เป็น ปัญจมฌานลาภีบุคคล อันเกี่ยวเนื่องด้วยสัญญาวิราคภาวนา เมื่อตายจากกามภูมิแล้ว ก็ไปบังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ เป็นอสัญญสัตตพรหม เมื่อครบอายุขัย ๕๐๐ มหากัปป์ แล้ว ก็จุติลงมาเกิดในกามภูมิ เป็นมนุษย์หรือเทวดาอีก ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของบุคคลเหล่านี้ ย่อมมีอารมณ์ คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ อารมณ์เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นอารมณ์ที่ฉทวาริกมรณาสันนชวนะรับเอามาจากภพก่อน คือ ภพที่เป็นอสัญญสัตตพรหมเมื่อใกล้จะตาย เพราะอสัญญสัตตพรหมนี้จุติด้วยรูป คือ ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้ายนั้นเองอารมณ์ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตของ บุคคลเหล่านี้ เป็นอารมณ์ที่ได้รับมาจากอปราปริยเวทนียกรรม ที่ตนเคยทํามาในภพก่อน ๆ นับตั้งแต่ภาพที่ ๓ เป็นต้นไปตามสมควร หมายความว่า อปราปริยเวทนียกุศล กรรมใด มีโอกาสให้ผลปฏิสนธิในกามภูมิ อารมณ์ของอปราปริยเวทนียกุศลกรรมนั้น แหละ เป็นอารมณ์ที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต แห่งทวารวิมุตตจิตของมนุษย์ เทวดาเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้แหละ พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงคําว่า เป็นส่วนมาก ในข้อนี้
วัตถุสังคหะ
การสงเคราะห์ จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งวัตถุ ชื่อว่า วัตถุสังคหะ
วัตถุ ๖
วัตถุ มี ๖ คือ
๑. จักขุวัตถุ ได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตวัตถุ ได้แก่ โสตปสาท
๓. ฆานวัตถุ ได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาวัตถุ ได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายวัตถุ ได้แก่ กายปสาท
๖. หทัยวัตถุ ได้แก่ หทัยรูป
คําอธิบาย
จิตเจตสิกทั้งหลาย ย่อมอาศัยอยู่ในธรรมใด ฉะนั้น ธรรมที่เป็นที่อาศัยของ จิตเจตสิก เหล่านั้น ชื่อว่า วัตถุ
ธรรมดาพื้นแผ่นดิน ย่อมเป็นที่อาศัยอยู่ของอวิญญาณกวัตถุ คือ บรรดาสิ่งที่ ไม่มีชีวิต มี สถานที่ ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ํา เป็นต้น และสวิญญาณกวัตถุ คือ บรรดาสิ่ง ที่มีชีวิต มี มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น และพื้นแผ่นดินนี้ก็ย่อมรองรับบรรดา อวิญญาณกวัตถุ สวิญญาณกวัตถุทั้งหลายเหล่านั้นไว้ ตามธรรมชาติของตน ข้อนี้ ฉันใด วัตถุรูปทั้ง ๖ มี จักขุวัตถุ เป็นต้น ก็ย่อมเป็นที่อาศัยของจิตเจตสิก ทั้งหลาย และรองรับจิตเจตสิกทั้งหลายนั้น ตามสภาพของตนเช่นเดียวกัน
บรรดาต้นไม้ทั้งหลาย ย่อมเกิดงอกงามเจริญขึ้นได้ ก็โดยอาศัยพื้นแผ่นดิน ฉันใด จิตเจตสิกทั้งหลายปรากฏขึ้นได้และเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไปได้นั้น ก็โดยอาศัย วัตถุรูปทั้ง ๖ ฉันนั้น ฉะนั้น วัตถุรูป ทั้ง ๖ นี้ จึงเปรียบได้เหมือนกับพื้นแผ่นดิน จิต เจตสิกเปรียบเหมือน อวิญญาณกวัตถุ สวิญญาณกวัตถุ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าจิต เจตสิกทั้งหลายอยู่ในวัตถุรูปทั้ง ๖ แต่ข้อหานี้ หาใช่เป็นตามปรมัตถนัยไม่ กล่าว โดยโวหารเท่านั้น เหมือนกับที่กล่าวว่า ต้นไม้ต่างๆ อยู่ในพืช หรือเสียงระฆังอยู่ใน ระฆัง ซึ่งความจริงนั้นต้นไม้ก็ไม่ได้อยู่ในพืช เสียงระฆังก็ไม่ได้อยู่ในระฆัง แล้วแต่ เหตุปัจจัย ถ้าเหตุปัจจัยเกิดขึ้นครบแล้ว ต้นไม้ก็เกิดขึ้นจากพืชได้ เสียงระฆังก็เกิด จากระฆังได้ จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวัตถุรูป ๖ ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีเหตุปัจจัย ครบแล้ว จิตเจตสิกก็เกิดจากวัตถุรูปได้ ถ้าเหตุปัจจัยไม่ครบ จิตเจตสิกก็เกิดจากวัตถุ รูป ๖ ไม่ได้
ธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกเกิดขึ้นจากวัตถุรูป ๖ ได้นั้น มีเหตุที่ เป็นหลักสําคัญอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑. อดีตกรรม ๒. วัตถุ ๓. อารมณ์ เมื่อครบ ๓ อย่างนี้แล้ว จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นจากวัตถุรูป ๖ ได้การแสดงเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ของจิตเจตสิกที่เกี่ยวด้วยวัตถุรูป ๖ ก็มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ในปัญจโวการภูมิเท่านั้น สําหรับในจตุโวการภูมินั้น เหตุปัจจัยที่ทําให้จิตเจตสิกเกิดขึ้น ย่อมมีเพียง ๒ อย่าง คือ ๑. อดีตกรรม ๒. อารมณ์
คาถาแสดงการจําแนกภูมิ ๓๐
โดยวัตถุรูป ๖ และวิญญาณธาตุ ๗
นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบ วิญญาณธาตุ ๗ ที่อาศัยวัตถุรูป ๖ เกิดใน กามภูมิ ๑๑
พึงทราบ วิญญาณธาตุ ๔ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ที่อาศัยวัตถุรูป ๓ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ หทัยวัตถุ เกิดใน รูปภูมิ ๑๕ (เว้น อสัญญสัตตภูมิ)
พึงทราบ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ที่ไม่ได้อาศัยวัตถุรูป เกิดในอรูปภูมิ ๔
การจำแนกวิญญาณธาตุ ๗ ที่เกิดในกามภูมิ ๑๑ โดยวัตถุรูป ๖
๑. จักขุวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย จักขุวัตถุ เกิด
๒. โสตวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย โสตวัตถุ เกิด
๓. ฆนาวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย ฆานวัตถุ เกิด
๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย ชิวหาวัตถุ เกิด
๕. กายวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย กายวัตถุ เกิด
๖. มโนธาตุ ๓ อาศัย หทัยวัตถุ เกิด
๗. มโนวิญญาณธาตุ ๖๗ ได้แก่ กามจิต ๔๑ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) และมหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘ อาศัยหทัยวัตถุเกิด
การจําแนกวิญญาณธาตุ ๔ ที่เกิดในรูปภูมิ ๑๕ โดยวัตถุรูป ๓ (รูเป จตุพพิธา ตัวตถุ นิสสิตา)
๑. จักขุวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย จักขุวัตถุ เกิด
๒. โสตวิญญาณธาตุ ๒ อาศัย โสตวัตถุ เกิด
๓. มโนธาตุ ๓ อาศัย หทัยวัตถุ เกิด
๔. มโนวิญญาณธาตุ ๖๒ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกริยาจิต ๔ โลกุตตรจิต ๘ เหล่านี้ อาศัยหทัยวัตถุเกิด
วิญญาณธาตุ ๑ ที่เกิดในอรูปภูมิ ๔ โดยไม่ได้อาศัยวัตถุ (อรูเป ธาเควกานิสุสิตา)
มโนวิญญาณธาตุ ๔๖ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๗ (เว้น โสดาปัตติมรรค) เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ได้อาศัยวัตถุรูปอย่างหนึ่งอย่างใด
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว