ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
รูป เป็นธรรมชาติที่มีการผันแปรเปลี่ยนแปลงสลายไป (รูปฺปนลกฺขณํ) ในเมื่อได้กระทบกันกับเหตุที่ไม่ถูกกันขึ้น เหตุที่ไม่ถูกกันนั้นเรียกว่า วิโรธิปัจจัย ได้แก่ ความเย็น, ร้อน, หิวข้าว, กระหายน้ำ, ยุง, ริ้น, เหลือบ, ไร, ลม, แดด, งูกัด, ตะขาบต่อย, แมลงป่องต่อย เหล่านี้เป็นต้น ดังมีวจนัตถะว่า สีตุณํหาทิวิโรธิปจฺจเยหิ รุปฺปตีติ = รูป ธรรมชาติใดย่อม เปลี่ยนแปลงสลายไปเพราะวิโรธิปัจจัย มีความเย็น ร้อน เป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า รูป
รูปมีจำนวน ๒๘ รูป แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. มหาภูตรูป ๒. อุปาทายรูป
๑. มหาภูตรูป หมายถึงรูปที่เป็นใหญ่และปรากฏชัดเจน ดังแสดงว่า รูปเหล่าใด เป็นใหญ่และปรากฏชัดเจน โดยลักษณะของตน และโดยสัณฐานของตน ในสันดานแห่งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ฉะนั้น รูปเหล่านั้นชื่อว่า มหาภูตรูป
๒. อุปาทายรูป หมายถึงรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด ดังมีวจนัตถะว่า มหาภูตานํ อุปาทาย ปวตฺตํ รูปนฺติ = อุปาทายรูปํ รูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยมหาภูตรูป ฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า อุปาทายรูป
มหาภูตรูป มี ๔ คือ ๑. ปถวี ๒. อาโป ๓. เตโช ๔. วาโย
อุปาทายรูป มี ๒๔ คือ ๑. จักขุ ๒. โสตะ ๓. ฆานะ ๔. ชิวหา ๕. กายะ ๖. รูปะ ๓. สัททะ ๘. คันธะ 6. รสะ ๑๐. อิตถีภาวะ ๑๑. ปุริสภาวะ ๑๒. หทยะ ๑๓. ชีวิตะ ๑๔. อาหาระ ๑๕. ปริจเฉทะ ๑๖. กายวิญญัติ ๑๗. วจีวิญญัติ ๑๘, ลหุตา ๑๙. มุทุตา ๒๐. กัมมัญญตา ๒๑. อุปจยะ ๒๒. สันตติ ๒๓. ชรตา ๒๔. อนิจจตา รวมมหาภูตรูป ๔
อุปาทายรูป ๒๔ เป็น ๒๘
องค์ธรรมของรูป ๒๔
๑. ปถวี ได้แก่ รูปแข็ง และอ่อน
๒. อาโป รูปที่ไหล หรือเกาะกุม
๓. เตโช รูปที่เย็น ร้อน
๔. วาโย รูปที่หย่อน ตึง
๕. จักขุปสาท ความใสที่สามารถรับรูปารมณ์ได้
๖. โสตปสาท ความใสที่สามารถรับสัททารมณ์ได้
๗. ฆานปสาท ความใสที่สามารถรับคันธารมณ์ได้
๘. ชิวหาปสาท ความใสที่สามารถรับรสารมณ์ได้
๙. กายปสาท ความใสที่สามารถรับโผฏฐัพพารมณ์ได้
๑๐. รูปารมณ์ สีต่างๆ
๑๑. สัททารมณ์ เสียงต่างๆ
๑๒. คันธารมณ์ กลิ่นต่างๆ
๑๓. รสารมณ์ รสต่างๆ
๑๔. โผฏฐัพพารมณ์ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
๑๕. อิตถีภาวะ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง
๑๖. ปุริสภาวะ ได้แก่ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย
๑๗. หทยะ รูปที่เกิดอยู่ในหัวใจ และเป็นที่อาศัยเกิดของจิตเจตสิกทั้งหลาย
๑๘. ชีวิตะ รูปที่รักษากัมมชรูปทั้งหลาย
๑๙. อาหาระ รูปที่นําให้อาหารชรูปเกิด
๒๐. ปริจเฉทะ อากาสรูปที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป
๒๑. กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย
๒๒. วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวต่างๆ ของวาจา
๒๓. ลหุตา ความเบาของนิปผันนรูป
๒๔. มุทุตา ความอ่อนของนิปผันนรูป
๒๕. กัมมัญญตา ความควรแก่การงานของนิปผันนรูป
๒๖. อุปจยะ ความเกิดขึ้นครั้งแรกและเกิดขึ้นครั้งหลังๆ จนครบรูปที่ควรเกิดขึ้นได้ของนิปผันนรูป
๒๗. สันตติ ความเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปผันนรูปจนถึงตาย
๒๘. ชรตา ความแก่ของนิปผันนรูป
๒๙. อนิจจตา ความดับของนิปผันนรูป
หมายเหตุ สําหรับโผฏฐัพพารมณ์นั้น ได้แก่ ปถวี เตโช วาโย ที่เป็นมหาภูตรูปนั้นเอง ฉะนั้น ถ้านับรูปโดยลําดับแล้ว รูปก็คงมีจํานวน ๒๘
ที่เกิดของรูป ๒๘ ในร่างกายสัตว์
ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้น ย่อมอาจพิจารณาหาที่เกิดของรูป ๒๘ แต่ละรูปได้ ดังต่อไปนี้
๑. มหาภูตรูป ๔ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๒. จักขุปสาท เกิดอยู่ในลูกตา
๓. โสตปสาท เกิดอยู่ในรูหู
๔. มานูปสาท เกิดอยู่ในรูจมูก
๕. ชิวหาปสาท เกิดอยู่ที่ลิ้น
๖. กายปสาท เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๗. รูปารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๘. คันธารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๙. รสารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๐. โผฏฐพพารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๑. สัททารมณ์ เกิดได้ในร่างกายทั่วไป
๑๒. อิตถีภาวะ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไปของเพศหญิง
๑๓. ปุริสภาววะ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไปของเพศชาย
๑๔. หทยวัตถุ เกิดอยู่ที่รูปหัวใจ
๑๕. ชีวิตินทรีย์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๖. กพฬิการาหาร เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๗. อากาสรูป เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๘. กายวิญญัติ เกิดได้ในร่างกายทั่วไป
๑๙. วจีวิญญัติ เกิดได้ที่ปาก
๒๐. วิการรูป ๓ เกิดได้ในร่างกายทั่วไป
๒๑. ลักขณรูป ๔ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
อธิบายในสภาวลักษณะของรูป ๒๕
มหาภูตรูป ๔
๑. ปถวี เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ธาตุดิน มีลักษณะแข็ง (กกุขฬลกฺขณา) คือ เมื่อเปรียบเทียบกับมหาภูตรูปที่เหลืออีก ๓ แล้ว ปถวีธาตุนี้มีลักษณะแข็ง ถ้าวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปถวีธาตุมากเป็นประธานแล้ว ลักษณะแข็งนี้ก็ปรากฏมาก เช่น เหล็ก หิน ไม้ เป็นต้น และถ้าวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีปถวีธาตุเป็นจํานวนน้อย ลักษณะแข็งนั้นก็ปรากฏไม่มาก เมื่อสัมผัสรู้สึกว่าเป็นลักษณะอ่อน หมายความว่า ความแข็งนั้นมีน้อยนั่นเองจึงทําให้รู้สึก อ่อน ฉะนั้น ธรรมชาติที่มีลักษณะแข็งก็ตาม อ่อนก็ตาม ในเมื่อสัมผัสแล้ว จัดเป็นปถวีธาตุ ทั้งสิ้น เพราะนอกจากปถวีธาตุแล้ว รูปอื่นๆ ไม่สามารถทําให้ความรู้สึกแข็งหรืออ่อน ปรากฏขึ้นแก่การสัมผัสนั้นได้
อนึ่ง ปถวีธาตุนี้ เป็นที่อาศัยเป็นที่ตั้งของรูปอื่นๆ เหมือนหนึ่งพื้นแผ่นดินกับสิ่ง ต่างๆ ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หมายความว่า ยกเว้นปถวีธาตุเสียแล้ว รูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ อันได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ เตโชโผฏฐัพพารมณ์ วาโยโผฏฐพพารมณ์ เหล่านี้ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้ ดังมีวจนัตถะว่า สหชาต รูปานิ ปถนุติ ปติฏฐหนุติ เอตถาติ = ปถวี รูปที่เกิดร่วมกันทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ใน ธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นที่ตั้งที่อาศัยของสหชาตรูปเหล่านั้น ชื่อว่า ปถวี
๒. อาโป เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ธาตุน้้ำ มีลักษณะไหล หรือเกาะคุม (ปคุฆรณลกฺขณา หรือ อาพนุธนลกฺขณา) อาโปธาตุนี้ ถ้ามีอยู่เป็นจํานวนมากในวัตถุสิ่ง หนึ่งสิ่งใดก็ตาม ย่อมทําให้วัตถุสิ่งนั้นเหลวและไหลไปได้ ถ้ามีจํานวนน้อยก็ทําให้วัตถุ สิ่งของนั้นๆ เกาะกุมกันเป็นก้อนเป็นกลุ่ม อุปมาเหมือนหนึ่งยางเหนียว ที่สามารถเชื่อมวัตถุ สิ่งของให้ติดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้ฉันใด อาโปธาตุก็เป็น เสมือนหนึ่งยางเหนียวที่สามารถ เชื่อมปรมาณูปถวี ให้เกาะกุมกันเป็นรูปร่างสัณฐานขึ้นได้ฉันนั้น
ในวัตถุที่มีจํานวนอาโปธาตุมากกว่าปถวีธาตุเป็นต้นแล้ว ด้วยอํานาจของอาโปธาตุ นั้นเองทําให้ปถวีธาตุมีอํานาจน้อยลง จึงเป็นเหตุให้ วัตถุนั้นอ่อนเหลวและสามารถไหลไป มาได้ดังเช่นน้ำ ที่เราแลเห็นว่าน้ำนั้นไหลไปมาได้ ก็เพราะว่ามีอาโปธาตุมาก ปถวีธาตุน้อย เมื่อปถวีธาตุน้อยแล้ว ปถวีธาตุนั้นแหละเป็นผู้ไหลโดยอาโปธาตุเป็นผู้ทําให้ไหล ไม่ใช่ อาโปธาตุไหลดังที่เราเข้าใจกัน เพราะอาโปธาตุ เป็นธาตุที่เห็นด้วยตาหรือสัมผัสด้วยกาย ไม่ได้ เพียงแต่รู้ได้ด้วยใจเท่านั้น และในวัตถุที่มีจํานวนอาโปธาตุน้อยกว่าปถวีธาตุเป็นต้น แล้ว อํานาจของอาโปธาตุที่ทําให้ปรมาณูปถวีธาตุเกาะกุมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังมี วจนัตถะแสดงว่า อาเปติ สหชาตรูเปสุ พยาเปตวา ติฏฐตีต = อาโป ธรรมชาติใด ย่อม แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดพร้อมกันกับตนแล้วตั้งอยู่ในรูปเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป
อีกนัยหนึ่ง อปปายติ สหชาตรูปาน สุฏฐ พรูเหติ วฑเมตีติ = อาโป ธรรมชาติใด ทําให้สหชาตรูปทั้งหลายเจริญขึ้นเป็นอย่างดี ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อาโป
อีกนัยหนึ่ง สหชาตรูปาน อวิปปกิณณานิ กตวา ภุโส ปาติ รกุขดีต = อาโป ธรรมชาติใด ย่อมรักษาสหชาครูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ฉะนั้น ธรรมชาติ นั้น ชื่อว่า อาโป อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ
ก. อาโปธาตุ ที่มีปกติเป็น อาพันธลักขณะ คือ ลักษณะเกาะกุม แต่เมื่อถูกอุณหเตโชแล้ว ปัคฆรณลักขณะ ปรากฏ คือไหลไป ได้แก่ อาโปธาตุ ที่อยู่ในเหล็ก ทอง ขี้ผึ้ง เป็นต้น หมายความว่า เหล็ก หรือทอง หรือขี้ผึ้ง เหล่านี้เมื่อเอาไปหลอมหรือเผาไฟแล้ว สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นวัตถุเหลวสามารถไหลไปมาได้ แต่การไหลไปได้ของวัตถุเหล่านี้ไม่ใช่อาโปธาตุเป็นตัวไหล ปถวีธาตุที่เกิดร่วมกันกับอาโปธาตุนั้นเองเป็นตัวไหล และในวัตถุเดียวกันนั้นเอง ถ้ากลับเอาไปใส่ในน้ำถูกความเย็นเข้า วัตถุเหล่านั้นจะกลับแข็งตัวเป็นก้อน เป็นแท่งตามเดิม ในการแข็งตัวของวัตถุธาตุเหล่านี้ เป็นการแข็งตัวของปถวีธาตุ หาใช่ เป็นการแข็งตัวของอาโปธาตุไม่
ข. อาโปธาตุ ที่มีปกติเป็น ปัคฆรณลักขณะ คือ ลักษณะไหลไป แต่เมื่อถูกสีตเตโชแล้ว อาพันธนลักขณะ ปรากฏ คือเกาะกุม ได้แก่ อาโปธาตุที่อยู่ในน้ำ หมายความว่า ธรรมดาน้ำเป็นวัตถุเหลวอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาน้ำนั้นไปใส่ในที่ที่มีความเย็นสูงถึง () ดีกรีแล้ว น้ำนั้นจะกลาย เป็นก้อนน้ำแข็งไป และเมื่อเอาก้อนน้ำแข็งออกจากในที่ที่มีความเย็นนั้นแล้ว ก้อนน้ำแข็งนั้นถูกอากาศภายนอกที่มีอุณหเตโช ก้อนน้ำแข็งนั้น ก็จะละลาย เป็นวัตถุเหลว ไปตามเดิม
๓. เตโซ เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกกันว่า ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น ลักษณะร้อน ชื่อว่าอุณหเตโช ลักษณะเย็นชื่อว่า สีตเตโช แต่เตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิดนี้มีสภาวลักษณะ คือ มีสภาพที่เป็นไอเป็นลักษณะ (อุณหตุตลกขณา) หมายความว่าอุณหเตโชก็มีไอร้อนเป็น ลักษณะ สีตเตโชก็มีไอเย็นเป็นลักษณะ และเตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิดนี้ มีหน้าที่ทําให้วัตถุต่างๆ สุก และทําให้ละเอียดนุ่มนวล ดังจะแลเห็นได้ว่า วัตถุต่างๆ ส่วนมาก เช่น อาหาร เป็นต้น ทําให้สุกด้วยความร้อน แต่อาหารบางอย่างที่ทําให้สุกด้วยความเย็นได้เหมือนกัน ทั้งมี วจนัตถะแสดงว่า เตเซต ปริปาเจตีติ = เตโช ธรรมชาติใดที่ทําให้สุก ธรรมชาตินั้นชื่อว่า เตโช
เตโชธาตุ มี ๕ อย่าง คือ
ก. อุสุมาเตโซ คือ เตโชธาตุที่มีประจําอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย(ไออุ่น)
ข. สนุตปอนเตโช คือ เตโชธาตุที่มีความร้อนมาก
ค. ทหนเตโช คือ เตโชธาตุที่มีความร้อนสูงจัด สามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตไปได้
ฆ. ชิรณเตโช คือ เตโชธาตุที่ทําให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง
ง. ปาจกเตโช คือ เตโชธาตุที่ทําหน้าที่ย่อยอาหาร
ในเตโชธาตุทั้ง ๕ อย่างนี้ เตโชธาตุที่มีเป็นประจําอยู่ในร่างกายของสัตว์นั้น ได้แก่ อุสมาเตโช กับ ปาจกเตโช สําหรับ สันตัปปนเตโช ทหนเตโช ชิรณเตโช ทั้ง ๓ นี้ไม่มีอยู่ประจํา ที่ปรากฏขึ้นก็เป็นเพราะ อุสมาเตโช นั้นเอง มีอาการวิปริตไป เช่น คนที่เป็นไข้ ตัวร้อน ก็คือ อุสมาเตโช ได้เปลี่ยนสภาพเป็น สันติปปนเตโช หรือถ้ามีไข้สูงตัวร้อนจัด จนเพ้อคลั่ง ก็คือ อุสมาเตโช มีสภาพวิปริตมากขึ้นจากสันตัปปน เตโช กลายเป็น ทหนเตโช ไป และในคนที่มีโรคภัยเบียดเบียนอยู่เสมอ หรือผู้ที่ล่วงเข้าเขตปัจฉิมวัยแล้ว อุสมาเตโช นั้นแหละเปลี่ยนสภาพ เป็นชิรณเตโช ทําให้ปรากฏอาการทรุดโทรมของร่างกายเกิดขึ้น เช่น ผมหงอก ฟันหัก ตามัว เนื้อหนังเที่ยว เป็นต้น
๔. วาโย เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ธาตุลม มีลักษณะเคร่งดึงและเคลื่อน ไหว (วิตฺถมฺภนลูกขณา หรือ สมีรณลูกขณา) ธาตุลมที่มีลักษณะ เคร่งศึงเรียกว่า วิตถัมภนวาโย ๆ ที่ทําให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนตั้งมั่นไม่ให้คลอนแคลนเคลื่อนไหวไปได้ ในร่างกายของคนเรา ถ้าวิตถัมภนวาโยปรากฏแล้วผู้นั้นจะรู้สึกว่า ตึง เมื่อย ปวด ไปทั่ว ร่างกาย หรือเมื่อเวลาที่เราเกร็งข้อ แขน ขา และเพ่งตาอยู่นานๆ โดยไม่กะพริบตา เวลานั้น วิตถัมภนวาโยก็ปรากฏโดยความพยายามของตนเอง สําหรับภายนอกนั้น วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง หรือทําให้ตึงขึ้นก็ด้วยอํานาจของวิตถัมภนวาโยนั้นเอง เช่น ลูกบอลที่ อัดเอาลมเข้าไปอยู่ภายในนั้น ลูกบอลนั้นดึงขึ้นก็เพราะวาโยที่เป็น วิตถัมภนวาโย หรือ ธมกรกที่สําหรับกรองน้ำ เมื่อกคธมกรกลงในน้ำ น้ำเข้าไปอยู่ในนั้นแล้ว เวลายกขึ้นเอามือ ปิครูธมกรกแล้ว วาโยธาตุ ที่อยู่ข้างนอกก็หนุนรองน้ำที่อยู่ในธมกรกไม่ให้ไหลออกมา เช่น เดียวกับโลกที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่นี้ พื้นแผ่นดินตั้งอยู่เหนือน้ําๆ ตั้งอยู่เหนือลมที่เรียกว่า เหฏฐิมอชฎากาศๆ นี้หนุนรองน้ําไว้ ให้น้ําและพื้นแผ่นดินตั้งมั่นอยู่ได้ เช่นนี้ก็เป็นด้วย อํานาจวิตถัมภนวาโย ดังแสดงวจนัตถะว่า วายติ สหชาตธมฺเม อปตมาเน กตวา วหตีติ = วาโย ธาตุใดย่อมนําให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนตั้งมั่นไม่เคลื่อนคลอน ฉะนั้น ธาตุนั้น ชื่อว่า วาโย
ธาตุลมที่มีลักษณะเคลื่อนไหวเรียกว่า สมีรณวาโย ๆ นี้ทําให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับ ตนเคลื่อนไหวไปมาได้ เช่น สัตว์ทั้งหลายที่เคลื่อนไหว อิริยาบถต่างๆ ได้ หรือกะพริบตา กลอกตา กระดิกมือ กระดิกเท้า การถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย การคลอดบุตรต่างๆ เหล่านี้ เป็นไปได้ด้วยอํานาจสมีรณวาโยทั้งสิ้น ส่วนสมีรณวาโยที่อยู่ภายนอกสัตว์นั้น ทําให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เคลื่อนไหวจากที่เดิมไปได้ ดังแสดงวจนัตถะว่า วายติ เทสนุตรูปปตติ เหตุภาเวน ภูตสงฆาต์ ปาเปตีติ = วาโย ธาตุใด ย่อมทําให้หมู่มหาภูตรูปที่เกิด พร้อมกันกับตนเคลื่อนไปที่อื่น โดยความเป็นเหตุให้เกิดความเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังที่ หนึ่ง ฉะนั้น ธาตุนั้นชื่อว่า วาโย
วาโยธาตุ มี ๖ อย่าง คือ
ก. อุทธงคมวาโย คือ วาโยธาตุที่พัดขึ้นสู่เบื้องบน
ข. อโธคมวาโย คือ วาโยธาตุที่พัดลงสู่เบื้องล่าง
ค. กุจฉิฏฐวาโย คือ วาโยธาตุที่อยู่ในช่องท้อง
ฆ. โกฏฐาสยวาโย คือ วาโยธาตุที่อยู่ในลําไส้ใหญ่
ง. องคมงคานุสารีวาโย คือ วาโยธาตุที่อยู่ทั่วร่างกาย
จ. อสุสาสปสุสาสวาโย คือ วาโยธาตุลมหายใจเข้าออก
วาโยธาตุ ๖ อย่างที่กล่าวมานี้ เกิดอยู่ภายในร่างกายของสัตว์ เรียกว่า อัชญัตตวาโย ก็ได้ ส่วนลมที่พัดไปมาอยู่ภายนอกนั้น เรียกว่า พหิทธวาโย
ปถวี อาโปเตโชวาโย ธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า มหาภูตรูป เพราะเป็นรูปใหญ่เป็น ประธานแก่รูปอื่นๆ และปรากฏชัด เช่น วัตถุสิ่งของต่างๆ ใหญ่ก็ตาม เล็กก็ตาม ที่ปรากฏ เป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ ได้ ก็คือ มหาภูตรูป นั้นเอง และสีสันวรรณะของวัตถุเหล่านั้น ปรากฏมาก ปรากฏน้อย ก็ด้วยอาศัยมหาภูตรูปที่รวมกันอยู่ตามมากตามน้อยนั้นเอง ฉะนั้น มหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ เมื่อว่าโดยสัณฐานแล้วก็ใหญ่โตมาก เมื่อว่า โดยสภาวะแล้วก็ปรากฏ ชัดกว่ารูปอื่นๆ ดังแสดงวจนัตถะว่า มหนุตานิ หุตวา ภูตานิ ปาตุภูตานีติ = มหา - ภูตานี รูปเหล่าใด ว่าโดยสัณฐานและว่าโดยสภาพแล้ว เป็นใหญ่และปรากฏชัด ฉะนั้น รูป เหล่านั้นชื่อว่า มหาภูต
ปสาทรูป ๕
๑. จักขุปสาท มีวจนัตถะว่า จกขุวิญญาณธิฏฐิติ หุตวา สมวิสม์ จกุขติ อาจิกขนต์ วิย โหติ = จก รูปใดเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ และมีสภาพเป็นอยู่คล้าย กับบอกให้จักขุวิญญาณรู้ในอารมณ์ว่า อารมณ์นั้นดี อารมณ์นี้ไม่ดี ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า จักขุ
ดวงตาทั้งหมดไม่ชื่อว่า จักขุปสาท ที่ชื่อว่า จักขุปสาท นี้คือ เป็นธรรมชาติรูปชนิด หนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสดุจกระจกเงา เป็นเครื่องรับรูปารมณ์ ตั้งอยู่ในระหว่างกลาง ตาดํา มีเยื่อตา ๗ ชั้นซับอยู่ ประดุจปุยสําลีที่อาบด้วยน้ํามันชุ่มอยู่ทั้ง ๒ ชั้น โตประมาณ เท่าหัวของเหา มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณจิต อย่างหนึ่ง เป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งจักขุทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๒. โสตปสาท มีวจนัตถะว่า โสตวิญญาณธิฏฐิติ หุตวา สทท์ สุณาตีติ = โสต์ รูปใดเป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิต และย่อมได้ยินเสียง ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า โสตะ ได้แก่ โสตปสาท
อีกนัยหนึ่ง สทท์ สุณนุติ เอเตนาติ = โสตํ (วา) สทเท สุยยนต์ เอเตนาติ = โสต์ จิต เจตสิกเหล่านั้นย่อมได้ยินเสียง โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุแห่งการได้ยิน ของจิต เจตสิกเหล่านั้นชื่อว่า โสตะ ได้แก่ โสตปสาท (หรือ) สัตว์ทั้งหลายที่ได้ยินเสียง โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุแห่งการได้ยินของสัตว์เหล่านั้นชื่อว่า โสตะ ได้แก่ โสตปสาท
ในวจนัตถะข้อที่ ๑ เป็นการแสดงโดยฐานยูปจารนัย คือนัยโดยอ้อม ส่วนใน วจนัตถะ อีก ๒ ข้อนั้น เป็นการแสดงโดยมุขยนัย คือนัย โดยตรง
โสตปสาทนี้เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่อง รับเสียงต่างๆ ตั้งอยู่ภายในช่องหูที่มีสัณฐานเหมือนวงแหวน เป็นที่งอกแห่งขนแดงเส้น ละเอียด โสตปสาทแผ่อยู่ทั่วบริเวณนั้น มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิต อย่างหนึ่ง เป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งโสตทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๓. ฆานปสาท มีวจนัตถะว่า ฆายตีติ = มาน รูปใดย่อมสูดดมกลิ่น รูปนั้นชื่อว่า ฆานะ ได้แก่ ฆานปสาท การแสดงวจนตถะนัยนี้ เป็นการแสดง โดยฐานยูปจารนัย คือแสดง โดยอ้อม เพราะฆานปสาทไม่สามารถตมกลิ่นได้ ฆานวิญญาณจิตที่เกิดขึ้น โดยการอาศัย ฆานปสาทต่างหาก เป็นผู้คมและกลิ่นได้ แต่ที่แสดงวจนัตถะเช่นนี้ เป็นการแสดงที่มีความ หมายว่า การดมกลิ่นของฆานวิญญาณจิตนั้นตั้งอยู่ในฆานปสาท แล้วยกเอามานปสาทขึ้น มาแสดงเหมือนกับว่าฆานปสาทนี้เป็นผู้ดมกลิ่นนั้นเองซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับคําพูดที่กล่าวว่า “บ้านนั้นเกะกะมาก” ที่กล่าวอย่างนี้ ก็มุ่งหมายเอาคนที่อยู่ในบ้านนั้น เพราะบ้านเกะกะไม่ดี คนในบ้านนั้นเกะกะต่างหาก
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ฆายนุติ เอเตนาติ - ฆาน (วา) ฆายียนติ เอเตนาติ = ฆานํ สัตว์ทั้งหลายย่อมสูดดมกลิ่นด้วยรูปใด ฉะนั้น รูปซึ่งเป็นเหตุแห่งการสูดดมกลิ่นของ สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่า มานะ (หรือ) สัตว์ทั้งหลายพึงดมกลิ่นด้วยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุ แห่งการฟังคมกลิ่นของสัตว์ทั้งหลายนั้นจึงชื่อว่า ฆานะ
วจนัตถะ ๒ นัยนี้ เป็นการแสดงโดยมุขยนัย (นัยโดยตรง) ฆานปสาทนี้เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็น เครื่องรับกลิ่นต่างๆ ตั้งอยู่ภายในช่องจมูกที่มี สัณฐานดังกีบแพะ มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งฆานวิญญาณจิตอย่างหนึ่ง เป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่ง ฆานทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๔. ชิวหาปสาท มีวจนัตถะแสดงว่า ชีวิตํ อวหายตีติ = ชิวหา รูปใดมีสภาพ คล้ายกับว่าเรียกซึ่งรสที่เป็นเหตุให้อายุยืน ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า ชิวหา
ชิวหานี้แยกออกเป็น ๒ บท คือ ชีวิต + อวฺหา คําว่า ชีวิต แปลว่า อายุ แต่ในที่ นี้แปลว่า รส เพราะอายุที่จะตั้งอยู่ได้นั้นก็ต้อง อาศัยรส คือการกินอาหารต่างๆ มีเปรี้ยว หวาน เป็นต้น อายุจึงจะตั้งอยู่ได้นาน ฉะนั้น จึงยกเอาชีวิตที่เป็นชื่อของอายุอันเป็นผลของ รสนั้นขึ้นตั้งไว้ในเหตุ คือ รส แล้วเรียกรสต่างๆ นั้นว่า ชีวิต แต่เป็นการเรียกโดยผลูปจารนัย คือ นัยโดยอ้อม
คําว่า อวฺหา แปลว่า เรียก เมื่อรวมอยู่กับคําว่า ชีวิต แล้ว ก็หมายถึงเรียกรส ต่างๆ นั้นเอง เพราะธรรมดาชิวหาปสาทนี้ย่อมน้อม อยู่ในรสต่างๆ ซึ่งเป็นที่พอใจของ ชิวหาวิญญาณให้มาสู่ตน
เมื่อรวมบทว่า ชีวิต กับบทว่า อวหา เข้าด้วยกันแล้ว ก็เป็นชิวหา คือบทว่า ชีวิต นั้น แปลง อี เป็น อิ, วิ กับ ตะ ทั้ง ๒ นี้ลบออก คําว่า อวหา ลบเอา อะ ออก เหลือ แต่ วหา ฉะนั้น เมื่อรวมแล้วจึงเป็นชิวหา
ชิวหาปสาทนี้เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็น เครื่องรับรสต่างๆ ตั้งอยู่ในท่ามกลางลิ้นที่มีสัณฐาน เหมือนปลายกลีบดอกอุบล มีหน้าที่ให้ สําเร็จกิจ ๒ อย่างคือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณอย่างหนึ่ง และเป็นทวารอัน เป็นที่เกิด แห่งชิวหาทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๕. กายปสาท มีวจนัตถะแสดงว่า กุจฉตาน เกสาหิน ปาปธมุมานญจ อาโยติ = กาโย รูปใดเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่างๆ มีผมเป็นต้น ที่น่าเกลียด และเป็นที่ ประชุมแห่งอกุศลธรรม ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า กายะ ได้แก่ ร่างกายทั้งหมด
สําหรับกายปสาทชื่อว่า กายะ นั้น เป็นการแสดงโดยอ้อม เรียกว่าเอกเทสยูปจาร นัย คือยกเอาคําว่า กายะ ที่เป็นชื่อของร่างกายทั้งหมด นั้นมาตั้งในกายปสาท ที่เป็นส่วนหนึ่ง ของร่างกายนั้น
หรืออีกนัยหนึ่ง กายปสาท ชื่อว่า กายะ นั้น เป็นการแสดงโดยฐานูปจารนัย คือ ยกเอาคําว่า กายะ ที่เป็นชื่อของร่างกายซึ่งเป็น ที่เกิดแห่งกายปสาทมาตั้งในกายปสาทที่เป็น ผู้อาศัยเกิด
กายปสาทนี้เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่อง รับสิ่งสัมผัสต่างๆ มี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กายปสาทนี้เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป ยกเว้นแต่ปลายผม ขน เล็บ หนังที่หนา และที่รวมแห่งอาหารใหม่ใต้ไส้ใหญ่ อันเป็นสถาน ที่ของปาจกเตโช มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณ อย่างหนึ่ง และเป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่ง กายทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ ทั้ง ๕ รูปนี้ชื่อว่า ปสาทรูป เพราะมีสภาพ ใส สามารถรับอารมณ์ของตนๆ ได้ ทั้งมีวจนัตถะแสดงว่า ปสีทตีติ = ปสาโท รูปใดมี ความใส ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า ปสาท
วิสยรูป หรือ โคจรรูป ๗
๑. รูปารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า รูปยติ หทองคตภาว ปกาเสตีติ = รูปํ รูปใดย่อมแสดงถึงความรู้สึกของจิตใจให้ปรากฏ ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า รูปารมณ์ หรือ รูปยติ ทพพ ปกาเสตีติ = รูป รูปใดย่อมแสดงวัตถุสิ่งของ รูปร่างสัณฐานให้ปรากฏ ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า รูปารมณ์
อธิบายว่า คนที่กําลังมีความดีใจ เสียใจ กลุ้มใจ กลัว อาย เป็นต้น เหล่านี้ ผู้อื่น เมื่อแลเห็นหน้าตาท่าทางของผู้นั้นแล้ว ก็รู้ได้ว่าผู้นั้น กําลังดีใจ เสียใจ กลุ้มใจ กลัวอายอยู่ ในการที่ผู้อื่นรู้ได้ ก็เพราะรูปารมณ์นั้นเองเป็นผู้แสดงความรู้สึกของผู้นั้นให้ปรากฏออกมา หรืออีกนัยหนึ่ง วัตถุสิ่งของต่างๆ ก็ดี รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่มีชีวิต ไม่มีชีวิตที่ดี ที่ปรากฏ ให้รู้ได้นั้น ก็เพราะอาศัยรูปารมณ์นั้นเองเป็นผู้กระทําให้ปรากฎ รูปารมณ์ที่เป็นผู้กระทําให้ สิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตปรากฏให้ผู้อื่นรู้ได้นั้น ก็ได้แก่สีต่างๆ นั้นเอง
๒. สัททารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า สททียติ อุจจารียตติ = สุทโท รูปใดที่ เปล่งออกมาได้ ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า สัททะ ได้แก่เสียงที่ สัตว์ทั้งหลายเปล่งออกมา หรือ สปปติ โสตวิญเณยุยภาว คจฉตีติ = สทโท รูปใดย่อมถึงสภาพที่ทําให้โสตวิญญาณ รู้ได้ ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า สัททะ
ในวจนัตถะข้อแรก มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่เสียงของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดที่ต้องใช้เปล่ง ออกมา เช่น เสียงที่คนพูด และเสียงที่สัตว์ต่างๆ ร้อง ส่วนในวจนัตถะข้อหลัง หมายถึง เสียงของสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตทั้งหมด เพราะเสียงเหล่านี้เป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณได้ คือ ได้ยิน ได้นั้นเอง
๓. คันธารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า คนธยติ อตฺตโน วตถ์ สูเจตีติ = คนโธ รูปใดย่อมแสดงให้ที่อาศัยของตนปรากฏ ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า คันธะ อธิบายว่า กลิ่นต่างๆ ชื่อว่า คันธารมณ์ เพราะเป็นรูปที่แสดงถึงวัตถุสิ่งของที่ตน อาศัยอยู่นั้นให้ปรากฏรู้ได้ เช่น ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม หรือน้ําหอมต่างๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะอยู่ในที่ใดก็ตาม เมื่อคันธารมณ์ได้มีโอกาสแผ่ตัวออกมาแล้วย่อมทําให้คนทั้งหลายรู้ได้ ทันทีว่า นี่เป็น กลิ่นดอกไม้ นี่เป็นกลิ่นน้ำหอม และรู้ด้วยว่าดอกไม้หรือน้ำหอมนั้นอยู่ที่ไหน คล้ายๆ กับว่า คันธารมณ์นี้เมื่อได้สมาคมกับวาโยธาตุแล้ว ก็ไปกระจายข่าวให้คนทั้งหลายรู้ ว่าดอกไม้อยู่ที่นั่น น้ำหอมอยู่ที่นี่ ด้วยเหตุนี้ท่านฎีกาจารย์บางท่านจึงแก้คําว่า "สูเจติ” ว่า “อิทเมตุถ อตีติ เปสุญญ่ กโรนต์ วิย โหติ” คันธารมณ์นี้มีสภาพคล้ายกับสื่อว่าวัตถุ สิ่งของนั้นๆ อยู่ที่นี่
๔. รสารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า รสียต อสุสาที่ยตีติ = รโส รูปใคชิวหวิญญาณจึงยินดีพอใจ ฉะนั้น รูปที่เป็นที่พอใจของชิวหา วิญญาณนั้น ชื่อว่า รสะ อธิบายว่า รสารมณ์ อันได้แก่รสต่างๆ นั้น จะเป็นรสที่ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ย่อมเป็น ที่พอใจแก่ชิวหาวิญญาณทั้งสิ้น คําว่า พอใจ ในที่นี้หมายถึงการรู้รสนั้นเอง มิได้มุ่งหมายถึง บุคคล เพราะธรรมดาบุคคลนั้นย่อมพอใจแต่ในรสที่ดีๆ เท่านั้น รสที่ไม่ดีก็ย่อมไม่พอใจ สําหรับชิวหาวิญญาณนั้นรสดีก็ตามไม่ดีก็ตาม ก็ย่อมยินดีที่จะลิ้มรสนั้นๆ ทั้งสิ้น
๕. โผฏฐัพพารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า ผุสิตพุพนุติ = โผฏฐพพ์ รูปใด กาย ปสาทจึงถูกต้อง ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า โผฏฐัพพะ
โผฏฐพพารมณ์ มี ๓ อย่าง คือ
๑) ปถวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ อ่อน แข็ง
๒) เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน
๓) วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ หย่อน ตึง
ฉะนั้น โผฏฐัพพารมณ์ทั้ง ๓ นี้ ก็ได้แก่ มหาภูตรูป ๓ เว้นอาโปนั้นเอง สําหรับอาโปนั้น กายปสาทกระทบไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่เข้าอยู่ใน โผฏฐัพพารมณ์
ในน้ำธรรมดาหรือน้ำแข็ง มีอาโปธาตุมากที่สุด แต่ในเวลาที่เราเอามือไปจุ่มน้ำ และ รู้สึกว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ได้นั้น ก็เป็นเพราะปถวี เตโชที่อยู่ในน้ำนั้นเอง สําหรับอาโปที่ อยู่ในน้ำนั้น ไม่ใช่เป็นรูปที่กระทบได้ ฉะนั้น จึงรู้ด้วยกายวิญญาณ ไม่ได้ รู้ได้โดยการ นึกคิดเอาเท่านั้น ดังเช่นในเวลาที่เราแลเห็นวัตถุสิ่งของที่มีรูปร่างเหลี่ยม กลม ยาว ได้นั้น ความจริงเราไม่ได้แลเห็นเหลี่ยม กลม ยาว ของวัตถุนั้นๆ เลย เราเห็นแต่สีต่างๆ ที่อยู่ใน วัตถุนั้นๆ ต่างหาก และที่รู้ได้ว่าวัตถุนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม วัตถุนี้เป็นรูปกลมเหล่านี้ เรารู้ได้ ด้วยการนึกคิดเอานั้นเอง เพราะเหลี่ยมหรือกลมเหล่านี้ไม่ใช่เป็นรูปารมณ์ เป็นธรรมารมณ์ ฉะนั้น จึงเห็นด้วยตาไม่ได้ รู้ได้ด้วยใจเท่านั้น
ดังที่ยกตัวอย่างแสดงมานี้ ก็ทําให้เห็นว่าอาโปธาตุที่อยู่ในน้ำก็เช่นเดียวกันคือ กระทบไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นโผฏฐัพพารมณ์ แต่เป็นธรรมารมณ์ ซึ่งจะรู้ได้ด้วยอาศัยการ คิดนึกเท่านั้น
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และ โผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม ๓ รูป นี้ชื่อว่า วิสยรูป เพราะเป็นรูปชนิดที่เป็นอารมณ์ ของจิต เจตสิก ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กายโดยตรง และที่เรียกว่า โคจรรูป นั้น ก็เพราะเป็นที่โคจรแห่งจิต เจตสิก ที่เกิดในทวารทั้ง ๖ ดังแสดงวจนัตถะว่า คาโว จรนุติ เอตถาติ = โคจโร, โคจรสที่สาติ = โคจรา โคทั้งหลายย่อมท่องเที่ยวไปในที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า โคจร ได้แก่สถานที่ที่โค ทั้งหลายท่องเที่ยวไป รูปเหล่าใดเป็นที่เที่ยวไปแห่งฉทวาริกจิต เหมือนเป็นที่เที่ยวไปแห่งโค ทั้งหลาย ฉะนั้น รูปเหล่านั้น ชื่อว่า โคจร
วจนัตถะตามที่แสดงมานี้ เป็นการแสดงโดยสที่สูปจารนัย คือแสดงโดยการ เปรียบเทียบ
อีกนัยหนึ่ง แสดงโดยมุขยนัย ดังนี้ล
คาโว จรนติเอตถาติ - โคจร อินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุนทรีย์เป็นต้น ย่อมท่องเที่ยว อยู่ในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นนั้น ฉะนั้น อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นนั้น ชื่อว่า โคจร ในที่นี้คําว่า “โค” แปลว่า อินทรีย์ คําว่า “โคจร” กับ “อารมุมณ" มีความหมายอย่าง เดียวกัน
หมวดที่ ๓
รูปสมุฏฐานนัย
แสดงธรรมที่เป็นเหตุให้รูปเกิดและ การเกิดขึ้นของรูปโดยอาศัยเหตุเหล่านั้น
ธรรมที่เป็นเหตุให้รูปเกิดขึ้นนั้น มีอยู่ ๔ อย่างคือ ๑. กรรม ๒. จิต ๓. อุตุ ๔. อาหาร
๑. กรรม หมายถึงการกระทําที่เกี่ยวด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง ที่ได้ทํามาแล้วในภพก่อนหรือภพนี้ ได้แก่ กรรม ๒๕ คือ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รวมกรรม ๒๕ นี้ ทําให้ก้มมชรูปเกิดขึ้นในสันดานของ สัตว์ทั้งหลาย ทุกๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา
๒. จิต ได้แก่ จิต ๓๕ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวินาท ๔ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ ทั้งหลาย และจุติจิตของพระอรหันต์) เจตสิก ๕๒ ที่ในปัจจุบันภพ ทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้น ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ทุกๆ อุปปาทักขณะของจิตนับตั้งแต่ปฐมภวังค์ ที่ต่อจากปฏิสนธิ จิตเป็นต้นมา
๓. อุตุ ได้แก่ สีตเตโช ความเย็น อุณหเตโช ความร้อน ที่อยู่ภายในสัตว์และ ภายนอกสัตว์ ทําให้อุตุชรูปเกิดขึ้น สําหรับภายในสัตว์ ให้เกิดขึ้นทุกๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ฐิติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา ส่วนความเย็นและความร้อนที่อยู่ภายนอกสัตว์นั้น เวลาใดปรากฎเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว เวลานั้นทําให้อุตุชรูปเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ ไปไม่ขาดสาย
๔. อาหาร ได้แก่ โอชาที่อยู่ในอาหารต่างๆ ทําให้อาหารชรูปเกิดขึ้นในสันดาน ของสัตว์ทั้งหลายทุกๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่โอชา ของอาหารนั้นแผ่เข้าไปในร่างกายของ สัตว์นั้นๆ เรียบร้อยแล้ว อธิบายในสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ทําให้รูปเกิด
๑. กรรมสมุฏฐาน กรรมทั้งหมดมีจํานวน ๓๓ คือ อกุศลกรรม ๑๒ กุศลกรรม ๒๑ รวมเป็น ๓๓ แต่ในกรรมสมุฏฐานเอาแต่กรรม ๒๕ เว้นอรูปกุศลกรรม ๔ โลกุตตร กุศลกรรม ๔ รวม ๘ ในการที่เว้นกุศลกรรมทั้ง ๘ ออกเสีย ก็เพราะว่ากุศลกรรมเหล่านี้ ไม่ได้ทําให้รูปเกิด คือ อรูปกุศลกรรม ๔ เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญกรรมฐาน ชนิดรูปวิราคภาวนา คือ การปราศจากความยินดีในรูป ฉะนั้นด้วยอํานาจแห่งรูปวิราค ภาวนานี้แหละจึงไม่ทําให้กัมมชรูปเกิด ส่วนในโลกุตตรกุศลกรรมทั้ง ๔ นั้น เป็นกรรมที่เกิดขึ้น โดยอาศัยการเจริญกรรมฐาน ชนิดที่เห็นไตรลักษณ์ในรูปนามขันธ์ ๕ เป็นกรรมชนิดที่ทําลายภพชาติและกัมมชรูปนั้นก็เป็นตัวภพตัวชาติอยู่แล้ว ฉะนั้นโลกุตตรกุศลกรรมทั้ง ๔ นี้ จึงไม่ทําให้กัมมชรูปเกิด
๒. จิตตสมุฏฐาน จิตทั้งหมดมีจํานวน ๘๕ แต่ในจิตตสมุฏฐานนี้เอาแต่จิต ๓๕ เว้นออกเสีย ๑๔ ดวง คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาท ๔ และปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลาย จุติจิตของพระอรหันต์ ในการที่เว้นจิต ๑๔ ดวงออกเสีย ก็เพราะว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นั้นมีกําลังอ่อน ไม่สามารถทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้ อรูปวิปากจิต ๔ นั้น เป็นผลที่เกิดจากอรูปกุศล และเป็น ตัวอรูปภพที่ปราศจากรูปอยู่แล้ว ฉะนั้น จึงไม่สามารถทําให้จิตตธรูปเกิดได้
ส่วนปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลาย และจุติจิตของพระอรหันต์นั้น ไม่มีจํานวนจิตที่จะยกเว้น โดยเฉพาะมุ่งหมายเอาขณะที่ทําหน้าที่ปฏิสนธิ และจุติเท่านั้น หมายความว่า จิตที่ ทําหน้าที่ปฏิสนธิมี ๑๕ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ รูปวิปากจิต ๕ อรูปวิปากจิต ๔ เหล่านี้ สําหรับอรูปาวจรวิปากจิต ๔ ได้อธิบายแล้วข้างต้น ส่วนปฏิสนธิ จิตที่เหลือ ๑๕ ดวงนั้น ในขณะที่เกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่นั้น ยังมีกําลังอ่อนอยู่ จึงไม่สามารถทําให้จิตตธรูปเกิดได้ และจุติจิตของพระอรหันต์มี ๑๓ ดวง คือ มหาวิบากญาณ สัมปยุตตจิต ๔ รูปวิปากจิต ๕ อรูปวิปากจิต ๔ เหล่านี้ สําหรับอรูปวิปากจิต ๔ นั้น มี ข้อความเช่นเดียวกันกับที่ได้อธิบายข้างต้นนั้น ส่วนจุติจิตที่เหลืออีก ๙ ดวง เป็นจุติจิตของพระอรหันต์ที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว ฉะนั้น จึงไม่ทําให้จิตตธรูปเกิด แต่จิต ๙ ดวง นี้ ถ้าทําหน้าที่จุติของบุคคลอื่น ที่นอกจากพระอรหันต์แล้ว สามารถทําให้จิตตธรูปเกิดขึ้นได้
อนึ่ง จิต ๗๕ ดวงที่ทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้นั้น ก็ตรงที่อุปปาทักขณะของตนๆ เท่านั้น ส่วนฐิติขณะ และภังคักขณะของคนๆ นั้น ไม่สามารถทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้ ก็เพราะธรรมดานามธรรมทั้งหลาย ย่อมมีกําลังตรงที่อุปปาทักขณะ ขณะเดียว เมื่อถึงฐิติขณะ และภังคักขณะนั้นกําลังอ่อนลงแล้ว ฉะนั้น จิต ๗๕ ดวงเหล่านี้ จึงทําให้จิตตธรูปเกิด ขึ้นได้ที่อุปปาทักขณะของตนๆ เท่านั้น
๓. อุตุสมุฏฐาน สําหรับคําอธิบายในอุตุสมุฏฐานนี้ แสดงชัดเจนอยู่แล้วในตอนต้น จึงไม่ต้องแสดงอีก
๔. อาหารสมุฏฐาน โอชาที่ทําให้อาหารชรูปเกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เฉพาะแต่โอชาที่ อยู่ในอาหารต่างๆ เท่านั้น แม้ในยาบางชนิด เช่น วิตามินต่างๆ ก็มีโอชาอยู่ด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อใช้ฉีดหรือกินหรือทาแล้ว ก็ทําให้อาหารชรูปเกิดแก่ผู้นั้นได้เช่นเดียวกัน และ โอชานี้มีอยู่ทั้งภายในสัตว์และภายนอกสัตว์ เรียกว่า อัชญัตตโอชา และ พหิทธ โอชา สําหรับ โอชาที่แสดงแล้วในตอนต้นนั้นเป็นพหิทธโอชา ส่วน อัชญัตตโอชา นั้น ได้แก่ กัมมชโอชา และ อุตุชโอชา ที่เกิดอยู่ภายในร่างกายของสัตว์นั้นเอง ในโอชาทั้ง ๒ อย่างนี้ อัชญัตตโอชา ทําหน้าที่อุปถัมภ์ช่วยให้อาหารชรูปเกิดขึ้น เรียกว่า อุปถัมภกสัตติ ส่วนพหิทธโอชาทํา หน้าที่ให้อาหารชรูปเกิดขึ้น โดยตรง เรียกว่า ชนกสัตติ ในอัชญัตตโอชาทั้ง ๒ คือ กัมมชโอชา และอุตุชโอชานั้น กัมมชโอชาสําคัญมาก ในการงานที่ช่วยอุปถัมภ์ให้อาหารชรูปเกิด มากกว่าอุตุชโอชา
ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาแสดงว่า ในมนุษย์โลกผู้ที่ได้กินอาหารเต็มที่ครั้งหนึ่งแล้ว จะรักษาร่างกายของผู้นั้นให้อยู่ได้ภายใน ๗ วัน โดยไม่ต้องกินอะไรอีก สําหรับในเทวโลก นั้น อาหารทิพย์ของพวกเทวดาที่เสวยครั้งหนึ่งนั้น จะรักษาร่างกายให้อยู่ได้ตลอดหนึ่งเดือน หรือ สองเดือน โดยไม่ต้องเสวยอีกเช่นเดียวกัน ที่เป็นได้เช่นนี้ก็เพราะว่า โอชาที่อยู่ใน อาหารที่กินเข้าไปนั้นเข้าไปผสมกับกัมมชโอชาที่อยู่ภายใน ร่างกาย แล้วก็ทําให้อาหารชรูป เกิดขึ้นตลอด ๗ วัน ในมนุษย์โลก และเกิดขึ้นตลอดหนึ่งเดือนหรือสองเดือนในเทวโลก สําหรับทารกที่อยู่ใน ครรภ์มารดานั้น เมื่อมารดากินอาหารเข้าไปแล้วภายใน ๒ สัปดาห์ หรือ ๓ สัปดาห์ โอชาก็แผ่ซึมซาบเข้าสู่ร่างกายของทารกที่ยังเป็น อัพพุทะหรือเปสนั้น แล้วก็ ทําให้อาหารชรูปเกิดขึ้นแก่ทารกนั้นได้
ในมูลปัณณาสอรรถกถาแสดงว่า ธรรมตาอาหารต่างๆ นั้น เมื่อเข้าไปในปากของ ผู้ที่กินนั้นแล้ว ก็ทําให้อาหารชสุทธัฏฐกกลาป เกิดขึ้นได้ เมื่อเคี้ยวและกลืนลงไปแล้ว โอชา ที่อยู่ในอาหารเมล็ดหนึ่งๆ นั้น ทําให้อาหารชสุทธัฏฐกกลาปเกิดขึ้นได้ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า อาหารชรูปที่เกิดอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมเกิด ตลอดเวลาติดต่อกันไม่ขาดสาย ตราบจนสิ้นชีวิต
จําแนกโสมนัสกามชวนะ ๑๓ ที่ทําให้การหัวเราะเกิดโดยบุคคล ๓ จําพวก
๑. ปุถุชนหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ โลภมูลโสมนัส ๔ มหากุศล โสมนัส ๔
๒. ผลเสกขบุคคล ๓ หัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง คือ ทิฏฐิคตวิปปยุตตโสมนัส ๒ มหากุศล โสมนัส ๔
๓. พระอรหันต์หัวเราะด้วยจิต ๕ ดวง คือ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากริยาโสมนัส ๔
จบ รูปสมุฏฐานนัย
กัมมชรูป ๑๙ ที่เกิดได้ในปฏิสนธิกาลนั้น ถ้าจัดเป็นกลาปแล้ว ก็ได้แก่กัมมชกลาป ๙ นั้นเอง และในกัมมชกลาป ๙ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมดแก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไปในปฏิสนธิขณะ ต้องแล้วแต่กําเนิดของสัตว์ และภูมิตามสมควร
กําเนิดหรือโยนิ
กําเนิดของสัตว์ทั้งหลาย มี ๓ หรือ ๔ คือ
๑. สังเสทชะกําเนิด หมายถึง เกิดในที่ที่มียางเหนียว
๒. โอปปาติกะกําเนิด หมายถึง เกิดผุดขึ้นโตทันที คล้ายกับว่าตกลงมาจาก
๓. คัพภเสยยกะกําเนิด หมายถึง เกิดในครรภ์มารดา คัพภเสยยกะกําเนิด แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
อธิบายในกําเนิดทั้ง ๔
๑. สังเสทชะกําเนิด สัตว์ทั้งหลายที่ปฏิสนธิด้วยสังเสทซะกําเนิดนี้ ไม่ต้องอาศัย มีบิดา มารดา อาศัยเกิดจากต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ โลหิต น้ำโสโครก เป็นต้น เช่น นางจิญจมานวิกา เกิดจากต้นมะขาม นางเวหุวดี เกิดจากต้นไผ่ นางปทุมวดี เกิดจากคอกบัว โอรสของ นางปทุมวดี ๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต พวกหนอนต่างๆ ที่เกิดจากผลไม้ หรือสิ่ง โสโครก เหล่านี้เป็นต้น แต่สัตว์ที่เป็นสังเสทชะกําเนิดนี้ ไม่ได้เกิดโตขึ้นมาที่เดียว ค่อยๆ เติบโตคล้ายกับพวกคัพภเสยยกะ
๒. โอปปาติกะกําเนิด สัตว์ที่ปฏิสนธิด้วยโอปปาติกะกําเนิดนี้ ไม่ต้องอาศัยอะไร ทั้งหมด อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว และเมื่อเกิดนั้นก็เติบโต ขึ้นที่เดียว เช่น พวกสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม มนุษย์ในสมัยต้นกับ
๓. อัณฑชะกําเนิด สัตว์ทั้งหลายที่ปฏิสนธิด้วยอัณฑชะกําเนิดนี้ ต้องอาศัยเกิด จากท้องมารดา แต่เมื่อปฏิสนธิทีแรกนั้น ต้องอยู่ในฟองเสียก่อน เมื่อมารดาคลอดฟองออก มาแล้ว สัตว์นั้นจึงจะคลอดจากฟองอีกทีหนึ่ง การเกิดของสัตว์พวกนี้ค่อยๆ เติบโตขึ้นตาม ลําดับ ได้แก่ พวกไก่ เป็ด นก กา จิ้งจก ตุ๊กแก งู เป็นต้น
มนุษย์ที่เป็นอัณฑชะกําเนิดก็มี เช่น พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า ทเวพาติกเถระ ซึ่ง เป็นลูกของโกนตะกินรีนั้น เมื่อเกิดที่แรกเกิด ออกมาเป็นฟองไข่ก่อนแล้วจึงคลอดออกมา จากฟองอีกที่หนึ่ง เรื่องนี้แสดงไว้ในธัมมบท
๔. ชลาพุชะกําเนิด สัตว์ทั้งหลายที่ปฏิสนธิด้วยชลาพุชะกําเนิดนี้ ต้องอาศัยเกิด จากท้องมารดาเช่นเดียวกัน แต่ไม่ต้องมีฟองหุ้ม ห่อเช่นอย่างพวกอัณฑชะกําเนิด และการ เกิดของสัตว์พวกนี้ก็ค่อยๆ เกิดเติบโตขึ้นตามลําดับ ได้แก่พวกมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ที่นอก จากพวกอัณฑชะกําเนิด
แสดงการเกิดขึ้นของจิตตชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป
ในภพหนึ่งๆ นั้น จิตดวงแรกที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายนั้น ได้แก่ ปฏิสนธิจิต เมื่อ ปฏิสนธิจิตดับลงแล้ว จิตดวงที่ ๒ ที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิต ได้แก่ ปฐมภวังค์ จิตตชรูป ตั้งต้นขึ้นที่อุปปาทักขณะของปฐมภวังค์นี้ และย่อมเกิดขึ้นต่อๆ ไปทุกๆ อุปปาทักขณะของจิต ส่วนฐิติขณะและ ภังคักขณะของจิตนั้น จิตตธรูปไม่เกิด เพราะธรรมดาจิต เจตสิกนั้นย่อมมี กําลังอยู่ที่ตรงอุปปาทักขณะเท่านั้น
อุตุชรูป ตั้งต้นเกิดขึ้นที่ฐิติขณะของปฏิสนธิจิต และย่อมเกิดขึ้นต่อไปทุกๆ ขณะ ของจิต เพราะอุตุชรูปนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยอุด เป็นสมุฏฐาน มิใช่เกิดจากจิต เจตสิก เป็นสมุฏ ฐาน ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นได้ทุกๆ ขณะของจิต
อาหารชรูป สําหรับสังเสทชะและโอปปาติกะบุคคลนั้น เมื่อปฏิสนธิขึ้นแล้ว ต่อ จากนั้นก็กินอาหารได้ทันที ฉะนั้น อาหารชรูปของ บุคคล ๒ จําพวกนี้ จึงตั้งต้นเกิดขึ้นที่ มโนทวารวิถี ที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิสนธิจิต และ ภวังคจิต และย่อมเกิดขึ้นต่อไปทุกๆ ขณะ ของจิต เพราะอาหารชรูปเกิดขึ้น โดยอาศัยอาหารเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่เกิดจากจิต เจตสิก เป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นได้ทุกๆ ขณะของจิต เช่นเดียวกันกับอุตุชรูป
ส่วนอาหารชรูปที่เกิดในพวกคัพภเสยยกะบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเมื่ออาหารต่างๆ ที่ มารดาบริโภคเข้าไปนั้น แผ่ซึมซาบไปในร่างกาย ของสัตว์ที่อยู่ในครรภ์มารดา ระยะเวลาที่อาหารตั้งต้นแผ่ซึมซาบเข้าไปเลี้ยงร่างกายของสัตว์ที่ปฏิสนธินั้น ในสัปดาห์แรกที่ยังเป็น กลละสัตตาหะอยู่นั้น อาหารยังแผ่ไปไม่ได้ ต่อเมื่อถึงสัปดาห์ที่ ๒ หรือสัปดาห์ที่ ๓ ที่เป็น อัพพุทะสัตตาหะ และเปสิสัตตาหะ อาหารจึงจะเริ่มแผ่เข้าไปสู่ร่างกายของสัตว์นั้นได้ และ เมื่ออาหารชรูปเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดต่อไปทุกๆ ขณะของจิต ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง แสดงไว้ในสคาถาวัดค ยักขสังยุตตพระบาลี ว่า ยญจสุส ภุญซต มาตา อนุน์ ปานญจ โภชน์ เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มตุกจุคโต นโรติ
รูปมีจำนวน ๒๘ รูป แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. มหาภูตรูป ๒. อุปาทายรูป
๑. มหาภูตรูป หมายถึงรูปที่เป็นใหญ่และปรากฏชัดเจน ดังแสดงว่า รูปเหล่าใด เป็นใหญ่และปรากฏชัดเจน โดยลักษณะของตน และโดยสัณฐานของตน ในสันดานแห่งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ฉะนั้น รูปเหล่านั้นชื่อว่า มหาภูตรูป
๒. อุปาทายรูป หมายถึงรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด ดังมีวจนัตถะว่า มหาภูตานํ อุปาทาย ปวตฺตํ รูปนฺติ = อุปาทายรูปํ รูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยมหาภูตรูป ฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า อุปาทายรูป
มหาภูตรูป มี ๔ คือ ๑. ปถวี ๒. อาโป ๓. เตโช ๔. วาโย
อุปาทายรูป มี ๒๔ คือ ๑. จักขุ ๒. โสตะ ๓. ฆานะ ๔. ชิวหา ๕. กายะ ๖. รูปะ ๓. สัททะ ๘. คันธะ 6. รสะ ๑๐. อิตถีภาวะ ๑๑. ปุริสภาวะ ๑๒. หทยะ ๑๓. ชีวิตะ ๑๔. อาหาระ ๑๕. ปริจเฉทะ ๑๖. กายวิญญัติ ๑๗. วจีวิญญัติ ๑๘, ลหุตา ๑๙. มุทุตา ๒๐. กัมมัญญตา ๒๑. อุปจยะ ๒๒. สันตติ ๒๓. ชรตา ๒๔. อนิจจตา รวมมหาภูตรูป ๔
อุปาทายรูป ๒๔ เป็น ๒๘
องค์ธรรมของรูป ๒๔
๑. ปถวี ได้แก่ รูปแข็ง และอ่อน
๒. อาโป รูปที่ไหล หรือเกาะกุม
๓. เตโช รูปที่เย็น ร้อน
๔. วาโย รูปที่หย่อน ตึง
๕. จักขุปสาท ความใสที่สามารถรับรูปารมณ์ได้
๖. โสตปสาท ความใสที่สามารถรับสัททารมณ์ได้
๗. ฆานปสาท ความใสที่สามารถรับคันธารมณ์ได้
๘. ชิวหาปสาท ความใสที่สามารถรับรสารมณ์ได้
๙. กายปสาท ความใสที่สามารถรับโผฏฐัพพารมณ์ได้
๑๐. รูปารมณ์ สีต่างๆ
๑๑. สัททารมณ์ เสียงต่างๆ
๑๒. คันธารมณ์ กลิ่นต่างๆ
๑๓. รสารมณ์ รสต่างๆ
๑๔. โผฏฐัพพารมณ์ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
๑๕. อิตถีภาวะ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง
๑๖. ปุริสภาวะ ได้แก่ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย
๑๗. หทยะ รูปที่เกิดอยู่ในหัวใจ และเป็นที่อาศัยเกิดของจิตเจตสิกทั้งหลาย
๑๘. ชีวิตะ รูปที่รักษากัมมชรูปทั้งหลาย
๑๙. อาหาระ รูปที่นําให้อาหารชรูปเกิด
๒๐. ปริจเฉทะ อากาสรูปที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป
๒๑. กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย
๒๒. วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวต่างๆ ของวาจา
๒๓. ลหุตา ความเบาของนิปผันนรูป
๒๔. มุทุตา ความอ่อนของนิปผันนรูป
๒๕. กัมมัญญตา ความควรแก่การงานของนิปผันนรูป
๒๖. อุปจยะ ความเกิดขึ้นครั้งแรกและเกิดขึ้นครั้งหลังๆ จนครบรูปที่ควรเกิดขึ้นได้ของนิปผันนรูป
๒๗. สันตติ ความเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปผันนรูปจนถึงตาย
๒๘. ชรตา ความแก่ของนิปผันนรูป
๒๙. อนิจจตา ความดับของนิปผันนรูป
หมายเหตุ สําหรับโผฏฐัพพารมณ์นั้น ได้แก่ ปถวี เตโช วาโย ที่เป็นมหาภูตรูปนั้นเอง ฉะนั้น ถ้านับรูปโดยลําดับแล้ว รูปก็คงมีจํานวน ๒๘
ที่เกิดของรูป ๒๘ ในร่างกายสัตว์
ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้น ย่อมอาจพิจารณาหาที่เกิดของรูป ๒๘ แต่ละรูปได้ ดังต่อไปนี้
๑. มหาภูตรูป ๔ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๒. จักขุปสาท เกิดอยู่ในลูกตา
๓. โสตปสาท เกิดอยู่ในรูหู
๔. มานูปสาท เกิดอยู่ในรูจมูก
๕. ชิวหาปสาท เกิดอยู่ที่ลิ้น
๖. กายปสาท เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๗. รูปารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๘. คันธารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๙. รสารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๐. โผฏฐพพารมณ์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๑. สัททารมณ์ เกิดได้ในร่างกายทั่วไป
๑๒. อิตถีภาวะ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไปของเพศหญิง
๑๓. ปุริสภาววะ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไปของเพศชาย
๑๔. หทยวัตถุ เกิดอยู่ที่รูปหัวใจ
๑๕. ชีวิตินทรีย์ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๖. กพฬิการาหาร เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๗. อากาสรูป เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
๑๘. กายวิญญัติ เกิดได้ในร่างกายทั่วไป
๑๙. วจีวิญญัติ เกิดได้ที่ปาก
๒๐. วิการรูป ๓ เกิดได้ในร่างกายทั่วไป
๒๑. ลักขณรูป ๔ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป
อธิบายในสภาวลักษณะของรูป ๒๕
มหาภูตรูป ๔
๑. ปถวี เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ธาตุดิน มีลักษณะแข็ง (กกุขฬลกฺขณา) คือ เมื่อเปรียบเทียบกับมหาภูตรูปที่เหลืออีก ๓ แล้ว ปถวีธาตุนี้มีลักษณะแข็ง ถ้าวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปถวีธาตุมากเป็นประธานแล้ว ลักษณะแข็งนี้ก็ปรากฏมาก เช่น เหล็ก หิน ไม้ เป็นต้น และถ้าวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีปถวีธาตุเป็นจํานวนน้อย ลักษณะแข็งนั้นก็ปรากฏไม่มาก เมื่อสัมผัสรู้สึกว่าเป็นลักษณะอ่อน หมายความว่า ความแข็งนั้นมีน้อยนั่นเองจึงทําให้รู้สึก อ่อน ฉะนั้น ธรรมชาติที่มีลักษณะแข็งก็ตาม อ่อนก็ตาม ในเมื่อสัมผัสแล้ว จัดเป็นปถวีธาตุ ทั้งสิ้น เพราะนอกจากปถวีธาตุแล้ว รูปอื่นๆ ไม่สามารถทําให้ความรู้สึกแข็งหรืออ่อน ปรากฏขึ้นแก่การสัมผัสนั้นได้
อนึ่ง ปถวีธาตุนี้ เป็นที่อาศัยเป็นที่ตั้งของรูปอื่นๆ เหมือนหนึ่งพื้นแผ่นดินกับสิ่ง ต่างๆ ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หมายความว่า ยกเว้นปถวีธาตุเสียแล้ว รูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ อันได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ เตโชโผฏฐัพพารมณ์ วาโยโผฏฐพพารมณ์ เหล่านี้ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้ ดังมีวจนัตถะว่า สหชาต รูปานิ ปถนุติ ปติฏฐหนุติ เอตถาติ = ปถวี รูปที่เกิดร่วมกันทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ใน ธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นที่ตั้งที่อาศัยของสหชาตรูปเหล่านั้น ชื่อว่า ปถวี
๒. อาโป เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ธาตุน้้ำ มีลักษณะไหล หรือเกาะคุม (ปคุฆรณลกฺขณา หรือ อาพนุธนลกฺขณา) อาโปธาตุนี้ ถ้ามีอยู่เป็นจํานวนมากในวัตถุสิ่ง หนึ่งสิ่งใดก็ตาม ย่อมทําให้วัตถุสิ่งนั้นเหลวและไหลไปได้ ถ้ามีจํานวนน้อยก็ทําให้วัตถุ สิ่งของนั้นๆ เกาะกุมกันเป็นก้อนเป็นกลุ่ม อุปมาเหมือนหนึ่งยางเหนียว ที่สามารถเชื่อมวัตถุ สิ่งของให้ติดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้ฉันใด อาโปธาตุก็เป็น เสมือนหนึ่งยางเหนียวที่สามารถ เชื่อมปรมาณูปถวี ให้เกาะกุมกันเป็นรูปร่างสัณฐานขึ้นได้ฉันนั้น
ในวัตถุที่มีจํานวนอาโปธาตุมากกว่าปถวีธาตุเป็นต้นแล้ว ด้วยอํานาจของอาโปธาตุ นั้นเองทําให้ปถวีธาตุมีอํานาจน้อยลง จึงเป็นเหตุให้ วัตถุนั้นอ่อนเหลวและสามารถไหลไป มาได้ดังเช่นน้ำ ที่เราแลเห็นว่าน้ำนั้นไหลไปมาได้ ก็เพราะว่ามีอาโปธาตุมาก ปถวีธาตุน้อย เมื่อปถวีธาตุน้อยแล้ว ปถวีธาตุนั้นแหละเป็นผู้ไหลโดยอาโปธาตุเป็นผู้ทําให้ไหล ไม่ใช่ อาโปธาตุไหลดังที่เราเข้าใจกัน เพราะอาโปธาตุ เป็นธาตุที่เห็นด้วยตาหรือสัมผัสด้วยกาย ไม่ได้ เพียงแต่รู้ได้ด้วยใจเท่านั้น และในวัตถุที่มีจํานวนอาโปธาตุน้อยกว่าปถวีธาตุเป็นต้น แล้ว อํานาจของอาโปธาตุที่ทําให้ปรมาณูปถวีธาตุเกาะกุมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังมี วจนัตถะแสดงว่า อาเปติ สหชาตรูเปสุ พยาเปตวา ติฏฐตีต = อาโป ธรรมชาติใด ย่อม แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดพร้อมกันกับตนแล้วตั้งอยู่ในรูปเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป
อีกนัยหนึ่ง อปปายติ สหชาตรูปาน สุฏฐ พรูเหติ วฑเมตีติ = อาโป ธรรมชาติใด ทําให้สหชาตรูปทั้งหลายเจริญขึ้นเป็นอย่างดี ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อาโป
อีกนัยหนึ่ง สหชาตรูปาน อวิปปกิณณานิ กตวา ภุโส ปาติ รกุขดีต = อาโป ธรรมชาติใด ย่อมรักษาสหชาครูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ฉะนั้น ธรรมชาติ นั้น ชื่อว่า อาโป อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ
ก. อาโปธาตุ ที่มีปกติเป็น อาพันธลักขณะ คือ ลักษณะเกาะกุม แต่เมื่อถูกอุณหเตโชแล้ว ปัคฆรณลักขณะ ปรากฏ คือไหลไป ได้แก่ อาโปธาตุ ที่อยู่ในเหล็ก ทอง ขี้ผึ้ง เป็นต้น หมายความว่า เหล็ก หรือทอง หรือขี้ผึ้ง เหล่านี้เมื่อเอาไปหลอมหรือเผาไฟแล้ว สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นวัตถุเหลวสามารถไหลไปมาได้ แต่การไหลไปได้ของวัตถุเหล่านี้ไม่ใช่อาโปธาตุเป็นตัวไหล ปถวีธาตุที่เกิดร่วมกันกับอาโปธาตุนั้นเองเป็นตัวไหล และในวัตถุเดียวกันนั้นเอง ถ้ากลับเอาไปใส่ในน้ำถูกความเย็นเข้า วัตถุเหล่านั้นจะกลับแข็งตัวเป็นก้อน เป็นแท่งตามเดิม ในการแข็งตัวของวัตถุธาตุเหล่านี้ เป็นการแข็งตัวของปถวีธาตุ หาใช่ เป็นการแข็งตัวของอาโปธาตุไม่
ข. อาโปธาตุ ที่มีปกติเป็น ปัคฆรณลักขณะ คือ ลักษณะไหลไป แต่เมื่อถูกสีตเตโชแล้ว อาพันธนลักขณะ ปรากฏ คือเกาะกุม ได้แก่ อาโปธาตุที่อยู่ในน้ำ หมายความว่า ธรรมดาน้ำเป็นวัตถุเหลวอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาน้ำนั้นไปใส่ในที่ที่มีความเย็นสูงถึง () ดีกรีแล้ว น้ำนั้นจะกลาย เป็นก้อนน้ำแข็งไป และเมื่อเอาก้อนน้ำแข็งออกจากในที่ที่มีความเย็นนั้นแล้ว ก้อนน้ำแข็งนั้นถูกอากาศภายนอกที่มีอุณหเตโช ก้อนน้ำแข็งนั้น ก็จะละลาย เป็นวัตถุเหลว ไปตามเดิม
๓. เตโซ เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกกันว่า ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น ลักษณะร้อน ชื่อว่าอุณหเตโช ลักษณะเย็นชื่อว่า สีตเตโช แต่เตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิดนี้มีสภาวลักษณะ คือ มีสภาพที่เป็นไอเป็นลักษณะ (อุณหตุตลกขณา) หมายความว่าอุณหเตโชก็มีไอร้อนเป็น ลักษณะ สีตเตโชก็มีไอเย็นเป็นลักษณะ และเตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิดนี้ มีหน้าที่ทําให้วัตถุต่างๆ สุก และทําให้ละเอียดนุ่มนวล ดังจะแลเห็นได้ว่า วัตถุต่างๆ ส่วนมาก เช่น อาหาร เป็นต้น ทําให้สุกด้วยความร้อน แต่อาหารบางอย่างที่ทําให้สุกด้วยความเย็นได้เหมือนกัน ทั้งมี วจนัตถะแสดงว่า เตเซต ปริปาเจตีติ = เตโช ธรรมชาติใดที่ทําให้สุก ธรรมชาตินั้นชื่อว่า เตโช
เตโชธาตุ มี ๕ อย่าง คือ
ก. อุสุมาเตโซ คือ เตโชธาตุที่มีประจําอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย(ไออุ่น)
ข. สนุตปอนเตโช คือ เตโชธาตุที่มีความร้อนมาก
ค. ทหนเตโช คือ เตโชธาตุที่มีความร้อนสูงจัด สามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตไปได้
ฆ. ชิรณเตโช คือ เตโชธาตุที่ทําให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง
ง. ปาจกเตโช คือ เตโชธาตุที่ทําหน้าที่ย่อยอาหาร
ในเตโชธาตุทั้ง ๕ อย่างนี้ เตโชธาตุที่มีเป็นประจําอยู่ในร่างกายของสัตว์นั้น ได้แก่ อุสมาเตโช กับ ปาจกเตโช สําหรับ สันตัปปนเตโช ทหนเตโช ชิรณเตโช ทั้ง ๓ นี้ไม่มีอยู่ประจํา ที่ปรากฏขึ้นก็เป็นเพราะ อุสมาเตโช นั้นเอง มีอาการวิปริตไป เช่น คนที่เป็นไข้ ตัวร้อน ก็คือ อุสมาเตโช ได้เปลี่ยนสภาพเป็น สันติปปนเตโช หรือถ้ามีไข้สูงตัวร้อนจัด จนเพ้อคลั่ง ก็คือ อุสมาเตโช มีสภาพวิปริตมากขึ้นจากสันตัปปน เตโช กลายเป็น ทหนเตโช ไป และในคนที่มีโรคภัยเบียดเบียนอยู่เสมอ หรือผู้ที่ล่วงเข้าเขตปัจฉิมวัยแล้ว อุสมาเตโช นั้นแหละเปลี่ยนสภาพ เป็นชิรณเตโช ทําให้ปรากฏอาการทรุดโทรมของร่างกายเกิดขึ้น เช่น ผมหงอก ฟันหัก ตามัว เนื้อหนังเที่ยว เป็นต้น
๔. วาโย เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ธาตุลม มีลักษณะเคร่งดึงและเคลื่อน ไหว (วิตฺถมฺภนลูกขณา หรือ สมีรณลูกขณา) ธาตุลมที่มีลักษณะ เคร่งศึงเรียกว่า วิตถัมภนวาโย ๆ ที่ทําให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนตั้งมั่นไม่ให้คลอนแคลนเคลื่อนไหวไปได้ ในร่างกายของคนเรา ถ้าวิตถัมภนวาโยปรากฏแล้วผู้นั้นจะรู้สึกว่า ตึง เมื่อย ปวด ไปทั่ว ร่างกาย หรือเมื่อเวลาที่เราเกร็งข้อ แขน ขา และเพ่งตาอยู่นานๆ โดยไม่กะพริบตา เวลานั้น วิตถัมภนวาโยก็ปรากฏโดยความพยายามของตนเอง สําหรับภายนอกนั้น วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง หรือทําให้ตึงขึ้นก็ด้วยอํานาจของวิตถัมภนวาโยนั้นเอง เช่น ลูกบอลที่ อัดเอาลมเข้าไปอยู่ภายในนั้น ลูกบอลนั้นดึงขึ้นก็เพราะวาโยที่เป็น วิตถัมภนวาโย หรือ ธมกรกที่สําหรับกรองน้ำ เมื่อกคธมกรกลงในน้ำ น้ำเข้าไปอยู่ในนั้นแล้ว เวลายกขึ้นเอามือ ปิครูธมกรกแล้ว วาโยธาตุ ที่อยู่ข้างนอกก็หนุนรองน้ำที่อยู่ในธมกรกไม่ให้ไหลออกมา เช่น เดียวกับโลกที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่นี้ พื้นแผ่นดินตั้งอยู่เหนือน้ําๆ ตั้งอยู่เหนือลมที่เรียกว่า เหฏฐิมอชฎากาศๆ นี้หนุนรองน้ําไว้ ให้น้ําและพื้นแผ่นดินตั้งมั่นอยู่ได้ เช่นนี้ก็เป็นด้วย อํานาจวิตถัมภนวาโย ดังแสดงวจนัตถะว่า วายติ สหชาตธมฺเม อปตมาเน กตวา วหตีติ = วาโย ธาตุใดย่อมนําให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนตั้งมั่นไม่เคลื่อนคลอน ฉะนั้น ธาตุนั้น ชื่อว่า วาโย
ธาตุลมที่มีลักษณะเคลื่อนไหวเรียกว่า สมีรณวาโย ๆ นี้ทําให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับ ตนเคลื่อนไหวไปมาได้ เช่น สัตว์ทั้งหลายที่เคลื่อนไหว อิริยาบถต่างๆ ได้ หรือกะพริบตา กลอกตา กระดิกมือ กระดิกเท้า การถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย การคลอดบุตรต่างๆ เหล่านี้ เป็นไปได้ด้วยอํานาจสมีรณวาโยทั้งสิ้น ส่วนสมีรณวาโยที่อยู่ภายนอกสัตว์นั้น ทําให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เคลื่อนไหวจากที่เดิมไปได้ ดังแสดงวจนัตถะว่า วายติ เทสนุตรูปปตติ เหตุภาเวน ภูตสงฆาต์ ปาเปตีติ = วาโย ธาตุใด ย่อมทําให้หมู่มหาภูตรูปที่เกิด พร้อมกันกับตนเคลื่อนไปที่อื่น โดยความเป็นเหตุให้เกิดความเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังที่ หนึ่ง ฉะนั้น ธาตุนั้นชื่อว่า วาโย
วาโยธาตุ มี ๖ อย่าง คือ
ก. อุทธงคมวาโย คือ วาโยธาตุที่พัดขึ้นสู่เบื้องบน
ข. อโธคมวาโย คือ วาโยธาตุที่พัดลงสู่เบื้องล่าง
ค. กุจฉิฏฐวาโย คือ วาโยธาตุที่อยู่ในช่องท้อง
ฆ. โกฏฐาสยวาโย คือ วาโยธาตุที่อยู่ในลําไส้ใหญ่
ง. องคมงคานุสารีวาโย คือ วาโยธาตุที่อยู่ทั่วร่างกาย
จ. อสุสาสปสุสาสวาโย คือ วาโยธาตุลมหายใจเข้าออก
วาโยธาตุ ๖ อย่างที่กล่าวมานี้ เกิดอยู่ภายในร่างกายของสัตว์ เรียกว่า อัชญัตตวาโย ก็ได้ ส่วนลมที่พัดไปมาอยู่ภายนอกนั้น เรียกว่า พหิทธวาโย
ปถวี อาโปเตโชวาโย ธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า มหาภูตรูป เพราะเป็นรูปใหญ่เป็น ประธานแก่รูปอื่นๆ และปรากฏชัด เช่น วัตถุสิ่งของต่างๆ ใหญ่ก็ตาม เล็กก็ตาม ที่ปรากฏ เป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ ได้ ก็คือ มหาภูตรูป นั้นเอง และสีสันวรรณะของวัตถุเหล่านั้น ปรากฏมาก ปรากฏน้อย ก็ด้วยอาศัยมหาภูตรูปที่รวมกันอยู่ตามมากตามน้อยนั้นเอง ฉะนั้น มหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ เมื่อว่าโดยสัณฐานแล้วก็ใหญ่โตมาก เมื่อว่า โดยสภาวะแล้วก็ปรากฏ ชัดกว่ารูปอื่นๆ ดังแสดงวจนัตถะว่า มหนุตานิ หุตวา ภูตานิ ปาตุภูตานีติ = มหา - ภูตานี รูปเหล่าใด ว่าโดยสัณฐานและว่าโดยสภาพแล้ว เป็นใหญ่และปรากฏชัด ฉะนั้น รูป เหล่านั้นชื่อว่า มหาภูต
ปสาทรูป ๕
๑. จักขุปสาท มีวจนัตถะว่า จกขุวิญญาณธิฏฐิติ หุตวา สมวิสม์ จกุขติ อาจิกขนต์ วิย โหติ = จก รูปใดเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ และมีสภาพเป็นอยู่คล้าย กับบอกให้จักขุวิญญาณรู้ในอารมณ์ว่า อารมณ์นั้นดี อารมณ์นี้ไม่ดี ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า จักขุ
ดวงตาทั้งหมดไม่ชื่อว่า จักขุปสาท ที่ชื่อว่า จักขุปสาท นี้คือ เป็นธรรมชาติรูปชนิด หนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสดุจกระจกเงา เป็นเครื่องรับรูปารมณ์ ตั้งอยู่ในระหว่างกลาง ตาดํา มีเยื่อตา ๗ ชั้นซับอยู่ ประดุจปุยสําลีที่อาบด้วยน้ํามันชุ่มอยู่ทั้ง ๒ ชั้น โตประมาณ เท่าหัวของเหา มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณจิต อย่างหนึ่ง เป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งจักขุทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๒. โสตปสาท มีวจนัตถะว่า โสตวิญญาณธิฏฐิติ หุตวา สทท์ สุณาตีติ = โสต์ รูปใดเป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิต และย่อมได้ยินเสียง ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า โสตะ ได้แก่ โสตปสาท
อีกนัยหนึ่ง สทท์ สุณนุติ เอเตนาติ = โสตํ (วา) สทเท สุยยนต์ เอเตนาติ = โสต์ จิต เจตสิกเหล่านั้นย่อมได้ยินเสียง โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุแห่งการได้ยิน ของจิต เจตสิกเหล่านั้นชื่อว่า โสตะ ได้แก่ โสตปสาท (หรือ) สัตว์ทั้งหลายที่ได้ยินเสียง โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุแห่งการได้ยินของสัตว์เหล่านั้นชื่อว่า โสตะ ได้แก่ โสตปสาท
ในวจนัตถะข้อที่ ๑ เป็นการแสดงโดยฐานยูปจารนัย คือนัยโดยอ้อม ส่วนใน วจนัตถะ อีก ๒ ข้อนั้น เป็นการแสดงโดยมุขยนัย คือนัย โดยตรง
โสตปสาทนี้เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่อง รับเสียงต่างๆ ตั้งอยู่ภายในช่องหูที่มีสัณฐานเหมือนวงแหวน เป็นที่งอกแห่งขนแดงเส้น ละเอียด โสตปสาทแผ่อยู่ทั่วบริเวณนั้น มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิต อย่างหนึ่ง เป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งโสตทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๓. ฆานปสาท มีวจนัตถะว่า ฆายตีติ = มาน รูปใดย่อมสูดดมกลิ่น รูปนั้นชื่อว่า ฆานะ ได้แก่ ฆานปสาท การแสดงวจนตถะนัยนี้ เป็นการแสดง โดยฐานยูปจารนัย คือแสดง โดยอ้อม เพราะฆานปสาทไม่สามารถตมกลิ่นได้ ฆานวิญญาณจิตที่เกิดขึ้น โดยการอาศัย ฆานปสาทต่างหาก เป็นผู้คมและกลิ่นได้ แต่ที่แสดงวจนัตถะเช่นนี้ เป็นการแสดงที่มีความ หมายว่า การดมกลิ่นของฆานวิญญาณจิตนั้นตั้งอยู่ในฆานปสาท แล้วยกเอามานปสาทขึ้น มาแสดงเหมือนกับว่าฆานปสาทนี้เป็นผู้ดมกลิ่นนั้นเองซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับคําพูดที่กล่าวว่า “บ้านนั้นเกะกะมาก” ที่กล่าวอย่างนี้ ก็มุ่งหมายเอาคนที่อยู่ในบ้านนั้น เพราะบ้านเกะกะไม่ดี คนในบ้านนั้นเกะกะต่างหาก
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ฆายนุติ เอเตนาติ - ฆาน (วา) ฆายียนติ เอเตนาติ = ฆานํ สัตว์ทั้งหลายย่อมสูดดมกลิ่นด้วยรูปใด ฉะนั้น รูปซึ่งเป็นเหตุแห่งการสูดดมกลิ่นของ สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่า มานะ (หรือ) สัตว์ทั้งหลายพึงดมกลิ่นด้วยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุ แห่งการฟังคมกลิ่นของสัตว์ทั้งหลายนั้นจึงชื่อว่า ฆานะ
วจนัตถะ ๒ นัยนี้ เป็นการแสดงโดยมุขยนัย (นัยโดยตรง) ฆานปสาทนี้เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็น เครื่องรับกลิ่นต่างๆ ตั้งอยู่ภายในช่องจมูกที่มี สัณฐานดังกีบแพะ มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งฆานวิญญาณจิตอย่างหนึ่ง เป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่ง ฆานทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๔. ชิวหาปสาท มีวจนัตถะแสดงว่า ชีวิตํ อวหายตีติ = ชิวหา รูปใดมีสภาพ คล้ายกับว่าเรียกซึ่งรสที่เป็นเหตุให้อายุยืน ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า ชิวหา
ชิวหานี้แยกออกเป็น ๒ บท คือ ชีวิต + อวฺหา คําว่า ชีวิต แปลว่า อายุ แต่ในที่ นี้แปลว่า รส เพราะอายุที่จะตั้งอยู่ได้นั้นก็ต้อง อาศัยรส คือการกินอาหารต่างๆ มีเปรี้ยว หวาน เป็นต้น อายุจึงจะตั้งอยู่ได้นาน ฉะนั้น จึงยกเอาชีวิตที่เป็นชื่อของอายุอันเป็นผลของ รสนั้นขึ้นตั้งไว้ในเหตุ คือ รส แล้วเรียกรสต่างๆ นั้นว่า ชีวิต แต่เป็นการเรียกโดยผลูปจารนัย คือ นัยโดยอ้อม
คําว่า อวฺหา แปลว่า เรียก เมื่อรวมอยู่กับคําว่า ชีวิต แล้ว ก็หมายถึงเรียกรส ต่างๆ นั้นเอง เพราะธรรมดาชิวหาปสาทนี้ย่อมน้อม อยู่ในรสต่างๆ ซึ่งเป็นที่พอใจของ ชิวหาวิญญาณให้มาสู่ตน
เมื่อรวมบทว่า ชีวิต กับบทว่า อวหา เข้าด้วยกันแล้ว ก็เป็นชิวหา คือบทว่า ชีวิต นั้น แปลง อี เป็น อิ, วิ กับ ตะ ทั้ง ๒ นี้ลบออก คําว่า อวหา ลบเอา อะ ออก เหลือ แต่ วหา ฉะนั้น เมื่อรวมแล้วจึงเป็นชิวหา
ชิวหาปสาทนี้เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็น เครื่องรับรสต่างๆ ตั้งอยู่ในท่ามกลางลิ้นที่มีสัณฐาน เหมือนปลายกลีบดอกอุบล มีหน้าที่ให้ สําเร็จกิจ ๒ อย่างคือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณอย่างหนึ่ง และเป็นทวารอัน เป็นที่เกิด แห่งชิวหาทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
๕. กายปสาท มีวจนัตถะแสดงว่า กุจฉตาน เกสาหิน ปาปธมุมานญจ อาโยติ = กาโย รูปใดเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่างๆ มีผมเป็นต้น ที่น่าเกลียด และเป็นที่ ประชุมแห่งอกุศลธรรม ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า กายะ ได้แก่ ร่างกายทั้งหมด
สําหรับกายปสาทชื่อว่า กายะ นั้น เป็นการแสดงโดยอ้อม เรียกว่าเอกเทสยูปจาร นัย คือยกเอาคําว่า กายะ ที่เป็นชื่อของร่างกายทั้งหมด นั้นมาตั้งในกายปสาท ที่เป็นส่วนหนึ่ง ของร่างกายนั้น
หรืออีกนัยหนึ่ง กายปสาท ชื่อว่า กายะ นั้น เป็นการแสดงโดยฐานูปจารนัย คือ ยกเอาคําว่า กายะ ที่เป็นชื่อของร่างกายซึ่งเป็น ที่เกิดแห่งกายปสาทมาตั้งในกายปสาทที่เป็น ผู้อาศัยเกิด
กายปสาทนี้เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่อง รับสิ่งสัมผัสต่างๆ มี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กายปสาทนี้เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป ยกเว้นแต่ปลายผม ขน เล็บ หนังที่หนา และที่รวมแห่งอาหารใหม่ใต้ไส้ใหญ่ อันเป็นสถาน ที่ของปาจกเตโช มีหน้าที่ให้สําเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณ อย่างหนึ่ง และเป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่ง กายทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ ทั้ง ๕ รูปนี้ชื่อว่า ปสาทรูป เพราะมีสภาพ ใส สามารถรับอารมณ์ของตนๆ ได้ ทั้งมีวจนัตถะแสดงว่า ปสีทตีติ = ปสาโท รูปใดมี ความใส ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า ปสาท
วิสยรูป หรือ โคจรรูป ๗
๑. รูปารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า รูปยติ หทองคตภาว ปกาเสตีติ = รูปํ รูปใดย่อมแสดงถึงความรู้สึกของจิตใจให้ปรากฏ ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า รูปารมณ์ หรือ รูปยติ ทพพ ปกาเสตีติ = รูป รูปใดย่อมแสดงวัตถุสิ่งของ รูปร่างสัณฐานให้ปรากฏ ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า รูปารมณ์
อธิบายว่า คนที่กําลังมีความดีใจ เสียใจ กลุ้มใจ กลัว อาย เป็นต้น เหล่านี้ ผู้อื่น เมื่อแลเห็นหน้าตาท่าทางของผู้นั้นแล้ว ก็รู้ได้ว่าผู้นั้น กําลังดีใจ เสียใจ กลุ้มใจ กลัวอายอยู่ ในการที่ผู้อื่นรู้ได้ ก็เพราะรูปารมณ์นั้นเองเป็นผู้แสดงความรู้สึกของผู้นั้นให้ปรากฏออกมา หรืออีกนัยหนึ่ง วัตถุสิ่งของต่างๆ ก็ดี รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่มีชีวิต ไม่มีชีวิตที่ดี ที่ปรากฏ ให้รู้ได้นั้น ก็เพราะอาศัยรูปารมณ์นั้นเองเป็นผู้กระทําให้ปรากฎ รูปารมณ์ที่เป็นผู้กระทําให้ สิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตปรากฏให้ผู้อื่นรู้ได้นั้น ก็ได้แก่สีต่างๆ นั้นเอง
๒. สัททารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า สททียติ อุจจารียตติ = สุทโท รูปใดที่ เปล่งออกมาได้ ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า สัททะ ได้แก่เสียงที่ สัตว์ทั้งหลายเปล่งออกมา หรือ สปปติ โสตวิญเณยุยภาว คจฉตีติ = สทโท รูปใดย่อมถึงสภาพที่ทําให้โสตวิญญาณ รู้ได้ ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า สัททะ
ในวจนัตถะข้อแรก มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่เสียงของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดที่ต้องใช้เปล่ง ออกมา เช่น เสียงที่คนพูด และเสียงที่สัตว์ต่างๆ ร้อง ส่วนในวจนัตถะข้อหลัง หมายถึง เสียงของสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตทั้งหมด เพราะเสียงเหล่านี้เป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณได้ คือ ได้ยิน ได้นั้นเอง
๓. คันธารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า คนธยติ อตฺตโน วตถ์ สูเจตีติ = คนโธ รูปใดย่อมแสดงให้ที่อาศัยของตนปรากฏ ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า คันธะ อธิบายว่า กลิ่นต่างๆ ชื่อว่า คันธารมณ์ เพราะเป็นรูปที่แสดงถึงวัตถุสิ่งของที่ตน อาศัยอยู่นั้นให้ปรากฏรู้ได้ เช่น ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม หรือน้ําหอมต่างๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะอยู่ในที่ใดก็ตาม เมื่อคันธารมณ์ได้มีโอกาสแผ่ตัวออกมาแล้วย่อมทําให้คนทั้งหลายรู้ได้ ทันทีว่า นี่เป็น กลิ่นดอกไม้ นี่เป็นกลิ่นน้ำหอม และรู้ด้วยว่าดอกไม้หรือน้ำหอมนั้นอยู่ที่ไหน คล้ายๆ กับว่า คันธารมณ์นี้เมื่อได้สมาคมกับวาโยธาตุแล้ว ก็ไปกระจายข่าวให้คนทั้งหลายรู้ ว่าดอกไม้อยู่ที่นั่น น้ำหอมอยู่ที่นี่ ด้วยเหตุนี้ท่านฎีกาจารย์บางท่านจึงแก้คําว่า "สูเจติ” ว่า “อิทเมตุถ อตีติ เปสุญญ่ กโรนต์ วิย โหติ” คันธารมณ์นี้มีสภาพคล้ายกับสื่อว่าวัตถุ สิ่งของนั้นๆ อยู่ที่นี่
๔. รสารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า รสียต อสุสาที่ยตีติ = รโส รูปใคชิวหวิญญาณจึงยินดีพอใจ ฉะนั้น รูปที่เป็นที่พอใจของชิวหา วิญญาณนั้น ชื่อว่า รสะ อธิบายว่า รสารมณ์ อันได้แก่รสต่างๆ นั้น จะเป็นรสที่ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ย่อมเป็น ที่พอใจแก่ชิวหาวิญญาณทั้งสิ้น คําว่า พอใจ ในที่นี้หมายถึงการรู้รสนั้นเอง มิได้มุ่งหมายถึง บุคคล เพราะธรรมดาบุคคลนั้นย่อมพอใจแต่ในรสที่ดีๆ เท่านั้น รสที่ไม่ดีก็ย่อมไม่พอใจ สําหรับชิวหาวิญญาณนั้นรสดีก็ตามไม่ดีก็ตาม ก็ย่อมยินดีที่จะลิ้มรสนั้นๆ ทั้งสิ้น
๕. โผฏฐัพพารมณ์ มีวจนัตถะแสดงว่า ผุสิตพุพนุติ = โผฏฐพพ์ รูปใด กาย ปสาทจึงถูกต้อง ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า โผฏฐัพพะ
โผฏฐพพารมณ์ มี ๓ อย่าง คือ
๑) ปถวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ อ่อน แข็ง
๒) เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน
๓) วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ หย่อน ตึง
ฉะนั้น โผฏฐัพพารมณ์ทั้ง ๓ นี้ ก็ได้แก่ มหาภูตรูป ๓ เว้นอาโปนั้นเอง สําหรับอาโปนั้น กายปสาทกระทบไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่เข้าอยู่ใน โผฏฐัพพารมณ์
ในน้ำธรรมดาหรือน้ำแข็ง มีอาโปธาตุมากที่สุด แต่ในเวลาที่เราเอามือไปจุ่มน้ำ และ รู้สึกว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ได้นั้น ก็เป็นเพราะปถวี เตโชที่อยู่ในน้ำนั้นเอง สําหรับอาโปที่ อยู่ในน้ำนั้น ไม่ใช่เป็นรูปที่กระทบได้ ฉะนั้น จึงรู้ด้วยกายวิญญาณ ไม่ได้ รู้ได้โดยการ นึกคิดเอาเท่านั้น ดังเช่นในเวลาที่เราแลเห็นวัตถุสิ่งของที่มีรูปร่างเหลี่ยม กลม ยาว ได้นั้น ความจริงเราไม่ได้แลเห็นเหลี่ยม กลม ยาว ของวัตถุนั้นๆ เลย เราเห็นแต่สีต่างๆ ที่อยู่ใน วัตถุนั้นๆ ต่างหาก และที่รู้ได้ว่าวัตถุนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม วัตถุนี้เป็นรูปกลมเหล่านี้ เรารู้ได้ ด้วยการนึกคิดเอานั้นเอง เพราะเหลี่ยมหรือกลมเหล่านี้ไม่ใช่เป็นรูปารมณ์ เป็นธรรมารมณ์ ฉะนั้น จึงเห็นด้วยตาไม่ได้ รู้ได้ด้วยใจเท่านั้น
ดังที่ยกตัวอย่างแสดงมานี้ ก็ทําให้เห็นว่าอาโปธาตุที่อยู่ในน้ำก็เช่นเดียวกันคือ กระทบไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นโผฏฐัพพารมณ์ แต่เป็นธรรมารมณ์ ซึ่งจะรู้ได้ด้วยอาศัยการ คิดนึกเท่านั้น
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และ โผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม ๓ รูป นี้ชื่อว่า วิสยรูป เพราะเป็นรูปชนิดที่เป็นอารมณ์ ของจิต เจตสิก ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กายโดยตรง และที่เรียกว่า โคจรรูป นั้น ก็เพราะเป็นที่โคจรแห่งจิต เจตสิก ที่เกิดในทวารทั้ง ๖ ดังแสดงวจนัตถะว่า คาโว จรนุติ เอตถาติ = โคจโร, โคจรสที่สาติ = โคจรา โคทั้งหลายย่อมท่องเที่ยวไปในที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า โคจร ได้แก่สถานที่ที่โค ทั้งหลายท่องเที่ยวไป รูปเหล่าใดเป็นที่เที่ยวไปแห่งฉทวาริกจิต เหมือนเป็นที่เที่ยวไปแห่งโค ทั้งหลาย ฉะนั้น รูปเหล่านั้น ชื่อว่า โคจร
วจนัตถะตามที่แสดงมานี้ เป็นการแสดงโดยสที่สูปจารนัย คือแสดงโดยการ เปรียบเทียบ
อีกนัยหนึ่ง แสดงโดยมุขยนัย ดังนี้ล
คาโว จรนติเอตถาติ - โคจร อินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุนทรีย์เป็นต้น ย่อมท่องเที่ยว อยู่ในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นนั้น ฉะนั้น อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นนั้น ชื่อว่า โคจร ในที่นี้คําว่า “โค” แปลว่า อินทรีย์ คําว่า “โคจร” กับ “อารมุมณ" มีความหมายอย่าง เดียวกัน
หมวดที่ ๓
รูปสมุฏฐานนัย
แสดงธรรมที่เป็นเหตุให้รูปเกิดและ การเกิดขึ้นของรูปโดยอาศัยเหตุเหล่านั้น
ธรรมที่เป็นเหตุให้รูปเกิดขึ้นนั้น มีอยู่ ๔ อย่างคือ ๑. กรรม ๒. จิต ๓. อุตุ ๔. อาหาร
๑. กรรม หมายถึงการกระทําที่เกี่ยวด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง ที่ได้ทํามาแล้วในภพก่อนหรือภพนี้ ได้แก่ กรรม ๒๕ คือ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รวมกรรม ๒๕ นี้ ทําให้ก้มมชรูปเกิดขึ้นในสันดานของ สัตว์ทั้งหลาย ทุกๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา
๒. จิต ได้แก่ จิต ๓๕ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวินาท ๔ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ ทั้งหลาย และจุติจิตของพระอรหันต์) เจตสิก ๕๒ ที่ในปัจจุบันภพ ทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้น ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ทุกๆ อุปปาทักขณะของจิตนับตั้งแต่ปฐมภวังค์ ที่ต่อจากปฏิสนธิ จิตเป็นต้นมา
๓. อุตุ ได้แก่ สีตเตโช ความเย็น อุณหเตโช ความร้อน ที่อยู่ภายในสัตว์และ ภายนอกสัตว์ ทําให้อุตุชรูปเกิดขึ้น สําหรับภายในสัตว์ ให้เกิดขึ้นทุกๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ฐิติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา ส่วนความเย็นและความร้อนที่อยู่ภายนอกสัตว์นั้น เวลาใดปรากฎเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว เวลานั้นทําให้อุตุชรูปเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ ไปไม่ขาดสาย
๔. อาหาร ได้แก่ โอชาที่อยู่ในอาหารต่างๆ ทําให้อาหารชรูปเกิดขึ้นในสันดาน ของสัตว์ทั้งหลายทุกๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่โอชา ของอาหารนั้นแผ่เข้าไปในร่างกายของ สัตว์นั้นๆ เรียบร้อยแล้ว อธิบายในสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ทําให้รูปเกิด
๑. กรรมสมุฏฐาน กรรมทั้งหมดมีจํานวน ๓๓ คือ อกุศลกรรม ๑๒ กุศลกรรม ๒๑ รวมเป็น ๓๓ แต่ในกรรมสมุฏฐานเอาแต่กรรม ๒๕ เว้นอรูปกุศลกรรม ๔ โลกุตตร กุศลกรรม ๔ รวม ๘ ในการที่เว้นกุศลกรรมทั้ง ๘ ออกเสีย ก็เพราะว่ากุศลกรรมเหล่านี้ ไม่ได้ทําให้รูปเกิด คือ อรูปกุศลกรรม ๔ เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญกรรมฐาน ชนิดรูปวิราคภาวนา คือ การปราศจากความยินดีในรูป ฉะนั้นด้วยอํานาจแห่งรูปวิราค ภาวนานี้แหละจึงไม่ทําให้กัมมชรูปเกิด ส่วนในโลกุตตรกุศลกรรมทั้ง ๔ นั้น เป็นกรรมที่เกิดขึ้น โดยอาศัยการเจริญกรรมฐาน ชนิดที่เห็นไตรลักษณ์ในรูปนามขันธ์ ๕ เป็นกรรมชนิดที่ทําลายภพชาติและกัมมชรูปนั้นก็เป็นตัวภพตัวชาติอยู่แล้ว ฉะนั้นโลกุตตรกุศลกรรมทั้ง ๔ นี้ จึงไม่ทําให้กัมมชรูปเกิด
๒. จิตตสมุฏฐาน จิตทั้งหมดมีจํานวน ๘๕ แต่ในจิตตสมุฏฐานนี้เอาแต่จิต ๓๕ เว้นออกเสีย ๑๔ ดวง คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาท ๔ และปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลาย จุติจิตของพระอรหันต์ ในการที่เว้นจิต ๑๔ ดวงออกเสีย ก็เพราะว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นั้นมีกําลังอ่อน ไม่สามารถทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้ อรูปวิปากจิต ๔ นั้น เป็นผลที่เกิดจากอรูปกุศล และเป็น ตัวอรูปภพที่ปราศจากรูปอยู่แล้ว ฉะนั้น จึงไม่สามารถทําให้จิตตธรูปเกิดได้
ส่วนปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลาย และจุติจิตของพระอรหันต์นั้น ไม่มีจํานวนจิตที่จะยกเว้น โดยเฉพาะมุ่งหมายเอาขณะที่ทําหน้าที่ปฏิสนธิ และจุติเท่านั้น หมายความว่า จิตที่ ทําหน้าที่ปฏิสนธิมี ๑๕ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ รูปวิปากจิต ๕ อรูปวิปากจิต ๔ เหล่านี้ สําหรับอรูปาวจรวิปากจิต ๔ ได้อธิบายแล้วข้างต้น ส่วนปฏิสนธิ จิตที่เหลือ ๑๕ ดวงนั้น ในขณะที่เกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่นั้น ยังมีกําลังอ่อนอยู่ จึงไม่สามารถทําให้จิตตธรูปเกิดได้ และจุติจิตของพระอรหันต์มี ๑๓ ดวง คือ มหาวิบากญาณ สัมปยุตตจิต ๔ รูปวิปากจิต ๕ อรูปวิปากจิต ๔ เหล่านี้ สําหรับอรูปวิปากจิต ๔ นั้น มี ข้อความเช่นเดียวกันกับที่ได้อธิบายข้างต้นนั้น ส่วนจุติจิตที่เหลืออีก ๙ ดวง เป็นจุติจิตของพระอรหันต์ที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว ฉะนั้น จึงไม่ทําให้จิตตธรูปเกิด แต่จิต ๙ ดวง นี้ ถ้าทําหน้าที่จุติของบุคคลอื่น ที่นอกจากพระอรหันต์แล้ว สามารถทําให้จิตตธรูปเกิดขึ้นได้
อนึ่ง จิต ๗๕ ดวงที่ทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้นั้น ก็ตรงที่อุปปาทักขณะของตนๆ เท่านั้น ส่วนฐิติขณะ และภังคักขณะของคนๆ นั้น ไม่สามารถทําให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้ ก็เพราะธรรมดานามธรรมทั้งหลาย ย่อมมีกําลังตรงที่อุปปาทักขณะ ขณะเดียว เมื่อถึงฐิติขณะ และภังคักขณะนั้นกําลังอ่อนลงแล้ว ฉะนั้น จิต ๗๕ ดวงเหล่านี้ จึงทําให้จิตตธรูปเกิด ขึ้นได้ที่อุปปาทักขณะของตนๆ เท่านั้น
๓. อุตุสมุฏฐาน สําหรับคําอธิบายในอุตุสมุฏฐานนี้ แสดงชัดเจนอยู่แล้วในตอนต้น จึงไม่ต้องแสดงอีก
๔. อาหารสมุฏฐาน โอชาที่ทําให้อาหารชรูปเกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เฉพาะแต่โอชาที่ อยู่ในอาหารต่างๆ เท่านั้น แม้ในยาบางชนิด เช่น วิตามินต่างๆ ก็มีโอชาอยู่ด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อใช้ฉีดหรือกินหรือทาแล้ว ก็ทําให้อาหารชรูปเกิดแก่ผู้นั้นได้เช่นเดียวกัน และ โอชานี้มีอยู่ทั้งภายในสัตว์และภายนอกสัตว์ เรียกว่า อัชญัตตโอชา และ พหิทธ โอชา สําหรับ โอชาที่แสดงแล้วในตอนต้นนั้นเป็นพหิทธโอชา ส่วน อัชญัตตโอชา นั้น ได้แก่ กัมมชโอชา และ อุตุชโอชา ที่เกิดอยู่ภายในร่างกายของสัตว์นั้นเอง ในโอชาทั้ง ๒ อย่างนี้ อัชญัตตโอชา ทําหน้าที่อุปถัมภ์ช่วยให้อาหารชรูปเกิดขึ้น เรียกว่า อุปถัมภกสัตติ ส่วนพหิทธโอชาทํา หน้าที่ให้อาหารชรูปเกิดขึ้น โดยตรง เรียกว่า ชนกสัตติ ในอัชญัตตโอชาทั้ง ๒ คือ กัมมชโอชา และอุตุชโอชานั้น กัมมชโอชาสําคัญมาก ในการงานที่ช่วยอุปถัมภ์ให้อาหารชรูปเกิด มากกว่าอุตุชโอชา
ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาแสดงว่า ในมนุษย์โลกผู้ที่ได้กินอาหารเต็มที่ครั้งหนึ่งแล้ว จะรักษาร่างกายของผู้นั้นให้อยู่ได้ภายใน ๗ วัน โดยไม่ต้องกินอะไรอีก สําหรับในเทวโลก นั้น อาหารทิพย์ของพวกเทวดาที่เสวยครั้งหนึ่งนั้น จะรักษาร่างกายให้อยู่ได้ตลอดหนึ่งเดือน หรือ สองเดือน โดยไม่ต้องเสวยอีกเช่นเดียวกัน ที่เป็นได้เช่นนี้ก็เพราะว่า โอชาที่อยู่ใน อาหารที่กินเข้าไปนั้นเข้าไปผสมกับกัมมชโอชาที่อยู่ภายใน ร่างกาย แล้วก็ทําให้อาหารชรูป เกิดขึ้นตลอด ๗ วัน ในมนุษย์โลก และเกิดขึ้นตลอดหนึ่งเดือนหรือสองเดือนในเทวโลก สําหรับทารกที่อยู่ใน ครรภ์มารดานั้น เมื่อมารดากินอาหารเข้าไปแล้วภายใน ๒ สัปดาห์ หรือ ๓ สัปดาห์ โอชาก็แผ่ซึมซาบเข้าสู่ร่างกายของทารกที่ยังเป็น อัพพุทะหรือเปสนั้น แล้วก็ ทําให้อาหารชรูปเกิดขึ้นแก่ทารกนั้นได้
ในมูลปัณณาสอรรถกถาแสดงว่า ธรรมตาอาหารต่างๆ นั้น เมื่อเข้าไปในปากของ ผู้ที่กินนั้นแล้ว ก็ทําให้อาหารชสุทธัฏฐกกลาป เกิดขึ้นได้ เมื่อเคี้ยวและกลืนลงไปแล้ว โอชา ที่อยู่ในอาหารเมล็ดหนึ่งๆ นั้น ทําให้อาหารชสุทธัฏฐกกลาปเกิดขึ้นได้ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า อาหารชรูปที่เกิดอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมเกิด ตลอดเวลาติดต่อกันไม่ขาดสาย ตราบจนสิ้นชีวิต
จําแนกโสมนัสกามชวนะ ๑๓ ที่ทําให้การหัวเราะเกิดโดยบุคคล ๓ จําพวก
๑. ปุถุชนหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ โลภมูลโสมนัส ๔ มหากุศล โสมนัส ๔
๒. ผลเสกขบุคคล ๓ หัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง คือ ทิฏฐิคตวิปปยุตตโสมนัส ๒ มหากุศล โสมนัส ๔
๓. พระอรหันต์หัวเราะด้วยจิต ๕ ดวง คือ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากริยาโสมนัส ๔
จบ รูปสมุฏฐานนัย
กัมมชรูป ๑๙ ที่เกิดได้ในปฏิสนธิกาลนั้น ถ้าจัดเป็นกลาปแล้ว ก็ได้แก่กัมมชกลาป ๙ นั้นเอง และในกัมมชกลาป ๙ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมดแก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไปในปฏิสนธิขณะ ต้องแล้วแต่กําเนิดของสัตว์ และภูมิตามสมควร
กําเนิดหรือโยนิ
กําเนิดของสัตว์ทั้งหลาย มี ๓ หรือ ๔ คือ
๑. สังเสทชะกําเนิด หมายถึง เกิดในที่ที่มียางเหนียว
๒. โอปปาติกะกําเนิด หมายถึง เกิดผุดขึ้นโตทันที คล้ายกับว่าตกลงมาจาก
๓. คัพภเสยยกะกําเนิด หมายถึง เกิดในครรภ์มารดา คัพภเสยยกะกําเนิด แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
- ๑. อัณฑซะกําเนิด หมายถึง เกิดในฟอง
- ๒. ซลาพุซะกําเนิด หมายถึง เกิดในมดลูก
อธิบายในกําเนิดทั้ง ๔
๑. สังเสทชะกําเนิด สัตว์ทั้งหลายที่ปฏิสนธิด้วยสังเสทซะกําเนิดนี้ ไม่ต้องอาศัย มีบิดา มารดา อาศัยเกิดจากต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ โลหิต น้ำโสโครก เป็นต้น เช่น นางจิญจมานวิกา เกิดจากต้นมะขาม นางเวหุวดี เกิดจากต้นไผ่ นางปทุมวดี เกิดจากคอกบัว โอรสของ นางปทุมวดี ๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต พวกหนอนต่างๆ ที่เกิดจากผลไม้ หรือสิ่ง โสโครก เหล่านี้เป็นต้น แต่สัตว์ที่เป็นสังเสทชะกําเนิดนี้ ไม่ได้เกิดโตขึ้นมาที่เดียว ค่อยๆ เติบโตคล้ายกับพวกคัพภเสยยกะ
๒. โอปปาติกะกําเนิด สัตว์ที่ปฏิสนธิด้วยโอปปาติกะกําเนิดนี้ ไม่ต้องอาศัยอะไร ทั้งหมด อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว และเมื่อเกิดนั้นก็เติบโต ขึ้นที่เดียว เช่น พวกสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม มนุษย์ในสมัยต้นกับ
๓. อัณฑชะกําเนิด สัตว์ทั้งหลายที่ปฏิสนธิด้วยอัณฑชะกําเนิดนี้ ต้องอาศัยเกิด จากท้องมารดา แต่เมื่อปฏิสนธิทีแรกนั้น ต้องอยู่ในฟองเสียก่อน เมื่อมารดาคลอดฟองออก มาแล้ว สัตว์นั้นจึงจะคลอดจากฟองอีกทีหนึ่ง การเกิดของสัตว์พวกนี้ค่อยๆ เติบโตขึ้นตาม ลําดับ ได้แก่ พวกไก่ เป็ด นก กา จิ้งจก ตุ๊กแก งู เป็นต้น
มนุษย์ที่เป็นอัณฑชะกําเนิดก็มี เช่น พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า ทเวพาติกเถระ ซึ่ง เป็นลูกของโกนตะกินรีนั้น เมื่อเกิดที่แรกเกิด ออกมาเป็นฟองไข่ก่อนแล้วจึงคลอดออกมา จากฟองอีกที่หนึ่ง เรื่องนี้แสดงไว้ในธัมมบท
๔. ชลาพุชะกําเนิด สัตว์ทั้งหลายที่ปฏิสนธิด้วยชลาพุชะกําเนิดนี้ ต้องอาศัยเกิด จากท้องมารดาเช่นเดียวกัน แต่ไม่ต้องมีฟองหุ้ม ห่อเช่นอย่างพวกอัณฑชะกําเนิด และการ เกิดของสัตว์พวกนี้ก็ค่อยๆ เกิดเติบโตขึ้นตามลําดับ ได้แก่พวกมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ที่นอก จากพวกอัณฑชะกําเนิด
แสดงการเกิดขึ้นของจิตตชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป
ในภพหนึ่งๆ นั้น จิตดวงแรกที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายนั้น ได้แก่ ปฏิสนธิจิต เมื่อ ปฏิสนธิจิตดับลงแล้ว จิตดวงที่ ๒ ที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิต ได้แก่ ปฐมภวังค์ จิตตชรูป ตั้งต้นขึ้นที่อุปปาทักขณะของปฐมภวังค์นี้ และย่อมเกิดขึ้นต่อๆ ไปทุกๆ อุปปาทักขณะของจิต ส่วนฐิติขณะและ ภังคักขณะของจิตนั้น จิตตธรูปไม่เกิด เพราะธรรมดาจิต เจตสิกนั้นย่อมมี กําลังอยู่ที่ตรงอุปปาทักขณะเท่านั้น
อุตุชรูป ตั้งต้นเกิดขึ้นที่ฐิติขณะของปฏิสนธิจิต และย่อมเกิดขึ้นต่อไปทุกๆ ขณะ ของจิต เพราะอุตุชรูปนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยอุด เป็นสมุฏฐาน มิใช่เกิดจากจิต เจตสิก เป็นสมุฏ ฐาน ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นได้ทุกๆ ขณะของจิต
อาหารชรูป สําหรับสังเสทชะและโอปปาติกะบุคคลนั้น เมื่อปฏิสนธิขึ้นแล้ว ต่อ จากนั้นก็กินอาหารได้ทันที ฉะนั้น อาหารชรูปของ บุคคล ๒ จําพวกนี้ จึงตั้งต้นเกิดขึ้นที่ มโนทวารวิถี ที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิสนธิจิต และ ภวังคจิต และย่อมเกิดขึ้นต่อไปทุกๆ ขณะ ของจิต เพราะอาหารชรูปเกิดขึ้น โดยอาศัยอาหารเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่เกิดจากจิต เจตสิก เป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นได้ทุกๆ ขณะของจิต เช่นเดียวกันกับอุตุชรูป
ส่วนอาหารชรูปที่เกิดในพวกคัพภเสยยกะบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเมื่ออาหารต่างๆ ที่ มารดาบริโภคเข้าไปนั้น แผ่ซึมซาบไปในร่างกาย ของสัตว์ที่อยู่ในครรภ์มารดา ระยะเวลาที่อาหารตั้งต้นแผ่ซึมซาบเข้าไปเลี้ยงร่างกายของสัตว์ที่ปฏิสนธินั้น ในสัปดาห์แรกที่ยังเป็น กลละสัตตาหะอยู่นั้น อาหารยังแผ่ไปไม่ได้ ต่อเมื่อถึงสัปดาห์ที่ ๒ หรือสัปดาห์ที่ ๓ ที่เป็น อัพพุทะสัตตาหะ และเปสิสัตตาหะ อาหารจึงจะเริ่มแผ่เข้าไปสู่ร่างกายของสัตว์นั้นได้ และ เมื่ออาหารชรูปเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดต่อไปทุกๆ ขณะของจิต ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง แสดงไว้ในสคาถาวัดค ยักขสังยุตตพระบาลี ว่า ยญจสุส ภุญซต มาตา อนุน์ ปานญจ โภชน์ เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มตุกจุคโต นโรติ
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว