ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๘ ปฏิจจสมุปปาททีปนี รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
ปริจเฉทที่ ๘ ที่ชื่อว่าปัจจยสังคหะนั้น
เพราะพระอนุรุทธาจารย์ได้ แสดงรวบรวมธรรมที่เป็นปัจจัย และปัจจยุปบัน ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท และ นัยแห่งปัฏฐานทั้งหมดอยู่ในปริจเฉทนี้ ฉะนั้น ปริจเฉท ๘ นี้จึงชื่อว่า ปัจจยสังคหะ
อนึ่ง ธรรมที่เป็นปัจจัยที่แสดงในปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นปรมัตถ์ล้วนๆ ไม่มีบัญญัติเข้าเจือปนด้วยเลย ส่วนธรรมที่เป็นปัจจัยที่แสดงในปัฏฐานนั้น มีทั้ง ปรมัตถ์และบัญญัติ ด้วยเหตุนี้พระอนุรุทธาจารย์ จึงได้แสดงบัญญัติต่างๆ ไว้ใน สุดท้ายแห่งปริจเฉทนี้
สําหรับธรรมที่เป็นปัจจยุปบันนั้น เป็นปรมัตถ์โดยส่วนเดียวทั้ง ๒ นัย คําว่า ปัจจยะ หรือปัจจัยนั้น หมายความว่า เป็นเหตุของผลที่เกี่ยว เนื่องด้วยเหตุนั้นๆ
คําว่า ปัจจยุปบัน หมายความว่า เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนั้นๆ
สรุปความว่า ปัจจัย ได้แก่ ธรรมที่เป็นเหตุ
ปัจจยุปบัน ได้แก่ ธรรมที่เป็นผล
อธิบายการอุปการะระหว่างปัจจัยและปัจจยุปบัน ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร
๑. อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา สมฺภวนฺติ
สังขารทั้ง ๓ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุ คําว่า อวิชชา เมื่อตัดบทแล้วได้ ๒ บท คือ อ + วิชชา
อ แปลว่า ไม่ หรือ ตรงกันข้าม
วิชชา แปลว่า รู้ หรือ ปัญญา
เมื่อรวมกันเข้าแล้ว แปลว่า ไม่รู้ หรือ ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับ ปัญญา ได้แก่ โมหเจตสิก ดังแสดงวจนัตถะว่า “จตุสัจจธมุม วิทติ ปากฏ กโรติ - วิชชา”
ธรรมชาติใดเป็นผู้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ และเป็นผู้ทําให้อริยสัจ ๔ ปรากฏขึ้น ฉะนั้น ธรรมชาติชื่อว่า วิชชา ได้แก่ปัญญาเจตสิก
“วิชชา ปฏิปกชาติ = อวิชชา”
ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญา ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา หรือ “อวินทิย์ วินฺทติ = อวิชชา”
หรือ “อวิชชมาเน ชวาเปติ - อวิชชา”
ธรรมชาติที่เป็นผู้รู้ผิดในบัญญัติธรรม มีชาย หญิง เป็นต้น ที่ไม่มีปรากฏโดยสภาวะ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา
หรือ “วิชชมาเน น ชวาเปตีติ = อวิชชา”
ธรรมชาติที่เป็นผู้ไม่ให้รู้ในปรมัตถธรรม มีขันธ์เป็นต้น ที่มีปรากฏโดยสภาวะ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา
หรือ “วิทิตพฺพ์ อวิทิต กโรติ - อวิชชา”
ธรรมชาติที่ไม่ให้รู้ซึ่งธรรมที่ควรรู้มีอริยสัจ ๔ เป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา
อวิชชาทั้งหมดนี้ได้แก่ โมหเจตสิก
สรุปความว่า การไม่รู้ตามความเป็นจริงที่ควรรู้ รู้แต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตาม ความเป็นจริงที่ไม่ควรรู้ นี้แหละชื่อว่า อวิชชา
การไม่รู้ตามความเป็นจริงของอวิชชานี้มีอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. ทุกฺเข อญาณ์ ไม่รู้ในทุกข์
๒. ทุกขสมุทเย อญาณ์ ไม่รู้เหตุที่ทําให้เกิดทุกข์
๓.ทุกขนิโรโธ อญาณ ไม่รู้ธรรมอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาย อญาณํ ไม่รู้หนทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์ ๕. ปุพฺพนฺเต อญาณ์ ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีต
๖. อปรนเต อญาณํ ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคต
๗. ปุพฺพนตาปรนเต อญาณ์ ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีตและอนาคต
๘. อิทปปัจจยตาปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ อญาณ ความไม่รู้ในรูป นาม ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยมีเหตุให้เกิดตามในปฏิจจสมุปบาท
๑. ความไม่รู้ในทุกข์ (ทุกฺเข อญาณํ) คือ
ตามธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าใครจะต้องได้ประสบกับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกเศร้าเสียใจ ความร่ําไห้รําพัน ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความได้ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ความไม่สําเร็จตามความประสงค์ ความคับแค้นใจ เหล่านี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น ยากที่ผู้ใดจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ ต้องได้รับกันมากน้อยตามสมควรแก่ฐานะของตน แต่ในบรรดาทุกข์ต่างๆ เหล่านี้ การเกิดและการตายทั้ง ๒ นี้ เป็นทุกข์ที่แน่นอน ไม่มีการยกเว้นให้แก่ใคร จะเกิดเป็นคนชั้นสูง ชั้นต่ํา หรือจะเกิดเป็นเทวดา พรหมก็ตาม ต้องได้ประสบด้วยกันทั้งสิ้น สําหรับความแก่ ความเจ็บ ความเศร้า โศกเสียใจ ความร่ําไห้รําพัน ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความได้ประสบกับ สิ่งที่ไม่รัก ความไม่สําเร็จตามความประสงค์ ความคับแค้นใจเหล่านี้ เป็นทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลไม่ทั่วไป เช่น ในพวกเทวดาทั้งหลาย (ยกเว้นจาตุมหาราชิกา เทวดาชั้นต่ํา) ความแก่ ความเจ็บ ทั้ง ๒ นี้ไม่ปรากฏ แต่ทุกข์อื่นๆ ก็ย่อมได้รับกันตามมากตามน้อยเช่นเดียวกัน สําหรับพวกพรหม แม้จะพ้นจากทุกข์อื่นๆ ก็จริง แต่ทุกข์ที่สําคัญ คือ การเกิด การตาย ก็ยังหนีไม่พ้น
ทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ แม้สัตว์ทั้งหลายเคยได้รับมาแล้วในอดีตก็ตาม กําลังได้รับอยู่ในปัจจุบันก็ตาม และจะได้รับต่อไปในอนาคตก็ตาม แต่สัตว์ ทั้งหลายนั้นก็ไม่รู้สึกตัวไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อความทุกข์เหล่านี้ มัวหลง เพลิดเพลินอยู่ในโลกียอารมณ์ทั้ง ๖ กล่าวคือ หลงอยู่ใน ลูก หลาน สามี ภรรยา พ่อ แม่ ญาติพี่น้องบ้าง หลงอยู่ใน ลาภ ยศ ที่อยู่ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ บ้าง เหมือนเช่น เป็ด ไก่ ที่เจ้าของเอามาขังไว้ในเล้า เพื่อนําเอาไปฆ่า เป็ด ไก่เหล่านั้น หาได้รู้ตัวไม่ว่าตนจะต้องถูกฆ่า ในขณะที่ถูกขังอยู่นั้นยังคึกคะนอง ตีกัน จิกกัน แย่งอาหารกันอยู่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลงไม่รู้ในทุกข์นั้นเอง ข้อนี้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่มัวหลงเพลิดเพลินอยู่ในโลกียอารมณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ก็เพราะ ความไม่รู้ในทุกข์ต่างๆ เหล่านี้ ว่าเป็นทุกข์ ฉันนั้น
แม้ว่าในสมัยนี้ วิทยาศาสตร์กําลังเจริญก้าวหน้าไปเพียงใดก็ตาม แต่วิธี ที่จะไม่ให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้น วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถกระทําให้สําเร็จได้ และไม่มีหวังที่จะทําได้เลย วิธีที่จะทําให้พ้นจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ มีอยู่ แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ฉะนั้น ผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงพยายามหาทางปฏิบัติ เพื่อจะให้พ้นจากทุกข์เหล่านั้น สมดังคาถาที่แสดงว่า
ปตฺเถนฺติ มุจจิต สนฺตา ทุชชนา โมทมานาว
สํสารา ภยเภรวา วฏฺฏนติ ภวสาคร ๆ
สัปบุรุษผู้เห็นโทษในร่างกายแล้ว ไม่มีความยึดมั่น และมีปัญญามองเห็นกาลภายหน้าเหล่านี้ มีความสะดุ้งกลัว และปรารถนาเพื่อจะพ้นจาก การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ไม่มีที่สิ้นสุด มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นภัยที่น่ากลัว
ส่วนอสัปบุรุษผู้ไม่นึกไม่เห็นในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีความหลง ยึดมั่นอยู่ในกามคุณอารมณ์เหล่านี้ มีความเพลิดเพลินไปด้วยอารมณ์ต่างๆ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด อยู่ในภพต่างๆ ที่เปรียบเหมือนท้องมหาสมุทร ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ย้ายจากภูมินี้ไปภูมินั้น เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความไม่รู้ในทุกข์
๒. ไม่รู้เหตุที่ทําให้เกิดทุกข์ (ทุกฺขสมุทย อญาณํ) คือ
ความทุกข์ต่างๆ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่สบายใจ เป็นต้นเหล่านี้ เมื่อสาวเข้าไปหาตัวต้นเหตุที่ให้เกิดทุกข์เหล่านี้แล้ว ก็จะทราบได้ว่า โลภะ คือ ความอยากได้ ความยินดี พอใจ ติดใจ นั้นเองเป็นตัวต้นเหตุ เพราะธรรมดา คนทั้งหลายในโลกนี้ที่ต้องขวนขวายพยายามทํากิจการต่างๆ ทั้งฝ่ายดีฝ่ายไม่ดีนั้น ก็เพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่น่ายินดีน่าปรารถนาต่างๆ ด้วยกันทั้งสิ้นแม้จะ เหนื่อยกายเหนื่อยใจสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ย่อท้อถอยหลัง มุ่งหวังแต่จะให้สําเร็จ ในกิจที่ตนกระท่านั้นแล้วก็จะได้สิ่งที่ตนปรารถนามาสมดังความประสงค์ แต่ คนทั้งหลายก็หารู้ตัวไม่ว่าตนได้ตกอยู่ภายใต้อํานาจของโลภะที่เป็นผู้จัดแจงให้ ตนต้องเหนื่อยยาก ลําบากกาย ลําบากใจ ด้วยอํานาจแห่งรูปตัณหา คือความยินดี พอใจในรูปบ้าง สัททตัณหา คือความยินดีพอใจในเสียงบ้าง คันธตัณหา คือ ความยินดีพอใจในกลิ่นบ้าง รสตัณหา คือความยินดีพอใจในรสบ้าง โผฏฐัพพตัณหา คือความยินดีพอใจในการสัมผัสบ้าง ธัมมตัณหา คือความยินดีพอใจในการ
นึกคิดบ้าง
โลภะ คือความปรารถนา ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น ที่ตนคิดว่าจะนําความสุขมาให้เหล่านี้และเป็นเหตุ การขวนขวายพยายาม เพื่อจะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ ด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง เป็นผล และในขณะที่ ขวนขวายพยายามอยู่นั้น ย่อมได้รับความเหนื่อยยาก ลําบากกาย ลําบากใจ ล้วนแต่เป็นความทุกข์ ซึ่งเป็นผลที่ได้รับมาจากการขวนขวายพยายามเป็นเหตุ อีกทีหนึ่ง และถ้าการขวนขวายนั้นเป็นไปพอประมาณ ความทุกข์ต่างๆ ที่ได้รับ นั้นก็เป็นไปพอประมาณ ถ้ามีการขวนขวายพยายามมากขึ้นเท่าไร การได้รับ ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
อนึ่ง ถ้าการขวนขวายพยายามนั้นเป็นไปในทางที่ดี เช่น พยายามทํา กุศลต่างๆ มี ทาน ศีล ภาวนา เพื่อปรารถนาความสุขให้ยิ่งๆ ขึ้นไปทั้งในภพนี้ และภพหน้า การทํากุศลที่มีความปรารถนาเช่นนี้ ก็นับว่าทําไปด้วยอํานาจโลภะ และเป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์เกิดขึ้น คือความเหนื่อยกายเหนื่อยใจ ในขณะที่ กําลังกระทํา และเมื่อตายจากภพนี้ไปแล้วก็ต้องได้รับความทุกข์ในภพหน้าต่อไป อีกคือ การเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้นเอง แต่ผู้ที่ได้รับความทุกข์นี้ย่อมมีความอดทนได้ โดยเห็นว่าเป็นของธรรมดา แต่รู้ไม่ถึงว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เป็นต้น ที่ตนกําลังได้รับอยู่ และที่จะได้รับต่อไปอีกในเวลาข้างหน้านั้น เป็นผลที่เกิดมาจากโลภะเป็นเหตุ
ถ้าการขวนขวายพยายามนั้น เป็นไปในทางที่ไม่ดี เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เสพสุรา เป็นต้น เหล่านี้ เพื่อให้ได้ทรัพย์สินเงินทองมาใช้บํารุงความสุขสําราญแก่ตน การกระทํา ทุจริตต่างๆ ดังกล่าวนี้ ก็นับว่าทําไปด้วยอํานาจของโลภะ และเป็นเหตุให้ได้รับ ความทุกข์เกิดขึ้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า กล่าวคือ ในชาตินี้ย่อมได้รับความ ทุกข์กาย ทุกข์ใจอย่างหนัก ได้แก่ ถูกติเตียนดูหมิ่นจากสัปบุรุษทั้งหลายบ้าง ถูกเขาจับได้ก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง อาจจะได้รับโทษถึง ถูกประหารชีวิตก็ได้ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่ได้รับโดยประจักษ์สิทธิ ถ้าผู้นั้น ตายลงก็จะต้องไปรับทุกข์หนักในภพหน้าต่อไปอีก คือ ไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เป็น ติรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง และถ้าได้ไปเกิดเป้นพวกอบายสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมมีหวังน้อยที่สุดที่จะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้อีก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก แต่ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายก็ยังพากันหลงงมงายอยู่ภายใต้ อํานาจของโลภะ ไม่รู้สึกตัวว่าโลภะนี้เป็นตัวต้นเหตุที่ทําให้ได้รับความทุกข์ต่างๆ
อุปมาเหมือนหนึ่งปลาได้เห็นเหยื่อที่เกี่ยวอยู่ที่ปลายเบ็ด มีความรู้แต่เพียงว่าจะต้องการกินเหยื่อเท่านั้น หารู้ไม่ว่าตนจะได้รับภัยอันตรายอย่างใดไม่ เมื่อฮุบเหยื่อเข้าไปแล้ว ก็ถูกเบ็ดเกี่ยวปากได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และยิ่งกว่านั้นก็ยังถูกคนที่ตกเบ็ดนั้น นําเอาไปฆ่ากินเป็นอาหารอีกด้วย ข้อนี้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ได้รับความลําบากกาย ลําบากใจด้วยประการต่างๆ มากบ้าง น้อยบ้าง ที่เนื่องมาจากการขวนขวายแสวงหาความสุขให้แก่ตนด้วยอํานาจของ โลภะนั้นก็เช่นเดียวกัน
อนึ่งสัตว์ทั้งหลายแม้จะเวียนตายเวียนเกิดอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วนก็ตามแต่สัตว์เหล่านั้นก็หาได้มีความเบื่อหน่ายแม้แต่น้อย ยังยินดีพอใจในภพในชาติ ของตนอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น อย่าว่าแต่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหมเลย แม้จะ ได้เกิดเป็นพวกสัตว์ดิรัจฉานจนกระทั่งหนอนที่อยู่ในอุจจาระก็ตาม ก็ยังยินดีใน
สภาพความเป็นอยู่ของตนเช่นเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน โลกนี้มีตัณหาเป็นเพื่อนสนิทคอยบํารุงบําเรออยู่นั้นเอง จึงทําให้สัตว์ทั้งหลาย เหล่านั้นไม่เบื่อหน่ายต่อการเกิดอยู่ในภพต่างๆ ซึ่งเป็นมูลรากแห่งกองทุกข์ทั้งปวง มองไม่เห็นว่ากองทุกข์ต่างๆ ที่ตนได้ประสบอยู่นี้ ก็เนื่องมาจากตัณหานั้น แหละเป็นตัวต้นเหตุ เหมือนหนึ่งสุนัขที่เพลิดเพลินอยู่กับกระดูกวัวที่ไม่มีเนื้อ โดยอาศัยน้ําลายของตนเองฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่กําลังเสวยกามคุณอารมณ์ และ อดทนต่อทุกข์ต่างๆ ที่ตนประสบอยู่ได้โดยไม่มีความเบื่อหน่ายนั้น ก็เพราะ อํานาจแห่งตัณหาที่มีอยู่ในขันธสันดานของตนนั้นเอง ส่วนสิ่งต่างๆ ที่เป็นเครื่อง ก่อให้เกิดความยินดีติดใจนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่เป็นส่วนประกอบให้ตัณหาเกิดขึ้น และเจริญงอกงามขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระพุทธองค์จึงทรงกล่าวว่า ตัณหานี้แหละเป็นผู้ฉุดชักสัตว์ทั้งหลายไว้ ไม่ให้ออกไปพ้นสังสารวัฏได้ ดังที่
พระองค์ทรงแสดงว่า
ตณฺหาทุติโย ปุริโส ทีฆมทธาน สํสารํ
อิตฺถมุภาวญฺญถาภาวํ สํสาร์ มาติวตฺตติ ฯ
ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ภพอื่นๆ จากความเป็นอยู่ในภพนั้นๆ ไปยังภพนั้นๆ แล้วไม่สามารถก้าวพ้นไปจากสังสารวัฏอันยืนยาวนาน เพราะความ เป็นผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน
สําหรับผู้ที่พ้นจากโลภะได้แล้วก็ดี หรือผู้ที่กระทําการงานต่างๆ ที่ไม่ได้ เป็นไปด้วยอํานาจของโลภะก็ดี ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง หรือถ้ายังไม่พ้น ก็เพียง แต่ได้ประสบกับความทุกข์ที่เป็นไปโดยธรรมดา คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่านั้น และในไม่ช้าก็สามารถที่จะพ้นจากทุกข์เหล่านี้ไปได้ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงเทศนาไว้ว่า
ตณฺหาย ชายเต โลโก ตณฺหาย วิปปมุตฺตสฺส
ญหาย ชายเต ภ นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ
ความเศร้าโศกย่อมเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นเหตุ ภัยต่างๆ ก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นเหตุ ความเศร้าโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นแล้วจากตัณหา เมื่อความโศกไม่มีแล้วภัยต่างๆ จักมีมาแต่ไหน ย่อมไม่มีแน่นอน
คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความไม่รู้เหตุที่ทําให้เกิดทุกข์
๓. ไม่รู้ธรรมอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรโธ อญาณํ) คือ
ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิเหล่านี้ ล้วนแต่ตกอยู่ในกองทุกข์ ไม่ว่าผู้นั้นจะได้เกิดเป็นคนชั้นต่ํา ชั้นสูง หรือเกิดใน ทุคติภูมิสุคติภูมิก็ตาม ก็ต้องได้ประสบกับทุกข์ต่างๆ มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระพุทธองค์ จึงไม่ทรงชมเชยสนับสนุนในการที่เวไนยสัตว์ ทั้งหลาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในภูมิต่างๆ จะเป็นภูมิต่ํา ภูมิสูง หรือ บุคคลชั้นต่ํา ชั้นสูงก็ตาม มีแต่ทรงชี้แนะแนวทางให้สัตว์ทั้งหลายได้พ้นไปจาก ภูมิต่างๆ ด้วยกันทั้งสิ้น
อุจจาระเป็นสิ่งที่น่าเกลียดแก่คนทั้งหลายทั่วไป ไม่ว่าอุจจาระนั้นจะ เกิดจากอาหารที่ดีมีราคา เช่น นม เนย หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น หรือจะเกิดจาก อาหารที่เลวราคาต่ํา เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้นก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่น่าเกลียดทั้งนั้น ไม่มีใครยกย่องชมเชยว่าดีเลย สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภูมิต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่ได้ยกย่องสนับสนุนว่าดี เพราะต้องตกอยู่ในกองทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวแล้วนั้นเอง
สิ่งที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ยกย่องว่าเป็นของ ประเสริฐก็มีแต่พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น เพราะพระนิพพานนี้มีสภาพเป็น สันติสุข คือความสุขที่สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ ไม่เกี่ยวกับการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การคิดนึก ทั้งปวง คําสั่งสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าที่เป็นปิฎกทั้ง ๓ ซึ่งมีพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พัน นั้น จุดหมาย ปลายทางที่พระองค์ต้องประสงค์ก็คือ วิมุตติรส อันได้แก่พระนิพพานอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงพรรณนาสรรเสริญพระนิพพานไว้มากมาย ดังปรากฏมีอยู่ว่า
“นิพฺพานํ ปรม สุขํ”
พระนิพพานมีความสุขอย่างยอดยิ่ง
“นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ"
ความสุขที่ประเสริฐยิ่งกว่าพระนิพพานย่อมไม่มี
“นิพฺพานํ ปรม วทนฺติ พุทฺธา”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงกล่าวว่า
“พระนิพพานเป็นธรรมอันประเสริฐ”
ความสุขในพระนิพพาน ที่เรียกว่า สันติสุข กับความสุขในโลก ที่เรียกว่า เวทยิตสุข นั้น มีสภาพตรงกันข้าม กล่าวคือ ความสงบจาก รูป นาม ขันธ์ ๕ นั้นเอง ชื่อว่า สันติสุข ส่วนเวทยิตสุขนั้นเป็นความสุขที่เกี่ยวกับการ เสวยอารมณ์ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ซึ่งความสุขประเภทนี้ มนุษย์ ทั้งหลายที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่และเทวดา พรหม ตลอดจนอบายสัตว์ย่อมพึง พอใจเห็นประโยชน์และมีความปรารถนาด้วยกันทั้งสิ้น สําหรับสันติสุขนั้น สัตว์ทั้งหลายมองไม่เห็นประโยชน์ ไม่มีความสนใจ แม้พุทธมามกชนบางพวกที่ ปรารถนาพระนิพพาน ก็มักจะเป็นไปเพียงแต่วาจา ส่วนจิตใจไม่ได้น้อมเข้าถึง พระนิพพานอย่างแท้จริง โดยมากเข้าใจกันว่า พระนิพพานนั้นเป็นสถานที่แห่ง หนึ่งที่นอกไปจากโลกเรานี้ ในสถานที่นั้นบริบูรณ์ด้วยความสุขนานาประการ หาความทุกข์มิได้ ผู้ที่ได้ไปสู่พระนิพพานนี้ก็หมายถึงว่า เมื่อตายไปจากโลกนี้แล้ว ก็ไปเกิดอยู่ ณ ที่นั่น และไม่มีการแก่ เจ็บ ตาย ไม่มีความเศร้าโศกต่างๆ ล้วนแล้วไปด้วยความสุข หรือบางพวกก็เข้าใจว่า ผู้ที่ไปเกิดในพระนิพพานนั้น ไม่มีร่างกายตัวตน มีแต่ความรู้สึกอย่างเดียวเท่านั้น และความรู้สึกที่มีอยู่นี้ก็อิ่ม เอิบไปด้วยความสุข ไม่มีความทุกข์เข้าเจือปน
แต่ถ้าผู้ที่ปรารถนาพระนิพพาน โดยอาศัยความเข้าใจในพระนิพพาน ดังกล่าวมาแล้วนี้เป็นเหตุนั้น ได้มีการศึกษาอย่างถูกต้องและเกิดความเข้าใจอย่าง ถูกต้องขึ้นแล้วว่า ผู้ที่ได้เข้าถึงพระนิพพานอันได้แก่ พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อ เวลาที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว รูปนาม ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์เหล่านั้น ย่อมดับ สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความรู้สึกต่างๆ ก็ไม่มีเช่นนี้แล้ว ผู้นั้นอาจเกิดความลังเลใจได้ ว่า การเข้าถึงพระนิพพานนั้นจะมีความสุขอย่างยอดยิ่งได้อย่างไร ในเมื่อไม่มี อะไรเหลืออยู่เลย ด้วยเหตุนี้ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นภัยทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในสังสารวัฏ โดยอาศัยการเกิด การตายเท่านั้น ที่จะสมัครใจเข้าสู่พระนิพพานอย่างแท้จริง บุคคลนอกจากนั้นแล้ว ยังไม่เต็มใจที่จะไปสู่พระนิพพาน ด้วยเห็นว่าไม่มีความสุข ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงเทศนาไว้ว่า
สเทวกสฺส โลกสฺส เอเต โว สุขสมุมคา
ยตฺถ เจเต นิรุชฌนติ ตี๋ เตสํ ทุกฺขสมมติ ฯ
สัตว์ทั่วโลกทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดา สมมติกันว่า โลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านี้ดี และมีความสุข ธรรมอันใดคือ พระนิพพาน ที่โลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านั้น ดับสูญสิ้นหมดแล้ว สัตว์ทั่วโลกทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดานั้น สมมติกันว่า ธรรมอันนั้น คือ พระนิพพานเป็นธรรมที่ไม่ดี เป็นทุกข์
ภัยทั้ง ๔ นั้นคือ
๑. นานาสัตถอุลโลกนภัย คือ ยังไม่พ้นจากการเคารพนับถือศาสดาต่างๆ หมายความว่าในภพนี้ เคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จริง แต่ในภพต่อๆ ไป ไม่นับถือศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นๆ ตลอดจน นับถือ เทวดา พรหม ผี เหล่านี้ เป็นต้น นี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง
๒. วินิปาตภัย คือ การไปเกิดในที่ๆ ไม่แน่นอน หมายความว่า เมื่อตายไปจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปเกิดที่ไหนก็รู้ไม่ได้ จะไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม หรือจะไปเกิดเป็นพวกสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต ผี ก็รู้ไม่ได้ทั้งสิ้น ต้องแล้วแต่กรรมของตนที่ทําไว้ หรือในชาตินี้เกิดเป็นคนรวย สวย ฉลาด ตระกูลสูง มีสติสัมปชัญญะดี มีอวัยวะครบถ้วน มีสุขภาพดี ต่อไปชาติหน้า อาจจะไปเกิด เป็นคนยากจน ไม่สวย โง่ ตระกูลต่ํา มีสติฟั่นเฟือน มีอวัยวะขาดตกบกพร่อง เป็นคนอ่อนแอขี้โรค เหล่านี้เป็นต้นก็ได้ นี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง
๓. อปายภัย คือ ยังไม่พ้นจากการไปเกิดในอบายภูมิ หมายความว่า ในชาตินี้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ชาติหน้าอาจไปเกิดในอบายภูมิ เป็น พวกสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน ผี เปรต อสุรกาย ก็ได้ พวกที่ไปเกิดเป็นพรหมอยู่ แล้วนั้น ก็ไม่แน่นอนว่าจะไม่ไปเกิดในอบาย เพราะยังเป็นปุถุชนอยู่ แม้ว่าในชาติที่ ๒ จะไม่ไปเกิดในอบาย แต่ชาติที่ ๓ เป็นต้น ก็อาจไปเกิดได้ นี่ก็เป็นสิ่งที่ น่ากลัวอย่างหนึ่ง
๔. ทุจริตภัย คือ ยังไม่พ้นจากการกระทําอันเป็นทุจริตต่างๆ หมายความว่า ในชาตินี้ไม่ได้ทําทุจริต คือไม่ชอบฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ไม่เป็นโจรผู้ร้าย ไม่เป็นคนพูดจาเหลวไหล ไม่เป็นคนเสพสุรายาเมา ไม่เป็นคนมีความเห็นผิด แต่ชาติหน้าต่อๆ ไป อาจเกิดเป็นคนที่มีความยินดีพอใจในการกระทําทุจริต คือ ชอบฆ่าสัตว์ เป็นโจรผู้ร้าย เป็นคนพูดจาเหลวไหล ชอบเสพสุรา มีความเห็นผิด เหล่านี้ก็ได้ นี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง
คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความรู้ในธรรมอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์
๔. ไม่รู้ทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาย อญาณํ)
ตามธรรมดาคนทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีผู้ใดเลยที่อยากประสบความทุกข์และผู้ที่ได้ประสบกับความทุกข์เข้าแล้ว ก็พยายามดิ้นรนหาทางที่จะให้พ้นความ ทุกข์นั้นๆ ด้วยอาศัยเหตุนี้แหละ ต่างคนก็พยายามประพฤติปฏิบัติกันโดย ประการต่างๆ ทั้งในโลกและทางธรรม เพื่อมุ่งหวังความสุข และให้พ้นจาก ความทุกข์นั้นเอง
ความทุกข์นี้จัดออกเป็น ๒ อย่างคือ
๑. ทุกข์สามัญ ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสัตว์ทั้งหลายทั่วโลกที่ เป็นไปตามธรรมดา ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงได้
๒. ทุกข์พิเศษ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพยสนะ ๕ อย่างคือ
ญาติพยสนะ การสูญเสียญาติมิตร
โภคพยสนะ การสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง ยศ บริวาร
โรคฟียสนะ มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
สีลพยสนะ ความวิบัติแห่งศีล
ทิฏฐิพยสนะ มีความเห็นผิดจากความเป็นจริง
และความทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยประสบกับอัคคีภัยบ้าง โจรภัยบ้าง ราชภัยบ้าง อสัปปุริสภัยบ้าง ความอดอยากขาดแคลนในเรื่องอาหาร ที่อาศัยบ้าง เหล่านี้เป็นต้น การปฏิบัติที่คนทั้งหลายกระทําเพื่อหวังจะให้พ้นจากทุกข์เหล่านี้ ก็มีอยู่ ๒ อย่างคือ
๑. การปฏิบัติในทางโลก ได้แก่ การพยายามประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ทํานา ทําสวน ค้าขาย รับจ้าง ทําราชการ และบางคนก็ประกอบอาชีพที่เป็นไป ในทางทุจริต เช่น ลักทรัพย์ ทําการประมง ล่อลวงเป็นต้น และบางพวกเมื่อ ได้ประสบกับความทุกข์กายทุกข์ใจแล้ว ก็ไปหาหมอยา หมอดู เพื่อปัดเป่าให้ พ้นทุกข์เหล่านี้ไปบ้าง ดังนี้เป็นต้น
๒. การปฏิบัติในทางธรรม ได้แก่ การบําเพ็ญทานบ้าง รักษาศีลบ้าง ทําสมถะบ้าง ปฏิบัติโดยอัตตกิลมถานุโยค คือ ทรมานร่างกายด้วยประการต่างๆ ปฏิบัติเหมือนโค เหมือนสุนัขบ้าง ปฏิบัติโดยกามสุขัลลิกานุโยค คือ บํารุงบําเรอ ตนให้ได้รับความสุขต่างๆ ตามความพอใจของตน ไม่ให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมา ขัดขวางได้บ้าง
การปฏิบัติดังกล่าวมานี้ การปฏิบัติในทางโลกที่ไม่เกี่ยวกับทุจริตเหล่านั้น ย่อมทําให้พ้นจากความทุกข์ไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น การปฏิบัติที่เกี่ยวกับทุจริตนั้น ในระหว่างที่การกระทํานั้นยังไม่ส่งผล ก็รู้สึกคล้ายกับว่ามีความสุข แต่เมื่อการ กระทํานั้นส่งผลแล้ว ผู้นั้นย่อมได้รับความทุกข์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย สมดังที่ พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ว่า
มธุว มญญัติ พาโล ยาว ปาปี น ปจฺจติ
ยทา จ ปจติ ปาปั พาโล ทุกข์ นิคจนติ
ตลอดเวลาใดที่การกระทําบาปนั้นยังไม่ส่งผล ในระหว่างนั้นคนพาล ย่อมเข้าใจในการทําบาปของตนนั้นเหมือนน้ําผึ้ง คือความชอบใจ ยินดีในการ กระท่านั้น แต่เมื่อเวลาใดที่การกระทําบาปของตนนั้นส่งผลแล้ว ในเวลานั้น คนพาลเหล่านั้นย่อมได้ประสบความลําบากอย่างใหญ่หลวง
ส่วนการปฏิบัติในทางธรรม ที่เกี่ยวกับ ทาน ศีล สมถภาวนา ย่อม พ้นจากความทุกข์ได้ในชั่วขณะบ้าง หรือพ้นไปได้ตลอดวัน เดือน ปี บ้าง หรือ พ้นไปได้ ๑ ภพ ๒ ภพ ๓ ภพ บ้าง หาใช่พ้นไปโดยเด็ดขาดไม่ และทุกข์ที่ พ้นไปได้ชั่วคราวนี้ก็พ้นได้เฉพาะแต่ทุกข์พิเศษ กับทุกข์ที่เกี่ยวกับ แก่ และ เจ็บ เท่านั้น สําหรับทุกข์ที่เกี่ยวกับ เกิด ตาย นั้นย่อมพ้นไปไม่ได้
ผู้ที่ปฏิบัติอัตตกิลมถานุโยค โดยหวังว่า เมื่อชําระกิเลสให้หมดสิ้นไปแล้ว ในชาติหน้าจะต้องได้รับความสุขเสวยทิพยสมบัติในเทวโลก พ้นจากความทุกข์ต่างๆ ที่คนทั้งหลายได้ประสบอยู่ ความหวังของบุคคลพวกนี้ต้องผิดหวัง เพราะไม่แต่ จะได้รับความทุกข์ที่เกิดจากการทรมานร่างกายในภพนี้เท่านั้น เมื่อตายจากภพนี้ ไปแล้วย่อมจะต้องได้รับความทุกข์หนักยิ่งขึ้นไปอีกในนิรยภูมิอย่างแน่นอนเพราะอาศัยความเห็นผิดของตนนั่นเอง
ผู้ที่ปฏิบัติกามสุขัลลิกานุโยค โดยเข้าใจว่า ชีวิตความเป็นไปของคนเรานี้ ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการแสวงหาความสุขความเพลิดเพลินต่างๆ ตามที่ตนพอใจแล้ว ย่อมจะทําให้เกิดความเศร้าหมองในจิตใจ ไม่พ้นจากความทุกข์ไปได้ ฉะนั้น จึงต้องพยายามหาวิธีต่างๆ ที่จะนําความ สนุกสนานเพลิดเพลินมาให้แก่ตน เพื่อมิให้เกิดความโทมนัสเศร้าหมอง
เมื่อจิตใจสบายแล้วในชาตินี้ก็พ้นจากความทุกข์กายทุกข์ใจ ชาติหน้าก็จะได้ไป รับความสุขในมนุษยโลกหรือเทวโลกต่อไปอีก เมื่อมีความเข้าใจเช่นนี้ ก็พยายามแสวงหาวัตถุกามต่างๆ มาบําเรอแก่ตนตามความพอใจ การปฏิบัติเช่นนี้ บางคนก็ได้รับความสําเร็จ คือ มีความเพลิดเพลินใจอยู่ในกามคุณอารมณ์ต่างๆ ตลอดชาตินี้ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางได้ แต่บางคนก็ทําไปไม่ ได้ตลอด โดยมีผู้อื่นมาขัดขวางบ้าง เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองบ้าง เกี่ยวกับโรค ภัยมาเบียดเบียนบ้าง เหล่านี้ ทําให้จิตใจของผู้นั้นกลับมีความเดือดร้อนขึ้นอีก ผลสุดท้ายเมื่อหาหนทางแก้ไขไม่ได้ ก็อาจถึงทําลายชีวิตของตนหรือผู้ที่มา ขัดขวางนั้นเสียก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี การปฏิบัติตนชนิดกามสุขัลลิกานุโยคนี้จะ กระทําสําเร็จไปได้ตลอดหรือไม่ตลอดก็ตาม ผลสุดท้ายเมื่อตายจากภพนี้ไปแล้ว ก็ต้องไปได้รับความทุกข์ในอบายภูมิ โดยอาศัยความโลภ ความหลง ความ
เห็นผิดนั่นเอง
สรุปความว่า การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังจะให้พ้นทุกข์ที่เป็นไปในทางโลก และการปฏิบัติชนิดอัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค เหล่านี้เป็นการปฏิบัติ ของพวกอันธปุถุชนเป็นส่วนมาก ส่วนการปฏิบัติชนิดบําเพ็ญ ทาน ศีล สมถภาวนา เหล่านี้เป็นการปฏิบัติของพวกกัลยาณปุถุชนเป็นส่วนมาก แต่การปฏิบัติเหล่านี้ ก็ยังไม่ใช่เป็นหนทางที่จะชําระกิเลสให้หมดสิ้น แล้วให้เข้าถึงความดับทุกข์โดย แท้จริงได้ และที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า บุคคลเหล่านี้ไม่เข้าใจในการปฏิบัติที่เป็น หนทางให้เข้าถึงความดับทุกข์โดยเด็ดขาดนั้นเอง
ข้อปฏิบัติที่เป็นหนทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ได้นั้น ก็คือการเจริญองค์มรรค ๘ ที่เกี่ยวกับสติปัฏฐานทั้ง ๔ เท่านั้น การปฏิบัติที่นอกจากนี้แล้ว ไม่ว่าการปฏิบัตินั้นจะกระทําไปอย่างพิสดารลําบากยากเข็ญ หรือละเอียดประณีต
อย่างไรก็ตาม หรือจะใช้เวลาปฏิบัตินานเพียงไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นหนทางที่จะ ชําระกิเลสให้หมดสิ้นไป แล้วเข้าถึงความดับทุกข์ทั้งปวงได้ หมายความว่า ขึ้นชื่อ ว่ามีการปฏิบัติและมีความพากเพียรต่อการปฏิบัตินั้นแล้ว ก็อย่าพึ่งเชื่อว่าการ ปฏิบัติของตนนั้นจะเป็นหนทางที่ถูกต้องเสมอไป ด้วยเหตุนี้ ท่าน
พระมหาพุทธโฆษาจารย์ จึงแสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า
ยถาภูติ อชานมตา สุทธิกามาปิ เย อิธ
วิสุทธิ์ นาธิคจนนติ วายมนตาปิ โยคิโน ฯ
พระโยคี คือ ผู้ประกอบด้วยความพยายามในการเจริญภาวนาทั้งหลาย เหล่าใด แม้มีความประสงค์ความบริสุทธิ์ในศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีความพยายามปฏิบัติ แต่ไม่เข้าใจในแนวทางที่ถูกต้องตามความเป็นจริง
พระโยคีเหล่านั้นย่อมไม่อาจสําเร็จเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้
แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลทั้งหลายที่พากันปฏิบัติตามลัทธิของตนๆ ต่าง ก็มีจุดประสงค์ที่จะให้เข้าถึงความดับทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ความทุกข์ต่างๆ นั้น ก็หาได้หมดสิ้นลงไปตามความประสงค์ไม่ กลับยิ่งหนักขึ้น หรือมิฉะนั้น ก็มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในสังสารวัฏ ยืดยาวโดยไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้ ก็เพราะว่าบุคคลบางพวกในลัทธิพุทธศาสนา ที่ไม่ได้มีความปรารถนา สัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณ มหาสาวกโพธิญาณ แต่อย่างใด ปรารถนาให้พ้นทุกข์เข้าถึงพระนิพพานโดยตรงรวดเดียว ดังกล่าว คําปรารถนาว่า “อิท เม ปุญญ์ อาสวกขย์ วห์ โหตุ” แต่ผู้นั้นก็ยังมีความ พอใจปฏิบัติเพียงแค่ ทาน ศีล สมถภาวนา ไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึงองค์มรรคใน แนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ ฉะนั้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็ยังนับว่ายังเป็นไปด้วย อํานาจโลภะอยู่ ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติเหล่านี้จึงยังต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ใน วัฏฏสงสารอีกยาวนาน ตรงกันข้ามกับความประสงค์ของตน
ผู้ที่ปฏิบัติอัตตกิลมถานุโยคนั้น ทําการปฏิบัติที่เป็นไปด้วยอํานาจทิฏฐิ และโมหะ ฉะนั้น จึงส่งผลให้ไปเกิดในนิรยภูมิ แต่ผู้ที่ปฏิบัตินั้นก็ยังหารู้สึกตัว ไม่ว่า การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ใช่เป็นหนทางที่จะชําระกิเลสเข้าถึงความดับทุกข์
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติชนิดกามสุขัลลิกานุโยคนั้น ไม่ใช่แต่ผู้ที่ถือลัทธิอื่นๆ จะปฏิบัติเช่นนี้ แม้ที่ถือลัทธิพุทธก็มีปฏิบัติกัน เช่นผู้ที่ไม่เห็นประโยชน์ในการ บําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา มีความเห็นว่า ความสุขที่เกี่ยวกับพระนิพพานนั้นไม่มี โดยเฉพาะ ที่แท้ก็คือในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ เรามีความประสงค์อย่างไร พอใจอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามความพอใจของตน อย่างเช่น อยากจะดูอะไรก็ดู อยากจะฟังอะไรก็ฟัง อยากจะกินอะไรก็กิน อยากจะนอนก็นอน อยากจะไป ไหนก็ไป อยากจะทําอะไรก็ทํา อยากจะพูดอะไรก็พูดเป็นต้น ใครจะว่าอย่างไร ก็ช่าง การปฏิบัติตนอย่างนี้แหละ เรียกว่า ปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ ได้รับความสุข ฉะนั้น การปฏิบัติเช่นนี้จึงเป็นไปด้วยอํานาจ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ย่อมส่งผลให้ ผู้นั้นไปบังเกิดในอบายภูมิใดภูมิหนึ่ง และผู้นั้นก็ไม่มีความรู้สึกตัวว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่ใช่เป็นหนทางที่จะชําระกิเลสให้เข้าถึงความดับทุกข์
คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความไม่รู้หนทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์
๕. ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีต (ปุพฺพนเต อญาณํ) คือ
คําว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีตนั้น กล่าวโดยธรรมาธิฏฐาน เมื่อว่าโดยปุคคลาธิฏฐานแล้ว ก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เคยเกิด และตายไปแล้ว นั่นเอง ฉะนั้น ในข้อที่ว่า ปุพพเต อญาณ์ นี้ ก็หมายถึงไม่รู้ว่าตัวเองก็ดี หรือคนอื่นก็ดี เคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง พรหมบ้าง อบายสัตว์บ้าง นั้นเอง แต่สําหรับในชาติต่อไปนั้น รู้ว่าจะต้องเกิดอีก ดังเช่นผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายมีพระเจ้าเป็นผู้สร้าง ฉะนั้น เมื่อสัตว์เหล่านี้ตายลงแล้วก็ได้ไปเกิด ตามคําสั่งของพระเจ้าอีก
๖. ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคต (อปรนเต อญาณํ) คือ
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคตนั้น ได้แก่ ความเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และ อบายสัตว์ ที่ต่อจากภพนี้ ฉะนั้น ในข้อที่ว่า อปรนเต อญาณ์ นี้ ก็หมายถึง ผู้ที่มีความเห็นว่า ตัวเองก็ดี คนอื่นก็ดี เมื่อตายจากชาตินี้แล้วก็ไม่มี การเกิดต่อไปอีก แต่มีความเชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเคยเกิดมาแล้วในชาติก่อน บุคคลจําพวกที่มีความเห็นเช่นนี้ มีหลายลัทธิด้วยกัน แม้คนที่ถือลัทธิพุทธ ที่มีความเห็นเช่นนี้ก็ยังมี บุคคลเหล่านี้ไม่เชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะเกิดอีกต่อไป แต่เชื่อว่าเคยเกิดมาแล้วในชาติก่อน เพราะอาศัยที่เคยได้พบเห็นผู้ที่ระลึกชาติได้นั่นเอง
๗. ความไม่รู้ใน ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีตและอนาคต (ปุพฺพนตาปรนเต อญาณํ) คือ
ความเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และอบายสัตว์ที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต และ ที่จะเกิดต่อไปข้างหน้านั้นเอง ฉะนั้น ในข้อที่ว่า ปุพฺพนตาปรนเต อญาณ์ นี้ ก็หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ว่า ตัวเราก็ดี คนอื่นก็ดี เคยเกิดมาแล้วและจะเกิดต่อไปข้างหน้า บุคคลจําพวกที่มีความเห็นเช่นนี้ ก็มีหลายลัทธิเช่นเดียวกัน เป็นเพราะว่าพวกนี้ ไม่เคยได้รับการศึกษาใน พระสูตร พระอภิธรรม และไม่เคยปฏิบัติวิปัสสนา ทั้งยังไม่เคยได้พบเห็นผู้ที่ระลึกชาติได้
๘. ความไม่รู้ในรูปนาม ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยมีเหตุให้เกิดตามนัย ปฏิจจสมุปบาท (อิทปปัจจยตาปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ อญาณํ) คือ
ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น และการเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้อง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุ คือการ กระทําด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งดีและไม่ดี ซึ่งเป็นเหตุเก่า มีอวิชชา ตัณหาเป็นมูล และโดยอาศัยที่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย การเห็น การได้ยิน เป็นต้น แล้วก็มีการ กระทําด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งดีและไม่ดีขึ้นอีก ซึ่งเป็นเหตุใหม่ มีตัณหา อวิชชา เป็นมูล ทําให้ร่างกายและการเห็น การได้ยินเป็นต้นที่เรียกกันว่า คนนั้น คนนี้ ซึ่งเป็นผลเกิดต่อไปอีก เหตุและผลดังกล่าวมานี้ เมื่อแสดงตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทแล้ว คือการกระทําต่างๆ ที่เป็นเหตุเท่านั้นได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ สัตว์ทั้งหลายและการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ที่เป็น ผลเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา การกระทําด้วย กาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเหตุใหม่นั้น ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ อวิชชา สังขาร สัตว์ทั้งหลายและการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ที่จะเป็น ผลเกิดต่อไปนั้น ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายดังที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วก็ แสดงให้เห็นได้ว่า ไม่มีอะไรอื่นนอกจากธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล อาศัยซึ่งกัน และกันเกิดขึ้นเท่านั้น แต่อันธปุถุชน คือผู้ที่ไม่มีปัญญามองเห็นนั้น ย่อมไม่รู้ถึง ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ตามปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวมานี้ เข้าใจกันว่า สัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ เกิดขึ้นเพราะมีพระเจ้าเป็นผู้สร้าง บางพวกก็เข้าใจว่าไม่มีเหตุผลอย่างใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาได้ก็เพราะมีบิดามารดานั่นเอง
ความไม่รู้ในเหตุผลแห่งความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายตามปฏิจจสมุปบาท นี้แหละชื่อว่า อิทปปจฺจยตาปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ อญาณํ
อนึ่ง อวิชชาที่มีสภาพปกปิดความจริงไม่ให้เกิดความรู้นั้น แบ่งออกเป็น หลายประเภทด้วยกันคือ
๑. บุคคลบางพวก ไม่รู้ว่าการกระทําอย่างนี้ดีเป็นกุศล การกระทํา อย่างนี้ไม่ดีเป็นอกุศล ด้วยอํานาจแห่งอวิชชาที่ปกปิดไว้ไม่ให้รู้ ฉะนั้น บุคคล พวกนี้จึงกล้าทําในทุจริตต่างๆ อย่างไม่รู้สึกเกรงกลัวและละอายใจ อวิชชาชนิดนี้ เป็นอวิชชาที่หนามาก
๒. บุคคลบางพวก รู้ว่าการกระทําอย่างนี้ดีเป็นกุศล อย่างนี้ไม่ดีเป็น อกุศล ฉะนั้น บุคคลจําพวกนี้เมื่อขณะที่มีอกุศลเกิดขึ้น ก็สามารถระงับได้ ไม่ปล่อยให้ล่วงถึงกาย วาจา แล้วเปลี่ยนจิตใจและการกระทํานั้นให้เป็นกุศล เกิดขึ้น อวิชชาของบุคคลจําพวกนี้จัดว่าเป็นอวิชชาที่บางมากแล้ว
๓. บุคคลที่สําเร็จเป็น โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี นั้น ได้ชื่อว่าเป็น ผู้ที่เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ทําลายอวิชชาให้หมดสิ้นไป อวิชชา ของพระอริยบุคคลเหล่านี้เป็นอวิชชาที่บางที่สุด
บุคคลที่หมดสิ้นจากอวิชชาได้นั้น มีแต่พระอรหันต์พวกเดียว ฉะนั้น การปกปิดไม่ให้รู้ตามความเป็นจริงของอวิชชา จึงไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย แต่ถ้าจะถามว่าพระอรหันต์เมื่อไม่มีอวิชชาแล้ว ก็สามารถรู้อะไรๆ ได้ทั่วไป ทั้งหมดหรือ ? แก้ว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้น การรู้ของพระอรหันต์ก็ต้องแล้วแต่ กําลังของปัญญา ถ้าเป็นปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็รู้ได้ทั่วไป ทั้งหมดไม่มีเหลือ ถ้าเป็นปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็รู้แต่สภาพความเป็น ไปของรูปนามอันเป็นอรรถรส สําหรับความรู้ในสภาพความเป็นไปของรูปนาม ตามปริยัติอันเป็นธรรมรสนั้น ก็รู้ไม่ได้ ถ้าเป็นปัญญาของพระอัครสาวก มหาสาวก ก็ย่อมรู้ในอรรถรส ธรรมรสได้ทั้งสอง แต่ก็ยังไม่รู้เท่าถึงปัญญาของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า
สรุปความว่า แม้ว่าผู้ที่ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ปราศจากอวิชชาแล้วก็ตาม ถ้าไม่ใช่เป็นปฏิสัมภิทาปัตตะ และไม่ได้ศึกษาในพระไตรปิฎกอรรถกถาแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าใจในพระปริยัติธรรมได้ และแม้ว่าจะได้ศึกษาเข้าใจ พระปริยัติธรรมเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ไปถึงอัธยาศัยของ เวไนยสัตว์ทั้งหมดโดยถี่ถ้วนแน่นอนได้ เพราะการรู้เช่นนี้ไม่ใช่เป็นวิสัยของ พระสาวกทั้งหลาย เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นและในการที่พระอรหันต์ทั้งหลายรู้ทั่วไปไม่ได้นั้น ก็ไม่ใช่เป็นเพราะอวิชชา ปิดบังไม่ให้รู้ หากเป็นเพราะกําลังของปัญญาไม่เพียงพอเท่านั้น อุปมาเสมือน หนึ่งผู้ที่มองไม่เห็นวัตถุสิ่งของที่อยู่ไกลในเวลากลางวัน การมองไม่เห็นนี้ไม่ใช่ เป็นเพราะความมืดปิดบังไว้ เป็นเพราะกําลังของสายตาไม่พอต่างหาก ข้อนี้ฉันใด พระอรหันต์ที่ไม่สามารถรู้ทั่วไปได้ ก็เป็นเพราะกําลังแห่งปัญญาไม่พอดังที่กล่าว มาแล้วฉันนั้น
การปกปิดของอวิชชาที่ไม่ให้รู้ตามความเป็นจริงได้นั้น ก็มีอยู่เพียง ๘ อย่าง คือ สัจจะทั้ง ๔ และปุพพันตะ อปรันตะ ปุพพันตาปรันตะ ปฏิจจสมุปบาท เท่านั้น ส่วนการไม่เข้าใจในเรื่องอื่นๆ นั้นไม่เกี่ยวกับอวิชชา ดังมีตัวอย่างที่จะยกมาแสดงให้เห็นได้ คือ พระสารีบุตรเป็นผู้ที่มีปัญญาเลิศกว่า สาวกทั้งหลาย ซึ่งยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ก็ไม่มีใครที่จะมีปัญญา เท่าเทียมได้ ก็ยังเคยผิดพลาดในเรื่องให้กรรมฐานแก่ภิกษุหนุ่มที่เป็นศิษย์ของท่าน กล่าวคือ ท่านเข้าใจว่าภิกษุหนุ่มรูปนี้อายุยังน้อยอยู่ ฉะนั้น จิตใจจะต้องน้อมอยู่ ในกามคุณอารมณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็ให้พิจารณาอสุภกรรมฐาน ภิกษุหนุ่ม พยายามพิจารณาอสุภกรรมฐานนี้อยู่ตลอด ๔ เดือน ก็ไม่ได้ผลแต่อย่างใด แม้แต่นิมิตก็ไม่ปรากฏ เพราะกรรมฐานนี้ไม่ตรงกับจริตของตน พระสารีบุตร จึงได้นําความไปทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าจึงทรงเนรมิตดอกบัวแดงให้ภิกษุหนุ่มนั้นเพ่ง เพราะทรงทราบในอัธยาศัย ของภิกษุหนุ่มนั้นว่า เคยเกิดเป็นช่างทองติดต่อกันมาถึงห้าร้อยชาติ ฉะนั้น ดอกบัวแดงนี้จึงเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมแก่อัธยาศัย เมื่อภิกษุหนุ่มกําลังเพ่ง ดอกบัวแดงอยู่นั้น พระองค์ก็ทรงเนรมิตให้กลีบดอกบัวค่อยๆ เหี่ยวลงๆ ทีละน้อย เพื่อให้สภาวะที่เป็นอนิจจะปรากฏ ในวันเดียวนั้นเองภิกษุหนุ่มนั้นก็สําเร็จเป็น พระอรหันต์ขีณาสพ เรื่องที่ยกมานี้เป็นข้อแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่หมดจดจากอวิชชา แล้ว แต่ที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจในบางสิ่งบางอย่างนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะอวิชชาปกปิดไว้ เป็นเพราะกําลังปัญญาไม่เพียงพอ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง
สังขาร
คําว่า สังขาร นี้ หมายความว่า ธรรมที่ปรุงแต่งให้ผลธรรมเกิดขึ้น ดังแสดงวจนัตถะว่า
“สงฺขต์ สงฺขโรติ อภิสงฺขโรนที่ติ - สงฺขารา"
ธรรมเหล่าใดย่อมปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็นผลโดยตรง ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ได้แก่เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล หรืออีก นัยหนึ่ง
“สงฺขต์ กายวจีมโนกมุม อภิสงฺขโรนุติ เอเตรีติ = สงฺขารา "
สัตว์ทั้งหลายย่อมปรุงแต่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสังขตธรรม โดยเจตนาเหล่านั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการปรุงแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ได้แก่ เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล
สังขารที่เป็นผลของอวิชชา มี ๖ อย่าง คือ
๑. ปุญญาภิสังขาร กุศลเจตนาเป็นผู้ปรุงแต่งโลกียกุศลวิบากและกุศล กัมมชรูปโดยตรง ได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕
๒. อปุญญาภิสังขาร อกุศลเจตนา เป็นผู้ปรุงแต่งอกุศลวิบาก และอกุศลกัมมชรูปโดยตรง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒
๓. อาเนญชาภิสังขาร กุศลเจตนา ที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นผู้ปรุงแต่งอรูป วิบากโดยตรง ได้แก่ อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔
๔. กายสังขาร เจตนาที่เป็นผู้ปรุงแต่ง กายทุจริต และกายสุจริตให้ สําเร็จลง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับทางกาย
๕. วจีสังขาร เจตนาที่เป็นผู้ปรุงแต่ง วจีทุจริต และวจีสุจริตให้สําเร็จลง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับทางวาจา
๖. จิตตสังขาร เจตนาที่เป็นผู้ปรุงแต่ง มโนทุจริต และมโนสุจริตให้ สําเร็จลง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ โลกียกุศลเจตนา ๑๗ ทีเกี่ยวกับทางใจ
สําหรับโลกุตตรกุศลเจตนานั้น ได้ชื่อว่าเป็น บุญ ก็จริง แต่ไม่ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร เพราะไม่มีหน้าที่ทําให้เกิด ภพ ชาติ ที่เป็นวัฏฏสงสาร มีหน้าที่ ทําลาย ภพ ชาติ เท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่นํามาแสดงในที่นี้
แสดงวจนัตถะของคําว่า ปุญญาภิสังขาร เป็นต้น
อตฺตโน สนฺตานํ ปูนาติ โสเธติ - ปุญญ์
ธรรมชาติใดย่อมชาระขันธสันดานของตนให้สะอาด ฉะนั้น ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า บุญ
น ปุญฺญํ - อปุญญํ
ธรรมชาติใดเป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า บาป
อาเนญชญฺจ ตํ อภิสงฺขาโร จาติ - อาเนญชาภิสงฺขาโร
ธรรมชาติใดตั้งมั่นไม่หวั่นไหวด้วย เป็นผู้ปรุงแต่งโดยตรงด้วย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร
กาย สงฺขโรตีติ - กายสงฺขาโร
ธรรมชาติใดเป็นผู้ปรุงแต่งกาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กายสังขาร
วาง สงฺขโรตีติ - วจีสังขาโร
ธรรมชาติใดเป็นผู้ปรุงแต่งวาจา ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วจีสังขาร
จิตต์ สงฺขโรตีติ = จิตตสงฺขาโร
ธรรมชาติใดเป็นผู้ปรุงแต่งใจ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิตตสังขาร ในสังขารที่เป็นผลของอวิชชาเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารที่เกี่ยวกับมหากุศล และอปุญญาภิสังขาร เหล่านี้สําเร็จได้ด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ปุญญาภิสังขารที่เกี่ยวกับรูปาวจรกุศล และอาเนญชาภิสังขารเหล่านี้ สําเร็จได้ด้วยมโนกรรม อย่างเดียว
ปุญญาภิสังขาร สําเร็จได้ด้วยอ๋านาจ ทาน ศีล ภาวนา
อปุญญาภิสังขาร สําเร็จได้ด้วยอํานาจ ทุจริต ๑๐
อาเนญชาภิสังขาร สําเร็จได้ด้วยอํานาจแห่งภาวนา
ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร ที่ไม่ใช่เป็นผลของอวิชชา มี ๒ อย่าง คือ
๑. สังขตสังขาร ธรรมที่ถูกปัจจัย ๔ ปรุงแต่ง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ทั้งหมด เช่น อนิจจา วต สงฺขารา
๒. อภิสังขตสังขาร รูปนามที่ถูกกรรมเป็นผู้ปรุงแต่งโดยตรง ได้แก่ โลกียวิบาก และกัมมชรูป และอภิสังขตสังขารนี้ก็สงเคราะห์เข้าในสังขตสังขารด้วยเหมือนกัน
๓. อภิสังขรณกสังขาร ธรรมเป็นผู้ปรุงแต่งโลกียวิบากและกัมมชรูปโดยตรง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ โลกียกุศลเจตนา ๑๗
๔. ปโยคาภิสังขาร ความพยายามปรุงแต่งทางกายและทางใจ ได้แก่ วิริยเจตสิกที่เกี่ยวกับกายกรรม และมโนกรรม
๕. กายสังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก
๖. วจีสังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก วิจาร
๓. จิตตสังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญา เวทนา หรือเจตสิก ๕๐ (เว้น วิตก วิจาร)
หมายเหตุ ในข้อ ๔ คือปโยคาภิสังขารนั้น ไม่เอาวิริยเจตสิกที่เกี่ยวกับ วจีกรรม เพราะทางวาจานั้นวิริยเจตสิกไม่ได้เป็นประธาน เกี่ยวกับวิตกวิจารเท่านั้น
ปุญญาภิสังขารปรากฏขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนั้น คือ
ผู้ที่มีความเลื่อมใสพอใจในการทําบุญต่างๆ มีการบําเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนานั้น โดยมากก็ปรารถนาอยากจะได้ความสุขสบายต่อไปในชาติหน้าให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าเมื่อได้ฟังได้อ่าน เรื่องราวที่กล่าวถึงผู้ที่ได้เกิดเป็นเศรษฐี คหบดี ราชา ราชินี เป็นคนสวย มีอํานาจ มีความเฉลียวฉลาด หรือได้เกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดา มีทิพยสมบัติมากมาย มีอายุยืน ไม่มีความลําบากแต่ประการใดเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นผลที่ได้มาจาก การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาทั้งสิ้น เช่นนี้แล้วผู้นั้นก็เกิดมีความชื่นชมยินดี อยากจะได้ความสุขเหล่านี้บ้าง แล้วก็พยายามบําเพ็ญกุศล มีการให้ทานบ้าง รักษาศีลบ้าง ฟังเทศน์บ้าง สวดมนต์บ้าง ทําสมถะบ้าง วิปัสสนาบ้าง แล้วก็ตั้ง ปรารถนากันว่า อิท เม ปุญญ์ นิพพานสุส ปจฺจโย โหตุ ซึ่งคําปรารถนานี้ เป็นการปรารถนาด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนจิตใจนั้นย่อมน้อมเข้าสู่ความสุขต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่าผู้นั้นมองไม่เห็นโทษทุกข์ สมุทัย และมอง ไม่เห็นคุณของนิโรธ มรรค การมองไม่เห็นคุณและโทษนี้ ก็เป็นเพราะโมหะ นั่นเอง
บางคนเห็นว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดานั้น แม้ว่าจะมีความสุข ก็จริง แต่ความสุขนั้นก็ยังไม่ประณีตเท่ากับความสุขของพวกรูปพรหม เพราะ พวกรูปพรหมนั้นอายุยืนกว่า อํานาจก็มากกว่า ความสวยงามของร่างกายและวิมาน ก็ประณีตกว่า ความทุกข์กาย ทุกข์ใจก็ไม่มีเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้น จึงพยายามทํา สมถกรรมฐานจนกระทั่งได้รูปฌาน ผู้ที่มีความเข้าใจเช่นนี้ก็เพราะมองไม่เห็น โทษและคุณของอริยสัจ ๔ โดยอํานาจแห่งโมหะนั้นเอง ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า อวิชชาเป็นเหตุ ปุญญาภิสังขารเป็นผล
อปุญญาภิสังขารปรากฏขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนั้น คือ
บางคนไม่เชื่อว่าการกระทําดีนั้นเป็นบุญ การกระทําชั่วเป็นบาป ฉะนั้น คนจําพวกนี้จึงมีความพอใจในการกระทําทุจริตต่างๆ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่อลวง เสพสุราเป็นต้น หรือบางคนก็รู้ว่าการกระทําชั่วต่างๆ นั้น ไม่ดีเป็นบาป แต่ตนก็หาได้ละเว้นไม่ ฉะนั้น คนจําพวกนี้ก็พอใจในการทําทุจริตต่างๆ เช่นเดียวกัน หรือบางพวกที่นับถือลัทธิผี เจ้าต่างๆ เหล่านี้ เข้าใจว่าถ้าฆ่าสัตว์แล้วนําเอาไปบูชา เจ้า หรือผีเช่นนี้แล้ว เจ้าหรือผีนั้นจะบันดาลให้สําเร็จตามความประสงค์ของตนและจะคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ตลอดชีวิต และเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว เจ้าหรือผีนั้นก็จะจัดส่งให้วิญญาณของตนขึ้นไปสู่สวรรค์ ฉะนั้น คนจําพวกนี้ จึงฆ่าสัตว์ต่างๆ เพื่อเอาไปบูชาสิ่งที่ตนนับถือนั้น
การกระทําทุจริตต่างๆ ของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว ก็เพราะมองไม่เห็น โทษของทุกข์ สมุทัย และนึกไปไม่ถึงคุณของ นิโรธ และมรรค ด้วยอํานาจ แห่งโมหะปกปิดไว้นั้นเอง ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า อวิชชาเป็นเหตุ อปุญญาภิ สังขารเป็นผล
อาเนญชาภิสังขารปรากฏขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนั้น คือ
บุคคลบางพวกก็มีความเห็นว่า ความทุกข์ ความเดือดร้อนต่างๆ ที่สัตว์ ทั้งหลายกําลังได้รับอยู่นั้น ย่อมเนื่องมาจากรูปธรรมนั้นเองเป็นเหตุ เพราะเมื่อมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็จะต้องมีการอยากเห็น อยากได้ยิน อยากได้กลิ่น อยากรู้รส อยากถูกต้อง เหล่านี้ ซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามความประสงค์แล้ว ก็ย่อมเกิดความเดือดร้อนขึ้น หรือความเจ็บไข้ไม่สบายต่างๆ ก็เพราะอาศัยมีร่างกาย นั่นเอง ถ้าไม่มีร่างกายเสียแล้ว ความทุกข์ต่างๆ ก็ไม่มี มีแต่ความสุขอย่างเดียว ฉะนั้น บุคคลจําพวกนี้จึงพยายามหาหนทางที่จะไม่ให้มีรูปเกิดขึ้น โดยพยายาม
ทําสมถกรรมฐานจนได้ฌานไปตามลําดับ จนถึงอรูปฌาน
หรือผู้ที่ได้รูปฌานแล้ว และพวกรูปพรหมทั้งหลายมีความเห็นว่า รูปฌานที่ตนได้อยู่นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับอรูปฌานแล้ว ยังไม่มีความประณีตพอ เพราะยังหวั่นไหวอยู่ด้วยอํานาจแห่งองค์ฌานและอารมณ์ สําหรับอรูปฌานนั้นว่า โดยองค์ฌานก็มีแต่อุเบกขา กับ เอกัคคตา ซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ว่าโดยอารมณ์ที่มีความละเอียดประณีตมากกว่าอารมณ์ของรูปฌาน ฉะนั้น ผู้ที่ได้อรูปฌานจึงมีความสุขมาก และเมื่อตายจากโลกนี้แล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็น อรูปพรหม มีแต่นามธรรมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนั้นท่านเหล่านั้นจึงพยายาม ทําฌานต่อไปจนได้อรูปฌาน
บุคคลที่มีความเห็นดังกล่าวมานี้ ก็เพราะว่ายังมีความหลงปิดบังไม่เห็น ในอริยสัจ ๔ คือ แม้พวกอรูปพรหมทั้งหลายจะไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะไม่มี สิ่งแวดล้อมที่จะให้เกิดความเดือดร้อนต่างๆ ได้ก็ตาม แต่ก็ยังหนีไม่พ้นจากความ ตายอันเป็นมรณทุกข์อย่างหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เมื่ออํานาจแห่งอรูปฌานสิ้นสุด ลงแล้ว ก็ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ได้ประสบกับความทุกข์ความ ลําบากต่างๆ ที่มีอยู่ในมนุษยโลก และเทวโลกนั้น และเมื่อตายจากมนุษย์และ เทวดาแล้ว ก็อาจจะไปเกิดในอบายภูมิ ประสบกับมหาทุกข์ก็ได้ การที่ไม่เห็น โทษของอรูปฌาน และการเป็นอรูปพรหมนี้แหละ จึงได้ชื่อว่า “ทุกฺเข อญาณํ”
ในการที่มีความยินดีพอใจอยากได้อรูปฌาน อยากเป็นอรูปพรหมนั้น ก็ด้วยอํานาจแห่งตัณหาที่เป็นตัวต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ แต่ผู้นั้นก็ไม่เห็น โทษของการยินดีพอใจในอรูปฌาน อรูปภพ เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่า "ทุกขสมุทย อญาณํ
ผู้ที่เกิดเป็นอรูปพรหมนั้น ตัดความทุกข์ได้โดยวิกขัมภนะเท่านั้น หาได้ ตัดโดยสมุจเฉท ไม่ ฉะนั้น ความสุขที่พวกอรูปพรหมได้รับอยู่นั้นจึงไม่ใช่เป็น ความสุขอย่างแท้จริง เป็นความสุขที่เกี่ยวด้วยสังขารทุกข์และวิปริณามทุกข์การตัดทุกข์ได้โดยสมุจเฉท และมีความสุขอย่างแท้จริง ก็มีแต่พระนิพพานอย่าง เดียวเท่านั้น แต่ผู้นั้นก็หารู้ถึงไม่ คิดว่าความสุขในอรูปฌาน และอรูปพรหมนั้น เป็นความสุขอย่างเลิศแล้ว เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่า “ทุกขนิโรโธ อญาณํ”
แท้ที่จริงข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางที่สามารถตัดกิเลสเป็นสมุจเฉท และนําให้เข้าถึงความดับทุกข์ได้นั้นก็มีอยู่ คือองค์มรรค ๘ ที่เกี่ยวกับการเจริญ วิปัสสนา แต่ผู้นั้นรู้ไม่ถึง เข้าใจว่าการเจริญสมถกรรมฐานนี้แหละ สามารถ นําให้เข้าถึงความสุขพ้นจากทุกข์ได้ เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่า “ทุกขนิโรธ คามินีปฏิปทาย อญาณํ”
คําอธิบายดังกล่าวนี้ เป็นการกล่าวถึงอวิชชาเป็นเหตุ อาเนญชาภิสังขารเป็นผล
อนึ่ง ผู้ที่เห็นโทษแต่รูป ไม่เห็นโทษของนาม แล้วก็ปฏิบัติอรูปฌานนั้น เป็นไปส่วนมากในเวลาที่ว่างจากพุทธศาสนา สําหรับภายในพุทธศาสนานั้น มีเป็นส่วนน้อย ส่วนผู้ที่ได้ฌาน แล้วปฏิบัติต่อไปจนได้อรูปฌานภายใน พุทธศาสนานั้นไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปเพราะเห็นโทษของรูป ปฏิบัติเพื่อต้องการ ทําอภิญญา และถ้าเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ก็เพื่อจะได้เข้านิโรธสมา บัติได้เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี นอกจากผู้ที่ปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณมหาสาวกโพธิญาณแล้ว นอกนั้นควรปฏิบัติ วิปัสสนาเพื่อกระทําให้มรรคเจริญขึ้น แล้วสามารถทําลายโมหะได้ และเมื่อ ทําลายโมหะได้แล้ว ก็เป็นอันว่าสังขารทั้ง ๓ ที่เป็นผลของวิชชาก็ได้ถูกทําลายไปด้วย เพราะการงานที่ทําลายบุญเสียได้นั้น เป็นการงานที่ทําได้ยาก มีได้เฉพาะในเวลา ที่พุทธศาสนายังปรากฏอยู่เท่านั้น ส่วนการงานที่สร้างบุญให้เกิดนั้นทําได้ไม่ยาก และทําได้ไม่ว่าเวลาไหน ผู้ที่ยังไม่ได้ทําลายอวิชชาให้หมดสิ้นไป แต่การกระทํา ของผู้นั้นไม่เป็นบุญเป็นบาปพ้นจากสังขาร ได้นั้นย่อมไม่มีเลย
จะกล่าวได้ไหมว่าผู้ที่ปราศจากอวิชชาแล้วไม่บําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
บางท่านอาจเข้าใจผิดไปว่า ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนั้น บุญก็ไม่เกิด บาปก็ไม่เกิด เนื่องจากคําที่กล่าวว่า ผู้ที่ทําลายโมหะได้แล้ว เป็นอันว่าสังขาร ทั้ง ๓ ที่เป็นบาปเป็นบุญเหล่านั้น ย่อมถูกทําลายไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมายถึงว่า พระอรหันต์นั้นไม่ใช่แต่ไม่กระทําบาปมีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เป็นต้นเท่านั้น แม้แต่ บุญต่างๆ มี ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นนั้น ก็ไม่กระทําด้วย ข้อนี้อธิบายว่า หาได้ เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะความจริงนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายก็ยังบําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา อยู่แต่ว่า ทาน ศีล ภาวนาที่พระอรหันต์กระทําไปนั้น ไม่จัดว่าเป็น ปุญญาภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขาร ที่เป็นผลของอวิชชา การกระทํานั้นจัด เป็นกิริยาอันเป็นสังขารสามัญ และไม่มีการให้ผลในปฏิสนธิกาลต่อไป
การกระทําด้วยกาย วาจา ใจ ของพระอรหันต์ที่เรียกว่าเป็นสังขารสามัญนั้น ก็หมายถึงการปรุงแต่งให้การงานที่เกี่ยวกับ กาย วาจา ใจ สําเร็จลงเท่านั้น ตรงกับที่กล่าวว่า “น หิ โกจิ ปฏิจจสมุปปาทรหิโต สงฺขตธมฺโม นาม อตฺถิ" ธรรมใดธรรมหนึ่งที่ชื่อว่า สังขตะ แต่พ้นไปจากปฏิจจสมุปบาทนั้น ย่อมไม่มีเลย หมายความว่า กริยาจิตของพระอรหันต์ก็ยังได้ชื่อว่าสังขาร ซึ่งสงเคราะห์เข้าเป็น องค์ของปฏิจจสมุปบาทด้วย
สรุปความว่า การกระทําต่างๆ ด้วย กาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ย่อมหนีไม่พ้นไปจากสังขารทั้ง ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร พร้อมทั้งมีความยินดีในสังขารทั้ง ๓ นี้ด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องจาก อวิชชา คือ ความไม่รู้จักโทษของทุกข์และสมุทัย และไม่รู้จักคุณของนิโรธและ มรรคนั่นเอง ฉะนั้น ท่านอรรถกถาจารย์จึงแสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า
ผู้ที่ถูกคลุมด้วยอวิชชา ย่อมพยายามสร้างสังขารทั้ง ๓ มีปุญญาภิสังขาร เป็นต้น อันเป็นเหตุทุกข์ทั้งปวง เหมือนผู้ที่กระโดดลงในเหวโดยอาศัย ความอยากได้นางเทพธิดา หรือเหมือนแมลงเม่าที่บินเข้าสู่กองไฟโดยมีความ ยินดีในแสงไฟนั้น หรือเหมือนผู้ที่เลียคมมีดที่เขาทาน้ําผึ้งไว้โดยอาศัยความยินดี ในรส หรือเหมือนทารกที่หลงใหลเล่นอุจจาระของตนเองอยู่ หรือเหมือนผู้ที่ดื่มยาพิษโดยอาศัยความเสียใจอยากตาย หรือเหมือนผู้ที่หลงทางเข้าไปในนครปีศาจ ฉะนั้น สาธุชนทั้งหลายพึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัยของสังขาร เพราะเมื่อ มีอวิชชา สังขารทั้ง ๓ ก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน
อนึ่ง ผู้ที่เดินทางไปในท่ามกลางแห่งความมืด ย่อมมองไม่เห็นทาง ฉะนั้น ผู้นั้นต้องเดินเดาสุ่มไปตามบุญตามกรรม ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง เมื่อขณะที่ เดินไม่ถูกทางนั้น แม้จะกล่าวได้ว่า เพราะมืดจึงเดินไม่ถูกทางก็จริง แต่ขณะที่ เดินถูกทางนั้น ก็จะกล่าวไม่ได้ว่า เพราะสว่างจึงเดินถูกทาง ข้อนี้ควรพิจารณาให้ รู้ไว้ ดังนั้นปุถุชนทั้งหลายที่กําลังเดินทางวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร จึงกล่าวได้ ว่าเป็นผู้เดินทางไปในความมืดด้วยกันทั้งสิ้น และขาดคนจูง คือ สัจจปฏิเวธญาณ ด้วยเหตุนี้แหละการกระทําของบุคคลเหล่านี้ บางทีก็เป็นบุญเรียกว่า ปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร บางทีก็เป็นบาปเรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ดังนั้นท่าน อรรถกถาจารย์จึงแสดงต่อไปว่า
อันธปุถุชน ซึ่งกําลังเดินทางอยู่ในวัฏฏสงสาร และขาดผู้จูง คือ สัจจปฏิเวธญาณ บางครั้งก็ย่อมกระทําบุญ บางครั้งก็ย่อมกระทําบาป เหมือนหนึ่งว่าคนตาบอดแต่กําเนิดที่ขาดผู้จูง บางครั้งก็เดินถูกทาง บางครั้งก็เดินผิดทาง
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
อวิชชาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปุญญาภิสังขารนั้นได้อํานาจปัจจัย ๒ คือ
๑. อารัมมณปัจจัย ๒. ปกตูนิสสยปัจจัย
อวิชชาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อปุญญาภิสังขารนั้นได้อํานาจปัจจัย ๑๕ คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อธิปติปัจจัย
๔. อนันตรปัจจัย
๕. สมนันตรปัจจัย
๖. สหชาตปัจจัย
๗. อัญญมัญญปัจจัย
๘. นิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย
๑๐. อาเสวนปัจจัย
๑๑. สัมปยุตตปัจจัย
๑๒. อัตถิปัจจัย
๑๓. นัตถิปัจจัย
๑๔. วิคตปัจจัย
๑๕. อวิคตปัจจัย
อวิชชาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อาเนญชาภิสังขารนั้นได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
จบ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
๒. สงฺขารปจฺจยา วิญญาณ์ สมฺภวติ
โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยสังขาร ๓ เป็นเหตุ
สังขารมีอยู่ ๒ อย่างคือ สังขารที่เป็นผลของอวิชชาอย่างหนึ่ง และ สังขารที่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณอย่างหนึ่ง
สําหรับสังขารที่เป็นผลของอวิชชานั้น ย่อมได้ทั้งหมด ไม่เว้นอย่างหนึ่ง อย่างใด ส่วนสังขารที่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณนั้น ยกเว้นเจตนาที่อยู่ใน อุทธัจจสัมปยุตตจิต ในขณะที่อกุศลปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยอปุญญาภิ สังขารเป็นเหตุ เพราะอุทธัจจเจตนานี้ไม่มีกําลังพอที่จะส่งผลในปฏิสนธิกาล ให้เกิดเป็นพวกอบายสัตว์ได้ แต่ในปวัตติกาลนั้นสามารถส่งผลให้เกิดเป็นอกุศล วิบากได้ ฉะนั้น ในคําว่า สังขารปัจจยา วิญญาณ นั้น ระหว่างอปุญญาภิ สังขารเป็นเหตุ ปฏิสนธิวิญญาณเป็นผลจึงเว้นอุทธัจจเจตนาเสีย คงได้อกุศลเจตนา ๑๑ แต่ระหว่างอปุญญาภิสังขารเป็นเหตุปวัตติวิญญาณเป็นผลนั้น ได้อกุศลเจตนา ๑๒ ทั้งหมด
ส่วนในปุญญาภิสังขารนั้น เว้นเจตนาที่ในกุศลอภิญญาเสียโดยแน่นอน เพราะอภิญญากุศลเจตนานี้ ไม่มีหน้าที่ส่งผล คือ วิปากวิญญาณ ทั้งใน ปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลแต่อย่างใด อภิญญาต่างๆ มีอิทธิวิธอภิญญาเป็นต้น ที่เกิดขึ้นก็เป็นผลมาจากกุศลอภิญญา ที่เป็นผลเกิดขึ้นโดยปัจจุบัน เป็นประจักษ์ สิทธินั้นเอง แต่แม้ว่าจะเว้นเจตนาที่ในกุศลอภิญญาก็ตาม จํานวนเจตนาที่เป็น ปุญญาภิสังขารก็คงได้ ๑๓ ตามเดิม เพราะรูปาวจรกุศลปัญจมฌานที่ไม่เกี่ยวกับ อภิญญาก็มีอยู่
สําหรับอาเนญชาภิสังขารนั้น คงได้เจตนาทั้งหมดไม่มีเว้น ฉะนั้น เมื่อสรุปจํานวนสังขารที่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณแล้ว คงได้ดังนี้
ปุญญาภิสังขาร ๑๓ (เว้นเจตนาที่ในกุศลอภิญญา)
อปุญญาภิสังขาร ๑๒ (เว้นอุทธัจจเจตนาที่ให้ผลในปฏิสนธิกาล)
อาเนญชาภิสังขาร ๔
รวมเป็นเจตนา ๒๕
อนึ่ง อกุศลเจตนาที่ถูกประหาณ โดยมรรคทั้ง ๔ และกุศลอกุศลเจตนาที่ เป็นอโหสิกรรม แม้ว่าจะเป็นสังขารที่เกิดมาจากอวิชชาเป็นเหตุก็จริง แต่ไม่จัดเข้าในสังขารที่เป็นเหตุของวิญญาณเช่นเดียวกัน
แสดงวจนัตถะของคําว่า วิญญาณ
วิชานาติ = วิญญาณํ
ธรรมชาติใดรู้อารมณ์เป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ (หมายเอาโลกียวิปากจิต ๓๒)
อีกนัยหนึ่ง
วิชานนุติ เอเตนาติ = วิญญาณํ
บุคคลทั้งหลายย่อมรู้อารมณ์เป็นพิเศษโดยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้บุคคลทั้งหลายได้รู้อารมณ์เป็นพิเศษนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณ (หมายเอาโลกียวิปากจิต ๓๒ พร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบ)
องค์ธรรมของวิญญาณนี้ แสดงเป็น ๒ นัย คือ โดยอภิธรรมภาชนียนัย
และโดยสุตตันตภาชนียนัย
ว่าโดยอภิธรรมภาชนียนัย ได้แก่จิต ๘๕ เพราะคําว่าวิญญาณนั้น มีการรู้ อารมณ์เป็นพิเศษไปจากการรู้ของสัญญาและปัญญา ฉะนั้น จึงนับเอาจิตทั้งหมด ได้และอีกประการหนึ่ง จิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสังขาร คือการปรุงแต่ง ฉะนั้น จึงนับเอาจิตทั้งหมดได้
ว่าโดยสุตตันตภาชนียนัย ได้แก่โลกียวิปากจิต ๓๒ เพราะการแสดง ปฏิจจสมุปบาท โดยสุตตันตภาชนียนัยนี้ มีการจําแนกโดยกาล คือ ภพที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต จําแนกโดย เหตุ ผล วัฏฏะทั้ง ๓ เป็นต้น ฉะนั้น วิญญาณ เมื่อว่าโดยกาลแล้ว ก็จัดเข้าในปัจจุบันภพ ดังที่แสดงว่า มชฺเณ อฏฺฐ ปจฺจุปฺปนฺโน อทธา เมื่อว่าโดยเหตุผลก็จัดเข้าในผล ดังที่ได้แสดงว่า อิทานิ ผลปญฺจก เมื่อว่า โดยวัฏฏะทั้ง ๓ ก็จัดเข้าในวิปากวัฏ ดังที่ได้แสดงว่า อวเสสา จ วิปากวฏฏ ฉะนั้น คําว่า วิญญาณ ที่เป็นผลของสังขารนี้จึงได้แก่โลกียวิปากจิต ๓๒ นั่นเอง
ส่วนการแสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัยนั้น องค์ธรรม ไม่จํากัดคือ คําว่า วิญญาณ ก็ได้แก่จิตทั้งหมด คําว่า นาม ก็ได้แก่เจตสิกทั้งหมด คําว่า รูป ก็ได้แก่ รูปทั้งหมด คําว่า ผัสสะ ก็ได้แก่ผัสสะทั้งหมด ดังนี้เป็นต้น เพราะไม่มีการจําแนก โดย กาล เหตุ ผล เป็นต้น
การแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยนัยทั้ง ๒ ดังกล่าวมานี้ สมเด็จพระ พุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในวิภังคปกรณ์ในอภิธรรมปิฎก
อธิบายในวงนัตถะข้อที่ ๑ คือ วิชานาติ - วิญญาณํ
ธรรมชาติของจิตนั้นย่อมมีการได้รับอารมณ์อยู่เสมอ ไม่ว่าเวลาใด การ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอไม่ว่าเวลาใดนี้แหละ ชื่อว่าย่อมรู้อารมณ์เป็นพิเศษ
อีกประการหนึ่ง ในจํานวนโลกียวิปากจิตเหล่านั้น มีการรู้อารมณ์จํากัด โดยเฉพาะๆ เป็นส่วนมาก ต่างกับการรู้อารมณ์ของกุศล กริยา ที่มีการรู้อารมณ์ โดยไม่จํากัดเป็นส่วนมากดังเช่น จักขุวิญญาณจิต ที่มีการรู้แต่เฉพาะรูปารมณ์ ฯลฯ กายวิญญาณจิต ก็มีการรู้แต่เฉพาะโผฏฐัพพารมณ์ สัมปฏิจฉนจิต ก็มีการรู้ แต่เฉพาะปัญจารมณ์ อุเบกขาสันติรณจิต มหาวิปากจิต และมหัคคตวิปากจิต เมื่อขณะที่ทําหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ก็มีการรู้เฉพาะอารมณ์ที่เกี่ยวกับอดีตภพ เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่ารู้อารมณ์เป็นพิเศษ คือรู้ไม่ทั่วไป
อธิบายในวงนัตถะข้อที่ ๒ คือ วิชานนุติ เอเตนาติ = วิญญาณํ
สัตว์ทั้งหลายก็ดี เจตสิกก็ดี ที่มีการรู้อารมณ์ได้ต่างๆ ทั้งปรมัตถ์และ บัญญัตินั้นก็โดยอาศัยวิปากวิญญาณเป็นเหตุ กล่าวคือ ถ้าจักขุวิญญาณจิตไม่เกิด ก็เป็นอันว่าผู้นั้นไม่มีการเห็น ฯลฯ ถ้ากายวิญญาณจิตไม่เกิด ก็เป็นอันว่าผู้นั้นไม่มีความรู้สึกทางกาย ถ้าขาดภวังคจิตเสีย ผู้นั้นก็ไม่มีความรู้อารมณ์ใดๆ เลย ด้วยเหตุนี้แหละ วิปากวิญญาณเหล่านี้จึงเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย รู้อารมณ์เป็นพิเศษ
วิญญาณที่เป็นผลของสังขารทั้งหลายนี้ แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
วิญญาณที่เกิดในปฏิสนธิกาล ชื่อว่า ปฏิสนธิวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ พวกหนึ่ง และ
วิญญาณที่เกิดในปวัตติกาล ชื่อว่า ปวัตติวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒ พวกหนึ่ง
การจําแนกปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ โดยสังขาร ๓
๑. อปุญญาภิสังขาร ๑๑ (เว้นอุทธัจจเจตนา) เป็นเหตุ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ๑ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในอบายภูมิทั้ง ๔ เป็นพวกทุคติอเหตุกบุคคล คือพวกอบายสัตว์
๒. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลทวิเหตุกโอมกะเจตนา ๔ เป็นเหตุ อุเบกขาสันติรณกุศลวิบาก ๑ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในมนุษยภูมิ ๑ จาตุมหาราชิกาภูมิ ๑ เป็นพวกสุคติอเหตุกบุคคล คือ มนุษย์และเทวดาชั้นต่ํา ที่พิกลพิการใบ้ บ้า บอด หนวก เป็นต้น
๓. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลทวิเหตุกอุกกัฏฐะเจตนา 4 และติเหตุกโอมกะเจตนา ๔ เป็นเหตุ มหาวิบากญาณวิปปยุต ๔ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในมนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ เป็นพวกทวิเหตุกบุคคล คือ มนุษย์และเทวดาชั้นกลาง
๔. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลติเหตุกอุกกัฏฐะเจตนา ๔ เป็นเหตุ มหาวิบากญาณสัมปยุต ๔ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในมนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ เป็นพวกติเหตุกบุคคล คือมนุษย์และเทวดาชั้นสูง
๕. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕ เป็นเหตุ รูปาวจรวิบาก ๕ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) เป็นพวกรูปพรหม
๖. อาเนญชาภิสังขาร อันได้แก่ อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ เป็นเหตุ อรูปาวจรวิบาก ๔ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในอรูปภูมิ ๔ เป็นพวกอรูปพรหม
การจําแนกปวัตติวิญญาณ ๓๒ โดยสังขาร ๓
๑. อปุญญาภิสังขาร ๑๒ เป็นเหตุ อกุศลวิบาก ๗ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การ ถูกต้อง การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ และการรับอารมณ์ต่อจากชวนะ ที่ไม่ดีเป็นผล ในกามภูมิ ๑๑
๒. อปุญญาภิสังขาร ๑๒ เป็นเหตุ อกุศลวิบาก ๔ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นผล ในรูปภูมิ ๑๕
๓. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ เป็นเหตุ อเหตุกกุศลวิบาก ๘ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ และการรับอารมณ์ต่อจากชวนะ ที่ดีเป็นผล ในกามภูมิ ๑๑
๔. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ เป็นเหตุ มหาวิบาก ๘ ได้แก่ การรับอารมณ์ต่อจากชวนะที่ดีเป็นผล ในกามสุคติภูมิ ๗
๕. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ เป็นเหตุ อเหตุกกุศลวิบาก ๕ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ที่ดีเป็นผล ในรูปภูมิ ๑๕
๖. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕ เป็นเหตุ รูปาวจรวิบาก ๕ ได้แก่ การรักษาภพเป็นผล ในรูปภูมิ ๑๕
๗. อาเนญชาภิสังขาร อันได้แก่ อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ เป็นเหตุ อรูปาวจรวิบาก ๔ ได้แก่ การรักษาภพเป็นผล ในอรูปภูมิ ๔
การจําแนกปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ โดยนัยต่างๆ
ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ เหล่านี้ เมื่อจําแนกโดยมิสสกะและสุทธะแล้ว แบ่งออกเป็น ๒ คือ
๑. รูปมิสสกวิญญาณ วิญญาณที่ปนด้วยรูป มี ๑๕
๒. รูปอมิสสกวิญญาณ วิญญาณที่ไม่ปนด้วยรูป มี ๔
เมื่อจําแนกโดยภูมิแล้ว แบ่งออกเป็น ๓ คือ
๑. กามวิญญาณ มี ๑๐
๒. รูปวิญญาณ มี ๕
๓. อรูปวิญญาณ มี ๔
เมื่อจําแนกโดยกําาเนิดแล้ว แบ่งออกเป็น ๔ คือ
๑. อัณฑชวิญญาณ มี ๑๐
๒. ชลาพุชวิญญาณ มี ๑๐
๓. สังเสทวิญญาณ มี ๑๐
๔. โอปปาติกวิญญาณ มี ๑๙
เมื่อจําแนกโดยคติแล้ว แบ่งออกเป็น ๕ คือ
๑. เทวคติวิญญาณ มี ๑๘
๒. มนุสสุคติวิญญาณ มี ๙
๓. นิรยคติวิญญาณ มี ๑
๔. ดิรัจฉานคติวิญญาณ มี ๑
๕. เปตคติวิญญาณ มี ๑
เมื่อจําแนกโดยวิญญาณฐิติ (ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) แล้วมี ๗ คือ
๑. นานัตตกายนานัตตสัญญีวิญญาณ มี ๙
๒. มานัตตกายเอกัตตสัญญีวิญญาณ มี ๒
๓. เอกัตตกายนานัตตสัญญีวิญญาณ มี ๒
๔. เอกัตตกายเอกัตตสัญญีวิญญาณ มี ๒
๕. อากาสานัญจายตนวิญญาณ มี ๑
๖. วิญญาณัญจายตนวิญญาณ มี ๑
๗. อากิญจัญญายตนวิญญาณ มี ๑
เมื่อจําแนกโดยสัตตาวาส (ภูมิอันเป็นที่อาศัยของสัตว์) แล้วมี ๘ (เว้นสัตตาวาส ๑ คืออสัญญสัตตา เพราะไม่มีวิญญาณ) คือ ข้อ ๑ ถึง ๗ เหมือนวิญญาณฐิติ ๗
๘. เนวสัญญานาสัญญายตนวิญญาณ มี ๑
หมายเหตุ การที่จําแนกปฏิสนธิวิญญาณ โดยวิญญาณฐิติและสัตตาวาส ในที่นี้แสดงไว้แต่จํานวนเท่านั้น ส่วนชื่อของวิญญาณนั้นปรากฏอยู่แล้วใน ปรมัตถโชติกะปริจเฉทที่ ๕ ตอน ๒
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ
สังขารทั้ง ๓ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิปากวิญญาณนี้ได้อํานาจปัจจัย ๒ คือ
๑. ปกติปนิสสยปัจจัย ๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย
จบ สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ
๓. วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ สมฺภวติ
เจตสิกที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต และกัมมชรูป ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยกัมมวิญญาณและวิปากวิญญาณ เป็นเหตุ
วิญญาณที่เป็นเหตุให้เกิดนามรูปนี้ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
วิปากวิญญาณ และ กัมมวิญญาณ
วิปากวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒
กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุศลจิต มหากุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต ที่ประกอบกับ กุศลอกุศลเจตนาที่ในอดีตภพ
นาม ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
รูป ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป จิตตชรูป (สําหรับ ปวัตติกัมมชรูป และจิตตชรูปที่เข้าในบทว่า รูปํ ได้นั้น ก็โดย อาศัยกัมมวิญญาณ และปวัตติวิปากวิญญาณนั้นเอง นับเข้าโดย อนุโลม)
เมื่อจําแนกวิปากวิญญาณ และนามรูปเหล่านี้โดยปฏิสนธิกาลและ ปวัตติกาลแล้ว ย่อมเป็นไปได้ดังนี้คือ
ปฏิสนธิวิปากวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๕
ปวัตติวิปากวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒
ปฏิสนธินามได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับปฏิสนธิ วิญญาณ ๑๕
ปวัตตินามได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับปวัตติวิปาก วิญญาณ ๓๒
ปฏิสนธิรูป ได้แก่ กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ
ปวัตติรูป ได้แก่ จิตตชรูปที่เกิดจากปวัตติวิปากวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ อรูป วิปาก ๔) และปวัตติกัมมชรูปที่เกิดจาก กัมมวิญญาณ ๒๕
แสดงวจนัตถะของคําว่า นาม
อามุม ณ นมติติ - นามํ
ธรรมชาติใดน้อมไปในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า นาม ได้แก่ เจตสิกที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
วจนัตถะของคําว่า รูป
สีตุณฺหาทวิโรชิปจฺจเยหิ รูปปตีติ = รูปํ
ธรรมชาติใดย่อมสลายไป เพราะปัจจัยที่เป็นปฏิปักษ์ มีความเย็น ความร้อนเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า รูป ได้แก่ กัมมชรูป และจิตตชรูป
วจนัตถะของคําว่า นามรูป
นามญฺจ รูปญฺจ นามรูปญฺจ = นามรูปํ
นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วย ชื่อว่า นามรูป
อธิบายในวจนัตถะของนามรูป
คําว่า นามรูปํ นี้ ถ้าแสดงตามความเป็นไปของนามและรูปที่เกิดจาก วิญญาณแล้ว จะต้องแสดงว่า “วิญญาณปจฺจยา นามรูปนามรูปํ” แต่ในที่นี้ตัดเอา นามรูปออกเสียบทหนึ่ง คงเหลือแต่ นามรูป บทเดียว การแสดงเช่นนี้เรียกว่า เอกเสสนัย
อธิบายว่า วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปนี้ มี ๓ อย่าง คือ
๑. วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามในอรูปภูมิ และปัญจโวการภูมิ อย่างหนึ่ง ในที่นี้คําว่า วิญญาณ ได้แก่ อรูปวิปากจิต ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่เจตสิก ๓๐ ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล ในอรูปภูมิ ๔
และทวีปัญจวิญญาณ ๑๐ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๓ ในปวัตติกาล ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ตามสมควร
๒. วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปในอสัญญสัตตภูมิ และในปัญจโวการภูมิอย่างหนึ่ง ในที่นี้คําว่า วิญญาณ หมายเอากัมมวิญญาณ ซึ่งได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบกับสัญญาวิราคภาวนาเจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมชรูป ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลของพวกอสัญญสัตตพรหม
และอกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ ที่ประกอบกับกุศล อกุศลเจตนาใน อดีตภพเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปวัตติกัมมชรูปในกามภูมิ ๑๑
และมหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ ที่ประกอบกับกุศลเจตนาใน อดีตภพเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปวัตติกัมมชรูปในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
๓. วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ในปัญจโวการภูมิอย่างหนึ่ง ในที่นี้ คําว่า วิญญาณ ได้แก่ ปัญจโวการปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่เจตสิก ๓๕ และปฏิสนธิกัมมชรูปในปัญจโวการภูมิ ๒๖
และปัญจโวการปวัตติวิปากวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวีปัญจวิญญาณ ๑๐) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่เจตสิก ๓๕ และจิตตชรูปในปัญจโวการภูมิ ๒๖
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ
วิปากวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม คือเจตสิกที่ประกอบนั้น ได้อ่านาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. อาหารปัจจัย
๖. อินทริยปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่หทัยวัตถุรูปนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. อาหารปัจจัย
๖. อินทรียปัจจัย
๗. วิปปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปฏิสนธิกัมมชรูป (เว้นหทัยวัตถุ) นั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. นิสสยปัจจัย
๓. วิปากปัจจัย
๔. อาหารปัจจัย
๕. อินทรียปัจจัย
๖. วิปปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
กัมมวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปฏิสนธิกัมมชรูปในอสัญญสัตตภูมิ และปวัตติกัมมชรูปในปัญจโวการภูมิ และเอกโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ ปกตูนิสสยปัจจัย
๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ สมุภวติ
อัชฌัตติกายตนะ ๖ มีนักขายตนะเป็นต้น ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยนามรูปเป็นเหตุ
ในที่นี้ นาม ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
รูป ได้แก่ กัมมชรูป ๑๖ คืออวินิพโภครูป ๘ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๑ หทัยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑
สฬายตนะ ได้แก่ จิกขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ คือโลกียวิปากจิต ๓๒
แสดงวจนัตถะของคําว่า สฬายตนะ
อายต์ สงฺสารวฏฺฏ์ นยตีติ - อายตนํ
ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งวัฏฏสงสารที่ยืนยาว ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อายตนะ ได้แก่ อายตนะ ๑๒
ฉ อายตนามิ = สฬายตนํ
อายตนะทั้ง ๖ ชื่อว่า สฬายตนะ ได้แก่ อัชฌัตติกายตนะ ๖
สฬายตน จ จฏฺฐายตน จ-สฬายตนํ
อายตนะทั้ง ๖ และอายตนะที่ ๖ ชื่อว่า สฬายตนะ
อธิบายว่า คําว่า สฬายตนะ ในบทว่า นามรูปปัจจยา สฬายตน์ นี้ เป็นบทที่ทําให้เหลือจากบท ๒ บท คือ สฬายตน์ ฉฏฐายตน การกระทําให้เป็น ไปเช่นนี้เรียกว่า เอกเสสนัย คือลบบท ฉฏฐายตน์ ออก คงเหลือไว้แต่ สฬายตน บทเดียว หมายความว่า อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่เป็นผลของนามรูปนี้ เมื่อจําแนก โดยภูมิแล้ว ย่อมเป็นไปดังนี้คือ
ในปัญจโวการภูมิ นามรูปเป็นเหตุ อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่ชื่อว่า สฬายตนะ เป็นผลตามสมควร
ในอรูปภูมิ นามเป็นเหตุ มนายตนะที่ชื่อว่า ฉัฏฐายตนะ เป็นผล
การเป็นเหตุเป็นผลระหว่าง นาม กับ มนายตนะนั้น เกิดพร้อมกัน และ เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันก็ได้ ส่วนการเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่าง นาม กับปัญจายตนะนั้น เกิดพร้อมกันก็มี ไม่เกิดพร้อมกันก็มี แล้วแต่กาล และเป็นเหตุเป็นผลกัน ระหว่างรูป กับ มนายตนะ และรูป กับ ปัญจายตนะนั้น เกิดพร้อมกันก็มี ไม่พร้อมกันก็มี แล้วแต่กำเนิด
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
๑. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิปากจิต ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้ อ้านาจปัจจัย ๗ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. อัตถิปัจจัย
๗. อวิคตปัจจัย
๒. นาม คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่ประกอบกับ โลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียสเหตุกวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อ่านาจปัจจัย ๘ คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. นิสสยปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๓. นาม คือ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. สหชาตกัมมปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. นามอาหารปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
๔. นาม คือ ผัสสะ เจตนา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. นามอาหารปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๕. นาม คือ วิตก วิจาร ปีติ ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก (เว้นทวีปัญจวิญญาณ) ที่เกิดพร้อมกันกับ ตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. ฌานปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๖. นาม คือ ชีวิตินทรีย์ เวทนา ศรัทธา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นได้อำนาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๗. นาม คือ วิริยะ สติ ปัญญา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. มัคคปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
๘. นาม คือ เอกัคคตา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๑๐ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. ฌานปัจจัย
๗. มัคคปัจจัย
๘. สัมปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๑๐. อวิคตปัจจัย
การจําแนกปัจจัยและปัจจยุบัน ตั้งแต่ข้อ ๑-๘ ดังกล่าวมานี้ เป็นปัจจัย ได้ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล
๙. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับปัญจโวการปฏิสนธิจิต เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ปัญจายตนะในปฏิสนธิกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. นิสสยปัจจัย
๓. วิปากปัจจัย
๔. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย
ในที่นี้สําหรับ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา อายตนะทั้ง ๔ นี้ มุ่งหมายเอา สังเสทชะและโอปปาติกกําเนิด ส่วนกายายตนะนั้น ได้กําเนิดทั้งหมด
๑๐. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับปัญจโวการวิบาก เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ปัญจายตนะในปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๔ คือ
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. อัตถิปัจจัย
๔. อวิคตปัจจัย
๑๑. รูป คือ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่ปัญจโวการ ปฏิสนธิจิต ๑๕ ในปฏิสนธิกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย
๑๒. รูป คือ หทัยวัตถุ ที่เกิดก่อนและกําลังตั้งอยู่ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่ปัญจโวการวิบาก ๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ในปวัตติกาล แห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๕ คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๔. อัตถิปัจจัย
๕. อวิคตปัจจัย
๑๓. รูป คือ ปัญจายตนะ ที่เกิดก่อนและกําลังตั้งอยู่ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ในปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๖ คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย
๑๔. รูป คือ กัมมชมหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้ง อยู่ในกลาปอันเดียวกันกับตน ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลแห่งปัญจโวการ ภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๔ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. สหชาตนิสสยปัจจัย
๓. อัตถิปัจจัย
๔. อวิคตปัจจัย
๑๕. รูป คือ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้งอยู่ใน กลาปอันเดียวกันกับตน ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อ่านาจปัจจัย ๓ คือ
๑. รูปชีวิตินทรียปัจจัย
๒. อัตถิปัจจัย
๓. อวิคตปัจจัย
๑๖. รูป คือ กัมมชโอชา เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้งอยู่ในกลาป อันเดียวกันกับตน และในกลาปอื่นๆ ในปวัตติกาลแห่งกามภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๓ คือ
๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อัตถิปัจจัย
๓. อวิคตปัจจัย
เมื่อรวมอํานาจปัจจัยในการช่วยเหลืออุปการะ ของนามรูปแก่สฬายตนะนั้น ได้ ๒๒ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๗. ปัจฉาชาตปัจจัย
๘. กัมมปัจจัย
๙. วิปากปัจจัย
๑๐. รูปอาหารปัจจัย
๑๑. นามอาหารปัจจัย
๑๒. สหชาตินทริยปัจจัย
๑๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๑๔. รูปชีวิตินทรียปัจจัย
๑๕. ฌานปัจจัย
๑๖. มัคคปัจจัย
๑๗. สัมปยุตตปัจจัย
๑๘. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๕. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒๐. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒๑. อัตถิปัจจัย (ทั้ง ๕ ปัจจัย)
๒๒. อวิคตปัจจัย (ทั้ง ๕ ปัจจัย)
จบ นามรูปปจฺจยา สฬายตน
๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส สมุภวติ
ผัสสะ ๖ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยอัชฌัตติกายตนะ ๖ เป็นเหตุ สฬายตนะ ที่เป็นเหตุให้เกิดผัสสะนี้ก็ได้แก่อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่เป็น ผลของนามรูปนั่นเอง
ผัสสะ ๖ คือ
๑. จักขุสัมผัสสะ
๒. โสตสัมผัสสะ
๓. มานสัมผัสสะ
๔. ชิวหาสัมผัสสะ
๕. กายสัมผัสสะ
๖. มโนสัมผัสสะ
ผัสสะทั้ง ๖ นี้ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
แสดงวจนัตถะของ ผัสสะ
“อารมภ์ ผุสตีติ = ผสฺโส”
ธรรมชาติที่กระทบซึ่งอารมณ์ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า ผัสสะ
อีกนัยหนึ่ง
“สนฺติ สมฺปยุตฺตธมฺมา เอเตนาติ = ผสฺโส”
สัมปยุตตธรรม คือ จิต และเจตสิกทั้งหลาย ย่อมกระทบซึ่งอารมณ์ โดยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สัมปยุตตธรรมกระทบซึ่งอารมณ์นั้น ชื่อว่า ผัสสะ
อีกนัยหนึ่ง
“ผุสน์ = ผสโส” (วา) “สมุสเต = สมฺผสฺโส”
การกระทบอารมณ์ ชื่อว่า ผัสสะ หรือชื่อว่า สัมผัสสะ วจนัตถะ ของ จักขุสัมผัสสะเป็นต้น
“จกฺขุวิญญาเณน สมฺปยุตฺโต สมผสฺโสติ = จกฺขุสมผสฺโส
ผัสสะ คือการกระทบที่ประกอบกับจักขุวิญญาณ ฉะนั้น จึงชื่อว่า จักขุสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสะเจตสิก ที่ประกอบกับจักขุวิญญาณ
(โสตสัมผัสสะ ฯลฯ กายสัมผัสสะ ก็แสดงในทํานองเดียวกัน)
“มโนวิญญาเณน สมฺปยุตฺโต สมฺผสฺโสติ = มโนสมผสฺโส
ผัสสะ คือการกระทบที่ประกอบกับมโนวิญญาณ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๒๒ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ)
อธิบายว่า คนที่ตายแล้ว แม้ว่าจะมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ก็ตามแต่ ผัสสะต่างๆ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ หมายความว่า การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การนึกคิดต่างๆ ไม่มี ที่เป็นเช่นนี้ก็ เพราะขาดปสาทรูปทั้ง ๕ และภวังคจิต ที่เรียกว่า สฬายตนะนั้นเอง และในผู้ที่มี ชีวิตอยู่นั้น ถ้าตาบอดเสียแล้ว จักขุสัมผัสสะก็เกิดไม่ได้ หรือถ้าหูหนวกเสียแล้ว
โสตสัมผัสสะก็เกิดไม่ได้เป็นต้นเช่นเดียวกัน
อนึ่ง ผัสสะที่เป็นผลของสฬายตนะนี้ ได้แก่ การประชุมพร้อมกัน ระหว่างปสาทรูปทั้ง ๕ กับปัญจารมณ์และปัญจวิญญาณ ชื่อว่า จักขุสัมผัสสะ โสตสัมผัสสะ ฆานสัมผัสสะ ชิวหาสัมผัสสะ กายสัมผัสสะ เพราะการที่ จักขุวิญญาณเป็นต้น เกิดขึ้นได้นั้น ก็อาศัยการกระทบกันระหว่างจักขุปสาท กับ รูปารมณ์ โสตปสาท กับ สัททารมณ์ ฆานปสาท กับ คันธารมณ์ ชิวหาปสาท กับ รสารมณ์ กายปสาท กับ โผฏฐัพพารมณ์ แล้วจึงทําให้จักขุวิญญาณเป็นต้นเกิดขึ้น เมื่อจักขุวิญญาณเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว จักขุสัมผัสสะเป็นต้น ก็ปรากฏ ส่วน มโนสัมผัสสะนั้น ได้แก่การกระทบกันระหว่างภวังคจิตกับสภาพธรรมต่างๆ ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ ซึ่งได้แก่ธรรมารมณ์หรืออารมณ์ ๖ หมายเอาในระหว่าง ที่วิถีจิตยังไม่เกิด เพราะภวังคจิตที่เกิดขึ้นนั้น ก็ได้กระทบกับอารมณ์ที่เป็น กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ การกระทบนี้แหละ ชื่อว่า มโนสัมผัสสะ ได้แก่ผัสสะที่ประกอบกับภวังคจิตนั้นเอง
อีกนัยหนึ่ง มโนสัมผัสสะ ได้แก่การประชุมพร้อมกันระหว่างภวังคจิต กับสภาพธรรมต่างๆ ทั้งปรมัตถ์ บัญญัติ และมโนวิญญาณ นี้มุ่งหมายเอาใน ระหว่างที่วิถีจิตเกิดแล้ว เพราะวิถีจิตที่เกิดขึ้นได้นั้นก็ต้องอาศัยการกระทบกัน ระหว่างภวังคจิตกับสภาพธรรมต่างๆ เป็นเหตุ เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นแล้วมโนสัมผัสสะ ก็ปรากฏขึ้น แต่ผัสสะที่ประกอบอยู่ในกุศล อกุศล กิริยา นั้นไม่เอา มุ่งหมาย เอาแต่เฉพาะผัสสะที่ประกอบอยู่ในวิบากมโนวิญญาณมี สัมปฏิจฉนะ สันตีรณะ ทารัมมณะ เท่านั้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนิทานวรรค สังยุตตพระบาลีว่า
“จักขุญจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ โสตวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“โสตญฺจ ปฏิจฺจ สทท จ อุปปชชติ จกฺขุวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“มานญฺจ ปฏิจฺจ คนเธ จ อุปฺปชฺชติ ฆานวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“ชิวหญฺจ ปฏิจฺจ เส จ อุปฺปชฺชติ ชิวหาวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“กายญจ ปฏิจฺจ โผฏฺฐพฺเพ จ อุปปัชชติ กายวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“มนญฺจ ปฏิจจฺ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
ซึ่งแปลว่า
จักขุวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท กับ รูปารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างจักขุปสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
โสตวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยโสตปสาท กับ สัททารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างโสตปสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ ทั้ง ๓ นี่แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
ฆานวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยฆานปสาท กับ คันธารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างฆานปสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
ชิวหาวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยชิวหาปสาท กับ รสารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างชิวหาปสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
กายวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยกายปสาท กับ โผฏฐัพพารมณ์ การประชุมกันระหว่างกายปสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยภวังคจิต กับ สภาพธรรม ต่างๆ ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ การประชุมร่วมกันระหว่างภวังคจิต สภาพธรรมต่างๆ มโนวิญญาณทั้ง ๓ นี่แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
อนึ่งการกระทบอารมณ์ของผัสสะนี้ ไม่เหมือนกับการกระทบกันระหว่าง รูปต่อรูป เช่น มือ ๒ ข้างกระทบกัน หรือวัตถุ ๒ สิ่งกระทบกัน เป็นการ กระทบในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดตามสภาวะ แต่บางคราวการกระทบอารมณ์ตาม สภาวะ ที่ชื่อว่าผัสสะนี้ ก็ปรากฏชัดเจนคล้ายกับมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบกับกาย เช่น ขณะที่แลเห็นคนอื่นกําลังกินของเปรี้ยวๆ อยู่ ผู้เห็นก็รู้สึกน้ําลายไหล หรือ คนใดคนหนึ่งกําลังลับมีดอยู่บนหินที่มีทราย คนที่ได้ยินเสียงนั้นแล้วจะรู้สึก เสียวฟัน หรือบางคนที่ใจอ่อน แลเห็นคนขึ้นไปบนที่สูงมากๆ ก็รู้สึกเสียวไส้ กลัวแทน มีอาการขาสั่นใจหวิว หรือคนขลาดได้แลเห็นเขากําลัง ตี ฟันกันมี โลหิตออก ก็รู้สึกกลัวใจสั่นเป็นลม หรือเนื้อเมื่อขณะเห็นเสือ จะก้าวขาไม่ออก ยืนตัวแข็งอยู่กับที่ หรือผู้ที่ได้เข้าไปในสถานที่สงบเงียบ มีสัปบุรุษทั้งหลายกําลัง บําเพ็ญกรรมฐานอยู่ เมื่อได้แลเห็นบุคคลและสถานที่เช่นนี้แล้ว ก็มีความรู้สึกว่า จิตใจสบายชุ่มชื่นผ่องใสขึ้นทันที ความเป็นไปดังกล่าวมานี้ ก็คือการกระทบกัน ระหว่างจิตกับอารมณ์ที่เรียกว่า ผัสสะนั้นเอง และผัสสะทั้ง ๖ เกิดขึ้นได้ก็เพราะ มีอัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่เกิดจากอดีตกรรมเป็นเหตุ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า "สฬายตนปจจยา ผสฺโส"
เมื่อจําแนกผัสสะ ๖ โดยภูมิแล้ว ได้ดังนี้ คือ
ในกามภูมิ ๑๑ ผัสสะ ๖ ย่อมเกิดขึ้นได้
ในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) ผัสสะย่อมเกิดได้ ๓ คือ จักขุสัมผัสสะ โสตสัมผัสสะ มโนสัมผัสสะ
ในอรูปภูมิ ๔ ผัสสะย่อมเกิดได้ ๑ คือ มโนสัมผัสสะ
ส่วนในอสัญญสัตตภูมินั้น ผัสสะทั้งหมดย่อมเกิดไม่ได้ เพราะไม่มีอัชฌัตติกายตนะ ๖ เกิดในภูมินี้
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
๑. จักขายตนะ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จักขุสัมผัสสะนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทรียปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถุปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๒. โสตายตนะ มานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ โสตสัมผัสสะ ฆานสัมผัสสะ ชิวหาสัมผัสสะ กายสัมผัสสะ นั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ ปัจจัย เช่นเดียวกับจักขายตนะเป็นปัจจัย จักขุสัมผัสสะเป็นปัจจยุปบัน
๓. มนายตนะ คือ โลกียวิปากจิต ๒๒ (ทวิปัญจวิญญาณ) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกันตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. นามอาหารปัจจัย
๖. สหชาตินทริยปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. สหชาติตถิปัจจัย
๙. สหชาตอวิคตปัจจัย
จบ สฬายตนปจฺจยา ผสุโส
๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา สมฺภวติ
เวทนา ๖ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ ๖ เป็นเหตุ
เวทนา ๖ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัมผัสสะนั้น คือ
๑. จักขุสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างจักขุวิญญาณกับรูปารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในจักขุวิญญาณจิต
๒. โสตสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างโสตวิญญาณกับสัททารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในโสตวิญญาณจิต
๓. มานสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างฆานวิญญาณกับคันธารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในฆานวิญญาณจิต
๔. ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างชิวหาวิญญาณกับรสารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในชิวหาวิญญาณจิต
๕. กายสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างกายวิญญาณกับโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในกายวิญญาณจิต
๖. มโนสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างมโนวิญญาณกับธรรมารมณ์ หรืออารมณ์ ๖ ได้แก่เวทนาที่อยู่ใน โลกียวิปากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต)
เวทนาทั้ง ๖ เหล่านี้ เมื่อจําแนกโดย สุข ทุกข์ เฉยๆ แล้วได้ดังนี้คือ ตั้งแต่จักขุสัมผัสสชาเวทนา จนถึงชิวหาสัมผัสสชาเวทนาทั้ง ๔ นี้ เป็นการเสวย อารมณ์ชนิดอุเบกขา
กายสัมผัสสชาเวทนา เป็นการเสวยอารมณ์ชนิดสุข ๑ ทุกข์ ๑
มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นการเสวยอารมณ์ชนิดสุข ๑ ทุกข์ ๑ อุเบกขา ๑
เมื่อว่าโดยธรรมชาติที่เป็นไปอยู่ในโลกนี้แล้ว การเสวยอารมณ์มีอยู่ ๓ อย่างคือ
๑. ความรู้สึกสบายกายสบายใจ ในเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ถูกใจ เรียกว่า สุขเวทนาอย่างหนึ่ง
๒. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ ในเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ ไม่ถูกใจ เรียกว่า ทุกขเวทนาอย่างหนึ่ง
๓. ความรู้สึกเฉยๆ ในเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ปานกลาง เรียกว่า อุเบกขาเวทนาอย่างหนึ่ง
เมื่อว่าโดยปุคคลาธิฏฐานแล้วการเสวยอารมณ์ย่อมมี ๒ คือ สุข ๑ ทุกข์ ๑
สุข ได้แก่ สุขสหตกายสัมผัสสชาเวทนา โสมนัสสหคตมโนสัม ผัสสชาเวทนา อุเบกขาเวทนาที่เกี่ยวกับกุศล กริยา และกุศลวิบาก
ทุกข์ ได้แก่ ทุกขสหตกายสัมผัสสชาเวทนา โทมนัสสสหคตมโน สัมผัสสชาเวทนา อุเบกขาที่เกี่ยวกับอกุศล และกุศลวิบาก
ความสุขและความทุกข์ดังกล่าวแล้วนี้ จะเกิดขึ้นได้นั้นก็โดยอาศัยผัสสะ อันได้แก่ การกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์นั้นเองเป็นเหตุ ฉะนั้น ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดีที่มีมากหรือน้อยนั้น ก็ต้องแล้วแต่กําลังของผัสสะ กล่าวคือ ถ้าการกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์มีกําลังมาก ความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็ปรากฏ มาก ถ้าการกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์มีกําลังน้อย ความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็ปรากฏน้อย อุปมาเหมือนขณะที่กินอาหาร ฟันมีหน้าที่เคี้ยวอาหาร ลิ้นมีหน้าที่รู้รส ถ้าฟันได้ทําหน้าที่เคี้ยวให้เต็มที่แล้ว ลิ้นก็รู้รสได้อย่างชัดเจน ถ้าฟันไม่ได้ ทําหน้าที่เคี้ยวให้เต็มที่แล้ว ลิ้นก็รู้รสน้อย ข้อนี้ฉันใด ผัสสะก็เปรียบเหมือนฟัน เวทนาก็เปรียบเหมือนลิ้น อารมณ์เปรียบเหมือนอาหาร การกระทบกันระหว่าง จิตกับอารมณ์เปรียบเหมือนการเคี้ยวอาหาร การกระทบที่มีกําลังมากหรือน้อยนั้น เปรียบเหมือนการเคี้ยวได้เต็มที่และไม่เต็มที่นั่นเอง
การกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์ที่เรียกว่าผัสสะ ดังกล่าวมานี้จะ เห็นได้ในความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับคนทั้งหลาย เช่นในขณะที่ดูละครหรือภาพยนตร์ ถ้าเห็นไม่ชัดได้ยินไม่ชัด โดยที่อยู่ไกลเกินไปหรือมีแสงสว่างน้อยไป ซึ่งถ้าว่า โดยธรรมาธิฏฐานแล้ว ก็คือผัสสะมีกําลังน้อยนั้นเอง ด้วยเหตุนี้คนที่ดูนั้นจึง พยายามกระเถิบให้เข้าไปใกล้ๆ เพื่อให้เห็นและได้ยินได้ชัดเจน หรือถ้ามี แสงสว่างน้อยไปก็พยายามหาหนทางให้มีแสงสว่างให้มากขึ้น ถ้าเห็นหรือได้ยิน ชัดเจนดีแล้ว ก็หมายถึงว่าผัสสะนั้นมีกําลังแรงขึ้น เมื่อผัสสะมีกําลังแรงขึ้นแล้ว เวทนา คือ การเสวยอารมณ์นั้นก็ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น คือเห็นชัดเจนขึ้นได้ยิน ชัดเจนขึ้นนั่นเอง เมื่อมีการเห็นชัดได้ยินชัดแล้ว อิฏฐรสหรืออนิฏฐรสที่มีอยู่ใน อารมณ์นั้นๆ ก็ย่อมปรากฏชัด ทั้งนี้ก็เพราะว่า จักขุวิญญาณ คือการเห็นเป็นต้น นั้น มีหน้าที่เพียงแต่กระทํา รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ให้เป็นอารมณ์เท่านั้น หาได้กระทําให้อิฏฐรส หรืออนิฏฐรสที่มีอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ให้ปรากฏขึ้นได้ไม่ ธรรมที่สามารถกระทําอิฏฐรส หรืออนิฏฐรสให้ปรากฏขึ้นได้นั้น ได้แก่ ผัสสะ ฉะนั้น ในเวลาใดที่ได้รับอารมณ์ที่ดี ก็หมายถึงว่าผัสสะได้กระทําหน้าที่บีบให้ อิฏฐรสปรากฏขึ้น และในเวลาใดที่ได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี ก็หมายถึงว่าผัสสะได้ กระทําหน้าที่บีบให้อนิฏฐรสปรากฏขึ้น เมื่ออิฏฐรสหรืออนิฏฐรสปรากฏขึ้นแล้ว
เวทนาก็เข้าไปกระทําหน้าที่เสวยคือรู้สึกสบายหรือไม่สบายในอารมณ์นั้นๆ ด้วย เหตุนี้ ขณะใดที่เวทนากําลังเสวยความสุขในอารมณ์อยู่ เวทนานั้นย่อมแสดง อาการให้ปรากฏขึ้นแก่บุคคลนั้น คือทําให้มีหน้าตาแจ่มใสชื่นบาน ที่ทางโลก สมมุติกันว่าคนนั้น คนนี้กําลังมีความสุข และในขณะใดที่เวทนากําลังเสวย ความทุกข์ในอารมณ์อยู่ เวทนานั้นก็ย่อมแสดงอาการให้ปรากฏขึ้นแก่บุคคลนั้น เช่นเดียวกัน คือทําให้มีหน้าตาเศร้าหมอง ที่สมมติกันว่าคนนั้นคนนี้กําลังมีความทุกข์ อยู่นั่นเอง
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ผสฺสปจฺจยา เวทนา
ผัสสะทั้ง ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่เวทนาทั้ง ๖ นั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. นามอาหารปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. สหชาติตถิปัจจัย
๘. สหชาตอวิคตปัจจัย
จบ ผสฺสปจจยา เวทนา
๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา สมุภวติ
ตัณหา ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนา ๖ เป็นเหตุ
วจนัตถะของคําว่า ตัณหา
“วตฺถุกามํ ปริตสฺสสตีติ = ตณฺหา”
ธรรมชาติใดย่อมติดใจซึ่งวัตถุกาม ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ตัณหาอีกนัยหนึ่ง
“วตถุกาม ตสฺสนฺติ ปริตสฺสนฺติ สตฺตา เอตายาติ = ตณฺหา”
สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีติดใจซึ่งวัตถุกามโดยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายยินดีติดใจซึ่งวัตถุกามนั้น ชื่อว่า ตัณหา ได้แก่โลภเจตสิกที่อยู่ในโลภมูลจิต ๘
อธิบายว่า เมื่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสภาพธรรมต่างๆ มาปรากฏในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว ตัณหาคือความยินดีติดใจใน อารมณ์นั้นๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแก่คนทั่วไป ยกเว้นแต่พระอรหันต์ และ ถ้าอารมณ์นั้นเกี่ยวกับกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ยกเว้นพระอนาคามีด้วย ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยมีเวทนา คือ ความรู้สึกในการเห็น การได้ยินเป็นต้นนั้นเอง และ ธรรมดาคนทั้งหลายที่จะเกิดความพอใจติดใจในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดก็ตามจะต้องเป็นอารมณ์ที่ตนได้เคยประสบมาแล้ว หรือกําลังได้รับอยู่สําหรับอารมณ์ ที่ตนยังไม่เคยได้พบนั้น ตัณหาย่อมเกิดได้ยาก เพราะเวทนาคือการเสวยอารมณ์ที่ ตนยังไม่เคยพบนั้น ย่อมเป็นได้ยาก ตัณหาคือความพอใจติดใจในอารมณ์มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านี้ ก็คือความพอใจต่อสุขเวทนาที่ได้รับจากอารมณ์นั้นๆ นั่นเอง เมื่อพอใจต่อสุขเวทนาแล้ว ก็ต้องมีความพอใจในอารมณ์ที่ทําให้ สุขเวทนาเกิดด้วยเหมือนกัน และผู้ที่กําลังได้รับความสุขอยู่แล้ว ตัณหานั้นย่อม ติดใจในความสุขที่ตนกําลังได้รับอยู่นั้น และบางทีก็มีความปรารถนาให้ได้รับ ความสุขยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า “เวทนาปจฺจยา ตณฺหา” คือ สุขเวทนาเป็นเหตุให้เกิดตัณหา
ผู้ที่กําลังได้รับความทุกข์ความลําบากต่างๆ หรือกําลังไม่สบาย ก็ย่อม คิดถึงความสุขและอารมณ์ที่ทําให้ความสุขเกิด แล้วพยายามขวนขวายหาทางที่จะ ให้พ้นจากความทุกข์ความลําบากนั้นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ คนที่เจ็บไข้ไม่สบายก็ พยายามหาหมอซื้อยามารักษาให้หายจากการเจ็บไข้นั้น เมื่อยังไม่พ้นจากความทุกข์เหล่านั้น ก็รําพึงรําพันว่า เมื่อไรหนอตนจึงจะพ้นจากความทุกข์ความลําบาก นั้นเสียได้ นี้ก็เป็นเพราะด้วยอํานาจตัณหาที่เกิดเนื่องมาจากทุกขเวทนานั่นเองเป็นเหตุ นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ทุกข์เวทนาก็เป็นเหตุให้เกิดตัณหาได้
ผู้ที่กําลังเป็นปกติอยู่ไม่ทุกข์ และไม่มีความสุขที่พิเศษ คือกําลังเสวย ความเป็นอุเบกขาอยู่ สภาพของอุเบกขาเวทนานี้เป็นสภาพที่สงบ คล้ายกับ สุขเวทนาผู้ที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ ย่อมมีความยินดีพอใจต่ออุเบกขาเวทนานี้ แล้ว คิดว่าแม้ว่าจะไม่ได้รับความสุขที่พิเศษ ก็ขอให้เป็นดังนี้เรื่อยๆ ไป อย่าให้ความ ทุกข์เกิดขึ้นเลยนี้ก็เป็นเพราะอํานาจตัณหาที่เกิดเนื่องมาจากอุเบกขาเวทนาเป็นเหตุ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อุเบกขาเวทนาก็เป็นเหตุให้เกิดตัณหาได้
ตัณหานี้เมื่อจําแนกโดยอารมณ์แล้ว มี ๖ อย่าง คือ
๑. รูปตัณหา ความยินดีติดใจในรูปารมณ์
๒. สัททตัณหา ความยินดีติดใจในสัททารมณ์
๓. คันธตัณหา ความยินดีติดใจในคันธารมณ์
๔. รสตัณหา ความยินดีติดใจในรสารมณ์ ดังแสดงวจนัตถะว่า
๕. โผฏฐัพพตัณหา ความยินดีติดใจในโผฏฐัพพารมณ์
๖. ธัมมตัณหา ความยินดีติดใจในธรรมารมณ์ คือสภาพธรรมต่างๆ
อธิบายว่า เมื่อรูปารมณ์มากระทบกับจักขุปสาทแล้ว จักขุวิญญาณก็เกิด และในขณะเดียวกันนี้ ผัสสะ เวทนา ก็เกิดขึ้นด้วย เรียกว่า เห็น นี่กล่าวโดย ธรรมาธิฏฐาน ถ้ากล่าวโดยปุคคลาธิฏฐานแล้ว ในตอนนี้ยังไม่มีความรู้สึกอย่างใด เกิดขึ้น วิถีจิตต้องถึงชวนะเสียก่อน จึงจะมีความรู้สึกในการเห็นนั้นเพียงเล็กน้อย ยังไม่ชัดเจนทีเดียว ต่อเมื่อถึงมโนทวารวิถีเรียบร้อยแล้ว จึงมีความรู้สึกใน การเห็นนี้ได้ชัดเจน แต่ตัณหาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ตั้งแต่ขณะที่มีความรู้สึกใน การเห็นนี้เล็กน้อย ตัณหาก็เกิดได้ หมายความว่า ตัณหาตั้งต้นเกิดขึ้นใน จักขุทวารวิถีนั้นเอง เพราะว่าผู้นั้นยังมีตัณหานุสัยอยู่ ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นเหตุให้ ตัณหาเกิดขึ้นได้ สําหรับผู้ที่ปราศจากตัณหานุสัย หรือผู้ที่กําลังมีสติกําหนดการ เห็นเป็นต้นอยู่ และสติสมาธิของผู้นั้นก็เป็นไปติดต่อกันไม่ขาดระยะแล้ว แม้ว่าจะเกิดความรู้สึกในการเห็นเพียงเล็กน้อย เวทนานี้ก็ไม่สามารถเป็นเหตุให้ตัณหา เกิดได้ ฉะนั้น ในการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในนิทานวรรคสังยุตตพระบาลี ว่า “จักขุญจ ปฏิจจ รูเป จ อุปปชชติ จักขุวิญญาณ์ ติณณ์ สงฺคติ ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจจยา ตณฺหา” นั้น เป็นการแสดงที่มุ่งหมายเอา เฉพาะแต่ธรรมาธิฏฐานเท่านั้น ถ้ามุ่งหมายเอาปุคคลาธิฏฐานแล้ว ก็เป็นไปโดย ส่วนมาก ไม่ใช่เป็นได้ทั้งหมด
ในสัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ก็เป็นไปเช่นเดียวกัน
สําหรับ ธัมมตัณหา นั้น หมายความว่า ในขณะนึกถึง โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น ที่เป็นฝ่ายอกุศล และนึกถึง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ฌาน อภิญญา เป็นต้น ที่เป็นฝ่ายโลกียกุศลและกริยา หรือนึกถึง การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การนอนหลับ ที่เป็นฝ่าย กามวิบาก หรือนึกถึง ปสาทรูป สุขุมรูป และบัญญัติต่างๆ เหล่านี้แล้ว มีความ ยินดีพอใจเกิดขึ้น เรียกว่า ธัมมตัณหา
อนึ่ง ในมัชฌิมปัณณาสอรรถกถาแสดงไว้ว่า ความยินดีติดใจในการ เจริญสมถะและวิปัสสนาก็เรียกว่า ธัมมตัณหา ได้เหมือนกัน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนทิยาติ ปททวเยหิ สมถวิปัสสนาสุ ฉนฺทราโค วุตฺโต แปลความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวถึงความยินดีติดใจในการเจริญ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน โดยบท ๖ บท ว่า ธรรมราคะ ธรรมนั้นที ซึ่งหมายความว่า ฉันทราคะที่เกิดขึ้นในสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา ชื่อว่า ธัมมตัณหา
ตัณหาดังกล่าวมาแล้วนี้ เมื่อว่าโดยอาการที่เป็นไปแล้ว มี ๓ คือ
๑. กามตัณหา ได้แก่ความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณ ทั้ง ๕ แต่ไม่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ ดังมีวจนัตถะว่า
“กาเมตีติ - กาโม” “กาโม จ โส ตณฺหา จาติ - กามตัณหา”
สภาวธรรมใด ย่อมยินดีอยากได้ซึ่งอารมณ์ทั้ง ๖ ฉะนั้น สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า กาม
สภาวธรรมใด ย่อมยินดีอยากได้ซึ่งอารมณ์ทั้ง ๖ ด้วย ติดอยู่ในอารมณ์ นั้นด้วย ฉะนั้น สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า กามตัณหา ได้แก่ โลภเจตสิก
๒. ภวตัณหา ได้แก่ตัณหาที่เกิดพร้อมกันกับสัสสตทิฏฐิ โดยอาศัยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หมายถึงผู้ที่มีความเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนกําลังได้รับอยู่นี้ ตั้งอยู่เป็นนิจ ไม่เข้าใจว่ามีการเกิด ดับ ดังมีวจนัตถะว่า
“ภวตีติ = ภโว” “ภโว จ โส ตณฺหา จาติ - ภวตัณหา”
สภาวธรรมใด ย่อมเห็นว่า ตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ปรากฏมีอยู่ เสมอไม่สูญหาย ฉะนั้น สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า ภวะ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ
สภาวธรรมใด ย่อมเห็นว่าตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ปรากฏมีอยู่ เสมอไม่สูญหายด้วย และยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นด้วย ฉะนั้นสภาวธรรมนั้น ชื่อ ว่า ภวตัณหา ได้แก่ โลภะที่เกิดพร้อมกันกับสัสสตทิฏฐิ
อีกนัยหนึ่ง ภวตัณหานี้ เมื่อแสดงตามสุตตันตมหาวรรคอรรถกถาแล้ว มี ๕ อย่างคือ
๑. มีความยินดีพอใจใน กามภพ คือ การได้เกิดเป็น มนุษย์และเทวดาอย่างหนึ่ง
๒. มีความยินดีพอใจใน รูปภพ คือ การได้เกิดเป็น รูปพรหมอย่างหนึ่ง
๓. มีความยินดีพอใจใน อรูปภพ คือ การได้เกิดเป็น อรูปพรหมอย่างหนึ่ง
๔. มีความยินดีพอใจใน ฌานสมาบัติ คือ การได้ รูปฌาน อรูปฌานอย่างหนึ่ง
๕. มีความยินดีพอใจใน สัสสตทิฏฐิ คือ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายนี้มีตัวมีตนอยู่ และตัวตนนี้ไม่สูญหาย ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกายเท่านั้นอย่างหนึ่ง หรือตัวตนที่มีอยู่ใน ร่างกายของมนุษย์ เมื่อมนุษย์ตายแล้ว ตัวตนนั้นก็ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตน ที่อยู่ในร่างกายของสัตว์ดิรัจฉานก็เช่นเดียวกัน เมื่อสัตว์นั้นๆ ตายแล้ว ตัวตน ก็ไปเกิดเป็นสัตว์นั้นๆ อีก ไม่เปลี่ยนแปลง ดังมีสาธกบาลีแสดงว่า
“เว ตณฺหาภวตัณหา” “ภวปาถนาวเสน อุปฺปนฺนสฺส สัสสตทิฏฐิ สหคตสฺส รูปารูปภวราคสุส จ ฌานนิกนฺติยา เจต์ อธิวจน์"
ความยินดีพอใจในภพต่างๆ ชื่อว่า ภวตัณหา คําว่า ภวตัณหา นี้ ได้แก่ ราคะที่เกิดขึ้นโดยความปรารถนากามภพอย่างหนึ่ง ราคะที่เกิดพร้อมกันกับ สัสสตทิฏฐิอย่างหนึ่ง ราคะที่เกิดขึ้นในรูปภพอรูปภพอย่างหนึ่ง ราคะที่เกิดขึ้น ในฌานสมาบัติอย่างหนึ่ง
๓. วิภวตัณหา ได้แก่ ตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับอุจเฉททิฏฐิ โดย อาศัยอารมณ์ ๖ หมายถึงผู้ที่มีความเห็นว่า ในอารมณ์ ๖ ซึ่งได้แก่สิ่งที่มีชีวิตและ ไม่มีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้มีตัวตนอยู่ และตัวตนนี้ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ตลอด ย่อมสูญหายไปแล้วมีความยินดีติดใจในอารมณ์นั้น หรือมีความเห็นว่า ไม่ว่าใครๆ ทั้งสิ้น เมื่อตายแล้วก็สูญหายไปไม่เกิดอีก แล้วมีความยินดีติดใจในความเห็นนั้น ผู้ที่มีความเห็นในพระนิพพานว่ามีตัวมีตนแล้วปรารถนาพระนิพพาน ความ ปรารถนานี้ก็ชื่อว่าวิภวตัณหา ดังมีวงนัตถะว่า
“น ภวตีติ - วิภโว” “วิภโว จ โส ตณฺหา จาติ - วิภวตัณหา” (วา) “วิภเว ตณฺหา = วิภวตัณหา”
สภาวธรรมใดย่อมเห็นว่าตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ไม่สามารถตั้งอยู่ ได้ตลอด ย่อมสูญหายไป ฉะนั้น สภาวธรรมนั้นชื่อว่า วิภวะ
หรือแปลอีกนัยหนึ่ง สภาวธรรมใดมีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อตาย แล้วย่อมสูญหายไป ไม่เกิดต่อไปอีก ฉะนั้น สภาวธรรมนั้นชื่อว่า วิภวะ ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ
สภาวธรรมใดย่อมเห็นว่า ตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ไม่สามารถ ตั้งอยู่ได้ตลอด ย่อมสูญหายไปด้วย และยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นด้วย ฉะนั้น สภาวธรรมนั้นชื่อว่า วิภวตัณหา
หรือความยินดีพอใจในอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา ได้แก่ โลภะที่เกิดพร้อมกันกับอุจเฉททิฏฐิ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหามี ๑๐๘ คือ
กามตัณหามี ๓๖ ภวตัณหามี ๓๖ วิภวตัณหามี ๓๖ รวมเป็น ๑๐๘ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ที่มีอย่างละ ๓๖ นั้น ก็เกี่ยวกับอารมณ์ ๖ เป็นหลัก คืออารมณ์ ๖ ที่กําลังมาปรากฏทางทวารทั้ง ๖ มีทางตาเป็นต้นก็มี อารมณ์ทั้ง 5 ที่เป็นปัจจุบันเหล่านี้ เป็นเหตุให้กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เกิดขึ้นได้ เมื่อเป็นดังนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา จึงได้มีอย่างละ ๖ รวมเป็นตัณหาที่เกี่ยวกับปัจจุบันอารมณ์ ๑๘
อารมณ์ ๖ ที่เคยปรากฏมาแล้วทางทวารทั้ง ๖ ก็มี อารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็น อดีตเหล่านี้ เป็นเหตุให้ตัณหาทั้ง ๓ เกิดขึ้นได้ ฉะนั้น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์ ๖ ที่เป็นอดีต จึงมีอย่างละ ๖ รวมเป็น ตัณหาที่เกี่ยวกับอดีตอารมณ์ ๑๘
อารมณ์ ๖ ที่จะมาปรากฏในทวารทั้ง ๖ ก็มี อารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็น อนาคตเหล่านี้ เป็นเหตุให้ตัณหาทั้ง ๓ เกิดขึ้นได้ ฉะนั้น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์ ๖ ที่เป็นอนาคต จึงมีอย่างละ ๖ รวมเป็น ตัณหาที่เกี่ยวกับอนาคตอารมณ์ ๑๘
เมื่อจําแนกตัณหาทั้ง ๓ โดยอารมณ์และกาลแล้ว
กามตัณหามี ๑๘ ภวตัณหามี ๑๘ วิภวตัณหามี ๑๘ รวมเป็น ๕๔ อารมณ์ ทั้ง ๖ นี้ ปรากฏภายในตัวเรา ชื่อว่า อัชฌัตตอารมณ์ก็มี ปรากฏภายนอกตัวเรา ซึ่งได้แก่คนอื่น และสิ่งที่ไม่มีชีวิต ชื่อว่า พหิทธอารมณ์ก็มี ฉะนั้น
กามตัณหา ๑๘
ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยอัชฌัตตอารมณ์มี ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพหิทธอารมณ์มี ๑๘
รวมเป็นกามตัณหา ๓๖
ภวตัณหา ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอัชฌัตตอารมณ์มี ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพหิทธอารมณ์มี ๑๘
รวมเป็นภวตัณหา ๓๖
วิภวตัณหา ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอัชฌัตตอารมณ์มี ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพหิทธอารมณ์มี ๑๘
รวมเป็นวิภวตัณหา ๓๖
กามตัณหา มี ๓๖
ภวตัณหา มี ๓๖
วิภวตัณหา มี ๓๖
รวมเป็นตัณหา ๑๐๘
ตัณหา ๖ ตัณหา ๓ ตัณหา ๑๐๘ ดังกล่าวมาแล้วนี้ เกิดขึ้นแก่สัตว์ ทั้งหลาย ก็โดยอาศัยเวทนา คือการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ทุกข์ อุเบกขานั้นเอง ถ้าขาดการเสวยอารมณ์เหล่านี้เสียแล้ว ตัณหาต่างๆ เหล่านี้ก็เกิดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ แหละ พระองค์จึงทรงกล่าว “เวทนาปจจยา ตณฺหา"
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เวทนาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ตัณหานี้ ได้อํานาจปัจจัย ๑ ปัจจัย คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
จบ เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ สมฺภวติ
อุปาทานย่อมปรากฏขึ้น เพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุ
คําว่า อุปาทาน หมายถึงการยึดมั่นในสิ่งที่ผิดโดยโลภะ และทิฏฐิ ดังแสดงวจนัตถะว่า
“ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาห์ คยฺหนฺตีติ = อุปาทานานิ”
ธรรมเหล่าใดยึดถืออย่างแรงกล้า คือถือไว้ไม่ปล่อย ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน
อีกนัยหนึ่ง “อุปาทิยนตีติ = อุปาทานานิ”
ธรรมเหล่าใดเข้าไปยึดมั่น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อุปาทาน ได้แก่ ตัณหา และทิฏฐิที่มีกําลังมาก
วจนัตถะนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาและทิฏฐิอย่างธรรมดา ยังไม่ได้ชื่อว่า อุปาทาน ต่อเมื่อตัณหาและทิฏฐินั้นมีกําลังแรงมากขึ้น กล่าวคือ การยินดีติดใจ ในอารมณ์นั้นๆ อย่างไม่ยอมปล่อย เวลานั้นตัณหานั้นได้ชื่อว่า อุปาทาน และ เมื่อเวลาที่มีความเห็นผิดนั้นติดแน่นแก้ไม่ได้แล้ว เวลานั้นทิฏฐินั้นก็ได้ชื่อว่า อุปาทาน
อุปาทาน มี ๔ อย่าง คือ
๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น ได้แก่ โลภะเจตสิกที่ยึดมั่นในอารมณ์ ๖ ที่เป็น วัตถุกาม
๒. ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มีนิยามิจฉาทิฏฐิ ๓ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ และอันตัคคานิกทิฏฐิ ๑๐ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่นอกจากสีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค และสุนัขเป็นต้น ได้แก่ สีลัพพตทิฏฐิ
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ของตน และของคนอื่น ได้แก่ สักกายทิฏฐิ
แสดงอุปาทาน ๔ โดยพิสดาร
๑. กามุปาทาน มี ๖ คือ
๑. รูปกามุปาทาน
๒. สัททกามุปาทาน
๓. คันธกามุปาทาน
๔. รสกามุปาทาน
๕. โผฏฐัพพกามุปาทาน
๖. ธัมมกามุปาทาน
๒. ทิฏฐปาทาน มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ รวม ๗๕ คือ
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ
๑. นัตถิกทิฏฐปาทาน
๒. อเหตุกทิฏฐปาทาน
๓. อกิริยทิฏฐปาทาน
ทั้ง ๓ นี้เป็นทิฏฐิใหญ่
มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ คือ
ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดโดยการคิดนึกเอาเองในเรื่องความเป็นไปของขันธ์ ๕ ที่ล่วงมาแล้ว มี ๑๘
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดโดยการคิดนึกเอาเองในเรื่องความเป็นไปของขันธ์ ๕ ในข้างหน้า มี ๔๔
รวมเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๖๒
ปุพพันตกับปิกทิฏฐิ ๑๘ คือ
สัสสตทิฏฐิ ๔ เอกิจจสัสสตทิฏฐิ ๔ อันตานันตทิฏฐิ ๔
อมราวิกเขปทิฏฐิ ๔ อธิจจสมุปปันนทิฏฐิ ๒
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ คือ
อุทธมาฆาตนิกสัญญีวาททิฏฐิ ๑๖
อุทธมาฆาตนิกอสัญญีวาททิฏฐิ ๘
อุทธมาฆาตนิกเนวสัญญีนาสัญญีวาทิฏฐิ ๘
อุจเฉทวาททิฏฐิ ๗
ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ คือ
๑. สสฺสโต โลโก เห็นว่า โลกเที่ยง
๒. อสสฺสโต โลโก เห็นว่า โลกไม่เที่ยง
๓. อนุตวา โลโก เห็นว่า โลกมีที่สิ้นสุด
๔. อนนฺตวา โลโก เห็นว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด
๕. ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ เห็นว่า ชีวะและสรีระ เป็นอันเดียวกัน
๖. อญฺญํ ชีวํ อญฺญํ สรีรํ เห็นว่า ชีวะและสรีระ เป็นคนละอัน
๗. โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั่นหลังจากตายแล้วเกิดต่อไปอีก
๘. น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นหลังจากตายแล้วไม่เกิดต่อไปอีก
๙. โหติ จ น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี
๑๐. เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้
๓. สีลัพพตปาทาน
การปฏิบัติผิดแนวทางที่ถูกต้อง เช่น ปฏิบัติตนให้เหมือนกับโคหรือสุนัข โดยผู้นั้นต้องการจะพ้นจากความทุกข์ความลําบากต่างๆ ในสังสารวัฏ หรือ ต้องการไปเกิดในเทวโลก แต่ไม่มีโอกาสได้สมาคมกับสัปบุรุษทั้งหลาย มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น และไม่มีโอกาสได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่ถูกต้อง บุคคลจําพวกนี้คิดเห็นว่าอกุศลต่างๆ ที่เกิดมาแล้วแก่ตนนั้น มีจํานวนมากหา ประมาณมิได้ จะต้องหาหนทางกําจัดอกุศลต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไป เพราะอกุศล เหล่านี้ทําให้ตนไม่สามารถไปเสวยความสุขในแดนสวรรค์ได้ เมื่อนึกเช่นนี้แล้ว ก็เกิดมีความคิดเห็นขึ้นว่า ตนเป็นหนี้อกุศลอยู่ จะต้องพยายามใช้หนีอกุศลเก่าให้หมดไป และอกุศลใหม่ตนก็จะไม่ทําขึ้นอีก เช่นนี้จึงจะสามารถล้างหนี้ให้ หมดไปได้ และอกุศลเก่าเป็นเจ้าหนี้นั้นทําให้ตนต้องลําบาก ตนก็จําเป็นต้องเอา ความลําบากนั้นใช้หนี้ตอบแทนกันไป ข้อนี้อุปมาเหมือนหนึ่งผู้ที่เป็นลูกหนี้ เงินทองเขาอยู่ ไม่สามารถหาเงินทองใช้หนี้เขาได้ก็จําเป็น ต้องเอาตัวของตัวเอง ไปต่อสู้กับความลําบาก คือ ยอมเป็นทาสให้เขาใช้เงินแทน ความลําบากนั้นแหละ สามารถจะช่วยตัวให้หลุดพ้นจากหนี้สินเหล่านั้นได้ ข้อนี้ฉันใด ตนเป็น หนี้อกุศลอยู่ก็ฉันนั้น จะต้องเอาความลําบากอย่างพวกสัตว์ดิรัจฉาน มีโคและ สุนัขเป็นต้น ที่กําลังได้รับอยู่นั้นมาเป็นเครื่องช่วยเหลือตนให้พ้นจากเจ้าหนี้อกุศล ตนจึงจะพ้นจากอกุศลได้ เมื่อคิดเห็นหนทางเช่นนี้แล้วก็พากันประพฤติปฏิบัติ ตนให้เหมือนกับโคและสุนัข มีการกิน การนอน การนั่ง การยืน การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ตลอดจนกระทั่งตบแต่งรูปร่างสัณฐานให้เหมือนกับโคหรือสุนัขนั้น ซึ่ง เป็นการปฏิบัติตรงกันข้ามกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลาย การปฏิบัติ เช่นนี้แหละชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
ได้แก่ อัตตทิฏฐิ หรือ สักกายทิฏฐิ ที่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็น ตนมีอยู่ ๒๐ อย่าง หรือโดยพิสดาร ๒๕๖ คือ
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๑๑๒
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๗๒
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๒๔
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๒๔
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิญญาณขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๒๔
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ มีความเห็นว่า รูปเป็นเรา เราเป็นรูป (เข้าใจว่าเรากับร่างกายเป็นอันเดียวกัน เหมือนกับที่เห็น เปลวไฟกับแสงไฟ ฉะนั้น)
๒. รูปวนฺนํ วา อตฺตานํ ความเห็นว่า เรามีรูป (เข้าใจว่า เรากับร่างกาย เป็นคนละอัน เหมือนหนึ่งต้นไม้กับเงา ฉะนั้น)
๓. อตฺตนิ วา รูปํ มีความเห็นว่า รูปอยู่ในเรา (เข้าใจว่า เรากับ ร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนกลิ่นดอกไม้ที่อยู่ใน ดอกไม้ ฉะนั้น)
๔. รูปสฺมึ วา อตฺตานํ มีความเห็นว่า เราอยู่ในรูป (เข้าใจว่า เรากับ ร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนหนึ่งแก้วมณีที่อยู่ในหีบฉะนั้น)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๑๑๒ นั้น คือ
สักกายทิฏฐิ ที่มีรูปขันธ์เป็นอารมณ์ ๔ อย่างนี้ เกิดขึ้นโดยอาศัยปถวีก็มี เกิดขึ้นโดย อาศัย อาโป เป็นต้น จนถึง ชรตา อนิจจา ก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยรูป ๒๘ จึงเป็น ๑๑๒
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการเสวยอารมณ์เป็นเรา เราคือการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ เรามีการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวย อารมณ์ เป็นคนละอัน)
๓. อตฺตนํ วา เวทน์ การเสวยอารมณ์อยู่ในเรา (เข้าใจว่า เราและการ เสวยอารมณ์ เป็นคนละอัน)
๔. เวทนาย วา อตฺตานํ เราอยู่ในการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์ เป็นคนละอัน)
(ข้ออุปมาที่เกี่ยวกับเวทนาทั้ง ๔ ข้อนี้ เหมือนที่แสดงในรูปขันธ์)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๓๒ นั้น คือ เวทนาเมื่อว่าโดยทวาร มี ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น ใน เวทนา 5 อย่างนี้ อย่างหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา รวมเป็น เวทนา ๑๘
สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาสุขเวทนาก็มี เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาทุกขเวทนาก็มี เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาอุเบกขา เวทนาก็มี และสักกายทิฏฐิ ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัย สุข ทุกข์ อุเบกขา ที่เกี่ยวกับโสตะ เป็นต้น จนถึง มนะ ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยเวทนา ๑๘ จึงเป็น ๗๒
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. สญฺญ์ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการจ่าอารมณ์เป็นเรา เราคือการจ่าอารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับการจําอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. ปัญญาวนต์ วา อตฺตานํ เห็นว่า เรามีการจําอารมณ์
๓. อตฺตนิ วา สญฺญ์ เห็นว่า การจําอารมณ์อยู่ในเรา
๔. สัญญาย วา อตฺตาน่ เห็นว่า เราอยู่ในการจําอารมณ์
(ข้อ ๒, ๓, ๔ เข้าใจว่า เรากับการอารมณ์เป็นคนละอัน และ ข้ออุปมาก็เหมือนกับที่แสดงในรูปขันธ์)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ การจําอารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยอารมณ์แล้ว มี ๖ อย่าง ได้แก่ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา
สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปสัญญาก็มี อาศัยสัททสัญญา เป็นต้นก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยสัญญา ๖ จึงเป็น ๒๔
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการปรุงแต่งในอารมณ์เป็นเรา เราคือ การปรุงแต่งในอารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับ การปรุงแต่งในอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. สงฺขารวนต์ วา อตฺตานํ เห็นว่า เรามีการปรุงแต่งในอารมณ์
๓. อตฺตนิ วา สงฺขาเร เห็นว่า การปรุงแต่งในอารมณ์อยู่ในเรา
๔. สงฺขาเรส วา อตฺตานํ เห็นว่า เราอยู่ในการปรุงแต่งอารมณ์
(ข้อ ๒, ๓, ๔ เข้าใจว่าเรากับการปรุงแต่งในอารมณ์เป็นคนละอัน และข้ออุปมาก็เหมือนที่แสดงในรูปขันธ์)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ การปรุงแต่งในอารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยอารมณ์แล้วมี ๖ อย่าง ได้แก่ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา
สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปสัญเจตนาก็มี อาศัยสัททสัญเจตนา เป็นต้นก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยเจตนา ๖ จึงเป็น ๒๔
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิญญาณขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. วิญญาณ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการรู้อารมณ์เป็นเรา เรา คือการรู้ อารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับการรู้อารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. วิญญาณวนต์ วา อตฺตานํ เห็นว่าเรามีการรู้อารมณ์
๓. อตฺตนิ วา วิญญาณ เห็นว่าการรู้อารมณ์อยู่ในเรา
๔. วิญญาณสฺมี วา อตฺตานํ เห็นว่าเราอยู่ในการรู้อารมณ์
สําหรับจํานวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ
การรู้อารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยทวารแล้วมี ๖ อย่างได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
สักกายทิฏฐิ ทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุวิญญาณก็มี อาศัยโสตวิญญาณเป็นต้น ก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยวิญญาณ ๖ จึงเป็น ๒๔
อธิบายว่า ผู้ที่มีอัตตวาทุปาทานนี้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ และไม่เชื่อว่า รูปนามขันธ์ ๕ นี้เป็นอนัตตะ คือเป็นสภาวะที่ไม่ได้อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใคร ไม่มีตัว ไม่มีตน เข้าใจว่ารูปนามขันธ์ ๕ นี้ เป็นอัตตะมีตัวตน และตัวตนนี้เป็น อิสระ สามารถบังคับบัญชารูปนามขันธ์ ๕ ได้ อัตตะสั่งให้ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน พูด ดู ฟัง เป็นต้นเหล่านี้ ร่างกายก็ทําไปตามอัตตะสั่ง
ความยึดมั่นว่าเป็นอัตตะนี้ มี ๒ อย่าง คือ ๑. ปรมอัตตะ ๒. ชีวอัตตะ
ความยึดมั่นว่าอัตตะนี้ สามารถสร้างโลกขึ้นได้ บรรดาสิ่งมีชีวิตและ ไม่มีชีวิตทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็ล้วนแต่เกิดมาด้วยอํานาจของ อัตตะทั้งสิ้น ความยึดมั่นเช่นนี้ได้ชื่อว่า ปรมอัตตะ
ความยึดมั่นว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ มีตัวมีตน คือมีชีวิตรักษาอยู่ ความยึดมั่นเช่นนี้ได้ชื่อว่า ชีวอัตตะ
อธิบายว่า ปรมอัตตะนี้ มีประวัติมาว่า เมื่อสมัยที่โลกได้ถูกทําลายด้วย ไฟแล้ว และเริ่มสร้างขึ้นใหม่นั้น ปฐมฌานภูมิ ๓ ได้สร้างขึ้นก่อนภูมิอื่นๆ ใน เวลาที่สร้างเสร็จใหม่ๆ นี้ ยังไม่มีพรหมองค์ใดองค์หนึ่งเกิดขึ้นเลย ต่อมาพรหม ที่อยู่เบื้องบนตั้งแต่ทุติยฌานภูมิ องค์ใดองค์หนึ่งสิ้นบุญจากภูมินั้นแล้ว ก็จุติลง มาเกิดในปฐมฌานภูมินี้ ปรากฏเป็นมหาพรหมองค์แรก ท้าวมหาพรหมนี้รัศมี รุ่งเรืองมาก ครั้นนานมามหาพรหมองค์นี้เกิดรู้สึกว้าเหว่ขึ้นมา จึงนึกปรารถนา ให้มีพรหมองค์อื่นๆ มาเกิดอยู่ด้วยอีก เผอิญประจวบเหมาะกับในเวลานั้น พรหมที่อยู่ในภูมิเบื้องบนบางองค์หมดบุญหมดอายุ ก็พากันจุติลงมาเกิดใน ปฐมฌานภูมินี้ในเวลาติดๆ กันหลายองค์ แต่พวกพรหมที่ลงมาเกิดรุ่นหลังนี้ ไม่ได้เป็นมหาพรหม เป็นพรหมปาริสัชชาบ้าง เป็นพรหมปุโรหิตาบ้าง ซึ่ง ล้วนแต่เป็นบริวารของท้าวมหาพรหมทั้งนั้น ความรุ่งเรืองแห่งรัศมีในกายก็มี
น้อยกว่าท้าวมหาพรหม เมื่อท้าวมหาพรหมได้เห็นพวกพรหมทั้งหลายมาบังเกิด ขึ้นในเวลานั้นก็คิดว่า เมื่อเรามีความปรารถนาอยากได้พรหมมาเกิดร่วมอยู่ด้วย ความปรารถนาของเราก็สําเร็จสมความประสงค์ ฉะนั้น เรานี่แหละจึงเป็นผู้ที่ สร้างพรหมทั้งหลายให้ปรากฏขึ้นในโลก
ส่วนพวกพรหมทั้งหลายที่เกิดใหม่นั้น ได้แลเห็นท้าวมหาพรหมมีรัศมีรุ่งเรือง เครื่องอาภรณ์ที่ประดับกายตลอดจนกระทั่งวิมานที่อยู่ก็สวยงามมาก จึงพากันปรารภขึ้นว่า “อยํ โข ภวํ พฺรหฺมา มหาพรหมา อภิภู อนภิภูโต อณุญาตถุทโส วสวัตติ อิสสโร กตฺตา นิมมาตา เสฏฺโฐ สชชิตา วสี ปิตา ภูตภพฺยานํ อิมินา มย์ โภตา พฺรหฺมุนา นิมมิตา” (มาในพรหมชาลสูตรพระบาลี แห่งสีลขันธวรรค)
แปลความว่า “พรหมองค์นี้เป็นท้าวมหาพรหม สามารถปกครองสัตว์ ทั้งหลายได้ ไม่ได้อยู่ในความปกครองของผู้อื่นเลย เป็นพระเจ้าที่สามารถรู้เห็น สิ่งต่างๆ ได้โดยแน่นอน สามารถทําให้สัตว์ทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นไปตามความพอใจของตนได้ เป็นท้าวอิศวรปรเมศวรที่เป็นผู้ปกครองสัตว์ทั้งหลาย เป็น ผู้สร้างโลกและสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก เป็นผู้จัดจําแนกสัตว์ให้ เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นเศรษฐี เป็นคนรวย คนจน ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นบิดา ของสัตว์ที่ปรากฏขึ้นแล้ว และที่จะปรากฏต่อไปข้างหน้า แม้เรา ทั้งหลายที่ปรากฏเกิดขึ้น ณ สถานที่นี้ ก็เพราะท้าวมหาพรหมองค์นี้นั่นเอง เป็นผู้สร้างขึ้น” เมื่อปรารภกันเช่นนี้แล้วก็พากันมาเฝ้าคอยปรนนิบัติรับใช้ ท้าวมหาพรหมทุกประการ
ต่อมาพวกพรหมที่เป็นบริวารเหล่านี้ เมื่อสิ้นบุญสิ้นอายุจากพรหมแล้ว ก็จุติลงมาเกิดในมนุษยโลก สําหรับท้าวมหาพรหมนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ เพราะ อายุขัยยืนยาวกว่าพรหมพวกนั้น ส่วนพรหมทั้งหลายที่ลงมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วนั้น บางพวกก็ทําสมถะ ได้ฌานอภิญญา สามารถเห็นท้าวมหาพรหมได้ ก็เกิดความ ยึดมั่นยิ่งขึ้นว่า โลกและสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ ท้าวมหาพรหมเป็นผู้สร้างขึ้น ทั้งสิ้น ฉะนั้น ท้าวมหาพรหมนี้เป็นพระเจ้าผู้ประเสริฐ ได้ชื่อว่า “ปรมอัตตะ” เป็นผู้ไม่ตายไม่สูญหายไปไหน ความเห็นยึดมั่นเช่นนี้ได้ติดต่อแพร่หลาย สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ฉะนั้น พวกที่มีความเห็นว่า บรรดาสิ่งต่างๆ ที่มี ชีวิตและไม่มีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ตลอดจนกระทั่งความสบาย ความ ลําบาก ความมั่งมี ความจน ความสวย ความไม่สวย ตระกูลสูง ตระกูลต่ํา เป็นต้นเหล่านี้ ก็เพราะปรมอัตตะเป็นผู้สร้างขึ้นนั้น ก็เกิดมาจากคนในสมัยต้น กัปที่ได้ฌาน อภิญญา สามารถแลเห็นท้าวมหาพรหมได้นั่นเอง เป็นต้นเหตุ คนที่เกิดในสมัยต่อๆ มาก็มีความเห็นดังนี้ดําเนินรอยตามกันมา แต่คนในสมัย หลังๆ นี้ไม่สามารถมองเห็นท้าวมหาพรหม เพราะไม่ได้อภิญญา เมื่อมีผู้ถาม ขึ้นว่า พระเจ้าผู้สร้างโลกนั้นอยู่ที่ไหน ก็ตอบได้แต่เพียงว่า อยู่เบื้องบนอากาศ เท่านั่น
อัตตทิฏฐิที่เป็นอัตตวาทุปาทานได้นั้น ผู้นั้นจะต้องยึดถือว่า ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย แต่ถ้าในการแสดงธรรม หรือในการที่ใช้พูดกันว่า “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนนั้น” แหละเป็นที่พึ่งของตน หรือคําว่า “เชื่อตนเอง” เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นอัตตวาทุปาทาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในนิกเขปกัณฑ์ แห่งธัมมสังคณีปกรณ์ว่า “เปตวา สีลพตุปาทานญฺจ อตฺตวาทุปาทานญฺจ สพฺพาปี มิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐปาทานํ” แปลความว่า ยกเว้นสีลัพพตุปาทานทิฏฐิ และอัตตวาทุปาทาน- ทิฏฐิเสียแล้ว มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดเหล่านั้น เป็นทิฏฐปาทานทั้งสิ้น
แสดงความแตกต่างระหว่างตัณหา กับ กามุปาทาน
ตัณหา เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่ โลภะ
กามุปาทาน เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ก็ได้แก่ โลภะ เช่นเดียวกัน
ฉะนั้น ในการที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานเกิดขึ้นนั้น ก็ หมายความว่า โลภะเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ โลภะที่ได้ชื่อว่า ตัณหา กับ โลภะที่ได้ชื่อว่า กามุปาทาน นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายว่า ความติดใจ อยากได้ในอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เหล่านี้ ได้ชื่อว่า ตัณหา
ความติดใจ ความอยากได้นี้แหละ เมื่อมีกําลังมากขึ้นแล้ว ย่อมมีจิตใจ ผูกพันอยู่กับอารมณ์นั้นๆ อยู่เสมอไม่หายไปได้ หรือเมื่อได้สิ่งที่ตนปรารถนามาแล้ว ก็มีความหวงแหนทะนุถนอมสิ่งนั้นไว้ไม่ยอมปล่อย เช่นนี้ เรียกว่า กามุปาทาน ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยตัณหาเป็นปัจจัย
ตัณหานี้ คือความยินดีพอใจที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ได
กามุปาทาน คือความติดใจยึดอยู่ในอารมณ์นั้นๆ อย่างไม่ยอมปล่อย
ตัณหา เปรียบเหมือนต้นไม้ที่พึ่งเริ่มงอกขึ้นใหม่ๆ
กามุปาทาน เปรียบเหมือนต้นไม้ที่งอกงามเจริญเติบโตแล้ว
ตัณหานี้ เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปัจฉตาคุณ คือความเป็นผู้ปรารถนาน้อย
กามุปาทาน เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสันโตสคุณ คือความเป็นผู้พอใจ ในสิ่งที่ตนมีอยู่
ตัณหา เป็นเหตุแห่งปริเยสนทุกข์ คือความทุกข์ที่เกี่ยวกับการขวนขวาย แสวงหาในกามคุณอารมณ์ต่างๆ
กามุปาทาน เป็นเหตุแห่งอารักขทุกข์ คือความทุกข์ที่เกี่ยวกับการระวัง รักษาในกามคุณอารมณ์ต่างๆ ที่ตนได้มานั้นไม่ให้สูญหายไป
๑. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานเกิด
ตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานนั้น ยกตัวอย่างเช่นเรื่องพระโพธิสัตว์ในชาติที่เป็นดาบส ได้สําเร็จฌานอภิญญาสามารถเหาะไปในอากาศได้ ได้ไปพักอยู่ ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี แล้วเข้าไปฉันอาหารในพระราชวังทุกๆ วัน ต่อมาพระเจ้าพาราณสีมีกิจที่จะต้องเสด็จจากเมืองไปชั่วคราว ได้สั่งพระมเหสีผู้มี พระนามว่า มุทุลักขณา ให้จัดอาหารถวายแก่พระดาบสแทนพระองค์ พระมเหสี ก็ทําตามคําสั่งของพระราชาโดยเรียบร้อย วันหนึ่งพระนางจัดเตรียมอาหาร สําหรับพระดาบสเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นอนพักกายรอพระดาบสอยู่บนพระแท่น ณ ท้องพระโรง เมื่อถึงกําหนดเวลาพระดาบสก็เหาะเข้ามาทางช่องพระแกล พระนางเมื่อได้ยินเสียงพระดาบสมาก็รีบเสด็จลุกขึ้นต้อนรับ เผอิญผ้าแพรทรง ของพระนางนั้นลื่นหลุดจากพระวรกายไม่ทันรู้ตัว พระดาบสได้เห็นร่างของ พระนางแล้ว ขาดการสํารวมอินทรีย์ เกิดความกําหนัดยินดีในรูปโฉมของพระนาง ตัณหาที่สงบอยู่ภายในนั้นก็กําเริบขึ้น เหมือนหนึ่งต้นไม้มียางที่ถูกมีดกรีด ทันใดนั้นเอง ฌานของท่านก็เสื่อมลง ยืนตะลึงรับอาหารหาได้บริโภคไม่ เลยลง
จากปราสาทเดินไปพระราชอุทยานเข้าในบรรณศาลาวางอาหารไว้ใต้เตียงนอน แล้วนอนรําาพันถึงพระนาง ไม่เป็นอันกินอันนอนเป็นเวลาถึง ๗ วัน
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดกามุปาทาน คือขณะที่พระดาบสได้เห็นร่างของพระนางเกิดความยินดีพึงพอใจขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น เป็นตอนที่ตัณหาเกิด ต่อมาความพอใจนั้นมีกําลังแรงมากขึ้น ถึงกับไม่เป็น อันกินอันนอนตลอด ๗ วันนั้น เป็นตอนที่กามุปาทานเกิดขึ้นแล้ว
๒. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้ทิฏฐปาทานเกิด
ความยินดีติดใจในอารมณ์นั้นๆ เป็นเหตุให้ความเห็นผิดที่ไม่เกี่ยวกับ สีลัพพตทิฏฐิ และอัตตทิฏฐิทั้ง ๒ เกิดขึ้นก่อน ชื่อว่า ทิฏฐปาทาน
อารมณ์ที่เป็นเครื่องให้เกิดความชอบใจ พอใจ นั้นมีได้ทั้งอารมณ์ภายในและภายนอก อารมณ์ที่เป็นภายในก็คือตัวของตนนั้นเอง ความชอบใจ พอใจตัวของตนเองเป็นเหตุให้ทําให้ทิฏฐิเกิดขึ้นก็ได้ และความชอบใจพอใจใน อารมณ์ภายนอก คือสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น ก็เป็นเหตุให้ทิฏฐิเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น
พระเจ้าอังคติ ผู้ครองเมืองมิถิลา อยู่ในแคว้นวิเทหะ พระเจ้าอังคติองค์นี้ มีความเชื่อถือในคําพูดของเสนาบดีผู้หนึ่งชื่อว่า อลาตะ เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้ แนะนําให้พระเจ้าอังคติไปยังสํานักของอาจารย์มิจฉาทิฏฐิผู้หนึ่ง ชื่อว่า เป็นสกุลกัสสปะ ถือลัทธิเปลือยกาย พระเจ้าอังคติได้ถามปัญหาแก่อาจารย์คุณะว่า จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะไปเกิดในสุคติภูมิได้ อาจารย์คุณะตอบว่า การกระทํากุศลก็ดี อกุศลก็ดี เหล่านี้ไม่ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใดเลย การปฏิบัติดีต่อบิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้ที่ทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิเหล่านี้ ก็ไม่ได้รับผลอย่างใดเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้ที่ถือตัวว่ามีปัญญานั้น แท้จริงผู้นั้นเป็นคนโง่ ชอบสร้างการบริจาค ผู้มีปัญญา คือบัณฑิตทั้งหลายนั้นแหละเป็นผู้รับทาน ซึ่งผลสุดท้ายผู้ที่บริจาคนั้นก็ไม่ได้รับ ผลอย่างใด เสียเปล่าๆ ไม่จําเป็นต้องทํา เมื่อมหากัปครบ ๘๔ มหากัปแล้ว จิตใจของสัตว์ทั้งหลายก็จะสะอาดบริสุทธิ์ไปเอง และพากันเข้าถึงพระนิพพาน พ้นจากสังสารวัฏกันทั้งสิ้น
เมื่ออาจารย์คุณะแสดงจบแล้ว เสนาบดีอลาตะก็สนับสนุนขึ้นทันทีว่า ที่ อาจารย์คุณะกล่าวเช่นนี้ เป็นการถูกต้องที่สุด เพราะตัวข้าพเจ้าเองนั้นแหละ เมื่อ ภพก่อน ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นคนฆ่าวัว แต่เมื่อข้าพเจ้าตายลง แทนที่จะไปตกในอบาย กลับได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ และได้รับความสุขสบายเป็นถึงเสนาบดีเช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า การทําอกุศลก็ไม่ทําให้ได้รับผลอย่างใด สมจริงดังคํากล่าว ของท่านอาจารย์
เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้ชาติสรญาณ คือระลึกชาติได้ แต่ระลึกได้เพียง ชาติเดียวเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะรู้ไปถึงความเป็นไปของตนในชาติ ๓ ได้ ซึ่งความจริงในชาติที่ ๓ นั้น เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้เคยสร้างกุศล คือ เอาดอกไม้ไปบูชาพระเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เมื่อเวลาใกล้จะตายในชาตินั้น กุศลที่บูชาพระสารีริกธาตุไม่มีโอกาสได้ส่งผล กุศลอื่นๆ ที่เป็นกุศลที่ต่ํากว่ามีโอกาสให้ผลก่อน ฉะนั้น จึงได้ส่งผลให้มาเกิด เป็นคนชั้นต่ามีอาชีพเป็นคนฆ่าวัวในชาติที่ ๒ และเมื่อตายจากชาติที่ ๒ อกุศล ที่ฆ่าวัว นั้นยังไม่มีโอกาสให้ผลกุศลที่เคยบูชาพระสารีริกธาตุได้โอกาสให้ผล จึงได้ส่งให้มาเป็นมนุษย์ชั้นสูง เป็นเสนาบดีมีความสุขในปัจจุบันชาตินั้น แต่ เสนาบดีอลาตะไม่สามารถรู้ถึงเรื่องราวของตนในชาติที่ ๓ นั้นได้ จึงเข้าใจผิดไปว่า อกุศลที่ตนทําไว้ในชาติที่ ๒ นั้นไม่ได้ให้ผลประการใด ชีวิตของตนที่เจริญ รุ่งเรืองในปัจจุบันชาตินั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เป็นผลของกรรมอันใดเลย
ในขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งเป็นทาส ชื่อว่า พืชกะ เป็นผู้ปฏิบัติถือศีลอยู่เสมอ ได้นั่งฟังอยู่ ณ ที่นั้นด้วย เมื่อได้ยินอาจารย์คุณะแสดงธรรม และเสนาบดีอลาตะ กล่าวสนับสนุนรับรอง พร้อมทั้งแสดงเรื่องราวของตนให้ฟังเช่นนั้นแล้ว ทาสพีชกะก็ร้องไห้ขึ้นทันที กล่าวธรรมของท่านอาจารย์นั้นถูกต้องทีเดียว เพราะข้าพเจ้าเองก็เช่นเดียวกัน เมื่อชาติก่อนนี้ข้าพเจ้าได้เคยเกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ ถึง ๘๐ โกฏิ และข้าพเจ้าก็ได้ทําบุญรักษาศีลอยู่เสมอๆ ไม่ได้ทําทุจริตอย่างใดเลย แต่เมื่อเวลาข้าพเจ้าตายลงนั้น กุศลที่ข้าพเจ้าได้เคยทํานั้น ก็ไม่เห็นให้ผลแก่ ข้าพเจ้าให้ได้รับความสุขความสบายอย่างใดเลย ข้าพเจ้าต้องมาเกิดเป็นคนชั้นต่ํา เป็นทาสเขาอยู่ดังนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ดี ข้าพเจ้าก็ยังอุตส่าห์ทําบุญรักษาศีลอยู่เสมอ ไม่ได้นึกถึงความลําบากและเว้นจากการทําทุจริตต่างๆ เช่นเดียวกัน เมื่อข้าพเจ้า ได้ฟังท่านอาจารย์และท่านเสนาบดี แสดงเรื่องราวเช่นนี้ ก็รู้สึกว่ากุศลต่างๆ ที่ ข้าพเจ้าได้อุตส่าห์ลงทุนลงแรงทําไปนี้ เห็นจะเสียประโยชน์ไปเปล่าๆ เป็นแน่ เพราะเท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยทํากุศลไว้ในชาติก่อนก็มิได้ปรากฏผลแก่ข้าพเจ้าในชาติ นี้เห็นประจักษ์อยู่แล้ว ฉะนั้น กุศลที่ข้าพเจ้าได้ทําขึ้นใหม่ในชาตินี้ ก็คงจะไม่ให้ ผลในชาติหน้าอีกแน่ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเสียใจมาก
เรื่องราวของทาสพีชกะคนนี้ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับเสนาบดีอลาตะ คือทาสพีชกะนี้ระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว หาได้รู้ไม่ว่าในสมัยศาสนาของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทางพืชกะผู้นี้ได้เกิดเป็นคนเลี้ยงวัว วันหนึ่งวัว ที่เลี้ยงนั้นหายไป ก็ออกติดตามไปในป่า ขณะนั้นมีพระองค์หนึ่งเดินหลงทางมา เมื่อพบคนเลี้ยงวัว จึงถามถึงหนทางที่จะไปว่าไปทางไหน คนเลี้ยงวัวนั้นก็ไม่ได้สนใจต่อคําถามของพระองค์นั้น เพราะมุ่งอยู่แต่จะหาวัวให้พบเท่านั้น พระจึง ถามซ้ําอีกว่า หนทางที่จะไปนั้นไปทางไหนช่วยบอกให้อาตมาทราบด้วย คนเลี้ยงวัวรู้สึกไม่พอใจจึงกล่าววาจาไม่สุภาพออกไปว่า พระองค์นี้ยุ่งมากไม่รู้จัก กาลเทศะ เห็นจะเป็นสกุลทาสีทาสาเป็นแน่ วาจาที่กล่าวเช่นนี้ก็สําเร็จเป็น วจีกรรมลงแล้ว เพียงแต่ว่าจะมีโอกาสให้ผลก่อน ฉะนั้น อกุศลวจีกรรมจึงยัง ไม่มีโอกาสให้ผล ต่อเมื่อถึงชาติที่ได้เกิดมาเป็นเศรษฐีแล้วตายลงนั้นแหละ
อกุศลวจีกรรมที่เคยด่าพระไว้นั้นจึงมีโอกาสให้ผล ด้วยเหตุนี้เมื่อตายจากเศรษฐี
แล้วจึงได้มาเป็นคนสกุลต่ํา และต้องเป็นทาสเขา
พระเจ้าอังคติ เมื่อฟังอาจารย์คุณะแสดงเรื่องราวจบลง พร้อมทั้งได้ฟัง ประวัติของเสนาบดีอลาตะกับทาสพืชกะแล้ว ก็รู้สึกพอพระทัยและลงความเห็น พ้องด้วย ไม่เห็นประโยชน์ของการทําดี และไม่เห็นโทษของการทําไม่ดี ในเวลา นั้นทิฏฐิคือ ความเห็นผิดได้เข้าปกครองพระเจ้าอังคติเสียแล้ว เมื่อกลับมาถึง พระราชวัง ก็เลิกทําบุญทําทาน และสั่งให้รื้อโรงทานเสีย กิจการงานเมืองต่างๆ ก็มอบภาระให้แก่อํามาตย์ผู้อื่นทําแทนไป พระองค์เองเอาใจใส่แต่ในการเสวย กามคุณต่างๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สุจริตหรือทุจริตก็ตาม ถ้าลงพอพระทัย แล้วเป็นต้องทํา หญิงสาวและไม่สาวในบ้านเมืองของพระองค์ ถ้าหากเป็นที่ถูก พระทัยแล้ว เป็นต้องบังคับให้มาบําเรอความสุขแก่พระองค์จนได้ ทําให้ประชาชนทั้งหลายได้รับความเดือดร้อนยิ่งนัก แม้พระราชธิดาซึ่งเป็นผู้เลื่อมใส ในการทํากุศลรักษาศีลอยู่เสมอ จะได้ทูลให้สติกับพระราชบิดา ขอร้องให้เลิก ประพฤติผิดเสีย โดยยกเหตุผลเรื่องราวต่างๆ มาให้ฟัง แต่พระเจ้าอังคติก็หาได้เชื่อไม่ ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์ที่เป็นพรหมมีนามว่า นารทะ ได้เนรมิตเป็นดาบสลงมา เทศนาโปรด ทรมานด้วยประการต่างๆ แล้ว ผลสุดท้ายพระเจ้าอังคติจึงยอมสละ ทิฏฐปาทานนั้นได้
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาได้แก่ความสนุกสนานยินดีในกามคุณ อารมณ์เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐปาทาน คือความเห็นผิดว่า ทําดีไม่ได้รับผลดี ทําชั่วไม่ได้รับผลชั่ว การแสวงหาความสุขในกามคุณอารมณ์นั้นแหละที่ทําให้ได้รับ ประโยชน์มากที่สุด
๓. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้สีลัพพตุปาทานเกิด
ความต้องการความสุข คือให้พ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏอย่างหนึ่ง หรือมีความต้องการความสุขในเทวโลกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่างนี้ ได้ชื่อว่า ตัณหา เมื่อตัณหาเหล่านี้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมหาหนทางปฏิบัติตนเพื่อ ให้ได้รับความสุขดังที่ตนปรารถนา ในการปฏิบัติตนนี้ ถ้าได้พบกับพวกสัปบุรุษ ที่เป็นบัณฑิต หรือตนเองมีความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นปริยัติศาสนาดีพอแล้ว การปฏิบัตินั้นก็ดําเนินไปด้วยดีไม่ผิดแนวทางที่บัณฑิตทั้งหลายประพฤติกัน หากว่าผู้นั้นไม่ได้คบหากับพวกบัณฑิตหรือไม่มีความรู้ในปริยัติศาสนาแล้ว การปฏิบัตินั้นก็จะดําเนินไปในทางที่ผิด โดยหลงเข้าใจว่าเป็นทางที่ถูกซึ่งมีอยู่
๒ ทางด้วยกัน คือปฏิบัติไปในทางทรมานร่างกายของตนให้ได้รับความลําบากต่างๆ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค อย่างหนึ่ง หรือปฏิบัติไปในทางบํารุงบําเรอร่างกาย ของตนให้ได้รับความสุขต่างๆ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค อย่างหนึ่ง การปฏิบัติ ทั้ง ๒ ทางนี้ ก็ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติที่ผิดแนวทางทั้งสิ้น ซึ่งแทนที่จะได้รับผล เป็นความสุขตามที่ตนปรารถนาไว้ กลับให้ผลตรงกันข้าม คือย่อมได้รับความ ทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก
การปฏิบัติในแนวทางอัตตกิลมถานุโยคนี้ ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การทรมานร่างกายโดยอดอาหาร ไม่นอน ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่อาบน้ํา หรือ เผาร่างกาย โดยตากแดดบ้าง ผิงไฟบ้าง แช่ตัวในน้ําบ้าง นอนบนขวากหนาม นอนบนตะปูบ้าง เหล่านี้เป็นต้นก็ดี หรือปฏิบัติตนให้เหมือนโค เหมือนสุนัขก็ดี เหล่านี้เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยคทั้งสิ้น
ในที่นี้ ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน นั้น ได้แก่ การปฏิบัติตนในแนวทาง อัตตกิลมถานุโยค โดยวิธีประพฤติตนให้เหมือนโค เหมือนสุนัข ซึ่งการปฏิบัติตน ชนิดนี้ก็เป็นผลที่เนื่องมาจากตัณหาเป็นเหตุนั้นเอง
ในเรื่องที่ยกขึ้นแสดงไว้ในกุกกุโรวาทสูตรแห่งมัชฌิมปัณณาสก์พระบาลีว่า ยังมีปริพาชก ๒ คนๆ หนึ่งชื่อ ปุณณะ อีกคนหนึ่งชื่อ เสนียะ ทั้งสองคนนี้ ต้องการความสุขในเทวโลก อยากเป็นเทวดาที่มีอํานาจ จึงพากันปฏิบัติตน ประพฤติเหมือนโค เหมือนสุนัข โดยเข้าใจว่าถ้าประพฤติเช่นนี้แล้วจะทําให้ กิเลสต่างๆ ไม่เกิดและอกุศลกรรมเก่าก็หายไปได้ ปุณณะปริพาชกปฏิบัติตน เหมือนสุนัข เสนียะปริพาชกปฏิบัติตนเหมือนโค ปฏิบัติดังนี้อยู่เรื่อยๆ มา ต่อมา ทั้งสองคนนี้เกิดมีความสงสัยในข้อปฏิบัติของตนว่า ข้อปฏิบัติของใครจะดีกว่ากัน โต้เถียงกันตัดสินไม่ถูก ผลสุดท้ายพากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลเล่าเรื่อง ให้ฟัง แล้วทูลถามกันว่า ข้อปฏิบัติที่ข้าพเจ้าทั้งสองประพฤติอยู่นี้ มีอานิสงส์ อย่างไรบ้าง ปฏิบัติตนเหมือนสุนัขดีกว่าปฏิบัติเหมือนโค หรือว่าปฏิบัติเหมือน โคดีกว่าปฏิบัติเหมือนสุนัข และข้าพเจ้าทั้ง ๒ เมื่อตายจากชาตินี้ไปแล้วจะไป เกิดที่ไหน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงฟังแล้ว พระองค์ก็ทรงห้ามปริพาชก ทั้ง ๒ ว่า อย่าถามเช่นนี้เลย ทรงห้ามเช่นนี้ถึง ๓ ครั้ง แต่ปริพาชกทั้ง ๒ ก็ ไม่ยอมนิ่ง ยังคงทูลถามซ้ําอยู่อีกเป็นคํารบที่ ๔ พระพุทธองค์จึงทรงกล่าวขึ้นว่า “ดูกร ปริพาชก ผู้ที่ปฏิบัติตนเหมือนสุนัขทุกสิ่งทุกอย่างนั้น เมื่อตายแล้วก็จะ ไปเกิดเป็นสุนัขแน่นอน และผู้ที่ปฏิบัติตนเหมือนโคทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเวลาตาย แล้วก็จะไปเกิดเป็นโคแน่นอนเช่นเดียวกัน และหากว่าผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้นมีความเข้าใจว่า การปฏิบัติของตนนั้นจะเป็นเหตุให้ได้รับผลให้ไปเกิดในเทวโลกเป็น เทวดาที่มีอํานาจอย่างนี้แล้ว ก็จัดว่าความเห็นชนิดนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฉะนั้น เมื่อ เวลาตายจะต้องไปเสวยทุกข์ในนรกเสียก่อน เมื่อพ้นจากนรกแล้ว จึงมาเกิดเป็น สัตว์เดียรัจฉานอีกทีหนึ่ง” เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจบลงแล้ว ปริพาชก ทั้ง ๒ ก็ร้องไห้ขึ้นทันที ด้วยรู้สึกเสียใจที่ตนได้หลงประพฤติผิดไปเป็นเวลาช้านาน ต่อจากนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดงธรรมเทศนาให้ปริพาชกทั้ง ๒ ฟัง เมื่อทรงแสดงจบแล้ว ปุณณะปริพาชกก็กล่าวคําถึงซึ่งไตรสรณาคมน์เป็น ที่พึ่งที่ระลึก สลัดทิ้งลัทธิเก่า เข้าเป็นพุทธศาสนิกชนนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา ส่วนเสนียะปริพาชกนั้นก็ขอบรรพชาในพระพุทธศาสนาและได้บําเพ็ญวิปัสสนา
กรรมฐาน ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมา
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาได้แก่ความต้องการให้ได้รับความสุขใน ชาติหน้า เป็นเหตุให้เกิดสีลัพพตุปาทาน คือปฏิบัติผิดจากแนวทาง ดังที่ได้ แสดงมานี้
๔. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้อัตตวาทุปาทานเกิด
ตามธรรมดาคนเราที่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้ สัมผัสได้นั้น จะต้องประกอบด้วยเหตุด้วยปัจจัยตามสมควร เช่น การเห็น คือ จักขุทวารวิถีจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยมีเหตุมีปัจจัยตามสมควร คือ
๑. จะต้องมีจักขุปสาท คือ มีตาดี
๒. จะต้องมีรูปารมณ์ คือ มีสีต่างๆ
๓. จะต้องมีอาโลกะ คือ แสงสว่าง
๔. จะต้องมีมนสิการ คือ ความตั้งใจ
เมื่อครบปัจจัย ๔ อย่างนี้แล้ว จักขุทวารวิถีก็เกิดขึ้น และต่อมาก็จะต้อง มีมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นอีก ๔ วิถี คือ
วิถีที่ ๑ เป็นวิถีที่รับรูปารมณ์ต่อจากจักขุทวารวิถี ชื่อว่า อตีตักกหนวิถี
วิถีที่ ๒ เป็นวิถีที่รับรูปารมณ์ต่อจากอดีตักคหนวิถี ชื่อว่า สมุหักคหนวิถี
วิถีที่ ๓ เป็นวิถีที่รู้รูปร่างสัณฐานของรูปารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า อัตถักกหนวิถี
วิถีที่ ๔ เป็นวิถีที่รู้ชื่อของรูปารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า นามัคคหนวิถี
เมื่อมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นครบ ๔ อย่างนี้แล้ว ผู้ที่เห็นนั้นก็รู้ได้ทันทีว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ การได้ยินเป็นต้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้
ที่ได้อธิบายมานี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไปอยู่ในโลกนี้ นอกจากรูปกับนามแล้ว ก็ไม่มีอะไรอื่นอีก และในการเห็นดังกล่าวแล้วนั้น ผู้เห็นก็มิใช่อื่นไกล รูปกับนามนั้นเองเป็นผู้เห็น คือจักขุปสาท กับ จักขุทวารวิถี และหทัยวัตถุ กับ มโนทวารวิถี ทั้ง ๒ นี้เท่านั้น เป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น เป็นสภาพ อนัตตะแท้ๆ ไม่ใช่เป็นอัตตะ คือไม่ใช่เราเห็น คนนั้นเห็น คนนี้เห็น
หรือในอิริยาบถต่างๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน และการเคลื่อนไหวใน อิริยาบถย่อยต่างๆ ที่จะสําเร็จกิจลงได้นั้น ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน เช่น ในการเดินที่จะสําเร็จลงได้นั้น ต้องมีปัจจัย ๔ อย่าง คือ
๑. จะต้องมีการตั้งใจที่จะเดิน
๒. จะต้องมีจิตสั่ง
๓. จะต้องมีจิตตชวาโยธาตุเกิดขึ้น
๔. จะต้องมีขาดี
เมื่อครบ ๔ อย่างนี้แล้ว การเดินก็สําเร็จลงได้ และผู้ที่กําลังเดินอยู่นั้น เมื่อว่าตามสภาวะแล้ว ผู้เดิน ได้แก่ จิต เจตสิก เป็นผู้มีความตั้งใจที่จะเดิน และ เป็นผู้สั่ง จิตตชวาโยธาตุที่อยู่ในร่างกายนั้นเป็นผู้กระตุ้น ปถวีธาตุ คือร่างกาย เป็นผู้เดินและสมมติกันว่า เราเดิน นาย ก. เดิน นาย ข. เดิน ดังนี้เป็นต้น ซึ่ง ความจริงนั้นเราหรือสัตว์บุคคล ที่สามารถเดินไปได้นั้นไม่มี มีแต่รูปกับนามทั้งสิ้น ในอิริยาบถอื่นๆ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้
แม้ว่า การเห็น การได้ยิน เป็นต้นเหล่านี้ จะเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่มี บุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นผู้จัดแจงก็จริง แต่ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อมีการเห็น การได้ยินเกิดขึ้นแล้ว ถ้าอารมณ์ที่เห็นที่ได้ยินเป็นต้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ดีก็เกิด ความชอบใจพอใจขึ้น เรียกว่าโลภะหรือตัณหาเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น ถ้าอารมณ์ที่ เห็นทีได้ยินเป็นต้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี ก็เกิดความไม่ชอบใจขึ้น เรียกว่า โทสะเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น แต่อารมณ์ที่เป็นเหตุให้โทสะเกิดขึ้น ไม่สามารถที่จะยึดจิตใจของสัตว์ทั้งหลายให้มีอุปาทานเกิดขึ้นได้ ส่วนอารมณ์ที่เป็นเหตุให้โลภะเกิดขึ้นนั้น ย่อมมีอํานาจที่ผูกจิตใจสัตว์ทั้งหลายให้เกิดอุปาทานยึดมั่นขึ้นได้ กล่าวคือเมื่อได้เห็น หรือได้ยินอารมณ์ที่เป็นที่ชอบใจพอใจบ่อยๆ ครั้งเข้าแล้ว ก็ทําให้จิตใจของผู้นั้น ยึดอารมณ์ๆ นั้นไว้ไม่ยอมปล่อย การยึดอารมณ์ไว้โดย ไม่ยอมปล่อยเช่นนี้ เรียกว่าเป็นอุปาทาน และในเวลาเดียวกันนั้น ผู้นั้นก็เข้าใจผิด ในรูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นในขณะเห็น ขณะได้ยินเป็นต้นนั้นว่า เราเห็น เราได้ยิน เราคิด เราพูด เรากิน เรานั่ง เรานอน เราเดิน ดังนี้เป็นต้น เช่นนี้จัดเป็นอัตตวา ทุปาทานเกิดขึ้นเพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุ ดังมีเรื่องที่เป็นตัวอย่าง คือ
ในเมืองเวสาลีมีนิครนถ์ชื่อว่า สัจจกะ อัคคิเวสสนโคตร สัจจกนิครนถ์ ผู้นี้ได้เอาแผ่นเหล็กมาคาดไว้ที่ท้องติดตัวอยู่เสมอ เพราะมีความเห็นว่าตนเป็น ผู้มีปัญญามาก ถ้าไม่เอาแผ่นเหล็กมาคาดเพื่อรักษาปัญญาไว้แล้ว ท้องของตนนั้น จะต้องแตกออกเป็นแน่ สัจจกนิครนถ์ผู้นี้ประกาศตนว่า “ไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใด อาจารย์หนึ่งอาจารย์ใดก็ตาม ถ้ามาโต้วาทีกับเราแล้ว ผู้นั้นจะต้องมีอาการสะดุ้ง ตกประหม่า ตัวสั่น เหงื่อไหลไปทั้งนั้น อย่าว่าแต่คนเลย แม้แต่ท่อนไม้ ถ้า เรากล่าววาจาออกไปแล้ว ท่อนไม้นั้นก็จะต้องเกิดอาการสั่นเช่นเดียวกัน” สัจจกนิครนถ์ประกาศเช่นนี้อยู่เสมอๆ ซึ่งความจริงในเวลานั้น ผู้ที่ตั้งตัวเป็น อาจารย์ต่างๆ ก็ไม่สามารถจะโต้ตอบวาทะกับสัจจกนิครนถ์ได้จริงๆ เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้จึงทําให้สัจจกนิครนถ์มีความหยิ่งทะนงตัวมากขึ้น
ต่อมาวันหนึ่ง สัจจกนิครนถ์ได้ยินว่า พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมเทศนาว่า สัตว์ทั้งหลายนี้ล้วนแต่เป็นรูปนามขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น และ มีความเกิดดับอยู่เสมอ ฉะนั้น จึงเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกขะ ไม่คงทนอยู่ได้ เป็นอนัตตะ หาตัวตนผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายอย่าเข้าใจผิดใน ร่างกายของตนว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นหญิง เป็นชาย เมื่อสัจจกนิครนถ์ได้ยินข่าวดังนี้แล้ว ก็นึกอยากจะไปเฝ้าและโต้คารมกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงชวนพวก กษัตริย์ลิจฉวี ๕๐๐ องค์ให้ไปด้วยกัน และพูดอวดต่อกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้นว่า ขอให้พวกท่านคอยดู เราจะกระทําให้พระสมณโคดมหวั่นไหวสะดุ้งกลัวต่อวาทะของเราให้เหมือนแพะที่ถูกจับคอเขย่าฉะนั้น แล้วสัจจกนิครนถ์พร้อมด้วย กษัตริย์ลิจฉวี ๕๐๐ องค์ ก็พากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลขออนุญาตแล้ว สัจจนิครนถ์ก็ทูลถามขึ้นว่า “ข้าแต่พระสมณโคดม ท่านอบรมสาวกของท่านด้วย ธรรมอันใด” พระพุทธองค์จึงทรงตอบว่า “เราอบรมสาวกของเราด้วยธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕ ที่ปรากฏเป็นสัตว์ทั้งหลายนั้น ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ได้อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใคร ไม่ใช่ตัวตน เรา เขา ดังนี้”
สัจจกนิครนถ์จึงพูดขึ้นว่า “ข้าแต่พระสมณโคดม ธรรมดาพืชผลไม้ต่างๆ ที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยแผ่นดินฉันใด สัตว์ทั้งหลายอาศัยขันธ์ ๕ แล้ว ก็ย่อมได้เสวยความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทํากุศลบ้าง อกุศลบ้าง แสวงหาความสุข ในมรรคบ้าง ผลบ้าง และในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น อัตตาตัวตนก็ยังคงปรากฏอยู่ ฉะนั้น ในการที่ท่านสมณโคดมกล่าวว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นั้นจะถูกได้ อย่างไร”
พระพุทธองค์จึงทรงตอบว่า “ในการที่ท่านกล่าวเช่นนี้ หมายความว่า ท่านมีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ นั้น เป็นตัวตนของเรา ดังนี้ใช่ไหม” สัจจกะทูลตอบ ว่า “ความเห็นชนิดนี้มิใช่เป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว แม้พวกที่นั่งอยู่ ณ ที่นี้ก็มีความ เห็นดังนี้ด้วยเหมือนกัน” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ท่านไม่ต้องยกเอาผู้อื่นเข้ามา อ้างด้วย ตถาคตอยากทราบความเห็นของท่านคนเดียว” สัจจกะทูลตอบว่า “จริง ข้าพเจ้ามีความเห็นเช่นนั้น” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เมื่อท่านมีความเห็นเช่นนั้น ตถาคตอยากถามว่า ธรรมดาผู้ที่เป็นกษัตริย์นั้น มีอํานาจเป็นอิสระภายใน ประเทศของตนว่า ผู้ที่ควรกด ก็กดได้ ผู้ที่ควรยกย่อง ก็ยกย่องได้ ผู้ที่ควรฆ่า ก็ฆ่าได้ ผู้ที่ควรไล่ ก็ไม่ได้ ดังนี้หรือ” สัจจกะทูลตอบว่า “ถูกแล้ว” พระพุทธองค์ จึงตรัสว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านยอมรับได้หรือไม่ว่า ท่านมีอิสระในร่างกายของท่าน ท่านสามารถบังคับให้รูปร่างที่ไม่สวย หรือบังคับไม่ให้ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ให้มีรูปร่างผิวพรรณเหมือนกับคนหนุ่มๆ อายุ ๑๖ ดังนี้จะได้หรือไม่”
สัจจกะ เมื่อได้ยินคําถามของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้ ก็อึ้ง คิดในใจว่า “ถ้าเราตอบว่า สามารถบังคับร่างกายให้เป็นไปตามความพอใจของ เราได้แล้ว พวกกษัตริย์ลิจฉวีก็จะพากันขอร้องให้เราบังคับร่างกายของเราที่ไม่สวย ให้กลับสวยงามขึ้น เราก็จะตกอยู่ในฐานะที่ลําบากแน่ๆ แต่ถ้าเราจะตอบว่า ไม่สามารถจะบังคับให้ร่างกายของเราเป็นไปตามความปรารถนาได้ เช่นนี้แล้ว ก็จะเป็นการรับรองคําพูดของพระสมณโคดมที่ว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” และ พระสมณโคดมก็จะชนะเราเป็นแน่ สัจจกะคิดไปคิดมาแล้วก็พูดไม่ออก จึงนิ่งเฉยอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเตือนว่า “ทําไมท่านจึงนิ่งเสีย ขอให้แก้วาทะของ ตถาคต” สัจจกะก็ยังคงนิ่งอยู่พูดไม่ออก
ในเวลานั้นท้าวสักกะเทวราชก็เนรมิตกายเป็นยักษ์ มือถือกระบองเหล็ก เข้ามาที่สัจจกะ เสื้อกระบองขึ้นทําท่าจะตี แล้วกล่าวว่า “สัจจกะ พระตถาคตทรง ถามท่าน ทําไมท่านจึงนิ่งเสียไม่ตอบ ถ้าท่านไม่ตอบ เราจะตีท่านด้วยกระบองนี้ ให้ศีรษะของท่านแตกออกเป็น ๗ เสี่ยงเดี๋ยวนี้” เวลาที่พระอินทร์เนรมิตเป็น ยักษ์เข้ามาพูดกับสัจจกะนั้น คนอื่นๆ ณ ที่นั้นไม่มีใครแลเห็น มีแต่พระสัมมา สัมพุทธเจ้ากับสัจจกะเท่านั้นที่แลเห็น เมื่อสัจจกะเห็นดังนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถ นิ่งเฉยอยู่ได้ ตอบว่า “ข้าพเจ้ายอมแก้วาทะของพระตถาคตเดี๋ยวนี้” พระสัมมา สัมพุทธเจ้าจึงทรงถามขึ้นอีกว่า “สัจจกะ รูปของท่านที่ท่านเป็นอิสระอยู่นั้นไม่สวย ไม่งาม ท่านจะบังคับให้สวยงามเหมือนกับรูปของพวกกษัตริย์ลิจฉวีนั้นจะเป็น ไปได้หรือไม่” สัจจกะทูลตอบว่า “จะบังคับให้เป็นไปดังนั้นไม่ได้” พระสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสว่า “สัจจกะท่านจงระวังคําแก้ของท่านให้ดี คําพูดของท่าน ตอนต้นกับตอนปลายไม่ตรงกัน” แล้วทรงถามอีกว่า “นามขันธ์ของท่านที่เป็น อิสระอยู่นั้น ท่านจะบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปตามความปรารถนาของท่านได้ หรือไม่” สัจจกะทูลว่า “นามขันธ์ของข้าพเจ้าก็ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตาม ความพอใจได้เช่นเดียวกัน” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า “มีผู้หนึ่งกําลังได้รับความลําบากกาย ลําบากใจอยู่ แต่ผู้นี้เห็นว่า ความลําบากนี้เป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ความลําบากนั้นจะหายไปได้หรือไม่” สัจจกะทูลตอบว่า “ไม่ได้” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า “ขันธ์ ๕ ที่เป็นทุกข์อยู่นั้น ท่านกําลังยึดถือเอาว่า เป็นตัว เป็นเรา เป็นเขา ดังนี้มิใช่หรือ” สัจจกะทูลตอบว่า “ใช่แล้ว ข้าพเจ้ายึดถือเช่นนั้น” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า “บุคคลที่ แสวงหาแก่นไม้ แต่ไปตัดต้นกล้วยผ่าออก เพื่อจะหาแก่น หาเท่าไรก็ไม่พบ เพราะต้นกล้วยนั้น เป็นต้นไม้ที่หาสาระมิได้อยู่แล้ว ผลสุดท้ายก็เลยไม่ได้อะไร ที่เป็นแก่นสาร ข้อนี้ฉันใด วาทะของท่านก็เป็นฉันนั้น เวลาที่ท่านกล่าวแต่ผู้เดียว ก็รู้สึกคล้ายกับว่า รูปนามขันธ์ ๕ นี้ มีตัวตนเป็นแก่นสาร แต่เมื่อผู้ที่มีความ รู้ความเข้าใจในขันธ์ ๕ ดีพอ มีตถาคตเป็นต้น ถามไปถามมาแล้ว ก็แลเห็นได้ว่า วาทะของท่านไม่มีอะไรเป็นแก่นเป็นสารได้เลย และตามที่ท่านได้เคยกล่าวว่า ไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่มาโต้วาทะกับท่านนั้น จะต้องมีอาการสะดุ้งสะเทือน ตกประหม่า เหงื่อไหลไปทั้งสิ้นนั้น บัดนี้ตถาคตเป็นผู้ได้โต้วาทะกับท่าน แต่ตถาคตก็ไม่เห็น รู้สึกเป็นอย่างไร เหงื่อก็ไม่ไหล ท่านเองนั้นแหละเป็นผู้เหงื่อไหล” สัจจกะก็ไม่ อาจจะพูดโต้แย้งอย่างไรได้ นั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ณ ที่นั้น ในที่สุดสัจจกนิครนถ์ ก็ได้ทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวก ให้ไปฉันอาหารที่สํานัก
ของตนในวันรุ่งขึ้น
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาเป็นเหตุให้อัตตวาทุปาทานเกิด ดังเช่น สัจจกนิครนถ์ผู้มีความพอใจในขันธ์ ๕ ของตน เป็นเหตุให้เกิดความเห็นผิดใน ขันธ์ ๕ ของตน เป็นอัตตวาทุปาทาน ดังที่ได้แสดงมานี้
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
๑. ตัณหาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กามุปาทาน ที่เกิดหลังๆ นั้น ได้ปัจจัย ๑ คือ ปกติปนิสสยปัจจัย
๒. ตัณหาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นได้ปัจจัย ๗ คือ
๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย ๓. อัญญมัญญปัจจัย ๔. สหชาตนิสสยปัจจัย ๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖. สหชาตัตถุปัจจัย ๗. สหชาตอวิคตปัจจัย
๓. ตัณหาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทาน ๓ (เว้น กามุปาทาน) ที่เกิดหลังๆ นั้น ได้ปัจจัย ๑ คือ ปกติปนิสสยปัจจัย
จบ ตณฺหาปจฺจยา อุปาทาน
๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว สมฺภวติ
ภวะ ย่อมปรากฏเกิดขึ้นเพราะอาศัย อุปาทาน เป็นเหตุ
อุปาทาน ที่เป็นเหตุให้เกิดภวะ ได้แก่ อุปาทาน ๔ มีกามุปาทาน เป็นต้น ดังที่ได้แสดงมาแล้วนั้นเอง
ภวะ มี ๒ อย่าง คือ
๑. กัมมภวะ การปรุงแต่งที่ทําให้ผลเกิดขึ้น ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ โลกียกุศลเจตนา ๑๗ รวมเจตนา ๒๙
๒. อุปปัตติภวะ ผลที่เกิดขึ้นในภพนั้นๆ โดยอาศัย กัมมภวะ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
เมื่อว่าโดยปุคคลาธิษฐานแล้ว กัมมภวะ ได้แก่การกระทําด้วย กาย วาจา ใจ ในสิ่งที่ดีและไม่ดีของบุคคลทั่วไป (ยกเว้นพระอรหันต์)
อุปปัตติภวะ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน ๓๑ ภูมิ พร้อมทั้งการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส การนอนหลับ
จําแนกกัมมภวะโดยทวาร
กัมมภวะนี้ เมื่อจําาแนกโดยทวารแล้ว มี ๓ คือ
๑. กัมมวภะที่เกิดทางกาย ชื่อว่า กายกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘
๒. กัมมภวะที่เกิดทางวาจา ชื่อว่า วจีกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘
๓. กัมมภวะที่เกิดทางใจ ชื่อว่า มโนกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ มหัคคตกุศลกรรม ๙
อุปปัตติภวะ มี ๙ อย่าง คือ
ว่าโดยภูมิ
๑. กามภาะ ได้แก่ กามวิปากจิต ๒๓ เจตสิก ๓๓ กัมมชรูป ๒๐
๒. รูปภวะ ได้แก่ รูปวิปากจิต ๕ จักขุวิญญาณ ๒ โสตวิญญาณ ๒ สัมปฏิจฉนจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๑๕
๓. อรูปภวะ ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ เจตสิก ๓๐
ว่าโดยจิต
๔. สัญญีภวะ โลกียวิบากจิต ๓๑ (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนวิปาก) เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
๕. อสัญญีภวะ ได้แก่ ชีวิตนวกกลาป
๖. เนวสัญญีนาสัญญีภวะ ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต ๑ เจตสิก ๓๐
ว่าโดยขันธ์
๗. เอกโวการภวะ ได้แก่ ชีวิตนวกกลาป
๘. จตุโวการภวะ ได้แก่ อรูปวิปากจิต ๔ เจตสิก ๓๐
๙. ปัญจโวการภวะ ได้แก่ กามวิปากจิต ๒๓ รูปวิปากจิต ๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
แสดงอุปปัตติภวะ ๙ โดยปุคคลาธิษฐาน
๑. กามภวะ ได้แก่ อบายสัตว์มีดิรัจฉานเป็นต้น มนุษย์ เทวดา
๒. รูปภวะ ได้แก่ รูปพรหมทั้งหลาย
๓. อรูปภวะ ได้แก่ อรูปพรหมทั้งหลาย
๔. สัญญีภวะ ได้แก่ อบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม)
๕. อสัญญีภวะ ได้แก่ อสัญญสัตตพรหม
๖. เนวสัญญีนาสัญญีภวะ ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
๗. เอกโวการภวะ ได้แก่ อสัญญสัตตพรหม
๘. จตุโวการภวะ ได้แก่ อรูปพรหม
๙. ปัญจโวการภวะ ได้แก่ อบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม
กัมมภวะและอุปปัตติภวะทั้ง ๒ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ปรากฏเกิดขึ้นได้ ก็เพราะอาศัยอุปาทานทั้ง ๔ เป็นเหตุ และภวะทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันได้ กล่าวคือ
ถ้ากล่าวถึงกาลที่เป็นอนาคตแล้ว กัมมภวะเป็นเหตุ อุปปัตติภวะเป็นผล หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายซึ่งเป็นอุปปัตติภวะนั้น จะปรากฏขึ้นได้ก็เพราะอาศัย การกระทําต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นอกุศลกัมมภวะ และโลกยกุศลกัมมภวะ เป็นเหตุ นี้จัดเป็นชนกเหตุ
แสดงความแตกต่างกันระหว่างสังขารกับกัมมภวะ
สังขารที่เป็นผลของอวิชชา (อวิชชาปัจจยา สงฺขารา) และกัมมภวะที่ เป็นผลของอุปาทาน (อุปาทานปจฺจยา ภโว) ทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่ เจตนา ๒๙ ที่ในอกุศลจิต ๑๒ และโลกียกุศลจิต ๑๗ เหมือนกัน แต่ที่ แตกต่างกันนั้น คือ
ในนัยอัทธา ๓ เจตนา ๒๙ ที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ซึ่งเป็นเหตุให้ อุปาทานขันธ์เกิดขึ้นในภพนี้ ชื่อว่า สังขาร ดังมีบาลีแสดงว่า อวิชชา สงฺขารา อตโต อทธา
เจตนา ๒๙ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพ ซึ่งเป็นเหตุให้อุปาทานขันธ์เกิดขึ้น ในภพหน้า ชื่อว่า กัมมภวะ ดังมีบาลีแสดงว่า มชเฌ อฏฺฐ ปจฺจุปนฺโน อทฺธา
สําหรับการแสดงในอาการ ๒๐ คือ ประเภท ๒๐ นั้น ความเป็นไป ของสังขารและกัมมภวะทั้ง ๒ นี้ ไม่ต่างกันโดยกาล กล่าวคือ ในอดีตเหตุ ๕ นั้น สังขารและกัมมภวะก็เข้าร่วมอยู่ในธรรมที่เป็นอดีตเหตุด้วยเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ จึงรู้ได้ว่าความต่างกันระหว่างสังขารกับกัมมภวะที่ว่าโดยกาลจึงไม่มีในที่นี้ แต่ความแตกต่างกันนั้น มีดังนี้ คือ
ปุพพเจตนา ที่เกิดก่อนการกระทํากุศล อกุศล ชื่อว่า สังขาร
มุญจเจตนา ที่เกิดขึ้นขณะกําลังกระทํากุศล อกุศล ชื่อว่า กัมมภวะ หรืออีกนัยหนึ่ง ในกุศล อกุศลชวนะ ๗ ครั้งนั้น
กุศล อกุศล เจตนา ที่เกิดขึ้นในชวนะดวงที่ ๑ ถึงดวงที่ ๖ ชื่อว่า สังขาร
กุศล อกุศล เจตนา ที่เกิดขึ้นในชวนะดวงที่ ๗ ชื่อว่า กัมมภวะ หรืออีกนัยหนึ่ง
จิต เจตสิก ที่เกิดพร้อมกันกับ กุศล อกุศล เจตนา ชื่อว่า สังขาร
กุศล อกุศล เจตนาเจตสิก ชื่อว่า กัมมภวะ
ดังมีบาลีแสดงว่า
สงฺขารา ปุรเจตนา ภโว ตุ มุญจสตฺตมา
สพฺพา วา เจตนา ภโว สงฺขารา สมฺปยุตฺตกา ฯ
ปุพพเจตนาก็ดี เจตนาที่ประกอบกับชวนะก่อน ๆ ๖ ครั้งก็ดี ชื่อว่า สังขาร
มุญจนเจตนาก็ดี เจตนาที่ประกอบกับชวนะดวงที่ ๗ ชื่อว่า กัมมภวะ หรือ อกุศลและโลกียกุศลเจตนาทั้งหมด ชื่อว่า กัมมภวะ
จิตเจตสิกที่ประกอบกับกุศล อกุศล เจตนา เหล่านี้ ชื่อว่า สังขาร หรืออีกนัยหนึ่ง
สังขาร ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนาเจตสิกอย่างเดียว
กัมมภวะ ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนา พร้อมด้วยนามขันธ์ ๔ ที่เหลือ หรืออีกนัยหนึ่ง
สังขาร ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนา ๒๙ ที่เป็นเหตุของโลกีย วิปากวิญญาณที่เป็นปฏิสนธิและปวัตติอย่างเดียว
กัมมภวะ ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนา ๒๙ ที่เป็นเหตุของโลกียวิปาก วิญญาณที่เป็นปฏิสนธิ ปวัตติ และอสัญญีภพ
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท อุปาทานปจฺจยา ภโว
๑. กามุปาทาน เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมภวะ ที่ประกอบกับ ตนนั้นได้อํานาจปัจจัย ๗ คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาติปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาต ปัจจัย
๗. สหชาตอวิคตปัจจัย
๒. ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ทั้ง ๓ นี้เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่กัมมภวะ ที่ประกอบกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๗ คือ
๑. สหชาติปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. มัคคปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาต ปัจจัย
๗. สหชาตอวิคตปัจจัย
๓. อุปาทานทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมภวะ ที่เกิดขึ้นติดต่อกันกับตนโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นัตถิปัจจัย
๖. วิคตปัจจัย
๔. อุปาทานทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมภวะและอุปปัตติภวะ ที่ไม่ได้เกิดพร้อมกันกับตน หมายความว่า ตามธรรมดาผู้ที่ไม่มีอุปาทานแล้วนั้น การกระทําของบุคคลนั้นไม่เป็นกุศลอกุศลกัมมภวะ และเมื่อตายจากโลกนี้แล้ว อุปปัตติภวะคือการเกิดเป็นสัตว์น้อยใหญ่ก็ย่อมไม่มี แต่การกระทําของสัตว์ ทั้งหลายที่สําเร็จเป็นกุศลอกุศลกัมมภวะก็ดี และเมื่อตายจากโลกนี้แล้ว ไปเป็น สัตว์น้อยใหญ่อันเป็นอุปปัตติภวะก็ดี เหล่านี้ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจอุปาทาน อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่แล้วในสันดานของตนนั้นเองเป็นปัจจัย ฉะนั้น ในการ ช่วยอุปการะของอุปาทานทั้ง ๔ แก่ภวะทั้ง ๒ นี้ ย่อมได้อํานาจปกตูปนิสสยปัจจัยอย่างเดียว
๕. ในขณะที่กุศลอกุศลกัมมภวะเกิดขึ้นโดยมีอุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์อย่างสามัญ ขณะนั้นอุปาทานทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่กุศลอกุศลกัมมภวะนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ อารัมมณปัจจัย
๖. ในขณะที่กุศลอกุศลกัมมภวะเกิดขึ้นโดยมีอุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์อย่างเอาใจใส่เป็นพิเศษ ขณะที่อุปาทานทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็น ปัจจัยช่วยอุปาการะแก่กุศลอกุศลกัมมภวะนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๓ คือ
๑. อารัมมณปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
จบ อุปาทานปจฺจยา ภโว
๑๐. ภวปจจยา ชาติ สมุภวติ
ความเกิดขึ้นแห่งโลกียวิปากจิต เจตสิก และกัมมชรูป ปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยกัมมภวะเป็นเหตุ
ภวะที่เป็นปัจจัยของชาติที่เอาแต่กัมมภวะ ก็เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิบาก และกัมมชรูปอันเป็นตัวชาตินั้น จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยอกุศลกรรมและ โลกยกุศลกรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ภวะในบท “ภวปจฺจยา ชาติ” จึงได้แก่ กัมมภวะอย่างเดียว
ชาติ คือการเกิดขึ้นครั้งแรกของโลกียวิบากและกัมมชรูป ซึ่งเป็น อุปปัตติภวะใน ๓๑ ภูมิ โดยมีขันธ์ ๑ บ้าง ขันธ์ ๔ บ้าง ขันธ์ ๕ บ้าง ตังแสดงวจนัตถะว่า
“ชมนํ = ชาติ” การเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ชื่อว่า ชาติ
อีกนัยหนึ่ง
“ชายนฺติ ปาตุภวนฺติ ธมฺมา เอตายาติ = ชาติ”
สังขารธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏเกิดขึ้น โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการปรากฏเกิดขึ้นของสังขารธรรมนั้น ชื่อว่า ชาติ
ชาติ ว่าโดยธรรมาธิฏฐาน มี ๒ อย่าง คือ
๑. นามชาติ การเกิดขึ้นของวิบากนามขันธ์ ๔
๒. รูปชาติ การเกิดขึ้นของกัมมชรูป
ว่าโดยกาล มี ๓ คือ
๑. ปฏิสนธิชาติ
๒. สันตติชาติ
๓. ขณิกชาติ
ในชาติ ๓ อย่างนี้ การเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่ตายจากภพเก่า ชื่อว่า ปฏิสนธิชาติ และเมื่อว่าโดยธรรมาธิฏฐานแล้ว ก็ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓-๗-๔ ที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล
ต่อจากปฏิสนธิกาลแล้ว นามธรรมและรูปธรรมที่เกิดใหม่ๆ ติดต่อกัน ไม่ขาดสายตลอดวัน ตลอดเดือน ตลอดปี จนกระทั่งตลอดชีวิต ชื่อว่า สันตติชาติ ว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ การสืบต่อกันของจิต เจตสิก รูปทั้งหมด
การเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ ของดวงจิตหนึ่งๆ และการเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ ของ รูปกลาปอันหนึ่งๆ ชื่อว่า ขณิกชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นขณะหนึ่งของจิต เจตสิก รูปทั้งหมด
คําว่า “ชาติ” ในบท “ภวปจฺจยา ชาติ” นี้ มุ่งหมายเอาปฏิสนธิชาติเท่านั้น ปฏิสนธิชาติ นี้ เมื่อว่าโดยกําเนิดมี ๔ คือ
๑. ชลาพุชชาติ การเกิดขึ้นในมดลูก
๒. อัณฑชชาติ การเกิดขึ้นในฟอง
๓. สั่งเสทชชาติ การเกิดขึ้นในที่ที่มียาง
๔. โอปปาติกชาติ การเกิดผดโตขึ้นทันที
ว่าโดยขันธ์ มี ๓ คือ
๑. ปัญจโวการชาติ การเกิดขึ้นของขันธ์ ๕
๒. จตุโวการชาติ การเกิดขึ้นของนามขันธ์ ๔
๓. เอกโวการชาติ การเกิดขึ้นของรูปขันธ์อย่างเดียว
ชาติ คือการเกิดขึ้นของสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ โดยประการต่างๆ มี พวกอบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เหล่านี้ ก็โดยเนื่องมาจากกัมมภวะ คือการกระทําด้วยกาย วาจา ใจ ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง นั้นเอง ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง นอกจากกุศลกรรม อกุศลกรรมเท่านั้น สมดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า
“กมุม สตฺเต วิภชติ ยทท์ หีนปุปณีตตาย” กรรมย่อมจําแนกสัตว์ทั้งหลายให้มีสภาพเลวและประณีต
และพระมหาพุทธโฆษาจารย์ ก็ได้แสดงไว้ว่า
ตุลุโยปิ พหิ เหตุมหิ ยมกานํ ปยตุลุยตา
น จาญฺโญ กมฺมโต ตสฺมา เญยฺโย โส ชาติปจฺจโย ฯ
แปลเป็นใจความว่า แม้จะมีสายโลหิตและอาหาร ซึ่งเป็นเหตุภายนอก อันเดียวกัน แต่ทารกฝาแฝดนั้นก็ยังมีสิ่งต่างกันให้เห็นได้ กล่าวคือคนหนึ่งเป็นชาย คนหนึ่งเป็นหญิงก็มี รูปร่างสัณฐานผิดเพี้ยนกันก็มี ปัญญาต่างกันก็มี ข้อนี้แสดง ให้เห็นว่า นอกจากกุศลอกุศลกัมมภวะแล้ว ก็ไม่มีเหตุอื่นใดอีกที่จัดแจงใน การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลาย พึงทราบกัมมภวะนี้เป็นปัจจัยของชาติ
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ภวปจฺจยา ชาติ
กัมมภวะเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ชาตินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๒ คือ
๑. ปกตูปนิสสยปัจจัย
๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย
จบ ภวปจจยา ชาติ
๑๑. ชาติปัจจยา ชรามรณ์ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ชรา มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๗ นี้ ปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยชาติเป็นเหตุ
ชรา ที่เป็นผลของชาตินี้ ได้แก่ ความแก่ของโลกียวิบาก และกัมมชรูป คือเมื่อวิบากและกัมมชรูปเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นชาติแล้ว ย่อมมีขณะที่ตั้งอยู่เรียกว่า ฐิติ และฐิติขณะ ของโลกียวิบากและกัมมชรูปนี้แหละชื่อว่า ชรา ดังมีวจนัตถะว่า
“ชิรณ์ = ชรา”
ความเก่าแก่ของวิบากนามขันธ์ ๔ และนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรา
มรณะที่เป็นผลของชาตินี้ได้แก่ อาการที่กําลังดับของโลกียวิบาก และ กัมมชรูปที่เรียกว่า ภังคักขณะ ดังมีวจนัตถะว่า
“มรียเต - มรณ์”
ความตาย คืออาการที่กําลังดับของโลกียวิบากและกัมมชรูป ชื่อว่า มรณะ
องค์ธรรมของชราและมรณะตามที่ได้กล่าวมานี้ เหมือนกับองค์ธรรม ของชาติที่เป็นดังนี้ก็เพราะชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๓ นี้ สงเคราะห์เข้าในวิปากวัฏ ดังในบาลีที่แสดงไว้ในตอนต้นว่า “อุปปัตติภวสงฺขาโต ภูเวกเทโส อวเสสา จ วิปากวฏฐ์” ซึ่งแปลว่า ภวะ ส่วนหนึ่ง คืออุปปัตติภวะ และวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะที่เหลือเหล่านี้ เป็นวิปากวัฏ
ในชราและมรณะ ๒ อย่างนั้น มรณะเป็นอย่างไร? ความจุติ ความ เคลื่อนไป ความแตกทําลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทํากาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จาก หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด อันนั้นเรียกว่า มรณะ
ฉะนั้น คําว่า ชรา และมรณะในปฏิจจสมุปบาทนี้ จะหมายเอาความแก่ และความตายของสัตว์ทั้งหลาย ที่สมมติกันอยู่ในโลกนี้ก็ได้ คือต่อจากชาติความ เกิดขึ้นเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงตาย ชื่อว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ของโลกียวิบาก และ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป
ในขณะที่สัตว์ทั้งหลายตายนั้น ชื่อว่า มรณะ ได้แก่ ความตายของ โลกียวิบากและกัมมชรูป จิตตชรูป อาหารชรูป
ดังแสดงวจนัตถะว่า
“ชีรนุติ ชิณณภาวํ คจฺฉนฺติ เอตายาติ = ชรา"
สังขารธรรมทั้งหลายย่อมเข้าถึงความแก่โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเข้าถึงความแก่ของสังขารธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ชรา
“มรนฺติ สตฺตา เอเตนาติ = มรณ์”
สัตว์ทั้งหลายย่อมตายโดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็น เหตุแห่งการตายของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า มรณะ
ชรา มี ๙ อย่าง คือ
๑. วโยวุทธิชรา
๒. สันตติ รา
๓. ขณิกชรา
๔. ปากฏชรา
๕. ปฏิจฉันนชรา
๖. อวีจิชรา
๗. สวีจิชรา
๘. ปรมัตถชรา
๙. บัญญัตติชรา
๑. วโยวุทธิชรา ได้แก่ ความชราที่เกิดขึ้นตามลําดับโดยมีอาการปรากฏต่างๆ เช่น ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว เส้นเอ็นปรากฏ หลังโกง เป็นต้น
๒. สันตติชรา ได้แก่ ความแก่ของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันเรื่อ ร้อยๆ ไม่ขาดสาย จนถึงตาย อุปมาเหมือนคนที่เป็นไข้ ใน ขณะที่ไข้กําลังขึ้นนั้น เปรียบได้กับสันตติชาติ เมื่อ ไข้ค่อยๆ ลดลง เปรียบได้กับสันตติชรา
๓. ขณิกชรา ได้แก่ ฐิติขณะของรูปและนามที่ปรากฏเกิดขึ้นสืบต่อกัน โดยอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ที่เป็นขณะเล็ก
๔. ปากฏชรา ได้แก่ ความชราที่ปรากฏชัด ได้แก่ วโยวุทธิชรานั้นเอง
๕. ปฏิจฉันนชรา คือ ความชราที่ปกปิดไม่สามารถมองเห็นได้ ได้แก่ ความชราของนามธรรม
๖. อวีจิชรา คือความชราที่ไม่มีทางให้รู้ได้ ได้แก่ ความเสื่อมของแก้ว หิน พระอาทิตย์ พระจันทร์ เด็ก หญิงสาว ชายหนุ่ม เป็นต้น
๗. สวีจิชรา คือ ความแก่ที่มีทางให้รู้ได้ ได้แก่ ความเสื่อมของรถ บ้าน สถานที่ต่างๆ วัตถุสิ่งของต่างๆ และคนแก่ สัตว์แก่ ต้นไม้แก่ เป็นต้น
๘. ปรมัตถชรา ได้แก่ ฐิติขณะของรูปและนาม เหมือนขณิกชรา
๙. บัญญัตติชรา ได้แก่ ความชราต่างๆ ที่นอกจากขณิกชรา
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คําว่า ชรา มุ่งหมายเอา วโยวุทธิชรา ปากฏชรา และชราทั้ง ๒ นี้ เป็นชราที่เกี่ยวกับรูปธรรมเท่านั้น ในนามธรรมไม่มีชราชนิดนี้
ธรรมดาอายุของรูปธรรมรูปหนึ่งๆ นั้น มีอายุเทียบเท่ากับอายุของจิต ๑๒ ดวง ไม่ยิ่งหย่อนกว่านี้ ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยสภาวะปรมัตถ์แล้ว รูปนั้นแก่ รูปนี้อ่อน ไม่มีเลย แต่เราเห็นว่า ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว เป็นต้นนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราสมมติกันว่า “แก่” นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ เมื่อยกเว้น ขณิกชรา ปฏิจฉันนชรา ปรมัตถชรา เสียแล้ว ชรานอกนั้นก็เป็นบัญญัติชราทั้งสิ้น
อนึ่ง ชรา นี้ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ เพราะเป็นธรรมารมณ์ ที่เห็นว่า ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้นนั้น ก็ไม่ใช่ตัวชรา เป็นผลที่เกิดจากอํานาจของชราอีก ทีหนึ่ง แต่คนทั้งหลายที่ได้เห็น ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้นแล้ว ก็รู้ว่า คนนั้น คนนี้ ชราแล้ว
ถ้าจะถามว่า ทําไมชรา มีผมหงอก ฟันหัก เป็นต้น จึงปรากฏแก่คน มีอายุมากๆ แล้ว ส่วนเด็กๆ และคนหนุ่มคนสาวนั้น ไม่ปรากฏ คล้ายๆ กับว่า ความชรานี้มีอยู่เฉพาะในคนแก่เท่านั้น เด็ก หนุ่ม สาวไม่มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร? ข้อนี้แก้ว่า ธรรมดาชรานั้น ย่อมมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็น เด็กหรือหนุ่มสาว หรือคนแก่ก็ตาม และชรานี้มีหน้าที่ทําให้รูปธรรมเข้าถึงความ แก่ด้วยกันทั้งสิ้น เด็กๆ ที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้นก็ด้วยอํานาจชรา คนหนุ่มคนสาวที่ค่อยๆ ก้าวขึ้น นไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่จนกระทั่งแก่นั้น ก็ด้วยอํานาจชราเช่นเดียวกัน เพราะความแก่นี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ แก่ขึ้น เรียกว่า อภิกกมชรา อย่างหนึ่ง และแก่ลง เรียกว่า ปฏิกกชรา อย่างหนึ่ง สําหรับชรา ที่อยู่ในเด็ก ตั้งแต่วัย มันททสกะ จนถึง พลทสกะนั้น เป็นอภิกกมชรา คือชรา ที่แก่ขึ้น ด้วยเหตุนี้แหละ เด็กๆ จึงค่อยๆ เติบโตขึ้นเป็นลําดับ จนกระทั่งสุดเขต อภิกกมชรา ต่อจากนั้นก็ค่อยๆ แก่ลงเป็นลําดับ ปรากฏอาการผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว เป็นต้น จนกระทั่งตาย เรียกว่า ปฏิกกมชรา และที่เป็นเช่นนี้ก็ เพราะอํานาจแห่งชิรณเตโช มีเผาผลาญรูปธรรมให้มีอาการเสื่อมโทรมลงเป็น ลําดับนั่นเอง
อนึ่ง อาการที่ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว เป็นต้น อันเป็น วโยวุทธิชราเหล่านี้ ย่อมไม่มีแก่พวกเทวดาและพรหมทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะพวก เทวดาและพรหมเหล่านั้นมีกัมมชรูป เป็นรากฐานแน่นหนากว่าอุตุชรูป และ อาหารชรูป ส่วนพวกมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายมีกัมมชรูปเกิดน้อยกว่า อุตุชรูปและอาหารชรูป ฉะนั้น จึงมีวโยวุทธิชราปรากฏมาก
มรณะ มี ๙ อย่าง คือ
๑. สมมุติมรณะ ได้แก่ ความตายของสัตว์ทั้งหลายที่สมมติเรียกกันว่า นาย ก. ตาย นาย ข. ตาย ต้นไม้ตาย ปรอทตาย เป็นต้น
๒. สัตตมรณะ ได้แก่ การสืบต่อกันของรูปนาม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็น ระยะๆ ไม่ตั้งคงที่ เช่น รูปที่เกิดขึ้นในเวลาไม่สบาย และเมื่อหายแล้ว รูปไม่สบายนั้นก็ดับไป รูปสบาย เกิดขึ้นใหม่และเมื่อมีความเสียใจ กลุ้มใจเกิดขึ้น ต่อมามีความดีใจเกิดขึ้น ความเสียใจ กลุ้มใจนั้น ก็หายไป ดังนี้เป็นต้น
๓. ขณิกมรณะได้แก่ ความดับไปของรูปและนาม ทุกๆ ภังคะขณะ
๔. สมุจเฉทมรณะ ได้แก่ ปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลายที่ไม่มีการเกิดต่อไป
๕. ชาติกขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่สุดสิ้นภพในภพหนึ่งๆ
๖. อุปักกมมรณะ ได้แก่ การกําหนดอายุก็ยังไม่สิ้น กรรมก็ยังไม่สิ้น แต่ถึงความตาย โดยอาศัยความพยายามของตัวเอง หรือ ของคนอื่นด้วยอํานาจอุปัจเฉทกกรรม
๗. สรสมรณะได้แก่ ความตายที่ถึงกําหนดอายุและกรรม
๘. อายุกขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่ถึงกําหนดอายุ แม้ว่ายังไม่สิ้นกรรมก็ตาม
๙. ปุญญักขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่ถึงกําหนดของบุญและกรรม แม้ว่ายังไม่สิ้นอายุก็ตาม
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คําว่า มรณะ มุ่งหมายเอา สัมมุติมรณะ ชาติกขย มรณะ อุปักกมมรณะ สรสมรณะ อายุกขยมรณะ ปุญญักขยมรณะเท่านั้น และ ตั้งแต่ชาติกขยมรณะจนถึงปุญญักขยมรณะ ทั้ง ๕ อย่างนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็เข้าอยู่ในสัมมุติมรณะนั่นเอง
ชราและมรณะ ดังกล่าวมานี้เป็นสภาพที่เป็นอนิฏฐะคือ เป็นสิ่งที่น่ากลัว ไม่น่าปรารถนา แต่ทุกๆ คนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องประสบด้วยกันทั้งนั้น ไม่มี หนทางที่จะหนีให้พ้นเลยในภพนี้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีชาติ คือความเกิดนั้นเอง เป็นต้นเหตุ ถ้าผู้ใดมีความกลัวชรา มรณะ ผู้นั้นก็จําเป็นจะต้องหาหนทางทําลาย ชาติเสียจึงจะพ้นไปได้ และวิธีที่จะทําลายชาตินี้ก็มีอยู่ในเฉพาะศาสนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ได้แก่ การทําลายกัมมภวะให้สิ้นสุดลง พยายาม ทําให้กาย วาจา ใจ ของตนให้เข้าถึงความเป็นกิริยา คือความเป็นพระอรหันต์นั่นเอง และการกระทําที่จะให้สําเร็จเป็นกิริยาได้ ก็ต้องอยู่ในระหว่างเวลาที่พระพุทธ ศาสนายังตั้งอยู่ เมื่อว่างจากพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นอันหมดหนทางจะทําได้ ก็แต่อกุศลกรรมและโลกียกุศลกรรม อันเป็นการกระทําที่ให้สําเร็จเป็นกุศลนั้น ทําได้ง่าย และมีโอกาสมาก คือกระทําได้ทั้งในเวลาที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่ และในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนาแล้ว แต่การกระทําที่ให้กุศลหมดสิ้นไปนั้น ทําได้ยาก และมีโอกาสจํากัด คือทําได้เฉพาะในเวลาที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่เท่านั้น ท่านอุปมาเปรียบเทียบการสร้างกุศลนี้ เหมือนกับคนไข้ที่กินยาขม ซึ่งตามปกติ แล้วยาขมย่อมไม่มีผู้ใดอยากกิน แต่ที่คนไข้ต้องพยายามกินก็เพราะต้องการให้ หายจากโรค ข้อนี้ฉันใด โลกยกุศลเหล่านี้ก็เปรียบเหมือนยาขม ผู้ที่ต้องการพ้น จากกิเลสก็ต้องพยายามสร้างโลกียกุศลให้เกิดขึ้น เพื่อตั้งต้นทําลายกิเลสเป็นลําดับไป จนกระทั่งได้สําเร็จถึงพระอรหันต์ ทําลายกิเลสหมดสิ้น ซึ่งเปรียบเหมือนคนไข้ ที่ต้องการหายขาดจากโรค พยายามกินยาขมนั้นเรื่อยๆ ไป จนกระทั่งโรคหาย เมื่อโรคต่างๆ หายแล้วก็ไม่จําเป็นต้องกินยาขมอีกต่อไป ดังเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้กล่าวกับเทวบุตรมาร ในขณะที่พระองค์กําลังทรงปฏิบัติ ทุกรกิริยาอยู่ โดยมีมารเทวบุตร ได้มาทูลว่า ขอให้พระองค์จงพยายามทําตนให้เป็นผู้ที่มีอายุยืน จะได้มีเวลาสร้างกุศล มีการรักษาศีล บูชาไฟ เป็นต้น ถ้ามาอยู่ ในป่าและปฏิบัติเช่นนี้ก็จะไม่มีประโยชน์อย่างใด พระองค์จึงทรงตอบพระยามารว่า
อนุมตฺโตปิ ปุญฺเญน อตฺโถ มยุห์ น วิชชติ
เยสญฺจ อตฺโถ ปุญฺเญน เต มาโร วตตมโหติ ฯ
แปลเป็นใจความว่า ดูก่อนพระยามาร ความพอใจในสภาพที่เป็นกุศลไม่มีแก่เราแม้แต่น้อย ผู้มีปัญญาน้อยเท่านั้นที่มีความพอใจในความเป็นกุศล ฉะนั้น ท่านควรพูดดังนี้กับบุคคลที่ยังมีความยินดีในกุศลเถิด
อนึ่งในสัจจวิภังค์อรรถกถา พระมหาพุทธโฆษาจารย์ แสดงอุปมา เปรียบเทียบ ชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๓ นี้เหมือนกับชาย ๓ คน ที่ร่วมมือกัน ทําการล่อลวงศัตรูไปฆ่า ชายคนที่ ๑ รับหน้าที่เป็นผู้ชักนําศัตรูให้เข้าไปสู่ในป่า โดยการกล่าวสรรเสริญความสวยงามตามธรรมชาติของป่านั้นให้ฟัง ทําให้เกิด ความอยากไปชม แล้วก็ยอมตัวไปกับชายผู้นั้น เมื่อเข้าไปสู่ในบริเวณป่านั้นแล้ว ชายคนที่ ๒ ก็ทําหน้าที่เป็นผู้เบียดเบียนทําร้ายศัตรูนั้นให้ได้รับบาดเจ็บหมดกําลังลง แล้วชายคนที ๓ ก็ทําหน้าที่ประหาร โดยเอามีดฟันคอศัตรูนั้นถึงแก่ความตาย ข้อนี้ฉันใด ชายคนที่ ๑ เปรียบได้กับชาติ คือเป็นผู้นําให้สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นใน ภพนั้นๆ เหมือนกับถูกนําให้เข้าไปสู่ในป่า ชายคนที่ ๒ เปรียบได้กับชรา คือ เบียดเบียนขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายให้ค่อยๆ แก่ลงตามลําดับ ซึ่งเหมือนกับถูก ศัตรูลอบทําร้ายให้หมดกําลังลง ชายคนที่ ๓ เปรียบได้กับมรณะ ที่ทําให้ขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายแตกดับลงในภพหนึ่งๆ ซึ่งเหมือนกับถูกศัตรูเอามีดประหารให้ตายลงฉันนั้น
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
ชรา มรณะ ที่แสดงตามอภิธรรมภาชนียนัยนั้น ไม่มีปัจจัยสงเคราะห์ เพราะชราก็ได้แก่ฐิติขณะของรูปและนาม และมรณะก็ได้แก่ทั้งคักขณะของรูปและนามเช่นเดียวกัน ส่วนชรามรณะที่แสดงตามสุตตันตภาชนียนัยนั้นมีปัจจัย สงเคราะห์ได้ คือ
ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ชรา มรณะ นั้นได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
วจนัตถะของ โสกะ
“โสจน์ - โสโก"
ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ซึ่งเกิดจากพยสนะ ๕ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง
“โสจนฺติ จิตตปริฬาห์ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ - โลโก
สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความเศร้าโศกเข้าถึงความเดือดร้อน โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าโศกเดือดร้อนของสัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒
ตามธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่มีความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้น ก็ได้แก่สภาพ ของโลกะนั่นเอง และ โสกะจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยมีเหตุที่ทําให้เกิด เหตุนั้นก็ คือ พยสนะ ๕ อย่าง ได้แก่
๑. ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง ลูกหลาน สามี ภรรยา มิตร ล้มหายตายจากไป
๒. โภคพยสนะ ความพินาศแห่งทรัพย์สมบัติ ตําแหน่ง ยศ เช่น ถูกอัคคีภัย โจรภัย ราชภัย อุทกภัย ถูกถอดจาก ตาแหน่ง ยศ
๓. โรคพยสนะ ความพินาศด้วยโรค หรือถูกโรคภัยเบียดเบียน
๔. ลีลพยสนะ ความพินาศแห่งศีล คือสิกขาบทที่รักษาอยู่ขาดไป
๕. ทิฏฐิพยสนะ ความพินาศแห่งความเห็น คือมีความเห็นผิดเกิดขึ้น ทําให้สูญเสียจากสัมมาทิฏฐิ
วจนัตถะของ ปริเทวะ
“ปริเทวน์ = ปริเทโว”
การร้องไห้รําพัน ชื่อว่า ปริเทวะ
อีกนัยหนึ่ง
“ตํ ตํ ปวตฺตึ ปริกิตตตฺวา เทวนฺติ กนฺทนฺติ เอเตนาติ = ปริเทโว"
สัตว์ทั้งหลายรําพันถึงเรื่องราวต่างๆ แล้วร้องไห้โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการรําพันแล้วร้องไห้ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดขึ้น โดยมีการร้องไห้รําพันเพราะ อาศัยพยสนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเหตุ
วจนัตถะของ ทุกข์
“ทุกจฉิต หุตวา กา ก ข์ ขณตีติ = ทุกข์” (วา) “ทุกฺขมนฺติ = ทุกฺข์”
ธรรมชาติใดเป็นที่น่าเกลียด และทําลายความสุขกาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ทุกข์ (หรือ) สัตว์ทั้งหลายย่อมอดทนได้ยากต่อเวทนาใด ฉะนั้น เวทนานั้น
ชื่อว่า ทุกข์
อีกนัยหนึ่ง
“ขมิตุํ ทุกฺกรนตํ = ทุกขํ”
เวทนาที่อดทนได้ยาก ฉะนั้น ชื่อว่า ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา
ความทุกข์ มี ๙ อย่าง คือ
๑. ทุกขทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์มีสภาพเป็นทุกข์จริงๆ ได้แก่ กายก ทุกขเวทนา และเจตสิกทุกขเวทนา
๒. วิปริณามทุกข์ ได้แก่ กายิกสุขเวทนาและเจตสิกสุขเวทนา เพราะสุขทั้ง ๒ นี้ เป็นเหตุให้ กายกทุกข์และเจสิกทุกข์เกิด โดยอาศัยที่มีความวิปริตแปรปรวน
๓. สังขารทุกข์ ได้แก่ อุเบกขาเวทนา และจิต เจตสิก รูป ที่เว้นจาก ทุกขทุกข์และวิปริณามทุกข์ เพราะเป็นผู้ถูก เบียดเบียน โดยความเกิดดับอยู่เนืองๆ
๔. ปฏิจฉันนทุกข์ หรืออปากฏทุกข์ ได้แก่ ปวดฟัน ปวดหู ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น และความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นเพราะอํานาจ ราคะ โทสะ เป็นต้น เพราะทุกข์ชนิดนี้ จะรู้ได้ก็ต้องอาศัยการสอบถาม และอาการที่ เบียดเบียนนั้นก็ไม่ปรากฏ
๕. อัปปฏิจฉันนทุกข์ หรือปากฏทุกข์ ได้แก่ ความเจ็บปวดที่เกิดจากบาดแผลต่างๆ และความทุกข์กายที่เนื่องมาจากการกระทํา กรรมกรณ์ ๓๒ อย่าง เพราะทุกข์ชนิดนี้รู้ได้ โดยไม่ต้องมีการสอบถาม และอาการที่ เบียดเบียนนั้นก็ปรากฏชัดเจน
๖. ปริยายทุกข์ ได้แก่ วิปริณามทุกข์ สังขารทุกข์ เพราะทุกข์ชนิดนี้ ไม่ใช่เป็นตัวทุกข์โดยตรง เป็นที่เกิดแห่งทุกข์ ต่างๆ อีกแห่งหนึ่ง
๗. นิปปริยายทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ที่เรียกว่า ทุกขทุกข์นั่นเอง
๘. กายิกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดทางกาย มีปวดฟัน ปวดท้อง ปวด ศีรษะ และบาดแผลต่างๆ เป็นต้น
๙. เจตสิกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดทางใจ มีความเสียใจ กลุ้มใจ กลัว โกรธ เป็นต้น
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คําว่า ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกข์
วจนัตถะของ อุปายาส
“ภุโส อายาสน์ = อุปายาโส"
ความลําบากใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาสะ ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดขึ้น โดยอาศัยพยสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
คําว่า อุปายาสะ นี้ เมื่อแยกบทแล้ว ได้แก่ อุป + อายาส อุป อย่างหนัก อายาส = ความลําบาก เมื่อรวมกันแล้ว เรียกว่า อุปายาสะ แปลว่า ความลําาบากใจอย่างหนัก
สภาพของอุปายาสะก็คือ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวง ที่ สืบเนื่องมาจากโสกะ เมื่อโสกะมีกําลังมากขึ้นถึงขั้นปริเทวะ ต่อจากปริเทวะก็ถึง ขั้นอุปายาสะ ซึ่งเป็นยอดแห่งความเศร้าโศก ทําให้ผู้ที่ได้รับนั้นมีจิตใจแห้งผาก ลงทันที ไม่สามารถจะต่อต้านกับความรู้สึกชนิดนี้ได้มีอาการนั่งนิ่ง พูดไม่ได้ ร้องไห้ไม่ออก บางทีถึงกับวิสัญญี หรือกลายเป็นคนเสียสติไป หรืออาจทําลาย ชีวิตตนเองได้ โดยมากมักเกิดกับผู้ที่ได้ประสบกับพยสนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่าง หนึ่งโดยมิได้นึกฝัน เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ตายจากไปโดยปัจจุบัน หรือทรัพย์สมบัติต้องสูญหายล้มละลายไปด้วยอัคคีภัย โจรภัย อุทกภัย ถูกฉ้อโกง เป็นต้น หรือเป็นโรคภัยที่หมดหนทางจะรักษาได้เหล่านี้เป็นต้น ทําให้ผู้นั้นได้ รับความกระทบกระเทือนใจอย่างหนัก สภาพเช่นนี้แหละ ชื่อว่า อุปายาสะ ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหานิทเทสพระบาลีว่า
ตสฺส เจ กามยานสฺส จนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน
เต กามา ปริหายนฺติ สลฺลวิทโธว รูปฺปติ ฯ
แปลเป็นใจความว่า
บุคคลที่ขี่ยานพาหนะอันได้แก่ กามคุณอารมณ์อยู่อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีความรู้สึกติดใจรักใคร่ในกามคุณอารมณ์เหล่านั้น ถ้าวัตถุอารมณ์กามคุณเหล่านั้นต้องสูญเสียไป เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่หลงเพลิดเพลินอยู่นั้น ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนใจ ดิ้นรนกระวนกระวายโดยสภาพแห่ง โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ เหมือนหนึ่งเนื้อที่ถูกธนูล้มลงดิ้นกระเสือกกระสน เมื่อใกล้ จะตายนะนั่น
ความแตกต่างกันระหว่าง โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ
โสกะ ความเศร้าโศก ซึ่งได้แก่ โทมนัสเวทนา ปริเทวะ การร้องไห้ รําพัน ซึ่งได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดจากโทสมูลจิตตุปบาท และอุปายาสะ ความลําบากใจอย่างหนัก หรือความคับแค้นใจ ซึ่งได้แก่ ตัวโทสเจตสิกทั้ง ๓ อย่างนี้ ถ้าจะกล่าวข้อเปรียบเทียบแล้ว ก็เปรียบเหมือนกับน้ํามันในกระทะที่ตั้งอยู่บนเตาไฟ เมื่อถูกความร้อนเผา น้ํามันก็เริ่มร้อนขึ้นเป็นลําดับ เมื่อความร้อนนั้นขึ้นถึง จุดเดือดแล้ว น้ํามันก็เดือดพล่านขึ้น เมื่อเดือดไปนานๆ ความร้อนก็จัดมากขึ้นๆ จนร้อนถึงสุดขีดแล้ว ก็มีควันปรากฏขึ้น ต่อจากนั้นน้ํามันก็ค่อยๆ งวดลง จนกระทั่งแห้งหมดไป ข้อนี้ฉันใด โสกะก็เปรียบได้กับความร้อนของน้ํามันที่ เริ่มร้อนขึ้น ปริเทวะเปรียบได้กับน้ํามันที่กําลังเดือดพล่าน อุปายาสะเปรียบได้ กับน้ํามันที่ร้อนจนสุดขีด แล้วค่อยๆ งวดลงจนแห้ง
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ชาติปจฺจยา โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เหล่านี้ ได้อํานาจปัจจัย ๑ ปัจจัย คือปกตูนิสสยปัจจัย
ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีการเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ในโลกนี้ ก็ได้แก่การหมุนเวียนของเครื่องจักร คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม มีอวิชชาเป็นต้น นั้นเอง แต่สัตว์ทั้งหลาย เป็นส่วนมากหาได้มองเห็นถึงความเป็นไปแห่งชีวิตดังนี้ไม่ มีแต่ความหลงยึดอยู่เพียงแค่สมมติสัจจะ คือคนนั้นตาย คนนี้เกิด เราเห็น เราได้ยิน เป็นต้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะที่แท้จริงแล้ว คนนั้นคนนี้ เรา เขา ชาย หญิง เป็นต้นเหล่านี้ไม่มีเลย มีแต่ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลเกิดขึ้นสืบเนื่องติดต่อกัน ไม่ขาดสาย ซึ่งธรรมเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นกองทุกข์ทั้งสิ้น และความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งปวงที่สมมติกันว่าคนนั้นคนนี้ เรา เขา ชาย หญิง เหล่านี้ก็ไม่มี ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้สร้างขึ้น การเกิดขึ้นของธรรมเหล่านี้ก็เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มี อวิชชาเป็นต้นนั้นเอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า “เอวเมตสุส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ” มีความว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีอวิชชาเป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อพิจารณาดูตามปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าบรรดาสิ่งที่มี ชีวิตทั้งหลาย มีสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เหล่านี้ ปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะ อวิชชานั้นเองเป็นตัวต้นเหตุ ส่วนสังขารเป็นต้นนั้นเกิดเนื่องมาจากอวิชชาอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่เป็นตัวต้นเหตุทีเดียว และถ้าตราบใดอวิชชายังมีอยู่ การเกิดการตายของ สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุดอยู่ตราบนั้น ต่อเมื่อใดได้ทําลายอวิชชาให้สิ้นสุด ลงแล้ว สังขารเป็นต้นก็สิ้นสุดลงไปด้วย หมายความว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นอันยุติลง ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดง ปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนาว่า อวิชชาย เทวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ, สงฺขารนิโรธา วิญญาณนิโรโธ, วิญญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ, นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ, สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ, ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ, เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ, ตัณหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ, อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ, ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ, ชาตินิโรธา ชรามรณโสกปริเทวทุกฺขโท- มนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ
เพราะการดับสูญสิ้นแห่งอวิชชาโดยไม่มีเหลือ ด้วยอํานาจวิชชาที่ชื่อว่า วิราคะ นั่นเอง สังขาร คือกุศลกรรม อกุศลกรรม จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้น แห่งสังขาร วิญญาณ คือวิปากวิญญาณที่ในภพนี้ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้น แห่งวิญญาณ คือกัมมวิญญาณที่ในภพก่อนๆ และวิปากวิญญาณที่ในภพนี้ นามรูป คือเจตสิกและกัมมชรูป จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งนามรูป สฬายตนะ คืออัชฌัตติกายตนะ ๖ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งสฬายตนะ ผัสสะ มี จักขุสัมผัสสะ เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งผัสสะ เวทนา มี จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งเวทนา ตัณหา ๖ หรือ ๑๐๘ มีรูปตัณหา เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งตัณหา อุปาทาน ๔ มีกามุปาทาน เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งอุปาทาน ภวะ คือ กัมมภวะและอุปปัตติภวะ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งภวะ ชาติ คือความ เกิดขึ้นแห่งโลกียวิปากจิต เจตสิก และกัมมชรูป จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งชาติ ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความเศร้าโศก ปริเทวะ การร้องไห้รําพัน ทุกขะ ความทุกข์กาย โทมนัสสะ ความทุกข์ใจ อุปายาสะ ความคับแค้นใจ จึงดับลง ความสูญสิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง ย่อมเป็นไปดังที่ กล่าวมานี้
ในปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนานี้ ข้อสําคัญก็คือ ความดับสูญสิ้น ของอวิชชานั่นเอง ส่วนความดับของสังขารเป็นต้นนั้น เมื่ออวิชชาดับลงแล้ว สังขารเป็นต้นเหล่านี้ก็ย่อมดับลงพร้อมกัน ไม่ใช่ดับไปทีละอย่างตามลําดับ ซึ่ง ต่างกับในอนุโลมเทศนา อุปมาเหมือน ถ้ามีเมล็ดพืชเพาะลงแล้ว ผลคือลําต้นก็ ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีลําต้นแล้ว กิ่งก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีกิ่งแล้ว ก้านก็ปรากฏขึ้น ได้ เมื่อมีก้านและใบแล้ว ดอกก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีดอกแล้ว ลูกก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีลูกแล้ว เมล็ดก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีเมล็ดแล้ว ลําต้นก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมี ลําต้นแล้ว กิ่งก็ปรากฏขึ้นได้ เป็นเหตุเป็นผลกันโดยเฉพาะๆ วนเวียนกันอยู่เรื่อย ไปไม่ขาดสาย เช่นเดียวกันกับการแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมเทศนามี อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น แต่ถ้าเอาเมล็ดพืชนั้นมาเผาทําลายเสียแล้ว ลําต้น ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้ เมื่อลําต้นเกิดไม่ได้แล้ว กิ่งก็เกิดไม่ได้ เมื่อกิ่งเกิดไม่ได้แล้ว ก้าน ใบ ก็เกิดไม่ได้ เมื่อก้าน ใบ เกิดไม่ได้แล้ว ดอกก็เกิดไม่ได้ เมื่อดอกเกิดไม่ได้แล้ว ลูกก็เกิดไม่ได้ เมื่อลูกเกิดไม่ได้แล้ว เมล็ดก็เกิดไม่ได้ เมื่อเมล็ดเกิดไม่ได้แล้ว ลําต้นก็เกิดไม่ได้ แต่ในการแสดงเหตุผลทางฝ่ายการเกิดไม่ได้ ที่กล่าวไปตามลําดับนี้ ก็เป็นแต่เพียงการแสดงโดยโวหารเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงนั้น เมื่อได้ทําลายเมล็ดพืช ให้เสียไปแล้ว ต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ลูก เมล็ด เหล่านี้ ก็เกิดไม่ได้ไปด้วยกัน เช่นเดียวกับการแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนามี อวิชชาย เทวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เป็นต้น
ที่กล่าวว่า ความดับสูญสิ้นแห่งอวิชชานี้ ก็ได้แก่พระนิพพานนั้นเอง แต่ก็ยังเป็น สอุปาทิเสสนิพพาน คือยังมีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ และสอุปาทิเสส นิพพานนี้ต่อไปก็จะเป็น อนุปาทิเสสนิพพาน คือดับวิบากแห่งขันธ์ ๕ โดย ไม่เกิดขึ้นอีก ฉะนั้น ผู้ที่มีความเข้าใจในสภาพของพระนิพพานโดยถูกต้องนั้น จึงมิได้มีทั่วไป โดยมากมักเข้าใจว่าผู้ที่ได้เสวยความสุขในอนุปาทิเสสนิพพาน นั้นยังมีตัวผู้เสวยอยู่ แต่ผู้นั้นก็ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ซึ่งความจริงนั้น อนุปาทิเสสนิพพานนี้ หาได้มีตัวตน เรา เขา อย่างใดไม่ ได้แก่ การดับการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ ๕ อย่างสิ้นเชิง และไม่มีการเกิดขึ้นใหม่อีกนั่นเอง อุปมาเหมือนดวงไฟที่ดับลงฉันใด พระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าสู่อนุปาทิเสส นิพพานก็ฉันนั้น
ในเรื่องพระนิพพานนี้ ท้าวมหาพรหมผู้มีนามว่า พระพรหม เมื่อได้ยิน สภาพความเป็นไปของพระนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ทนนิ่งอยู่ไม่ได้จึงพูดขึ้นว่า ตุจฉกเลว อโหสิ ริตตกเลว อโหสิ นิรตลกญฺเญว อโหสิ “ข้าแต่ท่านโคด......นิพพานของท่านเป็นของเปล่าๆ ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย หาประโยชน์มิได้” เรื่องนี้ผู้แสดงก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ฟังก็มิใช่สามัญชน เป็นถึงท้าวมหาพรหม แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความไม่พอใจในสภาพความสุขของ พระนิพพาน ที่ไม่เกี่ยวกับรูปนามขันธ์ ๕ แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ครู อาจารย์ และธรรมกถึกบางท่าน ผู้ยังไม่มีความเข้าใจดีพอในเรื่องความสุขของพระนิพพาน จึงมีความเห็นว่า ผู้ที่ได้เข้าถึงพระนิพพานนั้น แม้ว่าจะไม่มีรูปนามขันธ์ ๕ แต่ก็ ยังมีสภาพพิเศษที่นอกไปจากรูปนามขันธ์ ๕ เป็นผู้เสวยอยู่ และสภาพพิเศษนี้ ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เป็นความสุขอย่างยิ่ง เมื่อมีความเห็นดังนี้ จึงพยายามชี้แจงแนะนําแก่บรรดาศิษย์ของตน ตลอดจนผู้ที่ สนใจในธรรมทั้งหลายให้เข้าถึง เรื่องพระนิพพานใหม่ที่ตนวาดสร้างขึ้น บุคคลเหล่านั้นได้ฟังแล้วเข้าใจว่าเป็นความจริงดังนั้น ก็พากันหลงเชื่อเข้าใจผิดไปตามๆ กัน
อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงอัธยาศัยจิตใจของบุคคล ๒ จําพวก คือบุคคลที่ ประกอบด้วยเนกขัมมธาตุพวกหนึ่ง กับบุคคลที่ประกอบด้วยตัณหาพวกหนึ่งแล้ว ย่อมมีความรู้สึกในจิตใจต่างกัน กล่าวคือผู้ที่ประกอบด้วยเนกขัมมธาตุนั้น ย่อมมี ความพอใจในความสงบที่ปราศจากกิเลสอารมณ์ต่างๆ ส่วนผู้ที่ประกอบด้วยตัณหา ย่อมพอใจในความสนุกสนานเฮฮา ล้วนแล้วแต่เป็นกิเลสทั้งสิ้น จะยกตัวอย่าง แสดงให้เห็นความแตกต่างกันแห่งจิตใจของบุคคล ๒ พวกนี้ เช่น พระอนาคามี และพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อได้ยินผู้กล่าวว่า ในป่านั้น ถ้ํานั้น เขานั้น เป็นที่ สงบห่างจากหมู่คน มีต้นไม้ร่มรื่น น้ําท่าบริบูรณ์ ดังนี้แล้วก็รู้สึกพอใจต้องการ ไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น และเมื่อได้ไปอยู่แล้ว ก็ไม่อยากกลับมาระคนปนด้วยหมู่อีก ส่วนพวกนักเลงขี้เหล้าเมายาทั้งหลาย เมื่อได้ยินดังนี้ก็รู้สึกไม่มีความพอใจแต่อย่างใด คิดว่าสถานที่เช่นนั้นจะมีความสุขได้อย่างไร มีแต่ความน่ากลัว น่าเบื่อ แต่ถ้ามี คนมาบอกว่า ที่โน่นที่นี่เป็นที่สนุกสนานมาก มีโรงมหรสพครึกครื้น มีร้านรวง ขายสุรา อาหารบริบูรณ์ ดังนี้แล้ว พวกนักเลงขี้เหล้าเมายาเมื่อได้ยิน ก็รู้สึกอยาก ไปสู่ที่นั้นโดยเร็วที่สุด และเมื่อได้ไปอยู่ที่นั้นแล้ว ก็เพลิดเพลินไม่อยากกลับ ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ เมื่อได้ยินดังนี้ ก็รู้สึกสังเวชสลดใจ ไม่เกิด ความยินดีแม้แต่น้อย ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะในจิตตสันดานของพระอนาคามีและ พระอรหันต์นั้นมีเนกขัมมธาตุปกครองอยู่ เมื่อฟังถึงเรื่องความสุขแล้ว ก็ฟังด้วย เนกขัมมธาตุ ถ้าเรื่องความสุขนั้นไม่เกี่ยวกับตัณหา เป็นความสุขที่สงบก็ยินดีฟัง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัณหาแล้วก็ไม่ยินดีฟัง รู้สึกเบื่อและมองเห็นโทษ ส่วน พวกนักเลงขี้เหล้าเมายานั้นตรงกันข้าม ชอบฟังแต่เรื่องความสุขที่เกี่ยวกับตัณหา ราคะเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องความสุขที่สงบห่างไกลจากตัณหาแล้ว ก็ไม่ยินดีฟัง
สําหรับพระนิพพานนั้นเป็นสุญญตธาตุ ที่สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ อย่างยอดเยี่ยม ฉะนั้น ผู้ที่จะฟังเรื่องพระนิพพานต้องฟังด้วยเนกขัมมธาตุ จึงจะ มองเห็นความสุข ถ้าฟังด้วยตัณหาก็ย่อมไม่เห็นความสุข กลับเห็นไปว่าเป็นสิ่งที่ หาสาระไม่ได้ เหมือนกับความเห็นของพกะพรหมฉันนั้น
นัยแห่งการเทศนา
การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสังยุตตนิกายนั้น มีประเภทแห่งการแสดงเป็น ๔ นัย
๑. แสดงจากต้นไปถึงปลาย คือตั้งแต่อวิชชาไปตามลําดับจนถึงชรามรณะ เป็นที่สุด เรียกว่า อาทิปริโยสานอนุโลมเทศนา
๒. แสดงจากกลางไปถึงปลาย คือตั้งแต่เวทนาไปตามลําดับจนถึงชรามรณะ เป็นที่สุด เรียกว่า มัชฌปริโยสานอนุโลมเทศนา
๓. แสดงจากปลายไปถึงต้น คือตั้งแต่ชรามรณะถอยหลังไปตามลําดับจนถึง อวิชชาเป็นที่สุด เรียกว่า ปริโยสานอาทิปฏิโลมเทศนา เช่น ชาติปัจจยา ชรามรณ์, ภวปจฺจยา ชาติ ฯลฯ อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา
๔. แสดงจากกลางไปถึงต้น คือตั้งแต่ตัณหาถอยหลังไปตามลําดับจนถึง อวิชชาเป็นที่สุด เรียกว่า มัชฌอาทิปฏิโลมเทศนา เช่น อิเม จ ภิกฺขเว จตฺตาโร อาหารา กีนิทานา กีสมุทยา กีชาติกา กีปภวา? อิเม จตฺตาโร อาหารา ตณฺหานิทานา คณฺหาสมุทยา ตณฺหาชาติกา ตณฺหาปภวา, ตณฺหา กีนิทานา กีสมุทยา กีชาติกา ปภวา? เวทนานิทานา เวทนาสมุทยา เวทนาชาติกา เวทนาปภวา ฯลฯ สงฺขารา กีนิทานา กีสมุทยา กีชาติกา เปภวา อวิชชานิทานา อวิชชาสมุทยา อวิชชาชาติกา อวิชชาปภวา แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?
แก้ว่า อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นมูล มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหา เป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นต้นเหตุ
ตัณหานี้ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?
แก้ว่า ตัณหานี้มีเวทนาเป็นมูล มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด มีเวทนาเป็นต้นเหตุ
สังขารนี้ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?
แก้ว่า สังขารนี้มีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นเหตุ ให้เกิด มีอวิชชาเป็นต้นเหตุ ดังนี้เรียกว่า มัชฌอาทิปฏิโลมเทศนา
สรุปความว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้เป็นสมันตภัททกธรรม คือเป็น ธรรมที่มีความดีอย่างสมบูรณ์ เพราะไม่ว่าจะแสดงโดยนัยอย่างใดก็ตาม ผู้ฟัง แล้วย่อมได้สําเร็จประโยชน์คือได้กําหนดรู้ทุกขสัจ ประหาณสมุทยสัจ เห็นแจ้ง นิโรธสัจ เจริญมรรคสัจ แล้วเข้าถึงพระนิพพานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง พระตถาคตเจ้าผู้แสดงก็เป็นเทสนาวิลาสปัตตบุคคล คือเป็นผู้ที่มีความสามารถ ปรับปรุงการแสดงนั้นให้สวยงามเหมาะสมได้
สมุฏฐานของอวิชชา
ถ้ามีคําถามๆ ขึ้นว่า เมื่อสังขารทั้ง ๓ ที่เป็นบุญเป็นบาปเกิดขึ้น โดยอาศัยอวิชชาเป็นเหตุ จนกระทั่งถึงชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เกิดขึ้นโดยอาศัยชาติเป็นเหตุแล้ว ก็อะไรเล่าเป็นเหตุให้อวิชชาเกิด? ดังนี้ เพื่อจะกล่าวถึงสมุฏฐานของอวิชชา พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงต่อไปว่า
ชรามรณมจฺฉาย ปีฬิตามมภิณหโส
อาสวานํ สมุปปาทา อวิชฺชา จ ปวตฺตติ ฯ
ซึ่งแปลว่า อวิชชาเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะธรรมที่ ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกเบียดเบียนด้วยความแก่ ความตาย และธรรมที่ เป็นเหตุแห่งความหลง คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ อยู่เนืองๆ นั่นเอง
คําว่า “มุจฉา” แปลว่า หลง แต่ในที่นี้มุ่งหมายเอาธรรมที่เป็นเหตุให้หลง ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น
อธิบายว่า สมุฏฐานของอวิชชาก็ได้แก่อาสวะ ทั้ง ๔ มีกามาสวะ เป็นต้น หมายความว่า ในปฏิจจสมุปบาทพระบาลีนี้ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๕ นี้ ทรงแสดงไว้สุดท้าย เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว โสกะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๓ นี้ เป็นโทมนัสสะ และโทสเจตสิก ดังนั้น เมื่อผู้ใดมีความ เศร้าโศก เสียใจ คับแค้นใจเกิดขึ้นแล้ว โมหะก็ย่อมเกิดร่วมอยู่ด้วย และปริเทวะ การร้องไห้รําพันนี้ ก็เกิดเนื่องมาจากโทรจิตตุปบาท ฉะนั้น เมื่อขณะร้องไห้รําพัน โมหะก็เกิดร่วมอยู่ด้วยแล้ว ส่วนทุกข์กายก็เป็นเหตุให้ความเสียใจ ไม่พอใจเกิดขึ้นได้ และขณะที่ความเสียใจไม่พอใจเกิดขึ้น โมหะก็เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะนั้นเอง ดังนั้น โมหะที่เกิดพร้อมกับโสกะ ปริเทวะ โทมนัสสะ อุปายาสะ และที่เกิดภายหลัง จากทุกข์กายนั้นเอง เรียกว่า อวิชชา สมดังที่ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์แสดง ไว้ในปฏิจจสมุปบาทวิภังคอรรถกถาว่า “เอตฺถ หิ โสกทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา อวิชชาย อวิโยคิโน ปริเทโว จ นามมูฬหสสาติ เตสุ ดาว สิทฺเธสุ โหติ อวิชชา”
แปลว่า ในความเป็นไปของภวจักร โสกะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เหล่านี้ ย่อมประกอบกับอวิชชาอยู่เสมอ แยกจากกันไม่ได้ และปริเทวะก็ย่อม เกิดขึ้นแก่ผู้ที่มีความหลง ฉะนั้น เมื่อโสกะเป็นต้นเกิดขึ้นสําเร็จแล้ว อวิชชา ก็ย่อมเกิดสําเร็จไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้สมุฏฐานของโสกะเป็นต้นนั้นแหละ เป็น สมุฏฐานของอวิชชา
แม้ในปฏิจจสมุปบาทแสดงไว้แล้วว่า “ชาติปจฺจยา โสกปริเทว ทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ” โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะชาติเป็นเหตุก็จริง แต่ชาตินี้ไม่ใช่เป็นเหตุใกล้ของโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น เป็นแต่เหตุไกลและเป็นมูลเหตุ คือความเศร้าโศก เป็นต้น ที่เกิดขึ้นนั้นจะเว้นเสียจากชาติไม่ได้ ส่วนธรรมที่เป็นเหตุใกล้นั้นก็คืออาสวะ ทั้ง ๔ นั้นเอง เหมือนเช่นสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมานี้ ก็ต้องอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือเหตุไกลและเหตุใกล้ เรียกว่ามูลเหตุและมูลเหตุก็ได้ เหตุไกลนั้นได้แก่ อกุศลกรรม และโลกยกุศลกรรม ที่ได้ทํามาในภพก่อน เหตุใกล้นั้นได้แก่ บิดา มารดา ฉะนั้นที่ว่าชาติเป็นเหตุไกล อาสวะเป็นเหตุใกล้ของโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ก็เป็นไปโดยนัยเดียวกันนี้ ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ใน ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ว่า “อาสวสมุทยา เจเต โสกาทโย โหนฺติ” โสกะเป็นต้น เหล่านี้เกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นของอาสวะ ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจได้ว่า อาสวะ ทั้ง ๔ เหล่านี้ ก็สําเร็จเป็นสมุฏฐานของอวิชชาไปด้วย ดังที่สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ว่า “อาสวสมุทยา อวิชชาสมุทโย” การเกิดขึ้นแห่งอวิชชานั้น เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะเป็นเหตุ ฉะนั้น ตามที่พระอนุรุทธาจารย์กล่าว ว่า “อาสวาน สมุปปาทา อวิชชา จ ปวตฺตติ” นั้นก็เป็นการถูกต้องและ พระมหาพุทธโฆษาจารย์ก็ได้แสดงไว้ชัดเจนในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า “อิติ ยสฺมา อาสวสมุทยา เอเต ธมฺมา โหนติ ตสฺมา เอเต สิชฌมานา อวิชชาย เหตุภูเต อาสเว สาเธนฺติ อาเวส จ สุทเธ ปจจัยภาเว ภาวโต สิทธา โหติ" แปลความว่า โสกะเป็นต้น เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นของอาสวะโดยนัยดังที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้น เมื่อโสกะเป็นต้นเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมทําให้ รู้ถึงอาสวะที่เป็นเหตุแห่งอวิชชาสําเร็จไปด้วย และเมื่ออาสวะทั้งหลายเกิดขึ้น สําเร็จแล้ว อวิชชาก็ย่อมเกิดสําเร็จไปด้วย เพราะเมื่อมีเหตุคืออาสวะเกิดขึ้นแล้ว ผลคืออวิชชาก็ต้องเกิดด้วย
สมุฏฐานของอาสวะ
ถ้ามีคําถามๆ ต่อไปอีกว่า เมื่ออาสวะเหล่านี้เป็นเหตุของอวิชชาแล้ว อะไรเล่าเป็นเหตุของอาสวะ?
แก้ว่า อาสวะเหล่านี้สงเคราะห์เข้าอยู่ในตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ตาม สมควร ฉะนั้น ธรรมที่เป็นเหตุให้ ตัณหา อุปาทาน กุศลอกุศลกัมมภวะเกิดขึ้น นั่นแหละ ย่อมกล่าวได้ว่าเป็นเหตุของอาสวะ
แสดงเหตุที่ยกเอาอวิชชาขึ้นตั้งไว้เป็นเหตุอันดับแรก ในปฏิจจสมุปบาท
เมื่ออวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะแล้ว ทําไมจึงยก เอาอวิชชาขึ้นตั้งไว้เป็นเหตุแรก?
ในความเป็นไปของรูปนาม ที่หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ อวิชชานี้ เป็นตัวสําคัญชื่อว่า วัฏฏศีรษะ ซึ่งเหมือนกับศีรษะของคนทั้งหลาย ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงยกอวิชชาขึ้นแสดงเป็นเหตุอันแรก
อธิบายว่า ในปฏิจจสมุปบาทธรรม อวิชชาและตัณหาทั้ง ๒ นี้ เป็น ตัวสําคัญยิ่ง ซึ่งเหมือนศีรษะของคนทั้งหลาย และในการสร้างสังขารต่างๆ มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น สําเร็จลงได้นั้น ก็เพราะอาศัยความยินดีพอใจในอารมณ์ คือตัณหาเป็นเหตุ ตัณหาคือความยินดีพอใจในอารมณ์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย อวิชชาเป็นผู้ปกปิด ไม่ให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง ถ้าไม่มีอวิชชาเป็นผู้ปกปิดความจริงแล้ว ตัณหาก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อตัณหาไม่เกิดแล้ว การ กระทําต่างๆ ของคนทั้งหลายก็ไม่สําเร็จเป็นสังขาร ฉะนั้น อวิชชาและตัณหาธรรม ๒ อย่างนี้ อวิชชาเป็นตัวสําคัญมากกว่าตัณหา ด้วยเหตุนี้แหละพระพุทธองค์จึง ได้ทรงยกเอาอวิชชาขึ้นตั้งไว้ เป็นเหตุอันดับแรก ไม่ใช่หมายเอาว่า อวิชชาเกิด ก่อนธรรมอื่นๆ ในการหมุนเวียนแห่งปฏิจจสมุปบาท
ในการแสดงคาถาบทสุดท้ายที่ว่า “วฏฺฏมาพันธมิจฺเจว” เป็นต้น จนถึง “ปฏฐเปส มหามุนี” นั้น คาถาบทนี้มีความหมายว่า ความเป็นอยู่ของ สัตว์ทั้งหลายที่หมุนเวียนติดต่อกัน คือเกิดขึ้น เป็นอยู่ ตาย เมื่อตายแล้วก็เกิดขึ้น เป็นอยู่ ตาย อีกดังนี้เรื่อยไปไม่ขาดสาย เหล่านี้ เมื่อว่าโดยธรรมาธิฏฐานก็ล้วน แล้วแต่เป็นการเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งสิ้น กล่าวคือเมื่อมีอวิชชาแล้ว ก็เป็นเหตุให้สังขารเกิดขึ้นโดยเฉพาะเท่านั้น หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิง มนุษย์ เทวดา เกิดขึ้นไม่ เป็นต้น และเมื่อมีชาติแล้วก็เป็นเหตุให้ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เกิดขึ้น หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิง มนุษย์ เทวดา เกิดขึ้นไม่ และเมื่อมีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้นแล้ว ก็เป็นเหตุให้ อวิชชาเกิดขึ้น หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิง มนุษย์ เทวดา เกิดขึ้นไม่ ความ เป็นไปได้ดังนี้ย่อมได้ชื่อว่า วัฏฏสงสาร เพราะมีความผูกพันกันอยู่ไม่ขาดสาย อย่างหนึ่ง ย่อมเป็นไปอยู่ในภูมิทั้ง ๓ อย่างหนึ่ง และหาเบื้องต้นมิได้อย่างหนึ่ง ด้วยเหตุนี้แหละ สมเด็จพระจอมมุนีจึงตรัสว่าเป็นปฏิจจสมุปบาท
อนึ่ง ที่กล่าวว่าหาเบื้องต้นไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกล่าวใน ท่ามกลางภิกษุทั้งหลายว่า “อนมากโดย ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพโกฏิ น ปญฺญายติ อวิชชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาส์โยชนาน สนุธาวต์ สํสารต”
แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏนี้ ย่อมรู้เบื้องต้นไม่ได้ เบื้องปลายนั้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชานิวรณ์และตัณหาสังโยชน์ เหล่านี้ จึงได้วนเวียนอยู่ในสังสาระ
จําแนกองค์ปฏิจจสมุปบาทโดยสัจจะ ตามอภิธรรมภาชนียนัย
อวิชชา สังขาร จัดเป็น สมุทยสัจจะ
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา จัดเป็น ทุกขสัจจะ
ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ จัดเป็น สมุทยสัจจะ
อุปปัตติภวะ ชาติ ชรามรณะ จัดเป็น ทุกขสัจจะ
แสดงการเปรียบเทียบองค์ปฏิจจสมุปบาทตามนัยสัมโมหวิโนทนีอรรถกถา
อวิชชา เปรียบเหมือน คนตาบอด
สังขาร เปรียบเหมือน คนตาบอด เดินสะดุด
วิญญาณ เปรียบเหมือน คนตาบอด หกล้ม
นามรูป เปรียบเหมือน คนตาบอด เกิดบาดแผลขึ้นเพราะหกล้ม
สฬายตนะ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผนที่พุขึ้นใหม่ติดต่อกับแผลเก่า
ผัสสะ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผลเก่ากับแผลใหม่ถูกกระทบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เวทนา เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดนั้นรู้สึกเจ็บปวดแผลที่ถูกกระทบกระทั่ง
ตัณหา เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดมีความต้องการยามารักษาบาดแผลนั้น
อุปาทาน เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดไปเอายาที่ไม่ถูกกับแผลมา
ภวะ เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดเอายานั้นมาทาที่แผล
ชาติ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผลที่ลุกลามมากขึ้นเพราะไม่ถูกกับยา
ชรามรณะ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผลที่แตกเลอะเทอะ
แสดงคาถาที่กล่าวแนะนําในการพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
อนาทีทํ ภวจกุก๋ วีตการกเวทกํ
มิจฺจสุขสุภตฺเตหิ สุญญํ ปสฺเส ปุนปฺปุนํ ฯ
(มาในภาสาอีกา)
ภวจักรที่ล้วนแต่กองทุกข์ซึ่งหมุนเวียนอยู่ยืนยาว นับภพนับชาติไม่ได้นี้ ย่อมหาเบื้องต้นแห่งการหมุนเวียนนั้นมิได้ ปราศจากตัวตน คือผู้สร้างและผู้เสวยเป็นอนัตตะ ไม่มีสภาพที่เป็น นิจจะ สุขะ สุภะ แต่อย่างใด ผู้มีปัญญาควร พิจารณาเสมอๆ ดังกล่าวมานี้
ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และชอบพิจารณาค้นคว้าถึงเรื่องราวต่างๆ อยู่ เสมอนั้น แม้จะเชื่อว่าโลกที่เราอยู่นี้ย่อมไม่ตั้งอยู่ถาวรได้ตลอดไป ต้องมีการถูกทําลาย และเมื่อทําลายลงแล้ว ก็เกิดขึ้นใหม่อีก ส่วนความเป็นไปของสัตว์ ทั้งหลายนั้นก็เชื่อตามปฏิจจสมุปบาทที่กล่าวว่า เพราะอวิชชาเป็นเหตุจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นเหตุจึงเกิดวิญญาณ ดังนี้เป็นต้น แต่ก็ยังอดคิดสงสัยไม่ได้ว่า การเกิดขึ้นของโลกและสัตว์ทั้งหลายนั้น ตั้งต้นเกิดขึ้นทีแรกนั้นในเวลาใด เมื่อพยายามพิจารณาไปมาแล้วก็ตัดสินไม่ได้ บุคคลที่พิจารณาตัดสินไม่ได้เหล่านี้ ก็เกิดความเข้าใจเอาเอง คือบางพวกก็เข้าใจเอาว่าโลกและสัตว์ทั้งหลายนี้ ย่อมปรากฏขึ้น โดยปราศจากเหตุที่ทําให้เกิดขึ้นในตอนแรก สําหรับการที่โลกถูกทําลาย และการที่โลกเกิดขึ้นใหม่ก็ดี หรืออวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผล สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเป็นผล เป็นต้นก็ดีเหล่านี้ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังที่มีโลกและสัตว์ ทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้วเท่านั้น แต่เป็นเหตุประจําไม่ใช่เป็นเหตุแรกเริ่ม ฉะนั้น ผู้ที่มีความเข้าใจเอาเองอย่างนี้ จึงกลายเป็นผู้ที่มีอเหตุกทิฏฐิเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว อีกพวกหนึ่งก็เข้าใจเอาว่า โลกและสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุผล ดังกล่าวแล้วนั้น เป็นเหตุผลที่เกิดขึ้นตามธรรมดา หลังจากที่โลกและสัตว์ปรากฏ ขึ้นแล้วเท่านั้น ส่วนต้นเหตุแรกเริ่มนั้น ต้องมีผู้เป็นใหญ่ คือพระเจ้าผู้สร้างขึ้น ถ้าไม่มีพระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้นแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้น ผู้ที่มี ความเข้าใจเอาเองอย่างนี้ จึงกลายเป็นพวกอิสสรนิมมานวาททิฏฐิไปโดยไม่รู้สึก ตัวเช่นเดียวกัน
บุคคลทั้ง ๒ พวกดังกล่าวมานี้ แล้วแต่มีความคิดที่ทําให้เสียประโยชน์ คือในสิ่งที่ไม่ควรคิดก็เอามาคิด จนกระทั่งทําให้ตนกลายเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิไป ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงกล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
“จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อจินเตยยานิ น จิตฺเต พฺพานิ, ยานิ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, กตมาน จัตตาริ พุทฺธานํ ภิกฺขเว พุทธวิสโย อจินฺเตยฺโย น จินฺเตตพฺโพ ย์ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, ณายิสส ภิกฺขเว ฌานวิสโย อจินเตยโย น จินฺเตต โพ, ย์ จินฺตนฺโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, กมฺมวิปาโก ภิกขเว อจินฺเต โย น จินฺเตตพฺโพ, ย์ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, โลกจินตา ภิกฺขเว อจินเตยยา น จินฺเตตพฺพา ย์ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, อิมานิ โข ภิกฺขเว จตุตาริ อจินเตยยานิ น จินเตตพพาน ยาน จินเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสสาติ "
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ควรคิดที่ชื่อว่า อจินไตยธรรม มีอยู่ ๔ ประการ และถ้าผู้ใดเอามาคิดแล้ว ผู้นั้นก็จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้ามีความลําบากใจ สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่างนั้น คืออะไรบ้าง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัย คือ เรื่องที่เกี่ยวกับพระสัพพัญญุตญาณความเป็นไป และอานุภาพของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พระพุทธคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง ฌานวิสัย คือฌานอภิญญาแห่งท่านทั้งหลายผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด อย่างหนึ่ง กรรมวิบาก คือผลแห่งกรรมทั้งหลาย มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง โลกจินดา คือความเป็นไปของโลก คือโลก อันเป็นที่อาศัยของสัตว์และสัตว์ทั้งหลาย แผ่นดิน ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ เป็นต้นเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง ดังกล่าวมานี้ ถ้าผู้ใดคิด ผู้นั้นก็จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า มีความ ลําบากใจเป็นแน่แท้
ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรพิจารณาการ หมุนเวียนแห่งปฏิจจสมุปบาทด้วยนัยทั้ง ๔ มีเอกัตตนัยเป็นต้น ดังที่ได้แสดงมา แล้วนั้น และเมื่อได้พิจารณาถี่ถ้วนแล้ว ก็จะเกิดความรู้เข้าใจขึ้นเองว่าความเป็น ไปของโลก และสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมหาต้นเหตุไม่ได้
จบ การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม โดยสุตตันตภาชนียนัย
การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม โดยอภิธรรมภาชนียนัย
การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ มีอยู่ ๒ นัย คือสุตตันตภาชนียนัย และอภิธรรมภาชนียนัย ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้นํามา แสดงในปริจเฉทที่ ๘ นี้ เป็นการแสดงโดยสุตตันตภาชนียนัย ซึ่งแสดงถึง ความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทในจิตหลายๆ ดวง ชื่อว่า “นานาจิตตักขณิก ปฏิจจสมุปบาท" และต่อไปนี้จะได้แสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัย ซึ่งแสดง ถึงความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทในจิตดวงหนึ่งๆ ชื่อว่า “เอกจิตตักขณิก ปฏิจจสมุปบาท"
ในการแสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัยนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๓ พวก คือ ๑. อกุศลบท ต. กุศลบท ๓. อพยากบท
๑. อกุศลบท
ในอกุศลบทนี้จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาท เฉพาะในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เท่านั้น
อวิชชาปจฺจยา สงฺขาโร สงฺขารปจฺจยา วิญญาณ วิญฺญาณปจฺจยา นามิ นาม ปัจจยา ฉฏฐยาน์ ฉฏฐายตนปจจยา ผสุโส ผสสปัจจยา เวทนา เวทนาปจจยา ตณฺหา ตัณหาปัจจยา อุปาทานํ อุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณ์ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะอวิชชาเป็นเหตุ อปุญญาภิสังขาร คือทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนา ที่เป็นไปพร้อมด้วยอวิชชานั้น จึงเกิดขึ้น
เพราะอปุญญาภิสังขาร คือทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาเป็นเหตุ ทิฏฐิ คตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิ คตสัมปยุตตจิตนั้นๆ จึงเกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มนายตนะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มโนสัมผัสสะที่ ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะเวทนา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ตัณหาที่ ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะตัณหา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ อุปาทาน ๓ (เว้นกามุปาทาน) ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะอุปาทาน ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) จึงเกิดขึ้น
เพราะภวะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) เป็นเหตุ นามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทนั้น จึงเกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งและขณะดับของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
๒. กุศลบท
ในกุศลบทนี้ จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทเฉพาะใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ เท่านั้น
กุศลมูลปัจจยา สังขาโร สังขารปัจจยา วิญญาณ วิญญาณปจฺจยา นามิ นามปจฺจยา ฉฏฐายตน์ ฉฏฐายตนปจจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยา ปสาโท ปสาทปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว ภวปจจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณ์ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะกุศลมูล ๓ เป็นเหตุ ปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลญาณสัมปยุต เจตนาที่เป็นไปพร้อมด้วยกุศลมูล ๓ จึงเกิดขึ้น
เพราะปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลญาณสัมปยุตตเจตนาเป็นเหตุ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มนายตนะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มโนสัมผัสสะที่ ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะเวทนา ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ปสาทะ คือศรัทธาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะปลาทะ คือศรัทธาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ อธิโมกข์ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะอธิโมกข์ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นอธิโมกข์) จึงเกิดขึ้น
เพราะภวะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตุปบาท (เว้นอธิโมกข์) เป็นเหตุ นามชาติ คือการเกิดขึ้นของมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการเกิดขึ้นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้ง และขณะดับของมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท จิงเกิลขัน
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีกุศล มูล เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
๓. อพยากตบท
ในอพยากตบทนี้ จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาท เฉพาะใน ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เท่านั้น
สงฺขารปจฺจยา วิญญาณ วิญญาณปจฺจยา นาม นามปัจจยา ฉฏฐายตน ฉฏฐายตนปจจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณ์ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลเจตนา ๘ อกุศลเจตนา ๑๒ เป็นเหตุ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับ ทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุมนายตนะ คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ ผัสสะ ๕ มี จักขุสัมผัสสะ เป็นต้น ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐จึงเกิดขึ้น
เพราะผัสสะ ๕ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะเวทนา ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ ภวะ คือ ทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท (เว้นเวทนา) จึงเกิดขึ้น
เพราะภวะ คือทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท (เว้นเวทนา) เป็นเหตุ นามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทวีปัญจวิญญาณจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทวีปัญจวิญญาณจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งและขณะดับของทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
จบ ปฏิจจสมุปปาทนัย
ปัจจัย ๒๔ โดยย่อ
แสดงบาลีและคําแปลตามอภิธัมมัตถสังคหะ
เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนตรปจฺจโย สมมนตรปัจจโย สหชาตปัจจโย อญฺญมญญปัจจโย นิสสัยปจฺจโย อุปนิสสยปัจจโย ปุเรชาตปัจจโย ปุจฉาชาตปัจจโย อาเสวนปจจโย กมุมปัจจโย วิปากปัจจโย อาหารปจฺจโย อินฺทฺริยปัจจโย ฌานปัจจโย มคฺคปัจจโย สมปยุตตปัจจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺติปจฺจโย นตฺถิปัจจโย วิคตปจฺจโย อวิคตปจฺจโย อยเมต ปฏฐานนโย ฯ
๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์
๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคน
๕. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคนทีเดียว
๖. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
๗. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความแก่กันและกัน
๘. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย
๙. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกําลังมาก
๑๐. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
๑๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง
๑๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ
๑๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆ สําเร็จลง
๑๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก คือเข้าถึงความสุขและหมดก้าลังลง
๑๕. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นําา
๑๖. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปกครอง
๑๗. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่งอารมณ์
๑๘. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นหนทาง
๑๙. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ประกอบ
๒๐. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบ
๒๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่
๒๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี
๒๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปราศจากไป
๒๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไป
รวมปัจจัยธรรม ๒๔ ดังกล่าวมานี้แหละ เป็นปัฏฐานนัย ในปัจจยสังคหะ
จบ ปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ ๘ ชื่อว่าปัจจัยสังคหวิภาคในอภิธัมมัตถสังคหปกรณ์ จบลงเพียงเท่านี้
เพราะพระอนุรุทธาจารย์ได้ แสดงรวบรวมธรรมที่เป็นปัจจัย และปัจจยุปบัน ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท และ นัยแห่งปัฏฐานทั้งหมดอยู่ในปริจเฉทนี้ ฉะนั้น ปริจเฉท ๘ นี้จึงชื่อว่า ปัจจยสังคหะ
อนึ่ง ธรรมที่เป็นปัจจัยที่แสดงในปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นปรมัตถ์ล้วนๆ ไม่มีบัญญัติเข้าเจือปนด้วยเลย ส่วนธรรมที่เป็นปัจจัยที่แสดงในปัฏฐานนั้น มีทั้ง ปรมัตถ์และบัญญัติ ด้วยเหตุนี้พระอนุรุทธาจารย์ จึงได้แสดงบัญญัติต่างๆ ไว้ใน สุดท้ายแห่งปริจเฉทนี้
สําหรับธรรมที่เป็นปัจจยุปบันนั้น เป็นปรมัตถ์โดยส่วนเดียวทั้ง ๒ นัย คําว่า ปัจจยะ หรือปัจจัยนั้น หมายความว่า เป็นเหตุของผลที่เกี่ยว เนื่องด้วยเหตุนั้นๆ
คําว่า ปัจจยุปบัน หมายความว่า เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนั้นๆ
สรุปความว่า ปัจจัย ได้แก่ ธรรมที่เป็นเหตุ
ปัจจยุปบัน ได้แก่ ธรรมที่เป็นผล
อธิบายการอุปการะระหว่างปัจจัยและปัจจยุปบัน ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร
๑. อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา สมฺภวนฺติ
สังขารทั้ง ๓ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุ คําว่า อวิชชา เมื่อตัดบทแล้วได้ ๒ บท คือ อ + วิชชา
อ แปลว่า ไม่ หรือ ตรงกันข้าม
วิชชา แปลว่า รู้ หรือ ปัญญา
เมื่อรวมกันเข้าแล้ว แปลว่า ไม่รู้ หรือ ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับ ปัญญา ได้แก่ โมหเจตสิก ดังแสดงวจนัตถะว่า “จตุสัจจธมุม วิทติ ปากฏ กโรติ - วิชชา”
ธรรมชาติใดเป็นผู้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ และเป็นผู้ทําให้อริยสัจ ๔ ปรากฏขึ้น ฉะนั้น ธรรมชาติชื่อว่า วิชชา ได้แก่ปัญญาเจตสิก
“วิชชา ปฏิปกชาติ = อวิชชา”
ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญา ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา หรือ “อวินทิย์ วินฺทติ = อวิชชา”
หรือ “อวิชชมาเน ชวาเปติ - อวิชชา”
ธรรมชาติที่เป็นผู้รู้ผิดในบัญญัติธรรม มีชาย หญิง เป็นต้น ที่ไม่มีปรากฏโดยสภาวะ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา
หรือ “วิชชมาเน น ชวาเปตีติ = อวิชชา”
ธรรมชาติที่เป็นผู้ไม่ให้รู้ในปรมัตถธรรม มีขันธ์เป็นต้น ที่มีปรากฏโดยสภาวะ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา
หรือ “วิทิตพฺพ์ อวิทิต กโรติ - อวิชชา”
ธรรมชาติที่ไม่ให้รู้ซึ่งธรรมที่ควรรู้มีอริยสัจ ๔ เป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อวิชชา
อวิชชาทั้งหมดนี้ได้แก่ โมหเจตสิก
สรุปความว่า การไม่รู้ตามความเป็นจริงที่ควรรู้ รู้แต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตาม ความเป็นจริงที่ไม่ควรรู้ นี้แหละชื่อว่า อวิชชา
การไม่รู้ตามความเป็นจริงของอวิชชานี้มีอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. ทุกฺเข อญาณ์ ไม่รู้ในทุกข์
๒. ทุกขสมุทเย อญาณ์ ไม่รู้เหตุที่ทําให้เกิดทุกข์
๓.ทุกขนิโรโธ อญาณ ไม่รู้ธรรมอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาย อญาณํ ไม่รู้หนทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์ ๕. ปุพฺพนฺเต อญาณ์ ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีต
๖. อปรนเต อญาณํ ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคต
๗. ปุพฺพนตาปรนเต อญาณ์ ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีตและอนาคต
๘. อิทปปัจจยตาปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ อญาณ ความไม่รู้ในรูป นาม ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยมีเหตุให้เกิดตามในปฏิจจสมุปบาท
๑. ความไม่รู้ในทุกข์ (ทุกฺเข อญาณํ) คือ
ตามธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าใครจะต้องได้ประสบกับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกเศร้าเสียใจ ความร่ําไห้รําพัน ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความได้ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ความไม่สําเร็จตามความประสงค์ ความคับแค้นใจ เหล่านี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น ยากที่ผู้ใดจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ ต้องได้รับกันมากน้อยตามสมควรแก่ฐานะของตน แต่ในบรรดาทุกข์ต่างๆ เหล่านี้ การเกิดและการตายทั้ง ๒ นี้ เป็นทุกข์ที่แน่นอน ไม่มีการยกเว้นให้แก่ใคร จะเกิดเป็นคนชั้นสูง ชั้นต่ํา หรือจะเกิดเป็นเทวดา พรหมก็ตาม ต้องได้ประสบด้วยกันทั้งสิ้น สําหรับความแก่ ความเจ็บ ความเศร้า โศกเสียใจ ความร่ําไห้รําพัน ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความได้ประสบกับ สิ่งที่ไม่รัก ความไม่สําเร็จตามความประสงค์ ความคับแค้นใจเหล่านี้ เป็นทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลไม่ทั่วไป เช่น ในพวกเทวดาทั้งหลาย (ยกเว้นจาตุมหาราชิกา เทวดาชั้นต่ํา) ความแก่ ความเจ็บ ทั้ง ๒ นี้ไม่ปรากฏ แต่ทุกข์อื่นๆ ก็ย่อมได้รับกันตามมากตามน้อยเช่นเดียวกัน สําหรับพวกพรหม แม้จะพ้นจากทุกข์อื่นๆ ก็จริง แต่ทุกข์ที่สําคัญ คือ การเกิด การตาย ก็ยังหนีไม่พ้น
ทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ แม้สัตว์ทั้งหลายเคยได้รับมาแล้วในอดีตก็ตาม กําลังได้รับอยู่ในปัจจุบันก็ตาม และจะได้รับต่อไปในอนาคตก็ตาม แต่สัตว์ ทั้งหลายนั้นก็ไม่รู้สึกตัวไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อความทุกข์เหล่านี้ มัวหลง เพลิดเพลินอยู่ในโลกียอารมณ์ทั้ง ๖ กล่าวคือ หลงอยู่ใน ลูก หลาน สามี ภรรยา พ่อ แม่ ญาติพี่น้องบ้าง หลงอยู่ใน ลาภ ยศ ที่อยู่ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ บ้าง เหมือนเช่น เป็ด ไก่ ที่เจ้าของเอามาขังไว้ในเล้า เพื่อนําเอาไปฆ่า เป็ด ไก่เหล่านั้น หาได้รู้ตัวไม่ว่าตนจะต้องถูกฆ่า ในขณะที่ถูกขังอยู่นั้นยังคึกคะนอง ตีกัน จิกกัน แย่งอาหารกันอยู่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลงไม่รู้ในทุกข์นั้นเอง ข้อนี้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่มัวหลงเพลิดเพลินอยู่ในโลกียอารมณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ก็เพราะ ความไม่รู้ในทุกข์ต่างๆ เหล่านี้ ว่าเป็นทุกข์ ฉันนั้น
แม้ว่าในสมัยนี้ วิทยาศาสตร์กําลังเจริญก้าวหน้าไปเพียงใดก็ตาม แต่วิธี ที่จะไม่ให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้น วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถกระทําให้สําเร็จได้ และไม่มีหวังที่จะทําได้เลย วิธีที่จะทําให้พ้นจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ มีอยู่ แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ฉะนั้น ผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงพยายามหาทางปฏิบัติ เพื่อจะให้พ้นจากทุกข์เหล่านั้น สมดังคาถาที่แสดงว่า
ปตฺเถนฺติ มุจจิต สนฺตา ทุชชนา โมทมานาว
สํสารา ภยเภรวา วฏฺฏนติ ภวสาคร ๆ
สัปบุรุษผู้เห็นโทษในร่างกายแล้ว ไม่มีความยึดมั่น และมีปัญญามองเห็นกาลภายหน้าเหล่านี้ มีความสะดุ้งกลัว และปรารถนาเพื่อจะพ้นจาก การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ไม่มีที่สิ้นสุด มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นภัยที่น่ากลัว
ส่วนอสัปบุรุษผู้ไม่นึกไม่เห็นในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีความหลง ยึดมั่นอยู่ในกามคุณอารมณ์เหล่านี้ มีความเพลิดเพลินไปด้วยอารมณ์ต่างๆ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด อยู่ในภพต่างๆ ที่เปรียบเหมือนท้องมหาสมุทร ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ย้ายจากภูมินี้ไปภูมินั้น เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความไม่รู้ในทุกข์
๒. ไม่รู้เหตุที่ทําให้เกิดทุกข์ (ทุกฺขสมุทย อญาณํ) คือ
ความทุกข์ต่างๆ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่สบายใจ เป็นต้นเหล่านี้ เมื่อสาวเข้าไปหาตัวต้นเหตุที่ให้เกิดทุกข์เหล่านี้แล้ว ก็จะทราบได้ว่า โลภะ คือ ความอยากได้ ความยินดี พอใจ ติดใจ นั้นเองเป็นตัวต้นเหตุ เพราะธรรมดา คนทั้งหลายในโลกนี้ที่ต้องขวนขวายพยายามทํากิจการต่างๆ ทั้งฝ่ายดีฝ่ายไม่ดีนั้น ก็เพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่น่ายินดีน่าปรารถนาต่างๆ ด้วยกันทั้งสิ้นแม้จะ เหนื่อยกายเหนื่อยใจสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ย่อท้อถอยหลัง มุ่งหวังแต่จะให้สําเร็จ ในกิจที่ตนกระท่านั้นแล้วก็จะได้สิ่งที่ตนปรารถนามาสมดังความประสงค์ แต่ คนทั้งหลายก็หารู้ตัวไม่ว่าตนได้ตกอยู่ภายใต้อํานาจของโลภะที่เป็นผู้จัดแจงให้ ตนต้องเหนื่อยยาก ลําบากกาย ลําบากใจ ด้วยอํานาจแห่งรูปตัณหา คือความยินดี พอใจในรูปบ้าง สัททตัณหา คือความยินดีพอใจในเสียงบ้าง คันธตัณหา คือ ความยินดีพอใจในกลิ่นบ้าง รสตัณหา คือความยินดีพอใจในรสบ้าง โผฏฐัพพตัณหา คือความยินดีพอใจในการสัมผัสบ้าง ธัมมตัณหา คือความยินดีพอใจในการ
นึกคิดบ้าง
โลภะ คือความปรารถนา ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น ที่ตนคิดว่าจะนําความสุขมาให้เหล่านี้และเป็นเหตุ การขวนขวายพยายาม เพื่อจะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ ด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง เป็นผล และในขณะที่ ขวนขวายพยายามอยู่นั้น ย่อมได้รับความเหนื่อยยาก ลําบากกาย ลําบากใจ ล้วนแต่เป็นความทุกข์ ซึ่งเป็นผลที่ได้รับมาจากการขวนขวายพยายามเป็นเหตุ อีกทีหนึ่ง และถ้าการขวนขวายนั้นเป็นไปพอประมาณ ความทุกข์ต่างๆ ที่ได้รับ นั้นก็เป็นไปพอประมาณ ถ้ามีการขวนขวายพยายามมากขึ้นเท่าไร การได้รับ ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
อนึ่ง ถ้าการขวนขวายพยายามนั้นเป็นไปในทางที่ดี เช่น พยายามทํา กุศลต่างๆ มี ทาน ศีล ภาวนา เพื่อปรารถนาความสุขให้ยิ่งๆ ขึ้นไปทั้งในภพนี้ และภพหน้า การทํากุศลที่มีความปรารถนาเช่นนี้ ก็นับว่าทําไปด้วยอํานาจโลภะ และเป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์เกิดขึ้น คือความเหนื่อยกายเหนื่อยใจ ในขณะที่ กําลังกระทํา และเมื่อตายจากภพนี้ไปแล้วก็ต้องได้รับความทุกข์ในภพหน้าต่อไป อีกคือ การเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้นเอง แต่ผู้ที่ได้รับความทุกข์นี้ย่อมมีความอดทนได้ โดยเห็นว่าเป็นของธรรมดา แต่รู้ไม่ถึงว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เป็นต้น ที่ตนกําลังได้รับอยู่ และที่จะได้รับต่อไปอีกในเวลาข้างหน้านั้น เป็นผลที่เกิดมาจากโลภะเป็นเหตุ
ถ้าการขวนขวายพยายามนั้น เป็นไปในทางที่ไม่ดี เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เสพสุรา เป็นต้น เหล่านี้ เพื่อให้ได้ทรัพย์สินเงินทองมาใช้บํารุงความสุขสําราญแก่ตน การกระทํา ทุจริตต่างๆ ดังกล่าวนี้ ก็นับว่าทําไปด้วยอํานาจของโลภะ และเป็นเหตุให้ได้รับ ความทุกข์เกิดขึ้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า กล่าวคือ ในชาตินี้ย่อมได้รับความ ทุกข์กาย ทุกข์ใจอย่างหนัก ได้แก่ ถูกติเตียนดูหมิ่นจากสัปบุรุษทั้งหลายบ้าง ถูกเขาจับได้ก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง อาจจะได้รับโทษถึง ถูกประหารชีวิตก็ได้ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่ได้รับโดยประจักษ์สิทธิ ถ้าผู้นั้น ตายลงก็จะต้องไปรับทุกข์หนักในภพหน้าต่อไปอีก คือ ไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เป็น ติรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง และถ้าได้ไปเกิดเป้นพวกอบายสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมมีหวังน้อยที่สุดที่จะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้อีก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก แต่ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายก็ยังพากันหลงงมงายอยู่ภายใต้ อํานาจของโลภะ ไม่รู้สึกตัวว่าโลภะนี้เป็นตัวต้นเหตุที่ทําให้ได้รับความทุกข์ต่างๆ
อุปมาเหมือนหนึ่งปลาได้เห็นเหยื่อที่เกี่ยวอยู่ที่ปลายเบ็ด มีความรู้แต่เพียงว่าจะต้องการกินเหยื่อเท่านั้น หารู้ไม่ว่าตนจะได้รับภัยอันตรายอย่างใดไม่ เมื่อฮุบเหยื่อเข้าไปแล้ว ก็ถูกเบ็ดเกี่ยวปากได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และยิ่งกว่านั้นก็ยังถูกคนที่ตกเบ็ดนั้น นําเอาไปฆ่ากินเป็นอาหารอีกด้วย ข้อนี้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ได้รับความลําบากกาย ลําบากใจด้วยประการต่างๆ มากบ้าง น้อยบ้าง ที่เนื่องมาจากการขวนขวายแสวงหาความสุขให้แก่ตนด้วยอํานาจของ โลภะนั้นก็เช่นเดียวกัน
อนึ่งสัตว์ทั้งหลายแม้จะเวียนตายเวียนเกิดอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วนก็ตามแต่สัตว์เหล่านั้นก็หาได้มีความเบื่อหน่ายแม้แต่น้อย ยังยินดีพอใจในภพในชาติ ของตนอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น อย่าว่าแต่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหมเลย แม้จะ ได้เกิดเป็นพวกสัตว์ดิรัจฉานจนกระทั่งหนอนที่อยู่ในอุจจาระก็ตาม ก็ยังยินดีใน
สภาพความเป็นอยู่ของตนเช่นเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน โลกนี้มีตัณหาเป็นเพื่อนสนิทคอยบํารุงบําเรออยู่นั้นเอง จึงทําให้สัตว์ทั้งหลาย เหล่านั้นไม่เบื่อหน่ายต่อการเกิดอยู่ในภพต่างๆ ซึ่งเป็นมูลรากแห่งกองทุกข์ทั้งปวง มองไม่เห็นว่ากองทุกข์ต่างๆ ที่ตนได้ประสบอยู่นี้ ก็เนื่องมาจากตัณหานั้น แหละเป็นตัวต้นเหตุ เหมือนหนึ่งสุนัขที่เพลิดเพลินอยู่กับกระดูกวัวที่ไม่มีเนื้อ โดยอาศัยน้ําลายของตนเองฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่กําลังเสวยกามคุณอารมณ์ และ อดทนต่อทุกข์ต่างๆ ที่ตนประสบอยู่ได้โดยไม่มีความเบื่อหน่ายนั้น ก็เพราะ อํานาจแห่งตัณหาที่มีอยู่ในขันธสันดานของตนนั้นเอง ส่วนสิ่งต่างๆ ที่เป็นเครื่อง ก่อให้เกิดความยินดีติดใจนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่เป็นส่วนประกอบให้ตัณหาเกิดขึ้น และเจริญงอกงามขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระพุทธองค์จึงทรงกล่าวว่า ตัณหานี้แหละเป็นผู้ฉุดชักสัตว์ทั้งหลายไว้ ไม่ให้ออกไปพ้นสังสารวัฏได้ ดังที่
พระองค์ทรงแสดงว่า
ตณฺหาทุติโย ปุริโส ทีฆมทธาน สํสารํ
อิตฺถมุภาวญฺญถาภาวํ สํสาร์ มาติวตฺตติ ฯ
ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ภพอื่นๆ จากความเป็นอยู่ในภพนั้นๆ ไปยังภพนั้นๆ แล้วไม่สามารถก้าวพ้นไปจากสังสารวัฏอันยืนยาวนาน เพราะความ เป็นผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน
สําหรับผู้ที่พ้นจากโลภะได้แล้วก็ดี หรือผู้ที่กระทําการงานต่างๆ ที่ไม่ได้ เป็นไปด้วยอํานาจของโลภะก็ดี ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง หรือถ้ายังไม่พ้น ก็เพียง แต่ได้ประสบกับความทุกข์ที่เป็นไปโดยธรรมดา คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่านั้น และในไม่ช้าก็สามารถที่จะพ้นจากทุกข์เหล่านี้ไปได้ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงเทศนาไว้ว่า
ตณฺหาย ชายเต โลโก ตณฺหาย วิปปมุตฺตสฺส
ญหาย ชายเต ภ นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ
ความเศร้าโศกย่อมเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นเหตุ ภัยต่างๆ ก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นเหตุ ความเศร้าโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นแล้วจากตัณหา เมื่อความโศกไม่มีแล้วภัยต่างๆ จักมีมาแต่ไหน ย่อมไม่มีแน่นอน
คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความไม่รู้เหตุที่ทําให้เกิดทุกข์
๓. ไม่รู้ธรรมอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรโธ อญาณํ) คือ
ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิเหล่านี้ ล้วนแต่ตกอยู่ในกองทุกข์ ไม่ว่าผู้นั้นจะได้เกิดเป็นคนชั้นต่ํา ชั้นสูง หรือเกิดใน ทุคติภูมิสุคติภูมิก็ตาม ก็ต้องได้ประสบกับทุกข์ต่างๆ มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระพุทธองค์ จึงไม่ทรงชมเชยสนับสนุนในการที่เวไนยสัตว์ ทั้งหลาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในภูมิต่างๆ จะเป็นภูมิต่ํา ภูมิสูง หรือ บุคคลชั้นต่ํา ชั้นสูงก็ตาม มีแต่ทรงชี้แนะแนวทางให้สัตว์ทั้งหลายได้พ้นไปจาก ภูมิต่างๆ ด้วยกันทั้งสิ้น
อุจจาระเป็นสิ่งที่น่าเกลียดแก่คนทั้งหลายทั่วไป ไม่ว่าอุจจาระนั้นจะ เกิดจากอาหารที่ดีมีราคา เช่น นม เนย หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น หรือจะเกิดจาก อาหารที่เลวราคาต่ํา เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้นก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่น่าเกลียดทั้งนั้น ไม่มีใครยกย่องชมเชยว่าดีเลย สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภูมิต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่ได้ยกย่องสนับสนุนว่าดี เพราะต้องตกอยู่ในกองทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวแล้วนั้นเอง
สิ่งที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ยกย่องว่าเป็นของ ประเสริฐก็มีแต่พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น เพราะพระนิพพานนี้มีสภาพเป็น สันติสุข คือความสุขที่สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ ไม่เกี่ยวกับการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การคิดนึก ทั้งปวง คําสั่งสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าที่เป็นปิฎกทั้ง ๓ ซึ่งมีพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พัน นั้น จุดหมาย ปลายทางที่พระองค์ต้องประสงค์ก็คือ วิมุตติรส อันได้แก่พระนิพพานอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงพรรณนาสรรเสริญพระนิพพานไว้มากมาย ดังปรากฏมีอยู่ว่า
“นิพฺพานํ ปรม สุขํ”
พระนิพพานมีความสุขอย่างยอดยิ่ง
“นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ"
ความสุขที่ประเสริฐยิ่งกว่าพระนิพพานย่อมไม่มี
“นิพฺพานํ ปรม วทนฺติ พุทฺธา”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงกล่าวว่า
“พระนิพพานเป็นธรรมอันประเสริฐ”
ความสุขในพระนิพพาน ที่เรียกว่า สันติสุข กับความสุขในโลก ที่เรียกว่า เวทยิตสุข นั้น มีสภาพตรงกันข้าม กล่าวคือ ความสงบจาก รูป นาม ขันธ์ ๕ นั้นเอง ชื่อว่า สันติสุข ส่วนเวทยิตสุขนั้นเป็นความสุขที่เกี่ยวกับการ เสวยอารมณ์ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ซึ่งความสุขประเภทนี้ มนุษย์ ทั้งหลายที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่และเทวดา พรหม ตลอดจนอบายสัตว์ย่อมพึง พอใจเห็นประโยชน์และมีความปรารถนาด้วยกันทั้งสิ้น สําหรับสันติสุขนั้น สัตว์ทั้งหลายมองไม่เห็นประโยชน์ ไม่มีความสนใจ แม้พุทธมามกชนบางพวกที่ ปรารถนาพระนิพพาน ก็มักจะเป็นไปเพียงแต่วาจา ส่วนจิตใจไม่ได้น้อมเข้าถึง พระนิพพานอย่างแท้จริง โดยมากเข้าใจกันว่า พระนิพพานนั้นเป็นสถานที่แห่ง หนึ่งที่นอกไปจากโลกเรานี้ ในสถานที่นั้นบริบูรณ์ด้วยความสุขนานาประการ หาความทุกข์มิได้ ผู้ที่ได้ไปสู่พระนิพพานนี้ก็หมายถึงว่า เมื่อตายไปจากโลกนี้แล้ว ก็ไปเกิดอยู่ ณ ที่นั่น และไม่มีการแก่ เจ็บ ตาย ไม่มีความเศร้าโศกต่างๆ ล้วนแล้วไปด้วยความสุข หรือบางพวกก็เข้าใจว่า ผู้ที่ไปเกิดในพระนิพพานนั้น ไม่มีร่างกายตัวตน มีแต่ความรู้สึกอย่างเดียวเท่านั้น และความรู้สึกที่มีอยู่นี้ก็อิ่ม เอิบไปด้วยความสุข ไม่มีความทุกข์เข้าเจือปน
แต่ถ้าผู้ที่ปรารถนาพระนิพพาน โดยอาศัยความเข้าใจในพระนิพพาน ดังกล่าวมาแล้วนี้เป็นเหตุนั้น ได้มีการศึกษาอย่างถูกต้องและเกิดความเข้าใจอย่าง ถูกต้องขึ้นแล้วว่า ผู้ที่ได้เข้าถึงพระนิพพานอันได้แก่ พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อ เวลาที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว รูปนาม ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์เหล่านั้น ย่อมดับ สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความรู้สึกต่างๆ ก็ไม่มีเช่นนี้แล้ว ผู้นั้นอาจเกิดความลังเลใจได้ ว่า การเข้าถึงพระนิพพานนั้นจะมีความสุขอย่างยอดยิ่งได้อย่างไร ในเมื่อไม่มี อะไรเหลืออยู่เลย ด้วยเหตุนี้ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นภัยทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในสังสารวัฏ โดยอาศัยการเกิด การตายเท่านั้น ที่จะสมัครใจเข้าสู่พระนิพพานอย่างแท้จริง บุคคลนอกจากนั้นแล้ว ยังไม่เต็มใจที่จะไปสู่พระนิพพาน ด้วยเห็นว่าไม่มีความสุข ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงเทศนาไว้ว่า
สเทวกสฺส โลกสฺส เอเต โว สุขสมุมคา
ยตฺถ เจเต นิรุชฌนติ ตี๋ เตสํ ทุกฺขสมมติ ฯ
สัตว์ทั่วโลกทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดา สมมติกันว่า โลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านี้ดี และมีความสุข ธรรมอันใดคือ พระนิพพาน ที่โลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านั้น ดับสูญสิ้นหมดแล้ว สัตว์ทั่วโลกทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดานั้น สมมติกันว่า ธรรมอันนั้น คือ พระนิพพานเป็นธรรมที่ไม่ดี เป็นทุกข์
ภัยทั้ง ๔ นั้นคือ
๑. นานาสัตถอุลโลกนภัย คือ ยังไม่พ้นจากการเคารพนับถือศาสดาต่างๆ หมายความว่าในภพนี้ เคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จริง แต่ในภพต่อๆ ไป ไม่นับถือศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นๆ ตลอดจน นับถือ เทวดา พรหม ผี เหล่านี้ เป็นต้น นี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง
๒. วินิปาตภัย คือ การไปเกิดในที่ๆ ไม่แน่นอน หมายความว่า เมื่อตายไปจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปเกิดที่ไหนก็รู้ไม่ได้ จะไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม หรือจะไปเกิดเป็นพวกสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต ผี ก็รู้ไม่ได้ทั้งสิ้น ต้องแล้วแต่กรรมของตนที่ทําไว้ หรือในชาตินี้เกิดเป็นคนรวย สวย ฉลาด ตระกูลสูง มีสติสัมปชัญญะดี มีอวัยวะครบถ้วน มีสุขภาพดี ต่อไปชาติหน้า อาจจะไปเกิด เป็นคนยากจน ไม่สวย โง่ ตระกูลต่ํา มีสติฟั่นเฟือน มีอวัยวะขาดตกบกพร่อง เป็นคนอ่อนแอขี้โรค เหล่านี้เป็นต้นก็ได้ นี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง
๓. อปายภัย คือ ยังไม่พ้นจากการไปเกิดในอบายภูมิ หมายความว่า ในชาตินี้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ชาติหน้าอาจไปเกิดในอบายภูมิ เป็น พวกสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน ผี เปรต อสุรกาย ก็ได้ พวกที่ไปเกิดเป็นพรหมอยู่ แล้วนั้น ก็ไม่แน่นอนว่าจะไม่ไปเกิดในอบาย เพราะยังเป็นปุถุชนอยู่ แม้ว่าในชาติที่ ๒ จะไม่ไปเกิดในอบาย แต่ชาติที่ ๓ เป็นต้น ก็อาจไปเกิดได้ นี่ก็เป็นสิ่งที่ น่ากลัวอย่างหนึ่ง
๔. ทุจริตภัย คือ ยังไม่พ้นจากการกระทําอันเป็นทุจริตต่างๆ หมายความว่า ในชาตินี้ไม่ได้ทําทุจริต คือไม่ชอบฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ไม่เป็นโจรผู้ร้าย ไม่เป็นคนพูดจาเหลวไหล ไม่เป็นคนเสพสุรายาเมา ไม่เป็นคนมีความเห็นผิด แต่ชาติหน้าต่อๆ ไป อาจเกิดเป็นคนที่มีความยินดีพอใจในการกระทําทุจริต คือ ชอบฆ่าสัตว์ เป็นโจรผู้ร้าย เป็นคนพูดจาเหลวไหล ชอบเสพสุรา มีความเห็นผิด เหล่านี้ก็ได้ นี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง
คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความรู้ในธรรมอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์
๔. ไม่รู้ทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาย อญาณํ)
ตามธรรมดาคนทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีผู้ใดเลยที่อยากประสบความทุกข์และผู้ที่ได้ประสบกับความทุกข์เข้าแล้ว ก็พยายามดิ้นรนหาทางที่จะให้พ้นความ ทุกข์นั้นๆ ด้วยอาศัยเหตุนี้แหละ ต่างคนก็พยายามประพฤติปฏิบัติกันโดย ประการต่างๆ ทั้งในโลกและทางธรรม เพื่อมุ่งหวังความสุข และให้พ้นจาก ความทุกข์นั้นเอง
ความทุกข์นี้จัดออกเป็น ๒ อย่างคือ
๑. ทุกข์สามัญ ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสัตว์ทั้งหลายทั่วโลกที่ เป็นไปตามธรรมดา ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงได้
๒. ทุกข์พิเศษ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพยสนะ ๕ อย่างคือ
ญาติพยสนะ การสูญเสียญาติมิตร
โภคพยสนะ การสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง ยศ บริวาร
โรคฟียสนะ มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
สีลพยสนะ ความวิบัติแห่งศีล
ทิฏฐิพยสนะ มีความเห็นผิดจากความเป็นจริง
และความทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยประสบกับอัคคีภัยบ้าง โจรภัยบ้าง ราชภัยบ้าง อสัปปุริสภัยบ้าง ความอดอยากขาดแคลนในเรื่องอาหาร ที่อาศัยบ้าง เหล่านี้เป็นต้น การปฏิบัติที่คนทั้งหลายกระทําเพื่อหวังจะให้พ้นจากทุกข์เหล่านี้ ก็มีอยู่ ๒ อย่างคือ
๑. การปฏิบัติในทางโลก ได้แก่ การพยายามประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ทํานา ทําสวน ค้าขาย รับจ้าง ทําราชการ และบางคนก็ประกอบอาชีพที่เป็นไป ในทางทุจริต เช่น ลักทรัพย์ ทําการประมง ล่อลวงเป็นต้น และบางพวกเมื่อ ได้ประสบกับความทุกข์กายทุกข์ใจแล้ว ก็ไปหาหมอยา หมอดู เพื่อปัดเป่าให้ พ้นทุกข์เหล่านี้ไปบ้าง ดังนี้เป็นต้น
๒. การปฏิบัติในทางธรรม ได้แก่ การบําเพ็ญทานบ้าง รักษาศีลบ้าง ทําสมถะบ้าง ปฏิบัติโดยอัตตกิลมถานุโยค คือ ทรมานร่างกายด้วยประการต่างๆ ปฏิบัติเหมือนโค เหมือนสุนัขบ้าง ปฏิบัติโดยกามสุขัลลิกานุโยค คือ บํารุงบําเรอ ตนให้ได้รับความสุขต่างๆ ตามความพอใจของตน ไม่ให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมา ขัดขวางได้บ้าง
การปฏิบัติดังกล่าวมานี้ การปฏิบัติในทางโลกที่ไม่เกี่ยวกับทุจริตเหล่านั้น ย่อมทําให้พ้นจากความทุกข์ไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น การปฏิบัติที่เกี่ยวกับทุจริตนั้น ในระหว่างที่การกระทํานั้นยังไม่ส่งผล ก็รู้สึกคล้ายกับว่ามีความสุข แต่เมื่อการ กระทํานั้นส่งผลแล้ว ผู้นั้นย่อมได้รับความทุกข์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย สมดังที่ พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ว่า
มธุว มญญัติ พาโล ยาว ปาปี น ปจฺจติ
ยทา จ ปจติ ปาปั พาโล ทุกข์ นิคจนติ
ตลอดเวลาใดที่การกระทําบาปนั้นยังไม่ส่งผล ในระหว่างนั้นคนพาล ย่อมเข้าใจในการทําบาปของตนนั้นเหมือนน้ําผึ้ง คือความชอบใจ ยินดีในการ กระท่านั้น แต่เมื่อเวลาใดที่การกระทําบาปของตนนั้นส่งผลแล้ว ในเวลานั้น คนพาลเหล่านั้นย่อมได้ประสบความลําบากอย่างใหญ่หลวง
ส่วนการปฏิบัติในทางธรรม ที่เกี่ยวกับ ทาน ศีล สมถภาวนา ย่อม พ้นจากความทุกข์ได้ในชั่วขณะบ้าง หรือพ้นไปได้ตลอดวัน เดือน ปี บ้าง หรือ พ้นไปได้ ๑ ภพ ๒ ภพ ๓ ภพ บ้าง หาใช่พ้นไปโดยเด็ดขาดไม่ และทุกข์ที่ พ้นไปได้ชั่วคราวนี้ก็พ้นได้เฉพาะแต่ทุกข์พิเศษ กับทุกข์ที่เกี่ยวกับ แก่ และ เจ็บ เท่านั้น สําหรับทุกข์ที่เกี่ยวกับ เกิด ตาย นั้นย่อมพ้นไปไม่ได้
ผู้ที่ปฏิบัติอัตตกิลมถานุโยค โดยหวังว่า เมื่อชําระกิเลสให้หมดสิ้นไปแล้ว ในชาติหน้าจะต้องได้รับความสุขเสวยทิพยสมบัติในเทวโลก พ้นจากความทุกข์ต่างๆ ที่คนทั้งหลายได้ประสบอยู่ ความหวังของบุคคลพวกนี้ต้องผิดหวัง เพราะไม่แต่ จะได้รับความทุกข์ที่เกิดจากการทรมานร่างกายในภพนี้เท่านั้น เมื่อตายจากภพนี้ ไปแล้วย่อมจะต้องได้รับความทุกข์หนักยิ่งขึ้นไปอีกในนิรยภูมิอย่างแน่นอนเพราะอาศัยความเห็นผิดของตนนั่นเอง
ผู้ที่ปฏิบัติกามสุขัลลิกานุโยค โดยเข้าใจว่า ชีวิตความเป็นไปของคนเรานี้ ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการแสวงหาความสุขความเพลิดเพลินต่างๆ ตามที่ตนพอใจแล้ว ย่อมจะทําให้เกิดความเศร้าหมองในจิตใจ ไม่พ้นจากความทุกข์ไปได้ ฉะนั้น จึงต้องพยายามหาวิธีต่างๆ ที่จะนําความ สนุกสนานเพลิดเพลินมาให้แก่ตน เพื่อมิให้เกิดความโทมนัสเศร้าหมอง
เมื่อจิตใจสบายแล้วในชาตินี้ก็พ้นจากความทุกข์กายทุกข์ใจ ชาติหน้าก็จะได้ไป รับความสุขในมนุษยโลกหรือเทวโลกต่อไปอีก เมื่อมีความเข้าใจเช่นนี้ ก็พยายามแสวงหาวัตถุกามต่างๆ มาบําเรอแก่ตนตามความพอใจ การปฏิบัติเช่นนี้ บางคนก็ได้รับความสําเร็จ คือ มีความเพลิดเพลินใจอยู่ในกามคุณอารมณ์ต่างๆ ตลอดชาตินี้ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางได้ แต่บางคนก็ทําไปไม่ ได้ตลอด โดยมีผู้อื่นมาขัดขวางบ้าง เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองบ้าง เกี่ยวกับโรค ภัยมาเบียดเบียนบ้าง เหล่านี้ ทําให้จิตใจของผู้นั้นกลับมีความเดือดร้อนขึ้นอีก ผลสุดท้ายเมื่อหาหนทางแก้ไขไม่ได้ ก็อาจถึงทําลายชีวิตของตนหรือผู้ที่มา ขัดขวางนั้นเสียก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี การปฏิบัติตนชนิดกามสุขัลลิกานุโยคนี้จะ กระทําสําเร็จไปได้ตลอดหรือไม่ตลอดก็ตาม ผลสุดท้ายเมื่อตายจากภพนี้ไปแล้ว ก็ต้องไปได้รับความทุกข์ในอบายภูมิ โดยอาศัยความโลภ ความหลง ความ
เห็นผิดนั่นเอง
สรุปความว่า การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังจะให้พ้นทุกข์ที่เป็นไปในทางโลก และการปฏิบัติชนิดอัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค เหล่านี้เป็นการปฏิบัติ ของพวกอันธปุถุชนเป็นส่วนมาก ส่วนการปฏิบัติชนิดบําเพ็ญ ทาน ศีล สมถภาวนา เหล่านี้เป็นการปฏิบัติของพวกกัลยาณปุถุชนเป็นส่วนมาก แต่การปฏิบัติเหล่านี้ ก็ยังไม่ใช่เป็นหนทางที่จะชําระกิเลสให้หมดสิ้น แล้วให้เข้าถึงความดับทุกข์โดย แท้จริงได้ และที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า บุคคลเหล่านี้ไม่เข้าใจในการปฏิบัติที่เป็น หนทางให้เข้าถึงความดับทุกข์โดยเด็ดขาดนั้นเอง
ข้อปฏิบัติที่เป็นหนทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ได้นั้น ก็คือการเจริญองค์มรรค ๘ ที่เกี่ยวกับสติปัฏฐานทั้ง ๔ เท่านั้น การปฏิบัติที่นอกจากนี้แล้ว ไม่ว่าการปฏิบัตินั้นจะกระทําไปอย่างพิสดารลําบากยากเข็ญ หรือละเอียดประณีต
อย่างไรก็ตาม หรือจะใช้เวลาปฏิบัตินานเพียงไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นหนทางที่จะ ชําระกิเลสให้หมดสิ้นไป แล้วเข้าถึงความดับทุกข์ทั้งปวงได้ หมายความว่า ขึ้นชื่อ ว่ามีการปฏิบัติและมีความพากเพียรต่อการปฏิบัตินั้นแล้ว ก็อย่าพึ่งเชื่อว่าการ ปฏิบัติของตนนั้นจะเป็นหนทางที่ถูกต้องเสมอไป ด้วยเหตุนี้ ท่าน
พระมหาพุทธโฆษาจารย์ จึงแสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า
ยถาภูติ อชานมตา สุทธิกามาปิ เย อิธ
วิสุทธิ์ นาธิคจนนติ วายมนตาปิ โยคิโน ฯ
พระโยคี คือ ผู้ประกอบด้วยความพยายามในการเจริญภาวนาทั้งหลาย เหล่าใด แม้มีความประสงค์ความบริสุทธิ์ในศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีความพยายามปฏิบัติ แต่ไม่เข้าใจในแนวทางที่ถูกต้องตามความเป็นจริง
พระโยคีเหล่านั้นย่อมไม่อาจสําเร็จเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้
แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลทั้งหลายที่พากันปฏิบัติตามลัทธิของตนๆ ต่าง ก็มีจุดประสงค์ที่จะให้เข้าถึงความดับทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ความทุกข์ต่างๆ นั้น ก็หาได้หมดสิ้นลงไปตามความประสงค์ไม่ กลับยิ่งหนักขึ้น หรือมิฉะนั้น ก็มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในสังสารวัฏ ยืดยาวโดยไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้ ก็เพราะว่าบุคคลบางพวกในลัทธิพุทธศาสนา ที่ไม่ได้มีความปรารถนา สัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณ มหาสาวกโพธิญาณ แต่อย่างใด ปรารถนาให้พ้นทุกข์เข้าถึงพระนิพพานโดยตรงรวดเดียว ดังกล่าว คําปรารถนาว่า “อิท เม ปุญญ์ อาสวกขย์ วห์ โหตุ” แต่ผู้นั้นก็ยังมีความ พอใจปฏิบัติเพียงแค่ ทาน ศีล สมถภาวนา ไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึงองค์มรรคใน แนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ ฉะนั้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็ยังนับว่ายังเป็นไปด้วย อํานาจโลภะอยู่ ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติเหล่านี้จึงยังต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ใน วัฏฏสงสารอีกยาวนาน ตรงกันข้ามกับความประสงค์ของตน
ผู้ที่ปฏิบัติอัตตกิลมถานุโยคนั้น ทําการปฏิบัติที่เป็นไปด้วยอํานาจทิฏฐิ และโมหะ ฉะนั้น จึงส่งผลให้ไปเกิดในนิรยภูมิ แต่ผู้ที่ปฏิบัตินั้นก็ยังหารู้สึกตัว ไม่ว่า การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ใช่เป็นหนทางที่จะชําระกิเลสเข้าถึงความดับทุกข์
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติชนิดกามสุขัลลิกานุโยคนั้น ไม่ใช่แต่ผู้ที่ถือลัทธิอื่นๆ จะปฏิบัติเช่นนี้ แม้ที่ถือลัทธิพุทธก็มีปฏิบัติกัน เช่นผู้ที่ไม่เห็นประโยชน์ในการ บําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา มีความเห็นว่า ความสุขที่เกี่ยวกับพระนิพพานนั้นไม่มี โดยเฉพาะ ที่แท้ก็คือในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ เรามีความประสงค์อย่างไร พอใจอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามความพอใจของตน อย่างเช่น อยากจะดูอะไรก็ดู อยากจะฟังอะไรก็ฟัง อยากจะกินอะไรก็กิน อยากจะนอนก็นอน อยากจะไป ไหนก็ไป อยากจะทําอะไรก็ทํา อยากจะพูดอะไรก็พูดเป็นต้น ใครจะว่าอย่างไร ก็ช่าง การปฏิบัติตนอย่างนี้แหละ เรียกว่า ปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ ได้รับความสุข ฉะนั้น การปฏิบัติเช่นนี้จึงเป็นไปด้วยอํานาจ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ย่อมส่งผลให้ ผู้นั้นไปบังเกิดในอบายภูมิใดภูมิหนึ่ง และผู้นั้นก็ไม่มีความรู้สึกตัวว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่ใช่เป็นหนทางที่จะชําระกิเลสให้เข้าถึงความดับทุกข์
คําอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในความไม่รู้หนทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์
๕. ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีต (ปุพฺพนเต อญาณํ) คือ
คําว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีตนั้น กล่าวโดยธรรมาธิฏฐาน เมื่อว่าโดยปุคคลาธิฏฐานแล้ว ก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เคยเกิด และตายไปแล้ว นั่นเอง ฉะนั้น ในข้อที่ว่า ปุพพเต อญาณ์ นี้ ก็หมายถึงไม่รู้ว่าตัวเองก็ดี หรือคนอื่นก็ดี เคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง พรหมบ้าง อบายสัตว์บ้าง นั้นเอง แต่สําหรับในชาติต่อไปนั้น รู้ว่าจะต้องเกิดอีก ดังเช่นผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายมีพระเจ้าเป็นผู้สร้าง ฉะนั้น เมื่อสัตว์เหล่านี้ตายลงแล้วก็ได้ไปเกิด ตามคําสั่งของพระเจ้าอีก
๖. ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคต (อปรนเต อญาณํ) คือ
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคตนั้น ได้แก่ ความเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และ อบายสัตว์ ที่ต่อจากภพนี้ ฉะนั้น ในข้อที่ว่า อปรนเต อญาณ์ นี้ ก็หมายถึง ผู้ที่มีความเห็นว่า ตัวเองก็ดี คนอื่นก็ดี เมื่อตายจากชาตินี้แล้วก็ไม่มี การเกิดต่อไปอีก แต่มีความเชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเคยเกิดมาแล้วในชาติก่อน บุคคลจําพวกที่มีความเห็นเช่นนี้ มีหลายลัทธิด้วยกัน แม้คนที่ถือลัทธิพุทธ ที่มีความเห็นเช่นนี้ก็ยังมี บุคคลเหล่านี้ไม่เชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะเกิดอีกต่อไป แต่เชื่อว่าเคยเกิดมาแล้วในชาติก่อน เพราะอาศัยที่เคยได้พบเห็นผู้ที่ระลึกชาติได้นั่นเอง
๗. ความไม่รู้ใน ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีตและอนาคต (ปุพฺพนตาปรนเต อญาณํ) คือ
ความเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และอบายสัตว์ที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต และ ที่จะเกิดต่อไปข้างหน้านั้นเอง ฉะนั้น ในข้อที่ว่า ปุพฺพนตาปรนเต อญาณ์ นี้ ก็หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ว่า ตัวเราก็ดี คนอื่นก็ดี เคยเกิดมาแล้วและจะเกิดต่อไปข้างหน้า บุคคลจําพวกที่มีความเห็นเช่นนี้ ก็มีหลายลัทธิเช่นเดียวกัน เป็นเพราะว่าพวกนี้ ไม่เคยได้รับการศึกษาใน พระสูตร พระอภิธรรม และไม่เคยปฏิบัติวิปัสสนา ทั้งยังไม่เคยได้พบเห็นผู้ที่ระลึกชาติได้
๘. ความไม่รู้ในรูปนาม ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยมีเหตุให้เกิดตามนัย ปฏิจจสมุปบาท (อิทปปัจจยตาปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ อญาณํ) คือ
ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น และการเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้อง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุ คือการ กระทําด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งดีและไม่ดี ซึ่งเป็นเหตุเก่า มีอวิชชา ตัณหาเป็นมูล และโดยอาศัยที่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย การเห็น การได้ยิน เป็นต้น แล้วก็มีการ กระทําด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งดีและไม่ดีขึ้นอีก ซึ่งเป็นเหตุใหม่ มีตัณหา อวิชชา เป็นมูล ทําให้ร่างกายและการเห็น การได้ยินเป็นต้นที่เรียกกันว่า คนนั้น คนนี้ ซึ่งเป็นผลเกิดต่อไปอีก เหตุและผลดังกล่าวมานี้ เมื่อแสดงตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทแล้ว คือการกระทําต่างๆ ที่เป็นเหตุเท่านั้นได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ สัตว์ทั้งหลายและการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ที่เป็น ผลเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา การกระทําด้วย กาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเหตุใหม่นั้น ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ อวิชชา สังขาร สัตว์ทั้งหลายและการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ที่จะเป็น ผลเกิดต่อไปนั้น ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายดังที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วก็ แสดงให้เห็นได้ว่า ไม่มีอะไรอื่นนอกจากธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล อาศัยซึ่งกัน และกันเกิดขึ้นเท่านั้น แต่อันธปุถุชน คือผู้ที่ไม่มีปัญญามองเห็นนั้น ย่อมไม่รู้ถึง ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ตามปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวมานี้ เข้าใจกันว่า สัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ เกิดขึ้นเพราะมีพระเจ้าเป็นผู้สร้าง บางพวกก็เข้าใจว่าไม่มีเหตุผลอย่างใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาได้ก็เพราะมีบิดามารดานั่นเอง
ความไม่รู้ในเหตุผลแห่งความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายตามปฏิจจสมุปบาท นี้แหละชื่อว่า อิทปปจฺจยตาปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ อญาณํ
อนึ่ง อวิชชาที่มีสภาพปกปิดความจริงไม่ให้เกิดความรู้นั้น แบ่งออกเป็น หลายประเภทด้วยกันคือ
๑. บุคคลบางพวก ไม่รู้ว่าการกระทําอย่างนี้ดีเป็นกุศล การกระทํา อย่างนี้ไม่ดีเป็นอกุศล ด้วยอํานาจแห่งอวิชชาที่ปกปิดไว้ไม่ให้รู้ ฉะนั้น บุคคล พวกนี้จึงกล้าทําในทุจริตต่างๆ อย่างไม่รู้สึกเกรงกลัวและละอายใจ อวิชชาชนิดนี้ เป็นอวิชชาที่หนามาก
๒. บุคคลบางพวก รู้ว่าการกระทําอย่างนี้ดีเป็นกุศล อย่างนี้ไม่ดีเป็น อกุศล ฉะนั้น บุคคลจําพวกนี้เมื่อขณะที่มีอกุศลเกิดขึ้น ก็สามารถระงับได้ ไม่ปล่อยให้ล่วงถึงกาย วาจา แล้วเปลี่ยนจิตใจและการกระทํานั้นให้เป็นกุศล เกิดขึ้น อวิชชาของบุคคลจําพวกนี้จัดว่าเป็นอวิชชาที่บางมากแล้ว
๓. บุคคลที่สําเร็จเป็น โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี นั้น ได้ชื่อว่าเป็น ผู้ที่เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ทําลายอวิชชาให้หมดสิ้นไป อวิชชา ของพระอริยบุคคลเหล่านี้เป็นอวิชชาที่บางที่สุด
บุคคลที่หมดสิ้นจากอวิชชาได้นั้น มีแต่พระอรหันต์พวกเดียว ฉะนั้น การปกปิดไม่ให้รู้ตามความเป็นจริงของอวิชชา จึงไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย แต่ถ้าจะถามว่าพระอรหันต์เมื่อไม่มีอวิชชาแล้ว ก็สามารถรู้อะไรๆ ได้ทั่วไป ทั้งหมดหรือ ? แก้ว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้น การรู้ของพระอรหันต์ก็ต้องแล้วแต่ กําลังของปัญญา ถ้าเป็นปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็รู้ได้ทั่วไป ทั้งหมดไม่มีเหลือ ถ้าเป็นปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็รู้แต่สภาพความเป็น ไปของรูปนามอันเป็นอรรถรส สําหรับความรู้ในสภาพความเป็นไปของรูปนาม ตามปริยัติอันเป็นธรรมรสนั้น ก็รู้ไม่ได้ ถ้าเป็นปัญญาของพระอัครสาวก มหาสาวก ก็ย่อมรู้ในอรรถรส ธรรมรสได้ทั้งสอง แต่ก็ยังไม่รู้เท่าถึงปัญญาของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า
สรุปความว่า แม้ว่าผู้ที่ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ปราศจากอวิชชาแล้วก็ตาม ถ้าไม่ใช่เป็นปฏิสัมภิทาปัตตะ และไม่ได้ศึกษาในพระไตรปิฎกอรรถกถาแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าใจในพระปริยัติธรรมได้ และแม้ว่าจะได้ศึกษาเข้าใจ พระปริยัติธรรมเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ไปถึงอัธยาศัยของ เวไนยสัตว์ทั้งหมดโดยถี่ถ้วนแน่นอนได้ เพราะการรู้เช่นนี้ไม่ใช่เป็นวิสัยของ พระสาวกทั้งหลาย เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นและในการที่พระอรหันต์ทั้งหลายรู้ทั่วไปไม่ได้นั้น ก็ไม่ใช่เป็นเพราะอวิชชา ปิดบังไม่ให้รู้ หากเป็นเพราะกําลังของปัญญาไม่เพียงพอเท่านั้น อุปมาเสมือน หนึ่งผู้ที่มองไม่เห็นวัตถุสิ่งของที่อยู่ไกลในเวลากลางวัน การมองไม่เห็นนี้ไม่ใช่ เป็นเพราะความมืดปิดบังไว้ เป็นเพราะกําลังของสายตาไม่พอต่างหาก ข้อนี้ฉันใด พระอรหันต์ที่ไม่สามารถรู้ทั่วไปได้ ก็เป็นเพราะกําลังแห่งปัญญาไม่พอดังที่กล่าว มาแล้วฉันนั้น
การปกปิดของอวิชชาที่ไม่ให้รู้ตามความเป็นจริงได้นั้น ก็มีอยู่เพียง ๘ อย่าง คือ สัจจะทั้ง ๔ และปุพพันตะ อปรันตะ ปุพพันตาปรันตะ ปฏิจจสมุปบาท เท่านั้น ส่วนการไม่เข้าใจในเรื่องอื่นๆ นั้นไม่เกี่ยวกับอวิชชา ดังมีตัวอย่างที่จะยกมาแสดงให้เห็นได้ คือ พระสารีบุตรเป็นผู้ที่มีปัญญาเลิศกว่า สาวกทั้งหลาย ซึ่งยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ก็ไม่มีใครที่จะมีปัญญา เท่าเทียมได้ ก็ยังเคยผิดพลาดในเรื่องให้กรรมฐานแก่ภิกษุหนุ่มที่เป็นศิษย์ของท่าน กล่าวคือ ท่านเข้าใจว่าภิกษุหนุ่มรูปนี้อายุยังน้อยอยู่ ฉะนั้น จิตใจจะต้องน้อมอยู่ ในกามคุณอารมณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็ให้พิจารณาอสุภกรรมฐาน ภิกษุหนุ่ม พยายามพิจารณาอสุภกรรมฐานนี้อยู่ตลอด ๔ เดือน ก็ไม่ได้ผลแต่อย่างใด แม้แต่นิมิตก็ไม่ปรากฏ เพราะกรรมฐานนี้ไม่ตรงกับจริตของตน พระสารีบุตร จึงได้นําความไปทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าจึงทรงเนรมิตดอกบัวแดงให้ภิกษุหนุ่มนั้นเพ่ง เพราะทรงทราบในอัธยาศัย ของภิกษุหนุ่มนั้นว่า เคยเกิดเป็นช่างทองติดต่อกันมาถึงห้าร้อยชาติ ฉะนั้น ดอกบัวแดงนี้จึงเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมแก่อัธยาศัย เมื่อภิกษุหนุ่มกําลังเพ่ง ดอกบัวแดงอยู่นั้น พระองค์ก็ทรงเนรมิตให้กลีบดอกบัวค่อยๆ เหี่ยวลงๆ ทีละน้อย เพื่อให้สภาวะที่เป็นอนิจจะปรากฏ ในวันเดียวนั้นเองภิกษุหนุ่มนั้นก็สําเร็จเป็น พระอรหันต์ขีณาสพ เรื่องที่ยกมานี้เป็นข้อแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่หมดจดจากอวิชชา แล้ว แต่ที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจในบางสิ่งบางอย่างนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะอวิชชาปกปิดไว้ เป็นเพราะกําลังปัญญาไม่เพียงพอ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง
สังขาร
คําว่า สังขาร นี้ หมายความว่า ธรรมที่ปรุงแต่งให้ผลธรรมเกิดขึ้น ดังแสดงวจนัตถะว่า
“สงฺขต์ สงฺขโรติ อภิสงฺขโรนที่ติ - สงฺขารา"
ธรรมเหล่าใดย่อมปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็นผลโดยตรง ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ได้แก่เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล หรืออีก นัยหนึ่ง
“สงฺขต์ กายวจีมโนกมุม อภิสงฺขโรนุติ เอเตรีติ = สงฺขารา "
สัตว์ทั้งหลายย่อมปรุงแต่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสังขตธรรม โดยเจตนาเหล่านั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการปรุงแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ได้แก่ เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล
สังขารที่เป็นผลของอวิชชา มี ๖ อย่าง คือ
๑. ปุญญาภิสังขาร กุศลเจตนาเป็นผู้ปรุงแต่งโลกียกุศลวิบากและกุศล กัมมชรูปโดยตรง ได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕
๒. อปุญญาภิสังขาร อกุศลเจตนา เป็นผู้ปรุงแต่งอกุศลวิบาก และอกุศลกัมมชรูปโดยตรง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒
๓. อาเนญชาภิสังขาร กุศลเจตนา ที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นผู้ปรุงแต่งอรูป วิบากโดยตรง ได้แก่ อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔
๔. กายสังขาร เจตนาที่เป็นผู้ปรุงแต่ง กายทุจริต และกายสุจริตให้ สําเร็จลง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับทางกาย
๕. วจีสังขาร เจตนาที่เป็นผู้ปรุงแต่ง วจีทุจริต และวจีสุจริตให้สําเร็จลง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ มหากุศลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับทางวาจา
๖. จิตตสังขาร เจตนาที่เป็นผู้ปรุงแต่ง มโนทุจริต และมโนสุจริตให้ สําเร็จลง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ โลกียกุศลเจตนา ๑๗ ทีเกี่ยวกับทางใจ
สําหรับโลกุตตรกุศลเจตนานั้น ได้ชื่อว่าเป็น บุญ ก็จริง แต่ไม่ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร เพราะไม่มีหน้าที่ทําให้เกิด ภพ ชาติ ที่เป็นวัฏฏสงสาร มีหน้าที่ ทําลาย ภพ ชาติ เท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่นํามาแสดงในที่นี้
แสดงวจนัตถะของคําว่า ปุญญาภิสังขาร เป็นต้น
อตฺตโน สนฺตานํ ปูนาติ โสเธติ - ปุญญ์
ธรรมชาติใดย่อมชาระขันธสันดานของตนให้สะอาด ฉะนั้น ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า บุญ
น ปุญฺญํ - อปุญญํ
ธรรมชาติใดเป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า บาป
อาเนญชญฺจ ตํ อภิสงฺขาโร จาติ - อาเนญชาภิสงฺขาโร
ธรรมชาติใดตั้งมั่นไม่หวั่นไหวด้วย เป็นผู้ปรุงแต่งโดยตรงด้วย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร
กาย สงฺขโรตีติ - กายสงฺขาโร
ธรรมชาติใดเป็นผู้ปรุงแต่งกาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กายสังขาร
วาง สงฺขโรตีติ - วจีสังขาโร
ธรรมชาติใดเป็นผู้ปรุงแต่งวาจา ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วจีสังขาร
จิตต์ สงฺขโรตีติ = จิตตสงฺขาโร
ธรรมชาติใดเป็นผู้ปรุงแต่งใจ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิตตสังขาร ในสังขารที่เป็นผลของอวิชชาเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารที่เกี่ยวกับมหากุศล และอปุญญาภิสังขาร เหล่านี้สําเร็จได้ด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ปุญญาภิสังขารที่เกี่ยวกับรูปาวจรกุศล และอาเนญชาภิสังขารเหล่านี้ สําเร็จได้ด้วยมโนกรรม อย่างเดียว
ปุญญาภิสังขาร สําเร็จได้ด้วยอ๋านาจ ทาน ศีล ภาวนา
อปุญญาภิสังขาร สําเร็จได้ด้วยอํานาจ ทุจริต ๑๐
อาเนญชาภิสังขาร สําเร็จได้ด้วยอํานาจแห่งภาวนา
ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร ที่ไม่ใช่เป็นผลของอวิชชา มี ๒ อย่าง คือ
๑. สังขตสังขาร ธรรมที่ถูกปัจจัย ๔ ปรุงแต่ง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ทั้งหมด เช่น อนิจจา วต สงฺขารา
๒. อภิสังขตสังขาร รูปนามที่ถูกกรรมเป็นผู้ปรุงแต่งโดยตรง ได้แก่ โลกียวิบาก และกัมมชรูป และอภิสังขตสังขารนี้ก็สงเคราะห์เข้าในสังขตสังขารด้วยเหมือนกัน
๓. อภิสังขรณกสังขาร ธรรมเป็นผู้ปรุงแต่งโลกียวิบากและกัมมชรูปโดยตรง ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ โลกียกุศลเจตนา ๑๗
๔. ปโยคาภิสังขาร ความพยายามปรุงแต่งทางกายและทางใจ ได้แก่ วิริยเจตสิกที่เกี่ยวกับกายกรรม และมโนกรรม
๕. กายสังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก
๖. วจีสังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก วิจาร
๓. จิตตสังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญา เวทนา หรือเจตสิก ๕๐ (เว้น วิตก วิจาร)
หมายเหตุ ในข้อ ๔ คือปโยคาภิสังขารนั้น ไม่เอาวิริยเจตสิกที่เกี่ยวกับ วจีกรรม เพราะทางวาจานั้นวิริยเจตสิกไม่ได้เป็นประธาน เกี่ยวกับวิตกวิจารเท่านั้น
ปุญญาภิสังขารปรากฏขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนั้น คือ
ผู้ที่มีความเลื่อมใสพอใจในการทําบุญต่างๆ มีการบําเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนานั้น โดยมากก็ปรารถนาอยากจะได้ความสุขสบายต่อไปในชาติหน้าให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าเมื่อได้ฟังได้อ่าน เรื่องราวที่กล่าวถึงผู้ที่ได้เกิดเป็นเศรษฐี คหบดี ราชา ราชินี เป็นคนสวย มีอํานาจ มีความเฉลียวฉลาด หรือได้เกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดา มีทิพยสมบัติมากมาย มีอายุยืน ไม่มีความลําบากแต่ประการใดเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นผลที่ได้มาจาก การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาทั้งสิ้น เช่นนี้แล้วผู้นั้นก็เกิดมีความชื่นชมยินดี อยากจะได้ความสุขเหล่านี้บ้าง แล้วก็พยายามบําเพ็ญกุศล มีการให้ทานบ้าง รักษาศีลบ้าง ฟังเทศน์บ้าง สวดมนต์บ้าง ทําสมถะบ้าง วิปัสสนาบ้าง แล้วก็ตั้ง ปรารถนากันว่า อิท เม ปุญญ์ นิพพานสุส ปจฺจโย โหตุ ซึ่งคําปรารถนานี้ เป็นการปรารถนาด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนจิตใจนั้นย่อมน้อมเข้าสู่ความสุขต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่าผู้นั้นมองไม่เห็นโทษทุกข์ สมุทัย และมอง ไม่เห็นคุณของนิโรธ มรรค การมองไม่เห็นคุณและโทษนี้ ก็เป็นเพราะโมหะ นั่นเอง
บางคนเห็นว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดานั้น แม้ว่าจะมีความสุข ก็จริง แต่ความสุขนั้นก็ยังไม่ประณีตเท่ากับความสุขของพวกรูปพรหม เพราะ พวกรูปพรหมนั้นอายุยืนกว่า อํานาจก็มากกว่า ความสวยงามของร่างกายและวิมาน ก็ประณีตกว่า ความทุกข์กาย ทุกข์ใจก็ไม่มีเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้น จึงพยายามทํา สมถกรรมฐานจนกระทั่งได้รูปฌาน ผู้ที่มีความเข้าใจเช่นนี้ก็เพราะมองไม่เห็น โทษและคุณของอริยสัจ ๔ โดยอํานาจแห่งโมหะนั้นเอง ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า อวิชชาเป็นเหตุ ปุญญาภิสังขารเป็นผล
อปุญญาภิสังขารปรากฏขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนั้น คือ
บางคนไม่เชื่อว่าการกระทําดีนั้นเป็นบุญ การกระทําชั่วเป็นบาป ฉะนั้น คนจําพวกนี้จึงมีความพอใจในการกระทําทุจริตต่างๆ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่อลวง เสพสุราเป็นต้น หรือบางคนก็รู้ว่าการกระทําชั่วต่างๆ นั้น ไม่ดีเป็นบาป แต่ตนก็หาได้ละเว้นไม่ ฉะนั้น คนจําพวกนี้ก็พอใจในการทําทุจริตต่างๆ เช่นเดียวกัน หรือบางพวกที่นับถือลัทธิผี เจ้าต่างๆ เหล่านี้ เข้าใจว่าถ้าฆ่าสัตว์แล้วนําเอาไปบูชา เจ้า หรือผีเช่นนี้แล้ว เจ้าหรือผีนั้นจะบันดาลให้สําเร็จตามความประสงค์ของตนและจะคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ตลอดชีวิต และเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว เจ้าหรือผีนั้นก็จะจัดส่งให้วิญญาณของตนขึ้นไปสู่สวรรค์ ฉะนั้น คนจําพวกนี้ จึงฆ่าสัตว์ต่างๆ เพื่อเอาไปบูชาสิ่งที่ตนนับถือนั้น
การกระทําทุจริตต่างๆ ของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว ก็เพราะมองไม่เห็น โทษของทุกข์ สมุทัย และนึกไปไม่ถึงคุณของ นิโรธ และมรรค ด้วยอํานาจ แห่งโมหะปกปิดไว้นั้นเอง ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า อวิชชาเป็นเหตุ อปุญญาภิ สังขารเป็นผล
อาเนญชาภิสังขารปรากฏขึ้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนั้น คือ
บุคคลบางพวกก็มีความเห็นว่า ความทุกข์ ความเดือดร้อนต่างๆ ที่สัตว์ ทั้งหลายกําลังได้รับอยู่นั้น ย่อมเนื่องมาจากรูปธรรมนั้นเองเป็นเหตุ เพราะเมื่อมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็จะต้องมีการอยากเห็น อยากได้ยิน อยากได้กลิ่น อยากรู้รส อยากถูกต้อง เหล่านี้ ซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามความประสงค์แล้ว ก็ย่อมเกิดความเดือดร้อนขึ้น หรือความเจ็บไข้ไม่สบายต่างๆ ก็เพราะอาศัยมีร่างกาย นั่นเอง ถ้าไม่มีร่างกายเสียแล้ว ความทุกข์ต่างๆ ก็ไม่มี มีแต่ความสุขอย่างเดียว ฉะนั้น บุคคลจําพวกนี้จึงพยายามหาหนทางที่จะไม่ให้มีรูปเกิดขึ้น โดยพยายาม
ทําสมถกรรมฐานจนได้ฌานไปตามลําดับ จนถึงอรูปฌาน
หรือผู้ที่ได้รูปฌานแล้ว และพวกรูปพรหมทั้งหลายมีความเห็นว่า รูปฌานที่ตนได้อยู่นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับอรูปฌานแล้ว ยังไม่มีความประณีตพอ เพราะยังหวั่นไหวอยู่ด้วยอํานาจแห่งองค์ฌานและอารมณ์ สําหรับอรูปฌานนั้นว่า โดยองค์ฌานก็มีแต่อุเบกขา กับ เอกัคคตา ซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ว่าโดยอารมณ์ที่มีความละเอียดประณีตมากกว่าอารมณ์ของรูปฌาน ฉะนั้น ผู้ที่ได้อรูปฌานจึงมีความสุขมาก และเมื่อตายจากโลกนี้แล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็น อรูปพรหม มีแต่นามธรรมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนั้นท่านเหล่านั้นจึงพยายาม ทําฌานต่อไปจนได้อรูปฌาน
บุคคลที่มีความเห็นดังกล่าวมานี้ ก็เพราะว่ายังมีความหลงปิดบังไม่เห็น ในอริยสัจ ๔ คือ แม้พวกอรูปพรหมทั้งหลายจะไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะไม่มี สิ่งแวดล้อมที่จะให้เกิดความเดือดร้อนต่างๆ ได้ก็ตาม แต่ก็ยังหนีไม่พ้นจากความ ตายอันเป็นมรณทุกข์อย่างหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เมื่ออํานาจแห่งอรูปฌานสิ้นสุด ลงแล้ว ก็ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ได้ประสบกับความทุกข์ความ ลําบากต่างๆ ที่มีอยู่ในมนุษยโลก และเทวโลกนั้น และเมื่อตายจากมนุษย์และ เทวดาแล้ว ก็อาจจะไปเกิดในอบายภูมิ ประสบกับมหาทุกข์ก็ได้ การที่ไม่เห็น โทษของอรูปฌาน และการเป็นอรูปพรหมนี้แหละ จึงได้ชื่อว่า “ทุกฺเข อญาณํ”
ในการที่มีความยินดีพอใจอยากได้อรูปฌาน อยากเป็นอรูปพรหมนั้น ก็ด้วยอํานาจแห่งตัณหาที่เป็นตัวต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ แต่ผู้นั้นก็ไม่เห็น โทษของการยินดีพอใจในอรูปฌาน อรูปภพ เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่า "ทุกขสมุทย อญาณํ
ผู้ที่เกิดเป็นอรูปพรหมนั้น ตัดความทุกข์ได้โดยวิกขัมภนะเท่านั้น หาได้ ตัดโดยสมุจเฉท ไม่ ฉะนั้น ความสุขที่พวกอรูปพรหมได้รับอยู่นั้นจึงไม่ใช่เป็น ความสุขอย่างแท้จริง เป็นความสุขที่เกี่ยวด้วยสังขารทุกข์และวิปริณามทุกข์การตัดทุกข์ได้โดยสมุจเฉท และมีความสุขอย่างแท้จริง ก็มีแต่พระนิพพานอย่าง เดียวเท่านั้น แต่ผู้นั้นก็หารู้ถึงไม่ คิดว่าความสุขในอรูปฌาน และอรูปพรหมนั้น เป็นความสุขอย่างเลิศแล้ว เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่า “ทุกขนิโรโธ อญาณํ”
แท้ที่จริงข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางที่สามารถตัดกิเลสเป็นสมุจเฉท และนําให้เข้าถึงความดับทุกข์ได้นั้นก็มีอยู่ คือองค์มรรค ๘ ที่เกี่ยวกับการเจริญ วิปัสสนา แต่ผู้นั้นรู้ไม่ถึง เข้าใจว่าการเจริญสมถกรรมฐานนี้แหละ สามารถ นําให้เข้าถึงความสุขพ้นจากทุกข์ได้ เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่า “ทุกขนิโรธ คามินีปฏิปทาย อญาณํ”
คําอธิบายดังกล่าวนี้ เป็นการกล่าวถึงอวิชชาเป็นเหตุ อาเนญชาภิสังขารเป็นผล
อนึ่ง ผู้ที่เห็นโทษแต่รูป ไม่เห็นโทษของนาม แล้วก็ปฏิบัติอรูปฌานนั้น เป็นไปส่วนมากในเวลาที่ว่างจากพุทธศาสนา สําหรับภายในพุทธศาสนานั้น มีเป็นส่วนน้อย ส่วนผู้ที่ได้ฌาน แล้วปฏิบัติต่อไปจนได้อรูปฌานภายใน พุทธศาสนานั้นไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปเพราะเห็นโทษของรูป ปฏิบัติเพื่อต้องการ ทําอภิญญา และถ้าเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ก็เพื่อจะได้เข้านิโรธสมา บัติได้เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี นอกจากผู้ที่ปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณมหาสาวกโพธิญาณแล้ว นอกนั้นควรปฏิบัติ วิปัสสนาเพื่อกระทําให้มรรคเจริญขึ้น แล้วสามารถทําลายโมหะได้ และเมื่อ ทําลายโมหะได้แล้ว ก็เป็นอันว่าสังขารทั้ง ๓ ที่เป็นผลของวิชชาก็ได้ถูกทําลายไปด้วย เพราะการงานที่ทําลายบุญเสียได้นั้น เป็นการงานที่ทําได้ยาก มีได้เฉพาะในเวลา ที่พุทธศาสนายังปรากฏอยู่เท่านั้น ส่วนการงานที่สร้างบุญให้เกิดนั้นทําได้ไม่ยาก และทําได้ไม่ว่าเวลาไหน ผู้ที่ยังไม่ได้ทําลายอวิชชาให้หมดสิ้นไป แต่การกระทํา ของผู้นั้นไม่เป็นบุญเป็นบาปพ้นจากสังขาร ได้นั้นย่อมไม่มีเลย
จะกล่าวได้ไหมว่าผู้ที่ปราศจากอวิชชาแล้วไม่บําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
บางท่านอาจเข้าใจผิดไปว่า ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนั้น บุญก็ไม่เกิด บาปก็ไม่เกิด เนื่องจากคําที่กล่าวว่า ผู้ที่ทําลายโมหะได้แล้ว เป็นอันว่าสังขาร ทั้ง ๓ ที่เป็นบาปเป็นบุญเหล่านั้น ย่อมถูกทําลายไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมายถึงว่า พระอรหันต์นั้นไม่ใช่แต่ไม่กระทําบาปมีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เป็นต้นเท่านั้น แม้แต่ บุญต่างๆ มี ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นนั้น ก็ไม่กระทําด้วย ข้อนี้อธิบายว่า หาได้ เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะความจริงนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายก็ยังบําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา อยู่แต่ว่า ทาน ศีล ภาวนาที่พระอรหันต์กระทําไปนั้น ไม่จัดว่าเป็น ปุญญาภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขาร ที่เป็นผลของอวิชชา การกระทํานั้นจัด เป็นกิริยาอันเป็นสังขารสามัญ และไม่มีการให้ผลในปฏิสนธิกาลต่อไป
การกระทําด้วยกาย วาจา ใจ ของพระอรหันต์ที่เรียกว่าเป็นสังขารสามัญนั้น ก็หมายถึงการปรุงแต่งให้การงานที่เกี่ยวกับ กาย วาจา ใจ สําเร็จลงเท่านั้น ตรงกับที่กล่าวว่า “น หิ โกจิ ปฏิจจสมุปปาทรหิโต สงฺขตธมฺโม นาม อตฺถิ" ธรรมใดธรรมหนึ่งที่ชื่อว่า สังขตะ แต่พ้นไปจากปฏิจจสมุปบาทนั้น ย่อมไม่มีเลย หมายความว่า กริยาจิตของพระอรหันต์ก็ยังได้ชื่อว่าสังขาร ซึ่งสงเคราะห์เข้าเป็น องค์ของปฏิจจสมุปบาทด้วย
สรุปความว่า การกระทําต่างๆ ด้วย กาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ย่อมหนีไม่พ้นไปจากสังขารทั้ง ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร พร้อมทั้งมีความยินดีในสังขารทั้ง ๓ นี้ด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องจาก อวิชชา คือ ความไม่รู้จักโทษของทุกข์และสมุทัย และไม่รู้จักคุณของนิโรธและ มรรคนั่นเอง ฉะนั้น ท่านอรรถกถาจารย์จึงแสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า
ผู้ที่ถูกคลุมด้วยอวิชชา ย่อมพยายามสร้างสังขารทั้ง ๓ มีปุญญาภิสังขาร เป็นต้น อันเป็นเหตุทุกข์ทั้งปวง เหมือนผู้ที่กระโดดลงในเหวโดยอาศัย ความอยากได้นางเทพธิดา หรือเหมือนแมลงเม่าที่บินเข้าสู่กองไฟโดยมีความ ยินดีในแสงไฟนั้น หรือเหมือนผู้ที่เลียคมมีดที่เขาทาน้ําผึ้งไว้โดยอาศัยความยินดี ในรส หรือเหมือนทารกที่หลงใหลเล่นอุจจาระของตนเองอยู่ หรือเหมือนผู้ที่ดื่มยาพิษโดยอาศัยความเสียใจอยากตาย หรือเหมือนผู้ที่หลงทางเข้าไปในนครปีศาจ ฉะนั้น สาธุชนทั้งหลายพึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัยของสังขาร เพราะเมื่อ มีอวิชชา สังขารทั้ง ๓ ก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน
อนึ่ง ผู้ที่เดินทางไปในท่ามกลางแห่งความมืด ย่อมมองไม่เห็นทาง ฉะนั้น ผู้นั้นต้องเดินเดาสุ่มไปตามบุญตามกรรม ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง เมื่อขณะที่ เดินไม่ถูกทางนั้น แม้จะกล่าวได้ว่า เพราะมืดจึงเดินไม่ถูกทางก็จริง แต่ขณะที่ เดินถูกทางนั้น ก็จะกล่าวไม่ได้ว่า เพราะสว่างจึงเดินถูกทาง ข้อนี้ควรพิจารณาให้ รู้ไว้ ดังนั้นปุถุชนทั้งหลายที่กําลังเดินทางวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร จึงกล่าวได้ ว่าเป็นผู้เดินทางไปในความมืดด้วยกันทั้งสิ้น และขาดคนจูง คือ สัจจปฏิเวธญาณ ด้วยเหตุนี้แหละการกระทําของบุคคลเหล่านี้ บางทีก็เป็นบุญเรียกว่า ปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร บางทีก็เป็นบาปเรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ดังนั้นท่าน อรรถกถาจารย์จึงแสดงต่อไปว่า
อันธปุถุชน ซึ่งกําลังเดินทางอยู่ในวัฏฏสงสาร และขาดผู้จูง คือ สัจจปฏิเวธญาณ บางครั้งก็ย่อมกระทําบุญ บางครั้งก็ย่อมกระทําบาป เหมือนหนึ่งว่าคนตาบอดแต่กําเนิดที่ขาดผู้จูง บางครั้งก็เดินถูกทาง บางครั้งก็เดินผิดทาง
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
อวิชชาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปุญญาภิสังขารนั้นได้อํานาจปัจจัย ๒ คือ
๑. อารัมมณปัจจัย ๒. ปกตูนิสสยปัจจัย
อวิชชาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อปุญญาภิสังขารนั้นได้อํานาจปัจจัย ๑๕ คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อธิปติปัจจัย
๔. อนันตรปัจจัย
๕. สมนันตรปัจจัย
๖. สหชาตปัจจัย
๗. อัญญมัญญปัจจัย
๘. นิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย
๑๐. อาเสวนปัจจัย
๑๑. สัมปยุตตปัจจัย
๑๒. อัตถิปัจจัย
๑๓. นัตถิปัจจัย
๑๔. วิคตปัจจัย
๑๕. อวิคตปัจจัย
อวิชชาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อาเนญชาภิสังขารนั้นได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
จบ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
๒. สงฺขารปจฺจยา วิญญาณ์ สมฺภวติ
โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยสังขาร ๓ เป็นเหตุ
สังขารมีอยู่ ๒ อย่างคือ สังขารที่เป็นผลของอวิชชาอย่างหนึ่ง และ สังขารที่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณอย่างหนึ่ง
สําหรับสังขารที่เป็นผลของอวิชชานั้น ย่อมได้ทั้งหมด ไม่เว้นอย่างหนึ่ง อย่างใด ส่วนสังขารที่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณนั้น ยกเว้นเจตนาที่อยู่ใน อุทธัจจสัมปยุตตจิต ในขณะที่อกุศลปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยอปุญญาภิ สังขารเป็นเหตุ เพราะอุทธัจจเจตนานี้ไม่มีกําลังพอที่จะส่งผลในปฏิสนธิกาล ให้เกิดเป็นพวกอบายสัตว์ได้ แต่ในปวัตติกาลนั้นสามารถส่งผลให้เกิดเป็นอกุศล วิบากได้ ฉะนั้น ในคําว่า สังขารปัจจยา วิญญาณ นั้น ระหว่างอปุญญาภิ สังขารเป็นเหตุ ปฏิสนธิวิญญาณเป็นผลจึงเว้นอุทธัจจเจตนาเสีย คงได้อกุศลเจตนา ๑๑ แต่ระหว่างอปุญญาภิสังขารเป็นเหตุปวัตติวิญญาณเป็นผลนั้น ได้อกุศลเจตนา ๑๒ ทั้งหมด
ส่วนในปุญญาภิสังขารนั้น เว้นเจตนาที่ในกุศลอภิญญาเสียโดยแน่นอน เพราะอภิญญากุศลเจตนานี้ ไม่มีหน้าที่ส่งผล คือ วิปากวิญญาณ ทั้งใน ปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลแต่อย่างใด อภิญญาต่างๆ มีอิทธิวิธอภิญญาเป็นต้น ที่เกิดขึ้นก็เป็นผลมาจากกุศลอภิญญา ที่เป็นผลเกิดขึ้นโดยปัจจุบัน เป็นประจักษ์ สิทธินั้นเอง แต่แม้ว่าจะเว้นเจตนาที่ในกุศลอภิญญาก็ตาม จํานวนเจตนาที่เป็น ปุญญาภิสังขารก็คงได้ ๑๓ ตามเดิม เพราะรูปาวจรกุศลปัญจมฌานที่ไม่เกี่ยวกับ อภิญญาก็มีอยู่
สําหรับอาเนญชาภิสังขารนั้น คงได้เจตนาทั้งหมดไม่มีเว้น ฉะนั้น เมื่อสรุปจํานวนสังขารที่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณแล้ว คงได้ดังนี้
ปุญญาภิสังขาร ๑๓ (เว้นเจตนาที่ในกุศลอภิญญา)
อปุญญาภิสังขาร ๑๒ (เว้นอุทธัจจเจตนาที่ให้ผลในปฏิสนธิกาล)
อาเนญชาภิสังขาร ๔
รวมเป็นเจตนา ๒๕
อนึ่ง อกุศลเจตนาที่ถูกประหาณ โดยมรรคทั้ง ๔ และกุศลอกุศลเจตนาที่ เป็นอโหสิกรรม แม้ว่าจะเป็นสังขารที่เกิดมาจากอวิชชาเป็นเหตุก็จริง แต่ไม่จัดเข้าในสังขารที่เป็นเหตุของวิญญาณเช่นเดียวกัน
แสดงวจนัตถะของคําว่า วิญญาณ
วิชานาติ = วิญญาณํ
ธรรมชาติใดรู้อารมณ์เป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ (หมายเอาโลกียวิปากจิต ๓๒)
อีกนัยหนึ่ง
วิชานนุติ เอเตนาติ = วิญญาณํ
บุคคลทั้งหลายย่อมรู้อารมณ์เป็นพิเศษโดยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้บุคคลทั้งหลายได้รู้อารมณ์เป็นพิเศษนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณ (หมายเอาโลกียวิปากจิต ๓๒ พร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบ)
องค์ธรรมของวิญญาณนี้ แสดงเป็น ๒ นัย คือ โดยอภิธรรมภาชนียนัย
และโดยสุตตันตภาชนียนัย
ว่าโดยอภิธรรมภาชนียนัย ได้แก่จิต ๘๕ เพราะคําว่าวิญญาณนั้น มีการรู้ อารมณ์เป็นพิเศษไปจากการรู้ของสัญญาและปัญญา ฉะนั้น จึงนับเอาจิตทั้งหมด ได้และอีกประการหนึ่ง จิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสังขาร คือการปรุงแต่ง ฉะนั้น จึงนับเอาจิตทั้งหมดได้
ว่าโดยสุตตันตภาชนียนัย ได้แก่โลกียวิปากจิต ๓๒ เพราะการแสดง ปฏิจจสมุปบาท โดยสุตตันตภาชนียนัยนี้ มีการจําแนกโดยกาล คือ ภพที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต จําแนกโดย เหตุ ผล วัฏฏะทั้ง ๓ เป็นต้น ฉะนั้น วิญญาณ เมื่อว่าโดยกาลแล้ว ก็จัดเข้าในปัจจุบันภพ ดังที่แสดงว่า มชฺเณ อฏฺฐ ปจฺจุปฺปนฺโน อทธา เมื่อว่าโดยเหตุผลก็จัดเข้าในผล ดังที่ได้แสดงว่า อิทานิ ผลปญฺจก เมื่อว่า โดยวัฏฏะทั้ง ๓ ก็จัดเข้าในวิปากวัฏ ดังที่ได้แสดงว่า อวเสสา จ วิปากวฏฏ ฉะนั้น คําว่า วิญญาณ ที่เป็นผลของสังขารนี้จึงได้แก่โลกียวิปากจิต ๓๒ นั่นเอง
ส่วนการแสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัยนั้น องค์ธรรม ไม่จํากัดคือ คําว่า วิญญาณ ก็ได้แก่จิตทั้งหมด คําว่า นาม ก็ได้แก่เจตสิกทั้งหมด คําว่า รูป ก็ได้แก่ รูปทั้งหมด คําว่า ผัสสะ ก็ได้แก่ผัสสะทั้งหมด ดังนี้เป็นต้น เพราะไม่มีการจําแนก โดย กาล เหตุ ผล เป็นต้น
การแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยนัยทั้ง ๒ ดังกล่าวมานี้ สมเด็จพระ พุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในวิภังคปกรณ์ในอภิธรรมปิฎก
อธิบายในวงนัตถะข้อที่ ๑ คือ วิชานาติ - วิญญาณํ
ธรรมชาติของจิตนั้นย่อมมีการได้รับอารมณ์อยู่เสมอ ไม่ว่าเวลาใด การ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอไม่ว่าเวลาใดนี้แหละ ชื่อว่าย่อมรู้อารมณ์เป็นพิเศษ
อีกประการหนึ่ง ในจํานวนโลกียวิปากจิตเหล่านั้น มีการรู้อารมณ์จํากัด โดยเฉพาะๆ เป็นส่วนมาก ต่างกับการรู้อารมณ์ของกุศล กริยา ที่มีการรู้อารมณ์ โดยไม่จํากัดเป็นส่วนมากดังเช่น จักขุวิญญาณจิต ที่มีการรู้แต่เฉพาะรูปารมณ์ ฯลฯ กายวิญญาณจิต ก็มีการรู้แต่เฉพาะโผฏฐัพพารมณ์ สัมปฏิจฉนจิต ก็มีการรู้ แต่เฉพาะปัญจารมณ์ อุเบกขาสันติรณจิต มหาวิปากจิต และมหัคคตวิปากจิต เมื่อขณะที่ทําหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ก็มีการรู้เฉพาะอารมณ์ที่เกี่ยวกับอดีตภพ เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่ารู้อารมณ์เป็นพิเศษ คือรู้ไม่ทั่วไป
อธิบายในวงนัตถะข้อที่ ๒ คือ วิชานนุติ เอเตนาติ = วิญญาณํ
สัตว์ทั้งหลายก็ดี เจตสิกก็ดี ที่มีการรู้อารมณ์ได้ต่างๆ ทั้งปรมัตถ์และ บัญญัตินั้นก็โดยอาศัยวิปากวิญญาณเป็นเหตุ กล่าวคือ ถ้าจักขุวิญญาณจิตไม่เกิด ก็เป็นอันว่าผู้นั้นไม่มีการเห็น ฯลฯ ถ้ากายวิญญาณจิตไม่เกิด ก็เป็นอันว่าผู้นั้นไม่มีความรู้สึกทางกาย ถ้าขาดภวังคจิตเสีย ผู้นั้นก็ไม่มีความรู้อารมณ์ใดๆ เลย ด้วยเหตุนี้แหละ วิปากวิญญาณเหล่านี้จึงเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย รู้อารมณ์เป็นพิเศษ
วิญญาณที่เป็นผลของสังขารทั้งหลายนี้ แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
วิญญาณที่เกิดในปฏิสนธิกาล ชื่อว่า ปฏิสนธิวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ พวกหนึ่ง และ
วิญญาณที่เกิดในปวัตติกาล ชื่อว่า ปวัตติวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒ พวกหนึ่ง
การจําแนกปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ โดยสังขาร ๓
๑. อปุญญาภิสังขาร ๑๑ (เว้นอุทธัจจเจตนา) เป็นเหตุ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ๑ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในอบายภูมิทั้ง ๔ เป็นพวกทุคติอเหตุกบุคคล คือพวกอบายสัตว์
๒. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลทวิเหตุกโอมกะเจตนา ๔ เป็นเหตุ อุเบกขาสันติรณกุศลวิบาก ๑ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในมนุษยภูมิ ๑ จาตุมหาราชิกาภูมิ ๑ เป็นพวกสุคติอเหตุกบุคคล คือ มนุษย์และเทวดาชั้นต่ํา ที่พิกลพิการใบ้ บ้า บอด หนวก เป็นต้น
๓. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลทวิเหตุกอุกกัฏฐะเจตนา 4 และติเหตุกโอมกะเจตนา ๔ เป็นเหตุ มหาวิบากญาณวิปปยุต ๔ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในมนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ เป็นพวกทวิเหตุกบุคคล คือ มนุษย์และเทวดาชั้นกลาง
๔. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลติเหตุกอุกกัฏฐะเจตนา ๔ เป็นเหตุ มหาวิบากญาณสัมปยุต ๔ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในมนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ เป็นพวกติเหตุกบุคคล คือมนุษย์และเทวดาชั้นสูง
๕. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕ เป็นเหตุ รูปาวจรวิบาก ๕ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) เป็นพวกรูปพรหม
๖. อาเนญชาภิสังขาร อันได้แก่ อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ เป็นเหตุ อรูปาวจรวิบาก ๔ เป็นผล ให้ปฏิสนธิในอรูปภูมิ ๔ เป็นพวกอรูปพรหม
การจําแนกปวัตติวิญญาณ ๓๒ โดยสังขาร ๓
๑. อปุญญาภิสังขาร ๑๒ เป็นเหตุ อกุศลวิบาก ๗ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การ ถูกต้อง การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ และการรับอารมณ์ต่อจากชวนะ ที่ไม่ดีเป็นผล ในกามภูมิ ๑๑
๒. อปุญญาภิสังขาร ๑๒ เป็นเหตุ อกุศลวิบาก ๔ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นผล ในรูปภูมิ ๑๕
๓. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ เป็นเหตุ อเหตุกกุศลวิบาก ๘ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ และการรับอารมณ์ต่อจากชวนะ ที่ดีเป็นผล ในกามภูมิ ๑๑
๔. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ เป็นเหตุ มหาวิบาก ๘ ได้แก่ การรับอารมณ์ต่อจากชวนะที่ดีเป็นผล ในกามสุคติภูมิ ๗
๕. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ เป็นเหตุ อเหตุกกุศลวิบาก ๕ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ที่ดีเป็นผล ในรูปภูมิ ๑๕
๖. ปุญญาภิสังขาร อันได้แก่ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕ เป็นเหตุ รูปาวจรวิบาก ๕ ได้แก่ การรักษาภพเป็นผล ในรูปภูมิ ๑๕
๗. อาเนญชาภิสังขาร อันได้แก่ อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ เป็นเหตุ อรูปาวจรวิบาก ๔ ได้แก่ การรักษาภพเป็นผล ในอรูปภูมิ ๔
การจําแนกปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ โดยนัยต่างๆ
ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ เหล่านี้ เมื่อจําแนกโดยมิสสกะและสุทธะแล้ว แบ่งออกเป็น ๒ คือ
๑. รูปมิสสกวิญญาณ วิญญาณที่ปนด้วยรูป มี ๑๕
๒. รูปอมิสสกวิญญาณ วิญญาณที่ไม่ปนด้วยรูป มี ๔
เมื่อจําแนกโดยภูมิแล้ว แบ่งออกเป็น ๓ คือ
๑. กามวิญญาณ มี ๑๐
๒. รูปวิญญาณ มี ๕
๓. อรูปวิญญาณ มี ๔
เมื่อจําแนกโดยกําาเนิดแล้ว แบ่งออกเป็น ๔ คือ
๑. อัณฑชวิญญาณ มี ๑๐
๒. ชลาพุชวิญญาณ มี ๑๐
๓. สังเสทวิญญาณ มี ๑๐
๔. โอปปาติกวิญญาณ มี ๑๙
เมื่อจําแนกโดยคติแล้ว แบ่งออกเป็น ๕ คือ
๑. เทวคติวิญญาณ มี ๑๘
๒. มนุสสุคติวิญญาณ มี ๙
๓. นิรยคติวิญญาณ มี ๑
๔. ดิรัจฉานคติวิญญาณ มี ๑
๕. เปตคติวิญญาณ มี ๑
เมื่อจําแนกโดยวิญญาณฐิติ (ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) แล้วมี ๗ คือ
๑. นานัตตกายนานัตตสัญญีวิญญาณ มี ๙
๒. มานัตตกายเอกัตตสัญญีวิญญาณ มี ๒
๓. เอกัตตกายนานัตตสัญญีวิญญาณ มี ๒
๔. เอกัตตกายเอกัตตสัญญีวิญญาณ มี ๒
๕. อากาสานัญจายตนวิญญาณ มี ๑
๖. วิญญาณัญจายตนวิญญาณ มี ๑
๗. อากิญจัญญายตนวิญญาณ มี ๑
เมื่อจําแนกโดยสัตตาวาส (ภูมิอันเป็นที่อาศัยของสัตว์) แล้วมี ๘ (เว้นสัตตาวาส ๑ คืออสัญญสัตตา เพราะไม่มีวิญญาณ) คือ ข้อ ๑ ถึง ๗ เหมือนวิญญาณฐิติ ๗
๘. เนวสัญญานาสัญญายตนวิญญาณ มี ๑
หมายเหตุ การที่จําแนกปฏิสนธิวิญญาณ โดยวิญญาณฐิติและสัตตาวาส ในที่นี้แสดงไว้แต่จํานวนเท่านั้น ส่วนชื่อของวิญญาณนั้นปรากฏอยู่แล้วใน ปรมัตถโชติกะปริจเฉทที่ ๕ ตอน ๒
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ
สังขารทั้ง ๓ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิปากวิญญาณนี้ได้อํานาจปัจจัย ๒ คือ
๑. ปกติปนิสสยปัจจัย ๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย
จบ สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ
๓. วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ สมฺภวติ
เจตสิกที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต และกัมมชรูป ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยกัมมวิญญาณและวิปากวิญญาณ เป็นเหตุ
วิญญาณที่เป็นเหตุให้เกิดนามรูปนี้ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
วิปากวิญญาณ และ กัมมวิญญาณ
วิปากวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒
กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุศลจิต มหากุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต ที่ประกอบกับ กุศลอกุศลเจตนาที่ในอดีตภพ
นาม ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
รูป ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป จิตตชรูป (สําหรับ ปวัตติกัมมชรูป และจิตตชรูปที่เข้าในบทว่า รูปํ ได้นั้น ก็โดย อาศัยกัมมวิญญาณ และปวัตติวิปากวิญญาณนั้นเอง นับเข้าโดย อนุโลม)
เมื่อจําแนกวิปากวิญญาณ และนามรูปเหล่านี้โดยปฏิสนธิกาลและ ปวัตติกาลแล้ว ย่อมเป็นไปได้ดังนี้คือ
ปฏิสนธิวิปากวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๕
ปวัตติวิปากวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒
ปฏิสนธินามได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับปฏิสนธิ วิญญาณ ๑๕
ปวัตตินามได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับปวัตติวิปาก วิญญาณ ๓๒
ปฏิสนธิรูป ได้แก่ กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ
ปวัตติรูป ได้แก่ จิตตชรูปที่เกิดจากปวัตติวิปากวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ อรูป วิปาก ๔) และปวัตติกัมมชรูปที่เกิดจาก กัมมวิญญาณ ๒๕
แสดงวจนัตถะของคําว่า นาม
อามุม ณ นมติติ - นามํ
ธรรมชาติใดน้อมไปในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า นาม ได้แก่ เจตสิกที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
วจนัตถะของคําว่า รูป
สีตุณฺหาทวิโรชิปจฺจเยหิ รูปปตีติ = รูปํ
ธรรมชาติใดย่อมสลายไป เพราะปัจจัยที่เป็นปฏิปักษ์ มีความเย็น ความร้อนเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า รูป ได้แก่ กัมมชรูป และจิตตชรูป
วจนัตถะของคําว่า นามรูป
นามญฺจ รูปญฺจ นามรูปญฺจ = นามรูปํ
นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วย ชื่อว่า นามรูป
อธิบายในวจนัตถะของนามรูป
คําว่า นามรูปํ นี้ ถ้าแสดงตามความเป็นไปของนามและรูปที่เกิดจาก วิญญาณแล้ว จะต้องแสดงว่า “วิญญาณปจฺจยา นามรูปนามรูปํ” แต่ในที่นี้ตัดเอา นามรูปออกเสียบทหนึ่ง คงเหลือแต่ นามรูป บทเดียว การแสดงเช่นนี้เรียกว่า เอกเสสนัย
อธิบายว่า วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปนี้ มี ๓ อย่าง คือ
๑. วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามในอรูปภูมิ และปัญจโวการภูมิ อย่างหนึ่ง ในที่นี้คําว่า วิญญาณ ได้แก่ อรูปวิปากจิต ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่เจตสิก ๓๐ ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล ในอรูปภูมิ ๔
และทวีปัญจวิญญาณ ๑๐ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๓ ในปวัตติกาล ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ตามสมควร
๒. วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปในอสัญญสัตตภูมิ และในปัญจโวการภูมิอย่างหนึ่ง ในที่นี้คําว่า วิญญาณ หมายเอากัมมวิญญาณ ซึ่งได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบกับสัญญาวิราคภาวนาเจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมชรูป ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลของพวกอสัญญสัตตพรหม
และอกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ ที่ประกอบกับกุศล อกุศลเจตนาใน อดีตภพเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปวัตติกัมมชรูปในกามภูมิ ๑๑
และมหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ ที่ประกอบกับกุศลเจตนาใน อดีตภพเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปวัตติกัมมชรูปในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
๓. วิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ในปัญจโวการภูมิอย่างหนึ่ง ในที่นี้ คําว่า วิญญาณ ได้แก่ ปัญจโวการปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่เจตสิก ๓๕ และปฏิสนธิกัมมชรูปในปัญจโวการภูมิ ๒๖
และปัญจโวการปวัตติวิปากวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวีปัญจวิญญาณ ๑๐) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่เจตสิก ๓๕ และจิตตชรูปในปัญจโวการภูมิ ๒๖
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ
วิปากวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม คือเจตสิกที่ประกอบนั้น ได้อ่านาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. อาหารปัจจัย
๖. อินทริยปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่หทัยวัตถุรูปนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. อาหารปัจจัย
๖. อินทรียปัจจัย
๗. วิปปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปฏิสนธิกัมมชรูป (เว้นหทัยวัตถุ) นั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. นิสสยปัจจัย
๓. วิปากปัจจัย
๔. อาหารปัจจัย
๕. อินทรียปัจจัย
๖. วิปปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
กัมมวิญญาณ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปฏิสนธิกัมมชรูปในอสัญญสัตตภูมิ และปวัตติกัมมชรูปในปัญจโวการภูมิ และเอกโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ ปกตูนิสสยปัจจัย
๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ สมุภวติ
อัชฌัตติกายตนะ ๖ มีนักขายตนะเป็นต้น ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยนามรูปเป็นเหตุ
ในที่นี้ นาม ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
รูป ได้แก่ กัมมชรูป ๑๖ คืออวินิพโภครูป ๘ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๑ หทัยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑
สฬายตนะ ได้แก่ จิกขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ คือโลกียวิปากจิต ๓๒
แสดงวจนัตถะของคําว่า สฬายตนะ
อายต์ สงฺสารวฏฺฏ์ นยตีติ - อายตนํ
ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งวัฏฏสงสารที่ยืนยาว ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อายตนะ ได้แก่ อายตนะ ๑๒
ฉ อายตนามิ = สฬายตนํ
อายตนะทั้ง ๖ ชื่อว่า สฬายตนะ ได้แก่ อัชฌัตติกายตนะ ๖
สฬายตน จ จฏฺฐายตน จ-สฬายตนํ
อายตนะทั้ง ๖ และอายตนะที่ ๖ ชื่อว่า สฬายตนะ
อธิบายว่า คําว่า สฬายตนะ ในบทว่า นามรูปปัจจยา สฬายตน์ นี้ เป็นบทที่ทําให้เหลือจากบท ๒ บท คือ สฬายตน์ ฉฏฐายตน การกระทําให้เป็น ไปเช่นนี้เรียกว่า เอกเสสนัย คือลบบท ฉฏฐายตน์ ออก คงเหลือไว้แต่ สฬายตน บทเดียว หมายความว่า อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่เป็นผลของนามรูปนี้ เมื่อจําแนก โดยภูมิแล้ว ย่อมเป็นไปดังนี้คือ
ในปัญจโวการภูมิ นามรูปเป็นเหตุ อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่ชื่อว่า สฬายตนะ เป็นผลตามสมควร
ในอรูปภูมิ นามเป็นเหตุ มนายตนะที่ชื่อว่า ฉัฏฐายตนะ เป็นผล
การเป็นเหตุเป็นผลระหว่าง นาม กับ มนายตนะนั้น เกิดพร้อมกัน และ เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันก็ได้ ส่วนการเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่าง นาม กับปัญจายตนะนั้น เกิดพร้อมกันก็มี ไม่เกิดพร้อมกันก็มี แล้วแต่กาล และเป็นเหตุเป็นผลกัน ระหว่างรูป กับ มนายตนะ และรูป กับ ปัญจายตนะนั้น เกิดพร้อมกันก็มี ไม่พร้อมกันก็มี แล้วแต่กำเนิด
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
๑. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิปากจิต ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้ อ้านาจปัจจัย ๗ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. อัตถิปัจจัย
๗. อวิคตปัจจัย
๒. นาม คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่ประกอบกับ โลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียสเหตุกวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อ่านาจปัจจัย ๘ คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. นิสสยปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๓. นาม คือ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. สหชาตกัมมปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. นามอาหารปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
๔. นาม คือ ผัสสะ เจตนา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. นามอาหารปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๕. นาม คือ วิตก วิจาร ปีติ ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก (เว้นทวีปัญจวิญญาณ) ที่เกิดพร้อมกันกับ ตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. ฌานปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๖. นาม คือ ชีวิตินทรีย์ เวทนา ศรัทธา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นได้อำนาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย
๗. นาม คือ วิริยะ สติ ปัญญา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. มัคคปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย
๘. นาม คือ เอกัคคตา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๑๐ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. ฌานปัจจัย
๗. มัคคปัจจัย
๘. สัมปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๑๐. อวิคตปัจจัย
การจําแนกปัจจัยและปัจจยุบัน ตั้งแต่ข้อ ๑-๘ ดังกล่าวมานี้ เป็นปัจจัย ได้ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล
๙. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับปัญจโวการปฏิสนธิจิต เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ปัญจายตนะในปฏิสนธิกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. นิสสยปัจจัย
๓. วิปากปัจจัย
๔. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย
ในที่นี้สําหรับ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา อายตนะทั้ง ๔ นี้ มุ่งหมายเอา สังเสทชะและโอปปาติกกําเนิด ส่วนกายายตนะนั้น ได้กําเนิดทั้งหมด
๑๐. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับปัญจโวการวิบาก เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ปัญจายตนะในปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๔ คือ
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. อัตถิปัจจัย
๔. อวิคตปัจจัย
๑๑. รูป คือ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่ปัญจโวการ ปฏิสนธิจิต ๑๕ ในปฏิสนธิกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย
๑๒. รูป คือ หทัยวัตถุ ที่เกิดก่อนและกําลังตั้งอยู่ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่ปัญจโวการวิบาก ๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ในปวัตติกาล แห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๕ คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๔. อัตถิปัจจัย
๕. อวิคตปัจจัย
๑๓. รูป คือ ปัญจายตนะ ที่เกิดก่อนและกําลังตั้งอยู่ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ มนายตนะ ซึ่งได้แก่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ในปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๖ คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย
๑๔. รูป คือ กัมมชมหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้ง อยู่ในกลาปอันเดียวกันกับตน ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลแห่งปัญจโวการ ภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๔ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. สหชาตนิสสยปัจจัย
๓. อัตถิปัจจัย
๔. อวิคตปัจจัย
๑๕. รูป คือ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้งอยู่ใน กลาปอันเดียวกันกับตน ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อ่านาจปัจจัย ๓ คือ
๑. รูปชีวิตินทรียปัจจัย
๒. อัตถิปัจจัย
๓. อวิคตปัจจัย
๑๖. รูป คือ กัมมชโอชา เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้งอยู่ในกลาป อันเดียวกันกับตน และในกลาปอื่นๆ ในปวัตติกาลแห่งกามภูมินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๓ คือ
๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อัตถิปัจจัย
๓. อวิคตปัจจัย
เมื่อรวมอํานาจปัจจัยในการช่วยเหลืออุปการะ ของนามรูปแก่สฬายตนะนั้น ได้ ๒๒ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๗. ปัจฉาชาตปัจจัย
๘. กัมมปัจจัย
๙. วิปากปัจจัย
๑๐. รูปอาหารปัจจัย
๑๑. นามอาหารปัจจัย
๑๒. สหชาตินทริยปัจจัย
๑๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๑๔. รูปชีวิตินทรียปัจจัย
๑๕. ฌานปัจจัย
๑๖. มัคคปัจจัย
๑๗. สัมปยุตตปัจจัย
๑๘. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๕. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒๐. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒๑. อัตถิปัจจัย (ทั้ง ๕ ปัจจัย)
๒๒. อวิคตปัจจัย (ทั้ง ๕ ปัจจัย)
จบ นามรูปปจฺจยา สฬายตน
๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส สมุภวติ
ผัสสะ ๖ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยอัชฌัตติกายตนะ ๖ เป็นเหตุ สฬายตนะ ที่เป็นเหตุให้เกิดผัสสะนี้ก็ได้แก่อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่เป็น ผลของนามรูปนั่นเอง
ผัสสะ ๖ คือ
๑. จักขุสัมผัสสะ
๒. โสตสัมผัสสะ
๓. มานสัมผัสสะ
๔. ชิวหาสัมผัสสะ
๕. กายสัมผัสสะ
๖. มโนสัมผัสสะ
ผัสสะทั้ง ๖ นี้ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒
แสดงวจนัตถะของ ผัสสะ
“อารมภ์ ผุสตีติ = ผสฺโส”
ธรรมชาติที่กระทบซึ่งอารมณ์ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า ผัสสะ
อีกนัยหนึ่ง
“สนฺติ สมฺปยุตฺตธมฺมา เอเตนาติ = ผสฺโส”
สัมปยุตตธรรม คือ จิต และเจตสิกทั้งหลาย ย่อมกระทบซึ่งอารมณ์ โดยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สัมปยุตตธรรมกระทบซึ่งอารมณ์นั้น ชื่อว่า ผัสสะ
อีกนัยหนึ่ง
“ผุสน์ = ผสโส” (วา) “สมุสเต = สมฺผสฺโส”
การกระทบอารมณ์ ชื่อว่า ผัสสะ หรือชื่อว่า สัมผัสสะ วจนัตถะ ของ จักขุสัมผัสสะเป็นต้น
“จกฺขุวิญญาเณน สมฺปยุตฺโต สมผสฺโสติ = จกฺขุสมผสฺโส
ผัสสะ คือการกระทบที่ประกอบกับจักขุวิญญาณ ฉะนั้น จึงชื่อว่า จักขุสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสะเจตสิก ที่ประกอบกับจักขุวิญญาณ
(โสตสัมผัสสะ ฯลฯ กายสัมผัสสะ ก็แสดงในทํานองเดียวกัน)
“มโนวิญญาเณน สมฺปยุตฺโต สมฺผสฺโสติ = มโนสมผสฺโส
ผัสสะ คือการกระทบที่ประกอบกับมโนวิญญาณ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๒๒ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ)
อธิบายว่า คนที่ตายแล้ว แม้ว่าจะมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ก็ตามแต่ ผัสสะต่างๆ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ หมายความว่า การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การนึกคิดต่างๆ ไม่มี ที่เป็นเช่นนี้ก็ เพราะขาดปสาทรูปทั้ง ๕ และภวังคจิต ที่เรียกว่า สฬายตนะนั้นเอง และในผู้ที่มี ชีวิตอยู่นั้น ถ้าตาบอดเสียแล้ว จักขุสัมผัสสะก็เกิดไม่ได้ หรือถ้าหูหนวกเสียแล้ว
โสตสัมผัสสะก็เกิดไม่ได้เป็นต้นเช่นเดียวกัน
อนึ่ง ผัสสะที่เป็นผลของสฬายตนะนี้ ได้แก่ การประชุมพร้อมกัน ระหว่างปสาทรูปทั้ง ๕ กับปัญจารมณ์และปัญจวิญญาณ ชื่อว่า จักขุสัมผัสสะ โสตสัมผัสสะ ฆานสัมผัสสะ ชิวหาสัมผัสสะ กายสัมผัสสะ เพราะการที่ จักขุวิญญาณเป็นต้น เกิดขึ้นได้นั้น ก็อาศัยการกระทบกันระหว่างจักขุปสาท กับ รูปารมณ์ โสตปสาท กับ สัททารมณ์ ฆานปสาท กับ คันธารมณ์ ชิวหาปสาท กับ รสารมณ์ กายปสาท กับ โผฏฐัพพารมณ์ แล้วจึงทําให้จักขุวิญญาณเป็นต้นเกิดขึ้น เมื่อจักขุวิญญาณเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว จักขุสัมผัสสะเป็นต้น ก็ปรากฏ ส่วน มโนสัมผัสสะนั้น ได้แก่การกระทบกันระหว่างภวังคจิตกับสภาพธรรมต่างๆ ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ ซึ่งได้แก่ธรรมารมณ์หรืออารมณ์ ๖ หมายเอาในระหว่าง ที่วิถีจิตยังไม่เกิด เพราะภวังคจิตที่เกิดขึ้นนั้น ก็ได้กระทบกับอารมณ์ที่เป็น กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ การกระทบนี้แหละ ชื่อว่า มโนสัมผัสสะ ได้แก่ผัสสะที่ประกอบกับภวังคจิตนั้นเอง
อีกนัยหนึ่ง มโนสัมผัสสะ ได้แก่การประชุมพร้อมกันระหว่างภวังคจิต กับสภาพธรรมต่างๆ ทั้งปรมัตถ์ บัญญัติ และมโนวิญญาณ นี้มุ่งหมายเอาใน ระหว่างที่วิถีจิตเกิดแล้ว เพราะวิถีจิตที่เกิดขึ้นได้นั้นก็ต้องอาศัยการกระทบกัน ระหว่างภวังคจิตกับสภาพธรรมต่างๆ เป็นเหตุ เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นแล้วมโนสัมผัสสะ ก็ปรากฏขึ้น แต่ผัสสะที่ประกอบอยู่ในกุศล อกุศล กิริยา นั้นไม่เอา มุ่งหมาย เอาแต่เฉพาะผัสสะที่ประกอบอยู่ในวิบากมโนวิญญาณมี สัมปฏิจฉนะ สันตีรณะ ทารัมมณะ เท่านั้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนิทานวรรค สังยุตตพระบาลีว่า
“จักขุญจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ โสตวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“โสตญฺจ ปฏิจฺจ สทท จ อุปปชชติ จกฺขุวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“มานญฺจ ปฏิจฺจ คนเธ จ อุปฺปชฺชติ ฆานวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“ชิวหญฺจ ปฏิจฺจ เส จ อุปฺปชฺชติ ชิวหาวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“กายญจ ปฏิจฺจ โผฏฺฐพฺเพ จ อุปปัชชติ กายวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
“มนญฺจ ปฏิจจฺ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญญาณํ ติณณํ สงฺคติ ผสโส”
ซึ่งแปลว่า
จักขุวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท กับ รูปารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างจักขุปสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
โสตวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยโสตปสาท กับ สัททารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างโสตปสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ ทั้ง ๓ นี่แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
ฆานวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยฆานปสาท กับ คันธารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างฆานปสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
ชิวหาวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยชิวหาปสาท กับ รสารมณ์ การประชุมร่วมกันระหว่างชิวหาปสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
กายวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยกายปสาท กับ โผฏฐัพพารมณ์ การประชุมกันระหว่างกายปสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยภวังคจิต กับ สภาพธรรม ต่างๆ ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ การประชุมร่วมกันระหว่างภวังคจิต สภาพธรรมต่างๆ มโนวิญญาณทั้ง ๓ นี่แหละ ชื่อว่า ผัสสะ
อนึ่งการกระทบอารมณ์ของผัสสะนี้ ไม่เหมือนกับการกระทบกันระหว่าง รูปต่อรูป เช่น มือ ๒ ข้างกระทบกัน หรือวัตถุ ๒ สิ่งกระทบกัน เป็นการ กระทบในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดตามสภาวะ แต่บางคราวการกระทบอารมณ์ตาม สภาวะ ที่ชื่อว่าผัสสะนี้ ก็ปรากฏชัดเจนคล้ายกับมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบกับกาย เช่น ขณะที่แลเห็นคนอื่นกําลังกินของเปรี้ยวๆ อยู่ ผู้เห็นก็รู้สึกน้ําลายไหล หรือ คนใดคนหนึ่งกําลังลับมีดอยู่บนหินที่มีทราย คนที่ได้ยินเสียงนั้นแล้วจะรู้สึก เสียวฟัน หรือบางคนที่ใจอ่อน แลเห็นคนขึ้นไปบนที่สูงมากๆ ก็รู้สึกเสียวไส้ กลัวแทน มีอาการขาสั่นใจหวิว หรือคนขลาดได้แลเห็นเขากําลัง ตี ฟันกันมี โลหิตออก ก็รู้สึกกลัวใจสั่นเป็นลม หรือเนื้อเมื่อขณะเห็นเสือ จะก้าวขาไม่ออก ยืนตัวแข็งอยู่กับที่ หรือผู้ที่ได้เข้าไปในสถานที่สงบเงียบ มีสัปบุรุษทั้งหลายกําลัง บําเพ็ญกรรมฐานอยู่ เมื่อได้แลเห็นบุคคลและสถานที่เช่นนี้แล้ว ก็มีความรู้สึกว่า จิตใจสบายชุ่มชื่นผ่องใสขึ้นทันที ความเป็นไปดังกล่าวมานี้ ก็คือการกระทบกัน ระหว่างจิตกับอารมณ์ที่เรียกว่า ผัสสะนั้นเอง และผัสสะทั้ง ๖ เกิดขึ้นได้ก็เพราะ มีอัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่เกิดจากอดีตกรรมเป็นเหตุ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า "สฬายตนปจจยา ผสฺโส"
เมื่อจําแนกผัสสะ ๖ โดยภูมิแล้ว ได้ดังนี้ คือ
ในกามภูมิ ๑๑ ผัสสะ ๖ ย่อมเกิดขึ้นได้
ในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) ผัสสะย่อมเกิดได้ ๓ คือ จักขุสัมผัสสะ โสตสัมผัสสะ มโนสัมผัสสะ
ในอรูปภูมิ ๔ ผัสสะย่อมเกิดได้ ๑ คือ มโนสัมผัสสะ
ส่วนในอสัญญสัตตภูมินั้น ผัสสะทั้งหมดย่อมเกิดไม่ได้ เพราะไม่มีอัชฌัตติกายตนะ ๖ เกิดในภูมินี้
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
๑. จักขายตนะ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จักขุสัมผัสสะนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทรียปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถุปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๒. โสตายตนะ มานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ โสตสัมผัสสะ ฆานสัมผัสสะ ชิวหาสัมผัสสะ กายสัมผัสสะ นั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ ปัจจัย เช่นเดียวกับจักขายตนะเป็นปัจจัย จักขุสัมผัสสะเป็นปัจจยุปบัน
๓. มนายตนะ คือ โลกียวิปากจิต ๒๒ (ทวิปัญจวิญญาณ) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกันตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๙ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. นามอาหารปัจจัย
๖. สหชาตินทริยปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. สหชาติตถิปัจจัย
๙. สหชาตอวิคตปัจจัย
จบ สฬายตนปจฺจยา ผสุโส
๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา สมฺภวติ
เวทนา ๖ ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ ๖ เป็นเหตุ
เวทนา ๖ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัมผัสสะนั้น คือ
๑. จักขุสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างจักขุวิญญาณกับรูปารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในจักขุวิญญาณจิต
๒. โสตสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างโสตวิญญาณกับสัททารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในโสตวิญญาณจิต
๓. มานสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างฆานวิญญาณกับคันธารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในฆานวิญญาณจิต
๔. ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างชิวหาวิญญาณกับรสารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในชิวหาวิญญาณจิต
๕. กายสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างกายวิญญาณกับโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่เวทนาที่อยู่ในกายวิญญาณจิต
๖. มโนสัมผัสสชา เวทนา การเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกัน ระหว่างมโนวิญญาณกับธรรมารมณ์ หรืออารมณ์ ๖ ได้แก่เวทนาที่อยู่ใน โลกียวิปากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต)
เวทนาทั้ง ๖ เหล่านี้ เมื่อจําแนกโดย สุข ทุกข์ เฉยๆ แล้วได้ดังนี้คือ ตั้งแต่จักขุสัมผัสสชาเวทนา จนถึงชิวหาสัมผัสสชาเวทนาทั้ง ๔ นี้ เป็นการเสวย อารมณ์ชนิดอุเบกขา
กายสัมผัสสชาเวทนา เป็นการเสวยอารมณ์ชนิดสุข ๑ ทุกข์ ๑
มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นการเสวยอารมณ์ชนิดสุข ๑ ทุกข์ ๑ อุเบกขา ๑
เมื่อว่าโดยธรรมชาติที่เป็นไปอยู่ในโลกนี้แล้ว การเสวยอารมณ์มีอยู่ ๓ อย่างคือ
๑. ความรู้สึกสบายกายสบายใจ ในเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ถูกใจ เรียกว่า สุขเวทนาอย่างหนึ่ง
๒. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ ในเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ ไม่ถูกใจ เรียกว่า ทุกขเวทนาอย่างหนึ่ง
๓. ความรู้สึกเฉยๆ ในเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ปานกลาง เรียกว่า อุเบกขาเวทนาอย่างหนึ่ง
เมื่อว่าโดยปุคคลาธิฏฐานแล้วการเสวยอารมณ์ย่อมมี ๒ คือ สุข ๑ ทุกข์ ๑
สุข ได้แก่ สุขสหตกายสัมผัสสชาเวทนา โสมนัสสหคตมโนสัม ผัสสชาเวทนา อุเบกขาเวทนาที่เกี่ยวกับกุศล กริยา และกุศลวิบาก
ทุกข์ ได้แก่ ทุกขสหตกายสัมผัสสชาเวทนา โทมนัสสสหคตมโน สัมผัสสชาเวทนา อุเบกขาที่เกี่ยวกับอกุศล และกุศลวิบาก
ความสุขและความทุกข์ดังกล่าวแล้วนี้ จะเกิดขึ้นได้นั้นก็โดยอาศัยผัสสะ อันได้แก่ การกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์นั้นเองเป็นเหตุ ฉะนั้น ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดีที่มีมากหรือน้อยนั้น ก็ต้องแล้วแต่กําลังของผัสสะ กล่าวคือ ถ้าการกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์มีกําลังมาก ความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็ปรากฏ มาก ถ้าการกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์มีกําลังน้อย ความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็ปรากฏน้อย อุปมาเหมือนขณะที่กินอาหาร ฟันมีหน้าที่เคี้ยวอาหาร ลิ้นมีหน้าที่รู้รส ถ้าฟันได้ทําหน้าที่เคี้ยวให้เต็มที่แล้ว ลิ้นก็รู้รสได้อย่างชัดเจน ถ้าฟันไม่ได้ ทําหน้าที่เคี้ยวให้เต็มที่แล้ว ลิ้นก็รู้รสน้อย ข้อนี้ฉันใด ผัสสะก็เปรียบเหมือนฟัน เวทนาก็เปรียบเหมือนลิ้น อารมณ์เปรียบเหมือนอาหาร การกระทบกันระหว่าง จิตกับอารมณ์เปรียบเหมือนการเคี้ยวอาหาร การกระทบที่มีกําลังมากหรือน้อยนั้น เปรียบเหมือนการเคี้ยวได้เต็มที่และไม่เต็มที่นั่นเอง
การกระทบกันระหว่างจิตกับอารมณ์ที่เรียกว่าผัสสะ ดังกล่าวมานี้จะ เห็นได้ในความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับคนทั้งหลาย เช่นในขณะที่ดูละครหรือภาพยนตร์ ถ้าเห็นไม่ชัดได้ยินไม่ชัด โดยที่อยู่ไกลเกินไปหรือมีแสงสว่างน้อยไป ซึ่งถ้าว่า โดยธรรมาธิฏฐานแล้ว ก็คือผัสสะมีกําลังน้อยนั้นเอง ด้วยเหตุนี้คนที่ดูนั้นจึง พยายามกระเถิบให้เข้าไปใกล้ๆ เพื่อให้เห็นและได้ยินได้ชัดเจน หรือถ้ามี แสงสว่างน้อยไปก็พยายามหาหนทางให้มีแสงสว่างให้มากขึ้น ถ้าเห็นหรือได้ยิน ชัดเจนดีแล้ว ก็หมายถึงว่าผัสสะนั้นมีกําลังแรงขึ้น เมื่อผัสสะมีกําลังแรงขึ้นแล้ว เวทนา คือ การเสวยอารมณ์นั้นก็ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น คือเห็นชัดเจนขึ้นได้ยิน ชัดเจนขึ้นนั่นเอง เมื่อมีการเห็นชัดได้ยินชัดแล้ว อิฏฐรสหรืออนิฏฐรสที่มีอยู่ใน อารมณ์นั้นๆ ก็ย่อมปรากฏชัด ทั้งนี้ก็เพราะว่า จักขุวิญญาณ คือการเห็นเป็นต้น นั้น มีหน้าที่เพียงแต่กระทํา รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ให้เป็นอารมณ์เท่านั้น หาได้กระทําให้อิฏฐรส หรืออนิฏฐรสที่มีอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ให้ปรากฏขึ้นได้ไม่ ธรรมที่สามารถกระทําอิฏฐรส หรืออนิฏฐรสให้ปรากฏขึ้นได้นั้น ได้แก่ ผัสสะ ฉะนั้น ในเวลาใดที่ได้รับอารมณ์ที่ดี ก็หมายถึงว่าผัสสะได้กระทําหน้าที่บีบให้ อิฏฐรสปรากฏขึ้น และในเวลาใดที่ได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี ก็หมายถึงว่าผัสสะได้ กระทําหน้าที่บีบให้อนิฏฐรสปรากฏขึ้น เมื่ออิฏฐรสหรืออนิฏฐรสปรากฏขึ้นแล้ว
เวทนาก็เข้าไปกระทําหน้าที่เสวยคือรู้สึกสบายหรือไม่สบายในอารมณ์นั้นๆ ด้วย เหตุนี้ ขณะใดที่เวทนากําลังเสวยความสุขในอารมณ์อยู่ เวทนานั้นย่อมแสดง อาการให้ปรากฏขึ้นแก่บุคคลนั้น คือทําให้มีหน้าตาแจ่มใสชื่นบาน ที่ทางโลก สมมุติกันว่าคนนั้น คนนี้กําลังมีความสุข และในขณะใดที่เวทนากําลังเสวย ความทุกข์ในอารมณ์อยู่ เวทนานั้นก็ย่อมแสดงอาการให้ปรากฏขึ้นแก่บุคคลนั้น เช่นเดียวกัน คือทําให้มีหน้าตาเศร้าหมอง ที่สมมติกันว่าคนนั้นคนนี้กําลังมีความทุกข์ อยู่นั่นเอง
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ผสฺสปจฺจยา เวทนา
ผัสสะทั้ง ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่เวทนาทั้ง ๖ นั้น ได้อํานาจปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. นามอาหารปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. สหชาติตถิปัจจัย
๘. สหชาตอวิคตปัจจัย
จบ ผสฺสปจจยา เวทนา
๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา สมุภวติ
ตัณหา ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนา ๖ เป็นเหตุ
วจนัตถะของคําว่า ตัณหา
“วตฺถุกามํ ปริตสฺสสตีติ = ตณฺหา”
ธรรมชาติใดย่อมติดใจซึ่งวัตถุกาม ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ตัณหาอีกนัยหนึ่ง
“วตถุกาม ตสฺสนฺติ ปริตสฺสนฺติ สตฺตา เอตายาติ = ตณฺหา”
สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีติดใจซึ่งวัตถุกามโดยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายยินดีติดใจซึ่งวัตถุกามนั้น ชื่อว่า ตัณหา ได้แก่โลภเจตสิกที่อยู่ในโลภมูลจิต ๘
อธิบายว่า เมื่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสภาพธรรมต่างๆ มาปรากฏในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว ตัณหาคือความยินดีติดใจใน อารมณ์นั้นๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแก่คนทั่วไป ยกเว้นแต่พระอรหันต์ และ ถ้าอารมณ์นั้นเกี่ยวกับกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ยกเว้นพระอนาคามีด้วย ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยมีเวทนา คือ ความรู้สึกในการเห็น การได้ยินเป็นต้นนั้นเอง และ ธรรมดาคนทั้งหลายที่จะเกิดความพอใจติดใจในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดก็ตามจะต้องเป็นอารมณ์ที่ตนได้เคยประสบมาแล้ว หรือกําลังได้รับอยู่สําหรับอารมณ์ ที่ตนยังไม่เคยได้พบนั้น ตัณหาย่อมเกิดได้ยาก เพราะเวทนาคือการเสวยอารมณ์ที่ ตนยังไม่เคยพบนั้น ย่อมเป็นได้ยาก ตัณหาคือความพอใจติดใจในอารมณ์มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านี้ ก็คือความพอใจต่อสุขเวทนาที่ได้รับจากอารมณ์นั้นๆ นั่นเอง เมื่อพอใจต่อสุขเวทนาแล้ว ก็ต้องมีความพอใจในอารมณ์ที่ทําให้ สุขเวทนาเกิดด้วยเหมือนกัน และผู้ที่กําลังได้รับความสุขอยู่แล้ว ตัณหานั้นย่อม ติดใจในความสุขที่ตนกําลังได้รับอยู่นั้น และบางทีก็มีความปรารถนาให้ได้รับ ความสุขยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า “เวทนาปจฺจยา ตณฺหา” คือ สุขเวทนาเป็นเหตุให้เกิดตัณหา
ผู้ที่กําลังได้รับความทุกข์ความลําบากต่างๆ หรือกําลังไม่สบาย ก็ย่อม คิดถึงความสุขและอารมณ์ที่ทําให้ความสุขเกิด แล้วพยายามขวนขวายหาทางที่จะ ให้พ้นจากความทุกข์ความลําบากนั้นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ คนที่เจ็บไข้ไม่สบายก็ พยายามหาหมอซื้อยามารักษาให้หายจากการเจ็บไข้นั้น เมื่อยังไม่พ้นจากความทุกข์เหล่านั้น ก็รําพึงรําพันว่า เมื่อไรหนอตนจึงจะพ้นจากความทุกข์ความลําบาก นั้นเสียได้ นี้ก็เป็นเพราะด้วยอํานาจตัณหาที่เกิดเนื่องมาจากทุกขเวทนานั่นเองเป็นเหตุ นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ทุกข์เวทนาก็เป็นเหตุให้เกิดตัณหาได้
ผู้ที่กําลังเป็นปกติอยู่ไม่ทุกข์ และไม่มีความสุขที่พิเศษ คือกําลังเสวย ความเป็นอุเบกขาอยู่ สภาพของอุเบกขาเวทนานี้เป็นสภาพที่สงบ คล้ายกับ สุขเวทนาผู้ที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ ย่อมมีความยินดีพอใจต่ออุเบกขาเวทนานี้ แล้ว คิดว่าแม้ว่าจะไม่ได้รับความสุขที่พิเศษ ก็ขอให้เป็นดังนี้เรื่อยๆ ไป อย่าให้ความ ทุกข์เกิดขึ้นเลยนี้ก็เป็นเพราะอํานาจตัณหาที่เกิดเนื่องมาจากอุเบกขาเวทนาเป็นเหตุ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อุเบกขาเวทนาก็เป็นเหตุให้เกิดตัณหาได้
ตัณหานี้เมื่อจําแนกโดยอารมณ์แล้ว มี ๖ อย่าง คือ
๑. รูปตัณหา ความยินดีติดใจในรูปารมณ์
๒. สัททตัณหา ความยินดีติดใจในสัททารมณ์
๓. คันธตัณหา ความยินดีติดใจในคันธารมณ์
๔. รสตัณหา ความยินดีติดใจในรสารมณ์ ดังแสดงวจนัตถะว่า
๕. โผฏฐัพพตัณหา ความยินดีติดใจในโผฏฐัพพารมณ์
๖. ธัมมตัณหา ความยินดีติดใจในธรรมารมณ์ คือสภาพธรรมต่างๆ
อธิบายว่า เมื่อรูปารมณ์มากระทบกับจักขุปสาทแล้ว จักขุวิญญาณก็เกิด และในขณะเดียวกันนี้ ผัสสะ เวทนา ก็เกิดขึ้นด้วย เรียกว่า เห็น นี่กล่าวโดย ธรรมาธิฏฐาน ถ้ากล่าวโดยปุคคลาธิฏฐานแล้ว ในตอนนี้ยังไม่มีความรู้สึกอย่างใด เกิดขึ้น วิถีจิตต้องถึงชวนะเสียก่อน จึงจะมีความรู้สึกในการเห็นนั้นเพียงเล็กน้อย ยังไม่ชัดเจนทีเดียว ต่อเมื่อถึงมโนทวารวิถีเรียบร้อยแล้ว จึงมีความรู้สึกใน การเห็นนี้ได้ชัดเจน แต่ตัณหาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ตั้งแต่ขณะที่มีความรู้สึกใน การเห็นนี้เล็กน้อย ตัณหาก็เกิดได้ หมายความว่า ตัณหาตั้งต้นเกิดขึ้นใน จักขุทวารวิถีนั้นเอง เพราะว่าผู้นั้นยังมีตัณหานุสัยอยู่ ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นเหตุให้ ตัณหาเกิดขึ้นได้ สําหรับผู้ที่ปราศจากตัณหานุสัย หรือผู้ที่กําลังมีสติกําหนดการ เห็นเป็นต้นอยู่ และสติสมาธิของผู้นั้นก็เป็นไปติดต่อกันไม่ขาดระยะแล้ว แม้ว่าจะเกิดความรู้สึกในการเห็นเพียงเล็กน้อย เวทนานี้ก็ไม่สามารถเป็นเหตุให้ตัณหา เกิดได้ ฉะนั้น ในการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในนิทานวรรคสังยุตตพระบาลี ว่า “จักขุญจ ปฏิจจ รูเป จ อุปปชชติ จักขุวิญญาณ์ ติณณ์ สงฺคติ ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจจยา ตณฺหา” นั้น เป็นการแสดงที่มุ่งหมายเอา เฉพาะแต่ธรรมาธิฏฐานเท่านั้น ถ้ามุ่งหมายเอาปุคคลาธิฏฐานแล้ว ก็เป็นไปโดย ส่วนมาก ไม่ใช่เป็นได้ทั้งหมด
ในสัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ก็เป็นไปเช่นเดียวกัน
สําหรับ ธัมมตัณหา นั้น หมายความว่า ในขณะนึกถึง โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น ที่เป็นฝ่ายอกุศล และนึกถึง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ฌาน อภิญญา เป็นต้น ที่เป็นฝ่ายโลกียกุศลและกริยา หรือนึกถึง การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้อง การนอนหลับ ที่เป็นฝ่าย กามวิบาก หรือนึกถึง ปสาทรูป สุขุมรูป และบัญญัติต่างๆ เหล่านี้แล้ว มีความ ยินดีพอใจเกิดขึ้น เรียกว่า ธัมมตัณหา
อนึ่ง ในมัชฌิมปัณณาสอรรถกถาแสดงไว้ว่า ความยินดีติดใจในการ เจริญสมถะและวิปัสสนาก็เรียกว่า ธัมมตัณหา ได้เหมือนกัน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนทิยาติ ปททวเยหิ สมถวิปัสสนาสุ ฉนฺทราโค วุตฺโต แปลความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวถึงความยินดีติดใจในการเจริญ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน โดยบท ๖ บท ว่า ธรรมราคะ ธรรมนั้นที ซึ่งหมายความว่า ฉันทราคะที่เกิดขึ้นในสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา ชื่อว่า ธัมมตัณหา
ตัณหาดังกล่าวมาแล้วนี้ เมื่อว่าโดยอาการที่เป็นไปแล้ว มี ๓ คือ
๑. กามตัณหา ได้แก่ความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณ ทั้ง ๕ แต่ไม่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ ดังมีวจนัตถะว่า
“กาเมตีติ - กาโม” “กาโม จ โส ตณฺหา จาติ - กามตัณหา”
สภาวธรรมใด ย่อมยินดีอยากได้ซึ่งอารมณ์ทั้ง ๖ ฉะนั้น สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า กาม
สภาวธรรมใด ย่อมยินดีอยากได้ซึ่งอารมณ์ทั้ง ๖ ด้วย ติดอยู่ในอารมณ์ นั้นด้วย ฉะนั้น สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า กามตัณหา ได้แก่ โลภเจตสิก
๒. ภวตัณหา ได้แก่ตัณหาที่เกิดพร้อมกันกับสัสสตทิฏฐิ โดยอาศัยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หมายถึงผู้ที่มีความเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนกําลังได้รับอยู่นี้ ตั้งอยู่เป็นนิจ ไม่เข้าใจว่ามีการเกิด ดับ ดังมีวจนัตถะว่า
“ภวตีติ = ภโว” “ภโว จ โส ตณฺหา จาติ - ภวตัณหา”
สภาวธรรมใด ย่อมเห็นว่า ตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ปรากฏมีอยู่ เสมอไม่สูญหาย ฉะนั้น สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า ภวะ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ
สภาวธรรมใด ย่อมเห็นว่าตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ปรากฏมีอยู่ เสมอไม่สูญหายด้วย และยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นด้วย ฉะนั้นสภาวธรรมนั้น ชื่อ ว่า ภวตัณหา ได้แก่ โลภะที่เกิดพร้อมกันกับสัสสตทิฏฐิ
อีกนัยหนึ่ง ภวตัณหานี้ เมื่อแสดงตามสุตตันตมหาวรรคอรรถกถาแล้ว มี ๕ อย่างคือ
๑. มีความยินดีพอใจใน กามภพ คือ การได้เกิดเป็น มนุษย์และเทวดาอย่างหนึ่ง
๒. มีความยินดีพอใจใน รูปภพ คือ การได้เกิดเป็น รูปพรหมอย่างหนึ่ง
๓. มีความยินดีพอใจใน อรูปภพ คือ การได้เกิดเป็น อรูปพรหมอย่างหนึ่ง
๔. มีความยินดีพอใจใน ฌานสมาบัติ คือ การได้ รูปฌาน อรูปฌานอย่างหนึ่ง
๕. มีความยินดีพอใจใน สัสสตทิฏฐิ คือ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายนี้มีตัวมีตนอยู่ และตัวตนนี้ไม่สูญหาย ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกายเท่านั้นอย่างหนึ่ง หรือตัวตนที่มีอยู่ใน ร่างกายของมนุษย์ เมื่อมนุษย์ตายแล้ว ตัวตนนั้นก็ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตน ที่อยู่ในร่างกายของสัตว์ดิรัจฉานก็เช่นเดียวกัน เมื่อสัตว์นั้นๆ ตายแล้ว ตัวตน ก็ไปเกิดเป็นสัตว์นั้นๆ อีก ไม่เปลี่ยนแปลง ดังมีสาธกบาลีแสดงว่า
“เว ตณฺหาภวตัณหา” “ภวปาถนาวเสน อุปฺปนฺนสฺส สัสสตทิฏฐิ สหคตสฺส รูปารูปภวราคสุส จ ฌานนิกนฺติยา เจต์ อธิวจน์"
ความยินดีพอใจในภพต่างๆ ชื่อว่า ภวตัณหา คําว่า ภวตัณหา นี้ ได้แก่ ราคะที่เกิดขึ้นโดยความปรารถนากามภพอย่างหนึ่ง ราคะที่เกิดพร้อมกันกับ สัสสตทิฏฐิอย่างหนึ่ง ราคะที่เกิดขึ้นในรูปภพอรูปภพอย่างหนึ่ง ราคะที่เกิดขึ้น ในฌานสมาบัติอย่างหนึ่ง
๓. วิภวตัณหา ได้แก่ ตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับอุจเฉททิฏฐิ โดย อาศัยอารมณ์ ๖ หมายถึงผู้ที่มีความเห็นว่า ในอารมณ์ ๖ ซึ่งได้แก่สิ่งที่มีชีวิตและ ไม่มีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้มีตัวตนอยู่ และตัวตนนี้ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ตลอด ย่อมสูญหายไปแล้วมีความยินดีติดใจในอารมณ์นั้น หรือมีความเห็นว่า ไม่ว่าใครๆ ทั้งสิ้น เมื่อตายแล้วก็สูญหายไปไม่เกิดอีก แล้วมีความยินดีติดใจในความเห็นนั้น ผู้ที่มีความเห็นในพระนิพพานว่ามีตัวมีตนแล้วปรารถนาพระนิพพาน ความ ปรารถนานี้ก็ชื่อว่าวิภวตัณหา ดังมีวงนัตถะว่า
“น ภวตีติ - วิภโว” “วิภโว จ โส ตณฺหา จาติ - วิภวตัณหา” (วา) “วิภเว ตณฺหา = วิภวตัณหา”
สภาวธรรมใดย่อมเห็นว่าตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ไม่สามารถตั้งอยู่ ได้ตลอด ย่อมสูญหายไป ฉะนั้น สภาวธรรมนั้นชื่อว่า วิภวะ
หรือแปลอีกนัยหนึ่ง สภาวธรรมใดมีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อตาย แล้วย่อมสูญหายไป ไม่เกิดต่อไปอีก ฉะนั้น สภาวธรรมนั้นชื่อว่า วิภวะ ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ
สภาวธรรมใดย่อมเห็นว่า ตัวตนที่อยู่ในอารมณ์ ๖ นั้น ไม่สามารถ ตั้งอยู่ได้ตลอด ย่อมสูญหายไปด้วย และยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นด้วย ฉะนั้น สภาวธรรมนั้นชื่อว่า วิภวตัณหา
หรือความยินดีพอใจในอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา ได้แก่ โลภะที่เกิดพร้อมกันกับอุจเฉททิฏฐิ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหามี ๑๐๘ คือ
กามตัณหามี ๓๖ ภวตัณหามี ๓๖ วิภวตัณหามี ๓๖ รวมเป็น ๑๐๘ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ที่มีอย่างละ ๓๖ นั้น ก็เกี่ยวกับอารมณ์ ๖ เป็นหลัก คืออารมณ์ ๖ ที่กําลังมาปรากฏทางทวารทั้ง ๖ มีทางตาเป็นต้นก็มี อารมณ์ทั้ง 5 ที่เป็นปัจจุบันเหล่านี้ เป็นเหตุให้กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เกิดขึ้นได้ เมื่อเป็นดังนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา จึงได้มีอย่างละ ๖ รวมเป็นตัณหาที่เกี่ยวกับปัจจุบันอารมณ์ ๑๘
อารมณ์ ๖ ที่เคยปรากฏมาแล้วทางทวารทั้ง ๖ ก็มี อารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็น อดีตเหล่านี้ เป็นเหตุให้ตัณหาทั้ง ๓ เกิดขึ้นได้ ฉะนั้น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์ ๖ ที่เป็นอดีต จึงมีอย่างละ ๖ รวมเป็น ตัณหาที่เกี่ยวกับอดีตอารมณ์ ๑๘
อารมณ์ ๖ ที่จะมาปรากฏในทวารทั้ง ๖ ก็มี อารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็น อนาคตเหล่านี้ เป็นเหตุให้ตัณหาทั้ง ๓ เกิดขึ้นได้ ฉะนั้น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์ ๖ ที่เป็นอนาคต จึงมีอย่างละ ๖ รวมเป็น ตัณหาที่เกี่ยวกับอนาคตอารมณ์ ๑๘
เมื่อจําแนกตัณหาทั้ง ๓ โดยอารมณ์และกาลแล้ว
กามตัณหามี ๑๘ ภวตัณหามี ๑๘ วิภวตัณหามี ๑๘ รวมเป็น ๕๔ อารมณ์ ทั้ง ๖ นี้ ปรากฏภายในตัวเรา ชื่อว่า อัชฌัตตอารมณ์ก็มี ปรากฏภายนอกตัวเรา ซึ่งได้แก่คนอื่น และสิ่งที่ไม่มีชีวิต ชื่อว่า พหิทธอารมณ์ก็มี ฉะนั้น
กามตัณหา ๑๘
ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยอัชฌัตตอารมณ์มี ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพหิทธอารมณ์มี ๑๘
รวมเป็นกามตัณหา ๓๖
ภวตัณหา ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอัชฌัตตอารมณ์มี ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพหิทธอารมณ์มี ๑๘
รวมเป็นภวตัณหา ๓๖
วิภวตัณหา ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอัชฌัตตอารมณ์มี ๑๘
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพหิทธอารมณ์มี ๑๘
รวมเป็นวิภวตัณหา ๓๖
กามตัณหา มี ๓๖
ภวตัณหา มี ๓๖
วิภวตัณหา มี ๓๖
รวมเป็นตัณหา ๑๐๘
ตัณหา ๖ ตัณหา ๓ ตัณหา ๑๐๘ ดังกล่าวมาแล้วนี้ เกิดขึ้นแก่สัตว์ ทั้งหลาย ก็โดยอาศัยเวทนา คือการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ทุกข์ อุเบกขานั้นเอง ถ้าขาดการเสวยอารมณ์เหล่านี้เสียแล้ว ตัณหาต่างๆ เหล่านี้ก็เกิดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ แหละ พระองค์จึงทรงกล่าว “เวทนาปจจยา ตณฺหา"
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เวทนาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ตัณหานี้ ได้อํานาจปัจจัย ๑ ปัจจัย คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
จบ เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ สมฺภวติ
อุปาทานย่อมปรากฏขึ้น เพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุ
คําว่า อุปาทาน หมายถึงการยึดมั่นในสิ่งที่ผิดโดยโลภะ และทิฏฐิ ดังแสดงวจนัตถะว่า
“ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาห์ คยฺหนฺตีติ = อุปาทานานิ”
ธรรมเหล่าใดยึดถืออย่างแรงกล้า คือถือไว้ไม่ปล่อย ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน
อีกนัยหนึ่ง “อุปาทิยนตีติ = อุปาทานานิ”
ธรรมเหล่าใดเข้าไปยึดมั่น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อุปาทาน ได้แก่ ตัณหา และทิฏฐิที่มีกําลังมาก
วจนัตถะนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาและทิฏฐิอย่างธรรมดา ยังไม่ได้ชื่อว่า อุปาทาน ต่อเมื่อตัณหาและทิฏฐินั้นมีกําลังแรงมากขึ้น กล่าวคือ การยินดีติดใจ ในอารมณ์นั้นๆ อย่างไม่ยอมปล่อย เวลานั้นตัณหานั้นได้ชื่อว่า อุปาทาน และ เมื่อเวลาที่มีความเห็นผิดนั้นติดแน่นแก้ไม่ได้แล้ว เวลานั้นทิฏฐินั้นก็ได้ชื่อว่า อุปาทาน
อุปาทาน มี ๔ อย่าง คือ
๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น ได้แก่ โลภะเจตสิกที่ยึดมั่นในอารมณ์ ๖ ที่เป็น วัตถุกาม
๒. ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มีนิยามิจฉาทิฏฐิ ๓ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ และอันตัคคานิกทิฏฐิ ๑๐ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่นอกจากสีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค และสุนัขเป็นต้น ได้แก่ สีลัพพตทิฏฐิ
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ของตน และของคนอื่น ได้แก่ สักกายทิฏฐิ
แสดงอุปาทาน ๔ โดยพิสดาร
๑. กามุปาทาน มี ๖ คือ
๑. รูปกามุปาทาน
๒. สัททกามุปาทาน
๓. คันธกามุปาทาน
๔. รสกามุปาทาน
๕. โผฏฐัพพกามุปาทาน
๖. ธัมมกามุปาทาน
๒. ทิฏฐปาทาน มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ รวม ๗๕ คือ
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ
๑. นัตถิกทิฏฐปาทาน
๒. อเหตุกทิฏฐปาทาน
๓. อกิริยทิฏฐปาทาน
ทั้ง ๓ นี้เป็นทิฏฐิใหญ่
มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ คือ
ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดโดยการคิดนึกเอาเองในเรื่องความเป็นไปของขันธ์ ๕ ที่ล่วงมาแล้ว มี ๑๘
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดโดยการคิดนึกเอาเองในเรื่องความเป็นไปของขันธ์ ๕ ในข้างหน้า มี ๔๔
รวมเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๖๒
ปุพพันตกับปิกทิฏฐิ ๑๘ คือ
สัสสตทิฏฐิ ๔ เอกิจจสัสสตทิฏฐิ ๔ อันตานันตทิฏฐิ ๔
อมราวิกเขปทิฏฐิ ๔ อธิจจสมุปปันนทิฏฐิ ๒
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ คือ
อุทธมาฆาตนิกสัญญีวาททิฏฐิ ๑๖
อุทธมาฆาตนิกอสัญญีวาททิฏฐิ ๘
อุทธมาฆาตนิกเนวสัญญีนาสัญญีวาทิฏฐิ ๘
อุจเฉทวาททิฏฐิ ๗
ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ คือ
๑. สสฺสโต โลโก เห็นว่า โลกเที่ยง
๒. อสสฺสโต โลโก เห็นว่า โลกไม่เที่ยง
๓. อนุตวา โลโก เห็นว่า โลกมีที่สิ้นสุด
๔. อนนฺตวา โลโก เห็นว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด
๕. ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ เห็นว่า ชีวะและสรีระ เป็นอันเดียวกัน
๖. อญฺญํ ชีวํ อญฺญํ สรีรํ เห็นว่า ชีวะและสรีระ เป็นคนละอัน
๗. โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั่นหลังจากตายแล้วเกิดต่อไปอีก
๘. น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นหลังจากตายแล้วไม่เกิดต่อไปอีก
๙. โหติ จ น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี
๑๐. เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้
๓. สีลัพพตปาทาน
การปฏิบัติผิดแนวทางที่ถูกต้อง เช่น ปฏิบัติตนให้เหมือนกับโคหรือสุนัข โดยผู้นั้นต้องการจะพ้นจากความทุกข์ความลําบากต่างๆ ในสังสารวัฏ หรือ ต้องการไปเกิดในเทวโลก แต่ไม่มีโอกาสได้สมาคมกับสัปบุรุษทั้งหลาย มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น และไม่มีโอกาสได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่ถูกต้อง บุคคลจําพวกนี้คิดเห็นว่าอกุศลต่างๆ ที่เกิดมาแล้วแก่ตนนั้น มีจํานวนมากหา ประมาณมิได้ จะต้องหาหนทางกําจัดอกุศลต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไป เพราะอกุศล เหล่านี้ทําให้ตนไม่สามารถไปเสวยความสุขในแดนสวรรค์ได้ เมื่อนึกเช่นนี้แล้ว ก็เกิดมีความคิดเห็นขึ้นว่า ตนเป็นหนี้อกุศลอยู่ จะต้องพยายามใช้หนีอกุศลเก่าให้หมดไป และอกุศลใหม่ตนก็จะไม่ทําขึ้นอีก เช่นนี้จึงจะสามารถล้างหนี้ให้ หมดไปได้ และอกุศลเก่าเป็นเจ้าหนี้นั้นทําให้ตนต้องลําบาก ตนก็จําเป็นต้องเอา ความลําบากนั้นใช้หนี้ตอบแทนกันไป ข้อนี้อุปมาเหมือนหนึ่งผู้ที่เป็นลูกหนี้ เงินทองเขาอยู่ ไม่สามารถหาเงินทองใช้หนี้เขาได้ก็จําเป็น ต้องเอาตัวของตัวเอง ไปต่อสู้กับความลําบาก คือ ยอมเป็นทาสให้เขาใช้เงินแทน ความลําบากนั้นแหละ สามารถจะช่วยตัวให้หลุดพ้นจากหนี้สินเหล่านั้นได้ ข้อนี้ฉันใด ตนเป็น หนี้อกุศลอยู่ก็ฉันนั้น จะต้องเอาความลําบากอย่างพวกสัตว์ดิรัจฉาน มีโคและ สุนัขเป็นต้น ที่กําลังได้รับอยู่นั้นมาเป็นเครื่องช่วยเหลือตนให้พ้นจากเจ้าหนี้อกุศล ตนจึงจะพ้นจากอกุศลได้ เมื่อคิดเห็นหนทางเช่นนี้แล้วก็พากันประพฤติปฏิบัติ ตนให้เหมือนกับโคและสุนัข มีการกิน การนอน การนั่ง การยืน การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ตลอดจนกระทั่งตบแต่งรูปร่างสัณฐานให้เหมือนกับโคหรือสุนัขนั้น ซึ่ง เป็นการปฏิบัติตรงกันข้ามกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลาย การปฏิบัติ เช่นนี้แหละชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
ได้แก่ อัตตทิฏฐิ หรือ สักกายทิฏฐิ ที่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็น ตนมีอยู่ ๒๐ อย่าง หรือโดยพิสดาร ๒๕๖ คือ
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๑๑๒
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๗๒
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๒๔
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๒๔
สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิญญาณขันธ์ เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๒๔
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ มีความเห็นว่า รูปเป็นเรา เราเป็นรูป (เข้าใจว่าเรากับร่างกายเป็นอันเดียวกัน เหมือนกับที่เห็น เปลวไฟกับแสงไฟ ฉะนั้น)
๒. รูปวนฺนํ วา อตฺตานํ ความเห็นว่า เรามีรูป (เข้าใจว่า เรากับร่างกาย เป็นคนละอัน เหมือนหนึ่งต้นไม้กับเงา ฉะนั้น)
๓. อตฺตนิ วา รูปํ มีความเห็นว่า รูปอยู่ในเรา (เข้าใจว่า เรากับ ร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนกลิ่นดอกไม้ที่อยู่ใน ดอกไม้ ฉะนั้น)
๔. รูปสฺมึ วา อตฺตานํ มีความเห็นว่า เราอยู่ในรูป (เข้าใจว่า เรากับ ร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนหนึ่งแก้วมณีที่อยู่ในหีบฉะนั้น)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๑๑๒ นั้น คือ
สักกายทิฏฐิ ที่มีรูปขันธ์เป็นอารมณ์ ๔ อย่างนี้ เกิดขึ้นโดยอาศัยปถวีก็มี เกิดขึ้นโดย อาศัย อาโป เป็นต้น จนถึง ชรตา อนิจจา ก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยรูป ๒๘ จึงเป็น ๑๑๒
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการเสวยอารมณ์เป็นเรา เราคือการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ เรามีการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวย อารมณ์ เป็นคนละอัน)
๓. อตฺตนํ วา เวทน์ การเสวยอารมณ์อยู่ในเรา (เข้าใจว่า เราและการ เสวยอารมณ์ เป็นคนละอัน)
๔. เวทนาย วา อตฺตานํ เราอยู่ในการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์ เป็นคนละอัน)
(ข้ออุปมาที่เกี่ยวกับเวทนาทั้ง ๔ ข้อนี้ เหมือนที่แสดงในรูปขันธ์)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๓๒ นั้น คือ เวทนาเมื่อว่าโดยทวาร มี ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น ใน เวทนา 5 อย่างนี้ อย่างหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา รวมเป็น เวทนา ๑๘
สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาสุขเวทนาก็มี เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาทุกขเวทนาก็มี เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาอุเบกขา เวทนาก็มี และสักกายทิฏฐิ ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัย สุข ทุกข์ อุเบกขา ที่เกี่ยวกับโสตะ เป็นต้น จนถึง มนะ ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยเวทนา ๑๘ จึงเป็น ๗๒
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. สญฺญ์ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการจ่าอารมณ์เป็นเรา เราคือการจ่าอารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับการจําอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. ปัญญาวนต์ วา อตฺตานํ เห็นว่า เรามีการจําอารมณ์
๓. อตฺตนิ วา สญฺญ์ เห็นว่า การจําอารมณ์อยู่ในเรา
๔. สัญญาย วา อตฺตาน่ เห็นว่า เราอยู่ในการจําอารมณ์
(ข้อ ๒, ๓, ๔ เข้าใจว่า เรากับการอารมณ์เป็นคนละอัน และ ข้ออุปมาก็เหมือนกับที่แสดงในรูปขันธ์)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ การจําอารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยอารมณ์แล้ว มี ๖ อย่าง ได้แก่ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา
สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปสัญญาก็มี อาศัยสัททสัญญา เป็นต้นก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยสัญญา ๖ จึงเป็น ๒๔
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการปรุงแต่งในอารมณ์เป็นเรา เราคือ การปรุงแต่งในอารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับ การปรุงแต่งในอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. สงฺขารวนต์ วา อตฺตานํ เห็นว่า เรามีการปรุงแต่งในอารมณ์
๓. อตฺตนิ วา สงฺขาเร เห็นว่า การปรุงแต่งในอารมณ์อยู่ในเรา
๔. สงฺขาเรส วา อตฺตานํ เห็นว่า เราอยู่ในการปรุงแต่งอารมณ์
(ข้อ ๒, ๓, ๔ เข้าใจว่าเรากับการปรุงแต่งในอารมณ์เป็นคนละอัน และข้ออุปมาก็เหมือนที่แสดงในรูปขันธ์)
สําหรับจํานวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ การปรุงแต่งในอารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยอารมณ์แล้วมี ๖ อย่าง ได้แก่ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา
สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปสัญเจตนาก็มี อาศัยสัททสัญเจตนา เป็นต้นก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยเจตนา ๖ จึงเป็น ๒๔
สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิญญาณขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ
๑. วิญญาณ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการรู้อารมณ์เป็นเรา เรา คือการรู้ อารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับการรู้อารมณ์เป็นอันเดียวกัน)
๒. วิญญาณวนต์ วา อตฺตานํ เห็นว่าเรามีการรู้อารมณ์
๓. อตฺตนิ วา วิญญาณ เห็นว่าการรู้อารมณ์อยู่ในเรา
๔. วิญญาณสฺมี วา อตฺตานํ เห็นว่าเราอยู่ในการรู้อารมณ์
สําหรับจํานวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ
การรู้อารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยทวารแล้วมี ๖ อย่างได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
สักกายทิฏฐิ ทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุวิญญาณก็มี อาศัยโสตวิญญาณเป็นต้น ก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยวิญญาณ ๖ จึงเป็น ๒๔
อธิบายว่า ผู้ที่มีอัตตวาทุปาทานนี้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ และไม่เชื่อว่า รูปนามขันธ์ ๕ นี้เป็นอนัตตะ คือเป็นสภาวะที่ไม่ได้อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใคร ไม่มีตัว ไม่มีตน เข้าใจว่ารูปนามขันธ์ ๕ นี้ เป็นอัตตะมีตัวตน และตัวตนนี้เป็น อิสระ สามารถบังคับบัญชารูปนามขันธ์ ๕ ได้ อัตตะสั่งให้ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน พูด ดู ฟัง เป็นต้นเหล่านี้ ร่างกายก็ทําไปตามอัตตะสั่ง
ความยึดมั่นว่าเป็นอัตตะนี้ มี ๒ อย่าง คือ ๑. ปรมอัตตะ ๒. ชีวอัตตะ
ความยึดมั่นว่าอัตตะนี้ สามารถสร้างโลกขึ้นได้ บรรดาสิ่งมีชีวิตและ ไม่มีชีวิตทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็ล้วนแต่เกิดมาด้วยอํานาจของ อัตตะทั้งสิ้น ความยึดมั่นเช่นนี้ได้ชื่อว่า ปรมอัตตะ
ความยึดมั่นว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ มีตัวมีตน คือมีชีวิตรักษาอยู่ ความยึดมั่นเช่นนี้ได้ชื่อว่า ชีวอัตตะ
อธิบายว่า ปรมอัตตะนี้ มีประวัติมาว่า เมื่อสมัยที่โลกได้ถูกทําลายด้วย ไฟแล้ว และเริ่มสร้างขึ้นใหม่นั้น ปฐมฌานภูมิ ๓ ได้สร้างขึ้นก่อนภูมิอื่นๆ ใน เวลาที่สร้างเสร็จใหม่ๆ นี้ ยังไม่มีพรหมองค์ใดองค์หนึ่งเกิดขึ้นเลย ต่อมาพรหม ที่อยู่เบื้องบนตั้งแต่ทุติยฌานภูมิ องค์ใดองค์หนึ่งสิ้นบุญจากภูมินั้นแล้ว ก็จุติลง มาเกิดในปฐมฌานภูมินี้ ปรากฏเป็นมหาพรหมองค์แรก ท้าวมหาพรหมนี้รัศมี รุ่งเรืองมาก ครั้นนานมามหาพรหมองค์นี้เกิดรู้สึกว้าเหว่ขึ้นมา จึงนึกปรารถนา ให้มีพรหมองค์อื่นๆ มาเกิดอยู่ด้วยอีก เผอิญประจวบเหมาะกับในเวลานั้น พรหมที่อยู่ในภูมิเบื้องบนบางองค์หมดบุญหมดอายุ ก็พากันจุติลงมาเกิดใน ปฐมฌานภูมินี้ในเวลาติดๆ กันหลายองค์ แต่พวกพรหมที่ลงมาเกิดรุ่นหลังนี้ ไม่ได้เป็นมหาพรหม เป็นพรหมปาริสัชชาบ้าง เป็นพรหมปุโรหิตาบ้าง ซึ่ง ล้วนแต่เป็นบริวารของท้าวมหาพรหมทั้งนั้น ความรุ่งเรืองแห่งรัศมีในกายก็มี
น้อยกว่าท้าวมหาพรหม เมื่อท้าวมหาพรหมได้เห็นพวกพรหมทั้งหลายมาบังเกิด ขึ้นในเวลานั้นก็คิดว่า เมื่อเรามีความปรารถนาอยากได้พรหมมาเกิดร่วมอยู่ด้วย ความปรารถนาของเราก็สําเร็จสมความประสงค์ ฉะนั้น เรานี่แหละจึงเป็นผู้ที่ สร้างพรหมทั้งหลายให้ปรากฏขึ้นในโลก
ส่วนพวกพรหมทั้งหลายที่เกิดใหม่นั้น ได้แลเห็นท้าวมหาพรหมมีรัศมีรุ่งเรือง เครื่องอาภรณ์ที่ประดับกายตลอดจนกระทั่งวิมานที่อยู่ก็สวยงามมาก จึงพากันปรารภขึ้นว่า “อยํ โข ภวํ พฺรหฺมา มหาพรหมา อภิภู อนภิภูโต อณุญาตถุทโส วสวัตติ อิสสโร กตฺตา นิมมาตา เสฏฺโฐ สชชิตา วสี ปิตา ภูตภพฺยานํ อิมินา มย์ โภตา พฺรหฺมุนา นิมมิตา” (มาในพรหมชาลสูตรพระบาลี แห่งสีลขันธวรรค)
แปลความว่า “พรหมองค์นี้เป็นท้าวมหาพรหม สามารถปกครองสัตว์ ทั้งหลายได้ ไม่ได้อยู่ในความปกครองของผู้อื่นเลย เป็นพระเจ้าที่สามารถรู้เห็น สิ่งต่างๆ ได้โดยแน่นอน สามารถทําให้สัตว์ทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นไปตามความพอใจของตนได้ เป็นท้าวอิศวรปรเมศวรที่เป็นผู้ปกครองสัตว์ทั้งหลาย เป็น ผู้สร้างโลกและสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก เป็นผู้จัดจําแนกสัตว์ให้ เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นเศรษฐี เป็นคนรวย คนจน ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นบิดา ของสัตว์ที่ปรากฏขึ้นแล้ว และที่จะปรากฏต่อไปข้างหน้า แม้เรา ทั้งหลายที่ปรากฏเกิดขึ้น ณ สถานที่นี้ ก็เพราะท้าวมหาพรหมองค์นี้นั่นเอง เป็นผู้สร้างขึ้น” เมื่อปรารภกันเช่นนี้แล้วก็พากันมาเฝ้าคอยปรนนิบัติรับใช้ ท้าวมหาพรหมทุกประการ
ต่อมาพวกพรหมที่เป็นบริวารเหล่านี้ เมื่อสิ้นบุญสิ้นอายุจากพรหมแล้ว ก็จุติลงมาเกิดในมนุษยโลก สําหรับท้าวมหาพรหมนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ เพราะ อายุขัยยืนยาวกว่าพรหมพวกนั้น ส่วนพรหมทั้งหลายที่ลงมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วนั้น บางพวกก็ทําสมถะ ได้ฌานอภิญญา สามารถเห็นท้าวมหาพรหมได้ ก็เกิดความ ยึดมั่นยิ่งขึ้นว่า โลกและสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ ท้าวมหาพรหมเป็นผู้สร้างขึ้น ทั้งสิ้น ฉะนั้น ท้าวมหาพรหมนี้เป็นพระเจ้าผู้ประเสริฐ ได้ชื่อว่า “ปรมอัตตะ” เป็นผู้ไม่ตายไม่สูญหายไปไหน ความเห็นยึดมั่นเช่นนี้ได้ติดต่อแพร่หลาย สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ฉะนั้น พวกที่มีความเห็นว่า บรรดาสิ่งต่างๆ ที่มี ชีวิตและไม่มีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ตลอดจนกระทั่งความสบาย ความ ลําบาก ความมั่งมี ความจน ความสวย ความไม่สวย ตระกูลสูง ตระกูลต่ํา เป็นต้นเหล่านี้ ก็เพราะปรมอัตตะเป็นผู้สร้างขึ้นนั้น ก็เกิดมาจากคนในสมัยต้น กัปที่ได้ฌาน อภิญญา สามารถแลเห็นท้าวมหาพรหมได้นั่นเอง เป็นต้นเหตุ คนที่เกิดในสมัยต่อๆ มาก็มีความเห็นดังนี้ดําเนินรอยตามกันมา แต่คนในสมัย หลังๆ นี้ไม่สามารถมองเห็นท้าวมหาพรหม เพราะไม่ได้อภิญญา เมื่อมีผู้ถาม ขึ้นว่า พระเจ้าผู้สร้างโลกนั้นอยู่ที่ไหน ก็ตอบได้แต่เพียงว่า อยู่เบื้องบนอากาศ เท่านั่น
อัตตทิฏฐิที่เป็นอัตตวาทุปาทานได้นั้น ผู้นั้นจะต้องยึดถือว่า ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย แต่ถ้าในการแสดงธรรม หรือในการที่ใช้พูดกันว่า “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนนั้น” แหละเป็นที่พึ่งของตน หรือคําว่า “เชื่อตนเอง” เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นอัตตวาทุปาทาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในนิกเขปกัณฑ์ แห่งธัมมสังคณีปกรณ์ว่า “เปตวา สีลพตุปาทานญฺจ อตฺตวาทุปาทานญฺจ สพฺพาปี มิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐปาทานํ” แปลความว่า ยกเว้นสีลัพพตุปาทานทิฏฐิ และอัตตวาทุปาทาน- ทิฏฐิเสียแล้ว มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดเหล่านั้น เป็นทิฏฐปาทานทั้งสิ้น
แสดงความแตกต่างระหว่างตัณหา กับ กามุปาทาน
ตัณหา เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่ โลภะ
กามุปาทาน เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ก็ได้แก่ โลภะ เช่นเดียวกัน
ฉะนั้น ในการที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานเกิดขึ้นนั้น ก็ หมายความว่า โลภะเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ โลภะที่ได้ชื่อว่า ตัณหา กับ โลภะที่ได้ชื่อว่า กามุปาทาน นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายว่า ความติดใจ อยากได้ในอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เหล่านี้ ได้ชื่อว่า ตัณหา
ความติดใจ ความอยากได้นี้แหละ เมื่อมีกําลังมากขึ้นแล้ว ย่อมมีจิตใจ ผูกพันอยู่กับอารมณ์นั้นๆ อยู่เสมอไม่หายไปได้ หรือเมื่อได้สิ่งที่ตนปรารถนามาแล้ว ก็มีความหวงแหนทะนุถนอมสิ่งนั้นไว้ไม่ยอมปล่อย เช่นนี้ เรียกว่า กามุปาทาน ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยตัณหาเป็นปัจจัย
ตัณหานี้ คือความยินดีพอใจที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ได
กามุปาทาน คือความติดใจยึดอยู่ในอารมณ์นั้นๆ อย่างไม่ยอมปล่อย
ตัณหา เปรียบเหมือนต้นไม้ที่พึ่งเริ่มงอกขึ้นใหม่ๆ
กามุปาทาน เปรียบเหมือนต้นไม้ที่งอกงามเจริญเติบโตแล้ว
ตัณหานี้ เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปัจฉตาคุณ คือความเป็นผู้ปรารถนาน้อย
กามุปาทาน เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสันโตสคุณ คือความเป็นผู้พอใจ ในสิ่งที่ตนมีอยู่
ตัณหา เป็นเหตุแห่งปริเยสนทุกข์ คือความทุกข์ที่เกี่ยวกับการขวนขวาย แสวงหาในกามคุณอารมณ์ต่างๆ
กามุปาทาน เป็นเหตุแห่งอารักขทุกข์ คือความทุกข์ที่เกี่ยวกับการระวัง รักษาในกามคุณอารมณ์ต่างๆ ที่ตนได้มานั้นไม่ให้สูญหายไป
๑. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานเกิด
ตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานนั้น ยกตัวอย่างเช่นเรื่องพระโพธิสัตว์ในชาติที่เป็นดาบส ได้สําเร็จฌานอภิญญาสามารถเหาะไปในอากาศได้ ได้ไปพักอยู่ ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี แล้วเข้าไปฉันอาหารในพระราชวังทุกๆ วัน ต่อมาพระเจ้าพาราณสีมีกิจที่จะต้องเสด็จจากเมืองไปชั่วคราว ได้สั่งพระมเหสีผู้มี พระนามว่า มุทุลักขณา ให้จัดอาหารถวายแก่พระดาบสแทนพระองค์ พระมเหสี ก็ทําตามคําสั่งของพระราชาโดยเรียบร้อย วันหนึ่งพระนางจัดเตรียมอาหาร สําหรับพระดาบสเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นอนพักกายรอพระดาบสอยู่บนพระแท่น ณ ท้องพระโรง เมื่อถึงกําหนดเวลาพระดาบสก็เหาะเข้ามาทางช่องพระแกล พระนางเมื่อได้ยินเสียงพระดาบสมาก็รีบเสด็จลุกขึ้นต้อนรับ เผอิญผ้าแพรทรง ของพระนางนั้นลื่นหลุดจากพระวรกายไม่ทันรู้ตัว พระดาบสได้เห็นร่างของ พระนางแล้ว ขาดการสํารวมอินทรีย์ เกิดความกําหนัดยินดีในรูปโฉมของพระนาง ตัณหาที่สงบอยู่ภายในนั้นก็กําเริบขึ้น เหมือนหนึ่งต้นไม้มียางที่ถูกมีดกรีด ทันใดนั้นเอง ฌานของท่านก็เสื่อมลง ยืนตะลึงรับอาหารหาได้บริโภคไม่ เลยลง
จากปราสาทเดินไปพระราชอุทยานเข้าในบรรณศาลาวางอาหารไว้ใต้เตียงนอน แล้วนอนรําาพันถึงพระนาง ไม่เป็นอันกินอันนอนเป็นเวลาถึง ๗ วัน
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดกามุปาทาน คือขณะที่พระดาบสได้เห็นร่างของพระนางเกิดความยินดีพึงพอใจขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น เป็นตอนที่ตัณหาเกิด ต่อมาความพอใจนั้นมีกําลังแรงมากขึ้น ถึงกับไม่เป็น อันกินอันนอนตลอด ๗ วันนั้น เป็นตอนที่กามุปาทานเกิดขึ้นแล้ว
๒. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้ทิฏฐปาทานเกิด
ความยินดีติดใจในอารมณ์นั้นๆ เป็นเหตุให้ความเห็นผิดที่ไม่เกี่ยวกับ สีลัพพตทิฏฐิ และอัตตทิฏฐิทั้ง ๒ เกิดขึ้นก่อน ชื่อว่า ทิฏฐปาทาน
อารมณ์ที่เป็นเครื่องให้เกิดความชอบใจ พอใจ นั้นมีได้ทั้งอารมณ์ภายในและภายนอก อารมณ์ที่เป็นภายในก็คือตัวของตนนั้นเอง ความชอบใจ พอใจตัวของตนเองเป็นเหตุให้ทําให้ทิฏฐิเกิดขึ้นก็ได้ และความชอบใจพอใจใน อารมณ์ภายนอก คือสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น ก็เป็นเหตุให้ทิฏฐิเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น
พระเจ้าอังคติ ผู้ครองเมืองมิถิลา อยู่ในแคว้นวิเทหะ พระเจ้าอังคติองค์นี้ มีความเชื่อถือในคําพูดของเสนาบดีผู้หนึ่งชื่อว่า อลาตะ เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้ แนะนําให้พระเจ้าอังคติไปยังสํานักของอาจารย์มิจฉาทิฏฐิผู้หนึ่ง ชื่อว่า เป็นสกุลกัสสปะ ถือลัทธิเปลือยกาย พระเจ้าอังคติได้ถามปัญหาแก่อาจารย์คุณะว่า จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะไปเกิดในสุคติภูมิได้ อาจารย์คุณะตอบว่า การกระทํากุศลก็ดี อกุศลก็ดี เหล่านี้ไม่ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใดเลย การปฏิบัติดีต่อบิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้ที่ทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิเหล่านี้ ก็ไม่ได้รับผลอย่างใดเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้ที่ถือตัวว่ามีปัญญานั้น แท้จริงผู้นั้นเป็นคนโง่ ชอบสร้างการบริจาค ผู้มีปัญญา คือบัณฑิตทั้งหลายนั้นแหละเป็นผู้รับทาน ซึ่งผลสุดท้ายผู้ที่บริจาคนั้นก็ไม่ได้รับ ผลอย่างใด เสียเปล่าๆ ไม่จําเป็นต้องทํา เมื่อมหากัปครบ ๘๔ มหากัปแล้ว จิตใจของสัตว์ทั้งหลายก็จะสะอาดบริสุทธิ์ไปเอง และพากันเข้าถึงพระนิพพาน พ้นจากสังสารวัฏกันทั้งสิ้น
เมื่ออาจารย์คุณะแสดงจบแล้ว เสนาบดีอลาตะก็สนับสนุนขึ้นทันทีว่า ที่ อาจารย์คุณะกล่าวเช่นนี้ เป็นการถูกต้องที่สุด เพราะตัวข้าพเจ้าเองนั้นแหละ เมื่อ ภพก่อน ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นคนฆ่าวัว แต่เมื่อข้าพเจ้าตายลง แทนที่จะไปตกในอบาย กลับได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ และได้รับความสุขสบายเป็นถึงเสนาบดีเช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า การทําอกุศลก็ไม่ทําให้ได้รับผลอย่างใด สมจริงดังคํากล่าว ของท่านอาจารย์
เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้ชาติสรญาณ คือระลึกชาติได้ แต่ระลึกได้เพียง ชาติเดียวเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะรู้ไปถึงความเป็นไปของตนในชาติ ๓ ได้ ซึ่งความจริงในชาติที่ ๓ นั้น เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้เคยสร้างกุศล คือ เอาดอกไม้ไปบูชาพระเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เมื่อเวลาใกล้จะตายในชาตินั้น กุศลที่บูชาพระสารีริกธาตุไม่มีโอกาสได้ส่งผล กุศลอื่นๆ ที่เป็นกุศลที่ต่ํากว่ามีโอกาสให้ผลก่อน ฉะนั้น จึงได้ส่งผลให้มาเกิด เป็นคนชั้นต่ามีอาชีพเป็นคนฆ่าวัวในชาติที่ ๒ และเมื่อตายจากชาติที่ ๒ อกุศล ที่ฆ่าวัว นั้นยังไม่มีโอกาสให้ผลกุศลที่เคยบูชาพระสารีริกธาตุได้โอกาสให้ผล จึงได้ส่งให้มาเป็นมนุษย์ชั้นสูง เป็นเสนาบดีมีความสุขในปัจจุบันชาตินั้น แต่ เสนาบดีอลาตะไม่สามารถรู้ถึงเรื่องราวของตนในชาติที่ ๓ นั้นได้ จึงเข้าใจผิดไปว่า อกุศลที่ตนทําไว้ในชาติที่ ๒ นั้นไม่ได้ให้ผลประการใด ชีวิตของตนที่เจริญ รุ่งเรืองในปัจจุบันชาตินั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เป็นผลของกรรมอันใดเลย
ในขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งเป็นทาส ชื่อว่า พืชกะ เป็นผู้ปฏิบัติถือศีลอยู่เสมอ ได้นั่งฟังอยู่ ณ ที่นั้นด้วย เมื่อได้ยินอาจารย์คุณะแสดงธรรม และเสนาบดีอลาตะ กล่าวสนับสนุนรับรอง พร้อมทั้งแสดงเรื่องราวของตนให้ฟังเช่นนั้นแล้ว ทาสพีชกะก็ร้องไห้ขึ้นทันที กล่าวธรรมของท่านอาจารย์นั้นถูกต้องทีเดียว เพราะข้าพเจ้าเองก็เช่นเดียวกัน เมื่อชาติก่อนนี้ข้าพเจ้าได้เคยเกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ ถึง ๘๐ โกฏิ และข้าพเจ้าก็ได้ทําบุญรักษาศีลอยู่เสมอๆ ไม่ได้ทําทุจริตอย่างใดเลย แต่เมื่อเวลาข้าพเจ้าตายลงนั้น กุศลที่ข้าพเจ้าได้เคยทํานั้น ก็ไม่เห็นให้ผลแก่ ข้าพเจ้าให้ได้รับความสุขความสบายอย่างใดเลย ข้าพเจ้าต้องมาเกิดเป็นคนชั้นต่ํา เป็นทาสเขาอยู่ดังนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ดี ข้าพเจ้าก็ยังอุตส่าห์ทําบุญรักษาศีลอยู่เสมอ ไม่ได้นึกถึงความลําบากและเว้นจากการทําทุจริตต่างๆ เช่นเดียวกัน เมื่อข้าพเจ้า ได้ฟังท่านอาจารย์และท่านเสนาบดี แสดงเรื่องราวเช่นนี้ ก็รู้สึกว่ากุศลต่างๆ ที่ ข้าพเจ้าได้อุตส่าห์ลงทุนลงแรงทําไปนี้ เห็นจะเสียประโยชน์ไปเปล่าๆ เป็นแน่ เพราะเท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยทํากุศลไว้ในชาติก่อนก็มิได้ปรากฏผลแก่ข้าพเจ้าในชาติ นี้เห็นประจักษ์อยู่แล้ว ฉะนั้น กุศลที่ข้าพเจ้าได้ทําขึ้นใหม่ในชาตินี้ ก็คงจะไม่ให้ ผลในชาติหน้าอีกแน่ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเสียใจมาก
เรื่องราวของทาสพีชกะคนนี้ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับเสนาบดีอลาตะ คือทาสพีชกะนี้ระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว หาได้รู้ไม่ว่าในสมัยศาสนาของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทางพืชกะผู้นี้ได้เกิดเป็นคนเลี้ยงวัว วันหนึ่งวัว ที่เลี้ยงนั้นหายไป ก็ออกติดตามไปในป่า ขณะนั้นมีพระองค์หนึ่งเดินหลงทางมา เมื่อพบคนเลี้ยงวัว จึงถามถึงหนทางที่จะไปว่าไปทางไหน คนเลี้ยงวัวนั้นก็ไม่ได้สนใจต่อคําถามของพระองค์นั้น เพราะมุ่งอยู่แต่จะหาวัวให้พบเท่านั้น พระจึง ถามซ้ําอีกว่า หนทางที่จะไปนั้นไปทางไหนช่วยบอกให้อาตมาทราบด้วย คนเลี้ยงวัวรู้สึกไม่พอใจจึงกล่าววาจาไม่สุภาพออกไปว่า พระองค์นี้ยุ่งมากไม่รู้จัก กาลเทศะ เห็นจะเป็นสกุลทาสีทาสาเป็นแน่ วาจาที่กล่าวเช่นนี้ก็สําเร็จเป็น วจีกรรมลงแล้ว เพียงแต่ว่าจะมีโอกาสให้ผลก่อน ฉะนั้น อกุศลวจีกรรมจึงยัง ไม่มีโอกาสให้ผล ต่อเมื่อถึงชาติที่ได้เกิดมาเป็นเศรษฐีแล้วตายลงนั้นแหละ
อกุศลวจีกรรมที่เคยด่าพระไว้นั้นจึงมีโอกาสให้ผล ด้วยเหตุนี้เมื่อตายจากเศรษฐี
แล้วจึงได้มาเป็นคนสกุลต่ํา และต้องเป็นทาสเขา
พระเจ้าอังคติ เมื่อฟังอาจารย์คุณะแสดงเรื่องราวจบลง พร้อมทั้งได้ฟัง ประวัติของเสนาบดีอลาตะกับทาสพืชกะแล้ว ก็รู้สึกพอพระทัยและลงความเห็น พ้องด้วย ไม่เห็นประโยชน์ของการทําดี และไม่เห็นโทษของการทําไม่ดี ในเวลา นั้นทิฏฐิคือ ความเห็นผิดได้เข้าปกครองพระเจ้าอังคติเสียแล้ว เมื่อกลับมาถึง พระราชวัง ก็เลิกทําบุญทําทาน และสั่งให้รื้อโรงทานเสีย กิจการงานเมืองต่างๆ ก็มอบภาระให้แก่อํามาตย์ผู้อื่นทําแทนไป พระองค์เองเอาใจใส่แต่ในการเสวย กามคุณต่างๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สุจริตหรือทุจริตก็ตาม ถ้าลงพอพระทัย แล้วเป็นต้องทํา หญิงสาวและไม่สาวในบ้านเมืองของพระองค์ ถ้าหากเป็นที่ถูก พระทัยแล้ว เป็นต้องบังคับให้มาบําเรอความสุขแก่พระองค์จนได้ ทําให้ประชาชนทั้งหลายได้รับความเดือดร้อนยิ่งนัก แม้พระราชธิดาซึ่งเป็นผู้เลื่อมใส ในการทํากุศลรักษาศีลอยู่เสมอ จะได้ทูลให้สติกับพระราชบิดา ขอร้องให้เลิก ประพฤติผิดเสีย โดยยกเหตุผลเรื่องราวต่างๆ มาให้ฟัง แต่พระเจ้าอังคติก็หาได้เชื่อไม่ ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์ที่เป็นพรหมมีนามว่า นารทะ ได้เนรมิตเป็นดาบสลงมา เทศนาโปรด ทรมานด้วยประการต่างๆ แล้ว ผลสุดท้ายพระเจ้าอังคติจึงยอมสละ ทิฏฐปาทานนั้นได้
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาได้แก่ความสนุกสนานยินดีในกามคุณ อารมณ์เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐปาทาน คือความเห็นผิดว่า ทําดีไม่ได้รับผลดี ทําชั่วไม่ได้รับผลชั่ว การแสวงหาความสุขในกามคุณอารมณ์นั้นแหละที่ทําให้ได้รับ ประโยชน์มากที่สุด
๓. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้สีลัพพตุปาทานเกิด
ความต้องการความสุข คือให้พ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏอย่างหนึ่ง หรือมีความต้องการความสุขในเทวโลกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่างนี้ ได้ชื่อว่า ตัณหา เมื่อตัณหาเหล่านี้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมหาหนทางปฏิบัติตนเพื่อ ให้ได้รับความสุขดังที่ตนปรารถนา ในการปฏิบัติตนนี้ ถ้าได้พบกับพวกสัปบุรุษ ที่เป็นบัณฑิต หรือตนเองมีความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นปริยัติศาสนาดีพอแล้ว การปฏิบัตินั้นก็ดําเนินไปด้วยดีไม่ผิดแนวทางที่บัณฑิตทั้งหลายประพฤติกัน หากว่าผู้นั้นไม่ได้คบหากับพวกบัณฑิตหรือไม่มีความรู้ในปริยัติศาสนาแล้ว การปฏิบัตินั้นก็จะดําเนินไปในทางที่ผิด โดยหลงเข้าใจว่าเป็นทางที่ถูกซึ่งมีอยู่
๒ ทางด้วยกัน คือปฏิบัติไปในทางทรมานร่างกายของตนให้ได้รับความลําบากต่างๆ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค อย่างหนึ่ง หรือปฏิบัติไปในทางบํารุงบําเรอร่างกาย ของตนให้ได้รับความสุขต่างๆ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค อย่างหนึ่ง การปฏิบัติ ทั้ง ๒ ทางนี้ ก็ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติที่ผิดแนวทางทั้งสิ้น ซึ่งแทนที่จะได้รับผล เป็นความสุขตามที่ตนปรารถนาไว้ กลับให้ผลตรงกันข้าม คือย่อมได้รับความ ทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก
การปฏิบัติในแนวทางอัตตกิลมถานุโยคนี้ ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การทรมานร่างกายโดยอดอาหาร ไม่นอน ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่อาบน้ํา หรือ เผาร่างกาย โดยตากแดดบ้าง ผิงไฟบ้าง แช่ตัวในน้ําบ้าง นอนบนขวากหนาม นอนบนตะปูบ้าง เหล่านี้เป็นต้นก็ดี หรือปฏิบัติตนให้เหมือนโค เหมือนสุนัขก็ดี เหล่านี้เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยคทั้งสิ้น
ในที่นี้ ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน นั้น ได้แก่ การปฏิบัติตนในแนวทาง อัตตกิลมถานุโยค โดยวิธีประพฤติตนให้เหมือนโค เหมือนสุนัข ซึ่งการปฏิบัติตน ชนิดนี้ก็เป็นผลที่เนื่องมาจากตัณหาเป็นเหตุนั้นเอง
ในเรื่องที่ยกขึ้นแสดงไว้ในกุกกุโรวาทสูตรแห่งมัชฌิมปัณณาสก์พระบาลีว่า ยังมีปริพาชก ๒ คนๆ หนึ่งชื่อ ปุณณะ อีกคนหนึ่งชื่อ เสนียะ ทั้งสองคนนี้ ต้องการความสุขในเทวโลก อยากเป็นเทวดาที่มีอํานาจ จึงพากันปฏิบัติตน ประพฤติเหมือนโค เหมือนสุนัข โดยเข้าใจว่าถ้าประพฤติเช่นนี้แล้วจะทําให้ กิเลสต่างๆ ไม่เกิดและอกุศลกรรมเก่าก็หายไปได้ ปุณณะปริพาชกปฏิบัติตน เหมือนสุนัข เสนียะปริพาชกปฏิบัติตนเหมือนโค ปฏิบัติดังนี้อยู่เรื่อยๆ มา ต่อมา ทั้งสองคนนี้เกิดมีความสงสัยในข้อปฏิบัติของตนว่า ข้อปฏิบัติของใครจะดีกว่ากัน โต้เถียงกันตัดสินไม่ถูก ผลสุดท้ายพากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลเล่าเรื่อง ให้ฟัง แล้วทูลถามกันว่า ข้อปฏิบัติที่ข้าพเจ้าทั้งสองประพฤติอยู่นี้ มีอานิสงส์ อย่างไรบ้าง ปฏิบัติตนเหมือนสุนัขดีกว่าปฏิบัติเหมือนโค หรือว่าปฏิบัติเหมือน โคดีกว่าปฏิบัติเหมือนสุนัข และข้าพเจ้าทั้ง ๒ เมื่อตายจากชาตินี้ไปแล้วจะไป เกิดที่ไหน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงฟังแล้ว พระองค์ก็ทรงห้ามปริพาชก ทั้ง ๒ ว่า อย่าถามเช่นนี้เลย ทรงห้ามเช่นนี้ถึง ๓ ครั้ง แต่ปริพาชกทั้ง ๒ ก็ ไม่ยอมนิ่ง ยังคงทูลถามซ้ําอยู่อีกเป็นคํารบที่ ๔ พระพุทธองค์จึงทรงกล่าวขึ้นว่า “ดูกร ปริพาชก ผู้ที่ปฏิบัติตนเหมือนสุนัขทุกสิ่งทุกอย่างนั้น เมื่อตายแล้วก็จะ ไปเกิดเป็นสุนัขแน่นอน และผู้ที่ปฏิบัติตนเหมือนโคทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเวลาตาย แล้วก็จะไปเกิดเป็นโคแน่นอนเช่นเดียวกัน และหากว่าผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้นมีความเข้าใจว่า การปฏิบัติของตนนั้นจะเป็นเหตุให้ได้รับผลให้ไปเกิดในเทวโลกเป็น เทวดาที่มีอํานาจอย่างนี้แล้ว ก็จัดว่าความเห็นชนิดนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฉะนั้น เมื่อ เวลาตายจะต้องไปเสวยทุกข์ในนรกเสียก่อน เมื่อพ้นจากนรกแล้ว จึงมาเกิดเป็น สัตว์เดียรัจฉานอีกทีหนึ่ง” เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจบลงแล้ว ปริพาชก ทั้ง ๒ ก็ร้องไห้ขึ้นทันที ด้วยรู้สึกเสียใจที่ตนได้หลงประพฤติผิดไปเป็นเวลาช้านาน ต่อจากนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดงธรรมเทศนาให้ปริพาชกทั้ง ๒ ฟัง เมื่อทรงแสดงจบแล้ว ปุณณะปริพาชกก็กล่าวคําถึงซึ่งไตรสรณาคมน์เป็น ที่พึ่งที่ระลึก สลัดทิ้งลัทธิเก่า เข้าเป็นพุทธศาสนิกชนนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา ส่วนเสนียะปริพาชกนั้นก็ขอบรรพชาในพระพุทธศาสนาและได้บําเพ็ญวิปัสสนา
กรรมฐาน ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมา
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาได้แก่ความต้องการให้ได้รับความสุขใน ชาติหน้า เป็นเหตุให้เกิดสีลัพพตุปาทาน คือปฏิบัติผิดจากแนวทาง ดังที่ได้ แสดงมานี้
๔. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้อัตตวาทุปาทานเกิด
ตามธรรมดาคนเราที่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้ สัมผัสได้นั้น จะต้องประกอบด้วยเหตุด้วยปัจจัยตามสมควร เช่น การเห็น คือ จักขุทวารวิถีจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยมีเหตุมีปัจจัยตามสมควร คือ
๑. จะต้องมีจักขุปสาท คือ มีตาดี
๒. จะต้องมีรูปารมณ์ คือ มีสีต่างๆ
๓. จะต้องมีอาโลกะ คือ แสงสว่าง
๔. จะต้องมีมนสิการ คือ ความตั้งใจ
เมื่อครบปัจจัย ๔ อย่างนี้แล้ว จักขุทวารวิถีก็เกิดขึ้น และต่อมาก็จะต้อง มีมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นอีก ๔ วิถี คือ
วิถีที่ ๑ เป็นวิถีที่รับรูปารมณ์ต่อจากจักขุทวารวิถี ชื่อว่า อตีตักกหนวิถี
วิถีที่ ๒ เป็นวิถีที่รับรูปารมณ์ต่อจากอดีตักคหนวิถี ชื่อว่า สมุหักคหนวิถี
วิถีที่ ๓ เป็นวิถีที่รู้รูปร่างสัณฐานของรูปารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า อัตถักกหนวิถี
วิถีที่ ๔ เป็นวิถีที่รู้ชื่อของรูปารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า นามัคคหนวิถี
เมื่อมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นครบ ๔ อย่างนี้แล้ว ผู้ที่เห็นนั้นก็รู้ได้ทันทีว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ การได้ยินเป็นต้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้
ที่ได้อธิบายมานี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไปอยู่ในโลกนี้ นอกจากรูปกับนามแล้ว ก็ไม่มีอะไรอื่นอีก และในการเห็นดังกล่าวแล้วนั้น ผู้เห็นก็มิใช่อื่นไกล รูปกับนามนั้นเองเป็นผู้เห็น คือจักขุปสาท กับ จักขุทวารวิถี และหทัยวัตถุ กับ มโนทวารวิถี ทั้ง ๒ นี้เท่านั้น เป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น เป็นสภาพ อนัตตะแท้ๆ ไม่ใช่เป็นอัตตะ คือไม่ใช่เราเห็น คนนั้นเห็น คนนี้เห็น
หรือในอิริยาบถต่างๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน และการเคลื่อนไหวใน อิริยาบถย่อยต่างๆ ที่จะสําเร็จกิจลงได้นั้น ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน เช่น ในการเดินที่จะสําเร็จลงได้นั้น ต้องมีปัจจัย ๔ อย่าง คือ
๑. จะต้องมีการตั้งใจที่จะเดิน
๒. จะต้องมีจิตสั่ง
๓. จะต้องมีจิตตชวาโยธาตุเกิดขึ้น
๔. จะต้องมีขาดี
เมื่อครบ ๔ อย่างนี้แล้ว การเดินก็สําเร็จลงได้ และผู้ที่กําลังเดินอยู่นั้น เมื่อว่าตามสภาวะแล้ว ผู้เดิน ได้แก่ จิต เจตสิก เป็นผู้มีความตั้งใจที่จะเดิน และ เป็นผู้สั่ง จิตตชวาโยธาตุที่อยู่ในร่างกายนั้นเป็นผู้กระตุ้น ปถวีธาตุ คือร่างกาย เป็นผู้เดินและสมมติกันว่า เราเดิน นาย ก. เดิน นาย ข. เดิน ดังนี้เป็นต้น ซึ่ง ความจริงนั้นเราหรือสัตว์บุคคล ที่สามารถเดินไปได้นั้นไม่มี มีแต่รูปกับนามทั้งสิ้น ในอิริยาบถอื่นๆ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้
แม้ว่า การเห็น การได้ยิน เป็นต้นเหล่านี้ จะเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่มี บุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นผู้จัดแจงก็จริง แต่ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อมีการเห็น การได้ยินเกิดขึ้นแล้ว ถ้าอารมณ์ที่เห็นที่ได้ยินเป็นต้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ดีก็เกิด ความชอบใจพอใจขึ้น เรียกว่าโลภะหรือตัณหาเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น ถ้าอารมณ์ที่ เห็นทีได้ยินเป็นต้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี ก็เกิดความไม่ชอบใจขึ้น เรียกว่า โทสะเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น แต่อารมณ์ที่เป็นเหตุให้โทสะเกิดขึ้น ไม่สามารถที่จะยึดจิตใจของสัตว์ทั้งหลายให้มีอุปาทานเกิดขึ้นได้ ส่วนอารมณ์ที่เป็นเหตุให้โลภะเกิดขึ้นนั้น ย่อมมีอํานาจที่ผูกจิตใจสัตว์ทั้งหลายให้เกิดอุปาทานยึดมั่นขึ้นได้ กล่าวคือเมื่อได้เห็น หรือได้ยินอารมณ์ที่เป็นที่ชอบใจพอใจบ่อยๆ ครั้งเข้าแล้ว ก็ทําให้จิตใจของผู้นั้น ยึดอารมณ์ๆ นั้นไว้ไม่ยอมปล่อย การยึดอารมณ์ไว้โดย ไม่ยอมปล่อยเช่นนี้ เรียกว่าเป็นอุปาทาน และในเวลาเดียวกันนั้น ผู้นั้นก็เข้าใจผิด ในรูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นในขณะเห็น ขณะได้ยินเป็นต้นนั้นว่า เราเห็น เราได้ยิน เราคิด เราพูด เรากิน เรานั่ง เรานอน เราเดิน ดังนี้เป็นต้น เช่นนี้จัดเป็นอัตตวา ทุปาทานเกิดขึ้นเพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุ ดังมีเรื่องที่เป็นตัวอย่าง คือ
ในเมืองเวสาลีมีนิครนถ์ชื่อว่า สัจจกะ อัคคิเวสสนโคตร สัจจกนิครนถ์ ผู้นี้ได้เอาแผ่นเหล็กมาคาดไว้ที่ท้องติดตัวอยู่เสมอ เพราะมีความเห็นว่าตนเป็น ผู้มีปัญญามาก ถ้าไม่เอาแผ่นเหล็กมาคาดเพื่อรักษาปัญญาไว้แล้ว ท้องของตนนั้น จะต้องแตกออกเป็นแน่ สัจจกนิครนถ์ผู้นี้ประกาศตนว่า “ไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใด อาจารย์หนึ่งอาจารย์ใดก็ตาม ถ้ามาโต้วาทีกับเราแล้ว ผู้นั้นจะต้องมีอาการสะดุ้ง ตกประหม่า ตัวสั่น เหงื่อไหลไปทั้งนั้น อย่าว่าแต่คนเลย แม้แต่ท่อนไม้ ถ้า เรากล่าววาจาออกไปแล้ว ท่อนไม้นั้นก็จะต้องเกิดอาการสั่นเช่นเดียวกัน” สัจจกนิครนถ์ประกาศเช่นนี้อยู่เสมอๆ ซึ่งความจริงในเวลานั้น ผู้ที่ตั้งตัวเป็น อาจารย์ต่างๆ ก็ไม่สามารถจะโต้ตอบวาทะกับสัจจกนิครนถ์ได้จริงๆ เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้จึงทําให้สัจจกนิครนถ์มีความหยิ่งทะนงตัวมากขึ้น
ต่อมาวันหนึ่ง สัจจกนิครนถ์ได้ยินว่า พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมเทศนาว่า สัตว์ทั้งหลายนี้ล้วนแต่เป็นรูปนามขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น และ มีความเกิดดับอยู่เสมอ ฉะนั้น จึงเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกขะ ไม่คงทนอยู่ได้ เป็นอนัตตะ หาตัวตนผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายอย่าเข้าใจผิดใน ร่างกายของตนว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นหญิง เป็นชาย เมื่อสัจจกนิครนถ์ได้ยินข่าวดังนี้แล้ว ก็นึกอยากจะไปเฝ้าและโต้คารมกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงชวนพวก กษัตริย์ลิจฉวี ๕๐๐ องค์ให้ไปด้วยกัน และพูดอวดต่อกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้นว่า ขอให้พวกท่านคอยดู เราจะกระทําให้พระสมณโคดมหวั่นไหวสะดุ้งกลัวต่อวาทะของเราให้เหมือนแพะที่ถูกจับคอเขย่าฉะนั้น แล้วสัจจกนิครนถ์พร้อมด้วย กษัตริย์ลิจฉวี ๕๐๐ องค์ ก็พากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลขออนุญาตแล้ว สัจจนิครนถ์ก็ทูลถามขึ้นว่า “ข้าแต่พระสมณโคดม ท่านอบรมสาวกของท่านด้วย ธรรมอันใด” พระพุทธองค์จึงทรงตอบว่า “เราอบรมสาวกของเราด้วยธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕ ที่ปรากฏเป็นสัตว์ทั้งหลายนั้น ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ได้อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใคร ไม่ใช่ตัวตน เรา เขา ดังนี้”
สัจจกนิครนถ์จึงพูดขึ้นว่า “ข้าแต่พระสมณโคดม ธรรมดาพืชผลไม้ต่างๆ ที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยแผ่นดินฉันใด สัตว์ทั้งหลายอาศัยขันธ์ ๕ แล้ว ก็ย่อมได้เสวยความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทํากุศลบ้าง อกุศลบ้าง แสวงหาความสุข ในมรรคบ้าง ผลบ้าง และในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น อัตตาตัวตนก็ยังคงปรากฏอยู่ ฉะนั้น ในการที่ท่านสมณโคดมกล่าวว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นั้นจะถูกได้ อย่างไร”
พระพุทธองค์จึงทรงตอบว่า “ในการที่ท่านกล่าวเช่นนี้ หมายความว่า ท่านมีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ นั้น เป็นตัวตนของเรา ดังนี้ใช่ไหม” สัจจกะทูลตอบ ว่า “ความเห็นชนิดนี้มิใช่เป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว แม้พวกที่นั่งอยู่ ณ ที่นี้ก็มีความ เห็นดังนี้ด้วยเหมือนกัน” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ท่านไม่ต้องยกเอาผู้อื่นเข้ามา อ้างด้วย ตถาคตอยากทราบความเห็นของท่านคนเดียว” สัจจกะทูลตอบว่า “จริง ข้าพเจ้ามีความเห็นเช่นนั้น” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เมื่อท่านมีความเห็นเช่นนั้น ตถาคตอยากถามว่า ธรรมดาผู้ที่เป็นกษัตริย์นั้น มีอํานาจเป็นอิสระภายใน ประเทศของตนว่า ผู้ที่ควรกด ก็กดได้ ผู้ที่ควรยกย่อง ก็ยกย่องได้ ผู้ที่ควรฆ่า ก็ฆ่าได้ ผู้ที่ควรไล่ ก็ไม่ได้ ดังนี้หรือ” สัจจกะทูลตอบว่า “ถูกแล้ว” พระพุทธองค์ จึงตรัสว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านยอมรับได้หรือไม่ว่า ท่านมีอิสระในร่างกายของท่าน ท่านสามารถบังคับให้รูปร่างที่ไม่สวย หรือบังคับไม่ให้ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ให้มีรูปร่างผิวพรรณเหมือนกับคนหนุ่มๆ อายุ ๑๖ ดังนี้จะได้หรือไม่”
สัจจกะ เมื่อได้ยินคําถามของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้ ก็อึ้ง คิดในใจว่า “ถ้าเราตอบว่า สามารถบังคับร่างกายให้เป็นไปตามความพอใจของ เราได้แล้ว พวกกษัตริย์ลิจฉวีก็จะพากันขอร้องให้เราบังคับร่างกายของเราที่ไม่สวย ให้กลับสวยงามขึ้น เราก็จะตกอยู่ในฐานะที่ลําบากแน่ๆ แต่ถ้าเราจะตอบว่า ไม่สามารถจะบังคับให้ร่างกายของเราเป็นไปตามความปรารถนาได้ เช่นนี้แล้ว ก็จะเป็นการรับรองคําพูดของพระสมณโคดมที่ว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” และ พระสมณโคดมก็จะชนะเราเป็นแน่ สัจจกะคิดไปคิดมาแล้วก็พูดไม่ออก จึงนิ่งเฉยอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเตือนว่า “ทําไมท่านจึงนิ่งเสีย ขอให้แก้วาทะของ ตถาคต” สัจจกะก็ยังคงนิ่งอยู่พูดไม่ออก
ในเวลานั้นท้าวสักกะเทวราชก็เนรมิตกายเป็นยักษ์ มือถือกระบองเหล็ก เข้ามาที่สัจจกะ เสื้อกระบองขึ้นทําท่าจะตี แล้วกล่าวว่า “สัจจกะ พระตถาคตทรง ถามท่าน ทําไมท่านจึงนิ่งเสียไม่ตอบ ถ้าท่านไม่ตอบ เราจะตีท่านด้วยกระบองนี้ ให้ศีรษะของท่านแตกออกเป็น ๗ เสี่ยงเดี๋ยวนี้” เวลาที่พระอินทร์เนรมิตเป็น ยักษ์เข้ามาพูดกับสัจจกะนั้น คนอื่นๆ ณ ที่นั้นไม่มีใครแลเห็น มีแต่พระสัมมา สัมพุทธเจ้ากับสัจจกะเท่านั้นที่แลเห็น เมื่อสัจจกะเห็นดังนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถ นิ่งเฉยอยู่ได้ ตอบว่า “ข้าพเจ้ายอมแก้วาทะของพระตถาคตเดี๋ยวนี้” พระสัมมา สัมพุทธเจ้าจึงทรงถามขึ้นอีกว่า “สัจจกะ รูปของท่านที่ท่านเป็นอิสระอยู่นั้นไม่สวย ไม่งาม ท่านจะบังคับให้สวยงามเหมือนกับรูปของพวกกษัตริย์ลิจฉวีนั้นจะเป็น ไปได้หรือไม่” สัจจกะทูลตอบว่า “จะบังคับให้เป็นไปดังนั้นไม่ได้” พระสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสว่า “สัจจกะท่านจงระวังคําแก้ของท่านให้ดี คําพูดของท่าน ตอนต้นกับตอนปลายไม่ตรงกัน” แล้วทรงถามอีกว่า “นามขันธ์ของท่านที่เป็น อิสระอยู่นั้น ท่านจะบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปตามความปรารถนาของท่านได้ หรือไม่” สัจจกะทูลว่า “นามขันธ์ของข้าพเจ้าก็ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตาม ความพอใจได้เช่นเดียวกัน” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า “มีผู้หนึ่งกําลังได้รับความลําบากกาย ลําบากใจอยู่ แต่ผู้นี้เห็นว่า ความลําบากนี้เป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ความลําบากนั้นจะหายไปได้หรือไม่” สัจจกะทูลตอบว่า “ไม่ได้” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า “ขันธ์ ๕ ที่เป็นทุกข์อยู่นั้น ท่านกําลังยึดถือเอาว่า เป็นตัว เป็นเรา เป็นเขา ดังนี้มิใช่หรือ” สัจจกะทูลตอบว่า “ใช่แล้ว ข้าพเจ้ายึดถือเช่นนั้น” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า “บุคคลที่ แสวงหาแก่นไม้ แต่ไปตัดต้นกล้วยผ่าออก เพื่อจะหาแก่น หาเท่าไรก็ไม่พบ เพราะต้นกล้วยนั้น เป็นต้นไม้ที่หาสาระมิได้อยู่แล้ว ผลสุดท้ายก็เลยไม่ได้อะไร ที่เป็นแก่นสาร ข้อนี้ฉันใด วาทะของท่านก็เป็นฉันนั้น เวลาที่ท่านกล่าวแต่ผู้เดียว ก็รู้สึกคล้ายกับว่า รูปนามขันธ์ ๕ นี้ มีตัวตนเป็นแก่นสาร แต่เมื่อผู้ที่มีความ รู้ความเข้าใจในขันธ์ ๕ ดีพอ มีตถาคตเป็นต้น ถามไปถามมาแล้ว ก็แลเห็นได้ว่า วาทะของท่านไม่มีอะไรเป็นแก่นเป็นสารได้เลย และตามที่ท่านได้เคยกล่าวว่า ไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่มาโต้วาทะกับท่านนั้น จะต้องมีอาการสะดุ้งสะเทือน ตกประหม่า เหงื่อไหลไปทั้งสิ้นนั้น บัดนี้ตถาคตเป็นผู้ได้โต้วาทะกับท่าน แต่ตถาคตก็ไม่เห็น รู้สึกเป็นอย่างไร เหงื่อก็ไม่ไหล ท่านเองนั้นแหละเป็นผู้เหงื่อไหล” สัจจกะก็ไม่ อาจจะพูดโต้แย้งอย่างไรได้ นั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ณ ที่นั้น ในที่สุดสัจจกนิครนถ์ ก็ได้ทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวก ให้ไปฉันอาหารที่สํานัก
ของตนในวันรุ่งขึ้น
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาเป็นเหตุให้อัตตวาทุปาทานเกิด ดังเช่น สัจจกนิครนถ์ผู้มีความพอใจในขันธ์ ๕ ของตน เป็นเหตุให้เกิดความเห็นผิดใน ขันธ์ ๕ ของตน เป็นอัตตวาทุปาทาน ดังที่ได้แสดงมานี้
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
๑. ตัณหาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กามุปาทาน ที่เกิดหลังๆ นั้น ได้ปัจจัย ๑ คือ ปกติปนิสสยปัจจัย
๒. ตัณหาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นได้ปัจจัย ๗ คือ
๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย ๓. อัญญมัญญปัจจัย ๔. สหชาตนิสสยปัจจัย ๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖. สหชาตัตถุปัจจัย ๗. สหชาตอวิคตปัจจัย
๓. ตัณหาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทาน ๓ (เว้น กามุปาทาน) ที่เกิดหลังๆ นั้น ได้ปัจจัย ๑ คือ ปกติปนิสสยปัจจัย
จบ ตณฺหาปจฺจยา อุปาทาน
๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว สมฺภวติ
ภวะ ย่อมปรากฏเกิดขึ้นเพราะอาศัย อุปาทาน เป็นเหตุ
อุปาทาน ที่เป็นเหตุให้เกิดภวะ ได้แก่ อุปาทาน ๔ มีกามุปาทาน เป็นต้น ดังที่ได้แสดงมาแล้วนั้นเอง
ภวะ มี ๒ อย่าง คือ
๑. กัมมภวะ การปรุงแต่งที่ทําให้ผลเกิดขึ้น ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ โลกียกุศลเจตนา ๑๗ รวมเจตนา ๒๙
๒. อุปปัตติภวะ ผลที่เกิดขึ้นในภพนั้นๆ โดยอาศัย กัมมภวะ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
เมื่อว่าโดยปุคคลาธิษฐานแล้ว กัมมภวะ ได้แก่การกระทําด้วย กาย วาจา ใจ ในสิ่งที่ดีและไม่ดีของบุคคลทั่วไป (ยกเว้นพระอรหันต์)
อุปปัตติภวะ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน ๓๑ ภูมิ พร้อมทั้งการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส การนอนหลับ
จําแนกกัมมภวะโดยทวาร
กัมมภวะนี้ เมื่อจําาแนกโดยทวารแล้ว มี ๓ คือ
๑. กัมมวภะที่เกิดทางกาย ชื่อว่า กายกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘
๒. กัมมภวะที่เกิดทางวาจา ชื่อว่า วจีกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘
๓. กัมมภวะที่เกิดทางใจ ชื่อว่า มโนกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘ มหัคคตกุศลกรรม ๙
อุปปัตติภวะ มี ๙ อย่าง คือ
ว่าโดยภูมิ
๑. กามภาะ ได้แก่ กามวิปากจิต ๒๓ เจตสิก ๓๓ กัมมชรูป ๒๐
๒. รูปภวะ ได้แก่ รูปวิปากจิต ๕ จักขุวิญญาณ ๒ โสตวิญญาณ ๒ สัมปฏิจฉนจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๑๕
๓. อรูปภวะ ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ เจตสิก ๓๐
ว่าโดยจิต
๔. สัญญีภวะ โลกียวิบากจิต ๓๑ (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนวิปาก) เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
๕. อสัญญีภวะ ได้แก่ ชีวิตนวกกลาป
๖. เนวสัญญีนาสัญญีภวะ ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต ๑ เจตสิก ๓๐
ว่าโดยขันธ์
๗. เอกโวการภวะ ได้แก่ ชีวิตนวกกลาป
๘. จตุโวการภวะ ได้แก่ อรูปวิปากจิต ๔ เจตสิก ๓๐
๙. ปัญจโวการภวะ ได้แก่ กามวิปากจิต ๒๓ รูปวิปากจิต ๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
แสดงอุปปัตติภวะ ๙ โดยปุคคลาธิษฐาน
๑. กามภวะ ได้แก่ อบายสัตว์มีดิรัจฉานเป็นต้น มนุษย์ เทวดา
๒. รูปภวะ ได้แก่ รูปพรหมทั้งหลาย
๓. อรูปภวะ ได้แก่ อรูปพรหมทั้งหลาย
๔. สัญญีภวะ ได้แก่ อบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม)
๕. อสัญญีภวะ ได้แก่ อสัญญสัตตพรหม
๖. เนวสัญญีนาสัญญีภวะ ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
๗. เอกโวการภวะ ได้แก่ อสัญญสัตตพรหม
๘. จตุโวการภวะ ได้แก่ อรูปพรหม
๙. ปัญจโวการภวะ ได้แก่ อบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม
กัมมภวะและอุปปัตติภวะทั้ง ๒ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ปรากฏเกิดขึ้นได้ ก็เพราะอาศัยอุปาทานทั้ง ๔ เป็นเหตุ และภวะทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันได้ กล่าวคือ
ถ้ากล่าวถึงกาลที่เป็นอนาคตแล้ว กัมมภวะเป็นเหตุ อุปปัตติภวะเป็นผล หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายซึ่งเป็นอุปปัตติภวะนั้น จะปรากฏขึ้นได้ก็เพราะอาศัย การกระทําต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นอกุศลกัมมภวะ และโลกยกุศลกัมมภวะ เป็นเหตุ นี้จัดเป็นชนกเหตุ
แสดงความแตกต่างกันระหว่างสังขารกับกัมมภวะ
สังขารที่เป็นผลของอวิชชา (อวิชชาปัจจยา สงฺขารา) และกัมมภวะที่ เป็นผลของอุปาทาน (อุปาทานปจฺจยา ภโว) ทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่ เจตนา ๒๙ ที่ในอกุศลจิต ๑๒ และโลกียกุศลจิต ๑๗ เหมือนกัน แต่ที่ แตกต่างกันนั้น คือ
ในนัยอัทธา ๓ เจตนา ๒๙ ที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ซึ่งเป็นเหตุให้ อุปาทานขันธ์เกิดขึ้นในภพนี้ ชื่อว่า สังขาร ดังมีบาลีแสดงว่า อวิชชา สงฺขารา อตโต อทธา
เจตนา ๒๙ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพ ซึ่งเป็นเหตุให้อุปาทานขันธ์เกิดขึ้น ในภพหน้า ชื่อว่า กัมมภวะ ดังมีบาลีแสดงว่า มชเฌ อฏฺฐ ปจฺจุปนฺโน อทฺธา
สําหรับการแสดงในอาการ ๒๐ คือ ประเภท ๒๐ นั้น ความเป็นไป ของสังขารและกัมมภวะทั้ง ๒ นี้ ไม่ต่างกันโดยกาล กล่าวคือ ในอดีตเหตุ ๕ นั้น สังขารและกัมมภวะก็เข้าร่วมอยู่ในธรรมที่เป็นอดีตเหตุด้วยเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ จึงรู้ได้ว่าความต่างกันระหว่างสังขารกับกัมมภวะที่ว่าโดยกาลจึงไม่มีในที่นี้ แต่ความแตกต่างกันนั้น มีดังนี้ คือ
ปุพพเจตนา ที่เกิดก่อนการกระทํากุศล อกุศล ชื่อว่า สังขาร
มุญจเจตนา ที่เกิดขึ้นขณะกําลังกระทํากุศล อกุศล ชื่อว่า กัมมภวะ หรืออีกนัยหนึ่ง ในกุศล อกุศลชวนะ ๗ ครั้งนั้น
กุศล อกุศล เจตนา ที่เกิดขึ้นในชวนะดวงที่ ๑ ถึงดวงที่ ๖ ชื่อว่า สังขาร
กุศล อกุศล เจตนา ที่เกิดขึ้นในชวนะดวงที่ ๗ ชื่อว่า กัมมภวะ หรืออีกนัยหนึ่ง
จิต เจตสิก ที่เกิดพร้อมกันกับ กุศล อกุศล เจตนา ชื่อว่า สังขาร
กุศล อกุศล เจตนาเจตสิก ชื่อว่า กัมมภวะ
ดังมีบาลีแสดงว่า
สงฺขารา ปุรเจตนา ภโว ตุ มุญจสตฺตมา
สพฺพา วา เจตนา ภโว สงฺขารา สมฺปยุตฺตกา ฯ
ปุพพเจตนาก็ดี เจตนาที่ประกอบกับชวนะก่อน ๆ ๖ ครั้งก็ดี ชื่อว่า สังขาร
มุญจนเจตนาก็ดี เจตนาที่ประกอบกับชวนะดวงที่ ๗ ชื่อว่า กัมมภวะ หรือ อกุศลและโลกียกุศลเจตนาทั้งหมด ชื่อว่า กัมมภวะ
จิตเจตสิกที่ประกอบกับกุศล อกุศล เจตนา เหล่านี้ ชื่อว่า สังขาร หรืออีกนัยหนึ่ง
สังขาร ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนาเจตสิกอย่างเดียว
กัมมภวะ ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนา พร้อมด้วยนามขันธ์ ๔ ที่เหลือ หรืออีกนัยหนึ่ง
สังขาร ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนา ๒๙ ที่เป็นเหตุของโลกีย วิปากวิญญาณที่เป็นปฏิสนธิและปวัตติอย่างเดียว
กัมมภวะ ได้แก่ กุศล อกุศล เจตนา ๒๙ ที่เป็นเหตุของโลกียวิปาก วิญญาณที่เป็นปฏิสนธิ ปวัตติ และอสัญญีภพ
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท อุปาทานปจฺจยา ภโว
๑. กามุปาทาน เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมภวะ ที่ประกอบกับ ตนนั้นได้อํานาจปัจจัย ๗ คือ
๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาติปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาต ปัจจัย
๗. สหชาตอวิคตปัจจัย
๒. ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ทั้ง ๓ นี้เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่กัมมภวะ ที่ประกอบกับตนนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๗ คือ
๑. สหชาติปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. มัคคปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาต ปัจจัย
๗. สหชาตอวิคตปัจจัย
๓. อุปาทานทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมภวะ ที่เกิดขึ้นติดต่อกันกับตนโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๖ คือ
๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นัตถิปัจจัย
๖. วิคตปัจจัย
๔. อุปาทานทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมภวะและอุปปัตติภวะ ที่ไม่ได้เกิดพร้อมกันกับตน หมายความว่า ตามธรรมดาผู้ที่ไม่มีอุปาทานแล้วนั้น การกระทําของบุคคลนั้นไม่เป็นกุศลอกุศลกัมมภวะ และเมื่อตายจากโลกนี้แล้ว อุปปัตติภวะคือการเกิดเป็นสัตว์น้อยใหญ่ก็ย่อมไม่มี แต่การกระทําของสัตว์ ทั้งหลายที่สําเร็จเป็นกุศลอกุศลกัมมภวะก็ดี และเมื่อตายจากโลกนี้แล้ว ไปเป็น สัตว์น้อยใหญ่อันเป็นอุปปัตติภวะก็ดี เหล่านี้ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจอุปาทาน อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่แล้วในสันดานของตนนั้นเองเป็นปัจจัย ฉะนั้น ในการ ช่วยอุปการะของอุปาทานทั้ง ๔ แก่ภวะทั้ง ๒ นี้ ย่อมได้อํานาจปกตูปนิสสยปัจจัยอย่างเดียว
๕. ในขณะที่กุศลอกุศลกัมมภวะเกิดขึ้นโดยมีอุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์อย่างสามัญ ขณะนั้นอุปาทานทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่กุศลอกุศลกัมมภวะนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ อารัมมณปัจจัย
๖. ในขณะที่กุศลอกุศลกัมมภวะเกิดขึ้นโดยมีอุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์อย่างเอาใจใส่เป็นพิเศษ ขณะที่อุปาทานทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็น ปัจจัยช่วยอุปาการะแก่กุศลอกุศลกัมมภวะนั้น ได้อํานาจปัจจัย ๓ คือ
๑. อารัมมณปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
จบ อุปาทานปจฺจยา ภโว
๑๐. ภวปจจยา ชาติ สมุภวติ
ความเกิดขึ้นแห่งโลกียวิปากจิต เจตสิก และกัมมชรูป ปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยกัมมภวะเป็นเหตุ
ภวะที่เป็นปัจจัยของชาติที่เอาแต่กัมมภวะ ก็เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิบาก และกัมมชรูปอันเป็นตัวชาตินั้น จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยอกุศลกรรมและ โลกยกุศลกรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ภวะในบท “ภวปจฺจยา ชาติ” จึงได้แก่ กัมมภวะอย่างเดียว
ชาติ คือการเกิดขึ้นครั้งแรกของโลกียวิบากและกัมมชรูป ซึ่งเป็น อุปปัตติภวะใน ๓๑ ภูมิ โดยมีขันธ์ ๑ บ้าง ขันธ์ ๔ บ้าง ขันธ์ ๕ บ้าง ตังแสดงวจนัตถะว่า
“ชมนํ = ชาติ” การเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ชื่อว่า ชาติ
อีกนัยหนึ่ง
“ชายนฺติ ปาตุภวนฺติ ธมฺมา เอตายาติ = ชาติ”
สังขารธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏเกิดขึ้น โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการปรากฏเกิดขึ้นของสังขารธรรมนั้น ชื่อว่า ชาติ
ชาติ ว่าโดยธรรมาธิฏฐาน มี ๒ อย่าง คือ
๑. นามชาติ การเกิดขึ้นของวิบากนามขันธ์ ๔
๒. รูปชาติ การเกิดขึ้นของกัมมชรูป
ว่าโดยกาล มี ๓ คือ
๑. ปฏิสนธิชาติ
๒. สันตติชาติ
๓. ขณิกชาติ
ในชาติ ๓ อย่างนี้ การเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่ตายจากภพเก่า ชื่อว่า ปฏิสนธิชาติ และเมื่อว่าโดยธรรมาธิฏฐานแล้ว ก็ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓-๗-๔ ที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล
ต่อจากปฏิสนธิกาลแล้ว นามธรรมและรูปธรรมที่เกิดใหม่ๆ ติดต่อกัน ไม่ขาดสายตลอดวัน ตลอดเดือน ตลอดปี จนกระทั่งตลอดชีวิต ชื่อว่า สันตติชาติ ว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ การสืบต่อกันของจิต เจตสิก รูปทั้งหมด
การเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ ของดวงจิตหนึ่งๆ และการเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ ของ รูปกลาปอันหนึ่งๆ ชื่อว่า ขณิกชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นขณะหนึ่งของจิต เจตสิก รูปทั้งหมด
คําว่า “ชาติ” ในบท “ภวปจฺจยา ชาติ” นี้ มุ่งหมายเอาปฏิสนธิชาติเท่านั้น ปฏิสนธิชาติ นี้ เมื่อว่าโดยกําเนิดมี ๔ คือ
๑. ชลาพุชชาติ การเกิดขึ้นในมดลูก
๒. อัณฑชชาติ การเกิดขึ้นในฟอง
๓. สั่งเสทชชาติ การเกิดขึ้นในที่ที่มียาง
๔. โอปปาติกชาติ การเกิดผดโตขึ้นทันที
ว่าโดยขันธ์ มี ๓ คือ
๑. ปัญจโวการชาติ การเกิดขึ้นของขันธ์ ๕
๒. จตุโวการชาติ การเกิดขึ้นของนามขันธ์ ๔
๓. เอกโวการชาติ การเกิดขึ้นของรูปขันธ์อย่างเดียว
ชาติ คือการเกิดขึ้นของสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ โดยประการต่างๆ มี พวกอบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เหล่านี้ ก็โดยเนื่องมาจากกัมมภวะ คือการกระทําด้วยกาย วาจา ใจ ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง นั้นเอง ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง นอกจากกุศลกรรม อกุศลกรรมเท่านั้น สมดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า
“กมุม สตฺเต วิภชติ ยทท์ หีนปุปณีตตาย” กรรมย่อมจําแนกสัตว์ทั้งหลายให้มีสภาพเลวและประณีต
และพระมหาพุทธโฆษาจารย์ ก็ได้แสดงไว้ว่า
ตุลุโยปิ พหิ เหตุมหิ ยมกานํ ปยตุลุยตา
น จาญฺโญ กมฺมโต ตสฺมา เญยฺโย โส ชาติปจฺจโย ฯ
แปลเป็นใจความว่า แม้จะมีสายโลหิตและอาหาร ซึ่งเป็นเหตุภายนอก อันเดียวกัน แต่ทารกฝาแฝดนั้นก็ยังมีสิ่งต่างกันให้เห็นได้ กล่าวคือคนหนึ่งเป็นชาย คนหนึ่งเป็นหญิงก็มี รูปร่างสัณฐานผิดเพี้ยนกันก็มี ปัญญาต่างกันก็มี ข้อนี้แสดง ให้เห็นว่า นอกจากกุศลอกุศลกัมมภวะแล้ว ก็ไม่มีเหตุอื่นใดอีกที่จัดแจงใน การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลาย พึงทราบกัมมภวะนี้เป็นปัจจัยของชาติ
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ภวปจฺจยา ชาติ
กัมมภวะเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ชาตินั้น ได้อํานาจปัจจัย ๒ คือ
๑. ปกตูปนิสสยปัจจัย
๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย
จบ ภวปจจยา ชาติ
๑๑. ชาติปัจจยา ชรามรณ์ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ชรา มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๗ นี้ ปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยชาติเป็นเหตุ
ชรา ที่เป็นผลของชาตินี้ ได้แก่ ความแก่ของโลกียวิบาก และกัมมชรูป คือเมื่อวิบากและกัมมชรูปเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นชาติแล้ว ย่อมมีขณะที่ตั้งอยู่เรียกว่า ฐิติ และฐิติขณะ ของโลกียวิบากและกัมมชรูปนี้แหละชื่อว่า ชรา ดังมีวจนัตถะว่า
“ชิรณ์ = ชรา”
ความเก่าแก่ของวิบากนามขันธ์ ๔ และนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรา
มรณะที่เป็นผลของชาตินี้ได้แก่ อาการที่กําลังดับของโลกียวิบาก และ กัมมชรูปที่เรียกว่า ภังคักขณะ ดังมีวจนัตถะว่า
“มรียเต - มรณ์”
ความตาย คืออาการที่กําลังดับของโลกียวิบากและกัมมชรูป ชื่อว่า มรณะ
องค์ธรรมของชราและมรณะตามที่ได้กล่าวมานี้ เหมือนกับองค์ธรรม ของชาติที่เป็นดังนี้ก็เพราะชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๓ นี้ สงเคราะห์เข้าในวิปากวัฏ ดังในบาลีที่แสดงไว้ในตอนต้นว่า “อุปปัตติภวสงฺขาโต ภูเวกเทโส อวเสสา จ วิปากวฏฐ์” ซึ่งแปลว่า ภวะ ส่วนหนึ่ง คืออุปปัตติภวะ และวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะที่เหลือเหล่านี้ เป็นวิปากวัฏ
ในชราและมรณะ ๒ อย่างนั้น มรณะเป็นอย่างไร? ความจุติ ความ เคลื่อนไป ความแตกทําลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทํากาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จาก หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด อันนั้นเรียกว่า มรณะ
ฉะนั้น คําว่า ชรา และมรณะในปฏิจจสมุปบาทนี้ จะหมายเอาความแก่ และความตายของสัตว์ทั้งหลาย ที่สมมติกันอยู่ในโลกนี้ก็ได้ คือต่อจากชาติความ เกิดขึ้นเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงตาย ชื่อว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ของโลกียวิบาก และ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป
ในขณะที่สัตว์ทั้งหลายตายนั้น ชื่อว่า มรณะ ได้แก่ ความตายของ โลกียวิบากและกัมมชรูป จิตตชรูป อาหารชรูป
ดังแสดงวจนัตถะว่า
“ชีรนุติ ชิณณภาวํ คจฺฉนฺติ เอตายาติ = ชรา"
สังขารธรรมทั้งหลายย่อมเข้าถึงความแก่โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเข้าถึงความแก่ของสังขารธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ชรา
“มรนฺติ สตฺตา เอเตนาติ = มรณ์”
สัตว์ทั้งหลายย่อมตายโดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็น เหตุแห่งการตายของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า มรณะ
ชรา มี ๙ อย่าง คือ
๑. วโยวุทธิชรา
๒. สันตติ รา
๓. ขณิกชรา
๔. ปากฏชรา
๕. ปฏิจฉันนชรา
๖. อวีจิชรา
๗. สวีจิชรา
๘. ปรมัตถชรา
๙. บัญญัตติชรา
๑. วโยวุทธิชรา ได้แก่ ความชราที่เกิดขึ้นตามลําดับโดยมีอาการปรากฏต่างๆ เช่น ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว เส้นเอ็นปรากฏ หลังโกง เป็นต้น
๒. สันตติชรา ได้แก่ ความแก่ของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันเรื่อ ร้อยๆ ไม่ขาดสาย จนถึงตาย อุปมาเหมือนคนที่เป็นไข้ ใน ขณะที่ไข้กําลังขึ้นนั้น เปรียบได้กับสันตติชาติ เมื่อ ไข้ค่อยๆ ลดลง เปรียบได้กับสันตติชรา
๓. ขณิกชรา ได้แก่ ฐิติขณะของรูปและนามที่ปรากฏเกิดขึ้นสืบต่อกัน โดยอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ที่เป็นขณะเล็ก
๔. ปากฏชรา ได้แก่ ความชราที่ปรากฏชัด ได้แก่ วโยวุทธิชรานั้นเอง
๕. ปฏิจฉันนชรา คือ ความชราที่ปกปิดไม่สามารถมองเห็นได้ ได้แก่ ความชราของนามธรรม
๖. อวีจิชรา คือความชราที่ไม่มีทางให้รู้ได้ ได้แก่ ความเสื่อมของแก้ว หิน พระอาทิตย์ พระจันทร์ เด็ก หญิงสาว ชายหนุ่ม เป็นต้น
๗. สวีจิชรา คือ ความแก่ที่มีทางให้รู้ได้ ได้แก่ ความเสื่อมของรถ บ้าน สถานที่ต่างๆ วัตถุสิ่งของต่างๆ และคนแก่ สัตว์แก่ ต้นไม้แก่ เป็นต้น
๘. ปรมัตถชรา ได้แก่ ฐิติขณะของรูปและนาม เหมือนขณิกชรา
๙. บัญญัตติชรา ได้แก่ ความชราต่างๆ ที่นอกจากขณิกชรา
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คําว่า ชรา มุ่งหมายเอา วโยวุทธิชรา ปากฏชรา และชราทั้ง ๒ นี้ เป็นชราที่เกี่ยวกับรูปธรรมเท่านั้น ในนามธรรมไม่มีชราชนิดนี้
ธรรมดาอายุของรูปธรรมรูปหนึ่งๆ นั้น มีอายุเทียบเท่ากับอายุของจิต ๑๒ ดวง ไม่ยิ่งหย่อนกว่านี้ ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยสภาวะปรมัตถ์แล้ว รูปนั้นแก่ รูปนี้อ่อน ไม่มีเลย แต่เราเห็นว่า ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว เป็นต้นนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราสมมติกันว่า “แก่” นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ เมื่อยกเว้น ขณิกชรา ปฏิจฉันนชรา ปรมัตถชรา เสียแล้ว ชรานอกนั้นก็เป็นบัญญัติชราทั้งสิ้น
อนึ่ง ชรา นี้ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ เพราะเป็นธรรมารมณ์ ที่เห็นว่า ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้นนั้น ก็ไม่ใช่ตัวชรา เป็นผลที่เกิดจากอํานาจของชราอีก ทีหนึ่ง แต่คนทั้งหลายที่ได้เห็น ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้นแล้ว ก็รู้ว่า คนนั้น คนนี้ ชราแล้ว
ถ้าจะถามว่า ทําไมชรา มีผมหงอก ฟันหัก เป็นต้น จึงปรากฏแก่คน มีอายุมากๆ แล้ว ส่วนเด็กๆ และคนหนุ่มคนสาวนั้น ไม่ปรากฏ คล้ายๆ กับว่า ความชรานี้มีอยู่เฉพาะในคนแก่เท่านั้น เด็ก หนุ่ม สาวไม่มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร? ข้อนี้แก้ว่า ธรรมดาชรานั้น ย่อมมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็น เด็กหรือหนุ่มสาว หรือคนแก่ก็ตาม และชรานี้มีหน้าที่ทําให้รูปธรรมเข้าถึงความ แก่ด้วยกันทั้งสิ้น เด็กๆ ที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้นก็ด้วยอํานาจชรา คนหนุ่มคนสาวที่ค่อยๆ ก้าวขึ้น นไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่จนกระทั่งแก่นั้น ก็ด้วยอํานาจชราเช่นเดียวกัน เพราะความแก่นี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ แก่ขึ้น เรียกว่า อภิกกมชรา อย่างหนึ่ง และแก่ลง เรียกว่า ปฏิกกชรา อย่างหนึ่ง สําหรับชรา ที่อยู่ในเด็ก ตั้งแต่วัย มันททสกะ จนถึง พลทสกะนั้น เป็นอภิกกมชรา คือชรา ที่แก่ขึ้น ด้วยเหตุนี้แหละ เด็กๆ จึงค่อยๆ เติบโตขึ้นเป็นลําดับ จนกระทั่งสุดเขต อภิกกมชรา ต่อจากนั้นก็ค่อยๆ แก่ลงเป็นลําดับ ปรากฏอาการผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว เป็นต้น จนกระทั่งตาย เรียกว่า ปฏิกกมชรา และที่เป็นเช่นนี้ก็ เพราะอํานาจแห่งชิรณเตโช มีเผาผลาญรูปธรรมให้มีอาการเสื่อมโทรมลงเป็น ลําดับนั่นเอง
อนึ่ง อาการที่ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว เป็นต้น อันเป็น วโยวุทธิชราเหล่านี้ ย่อมไม่มีแก่พวกเทวดาและพรหมทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะพวก เทวดาและพรหมเหล่านั้นมีกัมมชรูป เป็นรากฐานแน่นหนากว่าอุตุชรูป และ อาหารชรูป ส่วนพวกมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายมีกัมมชรูปเกิดน้อยกว่า อุตุชรูปและอาหารชรูป ฉะนั้น จึงมีวโยวุทธิชราปรากฏมาก
มรณะ มี ๙ อย่าง คือ
๑. สมมุติมรณะ ได้แก่ ความตายของสัตว์ทั้งหลายที่สมมติเรียกกันว่า นาย ก. ตาย นาย ข. ตาย ต้นไม้ตาย ปรอทตาย เป็นต้น
๒. สัตตมรณะ ได้แก่ การสืบต่อกันของรูปนาม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็น ระยะๆ ไม่ตั้งคงที่ เช่น รูปที่เกิดขึ้นในเวลาไม่สบาย และเมื่อหายแล้ว รูปไม่สบายนั้นก็ดับไป รูปสบาย เกิดขึ้นใหม่และเมื่อมีความเสียใจ กลุ้มใจเกิดขึ้น ต่อมามีความดีใจเกิดขึ้น ความเสียใจ กลุ้มใจนั้น ก็หายไป ดังนี้เป็นต้น
๓. ขณิกมรณะได้แก่ ความดับไปของรูปและนาม ทุกๆ ภังคะขณะ
๔. สมุจเฉทมรณะ ได้แก่ ปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลายที่ไม่มีการเกิดต่อไป
๕. ชาติกขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่สุดสิ้นภพในภพหนึ่งๆ
๖. อุปักกมมรณะ ได้แก่ การกําหนดอายุก็ยังไม่สิ้น กรรมก็ยังไม่สิ้น แต่ถึงความตาย โดยอาศัยความพยายามของตัวเอง หรือ ของคนอื่นด้วยอํานาจอุปัจเฉทกกรรม
๗. สรสมรณะได้แก่ ความตายที่ถึงกําหนดอายุและกรรม
๘. อายุกขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่ถึงกําหนดอายุ แม้ว่ายังไม่สิ้นกรรมก็ตาม
๙. ปุญญักขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่ถึงกําหนดของบุญและกรรม แม้ว่ายังไม่สิ้นอายุก็ตาม
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คําว่า มรณะ มุ่งหมายเอา สัมมุติมรณะ ชาติกขย มรณะ อุปักกมมรณะ สรสมรณะ อายุกขยมรณะ ปุญญักขยมรณะเท่านั้น และ ตั้งแต่ชาติกขยมรณะจนถึงปุญญักขยมรณะ ทั้ง ๕ อย่างนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็เข้าอยู่ในสัมมุติมรณะนั่นเอง
ชราและมรณะ ดังกล่าวมานี้เป็นสภาพที่เป็นอนิฏฐะคือ เป็นสิ่งที่น่ากลัว ไม่น่าปรารถนา แต่ทุกๆ คนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องประสบด้วยกันทั้งนั้น ไม่มี หนทางที่จะหนีให้พ้นเลยในภพนี้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีชาติ คือความเกิดนั้นเอง เป็นต้นเหตุ ถ้าผู้ใดมีความกลัวชรา มรณะ ผู้นั้นก็จําเป็นจะต้องหาหนทางทําลาย ชาติเสียจึงจะพ้นไปได้ และวิธีที่จะทําลายชาตินี้ก็มีอยู่ในเฉพาะศาสนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ได้แก่ การทําลายกัมมภวะให้สิ้นสุดลง พยายาม ทําให้กาย วาจา ใจ ของตนให้เข้าถึงความเป็นกิริยา คือความเป็นพระอรหันต์นั่นเอง และการกระทําที่จะให้สําเร็จเป็นกิริยาได้ ก็ต้องอยู่ในระหว่างเวลาที่พระพุทธ ศาสนายังตั้งอยู่ เมื่อว่างจากพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นอันหมดหนทางจะทําได้ ก็แต่อกุศลกรรมและโลกียกุศลกรรม อันเป็นการกระทําที่ให้สําเร็จเป็นกุศลนั้น ทําได้ง่าย และมีโอกาสมาก คือกระทําได้ทั้งในเวลาที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่ และในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนาแล้ว แต่การกระทําที่ให้กุศลหมดสิ้นไปนั้น ทําได้ยาก และมีโอกาสจํากัด คือทําได้เฉพาะในเวลาที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่เท่านั้น ท่านอุปมาเปรียบเทียบการสร้างกุศลนี้ เหมือนกับคนไข้ที่กินยาขม ซึ่งตามปกติ แล้วยาขมย่อมไม่มีผู้ใดอยากกิน แต่ที่คนไข้ต้องพยายามกินก็เพราะต้องการให้ หายจากโรค ข้อนี้ฉันใด โลกยกุศลเหล่านี้ก็เปรียบเหมือนยาขม ผู้ที่ต้องการพ้น จากกิเลสก็ต้องพยายามสร้างโลกียกุศลให้เกิดขึ้น เพื่อตั้งต้นทําลายกิเลสเป็นลําดับไป จนกระทั่งได้สําเร็จถึงพระอรหันต์ ทําลายกิเลสหมดสิ้น ซึ่งเปรียบเหมือนคนไข้ ที่ต้องการหายขาดจากโรค พยายามกินยาขมนั้นเรื่อยๆ ไป จนกระทั่งโรคหาย เมื่อโรคต่างๆ หายแล้วก็ไม่จําเป็นต้องกินยาขมอีกต่อไป ดังเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้กล่าวกับเทวบุตรมาร ในขณะที่พระองค์กําลังทรงปฏิบัติ ทุกรกิริยาอยู่ โดยมีมารเทวบุตร ได้มาทูลว่า ขอให้พระองค์จงพยายามทําตนให้เป็นผู้ที่มีอายุยืน จะได้มีเวลาสร้างกุศล มีการรักษาศีล บูชาไฟ เป็นต้น ถ้ามาอยู่ ในป่าและปฏิบัติเช่นนี้ก็จะไม่มีประโยชน์อย่างใด พระองค์จึงทรงตอบพระยามารว่า
อนุมตฺโตปิ ปุญฺเญน อตฺโถ มยุห์ น วิชชติ
เยสญฺจ อตฺโถ ปุญฺเญน เต มาโร วตตมโหติ ฯ
แปลเป็นใจความว่า ดูก่อนพระยามาร ความพอใจในสภาพที่เป็นกุศลไม่มีแก่เราแม้แต่น้อย ผู้มีปัญญาน้อยเท่านั้นที่มีความพอใจในความเป็นกุศล ฉะนั้น ท่านควรพูดดังนี้กับบุคคลที่ยังมีความยินดีในกุศลเถิด
อนึ่งในสัจจวิภังค์อรรถกถา พระมหาพุทธโฆษาจารย์ แสดงอุปมา เปรียบเทียบ ชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๓ นี้เหมือนกับชาย ๓ คน ที่ร่วมมือกัน ทําการล่อลวงศัตรูไปฆ่า ชายคนที่ ๑ รับหน้าที่เป็นผู้ชักนําศัตรูให้เข้าไปสู่ในป่า โดยการกล่าวสรรเสริญความสวยงามตามธรรมชาติของป่านั้นให้ฟัง ทําให้เกิด ความอยากไปชม แล้วก็ยอมตัวไปกับชายผู้นั้น เมื่อเข้าไปสู่ในบริเวณป่านั้นแล้ว ชายคนที่ ๒ ก็ทําหน้าที่เป็นผู้เบียดเบียนทําร้ายศัตรูนั้นให้ได้รับบาดเจ็บหมดกําลังลง แล้วชายคนที ๓ ก็ทําหน้าที่ประหาร โดยเอามีดฟันคอศัตรูนั้นถึงแก่ความตาย ข้อนี้ฉันใด ชายคนที่ ๑ เปรียบได้กับชาติ คือเป็นผู้นําให้สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นใน ภพนั้นๆ เหมือนกับถูกนําให้เข้าไปสู่ในป่า ชายคนที่ ๒ เปรียบได้กับชรา คือ เบียดเบียนขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายให้ค่อยๆ แก่ลงตามลําดับ ซึ่งเหมือนกับถูก ศัตรูลอบทําร้ายให้หมดกําลังลง ชายคนที่ ๓ เปรียบได้กับมรณะ ที่ทําให้ขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายแตกดับลงในภพหนึ่งๆ ซึ่งเหมือนกับถูกศัตรูเอามีดประหารให้ตายลงฉันนั้น
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
ชรา มรณะ ที่แสดงตามอภิธรรมภาชนียนัยนั้น ไม่มีปัจจัยสงเคราะห์ เพราะชราก็ได้แก่ฐิติขณะของรูปและนาม และมรณะก็ได้แก่ทั้งคักขณะของรูปและนามเช่นเดียวกัน ส่วนชรามรณะที่แสดงตามสุตตันตภาชนียนัยนั้นมีปัจจัย สงเคราะห์ได้ คือ
ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ชรา มรณะ นั้นได้อํานาจปัจจัย ๑ คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
วจนัตถะของ โสกะ
“โสจน์ - โสโก"
ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ซึ่งเกิดจากพยสนะ ๕ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง
“โสจนฺติ จิตตปริฬาห์ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ - โลโก
สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความเศร้าโศกเข้าถึงความเดือดร้อน โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าโศกเดือดร้อนของสัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒
ตามธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่มีความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้น ก็ได้แก่สภาพ ของโลกะนั่นเอง และ โสกะจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยมีเหตุที่ทําให้เกิด เหตุนั้นก็ คือ พยสนะ ๕ อย่าง ได้แก่
๑. ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง ลูกหลาน สามี ภรรยา มิตร ล้มหายตายจากไป
๒. โภคพยสนะ ความพินาศแห่งทรัพย์สมบัติ ตําแหน่ง ยศ เช่น ถูกอัคคีภัย โจรภัย ราชภัย อุทกภัย ถูกถอดจาก ตาแหน่ง ยศ
๓. โรคพยสนะ ความพินาศด้วยโรค หรือถูกโรคภัยเบียดเบียน
๔. ลีลพยสนะ ความพินาศแห่งศีล คือสิกขาบทที่รักษาอยู่ขาดไป
๕. ทิฏฐิพยสนะ ความพินาศแห่งความเห็น คือมีความเห็นผิดเกิดขึ้น ทําให้สูญเสียจากสัมมาทิฏฐิ
วจนัตถะของ ปริเทวะ
“ปริเทวน์ = ปริเทโว”
การร้องไห้รําพัน ชื่อว่า ปริเทวะ
อีกนัยหนึ่ง
“ตํ ตํ ปวตฺตึ ปริกิตตตฺวา เทวนฺติ กนฺทนฺติ เอเตนาติ = ปริเทโว"
สัตว์ทั้งหลายรําพันถึงเรื่องราวต่างๆ แล้วร้องไห้โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการรําพันแล้วร้องไห้ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดขึ้น โดยมีการร้องไห้รําพันเพราะ อาศัยพยสนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเหตุ
วจนัตถะของ ทุกข์
“ทุกจฉิต หุตวา กา ก ข์ ขณตีติ = ทุกข์” (วา) “ทุกฺขมนฺติ = ทุกฺข์”
ธรรมชาติใดเป็นที่น่าเกลียด และทําลายความสุขกาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ทุกข์ (หรือ) สัตว์ทั้งหลายย่อมอดทนได้ยากต่อเวทนาใด ฉะนั้น เวทนานั้น
ชื่อว่า ทุกข์
อีกนัยหนึ่ง
“ขมิตุํ ทุกฺกรนตํ = ทุกขํ”
เวทนาที่อดทนได้ยาก ฉะนั้น ชื่อว่า ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา
ความทุกข์ มี ๙ อย่าง คือ
๑. ทุกขทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์มีสภาพเป็นทุกข์จริงๆ ได้แก่ กายก ทุกขเวทนา และเจตสิกทุกขเวทนา
๒. วิปริณามทุกข์ ได้แก่ กายิกสุขเวทนาและเจตสิกสุขเวทนา เพราะสุขทั้ง ๒ นี้ เป็นเหตุให้ กายกทุกข์และเจสิกทุกข์เกิด โดยอาศัยที่มีความวิปริตแปรปรวน
๓. สังขารทุกข์ ได้แก่ อุเบกขาเวทนา และจิต เจตสิก รูป ที่เว้นจาก ทุกขทุกข์และวิปริณามทุกข์ เพราะเป็นผู้ถูก เบียดเบียน โดยความเกิดดับอยู่เนืองๆ
๔. ปฏิจฉันนทุกข์ หรืออปากฏทุกข์ ได้แก่ ปวดฟัน ปวดหู ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น และความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นเพราะอํานาจ ราคะ โทสะ เป็นต้น เพราะทุกข์ชนิดนี้ จะรู้ได้ก็ต้องอาศัยการสอบถาม และอาการที่ เบียดเบียนนั้นก็ไม่ปรากฏ
๕. อัปปฏิจฉันนทุกข์ หรือปากฏทุกข์ ได้แก่ ความเจ็บปวดที่เกิดจากบาดแผลต่างๆ และความทุกข์กายที่เนื่องมาจากการกระทํา กรรมกรณ์ ๓๒ อย่าง เพราะทุกข์ชนิดนี้รู้ได้ โดยไม่ต้องมีการสอบถาม และอาการที่ เบียดเบียนนั้นก็ปรากฏชัดเจน
๖. ปริยายทุกข์ ได้แก่ วิปริณามทุกข์ สังขารทุกข์ เพราะทุกข์ชนิดนี้ ไม่ใช่เป็นตัวทุกข์โดยตรง เป็นที่เกิดแห่งทุกข์ ต่างๆ อีกแห่งหนึ่ง
๗. นิปปริยายทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ที่เรียกว่า ทุกขทุกข์นั่นเอง
๘. กายิกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดทางกาย มีปวดฟัน ปวดท้อง ปวด ศีรษะ และบาดแผลต่างๆ เป็นต้น
๙. เจตสิกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดทางใจ มีความเสียใจ กลุ้มใจ กลัว โกรธ เป็นต้น
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คําว่า ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกข์
วจนัตถะของ อุปายาส
“ภุโส อายาสน์ = อุปายาโส"
ความลําบากใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาสะ ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดขึ้น โดยอาศัยพยสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
คําว่า อุปายาสะ นี้ เมื่อแยกบทแล้ว ได้แก่ อุป + อายาส อุป อย่างหนัก อายาส = ความลําบาก เมื่อรวมกันแล้ว เรียกว่า อุปายาสะ แปลว่า ความลําาบากใจอย่างหนัก
สภาพของอุปายาสะก็คือ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวง ที่ สืบเนื่องมาจากโสกะ เมื่อโสกะมีกําลังมากขึ้นถึงขั้นปริเทวะ ต่อจากปริเทวะก็ถึง ขั้นอุปายาสะ ซึ่งเป็นยอดแห่งความเศร้าโศก ทําให้ผู้ที่ได้รับนั้นมีจิตใจแห้งผาก ลงทันที ไม่สามารถจะต่อต้านกับความรู้สึกชนิดนี้ได้มีอาการนั่งนิ่ง พูดไม่ได้ ร้องไห้ไม่ออก บางทีถึงกับวิสัญญี หรือกลายเป็นคนเสียสติไป หรืออาจทําลาย ชีวิตตนเองได้ โดยมากมักเกิดกับผู้ที่ได้ประสบกับพยสนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่าง หนึ่งโดยมิได้นึกฝัน เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ตายจากไปโดยปัจจุบัน หรือทรัพย์สมบัติต้องสูญหายล้มละลายไปด้วยอัคคีภัย โจรภัย อุทกภัย ถูกฉ้อโกง เป็นต้น หรือเป็นโรคภัยที่หมดหนทางจะรักษาได้เหล่านี้เป็นต้น ทําให้ผู้นั้นได้ รับความกระทบกระเทือนใจอย่างหนัก สภาพเช่นนี้แหละ ชื่อว่า อุปายาสะ ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหานิทเทสพระบาลีว่า
ตสฺส เจ กามยานสฺส จนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน
เต กามา ปริหายนฺติ สลฺลวิทโธว รูปฺปติ ฯ
แปลเป็นใจความว่า
บุคคลที่ขี่ยานพาหนะอันได้แก่ กามคุณอารมณ์อยู่อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีความรู้สึกติดใจรักใคร่ในกามคุณอารมณ์เหล่านั้น ถ้าวัตถุอารมณ์กามคุณเหล่านั้นต้องสูญเสียไป เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่หลงเพลิดเพลินอยู่นั้น ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนใจ ดิ้นรนกระวนกระวายโดยสภาพแห่ง โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ เหมือนหนึ่งเนื้อที่ถูกธนูล้มลงดิ้นกระเสือกกระสน เมื่อใกล้ จะตายนะนั่น
ความแตกต่างกันระหว่าง โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ
โสกะ ความเศร้าโศก ซึ่งได้แก่ โทมนัสเวทนา ปริเทวะ การร้องไห้ รําพัน ซึ่งได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดจากโทสมูลจิตตุปบาท และอุปายาสะ ความลําบากใจอย่างหนัก หรือความคับแค้นใจ ซึ่งได้แก่ ตัวโทสเจตสิกทั้ง ๓ อย่างนี้ ถ้าจะกล่าวข้อเปรียบเทียบแล้ว ก็เปรียบเหมือนกับน้ํามันในกระทะที่ตั้งอยู่บนเตาไฟ เมื่อถูกความร้อนเผา น้ํามันก็เริ่มร้อนขึ้นเป็นลําดับ เมื่อความร้อนนั้นขึ้นถึง จุดเดือดแล้ว น้ํามันก็เดือดพล่านขึ้น เมื่อเดือดไปนานๆ ความร้อนก็จัดมากขึ้นๆ จนร้อนถึงสุดขีดแล้ว ก็มีควันปรากฏขึ้น ต่อจากนั้นน้ํามันก็ค่อยๆ งวดลง จนกระทั่งแห้งหมดไป ข้อนี้ฉันใด โสกะก็เปรียบได้กับความร้อนของน้ํามันที่ เริ่มร้อนขึ้น ปริเทวะเปรียบได้กับน้ํามันที่กําลังเดือดพล่าน อุปายาสะเปรียบได้ กับน้ํามันที่ร้อนจนสุดขีด แล้วค่อยๆ งวดลงจนแห้ง
แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ชาติปจฺจยา โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เหล่านี้ ได้อํานาจปัจจัย ๑ ปัจจัย คือปกตูนิสสยปัจจัย
ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีการเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ในโลกนี้ ก็ได้แก่การหมุนเวียนของเครื่องจักร คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม มีอวิชชาเป็นต้น นั้นเอง แต่สัตว์ทั้งหลาย เป็นส่วนมากหาได้มองเห็นถึงความเป็นไปแห่งชีวิตดังนี้ไม่ มีแต่ความหลงยึดอยู่เพียงแค่สมมติสัจจะ คือคนนั้นตาย คนนี้เกิด เราเห็น เราได้ยิน เป็นต้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะที่แท้จริงแล้ว คนนั้นคนนี้ เรา เขา ชาย หญิง เป็นต้นเหล่านี้ไม่มีเลย มีแต่ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลเกิดขึ้นสืบเนื่องติดต่อกัน ไม่ขาดสาย ซึ่งธรรมเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นกองทุกข์ทั้งสิ้น และความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งปวงที่สมมติกันว่าคนนั้นคนนี้ เรา เขา ชาย หญิง เหล่านี้ก็ไม่มี ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้สร้างขึ้น การเกิดขึ้นของธรรมเหล่านี้ก็เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มี อวิชชาเป็นต้นนั้นเอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า “เอวเมตสุส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ” มีความว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีอวิชชาเป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อพิจารณาดูตามปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าบรรดาสิ่งที่มี ชีวิตทั้งหลาย มีสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เหล่านี้ ปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะ อวิชชานั้นเองเป็นตัวต้นเหตุ ส่วนสังขารเป็นต้นนั้นเกิดเนื่องมาจากอวิชชาอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่เป็นตัวต้นเหตุทีเดียว และถ้าตราบใดอวิชชายังมีอยู่ การเกิดการตายของ สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุดอยู่ตราบนั้น ต่อเมื่อใดได้ทําลายอวิชชาให้สิ้นสุด ลงแล้ว สังขารเป็นต้นก็สิ้นสุดลงไปด้วย หมายความว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นอันยุติลง ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดง ปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนาว่า อวิชชาย เทวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ, สงฺขารนิโรธา วิญญาณนิโรโธ, วิญญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ, นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ, สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ, ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ, เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ, ตัณหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ, อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ, ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ, ชาตินิโรธา ชรามรณโสกปริเทวทุกฺขโท- มนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ
เพราะการดับสูญสิ้นแห่งอวิชชาโดยไม่มีเหลือ ด้วยอํานาจวิชชาที่ชื่อว่า วิราคะ นั่นเอง สังขาร คือกุศลกรรม อกุศลกรรม จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้น แห่งสังขาร วิญญาณ คือวิปากวิญญาณที่ในภพนี้ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้น แห่งวิญญาณ คือกัมมวิญญาณที่ในภพก่อนๆ และวิปากวิญญาณที่ในภพนี้ นามรูป คือเจตสิกและกัมมชรูป จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งนามรูป สฬายตนะ คืออัชฌัตติกายตนะ ๖ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งสฬายตนะ ผัสสะ มี จักขุสัมผัสสะ เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งผัสสะ เวทนา มี จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งเวทนา ตัณหา ๖ หรือ ๑๐๘ มีรูปตัณหา เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งตัณหา อุปาทาน ๔ มีกามุปาทาน เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งอุปาทาน ภวะ คือ กัมมภวะและอุปปัตติภวะ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งภวะ ชาติ คือความ เกิดขึ้นแห่งโลกียวิปากจิต เจตสิก และกัมมชรูป จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งชาติ ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความเศร้าโศก ปริเทวะ การร้องไห้รําพัน ทุกขะ ความทุกข์กาย โทมนัสสะ ความทุกข์ใจ อุปายาสะ ความคับแค้นใจ จึงดับลง ความสูญสิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง ย่อมเป็นไปดังที่ กล่าวมานี้
ในปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนานี้ ข้อสําคัญก็คือ ความดับสูญสิ้น ของอวิชชานั่นเอง ส่วนความดับของสังขารเป็นต้นนั้น เมื่ออวิชชาดับลงแล้ว สังขารเป็นต้นเหล่านี้ก็ย่อมดับลงพร้อมกัน ไม่ใช่ดับไปทีละอย่างตามลําดับ ซึ่ง ต่างกับในอนุโลมเทศนา อุปมาเหมือน ถ้ามีเมล็ดพืชเพาะลงแล้ว ผลคือลําต้นก็ ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีลําต้นแล้ว กิ่งก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีกิ่งแล้ว ก้านก็ปรากฏขึ้น ได้ เมื่อมีก้านและใบแล้ว ดอกก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีดอกแล้ว ลูกก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีลูกแล้ว เมล็ดก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีเมล็ดแล้ว ลําต้นก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมี ลําต้นแล้ว กิ่งก็ปรากฏขึ้นได้ เป็นเหตุเป็นผลกันโดยเฉพาะๆ วนเวียนกันอยู่เรื่อย ไปไม่ขาดสาย เช่นเดียวกันกับการแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมเทศนามี อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น แต่ถ้าเอาเมล็ดพืชนั้นมาเผาทําลายเสียแล้ว ลําต้น ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้ เมื่อลําต้นเกิดไม่ได้แล้ว กิ่งก็เกิดไม่ได้ เมื่อกิ่งเกิดไม่ได้แล้ว ก้าน ใบ ก็เกิดไม่ได้ เมื่อก้าน ใบ เกิดไม่ได้แล้ว ดอกก็เกิดไม่ได้ เมื่อดอกเกิดไม่ได้แล้ว ลูกก็เกิดไม่ได้ เมื่อลูกเกิดไม่ได้แล้ว เมล็ดก็เกิดไม่ได้ เมื่อเมล็ดเกิดไม่ได้แล้ว ลําต้นก็เกิดไม่ได้ แต่ในการแสดงเหตุผลทางฝ่ายการเกิดไม่ได้ ที่กล่าวไปตามลําดับนี้ ก็เป็นแต่เพียงการแสดงโดยโวหารเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงนั้น เมื่อได้ทําลายเมล็ดพืช ให้เสียไปแล้ว ต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ลูก เมล็ด เหล่านี้ ก็เกิดไม่ได้ไปด้วยกัน เช่นเดียวกับการแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนามี อวิชชาย เทวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เป็นต้น
ที่กล่าวว่า ความดับสูญสิ้นแห่งอวิชชานี้ ก็ได้แก่พระนิพพานนั้นเอง แต่ก็ยังเป็น สอุปาทิเสสนิพพาน คือยังมีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ และสอุปาทิเสส นิพพานนี้ต่อไปก็จะเป็น อนุปาทิเสสนิพพาน คือดับวิบากแห่งขันธ์ ๕ โดย ไม่เกิดขึ้นอีก ฉะนั้น ผู้ที่มีความเข้าใจในสภาพของพระนิพพานโดยถูกต้องนั้น จึงมิได้มีทั่วไป โดยมากมักเข้าใจว่าผู้ที่ได้เสวยความสุขในอนุปาทิเสสนิพพาน นั้นยังมีตัวผู้เสวยอยู่ แต่ผู้นั้นก็ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ซึ่งความจริงนั้น อนุปาทิเสสนิพพานนี้ หาได้มีตัวตน เรา เขา อย่างใดไม่ ได้แก่ การดับการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ ๕ อย่างสิ้นเชิง และไม่มีการเกิดขึ้นใหม่อีกนั่นเอง อุปมาเหมือนดวงไฟที่ดับลงฉันใด พระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าสู่อนุปาทิเสส นิพพานก็ฉันนั้น
ในเรื่องพระนิพพานนี้ ท้าวมหาพรหมผู้มีนามว่า พระพรหม เมื่อได้ยิน สภาพความเป็นไปของพระนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ทนนิ่งอยู่ไม่ได้จึงพูดขึ้นว่า ตุจฉกเลว อโหสิ ริตตกเลว อโหสิ นิรตลกญฺเญว อโหสิ “ข้าแต่ท่านโคด......นิพพานของท่านเป็นของเปล่าๆ ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย หาประโยชน์มิได้” เรื่องนี้ผู้แสดงก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ฟังก็มิใช่สามัญชน เป็นถึงท้าวมหาพรหม แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความไม่พอใจในสภาพความสุขของ พระนิพพาน ที่ไม่เกี่ยวกับรูปนามขันธ์ ๕ แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ครู อาจารย์ และธรรมกถึกบางท่าน ผู้ยังไม่มีความเข้าใจดีพอในเรื่องความสุขของพระนิพพาน จึงมีความเห็นว่า ผู้ที่ได้เข้าถึงพระนิพพานนั้น แม้ว่าจะไม่มีรูปนามขันธ์ ๕ แต่ก็ ยังมีสภาพพิเศษที่นอกไปจากรูปนามขันธ์ ๕ เป็นผู้เสวยอยู่ และสภาพพิเศษนี้ ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เป็นความสุขอย่างยิ่ง เมื่อมีความเห็นดังนี้ จึงพยายามชี้แจงแนะนําแก่บรรดาศิษย์ของตน ตลอดจนผู้ที่ สนใจในธรรมทั้งหลายให้เข้าถึง เรื่องพระนิพพานใหม่ที่ตนวาดสร้างขึ้น บุคคลเหล่านั้นได้ฟังแล้วเข้าใจว่าเป็นความจริงดังนั้น ก็พากันหลงเชื่อเข้าใจผิดไปตามๆ กัน
อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงอัธยาศัยจิตใจของบุคคล ๒ จําพวก คือบุคคลที่ ประกอบด้วยเนกขัมมธาตุพวกหนึ่ง กับบุคคลที่ประกอบด้วยตัณหาพวกหนึ่งแล้ว ย่อมมีความรู้สึกในจิตใจต่างกัน กล่าวคือผู้ที่ประกอบด้วยเนกขัมมธาตุนั้น ย่อมมี ความพอใจในความสงบที่ปราศจากกิเลสอารมณ์ต่างๆ ส่วนผู้ที่ประกอบด้วยตัณหา ย่อมพอใจในความสนุกสนานเฮฮา ล้วนแล้วแต่เป็นกิเลสทั้งสิ้น จะยกตัวอย่าง แสดงให้เห็นความแตกต่างกันแห่งจิตใจของบุคคล ๒ พวกนี้ เช่น พระอนาคามี และพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อได้ยินผู้กล่าวว่า ในป่านั้น ถ้ํานั้น เขานั้น เป็นที่ สงบห่างจากหมู่คน มีต้นไม้ร่มรื่น น้ําท่าบริบูรณ์ ดังนี้แล้วก็รู้สึกพอใจต้องการ ไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น และเมื่อได้ไปอยู่แล้ว ก็ไม่อยากกลับมาระคนปนด้วยหมู่อีก ส่วนพวกนักเลงขี้เหล้าเมายาทั้งหลาย เมื่อได้ยินดังนี้ก็รู้สึกไม่มีความพอใจแต่อย่างใด คิดว่าสถานที่เช่นนั้นจะมีความสุขได้อย่างไร มีแต่ความน่ากลัว น่าเบื่อ แต่ถ้ามี คนมาบอกว่า ที่โน่นที่นี่เป็นที่สนุกสนานมาก มีโรงมหรสพครึกครื้น มีร้านรวง ขายสุรา อาหารบริบูรณ์ ดังนี้แล้ว พวกนักเลงขี้เหล้าเมายาเมื่อได้ยิน ก็รู้สึกอยาก ไปสู่ที่นั้นโดยเร็วที่สุด และเมื่อได้ไปอยู่ที่นั้นแล้ว ก็เพลิดเพลินไม่อยากกลับ ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ เมื่อได้ยินดังนี้ ก็รู้สึกสังเวชสลดใจ ไม่เกิด ความยินดีแม้แต่น้อย ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะในจิตตสันดานของพระอนาคามีและ พระอรหันต์นั้นมีเนกขัมมธาตุปกครองอยู่ เมื่อฟังถึงเรื่องความสุขแล้ว ก็ฟังด้วย เนกขัมมธาตุ ถ้าเรื่องความสุขนั้นไม่เกี่ยวกับตัณหา เป็นความสุขที่สงบก็ยินดีฟัง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัณหาแล้วก็ไม่ยินดีฟัง รู้สึกเบื่อและมองเห็นโทษ ส่วน พวกนักเลงขี้เหล้าเมายานั้นตรงกันข้าม ชอบฟังแต่เรื่องความสุขที่เกี่ยวกับตัณหา ราคะเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องความสุขที่สงบห่างไกลจากตัณหาแล้ว ก็ไม่ยินดีฟัง
สําหรับพระนิพพานนั้นเป็นสุญญตธาตุ ที่สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ อย่างยอดเยี่ยม ฉะนั้น ผู้ที่จะฟังเรื่องพระนิพพานต้องฟังด้วยเนกขัมมธาตุ จึงจะ มองเห็นความสุข ถ้าฟังด้วยตัณหาก็ย่อมไม่เห็นความสุข กลับเห็นไปว่าเป็นสิ่งที่ หาสาระไม่ได้ เหมือนกับความเห็นของพกะพรหมฉันนั้น
นัยแห่งการเทศนา
การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสังยุตตนิกายนั้น มีประเภทแห่งการแสดงเป็น ๔ นัย
๑. แสดงจากต้นไปถึงปลาย คือตั้งแต่อวิชชาไปตามลําดับจนถึงชรามรณะ เป็นที่สุด เรียกว่า อาทิปริโยสานอนุโลมเทศนา
๒. แสดงจากกลางไปถึงปลาย คือตั้งแต่เวทนาไปตามลําดับจนถึงชรามรณะ เป็นที่สุด เรียกว่า มัชฌปริโยสานอนุโลมเทศนา
๓. แสดงจากปลายไปถึงต้น คือตั้งแต่ชรามรณะถอยหลังไปตามลําดับจนถึง อวิชชาเป็นที่สุด เรียกว่า ปริโยสานอาทิปฏิโลมเทศนา เช่น ชาติปัจจยา ชรามรณ์, ภวปจฺจยา ชาติ ฯลฯ อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา
๔. แสดงจากกลางไปถึงต้น คือตั้งแต่ตัณหาถอยหลังไปตามลําดับจนถึง อวิชชาเป็นที่สุด เรียกว่า มัชฌอาทิปฏิโลมเทศนา เช่น อิเม จ ภิกฺขเว จตฺตาโร อาหารา กีนิทานา กีสมุทยา กีชาติกา กีปภวา? อิเม จตฺตาโร อาหารา ตณฺหานิทานา คณฺหาสมุทยา ตณฺหาชาติกา ตณฺหาปภวา, ตณฺหา กีนิทานา กีสมุทยา กีชาติกา ปภวา? เวทนานิทานา เวทนาสมุทยา เวทนาชาติกา เวทนาปภวา ฯลฯ สงฺขารา กีนิทานา กีสมุทยา กีชาติกา เปภวา อวิชชานิทานา อวิชชาสมุทยา อวิชชาชาติกา อวิชชาปภวา แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?
แก้ว่า อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นมูล มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหา เป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นต้นเหตุ
ตัณหานี้ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?
แก้ว่า ตัณหานี้มีเวทนาเป็นมูล มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด มีเวทนาเป็นต้นเหตุ
สังขารนี้ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?
แก้ว่า สังขารนี้มีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นเหตุ ให้เกิด มีอวิชชาเป็นต้นเหตุ ดังนี้เรียกว่า มัชฌอาทิปฏิโลมเทศนา
สรุปความว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้เป็นสมันตภัททกธรรม คือเป็น ธรรมที่มีความดีอย่างสมบูรณ์ เพราะไม่ว่าจะแสดงโดยนัยอย่างใดก็ตาม ผู้ฟัง แล้วย่อมได้สําเร็จประโยชน์คือได้กําหนดรู้ทุกขสัจ ประหาณสมุทยสัจ เห็นแจ้ง นิโรธสัจ เจริญมรรคสัจ แล้วเข้าถึงพระนิพพานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง พระตถาคตเจ้าผู้แสดงก็เป็นเทสนาวิลาสปัตตบุคคล คือเป็นผู้ที่มีความสามารถ ปรับปรุงการแสดงนั้นให้สวยงามเหมาะสมได้
สมุฏฐานของอวิชชา
ถ้ามีคําถามๆ ขึ้นว่า เมื่อสังขารทั้ง ๓ ที่เป็นบุญเป็นบาปเกิดขึ้น โดยอาศัยอวิชชาเป็นเหตุ จนกระทั่งถึงชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เกิดขึ้นโดยอาศัยชาติเป็นเหตุแล้ว ก็อะไรเล่าเป็นเหตุให้อวิชชาเกิด? ดังนี้ เพื่อจะกล่าวถึงสมุฏฐานของอวิชชา พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงต่อไปว่า
ชรามรณมจฺฉาย ปีฬิตามมภิณหโส
อาสวานํ สมุปปาทา อวิชฺชา จ ปวตฺตติ ฯ
ซึ่งแปลว่า อวิชชาเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะธรรมที่ ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกเบียดเบียนด้วยความแก่ ความตาย และธรรมที่ เป็นเหตุแห่งความหลง คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ อยู่เนืองๆ นั่นเอง
คําว่า “มุจฉา” แปลว่า หลง แต่ในที่นี้มุ่งหมายเอาธรรมที่เป็นเหตุให้หลง ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น
อธิบายว่า สมุฏฐานของอวิชชาก็ได้แก่อาสวะ ทั้ง ๔ มีกามาสวะ เป็นต้น หมายความว่า ในปฏิจจสมุปบาทพระบาลีนี้ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๕ นี้ ทรงแสดงไว้สุดท้าย เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว โสกะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๓ นี้ เป็นโทมนัสสะ และโทสเจตสิก ดังนั้น เมื่อผู้ใดมีความ เศร้าโศก เสียใจ คับแค้นใจเกิดขึ้นแล้ว โมหะก็ย่อมเกิดร่วมอยู่ด้วย และปริเทวะ การร้องไห้รําพันนี้ ก็เกิดเนื่องมาจากโทรจิตตุปบาท ฉะนั้น เมื่อขณะร้องไห้รําพัน โมหะก็เกิดร่วมอยู่ด้วยแล้ว ส่วนทุกข์กายก็เป็นเหตุให้ความเสียใจ ไม่พอใจเกิดขึ้นได้ และขณะที่ความเสียใจไม่พอใจเกิดขึ้น โมหะก็เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะนั้นเอง ดังนั้น โมหะที่เกิดพร้อมกับโสกะ ปริเทวะ โทมนัสสะ อุปายาสะ และที่เกิดภายหลัง จากทุกข์กายนั้นเอง เรียกว่า อวิชชา สมดังที่ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์แสดง ไว้ในปฏิจจสมุปบาทวิภังคอรรถกถาว่า “เอตฺถ หิ โสกทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา อวิชชาย อวิโยคิโน ปริเทโว จ นามมูฬหสสาติ เตสุ ดาว สิทฺเธสุ โหติ อวิชชา”
แปลว่า ในความเป็นไปของภวจักร โสกะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เหล่านี้ ย่อมประกอบกับอวิชชาอยู่เสมอ แยกจากกันไม่ได้ และปริเทวะก็ย่อม เกิดขึ้นแก่ผู้ที่มีความหลง ฉะนั้น เมื่อโสกะเป็นต้นเกิดขึ้นสําเร็จแล้ว อวิชชา ก็ย่อมเกิดสําเร็จไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้สมุฏฐานของโสกะเป็นต้นนั้นแหละ เป็น สมุฏฐานของอวิชชา
แม้ในปฏิจจสมุปบาทแสดงไว้แล้วว่า “ชาติปจฺจยา โสกปริเทว ทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ” โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะชาติเป็นเหตุก็จริง แต่ชาตินี้ไม่ใช่เป็นเหตุใกล้ของโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น เป็นแต่เหตุไกลและเป็นมูลเหตุ คือความเศร้าโศก เป็นต้น ที่เกิดขึ้นนั้นจะเว้นเสียจากชาติไม่ได้ ส่วนธรรมที่เป็นเหตุใกล้นั้นก็คืออาสวะ ทั้ง ๔ นั้นเอง เหมือนเช่นสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมานี้ ก็ต้องอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือเหตุไกลและเหตุใกล้ เรียกว่ามูลเหตุและมูลเหตุก็ได้ เหตุไกลนั้นได้แก่ อกุศลกรรม และโลกยกุศลกรรม ที่ได้ทํามาในภพก่อน เหตุใกล้นั้นได้แก่ บิดา มารดา ฉะนั้นที่ว่าชาติเป็นเหตุไกล อาสวะเป็นเหตุใกล้ของโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ก็เป็นไปโดยนัยเดียวกันนี้ ดังที่ท่านพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ใน ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ว่า “อาสวสมุทยา เจเต โสกาทโย โหนฺติ” โสกะเป็นต้น เหล่านี้เกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นของอาสวะ ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจได้ว่า อาสวะ ทั้ง ๔ เหล่านี้ ก็สําเร็จเป็นสมุฏฐานของอวิชชาไปด้วย ดังที่สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ว่า “อาสวสมุทยา อวิชชาสมุทโย” การเกิดขึ้นแห่งอวิชชานั้น เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะเป็นเหตุ ฉะนั้น ตามที่พระอนุรุทธาจารย์กล่าว ว่า “อาสวาน สมุปปาทา อวิชชา จ ปวตฺตติ” นั้นก็เป็นการถูกต้องและ พระมหาพุทธโฆษาจารย์ก็ได้แสดงไว้ชัดเจนในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า “อิติ ยสฺมา อาสวสมุทยา เอเต ธมฺมา โหนติ ตสฺมา เอเต สิชฌมานา อวิชชาย เหตุภูเต อาสเว สาเธนฺติ อาเวส จ สุทเธ ปจจัยภาเว ภาวโต สิทธา โหติ" แปลความว่า โสกะเป็นต้น เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นของอาสวะโดยนัยดังที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้น เมื่อโสกะเป็นต้นเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมทําให้ รู้ถึงอาสวะที่เป็นเหตุแห่งอวิชชาสําเร็จไปด้วย และเมื่ออาสวะทั้งหลายเกิดขึ้น สําเร็จแล้ว อวิชชาก็ย่อมเกิดสําเร็จไปด้วย เพราะเมื่อมีเหตุคืออาสวะเกิดขึ้นแล้ว ผลคืออวิชชาก็ต้องเกิดด้วย
สมุฏฐานของอาสวะ
ถ้ามีคําถามๆ ต่อไปอีกว่า เมื่ออาสวะเหล่านี้เป็นเหตุของอวิชชาแล้ว อะไรเล่าเป็นเหตุของอาสวะ?
แก้ว่า อาสวะเหล่านี้สงเคราะห์เข้าอยู่ในตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ตาม สมควร ฉะนั้น ธรรมที่เป็นเหตุให้ ตัณหา อุปาทาน กุศลอกุศลกัมมภวะเกิดขึ้น นั่นแหละ ย่อมกล่าวได้ว่าเป็นเหตุของอาสวะ
แสดงเหตุที่ยกเอาอวิชชาขึ้นตั้งไว้เป็นเหตุอันดับแรก ในปฏิจจสมุปบาท
เมื่ออวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะแล้ว ทําไมจึงยก เอาอวิชชาขึ้นตั้งไว้เป็นเหตุแรก?
ในความเป็นไปของรูปนาม ที่หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ อวิชชานี้ เป็นตัวสําคัญชื่อว่า วัฏฏศีรษะ ซึ่งเหมือนกับศีรษะของคนทั้งหลาย ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงยกอวิชชาขึ้นแสดงเป็นเหตุอันแรก
อธิบายว่า ในปฏิจจสมุปบาทธรรม อวิชชาและตัณหาทั้ง ๒ นี้ เป็น ตัวสําคัญยิ่ง ซึ่งเหมือนศีรษะของคนทั้งหลาย และในการสร้างสังขารต่างๆ มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น สําเร็จลงได้นั้น ก็เพราะอาศัยความยินดีพอใจในอารมณ์ คือตัณหาเป็นเหตุ ตัณหาคือความยินดีพอใจในอารมณ์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย อวิชชาเป็นผู้ปกปิด ไม่ให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง ถ้าไม่มีอวิชชาเป็นผู้ปกปิดความจริงแล้ว ตัณหาก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อตัณหาไม่เกิดแล้ว การ กระทําต่างๆ ของคนทั้งหลายก็ไม่สําเร็จเป็นสังขาร ฉะนั้น อวิชชาและตัณหาธรรม ๒ อย่างนี้ อวิชชาเป็นตัวสําคัญมากกว่าตัณหา ด้วยเหตุนี้แหละพระพุทธองค์จึง ได้ทรงยกเอาอวิชชาขึ้นตั้งไว้ เป็นเหตุอันดับแรก ไม่ใช่หมายเอาว่า อวิชชาเกิด ก่อนธรรมอื่นๆ ในการหมุนเวียนแห่งปฏิจจสมุปบาท
ในการแสดงคาถาบทสุดท้ายที่ว่า “วฏฺฏมาพันธมิจฺเจว” เป็นต้น จนถึง “ปฏฐเปส มหามุนี” นั้น คาถาบทนี้มีความหมายว่า ความเป็นอยู่ของ สัตว์ทั้งหลายที่หมุนเวียนติดต่อกัน คือเกิดขึ้น เป็นอยู่ ตาย เมื่อตายแล้วก็เกิดขึ้น เป็นอยู่ ตาย อีกดังนี้เรื่อยไปไม่ขาดสาย เหล่านี้ เมื่อว่าโดยธรรมาธิฏฐานก็ล้วน แล้วแต่เป็นการเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งสิ้น กล่าวคือเมื่อมีอวิชชาแล้ว ก็เป็นเหตุให้สังขารเกิดขึ้นโดยเฉพาะเท่านั้น หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิง มนุษย์ เทวดา เกิดขึ้นไม่ เป็นต้น และเมื่อมีชาติแล้วก็เป็นเหตุให้ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เกิดขึ้น หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิง มนุษย์ เทวดา เกิดขึ้นไม่ และเมื่อมีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้นแล้ว ก็เป็นเหตุให้ อวิชชาเกิดขึ้น หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิง มนุษย์ เทวดา เกิดขึ้นไม่ ความ เป็นไปได้ดังนี้ย่อมได้ชื่อว่า วัฏฏสงสาร เพราะมีความผูกพันกันอยู่ไม่ขาดสาย อย่างหนึ่ง ย่อมเป็นไปอยู่ในภูมิทั้ง ๓ อย่างหนึ่ง และหาเบื้องต้นมิได้อย่างหนึ่ง ด้วยเหตุนี้แหละ สมเด็จพระจอมมุนีจึงตรัสว่าเป็นปฏิจจสมุปบาท
อนึ่ง ที่กล่าวว่าหาเบื้องต้นไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกล่าวใน ท่ามกลางภิกษุทั้งหลายว่า “อนมากโดย ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพโกฏิ น ปญฺญายติ อวิชชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาส์โยชนาน สนุธาวต์ สํสารต”
แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏนี้ ย่อมรู้เบื้องต้นไม่ได้ เบื้องปลายนั้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชานิวรณ์และตัณหาสังโยชน์ เหล่านี้ จึงได้วนเวียนอยู่ในสังสาระ
จําแนกองค์ปฏิจจสมุปบาทโดยสัจจะ ตามอภิธรรมภาชนียนัย
อวิชชา สังขาร จัดเป็น สมุทยสัจจะ
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา จัดเป็น ทุกขสัจจะ
ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ จัดเป็น สมุทยสัจจะ
อุปปัตติภวะ ชาติ ชรามรณะ จัดเป็น ทุกขสัจจะ
แสดงการเปรียบเทียบองค์ปฏิจจสมุปบาทตามนัยสัมโมหวิโนทนีอรรถกถา
อวิชชา เปรียบเหมือน คนตาบอด
สังขาร เปรียบเหมือน คนตาบอด เดินสะดุด
วิญญาณ เปรียบเหมือน คนตาบอด หกล้ม
นามรูป เปรียบเหมือน คนตาบอด เกิดบาดแผลขึ้นเพราะหกล้ม
สฬายตนะ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผนที่พุขึ้นใหม่ติดต่อกับแผลเก่า
ผัสสะ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผลเก่ากับแผลใหม่ถูกกระทบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เวทนา เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดนั้นรู้สึกเจ็บปวดแผลที่ถูกกระทบกระทั่ง
ตัณหา เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดมีความต้องการยามารักษาบาดแผลนั้น
อุปาทาน เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดไปเอายาที่ไม่ถูกกับแผลมา
ภวะ เปรียบเหมือน คนตาบอด คนตาบอดเอายานั้นมาทาที่แผล
ชาติ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผลที่ลุกลามมากขึ้นเพราะไม่ถูกกับยา
ชรามรณะ เปรียบเหมือน คนตาบอด แผลที่แตกเลอะเทอะ
แสดงคาถาที่กล่าวแนะนําในการพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
อนาทีทํ ภวจกุก๋ วีตการกเวทกํ
มิจฺจสุขสุภตฺเตหิ สุญญํ ปสฺเส ปุนปฺปุนํ ฯ
(มาในภาสาอีกา)
ภวจักรที่ล้วนแต่กองทุกข์ซึ่งหมุนเวียนอยู่ยืนยาว นับภพนับชาติไม่ได้นี้ ย่อมหาเบื้องต้นแห่งการหมุนเวียนนั้นมิได้ ปราศจากตัวตน คือผู้สร้างและผู้เสวยเป็นอนัตตะ ไม่มีสภาพที่เป็น นิจจะ สุขะ สุภะ แต่อย่างใด ผู้มีปัญญาควร พิจารณาเสมอๆ ดังกล่าวมานี้
ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และชอบพิจารณาค้นคว้าถึงเรื่องราวต่างๆ อยู่ เสมอนั้น แม้จะเชื่อว่าโลกที่เราอยู่นี้ย่อมไม่ตั้งอยู่ถาวรได้ตลอดไป ต้องมีการถูกทําลาย และเมื่อทําลายลงแล้ว ก็เกิดขึ้นใหม่อีก ส่วนความเป็นไปของสัตว์ ทั้งหลายนั้นก็เชื่อตามปฏิจจสมุปบาทที่กล่าวว่า เพราะอวิชชาเป็นเหตุจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นเหตุจึงเกิดวิญญาณ ดังนี้เป็นต้น แต่ก็ยังอดคิดสงสัยไม่ได้ว่า การเกิดขึ้นของโลกและสัตว์ทั้งหลายนั้น ตั้งต้นเกิดขึ้นทีแรกนั้นในเวลาใด เมื่อพยายามพิจารณาไปมาแล้วก็ตัดสินไม่ได้ บุคคลที่พิจารณาตัดสินไม่ได้เหล่านี้ ก็เกิดความเข้าใจเอาเอง คือบางพวกก็เข้าใจเอาว่าโลกและสัตว์ทั้งหลายนี้ ย่อมปรากฏขึ้น โดยปราศจากเหตุที่ทําให้เกิดขึ้นในตอนแรก สําหรับการที่โลกถูกทําลาย และการที่โลกเกิดขึ้นใหม่ก็ดี หรืออวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผล สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเป็นผล เป็นต้นก็ดีเหล่านี้ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังที่มีโลกและสัตว์ ทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้วเท่านั้น แต่เป็นเหตุประจําไม่ใช่เป็นเหตุแรกเริ่ม ฉะนั้น ผู้ที่มีความเข้าใจเอาเองอย่างนี้ จึงกลายเป็นผู้ที่มีอเหตุกทิฏฐิเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว อีกพวกหนึ่งก็เข้าใจเอาว่า โลกและสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุผล ดังกล่าวแล้วนั้น เป็นเหตุผลที่เกิดขึ้นตามธรรมดา หลังจากที่โลกและสัตว์ปรากฏ ขึ้นแล้วเท่านั้น ส่วนต้นเหตุแรกเริ่มนั้น ต้องมีผู้เป็นใหญ่ คือพระเจ้าผู้สร้างขึ้น ถ้าไม่มีพระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้นแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้น ผู้ที่มี ความเข้าใจเอาเองอย่างนี้ จึงกลายเป็นพวกอิสสรนิมมานวาททิฏฐิไปโดยไม่รู้สึก ตัวเช่นเดียวกัน
บุคคลทั้ง ๒ พวกดังกล่าวมานี้ แล้วแต่มีความคิดที่ทําให้เสียประโยชน์ คือในสิ่งที่ไม่ควรคิดก็เอามาคิด จนกระทั่งทําให้ตนกลายเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิไป ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงกล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
“จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อจินเตยยานิ น จิตฺเต พฺพานิ, ยานิ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, กตมาน จัตตาริ พุทฺธานํ ภิกฺขเว พุทธวิสโย อจินฺเตยฺโย น จินฺเตตพฺโพ ย์ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, ณายิสส ภิกฺขเว ฌานวิสโย อจินเตยโย น จินฺเตต โพ, ย์ จินฺตนฺโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, กมฺมวิปาโก ภิกขเว อจินฺเต โย น จินฺเตตพฺโพ, ย์ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, โลกจินตา ภิกฺขเว อจินเตยยา น จินฺเตตพฺพา ย์ จินฺเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, อิมานิ โข ภิกฺขเว จตุตาริ อจินเตยยานิ น จินเตตพพาน ยาน จินเตนโต อุมมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสสาติ "
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ควรคิดที่ชื่อว่า อจินไตยธรรม มีอยู่ ๔ ประการ และถ้าผู้ใดเอามาคิดแล้ว ผู้นั้นก็จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้ามีความลําบากใจ สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่างนั้น คืออะไรบ้าง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัย คือ เรื่องที่เกี่ยวกับพระสัพพัญญุตญาณความเป็นไป และอานุภาพของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พระพุทธคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง ฌานวิสัย คือฌานอภิญญาแห่งท่านทั้งหลายผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด อย่างหนึ่ง กรรมวิบาก คือผลแห่งกรรมทั้งหลาย มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง โลกจินดา คือความเป็นไปของโลก คือโลก อันเป็นที่อาศัยของสัตว์และสัตว์ทั้งหลาย แผ่นดิน ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ เป็นต้นเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง ดังกล่าวมานี้ ถ้าผู้ใดคิด ผู้นั้นก็จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า มีความ ลําบากใจเป็นแน่แท้
ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรพิจารณาการ หมุนเวียนแห่งปฏิจจสมุปบาทด้วยนัยทั้ง ๔ มีเอกัตตนัยเป็นต้น ดังที่ได้แสดงมา แล้วนั้น และเมื่อได้พิจารณาถี่ถ้วนแล้ว ก็จะเกิดความรู้เข้าใจขึ้นเองว่าความเป็น ไปของโลก และสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมหาต้นเหตุไม่ได้
จบ การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม โดยสุตตันตภาชนียนัย
การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม โดยอภิธรรมภาชนียนัย
การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ มีอยู่ ๒ นัย คือสุตตันตภาชนียนัย และอภิธรรมภาชนียนัย ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้นํามา แสดงในปริจเฉทที่ ๘ นี้ เป็นการแสดงโดยสุตตันตภาชนียนัย ซึ่งแสดงถึง ความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทในจิตหลายๆ ดวง ชื่อว่า “นานาจิตตักขณิก ปฏิจจสมุปบาท" และต่อไปนี้จะได้แสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัย ซึ่งแสดง ถึงความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทในจิตดวงหนึ่งๆ ชื่อว่า “เอกจิตตักขณิก ปฏิจจสมุปบาท"
ในการแสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัยนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๓ พวก คือ ๑. อกุศลบท ต. กุศลบท ๓. อพยากบท
๑. อกุศลบท
ในอกุศลบทนี้จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาท เฉพาะในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เท่านั้น
อวิชชาปจฺจยา สงฺขาโร สงฺขารปจฺจยา วิญญาณ วิญฺญาณปจฺจยา นามิ นาม ปัจจยา ฉฏฐยาน์ ฉฏฐายตนปจจยา ผสุโส ผสสปัจจยา เวทนา เวทนาปจจยา ตณฺหา ตัณหาปัจจยา อุปาทานํ อุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณ์ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะอวิชชาเป็นเหตุ อปุญญาภิสังขาร คือทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนา ที่เป็นไปพร้อมด้วยอวิชชานั้น จึงเกิดขึ้น
เพราะอปุญญาภิสังขาร คือทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาเป็นเหตุ ทิฏฐิ คตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิ คตสัมปยุตตจิตนั้นๆ จึงเกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มนายตนะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มโนสัมผัสสะที่ ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะเวทนา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ตัณหาที่ ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะตัณหา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ อุปาทาน ๓ (เว้นกามุปาทาน) ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะอุปาทาน ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) จึงเกิดขึ้น
เพราะภวะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) เป็นเหตุ นามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทนั้น จึงเกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งและขณะดับของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
๒. กุศลบท
ในกุศลบทนี้ จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทเฉพาะใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ เท่านั้น
กุศลมูลปัจจยา สังขาโร สังขารปัจจยา วิญญาณ วิญญาณปจฺจยา นามิ นามปจฺจยา ฉฏฐายตน์ ฉฏฐายตนปจจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยา ปสาโท ปสาทปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว ภวปจจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณ์ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะกุศลมูล ๓ เป็นเหตุ ปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลญาณสัมปยุต เจตนาที่เป็นไปพร้อมด้วยกุศลมูล ๓ จึงเกิดขึ้น
เพราะปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลญาณสัมปยุตตเจตนาเป็นเหตุ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มนายตนะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มโนสัมผัสสะที่ ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะเวทนา ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ปสาทะ คือศรัทธาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะปลาทะ คือศรัทธาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ อธิโมกข์ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น
เพราะอธิโมกข์ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นอธิโมกข์) จึงเกิดขึ้น
เพราะภวะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตุปบาท (เว้นอธิโมกข์) เป็นเหตุ นามชาติ คือการเกิดขึ้นของมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการเกิดขึ้นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้ง และขณะดับของมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท จิงเกิลขัน
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีกุศล มูล เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
๓. อพยากตบท
ในอพยากตบทนี้ จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาท เฉพาะใน ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เท่านั้น
สงฺขารปจฺจยา วิญญาณ วิญญาณปจฺจยา นาม นามปัจจยา ฉฏฐายตน ฉฏฐายตนปจจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณ์ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลเจตนา ๘ อกุศลเจตนา ๑๒ เป็นเหตุ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับ ทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุมนายตนะ คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ ผัสสะ ๕ มี จักขุสัมผัสสะ เป็นต้น ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐จึงเกิดขึ้น
เพราะผัสสะ ๕ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น
เพราะเวทนา ที่ประกอบกับทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ ภวะ คือ ทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท (เว้นเวทนา) จึงเกิดขึ้น
เพราะภวะ คือทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท (เว้นเวทนา) เป็นเหตุ นามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทวีปัญจวิญญาณจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทวีปัญจวิญญาณจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งและขณะดับของทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น
จบ ปฏิจจสมุปปาทนัย
ปัจจัย ๒๔ โดยย่อ
แสดงบาลีและคําแปลตามอภิธัมมัตถสังคหะ
เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนตรปจฺจโย สมมนตรปัจจโย สหชาตปัจจโย อญฺญมญญปัจจโย นิสสัยปจฺจโย อุปนิสสยปัจจโย ปุเรชาตปัจจโย ปุจฉาชาตปัจจโย อาเสวนปจจโย กมุมปัจจโย วิปากปัจจโย อาหารปจฺจโย อินฺทฺริยปัจจโย ฌานปัจจโย มคฺคปัจจโย สมปยุตตปัจจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺติปจฺจโย นตฺถิปัจจโย วิคตปจฺจโย อวิคตปจฺจโย อยเมต ปฏฐานนโย ฯ
๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์
๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคน
๕. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคนทีเดียว
๖. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
๗. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความแก่กันและกัน
๘. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย
๙. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกําลังมาก
๑๐. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
๑๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง
๑๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ
๑๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆ สําเร็จลง
๑๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก คือเข้าถึงความสุขและหมดก้าลังลง
๑๕. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นําา
๑๖. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปกครอง
๑๗. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่งอารมณ์
๑๘. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นหนทาง
๑๙. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ประกอบ
๒๐. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบ
๒๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่
๒๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี
๒๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปราศจากไป
๒๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไป
รวมปัจจัยธรรม ๒๔ ดังกล่าวมานี้แหละ เป็นปัฏฐานนัย ในปัจจยสังคหะ
จบ ปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ ๘ ชื่อว่าปัจจัยสังคหวิภาคในอภิธัมมัตถสังคหปกรณ์ จบลงเพียงเท่านี้
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว