ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๙ เล่ม ๒ วิปัสสนากรรมฐาน รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
วิสุทธิ ๗
ในวิปัสสนากรรมฐานนี้ การสงเคราะห์วิสุทธิ โดยมี ๗ ประการ คือ
๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล
๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นจากความสงสัย
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นมัคคปฏิปทาและไม่ใช่มัคคปฏิปทา
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณอันเป็นเครื่องดําเนินไปสู่ มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งโดย ส่วนเดียวของญาณ
๒. ลักษณะ ๓
ลักษณะมี ๓ อย่าง คือ
๑. อนิจจลักขณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง
๒. ทุกขลักขณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์
๓. อนัตตลักขณะ ลักษณะทีเป็นอนัตตา
๓. อนุปัสสนา ๓
อนุปัสสนามี ๓ อย่าง คือ
๑. อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง
๒. ทุกขานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นทุกข์
๓. อนัตตานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา
๔. วิปัสสนาญาณ ๑๐
วิปัสสนาญาณ ๑๐ ประการ คือ
๑. สัมมสนญาณ ปัญญาที่พิจารณาลักษณะทั้ง ๓ ของรูปนาม
๒. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของรูปนาม
๓. ภังคญาณ ปัญญาเห็นความดับไปของรูปนาม
๔. ภยญาณ ปัญญาเห็นรูปนามเป็นภัยที่น่ากลัว
๕. อาทีนวญาณ ปัญญาเห็นโทษของรูปนาม
๖. นิพพิทาญาณ ปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม
๗. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาอยากหนีให้พ้นจากรูปนาม
๘. ปฏิสังขาญาณ ปัญญาพิจารณาไตรลักษณะของรูปนามอย่างกว้างขวาง
๘. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาหาทางแล้ววางเฉยต่อรูปนาม
๑๐. อนุโลมญาณ ปัญญาเห็นสอดคล้องกับวิปัสสนาญาณ ๘ (อุทยัพพยญาณ สังขารุเปกขาญาณ) ข้างต้น และถึงพร้อมด้วยกําลังเพื่อให้มรรคญาณเกิด
๕. วิโมกข์ ๓
วิโมกข์มี ๓ อย่าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยความเป็นของสูญ
๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
๖. วิโมกขมุข ๓
วิโมกขมุขมี ๓ อย่าง
๑. สุญญตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าเป็นของสูญ
๒. อนิมิตตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
๓. อัปปณิหิตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
แสดงวิสุทธิ ๗ ตามอภิธัมมัตถสังคหบาลี
๑. สีลวิสุทธิ
สีลวิสุทธินั้น ได้แก่อะไร ? ได้แก่ปาริสุทธิศีล ๔ คือ
๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลที่สํารวมในพระปาติโมกข์
๒. อินทรียสังวรศีล ศีลที่สํารวมในอินทรีย์ ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลที่มีอาชีพบริสุทธิ์
๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล ศีลที่อาศัยปัจจัย ๔
ความบริสุทธิ์ทั้ง ๔ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า สีลวิสุทธิ
๒. จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ
๑. อุปจารสมาธิ สมาธิเข้าไปเฉียดใกล้ต่อองค์ฌาน
๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่ คือสมาธิที่ยังฌานให้เกิดขึ้น
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ
การกําหนดรู้รูปนาม ด้วยสามารถแห่งลักษณะ ๑ รส ๑ ปทัฏฐาน ๑ ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ
การกําหนดรู้ปัจจัยแห่งรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิและวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ
ต่อจากกังขาวิตรณวิสุทธิ ในเตภูมิกสังขารธรรมพร้อมทั้งปัจจัย ที่มีประเภท ต่างๆ มีอดีตเป็นต้นซึ่งพระโยคีได้เห็นมาแล้ว โดยอาการดังที่กล่าวมาแล้วในทิฏฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิ์ เมื่อพระโยคีบุคคลกระทําให้สังขารธรรมเหล่านั้น ย่อลงโดยความเป็นหมวดเดียวกัน และปรารภซึ่งเทศนานัย มีขันธ์ เป็นต้น แล้วพิจารณา ไตรลักษณ์ โดยอํานาจกาล โดยอํานาจความสืบต่อ หรือ โดยอํานาจขณะ ด้วยสัมมสนญาณ ว่ารูปนามนี้เป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป ไม่ยั่งยืนมั่นคง เป็น ทุกข์ เพราะอรรถว่าเป็นภัยอันน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่า ไม่มีแก่นสาร ไม่เป็นไปตามอํานาจผู้ใด แล้วพิจารณาความเกิดดับของรูปนาม ในเตภูมิกสังขารธรรมด้วย อุทยัพพยญาณ โดยอํานาจแห่งปัจจัยและโดยอํานาจแห่งขณะ ปัญญาที่ตัดสินเด็ดขาด ในลักษณะแนวทางของวิปัสสนาที่ถูกหรือผิด ด้วยอํานาจแห่งการกําหนดรู้อุปสรรค คือวิปัสสนูปกิเลสมีโอกาสเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ
๑. โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง
๒. ปีติ ได้แก่ ความอิ่มเอิบใจ ๕ อย่าง
๓. ปัสสัทธิ ได้แก่ อาการสงบเงียบ
๔. อธิโมกข์ ได้แก่ ศรัทธาที่มีกําลังแก่กล้า
๕. ปัคคหะ ได้แก่ ความพยายามอย่างแรงกล้า
๖. สุข ได้แก่ ความสบาย
๗. ญาณ ได้แก่ ปัญญาแก่กล้า
๘. อุปัฏฐาน ได้แก่ สติที่ตั้งมั่น
๙. อุเบกขา ได้แก่ อาการวางเฉย
๑๐. นิกันติ ได้แก่ ความยินดีพอใจ
คือความยินดีในอุปกิเลส ๙ ข้างต้น ปัญญานี้แหละ ชื่อว่า มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
วิปัสสนาญาณ ๙ ของโยคาวจรบุคคลนั้น หลุดพ้นจากอันตรายคือวิปัสสนูปกิเลส ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้กําลังปฏิบัติวิปัสสนาเห็นพระไตรลักษณ์ติดต่อกันมา จําเดิมแต่อุทยัพพยญาณ จนถึงอนุโลมญาณ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ
เมื่อพระโยคาวจรบุคคลกําลังปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เพราะอาศัยความแก่รอบของ วิปัสสนา วิปัสสนาจิต ๒ - ๓ ขณะ ปรารภอนิจจลักขณะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นไปในลําดับแห่งมโนทวาราวัชชนะ อันตัดกระแสภวังค์เกิดขึ้นว่า บัดนี้ อัปปนา จักสําเร็จ โดยชื่อว่าปริกรรม อุปจาร อนุโลม
วิปัสสนาญาณใด ถึงซึ่งความเป็นยอด วิปัสสนาญาณนั้น เป็นไปพร้อม ด้วยอนุโลมญาณ ฯ สังขารุเปกขาญาณ ท่านเรียกว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา
ต่อจากนั้น โคตรภูจิต หน่วงนิพพานมาเป็นอารมณ์ แล้วทําลายเสีย ซึ่ง ปุถุชนโคตรและยังอริยโคตร ให้เกิดขึ้น
ในลําดับโคตรภูจิตนั้นนั่นเอง อริยมรรคกําหนดรู้ทุกขสัจ ละสมุทัยสัจ กระทํานิโรธสัจให้แจ้ง หยั่งลงสู่อัปปนาวิถี ด้วยสามารถแห่งการทํามรรคสัจให้เจริญ
ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความไม่เที่ยง มรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์
ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความเป็นทุกข์ มรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์
ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความเป็นอนัตตา มรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์
ต่อจากมรรคญาณนั้นไป ผลจิตที่เกิดขึ้น ๒-๓ ขณะ (ตามสมควรแก่มันทะ และตึกขบุคคล) แล้วดับไป ต่อจากนั้น จิตก็ลงสู่ภวังค์ ปัจจเวกขณญาณทั้งหลาย ตัดกระแสภวังค์ขาดแล้ว ย่อมเกิดขึ้นต่อไป
พระอริยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต ย่อมพิจารณามรรคญาณ ผลญาณ และพระนิพพาน สําหรับกิเลสที่ประหาณแล้ว และกิเลสที่ยังไม่ได้ประหาณ ย่อมพิจารณาบ้าง ไม่ได้พิจารณาบ้าง (แล้วแต่ปริยัติ) อริยมรรค ๔ ประการ ที่เนื่องมาจากการเจริญวิสุทธิ์ ๖ เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ์กรรมฐาน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทของวิสุทธิ ๗ ในวิปัสสนากรรมฐาน
แสดงวิโมกบเภท
๑. ในวิโมกขภทเหล่านั้น อนัตตานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดย ความเป็นอนัตตา ละการยึดมั่นอัตตาเสียได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่าสุญญตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าเป็นของสูญ อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็น อยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง ละนิมิตแห่งวิปัลลาสธรรมเสียได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่า อนิมิตตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ทุกขานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ ละตัณหาปณิธิเสีย ได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่า อัปปณิหิตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
๒. เพราะเหตุนั้น ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา (วิปัสสนาที่ไปสู่ความออก) เห็น แจ้งโดยความเป็นอนัตตา อริยมรรค ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งโดยความไม่เที่ยง อริยมรรค ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์, ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งโดยความเป็นทุกข์ อริยมรรค ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ฉะนั้น อริยมรรคจึง มีชือ ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งการดําาเนินมาของวิปัสสนาฌาณ
๓. ส่วนอริยผล ย่อมมีชื่อ ๓ อย่างเหมือนกับในมรรควิถี ด้วยสามารถแห่ง การดําาเนินมาของอริยมรรค
๔. ก็ในผลสมาบัติวิถี ผลจิตแม้กําลังเกิดขึ้นแก่วิปัสสนาญาณบุคคลในขันธสันดานของตนๆ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ท่านจึงเรียกว่า สุญญตวิโมกข์เป็นต้น ก็ด้วย สามารถแห่งการดําเนินมาของวิปัสสนาญาณ โดยส่วนเดียว
ส่วนหมวดแห่งชื่อทั้ง ๓ ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยบุคคลทั้งหลายแม้ทั้งปวง คือ ในมรรควิถีและผลสมาบัติวิถีทั้งหลายทั้งหมด โดยสม่ําเสมอด้วยสามารถแห่งอารมณ์ และด้วยสามารถแห่งกิจรส และสัมปัตติรส
วิโมกขภทในกรรมฐานสังควิภาค จบเพียงเท่านี้
ปุคคลเภท
การจําแนกประเภทอริยบุคคลและการประหาณกิเลสโดยมรรคทั้ง ๔ ตาม ลําดับ
๑. ในบรรดาประเภทแห่งบุคคลทั้ง ๔ นี้ ผู้ที่เพียรบําเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน จนสําเร็จถึงโสดาปัตติมรรค ได้เป็นผู้ประหาณอกุศลธรรมที่เห็นเหตุนําไปสู่อบาย เพราะได้ประหาณทิฏฐิ และวิจิกิจฉาเสียแล้ว จึงได้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือพระโสดาบันที่จะเกิดในกามสุคติภูมิ อย่างมากเพียง ๗ ชาติเท่านั้น
๒. เมื่อพระโสดาบันเพียรบําเพ็ญวิปัสสนา จนสําเร็จถึงสกทาคามิมรรคแล้ว ได้ ชื่อว่าเป็นสกทาคามี เพราะจะมาเกิดในภูมิอีกชาติเดียว โดยเหตุที่ทําให้ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง (ตนุกรปหาณ)
๓. เมื่อพระสกทาคามีเพียรบําเพ็ญวิปัสสนา จนสําเร็จถึงอนาคามิมรรคแล้ว ได้ ชื่อว่าอนาคามีบุคคล คือ ไม่กลับมาสู่กามสุคติภูมิอีก โดยเหตุที่ได้ประหาณกามราคะ และพยาบาทขาดสิ้น โดยไม่มีเหลือ
๔. เมื่อพระอนาคามีเพียรบําเพ็ญวิปัสสนา จนสําเร็จถึงอรหัตตมรรคแล้ว ได้ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นพระขีณาสพ ผู้ที่ควรได้รับสักการะอย่างเลิศในโลก โดยเหตุที่ได้ประหาณกิเลสทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทอริยบุคคลในวิปัสสนากรรมฐาน
แสดงสมาปัตติเภท
๑. ในประเภทแห่งสมาบัตินี้ ผลสมาบัติ ย่อมเกิดทั่วไป แม้แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งผลจิตเฉพาะตนๆ
๒. ส่วนการเข้านิโรธสมาบัติ ย่อมบังเกิดแก่พระอนาคามี และพระอรหันต์ทั้งหลายเหลานัน
๓. พระอริยบุคคล เข้ามหัคคตสมาบัติมีปฐมฌานเป็นต้น โดยลําดับในสมาบัติ เหล่านั้น แล้วจึงออกจากสมาบัติเหล่านั้น พิจารณาอยู่ซึ่งสังขารธรรมในสมาบัติ เหล่านั้นๆ จนถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สุด ต่อจากลําดับนั้น จึงกระทําซึ่งบุพกิจ มี อธิษฐานก่อนเป็นต้น แล้วจึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
๔. ในกาลต่อมา การสืบต่อมาของจิตแห่งอัปปนาชวนะ คือเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน ๒ ขณะ ของพระอริยบุคคลนั้นย่อมขาดลง
๕. ต่อจากลําดับนั้นไป ท่านชื่อว่าเป็นผู้เข้านิโรธแล้ว
๖. ก็ในการที่ออกจากนิโรธสมาบัตินั้น อนาคามิผลจิตของพระอนาคามี และ อรหัตตผลจิตของพระอรหันต์ ย่อมเป็นไปเพียง ๑ ขณะเท่านั้น แล้วจึงลงสู่ภวังค์ต่อไป
๓. ต่อจากนั้น ปัจจเวกขณญาณย่อมเกิดขึ้น
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทของสมาบัติในวิปัสสนา กรรมฐานและแสดงนัยแห่งวิปัสสนากรรมฐาน จบเพียงเท่านี้
ต่อไปนี้จะพรรณนาเนื้อความในวิปัสสนากรรมฐาน
อธิบายบาลีข้อที่ ๑ แสดงถึงวิสุทธิ ๗
พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงสมถกรรมฐานจบลงแล้ว เมื่อประสงค์จะแสดง วิปัสสนากรรมฐาน ตามที่ได้ปฏิญญาไว้แล้วในตอนต้น จึงได้กล่าวว่า วิปัสสนา กมฺมฏฺฐาเน ปน เป็นต้นต่อไป
คําว่า “วิสุทธิ” ในวิปัสสนากรรมฐานนี้ หมายความว่า ความบริสุทธิ์จาก กิเลสเป็นพิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ วิ + สุทธิ วิ - วิเศษ สุทธิ = บริสุทธิ์ ดังแสดงวจนัตถะว่า
วิเสเสน สุชฒน์ วิสุทธิ์ (วิ-ปุพพ สุทธ - ธาตุ) ความบริสุทธิ์จากกิเลส เป็นพิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา คือวิสุทธิทั้ง ๗
จริงอยู่ ความบริสุทธิ์ต่างๆ ที่เป็นไปในทางโลกที่มีอยู่ เช่น น้ำบริสุทธิ์ หญิงสาวบริสุทธิ์ ผู้บริสุทธิ์ สถานที่บริสุทธิ์ เหล่านี้ เป็นต้น หาได้เรียกว่า วิสุทธิไม่ เพียงแต่เรียกว่า สุทธิ หรือบริสุทธิ์เท่านั้น ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่า ความบริสุทธิ์เหล่านี้ เป็นความบริสุทธิ์ธรรมดา หาใช่บริสุทธิ์เป็นพิเศษแต่อย่างใดไม่ ส่วนความบริสุทธิ์ของ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น สามารถทําบุคคลให้เป็นฌานลาภี และพระอริยะ เหตุนี้แหละ จึงเรียกว่า วิสุทธิ แสดงวจนัตถะอีกนัยหนึ่งว่า
๑. วิสุชุณที่ติ วิสุทธิ (กัตตุสาธนะ) ธรรมอันใดย่อมบริสุทธิ์ เป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า วิสุทธิ
๒. วิโสเธติ วิสุทธิ (กัตตุสาธนะ) ธรรมอันใดย่อมชําระกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์เป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า วิสุทธิ
๓. วิสุชุติ เอตายาติ วิสุทธิ (กรณสาธนะ) กาย วาจา ใจ ย่อมบริสุทธิ์ เป็นพิเศษด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิสุทธิ
๔. วิสุชฒน์ วิสุทธิ์ (ภาวสาธนะ) ความบริสุทธิ์เป็นพิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิ ทั้ง ๔ ข้อนี้ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา คือวิสุทธิทั้ง ๗ นั้นเอง
๑. อธิบายสีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล
คําว่า ศีล ในศีลวิสุทธินี้ หมายเอาความบริสุทธิ์ของศีล ๔ อย่าง คือ
๑. ปาฏิโมกขสวรสีสํ ศีลที่สํารวมในพระปาติโมกข์
๒. อินทรียสํวรสํ ศีลที่สํารวมในอินทรีย์ ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิสีลํ ศีลที่มีอาชีพบริสุทธิ์
๔. ปจฺจยสนนิสิตสีนํ ศีลที่อาศัยปัจจัย ๔
๑. ปาฏิโมกขสวรสีล เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ ปาฏิโมกข์ + สังวร + สีล รวมแล้วเป็น ปาฏิโมกข์สังวรศีล ดังมีวจนัตถะว่า ศีลที่ช่วยให้ผู้รักษาพ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔ องค์ธรรมได้แก่ ศีล ๕, ศีล ๘, ศีล ๑๐, ศีล ๒๒๗
๒. อินทรียสวรสี คําว่า อินทรียสังวรศีล เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ อินทรีย + สังวร + สีล เมื่อรวมแล้วเป็น อินทรียสังวรศีล ดังมีวงนัตถ ะแสดงว่า อินทรีย์ทั้ง ๖ อย่าง ย่อมสังวรรักษาได้ ฉะนั้น เรียกว่าอินทรียสังวรศีล องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ประกอบกับมหากุศลจิต
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล คําว่า อาชีวปาริสุทธิศีล เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ อาชีว + ปาริสุทธิ + สีล เมื่อรวมแล้วเป็น อาชีวปาริสุทธิศีล ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า ย่อมหาเลี้ยงชีพ โดยสัมมาอาชีวะ คือ สําหรับฆราวาส เว้นมิจฉาชีวะต่างๆ ในสัมมาอาชีววิร สําหรับพระภิกษุ สามเณร เว้นกุลทูสกะ อเนสนาต่างๆ ตามพระปาติโมกข์ ฉะนั้น เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิศีล องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิกที่ประกอบกับมหา กุศลจิต
๔. ปจฺจยสนนิสฺสิตสี คําว่า ปัจจยสันนิสสิตสีล เมื่อแยกบทแล้ว มี ๓ บท คือ ปัจจัย + สันนิสสิต + สีล เมื่อรวมแล้วเป็น ปัจจยสันนิสสิตสีล ดังมี วจนัตถะแสดงว่า ศีล นั้นด้วย อาศัยปัจจัยนั้นด้วย ฉะนั้นชื่อว่า ปัจจยสันนิสสิตศีล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลจิต
ความบริสุทธิ์ของจตุปาริสุทธิศีล ๔ ประการ
๑. เทสนาสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการแสดง
๒. สังวรสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการสํารวม
๓. เอฏฐิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยอาชีพที่แสวงหา
๔. ปัจจเวกขณสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา
ว่า โดยสามัญ นิจศีล ชื่อว่า สีลวิสุทธิ์ ดังนั้น สีลวิสุทธิของคฤหัสถ์ได้แก่ ศีล ๕ ของอุบาสก อุบาสิกา ได้แก่ ศีล ๘, ของสามเณร ได้แก่ ศีล ๑๐, ของพระภิกษุ ได้แก่ ศีล ๒๒๗, ที่กล่าวว่า สีลวิสุทธิ์ ได้แก่ นิจศีล นั้น ก็เพราะว่าธรรมดานิจศีลนี้ ย่อมชําระ กาย วาจา ให้สะอาดหมดจดจากความทุศีล และให้สําเร็จกิจเป็นที่ตั้งแห่ง ธรรมชั้นสูง มี ฌาน มรรค ผล เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อว่า โดยสามัญแล้ว นิจศีล ชื่อว่า สีลวิสุทธิ
๒. อธิบายจิตตวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งจิต
จิตตวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วมี ๒ บท คือ จิตต + วิสุทธิ เมื่อรวมกันแล้ว เป็น จิตตวิสุทธิ์ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งจิต ดังมีวจนัตถะว่า จิตตสฺส วิสุทธิ์ จิตตวิสุทธิ์ แปลว่า การชําระจิตใจของพระโยคาวจร ให้ ปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมองคือนิวรณ์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า จิตตวิสุทธิ์ องค์ธรรม ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในมหากุศล มหากิริยา มหัคคตกุศล มหัคคตกิริยา
จิตตวิสุทธิ์ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ดังที่กล่าวมาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง
จิตตวิสุทธิมี ๒ อย่าง คือ
๑. สมถสมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
๒. วิปัสสนาขณิกสมาธิ ได้แก่ ขณิกสมาธิ
สมาธิโดยประเภทมี ๓ อย่าง คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ชื่อว่า “จิตตวิสุทธิ” ก็เพราะมีความ บริสุทธิ์เป็นพิเศษ ปราศจากมลทิน คือนิวรณ์ และชําระจิตใจของพระโยคีให้ปราศจาก มลทินคือนิวรณ์ แต่ท่านได้ยกจิตที่เกิดพร้อมกับสมาธิทั้งสองนี้ขึ้นเป็นประธาน แล้ว เรียกว่า จิตตวิสุทธิ์ ส่วนขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะเป็นสมาธิที่อยู่ในมหากุศล หรือ มหากิริยา ที่เกิดขึ้นแก่สุทธวิปัสสนายานิกโยคี ที่กําหนดรู้รูปนามนั้น เรียกว่า จิตต วิสุทธิ์ ได้เหมือนกัน แต่จัดเข้าโดยอนุโลม สมาธิทั้งที่ได้ชื่อว่า “จิตตวิสุทธิ” นั้น อยู่ ภายในขอบเขต และมีอารมณ์ดังนี้ คือ อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหากุศล มหากิริยา มีสมถกรรมฐานเป็นอารมณ์ อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหัคคตฌาน ๙ มีบัญญัติ ปรมัตถ์ ที่เนื่องมาจากสมถกรรมฐาน ๓๐ เป็นอารมณ์
๓. อธิบายทิฏฐิวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น
ทิฏฐิวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วมี ๒ บท คือ ทิฏฐิ บทหนึ่งแปลว่าความเห็น วิสุทธิ บทหนึ่ง แปลว่า ความบริสุทธิ์ เมื่อรวมกันแล้วเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ์ ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า
ทิฏฐิเยว วิสุทธิ์ ทิฏฐิวิสุทธิ์ แปลว่า เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนามโดย
๑. ลักขณะ คือ รู้ลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ) ของรูปนาม
๒. รส คือ รู้หน้าที่หรือกิจของรูปนาม
๓. ปัจจุปัฏฐาน คือ รู้ผลหรืออาการปรากฏของรูปนาม
๔. ปทัฏฐาน คือ รู้เหตุที่ใกล้ชิดของรูปนาม ฉะนั้น จึงเรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ที่มีรูปนาม เป็นอารมณ์ (การแสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐานของ จิต เจตสิก รูป ได้ แสดงไว้แล้วในปฏิจจสมุปบาท)
อธิบาย การรู้รูปนามด้วยสามารถแห่ง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ดังที่กล่าวมานี้ แม้จะไม่ครบทั้ง ๔ ก็ตาม เพียงแต่รู้อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง ก็ได้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิๆ นี้ ว่าโดยญาณ ๑๖ แล้วจัดเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ
นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่กําหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่เป็นจริง ชื่อว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ” เพราะชําระจิตใจของพระโยคีให้ปราศจากสักกายทิฏฐิลงได้
๔. อธิบายกังขาวิตรณวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ คือญาณที่ข้ามพ้นจากความสงสัย
กงขาวิตรณวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ กังขา + วิตรณ + วิสุทธิ เมื่อรวมแล้วเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ์ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
กงขาวิตรณา เอา วิสุทธิ์ กงขาวิตรณวิสุทธิ์ แปลว่า ปัญญาที่สามารถรู้เหตุแห่งรูปนามทั้ง ๒ คือ รู้รูปสมุทัย เหตุของรูป นามสมุทัย เหตุของนาม เมื่อ รู้เหตุของรูปนามทั้ง ๒ อย่างนั้น ก็ก้าวล่วงความสงสัยเสียได้ ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ที่มีปัจจัยของรูปนามเป็นอารมณ์
ปัจจัยของรูปนามคือ
๑. ปัจจัยให้เกิดรูปนาม (จิต เจตสิก และกัมมชรูป) ในปฏิสนธิกาล ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปทาน กรรม
๒. ปัจจัยให้เกิดนาม (จิต เจตสิก) ในปวัตติกาล ได้แก่ วัตถุรูป ๖ มี จักขุวัตถุเป็นต้น อันเป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยและอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น อันเป็นอารัมมณปัจจัย
๓. ปัจจัยให้เกิดรูป (จตุสมุฏฐานิกรูป) ในปวัตติกาล ได้แก่ กรรม จิต อุตุ และอาหาร (กพฬิการาหาร)
๔. ปัจจัยให้เกิดนาม (วิปากจิต เจตสิก) ได้แก่ กุศล อกุศล
๕. ปัจจัยให้เกิดนาม (อาวัชชนจิต เจตสิก) ได้แก่ ภวังคุปัจเฉทะ ที่เกิดขึ้น ด้วยอํานาจอนันตรปัจจัย เป็นต้น
ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่กําหนดรู้เห็น เหตุ ปัจจัยของรูปนามที่เกิด ภายในตน ชื่อว่า “กังขาวิตรณวิสุทธิ” เพราะก้าวล่วงความสงสัย ๘ อย่าง ที่มาใน พระอภิธรรม และ
ความสงสัย ๑๖ อย่าง ที่เกี่ยวกับกาล ๓ ซึ่งมาในพระสูตรเสียได้
ความสงสัย ๘ อย่างที่มาในพระอภิธรรม คือ
๑. พุทเธ กงฺขติ สงสัยในพระพุทธเจ้า คือคุณทั้ง ๙ มี อรห์ เป็นต้น ว่าจะเป็นจริง ดังที่กล่าวนั้นหรือไม่
๒. ธมฺเม กงฺขติ สงสัยในพระธรรม คือคุณทั้ง ๖ มี สวากขาโต เป็นต้น ว่าเป็นความจริง ดังที่กล่าวนั่นหรือไม่
๓. สังเฆ กงฺขติ สงสัยในพระสงฆ์ คือคุณทั้ง ๙ มี สุปฏิปนฺโน เป็นต้น ว่าจะเป็นจริง ตามนั้นได้หรือไม่
๔. สิกฺขาย กงฺขติ สงสัยในสิกขาบท คือข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับ ศีล, สมาธิ, ปัญญา ว่าข้อปฏิบัติต่างๆ ที่พระโคตมพุทธะวางไว้นั้นจะผิดถูกประการใด และจะได้ รับประโยชน์จริง ตามนั้นหรือไม่
๕. ปุพฺพนเต กรุขติ สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต คือที่กล่าวว่าสัตว์ ทั้งหลายได้เคยเกิดมาแล้วแต่ในอดีตนั้น จริงหรือไม่
๖. อปรนเต กงฺขติ สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต คือที่กล่าวว่าสัตว์ ทั้งหลายตายแล้วก็จักเกิดต่อไปนั้น จะเป็นจริงหรือไม่
๗. ปุพฺพนตาปรนเต กงฺขติ สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และอนาคต คือสัตว์ทั้งหลายที่กําลังปรากฏอยู่ในบัดนี้นั้น กล่าวกันว่าได้เคยเกิดมาแล้ว และจักเกิดต่อไปอีกนั้น จะเป็นจริงดังนั้นหรือไม่
๘. อิธปฺปจจยตา ปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ กงฺขติ สงสัยในปฏิจจสมุปปันธรรม มีสังขารเป็นต้น ในปฏิจจสมุปบาทธรรม มีอวิชชาเป็นต้น เป็นปัจจัย คือในเรื่องบุญ บาป และการสืบต่อแห่งภพใหม่ การเห็น การได้ยินของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ที่เกี่ยวเนื่องมาจากความหลง และการจัดแจงปรุงแต่ง กาย วาจา ใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุนั้น จะเป็จริงหรือไม่
ความสงสัย ๑๖ อย่างที่มาในพระสูตร ได้แก่
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนอดีต ๕, อนาคต ๕, ปัจจุบัน ๖
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนอดีต ๕ คือ
๑. อโหสิ นุ โข อห์ อตีตมทุธานํ เราเคยเกิดมาแล้วในอดีตกาลจริงหรือหนอ
๒. น นุ โข อโหสิ อดีตมทธานํ เราไม่เคยเกิดมาแล้วในอดีตกาลจริงหรือหนอ
๓. กึ นุ โข อโหสึ อตีตมทฺธานํ ถ้าเคยเกิดๆ เป็นชนชั้นไหนในอดีตกาลหนอ
๔. กถํ นุ โข อโหสี อดีตมทฺธานํ เรามีรูปร่างสัณฐานเป็นอย่างไรในในอดีตกาลหนอ
๕. กึ หุตวากี อโหสึ นุ โข อหํ อดีตมทุธาน เราเคยเกิดเป็นอะไรมาแล้ว และเคยเกิดเป็นอะไรต่ออะไรบ้างหนอ อดีตกาล
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนอนาคต ๕ คือ
๑. ภวิสฺสามิ นุ โข อหํ อนาคตมทฺธานํ เราจักเกิดในกาลข้างหน้าหรือหนอ
๒. น นุ โข ภวิสฺสามิ อหํ อนาคตมธานี เราจักไม่เกิดในกาลข้างหน้าหรือหนอ
๓. กึ นุ โข ภวิสฺสามิ อนาคตมทฺธานํ ถ้าจักเกิดๆ เป็นชนชั้นไหน ในกาลข้างหน้าหนอ
๔. กถ นุ โข ภวิสฺสามิ อนาคตมธานํ เราจักมีรูปร่างสัณฐานเป็นอย่างไร ในกาลข้างหน้าหนอ
๕. กึ หุตวา กี ภวิสฺสามิ นุ โข อหํ อนาคตมทฺธานํ เราจักเกิดเป็นอะไรแล้ว และจักเกิดเป็นอะไรต่ออะไรอีกในกาลข้างหน้าหนอ
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนปัจจุบัน ๖ คือ
๑. อห์ นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้เป็นเราหรือหนอ
๒. โน นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้ไม่เป็นเราหรือหนอ
๓. กึ นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้เราเป็นชาติอะไรหนอ
๔. กถ นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้เรามีรูปร่างสัณฐานอย่างไรหนอ
๕. อยู๋ นุ โข สตฺโต กุโต อาคโต สัตว์นี้มาจากไหนหนอ
5. โส กุห์ คามี ภวิสฺสติ สัตว์นั้นจักไปเกิดที่ไหนหนอ
๕. อธิบายมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์คือความรู้ในหนทางที่ถูกและผิด
มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทธิ เมื่อแยกบทแล้วมี ๕ บท คือ
มัคค หนทาง + อมัคค ไม่ใช่ทาง + ญาณ ความรู้ + ทัสสน ความเห็น + วิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ เมื่อรวมกันแล้ว เป็น มัคคามรรคญาณทัสสนวิสุทธิ์ แปล ว่า ความบริสุทธิ์ในความเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นมัคคปฏิปทาและมิใช่มัคคปฏิปทา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
สัมมสนญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองในลักษณะทั้ง ๓ ของรูปนาม และอุทยัพพย ญาณเบื้องแรก คือปัญญาที่เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม แต่ยังอ่อนอยู่ใน ระหว่างนี้เป็นขอบเขตของมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะว่าวิปัสสนาญาณทั้งสอง นี้ ชําระใจให้พ้นจากคาหะ (ความยึด) ทั้ง ๓ คือความยึดมั่นด้วย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในอุปกิเลส ๑๐ อย่าง ซึ่งเป็นหนทางผิดเสียได้ ฉะนั้น เมื่ออุทยัพพยญาณเบื้องแรก ของพระโยคีที่เห็นความเกิดดับของรูปนามนั้น เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างไม่ขาดสาย เมื่อ อุปกิเลส ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ปัญญาที่กําหนดวินิจฉัยลักษณะมรรคว่า โอภาสเป็นต้นเหล่านี้ไม่ใช่มรรค เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ โดยแท้ แต่วิปัสสนาญาณที่ดําเนินไปตามวิถี ซึ่งพ้นจากวิปัสสนูปกิเลสมีโอกาสเป็นต้นนั้น เป็นมรรคชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะรู้เห็นทางและมิใช่ทาง และเพราะ ชําระความสําคัญผิดในวิปัสสนูปกิเลส ที่มิใช่ทางว่าเป็นทางให้หมดจด
วิปัสสนูปกิเลสไม่เกิดแก่บุคคล ๓ จําพวก
๑. พระอริยบุคคล ผู้ถึงปฏิเวธแล้ว
๒. โยคีผู้ปฏิบัติผิดแนวทางวิปัสสนา
๓. โยคีผู้เกียจคร้านทอดทิ้งกรรมฐาน
ผู้มีความเพียรแก่กล้าเท่านั้น วิปัสสนูปกิเลสจึงเกิด วิปัสสนูปกิเลสเกิดตรง ตรุณอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน และวิปัสสนาญาณที่สงเคราะห์เข้าใน มัคคามรรคญาณทัสสนวิสุทธิ์ ได้นั้น มี ๒ คือสัมมสนญาณ และตรุณอุทยัพพยญาณ คือ อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน
๖. อธิบายปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์คือความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูก
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้ว มี ๔ บท คือ ปฏิปทา ปฏิบัติ + ญาณ ความรู้ + ทัสสน ความเห็น + วิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ รวมกันแล้วเป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ แปลว่า ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณ อันเป็น เครื่องดําเนินไปสู่มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว และวิปัสสนาญาณที่สงเคราะห์เข้าใน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิมี ๙ คือ
๑. พลวอุทยัพพยญาณ
๒. ภังคญาณ
๓. ภยญาณ
๔. อาทีนวญาณ
๕. นิพพิทาญาณ
๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ
๗. ปฏิสังขาญาณ
๘. สังขารุเปกขาญาณ
๙. อนุโลมญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ
วิปัสสนาญาณทั้ง ๙ นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณเบื้องหลัง ที่ผ่านพ้นจากอุปกิเลส ๑๐ อย่างเป็นต้น จนถึงอนุโลมญาณ ทั้งหมดนี้เรียกว่า ปฏิปทาญาณทัสสน วิสุทธิ์ เพราะว่าวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ นี้ ชําระใจให้พ้นจากความจําผิดทั้ง ๓ มีนิจสัญญา สุขสัญญา อัตสัญญาเสียได้
๗. อธิบายญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ คือความรู้แจ้งในอริยสัจ
คําว่า ญาณทสสนวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้ว มี ๓ บท คือ ญาณ ความรู้ + ทัสสน ความเห็น + วิสุทธิ ความบริสุทธิ์ เมื่อรวมกันแล้วเป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งความรู้และความเห็น ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า
๑. จตุสัจจ์ ชานาติติ ญาณํ รู้อริยสัจ ๔ ได้ ฉะนั้น เรียกว่า ญาณ
๒. ปจฺจกฺขโต ปสฺสติ ทสฺสนํ เห็นพระนิพพานโดยประจักษ์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า ทัสสนะ
๓. กิเลสมลโต วิชชุ ตีติ วิสุทธิ ความบริสุทธิ์จากกิเลสซึ่งเป็นมลทิน ฉะนั้น จึงเรียกว่า วิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่ในมรรคจิต
แสดงอนุปัสสนา ๓
อนุปัสสนา หมายความว่า การรู้เห็นเนืองๆ ชื่อว่า อนุปัสสนา เมื่อแยกบท แล้วได้ ๒ บท คือ อนุ + ปัสสนา อนุ แปลว่า เนืองๆ ปัสสนา แปลว่า การรู้เห็น เมื่อ รวมแล้วเป็นอนุปัสสนา แปลว่า การรู้เห็นเนืองๆ ดังนั้นคําว่า อนุปัสสนา ก็ได้แก่ ปัญญาเจตสิก คือวิปัสสนาญาณที่มีการพิจารณารู้เห็นในเตภูมิกสังขารธรรมโดย ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหตุนี้แหละ อนุปัสสนา จึงมี ๓
อนุปัสสนา ๓ เมื่อแสดงวจนัตถะ ความหมายของศัพท์แล้วก็จะได้ดังนี้ อนิจจสฺส อนุปสฺสนา อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นรูปนาม ที่เป็นอนิจจังอยู่ เนืองๆ จนอนิจจลักขณะปรากฏ ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา หรืออีกนัยหนึ่ง อนิจจตาย อนุปสฺสนา อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นความไม่เที่ยงอยู่เนืองๆ ชื่อว่า
อนิจจานุปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
อนิจจานุปัสสนา ในวจนัตถะ ข้อที่ ๒ นี้ ถ้าว่าตามวจนัตถะแล้ว ก็จะ ต้องสําเร็จรูปเป็น อนิจจตานุปัสสนา แต่ในที่นี้ลบ ตา ปัจจัย เสีย จึงสําเร็จรูปเป็น อนิจจานุปัสสนา
มหาวิปัสสนา ๑๘
ปัญญาที่ได้ชื่อว่า อนุปัสสนา นี้ เมื่อแสดงตามไตรลักษณ์แล้วมี ๓ ดังที่ได้ กล่าวมา แต่เมื่อแสดงโดยพิสดารแล้ว ได้ชื่อว่า มหาวิปัสสนา มี ๑๘ ดังต่อไปนี้ (มาในวิสุทธิมรรค)
ปัญญามีการพิจารณาเห็นเตภูมิกสังขารธรรม โดยความเป็น อนิจจังอยู่เนืองๆ เป็นต้น ชื่อว่า มหาวิปัสสนา ๑๘ อย่าง
๑. ในมหาวิปัสสนา ๑๘ อย่าง เมื่อพระโยคีบุคคลทําให้อนิจจานุปัสสนา คือปัญญาที่เห็นว่า ไม่เที่ยงเจริญขึ้น ย่อมละนิจสัญญา ความสําคัญว่าเที่ยงให้หมดไปได้
๒. เมื่อทําให้ทุกขานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่าทุกข์เจริญขึ้น ย่อมละสุข สัญญา ความสําคัญว่าสุข ให้หมดไปได้
๓. เมื่อทําให้อนัตตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่ามิใช่ตนเจริญขึ้น ย่อมละอัตตสัญญา ความสําคัญว่าเป็นตน ให้หมดไปได้
๔. เมื่อทําให้นิพพิทานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย เจริญขึ้น ย่อมละนันทิ ความเพลิดเพลิน ให้หมดไปได้
๕. เมื่อทําให้วิราคานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นเป็นสิ่งที่น่ากลาย ความกําหนัดเจริญขึ้น ย่อมละราคะ ความกําหนัด ให้หมดไปได้
๖. เมื่อทําให้นิโรธานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความดับไปเจริญขึ้น ย่อมละสมุทัย ความเกิด ให้หมดไปได้
๗. เมื่อทําให้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความสละคืนจาก การถือว่า เป็นนิจจ สุข อัตต สุภสัญญา แล้ว น้อมนึกในพระนิพพานเจริญขึ้น ย่อม ละอาทานะ การรับกิเลส กล่าวคือการให้กิเลสเกิดโดยที่มิได้เห็นโทษของสังขตธรรม ให้หมดไปได้
๘. เมื่อทําให้ขยานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความสิ้นไปแห่งรูปนามเจริญ ขึ้น ย่อมละฆนสัญญา ความสําคัญว่าเป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นแท่ง ให้หมดไปได้
๙. เมื่อทําให้วยานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความเสื่อมไปของสังขารธรรมที่ดับไปแล้ว และจักมีขึ้นในข้างหน้า โดยเปรียบเทียบกับความเสื่อมไปของ สังขารธรรมที่กําลังมีอยู่เฉพาะหน้าเจริญขึ้น ย่อมละอายุหนะ ความดิ้นรนเพื่อความ สุขความก้าวหน้า ให้หมดไปได้
๑๐. เมื่อทําให้วิปริณามานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความแปรไปไม่คงที่เจริญขึ้น ย่อมละธุวสัญญา ความสําคัญว่าเที่ยง คงที่ ให้หมดไปได้
๑๑. เมื่อทําให้อนิมิตตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่าไม่มีนิมิต รูปร่าง สัณฐาน ซึ่งเป็นที่ตั้งอยู่เจริญขึ้น ย่อมละนิมิตทั้งสองมีฆนนิมิต และนิจจนิมิต ความ มีรูปร่างสัณฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตั้งมั่น คงที่อยู่ ให้หมดไปได้
๑๒. เมื่อทําให้อัปปณิหิตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่าไม่มีสิ่งที่น่ายินดี น่าปรารถนา เจริญขึ้น ย่อมละปณิธิ ความยินดีปรารถนาในเวทยิตสุข ให้หมดไปได้
๑๓. เมื่อทําให้สุญญตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่ามีแต่ความว่างเปล่า จากเรา เขาไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้นเจริญขึ้น ย่อมละอภินิเวสะ ความถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขา อยู่ในอํานาจบังคับบัญชา ให้หมดไปได้
๑๔. เมื่อทําให้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นชัดแจ้งอย่างยิ่ง ในอารมณ์และอารัมมณิกะ ว่าเป็นแต่รูปกับนาม ซึ่งเป็นสังขตธรรมเท่านั้นที่หมดไป สิ้นไป หาใช่มีเรา เขา หมดไปสิ้นไปแต่ประการใดไม่ อาศัยการเห็นอย่างประจักษ์ชัดของการดับไปแห่งรูปนาม ที่เป็นฝ่ายอารมณ์และอารัมมณีกะเจริญขึ้น ย่อมละ สาราทานาภินิเวสะ ความงมงาย ถือมั่นว่าเป็นแก่นสารคงทนยืนอยู่ ให้หมดไปได้
๑๕. เมื่อทําให้ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ปัญญาที่เห็นรูปนามและธรรมที่ เป็นปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริงเจริญขึ้น ย่อมละสัมโมหาภินิเวสะ การถือมั่น ด้วยความหลงอยู่ในเรื่องวิจิกิจฉาว่า เป็นเราหรือไม่หนอ เป็นต้น และละทิฏฐิว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกเป็นต้น ให้หมดไปได้
๑๖. เมื่อทําให้อาทีนวานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นโทษในรูปนาม โดย อาศัย ความดับไปสิ้นไปอย่างน่ากลัวเจริญขึ้น ย่อมละอาลยาภินิเวสะ ความยึดมั่น จดจ่อในรูป นาม ว่าเป็นที่พึ่งที่อาศัย ให้หมดไปได้
๑๗. เมื่อทําให้ปฏิสังขานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นรูปนาม มีสภาพเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น เพื่อจะสลัดเลิกละจากอารมณ์ที่เป็นรูปและนามเจริญขึ้น ย่อมละอัปปฏิสังขา ความไม่พิจารณาให้แจ้งประจักษ์ในรูปนาม ที่มีสภาพเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นตัวโมหะ ให้หมดไปได้
๑๘. เมื่อทําให้วิวัฏฏานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นรูปนาม มีสภาพเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดการท้อแท้ใครที่จะปล่อยปละละทิ้ง อันเป็นตัวสังขารุ เปกขาญาณ อนุโลมญาณเจริญขึ้น ย่อมละสังโยคาภินิเวสะ ความยึดมั่นประกอบติด อยู่ในรูป นาม อันเป็นตัว ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ให้หมดไปได้
อธิบายความตามลําดับใน มหาวิปัสสนา ๑๘
๑. อนิจจานุปัสสนา
อนิจจานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของรูปนาม ที่เนื่องมา จากการเห็นเป็นประจักษ์แห่งความเกิดขึ้นและดับไป ในขณะที่กําหนดรู้รูปนาม อยู่ นั้นแหละ ปัญญานี้ได้ชื่อว่า "อนิจจานุปัสสนา"
ดังนั้น นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบความต่างกันระหว่างคําว่า อนิจจะ อนิจจลักขณะ อนิจจานุปัสสนา
อนิจจะ ธรรมที่ไม่เที่ยง
อนิจจลักขณะ เครื่องหมายที่รู้ว่าไม่เที่ยง
อนิจจานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงอยู่เนืองๆ ในรูปนาม ขันธ์ ๕ หรือ กายใจ ได้แก่ปัญญาที่ในมหากุศล มหากิริยา ขณะที่กําหนดรู้รูปนาม ขันธ์ ๕ หรือ กายใจ ดังที่วิสุทธิมรรคแสดงว่า อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญจก ฯ กสมา ฯ อุปปาทวยบุญฤตตภาวา หุตวา อภาวโต วา, อุปปาทวยบุญฤตต์ อนิจจลักษณ์ หุตวา อภาวสงขาโต วา อาการวิกาโร ๆ (มาในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิวัฒณนา) นิพฺพตฺตานํ เอเตนวากาเรน อจัตวา ของเคน เมโทติ อตฺโถ, อนิจจานุปสฺสนาติ ตาสา อนิจฺจตาย วเสน รูปาที่สุ อนิจฺจนฺติ อนุปัสสนา ฯ (มาในอานาปานัสสติ วัฒนา) รูปนาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า “อนิจจัง” เพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไป ด้วยความเกิดดับ และเป็นอย่างอื่น (ชรา) หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นดับ ไปไม่มีเหลือ ความเป็นไปที่มีอาการผิดแปลกเปลี่ยนไปโดยความเกิดดับและเป็นอย่าง อื่น (ชรา) ชื่อว่า “อนิจจลักขณะ” หรืออีกนัยหนึ่งอาการเป็นไปที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อม สิ้นดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า “อนิจจลักขณะ” หมายเอาความสลายด้วยการดับไปแห่ง รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ตั้งอยู่ในอาการนั้นอย่างเดียว (นั่นแหละเรียกว่า อนิจจ ลักขณะ) การพิจารณาเห็นในรูปธรรมเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง ด้วยอํานาจแห่งอนิจจลักขณะ นั้น ได้ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา
ธรรมเหล่าใด มีปัจจัย ๔ ปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังขตะ ธรรมดาสังขตธรรมทั้งหลายย่อมมีการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (อุปปาทะ, ฐิติ, ภังคะ) อันเป็นสังขตลักขณะ เครื่องหมายที่ให้รู้จําได้ว่านี้เป็นสังขตธรรม และ อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ ทั้ง ๓ นี้เรียกว่า ชาติ ชรา มรณะ (เกิด แก่ ตาย) ก็ได้ สังขตะ และสังฆตลักขณะทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่าโดยการพิจารณาเห็นของวิปัสสนา ญาณแล้ว สังขตธรรมเป็นอนิจจัง สังขตลักขณะเป็นอนิจจลักขณะ เหตุนั้น อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ แต่ละขณะๆ นี้ จึงเป็นอนิจจลักขณะด้วยกันทั้งสิ้น สําหรับ ภังคขณะนั้นมีการแสดงถึงความไม่เที่ยงให้ปรากฏเด่นชัดอย่างสมบูรณ์ถูกต้องตาม ลักขณะที่ได้ชื่อว่า อนิจจัง ยิ่งกว่าขณะทั้ง ๒ นั้น ดังนั้น
ถ้าหากว่ามีการพิจารณาเห็นแต่เพียงแค่อุปปาทขณะ ฐิติขณะ ทั้ง ๒ ส่วน ภังคขณะยังมิได้มีการรู้เห็นแต่ประการใด การพิจารณาเห็นเช่นนี้ยังไม่จัดว่าได้รู้เห็น อย่างแท้จริงในความเป็นอนิจจัง เพียงแต่กล่าวได้ว่า มีการอนุมานเอาเองว่า ธรรมเหล่านี้ เมื่อมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้ว ก็จะต้องมีการดับไป ถ้ามีการดับ ธรรมเหล่านี้เป็นอนิจจัง การอนุมานเอาเองเช่นนี้หาใช่เป็นการรู้เห็นในความเป็นอนิจจังที่แท้ไม่ ต่อเมื่อ ได้พิจารณาเห็นภังคขณะของสังขตธรรมโดยชัดเจนอย่างสมบูรณ์แล้ว ในขณะนั้น แหละจึงจะได้ชื่อว่ามีการรู้เห็นความเป็นอนิจจังที่แท้จริงได้ เหตุนี้พระอรรถกถาจารย์ จึงได้ขยายในคําว่า หุตวา อลาว ที่แสดงถึง อนิจจลักขณะต่อไปด้วยคําว่า ขณภงเคน เกโท ที่เป็นดังนี้ก็เพราะประสงค์ที่จะให้รู้ถึงความเป็นเยี่ยมส่วนหนึ่ง ในอนิจจ ลักขณะ ดังที่พระอาจารย์ธรรมปาลเถระ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า กิญจาปี อุปปาทาทิ ติวิธมป์ สงฺขตลกขณตตาย อนิจจลักขณ์ ตถาปิ ชาติชราที่สุ น ตถา อนิจจลักขณ์ ปากฏ หุตวา อุปปฏฐาติ ยถาวยกขณติ อาห ภงฺโค นาม อนิจฺจตาย ปรมา โกฏิติ ๆ ขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทขณะเป็นต้น แม้ว่าจะเป็นอนิจจ ลักขณะ โดยความเป็นเครื่องหมายของสังขตธรรมด้วยกันก็จริง แต่กระนั้นก็ตาม ขณะ เกิดและขณะแก่นั้น อนิจจลักขณะหาใช่ปรากฏชัดเหมือนกับขณะดับไม่ ด้วย เหตุนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงได้กล่าวว่า ขณะดับนั้นแหละเป็นธรรมส่วนเยี่ยมในอนิจจลักขณะ
ข้อปฏิบัติที่ทําให้สันตติบัญญัติขาด ฆนบัญญัติแตก
เพื่อวิปัสสนาญาณได้เข้าถึง อนิจจานุปัสสนา ที่แท้จริง
เมื่อพระโยคีบุคคลได้กําหนดพิจารณาในสังขารธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่ เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและขนบัญญัติที่กําบังปกปิดการเกิดดับของสังขารธรรม รูปนาม ก็ขาดแตกไป เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์ เกิดขึ้นเวลาใดเวลานั้น วิปัสสนาญาณของพระโยคีบุคคลที่เข้าถึงความเป็น “อนิจจานุปัสสนา” เป็นต้น ได้
อธิบายว่า ผู้ที่ไม่มีการกําหนดรู้ในสังขารธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ทุกๆ ระยะของจิตและรูปนั้น อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังขารธรรม รูปนามเลย แม้แต่ รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้ว คงรู้คงเห็นแต่บัญญัติ เช่นเมื่อได้เห็น สีก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน ผ้าผ่อน, เมื่อได้ยินเสียงก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นเสียงชาย หญิง สัตว์ ดนตรี หัวเราะ ร้องไห้, เมื่อได้กลิ่นก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นกลิ่น ดอกไม้ กลิ่นของหอม กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระปัสสาวะ, เมื่อลิ้มรสก็คงรู้คงเข้าใจ ไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นรสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ําตาล, เมื่อได้ สัมผัสกับความเย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง, หย่อน, ตึง, ก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่เรื่องต่างๆ ว่านี้ เป็นน้ําแข็ง น้ําร้อน ไฟ, สําลี นุ่น ไม้ มีด หิน ยุบ พอง ร่างกายหย่อนเบาแข็ง ดึงหนัก, ยกมือ ยกขา เหยียดมือ เหยียดขา ดังนี้เป็นต้น, นี้ก็เป็นด้วยสันตติบัญญัติและ ฆนบัญญัติได้กําบังปกปิดในอารมณ์ภายนอกต่างๆ และอารัมมณีกวิถีจิตภายในเอาไว้ นั่นเอง จึงมีความรู้ความเข้าใจเป็นไปดังนี้ เรียกว่า “สันตติบัญญัติ” ไม่ขาด และ “ฆนบัญญัติ” ก็ไม่แตก
แต่ตามความเป็นจริงนั้นขณะที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ รูปารมณ์เก่าย่อมดับ ไป รูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย ผู้เห็นคงเห็นแต่รูปารมณ์ที่เกิดใหม่ ตลอดระยะเวลาที่ดูอยู่ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรูปารมณ์คือการเห็นนั้นเล่าก็มีการเห็นเก่าดับไป การเห็นใหม่เกิดขึ้นแทนติดต่อกันโดยไม่ขาดสายเช่นกัน แต่แล้วผู้ดูผู้เห็นก็เข้าใจ ผิดไป ในรูปารมณ์และการดูของตนว่า รูปารมณ์ที่ตนดูอยู่ก็ดี การเห็นของตนที่กําลัง เห็นอยู่ก็ดี ในนาทีแรกและนาทีหลังๆ คงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ ขณะได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสอยู่ เสียงกับการได้ยินก็ดี, กลิ่นกับการได้กลิ่นก็ ดี, รสกับการรู้ รสก็ดี, เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กับการสัมผัสเหล่านี้ก็ดี มีสภาพเช่นกัน คือเก่าดับไปใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย แต่แล้วก็มีการเข้าใจผิดไปว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ
การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณีกวิถีจิตภายในเป็น “สันตติบัญญัติ” การเกิดขึ้นสืบต่อกันมีสภาพไม่ขาดสายแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิต ภายในนั้นแหละคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มเป็นก้อนนี้เป็น “ฆนบัญญัติ ในบัญญัติ ๒ ประการนี้เมื่อ “สันตติบัญญัติ” ปรากฏในใจ “ฆนบัญญัติ” ก็ปรากฏ ในใจด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้นจะเรียกรวมกันทั้ง ๒ อย่างว่า “สันตติฆนบัญญัติ” ก็ได้
สันตติฆนบัญญัติได้กําบังปกปิดไว้ดังกล่าวแล้วนี้แหละ จึงทําให้ผู้ที่ไม่มี สติ กําหนดรูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ไม่มีการรู้เห็นความเกิด-ดับ ที่เป็น “อนิจจลักษณะ” ได้
ฝ่ายผู้ที่ทําการกําหนดสังขารธรรม รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติ รู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ย่อมรู้เห็นแทงทะลุปรุโปร่งสันตติฆนบัญญัติที่กําบัง ปกปิด การเกิดดับของสังขารธรรม รูปนาม ไปได้ ด้วยการกําหนดรู้เห็นวิถีจิตที่เกิด ก่อนและวิถีจิตที่เกิดทีหลังในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสกับ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ, ปวด, ดีใจ, เสียใจ, คิดนึกต่างๆ เหล่านี้นั้นขาดลงเป็นตอนๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในด้านรูปก็คงกําหนดรู้เห็น รูปที่เกิดก่อน และรูปที่เกิดทีหลัง ในระยะเวลาที่พองขึ้น, ยุบลง, หายใจเข้า, หายใจ ออก, ยกมือ, ยกขา, ก้าวไปข้างหน้า, ถอยมาข้างหลัง, ลุกขึ้น, นั่งลง, เหลียวซ้าย, แล ขวา, กะพริบตา, อ้าปาก, เหล่านี้ก็ขาดเป็นตอนๆ มิใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, การรู้ เห็นในวิถีและอารมณ์เป็นตอนๆ ดังนี้แหละเรียกว่า สันตติบัญญัติขาด ฆนบัญญัติ แตก อนิจจลักขณะคือ ความเกิดขึ้นดับไปก็ปรากฏขึ้น เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณของ ผู้นั้นได้เข้าถึงความเป็น “อนิจจานุปัสสนา” ที่แท้จริง
ครั้นวิปัสสนาญาณ ได้เข้าถึงความเป็น อนิจจานุปัสสนา อย่างแท้จริงแล้ว การกําหนดรู้ในอิริยาบถใหญ่น้อย ลมหายใจเข้าออก การเห็นการได้ยิน เมื่อยปวด ดีใจ เสียใจ คิดนึกเหล่านี้นั้น ในระยะนี้ พระโยคีบุคคลอาจเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาโดย ทําความไว้ในใจถึงความไม่เที่ยงๆ ดังนี้ก็ได้ (ในทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ที่แท้เกิดขึ้นก็อาจเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาทําไว้ในใจถึงความเป็นทุกข์ๆ อนัตตาๆ ไม่ใช่เราเขาๆ ดังนี้ได้เช่นกัน) แต่ทว่าการเปลี่ยนไปพิจารณาดังนี้นั้นหามีความสําคัญ แต่อย่างใดไม่ ความสําคัญอยู่ที่การพิจารณาเห็น “อนิจจลักขณะ” เป็นต้นทุกๆ ระยะ ในขณะที่มีการกําหนดรู้อยู่เท่านั้น ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่า “อนิจจลักขณะ” มิได้ปรากฏ เนื่องมาจากอสัปปายะ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สําหรับจิตใจนั้นคงรู้เห็น “อนิจจลักขณะ ด้วยอํานาจสัญญาที่เกิดจากการน้อมนึกไปตามมนสิการถึงความไม่เที่ยงๆ เท่านั้น แล้วก็เข้าใจผิดไปว่าตนได้รู้เห็น “อนิจจลักขณะ” ด้วยอํานาจของวิปัสสนาญาณ โดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นการเปลี่ยนมาพิจารณาดังนี้จึงไม่มีความสําคัญ การอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วนี้
การนอนเนื่องของ อนุสัยกิเลส และธรรมที่ประหาณ
การนอนเนื่องของ อนุสัยกิเลส นี้มีอยู่ ๒ ประการคือ
๑. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในการเกิดขึ้นสืบต่อแห่งรูปนาม ชื่อว่า สันตานานุสยกิเลส
๒. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ที่เป็นปิยรูป สาตรูป อปิยรูป อสาตรูป ชื่อว่า อารัมมณานุสยกิเลส
ใน ๒ ประการนี้ มรรคทั้ง ๔ ทําการประหาณสันตานานุสยกิเลส วิปัสสนาญาณที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ทําการประหาณอารัมมณานุสยกิเลส ฉะนั้นอนุสัยกิเลสที่ อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ได้ประหาณไปนั้นเป็นอารัมมณานุสยกิเลส ส่วนสันตานา นุสยกิเลสนั้นเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ตราบใด แม้ว่าผู้นั้นจะได้เคยปฏิบัติวิปัสสนามาแล้ว หลายครั้งหลายหนหรือกําลังปฏิบัติอยู่ก็ตาม หรือผู้ที่เป็นญานลาภี อภิญญาลาภี ทําฤทธิ์เดชต่างๆ นานาได้ก็ตาม หรือจะได้ไปบังเกิดเป็นพรหมติดต่อกันหลายภพ หลายชาติก็ตาม สันตานานุสยกิเลสก็ยังคงมีอยู่เต็มที่เป็นปกติ โดยอาการที่ยังมิได้ถูก ประหาณลงเลยแม้แต่เล็กน้อย สําหรับอารัมมณานุสยกิเลสนั้น เมื่อวิปัสสนาญาณของ พระโยคีได้เข้าถึงขั้นภังคญาณอารัมมณานุสยกิเลสก็ถูกประหาณลงทันทีตั้งแต่ญาณ นี้เรื่อยๆ ไป ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระวิภังคบาลีว่า
สตุตานุสยา กามราคานุสโย ปฏิฆานุสโย มานานุสโย ทิฏฐานุสโย วิจิกิจฉานุสโย ภวราคานุสโย อวิชชานุสโย ย์ โลเก ปิยรูป สาตรูป เอตฺถ สตฺตานํ ราคานุสโย อนุเสติ, ย์ โลเก อปปิยรูป อสาตรูป์ เอตฺถ สตฺตานํ ปฏิฆานุสโย อนุเสติ อิติ อิเมสุ ทวีสุ ธมฺเมสุ อวิชชา อนุปติตา, ตเทกฎโฐ มาโน จ ทิฏฐิ จ วิจิกิจฉา จ ทฏฺฐพฺพา ฯ
แปลความว่า อนุสัยกิเลสมี ๗ อย่าง คือธรรมชาติที่ยินดีพอใจรักใคร่ใน กามคุณอารมณ์ที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานธรรมชาติที่ขัดแค้นในอารมณ์นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่ถือตัวนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่เห็นผิด นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่สงสัยในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูอาจารย์ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่ยินดีพอใจในภพชาติ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่หลงอยู่ในเรื่องเห็นผิดนอนเนื่องอยู่ในขันธ สันดาน (นี้เป็นสันตานานุสยกิเลส) ปิยรูปสาตรูป สภาพที่น่ารักน่ายินดีอันใดมีอยู่ใน โลกคือสังขารธรรมรูปนามภายในตน กามราคะและภวราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อม นอนเนื่องอยู่ในปิยรูป สาตรูป สภาพที่น่ารักน่ายินดีเหล่านี้ อปิยรูป อสาตรูป สภาพที่ ไม่น่ารักไม่น่ายินดีอันใดมีอยู่ในโลกคือสังขารธรรมรูปนามภายในตน ปฏิฆานุสัยของ สัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในอปิยรูป อสาตรูป สภาพที่ไม่รักไม่น่ายินดีเหล่านี้ เมื่อเป็นดังนี้ อวิชชานุสัยก็ย่อมนอนเนื่องอยู่ในราคะและปฏิฆะ ทั้ง ๒ นี้ด้วย ส่วน มานานุสัย ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัยเหล่านี้ก็ย่อมตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับจิตที่ มีอวิชชา (นี้เป็นอารัมมณานุสยกิเลส) นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบดังนี้
สันตานานุสัยกิเลส กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานโดยอาการที่ยังไม่ ปรากฏเป็นสภาวปรมัตถ์ คือยังไม่เข้าถึงขณะทั้ง ๓ (เกิด ตั้ง ดับ) นั้นได้ชื่อว่า สันตานานุสยกิเลส ดังนั้น ผู้ที่ยังมิได้ทําการประหาณอนุสัยกิเลสโดยสมุจเฉทนั้นได้ ชื่อว่าเป็นปุถุชน และปุถุชนคนเหล่านี้แม้ว่าจะยังเป็นเด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ตาม เป็น เด็กเล็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่แก่เฒ่าลงไปก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ บรรพชิตก็ตาม ได้ฌานอภิญญา เหาะดําดินไปได้ก็ตาม แม้ที่สุดจะได้บังเกิดเป็นพรหมอยู่หลายภพหลายชาติก็ตาม
ปุถุชนคนเหล่านี้ก็ยังเป็นผู้ที่มีอนุสัยกิเลสอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น แม้ว่าจะได้สําเร็จเป็นพระ โสดาบัน สกทาคามีแล้วก็ตาม อนุสัยกิเลสอีก ๕ อย่างก็ยังเหลืออยู่ ยังหาได้ประมาณ ให้หมดไปไม่ คงประหาณได้แต่ทิฏฐิ วิจิกิจฉานุสัย ๒ อย่างนี้เท่านั้น ครั้นเป็น พระอนาคามี ภวราคะ มานะ อวิชชานุสัย ทั้ง ๓ ก็ยังมีอยู่หาได้หมดไปเพียงขั้นนี้ไม่ ฉะนั้นบุคคลทั้ง ๔ จําพวกนี้จึงยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ อุปมาเหมือนกับคนไข้ที่ยังไม่หายไข้ มีผู้มาถามว่าท่านสบายดีหรือ ? แม้ว่าในขณะนั้นจะมิได้เป็นไข้แต่ก็ตอบว่าเป็นไข้อยู่ โดยมาคํานึงนึกถึงไข้ที่เคยเป็นมาแล้วและจักเป็นอีกในวันหน้า หรืออุปมาเหมือนกับ ผู้ที่ยังมิได้มีการเว้นขาดจากการรับประทานเนื้อ เมื่อถูกถามว่าท่านรับประทานเนื้อหรือ
เปล่า ? ถึงแม้ว่าในขณะนั้นจะมิได้รับประทานอยู่ก็จริงแต่ก็ตอบว่าข้าพเจ้ารับประทาน ทั้งนี้ก็เพราะว่ามาคํานึงนึกถึงที่ได้เคยรับประทานมาและจักรับประทานอีกในวันหน้า สมดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในอนุสยยมกว่า :-
ยสฺส กามราคานุสโย อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชตีติ ?
กามราคานุสัยกําลังเกิดแก่บุคคลใดปฏิฆานุสัยก็กําลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ? อามนฺตา ใช่ การที่ทรงวิสัชนาดังนี้ก็เพราะทรงหมายถึงความที่ยังเป็น อนุสัยอยู่ โดยอาการที่เคยเกิดและจักเกิดดังที่ได้ยกอุปมามาเปรียบเทียบให้เห็นแล้ว ทั้ง ๒ ข้อนั้น แต่ถ้าจะถามว่า
ยสฺส กามราโค อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิโฆ อุปฺปชฺชตีติ ?
กามราคะกําลังเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆะก็กําลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ? วิสัชนาว่า นุปฺปชฺชติ ไม่ใช่กําลังเกิด
อนึ่ง อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ ประการนี้เมื่อปรากฏขึ้นโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ คือเข้าถึงปริยุฏฐานแล้วนั้นเกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี เกิดไม่พร้อมกันในจิต ดวงเดียวกันก็มี แต่เมื่อยังเป็นอนุสัยอยู่นั้นได้นอนเนื่องอยู่พร้อมกันทั้ง ๒ อย่างในจิต ดวงเดียวกันนั้นเอง เหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงในอนุสยยมกว่า :-
ยสฺส กามราคานุลโย อนุเสติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสตีติ ?
กามราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลใดปฏิฆานุสัยก็นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลนั้นใช่ไหม ? อามนฺตา ใช่ ฉะนั้น การประหาณสันตานานุสยกิเลสได้โดยเด็ดขาดนั้นก็มีแต่มรรคญาณอย่างเดียว สําหรับวิปัสสนาญาณนั้นคง ประหาณได้ด้วยตทั้งคปหานเท่านั้น ส่วนฌานสามารถประหาณด้วยวิกขัมภนะคือด้วย การบ่มไว้เป็นเวลานานๆ คือหลายวันหลายเดือนหลายปีหลายมหากัป
อารัมมณานุสัยกิเลส การเกิดขึ้นของกิเลสโดยไม่สิ้นสุดในอารมณ์ที่ยังมิได้ มีการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยวิปัสสนาญาณ มรรคญาณ กิเลสนี้ชื่อว่า อารัมมณานุสัยกิเลส ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานโอวาทแก่บรรดาภิกษุทั้งหลายว่า :-
สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย ราคานุสโย ปหาต โพ ทุกขาย เวทนาย ปฏิฆานุสโย ปหาตพโพ, อทุกขมสุขาย เวทนาย อวิชชานุสโย ปหาตพฺโพ ฯ (มาในเวทนา สังยุตตพระบาลี) แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย ควรละราคานุสัยในการเสวยสุข ควรละปฏิฆานุสัยในการเสวยทุกข์ ควรละอวิชชานุสัย ในการเสวย ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
พระโอวาทนี้ทรงมุ่งหมายถึง “อารัมมณานุสัยกิเลส” ทั้งพระอรรถกถาจารย์ ก็ยังได้กล่าวไว้ว่า :- อิมสฺม สุตฺเต อารมฺมณานุสโย กณิโต ในสูตรที่มี สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอารัมมณานุสัยกิเลส แต่ก็หาได้ ทรงชี้แจงถึงข้อปฏิบัติที่จะทําการละ “อารัมมณานุสัยกิเลส” นี้แต่ประการใด ไม่เพียง แต่ทรงเตือนให้ทําการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ เท่านั้น เพราะว่าถ้าภิกษุ ทั้งหลายมิได้ทําการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ แล้วก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะทํา การประหาณอารัมมณานุสัยกิเลสนี้ได้ ถ้าว่าได้ทําการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อยู่โดยเคร่งครัดแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่ามีการละกิเลสในการเสวยอารมณ์นั้นๆ ได้ ดังที่พระฎีกาจารย์ได้แสดงไว้ในอานาปานัสสติกรรมฐานแห่งวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า :-
อนิจจานุปัสสนา ตาว ตรงคปปหานวเสน นิจจสัญญ์ ปริจจชติ ปริจจชนตี จ ตถา อปฺปวัตติย์ เย นิจฺจนฺติ ค ณวเสน กิเลสา ตมมูลกา อภิสงฺขารา ตทุกขมูลกา จ วิปากา ขนฺธา อนาคต อุปปัชเชย เต สัพเพปิ อปปาติกรุณาเสน ปริจจชติ ตถา ทุกขานุปสฺสนาทโย เตนาห วิปัสสนา หิ ตทงควเสน สิทธิ์ ยนฺธาภิสงฺขาเรหิ กิเลเส ปริจฺจชตีติ ฯ
แปลความว่า อนิจจานุปัสสนาที่แสดงในอันดับแรกนี้ย่อมสละละทิ้งนิจจ สัญญาด้วยอํานาจแห่งตทังคประหาณ เมื่ออนิจจานุปัสสนาได้สละละทิ้งนิจจสัญญาได้
แล้ว ถ้าหากว่ามิได้มีการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงโดยอาการดังที่กล่าวนี้ กิเลสต่างๆ อาจเกิดได้ในภายหลังด้วยอํานาจแห่งความยึดถือว่ารูปนามนี้เที่ยง และอภิสังขารคือ
อกุศลโลกียกุศลกรรมที่มีกิเลสเป็นมูลก็ดี วิบากนามขันธ์อันเป็นตัวภพใหม่ที่มีกรรม และกิเลสทั้ง ๒ นี้เป็นมูลก็ดีอาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง อนิจจานุปัสสนาที่สละละทิ้ง นิจจสัญญาได้นั้น ย่อมสละละทิ้งกิเลสกรรมวิบาก แม้เหล่านี้ทั้งหมดไม่ให้เกิดขึ้นได้ พร้อมกันอีกด้วย ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ที่สละละทิ้งสุขสัญญา อัตตสัญญา เป็นต้นได้นั้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า วิปัสสนาญาณย่อมสละกิเลสพร้อมด้วยวิบากนามขันธ์และ อภิสังขารด้วยอ่านเจตทังคปหาน
เมื่อ “อนิจจานุปัสสนา” เกิด “ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา” ก็ย่อมเกิดขึ้นตาม
ในเรื่องนี้ เมื่อมีการพิจารณาเห็นว่าเป็นอนิจจะแล้วกิเลสที่เกี่ยวกับนิจจ สัญญาก็เกิดขึ้นในอารมณ์นั้นไม่ได้ อันนี้เห็นได้โดยแจ้งชัดไม่มีข้อที่จะต้องสงสัย แต่ปัญหามีอยู่ว่าที่เกี่ยวกับสุขสัญญาและอัตตสัญญานั้นจะเกิดขึ้นในอารมณ์อันเดียวกันนี้ได้หรือไม่ ? แก้ว่า เกิดไม่ได้เพราะว่า ผู้ปฏิบัติที่ได้พิจารณาเห็นในอารมณ์โดยความ เป็นของไม่เที่ยงด้วยอํานาจการปรากฏแห่งอนิจจลักขณะคือเกิดดับๆ นั้น ครั้นได้หวน กลับไปพิจารณาดูในอารมณ์นั้นอีกครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นว่าเป็นสุข คงเห็นว่าเป็นทุกข์ โดยการเกิดขึ้นดับไปไม่หยุดยั้ง ทั้งมิได้เห็นว่ามีตัวตนเป็นแก่นสารแต่อย่างใดเลยใน อารมณ์นั้นอีกด้วย คงเห็นแต่ว่าไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ไม่เป็นไปตามประสงค์ คงเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ดังนั้น กิเลสที่เกี่ยวกับสุขสัญญาและอัตตสัญญา จึงเกิดขึ้นไม่ได้ในอารมณ์ที่มีการพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงดังนี้ สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ใน อังคุตตรพระบาลี ว่า :-
อนิจจสัญญา ภาเวตพฺพา อัสมิมาน สมุดมาตาย, อนิจจสัญญโน ภิกฺขเว อนตฺตสัญญา สัญชาติ, อนตฺตสญณี อสมิมานสมุกฆาต ปาปุณาติ ทิฏฺเจว ธมฺเม นิพฺพานํฯ
แปลความว่า พึงเจริญอนิจจสัญญาคือความจําหมายว่าไม่เที่ยงเพื่อถอนออกเสียซึ่งอัสมิมานะที่มีอาการถือตนว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลายอนัตตสัญญาความจําหมายว่าไม่ใช่ตน เรา เขา ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ ด้วยดีแก่ผู้ที่มีการพิจารณาเห็นเป็นอนิจจะ ผู้ที่พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตะ คือไม่ใช่ตน เรา เขานั้น ย่อมเป็นผู้ที่เข้าถึงซึ่งการถอนออกแห่งอัสมิมานะที่มีอาการยกตนว่า เรา แล้วเข้าถึงนิพพาน คือความสงบแห่งกิเลสในภพที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้านี้นั่นเทียว
ในพระบาลีนี้คํารับรองที่เป็นพยานหลักฐานอย่างสําคัญในเรื่องนี้ ก็อยู่ตรง พระบาลีที่กล่าวว่า อนิจจสัญญโน ภิกขเว อนตฺตสัญญา สณฺฐาติ และพระอรรถกถาจารย์ก็ยังได้กล่าวคําอธิบายขยายความตามพระบาลีนี้ไว้ใน อังคุตตรอรรถกถาอีกว่า :-
อนตฺตสัญญา สัญชาติ อนิจจลักขโณ ทิฏเฐ อนัตตลักขณ์ ทิฏฐเมว โหติ, เอเตสุ หิ สุ ลักขณสุ เอเกกลม ทิฏเฐ อิตรทวย์ ทิฏเฐเมว โหติ, เตน วุตต์ อนิจจสัญญโน ภิกขเว อนตฺตสัญญา สัณฐาตีติ ฯ แปลความว่า ที่พระพุทธองค์ทรง ตรัสว่า อนตฺตสญฺญา สัณชาติ (อนัตตสัญญาความจําหมายว่า ไม่ใช่ตน เรา เขาย่อม ตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี) นั้น อธิบายว่า เมื่อพิจารณาเห็นการเกิดดับที่เป็นอนิจจลักขณะ แล้วก็จักเห็นอนัตตลักขณะ คือไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชามีแต่เกิดดับเป็นไปตามเหตุ ปัจจัยสําเร็จไปด้วย เป็นความจริงดังนั้นเมื่อได้เห็นลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาลักษณะ ๓ อย่างนั้นก็จะต้องได้เห็นลักษณะทั้ง ๒ ที่เหลืออีกด้วย อย่างแน่แท้ เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า อนิจจสัญญโน ภิกขเว อนตฺตสัญญา สณฺฐาติ ดูกรภิกษุทั้งหลายอนัตตสัญญาความจําหมายว่าไม่ใช่ตน เรา เขา ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี แก่ผู้ที่มีการพิจารณาเห็นเป็นอนิจจะ
อธิบายอัสมิมานะ
อัสมิมานะ หมายความว่าการถือตนว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ พระอริยบุคคล ทั้งหลายที่นอกจากพระอรหันต์นั้น แม้ว่าจะเป็นผู้ไม่มีสักกายทิฏฐิคือความเข้าใจผิด ในรูปนามว่าเป็นเราเป็นเขา ชาย หญิง สัตว์ บุคคล ตัวตน ดังเช่นปุถุชนคนทั้งหลาย เห็นอยู่นั้นก็จริง แต่ทว่าอัสมิมานะการถือตัวว่าเราเป็นนั่นเป็นนี้โดยอาศัยคุณความดี ที่มีอยู่ในตนยังมีอยู่เพราะว่าอัสมิมานะนี้เป็นฝ่ายยาถาวมานะ การถือตัวตามความเป็นจริง หาใช่เป็นอยาถาวมานะ การถือตัวไม่ใช่ตามความเป็นจริงแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น การทํา พูด คิด ของพระอริยะ ๓ จําพวกนี้บางทีก็ประกอบด้วยอัสมิมานะเช่นมีการถือตัว ว่าเราเป็นอริยะ มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงมีศีลบริสุทธิ์ ถ้าเป็น พระอนาคามีก็มีการถือเป็นพิเศษออกไปอีกว่าเราไม่มีความยินดียินร้ายในอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ถ้ามีความรู้ความสามารถก็ถือว่าเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถคิดนึก อยู่ภายในใจบ้าง แสดงออกมาทางกายบ้าง เปล่งออกมาทางวาจาบ้าง ซึ่งมีอาการ ละม้ายคล้ายคลึงกันกับสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นอัสมิมานะนี้เรียกว่า ทิฏฐิมานะก็ได้ และ กาลที่แสดงว่าสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคเบื้องบน ๓ มีหน้าที่ประหาณมิจฉาทิฏฐินั้น ก็ มุ่งหมายเอาอัสมิมานะนี้เอง บรรดาสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคเบื้องบน ๓ นี้ สัมมาทิฏฐิ ที่อยู่ในอรหัตตมรรคเท่านั้นที่จะทําการประหาณอัสมิมานะให้เด็ดขาดหมดไปได้ อีกประการหนึ่งปุถุชนทั้งหลายที่ทําการกําหนดพิจารณารูปนามอยู่ เมื่ออนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นนั้น ปุถุชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมประหาณอัสมิมานะลงได้บ้างเหมือนกันแต่มิใช่เป็นสมุจเฉทปหาน
แสดงอนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะโดยสมมุติ และอนัตตลักขณะ
ในลักษณะ ๓ ประการนี้ “อนิจจะและทุกขะ” มีอยู่ด้วยกัน ๒ อย่าง คือ
๑. โดยสมมุติ
๒. โดยสภาวะ
โดยสมมุตินั้นอยู่ในขอบเขตของสักกายทิฏฐิอันเป็นของชาวบ้านที่นิยมพูดกัน กล่าวคือเมื่อได้เห็นของสิ่งหนึ่งสิ่งใดแตกหักทําลายลง สัตว์ บุคคล ตายไป เคยมั่งมีกลับจน มียศมีอํานาจกลับเสื่อมยศเสื่อมอํานาจ ดังนี้แล้วก็มักจะกล่าวกันว่า อนิจจังๆ เมื่อตนเองก็ดี ผู้อื่นก็ดี มีการป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นหรือถูกตี ฟัน แทง เป็น แผลฝีเสี้ยนหนามตํา เสียอกเสียใจดังนี้แล้วก็มักจะกล่าวกันว่า ทุกข์จริงๆ นี้แหละ เรียกว่า อนิจจะ ทุกขะ โดยสมมุติซึ่งเป็นไปตามความเห็นของชาวบ้าน สําหรับอนัตต ลักขณะนั้นชาวบ้านมองไม่เห็นเลย และไม่สามารถที่จะมองเห็นได้อีกด้วย ดังนั้นจึง ไม่มีการนิยมพูดกันว่าเป็น อนัตตา
โดยสภาวะนั้นอยู่ในขอบเขตของสัมมาทิฏฐิอันเป็นวิสัยของพระสัมมาสัม
พุทธเจ้ากล่าวคือมีสภาพเกิดดับดังที่กล่าวแล้ว เหตุนี้แหละในสมัยที่ว่างเปล่าจาก พระพุทธศาสนานั้น อนิจจะ ทุกขะที่เป็นสภาวะจึงไม่มีใครกล่าวกัน แม้ที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็มิอาจที่จะกล่าวหรือแสดงอนิจจะ ทุกขะ ที่เป็นสภาวะให้ชนทั้งหลายฟังได้เพียงแต่กล่าวหรือแสดงอนิจจะ ทุกขะที่เป็นไปตามสมมุติเท่านั้น สําหรับอนัตตลักขณะนั้นทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มิได้มีการกล่าวถึงและแสดงได้เลย ฉะนั้นชนทั้งหลายเมื่อได้ฟังธรรมที่เป็นอนิจจะและ ทุกขะ จากพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี จากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็ดี จึงมิอาจที่จะบรรลุ มรรคผลได้ เพียงแต่ยังจิตใจให้เป็นมหากุศลเกิดขึ้นเท่านั้น
อนึ่ง ความสําเร็จในการรู้เห็นและการแสดงธรรมที่เป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ โดยสภาวะนั้นต่างกันคือ การรู้เห็นสําเร็จได้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา การแสดงธรรม สําเร็จได้ด้วยการศึกษาพระอภิธรรม ดังนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้ว่าจะรู้เห็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ ที่เป็นสภาวะจนได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ก็จริง แต่ทว่าขาดการ ศึกษาพระอภิธรรมอันเป็นฝ่ายปริยัติ ฉะนี้แหละจึงมิอาจที่จะแสดงสภาวะ อนิจจะ ทุกขะได้ ส่วนพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นแม้จะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอย่างล้นพ้น ประการใดก็ตาม แต่ก็ยังมิได้รู้เห็นอนิจจะ ทุกขะ ตามสภาวะ สรุปแล้วก็คงได้ความ ว่า อนิจจทุกขลักขณะที่เป็นสภาวะอยู่ในขอบเขตของสัมมาทิฏฐิ และอนัตตลักขณะนั้นมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสาวก สาวิกาที่มีการศึกษาในพระอภิธรรมเป็นอย่าง ดีเท่านั้นที่จะแสดงได้ ดังที่พระมหาพุทธโฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถา ว่า :-
๑. สมัยที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็ตาม มิได้อุบัติขึ้นก็ตาม อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะทั้ง ๒ นี้ ย่อมปรากฏมีอยู่เสมอ
๒. ยกเว้นพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเสียแล้ว อนัตตลักขณะย่อมไม่ปรากฏ จัก ปรากฏก็เฉพาะแต่ในสมัยที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเท่านั้น
๓. ดาบสปริพาชกทั้งหลายมีโพธิสัตว์ศาสดาจารย์สรภังคะเป็นต้น ที่มีฤทธิ์มากอานุภาพมากเหล่านี้ ย่อมสามารถแสดงได้แต่เพียงแค่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง ๒ ประการนี้เท่านั้นไม่สามารถแสดงความเป็นอนัตตาได้เลย
๔. ความจริงเป็นดังนั้น ถ้าหากว่าท่านเหล่านั้นสามารถแสดงความเป็นไป แห่งรูปนาม โดยความเป็นอนัตตาให้แก่บริษัทที่มาหาตนฟังได้แล้ว บริษัทเหล่านั้นก็ อาจบรรลุมรรคผลได้บ้าง
๕. แท้จริงการปรากฏแห่งอนัตตลักขณะนี้ หาใช่เป็นวิสัยของผู้ใดผู้หนึ่งอื่น นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ แต่เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า จําพวกเดียวเท่านั้น
๖. อนัตตลักขณะไม่ปรากฏในสมัยที่ไม่มีพระพุทธศาสนาดังนี้แล
๗. เพราะฉะนั้น พระศาสดาเอกของชาวโลก เมื่อจะทรงแสดงอนัตตลักขณะ นั้นย่อมแสดงชี้แจงด้วยสภาพความเป็นอนิจจังบ้าง ทุกขังบ้าง และทั้งอนิจจังทุกขัง
ทั้ง ๒ บ้าง
ตามหลักฐานนี้พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า การแสดงอนัตตลักขณะของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บางทีก็ทรงยกความเป็นอนิจจะขึ้นมาเปรียบเทียบ บางทีก็ ทรงยกความเป็นทุกขะขึ้นมาเปรียบเทียบ บางทีก็ทรงยกความเป็นอนิจจทุกขะ ทั้ง ๒ ขึ้นมาเปรียบเทียบเพื่อจะได้เห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทําให้เกิดความสงสัย
ขึ้นมาว่า ก็เหตุไฉนบริษัททั้งหลายที่ได้ฟังอนิจจทุกขะจากพระโพธิสัตว์ศาสดาจารย์ สรภังคะนั้น จึงมิได้รู้เห็นในความเป็นอนัตตา และได้มรรคผลเล่า
แก้ว่า การแสดงอนิจจะ ทุกขะของท่านเหล่านั้นเป็นการแสดงอนิจจะ ทุกขะ โดยสมมุติดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นหาใช่เป็นอนิจจะ ทุกขะแท้อันเป็นอารมณ์ของ วิปัสสนาญาณแต่อย่างใดไม่ สําหรับการแสดงอนิจจะ ทุกขะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวนี้เป็นการแสดงอนิจจะ ทุกขะโดยสภาวะที่เป็นอารมณ์ ของวิปัสสนาญาณ ฉะนั้นผู้ฟังจึงสามารถรู้เห็นในความเป็นอนัตตาได้
จบ อนิจจานุปัสสนา
๒. ทุกขานุปัสสนา
ทุกบานุปัสสนา มีวงนัตถะแสดงว่า ทุกขสฺส อนุปสฺสนา ทุกฺขานุปสฺสนา แปลว่าการพิจารณารู้เห็นรูปนามที่เป็นทุกข์อยู่เนืองๆ จนทุกขลักษณะปรากฏชื่อว่า ทุกขานุปัสสนา หรืออีกนัยหนึ่ง ทุกขตาย อนุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา การพิจารณา รู้เห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ชื่อว่า ทุกขานุปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก
แสดงความต่างกันของคําทั้ง ๓
๑. ทุกขธรรม ธรรมที่เป็นทุกข์ได้แก่ รูปนาม
๒. ทุกขลักษณะ เครื่องหมายที่กําหนดว่าเป็นทุกข์ของรูปนาม
๓. ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่มีการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม
ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทนอยู่ไม่ได้ของรูปนาม ที่ เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งการเบียดเบียน โดยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสายในขณะที่กําหนดรู้รูปนามตามสภาวะอยู่นั้นแหละ ปัญญานี้ชื่อว่า “ทุกขานุปัสสนา”
ดังนั้น นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบความในระหว่างคําว่า ทุกขะ ทุกขลักขณะ ทุกขานุปัสสนา ทั้ง ๓ นี้ว่ามีความต่างกันคือ ทุกขะ ธรรมที่เป็นทุกข์ได้แก่รูปนาม ทุกขลักขณะ เครื่องหมายที่กําหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ได้แก่การเกิดดับติดต่อกันอยู่อย่างไม่ ขาดสาย, ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม หรือขณะที่เห็นความเกิดดับของรูปนามอยู่นั้น ความรู้สึกในขณะนั้นก็เกิดขึ้นว่า ภาย ใจนี้เป็นของน่าเกลียดน่ากลัวไม่ดีเป็นภัย จะหาความสุขสบายจากกายใจอย่างแท้จริง นั้นหาไม่ได้เลยนี้ ได้แก่ปัญญาที่ในมหากุศล มหากิริยาที่กําหนดรู้รูปนาม
อธิบายทุกขานุปัสสนา
ตามธรรมดาคนทั้งหลายย่อมเข้าใจในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายว่า พรหมมีความสุข เทวดาชั้นสูงมีความสุข แต่เทวดาชั้นต่ํามีความทุกข์ มนุษย์มีร่างกาย สมบูรณ์ อนามัยดี มั่งมีศรีสุข มีความสุข ร่างกายไม่สมบูรณ์มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อนามัยไม่ดี ยากจนเข็ญใจเหล่านี้เป็นทุกข์ สัตว์ดิรัจฉานบางพวกเป็นสุข บางพวก เป็นทุกข์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นทุกข์ ต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นความเข้าใจถูกต้อง เหมือนกันเพราะมองไปในด้านการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสของ สัตว์ทั้งหลาย แต่ความเป็นจริงนั้นสุขกายสุขใจก็ดี ทุกข์กายทุกข์ใจก็ดี ล้วนแต่มีการ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่คงที่ แล้วก็กลับเกิดขึ้นอีกติดต่อกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไปโดยไม่ว่าง เว้น ดังนั้นรูปนามที่มีสุขหรือไม่มีสุขก็ตาม ทั้งหมดจึงล้วนแต่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น
ทุกขะ เมื่อว่าโดยย่อตามธรรมาธิษฐานแล้วก็มีเพียง ๓ อย่าง คือ
๑. ทุกขทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยากเป็นทุกข์จริงได้แก่ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
๒. วิปริณามทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปโดยไม่ หยุดยั้ง ได้แก่ สุขกาย สุขใจ
๓. สังขารทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยความเกิดดับ ได้แก่ รูปนาม หรือกาย ใจ ทั่วไป
ใน ๓ อย่างนี้ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ชื่อว่าทุกขทุกข์ก็เพราะกายมีอาการเป็นไป ต่างๆ เช่น จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขัดยอก ปวดศีรษะ ปวดฟัน เป็นแผลฝี ถูกตีฟันแทง เจ็บไข้ โรคต่างๆ นานาหลายอย่างหลายประการเหลือที่จะพรรณนาดังที่เห็นกันอยู่ใน ทุกวันนี้ ส่วนใจก็เพราะเสียอกเสียใจ โกรธ กลัว เนื่องจากที่ได้ประสบพบกับเหตุภัยต่างๆ ดังที่มีอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้ ทุกข์ ๒ นี้ล้วนแต่ทนได้ยากทั้งสิ้น ดังนั้นท่านจึงกล่าว ว่าเป็นทุกขทุกข์
ความสุขกาย สุขใจ ที่ชื่อว่าวิปริณามทุกข์นั้น ก็เพราะมีการเปลี่ยนแปลง ปรวนแปรไปไม่คงที่อยู่ได้นั่นเอง ดังเช่นในขณะที่ร่างกายกําลังกระทบกับความเย็น โดยที่ถูกลมเย็นพัดมาก็ดี หรือกําลังพัดอยู่ก็ดี ขณะนั้นความสุขกายสุขใจ ย่อมเกิดขึ้น ครั้นลมหยุดพัดหรือหยุดนิ่ง ความสุขกายสุขใจก็หายไป
ดังนั้น จึงมีการอาบน้ํากันอยู่เสมอเพื่อความสุขกายสุขใจจะได้เกิดขึ้นอีก ความสุขใจที่เกิดจากการเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรสที่ดีๆ เหล่านี้ เมื่อหยุดดู หยุดฟัง หยุดดม หยุดรับประทานก็ดี หรืออารมณ์เหล่านี้หายไปก็ดี ความสุขใจก็หาย ไปพร้อมกันในขณะนั้นเอง เมื่อจะให้มีอยู่ก็ต้องคอยปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่อย่าให้ขาด ความสุขใจจึงจะมีอยู่ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละท่านจึงกล่าวว่า ความสุขกายสุขใจ เป็นวิปริณามทุกข์
รูปนาม ชื่อว่า สังขารทุกข์ ก็เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยการเกิดดับ คือ นามขันธ์ ๔ หรือจิตใจชั่วขณะดีดนิ้วมือครั้งหนึ่งเกิดขึ้นแสนโกฏิครั้ง ดับไปก็แสนโกฏิ ครั้งรูปหรือกายเกิดขึ้นมากกว่าห้าพันโกฏิครั้ง ดับไปก็มากกว่าห้าพันโกฏิครั้ง การเกิด ดับดังนี้คงรู้เห็นก็แต่ผู้ที่เจริญวิปัสสนา หรือผู้ที่มีการศึกษาที่ในความเป็นไปแห่งรูป นามเท่านั้น ส่วนบุคคลนอกนั้นหาได้รู้เช่นนี้ไม่แต่ใครจะรู้หรือไม่รู้เห็นก็ตาม สภาพ ของรูปและนามก็คงเป็นดังนี้เสมอไป เช่นเดียวกันกับภาพที่ปรากฏในโทรภาพหรือบน จอภาพยนตร์ ภาพที่ปรากฏในโทรภาพหรือบนจอภาพยนตร์นั้นก็เพราะเนื่องมาจาก การลําดับติดต่อกันของฟิล์มที่เขาถ่ายมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นํามาปะติดปะต่อเชื่อมกัน ไว้เป็นอย่างดี ทําการฉายออกมาให้เห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพียงชั่ว ๑ นาทีภาพที่ เป็นชิ้นๆ ก็ผ่านไปหลายร้อยแต่ผู้ดูบางคนก็หาได้รู้ไม่ ข้อนี้ฉันใด การเกิดดับติดต่อ กันแห่งรูปนาม อย่างไม่ขาดสายก็ฉันนั้น ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่ารูปนามทั้งหมดเป็น สังขารทุกข์
ทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนี้ สังขารทุกข์อย่างเดียวที่มีอยู่ในสังขารธรรมทั่วไปทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหตุนั้นพระอาจารย์ธัมมปาลเถระจึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรค มหาฎีกาว่า ตีส ทุกฺขตาสุ สังขารทุกข์ตาว พยาน ฯ แปลว่าในทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนั้น สังขารทุกข์อย่างเดียวมีทั่วไปในสังขารธรรมทั้งปวงทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นทุกข์ก็มี ๓ อย่าง คือ
๑. ทุกขทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นทุกข ทุกข์ คือ ทุกข์จริงๆ ได้แก่อาการที่ทนได้ยาก มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๒. วิปริณามทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นวิปริฌามทุกข์ คือ ไม่ใช่ทุกข์จริง ไม่มีใครคํานึงถึง ทุกข์ชนิดนี้ ได้แก่อาการไม่คงที่ของความสุข สบายที่มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๓. สังขารทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นสังขาร ทุกข์ คือ ทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก ได้แก่อาการที่ เกิดขึ้นแล้วดับไปติดต่อกันไม่ขาดสาย
ดังนั้น ทุกข์ ๓ อย่างที่ได้กล่าวแล้วหาได้มีเทวดาและพรหมที่มีอํานาจ หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดมาสมมุติให้เป็นไปก็หามิได้ หากแต่ลักษณะที่มีอยู่ใน ทุกข์ทั้ง ๓ นี้แหละเป็นผู้ชี้ขาดลงไปว่าธรรมเหล่านี้เป็นทุกข์ เสมือนหนึ่งงูทั้งปวง งู มากชนิดล้วนแต่มีรูปร่างสัณฐานกลมยาวด้วยกันทั้งสิ้น แต่กระนั้นก็ตามย่อมมีลักษณะ เครื่องหมายที่จะให้รู้ได้ว่าดุหรือไม่ดุ และเป็นชนิดอะไรออกไปอีกว่านี้ งูเห่า แมวเซา จงอาง สามเหลี่ยม งูเขียวธรรมดา หางไหม้ ก้านมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น ข้อนี้ฉันใด ทุกข์ ๓ อย่างก็ฉันนั้นอย่างคือ
ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม ก็มี ๓ อย่างคือ
๑. ทุกบทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่เป็นทุกข์แท้จริง
๒. วิปริณามทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่มิใช่เป็นทุกข์จริง อันบุคคลมิได้คํานึงถึงทุกข์ชนิดนี้
๓. สังขารทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก
ทุกขานุปัสสนาทั้ง ๓ อย่างนี้ ทุกขทุกขานุปัสสนาและวิปริณามทุกขานุปัสสนาทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นทุกขานุปัสสนาเทียม หมายความว่าการรู้เห็นใน ทุกขทุกข์และวิปริณามทุกข์ ยังเป็นการรู้เห็นที่เป็นบัญญัติอยู่ทั้งยังไม่ตรงตามหลักพุทธ ประสงค์ที่พระองค์ทรงวางไว้ในการที่จะได้มรรค ผล ส่วนสังขารทุกขานุปัสสนานั้น หมายความว่าการรู้เห็นสังขารทุกข์เป็นการรู้เห็นความเป็นไปเป็นทุกขานุปัสสนาแท้ แห่งรูปนามตามสภาวะไม่มีบัญญัติเข้ามาเจือปน และสามารถประหาณกิเลสได้ถูกตรง ตามพุทธประสงค์ที่ทรงวางไว้ว่า :-
สพฺเพ สงฺขารา ทุกชาติ ยถา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพสฺทติ ทุกเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา ฯ
เมื่อใดผู้ปฏิบัติมาพิจารณาเห็นด้วยวิปัสสนาญาณว่า สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในสังขารทุกข์คือกายใจ การเบื่อหน่าย เช่นนี้เป็นหนทางแห่งความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง
อนึ่ง รูปนาม ที่ได้ชื่อว่า ทุกข์ นั้นก็เพราะว่าเป็นอนิจจะ มีการเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป ส่วนอาการที่เกิดดับนั้นเป็น ทุกขลักขณะ เครื่องหมายที่ทําให้รู้ได้ว่าธรรม เหล่านี้เป็นทุกข์ ฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ยทนิจจ ต์ ทุกฺขนฺติ วจนโต ปูน ตเทว ขันธปญจก ทุกข์, กสฺมา ? อภิณหปปฏิปีฬนา อภิณหปปฏิปีฬนากาโร ทุกขลักขณ์ ฯ ขันธ์ ๕ นั้นแหละเป็นธรรมที่เป็นทุกข์ เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่าธรรมใดเป็นอนิจจะ ธรรมนั้นเป็นทุกข์, เพราะเหตุว่า ขันธ์ ๕ นี้ได้ถูกความเกิดดับเบียดเบียนอยู่เสมอนั้นเอง อาการเบียดเบียนด้วย การเกิดดับอยู่เสมอนั้นเป็นทุกขลักขณะ
จบ ทุกขานุปัสสนา
๓. อนัตตานุปัสสนา
ปัญญาที่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่มีแก่นสารปราศจากการบังคับ บัญชาของรูปนามที่เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งความไม่ใช่ตน เรา เขา โดยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กําหนดรู้รูปนาม ตามสภาวะอยู่ ปัญญานี้ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
อนตฺตา เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ น + อตฺตาน แปลว่าไม่ใช่ อตฺตา แปลแยกออกได้เป็น ๔ อย่าง คือ จิต ๑ กาย ๑ สภาวะ ๑ ปรมอัตตะ หรือ วิญญาณพิเศษ ๑ รวมเป็น ๔ อย่าง
ข้อที่ ๑ อตฺตา ในพระบาลีว่า อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา แปลว่า บัณฑิต ทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน คําว่า ตน ในพระบาลีนี้ได้แก่ จิต
ข้อที่ ๒ อตฺตา ในพระบาลีว่า นตฺถิ อตฺตสม์ เปม แปลว่า ความรักเสมอ ด้วยตนไม่มี คําว่า ตน ในพระบาลีนี้ ได้แก่ กาย
ข้อที่ ๓ อตฺตา ในพระบาลีว่า อตฺตทีปา ภิกขเว วิหรถ แปลว่า ภิกษุ ทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่งอยู่ คําว่า ตน ในพระบาลีนี้ได้แก่ กุศลธรรม คือ สภาวะ
ข้อที่ ๔ อตฺตา ในพระบาลีว่า อยู่ อตฺตา นิจโจ โว สสฺสโต อวิปริณามธมฺโม แปลว่า ตนนี้เป็นของเที่ยงแข็งแรง ตั้งอยู่มั่นคง ไม่มีการแตกดับ คําว่า ตน ในพระบาลีข้อที่ ๔ นี้ได้แก่ ปรมอัตตะ หรือปรมวิญญาณที่ชาวอินเดียถือกันตลอดมา จนถึงปัจจุบันนี้
ในคําแปล อัตตา ทั้ง ๔ อย่างนี้ ข้อสําคัญคือ ข้อที่แปลว่าเป็นของเที่ยงของ ชาวอินเดียนั่นเอง ส่วนอัตตาอีก ๓ คือ จิต, กาย, สภาวะ นั้นก็ถูกต้องตามหลักฐาน ของตนๆ เพราะฉะนั้น อัตตาที่เป็นของเที่ยงนั้นเป็นข้อธรรมสําคัญที่ตรงกันข้ามกับ อนัตตธรรม อนัตตา ที่แปลว่าไม่ใช่อัตตานั้น มุ่งหมายถึงไม่ใช่อัตตาข้อที่ ๔ นี้นั่นเอง
ชาวอินเดียส่วนมากยึดถือว่าอัตตาไม่ตาย ไม่มีการแตกดับเป็นของเที่ยง เสมอ บุคคลทุกๆ คนต้องมีอัตตา คนและสัตว์ตาย แต่อัตตา ไม่ตาย อัตตาจะทํา อะไรก็ทําได้ คุณอํานาจความสามารถของอัตตานี้มีมากมายหลายอย่าง คือคําว่า อัตตานี้เป็นชื่อของชีวะ ในที่นี้ชาวอินเดียมุ่งหมายถึงวิญญาณพิเศษอย่างหนึ่งเมื่อ คนตายไปแล้ว ชีวะหรืออัตตา ไม่ตาย ต้องหาที่อยู่ใหม่อีก
อัตตา เป็น เวทกะ คือผู้เสวยความสุขและความทุกข์ การกระทําดีหรือ ร้าย อัตตาจะต้องเป็นผู้เสวยผลในชาติใหม่ในอนาคตใหม่ต่อไป
อัตตา เป็น นิวาสี คือผู้เที่ยงไม่ตาย เมื่อบ้านเก่าแตกดับก็ย้ายไปอยู่ที่
อัตตา เป็น สยิวลี คือการกระทําอะไรๆ ก็ดีเป็นไปตามใจของอัตตา คือ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส เป็นต้นนั้น แล้วแต่อัตตาตามใจอัตตา ทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้น อัตตาจึงเป็นเจ้าของโลก เป็นผู้สร้างโลก
ผู้ถือมั่นในคุณของอัตตาหรือนามของอัตตา ที่กล่าวมาแล้วนี้ในพระบวรพุทธ ศาสนาเรียกว่า ผู้มีอัตตวาทุปาทาน คือผู้ยึดถืออัตตวาทะ อัตตวาทะนี้ในพระพุทธ ศาสนาอธิบายว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิคือ เป็นความเห็นผิด เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง เป็น ความเห็นทีหลงทาง
อนัตตา แสดงวจนัตถะว่า น + อตฺตา = อนตฺตา แปลความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ไม่ใช่อัตตา ฉะนั้นจึงชื่อว่า อนัตตา
อีกนัยหนึ่ง นตฺถิ อตฺตา เอตสฺส ขนฺธปญฺจกสุชาติ วา อนตฺตา แปลความ ว่า อัตตา ไม่มีแก่รูปนามขันธ์ ๕ นั้น ฉะนั้นรูปนามขันธ์ ๕ นั้น จึงเรียกว่า อนัตตา
หมายความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แห่งรูปนามขันธ์ ๕ นั่น ไม่มีอัตตา ฉะนั้น รูปนามขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็น อนัตตา
นอกจากรูปขันธ์ ๕ แล้ว นิพพาน บัญญัติ ก็ไม่มีอัตตาเหมือนกัน ดังนั้น สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงจึงเป็น อนัตตา
สําหรับอนิจจา ทุกขานั้น ได้แก่สังขาร (สังขตธรรม) อย่างเดียว อนัตตา นั้นได้แก่สังขาร (สังขตะ) และอสังขตะ คือนิพพานและบัญญัติทั้งปวง ดังนั้นพระพุทธ องค์จึงทรงเทศนาว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา, สัพเพ สังขารา ทุกขา, สัพเพ ธัมมา อนตฺตา ดังนี้ อีกนัยหนึ่งพระศาสดาทรงเทศนาไว้ในวินัยปิฎกปริวารบาลีว่า :-
อนิจจา สพฺพสงฺขตา ทุกฺขานตฺตา จ ลกฺขิตา
นิพฺพานํ เจว ปญฺญตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉิตา
สังขารธรรมทั้งปวง หมายความว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่อัตตา นิพพานก็ดี บัญญัติก็ดี ตัดสินว่าเป็น อนัตตา
อีกนัยหนึ่งคําว่า อนตฺตา อสารกฏเจน แปลว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถ ว่าไม่มีแก่นสาร หรือไม่อยู่ใต้อํานาจของใคร ฉะนั้นจึงเรียกว่า อนัตตา
หมายความว่า ธรรมดารูปธรรมย่อมไม่เป็นสาระ ทุกๆ ขณะย่อมไปสู่ความ ดับ เมื่อปราศจากชีวิต, อุสมาเดโชและวิญญาณทั้ง ๓ นี้แล้วจะหารูปที่ใช้การสักอันหนึ่ง ก็ไม่ได้ เมื่อจวนจะตายก็ดี จะเอารูปที่เป็นสาระแล้วใช้การสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่ได้ว่าโดย อาการก็มีอาการเกิดดับเสมอ ฉะนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงเปรียบเทียบอุปมาไว้ว่า เผณปิณฑปม์ รูป์ แปลว่า รูปเหมือนต่อมน้ํา ส่วนนามก็เหมือนกันจะกระทบหรือจับ ไม่ได้เอาเวทนาสัญญาเหล่านี้ไปใช้การสิ่งใดไม่ได้ เกิดแล้วดับสูญไปห้ามไม่ให้เกิด หรือดับก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นโดยสภาวะจึงเรียกว่า อนัตตา
ความต่างกันระหว่างอนัตตา, อนัตตลักขณะ, อนัตตานุปัสสนา
๑. อนัตตา รูปนามขันธ์ ๕ ที่เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนในวิสุทธิมรรค แสดงว่า ขํา ทุกข์ ตทน ตาติ ปน วจนโต ตเทว ขนฺธปัญจก อนตฺตา กามา ? อวสวตฺตนโต
รูปนามขันธ์ ๕ ชื่อว่าเป็นอนัตตา สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา เพราะรูปนามขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชา ของผู้ใดทั้งสิ้น
๒. อนัตตลักขณะ ในเครื่องหมายที่กําหนดรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนของรูปนามใน วิสุทธิมรรคแสดงว่า อวสวตฺตนากาโร อนตฺตลกขณ์ อาการที่ไม่เป็นไปในอํานาจ บังคับบัญชาของผู้ใดชื่อว่า อนัตตลักขณะ
อีกนัยหนึ่ง อนัตตลักขณะ แสดงวจนัตถะ ว่า อนตฺตสฺส ลักขณํ อนตฺตลกขณํ
เครื่องหมายของธรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่อัตตาชื่อว่า อนัตตลักขณะ ได้แก่ความ ไม่มีแก่นสาร ปราศจากเราเขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ
๓. อนัตตานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นโดยความไม่เป็นไปในอํานาจ บังคับบัญชาของรูปนาม แสดงวจนัตถะว่า อนตฺตสฺส อนุปัสสนา อนตฺตานุปัสสนา
การกําหนดรู้เห็นรูปนามที่เป็นอนัตตาอยู่เนืองๆ จนอนัตตลักขณะปรากฏ ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
หรืออีกนัยหนึ่ง อนตฺตตาย อนุปัสสนา อนตฺตานุปสฺสนา การกําหนดรู้ เห็นความไม่มีแก่นสารปราศจากเราเขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ ของผู้ใดอยู่เนืองๆ ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
การพิจารณาอัตตาและอนัตตา
เกสา เส้นผม โลมา ขน นขา เล็บ ทนฺตา ฟัน ตโจ หนัง มัส เนื้อ นหารุ เอ็น อฏฐิ กระดูก อฏฐิมิญช์ เยื่อในกระดูก วกก์ ม้าม หทย์ หัวใจ ยกน์ ตับ กิโลม พังผืด ปีหก ไต ปายาส ปอด อนุต์ ไส้ใหญ่ อนุตคุณ ไส้เล็ก อุทริย์ อาหารใหม่ กรีส อาหารเก่า มาถลุงค์ มันสมอง ธาตุทั้ง ๒๐ นี้ พระศาสดาตรัสไว้ในสุตตันตปิฎกและ อภิธรรมปิฎกว่าเป็น ปถวีธาตุ
อนัตตลักขณะไม่ปรากฏก็เพราะชนะได้กําบังปกปิดไว้ ฉะนั้นอนัตตลักขณะ จึงไม่เห็นชัด ถ้าฆนะแตกแล้ว อนัตตลักขณะก็เห็นชัดแจ้ง ดังที่พระมหาพุทธโฆษาจารย์ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า :-
อนัตตลักขณ์ นานาธาตุวินิพโภคสฺส อมนสิการา เนน ปฏิจฉนุน ตา น อุปฏฺฐาติ นานาธาตุโย วินิพกชชิตวา ฆนวินิพโภค เต อนตฺตลกขณ์ ยาถาวรสรสโต อุปฏฺฐาติ ฯ
อนัตตลักขณะไม่ปรากฏก็เพราะไม่มีการกําหนดพิจารณาในธาตุต่างๆ คือ รูปธาตุ นามธาตุ ซึ่งธาตุเหล่านั้นแสดงอาการคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มเป็นกองเพราะ ฆนบัญญัติได้กําบังปกปิดไว้ แต่เมื่อได้ทําการกําหนดพิจารณาจนเกิดความรู้ความเห็น ว่ารูปธาตุ นามธาตุแยกกันได้เช่นนี้แล้วฒนะก็แตก อนัตตลักขณะก็ย่อมปรากฏโดย สภาวะของตนอย่างแท้จริงดังนี้
คําว่า ฆนะ หมายความว่าเกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อนอารมณ์ภายในภายนอกและ อารัมมณีกวิถีจิตภายในนั้นคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มเป็นกอง ชนะเป็นเหตุให้บุคคล ทั้งหลายเข้าใจผิดยึดถือว่าบุคคล สัตว์ เรา เขา เรียกกันว่าเป็นอัตตา พอชนะแตกแล้ว อัตตาก็หายไป อนัตตาก็ปรากฏชัดเจนแทนที่ บัญญัติปรากฏ ปรมัตถ์หาย ปรมัตถ์ปรากฏ บัญญัติหาย
แสดงวิปัสสนาญาณ ๑๐ ตามนัยพระอภิธัมมัตถสังคหบาลี และญาณ ๑๖
นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนามเป็นลักษณะ ๑ เป็นรส ๑ เป็นปัจจุปัฏฐาน ๑ เป็นปทัฏฐาน ๑ ว่าโดยวิสุทธิเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ อันได้แก่ปัญญา เจตสิก ที่มีการกําหนดรู้ลักขณาทิจตุกะ ของรูปนามดังต่อไปนี้
ลักขณาทิจตุกะของจิต
๑. วิชชานนลกขณํ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ
๒. ปุพฺพักมรสํ มีการเป็นประธานของเจตสิกและกัมมชรูป
๓. ปฏิสนธิปัจจุปัฏฐานํ มีการสืบต่อกันระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิต
๔. สงฺขารูปทฏฺฐานํ วา มีสังขาร ๓ เป็นเหตุใกล้ หรือ วิตถารมฺมณปทุฏฐาน มีวัตถุอารมณ์ ๖ เป็นเหตุใกล้
ลักขณาทิจตุกะของเจตสิก
๑. นมนลกขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ
๒. สมุปโยครสํ มีการประกอบกันกับจิต และประกอบกับตนเองโดยเป็นเอกุปปาทตาเป็นต้น เป็นกิจ
๓. อวินิพโภคปัจจุปัฏฐาน มีการไม่แยกกันกับจิตเป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิต
๔. วิญญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้
ลักขณาทิจตุกะของรูป
๑. รูปปนลกฺขณ์ มีการสลายแปรปรวนเป็นลักษณะ
๒. วิกิรณร มีการกระจัดกระจายไปเป็นกิจ
๓. อัพยากตปจจุปัฏฐาน มีการเป็นอัพยากตะเป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิต
๔. วิญญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่กําหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่แท้จริงของสมถยานิกบุคคล สําหรับบุคคลผู้ปรารถนาบรรลุถึงความเห็นที่บริสุทธิ์ (ทิฏฐิวิสุทธิ) ถ้าเคยปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อนเมื่อออกจากรูปาวจรฌานจิต ๕ หรืออรูปาวจรญาน จิต ๓ (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต) ฌานใดฌานหนึ่งมาแล้วต้องกําหนดองค์ ฌานมี วิตก เป็นต้น หรือกําหนดสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับองค์ฌานมี ผัสสะ สัญญา เป็นต้น
การกําหนดองค์ฌาน หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับองค์ฌานนั้น ก่อนอื่นต้องกําหนดสภาวธรรมนั้นโดยสภาวลักษณะ (ลักษณะ) หน้าที่ หรือกิจ (รส)
อาการที่ปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน) และเหตุใกล้ (ปทัฏฐาน) ต่อไปจึงกําหนดสภาวธรรม ทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นธรรมชาติที่น้อมไป (นาม) มุ่งหน้าไปสู่อารมณ์ เมื่อจะพิจารณา ดูนามธรรมเหล่านั้นให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จึงติดตามดูว่านามธรรมเหล่านั้นอาศัยอะไรก็จะ ทราบว่าอาศัยหทยวัตถุรูป เปรียบเหมือนบุรุษที่เห็นงูภายในเรือนแล้วจึงติดตามมันไป ก็จะพบที่อาศัยของมัน
เมื่อทราบว่าหทยวัตถุรูปเป็นที่อาศัยของนามธรรมเหล่านั้นแล้วก็พิจารณาต่อไปว่า แม้หทยวัตถุรูปก็ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย เกิดขึ้น และอุปาทายรูปทั้ง ๒๓ (เว้นหทยวัตถุรูป) ก็อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แล้วจึงพิจารณารูปธรรมทั้งหมดว่าเป็นสภาวธรรมที่มีอาการเสื่อมสิ้นสลาย
ไป (รูป)
สําหรับสมถยานิกบุคคล ครั้นออกจากฌานจิตแล้วจะพิจารณากําหนด นามธรรมว่ามีอาการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ หรือกําหนดรูปธรรมว่า มีอาการ เสื่อมสิ้นสลายไปเป็นลักษณะก็ได้
การกําหนดรูปนามทางธาตุ ๔
สําหรับวิปัสสนายานิก หรือสมถยานิกบุคคล เมื่อกําหนดธาตุทั้ง ๔ คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย ให้ปรากฏโดยลักษณะและหน้าที่เป็นต้นแล้ว รูปธรรมอื่นๆ ที่เกิด ร่วมกันกับธาตุ ๔ ก็จะปรากฏด้วยเช่น ในเส้นผมนอกจากจะมี ปถวีธาตุ ซึ่งมีลักษณะ แข็งอ่อนเป็นประธาน
การกําหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘
สําหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกําหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘ พึ่งพิจารณา ดังนี้ว่า
ในอัตภาพนี้มี จักขุธาตุ โสตธาตุ ชิวหาธาตุ เป็นต้นแล้วก็ไม่เห็นว่าก้อนเนื้อ ที่สายเอ็นยืดรัดไว้ในเบ้าตา ที่มีลักษณะยาวและกว้าง วิจิตรด้วยวง สีขาว สีดํา และ สีดํามากนั้นที่ชาวโลกเข้าใจกันว่าเป็นจักษุ แต่แท้จริงแล้วจักษุที่ชาวโลกเข้าใจกันก็คือ กลุ่มของรูป ๕๔ รูปคือ จักขุทสกกลาป ๑๐ กายทสกกลาป ๑๐ ภาวทสกกลาง ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดจากจิต ๘ เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘ ในจํานวนรูปทั้ง ๕๔ รูปนี้จักขุปสาทเท่านั้นที่ชื่อว่า จักขุหรือจักขุธาตุ ส่วนรูปอีก ๕๓ นั้นมิใช่จักขุ
เมื่อพิจารณาจนทราบว่าจักขุปสาทรูปเป็นสภาวธรรมที่ชื่อว่า จักษุ แล้วก็จะทราบว่าลักษณะของจักขุปสาทรูปนั้นคือ อาการเสื่อมสิ้นสลายไป ซึ่งเป็นอาการของรูปธรรมนั่นเอง
การกําหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒
สําหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกําหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็กําหนดทํานองเดียวกันกับธาตุ ๑๘ นั่นเอง ต่างกันตรงโลกียจิต ๘๑ หรือวิญญาณธาตุ ๗ นั้น เป็นมนายตนะและอายตนะ ๑๒ อายตนะ ๑๐ กับธัมมายตนะบางส่วน คือสุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปธรรมและอายตนะ ๑ กับธัมมายตนะบางส่วนคือ เจตสิก ๕๒ เป็นนามธรรม การกําหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็มีด้วยประการฉะนี้
การกําหนดรูปนามทางขันธ์ ๕
สําหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกําหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ ก็กําหนดดังนี้ ในสรีระร่างกายนั้นนิปผันนรูป ๑๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้นและอนิปผันน รูป ๑๐ มีปริจเฉทรูป เป็นต้น กําหนดเป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กําหนดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กําหนดเป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ (เว้นเวทนา สัญญา) ที่ประกอบกับโลกียกิจ ๘๑ กําหนด เป็นสังขารขันธ์ โลกียจิต ๘๑ กําหนดเป็น วิญญาณขันธ์ ในลําดับต่อมาผู้ปฏิบัติจะ พิจารณารูปขันธ์ว่าเป็นรูปธรรม และพิจารณานามขันธ์ ๔ ที่เหลือว่าเป็น นามธรรม การกําาหนดรูปนาม ทางขันธ์ ๕ เป็นหลัก ก็มีด้วยประการฉะนี้
การปรากฏของรูปนาม
การพิจารณารูปธรรมซ้ําแล้วซ้ําเล่าจนชัดแจ้งและบริสุทธิ์ดีแล้ว บรรดากิเลส
ทั้งหลายที่เป็นข้าศึกต่อการกําหนดรู้นามธรรมนั้นก็สงบลง นามธรรมก็จะปรากฏขึ้นเอง การปรากฏของนามธรรมนั้นเกิดขึ้น เขิน ๓ ทาง คือ ๑. ทางผัสสะ ๒. ทางเวทนา ๓. ทางวิญญาณ
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดสภาวะของรูปธรรมจนปรากฏชัดเจนดีแล้วเช่น พิจารณา ว่าธาตุดินมีลักษณะอ่อนแข็งอยู่ ผัสสะคือ ธรรมชาติที่เกิดจากการกระทบกันระหว่าง อารมณ์กับผู้รู้อารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นและขณะนั้นเอง เวทนา สัญญา สังขาร (มีเจตนา เป็นต้น) วิญญาณ (จิต) ซึ่งประกอบกับเวทนานั้นก็ปรากฏขึ้น สิ่งที่เป็นนามธรรม ทั้งหลาย ปรากฏขึ้นทางเวทนาด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดสภาวะของรูปธรรมจนปรากฏชัดเจนดีแล้วเช่นพิจารณา ว่าธาตุดินในลมหายใจเข้าออกมีลักษณะอ่อนแข็งอยู่ วิญญาณคือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือรับอารมณ์ก็ปรากฏขึ้นและในขณะนั้นเอง เวทนา สัญญา ผัสสะ สังขาร (มีเจตนา เป็นต้น) ซึ่งประกอบกับวิญญาณนั้นก็ปรากฏขึ้น สิ่งที่เป็นนามธรรมทั้งหลายปรากฏขึ้น ทางวิญญาณด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อผู้ปฏิบัติกําลังกําหนดรูปอยู่แล้วเลิกกําหนด กลับไปเริ่มกําหนดนามธรรม แทน การปฏิบัติดังนี้ไม่อาจทําให้วิปัสสนากรรมฐานเจริญขึ้น แต่การกําหนดรูปจน ปรากฏชัดเจนดีแล้ว จะเป็นเหตุให้นามธรรมปรากฏขึ้นโดยอาศัยผ่านทางผัสสะ เวทนา วิญญาณ
ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ ๓ (กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ) คือ ธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ ขันธ์ ๕ เมื่อสรุปแล้วก็คือ รูปและนาม อุปมาเหมือน การเปิดสมุด (ย่อม มี ๒ ส่วน) และการผ่าลอนตาลก็ย่อมแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเช่น นอกไปจากรูปและ นามแล้ว หามีสัตว์ บุคคล เทวดา หรือพรหมอื่นๆ อีกไม่
จุดประสงค์ของการกําหนดรูปนาม คือ
๑. เพื่อละชื่อสมมุติทางโลก
๒. เพื่อให้พ้นความเข้าใจผิดว่ามี สัตว์ บุคคล
๓. เพื่อให้จิตประกอบด้วยปัญญา คือ การรู้จริง
เรื่องรูปและนาม และคําอุปมาจากพระสุตตันตปิฎกว่า
ยถา หิ องฺคสมภารา โหติ สทฺโท รโถ อิติ
เอวํ บนเธฮุ สนฺเตสุ โหติ สตฺโตติ สมฺมติ ฯ
ความจริงเมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมุติเรียกว่าสัตว์ก็มีขึ้น เหมือนเสียงว่า รถ มีขึ้นก็เพราะเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกันเข้าฉะนั้น (จาก วชิราสูตร ส.ส. เล่ม ๑๕ ข้อ ๕๕๔)
ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า อาวุโส เพราะอาศัยไม้ เถาวัลย์ ดิน และหญ้า ล้อมเอาอากาศเข้าไว้จึงเรียกว่า อาคาร ฉันใดก็ดี อาวุโส เพราะอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และหนังล้อมเอาอากาศเข้าไว้ จึงเรียกกันว่า สัตว์ บุคคล (จาก ม.ม. ๑๒/๓๕๘)
ยถาภูตทัสสนะ
เมื่อมีเพลา ล้อ ตัวถัง และงอน ตั้งอยู่รวมกัน คําว่า รถ จึงเกิดขึ้น เมื่อ สัมภาระของเคหะทั้งหลาย เช่น ไม้ เป็นต้น ตั้งล้อมอาคารเข้าไว้ คําว่า เคหะ จึงเกิด ขึ้น เมื่อนิ้วทั้งหลายมีนิ้วมือและแม่มือเป็นต้นตั้งอยู่โดยอาการอันเดียวกันคําว่า กําปั้น จึงเกิดขึ้น ส่วนทั้งหลายมีกะโหลกและสายเป็นต้น ตั้งอยู่โดยอาการอันเดียวกัน คําว่า พิณ จึงเกิดขึ้น
เมื่อช้างและม้าเป็นต้นตั้งอยู่รวมกัน คําว่า เสนา (กองทัพ) จึงเกิดขึ้น เมื่อ กําแพงและเคหะกับทั้งประตูและซุ้มเป็นต้น ตั้งอยู่โดยอาการเดียวกัน คําว่า นคร จึง เกิดขึ้น เมื่อลําต้น กิ่ง และใบเป็นต้น ตั้งอยู่โดยความเป็นอันเดียวกัน คําว่า ต้นไม้ จึง เกิดขึ้น เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ มีอยู่ คําว่า สัตว์ บุคคล จึงเกิดขึ้น
สิ่งที่เรียกว่า รถ, เคหะ, พิณ, เสนา, นคร, ต้นไม้, สัตว์, บุคคล เหล่านี้ เมื่อเข้าไปพิจารณาธรรมนั้นๆ โดยปรมัตถ์แล้ว สิ่งที่เรียกเหล่านั้นหามีไม่ คงมีอยู่แต่ เพียงรูปนามเท่านั้น ผู้ที่มีความเห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้ชื่อว่ามี ยถาภูตทัสสนะ
รูปนามไร้อํานาจในตัวเอง
รูปและนามนี้ นามไม่มีอํานาจ ไม่มีความสามารถในตัวเองไม่สามารถกิน ดื่ม พูด หรือสําเร็จอิริยาบถใดได้ ถึงแม้รูปก็เช่นเดียวกันไม่มีความปรารถนาหรือต้องการ
ที่จะกิน ดื่ม พูด หรือสําเร็จอิริยาบถใดๆ รูปเป็นไปได้ก็อาศัยนาม นามเป็นไปได้ก็ อาศัยรูป เมื่อนามปรารถนาอย่างไร รูปก็เป็นไปอย่างนั้น เพื่อต้องการให้เข้าใจชัดเจน ดีขึ้น
การที่โยคาวจรบุคคลตั้งสติกําหนดรูปนามเป็นอารมณ์ จนสามารถแยกนาม แยกรูปจนเห็นได้ชัดเจนว่ามีแต่รูปกับนามเท่านั้น นอกจากรูปกับนามแล้วไม่มีอะไร ที่ เป็นเช่นนี้เพราะตั้งใจกําหนดด้วยดีจึงเห็นได้ ถ้าไม่ตั้งใจกําหนด ไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถ จะรู้เห็นได้เลย เพราะรูปนามนี้ถ้าจิตสงบปราศจากนิวรณ์ย่อมปรากฏได้ และเมื่อจะ ปรากฏนั้น รูปปรากฏดีแล้ว นามก็ปรากฏตามมา
ในการบําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาและบรรลุถึงญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉท ญาณนี้แล้วเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในภายหลัง จึงขอชี้แจงไว้ดังนี้ว่าที่เรียกว่าได้บรรลุ ถึงนามรูปปริจเฉทญาณ คือ มีปรีชากําหนดรูปนามได้อย่างชัดเจนดังที่กล่าวมานั้น พึงเข้าใจว่าต้องเป็นการรู้การเห็นโดยปัญญา อันเกิดจากการเจริญภาวนาของตนจริงๆ ไม่ใช่รู้ได้จากการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งท่านอธิบายว่า รูปเป็นอย่างนั้นมีจํานวน เท่านั้นๆ นามเป็นอย่างนั้นมีจํานวนเท่านั้นๆ แล้วก็ใช้ปัญญาคิดไปตามที่มีกล่าวไว้ใน ตําราเสร็จแล้วก็คิดนึกไปในใจว่ารูปเป็นอย่างนี้เอง การเรียนรู้และนึกคิดเอาเองอย่างนี้ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณคือ ญาณที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการนึกเอา เดาเอาอย่างนี้เป็นเพียงแต่สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาได้สดับ รับฟังมาและจินตามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแห่งตนเท่านั้น ยังไม่ เข้าถึงขั้นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนาซึ่งเป็นปัญญาที่ละเอียดประเสริฐหนักหนาเพราะเป็นปัญญาที่สามารถตัดกิเลสตัณหาได้ตามที่มุ่งหมาย
ฉะนั้น พึงทําความเข้าใจว่าความรู้ความเห็นทั้งปวงในเรื่องการเจริญวิปัสสนา เป็นความรู้ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาญาณ โดยเฉพาะ ไม่ใช่ความรู้ ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการคิดเอาๆ นึกเอา เดาเอา ซึ่งเป็นความรู้ความเห็นที่ไม่แน่นอน แต่ญาณหรือความรู้ความเห็นที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาที่กําลังกล่าวถึงในเรื่อง วิปัสสนาญาณนี้ เป็นความรู้ความเห็นที่แน่นอนเด็ดขาดอันจะเป็นภาวนามยปัญญาได้ อย่างแท้จริง เพราะมีอํานาจที่จะตัดกิเลสตัณหาได้ในที่สุด
เมื่อโยคาวจรบุคคลมีความรู้สึกปรากฏขึ้นว่า มีรูปกับนามเพียง ๒ อย่าง เท่านั้น ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่เรา เขา ความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ก็จะประหาณสักกาย ทิฏฐิได้ที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นที่บริสุทธิ์
เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเห็นรูปและนามตามความเป็นจริงแล้วก็จะละสัตตสัญญา คือความสําคัญหมายรู้ว่ามีสัตว์บุคคลเสียได้ แล้วก็จักตั้งอยู่ในภูมิที่ไม่ลุ่มหลง ซึ่งเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นอันบริสุทธิ์ หรือรูปนามววัฏฐาน คือการกําหนดรู้รูปและนาม หรือสังขารปริจเฉท คือการกําหนดรู้สังขาร ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของการเห็นรูปและนามตามความเป็นจริง
จบ นามรูปปริจเฉทญาณ
๒. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
การค้นหาเหตุของรูปนาม
ปัญญาที่กําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริงนั้นผู้ปรารถนาบรรลุกังขาวิตรณวิสุทธิควรค้นหาเหตุปัจจัยของรูปนาม อุปมาเหมือนนายแพทย์ผ่าตัดที่ ชาญฉลาดเมื่อพบโรคแล้วก็ค้นหาสมุฏฐานของโรคนั้นต่อไป หรือเหมือนบุรุษที่มี เมตตาเมื่อพบเห็นทารกนอนแบเบาะอยู่ในตรอกจึงรําพึงว่า เด็กนี้เป็นลูกของใครหนอ
รูปนามเป็นสภาวธรรมที่มีเหตุ จะบังเกิดโดยไม่มีเหตุมิได้ จะกล่าวว่าเหตุของ รูปนาม คือ เทพเจ้านั้น ก็ไม่เป็นจริง เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะนอกไปจากรูปนามนั้น ไม่มี หรือจะกล่าวว่า รูปนามก็คือเทพเจ้า แม้กล่าวอย่างนี้รูปนามก็คงต้องมีเหตุอยู่ นั่นแหละ
เมื่อจักค้นหาเหตุของรูปนามก็ควรพิจารณาเหตุของรูปกายก่อนว่า กายนี้มิได้ เกิดในดอกบัวชนิดต่างๆ มิได้เกิดในแก้วมณีต่างๆ หากแต่เกิดขึ้นระหว่างกระเพาะ อาหารใหม่และเก่า ด้านหลังเป็นพื้นท้อง ด้านหน้าเป็นกระดูก ล้อมรอบด้วยไส้ใหญ่ และไส้น้อยเต็มไปด้วยของปฏิกูล กลิ่นเหม็นดุจตัวหนอนที่เกิดขึ้นในขนมบูด น้ําคร่ํา หลุมโสโครก
รูปธรรมนี้มีเหตุมีปัจจัยให้เกิดขึ้น ๕ อย่างคือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ อุปาทาน ๑ กรรม ๑ อาหาร ๑ ก็ธรรม ๔ อย่างคือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ อุปาทาน ๑ กรรม ๑ จัดเป็นเหตุ เพราะเป็นตัวทําให้เกิด อาหารจัดเป็นปัจจัยเพราะเป็นตัวอุปถัมภ์ อนึ่ง ในธรรม ๕ นั้น ท่านจัดดังนี้ คือ
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นที่อาศัยของรูป เปรียบเหมือนมารดาเป็นที่อาศัยของทารก
กรรม เป็นผู้ให้เกิด เปรียบเหมือนบิดาเป็นผู้ทําให้บุตรเกิด
อาหาร เป็นผู้ค้ําจุนให้รูปกายนี้ดํารงอยู่ เปรียบเหมือนพี่เลี้ยงคอยอุ้มชูทารก
เมื่อกําหนดเหตุปัจจัยของรูปได้ดังนี้แล้ว จึงกําหนดเหตุปัจจัยของนามต่อไปว่า :- จักขุวิญญาณจิตอาศัยจักขุปสาท และรูปารมณ์เกิดขึ้นดังนี้เป็นต้น เมื่อเห็นเหตุ ปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริงเนืองๆ เสมอว่ารูปนามในปัจจุบันก็มีเหตุปัจจัยเช่นนี้ แม้ในอดีตและอนาคตก็มีเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน เมื่อทราบอยู่อย่างนี้ก็สามารถ ละความสงสัย ๑๖ อย่าง ที่เกี่ยวกับกาล ๓ เสียได้
การกําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามทางปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลม
เมื่อเห็นความชราและแตกดับของสังขารคือ มรณะ แล้วก็พิจารณาว่า ชรา มรณะเกิด เพราะมีชาติ, ชาติเกิดมีเพราะมีภพ, ภพมีเพราะมีอุปาทาน, อุปาทานมี เพราะมีตัณหา, ตัณหามีเพราะมีเวทนา, เวทนามีเพราะมีผัสสะ, ผัสสะมีเพราะอายตนะ ๖. อายตนะ ๖ มีเพราะมีรูปนาม, รูปนามมีเพราะมีวิญญาณ, วิญญาณมีเพราะมีสังขาร สังขารมีเพราะมีอวิชชา, ก็จะละความสงสัยได้ นี่เป็นการพิจารณาโดยปฏิโลมแต่จะ พิจารณาโดยอนุโลมก็ได้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร ฯลฯ เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ ก็จะละความสงสัยได้เช่นกัน
การกําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามทางกรรมและวิบาก
ธรรม ๕ อย่าง ในภพก่อนคือ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และกัมมภพ เป็นเหตุปัจจัยของปฏิสนธิในภพนี้
ปฏิสนธิในภพนี้ได้แก่ วิญญาณ รูปนาม สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นผลของกรรมที่ทําไว้ในภพก่อน
เมื่ออายตนะทั้งหลายแก่กล้าแล้วในภพนี้ ธรรม ๕ อย่างคือ ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา และสังขาร ก็เป็นเหตุปัจจัยของปฏิสนธิในภพต่อไป
รูปนาม ก็คือ ผลแห่งกรรม เพราะฉะนั้นเหตุปัจจัยของรูปนาม ก็คือ กัมมวัฏ นั่นเอง เมื่อพิจารณาเหตุปัจจัยของรูปนามโดยกัมมวัฏและวิปากวัฏดังนี้แล้ว ก็จะเห็นว่า รูปนามในขณะนี้เป็นไปด้วยเหตุปัจจัยแม้ในอดีตและอนาคตก็เป็นไปเช่นเดียวกัน อีกทั้ง กรรมและวิบากของกรรม, กัมมวัฏและวิปากวัฏ, ความเป็นไปของกรรมและความเป็น ไปของวิบาก, ความสืบต่อของกรรมและความสืบต่อของวิปากทั้งกิริยา (อนันตรปัจจัย) และผลของกิริยา (อนันตรปัจจยุปบัน) ก็เป็นไปในทํานองเดียวกัน
กมฺมวิปากา วตฺตนฺติ วิปาโก กมุมสมฺภโว
กมฺมา ปุนพฺภโว โหติ เอวํ โลโก ปวตฺตติ
วิปากทั้งหลาย เป็นไปเพราะกรรม วิบากเกิดขึ้นจากกรรม และภพใหม่ก็เกิดขึ้นจากกรรม โลกหมุนเวียนอยู่ ด้วยกรรมและวิบาก อย่างนี้
เมื่อพิจารณาถึงเหตุปัจจัยของรูปนามทางกรรมและวิบากอยู่เนืองๆ ความสงสัย ๑๖ อย่าง เป็นต้นว่าข้าพเจ้าได้มีมาแล้วหรือ ? ก็จะหมดไปได้ คงปรากฏมีอยู่ แต่รูปนาม ที่เป็นไปในภพ ๓. โยนิ ๔ คติ ๕ ฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ เท่านั้นที่เป็น ไปด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผล มิได้มีผู้สร้าง และผู้เสวยแต่อย่างใดเมื่อเห็นได้ อย่างนี้ชื่อว่าเห็นด้วยปัญญาอันชอบ แต่เมื่อมีเหตุและผลบัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าว กันเพียงเพื่อให้หมายรู้ร่วมกันว่า “มีผู้สร้าง” “มีผู้เสวย” ฉะนั้นท่านผู้รู้แต่โบราณจึงกล่าวว่า
กมฺมสฺส การโก นตฺถิ วิปาก ส จ เวทโก
สุทฺธธมฺมา ปวตฺตนฺติ เอเวต์ สมุมทสุลน์
ผู้สร้างกรรมไม่มี และผู้เสวยผลก็ไม่มี ธรรมะล้วนๆ เป็นไป อย่างเดียวเท่านั้นนีเป็น สัมมทัสสนะ (ความเห็นชอบ)
เอวํ กมฺเม วิปาเก จ วตฺตมาเน สเหตุเก
พืชรุกุขาทิกา ว ปุพฺพา โกฏิ น นายติ
เมื่อกรรมและวิบากพร้อมทั้งเหตุ เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีใครรู้เบื้องต้นและเบื้องปลาย เช่นเดียวกับไม่มีใครรู้ เบื้องต้นและเบื้องปลาย เมล็ดพืชและต้นไม้เป็นต้น ฉะนั้น
เอวเมต อภิญญาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
คมฺภีร์ นิปุณ สุญฺญ์ ปจฺจย์ ปฏิวิชฺฌติ,
พระภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ข้อความนี้ ด้วยปัญญารู้ยิ่งดังกล่าวมานี้ จึงแทงตลอดซึ่งปัจจัย (ของรูปนาม) อันลึกซึ้งละเอียดและว่างเปล่า
กมุม นตฺถิ วิปากมหิ ปาโก กมฺเม น วิชฺชติ
อญฺญมญฺญ์ อุโภ สุญฺญา น จ กมุม วินา ผลํ,
กรรมไม่มีอยู่ในวิบาก วิบากก็ไม่มีอยู่ในกรรม กรรมและวิบากทั้งสอง ต่างว่างเปล่าซึ่งกันและกัน แต่ว่าเว้นกรรมเสียแล้ว ผลก็ไม่มี
ผเลน สุญญ์ สํ กมฺม ผลํ กมฺเม น วิชฺชติ
กมฺมญฺจ โข อุปาทาย ตโต นิพฺพตฺตตี ผล
กรรมนั้นว่างเปล่าจากผล ผลก็มิได้มีอยู่ในกรรม แต่เพราะอาศัยกรรม ผลจึงเกิดขึ้น
น เหตุถ เทโว พรหฺมา วา สํสารสฺสตฺถิ การโก
สุทฺธธมฺมา ปวตฺตนฺติ เหตุสมภารปจจยา
ความจริงในโลกนี้ไม่มีเทพเจ้า ไม่มีพระพรหม ไม่มี ผู้สร้างสังสารวัฏ มีแต่ธรรมล้วนๆ เป็นไปเพราะการประกอบกันเข้าของเหตุเป็นปัจจัย
การกําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามทางกัมมวัฏและวิปากวัฏ แล้วละความสงสัยใน ๓ กาลได้ ก็เป็นอันได้รู้ธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน สิ้นทั้งปวง แล้ว ความรู้เช่นนี้เรียกว่า ญาตปริญญา คือการกําหนดรู้ว่าเป็นรูปเป็นนามพร้อมด้วยเหตุปัจจัยของรูปนาม
อุปมาระหว่างเหตุกับผล
ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในอดีตเพราะมีกรรมเป็นปัจจัยก็ได้ดับไปแล้วในอดีต ส่วนพันธ์ที่เกิดใหม่ในภพนี้ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง มิได้เป็นขันธ์ที่มาจากอดีตภพ ส่วนขันธ์ที่จักเกิดในภพหน้าก็เป็นอีกพวกหนึ่งมิได้เป็นขันธ์ที่ไปจากปัจจุบันภพนี้เปรียบเหมือน:
๑. การสาธยายมนต์ของอาจารย์กับการสาธยายมนต์ของลูกศิษย์ มิใช่เป็น สิ่งเดียวกัน เป็นของคนละคน แต่การสาธยายมนต์ของลูกศิษย์จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยการสาธยายมนต์ของอาจารย์เป็นเหตุเป็นปัจจัย
๒. ใบหน้าที่ถูกตกแต่งกับเงาใบหน้าที่ถูกตกแต่งมิใช่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ เงาใบหน้าที่ถูกตกแต่งจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยการตกแต่งใบหน้าเป็นเหตุเป็นปัจจัย
๓. เปลวประทีปอันหนึ่งกับเปลวประทีปอีกอันหนึ่งมิใช่ไส้เดียวกัน แต่ เปลวประทีปอีกอันหนึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยเปลวประทีปอันก่อนเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ธรรมทั้งหลายจากอดีตภพมิได้ติดตามไปในปัจจุบันภพหรืออนาคตภพแต่อย่างใดเลย แต่ขันธ์ อายตนะ ธาตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้ต้องอาศัยขันธ์ อายตนะ ธาตุในอดีตภพเป็นปัจจัย และขันธ์ อายตนะ ธาตุที่จักเกิดขึ้นในอนาคตนั้นก็ต้องอาศัย ขันธ์ อายตนะ ธาตุในปัจจุบันภพเป็นปัจจัย
ปัจจยปริคคหญาณในชื่ออื่น
ปัญญาที่กําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามเรียกว่า ปัจจัยปริคคหญาณ โดยทาง อาการตับและเกิดของรูปนาม เมื่อกําลังของปัจจยปริคคหญาณนี้มีมากขึ้นก็สามารถละ ความสงสัย ๑๖ อย่างได้ ถึงความสงสัยอีก ๘ อย่างก็ละได้ แม้ทิฏฐิ ๖๒ ประการที่ ระงับไปด้วย
ความเห็นที่บริสุทธิ์ เพราะข้ามพ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ด้วยการกําหนดรู้ ปัจจัยของรูปและนามเรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ การกําหนดรู้ถึงความตั้งอยู่ของธรรม ที่เป็นปัจจัยเรียกว่า ธัมมฐิติญาณ การกําหนดรู้ถึงรูปนามตามความเป็นจริงเรียกว่า ยถาภูตญาณ ความเห็นโดยชอบเรียกว่า สัมมาทัสสนะ
คําว่า ธัมมฐิติญาณ ยถาภูตญาณ และ สัมมาทัสสนะ เป็นคําที่มีความ หมายเดียวกับคําว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
อานิสงส์ของปัจจยปริคคหญาณ
ถ้าพระโยคาวจร ใดเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสมาธิญาณแก่กล้าขึ้นเห็นรูปนาม ชัดเจนแล้วก็จะสามารถรู้ได้ว่า รูปนามทั้งสองนั้นเป็นเหตุเป็นผล เป็นปัจจัยซึ่งกันและ กัน คือ รูปเป็นเหตุ นามเป็นผล หรือนามเป็นเหตุ รูปเป็นผล หาใช่เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขาไม่ ก็จะข้ามพ้นความสงสัยต่างๆ ไปได้ เช่นนี้เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
อานิสงส์ของญาณนี้ ในพระบวรพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นพระจุลโสดาบัน เป็นผู้ที่สมควรจะเบาใจได้ในเมื่อตายไปแล้วคือ หากว่าญาณที่ตนได้บรรลุนี้ไม่เสื่อม ในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้ก็จะได้ไปเกิดในสุคติภูมิคือ เทวโลก เป็นต้น ปิดอบายภูมิ ทั้ง ๔ ได้อย่างแน่นอน แต่ในชาติต่อไปอีกคือ ชาติที่ ๓ นั้นการปิดอบายภูมิไม่แน่นอน ถ้าต้องการปิดให้ได้อย่างแน่นอนเด็ดขาด ต้องอุตสาหะปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต่อไปอีก จนกระทั่งบรรลุพระอริยมรรค อริยผล
พระโยคาวจรบุคคลผู้บรรลุถึงญาณนี้แล้ว ย่อมถึงความเบาใจและได้ที่พึ่งใน พระพุทธศาสนา ชื่อว่า จุลโสดาบัน มีคติที่เที่ยงแท้ในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้จะไป สู่สุคติ ปิดอบายภูมิเสียได้ถ้าหากว่าญาณนี้ไม่เสื่อม แต่ในชาติที่ ๓ ต่อจากนั้นไปไม่ แน่นอน จะปิดอบายภูมิได้อย่างแน่นอนคือ ชาติ ๒ เท่านั้น ถ้าต้องการปิดแน่นอน ต้องบําเพ็ญความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป จนกระทั่งบรรลุอริยมรรค อริยผล
ผู้เจริญวิปัสสนา ซึ่งประกอบด้วยปัจจยปริคคญาณนี้ เป็นผู้ได้ความเบาใจ ได้ที่พึ่งในพระพุทธศาสนา และเป็นผู้มีคติที่แน่นอน เรียกได้ว่า พระจูฬโสดาบันบุคคล ฉะนั้นผู้มีความประสงค์จะข้ามพ้นความสงสัย จึงเป็นผู้มีสติกําหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม ตามความเป็นจริงเถิด.
จบ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
๓. สัมมสนญาณ
ปัญญาที่เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา เรียกว่า สัมมสนญาณ ท่านแสดงวจนัตถะไว้ว่า ขนฺธาทีนํ กลาปโต สมุมสนวสปปวตฺติ ญาณ สมมสนญาณั แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจการพิจารณาธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยความเป็นกลางชื่อว่า สัมมสนญาณ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิกที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาในสัมมสนญาณปรารถนาบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ในเบื้องต้นต้องทําความเพียรเกี่ยวกับการกําหนดพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นหมวดเป็น กอง (กลาปสัมมสนะ) ก่อน เมื่อวิปัสสนูปกิเลสมี โอภาส คือแสงสว่างเป็นต้น เกิดขึ้น แก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ก็แสดงว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิได้บังเกิดขึ้นแล้ว และ กลาปสัมมสนญาณจึงเป็นญาณเริ่มต้นของวิปัสสนาญาณ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้เกิดขึ้นและเป็นไปในตีรณปริญญา ตีรณปริญญาจะบังเกิดขึ้นต่อจากญาตปริญญา เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนาจะบรรลุมัคคา มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ จะต้องทําความเพียรเกี่ยวกับการกําหนดพิจารณาสภาพธรรมที่ เป็นหมวดเป็นกองเสียก่อน
โลกียปริญญา คือการกําหนดรู้สภาพธรรมขึ้นโลกียะ มี ๓ อย่างคือ
๑. ญาตปริญญา คือ การกําหนดรู้ด้วยการรู้
๒. ตีรณปริญญา คือ การกําหนดรู้ด้วยการไตร่ตรองใคร่ครวญ
๓. ปหานปริญญา คือ การกําหนดรู้ด้วยการละ
ปัญญาที่กําหนดลักษณะเฉพาะของธรรมทั้งหลาย เช่น รูป มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป, เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ชื่อว่า ญาตปริญญา
ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ คือการยกเอาธรรมทั้งหลายขึ้นสู่สามัญญลักษณะ เช่น รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ชื่อว่า ตีรณปริญญา
ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์และเป็นไปพร้อมกับการละวิปัลลาสธรรม มีนิจจสัญญา ความสําคัญว่าเที่ยงเป็นต้นในธรรมทั้งหลายได้ ชื่อว่า ปหานปริญญา
วิปัสสนาญาณในปริญญา
ในปริญญาทั้ง ๓ อย่างนั้นตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ถึงปัจจยปริคคหญาณ เป็นภูมิของญาตปริญญา เพราะในระหว่างนี้เป็นการแทงตลอดลักษณะเฉพาะตนของ ธรรมทั้งหลายเท่านั้น
ตั้งแต่สัมมสนญาณจนถึงอุทยัพพยญาณเป็นภูมิของตีรณปริญญา เพราะในระหว่างนี้เป็นการแทงตลอดสามัญญลักษณะโดยเฉพาะ
ตั้งแต่ภังคานุปัสสนาจนถึงอนุโลมญาณ เป็นภูมิของปหานปริญญาที่เป็น โลกียะหรือมรรคญาณที่เป็นโลกุตตระ เพราะในระหว่างนี้ (ภังคญาณ ถึงอนุโลมญาณที่ เป็นโลกียปริญญา) เป็นการเกิดขึ้นของอนุปัสสนา ๗ อย่าง ซึ่งทําให้สําเร็จกิจ คือ ละความหมายรู้ต่างๆ มีความหมายรู้ว่าเที่ยง เป็นต้นอย่างนี้ว่า
๑.เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่เที่ยงก็ละความหมายรู้ว่าเที่ยง
๒. เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ก็ละความหมายรู้ว่าเป็นสุข
๓.เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่มีอัตตาก็ละความหมายรู้ว่ามีอัตตา
๔. เมื่อเบื่อหน่าย ก็ละความเพลิดเพลินยินดี (นิพพิทานุปัสสนา)
๕. เมื่อปราศจากความกําหนัดก็ละราคะ (วิราคานุปัสสนา)
๖. เมื่อดับก็ละเหตุที่เป็นแดนเกิด (นิโรธานุปัสสนา)
๗. เมื่อสลัดทิ้งไปละความยึดถือ (ปฏินิสสัคคานุปัสสนา)
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาบรรลุญาตปริญญาเพราะได้ทํานามรูปปริจเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ปริญญาอีก ๒ อย่าง ก็ควรบรรลุด้วยเพราะเมื่อ ตีรณปริญญากําลังเป็นไปอยู่นั้น มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็จะบังเกิดขึ้น และตีรณ ปริญญาก็จะบังเกิดต่อจากญาตปริญญา เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาบรรลุมัคคามัคคญาณ ทัสสนวิสุทธิ์ จะต้องทําความเพียรในการกําหนดรู้สภาพธรรมโดยความเป็นหมวด เป็นกอง เสียก่อน อารมณ์ของสัมมสนญาณ ธรรมที่เป็นหมวดเป็นกอง ที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน, ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้ เหล่านี้อันเป็นไปในทวารพร้อมทั้งทวาร และ อารมณ์ต้องกําหนดพิจารณาด้วยปัญญาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นั้นมี ๒๕ หมวด คือ
๑. ขันธ์ ๕
๒. ทวาร ๖
๓. อารมณ์ ๖
๔. วิญญาณ ๖
๕. ผัสสะ ๖
๖. เวทนา ๖
๗. สัญญา ๖
๘. เจตนา ๖
๙. ตัณหา ๖
๑๐. วิตก ๖
๑๑. วิจาร ๖
๑๒. ธาตุ ๖
๑๓. กสิณ ๑๐
๑๔. โกฏฐาส ๓๒
๑๕. อายตนะ ๑๒
๑๖. ธาตุ ๑๘
๑๗. อินทรีย์ ๒๒
๑๘. ธาตุ ๓
๑๙. ภพ ๓
๒๐. ภพ ๓ อีกอย่างหนึ่ง
๒๑. ภพ ๓ อีกอย่างหนึ่ง
๒๒. รูปฌาน ๔
๒๓. อัปปมัญญา ๔
๒๔. อรูปสมาบัติ ๔
๒๕. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
การกําาหนดพิจารณาในธรรม ๒๕ หมวดมีขันธ์ ๕ เป็นต้นด้วยสัมมสนญาณ มีดังนี้ :-
รูปขันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, ทั้ง ภายในหรือภายนอก, ทั้งหยาบหรือละเอียด, ทั้งเลวหรือประณีต, ทั้งอยู่ไกลหรือใกล้ ผู้ปฏิบัติที่กําหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหมดนั้นโดยความไม่เที่ยงนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง (รูปขันธ์ ฯลฯ ผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหลายนั้นโดยความเป็นทุกข์ก็เป็นสัมมสน ญาณอีกอย่างหนึ่ง....ผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหมดนั้นโดยความเป็นอนัตตาก็เป็นสัมมสนญาณอีกอย่างหนึ่ง)
เมื่อสรุปแล้วในรูปขันธ์ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๓ อย่างฉะนั้น ขันธ์ ๕ เป็นปัจจัยให้เกิดสัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๕ อย่าง, ทวาร ๖ เป็นปัจจัยให้ สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๘ อย่าง สมาบัติ ๔ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๒ อย่าง, และปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๓๖ อย่าง รวม จํานวนสัมมสนญาณในธรรม ๒๕ หมวด เป็น ๖๐๓ อย่าง (๒๐๓ x ๓)
สัมมสนญาณโดยเฉพาะๆ
การใช้ปัญญาย่นย่อหรือสรุปธรรม ๒๕ หมวด ที่เป็นอดีต อนาคตหรือ ปัจจุบัน เป็นต้นเหล่านั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้น ยังมิได้ชี้เฉพาะ ลงไปว่าเป็นอดีต, เป็นของภายใน, เป็นของประณีต แต่อย่างใดเพียงแต่กําหนดสรุป รวมไว้เท่านั้น ซึ่งถ้าจะพิจารณาโดยเฉพาะๆ ลงไปแล้วในสัมมสนญาณ ๖๐๓ อย่างนั้น แต่ละสัมมสนญาณยังแบ่งออกอีก ๑๑ ประเภทย่อย ด้วยสภาพธรรมที่เป็นอดีตอนาคต ปัจจุบัน, ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด, เลว ประณีต, ไกล ใกล้ ฉะนั้นเมื่อสรุป รวมจํานวนของสัมมสนญาณทั้งสิ้นแล้วมีถึง ๖,๖๓๓ ประเภท (๖๐๓ x ๑๑)
วิธีกําหนดรู้ธรรมโดยเฉพาะของสัมมสนญาณ ๑๑ ประเภท
๑. รูปใดที่เป็นอดีต รูปนั้นก็สิ้นไปแล้วในอดีตมิได้ดํารงมาถึงภพนี้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๒. รูปใดเป็นอนาคต ก็จักเกิดขึ้นในอนาคตภพแล้วจักดับไปในภพนั้น นั่นเอง จักไม่ดับในภพอื่น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง เพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๓. รูปใดเป็นปัจจุบัน ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในภพนี้เอง ไม่ดํารงไปถึงภพอื่น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๔. รูปใดเป็นไปภายใน ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปภายในนั่นเอง ไม่ดํารงอยู่ถึงภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๕. รูปใดเป็นไปภายนอก ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปภายนอกนั่นเอง ไม่ดํารง อยู่ถึงภายใน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๖. รูปใดเป็นรูปที่หมายถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปหยาบนั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปละเอียด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๗. รูปใดเป็นรูปที่ละเอียด ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปละเอียด นั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปหยาบด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๘. รูปใดเป็นรูปเลว ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปเลวนั่นเองไม่ ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปประณีต ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๙. รูปใดเป็นรูปประณีต ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปประณีต นั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปเลว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๑๐. รูปใดเป็นรูปไกล ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปไกลนั่นเอง ไม่ ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปใกล้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๑๑. รูปใดเป็นรูปใกล้ ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปใกล้นั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปไกล ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
การกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐
การกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐ เพื่อความมั่นคงของสัมมสนญาณ มีดังนี้คือ
๑. อนิจจโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่เที่ยง เพราะความที่ ทุกๆ ขันธ์ไม่เป็นอยู่ตลอดไป และเพราะมันมีเบื้องต้นและเบื้องปลาย
๒. ทุกข์โต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นทุกข์เพราะมีการบีบคั้น เฉพาะหน้า ด้วยความเกิดและความดับ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
๓. โรคโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นโรคเพราะต้องคอย เยียวยารักษา และเป็นที่อาศัยเกิดของโรค
๔. คัณฑโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นหัวฝี เพราะประกอบ ด้วยสิ่งเสียดแทง คือความเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ไหลออกของสิ่งสกปรก คือกิเลสและ เพราะมีการกลัดหนองและสุกแก่แล้วแตกสลายด้วยการ เกิด แก่ และแตกดับไป
๕. สัลลโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นลูกศรเสียบเพราะทําให้ เกิดการบีบคั้น เพราะเป็นสิ่งที่ทิ่มแทงอยู่ภายในและเป็นสิ่งที่ถอนออกได้ยาก
๖. อตฺโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความชั่วร้ายเพราะเป็นสิ่งที่ควร ตําหนิติเตียนเพราะนํามาซึ่งความเสื่อมเสีย และเป็นที่ตั้งของความชั่วร้าย
๗. อาพาธโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความป่วยไข้เพราะไม่ทําให้ เกิดเสรีภาพและเป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย
๘. ปรโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นปรปักษ์เพราะไม่มีอํานาจ บังคับบัญชาและบังคับบัญชาไม่ได้
๙. ปโลกโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความแตกทําลายเพราะแตก ทําลายไปด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ
๑๐. อีติโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความหายนะเพราะนํามาซึ่ง ความพินาศมากมาย
๑๑. อุปัททวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นอุปัททวะเพราะนํามา ซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ที่รู้ไม่ได้เลยอย่างมากมาย และเพราะเป็นที่ตั้งของอุปัทวันตรายทั้งปวง
๑๒. ภัยโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นภัยเพราะเป็นที่เกิด ของภัยทุกประการ และเป็นปฏิปักษ์ต่อความอบอุ่นใจอย่างสูงสุด คือการระงับความทุกข์
๑๓. อุปสัคคโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นอุปสรรคเพราะ ติดตามมาด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หลายประการ เพราะประกอบด้วยโทษและไม่นํา มาซึ่งความอดกลั้นคล้ายเป็นอุปสรรค
๑๔. จุลโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความหวั่นไหวเพราะหวั่นไหว ด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ กับทั้งหวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย มีลาภและเสื่อม ลาภเป็นต้น
๑๕. ปภังคุโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นของผุพังเพราะมีปกติ เข้าถึงความผุพังไปด้วยความพยายามของสิ่งอื่น และโดยสภาพของมันเอง
๑๖. อัทธุวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่ยั่งยืนเพราะมีปกติ ร่วงหล่นไปในที่ตั้งทุกแห่งและเพราะไม่มีความมั่นคง
๑๗. อตาณโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่ต้านทานเพราะไม่เป็น ที่ต่อต้านคุ้มครองและเพราะไม่ได้ความปลอดภัยที่ควรได้
๑๘. อเลนโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่หลบลี้เพราะไม่เป็น ที่สมควรเพื่อหลบทั้งหลายก็ทํากิจในการหลบไม่ได้
๑๙. อสรณโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่พึ่งเพราะเป็นที่ ปลอดภัยแก่ผู้อาศัย
๒๐. จิตตโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของเปล่าเพราะว่างเปล่า จากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และความมีอัตตา ตามที่กําหนดคาดคะเนไว้
๒๑. ตุจนโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของว่างเพราะเป็นของ เปล่าเป็นของเล็กน้อย แม้ของเล็กน้อยในโลกเขาก็เรียกว่า ของว่าง
๒๒. สุญญโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของสูญเพราะปราศจาก อัตตาผู้เป็นเจ้าของ ผู้อยู่ประจํา ผู้สร้าง ผู้เสวนะ และบงการ
๒๓. อนัตตโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่มีอัตตาเพราะไม่มี ผู้เป็นเจ้าของด้วยตนเองเป็นต้น
๒๔. อาทีนวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นโทษเพราะเป็น ทุกข์ด้วยความเป็นไป (ในภพ คือสังสารวัฏ) และเพราะความทุกข์นั่นเองเป็นโทษ เพราะเป็นไปเพื่อความยากจน (คําว่า อาทีนวะ นี้เป็นคําเรียกคนยากจน แม้ขันธ์ ๕ ก็ เป็นสิ่งยากจนเช่นกัน)
๒๕. วิปริณามธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความแปรปรวนอยู่ เป็นธรรมดา เพราะมีปกติแปรปรวนอยู่ ๒ ทาง คือ ทางชรา และทางมรณะ
๒๖. อสารกโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่มีสาระเพราะมีความอ่อนแอ และเพราะหักง่ายเหมือนไม้ผุ
๒๗. อมมูลโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย เพราะเป็นสาเหตุแห่งความชั่วร้ายนานาประการ
๒๘. วชกโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นผู้ฆ่าเพราะเป็นผู้ฆ่าโดย ให้วางใจเหมือนศัตรูผู้มีหน้าเป็นมิตร
๒๕. วิภวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยปราศจากความเจริญเพราะ ปราศจากความเจริญ และเพราะให้เกิดความไม่เจริญ
๓๐. สาสวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความมีอาสวะ เพราะเป็น หนทางไปสู่อาสวะ
๓๑. สังขตโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้เพราะ เป็นสิ่งที่เหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
๓๒. มารามิสโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นเหยื่อล่อของมาร เพราะเป็นเหยื่อล่อของมัจจุมาร และกิเลสมาร
๓๓. ชาติธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา เพราะมีความเกิดเป็นปกติ
๓๔. ชราธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความมีแก่เป็นธรรมดา เพราะมีความแก่เป็นปกติ
๓๕. พยาธิธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเจ็บเป็นธรรมดา เพราะมีความเจ็บเป็นปกติ
๓๖. มรณธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความตายเป็นธรรมดา เพราะมีความตายเป็นปกติ
๓๓. โลกธัมมโต เป็นการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความโศกเป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความโศกเศร้า
๓๘. ปริเทวธัมมโต เป็นการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความคร่ําครวญเป็น ธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความคร่ําครวญ
๓๙. อุปายาสธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความคับแค้นใจเป็น ธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความคับแค้นใจ
๔๐. สังกิเลสิกธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเศร้าหมองเป็น ธรรมดา เพราะเป็นธรรมที่เป็นวิสัย (คืออารมณ์) ของกิเลส ตัณหา และทุจริตทั้งหลาย
การสงเคราะห์สัมมสนญาณ ๔๐ ลงในอนุปัสสนา ๓
การสงเคราะห์สัมมสนญาณ ๔๐ ลงในอนุปัสสนา ๓ โดยขันธ์ ๕ มี ๓ ประเภท
๑) การกําหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เป็นอนิจจานุปัสสนา ๕๐ ด้วยอาการ ๑๐ อย่างคือ
๑. อนิจฺจโต โดยความไม่เที่ยง
๒. ปโลกโต โดยความแตกทําลาย
๓. จลโต โดยความหวั่นไหว
๔. ปภงฺคุโต โดยความผุพัง
๕. อทธุวโต โดยความไม่ยั่งยืน
๖. วิปริณามธมฺมโต โดยมีความแปรปรวนอยู่เป็นธรรมดา
๗. อสารกโต โดยไม่มีสาระแก่นสาร
๘. วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ
๙. สงฺขตโต โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้
๑๐. มรณธมฺมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา
๒) การกําหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เป็นอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ปรโต โดยเป็นปรปักษ์
๒. ริตฺตโต โดยเป็นของเปล่า
๓. ตุจนโต โดยเป็นของว่าง
๔. สุญฺญโต โดยเป็นของสูญ
๕. อนตฺตโต โดยไม่มีอัตตา
๓) การกําหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ที่เป็นทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ ด้วยอาการที่เหลือ ๒๕ อย่างรวมทั้ง ๓ อนุปัสสนาในขันธ์ ๕ ฉะนั้นการกําหนดรู้ในขันธ์ ๕ ด้วยอนุปัสสนา ๓ รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ อาการ หรือ ๒๐๐ สัมมสนญาณ
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดรู้ขันธ์ ๕ ด้วยการกําหนดรู้โดยพระไตรลักษณ์ โดยจําแนก เป็น ๒๐๐ อาการดังกล่าวมาแล้วนั้น สัมมสนญาณ โดยอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ที่ เรียกว่า นยวิปัสสนา ก็มั่นคงขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นวิธีเริ่มต้นการกําหนดรู้รูปนาม โดย ดําเนินตามนัยพระบาลีในสัมมสนญาณ
วิธีเจริญวิปัสสนาญาณให้สูงขึ้น
เมื่อผู้ปฏิบัติต้องการให้วิปัสสนาญาณสูงขึ้นจึงทําอินทรีย์ ๕ มี ศรัทธา เป็นต้น ให้แก่กล้ายิ่งขึ้นด้วยวิธีการ ๙ อย่าง คือ
๑. พยายามกําหนดให้รู้ชัดถึงความดับไปของสังขารทั้งหลาย (รูปและนาม) ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
๒. ในขณะที่เห็นความดับไปของสังขารทั้งหลายนั้น ควรพยายามให้ถึงพร้อมด้วยการมีสติ
๓. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ เกิดต่อเนื่องกันไป
๔. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ ดําเนินไปด้วยความสะดวกสบาย
๕. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ กําหนดนิมิตของสมาธิ
๖. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ ดําเนินไปโดยความเหมาะสมของโพชฌงค์ ๗
๗. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต
๘. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยวิธีข่มไว้(ข่มทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น)
๙. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยการไม่ละเลิกหรือหยุดพักเสีย ในระหว่างกลางคัน และพึงหลีกเลี่ยงอสัปปายะ คือสิ่งที่ไม่เป็นที่สบาย ๗ อย่าง แล้ว เสพสัปปายะ คือ สิ่งที่เป็นที่สบาย ๗ อย่าง
วิธีกําหนดรู้นาม
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปอยู่ก็สามารถเห็นความเกิดของรูปได้ด้วยเช่นเดียวกับ เมื่อกําหนดรู้นามอยู่ก็สามารถเห็นความเกิดของนามได้ด้วยการเห็นความเกิดของนาม นั้นต้องกําหนดรู้โลกียจิต ๘๑ ซึ่งมีปฏิสนธิจิต ๑๙ ที่เกิดขึ้นก่อนปฏิสนธิกาลด้วย อํานาจแห่งกรรมในปฏิสนธิกาลด้วยอํานาจแห่งกรรมในอดีตภพ การเกิดขึ้นของ ปฏิสนธิจิต ๑๙ นี้ แสดงไว้แล้วในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาท
การเกิดขึ้นครั้งแรกของนามนั้นได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ต่อจากนั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นภวังคจิต และในที่สุดเมื่อหมดอายุหรือสิ้นความก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นจุติจิต และในปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวงนั้น ดวงใดที่เป็นกามาวจรจิต ดวงนั้นก็ทําหน้าที่เป็น ตทารัมมณจิตด้วย ในขณะที่รับอารมณ์ซึ่งมีกําลังแรงในทวารทั้ง ๖
แต่ในปวัตติกาลเมื่อรูปารมณ์ปรากฏทางจักขุทวารจักขุปสาทยังดีอยู่ จักขุวิญญาณอาศัยแสงสว่าง และมนสิการจึงเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตตธรรมทั้งหลายคือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เพราะว่าในระหว่างฐิติปัตตะแห่งจักขุปสาท ๔๙ นั้น เมื่อรูปารมณ์ปรากฏเกิดขึ้นก็จะกระทบกับจักขุปสาท ทําให้เกิดภวังคจิตดังนี้ คือ อดีต ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ ต่อจากนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น พิจารณา รูปารมณ์ ดังนั้นจักขุวิญญาณจิตที่เป็นอกุศลวิบาก หรือกุศลวิบาก ก็เกิดขึ้นเห็น รูปารมณ์ จากนั้นสัมปฏิจฉนจิตก็เกิดขึ้นรับรูปารมณ์ จากนั้นสันตีรถจิตก็เกิดขึ้น ไต่สวน รูปารมณ์ จากนั้นโวฏฐัพพนจิตก็เกิดขึ้นตัดสินรูปารมณ์ ต่อจากนั้นชวนจิตที่เป็นกุศล อกุศลและกิริยาจิต (ที่เป็นอเหตุกะ ๑ ดวง) และที่เป็นกามาวจรจิตก็เกิดขึ้น ๕ หรือ ๗ ขณะจากนั้น ทารัมมณจิตดวงใดดวงหนึ่งในบรรดาตทารัมมณจิต ๑๑ ดวง ก็เกิดขึ้น รับอารมณ์ต่อจากชวนะตามสมควรหรือตามสมควรแก่อารมณ์
แม้ในทวารอื่นๆ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกัน แต่ในมโนทวารแม้มหัคคตจิต ทั้งหลายก็เกิดได้เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเห็นความเกิดของนามด้วยอาการดังกล่าวมานี้
ชื่อว่า กําหนดรู้นามตามกาล (คือในเวลาหนึ่ง)
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปและนามตามกาลดังกล่าวแล้ว จึงยกหรือพิจารณา ให้เห็นพระไตรลักษณ์ได้ตามลําดับก็จะบรรลุอุทยัพพยญาณ และสามารถทําปัญญาภาวนาให้ถึงพร้อมได้
การกําหนดรู้รูปทางรูปสัตตกะ
การกําหนดรู้รูปธรรมเพื่อเห็นพระไตรลักษณ์นั้นมีวิธีกําหนดรู้ ๗ อย่าง คือ
๑. โดยพิจารณาความยึดถือและการปล่อยวาง
๒. โดยพิจารณาความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย
๓. โดยพิจารณารูปที่เกิดขึ้นจากอาหาร
๔. โดยพิจารณารูปที่เกิดขึ้นจากฤดู
๕. โดยพิจารณ รณารูปที่เกิดขึ้นจากจากกรรม
๖. โดยพิจารณารูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๓. โดยพิจารณารูปธรรมดา
สรุปการเพิกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ทั้ง ๓ คือ
เมื่อพระโยคีเห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตาชื่อว่า มีการเพิกทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่โดยความไม่เที่ยงชื่อว่า มีการเพิกมานะ เมื่อเห็นอยู่โดยความ เป็นทุกข์ชื่อว่า มีการสิ้นไปแห่งความใคร่
การกําหนดรู้นามธรรมทางอรูปสัตตกะ เพื่อให้เห็นพระไตรลักษณ์มีด้วยประการฉะนี้
สรุปลักษณะสัมมสนญาณ
การพิจารณาเพียงย่อๆ โดยลักษณะสัมมสนญาณมี ๔ อย่าง คือ
๑. กลาปสัมมสนะคือ การพิจารณารูปนามที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายนอก ภายใน, หยาบ ละเอียด, เลว ประณีต, ไกล ใกล้ ทั้งหมดนี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหมดไปสิ้นไปถ่ายเดียว ไม่มีกลับ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว และไม่ มีแก่นสาร ไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น
๒. อัทธานสัมมสนะคือ การพิจารณารูปนามที่เกิดดับ ล่วงลับไปเป็นเวลา นาน คือพิจารณารูปนามในอดีต ไม่กลับมาเป็นรูปนามปัจจุบัน รูปนามปัจจุบันไม่กลับ ไปเป็นรูปนามอนาคต รูปนามภายในไม่เป็นรูปนามภายนอก รูปนามอดีตก็เกิดดับใน อดีต รูปนามอนาคตก็เกิดดับในอนาคต รูปนามปัจจุบันไม่กลับเกิดในชาติหน้า แต่มี เหตุปัจจัยสืบต่อกันอยู่ เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ดี เมื่อปัจจุบันชั่วอนาคตก็ชั่ว อุปมา เหมือนดวงตรา เมื่อประทับลงไปบนกระดาษนั้น รูปดวงตรายังปรากฏติดอยู่ที่กระดาษ แต่ดวงตราหาติดอยู่กับกระดาษไม่ ข้อนี้ฉันใด ความดีความชั่วก็ฉันนั้น ถ้าเราทําดี ความดีก็ประทับตราไว้ ไม่หายสูญไปไหนเลย ดังนั้น รูปนามจึงเป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา
๓. สันตติสัมมสนะคือ การพิจารณาเห็นความสืบต่อของรูปนาม เช่น รูป ร้อนดับไปรูปเย็นเกิดขึ้น รูปเย็นดับไปรูปร้อนเกิดขึ้น หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อย่างนี้ ดังนั้น รูปนามจึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจริงๆ
๔. ขณสัมมสนะคือ การพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่วขณะ หนึ่งๆ คือพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนามซึ่งเรียกว่า อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีรูปนามเกิดดับอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ตลอดวันตลอดคืน ดังนั้น รูปนามจึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
การเห็นรูปนามเกิดดับดังกล่าวนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การเห็นรูปนามเกิด ดับของสัมมสนญาณนี้ เห็นเมื่อรูปใหม่เกิดขึ้นแล้วจึงเห็นรูปเก่าดับไป เช่น พิจารณา อิริยาบถนั่ง จะเห็นว่าอิริยาบถนั่งนั้นดับไปก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนอิริยาบถนั่งนั้นเป็น อิริยาบถอื่นไป จึงจะเห็นว่าอิริยาบถนั่งนั้นดับไป ดังนี้เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ปัญญาในญาณนี้ยังอ่อนอยู่
อนึ่ง ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ ทั้ง ๓ นี้ ล้วนเป็นญาณที่อาศัยสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา ก็สัมมสนญาณนี้ว่า โดยวิสุทธิสงเคราะห์เข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ และเป็นญาณที่ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๑๐ เป็นญาณที่ ๓ ในญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ)
จบ สัมมสนญาณ
๔. อุทยัพพยญาณ
อุทยัพพยญาณ นี้เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บทคือ อุทยะ + วยะ + ญาณ รวม เป็นอุทยัพพยญาณ (แปลง ว เป็น พ ซ้อน พ) แปลว่า ปัญญาเห็นความเกิดขึ้น และ การแปรไปของรูปนาม ดังมีวจนัตถะว่า อุปปาทางคานุปสฺสนาวสรุปวัตต์ ญาณ อุทยพพยญาณ แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจการพิจารณาความเกิดขึ้น และความ ดับแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต
อุทยัพพยญาณมี ๒ อย่าง คือ
๑. ตรุณอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อนที่ยังมีวิปัสสนูปกิเลส เกิดปะปนอยู่ เรียกว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คืออยู่ในระหว่างวินิจฉัยว่าทาง หรือไม่ใช่ทาง เมื่อติดใจในวิปัสสนูปกิเลสเรียกว่า อมัคคะ ถ้าไม่ติดใจก็เรียก มัคคะ
๒. พลวอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ปัญญาที่เห็นความเกิด ดับของรูปนามผ่านอุปสรรคอันตราย คือผ่านวิปัสสนูปกิเลสไปได้ดําเนินไปตาม มัคคปฏิปทาโดยตรง โดยพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนามดังต่อไปนี้ คือ
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายความว่าปัญญาที่เห็นเนืองๆ ในความ ปรวนแปรของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ปัญญาที่เห็นความปรวนแปรของปัจจุบันนธรรม ทั้งหลาย คือปัญญาเห็นรูปที่เกิดแล้วซึ่งเป็นปัจจุบัน (อุทยะ) และเห็นความปรวนแปร ของรูปนั้น เช่น กําลังดับ (ยะ) เป็นต้น หรือปัญญาที่เห็นอยู่เนืองๆ ในลักษณะแห่ง การเกิดหรืออาการใหม่ของรูปนามว่าเป็นอุทยะ (ความเกิดขึ้น) และเห็นอยู่เนืองๆ ใน ลักษณะแห่งความปรวนแปร ความสิ้นไป ความแตกดับไป ว่าเป็น วยะ (ความดับไป)
ผู้ปฏิบัติควรพิจารณาว่า ก่อนที่รูปนามจะเกิดขึ้นก็มิได้มีอยู่ในที่ใด แม้เมื่อ รูปนามเกิดขึ้นแล้วก็มิได้เกิดมาจากที่ใด แม้เมื่อรูปนามกําลังดับก็หาไปสู่สถานที่ใดไม่ แม้เมื่อรูปนามดับไป ก็มิได้ไปตั้งอยู่สถานที่แห่งใด เปรียบเหมือนการบรรเลงพิณ คือ ก่อนที่เสียงจะเกิดขึ้นก็หามีที่เก็บไว้ไม่ เมื่อเสียงกําลังเกิดขึ้นก็มิได้มาจากที่ใด เมื่อ เสียงกําลังดับ ก็มิได้ไปสู่ที่ใด และเมื่อเสียงดับไปแล้วก็มิได้ไปเก็บอยู่ ณ ที่ใด และ เมื่อเสียงดับไปแล้ว ก็มิได้ไปเก็บอยู่ ณ ที่ไหน เสียงพิณนั้นไม่มีอยู่ก่อนแต่เพราะอาศัย พิณ การบรรเลงและความพยายามเสียงพิณจึงปรากฏมีขึ้น ฉันใด ธรรมทั้งหลายที่เป็น รูปและนาม ไม่มีก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็กลับดับไป ฉันนั้น
การเกิดดับของขันธ์ ๕ มีลักษณะ ๕๐ อย่าง
๑. เห็นความเกิดของรูปขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นรูปขันธ์เกิด เพราะอวิชชาเกิด ๒. เพราะตัณหาเกิด ๓. เพราะกรรมเกิด ๔. เพราะอาหารเกิด ๕. เพราะ เห็นลักษณะแห่งความเกิด
๒. เห็นความดับของรูปขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นรูปขันธ์ดับเพราะ อวิชชาดับ ๒. เพราะตัณหาดับ ๓. เพราะกรรมดับ ๔. เพราะอาหารดับ ๕. เพราะ เห็นลักษณะของความแปรปรวน
๓. เห็นความเกิดของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อย่างละ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นเวทนาขันธ์เกิด สัญญาขันธ์เกิด สังขารขันธ์เกิด เพราะอวิชชา เกิด ๒. เพราะตัณหาเกิด ๓. เพราะกรรมเกิด ๔. เพราะผัสสะเกิด ๕. เพราะเห็น ลักษณะแห่งความเกิด
๔. เห็นความดับของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อย่างละ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ดับ เพราะอวิชชาดับ ๒. เพราะตัณหาดับ ๓. เพราะกรรมดับ ๔. เพราะผัสสะดับ ๕. เพราะเห็นลักษณะ ของความแปรปรวน
๕. เห็นความเกิดของวิญญาณขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นวิญญาณขันธ์ เกิด เพราะอวิชชาเกิด ๒. เพราะตัณหาเกิด ๓. เพราะกรรมเกิด ๔. เพราะรูปนามเกิด ๕. เพราะเห็นลักษณะแห่งความเกิด
๖. เห็นความดับของวิญญาณขันธ์ ๕ ลักษณะคือ ๑. เห็นวิญญาณขันธ์ ดับ เพราะอวิชชาดับ ๒. เพราะตัณหาดับ ๓. เพราะกรรมดับ ๔. เพราะรูปนามดับ ๕. เพราะเห็ลักษณะของความแปรปรวน
ผู้ปฏิบัติเมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วตรุณอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
การเห็นรูปนามโดยปัจจัยและขณะ
การเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปโดยอาศัยอวิชชาเป็นต้นนั้น เป็นการเห็นโดยปัจจัย ส่วนการเห็นลักษณะแห่งความเกิดเฉพาะในขณะเกิดเท่านั้น หรือการ เห็ลักษณะของความปรวนแปรเฉพาะในขณะดับเท่านั้น เป็นการเห็น โดยขณะ เมื่อผู้ ปฏิบัติเห็นรูปนามโดยปัจจัยและขณะอยู่อย่างนี้ อริยสัจ ๔ ก็จักปรากฏ คือ
๑. การเห็นความเกิดขึ้น โดยปัจจัยสมุทยสัจก็ย่อมปรากฏ เพราะรู้ถึงปัจจัยให้เกิด
๒. การเห็นความเกิดขึ้น โดยขณะทุกขสัจย่อมปรากฏ เพราะรู้ว่าความเกิด เป็นทุกข์ หรือการเห็นความดับไปโดยขณะ และรู้ว่าความดับเป็นทุกข์ ทุกขสัจก็ย่อม ปรากฏ
๓. การเห็นความดับไปโดยปัจจัย นิโรธสัจก็ย่อมปรากฏเพราะรู้ว่าธรรม ทั้งหลายไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัย
๔. การเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยปัจจัยและโดยขณะ และกําจัดเสีย ซึ่งความฟั่นเฟือในความเกิดขึ้นและดับไปเป็น มรรคสัจ ฝ่ายโลกียะ
ปฏิจจสมุปบาทก็จักปรากฏ ดังนี้
ฝ่ายอนุโลม เมื่อเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปว่า “อิมสฺมี สติ อิท โหติ เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้จึงมี” ฝ่ายปฏิโลม เมื่อเห็นความดับไปโดยปัจจัย เพราะรู้ลงไปว่า “อิมสฺส นิโรธา อิท นิรุชฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ
นัย ๔ อย่าง ก็จักปรากฏ ดังนี้
๑. เอกัตตนัย (นัยแห่งความเป็นอันเดียว) คือ การเห็นความเกิดขึ้นโดย ปัจจัย และรู้ถึงความไม่ขาดสายและสืบต่อของเหตุและผล ก็ละอุจเฉททิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
๒. นานัตตนัย (นัยแห่งความต่างกัน) คือ การเห็นความเกิดขึ้น โดยขณะ และรู้ถึงความเกิดขึ้นของสังขารใหม่ๆ ก็ละสัสสตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
๓. อัพยาปารนัย (นัยแห่งความไม่ขวนขวาย) คือการเห็นความเกิดขึ้น และดับไปโดยปัจจัย และรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปตามอํานาจ ก็ละอัตตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
๔. เอวังธัมมตานัย (นัยแห่งความที่เป็นธรรมอย่างนี้) คือการเห็นความเกิด ขึ้นโดยปัจจัยและรู้ถึงความเกิดขึ้นของผลตามสมควรแก่ปัจจัย ก็ละอริยทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
ลักษณะ ๓ อย่าง ก็จักปรากฏ ดังนี้
๑. อนัตตลักขณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย และรู้ว่าธรรม ทั้งหลายเป็นไปต่อเนื่องด้วยปัจจัยปราศจากผู้กระทํา
๒. อนิจจลักขณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยขณะ และรู้ถึง ความมีแล้วไม่มี รู้ความว่างเปล่าในเบื้องต้นและที่สุด
๓. ทุกขลักขณะ คือการรู้ถึงความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้น และดับไป แม้สภาวลักษณะก็ปรากฏชัดด้วย เพราะมุ่งลงไปที่ตัวธรรมะ (รูปนาม) ที่ เกิดขึ้นและดับไป แม้สังขตลักษณะที่เป็นไปชั่วขณะนั้นก็ปรากฏชัดในสภาวลักษณะ เพราะรู้ว่าไม่มีความดับไปในขณะที่กําลังเกิดขึ้น และรู้ว่าไม่มีความเกิดขึ้นในขณะที่กําลังดับไป
อารัทธวิปัสสโก
เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นความแตกต่างของสัจจะ ปฏิจจสมุปบาท นัย และลักขณะ ปรากฏชัดอย่างนี้ สังขารทั้งหลายก็ปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์ทีเดียวว่า ธรรม ทั้งหลายชื่อนี้ว่าแต่ก่อนไม่เคยเกิด เดี๋ยวนี้เกิดขึ้นแล้ว เกิดแล้วก็ดับไป และมิใช่สังขาร ทั้งหลายปรากฏเป็นของใหม่เท่านั้นแต่ปรากฏมีปกติตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยเท่านั้น ประดุจ หยาดน้ําค้างต่อมน้ํา รอยขีดบนผิวน้ํา เมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม สายฟ้าแลบ และปรากฏว่า ไม่มีสาระแก่นสาร ไม่เป็นสาระประดุจมายาการ พยับแดด ความฝัน ควงหุ้นฟื้นติดไฟ สร้างวิมานในอากาศ ฟองน้ํา ต้นกล้วย
ด้วยวิธีปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ผู้ปฏิบัติได้ชื่อว่าบรรลุแล้วซึ่งตรุณวิปัสสนาญาณ หรืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (อย่างอ่อน) เพราะแทงตลอดลักษณะ ๕๐ อย่างโดย อาการที่ว่า “สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดานั่นเอง เกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความ ดับไป” ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ชื่อว่า อารัทธวิปัสสโก คือผู้เริ่มบําเพ็ญวิปัสสนาหรือ ผู้เริ่มต้นเห็นแจ้ง
ในลําดับของตรุณวิปัสสนาญาณ หรืออุทยัพพยานุปัสสนา (อย่างอ่อน) นี้ วิปัสสนูปกิเลส คือสิ่งที่ทําให้วิปัสสนาญาณหม่นหมอง จะบังเกิดขึ้นแก่โยคีที่เริ่มต้น บําเพ็ญวิปัสสนา วิปัสสนูปกิเลสจะไม่บังเกิดแก่บุคคล ๓ พวก ดังที่กล่าวมาแล้ว
อธิบายในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐
วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ย่อมจะเกิดขึ้นแก่ผู้มีความเพียรเจริญ วิปัสสนาในเมื่อได้บรรลุถึงอุทยัพพยญาณที่ยังอ่อนอยู่ ถ้าผู้มีความเพียรนั้นพลาดพลั้ง หลงกลต่อวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้แล้ว ก็ย่อมจะเข้าถึงสภาวะที่ไม่สามารถบําเพ็ญความ เพียรวิปัสสนาต่อไปได้ เพราะเข้าใจผิดคิดไปว่าตนได้สําเร็จแล้ว ตนสิ้นกิเลสเป็น พระอรหันต์ แล้วอันเป็นเหตุให้ได้รับความอิ่มอกอิ่มใจ ขาดความเพียรที่จะปฏิบัติต่อไป แต่ถ้ามีอุปนิสัย วาสนา บารมีมาแต่อดีตชาติ คือเป็นบุคคลที่ควรบรรลุมรรคผลเพราะ ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ และสามารถพาตนให้ผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปได้แล้ว วิปัสสนาญาณก็จะดําเนินไปตามแนวทางแห่งรูปนาม มีอาการเกิดดับชัดเจนและ จักชัดเจนยิ่งๆ ขึ้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ผู้ประกอบความเพียรวิปัสสนานั้นได้ บรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่เต็มที่แล้ว รอเวลาที่ก้าวขึ้นสู่ญาณเบื้องสูงต่อไป
ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ได้กล่าวถึงใจที่ถูกวิปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงําไว้ว่า
พระภิกษุขณะมนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยงนั้น โอภาส คือแสงสว่างก็บังเกิด ขึ้น พระภิกษุนั้นก็นึกถึงโอภาสเหล่านั้นว่า “โอภาสเป็นธรรม” ดังนั้นความฟุ้งซ่านหรือ อุทธัจจะที่มีโอกาสเป็นเหตุ จึงครอบงําพระภิกษุนั้นผู้ซึ่งไม่กําหนดรู้ถึงความปรากฏ ของความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่กําหนดรู้ถึงความปรากฏของความทุกข์ตามความเป็นจริง และไม่กําหนดรู้ถึงความปรากฏของความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง
แม้วิปัสสนูปกิเลสอื่นๆ มี ญาณ คือ ความรู้ เป็นต้น จนถึงนิกันติ คือ ความยินดีพอใจ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับ โอภาส คือ แสงสว่างนั่นเอง
๑. โอภาส คือ แสงสว่าง ได้แก่ วิปัสสโรภาส หมายถึงแสงสว่างในวิปัสสนา เมื่อวิปัสสโนภาสเกิดขึ้น โยคาวจรก็คิดว่า “แสงสว่างเช่นนี้ไม่เคยปรากฏ แก่ตัวเราเลย เราคงบรรลุมรรคผลแน่แล้ว” เมื่อโยคาวจรมีความคิดเช่นนี้ก็ถือเอาสิ่งที่ มิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งที่มิใช่ผลว่าเป็นผล จึงเป็นเหตุให้วิปัสสนาญาณก้าวออกไปนอกทางที่ถูกต้อง เพราะ โยคาวจรจะละทิ้งอารมณ์ของวิปัสสนาเดิม หรือมูลกรรมฐาน เดิมเสียแล้วกลับมานั่งชื่นชมวิปัสสโนภาสอยู่ด้วยอํานาจของตัณหา มานะ และทิฏฐิ
โดยส่วนมากวิปัสสนูปกิเลสนี้มักเกิดแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนา แบบสมถวิปัสสนา คือ เจริญสมถะมาก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง เพราะว่า กิเลส ทั้งที่ถูกข่มไว้ด้วยอํานาจของสมาธิไม่สามารถกําเริบได้ จึงทําให้ผู้ที่ได้สมถวิปัสสนา นั่นเกิดความคิดว่า “ได้เป็นพระอรหันต์”
๒. ญาณ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ในขณะที่โยคีกําลังเทียบเคียง ไตร่ตรอง รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายอยู่นั้น ญาณ ซึ่งมีกระแสอันปราดเปรียวแหลมคม แก่กล้าชัดแจ้ง ก็บังเกิดขึ้น ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไป
๓. ปีติ หมายถึง ความเอิบอิ่มที่ประกอบด้วยวิปัสสนา ปีติที่เกิดขึ้นในระยะนีมี ๕ อย่าง คือ
๑. ขุททกาปีติ ความเอิบอิ่มเล็กน้อย
๒. ขณิกาปีติ ความเอิบอิ่มที่เพิ่มพูนทุกขณะ
๓. โอกกันติกาปีติ ความเอิบอิ่มซ่านเซ็น
๔. อุพเพงคาปีติ ความเอิบอิ่มโลดแล่น
๕. ผรณาปีติ ความเอิบอิ่มซาบซ่าน
ปีติทั้ง ๕ อย่างนี้ จะเกิดขึ้นทั่วสรีรกาย
๔. ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบในวิปัสสนา เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ภาวนากําลังนั่งอยู่ในที่พักกลางคืนหรือกลางวันก็ตาม ในขณะนั้นทั้งกายและใจของโยคี จะปราศจากสิ่งรบกวนเหล่านี้ คือ
๑ ความกระวนกระวาย
๒. ความหนัก
๓. ความแข็งกระด้าง
๔. ความไม่ควรแก่การงาน
๕. ความเจ็บไข้
๖. ความคดโกง
แต่ว่า กายและใจของโยคีท่านนั้นจะประกอบไปด้วยคุณคือ
๑. ความสงบ
๒. ความเบา
๓. ความอ่อน
๔. ความควรแก่การงาน
๕. ความผ่องใส
๖. ความเทียงตรง
เมื่อโยคีได้รับความอนุเคราะห์จากปัสสัทธิเช่นนี้แล้ว ก็จะมีความเพลิดเพลิน
ยินดีที่มิใช่เกิดแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระบุถึงไว้ ว่า
สุญฺญาคาร์ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน
อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺนํ วิปสฺสโต
ยโต ยโต สมุมสติ ลภ ปีติปาโมชฺชิ
ขนฺธานํ อุทยพพยํ อมต่ ต้ วิชานตํ
ความยินดีที่มิใช่เกิดแก่มนุษย์ทั่วไป แต่สามารถเกิดแก่พระ ภิกษุที่เข้าสู่อาคารอันเงียบสงัด และมีจิตใจที่สงบ เห็นแจ้งธรรม ด้วยความถูกต้อง เมื่อพระภิกษุนั้นกําหนดรู้ความเกิดและดับของขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอุทยัพพยญาณในรูปธรรมหรือนามธรรมอยู่ ย่อมได้ ปีติ และปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์ของพระภิกษุผู้รู้แจ้งนั้น เป็นอมตะ
ปัสสัทธิอันประกอบด้วยธรรมมี ความเบา เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้โยคีได้รับ ความยินดีที่มิใช่ของมนุษย์ทั่วไปเกิดขึ้นนั้นก็มีดังกล่าวมานี้
๕. สุข หมายถึง ความสุขที่ประกอบด้วยวิปัสสนา คือในขณะที่โยคีผู้เริ่ม บําเพ็ญวิปัสสนากําลังปฏิบัติอยู่นั้น ความสุขอันประณีตยิ่งก็บังเกิดขึ้นท่วมท้นไปทั่ว สรีรกาย เป็นสุขท่วมท้นหัวใจ ไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นสุขที่มี รสอันล้ําลึกแปลกประหลาด เป็นสุขที่ประเสริฐกว่าความสุขธรรมดาที่มนุษย์พบเห็น สรุปว่าบรรดาความสุขทั้งหลาย อะไรจะมาสุขเท่าวิปัสสนาสุขเป็น ไม่มี ฉะนั้นถ้ามนสิการไม่ดีจะทําให้โยคีเข้าใจผิดดังกล่าวมาแล้ว
๖. อธิโมกข์ หมายถึง ความเชื่อ หรือศรัทธาที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นเอง อธิโมกข์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นความผ่องใสอย่างยิ่งของจิตและเจตสิก เป็นศรัทธา ที่มีกําลัง เพราะจิตและเจตสิกผ่องใสเป็นอย่างยิ่ง ด้วยอํานาจศรัทธากล้าพาให้นึกคิดไปใหญ่โต เช่นคิดถึงคนทั้งหลายอยากให้เขาได้เข้ากรรมฐานอย่างตนบ้าง เช่นคนที่รักใคร่ ชอบพอ บิดา มารดา อุปัชฌาจารย์ อันศรัทธาชนิดนี้มีความรุนแรงมาก ขนาดที่ว่าแม้ ท่านผู้มีพระคุณเหล่านั้นได้ตายไปแล้วตนก็แทบจะไปขนกระดูกท่านเหล่านั้นมาปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานเหมือนตนบ้างทีเดียว เมื่อนึกใกล้เข้ามาถึงอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน แก่ตนในปัจจุบันก็เกิดศรัทธาในตัวท่านนึกถึงบุญคุณของท่านตลอดจนบุญคุณของ พระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ว่าการที่ตนได้พบเห็นธรรมะได้รับความสุขอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะได้อาจารย์ช่วยแนะนําสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแต่ก่อนนั้นเคย เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง แต่บัดนี้เชื่อจริงๆ ถ้าจะทํากุศลใดๆ ในภายหน้าก็จะทําแต่เฉพาะ กุศลที่เกี่ยวกับวิปัสสนานี้เพราะได้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติ ถ้าโยคีผู้นั้นเป็นบรรพชิต ก็จะคิดวางแผนการ สร้างมโนภาพว่าเมื่อตนสําเร็จออกจากกรรมฐานไป จะต้องไปหา ที่ที่เหมาะตั้งสํานักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น แล้วตั้งตัวเองเป็นอาจารย์สั่งสอนให้คน ทั้งหลายได้รู้จักพระศาสนาที่ถูกต้องว่าประโยชน์ที่แท้จริง คือ การปฏิบัติวิปัสสนานี้เอง คนทั้งหลายยังโง่มากที่ไม่รู้จักปฏิบัติอย่างที่ตนกําลังทําอยู่นี้เป็นที่น่าสงสาร
ฉะนั้น จะต้องช่วยเขาไม่ให้หลงผิดจะได้พ้นทุกข์ เมื่อคิดเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้า โยคีนั้นก็เลยลืมอารมณ์กรรมฐาน คือการตั้งสติกําหนดทําให้กรรมฐานบกพร่อง อันที่ จริงศรัทธาที่เกิดขึ้นเป็นของดี เพราะเป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งคนธรรมดาจะเกิดศรัทธาขนาดนี้ไม่ได้ แต่ที่จะเป็นวิปัสสนูปกิเลสก็เพราะว่าเมื่อจิต เพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาก็ทําให้ละเลยอารมณ์กรรมฐาน คือการตั้งสติกําหนดทําให้ เสียเวลาในการปฏิบัติวิปัสสนาและเมื่อมนสิการไม่ดี มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้ามา ประสมด้วยก็จะทําให้การบําเพ็ญไ ไม่มั่นคง หรือไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร
๗. ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ซึ่งเป็นความ เพียรที่ไม่หย่อนเกินไปไม่ตึงเกินไปประคับประคองไว้เป็นอย่างดี พยายามในการปฏิบัติ
วิปัสสนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก่อนแม้อาจารย์จะคอยเตือนให้พยายามทําความ เพียรก็รู้สึกว่ายากเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย หมดความเพียร แต่บัดนี้มีความคิดเช่นนั้น หายไปสิ้น เกิดความขยันขึ้นเป็นพิเศษจนทําให้ตนเองแปลกใจว่า เหตุใดตนจึงได้มี วิริยะมากไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการปฏิบัติเช่นนี้ และเมื่อมนสิการ ไม่ดีก็จะเข้าใจ ตนเองผิดไปว่าได้มรรคผล นิพพานแล้ว ปัคคาหะคือ ความเพียรจึงเป็นวิปัสสนูปกิเลส
๘. อุปัฏฐาน หมายถึง สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ซึ่งเป็นสติที่เข้าไปตั้งอยู่อย่างดี มั่นคงฝังลึกไม่หวั่นไหว ประดุจภูเขาหลวง สติอันเป็นอุปัฏฐานะนี้เมื่อเกิดแก่ โยคีแล้ว โยคีรําพึงหรือนึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์นั้นก็โลดแล่นเข้าไปอยู่ด้วยสตินั้น ประหนึ่งปรโลกปรากฏแก่บุคคลผู้มีทิพยจักษุ
๙. อุเบกขา หมายถึง วิปัสสนูเปกขา และ อาวัชชนูเปกขา วิปัสสนูเปกขา ได้แก่ ความเป็นกลางในสังขารทั้งปวง ส่วนอาวัชชนูเปกขาได้แก่ ความเป็นกลางที่ เกิดขึ้นในมโนทวารนั่นเอง อุเบกขาทั้งสองนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ซึ่งเริ่มต้น บําเพ็ญวิปัสสนา และเมื่ออุเบกขากําลังดําเนินไปอย่างนี้ โยคีรําพึงถึงอารมณ์ใด อุเบกขา นั้นก็จะดําเนินไปอย่างแก่กล้าแหลมคม ไม่ยินดียินร้ายต่อทุกสิ่งเหมือนคนไม่มีกิเลส ไม่ สะดุ้งสะเทือนต่ออารมณ์ทุกชนิด เป็นอุเบกขาที่มีกําลังแรงกล้า แม้จะมีอารมณ์ใดมา กระทบก็ไม่หวั่นไหว วางเฉยเสียได้ทุกประการ จนตนเองก็แปลกใจในภาวะที่ เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้เป็นยิ่งนัก ถ้ามนสิการไม่ดีก็ทําให้เข้าใจผิดคิดว่า ตนเป็นพระ อรหันต์แล้วเพราะวางเฉยได้ ไม่ยินดียินร้ายอะไรเลย ความหมดกิเลสได้มรรคผลนิพพานเป็นอย่างนี้เองหนอ นี้เนื่องจากมีทิฏฐิเข้ามาแทรก และยังคิดต่อไปอีกว่าตนมีบุญวาสนา มาก ปฏิบัติไม่นานเท่าใดก็ได้มรรคผลง่ายๆ ไม่มีใครจะเหมือนตน ทั้งนี้เนื่องจากมี มานะเข้ามาแทรก ต่อไปก็มีความคิดว่าตนสบายแล้ว ไม่ต้องยินดียินร้ายอะไรทั้งหมด อีกต่อไป ถึงออกจากกรรมฐานแล้วก็จะอยู่ในโลกนี้อย่างสงบสบาย ไม่ต้องรัก ไม่ต้อง ชัง ไม่ต้องดีใจ เสียใจ ให้วุ่นวายเหมือนคนทั้งหลายที่กําลังเป็นกันอยู่ ขอให้ตนได้ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไปเถิด นี้เรียกว่ามีตัณหาเข้ามาแทรก
รวมความว่า อุเบกขานี้แท้จริงเป็นของดีแต่ถ้ามนสิการไม่ดี มีตัณหา มานะ ทิฏฐิเข้ามาแทรกก็จะกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสไปเสีย ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ ทรงซัดออกไปหรือประดุจลูกศรที่ติดไฟโพลงยิงไปในกองใบไม้ ฉะนั้น
๑๐. นิกันติ หมายถึง วิปัสสนานกันติ หรือ ความยินดีพอใจในวิปัสสนานิกันตินี้เป็นสภาพที่มีอาการสงบสุขุม และเมื่อเกิดแก่โยคีแล้ว ย่อมทําความติดใจหรือ อาลัยต่อวิปัสสนูปกิเลส มีโอกาสเป็นต้น นิกันติในวิปัสสนานี้เป็นความยินดีพอใจที่ ใครๆ ไม่สามารถกําหนดรู้ได้ว่าเป็นกิเลส
วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีผู้ปฏิบัติทุกคนที่เป็น ปุถุชนเมื่อบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ฉะนั้น พอถึงระยะนี้วิปัสสนาจารย์จึงคอยตักเตือน คอยให้สติ อย่าให้โยคีหลงผิดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเป็นอันขาด ควรแนะนําก็ ต้องแนะนํา ควรว่าก็ต้องว่าอย่าได้เกรงใจ ต้องมุ่งประโยชน์เบื้องหน้าของโยคีบุคคล เท่านั้น
การจําแนกอุปกิเลส ๑๐ โดยคาหะ (ความยึดถือ) ๓ อย่าง
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หรืออุปกิเลส ๑๐ ที่เรียกว่าเป็นอุปกิเลสนั้น เพราะว่า เป็นอารมณ์หรือเป็นวัตถุที่ตั้งของอุปกิเลส มิใช่เพราะว่าเป็นอกุศลแต่อย่างใด ยกเว้น นิกันติเป็นทั้งตัวอุปกิเลสด้วย และเป็นทั้งอารมณ์ของอุปกิเลสด้วย
อุปกิเลสหรือวิปัสสนูปกิเลสนี้เมื่อกล่าวถึงโดยทางเป็นอารมณ์ หรือเป็นวัตถุ ที่ตั้งแล้ว ก็คงมี ๑๐ อย่างมี โอภาส เป็นต้น แต่เมื่อว่าโดยทางคาหะคือ ความยึดถือก มี ๓๐ อย่างคือ เมื่อ โยคาวจรยึดถือว่า
๑. โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้วจัดเป็น ทิฏฐิกาหะ คือ ยึดถือไว้ด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ
๒. โอภาสที่เกิดแก่เรานี้สวยงามถูกใจจริงหนอ จัดเป็น มานคาหะ คือ ยึดถือไว้ด้วยอ่านาจแห่งมานะ
๓. เมื่อโยคาวจรมีความชื่นชมยินดีในโอภาสนั้น จัดเป็น ตัณหาคาหะ คือ ยึดถือไว้ด้วยอ่านาจแห่งตัณหา
แม้ในอุปกิเลสที่เหลือก็มีอย่างละ ๓ เหมือนกับโอกาสฉะนั้น จึงรวมเป็น อุปกิเลส ๓๐ โดยทางดาหะ ด้วยประการฉะนี้.
ผู้ไม่ฉลาดในอุปกิเลส
เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นเช่นนี้แล้วก็ทําให้จิตใจของโยคาวจร ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม หวั่นไหว ฟุ้งซ่านอยู่ในกิเลสเหล่านั้นและด้วยอํานาจของคาหะเหล่านั้น ย่อม ทําให้โยคาวจรเห็นอุปกิเลสทั้งหลายเนืองๆ ว่า “อุปกิเลสเป็นเรา เราเป็นอุปกิเลส อุปกิเลส เป็นอัตตาของเรา”
ธรรมชาติ ๙ อย่างคือ ตั้งแต่โอภาสจนถึงอุเบกขาเป็นกุศลแท้ เพราะจะ เกิดขึ้นได้ก็ต้องใช้ความเพียรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาไม่น้อย แต่ที่มามีสภาพเป็น อุปกิเลสก็เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว อุปกิเลส ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เหล่านี้ได้โอภาส แทรกเข้ามาเช่นเมื่อโอภาสปรากฏขึ้น ทิฏฐิก็จะเกิดแก่โยคี ทําให้นึกคิดไปว่าแสง สว่างเกิดขึ้นนี้ คงเป็นเพราะตนได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วต่อจากนั้น มานะก็จะเกิดขึ้น ทําให้คิดไปว่าตนมีบุญแท้ๆ ต่อจากนั้นก็จะยินดีชอบใจว่า ขอให้เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไป อันแสดงว่าตัณหาเกิดขึ้นแล้วเลยทําให้โอกาสซึ่งตัวจริงแล้วเป็นของดีแท้ๆ มากลาย สภาพเป็นอุปกิเลสไป ในเรื่องนี้มีอุปมาดังต่อไปนี้
ยังมีอุบาสกผู้หนึ่งเป็นคนดีมีศีลธรรมเป็นหัวหน้ามรรคทายกวัดแห่งหนึ่ง เป็นที่นับถือของคนทั่วไปทั้งพระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน วันหนึ่งมีเพื่อนขี้เมา คนมาชวนไปเที่ยวในตลาด และพากันเข้าไปในร้านสุรา เมื่อนั่งลงแล้วเพื่อนทั้ง ๓ ก็ สั่งสุรามารับประทานจนเมาและคุยกันเอะอะ ฝูงชนเดินผ่านไปมาได้ยินเสียงดังต่าง ก็เหลียวดู เห็นอุบาสกผู้นั้นนั่งอยู่ในวงเหล้าก็นึกติฉินนินทา พากันเข้าใจผิดคิดว่า อุบาสกที่ตนนับถือในคุณธรรมนั้นกลายเป็นคนดื่มสุราไปเสียแล้ว เพราะเห็นอยู่ว่า อุบาสกนั้นนั่งอยู่ในวงเหล้า และสถานที่นั่งก็เป็นโรงเหล้า แม้อุบาสกผู้นั้นยังมั่นอยู่ใน ศีลไม่ได้ดื่มเลย นั่งเฉยๆ อยู่แท้ๆ ก็ต้องถูกนินทาเสียชื่อเสียงเพราะเพื่อนขี้เมา ๓ คน นั้นเป็นผู้ก่อเหตุ
ข้อนี้ฉันใดธรรมชาติ ๙ ประการคือ ตั้งแต่โอภาสจนถึงอุเบกขา ก็เหมือน กัน ทั้งๆ ที่เป็นของดีเป็นกุศลแท้ๆ แต่ก็ต้องมาเสียชื่อกลายเป็นอุปกิเลสไปเพราะว่า เพื่อนขี้เมาทั้ง ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นตัวก่อเหตุ แต่พอผ่านญาณนี้ไปแล้ว ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็ย่อมจากไป ธรรมทั้ง ๙ ประการก็กลับเป็นของดีตามเดิมและ ดีวิเศษเสียด้วย เพราะเป็นโพชฌงค์คือ เป็นองค์คุณสําคัญของเหตุให้ได้มรรคผล ส่วนข้อสุดท้ายคือนิกันตินั้นเป็นตัวอกุศล เป็นอุปกิเลสแท้อย่างไม่ต้องสงสัย ฉะนั้นในวิสุทธิมรรคจึงแสดงไว้ว่า
วิปัสสนูปกิเลสา หิ ปฏิเวธปตฺตสฺส อริยสาวกสฺส, เจว วิปปฏิปนฺนกสัส, จ นิกขิตตกมุมฏฐานสส กุสีตบุคคลสฺส นุปปชุชนติ ฯ
พระอริยบุคคลผู้ถึงปฏิเวธคือ ท่านที่ผ่านโสฬสญาณไปครั้งหนึ่งแล้วอธิษฐาน กลับลงมาถึงญาณนี้อีกหรือ พระอริยบุคคลที่สูงขึ้นไปกว่านี้ก็ดี, โยคีผู้ปฏิบัติผิดทาง ก็ดี โยคีผู้เกียจคร้านทอดทิ้งกรรมฐานก็ดี คนเหล่านี้ย่อมไม่พบวิปัสสนูปกิเลสเลย
อนึ่ง ท่านกล่าวว่า สมฺมาปฏิปนฺนกสฺส ปน ยุตฺตปยุตฺตสฺส อารทธวิปสฺสกสุส กุลปุตฺตสฺส อุปฺปชฺชนฺติเยว
ส่วนผู้ปฏิบัติถูกทาง พยายามกําหนดวิปัสสนาไม่ท้อถอย จนถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ย่อมจะพบวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้แน่นอน
ผู้ฉลาดในอุปกิเลส
แต่สําหรับโยคาวจรที่ฉลาดเป็นบัณฑิตเฉียบแหลม ประกอบด้วยความรอบรู้ เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นก็กําหนดรู้ ใคร่ครวญด้วยสติปัญญาดังนี้ว่า
๑. โอภาสนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแต่สภาวะของโอภาสนั้นไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา
๒. ถ้าโอภาสนี้เป็นอัตตาแล้ว การยึดถือโอกาสว่าเป็นอัตตาก็สมควร แต่ โอกาสนี้มิใช่อัตตา เป็นอนัตตา เพราะว่าไม่เป็นไปในอํานาจ เป็นอนิจจัง เพราะว่ามี แล้วหามีไม่ เป็นทุกขัง เพราะว่ามีการเบียดเบียน
ครั้นเมื่อโยคาวจร ใคร่ครวญดังกล่าวมาแล้วก็จะเห็นเนืองๆ ในโอกาสว่า “โอภาสนี้มิใช่ของเรา เรามิใช่โอภาส โอภาสนี้มิใช่อัตตาของเรา” แม้ในอุปกิเลสที่ เหลือก็พิจารณาในทํานองเดียวกัน และเมื่อโยคาวจรเห็นอยู่เสมอเนืองๆ อย่างนี้ก็ไม่ หวั่นไหว ไม่สั่นคลอนด้วยอํานาจของอุปกิเลสทั้งหลาย เหตุนั้นพระโบราณาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า
อิมานิ ทส ซานามิ ปญฺญายสฺส ปรีจิตา
ธมฺมฺทฺธจจกุลโล โหติ น จ วิกเขป์ คจฺฉติ ฯ
โยคีบุคคลนั้น กําหนดรู้ฐานะคือวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในธัมพุทธัจจะ และย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
เมื่อโยคาวจรปราศจากความฟุ้งซ่านชื่อว่า ถางชัฏคือ อุปกิเลสครบ ๐ อย่าง ได้แล้ว กําหนดรู้ว่าสิ่งใดเป็นมรรคและมิใช่มรรค เช่น ธรรมทั้งหลายมีโอกาสเป็นต้น มิใช่มรรค แต่วิปัสสนาญาณที่พ้นแล้วจากอุปกิเลสและดําเนินไปตามวิถีแห่งวิปัสสนา นั้นเป็นมรรค ปัญญาที่รู้ว่ามรรคและมิใช่มรรคนี้เกิดแก่โยคีใด ก็เป็นอันว่าโยคีนั้น
บรรลุถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
เมื่อโยคีได้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาจนบรรลุถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ถือได้ว่าทําการกําหนดรู้ในสัจจะ ๓ อย่างด้วยโลกียปัญญา ดังนี้
๑. ทัสสนวิสุทธิ กําหนดรู้ทุกขสัจ ด้วยการกําหนดรู้รูปนามในทิฏฐิวิสุทธิ
๒. กําหนดรู้สมุทยสัจ ด้วยการกําหนดรู้ปัจจัยของรูปนามในกังขาวิตรณวิสุทธิ
๓. กําหนดรู้มรรคสัจ ด้วยการกําหนดรู้มรรคโดยชอบในมัคคามัคคญาณ
พลวอุทยัพพยญาณ
พลวอุทยัพพยญาณ หรือ อุทยัพพยญาณอย่างแก่ อุทยัพพยญาณในเบื้องต้น ไม่สามารถกําหนดรู้พระไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้เพราะถูกอุปกิเลส ๑๐ ทําให้ มัวหมองลง ฉะนั้น โยคาวจรจึงต้องทําความเพียรพยายามต่อไปอีก จนสามารถพ้นจาก อุปกิเลส ๑๐ แล้วอุทยัพพยญาณอย่างแก่ที่พ้นจากอุปกิเลสก็จะเกิดขึ้น แล้วสามารถ กําหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้อย่างมั่นคงชัดเจน
ถามว่า ลักษณะทั้งหลายไม่ปรากฏ เพราะอะไรปิดบังไว้และเพราะไม่ มนสิการอะไร ?
ตอบว่า อันดับแรก อนิจจลักขณะ ไม่ปรากฏนั้นเพราะสันตติปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการความเกิดและความคับ
ทุกขลักขณะ ไม่ปรากฏนั้นเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและความดับไป
อนัตตลักขณะ ไม่ปรากฏนั้นเพราะฆนะความเป็นแท่งหรือกลุ่มก้อนปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่างๆ
แต่เมื่อ โยคาวจรกําหนดรู้ความเกิดและดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไปอนิจจลักขณะที่ปรากฏโดยสภาวะของตนตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ทุกขลักขณะก็ปรากฏตาม สภาวะของตนตามความเป็นจริง และเมื่อกระจายธาตุต่างๆ ออกไป แล้วทําการกระจาย มนะความเป็นแท่งหรือกลุ่มก้อนเสีย อนัตตลักขณะที่ปรากฏ ตามสภาวะของตนตามความเป็นจริง
เมื่อโยคาวจรเจริญวิปัสสนาภาวนา จนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่แล้ว ย่อมพิจารณากําหนดรู้ในลักษณะ ๓ ดังนี้คือ
๑. อนิจจลักขณะ คือลักษณะของความไม่เที่ยง หมายถึงความที่สังขาร เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หรืออาการและวิการที่มีแล้วหามีไม่
๒. ทุกขลักขณะ คือลักษณะของความเป็นทุกข์ หมายถึงอาการเบียดเบียน เฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ
๓. อนัตตลักขณะ คือลักษณะของความ ไม่มีอัตตา หมายถึงอาการที่ไม่เป็น ไปตามอํานาจบังคับบัญชา
เมื่อโยคาวจรกําหนดในลักษณะดังกล่าวมานี้ชื่อว่า อุทยัพพยญาณอย่างแก่ได้ดําเนินไปตามวิถีหน้าที่ของตน ตามความเป็นจริงทุกประการ
จบ อุทยัพพยญาณ
๕. ภังคญาณ
ภังคญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่พิจารณาเห็นการดับไปของรูปนาม โดยส่วนเดียว ดังมีวงนัตถะแสดงว่า อุทย์ บุญจิตวา วาย ปวตฺติ ญาณ ภังคญาณ แปลว่า ญาณที่ปล่อยความเกิด แล้วเป็นไปในความเสื่อมชื่อว่า ภังคญาณ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต
ก็เมื่อโยคาวจรกําหนดและชั่งใจไตร่ตรองในรูปนามทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาอยู่เสมอๆ วิปัสสนาญาณก็มีกําลังแก่กล้าขึ้น สภาวะของ สังขารทั้งหลายปรากฏรวดเร็วมาก ทําให้วิปัสสนาญาณกําหนดไม่ทันความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเป็นไป หรือนิมิตของสังขารทั้งหลาย สติและวิปัสสนาญาณคง กําหนดตั้งมั่นอยู่เฉพาะนิโรธคือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป หรือความแตกทําลายไปของสังขารทั้งหลายแต่เพียงอย่างเดียว
เมื่อสมาธิญาณแก่กล้าแล้ว สังขารอารมณ์ทั้งหลายย่อมปรากฏแก่โยคี ผู้ปฏิบัติโดยอาการที่หายไปๆ จนเมื่อเวลาเกิดขึ้นหรือตั้งอยู่ก็ไม่เห็นเลย ถึงสันตติ ความสืบต่อ ความเป็นไปก็ขาดตอน สัณฐานที่ปรากฏอาการหายไปจะกําหนดได้ก็เพียง “นิโรธ” ที่มีความสิ้นไป เสื่อมไปและแตกดับไปเท่านั้น คําว่า นิโรธ มี ๒ อย่าง คือ
๑. อุปปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่ยังมีอาการเกิดขึ้น
๒. อนุปปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่เป็นมัคคนิโรธ เช่น นิโรธของท่านผู้ เข้าผลสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ
สําหรับนิโรธศัพท์ในที่นี้หมายถึงอุปปาทนิโรธคือ ความดับที่ยังมีการเกิดขึ้นอีก
ปัญญาในการกําหนดรู้ความดับไปของอารมณ์อยู่เนืองๆ หรือปัญญาที่ กําหนดรู้อารมณ์โดยความสิ้นไป ความเสื่อมไปชื่อว่า ภังคานุปัสสนาญาณ
การกําหนดเห็นเนืองๆ
การกําหนดเห็นเนืองๆ ในอารมณ์ โดยความดับไปความสิ้นไป ความเสื่อมไป คําว่า “เห็นเนืองๆ” หมายความว่าเห็นเนืองๆ ในอารมณ์นั้นโดยความไม่เที่ยงมิใช่ เห็นเนืองๆ โดยความเป็นของเที่ยง เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตามิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็น อัตตา จึงเกิดความเบื่อหน่ายมิใช่เกิดความเพลิดเพลินยินดี (ตัณหาที่ประกอบด้วยปีติ) เกิดความปราศจากก๋าหนัด มิใช่เกิดความกําหนด เกิดความดับไปมิใช่เกิดขึ้น เกิดการ สลัดทิ้งไปมิใช่เกิดการยึดถือไว้
เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่เที่ยง ก็ละนิจจสัญญา คือความจําหมายว่าเที่ยง เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ ก็ละสุขสัญญาคือ ความจําหมายว่าเป็นสุขหรือ เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา ก็ละอัตตสัญญาคือ ความจําหมายว่ามีตัวตนเสียได้ เมื่อโยคาวจรกําหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาแล้วก็ทําให้เกิดการเบื่อหน่ายไม่เพลิดเพลินยินดี ปราศจากความกําหนด การละความกําหนัด (ราคะ) ในขั้นนี้เป็นไปด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนาญาณขั้นโลกียะ เท่านั้น
เมื่อโยคาวจรกําหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งหลายโดยความดับไป และเป็น ผู้ปราศจากความกําหนัดแล้วก็จะสามารถกําหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงที่ไม่เคย เห็นโดยความดับไปได้ ด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนาญาณ โดยลําดับ และการมนสิการใน สังขารเหล่านี้ก็เห็นแต่ความดับเพียงอย่างเดียว ไม่เห็นความเกิด เมื่อโยคาวจรปฏิบัติ มาถึงอย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่า สลัดสังขารทั้งหลายทิ้งไปไม่ยึดถือไว้
เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ซึ่งทําให้ เกิดการสละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธ์และอภิสังขารทั้งหลาย ด้วยอํานาจตทั้งคปหาน (ละด้วยองค์ของธรรมนั้น) ที่เรียกว่า ปริจจาคปฏินิสสัคโค คือ การสลัดทิ้งไปด้วย การสละหรือ ทําให้เกิดการมุ่งหน้าเข้าไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะตรงข้ามกับ สังขตธรรม หรือน้อมไปสู่พระนิพพานนั้น ด้วยการเห็นโทษของสังขตธรรมที่เรียก ว่า ปักขันทนปฏินิสสัคโคคือ การสลัดทิ้งไปด้วยการมุ่งหน้าเข้าไป
เมื่อผู้ปฏิบัติประกอบด้วยอนุปัสสนามี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ดังกล่าว มาแล้วนั้นจึงสละกิเลสได้ด้วยตทั้งคปหานและมุ่งหน้าหรือน้อมไปสู่พระนิพพาน อีก
ทั้งไม่ยึดถือกิเลสไว้ด้วยการทําให้เกิด และไม่ยึดถือสังขตธรรมไว้ด้วยการไม่เห็นโทษ ดังนั้น จึงกล่าวว่าเป็นการ “สลัดทิ้งไป ไม่ยึดถือไว้
โยคีบุคคลกําหนดรู้จิตที่มีรูปเป็นอารมณ์อยู่เนืองๆ โดยความดับไปนั้น มีลักษณะ ๒ ประการ คือ
๑. กําหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของรูป (ที่เป็นอารมณ์ของจิต)
๒. กําหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของจิต (ที่มีรูปเป็นอารมณ์) ด้วยจิตอีกดวงหนึ่ง
ปฏิสังขาวิปัสสนา
ปฏิสังขาวิปัสสนาคือ การเห็นแจ้งด้วยการกําหนดรู้อารมณ์อยู่เนืองๆ ปฏิสังขาวิปัสสนานี้ มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. การย้ายไปสู่อารมณ์ หมายความว่า เมื่อเห็นความดับของรูปด้วยจิต ดวงใดแล้ว ก็พึงเห็นความดับของจิตได้ด้วยจิตดวงอื่นต่อไปอีก
๒. คงที่อยู่ในอารมณ์ หมายความว่า ในขณะที่กําหนดรู้อยู่เนืองๆ นั้นก็ พิจารณาแน่วแน่แต่ในความดับไปของสังขารเท่านั้น ไม่พึงพิจารณาถึงความเกิดขึ้น
๓. มีกําลังเข้มแข็งในการนึกคิด หมายความว่า มีความสามารถในความ นึกคิดติดต่อกันไปไม่มีหยุดปั่นเลยคือ เมื่อเห็นความดับของรูปแล้ว ก็เห็นความดับของจิตต่อไปอีก
ปฏิสังขาวิปัสสนานี้ก็ชื่อว่า ภังคานุปัสสนา เหมือนกัน
วยลักขณวิปัสสนา
วยลักขณวิปัสสนา คือ การเห็นแจ้งลักษณะของความดับไป วยลักษณวิปัสสนา มีลักษณะ ๒ ประการ คือ
๑. เมื่อกําหนดรู้อารมณ์คือ สังขารในปัจจุบันโดยความแตกดับอยู่ แม้สังขารในอดีตหรืออนาคต ก็กําหนดรู้ได้เช่นกันว่าเคยแตกดับมาแล้ว และจักแตกดับ ต่อไปตามลําดับของอารมณ์ที่เคยเห็นมาแล้ว สมดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
สํวิชชมานมหิ วิสุทฺธทสฺสิโน
ตทนวย์ เนติ อดีตนาคเต
สพฺเพปิ สงฺขารคตา ปโลกิโน
อุสฺสาวพินท์ สุริเยว อุคคเต ฯ
ภิกษุผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ในสังขาร ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันย่อม นําเอาความเห็นบริสุทธิ์ไปในสังขาร ที่เป็นอดีตและอนาคตด้วยว่า สังขารทั้งหลายแม้ทั่วทั้งปวงก็มีปรกติแตกสลายไป เหมือนหยาด น้ําค้างแห้งไป เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมา ฉะนั้น.
๒. มีลักษณะน้อมไปในนิโรธคือ เมื่อกําหนดรู้ความดับไปของอารมณ์ใน ปัจจุบัน อดีต และอนาคตแล้ว จิตก็จะน้อมไปหรือโอนไปสู่ความดับไปอย่างหนักแน่น
อธิปัญญาวิปัสสนา
อธิปัญญาวิปัสสนาคือ การเห็นแจ้งด้วยปัญญาที่รู้ยิ่ง มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. มีการกําหนดรู้อารมณ์คือ รูป ด้วยความแตกดับอยู่เนืองๆ
๒. เมื่อกําหนดรู้ความแตกดับของรูปด้วยจิตดวงใดแล้ว ในขณะต่อมาก็ กําหนดรู้ความแตกดับของจิตดวงนั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน
๓. เมื่อกําหนดเห็นความดับของสังขารทั้งปวงอยู่เนืองๆ ความว่างเปล่าก็ปรากฏชัดขึ้นว่า “สังขารทั้งหลายนั่นเองเป็นสิ่งที่แตกดับไป การแตกดับของสังขาร ทั้งหลายนั้นเองที่สมมติกันว่าเป็นการตาย แท้จริงไม่มีสัตว์หรือบุคคลใดๆ เลยที่แตก ดับหรือตายไป” ดังนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
ขนุชา นิรุชฌนฺติ น จตฺถิ อญฺโญ
ขนฺธาน เกโท มรณนฺติ วุจจติ
เตส ขย์ ปสฺสติ อุปปมตฺโต
มณีว วิชญ์ วชิเรน โยนิโส ฯ
ขันธ์ทั้งหลายดับไป มิใช่สัตว์หรือบุคคลใดๆ ความแตกดับของ ขันธ์ทั้งหลาย เขาเรียกกันว่า ความตาย โยคีผู้ไม่ประมาทเห็นอยู่ซึ่ง ความแตกดับของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยอุบายอันแยบคาย เหมือนช่างเจียระไนเห็นแก้วที่ตนเจาะอยู่ด้วยเพชร ฉะนั้น
เมื่อโยคาวจร ปฏิบัติมาจนถึงภังคานุปัสสนาญาณแล้ว จิตใจย่อมไม่ส่ายไป ส่ายมาในทิฏฐิต่างๆ มี สัสสตทิฏฐิ เป็นต้น และเป็นผู้ที่มีมนสิการอยู่เสมอว่า “สิ่งที่ ยังไม่ดับ ก็กําลังดับ สิ่งที่ยังไม่แตกก็กําลังแตก” ไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น ความ ตั้งอยู่ ความเป็นไป และนิมิตของสังขารทั้งหลายทั้งปวง คงเห็นแต่ความแตกดับเพียง อย่างเดียว ประดุจบุคคลที่กําลังเห็นการแตกของภาชนะที่บอบบาง หรือเห็นการแตก กระจายของฝุ่นละอองที่กําลังปลิวว่อนอยู่ในอากาศ เพราะบุคคลใช้วัตถุมีก้อนหิน เป็นต้น ทุ่มไปที่กองฝุ่นหรือเห็นดุจการแตกของเมล็ดงาที่กําลังถูกคั่ว หรือเหมือน บุรุษที่ยืนอยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีหรือริมฝั่งแม่น้ําเมื่อฝนกําลังตกอย่างหนัก เขาก็ สามารถเห็นต่อมน้ําใหญ่ๆ เกิดขึ้นบนผิวน้ําแล้วก็แตกไปทันทีทันใด ฉะนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงหมายถึง โยคาวจรที่บรรลุถึงภังคานุปัสสนานี้ จึงตรัสว่า
ยถา ปุพฺพุฬกํ ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิกํ
เอวํ โลก์ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสตีติ ฯ
พระยามัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลซึ่งกําหนดเห็นโลก (ขันธ์ ๕) เหมือนเห็นต่อมนํ้า หรือพยับแดดฉะนั้น
อานิสงส์ของภังคญาณ
เมื่อโยคาวจรเห็นอยู่เนืองๆ ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงแตกดับไปๆ” อยู่อย่างนั้น ภังคานุปัสสนาญาณก็จะมีกําลังแก่กล้าพร้อมด้วยอานิสงส์ ๘ ประการ คือ
๑. ละภวทิฏฐิ
๒. สละความรักใคร่ในชีวิต
๓. มีความเพียรมั่นคงในการปฏิบัติ
๔. มีอาชีพอันบริสุทธิ์
๕. ละความทะเยอทะยาน
๖. ปราศจากความกลัว
๗. ประกอบด้วยขันติและโสรัจจะ
๘. อดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ และในความกําหนัดยินดี
ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
อิมามิ อฏฐคุคุณมุตฺตมานิ
ทิสฺวา ตสึ สมุมสตี ปุนปฺปุนํ
อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม มุนิ
ภงฺคานุปสฺส อมตสฺส ปตฺติยา ฯ
มุนีที่มีปรกติเห็นเนืองๆ ซึ่งความแตกดับ ครั้นเห็นคุณอันยอด เยี่ยม ๘ ประการแล้ว เสมือนบุคคลที่มีผ้าโพกศีรษะซึ่งไฟกําลังไหม้อยู่ ก็กําหนดเห็นแล้วเห็นเล่าอยู่ด้วยภังคานุปัสสนาญาณนั้น เพื่อบรรลุอมตะคือนิพพาน
จบ ภังคญาณ
๖. ภยญาณ
ภยญาณ หมายความว่าเป็นญาณที่กําหนดรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว ดังมี วจนัตถะแสดงว่า สงฺขาราน ภัยโต อนุปสฺสนาวเสน ปวตฺติ ญาณ ภยญาณ แปล ว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจพิจารณาเนืองๆ ถึงสังขตธรรมทั้งหลาย โดยความเป็น ของน่ากลัว ดังนั้น จึงชื่อว่า ภัยญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
อธิบายภยญาณ มี ๓ อย่าง
๑. เมื่อโยคีบุคคลเจริญภังคานุปัสสนาให้แก่กล้ามากขึ้น ด้วยการกําหนด รู้ความสิ้นไปเสื่อมไปหรือความแตกดับของสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์อยู่ สังขาร ทั้งหลายซึ่งมีความแตกดับอยู่ในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวมาก เช่นเดียวกับสีหะ พยัคฆะ เสือเหลือง หมี เสือดาว ยักษ์ รากษส โคด สุนัขดุ ช้างตุตกมัน อสรพิษร้าย สายฟ้า ป่าช้า สนามรบ หรือ หลุมถ่านเพลิงที่ลุกโชติช่วง เป็นต้น ซึ่งปรากฏเป็นที่น่ากลัวมากแก่บุรุษขี้ขลาดที่ ปรารถนาจะมีชีวิตอย่างสุขสบาย
๒. เมื่อโยคีบุคคลกําหนดรู้ชัดว่า “สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันก็กําลังดับ แม้จะเกิดในอนาคตก็จักดับไป” เช่นนี้แสดงว่า ณ ที่ตรงนี้ ญาณชื่อว่า ภยตุปัฏฐานญาณ บังเกิดขึ้นแล้ว
๓. อุปมาในภยตูปัฏฐานญาณ มีดังนี้
ก. สตรีผู้หนึ่งมีบุตรชาย ๓ คน เป็นผู้มีความผิดต่อพระราชา พระองค์ ตรัสสั่งให้ลงโทษตัดศีรษะของบุตรชายทั้งสามนั้น สตรีผู้นั้นได้ไปยังตะแลงแกง พร้อมกับบุตรชายทั้งสามด้วย ทันใดนั้นเขาก็ตัดศีรษะของบุตรชายคนโตของเธอ แล้ว เตรียมการเพื่อตัดศีรษะของบุตรชายคนกลาง สตรีนั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูก ตัดไปแล้ว และเห็นศีรษะบุตรชายคนกลางกําลังถูกตัดอยู่ ก็ทอดอาลัยในบุตรชาย คนเล็กเสียได้ว่า “แม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้งสองนั้นนั่นแหละ”
ในอุปมานั้น การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ก็ เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูกตัดไปแล้ว การที่โยคีเห็น
ความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นศีรษะ ของบุตรชายคนกลางกําลังถูกเขาตัดอยู่ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่
จะบังเกิดขึ้นแม้ในอนาคตก็เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นทอดอาลัยในบุตรชายคนเล็ก ว่า “ถึงแม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้งสองคนนั้นเหมือนกัน” เมื่อ โยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ณ ที่ตรงนี้ ภยตูปัฏฐานญาณ ก็บังเกิดขึ้น
ข. สตรีผู้มีปรกติเป็นคนมีลูกเน่า (ตาย) คลอดลูกมาแล้ว ๑๐ คน ใน ๑๐ คนนั้น ตายไปแล้ว ๙ คน คนหนึ่งกําลังจะตายอยู่ในอ้อมแขน อีกคนหนึ่ง (คนที่ ๑๑) ยังอยู่ในท้อง สตรีนั้นเห็นลูก ๙ คนตายไปแล้ว และคนที่ ๑๐ ก็กําลังจะตาย จึงทอด อาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้องว่า “ถึงแม้เจ้าคนที่อยู่ในท้องนี้ก็จักเป็นเหมือนลูกทั้งหลาย เหล่านั้น”
ในอุปมานั้น การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ก็ เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นรําลึกถึงความตายของลูกทั้ง ๙ คน การที่โยคีเห็นความ ดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นลูกคนที่อยู่ใน อ้อมแขนกําลังจะตายไป การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอนาคต เปรียบเหมือนการทอดอาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้องของสตรีผู้นั้น เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ในขณะนั้น ก็ชื่อว่า ภยตูปัฏฐานญาณ กําลังเกิดขึ้น
ว่าด้วยความกลัวกับภยญาณ
ภยตุปัฏฐานญาณมิใช่เป็นญาณที่ประกอบด้วยความกลัว แต่ภัยตุปัฏฐานญาณ เป็นญาณที่ไตร่ตรองอยู่ว่า “สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว, ที่เป็นปัจจุบัน ก็กําลังดับ, ที่เป็นอนาคตก็จําดับ” แน่แท้เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนบุรุษที่เห็น หลุมถ่านเพลิง ๓ หลุมใกล้ประตูเมือง ตัวเขาเองไม่รู้สึกกลัว เพียงแต่เกิดความ ไตร่ตรองหรือรู้สึกหวาดเสียวว่า เมื่อมีคนตกลงไปในหลุมทั้ง ๓ นี้ คงได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแน่นอน หรือเปรียบเหมือนบุรุษที่เห็นหลาว ๓ เล่มคือ หลาวไม้ตะเคียน, หลาวเหล็ก, หลาวทองเหลือง ที่ปักเรียงกันไว้ตัวเองมิได้กลัวเพียงแต่เกิดความไตร่ ตรอง หรือรู้สึกหวาดเสียวว่า เมื่อมีคนตกลงมาบนหลาวทั้ง ๓ , นี้คงได้รับทุกขเวทนา เป็นอันมากทีเดียวฉันใด ภยตูปัฏฐานญาณนี้ก็ฉันนั้น ญาณเองมิได้กลัวแต่อย่างใด เพียงเกิดการไตร่ตรองอยู่ว่า “สังขารทั้งหลายในภพทั้ง ๓ ซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่าน เพลิงและหลาว ที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันก็กําลังดับ ที่เป็นอนาคตก็จักดับ อย่างแน่นอน”
ไตรลักษณ์กับความกลัว คือ
เมื่อสังขารทั้งหลายที่เป็นไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และ สัตตาวาส ๙ ทุกหนทุกแห่งจะต้องถึงซึ่งความพินาศไป เพราะเป็นของที่มีภัยอยู่ เฉพาะหน้าแล้วก็จักปรากฏเป็นสิ่งที่น่ากลัวแก่ญาณนั้น จึงเรียกญาณนั้นว่า ภยตูปัฏฐานญาณ
เมื่อโยคีมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง นิมิตคือ ความดับไปของ สังขารทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวแก่โยคี
เมื่อโยคีมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ ปวัตตะความเป็นไปของ สังขารคือ ความบีบคั้นเฉพาะหน้าที่เข้าใจกันว่าเป็นความสุข ที่เป็นไปในรูปภพและอรูปภพก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัว
เมื่อโยคีมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความเป็นอนัตตา นิมิตและปวัดตะ ความเป็นไปของสังขารก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญ ไม่มีเจ้าของไม่มีผู้นําเป็นประดุจบ้านร้าง พยับแดด และวิมานในอากาศด้วยเหตุนี้ นิมิตและปวัตตะ ความ เป็นไปจึงปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวแก่โยคี
จบ กยญาณ
๗. อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่เห็นสังขารรูปนามเป็นโทษ ดังมี วจนัตถะว่า ทิฏฐิสงฺขารา อาทีนวโต เปกขานวเสน ปวตต์ ญาณ์ อาทีนวญาณํ ฯ แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจการเพ่งถึงสังขารเป็นของน่ากลัว ซึ่งตนได้เห็นแล้ว โดยความเป็นโทษ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาทีนวญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตจิต
อธิบายอาทีนวญาณมี ๒ อย่าง
๑. เมื่อโยคีทําภยตุปัฏฐานญาณให้เจริญมากยิ่งขึ้นแล้ว ไม่ยึดเหนี่ยวใน สังขารทั้งหลายที่เป็นไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ เพราะว่าภพภูมิทั่วทุกหนแห่งเหล่านั้นไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลบลี้ ไม่มีที่จะไป ไม่มี ที่อาศัย และไม่เป็นที่ปรารถนาแก่โยคี เพราะว่า
ภพ ๓ ปรากฏประดุจหลุมถ่านเพลิง ซึ่งเต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจาก เปลว มหาภูตรูป ๔ ปรากฏประดุจอสรพิษร้าย ขันธ์ ๕ ปรากฏประดุจเพชฌฆาตที่ ยกดาบเงื้อง่าอยู่แล้ว อายตนะภายใน ๖ ปรากฏประดุจหมู่บ้านร้าง อายตนะภายนอก ๖ ปรากฏประดุจพวกโจรปล้นชาวบ้าน วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ปรากฏ ประดุจถูกเผาด้วยไฟ ๑๑ กอง ลุกโพลงและโชติช่วงอยู่สังขารทั้งหลายทั้งปวง ปรากฏ ประดุจ หัวฝี เป็นโรค ถูกลูกศรเลียบ เป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นอาพาธ เป็นกองแห่งโทษ ภัยใหญ่หลวง หาความอบอุ่นมิได้ ปราศจากรสชาติอันดี
๒. อาทีนวญาณ คือปัญญาที่กําหนดรู้เห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็น ทุกข์โทษ เปรียบเหมือนบุรุษที่ขลาดกลัวแต่ปรารถนามีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ครั้ง ครั้นเมื่อ มาถึงถ้ําที่มีเสือโคร่ง แม่น้ําที่มีรากษสสิงอยู่ หนทางที่มีโจรแอบซุ่ม เรือนที่มีไฟไหม้ สนามรบที่มีทหารเตรียมพร้อมอยู่แล้ว หรือมาพบกับข้าศึกที่เงื้อง่าดาบอยู่หรือดื่ม โภชนะที่ผสมด้วยยาพิษเหล่านี้ ก็จักเกิดความหวาดกลัว หวาดหวั่นขนลุกขนพอง เพราะเห็นแต่โทษร้ายในสิ่งเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว ทุกทิศทุกทางฉันใด โยคาวจรก ฉันนั้นเช่นเดียวกัน คือเมื่อสังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏโดยความน่ากลัว ด้วยอํานาจ แห่งภังคานุปัสสนาแล้ว ก็สามารถเห็นสังขารทั้งหลายมีแต่ทุกข์โทษ ไม่มีรสชาติ ไม่มี ความอบอุ่นใจแต่เพียงฝ่ายเดียว เมื่อปัญญาปรากฏเช่นนี้ชื่อว่า อาทีนวญาณ ได้บังเกิดขึ้นแล้ว
โทษของสังขาร ๑๕ ประการ
การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของสังขารธรรม ๑๕ ประการ คือ
๑. อุปปาทอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการเกิดของรูปนาม
๒. ปวัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในความเป็นไป ของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของรูปนามที่กําลังเป็นไปอยู่
๓. นิมิตอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในลักษณะหรือ เครื่องหมายของรูปนาม เช่นเปลี่ยนแปลงไป ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ไม่อยู่ในอํานาจ บังคับบัญชา
๔. อายุหนอารีนาญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการสั่งสม กรรมต่างๆ เอาไว้ แล้วนําให้เกิดวนเวียนอยู่ในภพต่างๆ ไม่มีสิ้นสุดของรูปนามล้วน หาสาระแก่นสารอะไรมิได้เลย
๕. ปฏิสนธิอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการถือ ปฏิสนธิของรูปนาม ไม่ว่าจะถือปฏิสนธิในภูมิใดก็ตาม
๖. คติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในคติทั้ง ๕ คือ นรก ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ เทวดา ซึ่งจะเป็นคติใดก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
๗. นิพพัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการเกิดขึ้น ของขันธ์ ๕ ใหม่ๆ คือจะบังเกิดเป็นรูปขันธ์หรือนามขันธ์ก็ตาม ย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น
๘. อุปปัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในภพต่างๆ ที่ไปบังเกิดอยู่ไม่ว่าจะไปบังเกิดอยู่ในภพใดก็ตาม ย่อมไม่พ้นจากความทุกข์
๙. ชาติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามในขณะที่กำลังเกิด
๑๐. ชราอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามที่ ต้องแก่ เสื่อม และทรุดโทรม
๑๑. พยาธิอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนาม เพราะถูกโรคภัยหลายร้อยหลายพันอย่างเบียดเบียน
๑๒. มรณอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนาม เมื่อสิ้นไปตายไปคือ เห็นว่าจะต้องแตกสลาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๑๓. โลกอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปเมื่อเกิด ความเศร้าโศกต่างๆ นานาเพราะแตกดับไป เสื่อมไป วิบัติไป
๑๔. ปริเทวอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของการร่่ำไห้ เพราะถูกความเสื่อม ๕ มีเสื่อมญาติ เป็นต้น ครอบงํารูปนามอยู่ทุกขณะ
๑๕. อุปายาสอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูป นาม เพราะถูกความคับแค้นใจครอบงํา
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว อาทีนวญาณ ได้แก่ปัญญาที่พิจารณาเห็นทุกข์โทษ ของรูปนาม เมื่อเห็นอย่างนี้ โลภะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางลงไปมาก แต่ยังไม่เด็ดขาด ยังจัดเป็นสมุทเฉทปหานไม่ได้ จะจัดได้ต่อเมื่อถึงมรรคญาณแล้ว
สันติปทญาณ ๑๕ ประการ
เพื่อให้เห็นญาณที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาทีนวญาณ และเพื่อให้เกิดความ อบอุ่นใจแก่โยคาวจรที่เห็นทุกข์โทษของรูปนามด้วยภยตูปัฏฐานญาณ แล้วมีจิตใจ หวั่นไหวจึงได้แสดง สันติปทญาณคือ ความรู้ในทางบรรลุสันติ คือ พระนิพพาน มี ๑๕ ประการ คือ
๑.ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิส (คือ วัฏฏะ โลก กิเลส) และเป็นนิพพาน ส่วนความเกิด ขึ้นเป็นสิ่งน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๒. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เป็นไปเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเป็นไปเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็น ทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๓. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีนิมิตเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีนิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๔. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่ขวนขวายเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการ ไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความขวนขวายเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๕. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่ปฏิสนธิเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนการปฏิสนธิเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๖. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีคติเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนการมีคติเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๗. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่บังเกิดขึ้นเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความบังเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๘. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เข้าถึงเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเข้าถึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เปีนการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๙. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีชาติเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีชาติเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๐. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีชราเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความชราเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๑. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีโรคเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุขเป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีโรคเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๒. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีความตายเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็น ความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๓. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เศร้าโศกเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเศร้าโศกเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๔. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่คร่ําครวญเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็น ความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความคร่ําครวญใจเป็นสิ่งที่ น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๕. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็น ความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความคับแค้นใจเป็นสิ่งที่ น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
จบ อาทีนวญาณ
๘. นิพพิทาญาณ
นิพพิทาญาณ หมายความว่า ญาณที่พิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการ เบื่อหน่าย แยกบทเป็น นิพพิทา + ญาณ, นิพพิทา ความเบื่อหน่าย, ญาณ ปัญญา ความรู้, นิพพิทาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา เป็นของน่ากลัว เต็มไปด้วยความทุกข์โทษนานาประการ แล้วเกิดความเบื่อ- หน่าย ไม่อยากได้รูปได้นาม ไม่อยากกลับมาเกิดอีก อยากเข้าถึงพระนิพพานเสียโดย เร็ว ปัญญาในที่นี้หมายถึงเฉพาะ ภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนา กรรมฐานถึงญาณนี้เท่านั้นมิได้หมายถึง สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา เลย
คําว่า ความเบื่อหน่าย ในที่นี้ก็มิได้หมายถึงความเบื่อหน่ายอย่างของชาวโลก เช่น เบื่อหน่ายต่อชีวิตคิดฆ่าตัวตายเป็นต้น แต่หมายถึงความเบื่อหน่ายในสังขาร ธรรม คือ รูปนาม ท่านอุปมาไว้ดังนี้
อุปมานิพพิทาญาณ ๔ อย่าง
๑. นกที่เขาจับมาขังไว้ในกรุงเงินกรงทอง กรงแก้วมณีเพชรนิลจินดา ล้วน แต่มีค่ามาก แต่นกนั้นก็ไม่มีความพอใจปรารถนาจะอยู่ในกรงนั้นเลย มุ่งหน้าแต่จะ พยายามหาหนทางออก เพื่อจะบินหนีไปให้พ้นจากกรงขังอันแสนจะน่าเบื่อหน่ายนั้น ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อถึงนิพพิทาญาณก็ฉันนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในภพ เบื่อหน่ายในกําเนิด ๔ เบื่อหน่ายในคติ ๕ เบื่อหน่ายในวิญญาณ ฐิติ ๗ เบื่อหน่ายในสัตตาวาส ๙ เป็นต้นเหมือนกัน
๒. พระยาหงส์ทองยินดีอยู่ในแต่ในเชิงเขาจิตรกูฏ ไม่ยินดีในหลุม โสโครก ใกล้บ้านคนจัณฑาลซึ่งไม่สะอาด ย่อมอภิรมย์อยู่ในสระใหญ่ทั้ง ๗ ฉันใด ผู้เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน เมื่อถึงนิพพิทาญาณแล้วก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยินดีในรูปนามซึ่งมี ความแตกสลาย ไม่จีรังยั่งยืน มีแต่ทุกข์โทษ ซึ่งตนได้พิจารณาเห็นแน่ชัดแล้ว ย่อม ยินดีเฉพาะแต่ในอนุปัสสนา ๗ เพราะว่าตนมีภาวนาเป็นเรือนใจอยู่เสมอมิได้ประมาท
๓. พระยาสีหมฤคราช แม้ถูกบุคคลจับขังไว้ในกรงทองก็ไม่ยินดี แต่ย่อม ยินดีเฉพาะในป่าหิมพานต์อันกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ฉันใด ผู้เจริญวิปัสสนาเมื่อถึง นิพพิทาญาณก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยินดีในสุคติภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
๔. พระยาช้างฉัททันต์เผือกปลอด ย่อมไม่ยินดีในกลางเมืองแต่ย่อมยินดี เฉพาะในป่าชัฏใกล้สระน้ําฉันใด ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม ไม่ยินดีในรูปนาม แม้ทั้งหมดแต่ยินดีเฉพาะสันติบทซึ่งตนเห็นแล้วว่า ถ้าไม่กลับ มาเกิดอีกต่อไปเป็นปลอดภัยแท้ ผู้นั้นก็มีใจน้อมไปโอนไปสู่พระนิพพาน ดุจแม่น้ํา คงคามีกระแสอันเชี่ยวพัดพาขอนไม้มุ่งตรงลงไปสู่ทะเล ฉะนั้น
อนุปัสสนา ๗
อนุปัสสนา ๗ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา
๑) อนิจจานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามว่าไม่เที่ยง โดยย่อมีอยู่ ๒ อย่าง คือ ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา และอนุมานอนิจจานุปัสสนา
ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงกลับกลอก
อนุมานอนิจจานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมี อยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่า เป็นของไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงกลับกลอกด้วย กันทั้งสิ้น โดยอนุมานว่า จะต้องมีความเกิดดับเหมือนรูปนามในปัจจุบันอย่างนี้ทั้งนั้น
อนิจจานุปัสสนา นั้นโดยพิสดารมีอยู่ ๘ คือพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา มีความเสื่อม ถูกปัจจัยปรุงแต่งและมีความตายเป็นธรรมดา
เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วก็ละนิจจสัญญา คือความสําคัญผิดคิดว่า เป็น ของเที่ยงเสียมิได้ การพิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการอย่างนี้ เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา
๒) ทุกขานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามว่าเป็นทุกข์โดยย่อ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ปัจจักขทุกขานุปัสสนา และอนุมานทุกขานุปัสสนา
ปัจจักขทุกขานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เพราะเต็มไปด้วยความเบียดเบียนเดือดร้อน ถูกปรุงแต่ง มีความแปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดเบื่อหน่าย คลายความยินดี พอใจ เสียได้
อนุมานทุกขานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์โดย อนุมาน คือ พิจารณาเห็นรูปนามภายนอกที่มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคต ก็เต็มไปด้วยทุกข์ จะต้องแตกคับ ไม่สามารถจะทนทานอยู่ได้เหมือนรูปนามในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายสัญญาวิปัลลาส ว่ารูปนามเป็นสุขเสียได้
ทุกขานุปัสสนา นี้เมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้วมีอยู่ ๒๖ อย่าง คือ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝี เป็นลูกศร คับแคบ มีอาพาธ จัญไร มี อุปัทวะ เป็นภัย มีอุปสรรค ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่เป็นที่พึ่งได้ เป็นของ ว่าง มีโทษมีความคับแค้นเป็นมูล เป็นผู้เข่นฆ่าสรรพสัตว์ เป็นเหยื่อของมาร มีความ เกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บเป็นธรรมดา มีความตายเป็น ธรรมดา มีความโศกเศร้าเป็นธรรมดา มีความร้องไห้เป็นธรรมดา มีความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา และมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
การพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ด้วยอาการอย่างนี้เรียกว่า ทุกขานุปัสสนา
๓) อนัตตานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น โดยย่อมีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขอนัตตานุปัสสนา และอนุมานอนัตตานุปัสสนา
ปัจจักขอนัตตานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นไปตามใจของใครๆ
อนุมานอนัตตานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมี อยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตที่เต็มไปด้วยอนัตตา ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ เป็นไปตามใจใครบังคับบัญชาไม่ได้เหมือนรูปนามในปัจจุบัน
อนัตตานุปัสสนา นั้น โดยพิสดารมีอยู่ ๖ อย่างคือ พิจารณาเห็นรูปนาม โดยความเป็นอย่างอื่น เป็นของแตกสลายเป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา และ หาสาระแก่นสารมิได้ เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนามโดยลักษณะ เช่นนี้ ก็จะละอัตตสัญญาคือ ความสําคัญผิดคิดว่าเป็นตัวตน เราเขา เสียได้
การพิจารณาเห็นรูปนามด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า อนัตตานุปัสสนา
๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นโทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายมีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขนิพพิทานุปัสสนา และ อนุมานนิพพิทานุปัสสนา
ปัจจักขนิพพิทานุปัสสนา ได้แก่ พิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์โทษแล้วเกิดความเบื่อหน่าย
อนุมานนิพพิทานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกที่มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่าเป็นของน่ากลัวเต็มไปด้วยทุกข์โทษ แล้วเกิด ความเบื่อหน่าย โดยอนุมานว่าจะต้องเป็นไปเหมือนรูปนามในปัจจุบัน
เมื่อผู้ใดพิจารณารูปนามเห็นแจ้งชัดดังนี้ ผู้นั้นก็จะละเสียได้ซึ่งความยินดี ได้แก่สัปปีติตัณหาคือ ตัณหาที่มีความยินดีชื่นชมเพลิดเพลินอยู่กับกามคุณ ๕
๕) วิราคานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามที่เกิดตามทวารทั้ง ๖ ว่า เป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์โทษ เกิดความเบื่อหน่ายแล้วคลายกําหนัดมีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขวิราคานุปัสสนา และอนุมานวิราคานุปัสสนา
ปัจจักขวิราคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนาม ทางทวารทั้ง ๖ คือ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยประจักษ์แล้วเกิดความ เบื่อหน่ายคลากําหนัด
อนุมานวิราคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอก ซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิว่าเป็นของน่ากลัวเป็นไปด้วยทุกข์โทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกําหนัด เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมถึงญาณนี้ก็จะละเสียได้ซึ่งราคะ คือความกําหนัดพอใจในสังขารธรรม
๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การตามเห็นความดับของรูปนาม มีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขนิโรธานุปัสสนาและอนุมานนิโรธานุปัสสนา
ปัจจักขนิโรธานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความดับของรูปนามตาม ทวารทั้ง ๖ โดยแจ้งชัด แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกําหนัด
อนุมานนิโรธานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิทั้งในอดีตและอนาคต โดยอนุมานว่าจะต้องมีความดับเหมือนกันกับรูปนาม ในปัจจุบันอย่างนี้ทั้งนั้น
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นความดับของรูปนามอย่างนี้ ก็จะละเสียได้ซึ่งสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์
๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของน่ากลัวเต็มไปด้วยโทษแล้วละความสําคัญผิดที่คิดว่า เป็น ของเที่ยง เป็นสุขเป็นตัวตน เป็นของสวยงามเสียได้ มีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขปฏินิส สัคคานุปัสสนา และอนุมานปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ปัจจักขปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยประจักษ์คือชัดเจนแจ่มแจ้ง ถอน สัญญาวิปลาสเสียได้
อนุมานปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอก ซึ่ง มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยอนุมานกับ รูปนามในปัจจุบันว่าจะต้องเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกัน
เมื่อผู้เจริญวิปัสสนาได้พิจารณาเห็นรูปนามด้วยอาการอย่างนี้ ก็จะละเสียได้ ซึ่งการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม เป็นตัวตน
ดังกล่าวมาแล้วนั้น
เมื่อผู้ใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานถึงนิพพิทาญาณแล้ว ผู้นั้นย่อมยินดีอยู่ในอนุปัสสนาทั้ง ๗ ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว ญาณนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยสําคัญมาก ที่จะ นําผู้ปฏิบัติให้รีบรัดเข้าสู่พระนิพพาน
วิปัสสนาญาณ ๓
ภยญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นภัย อาทีนวญาณ คือปัญญา พิจารณาเห็นรูปนามเป็นโทษ นิพพิทาญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของ น่าเบื่อหน่าย ญาณทั้ง ๓ นี้ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ส่วนใจความเป็นอันเดียวกัน ดังพระบาลีในปฏิสัมภิทามรรคเล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๕๐๗ รับรองไว้ว่า
ยา จ ภัยตุปฏฐาเน ปญฺญา ยญฺจ อาทีนเว ญาณ์ ยา จ นิพพิทา อิเม ธมมา เอก ถา พุย ชมเมว นานํ
ญาณทั้ง ๓ นี้คือ ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และนิพพิทาญาณ มีใจความเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาญาณผ่านขึ้นมา โดยลําดับๆ นับแต่นามรูปปริจเฉทญาณจนกระทั่งถึงญาณนี้ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็น รูปนาม ปรากฏเป็นภัยคือ เป็นของน่ากลัว ขณะนั้นก็จัดเป็นภัยญาณ ถ้าขณะใด พิจารณาเห็นรูปนามปรากฏเป็นโทษ ขณะนั้นก็จัดเป็นอาทีนวญาณ ถ้าขณะใด พิจารณาเห็นรูปนาม ปรากฏเป็นของน่าเบื่อหน่าย และเมื่อเบื่อหน่ายในรูปนามแล้ว ใจก็น้อมไปในสันติบท ขณะนั้นก็จัดเป็นนิพพิทาญาณ
อุปมารูปนาม
ผู้เจริญวิปัสสนาย่อมพิจารณาเห็นว่ารูปนามที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ เพราะกรรมเก่าเป็นปัจจัยก็ดี รูปนามที่กําลังเป็นไปอยู่ในขณะนี้ก็ดี รูปนามที่แก่ชราก็ดี รูปนามที่ กําลังสร้างกรรมซึ่งเป็นเหตุให้ปฏิสนธิต่อไปก็ดี รูปนามที่จะต้องไปปฏิสนธิในคติ ต่างๆ ก็ดี รูปนามที่กําลังเกิดก็ดี รูปนามที่กําลังเป็นไปตามอํานาจแห่งผลกรรมก็ดี รูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้ว กําลังเป็นปัจจัยแก่ชราก็ดี รูปนามที่กําลังร้องไห้ก็ดี รูปนามที่กําลัง คับแค้นใจเพราะญาติตาย ทรัพย์หายถูกไฟไหม้ ถูกโรคภัยเบียดเบียนก็ดี ล้วนแต่เป็น ภัยเป็นของน่ากลัวเป็นทุกข์ เป็นเหยื่อลวงของวัฏฏะ เป็นเหยื่อลวงของโลก เป็นเหยื่อ ลวงของกิเลส เป็นสังขารปรุงแต่งให้สรรพสัตว์เดือดร้อน ไม่เป็นที่ต้านทานรักษา ไม่ เป็นที่หลบหลีก ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยในภพไหนๆ ได้เลย ดังนั้นจึงไม่ปรารถนารูปนามในภพ ในกําเนิด ในคติทั้งหมด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูปนาม ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ จะปรากฏดุจหลุมเต็มไปด้วยถ่านเพลิงปราศจากเปลว เพราะเป็นที่ตั้งแห่ง กองทุกข์มีความเกิดเป็นต้น เพราะทําให้สรรพสัตว์เร่าร้อนอย่างใหญ่หลวง มหาภูตทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ํา ธาตุไฟ ธาตุลม ในสกลกายก็จะปรากฏเหมือนอสรพิษมีพิษอันร้ายกาจ
ข้อนี้สมด้วยพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกายสฬายตนวรรค (ข้อที่ ๓๑๕) ว่า โฆรวิสาติ โข ภิกขเว จตุนเนต์ มหาภูตานํ อธิวจน์ ฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสรพิษมีพิษร้ายกาจ นี้ เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดังนี้
ขันธ์ ๕ ก็จะปรากฏเหมือนนายเพชฌฆาตกําลังถือดาบเนื้อจะตัดคออยู่ เพราะนําความทุกข์มา นําความตายมา ต่างก็เบียดเบียนบีบคั้นกันอยู่ตลอดเวลา สมดัง พระบาลีข้อเดียวกันนั้นว่า
ปญฺจ วธกา ปจตุ กาติ โข ภิกฺขเว ปัญจนเนต์ อุปาทาน ขนฺธานํ อธิวจนํ
ภิกษุทั้งหลาย นายเพชฌฆาต ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
อายตนะภายใน ๖ ปรากฏเหมือนกับบ้านว่างเปล่า เบื้องแรกนึกว่าเป็นบ้าน ที่เต็มไปด้วยข้าวปลาอาหารนานาประการ ครั้นเข้าไปดูไม่เห็นอะไรเลย
ข้อนี้สมด้วยพระบาลีในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (ข้อ ๓๑๕) รับรองไว้ว่า
สุญญกาโมติ โข ภิกฺขเว ฉันเนต์ อรุณฤติกานํ อายตนาน อธิวจน์ จารุโต เจปิ ต ภิกฺขเว ปณฺฑิโต ดุจฉกเมว ขายติ สุญญกเมว ขายติ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ้านว่างเปล่านี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ภิกษุ ทั้งหลาย หากว่าบุคคลเป็นบัณฑิตฉลาดมีปัญญามีตาดี จึงเข้าไปพิจารณาดูบ้านว่างคือ อายตนะ ภายใน ๖ นั้นก็จะปรากฏแก่ผู้มีตาดี คือมีปัญญาดีนั้นว่า เป็นของว่าง เป็น ของเปล่า เป็นของสูญแท้
อายตนะภายนอก ๖ ก็จะปรากฏเหมือนกับมหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านเพราะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์เหล่านี้เบียดเบียนสรรพสัตว์ให้ เดือดร้อน องค์สมเด็จพระจอมธรรมจึงตรัสไว้ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรคข้อ ๓๑๖ ว่า
โจรา คามฆาตกาติ โข ภิกฺขเว ฉันเนต์ พาหิราน อายตนาน อธิวจน์ จกภิกฺขเว หญญติ มนาปามนาเปส รูเป ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลายคําว่า มหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านนี้ เป็นชื่อของอายตนะ ภายนอก ๖ ภิกษุทั้งหลายเมื่อตาเห็นรูปดีและไม่ดี ก็เกิดความเดือดร้อน เมื่อหูได้ยิน เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจนึกคิดธรรมารมณ์ก็ทําให้เดือดร้อนเช่นกัน
วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ก็จะปรากฏราวกะว่าถูกไฟ ๑๑ กอง มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นติดทั่วแล้วลุกโพลงอยู่ตลอดเวลา สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ปรากฏ ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ข้อ ๑๑ ว่า
จกฺขุ ภิกฺขเว อาทิตนํ ฯเปฯ เกน อาทิตย์ ราคาคินา โทลคุคินา โมหาคินา ชาติยา ชรามรณะ โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟอะไรติดทั่วแล้ว ไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และไฟคือ อุปายาสติดทั่วแล้ว
รูปนามทั้งหมดจะปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติดุจหัวฝี เป็นรังโรค เป็นลูกศร เป็น ของคับแค้น เป็นของมีอาพาธ ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ทุกข์ ไม่มีรสชาติ ปราศจากสมบัติ มีแต่วิบัติ เป็นกองโทษ อันใหญ่โตมหึมาที่สุดในโลก ดุจป่าชัฏที่มีสัตว์ร้ายนานาชนิด ทําให้หวาดกลัวขนลุกชูชันขึ้น ดุจถ้ําที่มีเสือโคร่ง ดุจถึงที่มีจระเข้ มียักษ์ ดุจข้าศึก กําลังเงื้อดาบจะตัดคอ ดุจโภชนะเจือด้วยยาพิษ ดุจทางมีโจรคอยดักปล้นอยู่ ดุจเรือน กําลังถูกไฟไหม้ ดุจสมรภูมิที่มีกองทัพเตรียมไว้พร้อมแล้ว
เมื่อรูปนามปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติด้วยอาการดังกล่าวมานี้ ใจของผู้นั้นก็จะน้อมไปในสันติบท คือ บทที่ทําให้ใจถึงความสงบ
สันติบท
พระราชาองค์หนึ่ง ยกกองทัพไปทําสงคราม แต่ทางนั้นกันดารมาก ไม่มี น้ําจะกินจะอาบเลย พวกไพร่พลก็พากันอ่อนกําลังลงไปมาก พระราชาจึงตรัสปลอบใจว่า ดูกรท่านนักรบทั้งหลาย ทางต่อไปข้างหน้านี้ประมาณ ๕๐ โยชน์ จะมีสระน้ําใหญ่ อยู่สระหนึ่ง บริบูรณ์ด้วยน้ํามีน้ําใสสะอาดดี เป็นที่น่าพักอาศัยร่มเย็นดีนัก พวกเราจง รีบไปเถิด เมื่อพวกไพร่พลได้ฟังพระราชาตรัสเช่นนั้น ถึงแม้ว่าพวกตนจะยังไม่เคยเห็น สระน้ํานั้นก็จริง แต่ก็พากันน้อมใจไปหาและพากันตั้งหน้ารีบออกเดินทางต่อไปมิชักช้า เพื่อจะได้ถึงสระนั้นแล้วจะได้อาบได้กินได้นอน ได้พักผ่อนหย่อนอารมณ์ตาม สบาย ข้อนี้ฉันใดผู้ปฏิบัติธรรมก็ย่อมน้อมใจไปในสันติบทยินดีในสันติบท ฉันนั้น เหมือนกัน สันติบทนั้นมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ดังจะได้ย่อมาพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
๑. ผู้ปฏิบัติมีปัญญาพิจารณาเห็นว่าความเกิดเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่เกิดปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๒. ความเป็นไปของรูปนามเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่เป็นไป เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๓. รูปนามเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่มีรูปนามเป็น ความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๔. รูปนามที่กําลังสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีรูปนามสั่งสมกรรม เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็น นิพพาน
๕. การเกิดอีกเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร การไม่เกิดอีกเป็น ความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๖. คติที่จะต้องปฏิสนธิเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีคติ เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๗. ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็น สังขาร ความไม่บังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อ เป็นนิพพาน
๘. ความเป็นไปของวิบากเป็นต้น เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความ ไม่เป็นไปของวิบาก เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๙. ชาติเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีชาติ เป็นความ ปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๐. ชราเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีชรา เป็นความ ปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๑. พยาธิเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีพยาธิ เป็นความ ปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๒. มรณะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีมรณะ เป็นความ ปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๓. โสกะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีโสกะ เป็นความ ปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๔. ปริเทวะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีปริเทวะ เป็น ความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๕. อุปายาสะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีอุปายาสะ เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติมีใจน้อมไปในสันติบทเช่นนี้ สังขารคือ รูปนามที่กําลังปรากฏเป็นภัยอยู่นั้น ก็จะปรากฏเป็นของมีโทษมาก และเป็นที่น่าเบื่อหน่ายแท้
ลําดับการปฏิบัติ
ญาณอันเดียวก็สามารถยังกิจทั้ง ๓ อย่างให้สําเร็จได้คือ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นภัย มีโทษมาก และเบื่อหน่าย คือ
ใจของผู้ปฏิบัตินั้นจะไม่ติดไม่ข้องอยู่ในรูปนาม เพราะตนได้พิจารณาเห็น ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วว่า เป็นของมีโทษมากอย่างหนึ่ง
มีจิตอยากหลุดพ้น อยากหนีออกจากรูปนาม จากวัฏสงสารเพราะตนได้รู้ เห็นโดยประจักษ์แล้วว่า รูปนามเป็นของไม่คงที่ เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นไม่มีสาระ แก่นสาร เป็นของเป็นไปเพื่อระยะกาลนิดหน่อยเท่านั้นอย่างหนึ่ง
นักปฏิบัตินั้นอยากจะยกตนออก อยากจะซื้อตนออก อยากจะหนีไปจากรูปนาม หนีไปจากห้วงมหรรณพิภพสงสาร อยากจะไปสู่พระนิพพาน โดยส่วนเดียว อย่างหนึ่ง
ย่อมเบื่อหน่ายไม่ยินดีในสังขาร คือ รูปนามที่เป็นไปในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทั้งสิ้น เพราะสังขารในภพ กําเนิด คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาสทั้งหมด ล้วนแต่มีความแตกสลายทําลายไป เสื่อมไปด้วยกันทั้งสิ้น
จบ นิพพิทาญาณ
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายความว่าญาณที่มีความปรารถนาใคร่จะพ้นจาก รูปนาม โดยที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว มีทุกข์ มีโทษ เป็นเหยื่อลวงให้ หลงติดอยู่ในวัฏสงสาร เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความเดือดร้อนและมีความ แปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย อยากออกอยากหนีอยากหลุด อยาก พ้นจากสังขารธรรม อยากพ้นจากสังสารวัฏ ใจก็น้อมไปสู่พระนิพพาน
สังขารธรรม นั้น ได้แก่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงให้สั้นได้แก่ รูปนาม
สังสารวัฏ
สังสารวัฏ แยกบทออกเป็น สังสาร + วัฏ, สังสาระ คือ การท่องเที่ยวไป ไม่ขาดสาย มีอยู่ ๓ อย่างคือ อปายสังสาระ กามสุคติสังสาระ และพรหมสังสาระ
๑. อปายสังสาระ คือการท่องเที่ยวไปในอบายภูมิทั้ง ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน ท่องเที่ยวไปด้วยอํานาจของกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง บางทีท่านเรียกว่า เหฏฐิมสังสาระ ท่องเที่ยวไปในภูมิเบื้องต่ํา คือ อบายภูมิ ๔ ดังกล่าวมานี้ดังนั้น อปายสังสาระกับเหฏฐิมสังสาระ จึงเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
๒. กามสุคติสังสาระ คือ การท่องเที่ยวไปในกามสุคติภูมิ ๗ ได้แก่ ภูมิของ มนุษย์ ๑ ภูมิของเทวดา ๖ รวมเป็น ๗ ภูมิท่องเที่ยวไปด้วยอํานาจมหากุศลหรือ เพราะอาศัยสุจริตกรรม ๑๐ บางทีท่านเรียกว่า มัชฌิมสังสาระ การท่องเที่ยวไปในภูมิเบื้องกลาง คือ กามสุคติภูมิ ๗ ดังนั้น กามสุคติสังสาระกับมัชฌิมสังสาระ จึงเป็นอัน เดียวกัน อุปมาเหมือนกับชายคนหนึ่งมีครอบครัวแล้ว ถ้าภริยาเรียกชายคนนั้นก็จะเรียก ว่า สามี ถ้าลูกเรียกชายคนนั้นก็เรียกว่า พ่อ อันที่จริงก็คนๆ เดียวกันแต่เรียกต่างกัน
๓. พรหมสังสาระ คือการท่องเที่ยวไปในพรหมภูมิได้แก่ การท่องเที่ยวไป ในรูปพรหม ๑๖ ภูมิและอรูปพรหม ๔ ภูมิ บางทีท่านเรียกว่า อุปริมสังสาระ การ ท่องเที่ยวไปในสังสาระเบื้องสูงได้แก่ พรหมภูมิ ๒๐ ชั้น เพราะอาศัยมหัคคตกุศล ๙ คือรูปาวจรกุศล ๕ อรูปาวจรกุศล ๔
จิตของผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อดําเนินมาถึงมุญจิตุกัมยตาญาณแล้ว ก็อยากจะหลุดอยากจะพ้นจากสังสารวัฏดังกล่าวนี้ เพราะพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่าความเกิดในภพนี้ ความเป็นไปของขันธ์ที่เกิดแล้ว ความไม่เที่ยงของรูปนามการสั่งสมกรรมที่จะให้เกิด อีก การเกิดมาอีกคติต่างๆ ที่จะไปเกิด เช่น ทุคติ สุคติ ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ ทั้งหลาย ความเป็นไปแห่งผลกรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ล้วนแต่เป็นภัยเป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในภพ เป็นสังขารปรุงแต่ง ให้ได้รับความเดือดร้อนทั้งนั้น จึงเกิดความเบื่อหน่ายไม่ยินดีไม่ชอบไม่ติด จิตอยากออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้น เพราะเห็นประจักษ์ชัดแล้วว่า ถ้าไม่มีรูปนามเสียได้ จะเกษมปลอดภัย เป็นสุข ไม่มีเหยื่อล่อให้ลุ่มหลงเป็นนิพพาน จิตมีกําลังกล้ามุ่งหน้า แต่จะออกจะหนี จะหลุดจะพ้นไปจากสังขารธรรมและสังสารวัฏ
อุปมามุญจิตุกัมยตาญาณมี ๘ อย่าง
๑. ปลาติดข่าย ติดแห ติดอวน ย่อมดิ้นรนกระวนกระวายอยากหลุดออกไป จากข่ายจากแห จากอวนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๒. กบถูกงูคาบไว้กําลังอยู่ในปาก อยากออกอยากกระโดดหนีลงไปหลบ อยู่ในน้ําลึก ทั้งดิ้นทั้งร้องจนสุดความสามารถฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๓. ไก่ป่าเป็นสัตว์อยู่ป่าเป็นประจํา ครั้นคนรักบ่วงจับได้ นํามาขังไว้ในกรง ย่อมดิ้น ย่อมกระวนกระวายไม่มีความสุข มีแต่ทุกข์ทรมาน อยากออก อยากบินหนี ไปอยู่ป่าอันแสนกว้าง แสนสบายตามที่ตนเคยอยู่อย่างเป็นอิสระฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๔. เนื้อที่ติดบ่วงอย่างมั่น ย่อมพยายามดิ้นจนสุดความสามารถ เพราะ อยากออก อยากหลุด อยากพ้นไปจากบ่วงฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๕. งูอยู่ในมือของหมองู ย่อมอยากออกไปให้พ้นมือ อยากจะแล่นหนีไป อยู่ในป่าดงพงทึบ ตามความสบายใจตนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๖. ช้างติดหล่มลึก อยากจะถอนตนให้ขึ้นจากหล่ม พยายามทุกวิถีทางที่ จะช่วยตัวเองให้พ้นจากหล่มฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๗. พญานาคอยู่ในปากครุฑ ย่อมอยากออกอยากหลุดหนีไปให้พ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๘. บุรุษถูกข้าศึกล้อม อยากจะออกหนีไปให้พ้นต้องพยายามหาหนทาง ที่จะออกที่จะหนี ที่จะเอาตัวรอดเต็มที่ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
โยคีผู้ปฏิบัติเมื่อปฏิบัติถึงญาณนี้แล้วย่อมไม่ชอบ ไม่ติดอยู่ในรูปนามซึ่งมี แต่ความแตกสลายมีแต่ความสิ้นความเสื่อมอยู่เป็นนิตย์นั้นเลยแม้แต่เพียงอย่างเดียว บรรดาที่มีอยู่ในภพ กําเนิด คติ วิญญาฐิติ สัตตาวาส จิตของผู้ปฏิบัติมีแต่อยากจะออก อยากหนี อยากหลุดอยากพ้นจากสังขารทั้งปวง ปราศจากความอาลัยในสังขารทุกอย่าง สังขารทั้งหลายจะปรากฏว่ามีแต่ภัย มีแต่โทษมากมายเป็นที่น่าเบื่อหน่าย จึงอยากจะ หนีอยากจะพ้นไปเสียโดยเร็ว แล้วก็พยายามปฏิบัติต่อไปไม่ท้อถอย
สภาวะของมุญจิตุกัมยตาญาณ ๑๕
ลักษณะของญาณนี้ตามที่ปรากฏในบาลีปฏิสัมภิทามรรค ผู้ปฏิบัติได้ดําเนินมาถึงญาณนี้แล้ว ย่อมมีสภาวะเป็นดังนี้ คือ
๑. มีจิตอยากหลุดพ้นจากความเกิดเพราะเป็นความเกิดเป็นทุกข์ ความ เกิดเป็นภัย ความเกิดเป็นอามิสให้ติดอยู่ ความเกิดเป็นผู้ปรุงแต่ง
๒. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็นไปของรูปนาม เพราะเห็นความเป็นไป ไม่ขาดสายของรูปนาม เป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๓. จิตอยากหลุดพ้นจากสังขารนิมิตคือ เครื่องหมายของรูปนามเป็นของ ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นต้น เพราะเห็นว่าสังขารนิมิตเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๔. จิตอยากหลุดพ้นจากการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดในภพใหม่อีก เพราะ เห็นว่าการสั่งสมกรรมเป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๕. จิตอยากหลุดพ้นจากการปฏิสนธิอีก เพราะเห็นว่า การถือปฏิสนธิอีก เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๖. จิตอยากหลุดพ้นจากคติเพราะเห็นว่า คติต่างๆ เช่น สุคติ ทุคติ เป็นต้น เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๗. จิตอยากหลุดพ้นจากความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เพราะเห็นว่า ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๘. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็นไปของผลกรรม เพราะเห็นว่าผลกรรม ต่างๆ เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๙. จิตอยากหลุดพ้นจากความเกิดเพราะเห็นว่าชาติเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๑๐. จิตอยากหลุดพ้นจากความแก่เพราะเห็นว่าความแก่ เป็นทุกข์เป็น ของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๑. จิตอยากหลุดพ้นจากพยาธิเพราะเห็นว่าพยาธิเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๒. จิตอยากหลุดพ้นจากมรณะเพราะเห็นว่ามรณะเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๓. จิตอยากหลุดพ้นจากความเศร้าโศก เสื่อมญาติเสื่อมโภคะเสื่อม เพราะ โรคเบียดเบียน เพราะเห็นว่า ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้ หลงติดอยู่
๑๔. จิตอยากหลุดพ้นจากความคับแค้นใจ เพราะถูกความเสื่อมต่างๆ ครอบงํา เพราะเห็นว่า ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลง ติดอยู่
จบ มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐. ปฏิสังขาญาณ
ปฏิสังขาญาณ หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม โดยขะมักเขม้น ต่อจากมุญจิตุกัมยตาญาณ
ปฏิสังขาญาณ แยกบทเป็น ปฏิ + สังขา + ญาณ, ปฏิ เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ, อีก, สังขา พิจารณา ญาณ ปัญญา คือความรอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริง ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญาย้อนกลับไปพิจารณาสังขารยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ด้วย อาการ ๔๐ อย่างคือ พิจารณาสังขารเป็นอนิจจังด้วยอาการ ๑๐ อย่าง พิจารณาสังขาร เป็นทุกข์ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง พิจารณาสังขารเป็นอนัตตาด้วยอาการ ๕ อย่าง ดัง พระบาลีในปฏิสัมภิทามรรคกล่าวไว้ว่า
เตสํ ธมฺมาน จตตาฬิสาย อากาเรหิ อเนกาทีนวราสิภาวปฏิสังขาน วเสน สุฏฺฐวิปผาสตร์ วิปัสสนาญาณ์ ปฏิสังขาญาณ์ นาม ฯ
ญาณ ที่กําลังพิจารณาเห็นเบญจขันธ์เหล่านั้น เป็นพระไตรลักษณ์อย่าง กว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยสามารถพิจารณาเห็นว่าเบญจขันธ์นี้เป็นกองแห่งโทษมากมาย ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง ชื่อว่า ปฏิสังขาญาณ
อาการ ๔๐ ของปฏิสังขาญาณ
๑) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงด้วยอาการ ๑๐ อย่างคือ
๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง
๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปโลกะ คือ มีความเสื่อมอย่างใหญ่หลวง
๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น จละ คือ มีความหวั่นไหวเปลี่ยนแปลง
๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปภังคะ คือ มีความแตกสลายทําลายไป
๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อัทธุวะ คือไม่มีความยั่งยืนถาวรอะไรเลย
๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วิปริณามธรรม คือ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อสารกะ คือ ไม่มีแก่นสารอะไรเลย
๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วิภวะ คือ มีความเสื่อมมีความวิบัติ อยู่เป็นนิตย์
๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สังขตะ คือ ถูกปัจจัยปรุงแต่งด้วยอํานาจ กรรม จิต อุตุ อาหาร
๑๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น มรณธรรม คือ มีความตาย มีความ แตกดับเป็นธรรมดา
๒) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นทุกข์ โดยอาการ ๒๕ อย่าง คือ
๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้นเนืองๆ
๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น โรค คือ เสียดแทงเบียดเบียนอยู่เสมอ
๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น คัณฑะ ฝี คือเป็นดุจหัวฝีที่กลัดหนอง
๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สัลละ คือ เป็นลูกศรปักเสียบ ทิ่มแทงอยู่เสมอ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย คัน แสบ ร้อน หนาว หิว กระหาย เป็นต้น
๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อฆะ คือ ความคับแคบเบียดเบียนเดือดร้อน
๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อมมูล คือ เป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่ง ความคับแคบแห่งความเดือดร้อน เพราะอํานาจแห่งโรคภัยมีประการต่างๆ และกิเลสทั้งหลาย
๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อาพาธ คือ ความเจ็บป่วย
๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อีติ คือ จัญไร มีแต่ทุกข์ ไม่ดี ไม่สุข
๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปัทวะ ประสบกับอุปัทวะเหตุ
๑๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ภัย คือ เป็นของน่ากลัว เพราะจะ ต้องเผชิญกับภัยนานาชนิด เช่น อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย ชาติภัย ชราภัย มรณภัย เป็นต้น
๑๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปสรรค คือ สิ่งที่ขัดขวางกีดกันกางกั้น ไม่ให้ชีวิตดําเนินไปได้โดยราบรื่น
๑๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อตาณะ คือ ไม่มีอะไรจะมาต้านทาน ไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของเขา เช่น แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น
๑๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อเลณะ คือ ป้องกันอะไรไม่ได้ จะ หลีกเร้นอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่พ้นทุกข์
๑๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อสรณะ คือ ไม่มีที่พึ่งเพราะต้อง แตกดับไป ทําลายไป สลายไป ทนอยู่ไม่ได้
๑๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อาทีนวะ คือ มีทุกข์ มีโทษมาก ท้งภายนอกภายใน
๑๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วธกะ คือ ผู้ฆ่าเพราะเขาเป็นดุจนาย เพชฌฆาตคอยถือดาบเข่นฆ่าสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา ไม่ยกเว้นใครๆ
๑๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สาสวะ คือ เป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะ ทั้ง ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือ กาม, ภวาสวะ อาสวะคือ ภพ, อวิชชาสวะ อาสวะคือ อวิชชา, ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ทิฏฐิ
๑๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น มารามิส คือ เป็นเหยื่อล่อให้สรรพ สัตว์หลงติดบ่วง ดุจพรานเบ็ดตกปลาฉะนั้น
มารามิสเหยื่อของมาร ๓ อย่าง คือ โลกามิส อามิสของชาวโลก ได้แก่ กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ, วัฏฏามิส อามิส คือ วัฏฏะ ได้แก่ วัฏฏะ คือวน ๓ กิเลสวัฏ วนเพราะกิเลส กัมมวัฏ วนเพราะกรรม วิปากวัฏ วนเพราะผลแห่งกรรม วนไปในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ, กิเลสามิส อามิสคือ กิเลส หมายความว่า กิเลสนั่นเองเป็นอามิส เป็นเหยื่อให้สรรพสัตว์ประมาทมัวเมาหลง เพลิดเพลินติดอยู่ในโอฆสงสาร ไม่เห็นช่องทางแห่ง มรรค ผล นิพพานได้
๑๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ชาติธรรม คือ มีความเกิดมารับกอง ทุกข์เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นจากเกิดไปได้ เกิดมาเมื่อใดก็หอบเอาทุกข์มาเมื่อนั้น ดุจเห็นเมื่อโผล่จากดินเมื่อใดก็ดันเอาฝุ่นมาพร้อมกันเมื่อนั้น
๒๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ชราธรรม คือ มีความแก่ มีความ เสื่อม มีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา ไม่มีใครห้ามและแก้ได้
๒๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น พยาธิธรรม คือ มีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๒๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น โลกธรรม คือ มีความเศร้าโศกเป็น ธรรมดา เศร้าโศกเพราะเสื่อมญาติเสื่อมทรัพย์เป็นโรค เป็นต้น ไม่มีใครล่วงพ้นไปได้ แม้แต่คนเดียว เว้นพระอริยเจ้าเท่านั้น
๒๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปริเทวธรรม คือ มีความร้องไห้ บ่นเพ้อเป็นธรรมดา เพราะถูกความเสื่อมต่างๆ ครอบงํา
๒๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปยาสธรรม คือ มีความคับแค้น ใจเป็นธรรมดา คับแค้นเพราะเหตุ ๕ ประการ มีความเสื่อมญาติ เป็นต้น
๒๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สังกิเลสธรรม คือ มีความเศร้าหมอง เป็นธรรมเศร้าหมองเพราะกิเลส
๓) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์เป็นอนัตตา โดยอาการ ๕ อย่างคือ
๑) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนบังคับบัญชา ไม่ได้ ไม่อยู่ในอํานาจของใครๆ ทั้งสิ้น
อนัตตา แปลว่า ไม่เป็นไปในอํานาจ การที่อนัตตาไม่ปรากฏก็เพราะ พากันถือว่าเป็นก้อน เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเบา ความเห็นว่าเป็นตนนี้เรียกว่า ฆนสัญญา ฆนสัญญานี้เองที่ปิดบังไว้มิให้เห็นอนัตตาก ฆนสัญญา คือความสําคัญผิด ว่า เป็นก้อน เป็นตัวตนเราเขานี้มีอยู่ ๓ อย่างคือ ฆนสัญญา กิจจฒนะ อารัมมณฑนะ
ฆนสัญญา คือสมูหนฆนะ ได้แก่กองรูปกองนาม ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน เข้าใจว่า เรายืนเราเดิน เรานั่งเรานอน เป็นต้น
กิจจฒนะ ได้แก่ การกระทําของกองรูป กองนาม เช่น การเดิน ยืน นั่ง นอน นั้น รูปมีกิจเคลื่อนไหวคล้ายกับทําตามคําสั่งของนาม นามมีกิจคล้าย เป็นผู้สั่งให้เคลื่อนไหว อันที่จริงเป็นสักแต่ว่ารูปกับนามเท่านั้น แต่เราไปเข้าใจผิดคิด ว่า เราเดิน เรานั่ง เรานอน เป็นต้น
อารัมมณฑนะ ได้แก่ การน้อมไปยึดอารมณ์หลายๆ อย่างมาเป็น อย่างเดียวกัน เช่น ยึดเอารูปทางตามา ยึดเอาเสียงทางหูมา ยึดเอากลิ่นทางจมูกมา ยึดเอารสทางลิ้น มายึดเอาโผฏฐัพพะทางกายมายึด แล้วสําคัญผิดคิดไปว่า เราได้เห็น รูปดีไม่ดี เราได้ยินเสียงเพราะ ไม่เพราะ เราได้กลิ่นหอมกลิ่นเหม็น เราได้รสอร่อย ไม่อร่อย เราได้สัมผัสดีไม่ดี ความเข้าใจอย่างนี้ เรียกว่า สัญญาวิปลาส คือ เข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิดก็ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์นั้นๆ ว่า เป็นเราเป็นของเรา เป็นอัตตทิฏฐิหรือสักกายทิฏฐิ
๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ประ อื่น คือไม่คงที่แปรปรวนเสมอ
๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ริตตะ คือเป็นของนิดหน่อย เล็กน้อย เกิดขึ้นมาไม่นานก็แตกสลายไป ทําลายไป
๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ดุจฉะ คือว่าง ได้แก่ว่างจากสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา
๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สุญญะ คือเป็นของเปล่า เป็นของ สูญ ได้แก่ สูญจากสัตว์ สูญจากความเป็นบุคคล สูญจากความเป็นตัวตนเราเขา ไม่มี เจ้าของไม่มีอิสระ ไม่เป็นไปในอานาจของใครๆ ทั้งสิน
ผู้ปฏิบัติธรรม คือท่านผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนาม เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยอาการ ๔๐ อย่างดังนี้แล้ว ย่อมเห็นว่าเป็นของไม่งาม เป็นสัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า เป็นทุกข์น่ากลัว ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็น ปฏิกูลน่าเกลียด ปรุงแต่งอยู่ไม่หยุด มีรูปแปลกมีท่าทางพิลึก ไม่เห็นมีสาระแก่นสาร มีแต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา จึงอยากออก อยากหนีอยากหลุดอยากพ้น แล้วพยายามหา หนทางพ้น จึงได้พยายามประพฤติปฏิบัติเพื่อให้วิปัสสนาญาณเจริญขึ้น
อุบายแห่งการหลุดพ้น
ปฏิสังขาญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนาม เป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นของ น่ากลัว เป็นเหยื่อของมาร เกิดความเบื่อหน่าย อยากออก อยากหนี อยากหลุดพ้น จึง ตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งมรรค ผล นิพพาน โดยหาอุบายหลุด พ้นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง คือ
๑. พิจารณาการเกิดขึ้นและการดับไปของรูปนาม แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๒. พิจารณาความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้วกําลังเป็นไปไม่ขาดสาย แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๓. พิจารณาสังขารนิมิต คือลักษณะของสังขารรูปนาม ว่าเป็นของไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๔. พิจารณาเห็นรูปนามกําลังสั่งสมกรรม กรรมที่จะให้เกิดอีก จึงหน่าย เพื่อหลุดพ้น แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๕. พิจารณาเห็นรูปนาม ที่กําลังเกิดขึ้นมาใหม่ว่า เป็นทุกข์น่ากลัว เพื่อ หลุดพ้น แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๖. พิจารณารูปนามที่กําลังตกอยู่ในคติต่างๆ มีทุคติเป็นต้นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้น เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๗. พิจารณารูปที่กําลังเกิดเป็นขันธ์ ๕ อยู่ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้หลุดพ้น เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๘. พิจารณารูปนามที่กําลังเป็นไปตามวิบาก คือกรรมของตนๆ ที่ทํามา ตั้งแต่ภพก่อน ชาติก่อน ภพนี้ชาตินี้ว่า ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจ ปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๙. พิจารณาเห็นรูปนามที่กําลังเกิดขึ้นมาเป็น รูปชาติ นามชาติ รูปโลก นามโลก ว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ไม่มีแก่นสาร แล้วเบื่อหน่ายอยากพ้น ตั้งใจ ปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๐. พิจารณารูปนามที่กําลังเสื่อมไปสิ้นไป แก่ไปคร่ําคร่าไป ว่าเป็น ทุกข์เป็นโทษ น่ากลัวน่าเบื่อ แล้วเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น แล้วปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๑. พิจารณารูปนามที่กําลังถูกพยาธิเบียดเบียน ครอบงําว่าเป็นทุกข์ เป็นภัย เป็นโทษ ไม่มีสาระประโยชน์ ไม่มีสุข จึงเกิดความเบื่อหน่ายอยากหนีอยากพ้น แล้วหาหนทางพ้น โดยปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
๑๒. พิจารณารูปนามที่กําลังแตกดับ คือตายอยู่ทุกขณะว่าเป็นทุกข์ น่ากลัว น่าเบื่อหน่าย เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้นหาหนทางพ้น จึงตั้งใจปฏิบัติ ต่อไปเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๓. พิจารณารูปนามที่กําลังเศร้าโศกเพราะถูกความเสื่อมครอบงําแล้ว เบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติต่อไป เพื่อให้ได้ถึงพระนิพพาน
๑๔. พิจารณารูปนามที่กําลังร้องไห้อยู่เพราะถูกความเสื่อม ๕ ประการ ครอบงําว่า เป็นของที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษ น่าเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น แสวงหา ทางพ้นโดยตั้งใจปฏิบัติต่อไป เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๕. พิจารณารูปนามที่กําลังมีความคับแค้นใจ เพราะความเสื่อม ๕ ประการ ครอบงํา เห็นว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์โทษเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามโดยแจ้งชัดอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้นั้นมีวิปัสสนาญาณอันเจริญขึ้นแล้ว เพราะกําหนดสังขารพิจารณาได้ดี เพื่อจะยังอุบายแห่งการหลุดพ้นให้เกิดขึ้น
อุปมาเปรียบเทียบ
ยังมีชายคนหนึ่งประสงค์จะจับปลา จึงเอาสุ่มๆ ลงไปในน้ํา แล้วหย่อนมือ ตามลงไป เผอิญไปถูกงูเห่าเข้าแต่เขาไม่รู้ว่าเป็นงูเห่า จับของภายในน้ํานั้นได้ จึงนึก กระหยิ่มอยู่ในใจว่า เราจับปลาใหญ่ได้เขารู้สึกดีใจมาก เพราะเข้าใจว่าเป็นปลาจริงๆ และตัวใหญ่ด้วย ครั้นจับยกขึ้นพ้นน้ํา พิจารณาดูจึงรู้ว่าเป็นงูเพราะเห็นดอกจัน มีความ หวาดกลัวเป็นกําลัง เห็นโทษเห็นภัยในการจับ เพราะจะถูกงูกัดตาย ต้องการปล่อยให้ หลุดพ้นไปโดยเร็ว จึงหาอุบายปล่อย คือจับหางงูคลายขนดจากแขนตัวแล้วยกขึ้น แกว่งเบื้องบนศีรษะ ๒ - ๓ ครั้ง ทําให้งูอิดโรย และอ่อนกําลังลงแล้วโยนทิ้งไป พร้อมทั้งบ่นพึมพําและแช่งว่า “อ้ายงูร้ายไปเสียให้ไกลเถิด” แล้วรีบขึ้นมาสู่ขอบบึง ยืน แลดูทางมาโดยหมายใจว่า เราพ้นจากปากงูเห่าแน่แล้ว ในข้อนี้มีการเปรียบได้ดังนี้คือ
เวลาที่บุคคลได้อัตภาพเกิดมาเป็นตัวตนตั้งแต่ต้นแล้วยินดีพอใจ เพลิดเพลิน สนุกสนาน เปรียบเหมือนชายคนนั้นจับคองูเห่าได้นึกว่าเป็นปลาใหญ่แล้วดีใจมาก ฉะนั้น ตอนนี้ยังไม่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานยังเพลินอยู่กับโลก
เวลาที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณาแยกรูปนามออกจากกันเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏเป็นของน่ากลัว ตอนนี้จัดเป็นญาณตั้งแต่ต้นจนถึง ภยญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษดึงงูออกจากสุ่มแลเห็นดอกจันแล้วกลัว
เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามเห็นทุกข์เห็นโทษ เห็นภัยของรูปนามแล้ว นี้เป็น อาทีนวญาณ เปรียบเหมือนกับชายผู้จับงู ตามเห็นทุกข์โทษภัย ในการจับงูเห่านั้น
เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยแล้ว เกิดความเบื่อหน่ายเป็น นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนกับชายคนนั้นพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษเห็นภัย อันจะเกิดขึ้นแก่ตนอย่างใหญ่หลวง ในเพราะการจับคองูนั้นแล้วเกิด ความเบื่อหน่าย
เวลาที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยากจะหลุดพ้นจากรูปนาม อยากจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ เปรียบเหมือนกับชายคนที่จับคอ นั้นอยากจะเหวี่ยงงูให้พ้นไปจากตัว
เวลาที่ผู้ปฏิบัติยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ด้วยอาการ ๔๐ อย่างก็ดี ด้วย อาการ ๑๕ อย่างที่ดีนี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณอย่างแก่ เข้าเขต ปฏิสังขาญาณอย่าง อ่อน เปรียบเหมือนกับชายคนที่จับคองูนั้นแสวงหาอุบายจะเหวี่ยงงู แล้วทําอุบาย เหวี่ยงงูให้พ้นไปจากตัว
เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณารูปนามยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์บ่อยๆ วนไป เวียนมาอยู่กับพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทําให้กิเลสหมดกําลังลงจน ไม่สามารถจะเห็นว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม เป็นตัวตน เรา เขา จะ เห็นตรงกันข้ามคือ เห็นว่าเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกขัง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้เป็น อสุภะ ไม่สวยงาม เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่อยู่ในอํานาจ ใครๆ ทั้งสิ้นนี้เป็น ปฏิสังขาญาณ เปรียบเหมือนชายคนที่จับคองูนั้น จับงูแกว่งทําให้หมด กําลัง จนไม่สามารถจะเลี้ยวมากัดเขาได้แล้ว เหวี่ยงให้หลุดพ้นจากตัวไปได้เป็น อย่างดีฉะนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ปฏิสังขาญาณ ก็เป็นอันเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เจริญ วิปัสสนานั้น
อนิจจโต มนสิกโรโต นิมิตต์ ปฏิสังขาญาณ์ อุปฺปชฺชติ เมื่อผู้ปฏิบัติใฝ่ใจ โดยความไม่เที่ยงพิจารณานิมิต (คือ อนิจจลักษณะว่า ไม่ยั่งยืนเป็นไปชั่วกาลนิดเดียว เท่านั้น) ปฏิสังขาญาณ ก็เกิดขึ้น
ทุกฺขโต มนสิกโรโต ปวตฺติ ปฏิสังขาญาณ์ อุปปัชชติ เมื่อผู้ปฏิบัติใฝ่ใจ โดยความเป็นทุกข์พิจารณาปวัตตะคือ ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้ว ปฏิสังขา
ญาณ ก็เกิดขึ้น
อนตฺตโต มนสิกโรโต นิมิตฺตญฺจ ปวตฺตญฺจ ปฏิสังขาญาณ์ อุปปชชติ เมื่อ ผู้ปฏิบัติใฝ่ใจโดยความเป็นอนัตตาพิจารณานิมิตคือ อนิจจลักษณะ และปวัตตะ ความ เป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้ว ปฏิสังขาญาณ ก็เกิดขึ้น
จบ ปฏิสังขาญาณ
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณ หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม โดยอาการ วางเฉยในสังขารนิมิตอารมณ์ สังขารุเปกขาญาณ แยกบทเป็น สังขาร + อุเปกขา + ญาณ, สังขาร คือ สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงมาได้แก่ รูป กับ นาม ขันธ์ที่ ๑ เป็นรูป ขันธ์ที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ เป็นนาม, อุเปกขา ความวางเฉยคือ เป็นกลางๆ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่กลัว ไม่เพลิดเพลิน, ญาณ ปัญญา คือ ความรอบรู้รูปกับนามตามความเป็นจริง สังขารุเปกขาญาณ ปัญญา พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ว่างเปล่าจาก สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา แล้ววางเฉย มีสติกําหนดได้ดีอยู่อย่างนี้ คือ
๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า เป็นทุกข์ เห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า เป็นทุกข์ เห็นนิมิตคือ เครื่องหมายของรูปนามที่ บอกให้รู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ว่าเป็นทุกข์ เห็นการสั่งสมกรรม เพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นทุกข์ เห็นคติทั้ง ๕ ว่าเป็นทุกข์ เห็นปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์ เห็น ความบังเกิดของขันธ์ ๕ ว่าเป็นทุกข์ เห็นอุปบัติคือ ความเกิดเป็นไปของผลกรรมว่า เป็นทุกข์ เห็นชาติว่าเป็นทุกข์ เห็นชราว่าเป็นทุกข์ เห็นพยาธิว่าเป็นทุกข์ เห็นมรณะ ว่าเป็นทุกข์ เห็นโสกะว่าเป็นทุกข์ เห็นปริเทวะว่าเป็นทุกข์ เห็นอุปายาสว่าเป็นทุกข์
เมื่อพิจารณาเห็นทุกข์อย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีกแล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า เป็นภัย เห็นความเป็น ไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่าเป็นภัย เห็นนิมิตคือเครื่องหมายของรูปนามที่บอก ให้รู้ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับไม่ได้ว่าเป็นภัย เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิด อีกว่าเป็นภัย เห็นคติทั้ง ๕ ว่าเป็นภัย เห็นปฏิสนธิว่าเป็นภัย เห็นความบังเกิดขึ้น ของขันธ์ ๕ ว่าเป็นภัย เห็นอุปบัติคือความเกิดเป็นไปของผลกรรมว่าเป็นภัย เห็นชาติ ว่าเป็นภัย เห็นชราว่าเป็นภัย เห็นพยาธิว่าเป็นภัย เห็นมรณะว่าเป็นภัย เห็นปริเทวะว่า เป็นภัย เห็นอุปายาสะว่าเป็นภัย
เมื่อพิจารณาเห็นภัยอย่างนี้แล้ว เกิดความเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น จึง มนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีกแล้วจึงวางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นนิมิต คือ เครื่องหมายของรูปนามที่บอกให้รู้ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ว่า สังขาร คือผู้ปรุงแต่ง เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นสังขาร คือผู้ปรุงแต่งเห็นความ บังเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นอุปบัติคือความเกิดเป็นไปของ วิบากว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นชาติว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นชราว่าเป็น สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นพยาธิว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นมรณะว่าเป็นสังขารคือ ผู้ปรุงแต่ง เห็นปริเทวะว่าเป็นสังขาร คือผู้ปรุงแต่ง เห็นอุปายาสะว่าเป็นสังขาร คือผู้ ปรุงแต่ง
เมื่อพิจารณาเห็นสังขาร โดยอาการอย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยาก หลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีกแล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาพิจารณาเห็นอุปปาทะคือ ความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้นนั้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ ความคับแค้นใจ เพราะถูกความเสื่อม ๕ ประการคือ ความ เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เป็นต้น ครอบงําเป็นอามิสคือ อามิสของพระยามารเพราะเป็น ไปกับด้วยเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในห้วงโอฆสงสาร เบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึง มนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีก แล้ววางเฉยอยู่จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาพิจารณาเห็นว่าอุปปาทะ ความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะความคับแค้นใจว่า เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความทุกข์ความ เดือดร้อน ร้อยแปดพันประการ แล้ววางเฉย สังขารเหล่านั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นว่า สังขารและอุเปกขาทั้ง ๒ นั้นก็เป็นสังขาร แล้ววางเฉย สังขารเหล่านั้นก็จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. จิตของปุถุชนเมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณ มีอาการเป็น ๒ อย่าง คือ
สงฺขารุเปกข์ อภินนฺทติ ย่อมยินดีเพลิดเพลินต่อสังขารุเปกขา
สงฺขารุเปกข์ วิปสฺสติ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๘. จิตของเสกขบุคคลนับตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีอาการ ๓ อย่างคือ
สงฺขารุเปกขํ อภินนฺทติ ย่อมยินดีเพลิดเพลินต่อสังขารุเปกขา
สงฺขารุเปกฺนํ วิปสฺสติ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
สงฺขารุเปกขา ปฏิสงฺขาย ผลสมาบัติ สมาปชฺชติ ย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาแล้วเข้าผลสมาบัติ
๙. จิตของท่านผู้ปราศจากราคะคือ พระอรหันต์เมื่อถึงสังขารุเปกขาแล้ว มีอาการ ๓ อย่างคือ
สงฺขารุเปกข์ วิปสฺสติ เห็นแจ้งสังขารุเปกขา
สังขารุเปกข์ ปฏิสังขาย ผลสมาปกติ สมาปชฺชติ พิจารณาสังขารุเปกขาแล้ว เข้าผลสมาบัติ
อณุเปกฺขิตวา สุญญตวิหาเรา วา อนิมิตเตน วา อุปปณิหิเตน วา วิหรติ ครั้นวางเฉยต่อสังขารนั้นแล้วย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือ สุญญตวิโมกข์บ้าง อนิมิตตวิโมกข์บ้าง อัปปณิหิตวิโมกข์บ้าง
๑๐. จิตของปุถุชนกับจิตของเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วเหมือนกันคือ มีลักษณะเหมือนกัน ๔ ประการ คือ
๑๐.๑ จิตของปุถุชน
ก. จิตต์ กิลลุสติ จิตของปุถุชน ย่อมเศร้าหมองเพราะยินดีต่อสังขารุเปกขา
ข. ภาวนาย ปริปนโถ โหติ เป็นอันตรายต่อภาวนา
ค. ปฏิเวธสฺส อนุตราโย โหติ เป็นอันตรายต่อปฏิเวธ คือเป็น สิ่งที่จะมาตัดรอนต่อการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔
ฆ. อายติปฏิสนธิยา ปจฺจโย โหติ เป็นปัจจัยแก่การปฏิสนธิ ในภพชาติต่อไปอีก
๑๐.๒ จิตของเสกขบุคคล
ก. จิตของเสกขบุคคลย่อมเศร้าหมอง เพราะยินดีต่อสังขารุเปกขา
ข. ภาวนาย ปริปนฺโถ โหติ เป็นอันตรายต่อภาวนา
ค. อุตตรปฏิเวธสฺส อนุตราโย โหติ เป็นอันตรายต่อการรู้แจ้ง แทงตลอดอริยสัจ ๔ เบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไป
ฆ. อายติปฏิสนธิยา ปจฺจโย โหติ เป็นปัจจัยแก่การถือปฏิสนธิในภพชาติต่อไปอีก
๑๑. จิตของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีสภาวะเหมือนกันตรงเห็นพระไตรลักษณ์ เพราะอรรถว่าเห็นพระไตรลักษณ์ เช่นเดียวกัน คือเห็นแจ้งสังขารุเปกขาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๑๒. จิตของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาแล้ว ต่างกันตรงที่เป็นกุศลและอัพยากฤตดังนี้
สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล
สังขารุเปกขาของเสกขบุคคลก็เป็นกุศลเช่นกัน
สังขารุเปกขาของอเสกขบุคคลเป็นอัพยากฤต
๑๓. สังขารุเปกขาของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล ต่างกันอย่างนี้คือ สําหรับปุถุชน สังขารุเปกขาปรากฏชัดดี คือรู้ได้ดีเฉพาะในเวลาเจริญวิปัสสนา ถ้าไม่ ได้เจริญก็ไม่ปรากฏสําหรับเสกขบุคคล ถึงสังขารุเปกขาก็ปรากฏชัดดีคือรู้ได้ดี ใน เวลาไม่เจริญวิปัสสนาก็เช่นกัน ส่วนอเสกขบุคคลนั้นปรากฏชัดดี คือรู้ได้ดีโดยส่วนเดียว เพราะท่านละความยินดียินร้ายได้หมดแล้ว
๑๔. ความแตกต่างกันของสังขารุเปกขาของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกข บุคคลยังมีอยู่อีก คือ ปุถุชนเจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารุเปกขาเพราะยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากยังทําวิปัสสนากรรมฐานไม่สําเร็จ แม้เสกขบุคคลก็ยังต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาสังขารุเปกขาต่อไปอยู่ เพราะยังไม่ถึงที่สุดคือยังทําวิปัสสนาไม่ สมบูรณ์เช่นกัน ส่วนอเสกขบุคคลนั้นพิจารณาสังขารุเปกขา เพราะถึงที่สุดแล้ว เนื่องจากท่านทําวิปัสสนาสําเร็จแล้วละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว กิจที่ควรทําไม่มีอีกอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
๑๕. ปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล พิจารณาสังขารุเปกขาต่างกันคือ ปุถุชนพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อละสังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต ปรามาส เพื่อให้ได้โสดาปัตติมรรค เสกขบุคคลพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อให้ได้ มรรคผลเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงอรหัตตมรรค อรหัตตผล เพราะละสังโยชน์ ๓ได้แล้ว
อเสกขบุคคลพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่ออยู่เป็นสุขในภพปัจจุบันทันตาเห็น เพราะท่านละกิเลสได้หมดทุกอย่างแล้ว
๑๖. สังขารุเปกขาญาณเกิดขึ้นด้วยอํานาจสมถะและวิปัสสนา
ก. สังขารุเปกขาญาณที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจของสมถะ ๘ คือ ปฐมชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย นีวรรณ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ ๕ เพื่อให้ได้ปฐมฌาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
ทุติยฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย วิตกกวิจาเร ปฏิสขา สนฺติฏฺฐินา ปัญญา สงฺขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อให้ได้ทุติยฌาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
ตติยฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย ปีที่ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สงฺขารุ- เปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อให้ได้ตติยฌานชื่อว่า สังขา รุเปกขาญาณ
จตุตถฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย สุขทุกฺเข ปฏิสขา สนฺติฏฺฐินา ปุญญา สงฺขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อให้ได้จตุตถฌาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย รูปสัญญ์ ปฏิฆสัญญ์ นานๆตสญฺญ์ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหา ทางแล้ววางเฉย รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อให้ได้อากาสานัญจายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
วิญญาณญจายตนสมาปกติ ปฏิลาภตฺถาย อากาสานัญจายตนสัญญ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย อากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้วิญญาณัญจายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อากิญจญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย วิญญาณญจายตนสญญ์ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย วิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้อากิญจัญญายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย อากิญจญญายตน สญญํ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววาง เฉย อากิญจัญญายตสัญญา เพื่อให้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่า สังขารุ เปกขาญาณ
ข. สังขารุเปกขาญาณที่เกิดจากวิปัสสนา ๑๐ คือ
โสดาปัตติมคค์ ปฏิลาภตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ ปฏิสิขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จน
กระทั่งถึงอุปายาสะเพื่อให้ได้โสดาปัตติมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
โสดาปัตติผลสมาปตฺตตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ ปฏิเขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จน กระทั่งถึงอุปายาสะเพื่อให้ได้โสดาปัตติผลสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ สกทาคามิมคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความ เกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ เพื่อให้ได้สกทาคามิมรรคแล้ววาง เฉย ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
สกทาคามิผลสมานตาตุกาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ เพื่อให้ได้สกทาคามิผลสมาบัติแล้ว วางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อนาคามิมัคค ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อนาคามิมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อนาคามิผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อรหัตตมัคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด
ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อรหัตตมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อรหัตตผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อรหัตตผลสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
สุญญตวิหารสมเปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้สุญญตวิหารสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อนิมิตตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อนิมิตตวิหารสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณโดยกุศลติกะ
สังขารุเปกขาญาณทั้งหมดมีเท่าไร จัดเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤตมีเท่าไร อะไรบ้าง ?
สังขารุเปกขาญาณทั้งหมดมี ๑๘ คือฝ่ายสมถะมี ๘ ฝ่ายวิปัสสนามี ๑๐ จัดเป็นกุศล ๑๕ จัดเป็นอัพยากฤต ๓ คืออรหัตตผล ๑ สุญญตวิหาร ๑ อนิมิตตวิหาร ๑ เหลืออีก ๑๕ จัดเป็นกุศล ส่วนอกุศลไม่มี
ความว่างเปล่า
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความว่างเปล่ามีเงื่อน ๒ คือ
๑. ก๋าหนดความว่างเปล่าจากตน
๒. กําหนดความว่างเปล่าจากตนและสิ่งของๆ ตนคือ ไม่เห็นมีอะไรเป็นของ ตนเลยทั้งรูปขันธ์ภายนอก รูปขันธ์ภายใน เห็นมีแต่ความว่างเปล่าดุจจอมปลวกร้าง และดุจบ้านร้าง ฉะนั้น
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความว่างเปล่ามีเงื่อน ๔ คือ
๑. กําหนดว่าเราไม่เห็นตนของตนในที่ไหนคือ หาตนไม่มี
๒. กําหนดว่าไม่เห็นตนว่าจะเกี่ยวข้องกับใครๆ
๓. กําหนดว่าไม่เห็นตนของผู้อื่นในที่ไหนคือ ไม่มีใครเลยมีแต่รูปกับนามเท่านั้น
๔. กําหนดว่าไม่เห็นผู้อื่นว่าจะเกี่ยวข้องกับตน
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความว่างเปล่ามีเงื่อน ๖ โดยแบ่งออก เป็น ๔ หมวด คือ
หมวดที ๑ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะทั้ง ๖ นี้เป็นของสูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจากความเที่ยง สูญจากความยั่งยืน สูญ จากความมั่นคง สูญจากความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
หมวดที่ ๒ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อายตนะทั้ง ๖ นี้ก็สูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจากความเที่ยง สูญ จากความยั่งยืน สูญจากความมั่นคง สูญจากความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
หมวดที ๓ วิญญาณ ๖ คือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณทั้ง ๖ นี้สูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจากความเที่ยง สูญจากความยั่งยืน สูญจากความมั่นคง สูญจากความไม่ เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
หมวดที่ ๔ สัมผัส ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส สัมผัสทั้ง ๖ นี้สูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจาก ความเที่ยง สูญจากความยั่งยืน สูญจากความมั่นคง สูญจากความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความสูญมีเงื่อน ๘ คือ
กําหนดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ชรา มรณะ เหล่านี้ ไม่มีสาระ หาสาระมิได้ ปราศจากสาระโดยความสูญมีเงื่อน ๘ คือ โดยสาระมีนิจจ สาระ โดยสาระคือธุวสาระ สุขสาระ อัตตสาระ โดยความเป็นของเที่ยง โดยความ เป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง โดยความเป็นของไม่มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา ราวกับไม้อ้อราวกับต้นละหุ่ง ราวกับต้นมะเดื่อ ราวกับต้นสําลีขาว ราวกับ ต้นแคฝอย ราวกับฟองน้ํา ราวกับต่อมน้ํา ราวกับพยับแดด ราวกับต้นกล้วยฉะนั้น
ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน กําหนดความสูญ ความว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๐ คือ
๑. รูป ริตฺตโต ปสฺสติ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของนิดหน่อย
๒. ตุจนโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของว่างเปล่า
๓. สุญญโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของสูญเพราะไม่มีตน ไม่มีแก่นสาร
๔. อนตฺตโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา
๕. อนิสสริยโต พิจารณาเห็นรูปโดยความไม่มีอิสระ เพราะไม่มีความเป็นอิสระ และใครๆ ก็ไม่สามารถจะทําให้เป็นอิสระได้เลย
๖. อกามการิยโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่ให้ทําได้ตาม ความปรารถนา ไม่ให้ทําได้ตามความพอใจคือใครๆ จะปรารถนาทํารูปนามนั้นให้ เที่ยงให้สุข ให้สวยงามอยู่ตามชอบใจไม่ได้ อุปมาเหมือนกับบุคคลเอาฟองน้ํามาปั้น เป็นภาชนะไม่ได้ ฉะนั้น
๗. อนุภนียโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของอันใครๆ ไม่พึงได้ตาม ความปรารถนา เช่นปรารถนาว่า ขอให้สุขสบาย อย่าให้เจ็บให้ป่วยเลย รูปก็ไม่เป็น ไปตามคําขอ ไม่เป็นไปตามคําอ้อนวอน ไม่เป็นไปตามปรารถนาของใครๆ ทั้งสิ้น
๘. อวสวดตกโต พิจารณาเห็นรูปโดยความไม่เป็นไปในอํานาจของใครๆ ทั้งสิ้น
๙. ปรโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอื่นคือ ดํารงอยู่ไม่ได้
๑๐. วิวิตตโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของสงัดจากสัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา มีแต่ความว่างเปล่า ดุจบ้านร้าง ทั้งว่างทั้งเงียบ ทั้งสงัด ฉะนั้น
ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เป็นการพิจารณารูปขันธ์โดยความเป็นของว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๐ ส่วนการพิจารณา เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ โดยความ เป็นของว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๐ ก็ให้พิจารณาโดยทํานองเดียวกัน
ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณารูปขันธ์โดยความว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๒ คือ
๑. รูป น สตฺโต พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่สัตว์
๒. น ชีโว พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ชีวะ
๓. น นโร พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่นระ
๔. น มาณรา พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่มาณพ
๕. น อิตถี พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่หญิง
๖. น ปุริโส พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ชาย
๗. น อ ตา พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ตน
๘. น อตฺตนิย พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่สิ่งที่นับว่าตน
๔. นาหั พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่เรา
๑๐. น มม พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ของๆ เรา
๑๑. น อญฺญสฺส พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ของคนอื่น
๑๒. น กสฺสจิ พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ของใครๆ
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญ โดยอาการอย่างดังนี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ สมดังที่ตรัสสอน พระโมฆราช (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ข้อ ๕๐๔) ว่า
สุญฺญโต โลก์ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต
อตฺตานุทิฏฐิ โอหงุจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา
เอว์ โลก์ อเวกฺขนฺต มจุจุราชา น ปสฺสติ ฯ
ดูก่อนโมฆราช เธอจงมีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็น ของสูญ จงถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความตามเห็นว่า เป็นตัวตนเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ จึงข้ามพ้นความตายได้ พระยามัจจุราชย่อมไม่ แลเห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกโดยอาการอย่างนี้
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญ โดยอาการต่างๆ ดังที่บรรยายมานี้ ใจก็วางเฉยในรูปนามเหล่านั้นได้จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
ผลของสังขารุเปกขาญาณ
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของสูญอยู่อย่างนี้ แล้วยกขึ้นสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กําหนดพิจารณาซ้ําแล้วซ้ําอีก ก็จะปรากฏดังนี้
๑. ละความกลัว ละความยินดีเสียได้ มีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม
๒. ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปนามว่าเป็นของเรา มีอุปมาเหมือนกันกับบุรุษที่ หย่าขาดจากภริยาแล้ว คือ มีบุรุษคนหนึ่ง มีภริยาเป็นที่รักใคร่พอใจมาก จนเขาไม่ สามารถจะยอมจากภริยาได้เลยแม้เพียงครู่เดียว เพราะเขารักมากที่สุด ถ้าเห็นภริยายืน นั่งพูด หัวเราะกับชายอื่น เขาจะโกรธหึงหวงมากและน้อยใจมาก เสียใจมากที่สุด ครั้นต่อมาเห็นโทษของภริยานั้นเกิดความเบื่อหน่าย ต้องการจะหนีไปให้พ้นจึงหย่า ขาดจากภริยานั้น ไม่ถือภริยานั้นว่าเป็นของตนจําเดิมแต่นั้นไป แม้ว่าเขาจะเห็นภริยา นั้นทําอะไรกับใครที่ไหนก็ตาม เขาจะไม่โกรธ ไม่หึงหวง ไม่น้อยใจ ไม่เสียใจ มีแต่ วางเฉย เป็นกลางอย่างเดียว ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้นต้องการจะพ้นจากรูป นามทั้งปวง จึงกําหนดสังขารด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ไม่เห็นสิ่งใดที่จะพึงถือเอา ว่าเป็นของเรา จึงได้ละความกลัว ละความยินดี มีใจวางเฉยอยู่ในรูปนามทั้งปวงฉะนั้น
๓. เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะรู้เห็นอยู่ อย่างนี้ จิตย่อมไม่หวนกลับ ไม่ วกไม่เวียน ไม่ซ่านไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ คง เหลืออยู่แต่ความวางเฉยในรูปนาม หรือเห็นรูปนามเป็นปฏิกูลสะอิดสะเอียน ขยะแขยง จึงถอยกลับหวนกลับจากภพชาติ เป็นต้น มีอุปมาเหมือนหยาดน้ําค้างบนใบบัว และขนปีกไก่กล่าวคือ
อันธรรมดาของหยาดน้ําค้างบนใบบัวที่อ่อนลงไปเอียงลงไป น้ําค้างก็มีแต่ จะไหลลงไปฝ่ายเดียว ไม่หวนกลับไม่วกไม่เวียน ไม่ไหลย้อนกลับมาติดอยู่บนใบบัว
นั้นอีก ฉันใด ใจของผู้ปฏิบัติเมื่อถึงญาณนี้ ก็ไม่หวนกลับ ไม่วกไม่เวียนมาในภพ ๓ กําเนิด ๔ เป็นต้นอีกฉันนั่น เหมือนกัน
ขนปีกไก่และเส้นเอ็นที่บุคคลเอาใส่เข้าไปในไฟย่อมหดม้วนกลับเข้ามา ไม่คลี่ไม่เหยียดออกไปฉันใด ใจของผู้ปฏิบัติเมื่อถึงญาณนี้แล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมถอยออกไปจากภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ เป็นต้น ไม่ยอมหวนกลับ ไม่ยอมย้อน กลับมาอีก มีแต่เบื่อหน่ายอยากพ้นแล้ววางเฉยอยู่ เพราะเห็นชัดแล้วว่าเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด ไม่น่ายินดีเพลิดเพลินฉันนั้น
๕. ปฏิสสติ มีสติตั้งมั่น องค์ธรรมได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เพราะ เมื่อสติมีกําลังแก่กล้าปรากฏแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลงก็ไม่มี อุปมาเหมือนกับไฟฟ้าที่มีแรงเทียนสูง ย่อมให้แสงสว่างมาก ดูอะไรๆ ก็เห็นได้ชัดเจน ไม่มีความ มีดฉันนั้น ดังนั้นใจจึงมีแต่ความวางเฉย
๕. วิรตตจิตตํ ใจไม่ยึดมั่นไม่ถือมั่น ไม่ผูกพันไม่เกาะเกี่ยว ไม่กําหนัด พอใจในรูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้นจึงปรากฏแต่ความวางเฉย
๖. นชโฌสติฏฐนํ ไม่รับบัญญัติไว้เป็นอารมณ์คือ ไม่รับว่าเบญจขันธ์ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เพราะมีสติปัญญาพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่า เบญจ ขันธ์ เป็นอสุภะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัญญาวิปัลลาสจึงหายไปไม่เข้าใจผิด และไม่ หลงติดอยู่ ใจจึงมีแต่ความวางเฉยในรูปนาม
๗. ทุกขอปจินํ ไม่สั่งสมทุกข์ไว้ มีแต่ความพยายามตัดรากของทุกข์ให้ หมดไปให้สลายไป ใจก็วางเฉยในรูปนาม
๘. นิพพานเมว ปกขนฺทติ เมื่อเห็นรูปนามว่าเป็นภัยเป็นทุกข์ เป็นโทษ เบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ใจเข้มแข็งแล้ววางเฉย จิตก็จะแล่นไปสู่สันติบท คือความสงบ ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็ย่อมกลับไปยึดรูปนามมาเป็นอารมณ์ซ้ําๆ ซากๆ อยู่อย่างนั้น อีก มีอุปมาเหมือนกับนกกาของพวกพ่อค้าชาวทะเล คือ
ในสมัยก่อนเมื่อมนุษย์ยังไม่มีเข็มทิศ พวกพ่อค้าชาวทะเล เวลาจะออกเรือ ย่อมจับเอานกกาไปด้วยเพื่อจะได้ปล่อยดูทิศ เมื่อใดเรือต้องลมแล่นไปผิดทาง มองไม่ เห็นฝั่ง เมื่อนั้นเขาย่อมปล่อยนกกาดูทิศ นกกาก็บินจากปลายเสากระโดงเรือสู่กลาง หาว แล้วบินไปตามทิศน้อยทิศใหญ่ ถ้าเห็นฝั่งก็บินบ่ายหน้าตรงไปยังทิศนั้นเลย ถ้า ยังไม่เห็นก็จะต้องบินย้อนกลับมาเกาะอยู่ที่ปลายเสากระโดงนั้นอีกบ่อยๆ ข้อนี้ฉันใด สังขารุเปกขาญาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเห็นสันติบทคือ พระนิพพานว่าสงบแล้ว ก็ สละรูปนามที่กําลังเกิดดับอยู่นั้นแล้วแล่นตรงไปสู่พระนิพพานเลยทีเดียว ถ้าไม่เห็นก็ ต้องย้อนกลับมามนสิการรูปนามเป็นอารมณ์ต่อไปอีก จะต้องมนสิการกลับไปกลับมา เป็นอนุโลมปฏิโลมอยู่อย่างนี้บ่อยๆ
๙. ติวิธานุปัสสนาวเสน ติฏฐิติ สังขารุเปกขาญาณนี้ยิ่งนานก็ยิ่งละเอียด สุขุม ประณีต ดุจบุคคลเอาตะแกรงร่อนแป้ง และดุจชีฝ่ายที่หีบแล้วด้วยใน ฉะนั้น ครั้น พิจารณารูปนามโดยประการต่างๆ อย่างนี้แล้ว ละความกลัว ละความยินดี มีใจวางเฉยในการพิจารณารูปนาม จิตย่อมตั้งมั่นอยู่ด้วยอํานาจของอนุปัสสนาทั้ง ๓ เมื่อตั้งอยู่ โดยอาการอย่างนี้ ย่อมถึงความเป็นวิโมกขมุข ๓ อย่าง และเป็นปัจจัยแก่การจําแนก พระอริยบุคคลออกเป็น ๗ จําพวก
อนุปัสสนา ๓
อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา ๑ ทุกขานุปัสสนา ๑ อนัตตานุปัสสนา ๑
อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามว่า ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ ดับไป เกิดที่ไหนก็ดับไปที่นั่น ใจจึงแล่นไปในธาตุที่ไม่มีนิมิต รูปนามก็ปรากฏว่า มี แต่ความเสื่อมไปสิ้นไป แล้วมีใจวางเฉย มีสติกําหนดรู้อยู่
ทุกขานุปัสสนา ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ใจก็เกิดความสังเวชสลดในรูปนามแล้วแล่นไปในธาตุซึ่งไม่มีที่ตั้ง รูปนามก็ปรากฏว่าเป็นภัย คือเป็นของน่ากลัวแล้วมีใจวางเฉย มีสติกําหนดรู้อยู่
อนัตตานุปัสสนา ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามว่า ไม่ใช่ตัวตนเป็นของ สูญ ว่างเปล่า ใจก็แล่นไปในธาตุว่าง รูปนามก็จะปรากฏโดยความเป็นของสูญฝ่าย เดียวแล้วมีใจวางเฉย มีสติกําหนดรู้อยู่
วิโมกขมุข ๑
วิโมกขมุข แปลว่าหนทางแห่งความหลุดพ้น โดยวิเศษจากกิเลสทั้งปวง โดยใจความก็ได้แก่อนุปัสสนาทั้ง ๓ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น เพราะเป็นหนทางนําออก ไปจากโลกนําไปเหนือโลกคือ โลกุตตระ ได้แก่หนทางไปสู่พระนิพพาน
วิโมกข์ มี ๓ คือ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมกข์ ๑
๑. ถ้าผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ชื่อว่า เป็น ผู้มากด้วยศรัทธา เพราะเบื้องแรกมีศรัทธาพอประมาณครั้นเข้ามาปฏิบัติ ได้เห็น อนิจจังประจักษ์ชัด ด้วยอํานาจวิปัสสนาญาณของตนเองที่ได้พิสูจน์ดูมาแล้วนั้น จึงมีศรัทธามากเลื่อมใสมาก สัทธินทรีย์มีกําลังในพระบรมศาสดาอย่างแก่กล้ามาก จึงมี ศรัทธามาก
๒. ถ้าผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ชื่อว่ามากด้วยปัสสัทธิ คือความสงบ เพราะพิจารณาเห็นเป็นทุกข์ ใจก็น้อมไปสู่พระนิพพาน อัน เป็นสุขที่สงบประณีต โดยพิจารณาเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์แท้ ถ้าตรงกันข้าม ไม่มีสังขารคงเป็นสุข เป็นนิพพาน ใจก็เบิกบานแจ่มใส เต็มไปด้วยปีติปราโมทย์ สมาธินทรีย์มีกําลังกล้าย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์
๓. ถ้าผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนัตตา ชื่อว่า เป็นผู้มากด้วยปัญญา มีปัญญาละเอียดสุขุมคัมภีรภาพมาก เป็นผู้ห่างไกลจากโมหะย่อม ได้สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ แยกเป็น อนิมิตต + วิโมกข์, อนิมิตต = ไม่มีเครื่องหมาย วิโมกข์ = พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย อนิมิตตวิโมกข์ องค์ธรรมได้แก่อริยมรรค ซึ่ง ทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วเป็นไปโดยอาการไม่มีนิมิตคือ ไม่มีนิจจนิมิต ไม่มีธุวนิมิต และไม่มีอัตตนิมิต
อัปปณิหิตวิโมกข์ แยกเป็น อัปปณิหิต + วิโมกข์, อัปปณิหิต = ไม่มีที่ตั้ง วิโมกข์ - พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย อัปปณิหิตวิโมกข์ องค์ธรรมได้แก่อริยมรรค ซึ่งท่าพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการไม่มีที่ตั้งแห่งกิเลสตัณหา ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
สุญญวิโมกข์ แยกเป็น สุญญต = วิโมกข์ สุญญต = ว่างเปล่า วิโมกข์ : พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย สุญญตวิโมกข์ องค์ธรรมได้แก่ อริยมรรค ซึ่งทําพระ นิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการว่างเปล่า คือ ว่างเปล่าจาก ราคะ โทสะ โมหะ
พระอริยบุคคล ๘
พระอริยสาวกทุกๆ รูป ต้องผ่านพระไตรลักษณ์และวิโมกข์ ๓ ด้วยกัน ทุกๆ รูป พระอริยบุคคล แปลว่า ท่านผู้ประเสริฐคือ มีความประพฤติทาง กาย วาจา ใจ ดีงาม ด้วยอํานาจแห่งศีล สมาธิ ปัญญา อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลแปลว่า ท่านผู้ ไกลจากข้าศึก คือ ไกลจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
พระอริยบุคคล กล่าวโดยผลแห่งการปฏิบัติมีอยู่ ๘ คือ
๑. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
๒. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
๓. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค
๔. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
๕. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
๖. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
๗. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
๘. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
ท่านที่จะได้เป็นพระอริยบุคคลเหล่านี้ต้องลงมือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านญาณต่างๆ ถึง ๑๖ ญาณ สําหรับโสดาปัตติมรรคอันเป็นมรรคที่ ๑ ส่วนมรรคที่ ๒, ๓, ๔, ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานผ่านญาณต่างๆ เพียง ๑๓ ญาณ คือตั้งแต่ พลวอุทยัพพยญาณ จนถึงปัจจเวกขณญาณและต้องผ่านอีก ๓ ครั้ง ก็จะทําที่สุดแห่ง ทุกข์ โดยชอบได้ โดยเสร็จกิจพรหมจรรย์แล้ว
ลําดับวิปัสสนาญาณ ๓ มี ๑๕
มุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ปฏิสังขาญาณ ๓ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ทั้ง ๓ ญาณ นี้โดยใจความเป็นอันเดียวกัน ดังที่ปรากฏอยู่ในปฏิสังภิทามรรค ถอดใจความได้ดังนี้
๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนามแล้ว อยากหลุดพ้นจากรูป จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูความเกิดดับของรูปนาม จัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยต่อความเกิดดับของรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามที่กําลังเกิดดับอยู่ แล้ว อยากหลุดพ้นจากรูปนาม จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามที่ กําลังเกิดดับอยู่นั้น จัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามที่กําลังเกิดดับอยู่นั้น จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นนิมิตคือ ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนเป็นต้น ของรูป นามทั้งปวง แล้วอยากหลุดพ้นจากรูปนามนั้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจ พิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็นปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นกรรมที่เป็นเหตุให้รูปนามเกิดอีกแล้วอยากหลุด พ้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามปฏิสนธิ คือเห็นการเกิดขึ้นต่อไปอีกของ รูปนาม แล้วอยากหลุดพ้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนาม นั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติของรูปนามแล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิต กัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยใน รูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาพิจารณาเห็นความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย แล้วอยาก หลุดพ้น จัดเป็นมุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขา ญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาพิจารณาเห็นอุปปัตติ คือความเป็นไปแห่งวิบากของรูปนาม ที่กําลังเกิดดับอยู่ แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดู รูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาพิจารณาเห็นชาติ คือความเกิดขึ้นของรูปนาม แล้วอยากหลุด พ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความชราของรูปนามนั้นแล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเจ็บไข้ของรูปนามแล้วอยากหลุดพ้น จัด เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความ วางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความตายของรูปนาม แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความ วางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเศร้าโศก คือความเร่าร้อนแห่งใจเพราะ ประสบกับความเสื่อมญาติเสื่อมทรัพย์ ถูกโรคภัยเบียดเบียนอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความ วางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นปริเทวะ คือความพิไรรําพันบ่นเพ้อไปต่างๆ นานา เพราะประสบกับความเสื่อม ๕ ประการ มีความเสื่อมญาติเป็นต้น แล้วอยาก หลุดพ้นจัดเป็น บุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขา ญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นอุปายาสะ คือความคับแค้นใจ เพราะได้ ประสบกับความทุกข์แห่งใจขนาดหนัก เนื่องจากญาติตายบ้าง ทรัพย์สมบัติวิบัติไปบ้าง ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนบ้าง เห็นผิดบ้าง ศีลวิบัติบ้าง องค์ธรรมได้แก่โทสะนั้นเอง แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการที่ได้พรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อ จัดเป็นลักษณะของญาณทั้ง ๓ แยกให้ละเอียดออกไปอีกเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและการปฏิบัติ
ธรรมดานักปฏิบัติธรรมทุกๆ ท่านทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ทั้งในอดีต อนาคตปัจจุบัน จะต้องมีสภาวะอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติเกิดขึ้นเหมือนๆ กัน ดุจน้ํา ทะเล อันธรรมดาน้ําทะเลจะอยู่ประเทศใดเมืองใดก็ต้องมีรสเค็มเหมือนกัน ฉะนั้นจะ เป็นชนชาติใด ภาษาใดก็ตาม ถ้าได้เข้ามาปฏิบัติธรรมคือ วิปัสสนากรรมฐานนี้แล้ว จะมีญาณต่างๆ เกิดขึ้นเหมือนๆ กันทั้งหมดนี้แหละ เป็นความอัศจรรย์ของพระพุทธศาสนา
พิจารณารูปนามเป็นทุกข์
ลักษณะอาการของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และสังขารุเปกขา ญาณ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีอยู่อีกมาก แต่จะได้อธิบายรวมกันเป็นข้อๆ ดัง ต่อไปนี้
๑. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดมาแล้วเป็นทุกข์ ความอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาพิจารณาเห็น สังขารนิมิตคือความเป็นอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ ของรูปนามทั้งหมดเป็นทุกข์ อยากหลุดพ้นตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูป นาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาพิจารณาเห็น กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ถือปฏิสนธิอีกเป็น ทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาพิจารณาเห็น การถือปฏิสนธิคือเกิดขึ้นมาอีก เป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติใดๆ ก็ตามมี ทุคติ สุคติ เป็นทุกข์ อยากหลุด พ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาพิจารณาเห็น ความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาพิจารณาเห็น ความอุบัติขึ้นของรูปนาม ได้แก่ความเป็นไป แห่งผลกรรมของรูปนามเป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาพิจารณาเห็น ชาติ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวาง เฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาพิจารณาเห็น ชรา เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. ปัญญาพิจารณาเห็น พยาธิ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. ปัญญาพิจารณาเห็น ความตาย เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ปัญญาพิจารณาเห็นความเศร้าโศก เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ปัญญาพิจารณาเห็น ความพิไรรําพันบ่นเพ้อร้องไห้ เป็นทุกข์อยาก หลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ปัญญาพิจารณาเห็น ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการดังพรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อ ก็จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณ และนอกจากนี้ยังมีอยู่อีกคือ
พิจารณารูปนามเป็นภัย
๑. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น เป็นภัยอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดมาแล้ว เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารนิมิต คือความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ยั่งยืน ไม่สวยงาม ไม่ใช่ตัวตน เป็นภัยอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาพิจารณาเห็นกรรมที่เป็นเหตุให้สรรพสัตว์ถือปฏิสนธิอีก เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาพิจารณาเห็นการถือปฏิสนธิเกิดขึ้นมาอีก เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติใดๆ ก็ตาม มี ทุคติ สุคติ เป็นภัย อยากหลุด พ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาพิจารณาเห็นความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นภัย อยาก หลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งวิบาก คือผลกรรมของรูปนาม เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความแก่เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจ ปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความตายเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเศร้าโศกเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความพิไรรําพันบ่นเพ้อร้องไห้เป็นภัย อยาก หลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความคับแค้นใจเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจ ปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการดังที่พรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อก็จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณนอกจากนี้ยังมีอยู่อีกคือ
พิจารณารูปนามแล้ววางเฉย
๑. ความเกิดขึ้น เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ความเป็นไปของรูปนาม เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๓. นิมิตทั้ง ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็น สังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. อายุหนะ คือกรรมที่เป็นเหตุให้ปฏิสนธิอีกต่อไป เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้ จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปฏิสนธิ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. คติ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. นิพพัตติ ความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัด เป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. อุปปัตติ ความเป็นไปแห่งวิบาก คือผลกรรมของสรรพสัตว์ เป็น สังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขา ก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ชาติ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ชรา เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. พยาธิ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. มรณะ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ความเศร้าโศก เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ความพิไรรําพันบ่นเพ้อร้องไห้ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ความคับแค้นใจ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วาง เฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการดังบรรยายทั้ง ๑๕ ข้อ จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณ
ยอดของวิปัสสนา
ธรรมดาต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ต้องมียอดฉันใด วิปัสสนาก็ฉันนั้น ต้องมียอดเช่นกัน ยอดของวิปัสสนานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง
๑. สิกขาปัตตะ วิปัสสนาที่ถึงยอดถึงปลาย ถึงความสูงสุด ได้แก่สังขา รุเปกขาญาณที่ครบองค์ ๖ เมื่อครบ ๖ แล้ว ผู้นั้นก็มีหวังจะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน อย่างแน่นอน
๒. วุฏฐานดามณี วิปัสสนาที่ถึงการออกไป มีสืบต่อกันกับมรรค ดังมี หลักฐานรับรองไว้ว่า มคเคน สุทธิ ฆฏิวัติ ฯ แปลว่า สืบต่อกันกับมรรค
มรรค ชื่อว่า วุฏฐานะ เพราะออกจากวัตถุที่ยึดอันเป็นนิมิต ๒ ประการ
ก. นิมิตตภูโต อภินิวิฏฐวัตถุโต ๆ ออกจากนิมิต ออกจากวัตถุที่เป็นเหตุให้ ยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
ข. อรุณฤตปปวตฺตนโต ออกจากความเป็นไปแห่งมิจฉาทิฏฐิ ในภายใน ขันธสันดานของตน และออกจากกองกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
เพราะเหตุทั้ง ๒ ประการ วิปัสสนา จึงได้ชื่อว่า วุฏฐานคามินี ฯ
องค์ ๖ ประการของสังขารุเปกขาญาณ
๑. ภยญจ นนทิญา วิปปหาย (วิสุทธิมรรค) ไม่มีความกลัว ไม่มีความ ยินดียินร้าย กําหนดได้สม่ําเสมอเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรคความขัดข้อง กําหนดได้ ง่ายที่สุด
๒. เนว สุมโน โหติ น ทุมมโน อเปกขโก วิหรติ สโต สมฺปชาโน (วิภังคบาลี) ดีใจก็ไม่มี เสียใจก็ไม่มี มีแต่สติสัมปชัญญะ กําหนดเฉยอยู่
๓. สพฺพสูงขาเรส อุทาสิโน โหติ มชฺฌตฺโต (วิสุทธิมรรค) ผู้เป็นกลาง วางเฉยอยู่ในสังขารทั้งปวง ไม่ถือเอาว่าเป็นเราเป็นของเรา เปรียบดังบุรุษที่หย่าขาด จากภรรยา ฉะนั้น
๔. สนฺติฏฐนา ปญฺญา (ปฏิสัมภิทามรรค) ปล่อยวางแล้ววางเฉยได้ในที่สุด หรือสมาธิตั้งอยู่นาน กําหนดอยู่ได้นานๆ ไม่อยากลุกขึ้นเพราะใจสงบ ความฟุ้งซ่าน ไม่มีนิวรณธรรมก็ไม่รบกวน
๕. สรุปคเค ปิฎฐ์ วฏฐิยมาน วิย (วิสุทธิมรรค) วิปัสสนาญาณนั้น เหมือน แป้งในกระด้งที่ถูกขยี้อยู่ เหมือนฝ้ายที่ปล้อน (เมล็ด) แล้วถูกชีอยู่ กําหนดสังขาร ทั้งหลายโดยประการต่างๆ จนละความกลัวและความยินดีได้แล้ว มีความเป็นกลางใน การตรวจสอบสังขาร ตั้งอยู่ในอนุปัสสนา ๑
๖. ปฏิลียติ ปฏิบัติ ปฏิวฏฺฏติ น สมุปสาริยติ (วิสุทธิมรรค) จิตใจของ พระโยคีบุคคล ย่อมถอยย่อมหดย่อมกลับ ไม่เหยียดยืนไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ หมายถึง จิตใจแคบเข้ามาคิดฟุ้งซ่านออกไปข้างนอกน้อย ที่สุด จนแทบจะไม่มีในขณะที่กําหนดอยู่ แม้อารมณ์ภายในก็ถอยลงมา เหมือนกับ ยางที่ยืดออกไปแล้วกลับหดเข้ามาฉะนั้น
ผลของสังขารุเปกขาญาณ (อีกนัยหนึ่ง)
สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกขัง เป็นโทษ เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามเรียกว่า วิปัสสนาญาณที่ แก่กล้าถึงความเป็นยอดคือ สูงสุดเรียกว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา แปลว่าวิปัสสนาที่ ถึงการออกไปจากกิเลสและกองทุกข์ด้วยอํานาจแห่งมรรค ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว สรุปผลได้ ๔ ดังนี้
๑. ผู้ที่เห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในเบื้องต้นแต่เวลาถึงมรรค ก็เห็นอนิจจังชัด ผู้นั้นมากด้วยอธิโมกข์มีศรัทธามากได้สัทธินทรีย์ ย่อมหลุดพ้นคือ ถึงพระนิพพานด้วยอนิมิตวิโมกข์ เป็นสัทธานุสารีในขณะมรรคที่ ๑ คือโสดาปัตติ มรรคเป็นสัทธาวิมุตในฐานะ ๗ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค และอรหัตตผล
๒. ถ้าออกทางทุกข์คือ เวลาถึงมรรคเห็นทุกข์ ผู้นั้นมากด้วยปัสสัทธิ คือ ความสงบ ได้สมาธินทรีย์ย่อมหลุดพ้นด้วย อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นกายสักขีในที่ทุกแห่ง ๓. ถ้าผู้ใดเจริญสมถกรรมฐานจนได้อรูปฌานแล้ว เอาสมถะเป็นบาทของ วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล ผู้นั้นเป็นอุภโตภาควิมุตในผลอันเลิศ คือ อรหัตตผล
๔. ถ้าออกทางอนัตตาผู้นั้นมากด้วยเวทะคือ ความรู้ย่อมได้ปัญญินทรีย์ หลุด พ้นด้วยสุญญตวิโมกข์เป็นธัมมานุสารี ในขณะที่บรรลุโสดาปัตติมรรค เป็นทิฏฐิปัตตะ ในฐานะ ๖ คือ ในขณะโสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และอรหัตตมรรค เป็นปัญญาวิมุตในผลอันเลิศ คือ อรหัตตผล
เพื่อให้วุฏฐานคามินีวิปัสสนานี้แจ่มแจ้ง พร้อมกับญาณต้นๆ คือ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มณีจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณและญาณหลังๆ มี โคตรภูญาณเป็นต้น พึงทราบอุปมา ๖ ข้อพอเป็น ตัวอย่างดังต่อไปนี้
อุปมาสังขารุเปกขาญาณ ๖ ข้อ
๑. อุปมาด้วยค้างคาว
ยังมีค้างคาวตัวหนึ่งจับแอบอยู่ที่ต้นมะซางที่มีกิ่ง ๕ กิ่ง โดยตั้งใจว่าจะได้ดอก ผลในต้นไม้นั้นครั้นไปจับที่กิ่งที่ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ก็ไม่มีอะไร ไม่พบอะไร อีกเช่นกัน จึงได้ทอดอาลัยในต้นไม้นั้นว่า ต้นไม้นี้ไม่มีดอกไม่มีผลอะไรที่ควรถือเอา ได้เลย แล้วบินขึ้นไปเกาะที่กิ่งตรงยอดโผล่ศีรษะตรงระหว่างคาคบ แหงนดูข้างบน แล้วบินไปในอากาศ ไปแอบอยู่ที่ต้นมีผลอื่นๆ จึงเปรียบเทียบกับการปฏิบัติดังนี้
๑. ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา เปรียบเหมือนค้างคาว
๒. อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหมือนต้นมะซางมี ๕ กิ่ง
๓. การยึดมั่นขันธ์ ๕ เหมือนกับการไปแอบจับอยู่ที่กิ่งทั้ง ๕ ของค้างคาว
๔. ผู้ปฏิบัติพิจารณาขันธ์ที่ ๑ ไม่เห็นมีอะไรที่ควรยึดมั่นจึงพิจารณาขันธ์ ที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ก็ไม่พบอะไรอีก เปรียบเหมือนค้างคาวนั้นไปจับกิ่งที่ ๑ ไม่เห็น มีอะไรจึงบินไปจับกิ่งที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ก็ไม่เห็นมีอะไรอีก ฉะนั้น
๕. การที่ผู้ปฏิบัติเบื่อหน่าย เพราะเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเกิดญาณทั้ง ๓ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และสังขารุเปกขา ญาณ เปรียบเหมือนค้างคาวนั้นสละความอาลัยทอดอาลัยในต้นไม้นั้นว่า ต้นไม้นี้ไม่มีดอกผลอะไรเลย
๖. อนุโลมญาณของผู้ปฏิบัติ เปรียบเหมือนการบินขึ้นข้างบนเกาะที่กิ่ง ตรงยอดของค้างคาว
๗. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการชะโงกศีรษะแลดูเบื้องบนของค้างคาว
๘. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการบินไปในอากาศของค้างคาว
๙. ผลญาณ เปรียบเหมือนการบินไปจับอยู่ที่ต้นไม้มีผลต้นอื่นของค้างคาว
๑๐. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของค้างคาว
๒. อุปมาด้วยงูเห่า (กณฺหสปฺโป)
มีบุรุษคนหนึ่งอยากจะได้ปลามาเป็นอาหาร จึงเอาสุ่มๆ ลงไปในน้ําแล้วงม ตามไป เผอิญไปถูกงูเห่าเข้าจึงจับคองูภายในน้ําไว้ได้ นึกกระหยิ่มอยู่ในใจว่า เราจับ ปลาใหญ่ได้ ครั้นยกขึ้นมาดูจริงๆ จึงรู้ว่าเป็นงูเห่าเพราะเห็นดอกจัน เขาหวาดกลัว มากเห็นโทษในการจับ เพราะเกรงจะถูกงูกัดตายต้องการปล่อยให้พ้นไปจากตัวโดย เร็ว จึงหาอุบายปล่อย คือจับหางงูคลายขนดจากแขนตนแล้วยกขึ้นแกว่งไปวนมา อยู่ ๒ - ๓ ครั้ง ทําให้งูอิดโรยอ่อนกําลังก่อนแล้วจึงโยนไป ตัวเองก็รีบขึ้นมาสู่ขอบบึง ยืนดูทางมาโดยหมายใจว่า เราพ้นจากปากงูเห่าแล้ว
อุปมานี้ มีการเปรียบเทียบกับญาณดังนี้คือ
๑. เวลาผู้ปฏิบัติได้อัตภาพมาเป็นคนตั้งแต่ต้น รู้สึกว่ามีความยินดี เปรียบเหมือนกับตอนที่บุรุษนั้นจับงูเห่าได้เข้าใจว่าเป็นปลาแล้วดีใจมาก
๒. เวลาที่ผู้ปฏิบัติแยกรูปนามได้เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม เห็นอนิจจ ลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ เห็นความเกิดดับของรูปนาม เห็นเฉพาะความ ดับไปของรูปนาม รูปนามปรากฏเป็นของน่ากลัว ตอนนี้จัดเป็น นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจัยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ เปรียบเหมือน กับบุรุษนั้นดึงงูออกมาจากสุ่ม แลเห็นรู้ว่าเป็นงูแล้วกลัว
๓. เวลาที่ผู้ปฏิบัติตามพิจารณาเห็นโทษของรูปนาม ได้แก่ อาทีนวญาณ เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นตามเห็นโทษของงูว่าถ้าถูกงูตัวนั้นกัดก็จะต้องมีอันตรายแก่ชีวิต
๔. เวลาผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์โทษแล้วเบื่อหน่ายได้แก่ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้นเห็นทุกข์โทษ อันจะเกิดขึ้นเพราะถูกงูกัดแล้ว เบื่อหน่าย ไม่อยากให้งูอยู่ในมือของตนอีก
๕. เวลาผู้ปฏิบัติอยากพ้นไปจากรูปนามและสังสารวัฏ ได้แก่ มุญจิต กัมยตาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้น อยากจะปล่อยงูให้หลุดพ้นไปจากตัว
๖. เวลาผู้ปฏิบัติยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยอุบาย ๔๐ อย่าง ได้แก่ ปฏิสังขาญาณ เปรียบเหมือนบุรุษนั้นทําอุบายเพื่อปล่อยงู
๗. เวลาผู้ปฏิบัติพิจารณารูปนามยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์บ่อยๆ วนไปเวียนมาอยู่กับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทําให้กิเลสอ่อนกําลังลงจนถอนอนิจจสัญญา ความสําคัญผิดคิดว่า เที่ยง สุขสัญญา ความสําคัญผิดคิดว่าเป็นสุข สุภสัญญา ความ สําคัญผิดคิดว่าเป็นของสวยงาม อัตตสัญญา ความสําคัญผิดคิดว่าเป็นตัวตนเสียได้ มี ใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้น จับงู แกว่งทําให้หมดกําลังลง จนไม่สามารถจะเลี้ยวมากัดเขาได้ ใจก็วางเฉยอยู่
๘. เวลาผู้ปฏิบัติเห็นพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดเจน แจ่มแจ้ง เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้นกําลังจะปล่อยงู และแน่ใจมั่นใจว่า ตนต้องพ้นอันตราย โดยอุบายอย่างนี้
๙. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการปล่อยงูให้พ้นจากมือของบุรุษนั้น แล้วรีบไปยืนอยู่ขอบบึง
๑๐. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการยืนอยู่บนขอบบึงของบุรุษนั้น
๑๑. ผลญาณ เปรียบเหมือนการไปยืนอยู่ในที่ไม่มีภัย ยืนอยู่ในที่ปลอดภัย ยืนอยู่ในที่ไม่มีอันตรายแล้ว
๑๒. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของบุรุษ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาทุกๆ ท่านทั้งที่ล่วงมาแล้ว กําลังเป็นไปอยู่ และจะมีมาใน อนาคต ก็ต้องผ่านลักษณะการของวิปัสสนาญาณต่างๆ ไปเหมือนกัน
๓. อุปมาด้วยเรือนไฟไหม้
เมื่อเจ้าของเรือนรับประทานอาหารอิ่มหนําสําราญแล้ว ก็พากันขึ้นสู่ที่นอน แล้วนอนหลับไปอย่างสบาย แต่เรือนถูกไฟไหม้ พอตื่นขึ้นมาเห็นไฟแล้วหวาดกลัว คิดหาทางออกว่า ถ้าออกไปไม่ให้ถูกไฟไหม้เป็นความดีของเราจึงพิจารณาตรวจตราดู เมื่อเห็นหนทางแล้วก็ออกไปยืนอยู่ในที่เกษมโดยเร็วพลัน ข้อนี้มีอุปมาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติธรรม คือ
๑. การยืดถือขันธ์ ๕ ว่าของเราของบุคคลผู้โง่เขลาเบาปัญญา เปรียบเหมือนการรับประทานอาหารแล้วขึ้นสู่ที่นอนแล้วนอนหลับไป
๒. การเจริญวิปัสสนา จนเห็นพระไตรลักษณ์ เห็นรูปนามปรากฏเป็น ของน่ากลัว มีโทษเบื่อหน่าย ได้แก่ ภัยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบ เหมือนเจ้าของเรือนตื่นขึ้นเห็นไฟแล้วกลัว
๓. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบ เหมือนการอยากพ้นจากไฟแล้วรีบหาทางออกไปจนเห็นลู่ทางวางใจได้ ว่าจะต้อง ปลอดภัยโดยอุบายนี้แน่ จึงเบาใจไม่ร้อนใจเหมือนก่อน
๔. อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนการแลเห็นทางและแน่ใจแล้วว่า ทางนี้ปลอดภัยแน่นอน
๕. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการออกจากเรือน
๖. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการวิ่งไปโดยเร็ว
๗. ผลญาณ เปรียบเหมือนการยืนอยู่ในที่ปลอดภัย
๘. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของตน ฉะนั้น
๔. อุปมาด้วยโค
โคของชาวนาคนหนึ่ง เมื่อเจ้าของนอนหลับไปในเวลากลางคืนทําลายคอกหนีไป พอตอนใกล้สว่างเจ้าของโคไปที่คอกและดูไม่เห็นรู้ว่าโคหนีไป ออกติดตาม รอยเท้าโค ไปพบโคของหลวง เข้าใจว่าเป็นโคของตัวจึงจับจูงมา พอเวลาสว่างจําได้ ว่าโคนี้มิใช่ของตัวเป็นโคของหลวงรู้สึกว่า คิดว่าถ้าพวกราชบุรุษยังไม่ได้จับเราว่าเป็น โจร ยังไม่ให้เราถึงความฉิบหายเพียงใด เราจักหนีไปเพียงนั้น จึงทิ้งโคแล้วหนีไปโดย เร็ว หยุดอยู่ในที่พ้นภัย ในข้อนั้นมีอุปมาเปรียบกับข้อปฏิบัติ ดังนี้
๑. การยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเรา ของปุถุชน เปรียบเหมือนกับ การจับโตของหลวงโดยเข้าใจผิดคิดว่าโคของตน
๒. การรู้ขันธ์ ๕ ว่า มีแต่มีรูปนามเกิดมาเพราะเหตุปัจจัย เป็นของไม่ เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีแต่ความเกิดดับและมีแต่ความดับไปฝ่ายเดียว ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ซึ่ง เปรียบเหมือนกับการจําได้ว่า เป็นโคของหลวง
๓. ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนเวลากลัวเห็น โทษ และเกิดความเบื่อของชายคนนั้น
๔. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือน ความอยากหนีของชายนั้นหาทางหนีแล้วเดินจากไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
๕. อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนการเตรียมเดินตรงไปตามทางของชาย นั้น เพราะรู้แน่แล้วว่าต้องไปทางนี้
๖. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการสละโค
๗. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการหนีไป
๘. ผลญาณ เปรียบเหมือนการหนีไปยืนอยู่ในที่ปลอดภัย
๙. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการดูทางมาของตน
๕. อุปมาด้วยยักษิณี
บุรุษคนหนึ่งได้อยู่ร่วมกันกับนางยักษิณี นางยักษิณีนั้นครั้นเวลากลางคืน พอรู้ว่าผัวหลับแล้วก็ไปสู่ป่าช้าผีดิบกินเนื้อมนุษย์อยู่ ชายผู้เป็นตัวตื่นขึ้นคิดว่านางนี้ไป ไหน จึงออกติดตามไป พบนางกําลังกินเนื้อมนุษย์อยู่รู้ว่าเป็นอมนุษย์จึงกลัว แล้วรีบ หนีไปโดยเร็ว หยุดยืนในที่เกษมปลอดภัย ในข้อนั้น มีการเปรียบเทียบกับญาณใน การปฏิบัติ ดังนี้
๑. การยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเรา เปรียบเหมือนบุรุษนั้นได้อยู่ร่วมกันกับนางยักษิณี
๒. การเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นของไม่เที่ยง ได้แก่นามรูปนามปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ เปรียบเหมือนการเห็นนางยักษิณีเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ในป่าช้า จึงรู้ว่านี้เป็นนางยักษิณี
๓. ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนเวลากลัวนาง ยักษิณี เห็นโทษและเบื่อนางยักษิณี
๔. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือน เวลาต้องการหนีหาทางหนีแล้วทําใจเฉยอยู่
๕. อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการละนางยักษิณี
๖. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการหนีไปโดยเร็ว
๗. ผลญาณ เปรียบเหมือนการหยุดยืนในที่พ้นภัย
๘. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการยืนแลดูทางมาของตน
๖. อุปมาด้วยเด็ก
หญิงนางหนึ่งรักลูกมาก นางนั่งอยู่บนปราสาท ได้ยินเสียงเด็กร้องระหว่าง ถนน ระแวงว่าใครเบียดเบียนลูกของเรา จึงรีบลงมาโดยเร็วอุ้มเอาเด็กของคนอื่นไป โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลูกของตน พอนางรู้ว่านี้เป็นลูกของคนอื่น จึงมีความเกรงกลัวมาก เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้คิดว่า อย่าทันให้ใครๆ กล่าวว่าเราขโมยเด็ก แล้วรีบวางเด็กลง ในที่นั้น วิ่งขึ้นไปบนปราสาทโดยเร็วแล้วนั่งอยู่ ในข้อนั้น มีการเปรียบเทียบกับญาณ ในการปฏิบัติ ดังนี้
๑. การถือขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเรา เปรียบเหมือนการที่หญิงนั้นยึดถือบุตร คนอื่นว่าเป็นบุตรของตน
๒. การรู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ ได้แก่ นามรูปนามปริจเฉทญาณ ปัจจปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ เปรียบเหมือนการรู้ว่านี้ เป็นบุตรของคนอื่น
๓. ภัยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนความเกรงกลัว
๔. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือน การแลดูทางโน้นทางนี้
๕. อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนการเริ่มวางทารกไว้ในที่นั้น
๖. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนเวลาวางเด็กแล้วกําลังอยู่ระหว่างถนน
๗. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการขึ้นสู่ปราสาท
๘. ผลญาณ เปรียบเหมือนการขึ้นไปนั่งบนปราสาทแล้ว
๘. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของตน
เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้รู้เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอย่างนี้แล้ว จิตย่อม ถอยกลับจากภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ มีแต่ความวางเฉย มีแต่ความสะอิดสะเอียน มีแต่ความปฏิกูลเกิดขึ้นจิตจะไม่หวนกลับมาเพลิดเพลินยินดี ในภพกําเนิดเป็นต้นอีก มีแต่จะโน้มเอียงไปสู่พระนิพพานโดยส่วนเดียว ดุจหยาดน้ํา ตกไปจากใบบัว ฉะนั้น
ความตั้งใจปฏิบัติอย่างไม่ย่อท้อ
ด้วยคุณเพียงเท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไม่ถอยหลัง อย่างไม่ย่อท้อ สมดังคําที่ท่านกล่าวยืนยันรับรองไว้ว่า
ปฏิลีนจรลุส ภิกฺขุโน
ภชมานสฺส วิวิตตมาสน์
สามคฺคิยมาหุ ตสฺส ต๋
โย อตฺตานํ ภวเน น ทสฺสเย ฯ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวการไม่แสดงตนในภพ (อันต่างด้วยนรกเป็นต้น) ของ ภิกษุผู้ประพฤติไม่ท้อถอย ผู้เสพที่นั่งอันสงัดว่าเป็นการสมควร ดังนี้
สังขารุเปกขาญาณที่ควรทราบ
สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ววางเฉยอยู่ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติ สมาธิ ปัญญาแก่กล้าดี มี ลักษณะที่นักปฏิบัติธรรมจะพึงทราบอีกหลายประการ คือ
๑. ปฏิลีนจรภาว์ นิยเมตวา นิยมคือ กระทําความไม่ท้อถอยให้แน่นอน เป็นอันเดียวแก่ผู้ปฏิบัติ อธิบายว่า ทําใจของผู้นั้นให้เชื่อมั่น ให้ตั้งมั่น ให้ตรงดิ่งต่อจุดเดียว คือ นิพพาน
๒. ธมมวิเสส นิยเมตวา นิยมความวิเศษของธรรม ๕ ประการ
ก. โพชฌงควิเสสํ ความวิเศษของโพชฌงค์ ๘ ประการ มีสติสัมโพช ฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น หมายความว่าโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้ จะต้อง มาเป็นธรรมสมังคีให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
ข. มคฺคงควิเสสํ ความวิเศษขององค์มรรค หมายความว่าองค์มรรค ทั้ง ๘ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นต้น จะต้องมารวมกําลังเป็นมัคคสมังคีเพื่อเข้า มาทํางานประหาณกิเลส พร้อมกันตั้งแต่ญาณนี้เป็นต้นไป
ค. ฌานควิเสสํ ความวิเศษขององค์ฌาน คําว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน เพ่งรูปนามเป็นอารมณ์จนเห็นพระไตรลักษณ์ อย่างหนึ่ง อารัมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์สมถกรรมฐาน ๔๐ ฌาน ในที่นี้ท่านหมายเอาญาณ คือ ปัญญาซึ่งมีกําลังแก่กล้า จวนจะได้บรรลุมรรคอยู่แล้ว ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
ปาทกชุฌานนฺติ มอสส อาสนุนวุฏฐานคามินียา วิปสฺสนาย ปทฏฐานภูติ ญาณ ฯ (มหาฎีกาหน้า ๕๗๔)
ปาทุกชฺฌานํ แปลว่า ฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนา ได้แก่ ญาณ ซึ่งเป็น ปทัฏฐานของวิปัสสนาอันใกล้ต่อมรรคและจะให้ถึงการออกจากกิเลส
ฆ ปฏิทาวิเสส์ ความวิเศษแห่งข้อปฏิบัติได้แก่ ปฏิปทาทั้ง ๔ มี
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญญา ปฏิบัติลําบากได้ผลช้า
ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญญา ปฏิบัติลําบากได้ผลเร็ว
สุขาปฏิปทา ทนุธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกได้ผลช้า
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกได้ผลเร็ว
อธิบายว่า ปฏิบัติลําบากได้ผลช้า เพราะกิเลส ๑๐ รบกวนมากในเวลาปฏิบัติ และเวลาจะถึงมรรค สังขารุเปกขาก็ทําวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรค ให้เกิดช้าๆ ปฏิบัติลําบากได้ผลเร็ว เพราะกิเลส ๑๐ รบกวนมากในเวลาปฏิบัติแต่ สังขารุเปกขาญาณทําวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรค ให้เกิดขึ้นได้เร็ว ปฏิบัติ สะดวกได้ผลช้า เพราะกิเลส ๑๐ ไม่รบกวนแต่เวลามรรคจะเกิด เกิดได้ยาก สังขารุ เปกขาญาณทําวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรคให้เกิดช้าๆ ปฏิบัติสะดวก ได้ผลเร็ว เพราะผู้ปฏิบัติข่มกิเลส ๑๐ ได้ง่าย ไม่รบกวนในเวลาปฏิบัติและในเวลามรรค จะเกิดขึ้น สังขารุเปกขาญาณ ก็ทําความปรากฏแห่งมรรคให้เกิดขึ้นได้ง่าย
ความต่างกันแห่งปฏิปทา ๔ ของผู้ปฏิบัติ
๑. สําหรับภิกษุบางรูป ในมรรคทั้ง ๔ มีปฏิปทาเพียงอย่างเดียว
๒. สําหรับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสะดวกและรู้ได้ง่ายทั้ง ๔ มรรค
๓. สําหรับพระธรรมเสนาบดีคล้ายกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
๔. สําหรับพระมหาโมคคัลลานเถระ มรรคที่ ๑ โสดาปัตติมรรค ปฏิบัติ สะดวก รู้ได้ง่าย ส่วนมรรคที่เหลือ ๓ คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตต มรรค ปฏิบัติ ลําบากรู้ได้ยาก เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทนุธาภิญญา
ง. วิโมกวิเสสํ ความวิเศษแห่งวิโมกข์ คืออนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิ หิตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ แม้ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ คือลงมือเจริญวิปัสสนาแต่อย่าง เดียวมิได้เจริญสมถกรรมฐานมาก่อน เวลามรรคเกิดองค์ฌานก็เกิดขึ้นตามธรรมเนียม ของวิปัสสนา ดังมีหลักฐานรับรองไว้ในวิสุทธิมรรค (ภาค ๓ หน้า ๓๑๒ บรรทัดที่ ๓ - ๔) ว่า
วิปสฺสนานยาเมน หิ สุกขวิปสฺสกสฺส อุปปมนมคโคปี สมเปตติลาภิโน ฌาน ปาทก็ อก วา อุปฺปนฺนมคโค ปฐมฌาน ปาทก์ ก วา ปกิณณกสงฺขาร สมุม ตวา อุปปาทิตมคโคปี ปฐมฌานิกา ว โหนติ ฯ
จริงอยู่ ตามธรรมเนียมของวิปัสสนาย่อมเป็นดังนี้ มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ดี มรรคที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ได้ฌานสมาบัติ แต่ไม่ทําฌานให้เป็นบาท แห่งวิปัสสนาก็ดี มรรคที่ผู้ปฏิบัติทําปฐมฌานให้เป็นบาท พิจารณารูปนามเบ็ดเตล็ดคือ พิจารณารูปนามอื่นนอกจากองค์ฌานที่เป็นบาทก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมประกอบด้วย องค์ของปฐมฌานทั้งนั้น และรวมลงในมรรคทั้งหมด ดังมาในวิสุทธิมรรคว่า สพเพส สตฺต โพชฌงคานิ อฏฺฐมคคงคาน ปญฺจ ฌานคาน โหนติ ฯ
โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ องค์ฌาน ๕ ย่อมมีอยู่ในมรรคทั้งหมด
วิปัสสนาอันเป็นส่วนแห่งมรรคเบื้องต้นคือ เมื่อโยคาวจรเจริญไปจนถึง สังขารุเปกขาญาณแล้ว ย่อมประกอบด้วยโสมนัสสหรคตด้วยอุเบกขา ในเวลาจะถึงมรรค ออกจากกิเลสก็ย่อมสหรคตด้วยโสมนัส ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
เตสมฺปิ หิ ปุพพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหคตาปี อุเปกขาสหคตาปี หุตวาวุฏฺฐานกาเล สงฺขารุเปกขาภาวํ ปตฺวา โสมนสฺสสหกตา โหติ ฯ
จริงอยู่ วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้น ประกอบด้วย โสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ครั้นถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วในเวลาจะ ออกจากกิเลส จะออกจากโลกียะ จะออกจากโคตรปุถุชน ย่อมสหรคตคือประกอบไป ด้วยโสมนัส
ในข้อนั้นมียกเว้นอย่างนี้คือ ถ้าผู้ปฏิบัติทําปัญจมฌานให้เป็นบาทแล้ว สหรคตด้วยอุเบกขาอย่างเดียวเท่านั้น ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
เตสมปี หิ ปุพพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหคตาปี อุเปกขาสหคตา โหติ วุฎฐานคามินี โสมนสฺสสหกตา ว ปญฺจมชุฌานํ ปาทก์ กตวา นิพฺพฤติตมคเค ฯลฯ
อิมสฺมี หิ นาย ปุพพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหกตา วา อุเปกขาสหคตา วา โหติ วุฎฐานคามินี อุเปกขาสหคตา ว ฯ
จริงอยู่วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้นประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้างที่เป็นวุฏฐานคามินี ประกอบด้วยโสมนัสเท่านั้น ส่วน ในมรรคที่เกิดขึ้นโดยทําปัญจมฌานให้เป็นบาท ฯลฯ แต่ในนัยนี้ วิปัสสนาอันเป็นส่วน เบื้องต้น (แห่งมรรค) ประกอบด้วยโสมนัสหรือประกอบด้วยอุเบกขาก็ตาม ที่เป็น วุฏฐานคามินี ต้องประกอบด้วยอุเบกขาเท่านั้น
เหตุที่ชื่อว่ามรรค
เมื่อผู้ปฏิบัติถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วก็จะต้องถึงสัจจานุโลมิกญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณต่อไป มรรคนั้นชื่อว่ามรรคเพราะเหตุ ๕ อย่าง
๑. สรเสน เพราะกิจของตนได้แก่ ความเป็นไปพิเศษของตน
๒. ปจจนเกน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อข้าศึก
๓. สคุเณน เพราะคุณของตน
๔. อารมมเณน เพราะอารมณ์
๕. อาคมเนน เพราะอาคม (การมา)
อธิบายว่า ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมมีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นมาจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจังแล้วออกจากกิเลสถึงมรรค ชื่อว่าหลุดพ้นด้วย อนิมิตตวิโมกข์ ถ้าพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์แล้วออกจากกิเลส ชื่อว่าหลุดพ้นด้วย อัปปณิหิตวิโมกข์ ถ้าพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนัตตาแล้วออกจากกิเลส ชื่อว่าหลุดพ้น ด้วยสุญญตวิโมกข์ อย่างนี้ได้ชื่อว่ามรรคเพราะกิจของตนเพราะความเป็นไปวิเศษ
ของตน
วิมุตติ - ปหาน
วิมุตติ กับ ปหาน ต่างกันแต่พยัญชนะ ส่วนความหมายเหมือนกัน โปรดเทียบเคียงดังนี้
วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น มีอยู่ ๕ อย่าง
๑. ตทังควิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว ได้แก่ ศีล
๒. วิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่มไว้ ได้แก่ สมาธิ
๓. สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นได้เด็ดขาด ได้แก่ มรรค
๔. ปฏิปัสสัมภนวิมุตติ หลุดพ้นโดยความสงบ ได้แก่ ผล
๕. นิสสรณวิมุตติ หลุดพ้นออกไป ได้แก่ พระนิพพาน
ปหาน คือ การละ มีอยู่ ๕ อย่าง
๑. ตทังคปหาน ละชั่วคราว ได้แก่ ศีล
๒. วิกขัมภนป่หาน ละด้วยการข่มไว้ ได้แก่ สมาธิ (ฌาน)
๓. สมุจเฉทปหาน ละโดยเด็ดขาด ได้แก่ มรรค (อริยมรรค)
๔. ปฏิปัสสัมภนปหาน ละได้โดยความสงบ ได้แก่ ผล
๕. นิสสรณปหาน ละโดยการออกไปได้แก่ นิพพาน
เมื่อเทียบเคียงแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า วิมุตติ กับ ปหาน นั้นต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น ส่วนความหมายนั้นเหมือนกัน
จบ สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. อนุโลมญาณ
อนุโลมญาณ ญาณที่อนุโลมไปตามลําดับเพื่อสําเร็จกิจแห่งวิปัสสนาญาณ ๗ โดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ หรืออนุโลมไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการในเบื้องสูง
อนุโลมญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ แยกบทเป็น สัจจะ + อนุโลมิก + ญาณ มีความหมายตามรูปศัพท์ ดังนี้
สัจจะ แปลว่า ความจริง ความจริงแห่งอริยเจ้า ได้แก่ อริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ
ทุกขสัจ ของจริงคือ ทุกข์ ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘
สมุทยสัจ ของจริงคือ สมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ โลภเจตสิก
นิโรธสัจ ของจริงคือ นิโรธ ดับทุกข์ได้แก่ พระนิพพาน
มรรคสัจ ของจริงคือ มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค มีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้นย่นลงมาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ นี้มีปรมัตถ์คือ นิพพานเป็นอารมณ์
อนุโลมิกะ แปลว่า เป็นไปตามลําดับ ๒ ประการคือ อนุโลมตามญาณต่ํา ไปหาญาณสูงอย่างหนึ่ง อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อย่างหนึ่ง
๑. อนุโลมตามญาณต่างๆ เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ เป็นต้น จนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณ รวม ๘ ญาณด้วยกัน อย่างนี้เรียกว่า อนุโลม ตามญาณต่ํามาหาญาณสูง
๒. อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มี สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ดังที่กล่าวแล้ว มีหลักฐานรับรองไว้ คือ ปุริมาน อฏฐนฺนํ วิปัสสนาญาณาน ตถกิจจตาย จ อนุโลเมติ ฯ อนุโลมแก่วิปัสสนาญาณเบื้องต้น ๘ คือ
อุทยัพพยญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม
ภังคญาณ พิจารณาเห็นเพราะความดับไปของรูปนามอย่างเดียว
ภยญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว
อาทีนวญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่ามีโทษมาก
นิพพิทาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามแล้วเบื่อหน่าย
มุญจิตุกัมยตาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษ เบื่อหน่ายแล้วอยากหลุดพ้น
ปฏิสังขาญาณ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจ ปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง
สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์แล้วมีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม อย่างนี้เรียกว่า อนุโลมตามญาณต้น เพราะมีกิจพิจารณาพระไตรลักษณ์ เป็นอารมณ์ เหมือนกันกับญาณ ๘ ญาณข้างต้น
อุปริ จ สตฺตตีสาย โพธิปักขิยธมฺมานํ ฯ อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ในเบื้องสูง
เมื่ออนุโลมตามญาณต่ําได้กําลังพอคือ อินทรีย์ ๕ แก่กล้าแล้วก็เข้าเขต อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
ว่าด้วยอุปมาอนุโลมญาณ ๓
อนุโลมญาณ คือพิจารณารูปนามเป็นไปด้วยอํานาจอนิจจลักษณะ มีอุปมา ดังนี้ คือ เช่น พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงธรรม ประทับนั่งในที่วินิจฉัย ทรงสดับการวินิจฉัย ของมหาอํามาตย์ผู้พิพากษา ๘ นายในศาล พระองค์ไม่มีความลําเอียงเลย ทรงตั้งพระ ทัยเป็นกลาง ทรงอนุโมทนาว่า จงตัดสินอย่างนี้แหละ ทรงอนุโลมต่อการวินิจฉัยของ มหาอํามาตย์เหล่านั้นเพราะตัดสินถูกต้องตามทํานองคลองธรรมดีแล้ว และทรงอนุโลม ต่อราชธรรมดั้งเดิมของพระองค์คือ ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ไม่มีโกรธ ไม่มี เบียดเบียน มีขันติ เป็นต้น ข้อนี้ฉันใด อนุโลมญาณก็ฉันนั้น
๑. ญาณทั้ง ๘ เปรียบเหมือนมหาอํามาตย์ ๘ คน
๒. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เปรียบเหมือนทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ โพธิ ปักขิยธรรม ๓๗ เป็นฝ่ายพุทธจักร ส่วนทศพิธราชธรรม ๑๐ เป็นของฝ่ายอาณาจักร
๓. พระราชาตรัสว่า จงตัดสินอย่างนี้แหละชื่อว่าทรงอนุโลมตามผู้พิพากษา เปรียบเหมือนอนุโลมญาณ ก็ต้องพิจารณารูปนามเหมือนกับญาณทั้ง ๘ ฉะนั้น
เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมคือคล้อยตามมัคคสัจ อนุโลมญาณ ว่าโดยอารมณ์มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์เท่านั้น
กิจของอนุโลมญาณ
อนุโลมญาณ ว่าโดยกิจมี ๒ คือ
๑. ลักขณิตตยสัมมสนกิจ อนุโลมญาณมีหน้าที่พิจารณาลักษณะทั้ง ๓ คือ ลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
๒. สัมโมสาทิปฏิปักขวิธมนกิจ อนุโลมญาณมีหน้าที่กําจัดปฏิปักษ์คือ ข้าศึกทั้งหลายมี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น, กิเลสตมวิโนทนกิจ มีหน้าที่กําจัด ความมืด คือกิเลสนั้นเองเพราะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มาประชุมพร้อมกัน เพื่อทํางานละกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน
ผลของอนุโลมญาณ
อนุโลม สัจจปฏิจฉาทก์ กิเลสตม์ วิโนเหตุ สกโกติ อนุโลมญาณ ย่อม สามารถก๋าจัดความมืด คือ กิเลสอันปกปิดอริยสัจ ๔ เสียได้
ผลของญาณทั้ง ๙
อิมานิ นว ญาณานิ ญาณทัสสนวิสุทธิยา ปฏิปทาภาวโต ติลักขณชาน นตฺเถน ปจฺจกฺขโต ทสฺสนฺตฺเถน ปฏิปักขิโต วิสุทธตฺตา จ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ นาม ฯ (วิภาววินฎีกา)
ญาณทั้ง ๙ คือ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะเหตุ ๖ ประการ
๑. เพราะเป็นข้อปฏิบัติเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิคือ มรรค
๒. เพราะรู้พระไตรลักษณ์
๓. เพราะปรากฏชัด
๔. เพราะเป็นเครื่องเห็นพระไตรลักษณ์และอริยสัจ ๔
๕. เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่ผิด
๖. เพราะบริสุทธิวิเศษ
ตัวอย่างคือ พระมหาสิวเถรเจ้า เล่าไว้ว่า แรกเริ่มเดิมทีพระเถระนั้นได้ ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาดี ได้เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรมถึง ๑๘ แห่งในวัน หนึ่งๆ จะหาเวลาว่างมิได้เลย เพราะท่านเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรดี ทั้งเป็น ผู้ปราดเปรื่องในพระไตรปิฎกมีศิษย์เป็นจํานวนมาก ศิษย์คนหนึ่งได้เจริญวิปัสสนา กรรมฐานจนได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้คํานึงถึงอาจารย์ของตน ทราบชัดด้วยปัญญา ว่ายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จึงมุ่งหน้าไปหาอาจารย์ เพื่อจะได้แสดงธรรมวิเศษให้แก่ อาจารย์ฟัง เมื่อไปถึงที่อยู่แล้วก็ได้กล่าวทักทายปราศัยกันตามฉันศิษย์กับอาจารย์แล้วบอกความประสงค์ของตนให้แก่อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็ตอบว่า ไม่มีเวลาว่างพอ แม้ ขณะนี้ก็จะไปสอนธรรมในสถานที่ต่างๆ หลายแห่งกลับมาก็มืดค่ําแล้ว ถึงศิษย์จะ อ้อนวอนอย่างไรๆ ก็ไม่สําเร็จ อาจารย์ก็ยืนยันว่าไม่มีเวลาอยู่อย่างนั้นแหละ เมื่อศิษย์ เห็นว่าอาจารย์จะไม่ได้ปฏิบัติธรรมตามที่ตนจะแนะนําถวาย จึงเหาะไปต่อหน้าอาจารย์ เมื่ออาจารย์ได้เห็นศิษย์ของตนเหาะไปต่อหน้าเช่นนั้น ได้สติรู้สึกตนขึ้นมาว่าการที่ ศิษย์มาหาครั้งนี้ก็เพื่อจะแนะนําให้เราได้เข้าถึงธรรมวิเศษ โดยปฏิเวธญาณอย่างแท้จริง แต่เราก็กลับมีความประมาทเสีย และเราเองก็ไม่ได้มีธรรมวิเศษเหมือนเขาเลย เมื่อมีสติระลึกได้เช่นนี้ จึงตั้งสัจจาธิษฐานขึ้นว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะต้องเจริญ วิปัสสนาตั้งหน้าปฏิบัติอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งธรรมวิเศษนั้น ตราบใดเรายังไม่ได้ ธรรมวิเศษนั้น ตราบนั้นเราจะไม่ยอมละทิ้งความเพียรเป็นอันขาด จะยอมทุ่มเทกําลัง กายกําลังใจทุกอย่าง เพื่อแลกเอาธรรมวิเศษนั้นให้ได้
ครั้นท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐานอย่างนี้แล้ว ก็เริ่มลงมือปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ปฏิบัติไปวันหนึ่งก็แล้ว สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว สามเดือนก็แล้ว สามปีที่แล้ว เจ็ดปี สิบปี สิบห้าปี ยี่สิบปีที่แล้ว ยังไม่ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เลย ถึงอย่างนั้นท่านก็ ไม่เคยละทิ้งความเพียรยิ่งพยายามทําอย่างสุดความสามารถ ผลที่สุดเมื่อถึง ๓๐ ปี ท่านก็ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์สมความปรารถนา
โลกมนุษย์เต็มไปด้วยภัยนานาประการ เช่น ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย อัตตานุวาทภัย ทัณฑภัย ทุคติภัย อัคคีภัย อุทกภัย ทุพภิกขภัย โจรภัย อูมิภัย กุมภีลภัย อาวาฎภัย สุสุทาภัย ภัยเหล่านี้ย่อมนํามาแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อนร้อยแปดพัน ประการ ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารจงรีบพยายามต่อไป และองค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าก็ได้ตรัสเตือนไว้ว่า - อุฏฐาก นิสีทา โก อตฺโถ สุปิเตน โว ๆ
ลุกขึ้นเถิดท่านทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลายนั่งเถิด ท่านทั้งหลายจะมัว หลับไหลเอาประโยชน์อะไร (ในเมื่อชาวโลกถูกภัยต่างๆ คุกคามอยู่อย่างนี้ เชิญท่าน ทั้งหลายศึกษาเพื่อสันติเถิด) นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ยังได้กล่าวเตือนและ ชักชวนไว้อีก ว่า
อิติเนเกหิ นาเมหิ กิตติกา ยา มเหสีนา
วุฏฺฐานคามินี สนฺตา ปริสุทฺธา วิปสฺสนา
วุฏฺฐาตุกาโม สํสาร- ทุกฺขปงกา มหพภยา
กเรยย สตต์ ตตฺถ โยคี ปณฺฑิตชาติโก ฯ
วุฏฐานคามินีวิปัสสนาใด สงบ บริสุทธิ์ อันพระมหาฤๅษีตรัส ไว้ โดยชื่อหลายอย่าง ดังกล่าวมานี้ บุคคลผู้มีชาติบัณฑิต ผู้ปรารถนา จะออกจากเชือกตม คือสั่งสารทุกข์มีภัยใหญ่ จึงทําความเพียรเนืองๆ ในวุฏฐานคามินีวิปัสสนานั้นแล
จบ อนุโลมญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ
โคตรภูญาณ ปัญญาที่ทําลายโคตรของปุถุชนแล้วเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้า ปุถุชน แปลว่า ชนผู้หนา มีความหมาย ๙ อย่าง
๑. ผู้มีกิเลสหนาด้วยประการต่างๆ ได้แก่มี สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต ปรามาส เป็นต้น
๒. ผู้หนาด้วยคติทั้ง ๕ ผู้ไม่ออกจากคติทั้ง ๕ อันหนา ได้แก่ นิรยุคติ ติรัจฉานคติ ปิตติวิสัยคติ มนุสสุคติ เทวคติ
๓. ผู้สร้างสังขารอันหนาทั้ง ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร
๔. ผู้ถูกโอฆะอันหนาทั้ง ๔ พัดไปคือ ถูกทิฏโฐฆะ กาโมฆะ ภโวซะ อวิชโชฆะ พัดไป
๕. ผู้เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนอันหนา มีประการต่างๆ มีความเร่าร้อน เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
๖. ผู้กําหนด ชอบใจ ติดใจ ข้อง จม หลง พัวพันอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ อย่างแน่นหนาคือ พอใจอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
๗. ผู้ถูกนิวรณ์ ๕ อันหนาครอบงําท่วมทับหุ้มห่อปกปิดไว้ให้มิด ถูกกาม ฉันทะ พอใจในกามคุณ ๕ ปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกพยาบาทอาฆาตจองเวรกันและกัน ปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกถีนมิทธะ ความท้อใจอ่อนใจ ท้อถอยหดหู ง่วงเหงาหาวนอน ปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรําคาญปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูก วิจิกิจฉาความสงสัยลังเลใจในพระรัตนตรัย บุญ บาป เป็นต้นปกปิดไว้อย่างหนึ่ง
๘. ผู้หยั่งลงสู่ธรรมอันต่ําสู่มรรยาทอันต่ํา ผู้หันหลังให้อารยธรรม อารยธรรมนั้นมี ๖ อย่างคือ ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่บุญคุณท่าน มีความบริสุทธิ์ เป็นสัมมาทิฏฐิ และมีปัญญา
๙. ผู้ปราศจากสารธรรมทั้ง ๕ มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ทั้ง ๙ ข้อ เป็นความหมายของ ปุถุชน (ปฏิ, อรรถ, ๓๑)
ปุถุชนมี ๒ พวก
ปุถุชน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจําแนกได้เป็น ๒ พวก คือ อันธปุถุชน และกัลยาณปุถุชน
อันธปุถุชน คือ ชนผู้หนา จนได้นามว่า คนบอด หมายถึง ทั้งบอด ทั้งหนา ท่านแก้ไว้ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ได้แก่ บุคคลที่ไม่ได้เรียน ไม่ได้สอบถาม ไม่ ได้ฟัง ไม่ได้จํา ไม่ได้พิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เป็นต้น
กัลยาณปุถุชน คือ คนมีกิเลสหนา แต่ได้นามว่า เป็นคนดีเพราะได้เรียนรู้ ได้สอบถาม ได้ฟัง จําได้ และได้พิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ ได้ตั้งตนไว้ในศีล ๕ และ กัลยาณธรรม ๕ มี เมตตา จาคะ สันโดษ สัจจะ สติ
ปัญญาที่ทําลายโคตรของปุถุชนทั้ง ๒ ประเภทหมุนออกไปจากสังขารนิมิต ภายนอกชื่อว่า โคตรภูญาณ
สังขารนิมิต
สังขารนิมิต เครื่องหมายของรูปนามได้แก่ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ
ภายนอก ได้แก่ นอกจากกองแห่ง อกุศล ที่เป็นไปในสันดานของตน หมายถึงเมื่อการปฏิบัติได้ดําเนินมาถึงโคตรภูญาณแล้วอกุศลไม่เกิดขึ้นได้เลยในขณะนั้น
สังขาร โดยใจความก็ได้แก่ รูปนามคือ ร่างกายของหญิง ของชายในโลกนี้ ท่านเรียกว่า เป็นนิมิต เพราะปรากฏว่าเป็นที่รักใคร่ชอบใจแก่ชาวโลกเช่น เห็นรูปดี รูปสวย รูปงาม ย่อมพากันชอบใจ ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นนิมิตคือ เป็นเครื่องหมายของกิเลส
โคตรภู นัยที่ ๑
โคตรภู ยังมีเครื่องหมายแตกต่างออกไปอีกหลายข้อหลายนัย ดังวิเคราะห์ ศัพท์ที่ท่านจํากัดความไว้ต่อไปนี้
๑. อุปปาท์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความเกิดของรูปนามใน ภพนี้ เพราะกรรมในภพก่อนเป็นปัจจัย ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อปฏิบัติถึงโคตร ภูญาณแล้วรูปนามก็ดับไป
๒. ปวตฺติ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความเป็นไปไม่ขาดสาย ของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้ว เพราะกรรมก่อนเป็นปัจจัยนั่นแหละชื่อว่า โคตรภู
๓. นิมิตต์ อภิภัยที่ติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําสังขารนิมิตชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ครอบงําธุวนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่ารูปนามเป็นของเที่ยง ยั่งยืน ครอบงําสุขนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่ารูปนามเป็นสุข อัตตนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่า รูปนาม เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๔. อายุหน์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงํากรรมที่เป็นเหตุให้ถือ ปฏิสนธิในภพต่างๆ ไปอีกชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อปฏิบัติถึงญาณนี้แล้ว กรรมต่างๆ ที่จะนําบุคคลนั้นไปให้ถือปฏิสนธิในภพอื่นอีกคงเหลือเพียง ๗ ชาติ เป็นอย่างมาก
๕. ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําปฏิสนธิชื่อว่า โคตรภู
๖. คดี อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําคติทั้ง ๕ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่าคติที่จะต้องไปเกิดอีกในเมื่อตายไปแล้วไม่มี ถ้าหากยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ เป็นพระอรหันต์ก็มีแต่คติที่ดีๆ เช่น เทวคติ ไม่ไปเกิดในคติอันชั่ว มีนิรยคติ เป็นต้น
๗. นิพพฤติ อภิกขุยตีติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําความบังเกิดขึ้นแห่ง ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบันในขณะนั้นดับไม่ เกิด และขันธ์ในอนาคตก็ลดน้อยถอยลงไป จะเหลือเพียง ๑ ถึง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
๘. อุปปัตติ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําอุปบัติคือความเกิด เป็นไปของวิบากชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ถ้าท่านผู้ใดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมา จนถึงโคตรภูญาณนี้แล้ว ท่านผู้นั้นจะพ้นจากผลกรรมต่างๆ ตามสมควร เพราะชาติมี ความเกิด ลดน้อยถอยลงมาจะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
๙. ชาติ อภิภัยที่ติ โคตรภู ฯ ปัญญาครอบงําชาติชื่อว่า โคตรภู มีชาติ คือ ความเกิด แบ่งออกเป็น ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต โคตรภูครอบงําชาติคือ ความเกิดขึ้นของรูปนามในขณะปัจจุบัน เช่น เมื่อเวลาโคตรภูญาณเกิดขึ้นนั้น รูปนามดับไปหมดเพราะยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๐. ชร์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําชราชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ขณะถึงโคตรภูญาณ รูปนามที่กําลังแก่กําลังเสื่อมอยู่ดับไป เพราะมี พระนิพพาน เป็นอารมณ์
๑๑. พยาธิ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําพยาธิชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อถึงโคตรภูแล้ว พยาธิ ความเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ไม่มีเลย สงบไปดับไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๒. มรณ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความตายชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า มรณะ คือ ความตาย ความตายมีอยู่ ๓ อย่าง
ก. ขณิกมรณะ ความตายชั่วขณะจิตดวงหนึ่งๆ
ข. สมมติมรณะ ความตายโดยสมมติเช่น คนตาย สัตว์ตาย
ค. สมุจเฉทมรณะ ความตายโดยตัดขาดจากวัฏฏะ ได้แก่ การตาย ของท่านผู้สิ้นอาสวกิเลสแล้วซึ่งเรียกว่า นิพพาน หมายเอาครอบงําความตายคือ ขณะ ที่ถึงพระนิพพาน เพราะพระนิพพานไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย
๑๓. โสก์ อภิกขุยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความเศร้าโศก ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ความเศร้าโศกของบุคคลจะเกิดได้เพราะเหตุ ๕ อย่าง
ก. เพราะความเสื่อมญาติ เช่น ญาติตาย
ข. เพราะเสื่อมโภคะ เช่น เพราะถูกไฟไหม้ ถูกโจรปล้นเป็นต้น
ค. เพราะถูกโรคเบียดเบียน เช่น เป็นโรคมะเร็ง เป็นต้น
ฆ. เพราะศีลวิบัติ เช่น ประพฤติผิดศีลธรรม มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น
ง. เพราะเห็นความผิดจากท่านองคลองธรรม
เมื่อปฏิบัติถึงโคตรภูญาณความเสื่อมทั้ง ๕ นี่สงบไป ดับไป ไม่เกิดขึ้น เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔. ปริเทว์ อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําความพิไรรําพัน บ่นเพ้อ ร้องไห้ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า บุคคลจะพิไรรําพันร้องไห้ก็เพราะถูกความ เสื่อมทั้ง ๕ ประการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงํา ครั้นเจริญวิปัสสนากรรมฐานถึง โคตรภูญาณ ความเสื่อมดังกล่าวมานั้นจะไม่มีเลยเพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕. อุปายาส์ อภิกขุยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความคับแค้นใจ เสียได้ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า บุคคลจะเกิดความคับแค้นใจก็เพราะถูกความเสื่อม ทั้ง ๕ นั้น ครอบงํา เบียดเบียน ความคับแค้นใจก็คือ โทสะนั่นเอง เมื่อถึงโคตรภูญาณแล้ว ความคับแค้นใจก็ดับไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๖. พหิทธา สังขารนิมิตต์ อภิภัยที่ติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงํา สังขารนิมิตในภายนอกที่เป็นไปในสันดานของตนชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า นิมิต ว่าเที่ยง ว่ายั่งยืน ว่าสวยงาม ว่าเป็นตัวตน เราเขาไม่มี มีแต่ความสงบ สันติ เท่านั้น เพราะโคตรภูญาณ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น
โคตรภู นัยที่ ๒
โคตรภู ท่านวิเคราะห์ศัพท์จํากัดความไว้ในปฏิสัมภิทามรรคหลายประการดังนี้
๑. อนุปปาท์ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้นของ รูปนาม ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนามีปัญญาดําเนินมาถึงขั้นนี้ แล้ว ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับไป
๒. อปปวตต์ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ของรูปนามชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูปนามที่กําลังเป็นไปนั้นดับไป
๓. อนิมิตต์ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่อนิมิตชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า แล่นไปสู่พระนิพพาน
๔. อนายหน ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่มีกรรม ที่จะเป็นเหตุให้ถือปฏิสนธิอีกชื่อว่า โคตรภู
๕. อปปฏิสนธิ์ ปกขนฺทติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ๆ ไม่มี ปฏิสนธิชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า แล่นไปสู่พระนิพพานอันไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๖. อคติ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่อคติชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า คติทั้ง ๕ ไม่มีในที่ใดที่นั่นแหละชื่อว่า อคติ ได้แก่พระนิพพานนั่นเอง
๗. อนิพฺพตฺตี ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ๆ ไม่มีขันธ์ ๕ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในที่ใดแล่นไปสู่ ที่นั่น คือ พระนิพพาน
๘. อนุปปัตติ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่อุบัติขึ้น มาอีก ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า วิบากขันธ์ที่จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน เหฏฐิมสงสาร มัชฌิมสงสาร อุปริมสงสาร ไม่มี
๙. อชาติ ปกขนที่ตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เกิดชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูปนามดับลงไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๐. อชรํ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่ชรา ชื่อว่า โคตรภู
๑๑. อพยาธิ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่มีพยาธิ ชื่อว่า โคตรภู
๑๒. อมรณํ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่ตาย ชื่อว่า โคตรภู
๑๓. อโสก ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความเศร้าโศก ชื่อว่า โคตรภู
๑๔. อปริเทวํ ปกขนฺทติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความพิไร รําพันบ่นเพ้อชื่อว่า โคตรภู
๑๕. อนุปายาสํ ปกขนฺทติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความ คับแค้นใจชื่อว่า โคตรภู
๑๖. นิโรธํ นิพพาน ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่นิโรธคือ พระนิพพานชื่อว่า โคตรภู
โคตรภู นัยที่ ๓
โคตรภูญาณ ท่านยังจําแนกลักษณะที่พึงทราบไว้อีกคือ
๑. อุปปาทา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเกิด หมายความว่า ทิ้งรูปนามที่กําลังเกิดขึ้นแล้วเข้าสู่พระนิพพาน
๒. ปวตฺตา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไป | ของรูปนามที่กําลังเกิดดับ
๓. นิมิตตา วุฏฺฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากนิมิต หมายความว่า ออกจากความเห็นผิดที่ว่ารูปนามเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน
๔. อายูหนา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากกรรมที่จะ ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ
๕. ปฏิสนธิยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ
๖. คติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากคติ หมายความ ว่า ออกจากคติที่จะต้องไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เป็นต้น มีแต่เข้าสู่ความไม่มีคติทั้ง ๕ คือ พระนิพพาน
๗. นิพฺพตฺติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความ ปรากฏของขันธ์ ๕ หมายความว่า ขันธ์ ๕ ไม่เกิด ดับไป คือ ถึงพระนิพพานนั่นเอง
๘. อุปปัตติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากอุปบัติ หมายความว่า ออกจากเหฏฐิมสงสาร มัชฌิมสงสาร อุปริมสงสาร เข้าสู่พระนิพพาน
๙. ชาติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากชาติ หมายความว่า ไม่มีเกิดเพราะถึงพระนิพพาน
๑๐. ชราย วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากชรา หมายความว่า ไม่มีความชราเพราะถึงพระนิพพาน
๑๑. พยาธิมหา วุฏฐชาติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากพยาธิ หมายความว่า ไม่มีความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ เพราะถึงพระนิพพาน
๑๒. มรณา วฎฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากมรณะ หมายความว่า เมื่อถึงโคตรภูญาณนี้แล้ว มรณะ ไม่มี เพราะถึงพระนิพพาน
๑๓. โสกา วุฏฐาติติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเศร้า โศก หมายความว่า ไม่มีความเศร้าโศก ความเศร้าโศกดับไปหมดสิ้นไม่มีเหลือ เพราะถึงพระนิพพาน
๑๔. ปริเทวา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความ ร้องไห้ บ่นเพ้อพิไรรําพัน หมายความว่า ความเสื่อมทั้ง ๕ คือ เสื่อมญาติ เสื่อมโภคะ มีโรคเบียดเบียนเป็นต้น ไม่มี
๑๕. อุปายาสา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความ คับแค้นใจ หมายความว่า ไม่มีความคับแค้นใจเนื่องมาจากความเสื่อมทั้ง ๕ เพราะ ความคับแค้นใจดับไปหมดแล้ว
๑๖. พหิทธา สังขารนิมิตตา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะ ออกจากสังขารนิมิตภายนอก หมายความว่า รูปนามภายนอกก็ไม่มี รูปนามภายในก็ ดับหมดไป ไม่มีอะไรปรากฏเหลืออยู่
โคตรภูเกิดจากสมถะ
โคตรภูธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งสมถะ มี ๘ คือ
๑. ปฐมฌาน์ ปฏิลาภตถาย นีวรรณ อภิกขุยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํานิวรณ์ ๕ เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน หมายความว่า ผู้ที่ เจริญสมถกรรมฐาน ก็มีโคตรภูเกิดขึ้นดุจผู้เจริญวิปัสสนาตามวิถีจิตเป็นดังนี้ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ คือตัดกระแสภวังค์แล้วมโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ฌาน ภวังค์
๒. ทุติยฌาน ปฏิลาภตฺถาย วิตกวิจาร อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําวิตกวิจารเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งทุติยฌาน หมายความว่าเมื่อผู้เจริญ สมถกรรมฐานได้ปฐมฌานแล้วเมื่อจะถึงทุติยฌานก็ต้องผ่านโคตรภูอีกจึงจะถึงทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย ปีติ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําปีติเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งตติยฌาน หมายความว่า เมื่อจะถึงตติยฌานก็ต้อง ผ่านโคตรภู่อีกจึงจะถึงตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน ปฏิลาภตฺถาย สุขทุกฺเข อภิภัยยาติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําสุขและทุกข์เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งจตุตถฌาน หมายความว่าเมื่อ จะถึงจตุตถฌาน ก็ต้องผ่านโคตรภูอีกจึงจะถึงจตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย รูปสัญญ์ ปฏิฆสัญญ นานๆตสญฺญ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ
๖. วิญญาณญจายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย อากาสนัญจายตน สัญญ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้ เฉพาะซึ่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
๗. อากิญจัญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย วิญญาณัญจายตนสัญญ อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้ เฉพาะซึ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย อากิญจัญญายตน สญญ์ อภิภุยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อ ให้ได้เฉพาะซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งสมถกรรมฐานมี ๘ ดังกล่าวแล้ว
โคตรภูเกิดจากวิปัสสนา
โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอํานาจวิปัสสนามี ๑๐ คือ
๑. โสดาปัตติมคฺค์ ปฏิลาภตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดเป็นไปอยู่นิมิต กรรม (ที่จะต้องให้เกิดอีก) การถือปฏิสนธิคติที่จะต้องไปเกิด ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ๕ ความเกิดขึ้นของวิบาก ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และ ครอบงําสังขารนิมิต คือรูปนามภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรค หมายความ ว่า จะได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ก็ต้องผ่านโคตรภูมาก่อน
๒. โสดาปัตติผลสมาปตฺตตฺถาย อุปปาทํ ฯเปฯ ปฏิสนธึ อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดเป็นไปอยู่นิมิตกรรม ปฏิสนธิ เพื่อต้องการโสดาปัตติผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่ได้เป็นพระโสดาบัน เวลาจะเข้า ผลสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อน จึงจะถึงผลสมาบัติได้
๓. สกทาคามิมัคค ปฏิลาภตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงําสังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งสกทาคามิมรรค หมายความว่า ผู้ที่จะได้บรรลุสกทาคามิมรรคก็ต้องผ่านโคตรภูอีกครั้งหนึ่ง สกทาคามิ มรรคจึงจะเกิดได้
๔. สกทาคามิผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยาติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อ ต้องการแก่สกทาคามิผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระสกทาคามี เวลาจะเข้าผล สมาบัติ ก็ต้องผ่าน โคตรภู่ก่อนเช่นกัน
๕. อนาคามิมคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ ปฏิสนธิ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงําสังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอนาคามิมรรค หมายความว่า ผู้ที่ได้เป็นพระสกทาคามีเวลาจะได้บรรลุอนาคามิมรรคก็ต้องผ่าน โคตรภูอนาคามิมรรคจึงจะเกิดได้
๖. อนาคามิผลสมาบัตตถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม และครอบงํา ปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่อนาคามิผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นอนาคามีจะต้องเข้า ผลสมาบัติ ก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อน จึงจะถึงผลสมาบัติได้
๗. อรหัตตมัคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้น กําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงํา สังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอรหัตตมรรค หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอนาคามี เมื่อปฏิบัติกรรมฐานต่อไปก่อนจะบรรลุอรหัตตมรรคก็ต้องผ่านโคตรอรหัตตมรรคจึงจะเกิดขึ้น
๘. อรหตุผลสมเปตตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยาติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้นกําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อ ต้องการแก่อรหัตตผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่ได้บรรลุอรหัตตมรรคอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ เมื่อจะเข้าผลสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อน จึงเข้าผลสมาบัติได้
๙. อนิมิตตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อ ว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้นกําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เวลาจะเข้าต้องการแก่อนิมิตตวิหารสมาบัติอนิมิตตวิหารสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อนจึงจะเข้าได้
๑๐. สุญญตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้นกําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม และปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่สุญญตวิหารสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เวลาจะเข้า สุญญตวิหารสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อนจึงจะเข้าได้
โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนามี ๑๐ ดังที่กล่าวแล้ว เมื่อรวม กันเข้าทั้งสมถะและวิปัสสนาจึงเป็นโคตรภู ๑๘ ประการ
โคตรภูกุลลติกะ
โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ลักษณะของ โคตรภูญาณ ตามที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกปฏิสัมภิทามรรคมีเพียงเท่านี้
โคตรภูญาณปัญญาที่ทําลายโคตรของปุถุชน แล้วเข้าสู่โคตรของพระ อริยเจ้า เป็นยอดของวิปัสสนาญาณ ไม่จัดเป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะไม่ได้ พิจารณารูปนามเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่จัดเป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะ ไม่ได้ทําให้กิเลสสิ้นไป ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นโลกียะ ญาณทัสสนวิสุทธิ์ เป็น โลกุตตระ ส่วนโคตรภูญาณอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ เป็นอัพโภหาริก คือ อยู่ในระหว่างปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์และญาณทัสสนวิสุทธิต่อกัน แต่จัดเป็น
วิปัสสนาได้เพราะตกไปในกระแสแห่งวิปัสสนา
ในขั้นต้นไม่มีกิจที่จําจักทําอะไรอย่างอื่น เพราะกิจใดที่ผู้ปฏิบัตินี้จักทํากิจ นั้นอันท่านยังวิปัสสนา มีอนุโลมญาณเป็นที่สุดให้เกิดทําเรียบร้อยแล้ว ส่วนใจของผู้ ปฏิบัติซึ่งมีอนุโลมญาณเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่แล่นไปในสังขารทั้งปวงไม่หยุดอยู่ ไม่น้อมไปไม่ข้องอยู่ ไม่ติดอยู่ไม่เกาะอยู่ ในสังขารทั้งปวง เมื่ออนุโลมญาณทั้ง ๓ ขณะนั้นกําจัดความมืดคือกิเลสอย่างหยาบ อันปกปิดอริยสัจ ๔ เป็นขั้นๆ ให้สูญสิ้นไป ตามสมควรแก่กําลังของตนแล้ว ย่อมละทิ้งสังขารคือ รูปนาม ดุจน้ําตกไปจากใบบัว ฉะนั้นโคตรภู่จึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ ปราศจากรูปนามข้ามซึ่งโคตรปุถุชน ข้ามซึ่ง ภูมิของปุถุชน ขึ้นสู่โคตรแห่งพระอริยะ ก้าวขึ้นสู่สามัญญะแห่งพระอริยะ และสู่ภูมิแห่งพระอริยะ เป็นการคํานึงฝักใฝ่จดจ่อต่ออารมณ์คือ พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ให้สําเร็จความเป็นปัจจัยแห่งมรรค
โดยใจความเมื่อ บริกรรม อุปจาระ อนุโลม ซึ่งรวมเรียกว่า อนุโลมญาณ เกิดขึ้น ๓ ขณะ กําจัดเสียซึ่งกองมืดโมหันธการ กิเลสอย่างหยาบอันปกปิดปัญญา มิให้เห็นจตุราริยสัจให้อันตรธานโดยสมควรแก่กําลังแล้ว จิตแห่งพระโยคาวจรนั้นก็ ถอยกลับหวนกลับจากสังขารธรรมทั้งปวง มิได้ข้องอยู่ในภพสังขาร ปานประหนึ่งว่า ต่อมน้ําอันกลมกลิ้งไปจากใบบัว โคตรภูญาณเมื่อกระทําพระนิพพานเป็นอารมณ์ ข่ม เสียซึ่งโคตรปุถุชนและจะให้ถึงโคตรพระอริยะคือ อริยภูมิ โคตรภูญาณนี้บังเกิดขึ้น เป็นปฐมาวัชชนะ คือแรกพิจารณาเห็นพระนิพพาน ให้สําเร็จซึ่งสภาวะเป็นปัจจัยแก่ พระอริยมรรค ด้วยอาการ ๖ คือเป็นอนัตตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย เป็นที่สุดยอดแห่งวิปัสสนา บังเกิดในที่สุดแห่ง อนุโลมญาณ อันมีอาเสวนะเนืองๆ นั้นแล
จบ โคตรภูญาณ
๑๔. มรรคญาณ
โสดาปัตติมรรคญาณ
อุปมาที่แสดงถึงอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ แม้ดําเนินไปในวิถีเดียวกัน อาวัชชนะเดียวกันแต่มีอารมณ์ต่างกัน คือ
บุรุษที่ปรารถนาจะกระโดดข้ามคูน้ํากว้างใหญ่เพื่อไปยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่ง จึงวิ่งมาโดยเร็วแล้วเหนี่ยวเชือกที่ผูกกับกิ่งไม้ หรือใช้ไม้ค้ํายันแล้วกระโดดขึ้นโน้มตัวไปยังฝั่งตรงข้าม เมื่ออยู่เหนือฝั่งแล้วจึงปล่อยเชือกหรือไม้ค้ําแล้วซวนเซตกลงบนฝั่งนั้น ต่อจากนั้นจึงค่อยๆ ทรงตัวยืนขึ้นฉันใด แม้พระโยคาวจรก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความ ปรารถนาเพื่อบรรลุถึงพระนิพพานซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับภพ ๓ โยน ๔ คติ ๕ ฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ จึงวิ่งมาเร็วด้วยญาณ มีอุทยัพพยญาณเป็นต้นแล้วเหนี่ยวเชือกคือ รูปที่ผูกติดกับกิ่งไม้คือ อัตภาพร่างกายหรือใช้ไม้ค้ํายัน มี เวทนาขันธ์ เป็นต้น อย่าง ใดอย่างหนึ่ง โดยการรําพึงของอนุโลมญาณว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา การยังไม่ละเชือก คือ รูปหรือไม้ค้ํายันคือ เวทนา เป็นต้น ด้วยอนุโลมจิต ดวงที่ ๑ หรือบริกรรมเป็นผู้มีจิตใจโน้มเอียงไปสู่พระนิพพาน ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๒ หรือ อุปจาระ ดุจบุรุษผู้โน้มเอียงโอนไปยังฝั่งข้างโน้นของคูน้ํา เป็นผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน ที่ตนจะพึงถึง ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๓ ดุจบุรุษที่กระโดดไปถึงส่วนเบื้องบนของฝั่งโน้น แล้วละอารมณ์คือ สังขารธรรม (รูปหรือนาม) ในขณะที่อนุโลมจิตดวงที่ ๓ ดับลง จิตนั้นก็จะรับพระนิพพานที่ปราศจากสังขารธรรม ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับสังขารธรรม ด้วยโคตรภูจิต แต่เพราะยังไม่มีความคุ้นเคยในพระนิพพานอารมณ์เลย จึงทําให้โคตร ภูจิตหวั่นไหวไม่มีความตั้งมั่น ดุจบุรุษโดดข้ามน้ําแล้วซวนเซ ต่อจากนั้น มรรคญาณ ก็บังเกิดขึ้นอย่างมั่นคง
อนุโลมญาณ สามารถกําจัดความมืดคือ กิเลสที่ปิดบังอริยสัจออกไปได้ แต่กระทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ไม่ได้ โคตรภูญาณ สามารถกระทําพระนิพพาน ให้เป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่สามารถกําจัดความมืดที่ปิดบังอริยสัจออกไปได้ ในการทํากิจ ของอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ มีอุปมาดังนี้
บุรุษที่ปรารถนาดูฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตร จึงออกมาในเวลากลางคืนแล้ว แหงนดูดวงจันทร์ แต่ไม่เห็นเพราะถูกเมฆบังไว้ ทันใดนั้นก็มีลมระลอกที่ ๑ พัดพา หมู่เมฆหนาๆ ออกไป ลมระลอกที่ ๒ พัดพาหมู่เมฆชนิดกลางๆ ออกไป ลมระลอกที่ ๓ พัดพาหมู่เมฆบางๆ ออกไป เมื่อท้องฟ้าปราศจากเมฆแล้วบุรุษนั้นก็เห็นดวงจันทร์ แล้วจึงรู้ฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตร ได้
อุปมา ความมืดคือ กิเลสอย่างหนา กลาง ละเอียดที่ปิดบังสัจจะไว้เปรียบ เหมือนเมฆ ๓ ชนิต อนุโลมจิต ๓ ขณะ เปรียบเหมือนลม ๓ ระลอก โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนบุรุษ พระนิพพานเปรียบเหมือนดวงจันทร์ การกําจัดความมืดคือ กิเลส ที่ปิดบังอริยสัจออกไปด้วยอนุโลมจิตดวงหนึ่งๆ เปรียบเหมือนการพัดพาเอาหมู่เมฆ ๔ ชนิดออกไป เมื่อปราศจากความมืดที่ปิดบังอริยสัจแล้ว โคตรภูญาณก็เห็นพระนิพพาน อันบริสุทธิ์เปรียบเหมือนท้องฟ้าเมื่อปราศจากหมู่เมฆ บุรุษนั้นก็เห็นดวงจันทร์อันผ่องใสได้
แม้ว่าโคตรภูญาณ สามารถเห็นพระนิพพานได้อย่างเดียว ไม่สามารถกําจัด ความมืดคือ กิเลสได้ก็ตาม แต่ท่านกล่าวว่า โคตรภูญาณนี้เป็นอาวัชชนะของมรรคคือ หันมุ่งมาสู่มรรคหรือคล้ายกับว่าให้สัญญาณนัดหมายแก่มรรคว่า “ท่านจงเกิดขึ้นอย่างนี้” แล้วตนเองก็ดับไป มรรคญาณเองก็ไม่ลืมสัญญาณที่นัดหมายกันไว้กับโคตรภูจิต จึงเกิดตามโคตรภูญาณโดยไม่มีระหว่างคั่นทันที อีกทั้งเจาะทะลุ ทุบทําลายกองโลภะ โทสะ ที่ไม่เคยทําลายมาก่อน
อนึ่ง ในการเจาะทะลุทุบทําลายนั้น มีอุปมาดังนี้ นักยิงธนูคนหนึ่งตั้ง แผ่นกระดานแก่นไม้สนซ้อนกัน ๑๐๐ แผ่น ห่างออกไป ๔ ศอกเอาผ้าปิดตัวเองขึ้น สายยืนอยู่บนกระดานหมุนให้เพื่อนหมุนกระดานนั้น เมื่อใดที่แผ่นกระดานที่ซ้อนมา อยู่ตรงหน้านักยิงธนู เมื่อนั้นเพื่อนของเขาจะให้สัญญาณด้วยการเคาะไม้ นักยิงธนูเมื่อ ได้ยินสัญญาณ ก็ยิงธนูไปเจาะทะลุกระดาน ๑๐๐ แผ่นทันที
อุปมา โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนสัญญาณเคาะไม้ มรรคญาณ เปรียบเหมือน นักยิงธนู การที่มรรคญาณไม่ลืมสัญญาณที่โคตรภูญาณให้ไว้แล้วทํานิพพานเป็น อารมณ์ เจาะทะลุทุบทําลายกองโลภะ โทสะ โมหะ ที่ไม่เคยทําลายมาก่อน เปรียบ เหมือนนักยิงธนูที่ไม่ลืมสัญญาณเคาะไม้แล้วยิงธนูทะลุไม้กระดาน ๑๐๐ แผ่นในทันที
อานิสงส์ของโสดาปัตติมรรค มิใช่แต่ทําการเจาะทะลุกองกิเลสเพียงอย่างเดียว เท่านั้นแต่ทํามหาสมุทรแห่งความทุกข์ในสังสารวัฏซึ่งไม่มีใครรู้ที่สุดและเบื้อง ต้นให้เหือดแห้งไปด้วย ปิดประตูอบายทั้งปวงทําให้เป็นผู้มีอริยทรัพย์ ๗ ประการสมบูรณ์ สลัดทิ้งในทางดําเนินผิด ๘ ประการเสียได้ ทําเวรภัยทุกอย่างให้สงบลง นําให้เข้าถึง ความเป็นบุตรอันเกิดจากพระอุระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นไปเพื่ออานิสงส์อื่นๆ อีกนานัปการ
สกทาคามิมรรคญาณ
เมื่อพระโสดาบันสํารวจทบทวนดู มรรค ผล นิพพาน และกิเลส ด้วย ปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิมหรือในโอกาสต่อมาแล้วทําความเพียรในวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุสกทาคามิมรรคญาณ เพื่อทํากามราคะให้เบาบาง และละพยาบาทอย่างหยาบ ท่านจึงรวบรวมอินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ทําให้ สม่ําเสมอกัน แล้วพิจารณาสังขารธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วย ปัญญาที่กําหนดว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถี ของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระโสดาบันปฏิบัติเช่นนี้แล้วอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ ก็จะบังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปกขาญาณ และสกทาคามิมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ
อนาคามิมรรคญาณ
เมื่อพระสกทาคามีสํารวจทบทวนดูมรรค ผล นิพพาน และกิเลสด้วย ปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิม หรือในโอกาสต่อมาทําความเพียร ในวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุอนาคามิมรรคญาณ เพื่อละสังโญชน์เบื้องต่ําอีก ๒ คือ กามราคะและพยาบาทอย่างละเอียดโดยไม่เหลือ ท่านจึงเจริญอินทรีย์พละและโพชฌงค์ ทําให้สม่ําเสมอกัน แล้วพิจารณาสังขารธรรมด้วยปัญญาที่กําหนดว่า “ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา” ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถีของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระสกทา คามี ปฏิบัติเช่นนี้แล้วอนุโลมญาณและโคตรภูญาณก็จะบังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปก ขาญาณ และอนาคามิมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ
อรหัตตมรรคญาณ
เมื่อพระอนาคามีสํารวจทบทวนดูมรรค ผล นิพพาน และกิเลส ด้วย ปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิมหรือในโอกาสต่อมา แล้วทําความ เพียรในวิปัสสนายิ่งขึ้น เพื่อบรรลุอรหัตตมรรคญาณ เพื่อละสัญโญชน์เบื้องบนอีก ๕ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ โดยไม่มีเหลือ ท่านจึง เจริญอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ทําให้สม่ําเสมอ แล้วพิจารณาสังขารด้วยปัญญา ที่กําหนดว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถีของ วิปัสสนาญาณ เมื่อพระอนาคามีปฏิบัติเช่นนี้แล้ว อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ ก็จะ บังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปกขาญาณ และอรหัตตมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ
มรรคญาณมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นฝ่ายโลกุตตระ เห็นอริยสัจ ๔ ชัดแจ้ง เปรียบเหมือนคุณสมบัติของดวงไฟทํากิจ ๔ อย่างในขณะเดียวกัน คือ
๑. ทําให้ไส้ไหม้
๒. ขจัดความมืด
๓. เกิดแสงสว่าง
๔. ทําให้น้ํามันหมดไป
มรรคญาณ เมื่อเสวยอารมณ์นิพพานก็ต้องเห็นนิโรธ เมื่อเห็นนิโรธเป็นจุด สุดยอดก็ต้องเห็นอีก ๓ อริยสัจคือ ทุกข์ สมุทัย มรรค พร้อมกันทีเดียว ในวิสุทธิมรรค จึงแสดงว่า (นิโรธ) ปฏิวิชฺฌตีติ เอเตน นิโรธสจฺจเมก อารมฺมณปฏิเวเธน จตฺตาร์ สัจจาน อสมโมหปฏิเวเธน มคฺคญาณ์ ปฏิวิชฺฌติ ฯ
มรรคญาณ ย่อมแทงตลอดนิโรธสัจจะหนึ่งด้วยอารัมมณปฏิเวธ ด้วยคําว่า ปฏิวิชฺฌติ นี้ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยอสัมโมหปฏิเวธ
จบ มรรคญาณ
๑๕. ผลญาณ
โสดาปัตติผลญาณ
ในลําดับต่อจากปฐมมรรคคือ โสดาปัตติมรรคจิตดับลงแล้ว ผลจิตที่เป็น วิบากของมรรคจิต ได้แก่ โสดาปัตติผลจิตหรือโสดาปัตติผลญาณก็เกิดขึ้น ๒ หรือ ๓ ขณะ ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มรรคจิตนี้เป็นอานันตริกสมาธิคือ มัคคสมาธิซึ่งให้ อริยผลเกิดทันทีเพราะว่าโลกุตตรกุศลทั้งหลาย มีวิบากเกิดสืบเนื่องเป็นผลอยู่โดยแน่นอนเสมอ
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผลจิตนี้เกิดขึ้น ๑, ๒, ๓ หรือ ๔ ขณะ คํากล่าว ของอาจารย์ที่ว่าเกิดขึ้น ๑ หรือ ๔ ขณะนั้นไม่ควรถือเอาเพราะว่าโคตรภูญาณ ย่อม เกิดขึ้นในที่สุดแห่งอาเสวนปัจจัยของอนุโลมญาณเหตุนั้น โดยการกําหนดอย่างต่ําที่สุด อนุโลมญาณต้องเกิด ๒ ขณะ (อุปจาร, อนุโลม) เพราะขณะเดียวย่อมไม่ได้อาเสวน ปัจจัย และในอาวัชชนจิตของวิถีหนึ่งๆ ย่อมมีชวนจิต ๗ ขณะเป็นอย่างมาก ถ้าญาณ ใดมีอนุโลม ๒ ขณะชวนะขณะที่ ๓ ของญาณนั้นเป็นโคตรภู ชวนะขณะที่ ๔ เป็น มรรคจิต และชวนะอีก ๓ ขณะเป็นผลจิต (รวมเป็น ๗ ขณะ) ถ้าญาณใดมีอนุโลม ๓ ขณะ (บริกรรม, อุปจาร, อนุโลม) ชวนะขณะที่ ๔ ของญาณนั้นเป็นโคตรภู ชวนะ ขณะที่ ๕ เป็นมรรคจิต และชวนะอีก ๒ ขณะ เป็นผลจิต (รวมเป็น ๗ ขณะ) เพราะ เหตุนั้น ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงกล่าวว่า เทว ติณ วา ผลจิตตานี อุปฺปชฺชนฺติ ผลจิต ๒ หรือ ๓ ขณะย่อมเกิดขึ้น
ส่วนญาณใดมีอนุโลม ๔ ขณะ ชวนะขณะที่ ๕ ของญาณนั้นเป็นโคตรภู ชวนะขณะที่ ๖ เป็นมรรคจิต ชวนะอีก ๑ ขณะเป็นผลจิต (รวมเป็น ๒ ขณะเช่นเดียว กัน) คํานั้น ก็ไม่ควรเชื่อถือโดยความเป็นสาระเพราะค้านได้ว่า ชวนะขณะที่ ๔ หรือที่ ๕ ย่อมเป็นอัปปนาชวนะคือมรรคญาณ ไม่มากยิ่งไปกว่านี้เพราะใกล้กันกับภวังค์
อนึ่ง ผลชวนะทั้ง ๔ ดวงนั้น เป็นอาเสวนปัจจัยและเป็นอาเสวนปัจจยุปบัน ไม่ได้เพราะในปัฏฐานแสดงว่าธรรมที่เป็นอาเสวนปัจจัยนั้น ต้องเป็นชวนจิตชาติเดียว กัน กล่าวคือ กุศลชวนะเป็นปัจจัยแก่กุศลชวนะ, อกุศลชวนะเป็นปัจจัยแก่อกุศล ชวนะ, กิริยาชวนะเป็นปัจจัยแก่กิริยาชวนะ ด้วยอํานาจอาเสวนปัจจัย แต่เมื่อว่าโดยภูมิ แล้ว เป็นจิตต่างภูมิกันได้เช่น ติเหตุกกามกุศลชวนะ (กามภูมิ) เป็นอาเสวนปัจจัยแก่ มหัคคตกุศลชวนะ (รูปภูมิ, อรูปภูมิ) หรือเป็นอาเสวนปัจจัยแก่โลกุตตรกุศลชวนะ (โลกุตตรภูมิ) ด้วยเหตุนี้ ผลจิต ๒ หรือ ๓ ขณะ ที่อยู่ในมรรควิถีนั้น จึงเป็นอาเสวน ปัจจัย และเป็นอาเสวนปัจจยุปบันไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นจิตชาติเดียวกันกับกุศลชาติ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อโยคีท่านนี้เป็นพระอริยบุคคลที่ ๒ ชื่อว่า พระโสดาบันแล้วท่านยังเป็น ผู้ประมาทอยู่ ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไปในมนุษยโลกและเทวโลกทั้งหลายอีก ๓ ครั้ง แล้วก็จะเป็นผู้ที่สามารถทําที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ การที่จะประหาณกิเลสตัณหาอันมี ฤทธิ์ร้ายมีอยู่วิธีเดียวคือ การบําเพ็ญวิปัสสนาจนบรรลุถึงโลกุตตรภูมิ ด้วยการสามารถ ประหาณกิเลสตัณหาได้อย่างเด็ดขาดเป็นขั้นๆ ไป อันกิเลสตัณหานั้นมีอยู่ไม่ใช่น้อย ดังที่กล่าวว่ากิเลสมีถึง ๑๕๐๐ และตัณหามีถึง ๑๐๘ แต่เพื่อความเข้าใจได้ง่ายขึ้นจึง ประมวลเอากิเลสตัณหาเหล่านั้นลงไว้ในกิเลสซึ่งเป็นหลักใหญ่ ๑๐ อย่าง
๑. ทิฏฐิกิเลส
๒. วิจิกิจฉากิเลส
๓. โลภกิเลส
๔. โทสกิเลส
๕. โมหกิเลส
๖. มานกิเลส
๗. ถีนกิเลส
๘. อุทธัจจกิเลส
๙. อหิริกกิเลส
๑๐. อโนตตัปปกิเลส
ต่อไปจะกล่าวถึงโลกุตตรภูมิทําการประหาณกิเลส ๑๐ โดยลําดับ ผู้ที่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาจนได้บรรลุถึงโลกุตตรภูมิอันดับแรกสําเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล ด้วยอํานาจแห่งโลกุตตรภูมิชั้นนี้ย่อมทําให้สามารถละกิเลสได้ ๒ อย่าง
๑. ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕ เข้าไปยึดมั่น ถือมั่นว่าปัญจขันธ์นี้เป็นของแห่งตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล, เรา, เขา เช่น ในการยืน เดิน นั่ง นอน ก็เข้าใจว่าตนเป็นผู้ยืน เดิน นั่ง นอน ความเข้าใจผิดเช่นนี้ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อันเป็นความเห็นผิดที่ทําให้ติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏสงสาร เรื่องสักกายทิฏฐินี้ พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาแก่พระภิกษุทั้งหลาย ในสังยุตตนิกายพระบาลีว่า
สตฺติยา วิย โอมฏฺโฐ ฑยุหมาโน ว มตฺถเก
สกุกายทิฏฐิปหานาย สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช ฯ
ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร รู้สึกตนประหนึ่งถูกสาตราวุธอันมีคมทิ่มแทงอยู่ หรือดุจถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ พึงเป็นผู้มีสติไม่ประมาทอยู่เถิด เพื่อจะได้กําจัด เสียซึ่งสักกายทิฏฐิ ฉะนั้น
๒. วิจิกิจฉากิเลส ได้แก่ ธรรมชาติที่ทําให้ตัดสินใจลําบาก คือสงสัยใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า :- กิเลเสสุ ทิฏฐิวิจิกิจฉา ปฐมฌาณวชฌา ฯ
บรรดากิเลสทั้งหลาย ทิฏฐิกิเลสและวิจิกิจฉากิเลสทั้ง ๒ นี้ มรรคญาณที่ ๑ คือ โสดาปัตติมรรคญาณประหาณได้โดยเด็ดขาด
ถึงแม้พระโสดาบันบุคคลสามารถประหาณกิเลสอันเป็นเหตุให้วนเวียนอยู่ ในสังสารวัฏได้เพียง ๒ ตัวก็จริง ถึงกระนั้นท่านก็ตัดสังสารวัฏลงได้มากทีเดียว เพราะ พระโสดาบันนั้นจักเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ ตามประเภทแห่งพระโสดาบัน ๓ ประเภท คือ
๑. เอกฟิชโสดาบัน มีวงนัตถะว่า :- เอก พีช อสสาติ เอกพีช พระ โสดาบันที่จะปฏิสนธิต่อไปข้างหน้าอีกชาติเดียวก็จะได้บรรลุถึงอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า เอกพีซีโสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่ สร้างบารมีมาแก่กล้า โดยมีจิตสันดานมากไปด้วยปัญญาเจริญสมถภาวนามาน้อย
๒. โกลังโกลโสดาบัน มีวงนัตถะว่า กุลโต กุล คนตีติ โกโกโล ฯ พระโสดาบันที่จะต้องปฏิสนธิต่อไปอีกตั้งแต่ ๒ ชาติถึง ๖ ชาติเป็นอย่างมาก ก็จะบรรลุอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า โกลังโกล โสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่สร้างบารมีมาอย่างปานกลาง โดยมีจิตสันดานประกอบ ด้วยปัญญาและสมาธิเท่าๆ กัน เจริญวิปัสสนาภาวนาและสมถภาวนาพอๆ กัน พระ โสดาบันประเภทนี้ในคัมภีร์ บุคคลบัญญัติอรรถกถากล่าวไว้ว่า
เทสนมตฺตเมว เจต์ เทว วา ที่ณิ วาติ ยาว ฉฏฐภวา สรนโตปี โกล์โกโลว โหติ ฯ
การที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ว่า ๒ ชาติก็ดี ๓ ชาติก็ดี เป็นการเทศนา โดยสํานวนโวหารเท่านั้นเอง แต่พระอรรถกถาจารย์ได้แก้ไว้ว่า ความจริง บุคคล ประเภทนี้จะท่องเที่ยวจากตระกูลหนึ่งไปสู่ตระกูลหนึ่ง นับตั้งแต่ ๒ ชาติจนถึง ๖ ชาติ ก็จะได้บรรลุอรหัตตผล
๓. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน มีวงนัตถะว่า :- สตฺตกฺขตตุปรม อสสาติ สต ตกฺขต ปรโม ฯ พระโสดาบันที่จะปฏิสนธิในมนุษยภูมิและเทวภูมิอีกเพียง ๗ ชาติ ที่ จะบรรลุอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า สัตตักขัตตุ ปรมโสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่สร้างบารมีมาอย่างอ่อน โดยมีจิตสันดานประกอบ ด้วยสมาธิมากแต่ปัญญาน้อย เคยเจริญสมถภาวนามากแต่เจริญวิปัสสนาน้อย
อีกนัยหนึ่ง พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะเจริญวิปัสสนาโดยกําลังแรงกล้า เช่นนี้เป็น เอกพีชีโสดาบัน
พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะ เจริญวิปัสสนาโดยกําลังอย่างปานกลาง เช่นนี้เป็น โกลังโกลโสดาบัน
พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะ เจริญวิปัสสนาโดยกําลังอย่างอ่อน เช่นนี้เป็น สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
อีกนัยหนึ่ง อุคฆฏิตัญญูบุคคล เรียกว่า เอกพีชีโสดาบัน วิปัญจิตัญญูบุคคล เรียกว่า โกลังโกลโสดาบัน เนยบุคคล เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
สกทาคามิผลญาณ
เมื่อสกทาคามิมรรคจิตดับลง สกทาคามิผลจิตหรือสกทาคามิผลญาณ บังเกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ทํานองเดียวกันกับโสดาปัตติมรรคญาณและโสดาปัตติผลญาณ การบังเกิดขึ้นของสกทาคามิผลญาณ ทําให้เป็นพระอริยบุคคล มี นามว่า พระสกทาคามี ซึ่งท่านจะกลับมาถือปฏิสนธิในโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และท่านสามารถทําที่สุดแห่งกองทุกข์ได้
พระโสดาบันบรรลุถึงสกทาคามิมรรคญาณ สกทาคามิผลญาณแล้ว ชื่อว่า สกทาคามีบุคคล เพราะทําราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง (ตนุกรปทาน) จะมาสู่ โลกนี้เพียงชาติเดียวเท่านั้น ดังมีวจนัตถะว่า :- สกี อิม กามธาตุ อาคจนตีติ สกทาคามี
บุคคลที่มาปฏิสนธิในกามธาตุอีกครั้งเดียวชื่อว่า สกทาคามีบุคคล
ผู้ที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาผ่านโสดาบันโลกุตตรภูมิมาแล้ว ปรารถนาจะได้ บรรลุมรรค ผลที่สูงขึ้นไป จึงเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งๆ ขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ เสมอกันเป็นอันดี โดยที่มีวาสนาบารมีอันตนได้เคยสร้างสมอบรมมาเพียงพอ สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นตามลําดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไปจนถึงสังขารุ เปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฏชัดเจนละเอียดกว่าที่ตนเคยผ่านมาแล้วในชั้น โสดาบันโลกุตตรภูมิ ต่อจากนั้นอนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้นตามติดมาด้วยโวทาน โวทาน นี้แทนโคตรภูญาณ เพราะท่านผู้นี้เป็นพระอริยบุคคลแล้วไม่ใช่ปุถุชน เพราะฉะนั้น ญาณที่ตัดโคตรปุถุชนคือ โคตรภูญาณจึงไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นอีก ครั้นแล้วทุติยมรรค คือ สกทาคามิมรรคญาณก็เกิดขึ้นตามติดด้วยสกทาคามิผลญาณ มีถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์อีกครั้งหนึ่ง
สกทาคามิมรรคนี้ ไม่ได้ตัดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งให้ขาดออกจากขันธ สันดานอย่างเด็ดขาด แต่ถึงกระนั้นก็มีอํานาจทําให้กิเลสทั้งหลายเป็น ตนุกระ คือ ทําให้เบาบางลงกว่าโสดาปัตติมรรค
พระสกทาคามีนี้ นอกจากจะมีกิเลสเบาบางกว่าพระโสดาบันและสามารถ ที่จะเข้าสกทาคามิผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามจิตปรารถนาพระสกทาคามีมี ๕ จําพวก คือ
๑. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพฤติตวา อิธ ปรินิพพาย ๆ พระสกทาคามีบางจําพวกสําเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทพเจ้า ณ เทวโลก เมื่อจุติจากเทวโลกกลับมาเกิดในมนุษยโลกนี้อีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง
๒. อิธ ปตวา อิธ ปรินิพพาย ๆ พระสกทาคามีบางจําพวกสําเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว กระทําความเพียรเจริญวิปัสสนาไปอย่างไม่หยุดยั้งจนกระทั่งได้บรรลุอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง
๓. อิธ ปตวา ตตฺถ ปรินิพพาย ฯ พระสกทาคามีบางจําพวกเป็นพระสก ทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทพเจ้า ณ เทวโลกแล้วก็ได้สําเร็จเป็น อรหันต์และดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลกนั่นเอง
๔. ตตฺถ ปสฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ฯ พระสกทาคามีบางจําพวกเป็นเทพเจ้า สําเร็จเป็นพระสกทาคามี ณ เทวโลกแล้ว ได้บรรลุอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลกนั่นเอง
๕. ตตฺถ ปตวา อิธ ปรินิพฺพาย ๆ พระสกทาคามีบางจําพวกเป็นเทพเจ้า สําเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล ณ เทวโลกแล้ว จุติมาอุบัติบังเกิดในมนุษยโลกนี้แล้ว ได้บรรลุพระอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง นัยโดยอ้อม
พระสกทาคามีประเภทที่ ๑ นี้เป็นนัยโดยตรง ส่วนประเภทอื่นนอกนั้นเป็น
อนาคามิผลญาณ
เมื่ออนาคามิมรรคจิตดับลง อนาคามิผลจิตหรืออนาคามิผลญาณก็บังเกิด ขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ทํานองเดียวกันกับสกทาคามีมรรคญาณและสกทา คามิผลญาณและการบังเกิดของอนาคามิผลญาณนี้ พระอริยบุคคลนั้น มีนามว่าพระ อนาคามี การพิจารณามรรค ผล นิพพาน และกิเลสของพระอนาคามีด้วยปัจจเวกขณญาณ มีดังต่อไปนี้
เมื่ออนาคามิมรรคญาณ และอนาคามิผลญาณเกิด พระอริยบุคคลนั้นได้ชื่อ ว่า อนาคามีบุคคล จะไม่กลับมาเกิดยงกามภูมิอีก เพราะได้ประหาณกามราคะ, พยาบาทหมดแล้ว ดังมีวจนัตถะว่า :- อิม กามธาตุ น อาคารที่ติ อนาคามีฯ บุคคล ใดจะไม่กลับมาปฏิสนธิในกามภูมิ เพราะฉะนั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า พระอนาคามี โลกุตตรมรรคอันดับที่ ๓ มีชื่อว่า อนาคามีโลกุตตระ
ผู้ต้องการบรรลุอนาคามี มีความปรารถนาที่จะบรรลุมรรค, ผล จึงอุตสาหะ เจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ เสมอกันเป็นอันดี โดยที่วาสนาบารมีอันตนได้เคยสั่งสมอบรมมาเพียงพอ สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นตามลําดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฏ ชัดเจนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่ตนได้เคยผ่านมาในโลกุตตรภูมิก่อนๆ ต่อจากนั้น อนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้น ตามติดมาด้วย โวทาน ครั้นแล้ว อนาคามิมรรคญาณ ก็เกิด ขึ้น ซึ่งทําการประหาณกิเลสได้อย่างเด็ดขาดได้อีกส่วนหนึ่ง เมื่ออนาคามิมรรคบังเกิด ขื่น อนาคามิผล ก็จะเกิดตามติดมา
ผู้ที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนได้บรรลุอนาคามิมรรค สําเร็จเป็นพระอนาคามี สามารถฆ่ากิเลส ที่ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารได้อีก ๑ คือ โทสกิเลส และ โทสกิเลสในที่นี้แบ่งออกเป็น ๒ คือ
๑. โทสะที่เป็นอปายคมนียะ คือนําไปสู่อบายภูมิได้ เพราะความโกรธที่ ดุร้าย สามารถทําอกุศลกรรมบถ มีปาณาติบาตเป็นต้น โทสะชนิดนี้พระโสดาบันละได้แล้ว
๒. โทสะที่ไม่เป็นอปายคมนียะ คือนําไปสู่อบายไม่ได้ ได้แก่ความขัดใจ โกรธเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงกับล่วงอกุศลกรรมบถ โทสะที่สุขุมคืออย่างประณีตนั้น พระอนาคามีเท่านั้นจึงละได้อย่างเด็ดขาด อนาคามิมรรคจึงประหาณโทสกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉท ดังนั้นในวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า
โทโส ตติยฌาณวิชโฌ โทสกิเลสนั้น ญาณที่ ๓ คือ อนาคามีมรรคญาณ ประหาณได้อย่างเด็ดขาด
พระอนาคามีนี้นอกจากจะตัดโทสกิเลสให้ขาดออกไปจากจิตสันดานอย่าง เด็ดขาด และสามารถเข้าอนาคามิผลสมาบัติได้ดังปรารถนา และท่านย่อมไปบังเกิดใน
พรหมโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่ไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ และจะได้สําเร็จเป็น พระอรหันต์ ดับขันธปรินิพพาน ณ ที่นั้น
ในกรณีนี้ถ้าจะมีปัญหาว่า การที่จะไปเกิดในพรหมโลกได้นั้น จะต้องปฏิสนธิ ด้วยฌานวิบากอันเป็นผลแห่งญานกุศล สําหรับพระอนาคามีที่เป็นฌานลาภีเคยบําเพ็ญ สมถภาวนาได้สําเร็จฌานมาก่อนก็ไม่มีปัญหา แต่พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกบําเพ็ญ วิปัสสนาภาวนาอย่างเดียวล้วนๆ ไม่เคยบําเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย จะไปบังเกิดใน พรหมโลกได้หรือ ตอบว่า พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกนี้เมื่อใกล้จะจุติ มรรคสิทธิฌาน ย่อมบังเกิดขึ้น อันเป็นปัจจัยให้ท่านไปเกิดในพรหมโลก ถึงแม้ว่าท่านจะจุติลงโดยไม่ทันรู้ตัว เช่นขณะที่กําลังนอนหลับอยู่ก็ดี มรรคสิทธิญาณก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นแก่ ท่านก่อนแล้วจึงจุติ ตราบใดที่มรรคสิทธิฌานยังไม่เกิดขึ้น พระอนาคามีจะไม่จุติ
พระอนาคามี ๕
ได้กล่าวแล้วว่า พระอนาคามีบุคคลส่วนใหญ่จะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิ ทั้ง ๕ นอกจากบางองค์ไปปฏิสนธิในพรหมภูมิที่ต่ํากว่าแล้วแต่ใจปรารถนา และการ
ที่ท่านจะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิชั้นใดนั้น ก็สุดแท้แต่บารมีแห่งตนที่เคยบําเพ็ญมาตามประเภทแห่งอินทรีย์ ๕ คือ
๑. พระสกทาคามีผู้บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนตติยมรรคบังเกิดในขันธ สันดานของตนนั้น ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี สัทธินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อวิหาภูมิ
๒. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี วิริยินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อตัปปาภูมิ
๓. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี สตินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน สุทัสสาภูมิ
๔. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี สมาธินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน สุทัสสีภูมิ
๕. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี ปัญญินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อกนิฏฐาภูมิ
อรหัตตผลญาณ
เมื่ออรหัตตมรรคจิตดับลง อรหัตตผลจิตหรืออรหัตตผลญาณก็บังเกิดขึ้น ติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างกัน ทํานองเดียวกันกับอนาคามิมรรคญาณและอนาคามิผล ญาณและด้วยการบังเกิดขึ้นของอรหัตตผลญาณ พระอริยบุคคลนั้นมีนามว่า พระอรหันต์ หรือพระมหาขีณาสพ ผู้มีร่างกายนี้เป็นวาระสุดท้าย เป็นผู้ปลงภาระลงได้แล้ว เป็นผู้ บรรลุถึงความต้องการของตนเอง เป็นผู้หมดสิ้นสัญโญชน์ในภพ เป็นผู้พ้นจากกองทุกข์ ด้วยความรู้อันชอบแล้วเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นสุดยอดของมนุษยโลกและเทวโลก
ผู้ที่จะบรรลุถึงโลกุตตรภูมิชั้นสูงสุดได้นี้ต้องเป็นผู้ที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนา ผ่านอนาคามีโลกุตตรภูมิมาแล้ว และมีใจปรารถนาที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลอัน สูงสุด จึงมีอุตสาหะเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ ได้เสมอกันเป็น อันดี โดยที่มีวาสนาบารมีอันตนได้สร้างสมอบรมมาจนบริบูรณ์แล้ว สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณขั้นสูงก็จะเกิดขึ้นตามลําดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นจนถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฏละเอียดชัดเจนเป็นที่สุดต่อจากนั้น อนุโลม ญาณ ก็จะเกิดขึ้น ตามติดมาด้วย โวทาน และวาระอันสําคัญที่สุดคือ จตุตถมรรค หรือ อรหัตตมรรคญาณ ก็จะพลันอุบัติขึ้นทําการประหาณกิเลสทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ใน ขันธสันดานให้หมดไปโดยสิ้นเชิงต่อจากนั้น อรหัตตผลญาณ ก็จะเกิดขึ้นติดตามมา ได้สําเร็จเป็นพระขีณาสพเจ้าผู้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง กิเลสธุลีแม้แต่เพียง ยองใยก็ไม่มีเหลือติดอยู่ในขันธสันดานอีกเลย
ผลแห่งจตุตถมรรค
ผู้บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนามีปัญญาบารมีเต็มเปี่ยม ได้บรรลุจตุตถมรรคสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมมีโอกาสได้รับผลแห่งจตุตถมรรคอันสามารถประหาณกิเลสที่ยัง เหลืออยู่ในขันธสันดานอีก ๒ ประการ ให้หมดสิ้นไปได้อย่างเด็ดขาดดังต่อไปนี้
๑. โลภกิเลส ได้แก่ รูปราคะ ความยินดีพอใจใน รูปภพ รูปฌาน มี ความพอใจในการทําความเพียรเจริญสมถภาวนาเพื่อให้ได้บรรลุรูปฌาน และความยินดี พอใจในการไปเกิดเป็นรูปพรหม ความยินดีพอใจในสภาวะดังกล่าวมานี้ พระอรหันต์ ละได้โดยเด็ดขาด อรูปราคะ ความยินดีพอใจในอรูปภพ อรูปฌาน มีความยินดีพอใจ ในการบําเพ็ญสมถภาวนาเพื่อให้ได้บรรลุอรูปฌาน และความยินดีพอใจในการไปเกิด เป็นอรูปพรหม ความยินดีพอใจในสภาวะดังกล่าวนี้ เป็นโลภกิเลสที่ละเอียดที่สุด พระอรหันต์ประหาณได้โดยเด็ดขาด ส่วนกามราคะนั้น พระอนาคามีประหาณเป็นสมุจเฉทแล้ว
๒. มานกิเลส ได้แก่ ความถือตัว ที่จัดเป็นกิเลส เพราะเมื่อว่าตามสภาวะ ย่อมเป็นการปฏิบัติผิด โดยยึดเอารูปนาม คือขันธ์ ๕ มาเป็นเราเป็นเขา ซึ่งเป็นเหตุให้ ติดอยู่ในวัฏทุกข์ประการหนึ่ง มานกิเลสนี้แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ได้ ๒ อย่าง คือ
ก. อยาถาวมานะ ความถือตัวไม่เป็นไปตามความเป็นจริง ได้แก่
ตนเป็นคนชั้นสูง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง
ตนเป็นคนชั้นสูง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ํา
ตนเป็นคนชั้นกลาง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
ตนเป็นคนชั้นกลาง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ํา
ตนเป็นคนชันต่ำ แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
ตนเป็นคนชั้นต่ำ แต่ถือว่าตนเป็นคนชินกลาง
อยาถาวมานะทั้ง ๖ ประการนี้ พระโสดาบันละได้เด็ดขาดแล้ว เพราะเป็นกิเลสที่หยาบมาก
ข. ยาถาวมานะ ความถือตัวเป็นไปตามความเป็นจริง ได้แก่
ตนเป็นคนชั้นสูง ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
ตนเป็นคนชั้นกลาง ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง
ตนเป็นคนชั้นต่ำ ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ
ยาถาวมานะทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นกิเลสที่ประณีตกว่าอยาถาวมานะ แม้ แต่พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็ยังไม่สามารถประหาณให้เด็ดขาด เป็นเพียงทําให้เบาบางลงเท่านั้น เมื่อได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์จึงสามารถประหาณกิเลสนี้ให้หมดสิ้น ได้อย่างเด็ดขาด
๓. อุทธัจจกิเลส ได้แก่ สภาพที่มีจิตฟุ้งซ่านจับอารมณ์ไม่แน่นอน หรือ สภาพที่ไม่สามารถตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวได้นานๆ อุทธัจจะอันเป็นอกุศลชาติซึ่งเป็น เครื่องปิดกั้นความดีไม่ให้เกิดขึ้นนี้ พระอรหันต์เท่านั้นจึงสามารถประหาณได้เด็ดขาด
๔. ถินกิเลส ได้แก่ กิเลสที่ทําให้จิตง่วงเหงาท้อถอย ถิ่นกิเลสนี้ย่อมมีอยู่ ประจําในขันธสันดานของปุถุชนและพระเสกขบุคคล เมื่อได้บรรลุพระอรหันต์แล้วจึง สามารถประหาณถิ่นกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ การที่พระอรหันต์ทั้งหลายยังมีการพักผ่อน หลับนอนอยู่นั้น หาใช่เป็นไปโดยอํานาจในกิเลสไม่ ที่แท้เป็นเพราะร่างกายของท่านได้ ปฏิบัติหน้าที่ระยะหนึ่งแล้ว ย่อมมีการอ่อนเพลียหมดกําลังลง จิตก็ตกภวังค์ไปเฉยๆ ตามธรรมดาอุปาทินนกสังขารจะต้องมีการพักผ่อนเหมือนคนทั่วไป สรุปว่า ถิ่นกิเลส นี้ย่อมเกิดได้แก่ปุถุชนและพระเสกขะ และเกิดขึ้นในจิตที่เป็นสสังขาริกคือ ขณะที่จิต รับอารมณ์ไม่เข้มแข็ง เช่นขณะที่ง่วงจวนจะหลับหรือขณะที่แรกตื่นนอนไม่ใช่ในเวลา หลับ เพราะในเวลาหลับนั้นจิตลงสู่ภวังค์ ซึ่งถิ่นกิเลสไม่อาจเกิดร่วมด้วยได้
๕. อหิริกกิเลส ได้แก่ สภาพที่ไม่ละอายต่ออกุศลทุจริต กิเลสชนิดนี้เป็นที่ รังเกียจของบัณฑิตทั้งหลาย ในคัมภีร์อัฏฐสาลินีกล่าวไว้ว่า ก้อนเหล็กที่แปดเปื้อนไป ด้วยอุจจาระคนที่ฉลาดย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้อง เพราะน่ารังเกียจสะอิดสะเอียน อกุศลทุจริตก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้อง เพราะมีใจหยั่งลงสู่ลัชชีธรรม คือความละอายแก่ใจในการที่จะแตะต้องอกุศลทุจริตอันเป็นบาป เป็นความชั่วนั้น
ถามว่า พระอรหันต์เท่านั้นเป็นผู้สามารถละอหิริกกิเลสนี้ได้หมดสิ้น ถ้า เช่นนั้นพระเสกขะทั้งหลายก็ยังมีความยินดีพอใจในการประพฤติอกุศลทุจริตอยู่อีกหรือ แก้ว่าพระเสกขทั้งหลายมิได้มีความยินดีพอใจในอกุศลทุจริตเหมือนปุถุชน แท้จริงโดย อํานาจแห่งอริยมรรคที่เกิดขึ้นได้ประหาณกิเลสนี้เป็นขั้นๆ มาแล้ว คือ พระโสดาบัน สามารถประหาณอริริกกิเลสในส่วนที่เป็นอปายคมนียะ พระสกทาคามีสามารถ ประหาณอาริกกิเลสในส่วนที่เป็นโอฬาริกะทั้งหมด โดยทําให้เบาบางจากขันธสันดาน
ได้ พระอนาคามีสามารถประหาณอหิริกกิเลสในส่วนที่สุขุมละเอียดที่เกี่ยวกับกามราคะ ส่วนพระอรหันต์ย่อมสามารถประหาณกิเลสนี้ไม่ให้มีเหลือในขันธสันดานอีกเลย
๖. อโนตตัปปกิเลส ได้แก่ สภาพที่ไม่เกรงกลัวต่ออกุศลทุจริตซึ่งเป็นเหตุ ให้ต้องได้รับทุกข์ในวัฏสงสาร ขึ้นชื่อว่าอกุศลทุจริตนั้นบัณฑิตทั้งหลายย่อมมีความ เกรงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ให้ผลเป็นทุกข์แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างมาก ในคัมภีร์อัฏฐสาลินีกล่าวไว้ว่า ก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผาลูกแดงโชน คนฉลาดย่อมไม่ ปรารถนาที่จะแตะต้องเพราะเกรงกลัวความร้อนที่ก้อนเหล็กนั้น ซึ่งถ้าแตะต้องเข้าแล้ว ย่อมจะได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัส อกุศลทุจริตก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายย่อม ไม่ปรารถนาที่จะแตะต้องเพราะมีปัญญาทราบดีว่า อกุศลทุจริตนี้มีแต่จะให้ทุกข์โทษอย่างเดียวมิให้คุณเลย
ส่วนการประหาณกิเลสของพระเสกขะ มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกับการประหาณอริริกกิเลส คือพระโสดาบันสามารถประหาณอโนตตัปปกิเลสที่เป็นอปาย คมนียะ พระสกทาคามีและพระอนาคามีนั้น แม้อโนตตัปปะส่วนที่สุขุมละเอียดจะมี อยู่ในขันธสันดานของท่าน แต่ก็เบาบางลงมากแล้ว ส่วนพระอรหันต์ย่อมสามารถประหารกิเลสนี้ให้ไม่มีเหลือในขันธสันดานอีกเลย
๗. โมหกิเลส ได้แก่ สภาพที่มืดมนปิดปัญญาไม่ให้เห็นพระจตุราริยสัจ มี อวิชชาคือ ความไม่รู้นั่นเอง
นักศึกษาทั้งหลายจะเห็นได้ว่าโมหกิเลสนี้ แม้จะได้ถูกอริยมรรคประหาณถึง ๓ ครั้ง แต่ก็หาได้หมดลงสิ้นเชิงไม่ ทั้งที่อริยมรรคทั้ง ๓ นั้นก็ทรงไว้ซึ่งสมรรถภาพมีคุณวิเศษเป็นอย่างยิ่ง มีอํานาจทําลายกิเลสที่สําคัญต่างๆ ไปแล้วหลายประการ แต่ยังไม่สามารถทําลายโมหกิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ให้สิ้นไปอย่างเด็ดขาดได้ เพียงแต่กําจัดให้สงบไปเล็กน้อยเหมือนกับฟ้าแลบ ที่มีอํานาจกําจัดความมืดให้เห็น ทางได้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น อริยมรรคทั้ง ๓ ข้างต้น จึงชื่อว่า วิชชูปมธรรม คือ ธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าแลบ
ส่วนอรหัตตมรรคญาณเมื่อเกิดขึ้นแล้ว โมหกิเลสก็ถูกประหาณเป็นสมุจเฉทในกรณีนี้มีคําอุปมาว่า ธรรมดาสายฟ้าที่ฟาดลงมานั้นย่อมมีกําลังแรงกล้ายิ่งนัก เมื่อ ฟาดลงที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นย่อมแตกทําลายไป อุปมาข้อนี้ฉันใด อรหัตตมรรค ก็เป็นเช่นนั้น คือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว กิเลสอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งจะไม่ถูกทําลายเป็นไม่มี กิเลสทั้งหลายซึ่งอริยมรรคอื่นๆ ทําลายไม่ได้ จะต้องถูกอรหัตตมรรคทําลายหมดสิ้น ฉะนั้นอรหัตตมรรคนี้ จึงชื่อว่า วชิรูปมธรรม คือธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า
พระมหาขีณาสพ ๒ ประเภท
พระมหาขีณาสพเจ้าซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนานี้ เมื่อจะกล่าวโดยประเภทก็มี ๒ ประเภทคือ
๑. เจโตวิมุตติพระอรหันต์ ได้แก่ท่านผู้บําเพ็ญสมถภาวนาได้ฌานมาก่อนแล้ว ภายหลังได้บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี หรือท่านผู้ บําเพ็ญเฉพาะวิปัสสนา เมื่ออรหัตตมรรคบังเกิดขึ้น ฌานก็อุบัติขึ้นในขณะเดียวกันนั่นเอง โดยอํานาจแห่งบุพพาธิการ ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ฌานลาภีบุคคล คือสําเร็จฌาน สมาบัติได้บรรลุวิชชาและอภิญญา มีคุณพิเศษในการแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ต่างๆ
๒. ปัญญาวิมุตติพระอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาล้วนๆ ไม่ได้บําเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้น ฌานก็ไม่มีเกิดขึ้นร่วม ด้วย ท่านเหล่านี้จึงเป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก คือผู้ที่แห้งแล้งจากฌานไม่สามารถ แสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้
นอกจากนี้ พระมหาขีณาสพยังแบ่งโดยประเภทแห่งคุณวิเศษได้อีก ๒ ประเภท คือ
๑. ปฏิสัมภิทาปัตตพระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ทั้ง ๔ ประการ
ก. อัตถปฏิสัมภิทา แตกฉานในอรรถ
ข. ธัมมปฏิสัมภิทา แตกฉานในธรรม
ค. นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในภาษา
ง. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในปฏิภาณ ไหวพริบ
ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ อย่างนี้อุบัติขึ้นพร้อมกันในขณะที่ท่านได้บรรลุอรหัตตมรรค, อรหัตตผล
๒. อัปปฏิสัมภิทาปัตตพระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ซึ่งไม่แตกฉานใน ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง 4 ดังกล่าวมาแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายมีประเภทต่างๆ ดังนี้ก็ โดยอํานาจแห่งบุพพาธิการที่ท่านได้สร้างสมอบรมมาแต่อดีตชาติต่างกัน กล่าวคือบาง ท่านเมื่อชาติก่อนๆ นั้นเมื่อได้ประกอบกุศลกรรมใดๆ ย่อมได้ตั้งจิตปรารถนาเอาไว้ โดยอํานาจแห่งบุพพาธิการนี้ ท่านจึงได้สําเร็จเป็นฌานลาภพระอรหันต์ หรือสําเร็จ เป็นปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ดังกล่าวมาแล้ว ส่วนท่านที่ไม่มีฌานหรือไม่ได้ปฏิสัมภิทา ญาณ ก็เพราะไม่มีปุพพาธิการดังกล่าว คือในอดีตชาติเมื่อท่านประกอบกุศลกรรมใดๆ ก็ตาม ไม่เคยได้ตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าว ฉะนั้น คุณพิเศษคือญาณและปฏิสัมภิทาญาณ จึงไม่เกิดขึ้นแก่ท่าน ตามที่พรรณนามาฉะนี้
จบ ผลญาณ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
มคคํ ผลญฺจ นิพฺพานํ ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต
ปรีเน กิเลเส เสเส จ ปจฺจเวกฺขติ วา น วา
ฉพฺพิสุทธิกุกเมเนวิ ภาเวตพฺโพ จตุพุพิโธ
ญาณทสฺสนวิสุทธิ นาม มคฺโค ปวุจฺจติ ฯ
บัณฑิตผู้เป็นอริยบุคคลย่อมพิจารณา มรรค ผล นิพพาน และย่อมพิจารณา กิเลสที่ประหาณแล้ว และกิเลสที่ยังไม่ได้ประมาณ แต่ผู้ที่ไม่ได้พิจารณากิเลสที่ ประหาณแล้ว และยังไม่ได้ประหาณก็มีบ้าง อริยมรรค ๔ ประการที่เนื่องจากการเจริญ วิสุทธิ ๖ มาโดยลําดับ เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้
ปัจจเวกขณะของพระอริยะ
เมื่อโสดาปัตติผลจิตดับลงแล้ว จิตของพระโสดาบันก็ลงสู่ภวังค์ จากนั้น มโนทวาราวัชชนจิตก็ตัดกระแสภวังค์เกิดขึ้น เพื่อสํารวจดูโสดาปัตติมรรค เมื่อมโน ทวาราวัชชนจิตดับลง ชวนจิต ๗ ขณะ ก็เกิดขึ้นติดต่อกันไป ด้วยการกระทํามรรคให้ เป็นอารมณ์ แล้วจิตก็ลงสู่ภวังค์อีก ส่วนการเกิดขึ้นเพื่อย้อนสํารวจดูผล กิเลสทั้งหลาย ที่ละได้และกิเลสทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ หรือพระนิพพาน ก็มีการสํารวจเช่นเดียวกับ ด้วยการสํารวจมรรคนั่นเอง
พระอริยบุคคลสํารวจทบทวนดูมรรคว่า “ข้าพเจ้าสําเร็จมาด้วยอํานาจแห่ง มรรคนี้แน่แล้ว” สํารวจทบทวนดูผลว่า “อานิสงส์ดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าได้รับแล้ว” สํารวจ ทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้วว่า “กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆ ข้าพเจ้าละได้แล้ว” สํารวจ ทบทวนดูกิเลสที่ยังเหลืออยู่ว่า “กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆ ข้าพเจ้ายังเหลืออยู่” และสุดท้าย ก็สํารวทบทวนดูพระนิพพานว่า “พระธรรมนี้ ข้าพเจ้าแทงตลอด โดยอารมณ์แล้ว”
ปัจจเวกขณญาณของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี มีอย่างละ ๕ เท่ากัน แต่พระอรหันต์ไม่มีการสํารวจทบทวนดูกิเลสที่เหลืออยู่เพราะท่านประหาณ กิเลสทั้งหลายหมดแล้ว จึงมีปัจจเวกขณญาณ ๔ เท่านั้น รวมทั้งหมดจึงมี ๑๕ อย่าง แต่ความจริงแล้วพระเสขบุคคลอาจทบทวนดูหรือไม่ทบทวนดูในกิเลสที่เหลือก็ได้ ดัง เช่นเจ้าศากยมหานาม ผู้เป็นพระสกทาคามีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีธรรมชื่ออะไรอยู่อีกหรือ ที่หม่อมฉันมิได้ละแล้วภายในตน ซึ่งเป็นเหตุให้สิ่งที่เรียก ว่าโลภะทั้งหลายครอบงําจิตใจของหม่อมฉันไว้ในบางครั้งบางคราว” ดังนี้ ในอภิธัมมัตถสังคหะกล่าวไว้ว่า
มคอํ ผล จ นิพฺพานํ ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต
ปหีเน กิเลเส เสเส จ ปจจเวกฺขติ วา น วา ฯ
อริยบัณฑิตย่อมพิจารณา มรรค ผล นิพพาน ย่อมพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว และที่ยังเหลือ พระอริยบุคคลบางองค์ไม่พิจารณากิเลสที่ละแล้ว และยังไม่ละก็มีบ้าง
กิเลสที่ถูกพิจารณา
ญาณความรู้ที่เกิดขึ้นพิจารณาเห็นมรรค ผล นิพพาน กิเลสที่เหลืออยู่และกิเลสที่ละแล้วโดยอํานาจของมรรคทั้ง ๔ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า
สํโยชเนสุ ตาว สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพพตปรามาโส อุปายคมนียา จ กามราคปฏิฆาติ เอเต ปญฺจ ธมฺมา ปฐมฌาณวชฌา เสสา กามราคปฏิมา โอฬาริกา ทุติยฌาณวชฌา สุขุมา ตติยฌาณวชฌา รูปราคาทโย ปญฺจ จตุตถฌาณวชฌา เอว ฯ
สังโยชน์ ๑๐ ประการนั้น โสดาปัตติมรรคประหาณสังโยชน์ได้ ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ อปายคมนิยกามราคะ ๑ อปาย คมนียปฏิฆะ ๑ ส่วนที่เหลืออยู่นั้น สกทาคามิมรรคสามารถประหาณได้ตามอํานาจ ของตนคือ กามราคะ ปฏิฆะ ที่ไม่เป็นอปายคมนียะชนิดที่เป็นโอฬาริกะคืออย่างหยาบ อนาคามิมรรคสามารถประหาณได้ตามอํานาจของตนคือ กามราคะ ปฏิฆะ ที่ไม่เป็น อปายคมนียะ ชนิดที่เป็นสุขุมะคืออย่างประณีต อรหัตตมรรคสามารถประหาณสังโยชน์ ที่เป็นอุทธัมภาคิยะ ๕ ประการ ได้โดยเด็ดขาดโดยอํานาจของตน อนึ่ง ในคัมภีร์ วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า
กิเลเลส ทิฏฐิวิจิกิจฉา ปฐมฌาณวิชญา โทโส ตติยฌาณเวชโฌ โลภโมหมาน ถีนอุทธ จอหิริกอโนตฺตปปาน จตุตถฌาณวชฌาน ฯ
กิเลส ๑๐ อย่างนั้น ทิฏฐิและวิจิกิจฉา โสดาปัตติมรรคประหาณได้โดย เด็ดขาด โทสะนั้นอนาคามิมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด โลภะ โมหะ มานะ นะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ นั้น อรหัตตมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด
สรุปโสฬสญาณ
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
๒. ปัจจยปริคคหญาณ
๓. สัมมสนญาณ
๔. อุทยัพพยญาณ
๕. ภังคญาณ
๖. กยญาณ
๗. อาทีนวญาณ
๘. นิพพิทาญาณ
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐. ปฏิสังขาญาณ
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. อนุโลมญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ
๑๔. มรรคญาณ
๑๕. ผลญาณ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
ญาณเหล่านี้เรียกว่า โสฬสญาณ ญาณ ๑๖ เมื่อผ่านญาณ ๑๖ ไปแล้ว ก็ หมายความว่าโยคีบุคคลผู้นั้นได้ดําเนินถึงจุดหมายปลายทางอันยิ่งใหญ่ในชีวิตได้
ประสบสมบัติอันเป็นอมฤต ซึ่งจะหาสมบัติอื่นใดมาเปรียบปานอีกไม่ได้ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า เพราะอานิสงส์ของพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น เป็นอานิสงส์ ที่ยิ่งใหญ่ บาลีในพระธรรมบทกล่าวไว้ว่า
ปฐพฺยา เอกรชุเชน สกุล ล คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปปจฺเจน โสดาปตติผล วรํ ฯ
โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ กว่าท้าวสักกเทว ราช หรือกว่ามหาพรหม ผู้มีมหิทธานุภาพยิ่งใหญ่
พระบาลีนี้แสดงความเป็นใหญ่ในฐานะต่างๆ กัน เช่นพระราชาผู้เป็นเอกราช ในแว่นแคว้นใดๆ ก็หาเทียบเท่ากับเดชานุภาพของพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นอิสระใน พื้นพิภพแห่งมนุษย์นี้ได้ไม่ เพราะพระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๓ ประการ แม้ ท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะพระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วย ทิพยสมบัติอยู่ในเทวสถาน แม้ท้าวมหาพรหมผู้ทรงมหิทธานุภาพยิ่งใหญ่ในหมู่พรหม ทั้งหลาย พรั่งพร้อมด้วยทิพยสมบัติอันประณีตยิ่งกว่าท้าวสักกเทวราชก็ตาม แต่เมื่อ นํามาเทียบกับโสดาปัตติผลแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจเทียบได้เลย เพราะพระนิพพาน ที่พระโสดาบันได้บรรลุนั้นเป็นธรรมที่ประณีตประเสริฐสุด สามารถทําให้ผู้บรรลุไม่ต้องไปสู่อบายภูมิ และสามารถพ้นจากสังสารวัฏอันยาวนานได้
จบ วิปัสสนาญาณ ๑๐ และญาณ ๑๖ เพียงเท่านี้
แสดงวิโมกขสังคหะ
วจนัตถะวิโมกข์ ๓
วิโมกข์ ตามวจนัตถะ วิเคราะห์ศัพท์ว่า :- ปฏิปกฺขโต วิโมกข์ตีติ วิโมกโข สภาวะใดข้ามพ้นจากกิเลสโดยความเป็นปฏิปักษ์ ฉะนั้น สภาวะนั้นจึงชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่
วิโมกข์ ๓ คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่ได้รับโดยการกําหนดเห็นชัดเจนใน อนัตตา
๒. อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่ได้รับโดยการกําาหนดเห็นชัดเจนใน อนิจจัง
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่ได้รับโดยการกําาหนดเห็นชัดเจนใน ทุกขัง
สรุปว่า วิโมกข์เป็นชื่อของอริยมรรคทั้ง ๔ อย่างเรียกชื่อตามพระไตรลักษณ์ หมายความว่า สําหรับผู้บําเพ็ญความเพียรเจริญวิปัสสนาภาวนาที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า
มีปัญญาเป็นปุพพาธิการอันตนเคยสร้างสมมาแต่ชาติก่อนเป็นกําลังแรงส่งให้ในขณะ ที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น ท่านย่อมจะเห็นชัดเจนในอนัตตลักษณะมากที่สุด เห็น อนัตตลักษณะแจ่มใสชัดเจนกว่าพระไตรลักษณ์อื่นๆ เพราะอนัตตลักษณะมีกําลังมาก กว่า ฉะนั้น เมื่อวุฏฐานคามินีวิปัสสนา กําลังเป็นไป รูปนามแสดงความเป็นอนัตตาให้ ปรากฏอย่างชัดเจน เมื่อเห็นอนัตตาอย่างชัดเจนแล้ว วุฏฐานคามินีวิปัสสนาก็จะเข้าสู่ มรรคในทันใด ลักษณะอย่างนี้ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ คือหลุดพ้นด้วยอนัตตา หรือเข้าสู่
มรรคด้วยอนัตตลักษณะ
ส่วนผู้บําเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนาภาวนาที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า มีศรัทธาเป็น ปุพพาธิการสูงคือ ได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อนเป็นกําลังส่ง ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนา ภาวนาอยู่นั้น ท่านย่อมจะเห็นแจ้งชัดในอนิจจลักษณะมากที่สุด เหตุใดจึงเห็นแจ้งชัด แต่อนิจจลักษณะเท่านั้น พระไตรลักษณ์อื่นๆ ไม่เห็นหรือ ตอบว่าเห็นทุกข้อแต่ว่าพระ ไตรลักษณ์ข้ออื่นๆ ไม่ชัดเท่าอนิจจลักษณะ เพราะอนิจจลักษณะมีกําลังแรงกล้า ฉะนั้น เมื่อ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ ตัววิปัสสนาที่จะเข้าไปสู่มรรคกําลังเป็นไปนั้น ย่อมจะ ทําให้เห็นรูปนามแสดงความไม่เที่ยงแล้วก็เข้าสู่มรรคลักษณะอย่างนี้ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยอนิจจัง หรือเข้าสู่มรรคด้วยอนิจจลักษณะ
สําหรับผู้บําเพ็ญความเพียร เจริญวิปัสสนาภาวนาที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า มี สมาธิเป็นปุพพาธิการ อันตนเคยสั่งสมมาแล้วแต่ชาติก่อนเป็นกําลังแรงส่งให้ ในขณะ ที่ปฏิบัติวิปัสสนาอยู่นั้น ย่อมจะเห็นอย่างแจ้งชัดในทุกขลักษณะมากที่สุด เห็นทุกข ลักษณะมากกว่าพระไตรลักษณ์อื่นๆ เพราะทุกขลักษณะมีกําลังแรงกล้า ฉะนั้นเมื่อ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา กําลังดําเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูปนามแสดงความทุกข์ ให้ ปรากฏชัดเจนแล้วก็เข้าสู่มรรค ลักษณะอย่างนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วย ทุกขัง หรือเข้าสู่มรรคด้วยทุกขลักษณะ
จบ วิโมกขสังคหะ
ในวิปัสสนากรรมฐานนี้ การสงเคราะห์วิสุทธิ โดยมี ๗ ประการ คือ
๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล
๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นจากความสงสัย
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นมัคคปฏิปทาและไม่ใช่มัคคปฏิปทา
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณอันเป็นเครื่องดําเนินไปสู่ มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งโดย ส่วนเดียวของญาณ
๒. ลักษณะ ๓
ลักษณะมี ๓ อย่าง คือ
๑. อนิจจลักขณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง
๒. ทุกขลักขณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์
๓. อนัตตลักขณะ ลักษณะทีเป็นอนัตตา
๓. อนุปัสสนา ๓
อนุปัสสนามี ๓ อย่าง คือ
๑. อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง
๒. ทุกขานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นทุกข์
๓. อนัตตานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา
๔. วิปัสสนาญาณ ๑๐
วิปัสสนาญาณ ๑๐ ประการ คือ
๑. สัมมสนญาณ ปัญญาที่พิจารณาลักษณะทั้ง ๓ ของรูปนาม
๒. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของรูปนาม
๓. ภังคญาณ ปัญญาเห็นความดับไปของรูปนาม
๔. ภยญาณ ปัญญาเห็นรูปนามเป็นภัยที่น่ากลัว
๕. อาทีนวญาณ ปัญญาเห็นโทษของรูปนาม
๖. นิพพิทาญาณ ปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม
๗. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาอยากหนีให้พ้นจากรูปนาม
๘. ปฏิสังขาญาณ ปัญญาพิจารณาไตรลักษณะของรูปนามอย่างกว้างขวาง
๘. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาหาทางแล้ววางเฉยต่อรูปนาม
๑๐. อนุโลมญาณ ปัญญาเห็นสอดคล้องกับวิปัสสนาญาณ ๘ (อุทยัพพยญาณ สังขารุเปกขาญาณ) ข้างต้น และถึงพร้อมด้วยกําลังเพื่อให้มรรคญาณเกิด
๕. วิโมกข์ ๓
วิโมกข์มี ๓ อย่าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยความเป็นของสูญ
๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
๖. วิโมกขมุข ๓
วิโมกขมุขมี ๓ อย่าง
๑. สุญญตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าเป็นของสูญ
๒. อนิมิตตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
๓. อัปปณิหิตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
แสดงวิสุทธิ ๗ ตามอภิธัมมัตถสังคหบาลี
๑. สีลวิสุทธิ
สีลวิสุทธินั้น ได้แก่อะไร ? ได้แก่ปาริสุทธิศีล ๔ คือ
๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลที่สํารวมในพระปาติโมกข์
๒. อินทรียสังวรศีล ศีลที่สํารวมในอินทรีย์ ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลที่มีอาชีพบริสุทธิ์
๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล ศีลที่อาศัยปัจจัย ๔
ความบริสุทธิ์ทั้ง ๔ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า สีลวิสุทธิ
๒. จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ
๑. อุปจารสมาธิ สมาธิเข้าไปเฉียดใกล้ต่อองค์ฌาน
๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่ คือสมาธิที่ยังฌานให้เกิดขึ้น
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ
การกําหนดรู้รูปนาม ด้วยสามารถแห่งลักษณะ ๑ รส ๑ ปทัฏฐาน ๑ ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ
การกําหนดรู้ปัจจัยแห่งรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิและวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ
ต่อจากกังขาวิตรณวิสุทธิ ในเตภูมิกสังขารธรรมพร้อมทั้งปัจจัย ที่มีประเภท ต่างๆ มีอดีตเป็นต้นซึ่งพระโยคีได้เห็นมาแล้ว โดยอาการดังที่กล่าวมาแล้วในทิฏฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิ์ เมื่อพระโยคีบุคคลกระทําให้สังขารธรรมเหล่านั้น ย่อลงโดยความเป็นหมวดเดียวกัน และปรารภซึ่งเทศนานัย มีขันธ์ เป็นต้น แล้วพิจารณา ไตรลักษณ์ โดยอํานาจกาล โดยอํานาจความสืบต่อ หรือ โดยอํานาจขณะ ด้วยสัมมสนญาณ ว่ารูปนามนี้เป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป ไม่ยั่งยืนมั่นคง เป็น ทุกข์ เพราะอรรถว่าเป็นภัยอันน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่า ไม่มีแก่นสาร ไม่เป็นไปตามอํานาจผู้ใด แล้วพิจารณาความเกิดดับของรูปนาม ในเตภูมิกสังขารธรรมด้วย อุทยัพพยญาณ โดยอํานาจแห่งปัจจัยและโดยอํานาจแห่งขณะ ปัญญาที่ตัดสินเด็ดขาด ในลักษณะแนวทางของวิปัสสนาที่ถูกหรือผิด ด้วยอํานาจแห่งการกําหนดรู้อุปสรรค คือวิปัสสนูปกิเลสมีโอกาสเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ
๑. โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง
๒. ปีติ ได้แก่ ความอิ่มเอิบใจ ๕ อย่าง
๓. ปัสสัทธิ ได้แก่ อาการสงบเงียบ
๔. อธิโมกข์ ได้แก่ ศรัทธาที่มีกําลังแก่กล้า
๕. ปัคคหะ ได้แก่ ความพยายามอย่างแรงกล้า
๖. สุข ได้แก่ ความสบาย
๗. ญาณ ได้แก่ ปัญญาแก่กล้า
๘. อุปัฏฐาน ได้แก่ สติที่ตั้งมั่น
๙. อุเบกขา ได้แก่ อาการวางเฉย
๑๐. นิกันติ ได้แก่ ความยินดีพอใจ
คือความยินดีในอุปกิเลส ๙ ข้างต้น ปัญญานี้แหละ ชื่อว่า มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
วิปัสสนาญาณ ๙ ของโยคาวจรบุคคลนั้น หลุดพ้นจากอันตรายคือวิปัสสนูปกิเลส ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้กําลังปฏิบัติวิปัสสนาเห็นพระไตรลักษณ์ติดต่อกันมา จําเดิมแต่อุทยัพพยญาณ จนถึงอนุโลมญาณ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ
เมื่อพระโยคาวจรบุคคลกําลังปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เพราะอาศัยความแก่รอบของ วิปัสสนา วิปัสสนาจิต ๒ - ๓ ขณะ ปรารภอนิจจลักขณะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นไปในลําดับแห่งมโนทวาราวัชชนะ อันตัดกระแสภวังค์เกิดขึ้นว่า บัดนี้ อัปปนา จักสําเร็จ โดยชื่อว่าปริกรรม อุปจาร อนุโลม
วิปัสสนาญาณใด ถึงซึ่งความเป็นยอด วิปัสสนาญาณนั้น เป็นไปพร้อม ด้วยอนุโลมญาณ ฯ สังขารุเปกขาญาณ ท่านเรียกว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา
ต่อจากนั้น โคตรภูจิต หน่วงนิพพานมาเป็นอารมณ์ แล้วทําลายเสีย ซึ่ง ปุถุชนโคตรและยังอริยโคตร ให้เกิดขึ้น
ในลําดับโคตรภูจิตนั้นนั่นเอง อริยมรรคกําหนดรู้ทุกขสัจ ละสมุทัยสัจ กระทํานิโรธสัจให้แจ้ง หยั่งลงสู่อัปปนาวิถี ด้วยสามารถแห่งการทํามรรคสัจให้เจริญ
ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความไม่เที่ยง มรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์
ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความเป็นทุกข์ มรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์
ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความเป็นอนัตตา มรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์
ต่อจากมรรคญาณนั้นไป ผลจิตที่เกิดขึ้น ๒-๓ ขณะ (ตามสมควรแก่มันทะ และตึกขบุคคล) แล้วดับไป ต่อจากนั้น จิตก็ลงสู่ภวังค์ ปัจจเวกขณญาณทั้งหลาย ตัดกระแสภวังค์ขาดแล้ว ย่อมเกิดขึ้นต่อไป
พระอริยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต ย่อมพิจารณามรรคญาณ ผลญาณ และพระนิพพาน สําหรับกิเลสที่ประหาณแล้ว และกิเลสที่ยังไม่ได้ประหาณ ย่อมพิจารณาบ้าง ไม่ได้พิจารณาบ้าง (แล้วแต่ปริยัติ) อริยมรรค ๔ ประการ ที่เนื่องมาจากการเจริญวิสุทธิ์ ๖ เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ์กรรมฐาน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทของวิสุทธิ ๗ ในวิปัสสนากรรมฐาน
แสดงวิโมกบเภท
๑. ในวิโมกขภทเหล่านั้น อนัตตานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดย ความเป็นอนัตตา ละการยึดมั่นอัตตาเสียได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่าสุญญตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าเป็นของสูญ อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็น อยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง ละนิมิตแห่งวิปัลลาสธรรมเสียได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่า อนิมิตตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ทุกขานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ ละตัณหาปณิธิเสีย ได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่า อัปปณิหิตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
๒. เพราะเหตุนั้น ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา (วิปัสสนาที่ไปสู่ความออก) เห็น แจ้งโดยความเป็นอนัตตา อริยมรรค ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งโดยความไม่เที่ยง อริยมรรค ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์, ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งโดยความเป็นทุกข์ อริยมรรค ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ฉะนั้น อริยมรรคจึง มีชือ ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งการดําาเนินมาของวิปัสสนาฌาณ
๓. ส่วนอริยผล ย่อมมีชื่อ ๓ อย่างเหมือนกับในมรรควิถี ด้วยสามารถแห่ง การดําาเนินมาของอริยมรรค
๔. ก็ในผลสมาบัติวิถี ผลจิตแม้กําลังเกิดขึ้นแก่วิปัสสนาญาณบุคคลในขันธสันดานของตนๆ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ท่านจึงเรียกว่า สุญญตวิโมกข์เป็นต้น ก็ด้วย สามารถแห่งการดําเนินมาของวิปัสสนาญาณ โดยส่วนเดียว
ส่วนหมวดแห่งชื่อทั้ง ๓ ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยบุคคลทั้งหลายแม้ทั้งปวง คือ ในมรรควิถีและผลสมาบัติวิถีทั้งหลายทั้งหมด โดยสม่ําเสมอด้วยสามารถแห่งอารมณ์ และด้วยสามารถแห่งกิจรส และสัมปัตติรส
วิโมกขภทในกรรมฐานสังควิภาค จบเพียงเท่านี้
ปุคคลเภท
การจําแนกประเภทอริยบุคคลและการประหาณกิเลสโดยมรรคทั้ง ๔ ตาม ลําดับ
๑. ในบรรดาประเภทแห่งบุคคลทั้ง ๔ นี้ ผู้ที่เพียรบําเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน จนสําเร็จถึงโสดาปัตติมรรค ได้เป็นผู้ประหาณอกุศลธรรมที่เห็นเหตุนําไปสู่อบาย เพราะได้ประหาณทิฏฐิ และวิจิกิจฉาเสียแล้ว จึงได้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือพระโสดาบันที่จะเกิดในกามสุคติภูมิ อย่างมากเพียง ๗ ชาติเท่านั้น
๒. เมื่อพระโสดาบันเพียรบําเพ็ญวิปัสสนา จนสําเร็จถึงสกทาคามิมรรคแล้ว ได้ ชื่อว่าเป็นสกทาคามี เพราะจะมาเกิดในภูมิอีกชาติเดียว โดยเหตุที่ทําให้ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง (ตนุกรปหาณ)
๓. เมื่อพระสกทาคามีเพียรบําเพ็ญวิปัสสนา จนสําเร็จถึงอนาคามิมรรคแล้ว ได้ ชื่อว่าอนาคามีบุคคล คือ ไม่กลับมาสู่กามสุคติภูมิอีก โดยเหตุที่ได้ประหาณกามราคะ และพยาบาทขาดสิ้น โดยไม่มีเหลือ
๔. เมื่อพระอนาคามีเพียรบําเพ็ญวิปัสสนา จนสําเร็จถึงอรหัตตมรรคแล้ว ได้ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นพระขีณาสพ ผู้ที่ควรได้รับสักการะอย่างเลิศในโลก โดยเหตุที่ได้ประหาณกิเลสทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทอริยบุคคลในวิปัสสนากรรมฐาน
แสดงสมาปัตติเภท
๑. ในประเภทแห่งสมาบัตินี้ ผลสมาบัติ ย่อมเกิดทั่วไป แม้แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งผลจิตเฉพาะตนๆ
๒. ส่วนการเข้านิโรธสมาบัติ ย่อมบังเกิดแก่พระอนาคามี และพระอรหันต์ทั้งหลายเหลานัน
๓. พระอริยบุคคล เข้ามหัคคตสมาบัติมีปฐมฌานเป็นต้น โดยลําดับในสมาบัติ เหล่านั้น แล้วจึงออกจากสมาบัติเหล่านั้น พิจารณาอยู่ซึ่งสังขารธรรมในสมาบัติ เหล่านั้นๆ จนถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สุด ต่อจากลําดับนั้น จึงกระทําซึ่งบุพกิจ มี อธิษฐานก่อนเป็นต้น แล้วจึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
๔. ในกาลต่อมา การสืบต่อมาของจิตแห่งอัปปนาชวนะ คือเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน ๒ ขณะ ของพระอริยบุคคลนั้นย่อมขาดลง
๕. ต่อจากลําดับนั้นไป ท่านชื่อว่าเป็นผู้เข้านิโรธแล้ว
๖. ก็ในการที่ออกจากนิโรธสมาบัตินั้น อนาคามิผลจิตของพระอนาคามี และ อรหัตตผลจิตของพระอรหันต์ ย่อมเป็นไปเพียง ๑ ขณะเท่านั้น แล้วจึงลงสู่ภวังค์ต่อไป
๓. ต่อจากนั้น ปัจจเวกขณญาณย่อมเกิดขึ้น
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทของสมาบัติในวิปัสสนา กรรมฐานและแสดงนัยแห่งวิปัสสนากรรมฐาน จบเพียงเท่านี้
ต่อไปนี้จะพรรณนาเนื้อความในวิปัสสนากรรมฐาน
อธิบายบาลีข้อที่ ๑ แสดงถึงวิสุทธิ ๗
พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงสมถกรรมฐานจบลงแล้ว เมื่อประสงค์จะแสดง วิปัสสนากรรมฐาน ตามที่ได้ปฏิญญาไว้แล้วในตอนต้น จึงได้กล่าวว่า วิปัสสนา กมฺมฏฺฐาเน ปน เป็นต้นต่อไป
คําว่า “วิสุทธิ” ในวิปัสสนากรรมฐานนี้ หมายความว่า ความบริสุทธิ์จาก กิเลสเป็นพิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ วิ + สุทธิ วิ - วิเศษ สุทธิ = บริสุทธิ์ ดังแสดงวจนัตถะว่า
วิเสเสน สุชฒน์ วิสุทธิ์ (วิ-ปุพพ สุทธ - ธาตุ) ความบริสุทธิ์จากกิเลส เป็นพิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา คือวิสุทธิทั้ง ๗
จริงอยู่ ความบริสุทธิ์ต่างๆ ที่เป็นไปในทางโลกที่มีอยู่ เช่น น้ำบริสุทธิ์ หญิงสาวบริสุทธิ์ ผู้บริสุทธิ์ สถานที่บริสุทธิ์ เหล่านี้ เป็นต้น หาได้เรียกว่า วิสุทธิไม่ เพียงแต่เรียกว่า สุทธิ หรือบริสุทธิ์เท่านั้น ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่า ความบริสุทธิ์เหล่านี้ เป็นความบริสุทธิ์ธรรมดา หาใช่บริสุทธิ์เป็นพิเศษแต่อย่างใดไม่ ส่วนความบริสุทธิ์ของ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น สามารถทําบุคคลให้เป็นฌานลาภี และพระอริยะ เหตุนี้แหละ จึงเรียกว่า วิสุทธิ แสดงวจนัตถะอีกนัยหนึ่งว่า
๑. วิสุชุณที่ติ วิสุทธิ (กัตตุสาธนะ) ธรรมอันใดย่อมบริสุทธิ์ เป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า วิสุทธิ
๒. วิโสเธติ วิสุทธิ (กัตตุสาธนะ) ธรรมอันใดย่อมชําระกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์เป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า วิสุทธิ
๓. วิสุชุติ เอตายาติ วิสุทธิ (กรณสาธนะ) กาย วาจา ใจ ย่อมบริสุทธิ์ เป็นพิเศษด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิสุทธิ
๔. วิสุชฒน์ วิสุทธิ์ (ภาวสาธนะ) ความบริสุทธิ์เป็นพิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิ ทั้ง ๔ ข้อนี้ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา คือวิสุทธิทั้ง ๗ นั้นเอง
๑. อธิบายสีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล
คําว่า ศีล ในศีลวิสุทธินี้ หมายเอาความบริสุทธิ์ของศีล ๔ อย่าง คือ
๑. ปาฏิโมกขสวรสีสํ ศีลที่สํารวมในพระปาติโมกข์
๒. อินทรียสํวรสํ ศีลที่สํารวมในอินทรีย์ ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิสีลํ ศีลที่มีอาชีพบริสุทธิ์
๔. ปจฺจยสนนิสิตสีนํ ศีลที่อาศัยปัจจัย ๔
๑. ปาฏิโมกขสวรสีล เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ ปาฏิโมกข์ + สังวร + สีล รวมแล้วเป็น ปาฏิโมกข์สังวรศีล ดังมีวจนัตถะว่า ศีลที่ช่วยให้ผู้รักษาพ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔ องค์ธรรมได้แก่ ศีล ๕, ศีล ๘, ศีล ๑๐, ศีล ๒๒๗
๒. อินทรียสวรสี คําว่า อินทรียสังวรศีล เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ อินทรีย + สังวร + สีล เมื่อรวมแล้วเป็น อินทรียสังวรศีล ดังมีวงนัตถ ะแสดงว่า อินทรีย์ทั้ง ๖ อย่าง ย่อมสังวรรักษาได้ ฉะนั้น เรียกว่าอินทรียสังวรศีล องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ประกอบกับมหากุศลจิต
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล คําว่า อาชีวปาริสุทธิศีล เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ อาชีว + ปาริสุทธิ + สีล เมื่อรวมแล้วเป็น อาชีวปาริสุทธิศีล ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า ย่อมหาเลี้ยงชีพ โดยสัมมาอาชีวะ คือ สําหรับฆราวาส เว้นมิจฉาชีวะต่างๆ ในสัมมาอาชีววิร สําหรับพระภิกษุ สามเณร เว้นกุลทูสกะ อเนสนาต่างๆ ตามพระปาติโมกข์ ฉะนั้น เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิศีล องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิกที่ประกอบกับมหา กุศลจิต
๔. ปจฺจยสนนิสฺสิตสี คําว่า ปัจจยสันนิสสิตสีล เมื่อแยกบทแล้ว มี ๓ บท คือ ปัจจัย + สันนิสสิต + สีล เมื่อรวมแล้วเป็น ปัจจยสันนิสสิตสีล ดังมี วจนัตถะแสดงว่า ศีล นั้นด้วย อาศัยปัจจัยนั้นด้วย ฉะนั้นชื่อว่า ปัจจยสันนิสสิตศีล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลจิต
ความบริสุทธิ์ของจตุปาริสุทธิศีล ๔ ประการ
๑. เทสนาสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการแสดง
๒. สังวรสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการสํารวม
๓. เอฏฐิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยอาชีพที่แสวงหา
๔. ปัจจเวกขณสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา
ว่า โดยสามัญ นิจศีล ชื่อว่า สีลวิสุทธิ์ ดังนั้น สีลวิสุทธิของคฤหัสถ์ได้แก่ ศีล ๕ ของอุบาสก อุบาสิกา ได้แก่ ศีล ๘, ของสามเณร ได้แก่ ศีล ๑๐, ของพระภิกษุ ได้แก่ ศีล ๒๒๗, ที่กล่าวว่า สีลวิสุทธิ์ ได้แก่ นิจศีล นั้น ก็เพราะว่าธรรมดานิจศีลนี้ ย่อมชําระ กาย วาจา ให้สะอาดหมดจดจากความทุศีล และให้สําเร็จกิจเป็นที่ตั้งแห่ง ธรรมชั้นสูง มี ฌาน มรรค ผล เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อว่า โดยสามัญแล้ว นิจศีล ชื่อว่า สีลวิสุทธิ
๒. อธิบายจิตตวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งจิต
จิตตวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วมี ๒ บท คือ จิตต + วิสุทธิ เมื่อรวมกันแล้ว เป็น จิตตวิสุทธิ์ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งจิต ดังมีวจนัตถะว่า จิตตสฺส วิสุทธิ์ จิตตวิสุทธิ์ แปลว่า การชําระจิตใจของพระโยคาวจร ให้ ปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมองคือนิวรณ์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า จิตตวิสุทธิ์ องค์ธรรม ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในมหากุศล มหากิริยา มหัคคตกุศล มหัคคตกิริยา
จิตตวิสุทธิ์ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ดังที่กล่าวมาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง
จิตตวิสุทธิมี ๒ อย่าง คือ
๑. สมถสมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
๒. วิปัสสนาขณิกสมาธิ ได้แก่ ขณิกสมาธิ
สมาธิโดยประเภทมี ๓ อย่าง คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ชื่อว่า “จิตตวิสุทธิ” ก็เพราะมีความ บริสุทธิ์เป็นพิเศษ ปราศจากมลทิน คือนิวรณ์ และชําระจิตใจของพระโยคีให้ปราศจาก มลทินคือนิวรณ์ แต่ท่านได้ยกจิตที่เกิดพร้อมกับสมาธิทั้งสองนี้ขึ้นเป็นประธาน แล้ว เรียกว่า จิตตวิสุทธิ์ ส่วนขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะเป็นสมาธิที่อยู่ในมหากุศล หรือ มหากิริยา ที่เกิดขึ้นแก่สุทธวิปัสสนายานิกโยคี ที่กําหนดรู้รูปนามนั้น เรียกว่า จิตต วิสุทธิ์ ได้เหมือนกัน แต่จัดเข้าโดยอนุโลม สมาธิทั้งที่ได้ชื่อว่า “จิตตวิสุทธิ” นั้น อยู่ ภายในขอบเขต และมีอารมณ์ดังนี้ คือ อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหากุศล มหากิริยา มีสมถกรรมฐานเป็นอารมณ์ อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหัคคตฌาน ๙ มีบัญญัติ ปรมัตถ์ ที่เนื่องมาจากสมถกรรมฐาน ๓๐ เป็นอารมณ์
๓. อธิบายทิฏฐิวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น
ทิฏฐิวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วมี ๒ บท คือ ทิฏฐิ บทหนึ่งแปลว่าความเห็น วิสุทธิ บทหนึ่ง แปลว่า ความบริสุทธิ์ เมื่อรวมกันแล้วเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ์ ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า
ทิฏฐิเยว วิสุทธิ์ ทิฏฐิวิสุทธิ์ แปลว่า เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนามโดย
๑. ลักขณะ คือ รู้ลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ) ของรูปนาม
๒. รส คือ รู้หน้าที่หรือกิจของรูปนาม
๓. ปัจจุปัฏฐาน คือ รู้ผลหรืออาการปรากฏของรูปนาม
๔. ปทัฏฐาน คือ รู้เหตุที่ใกล้ชิดของรูปนาม ฉะนั้น จึงเรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ที่มีรูปนาม เป็นอารมณ์ (การแสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐานของ จิต เจตสิก รูป ได้ แสดงไว้แล้วในปฏิจจสมุปบาท)
อธิบาย การรู้รูปนามด้วยสามารถแห่ง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ดังที่กล่าวมานี้ แม้จะไม่ครบทั้ง ๔ ก็ตาม เพียงแต่รู้อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง ก็ได้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิๆ นี้ ว่าโดยญาณ ๑๖ แล้วจัดเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ
นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่กําหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่เป็นจริง ชื่อว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ” เพราะชําระจิตใจของพระโยคีให้ปราศจากสักกายทิฏฐิลงได้
๔. อธิบายกังขาวิตรณวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ คือญาณที่ข้ามพ้นจากความสงสัย
กงขาวิตรณวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ กังขา + วิตรณ + วิสุทธิ เมื่อรวมแล้วเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ์ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
กงขาวิตรณา เอา วิสุทธิ์ กงขาวิตรณวิสุทธิ์ แปลว่า ปัญญาที่สามารถรู้เหตุแห่งรูปนามทั้ง ๒ คือ รู้รูปสมุทัย เหตุของรูป นามสมุทัย เหตุของนาม เมื่อ รู้เหตุของรูปนามทั้ง ๒ อย่างนั้น ก็ก้าวล่วงความสงสัยเสียได้ ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ที่มีปัจจัยของรูปนามเป็นอารมณ์
ปัจจัยของรูปนามคือ
๑. ปัจจัยให้เกิดรูปนาม (จิต เจตสิก และกัมมชรูป) ในปฏิสนธิกาล ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปทาน กรรม
๒. ปัจจัยให้เกิดนาม (จิต เจตสิก) ในปวัตติกาล ได้แก่ วัตถุรูป ๖ มี จักขุวัตถุเป็นต้น อันเป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยและอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น อันเป็นอารัมมณปัจจัย
๓. ปัจจัยให้เกิดรูป (จตุสมุฏฐานิกรูป) ในปวัตติกาล ได้แก่ กรรม จิต อุตุ และอาหาร (กพฬิการาหาร)
๔. ปัจจัยให้เกิดนาม (วิปากจิต เจตสิก) ได้แก่ กุศล อกุศล
๕. ปัจจัยให้เกิดนาม (อาวัชชนจิต เจตสิก) ได้แก่ ภวังคุปัจเฉทะ ที่เกิดขึ้น ด้วยอํานาจอนันตรปัจจัย เป็นต้น
ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่กําหนดรู้เห็น เหตุ ปัจจัยของรูปนามที่เกิด ภายในตน ชื่อว่า “กังขาวิตรณวิสุทธิ” เพราะก้าวล่วงความสงสัย ๘ อย่าง ที่มาใน พระอภิธรรม และ
ความสงสัย ๑๖ อย่าง ที่เกี่ยวกับกาล ๓ ซึ่งมาในพระสูตรเสียได้
ความสงสัย ๘ อย่างที่มาในพระอภิธรรม คือ
๑. พุทเธ กงฺขติ สงสัยในพระพุทธเจ้า คือคุณทั้ง ๙ มี อรห์ เป็นต้น ว่าจะเป็นจริง ดังที่กล่าวนั้นหรือไม่
๒. ธมฺเม กงฺขติ สงสัยในพระธรรม คือคุณทั้ง ๖ มี สวากขาโต เป็นต้น ว่าเป็นความจริง ดังที่กล่าวนั่นหรือไม่
๓. สังเฆ กงฺขติ สงสัยในพระสงฆ์ คือคุณทั้ง ๙ มี สุปฏิปนฺโน เป็นต้น ว่าจะเป็นจริง ตามนั้นได้หรือไม่
๔. สิกฺขาย กงฺขติ สงสัยในสิกขาบท คือข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับ ศีล, สมาธิ, ปัญญา ว่าข้อปฏิบัติต่างๆ ที่พระโคตมพุทธะวางไว้นั้นจะผิดถูกประการใด และจะได้ รับประโยชน์จริง ตามนั้นหรือไม่
๕. ปุพฺพนเต กรุขติ สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต คือที่กล่าวว่าสัตว์ ทั้งหลายได้เคยเกิดมาแล้วแต่ในอดีตนั้น จริงหรือไม่
๖. อปรนเต กงฺขติ สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต คือที่กล่าวว่าสัตว์ ทั้งหลายตายแล้วก็จักเกิดต่อไปนั้น จะเป็นจริงหรือไม่
๗. ปุพฺพนตาปรนเต กงฺขติ สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และอนาคต คือสัตว์ทั้งหลายที่กําลังปรากฏอยู่ในบัดนี้นั้น กล่าวกันว่าได้เคยเกิดมาแล้ว และจักเกิดต่อไปอีกนั้น จะเป็นจริงดังนั้นหรือไม่
๘. อิธปฺปจจยตา ปฏิจจสมุปปนเนส ธมฺเมสุ กงฺขติ สงสัยในปฏิจจสมุปปันธรรม มีสังขารเป็นต้น ในปฏิจจสมุปบาทธรรม มีอวิชชาเป็นต้น เป็นปัจจัย คือในเรื่องบุญ บาป และการสืบต่อแห่งภพใหม่ การเห็น การได้ยินของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ที่เกี่ยวเนื่องมาจากความหลง และการจัดแจงปรุงแต่ง กาย วาจา ใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุนั้น จะเป็จริงหรือไม่
ความสงสัย ๑๖ อย่างที่มาในพระสูตร ได้แก่
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนอดีต ๕, อนาคต ๕, ปัจจุบัน ๖
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนอดีต ๕ คือ
๑. อโหสิ นุ โข อห์ อตีตมทุธานํ เราเคยเกิดมาแล้วในอดีตกาลจริงหรือหนอ
๒. น นุ โข อโหสิ อดีตมทธานํ เราไม่เคยเกิดมาแล้วในอดีตกาลจริงหรือหนอ
๓. กึ นุ โข อโหสึ อตีตมทฺธานํ ถ้าเคยเกิดๆ เป็นชนชั้นไหนในอดีตกาลหนอ
๔. กถํ นุ โข อโหสี อดีตมทฺธานํ เรามีรูปร่างสัณฐานเป็นอย่างไรในในอดีตกาลหนอ
๕. กึ หุตวากี อโหสึ นุ โข อหํ อดีตมทุธาน เราเคยเกิดเป็นอะไรมาแล้ว และเคยเกิดเป็นอะไรต่ออะไรบ้างหนอ อดีตกาล
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนอนาคต ๕ คือ
๑. ภวิสฺสามิ นุ โข อหํ อนาคตมทฺธานํ เราจักเกิดในกาลข้างหน้าหรือหนอ
๒. น นุ โข ภวิสฺสามิ อหํ อนาคตมธานี เราจักไม่เกิดในกาลข้างหน้าหรือหนอ
๓. กึ นุ โข ภวิสฺสามิ อนาคตมทฺธานํ ถ้าจักเกิดๆ เป็นชนชั้นไหน ในกาลข้างหน้าหนอ
๔. กถ นุ โข ภวิสฺสามิ อนาคตมธานํ เราจักมีรูปร่างสัณฐานเป็นอย่างไร ในกาลข้างหน้าหนอ
๕. กึ หุตวา กี ภวิสฺสามิ นุ โข อหํ อนาคตมทฺธานํ เราจักเกิดเป็นอะไรแล้ว และจักเกิดเป็นอะไรต่ออะไรอีกในกาลข้างหน้าหนอ
สงสัยในขันธ์ ๕ ที่เป็นส่วนปัจจุบัน ๖ คือ
๑. อห์ นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้เป็นเราหรือหนอ
๒. โน นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้ไม่เป็นเราหรือหนอ
๓. กึ นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้เราเป็นชาติอะไรหนอ
๔. กถ นุ โขสุมิ เดี๋ยวนี้เรามีรูปร่างสัณฐานอย่างไรหนอ
๕. อยู๋ นุ โข สตฺโต กุโต อาคโต สัตว์นี้มาจากไหนหนอ
5. โส กุห์ คามี ภวิสฺสติ สัตว์นั้นจักไปเกิดที่ไหนหนอ
๕. อธิบายมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์คือความรู้ในหนทางที่ถูกและผิด
มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทธิ เมื่อแยกบทแล้วมี ๕ บท คือ
มัคค หนทาง + อมัคค ไม่ใช่ทาง + ญาณ ความรู้ + ทัสสน ความเห็น + วิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ เมื่อรวมกันแล้ว เป็น มัคคามรรคญาณทัสสนวิสุทธิ์ แปล ว่า ความบริสุทธิ์ในความเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นมัคคปฏิปทาและมิใช่มัคคปฏิปทา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
สัมมสนญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองในลักษณะทั้ง ๓ ของรูปนาม และอุทยัพพย ญาณเบื้องแรก คือปัญญาที่เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม แต่ยังอ่อนอยู่ใน ระหว่างนี้เป็นขอบเขตของมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะว่าวิปัสสนาญาณทั้งสอง นี้ ชําระใจให้พ้นจากคาหะ (ความยึด) ทั้ง ๓ คือความยึดมั่นด้วย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในอุปกิเลส ๑๐ อย่าง ซึ่งเป็นหนทางผิดเสียได้ ฉะนั้น เมื่ออุทยัพพยญาณเบื้องแรก ของพระโยคีที่เห็นความเกิดดับของรูปนามนั้น เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างไม่ขาดสาย เมื่อ อุปกิเลส ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ปัญญาที่กําหนดวินิจฉัยลักษณะมรรคว่า โอภาสเป็นต้นเหล่านี้ไม่ใช่มรรค เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ โดยแท้ แต่วิปัสสนาญาณที่ดําเนินไปตามวิถี ซึ่งพ้นจากวิปัสสนูปกิเลสมีโอกาสเป็นต้นนั้น เป็นมรรคชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะรู้เห็นทางและมิใช่ทาง และเพราะ ชําระความสําคัญผิดในวิปัสสนูปกิเลส ที่มิใช่ทางว่าเป็นทางให้หมดจด
วิปัสสนูปกิเลสไม่เกิดแก่บุคคล ๓ จําพวก
๑. พระอริยบุคคล ผู้ถึงปฏิเวธแล้ว
๒. โยคีผู้ปฏิบัติผิดแนวทางวิปัสสนา
๓. โยคีผู้เกียจคร้านทอดทิ้งกรรมฐาน
ผู้มีความเพียรแก่กล้าเท่านั้น วิปัสสนูปกิเลสจึงเกิด วิปัสสนูปกิเลสเกิดตรง ตรุณอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน และวิปัสสนาญาณที่สงเคราะห์เข้าใน มัคคามรรคญาณทัสสนวิสุทธิ์ ได้นั้น มี ๒ คือสัมมสนญาณ และตรุณอุทยัพพยญาณ คือ อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน
๖. อธิบายปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์คือความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูก
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้ว มี ๔ บท คือ ปฏิปทา ปฏิบัติ + ญาณ ความรู้ + ทัสสน ความเห็น + วิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ รวมกันแล้วเป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ แปลว่า ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณ อันเป็น เครื่องดําเนินไปสู่มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว และวิปัสสนาญาณที่สงเคราะห์เข้าใน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิมี ๙ คือ
๑. พลวอุทยัพพยญาณ
๒. ภังคญาณ
๓. ภยญาณ
๔. อาทีนวญาณ
๕. นิพพิทาญาณ
๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ
๗. ปฏิสังขาญาณ
๘. สังขารุเปกขาญาณ
๙. อนุโลมญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ
วิปัสสนาญาณทั้ง ๙ นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณเบื้องหลัง ที่ผ่านพ้นจากอุปกิเลส ๑๐ อย่างเป็นต้น จนถึงอนุโลมญาณ ทั้งหมดนี้เรียกว่า ปฏิปทาญาณทัสสน วิสุทธิ์ เพราะว่าวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ นี้ ชําระใจให้พ้นจากความจําผิดทั้ง ๓ มีนิจสัญญา สุขสัญญา อัตสัญญาเสียได้
๗. อธิบายญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ คือความรู้แจ้งในอริยสัจ
คําว่า ญาณทสสนวิสุทธิ์ เมื่อแยกบทแล้ว มี ๓ บท คือ ญาณ ความรู้ + ทัสสน ความเห็น + วิสุทธิ ความบริสุทธิ์ เมื่อรวมกันแล้วเป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งความรู้และความเห็น ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า
๑. จตุสัจจ์ ชานาติติ ญาณํ รู้อริยสัจ ๔ ได้ ฉะนั้น เรียกว่า ญาณ
๒. ปจฺจกฺขโต ปสฺสติ ทสฺสนํ เห็นพระนิพพานโดยประจักษ์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า ทัสสนะ
๓. กิเลสมลโต วิชชุ ตีติ วิสุทธิ ความบริสุทธิ์จากกิเลสซึ่งเป็นมลทิน ฉะนั้น จึงเรียกว่า วิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่ในมรรคจิต
แสดงอนุปัสสนา ๓
อนุปัสสนา หมายความว่า การรู้เห็นเนืองๆ ชื่อว่า อนุปัสสนา เมื่อแยกบท แล้วได้ ๒ บท คือ อนุ + ปัสสนา อนุ แปลว่า เนืองๆ ปัสสนา แปลว่า การรู้เห็น เมื่อ รวมแล้วเป็นอนุปัสสนา แปลว่า การรู้เห็นเนืองๆ ดังนั้นคําว่า อนุปัสสนา ก็ได้แก่ ปัญญาเจตสิก คือวิปัสสนาญาณที่มีการพิจารณารู้เห็นในเตภูมิกสังขารธรรมโดย ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหตุนี้แหละ อนุปัสสนา จึงมี ๓
อนุปัสสนา ๓ เมื่อแสดงวจนัตถะ ความหมายของศัพท์แล้วก็จะได้ดังนี้ อนิจจสฺส อนุปสฺสนา อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นรูปนาม ที่เป็นอนิจจังอยู่ เนืองๆ จนอนิจจลักขณะปรากฏ ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา หรืออีกนัยหนึ่ง อนิจจตาย อนุปสฺสนา อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นความไม่เที่ยงอยู่เนืองๆ ชื่อว่า
อนิจจานุปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
อนิจจานุปัสสนา ในวจนัตถะ ข้อที่ ๒ นี้ ถ้าว่าตามวจนัตถะแล้ว ก็จะ ต้องสําเร็จรูปเป็น อนิจจตานุปัสสนา แต่ในที่นี้ลบ ตา ปัจจัย เสีย จึงสําเร็จรูปเป็น อนิจจานุปัสสนา
มหาวิปัสสนา ๑๘
ปัญญาที่ได้ชื่อว่า อนุปัสสนา นี้ เมื่อแสดงตามไตรลักษณ์แล้วมี ๓ ดังที่ได้ กล่าวมา แต่เมื่อแสดงโดยพิสดารแล้ว ได้ชื่อว่า มหาวิปัสสนา มี ๑๘ ดังต่อไปนี้ (มาในวิสุทธิมรรค)
ปัญญามีการพิจารณาเห็นเตภูมิกสังขารธรรม โดยความเป็น อนิจจังอยู่เนืองๆ เป็นต้น ชื่อว่า มหาวิปัสสนา ๑๘ อย่าง
๑. ในมหาวิปัสสนา ๑๘ อย่าง เมื่อพระโยคีบุคคลทําให้อนิจจานุปัสสนา คือปัญญาที่เห็นว่า ไม่เที่ยงเจริญขึ้น ย่อมละนิจสัญญา ความสําคัญว่าเที่ยงให้หมดไปได้
๒. เมื่อทําให้ทุกขานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่าทุกข์เจริญขึ้น ย่อมละสุข สัญญา ความสําคัญว่าสุข ให้หมดไปได้
๓. เมื่อทําให้อนัตตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่ามิใช่ตนเจริญขึ้น ย่อมละอัตตสัญญา ความสําคัญว่าเป็นตน ให้หมดไปได้
๔. เมื่อทําให้นิพพิทานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย เจริญขึ้น ย่อมละนันทิ ความเพลิดเพลิน ให้หมดไปได้
๕. เมื่อทําให้วิราคานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นเป็นสิ่งที่น่ากลาย ความกําหนัดเจริญขึ้น ย่อมละราคะ ความกําหนัด ให้หมดไปได้
๖. เมื่อทําให้นิโรธานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความดับไปเจริญขึ้น ย่อมละสมุทัย ความเกิด ให้หมดไปได้
๗. เมื่อทําให้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความสละคืนจาก การถือว่า เป็นนิจจ สุข อัตต สุภสัญญา แล้ว น้อมนึกในพระนิพพานเจริญขึ้น ย่อม ละอาทานะ การรับกิเลส กล่าวคือการให้กิเลสเกิดโดยที่มิได้เห็นโทษของสังขตธรรม ให้หมดไปได้
๘. เมื่อทําให้ขยานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความสิ้นไปแห่งรูปนามเจริญ ขึ้น ย่อมละฆนสัญญา ความสําคัญว่าเป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นแท่ง ให้หมดไปได้
๙. เมื่อทําให้วยานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความเสื่อมไปของสังขารธรรมที่ดับไปแล้ว และจักมีขึ้นในข้างหน้า โดยเปรียบเทียบกับความเสื่อมไปของ สังขารธรรมที่กําลังมีอยู่เฉพาะหน้าเจริญขึ้น ย่อมละอายุหนะ ความดิ้นรนเพื่อความ สุขความก้าวหน้า ให้หมดไปได้
๑๐. เมื่อทําให้วิปริณามานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นความแปรไปไม่คงที่เจริญขึ้น ย่อมละธุวสัญญา ความสําคัญว่าเที่ยง คงที่ ให้หมดไปได้
๑๑. เมื่อทําให้อนิมิตตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่าไม่มีนิมิต รูปร่าง สัณฐาน ซึ่งเป็นที่ตั้งอยู่เจริญขึ้น ย่อมละนิมิตทั้งสองมีฆนนิมิต และนิจจนิมิต ความ มีรูปร่างสัณฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตั้งมั่น คงที่อยู่ ให้หมดไปได้
๑๒. เมื่อทําให้อัปปณิหิตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่าไม่มีสิ่งที่น่ายินดี น่าปรารถนา เจริญขึ้น ย่อมละปณิธิ ความยินดีปรารถนาในเวทยิตสุข ให้หมดไปได้
๑๓. เมื่อทําให้สุญญตานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นว่ามีแต่ความว่างเปล่า จากเรา เขาไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้นเจริญขึ้น ย่อมละอภินิเวสะ ความถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขา อยู่ในอํานาจบังคับบัญชา ให้หมดไปได้
๑๔. เมื่อทําให้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นชัดแจ้งอย่างยิ่ง ในอารมณ์และอารัมมณิกะ ว่าเป็นแต่รูปกับนาม ซึ่งเป็นสังขตธรรมเท่านั้นที่หมดไป สิ้นไป หาใช่มีเรา เขา หมดไปสิ้นไปแต่ประการใดไม่ อาศัยการเห็นอย่างประจักษ์ชัดของการดับไปแห่งรูปนาม ที่เป็นฝ่ายอารมณ์และอารัมมณีกะเจริญขึ้น ย่อมละ สาราทานาภินิเวสะ ความงมงาย ถือมั่นว่าเป็นแก่นสารคงทนยืนอยู่ ให้หมดไปได้
๑๕. เมื่อทําให้ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ปัญญาที่เห็นรูปนามและธรรมที่ เป็นปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริงเจริญขึ้น ย่อมละสัมโมหาภินิเวสะ การถือมั่น ด้วยความหลงอยู่ในเรื่องวิจิกิจฉาว่า เป็นเราหรือไม่หนอ เป็นต้น และละทิฏฐิว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกเป็นต้น ให้หมดไปได้
๑๖. เมื่อทําให้อาทีนวานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นโทษในรูปนาม โดย อาศัย ความดับไปสิ้นไปอย่างน่ากลัวเจริญขึ้น ย่อมละอาลยาภินิเวสะ ความยึดมั่น จดจ่อในรูป นาม ว่าเป็นที่พึ่งที่อาศัย ให้หมดไปได้
๑๗. เมื่อทําให้ปฏิสังขานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นรูปนาม มีสภาพเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น เพื่อจะสลัดเลิกละจากอารมณ์ที่เป็นรูปและนามเจริญขึ้น ย่อมละอัปปฏิสังขา ความไม่พิจารณาให้แจ้งประจักษ์ในรูปนาม ที่มีสภาพเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นตัวโมหะ ให้หมดไปได้
๑๘. เมื่อทําให้วิวัฏฏานุปัสสนา คือ ปัญญาที่เห็นรูปนาม มีสภาพเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดการท้อแท้ใครที่จะปล่อยปละละทิ้ง อันเป็นตัวสังขารุ เปกขาญาณ อนุโลมญาณเจริญขึ้น ย่อมละสังโยคาภินิเวสะ ความยึดมั่นประกอบติด อยู่ในรูป นาม อันเป็นตัว ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ให้หมดไปได้
อธิบายความตามลําดับใน มหาวิปัสสนา ๑๘
๑. อนิจจานุปัสสนา
อนิจจานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของรูปนาม ที่เนื่องมา จากการเห็นเป็นประจักษ์แห่งความเกิดขึ้นและดับไป ในขณะที่กําหนดรู้รูปนาม อยู่ นั้นแหละ ปัญญานี้ได้ชื่อว่า "อนิจจานุปัสสนา"
ดังนั้น นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบความต่างกันระหว่างคําว่า อนิจจะ อนิจจลักขณะ อนิจจานุปัสสนา
อนิจจะ ธรรมที่ไม่เที่ยง
อนิจจลักขณะ เครื่องหมายที่รู้ว่าไม่เที่ยง
อนิจจานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงอยู่เนืองๆ ในรูปนาม ขันธ์ ๕ หรือ กายใจ ได้แก่ปัญญาที่ในมหากุศล มหากิริยา ขณะที่กําหนดรู้รูปนาม ขันธ์ ๕ หรือ กายใจ ดังที่วิสุทธิมรรคแสดงว่า อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญจก ฯ กสมา ฯ อุปปาทวยบุญฤตตภาวา หุตวา อภาวโต วา, อุปปาทวยบุญฤตต์ อนิจจลักษณ์ หุตวา อภาวสงขาโต วา อาการวิกาโร ๆ (มาในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิวัฒณนา) นิพฺพตฺตานํ เอเตนวากาเรน อจัตวา ของเคน เมโทติ อตฺโถ, อนิจจานุปสฺสนาติ ตาสา อนิจฺจตาย วเสน รูปาที่สุ อนิจฺจนฺติ อนุปัสสนา ฯ (มาในอานาปานัสสติ วัฒนา) รูปนาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า “อนิจจัง” เพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไป ด้วยความเกิดดับ และเป็นอย่างอื่น (ชรา) หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นดับ ไปไม่มีเหลือ ความเป็นไปที่มีอาการผิดแปลกเปลี่ยนไปโดยความเกิดดับและเป็นอย่าง อื่น (ชรา) ชื่อว่า “อนิจจลักขณะ” หรืออีกนัยหนึ่งอาการเป็นไปที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อม สิ้นดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า “อนิจจลักขณะ” หมายเอาความสลายด้วยการดับไปแห่ง รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ตั้งอยู่ในอาการนั้นอย่างเดียว (นั่นแหละเรียกว่า อนิจจ ลักขณะ) การพิจารณาเห็นในรูปธรรมเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง ด้วยอํานาจแห่งอนิจจลักขณะ นั้น ได้ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา
ธรรมเหล่าใด มีปัจจัย ๔ ปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังขตะ ธรรมดาสังขตธรรมทั้งหลายย่อมมีการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (อุปปาทะ, ฐิติ, ภังคะ) อันเป็นสังขตลักขณะ เครื่องหมายที่ให้รู้จําได้ว่านี้เป็นสังขตธรรม และ อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ ทั้ง ๓ นี้เรียกว่า ชาติ ชรา มรณะ (เกิด แก่ ตาย) ก็ได้ สังขตะ และสังฆตลักขณะทั้ง ๒ นี้ เมื่อว่าโดยการพิจารณาเห็นของวิปัสสนา ญาณแล้ว สังขตธรรมเป็นอนิจจัง สังขตลักขณะเป็นอนิจจลักขณะ เหตุนั้น อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ แต่ละขณะๆ นี้ จึงเป็นอนิจจลักขณะด้วยกันทั้งสิ้น สําหรับ ภังคขณะนั้นมีการแสดงถึงความไม่เที่ยงให้ปรากฏเด่นชัดอย่างสมบูรณ์ถูกต้องตาม ลักขณะที่ได้ชื่อว่า อนิจจัง ยิ่งกว่าขณะทั้ง ๒ นั้น ดังนั้น
ถ้าหากว่ามีการพิจารณาเห็นแต่เพียงแค่อุปปาทขณะ ฐิติขณะ ทั้ง ๒ ส่วน ภังคขณะยังมิได้มีการรู้เห็นแต่ประการใด การพิจารณาเห็นเช่นนี้ยังไม่จัดว่าได้รู้เห็น อย่างแท้จริงในความเป็นอนิจจัง เพียงแต่กล่าวได้ว่า มีการอนุมานเอาเองว่า ธรรมเหล่านี้ เมื่อมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้ว ก็จะต้องมีการดับไป ถ้ามีการดับ ธรรมเหล่านี้เป็นอนิจจัง การอนุมานเอาเองเช่นนี้หาใช่เป็นการรู้เห็นในความเป็นอนิจจังที่แท้ไม่ ต่อเมื่อ ได้พิจารณาเห็นภังคขณะของสังขตธรรมโดยชัดเจนอย่างสมบูรณ์แล้ว ในขณะนั้น แหละจึงจะได้ชื่อว่ามีการรู้เห็นความเป็นอนิจจังที่แท้จริงได้ เหตุนี้พระอรรถกถาจารย์ จึงได้ขยายในคําว่า หุตวา อลาว ที่แสดงถึง อนิจจลักขณะต่อไปด้วยคําว่า ขณภงเคน เกโท ที่เป็นดังนี้ก็เพราะประสงค์ที่จะให้รู้ถึงความเป็นเยี่ยมส่วนหนึ่ง ในอนิจจ ลักขณะ ดังที่พระอาจารย์ธรรมปาลเถระ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า กิญจาปี อุปปาทาทิ ติวิธมป์ สงฺขตลกขณตตาย อนิจจลักขณ์ ตถาปิ ชาติชราที่สุ น ตถา อนิจจลักขณ์ ปากฏ หุตวา อุปปฏฐาติ ยถาวยกขณติ อาห ภงฺโค นาม อนิจฺจตาย ปรมา โกฏิติ ๆ ขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทขณะเป็นต้น แม้ว่าจะเป็นอนิจจ ลักขณะ โดยความเป็นเครื่องหมายของสังขตธรรมด้วยกันก็จริง แต่กระนั้นก็ตาม ขณะ เกิดและขณะแก่นั้น อนิจจลักขณะหาใช่ปรากฏชัดเหมือนกับขณะดับไม่ ด้วย เหตุนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงได้กล่าวว่า ขณะดับนั้นแหละเป็นธรรมส่วนเยี่ยมในอนิจจลักขณะ
ข้อปฏิบัติที่ทําให้สันตติบัญญัติขาด ฆนบัญญัติแตก
เพื่อวิปัสสนาญาณได้เข้าถึง อนิจจานุปัสสนา ที่แท้จริง
เมื่อพระโยคีบุคคลได้กําหนดพิจารณาในสังขารธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่ เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและขนบัญญัติที่กําบังปกปิดการเกิดดับของสังขารธรรม รูปนาม ก็ขาดแตกไป เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์ เกิดขึ้นเวลาใดเวลานั้น วิปัสสนาญาณของพระโยคีบุคคลที่เข้าถึงความเป็น “อนิจจานุปัสสนา” เป็นต้น ได้
อธิบายว่า ผู้ที่ไม่มีการกําหนดรู้ในสังขารธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ทุกๆ ระยะของจิตและรูปนั้น อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังขารธรรม รูปนามเลย แม้แต่ รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้ว คงรู้คงเห็นแต่บัญญัติ เช่นเมื่อได้เห็น สีก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน ผ้าผ่อน, เมื่อได้ยินเสียงก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นเสียงชาย หญิง สัตว์ ดนตรี หัวเราะ ร้องไห้, เมื่อได้กลิ่นก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นกลิ่น ดอกไม้ กลิ่นของหอม กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระปัสสาวะ, เมื่อลิ้มรสก็คงรู้คงเข้าใจ ไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นรสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ําตาล, เมื่อได้ สัมผัสกับความเย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง, หย่อน, ตึง, ก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่เรื่องต่างๆ ว่านี้ เป็นน้ําแข็ง น้ําร้อน ไฟ, สําลี นุ่น ไม้ มีด หิน ยุบ พอง ร่างกายหย่อนเบาแข็ง ดึงหนัก, ยกมือ ยกขา เหยียดมือ เหยียดขา ดังนี้เป็นต้น, นี้ก็เป็นด้วยสันตติบัญญัติและ ฆนบัญญัติได้กําบังปกปิดในอารมณ์ภายนอกต่างๆ และอารัมมณีกวิถีจิตภายในเอาไว้ นั่นเอง จึงมีความรู้ความเข้าใจเป็นไปดังนี้ เรียกว่า “สันตติบัญญัติ” ไม่ขาด และ “ฆนบัญญัติ” ก็ไม่แตก
แต่ตามความเป็นจริงนั้นขณะที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ รูปารมณ์เก่าย่อมดับ ไป รูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย ผู้เห็นคงเห็นแต่รูปารมณ์ที่เกิดใหม่ ตลอดระยะเวลาที่ดูอยู่ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรูปารมณ์คือการเห็นนั้นเล่าก็มีการเห็นเก่าดับไป การเห็นใหม่เกิดขึ้นแทนติดต่อกันโดยไม่ขาดสายเช่นกัน แต่แล้วผู้ดูผู้เห็นก็เข้าใจ ผิดไป ในรูปารมณ์และการดูของตนว่า รูปารมณ์ที่ตนดูอยู่ก็ดี การเห็นของตนที่กําลัง เห็นอยู่ก็ดี ในนาทีแรกและนาทีหลังๆ คงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ ขณะได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสอยู่ เสียงกับการได้ยินก็ดี, กลิ่นกับการได้กลิ่นก็ ดี, รสกับการรู้ รสก็ดี, เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กับการสัมผัสเหล่านี้ก็ดี มีสภาพเช่นกัน คือเก่าดับไปใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย แต่แล้วก็มีการเข้าใจผิดไปว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ
การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณีกวิถีจิตภายในเป็น “สันตติบัญญัติ” การเกิดขึ้นสืบต่อกันมีสภาพไม่ขาดสายแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิต ภายในนั้นแหละคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มเป็นก้อนนี้เป็น “ฆนบัญญัติ ในบัญญัติ ๒ ประการนี้เมื่อ “สันตติบัญญัติ” ปรากฏในใจ “ฆนบัญญัติ” ก็ปรากฏ ในใจด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้นจะเรียกรวมกันทั้ง ๒ อย่างว่า “สันตติฆนบัญญัติ” ก็ได้
สันตติฆนบัญญัติได้กําบังปกปิดไว้ดังกล่าวแล้วนี้แหละ จึงทําให้ผู้ที่ไม่มี สติ กําหนดรูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ไม่มีการรู้เห็นความเกิด-ดับ ที่เป็น “อนิจจลักษณะ” ได้
ฝ่ายผู้ที่ทําการกําหนดสังขารธรรม รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติ รู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ย่อมรู้เห็นแทงทะลุปรุโปร่งสันตติฆนบัญญัติที่กําบัง ปกปิด การเกิดดับของสังขารธรรม รูปนาม ไปได้ ด้วยการกําหนดรู้เห็นวิถีจิตที่เกิด ก่อนและวิถีจิตที่เกิดทีหลังในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสกับ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ, ปวด, ดีใจ, เสียใจ, คิดนึกต่างๆ เหล่านี้นั้นขาดลงเป็นตอนๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในด้านรูปก็คงกําหนดรู้เห็น รูปที่เกิดก่อน และรูปที่เกิดทีหลัง ในระยะเวลาที่พองขึ้น, ยุบลง, หายใจเข้า, หายใจ ออก, ยกมือ, ยกขา, ก้าวไปข้างหน้า, ถอยมาข้างหลัง, ลุกขึ้น, นั่งลง, เหลียวซ้าย, แล ขวา, กะพริบตา, อ้าปาก, เหล่านี้ก็ขาดเป็นตอนๆ มิใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, การรู้ เห็นในวิถีและอารมณ์เป็นตอนๆ ดังนี้แหละเรียกว่า สันตติบัญญัติขาด ฆนบัญญัติ แตก อนิจจลักขณะคือ ความเกิดขึ้นดับไปก็ปรากฏขึ้น เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณของ ผู้นั้นได้เข้าถึงความเป็น “อนิจจานุปัสสนา” ที่แท้จริง
ครั้นวิปัสสนาญาณ ได้เข้าถึงความเป็น อนิจจานุปัสสนา อย่างแท้จริงแล้ว การกําหนดรู้ในอิริยาบถใหญ่น้อย ลมหายใจเข้าออก การเห็นการได้ยิน เมื่อยปวด ดีใจ เสียใจ คิดนึกเหล่านี้นั้น ในระยะนี้ พระโยคีบุคคลอาจเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาโดย ทําความไว้ในใจถึงความไม่เที่ยงๆ ดังนี้ก็ได้ (ในทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ที่แท้เกิดขึ้นก็อาจเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาทําไว้ในใจถึงความเป็นทุกข์ๆ อนัตตาๆ ไม่ใช่เราเขาๆ ดังนี้ได้เช่นกัน) แต่ทว่าการเปลี่ยนไปพิจารณาดังนี้นั้นหามีความสําคัญ แต่อย่างใดไม่ ความสําคัญอยู่ที่การพิจารณาเห็น “อนิจจลักขณะ” เป็นต้นทุกๆ ระยะ ในขณะที่มีการกําหนดรู้อยู่เท่านั้น ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่า “อนิจจลักขณะ” มิได้ปรากฏ เนื่องมาจากอสัปปายะ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สําหรับจิตใจนั้นคงรู้เห็น “อนิจจลักขณะ ด้วยอํานาจสัญญาที่เกิดจากการน้อมนึกไปตามมนสิการถึงความไม่เที่ยงๆ เท่านั้น แล้วก็เข้าใจผิดไปว่าตนได้รู้เห็น “อนิจจลักขณะ” ด้วยอํานาจของวิปัสสนาญาณ โดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นการเปลี่ยนมาพิจารณาดังนี้จึงไม่มีความสําคัญ การอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วนี้
การนอนเนื่องของ อนุสัยกิเลส และธรรมที่ประหาณ
การนอนเนื่องของ อนุสัยกิเลส นี้มีอยู่ ๒ ประการคือ
๑. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในการเกิดขึ้นสืบต่อแห่งรูปนาม ชื่อว่า สันตานานุสยกิเลส
๒. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ที่เป็นปิยรูป สาตรูป อปิยรูป อสาตรูป ชื่อว่า อารัมมณานุสยกิเลส
ใน ๒ ประการนี้ มรรคทั้ง ๔ ทําการประหาณสันตานานุสยกิเลส วิปัสสนาญาณที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ทําการประหาณอารัมมณานุสยกิเลส ฉะนั้นอนุสัยกิเลสที่ อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ได้ประหาณไปนั้นเป็นอารัมมณานุสยกิเลส ส่วนสันตานา นุสยกิเลสนั้นเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ตราบใด แม้ว่าผู้นั้นจะได้เคยปฏิบัติวิปัสสนามาแล้ว หลายครั้งหลายหนหรือกําลังปฏิบัติอยู่ก็ตาม หรือผู้ที่เป็นญานลาภี อภิญญาลาภี ทําฤทธิ์เดชต่างๆ นานาได้ก็ตาม หรือจะได้ไปบังเกิดเป็นพรหมติดต่อกันหลายภพ หลายชาติก็ตาม สันตานานุสยกิเลสก็ยังคงมีอยู่เต็มที่เป็นปกติ โดยอาการที่ยังมิได้ถูก ประหาณลงเลยแม้แต่เล็กน้อย สําหรับอารัมมณานุสยกิเลสนั้น เมื่อวิปัสสนาญาณของ พระโยคีได้เข้าถึงขั้นภังคญาณอารัมมณานุสยกิเลสก็ถูกประหาณลงทันทีตั้งแต่ญาณ นี้เรื่อยๆ ไป ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระวิภังคบาลีว่า
สตุตานุสยา กามราคานุสโย ปฏิฆานุสโย มานานุสโย ทิฏฐานุสโย วิจิกิจฉานุสโย ภวราคานุสโย อวิชชานุสโย ย์ โลเก ปิยรูป สาตรูป เอตฺถ สตฺตานํ ราคานุสโย อนุเสติ, ย์ โลเก อปปิยรูป อสาตรูป์ เอตฺถ สตฺตานํ ปฏิฆานุสโย อนุเสติ อิติ อิเมสุ ทวีสุ ธมฺเมสุ อวิชชา อนุปติตา, ตเทกฎโฐ มาโน จ ทิฏฐิ จ วิจิกิจฉา จ ทฏฺฐพฺพา ฯ
แปลความว่า อนุสัยกิเลสมี ๗ อย่าง คือธรรมชาติที่ยินดีพอใจรักใคร่ใน กามคุณอารมณ์ที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานธรรมชาติที่ขัดแค้นในอารมณ์นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่ถือตัวนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่เห็นผิด นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่สงสัยในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูอาจารย์ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่ยินดีพอใจในภพชาติ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ธรรมชาติที่หลงอยู่ในเรื่องเห็นผิดนอนเนื่องอยู่ในขันธ สันดาน (นี้เป็นสันตานานุสยกิเลส) ปิยรูปสาตรูป สภาพที่น่ารักน่ายินดีอันใดมีอยู่ใน โลกคือสังขารธรรมรูปนามภายในตน กามราคะและภวราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อม นอนเนื่องอยู่ในปิยรูป สาตรูป สภาพที่น่ารักน่ายินดีเหล่านี้ อปิยรูป อสาตรูป สภาพที่ ไม่น่ารักไม่น่ายินดีอันใดมีอยู่ในโลกคือสังขารธรรมรูปนามภายในตน ปฏิฆานุสัยของ สัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในอปิยรูป อสาตรูป สภาพที่ไม่รักไม่น่ายินดีเหล่านี้ เมื่อเป็นดังนี้ อวิชชานุสัยก็ย่อมนอนเนื่องอยู่ในราคะและปฏิฆะ ทั้ง ๒ นี้ด้วย ส่วน มานานุสัย ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัยเหล่านี้ก็ย่อมตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับจิตที่ มีอวิชชา (นี้เป็นอารัมมณานุสยกิเลส) นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบดังนี้
สันตานานุสัยกิเลส กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานโดยอาการที่ยังไม่ ปรากฏเป็นสภาวปรมัตถ์ คือยังไม่เข้าถึงขณะทั้ง ๓ (เกิด ตั้ง ดับ) นั้นได้ชื่อว่า สันตานานุสยกิเลส ดังนั้น ผู้ที่ยังมิได้ทําการประหาณอนุสัยกิเลสโดยสมุจเฉทนั้นได้ ชื่อว่าเป็นปุถุชน และปุถุชนคนเหล่านี้แม้ว่าจะยังเป็นเด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ตาม เป็น เด็กเล็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่แก่เฒ่าลงไปก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ บรรพชิตก็ตาม ได้ฌานอภิญญา เหาะดําดินไปได้ก็ตาม แม้ที่สุดจะได้บังเกิดเป็นพรหมอยู่หลายภพหลายชาติก็ตาม
ปุถุชนคนเหล่านี้ก็ยังเป็นผู้ที่มีอนุสัยกิเลสอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น แม้ว่าจะได้สําเร็จเป็นพระ โสดาบัน สกทาคามีแล้วก็ตาม อนุสัยกิเลสอีก ๕ อย่างก็ยังเหลืออยู่ ยังหาได้ประมาณ ให้หมดไปไม่ คงประหาณได้แต่ทิฏฐิ วิจิกิจฉานุสัย ๒ อย่างนี้เท่านั้น ครั้นเป็น พระอนาคามี ภวราคะ มานะ อวิชชานุสัย ทั้ง ๓ ก็ยังมีอยู่หาได้หมดไปเพียงขั้นนี้ไม่ ฉะนั้นบุคคลทั้ง ๔ จําพวกนี้จึงยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ อุปมาเหมือนกับคนไข้ที่ยังไม่หายไข้ มีผู้มาถามว่าท่านสบายดีหรือ ? แม้ว่าในขณะนั้นจะมิได้เป็นไข้แต่ก็ตอบว่าเป็นไข้อยู่ โดยมาคํานึงนึกถึงไข้ที่เคยเป็นมาแล้วและจักเป็นอีกในวันหน้า หรืออุปมาเหมือนกับ ผู้ที่ยังมิได้มีการเว้นขาดจากการรับประทานเนื้อ เมื่อถูกถามว่าท่านรับประทานเนื้อหรือ
เปล่า ? ถึงแม้ว่าในขณะนั้นจะมิได้รับประทานอยู่ก็จริงแต่ก็ตอบว่าข้าพเจ้ารับประทาน ทั้งนี้ก็เพราะว่ามาคํานึงนึกถึงที่ได้เคยรับประทานมาและจักรับประทานอีกในวันหน้า สมดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในอนุสยยมกว่า :-
ยสฺส กามราคานุสโย อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชตีติ ?
กามราคานุสัยกําลังเกิดแก่บุคคลใดปฏิฆานุสัยก็กําลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ? อามนฺตา ใช่ การที่ทรงวิสัชนาดังนี้ก็เพราะทรงหมายถึงความที่ยังเป็น อนุสัยอยู่ โดยอาการที่เคยเกิดและจักเกิดดังที่ได้ยกอุปมามาเปรียบเทียบให้เห็นแล้ว ทั้ง ๒ ข้อนั้น แต่ถ้าจะถามว่า
ยสฺส กามราโค อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิโฆ อุปฺปชฺชตีติ ?
กามราคะกําลังเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆะก็กําลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ? วิสัชนาว่า นุปฺปชฺชติ ไม่ใช่กําลังเกิด
อนึ่ง อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ ประการนี้เมื่อปรากฏขึ้นโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ คือเข้าถึงปริยุฏฐานแล้วนั้นเกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี เกิดไม่พร้อมกันในจิต ดวงเดียวกันก็มี แต่เมื่อยังเป็นอนุสัยอยู่นั้นได้นอนเนื่องอยู่พร้อมกันทั้ง ๒ อย่างในจิต ดวงเดียวกันนั้นเอง เหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงในอนุสยยมกว่า :-
ยสฺส กามราคานุลโย อนุเสติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสตีติ ?
กามราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลใดปฏิฆานุสัยก็นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลนั้นใช่ไหม ? อามนฺตา ใช่ ฉะนั้น การประหาณสันตานานุสยกิเลสได้โดยเด็ดขาดนั้นก็มีแต่มรรคญาณอย่างเดียว สําหรับวิปัสสนาญาณนั้นคง ประหาณได้ด้วยตทั้งคปหานเท่านั้น ส่วนฌานสามารถประหาณด้วยวิกขัมภนะคือด้วย การบ่มไว้เป็นเวลานานๆ คือหลายวันหลายเดือนหลายปีหลายมหากัป
อารัมมณานุสัยกิเลส การเกิดขึ้นของกิเลสโดยไม่สิ้นสุดในอารมณ์ที่ยังมิได้ มีการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยวิปัสสนาญาณ มรรคญาณ กิเลสนี้ชื่อว่า อารัมมณานุสัยกิเลส ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานโอวาทแก่บรรดาภิกษุทั้งหลายว่า :-
สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย ราคานุสโย ปหาต โพ ทุกขาย เวทนาย ปฏิฆานุสโย ปหาตพโพ, อทุกขมสุขาย เวทนาย อวิชชานุสโย ปหาตพฺโพ ฯ (มาในเวทนา สังยุตตพระบาลี) แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย ควรละราคานุสัยในการเสวยสุข ควรละปฏิฆานุสัยในการเสวยทุกข์ ควรละอวิชชานุสัย ในการเสวย ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
พระโอวาทนี้ทรงมุ่งหมายถึง “อารัมมณานุสัยกิเลส” ทั้งพระอรรถกถาจารย์ ก็ยังได้กล่าวไว้ว่า :- อิมสฺม สุตฺเต อารมฺมณานุสโย กณิโต ในสูตรที่มี สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอารัมมณานุสัยกิเลส แต่ก็หาได้ ทรงชี้แจงถึงข้อปฏิบัติที่จะทําการละ “อารัมมณานุสัยกิเลส” นี้แต่ประการใด ไม่เพียง แต่ทรงเตือนให้ทําการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ เท่านั้น เพราะว่าถ้าภิกษุ ทั้งหลายมิได้ทําการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ แล้วก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะทํา การประหาณอารัมมณานุสัยกิเลสนี้ได้ ถ้าว่าได้ทําการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อยู่โดยเคร่งครัดแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่ามีการละกิเลสในการเสวยอารมณ์นั้นๆ ได้ ดังที่พระฎีกาจารย์ได้แสดงไว้ในอานาปานัสสติกรรมฐานแห่งวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า :-
อนิจจานุปัสสนา ตาว ตรงคปปหานวเสน นิจจสัญญ์ ปริจจชติ ปริจจชนตี จ ตถา อปฺปวัตติย์ เย นิจฺจนฺติ ค ณวเสน กิเลสา ตมมูลกา อภิสงฺขารา ตทุกขมูลกา จ วิปากา ขนฺธา อนาคต อุปปัชเชย เต สัพเพปิ อปปาติกรุณาเสน ปริจจชติ ตถา ทุกขานุปสฺสนาทโย เตนาห วิปัสสนา หิ ตทงควเสน สิทธิ์ ยนฺธาภิสงฺขาเรหิ กิเลเส ปริจฺจชตีติ ฯ
แปลความว่า อนิจจานุปัสสนาที่แสดงในอันดับแรกนี้ย่อมสละละทิ้งนิจจ สัญญาด้วยอํานาจแห่งตทังคประหาณ เมื่ออนิจจานุปัสสนาได้สละละทิ้งนิจจสัญญาได้
แล้ว ถ้าหากว่ามิได้มีการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงโดยอาการดังที่กล่าวนี้ กิเลสต่างๆ อาจเกิดได้ในภายหลังด้วยอํานาจแห่งความยึดถือว่ารูปนามนี้เที่ยง และอภิสังขารคือ
อกุศลโลกียกุศลกรรมที่มีกิเลสเป็นมูลก็ดี วิบากนามขันธ์อันเป็นตัวภพใหม่ที่มีกรรม และกิเลสทั้ง ๒ นี้เป็นมูลก็ดีอาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง อนิจจานุปัสสนาที่สละละทิ้ง นิจจสัญญาได้นั้น ย่อมสละละทิ้งกิเลสกรรมวิบาก แม้เหล่านี้ทั้งหมดไม่ให้เกิดขึ้นได้ พร้อมกันอีกด้วย ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ที่สละละทิ้งสุขสัญญา อัตตสัญญา เป็นต้นได้นั้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า วิปัสสนาญาณย่อมสละกิเลสพร้อมด้วยวิบากนามขันธ์และ อภิสังขารด้วยอ่านเจตทังคปหาน
เมื่อ “อนิจจานุปัสสนา” เกิด “ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา” ก็ย่อมเกิดขึ้นตาม
ในเรื่องนี้ เมื่อมีการพิจารณาเห็นว่าเป็นอนิจจะแล้วกิเลสที่เกี่ยวกับนิจจ สัญญาก็เกิดขึ้นในอารมณ์นั้นไม่ได้ อันนี้เห็นได้โดยแจ้งชัดไม่มีข้อที่จะต้องสงสัย แต่ปัญหามีอยู่ว่าที่เกี่ยวกับสุขสัญญาและอัตตสัญญานั้นจะเกิดขึ้นในอารมณ์อันเดียวกันนี้ได้หรือไม่ ? แก้ว่า เกิดไม่ได้เพราะว่า ผู้ปฏิบัติที่ได้พิจารณาเห็นในอารมณ์โดยความ เป็นของไม่เที่ยงด้วยอํานาจการปรากฏแห่งอนิจจลักขณะคือเกิดดับๆ นั้น ครั้นได้หวน กลับไปพิจารณาดูในอารมณ์นั้นอีกครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นว่าเป็นสุข คงเห็นว่าเป็นทุกข์ โดยการเกิดขึ้นดับไปไม่หยุดยั้ง ทั้งมิได้เห็นว่ามีตัวตนเป็นแก่นสารแต่อย่างใดเลยใน อารมณ์นั้นอีกด้วย คงเห็นแต่ว่าไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ไม่เป็นไปตามประสงค์ คงเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ดังนั้น กิเลสที่เกี่ยวกับสุขสัญญาและอัตตสัญญา จึงเกิดขึ้นไม่ได้ในอารมณ์ที่มีการพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงดังนี้ สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ใน อังคุตตรพระบาลี ว่า :-
อนิจจสัญญา ภาเวตพฺพา อัสมิมาน สมุดมาตาย, อนิจจสัญญโน ภิกฺขเว อนตฺตสัญญา สัญชาติ, อนตฺตสญณี อสมิมานสมุกฆาต ปาปุณาติ ทิฏฺเจว ธมฺเม นิพฺพานํฯ
แปลความว่า พึงเจริญอนิจจสัญญาคือความจําหมายว่าไม่เที่ยงเพื่อถอนออกเสียซึ่งอัสมิมานะที่มีอาการถือตนว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลายอนัตตสัญญาความจําหมายว่าไม่ใช่ตน เรา เขา ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ ด้วยดีแก่ผู้ที่มีการพิจารณาเห็นเป็นอนิจจะ ผู้ที่พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตะ คือไม่ใช่ตน เรา เขานั้น ย่อมเป็นผู้ที่เข้าถึงซึ่งการถอนออกแห่งอัสมิมานะที่มีอาการยกตนว่า เรา แล้วเข้าถึงนิพพาน คือความสงบแห่งกิเลสในภพที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้านี้นั่นเทียว
ในพระบาลีนี้คํารับรองที่เป็นพยานหลักฐานอย่างสําคัญในเรื่องนี้ ก็อยู่ตรง พระบาลีที่กล่าวว่า อนิจจสัญญโน ภิกขเว อนตฺตสัญญา สณฺฐาติ และพระอรรถกถาจารย์ก็ยังได้กล่าวคําอธิบายขยายความตามพระบาลีนี้ไว้ใน อังคุตตรอรรถกถาอีกว่า :-
อนตฺตสัญญา สัญชาติ อนิจจลักขโณ ทิฏเฐ อนัตตลักขณ์ ทิฏฐเมว โหติ, เอเตสุ หิ สุ ลักขณสุ เอเกกลม ทิฏเฐ อิตรทวย์ ทิฏเฐเมว โหติ, เตน วุตต์ อนิจจสัญญโน ภิกขเว อนตฺตสัญญา สัณฐาตีติ ฯ แปลความว่า ที่พระพุทธองค์ทรง ตรัสว่า อนตฺตสญฺญา สัณชาติ (อนัตตสัญญาความจําหมายว่า ไม่ใช่ตน เรา เขาย่อม ตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี) นั้น อธิบายว่า เมื่อพิจารณาเห็นการเกิดดับที่เป็นอนิจจลักขณะ แล้วก็จักเห็นอนัตตลักขณะ คือไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชามีแต่เกิดดับเป็นไปตามเหตุ ปัจจัยสําเร็จไปด้วย เป็นความจริงดังนั้นเมื่อได้เห็นลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาลักษณะ ๓ อย่างนั้นก็จะต้องได้เห็นลักษณะทั้ง ๒ ที่เหลืออีกด้วย อย่างแน่แท้ เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า อนิจจสัญญโน ภิกขเว อนตฺตสัญญา สณฺฐาติ ดูกรภิกษุทั้งหลายอนัตตสัญญาความจําหมายว่าไม่ใช่ตน เรา เขา ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี แก่ผู้ที่มีการพิจารณาเห็นเป็นอนิจจะ
อธิบายอัสมิมานะ
อัสมิมานะ หมายความว่าการถือตนว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ พระอริยบุคคล ทั้งหลายที่นอกจากพระอรหันต์นั้น แม้ว่าจะเป็นผู้ไม่มีสักกายทิฏฐิคือความเข้าใจผิด ในรูปนามว่าเป็นเราเป็นเขา ชาย หญิง สัตว์ บุคคล ตัวตน ดังเช่นปุถุชนคนทั้งหลาย เห็นอยู่นั้นก็จริง แต่ทว่าอัสมิมานะการถือตัวว่าเราเป็นนั่นเป็นนี้โดยอาศัยคุณความดี ที่มีอยู่ในตนยังมีอยู่เพราะว่าอัสมิมานะนี้เป็นฝ่ายยาถาวมานะ การถือตัวตามความเป็นจริง หาใช่เป็นอยาถาวมานะ การถือตัวไม่ใช่ตามความเป็นจริงแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น การทํา พูด คิด ของพระอริยะ ๓ จําพวกนี้บางทีก็ประกอบด้วยอัสมิมานะเช่นมีการถือตัว ว่าเราเป็นอริยะ มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงมีศีลบริสุทธิ์ ถ้าเป็น พระอนาคามีก็มีการถือเป็นพิเศษออกไปอีกว่าเราไม่มีความยินดียินร้ายในอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ถ้ามีความรู้ความสามารถก็ถือว่าเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถคิดนึก อยู่ภายในใจบ้าง แสดงออกมาทางกายบ้าง เปล่งออกมาทางวาจาบ้าง ซึ่งมีอาการ ละม้ายคล้ายคลึงกันกับสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นอัสมิมานะนี้เรียกว่า ทิฏฐิมานะก็ได้ และ กาลที่แสดงว่าสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคเบื้องบน ๓ มีหน้าที่ประหาณมิจฉาทิฏฐินั้น ก็ มุ่งหมายเอาอัสมิมานะนี้เอง บรรดาสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคเบื้องบน ๓ นี้ สัมมาทิฏฐิ ที่อยู่ในอรหัตตมรรคเท่านั้นที่จะทําการประหาณอัสมิมานะให้เด็ดขาดหมดไปได้ อีกประการหนึ่งปุถุชนทั้งหลายที่ทําการกําหนดพิจารณารูปนามอยู่ เมื่ออนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นนั้น ปุถุชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมประหาณอัสมิมานะลงได้บ้างเหมือนกันแต่มิใช่เป็นสมุจเฉทปหาน
แสดงอนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะโดยสมมุติ และอนัตตลักขณะ
ในลักษณะ ๓ ประการนี้ “อนิจจะและทุกขะ” มีอยู่ด้วยกัน ๒ อย่าง คือ
๑. โดยสมมุติ
๒. โดยสภาวะ
โดยสมมุตินั้นอยู่ในขอบเขตของสักกายทิฏฐิอันเป็นของชาวบ้านที่นิยมพูดกัน กล่าวคือเมื่อได้เห็นของสิ่งหนึ่งสิ่งใดแตกหักทําลายลง สัตว์ บุคคล ตายไป เคยมั่งมีกลับจน มียศมีอํานาจกลับเสื่อมยศเสื่อมอํานาจ ดังนี้แล้วก็มักจะกล่าวกันว่า อนิจจังๆ เมื่อตนเองก็ดี ผู้อื่นก็ดี มีการป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นหรือถูกตี ฟัน แทง เป็น แผลฝีเสี้ยนหนามตํา เสียอกเสียใจดังนี้แล้วก็มักจะกล่าวกันว่า ทุกข์จริงๆ นี้แหละ เรียกว่า อนิจจะ ทุกขะ โดยสมมุติซึ่งเป็นไปตามความเห็นของชาวบ้าน สําหรับอนัตต ลักขณะนั้นชาวบ้านมองไม่เห็นเลย และไม่สามารถที่จะมองเห็นได้อีกด้วย ดังนั้นจึง ไม่มีการนิยมพูดกันว่าเป็น อนัตตา
โดยสภาวะนั้นอยู่ในขอบเขตของสัมมาทิฏฐิอันเป็นวิสัยของพระสัมมาสัม
พุทธเจ้ากล่าวคือมีสภาพเกิดดับดังที่กล่าวแล้ว เหตุนี้แหละในสมัยที่ว่างเปล่าจาก พระพุทธศาสนานั้น อนิจจะ ทุกขะที่เป็นสภาวะจึงไม่มีใครกล่าวกัน แม้ที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็มิอาจที่จะกล่าวหรือแสดงอนิจจะ ทุกขะ ที่เป็นสภาวะให้ชนทั้งหลายฟังได้เพียงแต่กล่าวหรือแสดงอนิจจะ ทุกขะที่เป็นไปตามสมมุติเท่านั้น สําหรับอนัตตลักขณะนั้นทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มิได้มีการกล่าวถึงและแสดงได้เลย ฉะนั้นชนทั้งหลายเมื่อได้ฟังธรรมที่เป็นอนิจจะและ ทุกขะ จากพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี จากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็ดี จึงมิอาจที่จะบรรลุ มรรคผลได้ เพียงแต่ยังจิตใจให้เป็นมหากุศลเกิดขึ้นเท่านั้น
อนึ่ง ความสําเร็จในการรู้เห็นและการแสดงธรรมที่เป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ โดยสภาวะนั้นต่างกันคือ การรู้เห็นสําเร็จได้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา การแสดงธรรม สําเร็จได้ด้วยการศึกษาพระอภิธรรม ดังนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้ว่าจะรู้เห็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ ที่เป็นสภาวะจนได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ก็จริง แต่ทว่าขาดการ ศึกษาพระอภิธรรมอันเป็นฝ่ายปริยัติ ฉะนี้แหละจึงมิอาจที่จะแสดงสภาวะ อนิจจะ ทุกขะได้ ส่วนพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นแม้จะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอย่างล้นพ้น ประการใดก็ตาม แต่ก็ยังมิได้รู้เห็นอนิจจะ ทุกขะ ตามสภาวะ สรุปแล้วก็คงได้ความ ว่า อนิจจทุกขลักขณะที่เป็นสภาวะอยู่ในขอบเขตของสัมมาทิฏฐิ และอนัตตลักขณะนั้นมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสาวก สาวิกาที่มีการศึกษาในพระอภิธรรมเป็นอย่าง ดีเท่านั้นที่จะแสดงได้ ดังที่พระมหาพุทธโฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถา ว่า :-
๑. สมัยที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็ตาม มิได้อุบัติขึ้นก็ตาม อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะทั้ง ๒ นี้ ย่อมปรากฏมีอยู่เสมอ
๒. ยกเว้นพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเสียแล้ว อนัตตลักขณะย่อมไม่ปรากฏ จัก ปรากฏก็เฉพาะแต่ในสมัยที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเท่านั้น
๓. ดาบสปริพาชกทั้งหลายมีโพธิสัตว์ศาสดาจารย์สรภังคะเป็นต้น ที่มีฤทธิ์มากอานุภาพมากเหล่านี้ ย่อมสามารถแสดงได้แต่เพียงแค่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง ๒ ประการนี้เท่านั้นไม่สามารถแสดงความเป็นอนัตตาได้เลย
๔. ความจริงเป็นดังนั้น ถ้าหากว่าท่านเหล่านั้นสามารถแสดงความเป็นไป แห่งรูปนาม โดยความเป็นอนัตตาให้แก่บริษัทที่มาหาตนฟังได้แล้ว บริษัทเหล่านั้นก็ อาจบรรลุมรรคผลได้บ้าง
๕. แท้จริงการปรากฏแห่งอนัตตลักขณะนี้ หาใช่เป็นวิสัยของผู้ใดผู้หนึ่งอื่น นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ แต่เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า จําพวกเดียวเท่านั้น
๖. อนัตตลักขณะไม่ปรากฏในสมัยที่ไม่มีพระพุทธศาสนาดังนี้แล
๗. เพราะฉะนั้น พระศาสดาเอกของชาวโลก เมื่อจะทรงแสดงอนัตตลักขณะ นั้นย่อมแสดงชี้แจงด้วยสภาพความเป็นอนิจจังบ้าง ทุกขังบ้าง และทั้งอนิจจังทุกขัง
ทั้ง ๒ บ้าง
ตามหลักฐานนี้พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า การแสดงอนัตตลักขณะของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บางทีก็ทรงยกความเป็นอนิจจะขึ้นมาเปรียบเทียบ บางทีก็ ทรงยกความเป็นทุกขะขึ้นมาเปรียบเทียบ บางทีก็ทรงยกความเป็นอนิจจทุกขะ ทั้ง ๒ ขึ้นมาเปรียบเทียบเพื่อจะได้เห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทําให้เกิดความสงสัย
ขึ้นมาว่า ก็เหตุไฉนบริษัททั้งหลายที่ได้ฟังอนิจจทุกขะจากพระโพธิสัตว์ศาสดาจารย์ สรภังคะนั้น จึงมิได้รู้เห็นในความเป็นอนัตตา และได้มรรคผลเล่า
แก้ว่า การแสดงอนิจจะ ทุกขะของท่านเหล่านั้นเป็นการแสดงอนิจจะ ทุกขะ โดยสมมุติดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นหาใช่เป็นอนิจจะ ทุกขะแท้อันเป็นอารมณ์ของ วิปัสสนาญาณแต่อย่างใดไม่ สําหรับการแสดงอนิจจะ ทุกขะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวนี้เป็นการแสดงอนิจจะ ทุกขะโดยสภาวะที่เป็นอารมณ์ ของวิปัสสนาญาณ ฉะนั้นผู้ฟังจึงสามารถรู้เห็นในความเป็นอนัตตาได้
จบ อนิจจานุปัสสนา
๒. ทุกขานุปัสสนา
ทุกบานุปัสสนา มีวงนัตถะแสดงว่า ทุกขสฺส อนุปสฺสนา ทุกฺขานุปสฺสนา แปลว่าการพิจารณารู้เห็นรูปนามที่เป็นทุกข์อยู่เนืองๆ จนทุกขลักษณะปรากฏชื่อว่า ทุกขานุปัสสนา หรืออีกนัยหนึ่ง ทุกขตาย อนุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา การพิจารณา รู้เห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ชื่อว่า ทุกขานุปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก
แสดงความต่างกันของคําทั้ง ๓
๑. ทุกขธรรม ธรรมที่เป็นทุกข์ได้แก่ รูปนาม
๒. ทุกขลักษณะ เครื่องหมายที่กําหนดว่าเป็นทุกข์ของรูปนาม
๓. ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่มีการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม
ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทนอยู่ไม่ได้ของรูปนาม ที่ เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งการเบียดเบียน โดยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสายในขณะที่กําหนดรู้รูปนามตามสภาวะอยู่นั้นแหละ ปัญญานี้ชื่อว่า “ทุกขานุปัสสนา”
ดังนั้น นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบความในระหว่างคําว่า ทุกขะ ทุกขลักขณะ ทุกขานุปัสสนา ทั้ง ๓ นี้ว่ามีความต่างกันคือ ทุกขะ ธรรมที่เป็นทุกข์ได้แก่รูปนาม ทุกขลักขณะ เครื่องหมายที่กําหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ได้แก่การเกิดดับติดต่อกันอยู่อย่างไม่ ขาดสาย, ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม หรือขณะที่เห็นความเกิดดับของรูปนามอยู่นั้น ความรู้สึกในขณะนั้นก็เกิดขึ้นว่า ภาย ใจนี้เป็นของน่าเกลียดน่ากลัวไม่ดีเป็นภัย จะหาความสุขสบายจากกายใจอย่างแท้จริง นั้นหาไม่ได้เลยนี้ ได้แก่ปัญญาที่ในมหากุศล มหากิริยาที่กําหนดรู้รูปนาม
อธิบายทุกขานุปัสสนา
ตามธรรมดาคนทั้งหลายย่อมเข้าใจในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายว่า พรหมมีความสุข เทวดาชั้นสูงมีความสุข แต่เทวดาชั้นต่ํามีความทุกข์ มนุษย์มีร่างกาย สมบูรณ์ อนามัยดี มั่งมีศรีสุข มีความสุข ร่างกายไม่สมบูรณ์มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อนามัยไม่ดี ยากจนเข็ญใจเหล่านี้เป็นทุกข์ สัตว์ดิรัจฉานบางพวกเป็นสุข บางพวก เป็นทุกข์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นทุกข์ ต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นความเข้าใจถูกต้อง เหมือนกันเพราะมองไปในด้านการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสของ สัตว์ทั้งหลาย แต่ความเป็นจริงนั้นสุขกายสุขใจก็ดี ทุกข์กายทุกข์ใจก็ดี ล้วนแต่มีการ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่คงที่ แล้วก็กลับเกิดขึ้นอีกติดต่อกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไปโดยไม่ว่าง เว้น ดังนั้นรูปนามที่มีสุขหรือไม่มีสุขก็ตาม ทั้งหมดจึงล้วนแต่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น
ทุกขะ เมื่อว่าโดยย่อตามธรรมาธิษฐานแล้วก็มีเพียง ๓ อย่าง คือ
๑. ทุกขทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยากเป็นทุกข์จริงได้แก่ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
๒. วิปริณามทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปโดยไม่ หยุดยั้ง ได้แก่ สุขกาย สุขใจ
๓. สังขารทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยความเกิดดับ ได้แก่ รูปนาม หรือกาย ใจ ทั่วไป
ใน ๓ อย่างนี้ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ชื่อว่าทุกขทุกข์ก็เพราะกายมีอาการเป็นไป ต่างๆ เช่น จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขัดยอก ปวดศีรษะ ปวดฟัน เป็นแผลฝี ถูกตีฟันแทง เจ็บไข้ โรคต่างๆ นานาหลายอย่างหลายประการเหลือที่จะพรรณนาดังที่เห็นกันอยู่ใน ทุกวันนี้ ส่วนใจก็เพราะเสียอกเสียใจ โกรธ กลัว เนื่องจากที่ได้ประสบพบกับเหตุภัยต่างๆ ดังที่มีอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้ ทุกข์ ๒ นี้ล้วนแต่ทนได้ยากทั้งสิ้น ดังนั้นท่านจึงกล่าว ว่าเป็นทุกขทุกข์
ความสุขกาย สุขใจ ที่ชื่อว่าวิปริณามทุกข์นั้น ก็เพราะมีการเปลี่ยนแปลง ปรวนแปรไปไม่คงที่อยู่ได้นั่นเอง ดังเช่นในขณะที่ร่างกายกําลังกระทบกับความเย็น โดยที่ถูกลมเย็นพัดมาก็ดี หรือกําลังพัดอยู่ก็ดี ขณะนั้นความสุขกายสุขใจ ย่อมเกิดขึ้น ครั้นลมหยุดพัดหรือหยุดนิ่ง ความสุขกายสุขใจก็หายไป
ดังนั้น จึงมีการอาบน้ํากันอยู่เสมอเพื่อความสุขกายสุขใจจะได้เกิดขึ้นอีก ความสุขใจที่เกิดจากการเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรสที่ดีๆ เหล่านี้ เมื่อหยุดดู หยุดฟัง หยุดดม หยุดรับประทานก็ดี หรืออารมณ์เหล่านี้หายไปก็ดี ความสุขใจก็หาย ไปพร้อมกันในขณะนั้นเอง เมื่อจะให้มีอยู่ก็ต้องคอยปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่อย่าให้ขาด ความสุขใจจึงจะมีอยู่ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละท่านจึงกล่าวว่า ความสุขกายสุขใจ เป็นวิปริณามทุกข์
รูปนาม ชื่อว่า สังขารทุกข์ ก็เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยการเกิดดับ คือ นามขันธ์ ๔ หรือจิตใจชั่วขณะดีดนิ้วมือครั้งหนึ่งเกิดขึ้นแสนโกฏิครั้ง ดับไปก็แสนโกฏิ ครั้งรูปหรือกายเกิดขึ้นมากกว่าห้าพันโกฏิครั้ง ดับไปก็มากกว่าห้าพันโกฏิครั้ง การเกิด ดับดังนี้คงรู้เห็นก็แต่ผู้ที่เจริญวิปัสสนา หรือผู้ที่มีการศึกษาที่ในความเป็นไปแห่งรูป นามเท่านั้น ส่วนบุคคลนอกนั้นหาได้รู้เช่นนี้ไม่แต่ใครจะรู้หรือไม่รู้เห็นก็ตาม สภาพ ของรูปและนามก็คงเป็นดังนี้เสมอไป เช่นเดียวกันกับภาพที่ปรากฏในโทรภาพหรือบน จอภาพยนตร์ ภาพที่ปรากฏในโทรภาพหรือบนจอภาพยนตร์นั้นก็เพราะเนื่องมาจาก การลําดับติดต่อกันของฟิล์มที่เขาถ่ายมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นํามาปะติดปะต่อเชื่อมกัน ไว้เป็นอย่างดี ทําการฉายออกมาให้เห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพียงชั่ว ๑ นาทีภาพที่ เป็นชิ้นๆ ก็ผ่านไปหลายร้อยแต่ผู้ดูบางคนก็หาได้รู้ไม่ ข้อนี้ฉันใด การเกิดดับติดต่อ กันแห่งรูปนาม อย่างไม่ขาดสายก็ฉันนั้น ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่ารูปนามทั้งหมดเป็น สังขารทุกข์
ทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนี้ สังขารทุกข์อย่างเดียวที่มีอยู่ในสังขารธรรมทั่วไปทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหตุนั้นพระอาจารย์ธัมมปาลเถระจึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรค มหาฎีกาว่า ตีส ทุกฺขตาสุ สังขารทุกข์ตาว พยาน ฯ แปลว่าในทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนั้น สังขารทุกข์อย่างเดียวมีทั่วไปในสังขารธรรมทั้งปวงทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นทุกข์ก็มี ๓ อย่าง คือ
๑. ทุกขทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นทุกข ทุกข์ คือ ทุกข์จริงๆ ได้แก่อาการที่ทนได้ยาก มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๒. วิปริณามทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นวิปริฌามทุกข์ คือ ไม่ใช่ทุกข์จริง ไม่มีใครคํานึงถึง ทุกข์ชนิดนี้ ได้แก่อาการไม่คงที่ของความสุข สบายที่มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๓. สังขารทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นสังขาร ทุกข์ คือ ทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก ได้แก่อาการที่ เกิดขึ้นแล้วดับไปติดต่อกันไม่ขาดสาย
ดังนั้น ทุกข์ ๓ อย่างที่ได้กล่าวแล้วหาได้มีเทวดาและพรหมที่มีอํานาจ หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดมาสมมุติให้เป็นไปก็หามิได้ หากแต่ลักษณะที่มีอยู่ใน ทุกข์ทั้ง ๓ นี้แหละเป็นผู้ชี้ขาดลงไปว่าธรรมเหล่านี้เป็นทุกข์ เสมือนหนึ่งงูทั้งปวง งู มากชนิดล้วนแต่มีรูปร่างสัณฐานกลมยาวด้วยกันทั้งสิ้น แต่กระนั้นก็ตามย่อมมีลักษณะ เครื่องหมายที่จะให้รู้ได้ว่าดุหรือไม่ดุ และเป็นชนิดอะไรออกไปอีกว่านี้ งูเห่า แมวเซา จงอาง สามเหลี่ยม งูเขียวธรรมดา หางไหม้ ก้านมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น ข้อนี้ฉันใด ทุกข์ ๓ อย่างก็ฉันนั้นอย่างคือ
ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม ก็มี ๓ อย่างคือ
๑. ทุกบทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่เป็นทุกข์แท้จริง
๒. วิปริณามทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่มิใช่เป็นทุกข์จริง อันบุคคลมิได้คํานึงถึงทุกข์ชนิดนี้
๓. สังขารทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก
ทุกขานุปัสสนาทั้ง ๓ อย่างนี้ ทุกขทุกขานุปัสสนาและวิปริณามทุกขานุปัสสนาทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นทุกขานุปัสสนาเทียม หมายความว่าการรู้เห็นใน ทุกขทุกข์และวิปริณามทุกข์ ยังเป็นการรู้เห็นที่เป็นบัญญัติอยู่ทั้งยังไม่ตรงตามหลักพุทธ ประสงค์ที่พระองค์ทรงวางไว้ในการที่จะได้มรรค ผล ส่วนสังขารทุกขานุปัสสนานั้น หมายความว่าการรู้เห็นสังขารทุกข์เป็นการรู้เห็นความเป็นไปเป็นทุกขานุปัสสนาแท้ แห่งรูปนามตามสภาวะไม่มีบัญญัติเข้ามาเจือปน และสามารถประหาณกิเลสได้ถูกตรง ตามพุทธประสงค์ที่ทรงวางไว้ว่า :-
สพฺเพ สงฺขารา ทุกชาติ ยถา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพสฺทติ ทุกเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา ฯ
เมื่อใดผู้ปฏิบัติมาพิจารณาเห็นด้วยวิปัสสนาญาณว่า สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในสังขารทุกข์คือกายใจ การเบื่อหน่าย เช่นนี้เป็นหนทางแห่งความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง
อนึ่ง รูปนาม ที่ได้ชื่อว่า ทุกข์ นั้นก็เพราะว่าเป็นอนิจจะ มีการเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป ส่วนอาการที่เกิดดับนั้นเป็น ทุกขลักขณะ เครื่องหมายที่ทําให้รู้ได้ว่าธรรม เหล่านี้เป็นทุกข์ ฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ยทนิจจ ต์ ทุกฺขนฺติ วจนโต ปูน ตเทว ขันธปญจก ทุกข์, กสฺมา ? อภิณหปปฏิปีฬนา อภิณหปปฏิปีฬนากาโร ทุกขลักขณ์ ฯ ขันธ์ ๕ นั้นแหละเป็นธรรมที่เป็นทุกข์ เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่าธรรมใดเป็นอนิจจะ ธรรมนั้นเป็นทุกข์, เพราะเหตุว่า ขันธ์ ๕ นี้ได้ถูกความเกิดดับเบียดเบียนอยู่เสมอนั้นเอง อาการเบียดเบียนด้วย การเกิดดับอยู่เสมอนั้นเป็นทุกขลักขณะ
จบ ทุกขานุปัสสนา
๓. อนัตตานุปัสสนา
ปัญญาที่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่มีแก่นสารปราศจากการบังคับ บัญชาของรูปนามที่เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งความไม่ใช่ตน เรา เขา โดยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กําหนดรู้รูปนาม ตามสภาวะอยู่ ปัญญานี้ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
อนตฺตา เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ น + อตฺตาน แปลว่าไม่ใช่ อตฺตา แปลแยกออกได้เป็น ๔ อย่าง คือ จิต ๑ กาย ๑ สภาวะ ๑ ปรมอัตตะ หรือ วิญญาณพิเศษ ๑ รวมเป็น ๔ อย่าง
ข้อที่ ๑ อตฺตา ในพระบาลีว่า อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา แปลว่า บัณฑิต ทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน คําว่า ตน ในพระบาลีนี้ได้แก่ จิต
ข้อที่ ๒ อตฺตา ในพระบาลีว่า นตฺถิ อตฺตสม์ เปม แปลว่า ความรักเสมอ ด้วยตนไม่มี คําว่า ตน ในพระบาลีนี้ ได้แก่ กาย
ข้อที่ ๓ อตฺตา ในพระบาลีว่า อตฺตทีปา ภิกขเว วิหรถ แปลว่า ภิกษุ ทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่งอยู่ คําว่า ตน ในพระบาลีนี้ได้แก่ กุศลธรรม คือ สภาวะ
ข้อที่ ๔ อตฺตา ในพระบาลีว่า อยู่ อตฺตา นิจโจ โว สสฺสโต อวิปริณามธมฺโม แปลว่า ตนนี้เป็นของเที่ยงแข็งแรง ตั้งอยู่มั่นคง ไม่มีการแตกดับ คําว่า ตน ในพระบาลีข้อที่ ๔ นี้ได้แก่ ปรมอัตตะ หรือปรมวิญญาณที่ชาวอินเดียถือกันตลอดมา จนถึงปัจจุบันนี้
ในคําแปล อัตตา ทั้ง ๔ อย่างนี้ ข้อสําคัญคือ ข้อที่แปลว่าเป็นของเที่ยงของ ชาวอินเดียนั่นเอง ส่วนอัตตาอีก ๓ คือ จิต, กาย, สภาวะ นั้นก็ถูกต้องตามหลักฐาน ของตนๆ เพราะฉะนั้น อัตตาที่เป็นของเที่ยงนั้นเป็นข้อธรรมสําคัญที่ตรงกันข้ามกับ อนัตตธรรม อนัตตา ที่แปลว่าไม่ใช่อัตตานั้น มุ่งหมายถึงไม่ใช่อัตตาข้อที่ ๔ นี้นั่นเอง
ชาวอินเดียส่วนมากยึดถือว่าอัตตาไม่ตาย ไม่มีการแตกดับเป็นของเที่ยง เสมอ บุคคลทุกๆ คนต้องมีอัตตา คนและสัตว์ตาย แต่อัตตา ไม่ตาย อัตตาจะทํา อะไรก็ทําได้ คุณอํานาจความสามารถของอัตตานี้มีมากมายหลายอย่าง คือคําว่า อัตตานี้เป็นชื่อของชีวะ ในที่นี้ชาวอินเดียมุ่งหมายถึงวิญญาณพิเศษอย่างหนึ่งเมื่อ คนตายไปแล้ว ชีวะหรืออัตตา ไม่ตาย ต้องหาที่อยู่ใหม่อีก
อัตตา เป็น เวทกะ คือผู้เสวยความสุขและความทุกข์ การกระทําดีหรือ ร้าย อัตตาจะต้องเป็นผู้เสวยผลในชาติใหม่ในอนาคตใหม่ต่อไป
อัตตา เป็น นิวาสี คือผู้เที่ยงไม่ตาย เมื่อบ้านเก่าแตกดับก็ย้ายไปอยู่ที่
อัตตา เป็น สยิวลี คือการกระทําอะไรๆ ก็ดีเป็นไปตามใจของอัตตา คือ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส เป็นต้นนั้น แล้วแต่อัตตาตามใจอัตตา ทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้น อัตตาจึงเป็นเจ้าของโลก เป็นผู้สร้างโลก
ผู้ถือมั่นในคุณของอัตตาหรือนามของอัตตา ที่กล่าวมาแล้วนี้ในพระบวรพุทธ ศาสนาเรียกว่า ผู้มีอัตตวาทุปาทาน คือผู้ยึดถืออัตตวาทะ อัตตวาทะนี้ในพระพุทธ ศาสนาอธิบายว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิคือ เป็นความเห็นผิด เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง เป็น ความเห็นทีหลงทาง
อนัตตา แสดงวจนัตถะว่า น + อตฺตา = อนตฺตา แปลความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ไม่ใช่อัตตา ฉะนั้นจึงชื่อว่า อนัตตา
อีกนัยหนึ่ง นตฺถิ อตฺตา เอตสฺส ขนฺธปญฺจกสุชาติ วา อนตฺตา แปลความ ว่า อัตตา ไม่มีแก่รูปนามขันธ์ ๕ นั้น ฉะนั้นรูปนามขันธ์ ๕ นั้น จึงเรียกว่า อนัตตา
หมายความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แห่งรูปนามขันธ์ ๕ นั่น ไม่มีอัตตา ฉะนั้น รูปนามขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็น อนัตตา
นอกจากรูปขันธ์ ๕ แล้ว นิพพาน บัญญัติ ก็ไม่มีอัตตาเหมือนกัน ดังนั้น สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงจึงเป็น อนัตตา
สําหรับอนิจจา ทุกขานั้น ได้แก่สังขาร (สังขตธรรม) อย่างเดียว อนัตตา นั้นได้แก่สังขาร (สังขตะ) และอสังขตะ คือนิพพานและบัญญัติทั้งปวง ดังนั้นพระพุทธ องค์จึงทรงเทศนาว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา, สัพเพ สังขารา ทุกขา, สัพเพ ธัมมา อนตฺตา ดังนี้ อีกนัยหนึ่งพระศาสดาทรงเทศนาไว้ในวินัยปิฎกปริวารบาลีว่า :-
อนิจจา สพฺพสงฺขตา ทุกฺขานตฺตา จ ลกฺขิตา
นิพฺพานํ เจว ปญฺญตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉิตา
สังขารธรรมทั้งปวง หมายความว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่อัตตา นิพพานก็ดี บัญญัติก็ดี ตัดสินว่าเป็น อนัตตา
อีกนัยหนึ่งคําว่า อนตฺตา อสารกฏเจน แปลว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถ ว่าไม่มีแก่นสาร หรือไม่อยู่ใต้อํานาจของใคร ฉะนั้นจึงเรียกว่า อนัตตา
หมายความว่า ธรรมดารูปธรรมย่อมไม่เป็นสาระ ทุกๆ ขณะย่อมไปสู่ความ ดับ เมื่อปราศจากชีวิต, อุสมาเดโชและวิญญาณทั้ง ๓ นี้แล้วจะหารูปที่ใช้การสักอันหนึ่ง ก็ไม่ได้ เมื่อจวนจะตายก็ดี จะเอารูปที่เป็นสาระแล้วใช้การสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่ได้ว่าโดย อาการก็มีอาการเกิดดับเสมอ ฉะนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงเปรียบเทียบอุปมาไว้ว่า เผณปิณฑปม์ รูป์ แปลว่า รูปเหมือนต่อมน้ํา ส่วนนามก็เหมือนกันจะกระทบหรือจับ ไม่ได้เอาเวทนาสัญญาเหล่านี้ไปใช้การสิ่งใดไม่ได้ เกิดแล้วดับสูญไปห้ามไม่ให้เกิด หรือดับก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นโดยสภาวะจึงเรียกว่า อนัตตา
ความต่างกันระหว่างอนัตตา, อนัตตลักขณะ, อนัตตานุปัสสนา
๑. อนัตตา รูปนามขันธ์ ๕ ที่เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนในวิสุทธิมรรค แสดงว่า ขํา ทุกข์ ตทน ตาติ ปน วจนโต ตเทว ขนฺธปัญจก อนตฺตา กามา ? อวสวตฺตนโต
รูปนามขันธ์ ๕ ชื่อว่าเป็นอนัตตา สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา เพราะรูปนามขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชา ของผู้ใดทั้งสิ้น
๒. อนัตตลักขณะ ในเครื่องหมายที่กําหนดรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนของรูปนามใน วิสุทธิมรรคแสดงว่า อวสวตฺตนากาโร อนตฺตลกขณ์ อาการที่ไม่เป็นไปในอํานาจ บังคับบัญชาของผู้ใดชื่อว่า อนัตตลักขณะ
อีกนัยหนึ่ง อนัตตลักขณะ แสดงวจนัตถะ ว่า อนตฺตสฺส ลักขณํ อนตฺตลกขณํ
เครื่องหมายของธรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่อัตตาชื่อว่า อนัตตลักขณะ ได้แก่ความ ไม่มีแก่นสาร ปราศจากเราเขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ
๓. อนัตตานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นโดยความไม่เป็นไปในอํานาจ บังคับบัญชาของรูปนาม แสดงวจนัตถะว่า อนตฺตสฺส อนุปัสสนา อนตฺตานุปัสสนา
การกําหนดรู้เห็นรูปนามที่เป็นอนัตตาอยู่เนืองๆ จนอนัตตลักขณะปรากฏ ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
หรืออีกนัยหนึ่ง อนตฺตตาย อนุปัสสนา อนตฺตานุปสฺสนา การกําหนดรู้ เห็นความไม่มีแก่นสารปราศจากเราเขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ ของผู้ใดอยู่เนืองๆ ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
การพิจารณาอัตตาและอนัตตา
เกสา เส้นผม โลมา ขน นขา เล็บ ทนฺตา ฟัน ตโจ หนัง มัส เนื้อ นหารุ เอ็น อฏฐิ กระดูก อฏฐิมิญช์ เยื่อในกระดูก วกก์ ม้าม หทย์ หัวใจ ยกน์ ตับ กิโลม พังผืด ปีหก ไต ปายาส ปอด อนุต์ ไส้ใหญ่ อนุตคุณ ไส้เล็ก อุทริย์ อาหารใหม่ กรีส อาหารเก่า มาถลุงค์ มันสมอง ธาตุทั้ง ๒๐ นี้ พระศาสดาตรัสไว้ในสุตตันตปิฎกและ อภิธรรมปิฎกว่าเป็น ปถวีธาตุ
อนัตตลักขณะไม่ปรากฏก็เพราะชนะได้กําบังปกปิดไว้ ฉะนั้นอนัตตลักขณะ จึงไม่เห็นชัด ถ้าฆนะแตกแล้ว อนัตตลักขณะก็เห็นชัดแจ้ง ดังที่พระมหาพุทธโฆษาจารย์ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า :-
อนัตตลักขณ์ นานาธาตุวินิพโภคสฺส อมนสิการา เนน ปฏิจฉนุน ตา น อุปฏฺฐาติ นานาธาตุโย วินิพกชชิตวา ฆนวินิพโภค เต อนตฺตลกขณ์ ยาถาวรสรสโต อุปฏฺฐาติ ฯ
อนัตตลักขณะไม่ปรากฏก็เพราะไม่มีการกําหนดพิจารณาในธาตุต่างๆ คือ รูปธาตุ นามธาตุ ซึ่งธาตุเหล่านั้นแสดงอาการคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มเป็นกองเพราะ ฆนบัญญัติได้กําบังปกปิดไว้ แต่เมื่อได้ทําการกําหนดพิจารณาจนเกิดความรู้ความเห็น ว่ารูปธาตุ นามธาตุแยกกันได้เช่นนี้แล้วฒนะก็แตก อนัตตลักขณะก็ย่อมปรากฏโดย สภาวะของตนอย่างแท้จริงดังนี้
คําว่า ฆนะ หมายความว่าเกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อนอารมณ์ภายในภายนอกและ อารัมมณีกวิถีจิตภายในนั้นคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มเป็นกอง ชนะเป็นเหตุให้บุคคล ทั้งหลายเข้าใจผิดยึดถือว่าบุคคล สัตว์ เรา เขา เรียกกันว่าเป็นอัตตา พอชนะแตกแล้ว อัตตาก็หายไป อนัตตาก็ปรากฏชัดเจนแทนที่ บัญญัติปรากฏ ปรมัตถ์หาย ปรมัตถ์ปรากฏ บัญญัติหาย
แสดงวิปัสสนาญาณ ๑๐ ตามนัยพระอภิธัมมัตถสังคหบาลี และญาณ ๑๖
นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนามเป็นลักษณะ ๑ เป็นรส ๑ เป็นปัจจุปัฏฐาน ๑ เป็นปทัฏฐาน ๑ ว่าโดยวิสุทธิเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ อันได้แก่ปัญญา เจตสิก ที่มีการกําหนดรู้ลักขณาทิจตุกะ ของรูปนามดังต่อไปนี้
ลักขณาทิจตุกะของจิต
๑. วิชชานนลกขณํ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ
๒. ปุพฺพักมรสํ มีการเป็นประธานของเจตสิกและกัมมชรูป
๓. ปฏิสนธิปัจจุปัฏฐานํ มีการสืบต่อกันระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิต
๔. สงฺขารูปทฏฺฐานํ วา มีสังขาร ๓ เป็นเหตุใกล้ หรือ วิตถารมฺมณปทุฏฐาน มีวัตถุอารมณ์ ๖ เป็นเหตุใกล้
ลักขณาทิจตุกะของเจตสิก
๑. นมนลกขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ
๒. สมุปโยครสํ มีการประกอบกันกับจิต และประกอบกับตนเองโดยเป็นเอกุปปาทตาเป็นต้น เป็นกิจ
๓. อวินิพโภคปัจจุปัฏฐาน มีการไม่แยกกันกับจิตเป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิต
๔. วิญญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้
ลักขณาทิจตุกะของรูป
๑. รูปปนลกฺขณ์ มีการสลายแปรปรวนเป็นลักษณะ
๒. วิกิรณร มีการกระจัดกระจายไปเป็นกิจ
๓. อัพยากตปจจุปัฏฐาน มีการเป็นอัพยากตะเป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิต
๔. วิญญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่กําหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่แท้จริงของสมถยานิกบุคคล สําหรับบุคคลผู้ปรารถนาบรรลุถึงความเห็นที่บริสุทธิ์ (ทิฏฐิวิสุทธิ) ถ้าเคยปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อนเมื่อออกจากรูปาวจรฌานจิต ๕ หรืออรูปาวจรญาน จิต ๓ (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต) ฌานใดฌานหนึ่งมาแล้วต้องกําหนดองค์ ฌานมี วิตก เป็นต้น หรือกําหนดสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับองค์ฌานมี ผัสสะ สัญญา เป็นต้น
การกําหนดองค์ฌาน หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับองค์ฌานนั้น ก่อนอื่นต้องกําหนดสภาวธรรมนั้นโดยสภาวลักษณะ (ลักษณะ) หน้าที่ หรือกิจ (รส)
อาการที่ปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน) และเหตุใกล้ (ปทัฏฐาน) ต่อไปจึงกําหนดสภาวธรรม ทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นธรรมชาติที่น้อมไป (นาม) มุ่งหน้าไปสู่อารมณ์ เมื่อจะพิจารณา ดูนามธรรมเหล่านั้นให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จึงติดตามดูว่านามธรรมเหล่านั้นอาศัยอะไรก็จะ ทราบว่าอาศัยหทยวัตถุรูป เปรียบเหมือนบุรุษที่เห็นงูภายในเรือนแล้วจึงติดตามมันไป ก็จะพบที่อาศัยของมัน
เมื่อทราบว่าหทยวัตถุรูปเป็นที่อาศัยของนามธรรมเหล่านั้นแล้วก็พิจารณาต่อไปว่า แม้หทยวัตถุรูปก็ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย เกิดขึ้น และอุปาทายรูปทั้ง ๒๓ (เว้นหทยวัตถุรูป) ก็อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แล้วจึงพิจารณารูปธรรมทั้งหมดว่าเป็นสภาวธรรมที่มีอาการเสื่อมสิ้นสลาย
ไป (รูป)
สําหรับสมถยานิกบุคคล ครั้นออกจากฌานจิตแล้วจะพิจารณากําหนด นามธรรมว่ามีอาการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ หรือกําหนดรูปธรรมว่า มีอาการ เสื่อมสิ้นสลายไปเป็นลักษณะก็ได้
การกําหนดรูปนามทางธาตุ ๔
สําหรับวิปัสสนายานิก หรือสมถยานิกบุคคล เมื่อกําหนดธาตุทั้ง ๔ คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย ให้ปรากฏโดยลักษณะและหน้าที่เป็นต้นแล้ว รูปธรรมอื่นๆ ที่เกิด ร่วมกันกับธาตุ ๔ ก็จะปรากฏด้วยเช่น ในเส้นผมนอกจากจะมี ปถวีธาตุ ซึ่งมีลักษณะ แข็งอ่อนเป็นประธาน
การกําหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘
สําหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกําหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘ พึ่งพิจารณา ดังนี้ว่า
ในอัตภาพนี้มี จักขุธาตุ โสตธาตุ ชิวหาธาตุ เป็นต้นแล้วก็ไม่เห็นว่าก้อนเนื้อ ที่สายเอ็นยืดรัดไว้ในเบ้าตา ที่มีลักษณะยาวและกว้าง วิจิตรด้วยวง สีขาว สีดํา และ สีดํามากนั้นที่ชาวโลกเข้าใจกันว่าเป็นจักษุ แต่แท้จริงแล้วจักษุที่ชาวโลกเข้าใจกันก็คือ กลุ่มของรูป ๕๔ รูปคือ จักขุทสกกลาป ๑๐ กายทสกกลาป ๑๐ ภาวทสกกลาง ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดจากจิต ๘ เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘ ในจํานวนรูปทั้ง ๕๔ รูปนี้จักขุปสาทเท่านั้นที่ชื่อว่า จักขุหรือจักขุธาตุ ส่วนรูปอีก ๕๓ นั้นมิใช่จักขุ
เมื่อพิจารณาจนทราบว่าจักขุปสาทรูปเป็นสภาวธรรมที่ชื่อว่า จักษุ แล้วก็จะทราบว่าลักษณะของจักขุปสาทรูปนั้นคือ อาการเสื่อมสิ้นสลายไป ซึ่งเป็นอาการของรูปธรรมนั่นเอง
การกําหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒
สําหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกําหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็กําหนดทํานองเดียวกันกับธาตุ ๑๘ นั่นเอง ต่างกันตรงโลกียจิต ๘๑ หรือวิญญาณธาตุ ๗ นั้น เป็นมนายตนะและอายตนะ ๑๒ อายตนะ ๑๐ กับธัมมายตนะบางส่วน คือสุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปธรรมและอายตนะ ๑ กับธัมมายตนะบางส่วนคือ เจตสิก ๕๒ เป็นนามธรรม การกําหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็มีด้วยประการฉะนี้
การกําหนดรูปนามทางขันธ์ ๕
สําหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกําหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ ก็กําหนดดังนี้ ในสรีระร่างกายนั้นนิปผันนรูป ๑๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้นและอนิปผันน รูป ๑๐ มีปริจเฉทรูป เป็นต้น กําหนดเป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กําหนดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กําหนดเป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ (เว้นเวทนา สัญญา) ที่ประกอบกับโลกียกิจ ๘๑ กําหนด เป็นสังขารขันธ์ โลกียจิต ๘๑ กําหนดเป็น วิญญาณขันธ์ ในลําดับต่อมาผู้ปฏิบัติจะ พิจารณารูปขันธ์ว่าเป็นรูปธรรม และพิจารณานามขันธ์ ๔ ที่เหลือว่าเป็น นามธรรม การกําาหนดรูปนาม ทางขันธ์ ๕ เป็นหลัก ก็มีด้วยประการฉะนี้
การปรากฏของรูปนาม
การพิจารณารูปธรรมซ้ําแล้วซ้ําเล่าจนชัดแจ้งและบริสุทธิ์ดีแล้ว บรรดากิเลส
ทั้งหลายที่เป็นข้าศึกต่อการกําหนดรู้นามธรรมนั้นก็สงบลง นามธรรมก็จะปรากฏขึ้นเอง การปรากฏของนามธรรมนั้นเกิดขึ้น เขิน ๓ ทาง คือ ๑. ทางผัสสะ ๒. ทางเวทนา ๓. ทางวิญญาณ
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดสภาวะของรูปธรรมจนปรากฏชัดเจนดีแล้วเช่น พิจารณา ว่าธาตุดินมีลักษณะอ่อนแข็งอยู่ ผัสสะคือ ธรรมชาติที่เกิดจากการกระทบกันระหว่าง อารมณ์กับผู้รู้อารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นและขณะนั้นเอง เวทนา สัญญา สังขาร (มีเจตนา เป็นต้น) วิญญาณ (จิต) ซึ่งประกอบกับเวทนานั้นก็ปรากฏขึ้น สิ่งที่เป็นนามธรรม ทั้งหลาย ปรากฏขึ้นทางเวทนาด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดสภาวะของรูปธรรมจนปรากฏชัดเจนดีแล้วเช่นพิจารณา ว่าธาตุดินในลมหายใจเข้าออกมีลักษณะอ่อนแข็งอยู่ วิญญาณคือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือรับอารมณ์ก็ปรากฏขึ้นและในขณะนั้นเอง เวทนา สัญญา ผัสสะ สังขาร (มีเจตนา เป็นต้น) ซึ่งประกอบกับวิญญาณนั้นก็ปรากฏขึ้น สิ่งที่เป็นนามธรรมทั้งหลายปรากฏขึ้น ทางวิญญาณด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อผู้ปฏิบัติกําลังกําหนดรูปอยู่แล้วเลิกกําหนด กลับไปเริ่มกําหนดนามธรรม แทน การปฏิบัติดังนี้ไม่อาจทําให้วิปัสสนากรรมฐานเจริญขึ้น แต่การกําหนดรูปจน ปรากฏชัดเจนดีแล้ว จะเป็นเหตุให้นามธรรมปรากฏขึ้นโดยอาศัยผ่านทางผัสสะ เวทนา วิญญาณ
ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ ๓ (กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ) คือ ธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ ขันธ์ ๕ เมื่อสรุปแล้วก็คือ รูปและนาม อุปมาเหมือน การเปิดสมุด (ย่อม มี ๒ ส่วน) และการผ่าลอนตาลก็ย่อมแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเช่น นอกไปจากรูปและ นามแล้ว หามีสัตว์ บุคคล เทวดา หรือพรหมอื่นๆ อีกไม่
จุดประสงค์ของการกําหนดรูปนาม คือ
๑. เพื่อละชื่อสมมุติทางโลก
๒. เพื่อให้พ้นความเข้าใจผิดว่ามี สัตว์ บุคคล
๓. เพื่อให้จิตประกอบด้วยปัญญา คือ การรู้จริง
เรื่องรูปและนาม และคําอุปมาจากพระสุตตันตปิฎกว่า
ยถา หิ องฺคสมภารา โหติ สทฺโท รโถ อิติ
เอวํ บนเธฮุ สนฺเตสุ โหติ สตฺโตติ สมฺมติ ฯ
ความจริงเมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมุติเรียกว่าสัตว์ก็มีขึ้น เหมือนเสียงว่า รถ มีขึ้นก็เพราะเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกันเข้าฉะนั้น (จาก วชิราสูตร ส.ส. เล่ม ๑๕ ข้อ ๕๕๔)
ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า อาวุโส เพราะอาศัยไม้ เถาวัลย์ ดิน และหญ้า ล้อมเอาอากาศเข้าไว้จึงเรียกว่า อาคาร ฉันใดก็ดี อาวุโส เพราะอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และหนังล้อมเอาอากาศเข้าไว้ จึงเรียกกันว่า สัตว์ บุคคล (จาก ม.ม. ๑๒/๓๕๘)
ยถาภูตทัสสนะ
เมื่อมีเพลา ล้อ ตัวถัง และงอน ตั้งอยู่รวมกัน คําว่า รถ จึงเกิดขึ้น เมื่อ สัมภาระของเคหะทั้งหลาย เช่น ไม้ เป็นต้น ตั้งล้อมอาคารเข้าไว้ คําว่า เคหะ จึงเกิด ขึ้น เมื่อนิ้วทั้งหลายมีนิ้วมือและแม่มือเป็นต้นตั้งอยู่โดยอาการอันเดียวกันคําว่า กําปั้น จึงเกิดขึ้น ส่วนทั้งหลายมีกะโหลกและสายเป็นต้น ตั้งอยู่โดยอาการอันเดียวกัน คําว่า พิณ จึงเกิดขึ้น
เมื่อช้างและม้าเป็นต้นตั้งอยู่รวมกัน คําว่า เสนา (กองทัพ) จึงเกิดขึ้น เมื่อ กําแพงและเคหะกับทั้งประตูและซุ้มเป็นต้น ตั้งอยู่โดยอาการเดียวกัน คําว่า นคร จึง เกิดขึ้น เมื่อลําต้น กิ่ง และใบเป็นต้น ตั้งอยู่โดยความเป็นอันเดียวกัน คําว่า ต้นไม้ จึง เกิดขึ้น เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ มีอยู่ คําว่า สัตว์ บุคคล จึงเกิดขึ้น
สิ่งที่เรียกว่า รถ, เคหะ, พิณ, เสนา, นคร, ต้นไม้, สัตว์, บุคคล เหล่านี้ เมื่อเข้าไปพิจารณาธรรมนั้นๆ โดยปรมัตถ์แล้ว สิ่งที่เรียกเหล่านั้นหามีไม่ คงมีอยู่แต่ เพียงรูปนามเท่านั้น ผู้ที่มีความเห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้ชื่อว่ามี ยถาภูตทัสสนะ
รูปนามไร้อํานาจในตัวเอง
รูปและนามนี้ นามไม่มีอํานาจ ไม่มีความสามารถในตัวเองไม่สามารถกิน ดื่ม พูด หรือสําเร็จอิริยาบถใดได้ ถึงแม้รูปก็เช่นเดียวกันไม่มีความปรารถนาหรือต้องการ
ที่จะกิน ดื่ม พูด หรือสําเร็จอิริยาบถใดๆ รูปเป็นไปได้ก็อาศัยนาม นามเป็นไปได้ก็ อาศัยรูป เมื่อนามปรารถนาอย่างไร รูปก็เป็นไปอย่างนั้น เพื่อต้องการให้เข้าใจชัดเจน ดีขึ้น
การที่โยคาวจรบุคคลตั้งสติกําหนดรูปนามเป็นอารมณ์ จนสามารถแยกนาม แยกรูปจนเห็นได้ชัดเจนว่ามีแต่รูปกับนามเท่านั้น นอกจากรูปกับนามแล้วไม่มีอะไร ที่ เป็นเช่นนี้เพราะตั้งใจกําหนดด้วยดีจึงเห็นได้ ถ้าไม่ตั้งใจกําหนด ไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถ จะรู้เห็นได้เลย เพราะรูปนามนี้ถ้าจิตสงบปราศจากนิวรณ์ย่อมปรากฏได้ และเมื่อจะ ปรากฏนั้น รูปปรากฏดีแล้ว นามก็ปรากฏตามมา
ในการบําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาและบรรลุถึงญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉท ญาณนี้แล้วเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในภายหลัง จึงขอชี้แจงไว้ดังนี้ว่าที่เรียกว่าได้บรรลุ ถึงนามรูปปริจเฉทญาณ คือ มีปรีชากําหนดรูปนามได้อย่างชัดเจนดังที่กล่าวมานั้น พึงเข้าใจว่าต้องเป็นการรู้การเห็นโดยปัญญา อันเกิดจากการเจริญภาวนาของตนจริงๆ ไม่ใช่รู้ได้จากการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งท่านอธิบายว่า รูปเป็นอย่างนั้นมีจํานวน เท่านั้นๆ นามเป็นอย่างนั้นมีจํานวนเท่านั้นๆ แล้วก็ใช้ปัญญาคิดไปตามที่มีกล่าวไว้ใน ตําราเสร็จแล้วก็คิดนึกไปในใจว่ารูปเป็นอย่างนี้เอง การเรียนรู้และนึกคิดเอาเองอย่างนี้ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณคือ ญาณที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการนึกเอา เดาเอาอย่างนี้เป็นเพียงแต่สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาได้สดับ รับฟังมาและจินตามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแห่งตนเท่านั้น ยังไม่ เข้าถึงขั้นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนาซึ่งเป็นปัญญาที่ละเอียดประเสริฐหนักหนาเพราะเป็นปัญญาที่สามารถตัดกิเลสตัณหาได้ตามที่มุ่งหมาย
ฉะนั้น พึงทําความเข้าใจว่าความรู้ความเห็นทั้งปวงในเรื่องการเจริญวิปัสสนา เป็นความรู้ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาญาณ โดยเฉพาะ ไม่ใช่ความรู้ ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการคิดเอาๆ นึกเอา เดาเอา ซึ่งเป็นความรู้ความเห็นที่ไม่แน่นอน แต่ญาณหรือความรู้ความเห็นที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาที่กําลังกล่าวถึงในเรื่อง วิปัสสนาญาณนี้ เป็นความรู้ความเห็นที่แน่นอนเด็ดขาดอันจะเป็นภาวนามยปัญญาได้ อย่างแท้จริง เพราะมีอํานาจที่จะตัดกิเลสตัณหาได้ในที่สุด
เมื่อโยคาวจรบุคคลมีความรู้สึกปรากฏขึ้นว่า มีรูปกับนามเพียง ๒ อย่าง เท่านั้น ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่เรา เขา ความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ก็จะประหาณสักกาย ทิฏฐิได้ที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นที่บริสุทธิ์
เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเห็นรูปและนามตามความเป็นจริงแล้วก็จะละสัตตสัญญา คือความสําคัญหมายรู้ว่ามีสัตว์บุคคลเสียได้ แล้วก็จักตั้งอยู่ในภูมิที่ไม่ลุ่มหลง ซึ่งเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นอันบริสุทธิ์ หรือรูปนามววัฏฐาน คือการกําหนดรู้รูปและนาม หรือสังขารปริจเฉท คือการกําหนดรู้สังขาร ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของการเห็นรูปและนามตามความเป็นจริง
จบ นามรูปปริจเฉทญาณ
๒. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
การค้นหาเหตุของรูปนาม
ปัญญาที่กําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริงนั้นผู้ปรารถนาบรรลุกังขาวิตรณวิสุทธิควรค้นหาเหตุปัจจัยของรูปนาม อุปมาเหมือนนายแพทย์ผ่าตัดที่ ชาญฉลาดเมื่อพบโรคแล้วก็ค้นหาสมุฏฐานของโรคนั้นต่อไป หรือเหมือนบุรุษที่มี เมตตาเมื่อพบเห็นทารกนอนแบเบาะอยู่ในตรอกจึงรําพึงว่า เด็กนี้เป็นลูกของใครหนอ
รูปนามเป็นสภาวธรรมที่มีเหตุ จะบังเกิดโดยไม่มีเหตุมิได้ จะกล่าวว่าเหตุของ รูปนาม คือ เทพเจ้านั้น ก็ไม่เป็นจริง เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะนอกไปจากรูปนามนั้น ไม่มี หรือจะกล่าวว่า รูปนามก็คือเทพเจ้า แม้กล่าวอย่างนี้รูปนามก็คงต้องมีเหตุอยู่ นั่นแหละ
เมื่อจักค้นหาเหตุของรูปนามก็ควรพิจารณาเหตุของรูปกายก่อนว่า กายนี้มิได้ เกิดในดอกบัวชนิดต่างๆ มิได้เกิดในแก้วมณีต่างๆ หากแต่เกิดขึ้นระหว่างกระเพาะ อาหารใหม่และเก่า ด้านหลังเป็นพื้นท้อง ด้านหน้าเป็นกระดูก ล้อมรอบด้วยไส้ใหญ่ และไส้น้อยเต็มไปด้วยของปฏิกูล กลิ่นเหม็นดุจตัวหนอนที่เกิดขึ้นในขนมบูด น้ําคร่ํา หลุมโสโครก
รูปธรรมนี้มีเหตุมีปัจจัยให้เกิดขึ้น ๕ อย่างคือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ อุปาทาน ๑ กรรม ๑ อาหาร ๑ ก็ธรรม ๔ อย่างคือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ อุปาทาน ๑ กรรม ๑ จัดเป็นเหตุ เพราะเป็นตัวทําให้เกิด อาหารจัดเป็นปัจจัยเพราะเป็นตัวอุปถัมภ์ อนึ่ง ในธรรม ๕ นั้น ท่านจัดดังนี้ คือ
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นที่อาศัยของรูป เปรียบเหมือนมารดาเป็นที่อาศัยของทารก
กรรม เป็นผู้ให้เกิด เปรียบเหมือนบิดาเป็นผู้ทําให้บุตรเกิด
อาหาร เป็นผู้ค้ําจุนให้รูปกายนี้ดํารงอยู่ เปรียบเหมือนพี่เลี้ยงคอยอุ้มชูทารก
เมื่อกําหนดเหตุปัจจัยของรูปได้ดังนี้แล้ว จึงกําหนดเหตุปัจจัยของนามต่อไปว่า :- จักขุวิญญาณจิตอาศัยจักขุปสาท และรูปารมณ์เกิดขึ้นดังนี้เป็นต้น เมื่อเห็นเหตุ ปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริงเนืองๆ เสมอว่ารูปนามในปัจจุบันก็มีเหตุปัจจัยเช่นนี้ แม้ในอดีตและอนาคตก็มีเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน เมื่อทราบอยู่อย่างนี้ก็สามารถ ละความสงสัย ๑๖ อย่าง ที่เกี่ยวกับกาล ๓ เสียได้
การกําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามทางปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลม
เมื่อเห็นความชราและแตกดับของสังขารคือ มรณะ แล้วก็พิจารณาว่า ชรา มรณะเกิด เพราะมีชาติ, ชาติเกิดมีเพราะมีภพ, ภพมีเพราะมีอุปาทาน, อุปาทานมี เพราะมีตัณหา, ตัณหามีเพราะมีเวทนา, เวทนามีเพราะมีผัสสะ, ผัสสะมีเพราะอายตนะ ๖. อายตนะ ๖ มีเพราะมีรูปนาม, รูปนามมีเพราะมีวิญญาณ, วิญญาณมีเพราะมีสังขาร สังขารมีเพราะมีอวิชชา, ก็จะละความสงสัยได้ นี่เป็นการพิจารณาโดยปฏิโลมแต่จะ พิจารณาโดยอนุโลมก็ได้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร ฯลฯ เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ ก็จะละความสงสัยได้เช่นกัน
การกําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามทางกรรมและวิบาก
ธรรม ๕ อย่าง ในภพก่อนคือ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และกัมมภพ เป็นเหตุปัจจัยของปฏิสนธิในภพนี้
ปฏิสนธิในภพนี้ได้แก่ วิญญาณ รูปนาม สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นผลของกรรมที่ทําไว้ในภพก่อน
เมื่ออายตนะทั้งหลายแก่กล้าแล้วในภพนี้ ธรรม ๕ อย่างคือ ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา และสังขาร ก็เป็นเหตุปัจจัยของปฏิสนธิในภพต่อไป
รูปนาม ก็คือ ผลแห่งกรรม เพราะฉะนั้นเหตุปัจจัยของรูปนาม ก็คือ กัมมวัฏ นั่นเอง เมื่อพิจารณาเหตุปัจจัยของรูปนามโดยกัมมวัฏและวิปากวัฏดังนี้แล้ว ก็จะเห็นว่า รูปนามในขณะนี้เป็นไปด้วยเหตุปัจจัยแม้ในอดีตและอนาคตก็เป็นไปเช่นเดียวกัน อีกทั้ง กรรมและวิบากของกรรม, กัมมวัฏและวิปากวัฏ, ความเป็นไปของกรรมและความเป็น ไปของวิบาก, ความสืบต่อของกรรมและความสืบต่อของวิปากทั้งกิริยา (อนันตรปัจจัย) และผลของกิริยา (อนันตรปัจจยุปบัน) ก็เป็นไปในทํานองเดียวกัน
กมฺมวิปากา วตฺตนฺติ วิปาโก กมุมสมฺภโว
กมฺมา ปุนพฺภโว โหติ เอวํ โลโก ปวตฺตติ
วิปากทั้งหลาย เป็นไปเพราะกรรม วิบากเกิดขึ้นจากกรรม และภพใหม่ก็เกิดขึ้นจากกรรม โลกหมุนเวียนอยู่ ด้วยกรรมและวิบาก อย่างนี้
เมื่อพิจารณาถึงเหตุปัจจัยของรูปนามทางกรรมและวิบากอยู่เนืองๆ ความสงสัย ๑๖ อย่าง เป็นต้นว่าข้าพเจ้าได้มีมาแล้วหรือ ? ก็จะหมดไปได้ คงปรากฏมีอยู่ แต่รูปนาม ที่เป็นไปในภพ ๓. โยนิ ๔ คติ ๕ ฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ เท่านั้นที่เป็น ไปด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผล มิได้มีผู้สร้าง และผู้เสวยแต่อย่างใดเมื่อเห็นได้ อย่างนี้ชื่อว่าเห็นด้วยปัญญาอันชอบ แต่เมื่อมีเหตุและผลบัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าว กันเพียงเพื่อให้หมายรู้ร่วมกันว่า “มีผู้สร้าง” “มีผู้เสวย” ฉะนั้นท่านผู้รู้แต่โบราณจึงกล่าวว่า
กมฺมสฺส การโก นตฺถิ วิปาก ส จ เวทโก
สุทฺธธมฺมา ปวตฺตนฺติ เอเวต์ สมุมทสุลน์
ผู้สร้างกรรมไม่มี และผู้เสวยผลก็ไม่มี ธรรมะล้วนๆ เป็นไป อย่างเดียวเท่านั้นนีเป็น สัมมทัสสนะ (ความเห็นชอบ)
เอวํ กมฺเม วิปาเก จ วตฺตมาเน สเหตุเก
พืชรุกุขาทิกา ว ปุพฺพา โกฏิ น นายติ
เมื่อกรรมและวิบากพร้อมทั้งเหตุ เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีใครรู้เบื้องต้นและเบื้องปลาย เช่นเดียวกับไม่มีใครรู้ เบื้องต้นและเบื้องปลาย เมล็ดพืชและต้นไม้เป็นต้น ฉะนั้น
เอวเมต อภิญญาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
คมฺภีร์ นิปุณ สุญฺญ์ ปจฺจย์ ปฏิวิชฺฌติ,
พระภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ข้อความนี้ ด้วยปัญญารู้ยิ่งดังกล่าวมานี้ จึงแทงตลอดซึ่งปัจจัย (ของรูปนาม) อันลึกซึ้งละเอียดและว่างเปล่า
กมุม นตฺถิ วิปากมหิ ปาโก กมฺเม น วิชฺชติ
อญฺญมญฺญ์ อุโภ สุญฺญา น จ กมุม วินา ผลํ,
กรรมไม่มีอยู่ในวิบาก วิบากก็ไม่มีอยู่ในกรรม กรรมและวิบากทั้งสอง ต่างว่างเปล่าซึ่งกันและกัน แต่ว่าเว้นกรรมเสียแล้ว ผลก็ไม่มี
ผเลน สุญญ์ สํ กมฺม ผลํ กมฺเม น วิชฺชติ
กมฺมญฺจ โข อุปาทาย ตโต นิพฺพตฺตตี ผล
กรรมนั้นว่างเปล่าจากผล ผลก็มิได้มีอยู่ในกรรม แต่เพราะอาศัยกรรม ผลจึงเกิดขึ้น
น เหตุถ เทโว พรหฺมา วา สํสารสฺสตฺถิ การโก
สุทฺธธมฺมา ปวตฺตนฺติ เหตุสมภารปจจยา
ความจริงในโลกนี้ไม่มีเทพเจ้า ไม่มีพระพรหม ไม่มี ผู้สร้างสังสารวัฏ มีแต่ธรรมล้วนๆ เป็นไปเพราะการประกอบกันเข้าของเหตุเป็นปัจจัย
การกําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามทางกัมมวัฏและวิปากวัฏ แล้วละความสงสัยใน ๓ กาลได้ ก็เป็นอันได้รู้ธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน สิ้นทั้งปวง แล้ว ความรู้เช่นนี้เรียกว่า ญาตปริญญา คือการกําหนดรู้ว่าเป็นรูปเป็นนามพร้อมด้วยเหตุปัจจัยของรูปนาม
อุปมาระหว่างเหตุกับผล
ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในอดีตเพราะมีกรรมเป็นปัจจัยก็ได้ดับไปแล้วในอดีต ส่วนพันธ์ที่เกิดใหม่ในภพนี้ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง มิได้เป็นขันธ์ที่มาจากอดีตภพ ส่วนขันธ์ที่จักเกิดในภพหน้าก็เป็นอีกพวกหนึ่งมิได้เป็นขันธ์ที่ไปจากปัจจุบันภพนี้เปรียบเหมือน:
๑. การสาธยายมนต์ของอาจารย์กับการสาธยายมนต์ของลูกศิษย์ มิใช่เป็น สิ่งเดียวกัน เป็นของคนละคน แต่การสาธยายมนต์ของลูกศิษย์จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยการสาธยายมนต์ของอาจารย์เป็นเหตุเป็นปัจจัย
๒. ใบหน้าที่ถูกตกแต่งกับเงาใบหน้าที่ถูกตกแต่งมิใช่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ เงาใบหน้าที่ถูกตกแต่งจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยการตกแต่งใบหน้าเป็นเหตุเป็นปัจจัย
๓. เปลวประทีปอันหนึ่งกับเปลวประทีปอีกอันหนึ่งมิใช่ไส้เดียวกัน แต่ เปลวประทีปอีกอันหนึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยเปลวประทีปอันก่อนเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ธรรมทั้งหลายจากอดีตภพมิได้ติดตามไปในปัจจุบันภพหรืออนาคตภพแต่อย่างใดเลย แต่ขันธ์ อายตนะ ธาตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้ต้องอาศัยขันธ์ อายตนะ ธาตุในอดีตภพเป็นปัจจัย และขันธ์ อายตนะ ธาตุที่จักเกิดขึ้นในอนาคตนั้นก็ต้องอาศัย ขันธ์ อายตนะ ธาตุในปัจจุบันภพเป็นปัจจัย
ปัจจยปริคคหญาณในชื่ออื่น
ปัญญาที่กําหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามเรียกว่า ปัจจัยปริคคหญาณ โดยทาง อาการตับและเกิดของรูปนาม เมื่อกําลังของปัจจยปริคคหญาณนี้มีมากขึ้นก็สามารถละ ความสงสัย ๑๖ อย่างได้ ถึงความสงสัยอีก ๘ อย่างก็ละได้ แม้ทิฏฐิ ๖๒ ประการที่ ระงับไปด้วย
ความเห็นที่บริสุทธิ์ เพราะข้ามพ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ด้วยการกําหนดรู้ ปัจจัยของรูปและนามเรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ การกําหนดรู้ถึงความตั้งอยู่ของธรรม ที่เป็นปัจจัยเรียกว่า ธัมมฐิติญาณ การกําหนดรู้ถึงรูปนามตามความเป็นจริงเรียกว่า ยถาภูตญาณ ความเห็นโดยชอบเรียกว่า สัมมาทัสสนะ
คําว่า ธัมมฐิติญาณ ยถาภูตญาณ และ สัมมาทัสสนะ เป็นคําที่มีความ หมายเดียวกับคําว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
อานิสงส์ของปัจจยปริคคหญาณ
ถ้าพระโยคาวจร ใดเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสมาธิญาณแก่กล้าขึ้นเห็นรูปนาม ชัดเจนแล้วก็จะสามารถรู้ได้ว่า รูปนามทั้งสองนั้นเป็นเหตุเป็นผล เป็นปัจจัยซึ่งกันและ กัน คือ รูปเป็นเหตุ นามเป็นผล หรือนามเป็นเหตุ รูปเป็นผล หาใช่เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขาไม่ ก็จะข้ามพ้นความสงสัยต่างๆ ไปได้ เช่นนี้เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
อานิสงส์ของญาณนี้ ในพระบวรพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นพระจุลโสดาบัน เป็นผู้ที่สมควรจะเบาใจได้ในเมื่อตายไปแล้วคือ หากว่าญาณที่ตนได้บรรลุนี้ไม่เสื่อม ในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้ก็จะได้ไปเกิดในสุคติภูมิคือ เทวโลก เป็นต้น ปิดอบายภูมิ ทั้ง ๔ ได้อย่างแน่นอน แต่ในชาติต่อไปอีกคือ ชาติที่ ๓ นั้นการปิดอบายภูมิไม่แน่นอน ถ้าต้องการปิดให้ได้อย่างแน่นอนเด็ดขาด ต้องอุตสาหะปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต่อไปอีก จนกระทั่งบรรลุพระอริยมรรค อริยผล
พระโยคาวจรบุคคลผู้บรรลุถึงญาณนี้แล้ว ย่อมถึงความเบาใจและได้ที่พึ่งใน พระพุทธศาสนา ชื่อว่า จุลโสดาบัน มีคติที่เที่ยงแท้ในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้จะไป สู่สุคติ ปิดอบายภูมิเสียได้ถ้าหากว่าญาณนี้ไม่เสื่อม แต่ในชาติที่ ๓ ต่อจากนั้นไปไม่ แน่นอน จะปิดอบายภูมิได้อย่างแน่นอนคือ ชาติ ๒ เท่านั้น ถ้าต้องการปิดแน่นอน ต้องบําเพ็ญความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป จนกระทั่งบรรลุอริยมรรค อริยผล
ผู้เจริญวิปัสสนา ซึ่งประกอบด้วยปัจจยปริคคญาณนี้ เป็นผู้ได้ความเบาใจ ได้ที่พึ่งในพระพุทธศาสนา และเป็นผู้มีคติที่แน่นอน เรียกได้ว่า พระจูฬโสดาบันบุคคล ฉะนั้นผู้มีความประสงค์จะข้ามพ้นความสงสัย จึงเป็นผู้มีสติกําหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม ตามความเป็นจริงเถิด.
จบ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
๓. สัมมสนญาณ
ปัญญาที่เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา เรียกว่า สัมมสนญาณ ท่านแสดงวจนัตถะไว้ว่า ขนฺธาทีนํ กลาปโต สมุมสนวสปปวตฺติ ญาณ สมมสนญาณั แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจการพิจารณาธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยความเป็นกลางชื่อว่า สัมมสนญาณ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิกที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาในสัมมสนญาณปรารถนาบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ในเบื้องต้นต้องทําความเพียรเกี่ยวกับการกําหนดพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นหมวดเป็น กอง (กลาปสัมมสนะ) ก่อน เมื่อวิปัสสนูปกิเลสมี โอภาส คือแสงสว่างเป็นต้น เกิดขึ้น แก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ก็แสดงว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิได้บังเกิดขึ้นแล้ว และ กลาปสัมมสนญาณจึงเป็นญาณเริ่มต้นของวิปัสสนาญาณ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้เกิดขึ้นและเป็นไปในตีรณปริญญา ตีรณปริญญาจะบังเกิดขึ้นต่อจากญาตปริญญา เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนาจะบรรลุมัคคา มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ จะต้องทําความเพียรเกี่ยวกับการกําหนดพิจารณาสภาพธรรมที่ เป็นหมวดเป็นกองเสียก่อน
โลกียปริญญา คือการกําหนดรู้สภาพธรรมขึ้นโลกียะ มี ๓ อย่างคือ
๑. ญาตปริญญา คือ การกําหนดรู้ด้วยการรู้
๒. ตีรณปริญญา คือ การกําหนดรู้ด้วยการไตร่ตรองใคร่ครวญ
๓. ปหานปริญญา คือ การกําหนดรู้ด้วยการละ
ปัญญาที่กําหนดลักษณะเฉพาะของธรรมทั้งหลาย เช่น รูป มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป, เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ชื่อว่า ญาตปริญญา
ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ คือการยกเอาธรรมทั้งหลายขึ้นสู่สามัญญลักษณะ เช่น รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ชื่อว่า ตีรณปริญญา
ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์และเป็นไปพร้อมกับการละวิปัลลาสธรรม มีนิจจสัญญา ความสําคัญว่าเที่ยงเป็นต้นในธรรมทั้งหลายได้ ชื่อว่า ปหานปริญญา
วิปัสสนาญาณในปริญญา
ในปริญญาทั้ง ๓ อย่างนั้นตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ถึงปัจจยปริคคหญาณ เป็นภูมิของญาตปริญญา เพราะในระหว่างนี้เป็นการแทงตลอดลักษณะเฉพาะตนของ ธรรมทั้งหลายเท่านั้น
ตั้งแต่สัมมสนญาณจนถึงอุทยัพพยญาณเป็นภูมิของตีรณปริญญา เพราะในระหว่างนี้เป็นการแทงตลอดสามัญญลักษณะโดยเฉพาะ
ตั้งแต่ภังคานุปัสสนาจนถึงอนุโลมญาณ เป็นภูมิของปหานปริญญาที่เป็น โลกียะหรือมรรคญาณที่เป็นโลกุตตระ เพราะในระหว่างนี้ (ภังคญาณ ถึงอนุโลมญาณที่ เป็นโลกียปริญญา) เป็นการเกิดขึ้นของอนุปัสสนา ๗ อย่าง ซึ่งทําให้สําเร็จกิจ คือ ละความหมายรู้ต่างๆ มีความหมายรู้ว่าเที่ยง เป็นต้นอย่างนี้ว่า
๑.เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่เที่ยงก็ละความหมายรู้ว่าเที่ยง
๒. เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ก็ละความหมายรู้ว่าเป็นสุข
๓.เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่มีอัตตาก็ละความหมายรู้ว่ามีอัตตา
๔. เมื่อเบื่อหน่าย ก็ละความเพลิดเพลินยินดี (นิพพิทานุปัสสนา)
๕. เมื่อปราศจากความกําหนัดก็ละราคะ (วิราคานุปัสสนา)
๖. เมื่อดับก็ละเหตุที่เป็นแดนเกิด (นิโรธานุปัสสนา)
๗. เมื่อสลัดทิ้งไปละความยึดถือ (ปฏินิสสัคคานุปัสสนา)
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาบรรลุญาตปริญญาเพราะได้ทํานามรูปปริจเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ปริญญาอีก ๒ อย่าง ก็ควรบรรลุด้วยเพราะเมื่อ ตีรณปริญญากําลังเป็นไปอยู่นั้น มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็จะบังเกิดขึ้น และตีรณ ปริญญาก็จะบังเกิดต่อจากญาตปริญญา เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาบรรลุมัคคามัคคญาณ ทัสสนวิสุทธิ์ จะต้องทําความเพียรในการกําหนดรู้สภาพธรรมโดยความเป็นหมวด เป็นกอง เสียก่อน อารมณ์ของสัมมสนญาณ ธรรมที่เป็นหมวดเป็นกอง ที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน, ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้ เหล่านี้อันเป็นไปในทวารพร้อมทั้งทวาร และ อารมณ์ต้องกําหนดพิจารณาด้วยปัญญาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นั้นมี ๒๕ หมวด คือ
๑. ขันธ์ ๕
๒. ทวาร ๖
๓. อารมณ์ ๖
๔. วิญญาณ ๖
๕. ผัสสะ ๖
๖. เวทนา ๖
๗. สัญญา ๖
๘. เจตนา ๖
๙. ตัณหา ๖
๑๐. วิตก ๖
๑๑. วิจาร ๖
๑๒. ธาตุ ๖
๑๓. กสิณ ๑๐
๑๔. โกฏฐาส ๓๒
๑๕. อายตนะ ๑๒
๑๖. ธาตุ ๑๘
๑๗. อินทรีย์ ๒๒
๑๘. ธาตุ ๓
๑๙. ภพ ๓
๒๐. ภพ ๓ อีกอย่างหนึ่ง
๒๑. ภพ ๓ อีกอย่างหนึ่ง
๒๒. รูปฌาน ๔
๒๓. อัปปมัญญา ๔
๒๔. อรูปสมาบัติ ๔
๒๕. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
การกําาหนดพิจารณาในธรรม ๒๕ หมวดมีขันธ์ ๕ เป็นต้นด้วยสัมมสนญาณ มีดังนี้ :-
รูปขันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, ทั้ง ภายในหรือภายนอก, ทั้งหยาบหรือละเอียด, ทั้งเลวหรือประณีต, ทั้งอยู่ไกลหรือใกล้ ผู้ปฏิบัติที่กําหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหมดนั้นโดยความไม่เที่ยงนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง (รูปขันธ์ ฯลฯ ผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหลายนั้นโดยความเป็นทุกข์ก็เป็นสัมมสน ญาณอีกอย่างหนึ่ง....ผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหมดนั้นโดยความเป็นอนัตตาก็เป็นสัมมสนญาณอีกอย่างหนึ่ง)
เมื่อสรุปแล้วในรูปขันธ์ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๓ อย่างฉะนั้น ขันธ์ ๕ เป็นปัจจัยให้เกิดสัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๕ อย่าง, ทวาร ๖ เป็นปัจจัยให้ สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๘ อย่าง สมาบัติ ๔ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๒ อย่าง, และปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๓๖ อย่าง รวม จํานวนสัมมสนญาณในธรรม ๒๕ หมวด เป็น ๖๐๓ อย่าง (๒๐๓ x ๓)
สัมมสนญาณโดยเฉพาะๆ
การใช้ปัญญาย่นย่อหรือสรุปธรรม ๒๕ หมวด ที่เป็นอดีต อนาคตหรือ ปัจจุบัน เป็นต้นเหล่านั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้น ยังมิได้ชี้เฉพาะ ลงไปว่าเป็นอดีต, เป็นของภายใน, เป็นของประณีต แต่อย่างใดเพียงแต่กําหนดสรุป รวมไว้เท่านั้น ซึ่งถ้าจะพิจารณาโดยเฉพาะๆ ลงไปแล้วในสัมมสนญาณ ๖๐๓ อย่างนั้น แต่ละสัมมสนญาณยังแบ่งออกอีก ๑๑ ประเภทย่อย ด้วยสภาพธรรมที่เป็นอดีตอนาคต ปัจจุบัน, ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด, เลว ประณีต, ไกล ใกล้ ฉะนั้นเมื่อสรุป รวมจํานวนของสัมมสนญาณทั้งสิ้นแล้วมีถึง ๖,๖๓๓ ประเภท (๖๐๓ x ๑๑)
วิธีกําหนดรู้ธรรมโดยเฉพาะของสัมมสนญาณ ๑๑ ประเภท
๑. รูปใดที่เป็นอดีต รูปนั้นก็สิ้นไปแล้วในอดีตมิได้ดํารงมาถึงภพนี้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๒. รูปใดเป็นอนาคต ก็จักเกิดขึ้นในอนาคตภพแล้วจักดับไปในภพนั้น นั่นเอง จักไม่ดับในภพอื่น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง เพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๓. รูปใดเป็นปัจจุบัน ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในภพนี้เอง ไม่ดํารงไปถึงภพอื่น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๔. รูปใดเป็นไปภายใน ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปภายในนั่นเอง ไม่ดํารงอยู่ถึงภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๕. รูปใดเป็นไปภายนอก ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปภายนอกนั่นเอง ไม่ดํารง อยู่ถึงภายใน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๖. รูปใดเป็นรูปที่หมายถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปหยาบนั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปละเอียด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๗. รูปใดเป็นรูปที่ละเอียด ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปละเอียด นั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปหยาบด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๘. รูปใดเป็นรูปเลว ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปเลวนั่นเองไม่ ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปประณีต ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๙. รูปใดเป็นรูปประณีต ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปประณีต นั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปเลว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๑๐. รูปใดเป็นรูปไกล ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปไกลนั่นเอง ไม่ ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปใกล้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
๑๑. รูปใดเป็นรูปใกล้ ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปใกล้นั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปไกล ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป
การกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐
การกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐ เพื่อความมั่นคงของสัมมสนญาณ มีดังนี้คือ
๑. อนิจจโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่เที่ยง เพราะความที่ ทุกๆ ขันธ์ไม่เป็นอยู่ตลอดไป และเพราะมันมีเบื้องต้นและเบื้องปลาย
๒. ทุกข์โต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นทุกข์เพราะมีการบีบคั้น เฉพาะหน้า ด้วยความเกิดและความดับ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
๓. โรคโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นโรคเพราะต้องคอย เยียวยารักษา และเป็นที่อาศัยเกิดของโรค
๔. คัณฑโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นหัวฝี เพราะประกอบ ด้วยสิ่งเสียดแทง คือความเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ไหลออกของสิ่งสกปรก คือกิเลสและ เพราะมีการกลัดหนองและสุกแก่แล้วแตกสลายด้วยการ เกิด แก่ และแตกดับไป
๕. สัลลโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นลูกศรเสียบเพราะทําให้ เกิดการบีบคั้น เพราะเป็นสิ่งที่ทิ่มแทงอยู่ภายในและเป็นสิ่งที่ถอนออกได้ยาก
๖. อตฺโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความชั่วร้ายเพราะเป็นสิ่งที่ควร ตําหนิติเตียนเพราะนํามาซึ่งความเสื่อมเสีย และเป็นที่ตั้งของความชั่วร้าย
๗. อาพาธโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความป่วยไข้เพราะไม่ทําให้ เกิดเสรีภาพและเป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย
๘. ปรโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นปรปักษ์เพราะไม่มีอํานาจ บังคับบัญชาและบังคับบัญชาไม่ได้
๙. ปโลกโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความแตกทําลายเพราะแตก ทําลายไปด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ
๑๐. อีติโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความหายนะเพราะนํามาซึ่ง ความพินาศมากมาย
๑๑. อุปัททวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นอุปัททวะเพราะนํามา ซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ที่รู้ไม่ได้เลยอย่างมากมาย และเพราะเป็นที่ตั้งของอุปัทวันตรายทั้งปวง
๑๒. ภัยโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นภัยเพราะเป็นที่เกิด ของภัยทุกประการ และเป็นปฏิปักษ์ต่อความอบอุ่นใจอย่างสูงสุด คือการระงับความทุกข์
๑๓. อุปสัคคโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นอุปสรรคเพราะ ติดตามมาด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หลายประการ เพราะประกอบด้วยโทษและไม่นํา มาซึ่งความอดกลั้นคล้ายเป็นอุปสรรค
๑๔. จุลโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความหวั่นไหวเพราะหวั่นไหว ด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ กับทั้งหวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย มีลาภและเสื่อม ลาภเป็นต้น
๑๕. ปภังคุโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นของผุพังเพราะมีปกติ เข้าถึงความผุพังไปด้วยความพยายามของสิ่งอื่น และโดยสภาพของมันเอง
๑๖. อัทธุวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่ยั่งยืนเพราะมีปกติ ร่วงหล่นไปในที่ตั้งทุกแห่งและเพราะไม่มีความมั่นคง
๑๗. อตาณโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่ต้านทานเพราะไม่เป็น ที่ต่อต้านคุ้มครองและเพราะไม่ได้ความปลอดภัยที่ควรได้
๑๘. อเลนโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่หลบลี้เพราะไม่เป็น ที่สมควรเพื่อหลบทั้งหลายก็ทํากิจในการหลบไม่ได้
๑๙. อสรณโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่พึ่งเพราะเป็นที่ ปลอดภัยแก่ผู้อาศัย
๒๐. จิตตโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของเปล่าเพราะว่างเปล่า จากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และความมีอัตตา ตามที่กําหนดคาดคะเนไว้
๒๑. ตุจนโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของว่างเพราะเป็นของ เปล่าเป็นของเล็กน้อย แม้ของเล็กน้อยในโลกเขาก็เรียกว่า ของว่าง
๒๒. สุญญโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของสูญเพราะปราศจาก อัตตาผู้เป็นเจ้าของ ผู้อยู่ประจํา ผู้สร้าง ผู้เสวนะ และบงการ
๒๓. อนัตตโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่มีอัตตาเพราะไม่มี ผู้เป็นเจ้าของด้วยตนเองเป็นต้น
๒๔. อาทีนวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นโทษเพราะเป็น ทุกข์ด้วยความเป็นไป (ในภพ คือสังสารวัฏ) และเพราะความทุกข์นั่นเองเป็นโทษ เพราะเป็นไปเพื่อความยากจน (คําว่า อาทีนวะ นี้เป็นคําเรียกคนยากจน แม้ขันธ์ ๕ ก็ เป็นสิ่งยากจนเช่นกัน)
๒๕. วิปริณามธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความแปรปรวนอยู่ เป็นธรรมดา เพราะมีปกติแปรปรวนอยู่ ๒ ทาง คือ ทางชรา และทางมรณะ
๒๖. อสารกโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่มีสาระเพราะมีความอ่อนแอ และเพราะหักง่ายเหมือนไม้ผุ
๒๗. อมมูลโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย เพราะเป็นสาเหตุแห่งความชั่วร้ายนานาประการ
๒๘. วชกโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นผู้ฆ่าเพราะเป็นผู้ฆ่าโดย ให้วางใจเหมือนศัตรูผู้มีหน้าเป็นมิตร
๒๕. วิภวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยปราศจากความเจริญเพราะ ปราศจากความเจริญ และเพราะให้เกิดความไม่เจริญ
๓๐. สาสวโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความมีอาสวะ เพราะเป็น หนทางไปสู่อาสวะ
๓๑. สังขตโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้เพราะ เป็นสิ่งที่เหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
๓๒. มารามิสโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นเหยื่อล่อของมาร เพราะเป็นเหยื่อล่อของมัจจุมาร และกิเลสมาร
๓๓. ชาติธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา เพราะมีความเกิดเป็นปกติ
๓๔. ชราธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความมีแก่เป็นธรรมดา เพราะมีความแก่เป็นปกติ
๓๕. พยาธิธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเจ็บเป็นธรรมดา เพราะมีความเจ็บเป็นปกติ
๓๖. มรณธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความตายเป็นธรรมดา เพราะมีความตายเป็นปกติ
๓๓. โลกธัมมโต เป็นการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความโศกเป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความโศกเศร้า
๓๘. ปริเทวธัมมโต เป็นการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความคร่ําครวญเป็น ธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความคร่ําครวญ
๓๙. อุปายาสธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความคับแค้นใจเป็น ธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความคับแค้นใจ
๔๐. สังกิเลสิกธัมมโต คือการกําหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเศร้าหมองเป็น ธรรมดา เพราะเป็นธรรมที่เป็นวิสัย (คืออารมณ์) ของกิเลส ตัณหา และทุจริตทั้งหลาย
การสงเคราะห์สัมมสนญาณ ๔๐ ลงในอนุปัสสนา ๓
การสงเคราะห์สัมมสนญาณ ๔๐ ลงในอนุปัสสนา ๓ โดยขันธ์ ๕ มี ๓ ประเภท
๑) การกําหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เป็นอนิจจานุปัสสนา ๕๐ ด้วยอาการ ๑๐ อย่างคือ
๑. อนิจฺจโต โดยความไม่เที่ยง
๒. ปโลกโต โดยความแตกทําลาย
๓. จลโต โดยความหวั่นไหว
๔. ปภงฺคุโต โดยความผุพัง
๕. อทธุวโต โดยความไม่ยั่งยืน
๖. วิปริณามธมฺมโต โดยมีความแปรปรวนอยู่เป็นธรรมดา
๗. อสารกโต โดยไม่มีสาระแก่นสาร
๘. วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ
๙. สงฺขตโต โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้
๑๐. มรณธมฺมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา
๒) การกําหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เป็นอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ปรโต โดยเป็นปรปักษ์
๒. ริตฺตโต โดยเป็นของเปล่า
๓. ตุจนโต โดยเป็นของว่าง
๔. สุญฺญโต โดยเป็นของสูญ
๕. อนตฺตโต โดยไม่มีอัตตา
๓) การกําหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ที่เป็นทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ ด้วยอาการที่เหลือ ๒๕ อย่างรวมทั้ง ๓ อนุปัสสนาในขันธ์ ๕ ฉะนั้นการกําหนดรู้ในขันธ์ ๕ ด้วยอนุปัสสนา ๓ รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ อาการ หรือ ๒๐๐ สัมมสนญาณ
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดรู้ขันธ์ ๕ ด้วยการกําหนดรู้โดยพระไตรลักษณ์ โดยจําแนก เป็น ๒๐๐ อาการดังกล่าวมาแล้วนั้น สัมมสนญาณ โดยอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ที่ เรียกว่า นยวิปัสสนา ก็มั่นคงขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นวิธีเริ่มต้นการกําหนดรู้รูปนาม โดย ดําเนินตามนัยพระบาลีในสัมมสนญาณ
วิธีเจริญวิปัสสนาญาณให้สูงขึ้น
เมื่อผู้ปฏิบัติต้องการให้วิปัสสนาญาณสูงขึ้นจึงทําอินทรีย์ ๕ มี ศรัทธา เป็นต้น ให้แก่กล้ายิ่งขึ้นด้วยวิธีการ ๙ อย่าง คือ
๑. พยายามกําหนดให้รู้ชัดถึงความดับไปของสังขารทั้งหลาย (รูปและนาม) ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
๒. ในขณะที่เห็นความดับไปของสังขารทั้งหลายนั้น ควรพยายามให้ถึงพร้อมด้วยการมีสติ
๓. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ เกิดต่อเนื่องกันไป
๔. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ ดําเนินไปด้วยความสะดวกสบาย
๕. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ กําหนดนิมิตของสมาธิ
๖. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ ดําเนินไปโดยความเหมาะสมของโพชฌงค์ ๗
๗. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต
๘. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยวิธีข่มไว้(ข่มทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น)
๙. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยการไม่ละเลิกหรือหยุดพักเสีย ในระหว่างกลางคัน และพึงหลีกเลี่ยงอสัปปายะ คือสิ่งที่ไม่เป็นที่สบาย ๗ อย่าง แล้ว เสพสัปปายะ คือ สิ่งที่เป็นที่สบาย ๗ อย่าง
วิธีกําหนดรู้นาม
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปอยู่ก็สามารถเห็นความเกิดของรูปได้ด้วยเช่นเดียวกับ เมื่อกําหนดรู้นามอยู่ก็สามารถเห็นความเกิดของนามได้ด้วยการเห็นความเกิดของนาม นั้นต้องกําหนดรู้โลกียจิต ๘๑ ซึ่งมีปฏิสนธิจิต ๑๙ ที่เกิดขึ้นก่อนปฏิสนธิกาลด้วย อํานาจแห่งกรรมในปฏิสนธิกาลด้วยอํานาจแห่งกรรมในอดีตภพ การเกิดขึ้นของ ปฏิสนธิจิต ๑๙ นี้ แสดงไว้แล้วในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาท
การเกิดขึ้นครั้งแรกของนามนั้นได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ต่อจากนั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นภวังคจิต และในที่สุดเมื่อหมดอายุหรือสิ้นความก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นจุติจิต และในปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวงนั้น ดวงใดที่เป็นกามาวจรจิต ดวงนั้นก็ทําหน้าที่เป็น ตทารัมมณจิตด้วย ในขณะที่รับอารมณ์ซึ่งมีกําลังแรงในทวารทั้ง ๖
แต่ในปวัตติกาลเมื่อรูปารมณ์ปรากฏทางจักขุทวารจักขุปสาทยังดีอยู่ จักขุวิญญาณอาศัยแสงสว่าง และมนสิการจึงเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตตธรรมทั้งหลายคือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เพราะว่าในระหว่างฐิติปัตตะแห่งจักขุปสาท ๔๙ นั้น เมื่อรูปารมณ์ปรากฏเกิดขึ้นก็จะกระทบกับจักขุปสาท ทําให้เกิดภวังคจิตดังนี้ คือ อดีต ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ ต่อจากนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น พิจารณา รูปารมณ์ ดังนั้นจักขุวิญญาณจิตที่เป็นอกุศลวิบาก หรือกุศลวิบาก ก็เกิดขึ้นเห็น รูปารมณ์ จากนั้นสัมปฏิจฉนจิตก็เกิดขึ้นรับรูปารมณ์ จากนั้นสันตีรถจิตก็เกิดขึ้น ไต่สวน รูปารมณ์ จากนั้นโวฏฐัพพนจิตก็เกิดขึ้นตัดสินรูปารมณ์ ต่อจากนั้นชวนจิตที่เป็นกุศล อกุศลและกิริยาจิต (ที่เป็นอเหตุกะ ๑ ดวง) และที่เป็นกามาวจรจิตก็เกิดขึ้น ๕ หรือ ๗ ขณะจากนั้น ทารัมมณจิตดวงใดดวงหนึ่งในบรรดาตทารัมมณจิต ๑๑ ดวง ก็เกิดขึ้น รับอารมณ์ต่อจากชวนะตามสมควรหรือตามสมควรแก่อารมณ์
แม้ในทวารอื่นๆ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกัน แต่ในมโนทวารแม้มหัคคตจิต ทั้งหลายก็เกิดได้เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเห็นความเกิดของนามด้วยอาการดังกล่าวมานี้
ชื่อว่า กําหนดรู้นามตามกาล (คือในเวลาหนึ่ง)
เมื่อผู้ปฏิบัติกําหนดรู้รูปและนามตามกาลดังกล่าวแล้ว จึงยกหรือพิจารณา ให้เห็นพระไตรลักษณ์ได้ตามลําดับก็จะบรรลุอุทยัพพยญาณ และสามารถทําปัญญาภาวนาให้ถึงพร้อมได้
การกําหนดรู้รูปทางรูปสัตตกะ
การกําหนดรู้รูปธรรมเพื่อเห็นพระไตรลักษณ์นั้นมีวิธีกําหนดรู้ ๗ อย่าง คือ
๑. โดยพิจารณาความยึดถือและการปล่อยวาง
๒. โดยพิจารณาความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย
๓. โดยพิจารณารูปที่เกิดขึ้นจากอาหาร
๔. โดยพิจารณารูปที่เกิดขึ้นจากฤดู
๕. โดยพิจารณ รณารูปที่เกิดขึ้นจากจากกรรม
๖. โดยพิจารณารูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๓. โดยพิจารณารูปธรรมดา
สรุปการเพิกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ทั้ง ๓ คือ
เมื่อพระโยคีเห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตาชื่อว่า มีการเพิกทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่โดยความไม่เที่ยงชื่อว่า มีการเพิกมานะ เมื่อเห็นอยู่โดยความ เป็นทุกข์ชื่อว่า มีการสิ้นไปแห่งความใคร่
การกําหนดรู้นามธรรมทางอรูปสัตตกะ เพื่อให้เห็นพระไตรลักษณ์มีด้วยประการฉะนี้
สรุปลักษณะสัมมสนญาณ
การพิจารณาเพียงย่อๆ โดยลักษณะสัมมสนญาณมี ๔ อย่าง คือ
๑. กลาปสัมมสนะคือ การพิจารณารูปนามที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายนอก ภายใน, หยาบ ละเอียด, เลว ประณีต, ไกล ใกล้ ทั้งหมดนี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหมดไปสิ้นไปถ่ายเดียว ไม่มีกลับ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว และไม่ มีแก่นสาร ไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น
๒. อัทธานสัมมสนะคือ การพิจารณารูปนามที่เกิดดับ ล่วงลับไปเป็นเวลา นาน คือพิจารณารูปนามในอดีต ไม่กลับมาเป็นรูปนามปัจจุบัน รูปนามปัจจุบันไม่กลับ ไปเป็นรูปนามอนาคต รูปนามภายในไม่เป็นรูปนามภายนอก รูปนามอดีตก็เกิดดับใน อดีต รูปนามอนาคตก็เกิดดับในอนาคต รูปนามปัจจุบันไม่กลับเกิดในชาติหน้า แต่มี เหตุปัจจัยสืบต่อกันอยู่ เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ดี เมื่อปัจจุบันชั่วอนาคตก็ชั่ว อุปมา เหมือนดวงตรา เมื่อประทับลงไปบนกระดาษนั้น รูปดวงตรายังปรากฏติดอยู่ที่กระดาษ แต่ดวงตราหาติดอยู่กับกระดาษไม่ ข้อนี้ฉันใด ความดีความชั่วก็ฉันนั้น ถ้าเราทําดี ความดีก็ประทับตราไว้ ไม่หายสูญไปไหนเลย ดังนั้น รูปนามจึงเป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา
๓. สันตติสัมมสนะคือ การพิจารณาเห็นความสืบต่อของรูปนาม เช่น รูป ร้อนดับไปรูปเย็นเกิดขึ้น รูปเย็นดับไปรูปร้อนเกิดขึ้น หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อย่างนี้ ดังนั้น รูปนามจึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจริงๆ
๔. ขณสัมมสนะคือ การพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่วขณะ หนึ่งๆ คือพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนามซึ่งเรียกว่า อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีรูปนามเกิดดับอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ตลอดวันตลอดคืน ดังนั้น รูปนามจึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
การเห็นรูปนามเกิดดับดังกล่าวนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การเห็นรูปนามเกิด ดับของสัมมสนญาณนี้ เห็นเมื่อรูปใหม่เกิดขึ้นแล้วจึงเห็นรูปเก่าดับไป เช่น พิจารณา อิริยาบถนั่ง จะเห็นว่าอิริยาบถนั่งนั้นดับไปก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนอิริยาบถนั่งนั้นเป็น อิริยาบถอื่นไป จึงจะเห็นว่าอิริยาบถนั่งนั้นดับไป ดังนี้เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ปัญญาในญาณนี้ยังอ่อนอยู่
อนึ่ง ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ ทั้ง ๓ นี้ ล้วนเป็นญาณที่อาศัยสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา ก็สัมมสนญาณนี้ว่า โดยวิสุทธิสงเคราะห์เข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ และเป็นญาณที่ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๑๐ เป็นญาณที่ ๓ ในญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ)
จบ สัมมสนญาณ
๔. อุทยัพพยญาณ
อุทยัพพยญาณ นี้เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บทคือ อุทยะ + วยะ + ญาณ รวม เป็นอุทยัพพยญาณ (แปลง ว เป็น พ ซ้อน พ) แปลว่า ปัญญาเห็นความเกิดขึ้น และ การแปรไปของรูปนาม ดังมีวจนัตถะว่า อุปปาทางคานุปสฺสนาวสรุปวัตต์ ญาณ อุทยพพยญาณ แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจการพิจารณาความเกิดขึ้น และความ ดับแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต
อุทยัพพยญาณมี ๒ อย่าง คือ
๑. ตรุณอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อนที่ยังมีวิปัสสนูปกิเลส เกิดปะปนอยู่ เรียกว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คืออยู่ในระหว่างวินิจฉัยว่าทาง หรือไม่ใช่ทาง เมื่อติดใจในวิปัสสนูปกิเลสเรียกว่า อมัคคะ ถ้าไม่ติดใจก็เรียก มัคคะ
๒. พลวอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ปัญญาที่เห็นความเกิด ดับของรูปนามผ่านอุปสรรคอันตราย คือผ่านวิปัสสนูปกิเลสไปได้ดําเนินไปตาม มัคคปฏิปทาโดยตรง โดยพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนามดังต่อไปนี้ คือ
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายความว่าปัญญาที่เห็นเนืองๆ ในความ ปรวนแปรของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ปัญญาที่เห็นความปรวนแปรของปัจจุบันนธรรม ทั้งหลาย คือปัญญาเห็นรูปที่เกิดแล้วซึ่งเป็นปัจจุบัน (อุทยะ) และเห็นความปรวนแปร ของรูปนั้น เช่น กําลังดับ (ยะ) เป็นต้น หรือปัญญาที่เห็นอยู่เนืองๆ ในลักษณะแห่ง การเกิดหรืออาการใหม่ของรูปนามว่าเป็นอุทยะ (ความเกิดขึ้น) และเห็นอยู่เนืองๆ ใน ลักษณะแห่งความปรวนแปร ความสิ้นไป ความแตกดับไป ว่าเป็น วยะ (ความดับไป)
ผู้ปฏิบัติควรพิจารณาว่า ก่อนที่รูปนามจะเกิดขึ้นก็มิได้มีอยู่ในที่ใด แม้เมื่อ รูปนามเกิดขึ้นแล้วก็มิได้เกิดมาจากที่ใด แม้เมื่อรูปนามกําลังดับก็หาไปสู่สถานที่ใดไม่ แม้เมื่อรูปนามดับไป ก็มิได้ไปตั้งอยู่สถานที่แห่งใด เปรียบเหมือนการบรรเลงพิณ คือ ก่อนที่เสียงจะเกิดขึ้นก็หามีที่เก็บไว้ไม่ เมื่อเสียงกําลังเกิดขึ้นก็มิได้มาจากที่ใด เมื่อ เสียงกําลังดับ ก็มิได้ไปสู่ที่ใด และเมื่อเสียงดับไปแล้วก็มิได้ไปเก็บอยู่ ณ ที่ใด และ เมื่อเสียงดับไปแล้ว ก็มิได้ไปเก็บอยู่ ณ ที่ไหน เสียงพิณนั้นไม่มีอยู่ก่อนแต่เพราะอาศัย พิณ การบรรเลงและความพยายามเสียงพิณจึงปรากฏมีขึ้น ฉันใด ธรรมทั้งหลายที่เป็น รูปและนาม ไม่มีก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็กลับดับไป ฉันนั้น
การเกิดดับของขันธ์ ๕ มีลักษณะ ๕๐ อย่าง
๑. เห็นความเกิดของรูปขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นรูปขันธ์เกิด เพราะอวิชชาเกิด ๒. เพราะตัณหาเกิด ๓. เพราะกรรมเกิด ๔. เพราะอาหารเกิด ๕. เพราะ เห็นลักษณะแห่งความเกิด
๒. เห็นความดับของรูปขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นรูปขันธ์ดับเพราะ อวิชชาดับ ๒. เพราะตัณหาดับ ๓. เพราะกรรมดับ ๔. เพราะอาหารดับ ๕. เพราะ เห็นลักษณะของความแปรปรวน
๓. เห็นความเกิดของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อย่างละ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นเวทนาขันธ์เกิด สัญญาขันธ์เกิด สังขารขันธ์เกิด เพราะอวิชชา เกิด ๒. เพราะตัณหาเกิด ๓. เพราะกรรมเกิด ๔. เพราะผัสสะเกิด ๕. เพราะเห็น ลักษณะแห่งความเกิด
๔. เห็นความดับของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อย่างละ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ดับ เพราะอวิชชาดับ ๒. เพราะตัณหาดับ ๓. เพราะกรรมดับ ๔. เพราะผัสสะดับ ๕. เพราะเห็นลักษณะ ของความแปรปรวน
๕. เห็นความเกิดของวิญญาณขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑. เห็นวิญญาณขันธ์ เกิด เพราะอวิชชาเกิด ๒. เพราะตัณหาเกิด ๓. เพราะกรรมเกิด ๔. เพราะรูปนามเกิด ๕. เพราะเห็นลักษณะแห่งความเกิด
๖. เห็นความดับของวิญญาณขันธ์ ๕ ลักษณะคือ ๑. เห็นวิญญาณขันธ์ ดับ เพราะอวิชชาดับ ๒. เพราะตัณหาดับ ๓. เพราะกรรมดับ ๔. เพราะรูปนามดับ ๕. เพราะเห็ลักษณะของความแปรปรวน
ผู้ปฏิบัติเมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วตรุณอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
การเห็นรูปนามโดยปัจจัยและขณะ
การเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปโดยอาศัยอวิชชาเป็นต้นนั้น เป็นการเห็นโดยปัจจัย ส่วนการเห็นลักษณะแห่งความเกิดเฉพาะในขณะเกิดเท่านั้น หรือการ เห็ลักษณะของความปรวนแปรเฉพาะในขณะดับเท่านั้น เป็นการเห็น โดยขณะ เมื่อผู้ ปฏิบัติเห็นรูปนามโดยปัจจัยและขณะอยู่อย่างนี้ อริยสัจ ๔ ก็จักปรากฏ คือ
๑. การเห็นความเกิดขึ้น โดยปัจจัยสมุทยสัจก็ย่อมปรากฏ เพราะรู้ถึงปัจจัยให้เกิด
๒. การเห็นความเกิดขึ้น โดยขณะทุกขสัจย่อมปรากฏ เพราะรู้ว่าความเกิด เป็นทุกข์ หรือการเห็นความดับไปโดยขณะ และรู้ว่าความดับเป็นทุกข์ ทุกขสัจก็ย่อม ปรากฏ
๓. การเห็นความดับไปโดยปัจจัย นิโรธสัจก็ย่อมปรากฏเพราะรู้ว่าธรรม ทั้งหลายไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัย
๔. การเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยปัจจัยและโดยขณะ และกําจัดเสีย ซึ่งความฟั่นเฟือในความเกิดขึ้นและดับไปเป็น มรรคสัจ ฝ่ายโลกียะ
ปฏิจจสมุปบาทก็จักปรากฏ ดังนี้
ฝ่ายอนุโลม เมื่อเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปว่า “อิมสฺมี สติ อิท โหติ เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้จึงมี” ฝ่ายปฏิโลม เมื่อเห็นความดับไปโดยปัจจัย เพราะรู้ลงไปว่า “อิมสฺส นิโรธา อิท นิรุชฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ
นัย ๔ อย่าง ก็จักปรากฏ ดังนี้
๑. เอกัตตนัย (นัยแห่งความเป็นอันเดียว) คือ การเห็นความเกิดขึ้นโดย ปัจจัย และรู้ถึงความไม่ขาดสายและสืบต่อของเหตุและผล ก็ละอุจเฉททิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
๒. นานัตตนัย (นัยแห่งความต่างกัน) คือ การเห็นความเกิดขึ้น โดยขณะ และรู้ถึงความเกิดขึ้นของสังขารใหม่ๆ ก็ละสัสสตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
๓. อัพยาปารนัย (นัยแห่งความไม่ขวนขวาย) คือการเห็นความเกิดขึ้น และดับไปโดยปัจจัย และรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปตามอํานาจ ก็ละอัตตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
๔. เอวังธัมมตานัย (นัยแห่งความที่เป็นธรรมอย่างนี้) คือการเห็นความเกิด ขึ้นโดยปัจจัยและรู้ถึงความเกิดขึ้นของผลตามสมควรแก่ปัจจัย ก็ละอริยทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น
ลักษณะ ๓ อย่าง ก็จักปรากฏ ดังนี้
๑. อนัตตลักขณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย และรู้ว่าธรรม ทั้งหลายเป็นไปต่อเนื่องด้วยปัจจัยปราศจากผู้กระทํา
๒. อนิจจลักขณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยขณะ และรู้ถึง ความมีแล้วไม่มี รู้ความว่างเปล่าในเบื้องต้นและที่สุด
๓. ทุกขลักขณะ คือการรู้ถึงความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้น และดับไป แม้สภาวลักษณะก็ปรากฏชัดด้วย เพราะมุ่งลงไปที่ตัวธรรมะ (รูปนาม) ที่ เกิดขึ้นและดับไป แม้สังขตลักษณะที่เป็นไปชั่วขณะนั้นก็ปรากฏชัดในสภาวลักษณะ เพราะรู้ว่าไม่มีความดับไปในขณะที่กําลังเกิดขึ้น และรู้ว่าไม่มีความเกิดขึ้นในขณะที่กําลังดับไป
อารัทธวิปัสสโก
เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นความแตกต่างของสัจจะ ปฏิจจสมุปบาท นัย และลักขณะ ปรากฏชัดอย่างนี้ สังขารทั้งหลายก็ปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์ทีเดียวว่า ธรรม ทั้งหลายชื่อนี้ว่าแต่ก่อนไม่เคยเกิด เดี๋ยวนี้เกิดขึ้นแล้ว เกิดแล้วก็ดับไป และมิใช่สังขาร ทั้งหลายปรากฏเป็นของใหม่เท่านั้นแต่ปรากฏมีปกติตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยเท่านั้น ประดุจ หยาดน้ําค้างต่อมน้ํา รอยขีดบนผิวน้ํา เมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม สายฟ้าแลบ และปรากฏว่า ไม่มีสาระแก่นสาร ไม่เป็นสาระประดุจมายาการ พยับแดด ความฝัน ควงหุ้นฟื้นติดไฟ สร้างวิมานในอากาศ ฟองน้ํา ต้นกล้วย
ด้วยวิธีปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ผู้ปฏิบัติได้ชื่อว่าบรรลุแล้วซึ่งตรุณวิปัสสนาญาณ หรืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (อย่างอ่อน) เพราะแทงตลอดลักษณะ ๕๐ อย่างโดย อาการที่ว่า “สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดานั่นเอง เกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความ ดับไป” ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ชื่อว่า อารัทธวิปัสสโก คือผู้เริ่มบําเพ็ญวิปัสสนาหรือ ผู้เริ่มต้นเห็นแจ้ง
ในลําดับของตรุณวิปัสสนาญาณ หรืออุทยัพพยานุปัสสนา (อย่างอ่อน) นี้ วิปัสสนูปกิเลส คือสิ่งที่ทําให้วิปัสสนาญาณหม่นหมอง จะบังเกิดขึ้นแก่โยคีที่เริ่มต้น บําเพ็ญวิปัสสนา วิปัสสนูปกิเลสจะไม่บังเกิดแก่บุคคล ๓ พวก ดังที่กล่าวมาแล้ว
อธิบายในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐
วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ย่อมจะเกิดขึ้นแก่ผู้มีความเพียรเจริญ วิปัสสนาในเมื่อได้บรรลุถึงอุทยัพพยญาณที่ยังอ่อนอยู่ ถ้าผู้มีความเพียรนั้นพลาดพลั้ง หลงกลต่อวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้แล้ว ก็ย่อมจะเข้าถึงสภาวะที่ไม่สามารถบําเพ็ญความ เพียรวิปัสสนาต่อไปได้ เพราะเข้าใจผิดคิดไปว่าตนได้สําเร็จแล้ว ตนสิ้นกิเลสเป็น พระอรหันต์ แล้วอันเป็นเหตุให้ได้รับความอิ่มอกอิ่มใจ ขาดความเพียรที่จะปฏิบัติต่อไป แต่ถ้ามีอุปนิสัย วาสนา บารมีมาแต่อดีตชาติ คือเป็นบุคคลที่ควรบรรลุมรรคผลเพราะ ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ และสามารถพาตนให้ผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปได้แล้ว วิปัสสนาญาณก็จะดําเนินไปตามแนวทางแห่งรูปนาม มีอาการเกิดดับชัดเจนและ จักชัดเจนยิ่งๆ ขึ้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ผู้ประกอบความเพียรวิปัสสนานั้นได้ บรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่เต็มที่แล้ว รอเวลาที่ก้าวขึ้นสู่ญาณเบื้องสูงต่อไป
ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ได้กล่าวถึงใจที่ถูกวิปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงําไว้ว่า
พระภิกษุขณะมนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยงนั้น โอภาส คือแสงสว่างก็บังเกิด ขึ้น พระภิกษุนั้นก็นึกถึงโอภาสเหล่านั้นว่า “โอภาสเป็นธรรม” ดังนั้นความฟุ้งซ่านหรือ อุทธัจจะที่มีโอกาสเป็นเหตุ จึงครอบงําพระภิกษุนั้นผู้ซึ่งไม่กําหนดรู้ถึงความปรากฏ ของความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่กําหนดรู้ถึงความปรากฏของความทุกข์ตามความเป็นจริง และไม่กําหนดรู้ถึงความปรากฏของความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง
แม้วิปัสสนูปกิเลสอื่นๆ มี ญาณ คือ ความรู้ เป็นต้น จนถึงนิกันติ คือ ความยินดีพอใจ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับ โอภาส คือ แสงสว่างนั่นเอง
๑. โอภาส คือ แสงสว่าง ได้แก่ วิปัสสโรภาส หมายถึงแสงสว่างในวิปัสสนา เมื่อวิปัสสโนภาสเกิดขึ้น โยคาวจรก็คิดว่า “แสงสว่างเช่นนี้ไม่เคยปรากฏ แก่ตัวเราเลย เราคงบรรลุมรรคผลแน่แล้ว” เมื่อโยคาวจรมีความคิดเช่นนี้ก็ถือเอาสิ่งที่ มิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งที่มิใช่ผลว่าเป็นผล จึงเป็นเหตุให้วิปัสสนาญาณก้าวออกไปนอกทางที่ถูกต้อง เพราะ โยคาวจรจะละทิ้งอารมณ์ของวิปัสสนาเดิม หรือมูลกรรมฐาน เดิมเสียแล้วกลับมานั่งชื่นชมวิปัสสโนภาสอยู่ด้วยอํานาจของตัณหา มานะ และทิฏฐิ
โดยส่วนมากวิปัสสนูปกิเลสนี้มักเกิดแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนา แบบสมถวิปัสสนา คือ เจริญสมถะมาก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง เพราะว่า กิเลส ทั้งที่ถูกข่มไว้ด้วยอํานาจของสมาธิไม่สามารถกําเริบได้ จึงทําให้ผู้ที่ได้สมถวิปัสสนา นั่นเกิดความคิดว่า “ได้เป็นพระอรหันต์”
๒. ญาณ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ในขณะที่โยคีกําลังเทียบเคียง ไตร่ตรอง รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายอยู่นั้น ญาณ ซึ่งมีกระแสอันปราดเปรียวแหลมคม แก่กล้าชัดแจ้ง ก็บังเกิดขึ้น ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไป
๓. ปีติ หมายถึง ความเอิบอิ่มที่ประกอบด้วยวิปัสสนา ปีติที่เกิดขึ้นในระยะนีมี ๕ อย่าง คือ
๑. ขุททกาปีติ ความเอิบอิ่มเล็กน้อย
๒. ขณิกาปีติ ความเอิบอิ่มที่เพิ่มพูนทุกขณะ
๓. โอกกันติกาปีติ ความเอิบอิ่มซ่านเซ็น
๔. อุพเพงคาปีติ ความเอิบอิ่มโลดแล่น
๕. ผรณาปีติ ความเอิบอิ่มซาบซ่าน
ปีติทั้ง ๕ อย่างนี้ จะเกิดขึ้นทั่วสรีรกาย
๔. ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบในวิปัสสนา เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ภาวนากําลังนั่งอยู่ในที่พักกลางคืนหรือกลางวันก็ตาม ในขณะนั้นทั้งกายและใจของโยคี จะปราศจากสิ่งรบกวนเหล่านี้ คือ
๑ ความกระวนกระวาย
๒. ความหนัก
๓. ความแข็งกระด้าง
๔. ความไม่ควรแก่การงาน
๕. ความเจ็บไข้
๖. ความคดโกง
แต่ว่า กายและใจของโยคีท่านนั้นจะประกอบไปด้วยคุณคือ
๑. ความสงบ
๒. ความเบา
๓. ความอ่อน
๔. ความควรแก่การงาน
๕. ความผ่องใส
๖. ความเทียงตรง
เมื่อโยคีได้รับความอนุเคราะห์จากปัสสัทธิเช่นนี้แล้ว ก็จะมีความเพลิดเพลิน
ยินดีที่มิใช่เกิดแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระบุถึงไว้ ว่า
สุญฺญาคาร์ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน
อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺนํ วิปสฺสโต
ยโต ยโต สมุมสติ ลภ ปีติปาโมชฺชิ
ขนฺธานํ อุทยพพยํ อมต่ ต้ วิชานตํ
ความยินดีที่มิใช่เกิดแก่มนุษย์ทั่วไป แต่สามารถเกิดแก่พระ ภิกษุที่เข้าสู่อาคารอันเงียบสงัด และมีจิตใจที่สงบ เห็นแจ้งธรรม ด้วยความถูกต้อง เมื่อพระภิกษุนั้นกําหนดรู้ความเกิดและดับของขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอุทยัพพยญาณในรูปธรรมหรือนามธรรมอยู่ ย่อมได้ ปีติ และปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์ของพระภิกษุผู้รู้แจ้งนั้น เป็นอมตะ
ปัสสัทธิอันประกอบด้วยธรรมมี ความเบา เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้โยคีได้รับ ความยินดีที่มิใช่ของมนุษย์ทั่วไปเกิดขึ้นนั้นก็มีดังกล่าวมานี้
๕. สุข หมายถึง ความสุขที่ประกอบด้วยวิปัสสนา คือในขณะที่โยคีผู้เริ่ม บําเพ็ญวิปัสสนากําลังปฏิบัติอยู่นั้น ความสุขอันประณีตยิ่งก็บังเกิดขึ้นท่วมท้นไปทั่ว สรีรกาย เป็นสุขท่วมท้นหัวใจ ไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นสุขที่มี รสอันล้ําลึกแปลกประหลาด เป็นสุขที่ประเสริฐกว่าความสุขธรรมดาที่มนุษย์พบเห็น สรุปว่าบรรดาความสุขทั้งหลาย อะไรจะมาสุขเท่าวิปัสสนาสุขเป็น ไม่มี ฉะนั้นถ้ามนสิการไม่ดีจะทําให้โยคีเข้าใจผิดดังกล่าวมาแล้ว
๖. อธิโมกข์ หมายถึง ความเชื่อ หรือศรัทธาที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นเอง อธิโมกข์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นความผ่องใสอย่างยิ่งของจิตและเจตสิก เป็นศรัทธา ที่มีกําลัง เพราะจิตและเจตสิกผ่องใสเป็นอย่างยิ่ง ด้วยอํานาจศรัทธากล้าพาให้นึกคิดไปใหญ่โต เช่นคิดถึงคนทั้งหลายอยากให้เขาได้เข้ากรรมฐานอย่างตนบ้าง เช่นคนที่รักใคร่ ชอบพอ บิดา มารดา อุปัชฌาจารย์ อันศรัทธาชนิดนี้มีความรุนแรงมาก ขนาดที่ว่าแม้ ท่านผู้มีพระคุณเหล่านั้นได้ตายไปแล้วตนก็แทบจะไปขนกระดูกท่านเหล่านั้นมาปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานเหมือนตนบ้างทีเดียว เมื่อนึกใกล้เข้ามาถึงอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน แก่ตนในปัจจุบันก็เกิดศรัทธาในตัวท่านนึกถึงบุญคุณของท่านตลอดจนบุญคุณของ พระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ว่าการที่ตนได้พบเห็นธรรมะได้รับความสุขอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะได้อาจารย์ช่วยแนะนําสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแต่ก่อนนั้นเคย เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง แต่บัดนี้เชื่อจริงๆ ถ้าจะทํากุศลใดๆ ในภายหน้าก็จะทําแต่เฉพาะ กุศลที่เกี่ยวกับวิปัสสนานี้เพราะได้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติ ถ้าโยคีผู้นั้นเป็นบรรพชิต ก็จะคิดวางแผนการ สร้างมโนภาพว่าเมื่อตนสําเร็จออกจากกรรมฐานไป จะต้องไปหา ที่ที่เหมาะตั้งสํานักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น แล้วตั้งตัวเองเป็นอาจารย์สั่งสอนให้คน ทั้งหลายได้รู้จักพระศาสนาที่ถูกต้องว่าประโยชน์ที่แท้จริง คือ การปฏิบัติวิปัสสนานี้เอง คนทั้งหลายยังโง่มากที่ไม่รู้จักปฏิบัติอย่างที่ตนกําลังทําอยู่นี้เป็นที่น่าสงสาร
ฉะนั้น จะต้องช่วยเขาไม่ให้หลงผิดจะได้พ้นทุกข์ เมื่อคิดเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้า โยคีนั้นก็เลยลืมอารมณ์กรรมฐาน คือการตั้งสติกําหนดทําให้กรรมฐานบกพร่อง อันที่ จริงศรัทธาที่เกิดขึ้นเป็นของดี เพราะเป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งคนธรรมดาจะเกิดศรัทธาขนาดนี้ไม่ได้ แต่ที่จะเป็นวิปัสสนูปกิเลสก็เพราะว่าเมื่อจิต เพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาก็ทําให้ละเลยอารมณ์กรรมฐาน คือการตั้งสติกําหนดทําให้ เสียเวลาในการปฏิบัติวิปัสสนาและเมื่อมนสิการไม่ดี มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้ามา ประสมด้วยก็จะทําให้การบําเพ็ญไ ไม่มั่นคง หรือไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร
๗. ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ซึ่งเป็นความ เพียรที่ไม่หย่อนเกินไปไม่ตึงเกินไปประคับประคองไว้เป็นอย่างดี พยายามในการปฏิบัติ
วิปัสสนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก่อนแม้อาจารย์จะคอยเตือนให้พยายามทําความ เพียรก็รู้สึกว่ายากเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย หมดความเพียร แต่บัดนี้มีความคิดเช่นนั้น หายไปสิ้น เกิดความขยันขึ้นเป็นพิเศษจนทําให้ตนเองแปลกใจว่า เหตุใดตนจึงได้มี วิริยะมากไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการปฏิบัติเช่นนี้ และเมื่อมนสิการ ไม่ดีก็จะเข้าใจ ตนเองผิดไปว่าได้มรรคผล นิพพานแล้ว ปัคคาหะคือ ความเพียรจึงเป็นวิปัสสนูปกิเลส
๘. อุปัฏฐาน หมายถึง สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ซึ่งเป็นสติที่เข้าไปตั้งอยู่อย่างดี มั่นคงฝังลึกไม่หวั่นไหว ประดุจภูเขาหลวง สติอันเป็นอุปัฏฐานะนี้เมื่อเกิดแก่ โยคีแล้ว โยคีรําพึงหรือนึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์นั้นก็โลดแล่นเข้าไปอยู่ด้วยสตินั้น ประหนึ่งปรโลกปรากฏแก่บุคคลผู้มีทิพยจักษุ
๙. อุเบกขา หมายถึง วิปัสสนูเปกขา และ อาวัชชนูเปกขา วิปัสสนูเปกขา ได้แก่ ความเป็นกลางในสังขารทั้งปวง ส่วนอาวัชชนูเปกขาได้แก่ ความเป็นกลางที่ เกิดขึ้นในมโนทวารนั่นเอง อุเบกขาทั้งสองนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ซึ่งเริ่มต้น บําเพ็ญวิปัสสนา และเมื่ออุเบกขากําลังดําเนินไปอย่างนี้ โยคีรําพึงถึงอารมณ์ใด อุเบกขา นั้นก็จะดําเนินไปอย่างแก่กล้าแหลมคม ไม่ยินดียินร้ายต่อทุกสิ่งเหมือนคนไม่มีกิเลส ไม่ สะดุ้งสะเทือนต่ออารมณ์ทุกชนิด เป็นอุเบกขาที่มีกําลังแรงกล้า แม้จะมีอารมณ์ใดมา กระทบก็ไม่หวั่นไหว วางเฉยเสียได้ทุกประการ จนตนเองก็แปลกใจในภาวะที่ เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้เป็นยิ่งนัก ถ้ามนสิการไม่ดีก็ทําให้เข้าใจผิดคิดว่า ตนเป็นพระ อรหันต์แล้วเพราะวางเฉยได้ ไม่ยินดียินร้ายอะไรเลย ความหมดกิเลสได้มรรคผลนิพพานเป็นอย่างนี้เองหนอ นี้เนื่องจากมีทิฏฐิเข้ามาแทรก และยังคิดต่อไปอีกว่าตนมีบุญวาสนา มาก ปฏิบัติไม่นานเท่าใดก็ได้มรรคผลง่ายๆ ไม่มีใครจะเหมือนตน ทั้งนี้เนื่องจากมี มานะเข้ามาแทรก ต่อไปก็มีความคิดว่าตนสบายแล้ว ไม่ต้องยินดียินร้ายอะไรทั้งหมด อีกต่อไป ถึงออกจากกรรมฐานแล้วก็จะอยู่ในโลกนี้อย่างสงบสบาย ไม่ต้องรัก ไม่ต้อง ชัง ไม่ต้องดีใจ เสียใจ ให้วุ่นวายเหมือนคนทั้งหลายที่กําลังเป็นกันอยู่ ขอให้ตนได้ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไปเถิด นี้เรียกว่ามีตัณหาเข้ามาแทรก
รวมความว่า อุเบกขานี้แท้จริงเป็นของดีแต่ถ้ามนสิการไม่ดี มีตัณหา มานะ ทิฏฐิเข้ามาแทรกก็จะกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสไปเสีย ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ ทรงซัดออกไปหรือประดุจลูกศรที่ติดไฟโพลงยิงไปในกองใบไม้ ฉะนั้น
๑๐. นิกันติ หมายถึง วิปัสสนานกันติ หรือ ความยินดีพอใจในวิปัสสนานิกันตินี้เป็นสภาพที่มีอาการสงบสุขุม และเมื่อเกิดแก่โยคีแล้ว ย่อมทําความติดใจหรือ อาลัยต่อวิปัสสนูปกิเลส มีโอกาสเป็นต้น นิกันติในวิปัสสนานี้เป็นความยินดีพอใจที่ ใครๆ ไม่สามารถกําหนดรู้ได้ว่าเป็นกิเลส
วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีผู้ปฏิบัติทุกคนที่เป็น ปุถุชนเมื่อบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ฉะนั้น พอถึงระยะนี้วิปัสสนาจารย์จึงคอยตักเตือน คอยให้สติ อย่าให้โยคีหลงผิดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเป็นอันขาด ควรแนะนําก็ ต้องแนะนํา ควรว่าก็ต้องว่าอย่าได้เกรงใจ ต้องมุ่งประโยชน์เบื้องหน้าของโยคีบุคคล เท่านั้น
การจําแนกอุปกิเลส ๑๐ โดยคาหะ (ความยึดถือ) ๓ อย่าง
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หรืออุปกิเลส ๑๐ ที่เรียกว่าเป็นอุปกิเลสนั้น เพราะว่า เป็นอารมณ์หรือเป็นวัตถุที่ตั้งของอุปกิเลส มิใช่เพราะว่าเป็นอกุศลแต่อย่างใด ยกเว้น นิกันติเป็นทั้งตัวอุปกิเลสด้วย และเป็นทั้งอารมณ์ของอุปกิเลสด้วย
อุปกิเลสหรือวิปัสสนูปกิเลสนี้เมื่อกล่าวถึงโดยทางเป็นอารมณ์ หรือเป็นวัตถุ ที่ตั้งแล้ว ก็คงมี ๑๐ อย่างมี โอภาส เป็นต้น แต่เมื่อว่าโดยทางคาหะคือ ความยึดถือก มี ๓๐ อย่างคือ เมื่อ โยคาวจรยึดถือว่า
๑. โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้วจัดเป็น ทิฏฐิกาหะ คือ ยึดถือไว้ด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ
๒. โอภาสที่เกิดแก่เรานี้สวยงามถูกใจจริงหนอ จัดเป็น มานคาหะ คือ ยึดถือไว้ด้วยอ่านาจแห่งมานะ
๓. เมื่อโยคาวจรมีความชื่นชมยินดีในโอภาสนั้น จัดเป็น ตัณหาคาหะ คือ ยึดถือไว้ด้วยอ่านาจแห่งตัณหา
แม้ในอุปกิเลสที่เหลือก็มีอย่างละ ๓ เหมือนกับโอกาสฉะนั้น จึงรวมเป็น อุปกิเลส ๓๐ โดยทางดาหะ ด้วยประการฉะนี้.
ผู้ไม่ฉลาดในอุปกิเลส
เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นเช่นนี้แล้วก็ทําให้จิตใจของโยคาวจร ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม หวั่นไหว ฟุ้งซ่านอยู่ในกิเลสเหล่านั้นและด้วยอํานาจของคาหะเหล่านั้น ย่อม ทําให้โยคาวจรเห็นอุปกิเลสทั้งหลายเนืองๆ ว่า “อุปกิเลสเป็นเรา เราเป็นอุปกิเลส อุปกิเลส เป็นอัตตาของเรา”
ธรรมชาติ ๙ อย่างคือ ตั้งแต่โอภาสจนถึงอุเบกขาเป็นกุศลแท้ เพราะจะ เกิดขึ้นได้ก็ต้องใช้ความเพียรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาไม่น้อย แต่ที่มามีสภาพเป็น อุปกิเลสก็เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว อุปกิเลส ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เหล่านี้ได้โอภาส แทรกเข้ามาเช่นเมื่อโอภาสปรากฏขึ้น ทิฏฐิก็จะเกิดแก่โยคี ทําให้นึกคิดไปว่าแสง สว่างเกิดขึ้นนี้ คงเป็นเพราะตนได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วต่อจากนั้น มานะก็จะเกิดขึ้น ทําให้คิดไปว่าตนมีบุญแท้ๆ ต่อจากนั้นก็จะยินดีชอบใจว่า ขอให้เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไป อันแสดงว่าตัณหาเกิดขึ้นแล้วเลยทําให้โอกาสซึ่งตัวจริงแล้วเป็นของดีแท้ๆ มากลาย สภาพเป็นอุปกิเลสไป ในเรื่องนี้มีอุปมาดังต่อไปนี้
ยังมีอุบาสกผู้หนึ่งเป็นคนดีมีศีลธรรมเป็นหัวหน้ามรรคทายกวัดแห่งหนึ่ง เป็นที่นับถือของคนทั่วไปทั้งพระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน วันหนึ่งมีเพื่อนขี้เมา คนมาชวนไปเที่ยวในตลาด และพากันเข้าไปในร้านสุรา เมื่อนั่งลงแล้วเพื่อนทั้ง ๓ ก็ สั่งสุรามารับประทานจนเมาและคุยกันเอะอะ ฝูงชนเดินผ่านไปมาได้ยินเสียงดังต่าง ก็เหลียวดู เห็นอุบาสกผู้นั้นนั่งอยู่ในวงเหล้าก็นึกติฉินนินทา พากันเข้าใจผิดคิดว่า อุบาสกที่ตนนับถือในคุณธรรมนั้นกลายเป็นคนดื่มสุราไปเสียแล้ว เพราะเห็นอยู่ว่า อุบาสกนั้นนั่งอยู่ในวงเหล้า และสถานที่นั่งก็เป็นโรงเหล้า แม้อุบาสกผู้นั้นยังมั่นอยู่ใน ศีลไม่ได้ดื่มเลย นั่งเฉยๆ อยู่แท้ๆ ก็ต้องถูกนินทาเสียชื่อเสียงเพราะเพื่อนขี้เมา ๓ คน นั้นเป็นผู้ก่อเหตุ
ข้อนี้ฉันใดธรรมชาติ ๙ ประการคือ ตั้งแต่โอภาสจนถึงอุเบกขา ก็เหมือน กัน ทั้งๆ ที่เป็นของดีเป็นกุศลแท้ๆ แต่ก็ต้องมาเสียชื่อกลายเป็นอุปกิเลสไปเพราะว่า เพื่อนขี้เมาทั้ง ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นตัวก่อเหตุ แต่พอผ่านญาณนี้ไปแล้ว ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็ย่อมจากไป ธรรมทั้ง ๙ ประการก็กลับเป็นของดีตามเดิมและ ดีวิเศษเสียด้วย เพราะเป็นโพชฌงค์คือ เป็นองค์คุณสําคัญของเหตุให้ได้มรรคผล ส่วนข้อสุดท้ายคือนิกันตินั้นเป็นตัวอกุศล เป็นอุปกิเลสแท้อย่างไม่ต้องสงสัย ฉะนั้นในวิสุทธิมรรคจึงแสดงไว้ว่า
วิปัสสนูปกิเลสา หิ ปฏิเวธปตฺตสฺส อริยสาวกสฺส, เจว วิปปฏิปนฺนกสัส, จ นิกขิตตกมุมฏฐานสส กุสีตบุคคลสฺส นุปปชุชนติ ฯ
พระอริยบุคคลผู้ถึงปฏิเวธคือ ท่านที่ผ่านโสฬสญาณไปครั้งหนึ่งแล้วอธิษฐาน กลับลงมาถึงญาณนี้อีกหรือ พระอริยบุคคลที่สูงขึ้นไปกว่านี้ก็ดี, โยคีผู้ปฏิบัติผิดทาง ก็ดี โยคีผู้เกียจคร้านทอดทิ้งกรรมฐานก็ดี คนเหล่านี้ย่อมไม่พบวิปัสสนูปกิเลสเลย
อนึ่ง ท่านกล่าวว่า สมฺมาปฏิปนฺนกสฺส ปน ยุตฺตปยุตฺตสฺส อารทธวิปสฺสกสุส กุลปุตฺตสฺส อุปฺปชฺชนฺติเยว
ส่วนผู้ปฏิบัติถูกทาง พยายามกําหนดวิปัสสนาไม่ท้อถอย จนถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ย่อมจะพบวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้แน่นอน
ผู้ฉลาดในอุปกิเลส
แต่สําหรับโยคาวจรที่ฉลาดเป็นบัณฑิตเฉียบแหลม ประกอบด้วยความรอบรู้ เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นก็กําหนดรู้ ใคร่ครวญด้วยสติปัญญาดังนี้ว่า
๑. โอภาสนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแต่สภาวะของโอภาสนั้นไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา
๒. ถ้าโอภาสนี้เป็นอัตตาแล้ว การยึดถือโอกาสว่าเป็นอัตตาก็สมควร แต่ โอกาสนี้มิใช่อัตตา เป็นอนัตตา เพราะว่าไม่เป็นไปในอํานาจ เป็นอนิจจัง เพราะว่ามี แล้วหามีไม่ เป็นทุกขัง เพราะว่ามีการเบียดเบียน
ครั้นเมื่อโยคาวจร ใคร่ครวญดังกล่าวมาแล้วก็จะเห็นเนืองๆ ในโอกาสว่า “โอภาสนี้มิใช่ของเรา เรามิใช่โอภาส โอภาสนี้มิใช่อัตตาของเรา” แม้ในอุปกิเลสที่ เหลือก็พิจารณาในทํานองเดียวกัน และเมื่อโยคาวจรเห็นอยู่เสมอเนืองๆ อย่างนี้ก็ไม่ หวั่นไหว ไม่สั่นคลอนด้วยอํานาจของอุปกิเลสทั้งหลาย เหตุนั้นพระโบราณาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า
อิมานิ ทส ซานามิ ปญฺญายสฺส ปรีจิตา
ธมฺมฺทฺธจจกุลโล โหติ น จ วิกเขป์ คจฺฉติ ฯ
โยคีบุคคลนั้น กําหนดรู้ฐานะคือวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในธัมพุทธัจจะ และย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
เมื่อโยคาวจรปราศจากความฟุ้งซ่านชื่อว่า ถางชัฏคือ อุปกิเลสครบ ๐ อย่าง ได้แล้ว กําหนดรู้ว่าสิ่งใดเป็นมรรคและมิใช่มรรค เช่น ธรรมทั้งหลายมีโอกาสเป็นต้น มิใช่มรรค แต่วิปัสสนาญาณที่พ้นแล้วจากอุปกิเลสและดําเนินไปตามวิถีแห่งวิปัสสนา นั้นเป็นมรรค ปัญญาที่รู้ว่ามรรคและมิใช่มรรคนี้เกิดแก่โยคีใด ก็เป็นอันว่าโยคีนั้น
บรรลุถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
เมื่อโยคีได้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาจนบรรลุถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ถือได้ว่าทําการกําหนดรู้ในสัจจะ ๓ อย่างด้วยโลกียปัญญา ดังนี้
๑. ทัสสนวิสุทธิ กําหนดรู้ทุกขสัจ ด้วยการกําหนดรู้รูปนามในทิฏฐิวิสุทธิ
๒. กําหนดรู้สมุทยสัจ ด้วยการกําหนดรู้ปัจจัยของรูปนามในกังขาวิตรณวิสุทธิ
๓. กําหนดรู้มรรคสัจ ด้วยการกําหนดรู้มรรคโดยชอบในมัคคามัคคญาณ
พลวอุทยัพพยญาณ
พลวอุทยัพพยญาณ หรือ อุทยัพพยญาณอย่างแก่ อุทยัพพยญาณในเบื้องต้น ไม่สามารถกําหนดรู้พระไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้เพราะถูกอุปกิเลส ๑๐ ทําให้ มัวหมองลง ฉะนั้น โยคาวจรจึงต้องทําความเพียรพยายามต่อไปอีก จนสามารถพ้นจาก อุปกิเลส ๑๐ แล้วอุทยัพพยญาณอย่างแก่ที่พ้นจากอุปกิเลสก็จะเกิดขึ้น แล้วสามารถ กําหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้อย่างมั่นคงชัดเจน
ถามว่า ลักษณะทั้งหลายไม่ปรากฏ เพราะอะไรปิดบังไว้และเพราะไม่ มนสิการอะไร ?
ตอบว่า อันดับแรก อนิจจลักขณะ ไม่ปรากฏนั้นเพราะสันตติปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการความเกิดและความคับ
ทุกขลักขณะ ไม่ปรากฏนั้นเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและความดับไป
อนัตตลักขณะ ไม่ปรากฏนั้นเพราะฆนะความเป็นแท่งหรือกลุ่มก้อนปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่างๆ
แต่เมื่อ โยคาวจรกําหนดรู้ความเกิดและดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไปอนิจจลักขณะที่ปรากฏโดยสภาวะของตนตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ทุกขลักขณะก็ปรากฏตาม สภาวะของตนตามความเป็นจริง และเมื่อกระจายธาตุต่างๆ ออกไป แล้วทําการกระจาย มนะความเป็นแท่งหรือกลุ่มก้อนเสีย อนัตตลักขณะที่ปรากฏ ตามสภาวะของตนตามความเป็นจริง
เมื่อโยคาวจรเจริญวิปัสสนาภาวนา จนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่แล้ว ย่อมพิจารณากําหนดรู้ในลักษณะ ๓ ดังนี้คือ
๑. อนิจจลักขณะ คือลักษณะของความไม่เที่ยง หมายถึงความที่สังขาร เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หรืออาการและวิการที่มีแล้วหามีไม่
๒. ทุกขลักขณะ คือลักษณะของความเป็นทุกข์ หมายถึงอาการเบียดเบียน เฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ
๓. อนัตตลักขณะ คือลักษณะของความ ไม่มีอัตตา หมายถึงอาการที่ไม่เป็น ไปตามอํานาจบังคับบัญชา
เมื่อโยคาวจรกําหนดในลักษณะดังกล่าวมานี้ชื่อว่า อุทยัพพยญาณอย่างแก่ได้ดําเนินไปตามวิถีหน้าที่ของตน ตามความเป็นจริงทุกประการ
จบ อุทยัพพยญาณ
๕. ภังคญาณ
ภังคญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่พิจารณาเห็นการดับไปของรูปนาม โดยส่วนเดียว ดังมีวงนัตถะแสดงว่า อุทย์ บุญจิตวา วาย ปวตฺติ ญาณ ภังคญาณ แปลว่า ญาณที่ปล่อยความเกิด แล้วเป็นไปในความเสื่อมชื่อว่า ภังคญาณ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต
ก็เมื่อโยคาวจรกําหนดและชั่งใจไตร่ตรองในรูปนามทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาอยู่เสมอๆ วิปัสสนาญาณก็มีกําลังแก่กล้าขึ้น สภาวะของ สังขารทั้งหลายปรากฏรวดเร็วมาก ทําให้วิปัสสนาญาณกําหนดไม่ทันความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเป็นไป หรือนิมิตของสังขารทั้งหลาย สติและวิปัสสนาญาณคง กําหนดตั้งมั่นอยู่เฉพาะนิโรธคือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป หรือความแตกทําลายไปของสังขารทั้งหลายแต่เพียงอย่างเดียว
เมื่อสมาธิญาณแก่กล้าแล้ว สังขารอารมณ์ทั้งหลายย่อมปรากฏแก่โยคี ผู้ปฏิบัติโดยอาการที่หายไปๆ จนเมื่อเวลาเกิดขึ้นหรือตั้งอยู่ก็ไม่เห็นเลย ถึงสันตติ ความสืบต่อ ความเป็นไปก็ขาดตอน สัณฐานที่ปรากฏอาการหายไปจะกําหนดได้ก็เพียง “นิโรธ” ที่มีความสิ้นไป เสื่อมไปและแตกดับไปเท่านั้น คําว่า นิโรธ มี ๒ อย่าง คือ
๑. อุปปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่ยังมีอาการเกิดขึ้น
๒. อนุปปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่เป็นมัคคนิโรธ เช่น นิโรธของท่านผู้ เข้าผลสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ
สําหรับนิโรธศัพท์ในที่นี้หมายถึงอุปปาทนิโรธคือ ความดับที่ยังมีการเกิดขึ้นอีก
ปัญญาในการกําหนดรู้ความดับไปของอารมณ์อยู่เนืองๆ หรือปัญญาที่ กําหนดรู้อารมณ์โดยความสิ้นไป ความเสื่อมไปชื่อว่า ภังคานุปัสสนาญาณ
การกําหนดเห็นเนืองๆ
การกําหนดเห็นเนืองๆ ในอารมณ์ โดยความดับไปความสิ้นไป ความเสื่อมไป คําว่า “เห็นเนืองๆ” หมายความว่าเห็นเนืองๆ ในอารมณ์นั้นโดยความไม่เที่ยงมิใช่ เห็นเนืองๆ โดยความเป็นของเที่ยง เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตามิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็น อัตตา จึงเกิดความเบื่อหน่ายมิใช่เกิดความเพลิดเพลินยินดี (ตัณหาที่ประกอบด้วยปีติ) เกิดความปราศจากก๋าหนัด มิใช่เกิดความกําหนด เกิดความดับไปมิใช่เกิดขึ้น เกิดการ สลัดทิ้งไปมิใช่เกิดการยึดถือไว้
เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่เที่ยง ก็ละนิจจสัญญา คือความจําหมายว่าเที่ยง เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ ก็ละสุขสัญญาคือ ความจําหมายว่าเป็นสุขหรือ เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา ก็ละอัตตสัญญาคือ ความจําหมายว่ามีตัวตนเสียได้ เมื่อโยคาวจรกําหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาแล้วก็ทําให้เกิดการเบื่อหน่ายไม่เพลิดเพลินยินดี ปราศจากความกําหนด การละความกําหนัด (ราคะ) ในขั้นนี้เป็นไปด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนาญาณขั้นโลกียะ เท่านั้น
เมื่อโยคาวจรกําหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งหลายโดยความดับไป และเป็น ผู้ปราศจากความกําหนัดแล้วก็จะสามารถกําหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงที่ไม่เคย เห็นโดยความดับไปได้ ด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนาญาณ โดยลําดับ และการมนสิการใน สังขารเหล่านี้ก็เห็นแต่ความดับเพียงอย่างเดียว ไม่เห็นความเกิด เมื่อโยคาวจรปฏิบัติ มาถึงอย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่า สลัดสังขารทั้งหลายทิ้งไปไม่ยึดถือไว้
เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ซึ่งทําให้ เกิดการสละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธ์และอภิสังขารทั้งหลาย ด้วยอํานาจตทั้งคปหาน (ละด้วยองค์ของธรรมนั้น) ที่เรียกว่า ปริจจาคปฏินิสสัคโค คือ การสลัดทิ้งไปด้วย การสละหรือ ทําให้เกิดการมุ่งหน้าเข้าไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะตรงข้ามกับ สังขตธรรม หรือน้อมไปสู่พระนิพพานนั้น ด้วยการเห็นโทษของสังขตธรรมที่เรียก ว่า ปักขันทนปฏินิสสัคโคคือ การสลัดทิ้งไปด้วยการมุ่งหน้าเข้าไป
เมื่อผู้ปฏิบัติประกอบด้วยอนุปัสสนามี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ดังกล่าว มาแล้วนั้นจึงสละกิเลสได้ด้วยตทั้งคปหานและมุ่งหน้าหรือน้อมไปสู่พระนิพพาน อีก
ทั้งไม่ยึดถือกิเลสไว้ด้วยการทําให้เกิด และไม่ยึดถือสังขตธรรมไว้ด้วยการไม่เห็นโทษ ดังนั้น จึงกล่าวว่าเป็นการ “สลัดทิ้งไป ไม่ยึดถือไว้
โยคีบุคคลกําหนดรู้จิตที่มีรูปเป็นอารมณ์อยู่เนืองๆ โดยความดับไปนั้น มีลักษณะ ๒ ประการ คือ
๑. กําหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของรูป (ที่เป็นอารมณ์ของจิต)
๒. กําหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของจิต (ที่มีรูปเป็นอารมณ์) ด้วยจิตอีกดวงหนึ่ง
ปฏิสังขาวิปัสสนา
ปฏิสังขาวิปัสสนาคือ การเห็นแจ้งด้วยการกําหนดรู้อารมณ์อยู่เนืองๆ ปฏิสังขาวิปัสสนานี้ มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. การย้ายไปสู่อารมณ์ หมายความว่า เมื่อเห็นความดับของรูปด้วยจิต ดวงใดแล้ว ก็พึงเห็นความดับของจิตได้ด้วยจิตดวงอื่นต่อไปอีก
๒. คงที่อยู่ในอารมณ์ หมายความว่า ในขณะที่กําหนดรู้อยู่เนืองๆ นั้นก็ พิจารณาแน่วแน่แต่ในความดับไปของสังขารเท่านั้น ไม่พึงพิจารณาถึงความเกิดขึ้น
๓. มีกําลังเข้มแข็งในการนึกคิด หมายความว่า มีความสามารถในความ นึกคิดติดต่อกันไปไม่มีหยุดปั่นเลยคือ เมื่อเห็นความดับของรูปแล้ว ก็เห็นความดับของจิตต่อไปอีก
ปฏิสังขาวิปัสสนานี้ก็ชื่อว่า ภังคานุปัสสนา เหมือนกัน
วยลักขณวิปัสสนา
วยลักขณวิปัสสนา คือ การเห็นแจ้งลักษณะของความดับไป วยลักษณวิปัสสนา มีลักษณะ ๒ ประการ คือ
๑. เมื่อกําหนดรู้อารมณ์คือ สังขารในปัจจุบันโดยความแตกดับอยู่ แม้สังขารในอดีตหรืออนาคต ก็กําหนดรู้ได้เช่นกันว่าเคยแตกดับมาแล้ว และจักแตกดับ ต่อไปตามลําดับของอารมณ์ที่เคยเห็นมาแล้ว สมดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
สํวิชชมานมหิ วิสุทฺธทสฺสิโน
ตทนวย์ เนติ อดีตนาคเต
สพฺเพปิ สงฺขารคตา ปโลกิโน
อุสฺสาวพินท์ สุริเยว อุคคเต ฯ
ภิกษุผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ในสังขาร ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันย่อม นําเอาความเห็นบริสุทธิ์ไปในสังขาร ที่เป็นอดีตและอนาคตด้วยว่า สังขารทั้งหลายแม้ทั่วทั้งปวงก็มีปรกติแตกสลายไป เหมือนหยาด น้ําค้างแห้งไป เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมา ฉะนั้น.
๒. มีลักษณะน้อมไปในนิโรธคือ เมื่อกําหนดรู้ความดับไปของอารมณ์ใน ปัจจุบัน อดีต และอนาคตแล้ว จิตก็จะน้อมไปหรือโอนไปสู่ความดับไปอย่างหนักแน่น
อธิปัญญาวิปัสสนา
อธิปัญญาวิปัสสนาคือ การเห็นแจ้งด้วยปัญญาที่รู้ยิ่ง มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. มีการกําหนดรู้อารมณ์คือ รูป ด้วยความแตกดับอยู่เนืองๆ
๒. เมื่อกําหนดรู้ความแตกดับของรูปด้วยจิตดวงใดแล้ว ในขณะต่อมาก็ กําหนดรู้ความแตกดับของจิตดวงนั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน
๓. เมื่อกําหนดเห็นความดับของสังขารทั้งปวงอยู่เนืองๆ ความว่างเปล่าก็ปรากฏชัดขึ้นว่า “สังขารทั้งหลายนั่นเองเป็นสิ่งที่แตกดับไป การแตกดับของสังขาร ทั้งหลายนั้นเองที่สมมติกันว่าเป็นการตาย แท้จริงไม่มีสัตว์หรือบุคคลใดๆ เลยที่แตก ดับหรือตายไป” ดังนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
ขนุชา นิรุชฌนฺติ น จตฺถิ อญฺโญ
ขนฺธาน เกโท มรณนฺติ วุจจติ
เตส ขย์ ปสฺสติ อุปปมตฺโต
มณีว วิชญ์ วชิเรน โยนิโส ฯ
ขันธ์ทั้งหลายดับไป มิใช่สัตว์หรือบุคคลใดๆ ความแตกดับของ ขันธ์ทั้งหลาย เขาเรียกกันว่า ความตาย โยคีผู้ไม่ประมาทเห็นอยู่ซึ่ง ความแตกดับของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยอุบายอันแยบคาย เหมือนช่างเจียระไนเห็นแก้วที่ตนเจาะอยู่ด้วยเพชร ฉะนั้น
เมื่อโยคาวจร ปฏิบัติมาจนถึงภังคานุปัสสนาญาณแล้ว จิตใจย่อมไม่ส่ายไป ส่ายมาในทิฏฐิต่างๆ มี สัสสตทิฏฐิ เป็นต้น และเป็นผู้ที่มีมนสิการอยู่เสมอว่า “สิ่งที่ ยังไม่ดับ ก็กําลังดับ สิ่งที่ยังไม่แตกก็กําลังแตก” ไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น ความ ตั้งอยู่ ความเป็นไป และนิมิตของสังขารทั้งหลายทั้งปวง คงเห็นแต่ความแตกดับเพียง อย่างเดียว ประดุจบุคคลที่กําลังเห็นการแตกของภาชนะที่บอบบาง หรือเห็นการแตก กระจายของฝุ่นละอองที่กําลังปลิวว่อนอยู่ในอากาศ เพราะบุคคลใช้วัตถุมีก้อนหิน เป็นต้น ทุ่มไปที่กองฝุ่นหรือเห็นดุจการแตกของเมล็ดงาที่กําลังถูกคั่ว หรือเหมือน บุรุษที่ยืนอยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีหรือริมฝั่งแม่น้ําเมื่อฝนกําลังตกอย่างหนัก เขาก็ สามารถเห็นต่อมน้ําใหญ่ๆ เกิดขึ้นบนผิวน้ําแล้วก็แตกไปทันทีทันใด ฉะนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงหมายถึง โยคาวจรที่บรรลุถึงภังคานุปัสสนานี้ จึงตรัสว่า
ยถา ปุพฺพุฬกํ ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิกํ
เอวํ โลก์ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสตีติ ฯ
พระยามัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลซึ่งกําหนดเห็นโลก (ขันธ์ ๕) เหมือนเห็นต่อมนํ้า หรือพยับแดดฉะนั้น
อานิสงส์ของภังคญาณ
เมื่อโยคาวจรเห็นอยู่เนืองๆ ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงแตกดับไปๆ” อยู่อย่างนั้น ภังคานุปัสสนาญาณก็จะมีกําลังแก่กล้าพร้อมด้วยอานิสงส์ ๘ ประการ คือ
๑. ละภวทิฏฐิ
๒. สละความรักใคร่ในชีวิต
๓. มีความเพียรมั่นคงในการปฏิบัติ
๔. มีอาชีพอันบริสุทธิ์
๕. ละความทะเยอทะยาน
๖. ปราศจากความกลัว
๗. ประกอบด้วยขันติและโสรัจจะ
๘. อดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ และในความกําหนัดยินดี
ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
อิมามิ อฏฐคุคุณมุตฺตมานิ
ทิสฺวา ตสึ สมุมสตี ปุนปฺปุนํ
อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม มุนิ
ภงฺคานุปสฺส อมตสฺส ปตฺติยา ฯ
มุนีที่มีปรกติเห็นเนืองๆ ซึ่งความแตกดับ ครั้นเห็นคุณอันยอด เยี่ยม ๘ ประการแล้ว เสมือนบุคคลที่มีผ้าโพกศีรษะซึ่งไฟกําลังไหม้อยู่ ก็กําหนดเห็นแล้วเห็นเล่าอยู่ด้วยภังคานุปัสสนาญาณนั้น เพื่อบรรลุอมตะคือนิพพาน
จบ ภังคญาณ
๖. ภยญาณ
ภยญาณ หมายความว่าเป็นญาณที่กําหนดรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว ดังมี วจนัตถะแสดงว่า สงฺขาราน ภัยโต อนุปสฺสนาวเสน ปวตฺติ ญาณ ภยญาณ แปล ว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจพิจารณาเนืองๆ ถึงสังขตธรรมทั้งหลาย โดยความเป็น ของน่ากลัว ดังนั้น จึงชื่อว่า ภัยญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
อธิบายภยญาณ มี ๓ อย่าง
๑. เมื่อโยคีบุคคลเจริญภังคานุปัสสนาให้แก่กล้ามากขึ้น ด้วยการกําหนด รู้ความสิ้นไปเสื่อมไปหรือความแตกดับของสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์อยู่ สังขาร ทั้งหลายซึ่งมีความแตกดับอยู่ในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวมาก เช่นเดียวกับสีหะ พยัคฆะ เสือเหลือง หมี เสือดาว ยักษ์ รากษส โคด สุนัขดุ ช้างตุตกมัน อสรพิษร้าย สายฟ้า ป่าช้า สนามรบ หรือ หลุมถ่านเพลิงที่ลุกโชติช่วง เป็นต้น ซึ่งปรากฏเป็นที่น่ากลัวมากแก่บุรุษขี้ขลาดที่ ปรารถนาจะมีชีวิตอย่างสุขสบาย
๒. เมื่อโยคีบุคคลกําหนดรู้ชัดว่า “สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันก็กําลังดับ แม้จะเกิดในอนาคตก็จักดับไป” เช่นนี้แสดงว่า ณ ที่ตรงนี้ ญาณชื่อว่า ภยตุปัฏฐานญาณ บังเกิดขึ้นแล้ว
๓. อุปมาในภยตูปัฏฐานญาณ มีดังนี้
ก. สตรีผู้หนึ่งมีบุตรชาย ๓ คน เป็นผู้มีความผิดต่อพระราชา พระองค์ ตรัสสั่งให้ลงโทษตัดศีรษะของบุตรชายทั้งสามนั้น สตรีผู้นั้นได้ไปยังตะแลงแกง พร้อมกับบุตรชายทั้งสามด้วย ทันใดนั้นเขาก็ตัดศีรษะของบุตรชายคนโตของเธอ แล้ว เตรียมการเพื่อตัดศีรษะของบุตรชายคนกลาง สตรีนั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูก ตัดไปแล้ว และเห็นศีรษะบุตรชายคนกลางกําลังถูกตัดอยู่ ก็ทอดอาลัยในบุตรชาย คนเล็กเสียได้ว่า “แม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้งสองนั้นนั่นแหละ”
ในอุปมานั้น การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ก็ เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูกตัดไปแล้ว การที่โยคีเห็น
ความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นศีรษะ ของบุตรชายคนกลางกําลังถูกเขาตัดอยู่ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่
จะบังเกิดขึ้นแม้ในอนาคตก็เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นทอดอาลัยในบุตรชายคนเล็ก ว่า “ถึงแม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้งสองคนนั้นเหมือนกัน” เมื่อ โยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ณ ที่ตรงนี้ ภยตูปัฏฐานญาณ ก็บังเกิดขึ้น
ข. สตรีผู้มีปรกติเป็นคนมีลูกเน่า (ตาย) คลอดลูกมาแล้ว ๑๐ คน ใน ๑๐ คนนั้น ตายไปแล้ว ๙ คน คนหนึ่งกําลังจะตายอยู่ในอ้อมแขน อีกคนหนึ่ง (คนที่ ๑๑) ยังอยู่ในท้อง สตรีนั้นเห็นลูก ๙ คนตายไปแล้ว และคนที่ ๑๐ ก็กําลังจะตาย จึงทอด อาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้องว่า “ถึงแม้เจ้าคนที่อยู่ในท้องนี้ก็จักเป็นเหมือนลูกทั้งหลาย เหล่านั้น”
ในอุปมานั้น การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ก็ เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นรําลึกถึงความตายของลูกทั้ง ๙ คน การที่โยคีเห็นความ ดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นลูกคนที่อยู่ใน อ้อมแขนกําลังจะตายไป การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอนาคต เปรียบเหมือนการทอดอาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้องของสตรีผู้นั้น เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ในขณะนั้น ก็ชื่อว่า ภยตูปัฏฐานญาณ กําลังเกิดขึ้น
ว่าด้วยความกลัวกับภยญาณ
ภยตุปัฏฐานญาณมิใช่เป็นญาณที่ประกอบด้วยความกลัว แต่ภัยตุปัฏฐานญาณ เป็นญาณที่ไตร่ตรองอยู่ว่า “สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว, ที่เป็นปัจจุบัน ก็กําลังดับ, ที่เป็นอนาคตก็จําดับ” แน่แท้เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนบุรุษที่เห็น หลุมถ่านเพลิง ๓ หลุมใกล้ประตูเมือง ตัวเขาเองไม่รู้สึกกลัว เพียงแต่เกิดความ ไตร่ตรองหรือรู้สึกหวาดเสียวว่า เมื่อมีคนตกลงไปในหลุมทั้ง ๓ นี้ คงได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแน่นอน หรือเปรียบเหมือนบุรุษที่เห็นหลาว ๓ เล่มคือ หลาวไม้ตะเคียน, หลาวเหล็ก, หลาวทองเหลือง ที่ปักเรียงกันไว้ตัวเองมิได้กลัวเพียงแต่เกิดความไตร่ ตรอง หรือรู้สึกหวาดเสียวว่า เมื่อมีคนตกลงมาบนหลาวทั้ง ๓ , นี้คงได้รับทุกขเวทนา เป็นอันมากทีเดียวฉันใด ภยตูปัฏฐานญาณนี้ก็ฉันนั้น ญาณเองมิได้กลัวแต่อย่างใด เพียงเกิดการไตร่ตรองอยู่ว่า “สังขารทั้งหลายในภพทั้ง ๓ ซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่าน เพลิงและหลาว ที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันก็กําลังดับ ที่เป็นอนาคตก็จักดับ อย่างแน่นอน”
ไตรลักษณ์กับความกลัว คือ
เมื่อสังขารทั้งหลายที่เป็นไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และ สัตตาวาส ๙ ทุกหนทุกแห่งจะต้องถึงซึ่งความพินาศไป เพราะเป็นของที่มีภัยอยู่ เฉพาะหน้าแล้วก็จักปรากฏเป็นสิ่งที่น่ากลัวแก่ญาณนั้น จึงเรียกญาณนั้นว่า ภยตูปัฏฐานญาณ
เมื่อโยคีมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง นิมิตคือ ความดับไปของ สังขารทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวแก่โยคี
เมื่อโยคีมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ ปวัตตะความเป็นไปของ สังขารคือ ความบีบคั้นเฉพาะหน้าที่เข้าใจกันว่าเป็นความสุข ที่เป็นไปในรูปภพและอรูปภพก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัว
เมื่อโยคีมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความเป็นอนัตตา นิมิตและปวัดตะ ความเป็นไปของสังขารก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญ ไม่มีเจ้าของไม่มีผู้นําเป็นประดุจบ้านร้าง พยับแดด และวิมานในอากาศด้วยเหตุนี้ นิมิตและปวัตตะ ความ เป็นไปจึงปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวแก่โยคี
จบ กยญาณ
๗. อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่เห็นสังขารรูปนามเป็นโทษ ดังมี วจนัตถะว่า ทิฏฐิสงฺขารา อาทีนวโต เปกขานวเสน ปวตต์ ญาณ์ อาทีนวญาณํ ฯ แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอํานาจการเพ่งถึงสังขารเป็นของน่ากลัว ซึ่งตนได้เห็นแล้ว โดยความเป็นโทษ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาทีนวญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตจิต
อธิบายอาทีนวญาณมี ๒ อย่าง
๑. เมื่อโยคีทําภยตุปัฏฐานญาณให้เจริญมากยิ่งขึ้นแล้ว ไม่ยึดเหนี่ยวใน สังขารทั้งหลายที่เป็นไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ เพราะว่าภพภูมิทั่วทุกหนแห่งเหล่านั้นไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลบลี้ ไม่มีที่จะไป ไม่มี ที่อาศัย และไม่เป็นที่ปรารถนาแก่โยคี เพราะว่า
ภพ ๓ ปรากฏประดุจหลุมถ่านเพลิง ซึ่งเต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจาก เปลว มหาภูตรูป ๔ ปรากฏประดุจอสรพิษร้าย ขันธ์ ๕ ปรากฏประดุจเพชฌฆาตที่ ยกดาบเงื้อง่าอยู่แล้ว อายตนะภายใน ๖ ปรากฏประดุจหมู่บ้านร้าง อายตนะภายนอก ๖ ปรากฏประดุจพวกโจรปล้นชาวบ้าน วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ปรากฏ ประดุจถูกเผาด้วยไฟ ๑๑ กอง ลุกโพลงและโชติช่วงอยู่สังขารทั้งหลายทั้งปวง ปรากฏ ประดุจ หัวฝี เป็นโรค ถูกลูกศรเลียบ เป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นอาพาธ เป็นกองแห่งโทษ ภัยใหญ่หลวง หาความอบอุ่นมิได้ ปราศจากรสชาติอันดี
๒. อาทีนวญาณ คือปัญญาที่กําหนดรู้เห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็น ทุกข์โทษ เปรียบเหมือนบุรุษที่ขลาดกลัวแต่ปรารถนามีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ครั้ง ครั้นเมื่อ มาถึงถ้ําที่มีเสือโคร่ง แม่น้ําที่มีรากษสสิงอยู่ หนทางที่มีโจรแอบซุ่ม เรือนที่มีไฟไหม้ สนามรบที่มีทหารเตรียมพร้อมอยู่แล้ว หรือมาพบกับข้าศึกที่เงื้อง่าดาบอยู่หรือดื่ม โภชนะที่ผสมด้วยยาพิษเหล่านี้ ก็จักเกิดความหวาดกลัว หวาดหวั่นขนลุกขนพอง เพราะเห็นแต่โทษร้ายในสิ่งเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว ทุกทิศทุกทางฉันใด โยคาวจรก ฉันนั้นเช่นเดียวกัน คือเมื่อสังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏโดยความน่ากลัว ด้วยอํานาจ แห่งภังคานุปัสสนาแล้ว ก็สามารถเห็นสังขารทั้งหลายมีแต่ทุกข์โทษ ไม่มีรสชาติ ไม่มี ความอบอุ่นใจแต่เพียงฝ่ายเดียว เมื่อปัญญาปรากฏเช่นนี้ชื่อว่า อาทีนวญาณ ได้บังเกิดขึ้นแล้ว
โทษของสังขาร ๑๕ ประการ
การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของสังขารธรรม ๑๕ ประการ คือ
๑. อุปปาทอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการเกิดของรูปนาม
๒. ปวัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในความเป็นไป ของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของรูปนามที่กําลังเป็นไปอยู่
๓. นิมิตอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในลักษณะหรือ เครื่องหมายของรูปนาม เช่นเปลี่ยนแปลงไป ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ไม่อยู่ในอํานาจ บังคับบัญชา
๔. อายุหนอารีนาญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการสั่งสม กรรมต่างๆ เอาไว้ แล้วนําให้เกิดวนเวียนอยู่ในภพต่างๆ ไม่มีสิ้นสุดของรูปนามล้วน หาสาระแก่นสารอะไรมิได้เลย
๕. ปฏิสนธิอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการถือ ปฏิสนธิของรูปนาม ไม่ว่าจะถือปฏิสนธิในภูมิใดก็ตาม
๖. คติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในคติทั้ง ๕ คือ นรก ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ เทวดา ซึ่งจะเป็นคติใดก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
๗. นิพพัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการเกิดขึ้น ของขันธ์ ๕ ใหม่ๆ คือจะบังเกิดเป็นรูปขันธ์หรือนามขันธ์ก็ตาม ย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น
๘. อุปปัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในภพต่างๆ ที่ไปบังเกิดอยู่ไม่ว่าจะไปบังเกิดอยู่ในภพใดก็ตาม ย่อมไม่พ้นจากความทุกข์
๙. ชาติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามในขณะที่กำลังเกิด
๑๐. ชราอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามที่ ต้องแก่ เสื่อม และทรุดโทรม
๑๑. พยาธิอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนาม เพราะถูกโรคภัยหลายร้อยหลายพันอย่างเบียดเบียน
๑๒. มรณอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนาม เมื่อสิ้นไปตายไปคือ เห็นว่าจะต้องแตกสลาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๑๓. โลกอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปเมื่อเกิด ความเศร้าโศกต่างๆ นานาเพราะแตกดับไป เสื่อมไป วิบัติไป
๑๔. ปริเทวอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของการร่่ำไห้ เพราะถูกความเสื่อม ๕ มีเสื่อมญาติ เป็นต้น ครอบงํารูปนามอยู่ทุกขณะ
๑๕. อุปายาสอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูป นาม เพราะถูกความคับแค้นใจครอบงํา
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว อาทีนวญาณ ได้แก่ปัญญาที่พิจารณาเห็นทุกข์โทษ ของรูปนาม เมื่อเห็นอย่างนี้ โลภะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางลงไปมาก แต่ยังไม่เด็ดขาด ยังจัดเป็นสมุทเฉทปหานไม่ได้ จะจัดได้ต่อเมื่อถึงมรรคญาณแล้ว
สันติปทญาณ ๑๕ ประการ
เพื่อให้เห็นญาณที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาทีนวญาณ และเพื่อให้เกิดความ อบอุ่นใจแก่โยคาวจรที่เห็นทุกข์โทษของรูปนามด้วยภยตูปัฏฐานญาณ แล้วมีจิตใจ หวั่นไหวจึงได้แสดง สันติปทญาณคือ ความรู้ในทางบรรลุสันติ คือ พระนิพพาน มี ๑๕ ประการ คือ
๑.ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิส (คือ วัฏฏะ โลก กิเลส) และเป็นนิพพาน ส่วนความเกิด ขึ้นเป็นสิ่งน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๒. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เป็นไปเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเป็นไปเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็น ทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๓. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีนิมิตเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีนิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๔. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่ขวนขวายเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการ ไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความขวนขวายเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๕. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่ปฏิสนธิเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนการปฏิสนธิเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๖. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีคติเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนการมีคติเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๗. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่บังเกิดขึ้นเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความ สุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความบังเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๘. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เข้าถึงเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเข้าถึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เปีนการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๙. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีชาติเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีชาติเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๐. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีชราเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความชราเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๑. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีโรคเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุขเป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีโรคเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๒. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่มีความตายเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็น ความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๓. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่เศร้าโศกเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเศร้าโศกเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๔. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่คร่ําครวญเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็น ความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความคร่ําครวญใจเป็นสิ่งที่ น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
๑๕. ปัญญาที่รู้ว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็น ความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความคับแค้นใจเป็นสิ่งที่ น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร”
จบ อาทีนวญาณ
๘. นิพพิทาญาณ
นิพพิทาญาณ หมายความว่า ญาณที่พิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการ เบื่อหน่าย แยกบทเป็น นิพพิทา + ญาณ, นิพพิทา ความเบื่อหน่าย, ญาณ ปัญญา ความรู้, นิพพิทาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา เป็นของน่ากลัว เต็มไปด้วยความทุกข์โทษนานาประการ แล้วเกิดความเบื่อ- หน่าย ไม่อยากได้รูปได้นาม ไม่อยากกลับมาเกิดอีก อยากเข้าถึงพระนิพพานเสียโดย เร็ว ปัญญาในที่นี้หมายถึงเฉพาะ ภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนา กรรมฐานถึงญาณนี้เท่านั้นมิได้หมายถึง สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา เลย
คําว่า ความเบื่อหน่าย ในที่นี้ก็มิได้หมายถึงความเบื่อหน่ายอย่างของชาวโลก เช่น เบื่อหน่ายต่อชีวิตคิดฆ่าตัวตายเป็นต้น แต่หมายถึงความเบื่อหน่ายในสังขาร ธรรม คือ รูปนาม ท่านอุปมาไว้ดังนี้
อุปมานิพพิทาญาณ ๔ อย่าง
๑. นกที่เขาจับมาขังไว้ในกรุงเงินกรงทอง กรงแก้วมณีเพชรนิลจินดา ล้วน แต่มีค่ามาก แต่นกนั้นก็ไม่มีความพอใจปรารถนาจะอยู่ในกรงนั้นเลย มุ่งหน้าแต่จะ พยายามหาหนทางออก เพื่อจะบินหนีไปให้พ้นจากกรงขังอันแสนจะน่าเบื่อหน่ายนั้น ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อถึงนิพพิทาญาณก็ฉันนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในภพ เบื่อหน่ายในกําเนิด ๔ เบื่อหน่ายในคติ ๕ เบื่อหน่ายในวิญญาณ ฐิติ ๗ เบื่อหน่ายในสัตตาวาส ๙ เป็นต้นเหมือนกัน
๒. พระยาหงส์ทองยินดีอยู่ในแต่ในเชิงเขาจิตรกูฏ ไม่ยินดีในหลุม โสโครก ใกล้บ้านคนจัณฑาลซึ่งไม่สะอาด ย่อมอภิรมย์อยู่ในสระใหญ่ทั้ง ๗ ฉันใด ผู้เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน เมื่อถึงนิพพิทาญาณแล้วก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยินดีในรูปนามซึ่งมี ความแตกสลาย ไม่จีรังยั่งยืน มีแต่ทุกข์โทษ ซึ่งตนได้พิจารณาเห็นแน่ชัดแล้ว ย่อม ยินดีเฉพาะแต่ในอนุปัสสนา ๗ เพราะว่าตนมีภาวนาเป็นเรือนใจอยู่เสมอมิได้ประมาท
๓. พระยาสีหมฤคราช แม้ถูกบุคคลจับขังไว้ในกรงทองก็ไม่ยินดี แต่ย่อม ยินดีเฉพาะในป่าหิมพานต์อันกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ฉันใด ผู้เจริญวิปัสสนาเมื่อถึง นิพพิทาญาณก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยินดีในสุคติภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
๔. พระยาช้างฉัททันต์เผือกปลอด ย่อมไม่ยินดีในกลางเมืองแต่ย่อมยินดี เฉพาะในป่าชัฏใกล้สระน้ําฉันใด ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม ไม่ยินดีในรูปนาม แม้ทั้งหมดแต่ยินดีเฉพาะสันติบทซึ่งตนเห็นแล้วว่า ถ้าไม่กลับ มาเกิดอีกต่อไปเป็นปลอดภัยแท้ ผู้นั้นก็มีใจน้อมไปโอนไปสู่พระนิพพาน ดุจแม่น้ํา คงคามีกระแสอันเชี่ยวพัดพาขอนไม้มุ่งตรงลงไปสู่ทะเล ฉะนั้น
อนุปัสสนา ๗
อนุปัสสนา ๗ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา
๑) อนิจจานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามว่าไม่เที่ยง โดยย่อมีอยู่ ๒ อย่าง คือ ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา และอนุมานอนิจจานุปัสสนา
ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงกลับกลอก
อนุมานอนิจจานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมี อยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่า เป็นของไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงกลับกลอกด้วย กันทั้งสิ้น โดยอนุมานว่า จะต้องมีความเกิดดับเหมือนรูปนามในปัจจุบันอย่างนี้ทั้งนั้น
อนิจจานุปัสสนา นั้นโดยพิสดารมีอยู่ ๘ คือพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา มีความเสื่อม ถูกปัจจัยปรุงแต่งและมีความตายเป็นธรรมดา
เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วก็ละนิจจสัญญา คือความสําคัญผิดคิดว่า เป็น ของเที่ยงเสียมิได้ การพิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการอย่างนี้ เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา
๒) ทุกขานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามว่าเป็นทุกข์โดยย่อ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ปัจจักขทุกขานุปัสสนา และอนุมานทุกขานุปัสสนา
ปัจจักขทุกขานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เพราะเต็มไปด้วยความเบียดเบียนเดือดร้อน ถูกปรุงแต่ง มีความแปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดเบื่อหน่าย คลายความยินดี พอใจ เสียได้
อนุมานทุกขานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์โดย อนุมาน คือ พิจารณาเห็นรูปนามภายนอกที่มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคต ก็เต็มไปด้วยทุกข์ จะต้องแตกคับ ไม่สามารถจะทนทานอยู่ได้เหมือนรูปนามในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายสัญญาวิปัลลาส ว่ารูปนามเป็นสุขเสียได้
ทุกขานุปัสสนา นี้เมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้วมีอยู่ ๒๖ อย่าง คือ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝี เป็นลูกศร คับแคบ มีอาพาธ จัญไร มี อุปัทวะ เป็นภัย มีอุปสรรค ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่เป็นที่พึ่งได้ เป็นของ ว่าง มีโทษมีความคับแค้นเป็นมูล เป็นผู้เข่นฆ่าสรรพสัตว์ เป็นเหยื่อของมาร มีความ เกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บเป็นธรรมดา มีความตายเป็น ธรรมดา มีความโศกเศร้าเป็นธรรมดา มีความร้องไห้เป็นธรรมดา มีความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา และมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
การพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ด้วยอาการอย่างนี้เรียกว่า ทุกขานุปัสสนา
๓) อนัตตานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอํานาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น โดยย่อมีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขอนัตตานุปัสสนา และอนุมานอนัตตานุปัสสนา
ปัจจักขอนัตตานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นไปตามใจของใครๆ
อนุมานอนัตตานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมี อยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตที่เต็มไปด้วยอนัตตา ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ เป็นไปตามใจใครบังคับบัญชาไม่ได้เหมือนรูปนามในปัจจุบัน
อนัตตานุปัสสนา นั้น โดยพิสดารมีอยู่ ๖ อย่างคือ พิจารณาเห็นรูปนาม โดยความเป็นอย่างอื่น เป็นของแตกสลายเป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา และ หาสาระแก่นสารมิได้ เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนามโดยลักษณะ เช่นนี้ ก็จะละอัตตสัญญาคือ ความสําคัญผิดคิดว่าเป็นตัวตน เราเขา เสียได้
การพิจารณาเห็นรูปนามด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า อนัตตานุปัสสนา
๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นโทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายมีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขนิพพิทานุปัสสนา และ อนุมานนิพพิทานุปัสสนา
ปัจจักขนิพพิทานุปัสสนา ได้แก่ พิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์โทษแล้วเกิดความเบื่อหน่าย
อนุมานนิพพิทานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกที่มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่าเป็นของน่ากลัวเต็มไปด้วยทุกข์โทษ แล้วเกิด ความเบื่อหน่าย โดยอนุมานว่าจะต้องเป็นไปเหมือนรูปนามในปัจจุบัน
เมื่อผู้ใดพิจารณารูปนามเห็นแจ้งชัดดังนี้ ผู้นั้นก็จะละเสียได้ซึ่งความยินดี ได้แก่สัปปีติตัณหาคือ ตัณหาที่มีความยินดีชื่นชมเพลิดเพลินอยู่กับกามคุณ ๕
๕) วิราคานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามที่เกิดตามทวารทั้ง ๖ ว่า เป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์โทษ เกิดความเบื่อหน่ายแล้วคลายกําหนัดมีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขวิราคานุปัสสนา และอนุมานวิราคานุปัสสนา
ปัจจักขวิราคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนาม ทางทวารทั้ง ๖ คือ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยประจักษ์แล้วเกิดความ เบื่อหน่ายคลากําหนัด
อนุมานวิราคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอก ซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิว่าเป็นของน่ากลัวเป็นไปด้วยทุกข์โทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกําหนัด เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมถึงญาณนี้ก็จะละเสียได้ซึ่งราคะ คือความกําหนัดพอใจในสังขารธรรม
๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การตามเห็นความดับของรูปนาม มีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขนิโรธานุปัสสนาและอนุมานนิโรธานุปัสสนา
ปัจจักขนิโรธานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความดับของรูปนามตาม ทวารทั้ง ๖ โดยแจ้งชัด แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกําหนัด
อนุมานนิโรธานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิทั้งในอดีตและอนาคต โดยอนุมานว่าจะต้องมีความดับเหมือนกันกับรูปนาม ในปัจจุบันอย่างนี้ทั้งนั้น
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นความดับของรูปนามอย่างนี้ ก็จะละเสียได้ซึ่งสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์
๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของน่ากลัวเต็มไปด้วยโทษแล้วละความสําคัญผิดที่คิดว่า เป็น ของเที่ยง เป็นสุขเป็นตัวตน เป็นของสวยงามเสียได้ มีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขปฏินิส สัคคานุปัสสนา และอนุมานปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ปัจจักขปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยประจักษ์คือชัดเจนแจ่มแจ้ง ถอน สัญญาวิปลาสเสียได้
อนุมานปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอก ซึ่ง มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยอนุมานกับ รูปนามในปัจจุบันว่าจะต้องเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกัน
เมื่อผู้เจริญวิปัสสนาได้พิจารณาเห็นรูปนามด้วยอาการอย่างนี้ ก็จะละเสียได้ ซึ่งการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม เป็นตัวตน
ดังกล่าวมาแล้วนั้น
เมื่อผู้ใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานถึงนิพพิทาญาณแล้ว ผู้นั้นย่อมยินดีอยู่ในอนุปัสสนาทั้ง ๗ ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว ญาณนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยสําคัญมาก ที่จะ นําผู้ปฏิบัติให้รีบรัดเข้าสู่พระนิพพาน
วิปัสสนาญาณ ๓
ภยญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นภัย อาทีนวญาณ คือปัญญา พิจารณาเห็นรูปนามเป็นโทษ นิพพิทาญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของ น่าเบื่อหน่าย ญาณทั้ง ๓ นี้ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ส่วนใจความเป็นอันเดียวกัน ดังพระบาลีในปฏิสัมภิทามรรคเล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๕๐๗ รับรองไว้ว่า
ยา จ ภัยตุปฏฐาเน ปญฺญา ยญฺจ อาทีนเว ญาณ์ ยา จ นิพพิทา อิเม ธมมา เอก ถา พุย ชมเมว นานํ
ญาณทั้ง ๓ นี้คือ ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และนิพพิทาญาณ มีใจความเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาญาณผ่านขึ้นมา โดยลําดับๆ นับแต่นามรูปปริจเฉทญาณจนกระทั่งถึงญาณนี้ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็น รูปนาม ปรากฏเป็นภัยคือ เป็นของน่ากลัว ขณะนั้นก็จัดเป็นภัยญาณ ถ้าขณะใด พิจารณาเห็นรูปนามปรากฏเป็นโทษ ขณะนั้นก็จัดเป็นอาทีนวญาณ ถ้าขณะใด พิจารณาเห็นรูปนาม ปรากฏเป็นของน่าเบื่อหน่าย และเมื่อเบื่อหน่ายในรูปนามแล้ว ใจก็น้อมไปในสันติบท ขณะนั้นก็จัดเป็นนิพพิทาญาณ
อุปมารูปนาม
ผู้เจริญวิปัสสนาย่อมพิจารณาเห็นว่ารูปนามที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ เพราะกรรมเก่าเป็นปัจจัยก็ดี รูปนามที่กําลังเป็นไปอยู่ในขณะนี้ก็ดี รูปนามที่แก่ชราก็ดี รูปนามที่ กําลังสร้างกรรมซึ่งเป็นเหตุให้ปฏิสนธิต่อไปก็ดี รูปนามที่จะต้องไปปฏิสนธิในคติ ต่างๆ ก็ดี รูปนามที่กําลังเกิดก็ดี รูปนามที่กําลังเป็นไปตามอํานาจแห่งผลกรรมก็ดี รูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้ว กําลังเป็นปัจจัยแก่ชราก็ดี รูปนามที่กําลังร้องไห้ก็ดี รูปนามที่กําลัง คับแค้นใจเพราะญาติตาย ทรัพย์หายถูกไฟไหม้ ถูกโรคภัยเบียดเบียนก็ดี ล้วนแต่เป็น ภัยเป็นของน่ากลัวเป็นทุกข์ เป็นเหยื่อลวงของวัฏฏะ เป็นเหยื่อลวงของโลก เป็นเหยื่อ ลวงของกิเลส เป็นสังขารปรุงแต่งให้สรรพสัตว์เดือดร้อน ไม่เป็นที่ต้านทานรักษา ไม่ เป็นที่หลบหลีก ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยในภพไหนๆ ได้เลย ดังนั้นจึงไม่ปรารถนารูปนามในภพ ในกําเนิด ในคติทั้งหมด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูปนาม ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ จะปรากฏดุจหลุมเต็มไปด้วยถ่านเพลิงปราศจากเปลว เพราะเป็นที่ตั้งแห่ง กองทุกข์มีความเกิดเป็นต้น เพราะทําให้สรรพสัตว์เร่าร้อนอย่างใหญ่หลวง มหาภูตทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ํา ธาตุไฟ ธาตุลม ในสกลกายก็จะปรากฏเหมือนอสรพิษมีพิษอันร้ายกาจ
ข้อนี้สมด้วยพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกายสฬายตนวรรค (ข้อที่ ๓๑๕) ว่า โฆรวิสาติ โข ภิกขเว จตุนเนต์ มหาภูตานํ อธิวจน์ ฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสรพิษมีพิษร้ายกาจ นี้ เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดังนี้
ขันธ์ ๕ ก็จะปรากฏเหมือนนายเพชฌฆาตกําลังถือดาบเนื้อจะตัดคออยู่ เพราะนําความทุกข์มา นําความตายมา ต่างก็เบียดเบียนบีบคั้นกันอยู่ตลอดเวลา สมดัง พระบาลีข้อเดียวกันนั้นว่า
ปญฺจ วธกา ปจตุ กาติ โข ภิกฺขเว ปัญจนเนต์ อุปาทาน ขนฺธานํ อธิวจนํ
ภิกษุทั้งหลาย นายเพชฌฆาต ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
อายตนะภายใน ๖ ปรากฏเหมือนกับบ้านว่างเปล่า เบื้องแรกนึกว่าเป็นบ้าน ที่เต็มไปด้วยข้าวปลาอาหารนานาประการ ครั้นเข้าไปดูไม่เห็นอะไรเลย
ข้อนี้สมด้วยพระบาลีในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (ข้อ ๓๑๕) รับรองไว้ว่า
สุญญกาโมติ โข ภิกฺขเว ฉันเนต์ อรุณฤติกานํ อายตนาน อธิวจน์ จารุโต เจปิ ต ภิกฺขเว ปณฺฑิโต ดุจฉกเมว ขายติ สุญญกเมว ขายติ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ้านว่างเปล่านี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ภิกษุ ทั้งหลาย หากว่าบุคคลเป็นบัณฑิตฉลาดมีปัญญามีตาดี จึงเข้าไปพิจารณาดูบ้านว่างคือ อายตนะ ภายใน ๖ นั้นก็จะปรากฏแก่ผู้มีตาดี คือมีปัญญาดีนั้นว่า เป็นของว่าง เป็น ของเปล่า เป็นของสูญแท้
อายตนะภายนอก ๖ ก็จะปรากฏเหมือนกับมหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านเพราะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์เหล่านี้เบียดเบียนสรรพสัตว์ให้ เดือดร้อน องค์สมเด็จพระจอมธรรมจึงตรัสไว้ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรคข้อ ๓๑๖ ว่า
โจรา คามฆาตกาติ โข ภิกฺขเว ฉันเนต์ พาหิราน อายตนาน อธิวจน์ จกภิกฺขเว หญญติ มนาปามนาเปส รูเป ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลายคําว่า มหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านนี้ เป็นชื่อของอายตนะ ภายนอก ๖ ภิกษุทั้งหลายเมื่อตาเห็นรูปดีและไม่ดี ก็เกิดความเดือดร้อน เมื่อหูได้ยิน เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจนึกคิดธรรมารมณ์ก็ทําให้เดือดร้อนเช่นกัน
วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ก็จะปรากฏราวกะว่าถูกไฟ ๑๑ กอง มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นติดทั่วแล้วลุกโพลงอยู่ตลอดเวลา สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ปรากฏ ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ข้อ ๑๑ ว่า
จกฺขุ ภิกฺขเว อาทิตนํ ฯเปฯ เกน อาทิตย์ ราคาคินา โทลคุคินา โมหาคินา ชาติยา ชรามรณะ โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟอะไรติดทั่วแล้ว ไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และไฟคือ อุปายาสติดทั่วแล้ว
รูปนามทั้งหมดจะปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติดุจหัวฝี เป็นรังโรค เป็นลูกศร เป็น ของคับแค้น เป็นของมีอาพาธ ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ทุกข์ ไม่มีรสชาติ ปราศจากสมบัติ มีแต่วิบัติ เป็นกองโทษ อันใหญ่โตมหึมาที่สุดในโลก ดุจป่าชัฏที่มีสัตว์ร้ายนานาชนิด ทําให้หวาดกลัวขนลุกชูชันขึ้น ดุจถ้ําที่มีเสือโคร่ง ดุจถึงที่มีจระเข้ มียักษ์ ดุจข้าศึก กําลังเงื้อดาบจะตัดคอ ดุจโภชนะเจือด้วยยาพิษ ดุจทางมีโจรคอยดักปล้นอยู่ ดุจเรือน กําลังถูกไฟไหม้ ดุจสมรภูมิที่มีกองทัพเตรียมไว้พร้อมแล้ว
เมื่อรูปนามปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติด้วยอาการดังกล่าวมานี้ ใจของผู้นั้นก็จะน้อมไปในสันติบท คือ บทที่ทําให้ใจถึงความสงบ
สันติบท
พระราชาองค์หนึ่ง ยกกองทัพไปทําสงคราม แต่ทางนั้นกันดารมาก ไม่มี น้ําจะกินจะอาบเลย พวกไพร่พลก็พากันอ่อนกําลังลงไปมาก พระราชาจึงตรัสปลอบใจว่า ดูกรท่านนักรบทั้งหลาย ทางต่อไปข้างหน้านี้ประมาณ ๕๐ โยชน์ จะมีสระน้ําใหญ่ อยู่สระหนึ่ง บริบูรณ์ด้วยน้ํามีน้ําใสสะอาดดี เป็นที่น่าพักอาศัยร่มเย็นดีนัก พวกเราจง รีบไปเถิด เมื่อพวกไพร่พลได้ฟังพระราชาตรัสเช่นนั้น ถึงแม้ว่าพวกตนจะยังไม่เคยเห็น สระน้ํานั้นก็จริง แต่ก็พากันน้อมใจไปหาและพากันตั้งหน้ารีบออกเดินทางต่อไปมิชักช้า เพื่อจะได้ถึงสระนั้นแล้วจะได้อาบได้กินได้นอน ได้พักผ่อนหย่อนอารมณ์ตาม สบาย ข้อนี้ฉันใดผู้ปฏิบัติธรรมก็ย่อมน้อมใจไปในสันติบทยินดีในสันติบท ฉันนั้น เหมือนกัน สันติบทนั้นมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ดังจะได้ย่อมาพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
๑. ผู้ปฏิบัติมีปัญญาพิจารณาเห็นว่าความเกิดเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่เกิดปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๒. ความเป็นไปของรูปนามเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่เป็นไป เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๓. รูปนามเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่มีรูปนามเป็น ความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๔. รูปนามที่กําลังสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีรูปนามสั่งสมกรรม เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็น นิพพาน
๕. การเกิดอีกเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร การไม่เกิดอีกเป็น ความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๖. คติที่จะต้องปฏิสนธิเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีคติ เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๗. ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็น สังขาร ความไม่บังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อ เป็นนิพพาน
๘. ความเป็นไปของวิบากเป็นต้น เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความ ไม่เป็นไปของวิบาก เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๙. ชาติเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีชาติ เป็นความ ปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๐. ชราเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีชรา เป็นความ ปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๑. พยาธิเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีพยาธิ เป็นความ ปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๒. มรณะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีมรณะ เป็นความ ปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๓. โสกะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีโสกะ เป็นความ ปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๔. ปริเทวะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีปริเทวะ เป็น ความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
๑๕. อุปายาสะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีอุปายาสะ เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติมีใจน้อมไปในสันติบทเช่นนี้ สังขารคือ รูปนามที่กําลังปรากฏเป็นภัยอยู่นั้น ก็จะปรากฏเป็นของมีโทษมาก และเป็นที่น่าเบื่อหน่ายแท้
ลําดับการปฏิบัติ
ญาณอันเดียวก็สามารถยังกิจทั้ง ๓ อย่างให้สําเร็จได้คือ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นภัย มีโทษมาก และเบื่อหน่าย คือ
ใจของผู้ปฏิบัตินั้นจะไม่ติดไม่ข้องอยู่ในรูปนาม เพราะตนได้พิจารณาเห็น ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วว่า เป็นของมีโทษมากอย่างหนึ่ง
มีจิตอยากหลุดพ้น อยากหนีออกจากรูปนาม จากวัฏสงสารเพราะตนได้รู้ เห็นโดยประจักษ์แล้วว่า รูปนามเป็นของไม่คงที่ เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นไม่มีสาระ แก่นสาร เป็นของเป็นไปเพื่อระยะกาลนิดหน่อยเท่านั้นอย่างหนึ่ง
นักปฏิบัตินั้นอยากจะยกตนออก อยากจะซื้อตนออก อยากจะหนีไปจากรูปนาม หนีไปจากห้วงมหรรณพิภพสงสาร อยากจะไปสู่พระนิพพาน โดยส่วนเดียว อย่างหนึ่ง
ย่อมเบื่อหน่ายไม่ยินดีในสังขาร คือ รูปนามที่เป็นไปในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทั้งสิ้น เพราะสังขารในภพ กําเนิด คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาสทั้งหมด ล้วนแต่มีความแตกสลายทําลายไป เสื่อมไปด้วยกันทั้งสิ้น
จบ นิพพิทาญาณ
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายความว่าญาณที่มีความปรารถนาใคร่จะพ้นจาก รูปนาม โดยที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว มีทุกข์ มีโทษ เป็นเหยื่อลวงให้ หลงติดอยู่ในวัฏสงสาร เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความเดือดร้อนและมีความ แปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย อยากออกอยากหนีอยากหลุด อยาก พ้นจากสังขารธรรม อยากพ้นจากสังสารวัฏ ใจก็น้อมไปสู่พระนิพพาน
สังขารธรรม นั้น ได้แก่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงให้สั้นได้แก่ รูปนาม
สังสารวัฏ
สังสารวัฏ แยกบทออกเป็น สังสาร + วัฏ, สังสาระ คือ การท่องเที่ยวไป ไม่ขาดสาย มีอยู่ ๓ อย่างคือ อปายสังสาระ กามสุคติสังสาระ และพรหมสังสาระ
๑. อปายสังสาระ คือการท่องเที่ยวไปในอบายภูมิทั้ง ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน ท่องเที่ยวไปด้วยอํานาจของกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง บางทีท่านเรียกว่า เหฏฐิมสังสาระ ท่องเที่ยวไปในภูมิเบื้องต่ํา คือ อบายภูมิ ๔ ดังกล่าวมานี้ดังนั้น อปายสังสาระกับเหฏฐิมสังสาระ จึงเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
๒. กามสุคติสังสาระ คือ การท่องเที่ยวไปในกามสุคติภูมิ ๗ ได้แก่ ภูมิของ มนุษย์ ๑ ภูมิของเทวดา ๖ รวมเป็น ๗ ภูมิท่องเที่ยวไปด้วยอํานาจมหากุศลหรือ เพราะอาศัยสุจริตกรรม ๑๐ บางทีท่านเรียกว่า มัชฌิมสังสาระ การท่องเที่ยวไปในภูมิเบื้องกลาง คือ กามสุคติภูมิ ๗ ดังนั้น กามสุคติสังสาระกับมัชฌิมสังสาระ จึงเป็นอัน เดียวกัน อุปมาเหมือนกับชายคนหนึ่งมีครอบครัวแล้ว ถ้าภริยาเรียกชายคนนั้นก็จะเรียก ว่า สามี ถ้าลูกเรียกชายคนนั้นก็เรียกว่า พ่อ อันที่จริงก็คนๆ เดียวกันแต่เรียกต่างกัน
๓. พรหมสังสาระ คือการท่องเที่ยวไปในพรหมภูมิได้แก่ การท่องเที่ยวไป ในรูปพรหม ๑๖ ภูมิและอรูปพรหม ๔ ภูมิ บางทีท่านเรียกว่า อุปริมสังสาระ การ ท่องเที่ยวไปในสังสาระเบื้องสูงได้แก่ พรหมภูมิ ๒๐ ชั้น เพราะอาศัยมหัคคตกุศล ๙ คือรูปาวจรกุศล ๕ อรูปาวจรกุศล ๔
จิตของผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อดําเนินมาถึงมุญจิตุกัมยตาญาณแล้ว ก็อยากจะหลุดอยากจะพ้นจากสังสารวัฏดังกล่าวนี้ เพราะพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่าความเกิดในภพนี้ ความเป็นไปของขันธ์ที่เกิดแล้ว ความไม่เที่ยงของรูปนามการสั่งสมกรรมที่จะให้เกิด อีก การเกิดมาอีกคติต่างๆ ที่จะไปเกิด เช่น ทุคติ สุคติ ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ ทั้งหลาย ความเป็นไปแห่งผลกรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ล้วนแต่เป็นภัยเป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในภพ เป็นสังขารปรุงแต่ง ให้ได้รับความเดือดร้อนทั้งนั้น จึงเกิดความเบื่อหน่ายไม่ยินดีไม่ชอบไม่ติด จิตอยากออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้น เพราะเห็นประจักษ์ชัดแล้วว่า ถ้าไม่มีรูปนามเสียได้ จะเกษมปลอดภัย เป็นสุข ไม่มีเหยื่อล่อให้ลุ่มหลงเป็นนิพพาน จิตมีกําลังกล้ามุ่งหน้า แต่จะออกจะหนี จะหลุดจะพ้นไปจากสังขารธรรมและสังสารวัฏ
อุปมามุญจิตุกัมยตาญาณมี ๘ อย่าง
๑. ปลาติดข่าย ติดแห ติดอวน ย่อมดิ้นรนกระวนกระวายอยากหลุดออกไป จากข่ายจากแห จากอวนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๒. กบถูกงูคาบไว้กําลังอยู่ในปาก อยากออกอยากกระโดดหนีลงไปหลบ อยู่ในน้ําลึก ทั้งดิ้นทั้งร้องจนสุดความสามารถฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๓. ไก่ป่าเป็นสัตว์อยู่ป่าเป็นประจํา ครั้นคนรักบ่วงจับได้ นํามาขังไว้ในกรง ย่อมดิ้น ย่อมกระวนกระวายไม่มีความสุข มีแต่ทุกข์ทรมาน อยากออก อยากบินหนี ไปอยู่ป่าอันแสนกว้าง แสนสบายตามที่ตนเคยอยู่อย่างเป็นอิสระฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๔. เนื้อที่ติดบ่วงอย่างมั่น ย่อมพยายามดิ้นจนสุดความสามารถ เพราะ อยากออก อยากหลุด อยากพ้นไปจากบ่วงฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๕. งูอยู่ในมือของหมองู ย่อมอยากออกไปให้พ้นมือ อยากจะแล่นหนีไป อยู่ในป่าดงพงทึบ ตามความสบายใจตนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๖. ช้างติดหล่มลึก อยากจะถอนตนให้ขึ้นจากหล่ม พยายามทุกวิถีทางที่ จะช่วยตัวเองให้พ้นจากหล่มฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๗. พญานาคอยู่ในปากครุฑ ย่อมอยากออกอยากหลุดหนีไปให้พ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๘. บุรุษถูกข้าศึกล้อม อยากจะออกหนีไปให้พ้นต้องพยายามหาหนทาง ที่จะออกที่จะหนี ที่จะเอาตัวรอดเต็มที่ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
โยคีผู้ปฏิบัติเมื่อปฏิบัติถึงญาณนี้แล้วย่อมไม่ชอบ ไม่ติดอยู่ในรูปนามซึ่งมี แต่ความแตกสลายมีแต่ความสิ้นความเสื่อมอยู่เป็นนิตย์นั้นเลยแม้แต่เพียงอย่างเดียว บรรดาที่มีอยู่ในภพ กําเนิด คติ วิญญาฐิติ สัตตาวาส จิตของผู้ปฏิบัติมีแต่อยากจะออก อยากหนี อยากหลุดอยากพ้นจากสังขารทั้งปวง ปราศจากความอาลัยในสังขารทุกอย่าง สังขารทั้งหลายจะปรากฏว่ามีแต่ภัย มีแต่โทษมากมายเป็นที่น่าเบื่อหน่าย จึงอยากจะ หนีอยากจะพ้นไปเสียโดยเร็ว แล้วก็พยายามปฏิบัติต่อไปไม่ท้อถอย
สภาวะของมุญจิตุกัมยตาญาณ ๑๕
ลักษณะของญาณนี้ตามที่ปรากฏในบาลีปฏิสัมภิทามรรค ผู้ปฏิบัติได้ดําเนินมาถึงญาณนี้แล้ว ย่อมมีสภาวะเป็นดังนี้ คือ
๑. มีจิตอยากหลุดพ้นจากความเกิดเพราะเป็นความเกิดเป็นทุกข์ ความ เกิดเป็นภัย ความเกิดเป็นอามิสให้ติดอยู่ ความเกิดเป็นผู้ปรุงแต่ง
๒. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็นไปของรูปนาม เพราะเห็นความเป็นไป ไม่ขาดสายของรูปนาม เป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๓. จิตอยากหลุดพ้นจากสังขารนิมิตคือ เครื่องหมายของรูปนามเป็นของ ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นต้น เพราะเห็นว่าสังขารนิมิตเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๔. จิตอยากหลุดพ้นจากการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดในภพใหม่อีก เพราะ เห็นว่าการสั่งสมกรรมเป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๕. จิตอยากหลุดพ้นจากการปฏิสนธิอีก เพราะเห็นว่า การถือปฏิสนธิอีก เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๖. จิตอยากหลุดพ้นจากคติเพราะเห็นว่า คติต่างๆ เช่น สุคติ ทุคติ เป็นต้น เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๗. จิตอยากหลุดพ้นจากความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เพราะเห็นว่า ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๘. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็นไปของผลกรรม เพราะเห็นว่าผลกรรม ต่างๆ เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๙. จิตอยากหลุดพ้นจากความเกิดเพราะเห็นว่าชาติเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๑๐. จิตอยากหลุดพ้นจากความแก่เพราะเห็นว่าความแก่ เป็นทุกข์เป็น ของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๑. จิตอยากหลุดพ้นจากพยาธิเพราะเห็นว่าพยาธิเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๒. จิตอยากหลุดพ้นจากมรณะเพราะเห็นว่ามรณะเป็นทุกข์ เป็นของ น่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๓. จิตอยากหลุดพ้นจากความเศร้าโศก เสื่อมญาติเสื่อมโภคะเสื่อม เพราะ โรคเบียดเบียน เพราะเห็นว่า ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้ หลงติดอยู่
๑๔. จิตอยากหลุดพ้นจากความคับแค้นใจ เพราะถูกความเสื่อมต่างๆ ครอบงํา เพราะเห็นว่า ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลง ติดอยู่
จบ มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐. ปฏิสังขาญาณ
ปฏิสังขาญาณ หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม โดยขะมักเขม้น ต่อจากมุญจิตุกัมยตาญาณ
ปฏิสังขาญาณ แยกบทเป็น ปฏิ + สังขา + ญาณ, ปฏิ เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ, อีก, สังขา พิจารณา ญาณ ปัญญา คือความรอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริง ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญาย้อนกลับไปพิจารณาสังขารยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ด้วย อาการ ๔๐ อย่างคือ พิจารณาสังขารเป็นอนิจจังด้วยอาการ ๑๐ อย่าง พิจารณาสังขาร เป็นทุกข์ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง พิจารณาสังขารเป็นอนัตตาด้วยอาการ ๕ อย่าง ดัง พระบาลีในปฏิสัมภิทามรรคกล่าวไว้ว่า
เตสํ ธมฺมาน จตตาฬิสาย อากาเรหิ อเนกาทีนวราสิภาวปฏิสังขาน วเสน สุฏฺฐวิปผาสตร์ วิปัสสนาญาณ์ ปฏิสังขาญาณ์ นาม ฯ
ญาณ ที่กําลังพิจารณาเห็นเบญจขันธ์เหล่านั้น เป็นพระไตรลักษณ์อย่าง กว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยสามารถพิจารณาเห็นว่าเบญจขันธ์นี้เป็นกองแห่งโทษมากมาย ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง ชื่อว่า ปฏิสังขาญาณ
อาการ ๔๐ ของปฏิสังขาญาณ
๑) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงด้วยอาการ ๑๐ อย่างคือ
๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง
๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปโลกะ คือ มีความเสื่อมอย่างใหญ่หลวง
๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น จละ คือ มีความหวั่นไหวเปลี่ยนแปลง
๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปภังคะ คือ มีความแตกสลายทําลายไป
๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อัทธุวะ คือไม่มีความยั่งยืนถาวรอะไรเลย
๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วิปริณามธรรม คือ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อสารกะ คือ ไม่มีแก่นสารอะไรเลย
๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วิภวะ คือ มีความเสื่อมมีความวิบัติ อยู่เป็นนิตย์
๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สังขตะ คือ ถูกปัจจัยปรุงแต่งด้วยอํานาจ กรรม จิต อุตุ อาหาร
๑๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น มรณธรรม คือ มีความตาย มีความ แตกดับเป็นธรรมดา
๒) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นทุกข์ โดยอาการ ๒๕ อย่าง คือ
๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้นเนืองๆ
๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น โรค คือ เสียดแทงเบียดเบียนอยู่เสมอ
๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น คัณฑะ ฝี คือเป็นดุจหัวฝีที่กลัดหนอง
๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สัลละ คือ เป็นลูกศรปักเสียบ ทิ่มแทงอยู่เสมอ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย คัน แสบ ร้อน หนาว หิว กระหาย เป็นต้น
๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อฆะ คือ ความคับแคบเบียดเบียนเดือดร้อน
๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อมมูล คือ เป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่ง ความคับแคบแห่งความเดือดร้อน เพราะอํานาจแห่งโรคภัยมีประการต่างๆ และกิเลสทั้งหลาย
๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อาพาธ คือ ความเจ็บป่วย
๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อีติ คือ จัญไร มีแต่ทุกข์ ไม่ดี ไม่สุข
๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปัทวะ ประสบกับอุปัทวะเหตุ
๑๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ภัย คือ เป็นของน่ากลัว เพราะจะ ต้องเผชิญกับภัยนานาชนิด เช่น อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย ชาติภัย ชราภัย มรณภัย เป็นต้น
๑๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปสรรค คือ สิ่งที่ขัดขวางกีดกันกางกั้น ไม่ให้ชีวิตดําเนินไปได้โดยราบรื่น
๑๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อตาณะ คือ ไม่มีอะไรจะมาต้านทาน ไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของเขา เช่น แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น
๑๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อเลณะ คือ ป้องกันอะไรไม่ได้ จะ หลีกเร้นอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่พ้นทุกข์
๑๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อสรณะ คือ ไม่มีที่พึ่งเพราะต้อง แตกดับไป ทําลายไป สลายไป ทนอยู่ไม่ได้
๑๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อาทีนวะ คือ มีทุกข์ มีโทษมาก ท้งภายนอกภายใน
๑๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วธกะ คือ ผู้ฆ่าเพราะเขาเป็นดุจนาย เพชฌฆาตคอยถือดาบเข่นฆ่าสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา ไม่ยกเว้นใครๆ
๑๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สาสวะ คือ เป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะ ทั้ง ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือ กาม, ภวาสวะ อาสวะคือ ภพ, อวิชชาสวะ อาสวะคือ อวิชชา, ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ทิฏฐิ
๑๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น มารามิส คือ เป็นเหยื่อล่อให้สรรพ สัตว์หลงติดบ่วง ดุจพรานเบ็ดตกปลาฉะนั้น
มารามิสเหยื่อของมาร ๓ อย่าง คือ โลกามิส อามิสของชาวโลก ได้แก่ กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ, วัฏฏามิส อามิส คือ วัฏฏะ ได้แก่ วัฏฏะ คือวน ๓ กิเลสวัฏ วนเพราะกิเลส กัมมวัฏ วนเพราะกรรม วิปากวัฏ วนเพราะผลแห่งกรรม วนไปในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ, กิเลสามิส อามิสคือ กิเลส หมายความว่า กิเลสนั่นเองเป็นอามิส เป็นเหยื่อให้สรรพสัตว์ประมาทมัวเมาหลง เพลิดเพลินติดอยู่ในโอฆสงสาร ไม่เห็นช่องทางแห่ง มรรค ผล นิพพานได้
๑๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ชาติธรรม คือ มีความเกิดมารับกอง ทุกข์เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นจากเกิดไปได้ เกิดมาเมื่อใดก็หอบเอาทุกข์มาเมื่อนั้น ดุจเห็นเมื่อโผล่จากดินเมื่อใดก็ดันเอาฝุ่นมาพร้อมกันเมื่อนั้น
๒๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ชราธรรม คือ มีความแก่ มีความ เสื่อม มีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา ไม่มีใครห้ามและแก้ได้
๒๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น พยาธิธรรม คือ มีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๒๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น โลกธรรม คือ มีความเศร้าโศกเป็น ธรรมดา เศร้าโศกเพราะเสื่อมญาติเสื่อมทรัพย์เป็นโรค เป็นต้น ไม่มีใครล่วงพ้นไปได้ แม้แต่คนเดียว เว้นพระอริยเจ้าเท่านั้น
๒๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปริเทวธรรม คือ มีความร้องไห้ บ่นเพ้อเป็นธรรมดา เพราะถูกความเสื่อมต่างๆ ครอบงํา
๒๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปยาสธรรม คือ มีความคับแค้น ใจเป็นธรรมดา คับแค้นเพราะเหตุ ๕ ประการ มีความเสื่อมญาติ เป็นต้น
๒๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สังกิเลสธรรม คือ มีความเศร้าหมอง เป็นธรรมเศร้าหมองเพราะกิเลส
๓) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์เป็นอนัตตา โดยอาการ ๕ อย่างคือ
๑) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนบังคับบัญชา ไม่ได้ ไม่อยู่ในอํานาจของใครๆ ทั้งสิ้น
อนัตตา แปลว่า ไม่เป็นไปในอํานาจ การที่อนัตตาไม่ปรากฏก็เพราะ พากันถือว่าเป็นก้อน เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเบา ความเห็นว่าเป็นตนนี้เรียกว่า ฆนสัญญา ฆนสัญญานี้เองที่ปิดบังไว้มิให้เห็นอนัตตาก ฆนสัญญา คือความสําคัญผิด ว่า เป็นก้อน เป็นตัวตนเราเขานี้มีอยู่ ๓ อย่างคือ ฆนสัญญา กิจจฒนะ อารัมมณฑนะ
ฆนสัญญา คือสมูหนฆนะ ได้แก่กองรูปกองนาม ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน เข้าใจว่า เรายืนเราเดิน เรานั่งเรานอน เป็นต้น
กิจจฒนะ ได้แก่ การกระทําของกองรูป กองนาม เช่น การเดิน ยืน นั่ง นอน นั้น รูปมีกิจเคลื่อนไหวคล้ายกับทําตามคําสั่งของนาม นามมีกิจคล้าย เป็นผู้สั่งให้เคลื่อนไหว อันที่จริงเป็นสักแต่ว่ารูปกับนามเท่านั้น แต่เราไปเข้าใจผิดคิด ว่า เราเดิน เรานั่ง เรานอน เป็นต้น
อารัมมณฑนะ ได้แก่ การน้อมไปยึดอารมณ์หลายๆ อย่างมาเป็น อย่างเดียวกัน เช่น ยึดเอารูปทางตามา ยึดเอาเสียงทางหูมา ยึดเอากลิ่นทางจมูกมา ยึดเอารสทางลิ้น มายึดเอาโผฏฐัพพะทางกายมายึด แล้วสําคัญผิดคิดไปว่า เราได้เห็น รูปดีไม่ดี เราได้ยินเสียงเพราะ ไม่เพราะ เราได้กลิ่นหอมกลิ่นเหม็น เราได้รสอร่อย ไม่อร่อย เราได้สัมผัสดีไม่ดี ความเข้าใจอย่างนี้ เรียกว่า สัญญาวิปลาส คือ เข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิดก็ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์นั้นๆ ว่า เป็นเราเป็นของเรา เป็นอัตตทิฏฐิหรือสักกายทิฏฐิ
๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ประ อื่น คือไม่คงที่แปรปรวนเสมอ
๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ริตตะ คือเป็นของนิดหน่อย เล็กน้อย เกิดขึ้นมาไม่นานก็แตกสลายไป ทําลายไป
๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ดุจฉะ คือว่าง ได้แก่ว่างจากสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา
๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สุญญะ คือเป็นของเปล่า เป็นของ สูญ ได้แก่ สูญจากสัตว์ สูญจากความเป็นบุคคล สูญจากความเป็นตัวตนเราเขา ไม่มี เจ้าของไม่มีอิสระ ไม่เป็นไปในอานาจของใครๆ ทั้งสิน
ผู้ปฏิบัติธรรม คือท่านผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนาม เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยอาการ ๔๐ อย่างดังนี้แล้ว ย่อมเห็นว่าเป็นของไม่งาม เป็นสัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า เป็นทุกข์น่ากลัว ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็น ปฏิกูลน่าเกลียด ปรุงแต่งอยู่ไม่หยุด มีรูปแปลกมีท่าทางพิลึก ไม่เห็นมีสาระแก่นสาร มีแต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา จึงอยากออก อยากหนีอยากหลุดอยากพ้น แล้วพยายามหา หนทางพ้น จึงได้พยายามประพฤติปฏิบัติเพื่อให้วิปัสสนาญาณเจริญขึ้น
อุบายแห่งการหลุดพ้น
ปฏิสังขาญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนาม เป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นของ น่ากลัว เป็นเหยื่อของมาร เกิดความเบื่อหน่าย อยากออก อยากหนี อยากหลุดพ้น จึง ตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งมรรค ผล นิพพาน โดยหาอุบายหลุด พ้นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง คือ
๑. พิจารณาการเกิดขึ้นและการดับไปของรูปนาม แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๒. พิจารณาความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้วกําลังเป็นไปไม่ขาดสาย แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๓. พิจารณาสังขารนิมิต คือลักษณะของสังขารรูปนาม ว่าเป็นของไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๔. พิจารณาเห็นรูปนามกําลังสั่งสมกรรม กรรมที่จะให้เกิดอีก จึงหน่าย เพื่อหลุดพ้น แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๕. พิจารณาเห็นรูปนาม ที่กําลังเกิดขึ้นมาใหม่ว่า เป็นทุกข์น่ากลัว เพื่อ หลุดพ้น แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๖. พิจารณารูปนามที่กําลังตกอยู่ในคติต่างๆ มีทุคติเป็นต้นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้น เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๗. พิจารณารูปที่กําลังเกิดเป็นขันธ์ ๕ อยู่ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้หลุดพ้น เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๘. พิจารณารูปนามที่กําลังเป็นไปตามวิบาก คือกรรมของตนๆ ที่ทํามา ตั้งแต่ภพก่อน ชาติก่อน ภพนี้ชาตินี้ว่า ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจ ปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๙. พิจารณาเห็นรูปนามที่กําลังเกิดขึ้นมาเป็น รูปชาติ นามชาติ รูปโลก นามโลก ว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ไม่มีแก่นสาร แล้วเบื่อหน่ายอยากพ้น ตั้งใจ ปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๐. พิจารณารูปนามที่กําลังเสื่อมไปสิ้นไป แก่ไปคร่ําคร่าไป ว่าเป็น ทุกข์เป็นโทษ น่ากลัวน่าเบื่อ แล้วเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น แล้วปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๑. พิจารณารูปนามที่กําลังถูกพยาธิเบียดเบียน ครอบงําว่าเป็นทุกข์ เป็นภัย เป็นโทษ ไม่มีสาระประโยชน์ ไม่มีสุข จึงเกิดความเบื่อหน่ายอยากหนีอยากพ้น แล้วหาหนทางพ้น โดยปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
๑๒. พิจารณารูปนามที่กําลังแตกดับ คือตายอยู่ทุกขณะว่าเป็นทุกข์ น่ากลัว น่าเบื่อหน่าย เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้นหาหนทางพ้น จึงตั้งใจปฏิบัติ ต่อไปเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๓. พิจารณารูปนามที่กําลังเศร้าโศกเพราะถูกความเสื่อมครอบงําแล้ว เบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติต่อไป เพื่อให้ได้ถึงพระนิพพาน
๑๔. พิจารณารูปนามที่กําลังร้องไห้อยู่เพราะถูกความเสื่อม ๕ ประการ ครอบงําว่า เป็นของที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษ น่าเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น แสวงหา ทางพ้นโดยตั้งใจปฏิบัติต่อไป เพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๕. พิจารณารูปนามที่กําลังมีความคับแค้นใจ เพราะความเสื่อม ๕ ประการ ครอบงํา เห็นว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์โทษเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามโดยแจ้งชัดอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้นั้นมีวิปัสสนาญาณอันเจริญขึ้นแล้ว เพราะกําหนดสังขารพิจารณาได้ดี เพื่อจะยังอุบายแห่งการหลุดพ้นให้เกิดขึ้น
อุปมาเปรียบเทียบ
ยังมีชายคนหนึ่งประสงค์จะจับปลา จึงเอาสุ่มๆ ลงไปในน้ํา แล้วหย่อนมือ ตามลงไป เผอิญไปถูกงูเห่าเข้าแต่เขาไม่รู้ว่าเป็นงูเห่า จับของภายในน้ํานั้นได้ จึงนึก กระหยิ่มอยู่ในใจว่า เราจับปลาใหญ่ได้เขารู้สึกดีใจมาก เพราะเข้าใจว่าเป็นปลาจริงๆ และตัวใหญ่ด้วย ครั้นจับยกขึ้นพ้นน้ํา พิจารณาดูจึงรู้ว่าเป็นงูเพราะเห็นดอกจัน มีความ หวาดกลัวเป็นกําลัง เห็นโทษเห็นภัยในการจับ เพราะจะถูกงูกัดตาย ต้องการปล่อยให้ หลุดพ้นไปโดยเร็ว จึงหาอุบายปล่อย คือจับหางงูคลายขนดจากแขนตัวแล้วยกขึ้น แกว่งเบื้องบนศีรษะ ๒ - ๓ ครั้ง ทําให้งูอิดโรย และอ่อนกําลังลงแล้วโยนทิ้งไป พร้อมทั้งบ่นพึมพําและแช่งว่า “อ้ายงูร้ายไปเสียให้ไกลเถิด” แล้วรีบขึ้นมาสู่ขอบบึง ยืน แลดูทางมาโดยหมายใจว่า เราพ้นจากปากงูเห่าแน่แล้ว ในข้อนี้มีการเปรียบได้ดังนี้คือ
เวลาที่บุคคลได้อัตภาพเกิดมาเป็นตัวตนตั้งแต่ต้นแล้วยินดีพอใจ เพลิดเพลิน สนุกสนาน เปรียบเหมือนชายคนนั้นจับคองูเห่าได้นึกว่าเป็นปลาใหญ่แล้วดีใจมาก ฉะนั้น ตอนนี้ยังไม่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานยังเพลินอยู่กับโลก
เวลาที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณาแยกรูปนามออกจากกันเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏเป็นของน่ากลัว ตอนนี้จัดเป็นญาณตั้งแต่ต้นจนถึง ภยญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษดึงงูออกจากสุ่มแลเห็นดอกจันแล้วกลัว
เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามเห็นทุกข์เห็นโทษ เห็นภัยของรูปนามแล้ว นี้เป็น อาทีนวญาณ เปรียบเหมือนกับชายผู้จับงู ตามเห็นทุกข์โทษภัย ในการจับงูเห่านั้น
เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยแล้ว เกิดความเบื่อหน่ายเป็น นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนกับชายคนนั้นพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษเห็นภัย อันจะเกิดขึ้นแก่ตนอย่างใหญ่หลวง ในเพราะการจับคองูนั้นแล้วเกิด ความเบื่อหน่าย
เวลาที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยากจะหลุดพ้นจากรูปนาม อยากจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ เปรียบเหมือนกับชายคนที่จับคอ นั้นอยากจะเหวี่ยงงูให้พ้นไปจากตัว
เวลาที่ผู้ปฏิบัติยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ด้วยอาการ ๔๐ อย่างก็ดี ด้วย อาการ ๑๕ อย่างที่ดีนี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณอย่างแก่ เข้าเขต ปฏิสังขาญาณอย่าง อ่อน เปรียบเหมือนกับชายคนที่จับคองูนั้นแสวงหาอุบายจะเหวี่ยงงู แล้วทําอุบาย เหวี่ยงงูให้พ้นไปจากตัว
เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณารูปนามยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์บ่อยๆ วนไป เวียนมาอยู่กับพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทําให้กิเลสหมดกําลังลงจน ไม่สามารถจะเห็นว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม เป็นตัวตน เรา เขา จะ เห็นตรงกันข้ามคือ เห็นว่าเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกขัง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้เป็น อสุภะ ไม่สวยงาม เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่อยู่ในอํานาจ ใครๆ ทั้งสิ้นนี้เป็น ปฏิสังขาญาณ เปรียบเหมือนชายคนที่จับคองูนั้น จับงูแกว่งทําให้หมด กําลัง จนไม่สามารถจะเลี้ยวมากัดเขาได้แล้ว เหวี่ยงให้หลุดพ้นจากตัวไปได้เป็น อย่างดีฉะนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ปฏิสังขาญาณ ก็เป็นอันเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เจริญ วิปัสสนานั้น
อนิจจโต มนสิกโรโต นิมิตต์ ปฏิสังขาญาณ์ อุปฺปชฺชติ เมื่อผู้ปฏิบัติใฝ่ใจ โดยความไม่เที่ยงพิจารณานิมิต (คือ อนิจจลักษณะว่า ไม่ยั่งยืนเป็นไปชั่วกาลนิดเดียว เท่านั้น) ปฏิสังขาญาณ ก็เกิดขึ้น
ทุกฺขโต มนสิกโรโต ปวตฺติ ปฏิสังขาญาณ์ อุปปัชชติ เมื่อผู้ปฏิบัติใฝ่ใจ โดยความเป็นทุกข์พิจารณาปวัตตะคือ ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้ว ปฏิสังขา
ญาณ ก็เกิดขึ้น
อนตฺตโต มนสิกโรโต นิมิตฺตญฺจ ปวตฺตญฺจ ปฏิสังขาญาณ์ อุปปชชติ เมื่อ ผู้ปฏิบัติใฝ่ใจโดยความเป็นอนัตตาพิจารณานิมิตคือ อนิจจลักษณะ และปวัตตะ ความ เป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้ว ปฏิสังขาญาณ ก็เกิดขึ้น
จบ ปฏิสังขาญาณ
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณ หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม โดยอาการ วางเฉยในสังขารนิมิตอารมณ์ สังขารุเปกขาญาณ แยกบทเป็น สังขาร + อุเปกขา + ญาณ, สังขาร คือ สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงมาได้แก่ รูป กับ นาม ขันธ์ที่ ๑ เป็นรูป ขันธ์ที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ เป็นนาม, อุเปกขา ความวางเฉยคือ เป็นกลางๆ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่กลัว ไม่เพลิดเพลิน, ญาณ ปัญญา คือ ความรอบรู้รูปกับนามตามความเป็นจริง สังขารุเปกขาญาณ ปัญญา พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ว่างเปล่าจาก สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา แล้ววางเฉย มีสติกําหนดได้ดีอยู่อย่างนี้ คือ
๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า เป็นทุกข์ เห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า เป็นทุกข์ เห็นนิมิตคือ เครื่องหมายของรูปนามที่ บอกให้รู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ว่าเป็นทุกข์ เห็นการสั่งสมกรรม เพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นทุกข์ เห็นคติทั้ง ๕ ว่าเป็นทุกข์ เห็นปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์ เห็น ความบังเกิดของขันธ์ ๕ ว่าเป็นทุกข์ เห็นอุปบัติคือ ความเกิดเป็นไปของผลกรรมว่า เป็นทุกข์ เห็นชาติว่าเป็นทุกข์ เห็นชราว่าเป็นทุกข์ เห็นพยาธิว่าเป็นทุกข์ เห็นมรณะ ว่าเป็นทุกข์ เห็นโสกะว่าเป็นทุกข์ เห็นปริเทวะว่าเป็นทุกข์ เห็นอุปายาสว่าเป็นทุกข์
เมื่อพิจารณาเห็นทุกข์อย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีกแล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า เป็นภัย เห็นความเป็น ไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่าเป็นภัย เห็นนิมิตคือเครื่องหมายของรูปนามที่บอก ให้รู้ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับไม่ได้ว่าเป็นภัย เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิด อีกว่าเป็นภัย เห็นคติทั้ง ๕ ว่าเป็นภัย เห็นปฏิสนธิว่าเป็นภัย เห็นความบังเกิดขึ้น ของขันธ์ ๕ ว่าเป็นภัย เห็นอุปบัติคือความเกิดเป็นไปของผลกรรมว่าเป็นภัย เห็นชาติ ว่าเป็นภัย เห็นชราว่าเป็นภัย เห็นพยาธิว่าเป็นภัย เห็นมรณะว่าเป็นภัย เห็นปริเทวะว่า เป็นภัย เห็นอุปายาสะว่าเป็นภัย
เมื่อพิจารณาเห็นภัยอย่างนี้แล้ว เกิดความเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น จึง มนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีกแล้วจึงวางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นนิมิต คือ เครื่องหมายของรูปนามที่บอกให้รู้ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ว่า สังขาร คือผู้ปรุงแต่ง เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นสังขาร คือผู้ปรุงแต่งเห็นความ บังเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นอุปบัติคือความเกิดเป็นไปของ วิบากว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นชาติว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นชราว่าเป็น สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นพยาธิว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นมรณะว่าเป็นสังขารคือ ผู้ปรุงแต่ง เห็นปริเทวะว่าเป็นสังขาร คือผู้ปรุงแต่ง เห็นอุปายาสะว่าเป็นสังขาร คือผู้ ปรุงแต่ง
เมื่อพิจารณาเห็นสังขาร โดยอาการอย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยาก หลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีกแล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาพิจารณาเห็นอุปปาทะคือ ความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้นนั้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ ความคับแค้นใจ เพราะถูกความเสื่อม ๕ ประการคือ ความ เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เป็นต้น ครอบงําเป็นอามิสคือ อามิสของพระยามารเพราะเป็น ไปกับด้วยเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในห้วงโอฆสงสาร เบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึง มนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ําอีก แล้ววางเฉยอยู่จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาพิจารณาเห็นว่าอุปปาทะ ความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะความคับแค้นใจว่า เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความทุกข์ความ เดือดร้อน ร้อยแปดพันประการ แล้ววางเฉย สังขารเหล่านั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นว่า สังขารและอุเปกขาทั้ง ๒ นั้นก็เป็นสังขาร แล้ววางเฉย สังขารเหล่านั้นก็จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. จิตของปุถุชนเมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณ มีอาการเป็น ๒ อย่าง คือ
สงฺขารุเปกข์ อภินนฺทติ ย่อมยินดีเพลิดเพลินต่อสังขารุเปกขา
สงฺขารุเปกข์ วิปสฺสติ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๘. จิตของเสกขบุคคลนับตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีอาการ ๓ อย่างคือ
สงฺขารุเปกขํ อภินนฺทติ ย่อมยินดีเพลิดเพลินต่อสังขารุเปกขา
สงฺขารุเปกฺนํ วิปสฺสติ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
สงฺขารุเปกขา ปฏิสงฺขาย ผลสมาบัติ สมาปชฺชติ ย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาแล้วเข้าผลสมาบัติ
๙. จิตของท่านผู้ปราศจากราคะคือ พระอรหันต์เมื่อถึงสังขารุเปกขาแล้ว มีอาการ ๓ อย่างคือ
สงฺขารุเปกข์ วิปสฺสติ เห็นแจ้งสังขารุเปกขา
สังขารุเปกข์ ปฏิสังขาย ผลสมาปกติ สมาปชฺชติ พิจารณาสังขารุเปกขาแล้ว เข้าผลสมาบัติ
อณุเปกฺขิตวา สุญญตวิหาเรา วา อนิมิตเตน วา อุปปณิหิเตน วา วิหรติ ครั้นวางเฉยต่อสังขารนั้นแล้วย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือ สุญญตวิโมกข์บ้าง อนิมิตตวิโมกข์บ้าง อัปปณิหิตวิโมกข์บ้าง
๑๐. จิตของปุถุชนกับจิตของเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วเหมือนกันคือ มีลักษณะเหมือนกัน ๔ ประการ คือ
๑๐.๑ จิตของปุถุชน
ก. จิตต์ กิลลุสติ จิตของปุถุชน ย่อมเศร้าหมองเพราะยินดีต่อสังขารุเปกขา
ข. ภาวนาย ปริปนโถ โหติ เป็นอันตรายต่อภาวนา
ค. ปฏิเวธสฺส อนุตราโย โหติ เป็นอันตรายต่อปฏิเวธ คือเป็น สิ่งที่จะมาตัดรอนต่อการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔
ฆ. อายติปฏิสนธิยา ปจฺจโย โหติ เป็นปัจจัยแก่การปฏิสนธิ ในภพชาติต่อไปอีก
๑๐.๒ จิตของเสกขบุคคล
ก. จิตของเสกขบุคคลย่อมเศร้าหมอง เพราะยินดีต่อสังขารุเปกขา
ข. ภาวนาย ปริปนฺโถ โหติ เป็นอันตรายต่อภาวนา
ค. อุตตรปฏิเวธสฺส อนุตราโย โหติ เป็นอันตรายต่อการรู้แจ้ง แทงตลอดอริยสัจ ๔ เบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไป
ฆ. อายติปฏิสนธิยา ปจฺจโย โหติ เป็นปัจจัยแก่การถือปฏิสนธิในภพชาติต่อไปอีก
๑๑. จิตของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีสภาวะเหมือนกันตรงเห็นพระไตรลักษณ์ เพราะอรรถว่าเห็นพระไตรลักษณ์ เช่นเดียวกัน คือเห็นแจ้งสังขารุเปกขาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๑๒. จิตของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาแล้ว ต่างกันตรงที่เป็นกุศลและอัพยากฤตดังนี้
สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล
สังขารุเปกขาของเสกขบุคคลก็เป็นกุศลเช่นกัน
สังขารุเปกขาของอเสกขบุคคลเป็นอัพยากฤต
๑๓. สังขารุเปกขาของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล ต่างกันอย่างนี้คือ สําหรับปุถุชน สังขารุเปกขาปรากฏชัดดี คือรู้ได้ดีเฉพาะในเวลาเจริญวิปัสสนา ถ้าไม่ ได้เจริญก็ไม่ปรากฏสําหรับเสกขบุคคล ถึงสังขารุเปกขาก็ปรากฏชัดดีคือรู้ได้ดี ใน เวลาไม่เจริญวิปัสสนาก็เช่นกัน ส่วนอเสกขบุคคลนั้นปรากฏชัดดี คือรู้ได้ดีโดยส่วนเดียว เพราะท่านละความยินดียินร้ายได้หมดแล้ว
๑๔. ความแตกต่างกันของสังขารุเปกขาของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกข บุคคลยังมีอยู่อีก คือ ปุถุชนเจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารุเปกขาเพราะยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากยังทําวิปัสสนากรรมฐานไม่สําเร็จ แม้เสกขบุคคลก็ยังต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาสังขารุเปกขาต่อไปอยู่ เพราะยังไม่ถึงที่สุดคือยังทําวิปัสสนาไม่ สมบูรณ์เช่นกัน ส่วนอเสกขบุคคลนั้นพิจารณาสังขารุเปกขา เพราะถึงที่สุดแล้ว เนื่องจากท่านทําวิปัสสนาสําเร็จแล้วละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว กิจที่ควรทําไม่มีอีกอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
๑๕. ปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล พิจารณาสังขารุเปกขาต่างกันคือ ปุถุชนพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อละสังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต ปรามาส เพื่อให้ได้โสดาปัตติมรรค เสกขบุคคลพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อให้ได้ มรรคผลเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงอรหัตตมรรค อรหัตตผล เพราะละสังโยชน์ ๓ได้แล้ว
อเสกขบุคคลพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่ออยู่เป็นสุขในภพปัจจุบันทันตาเห็น เพราะท่านละกิเลสได้หมดทุกอย่างแล้ว
๑๖. สังขารุเปกขาญาณเกิดขึ้นด้วยอํานาจสมถะและวิปัสสนา
ก. สังขารุเปกขาญาณที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจของสมถะ ๘ คือ ปฐมชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย นีวรรณ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ ๕ เพื่อให้ได้ปฐมฌาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
ทุติยฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย วิตกกวิจาเร ปฏิสขา สนฺติฏฺฐินา ปัญญา สงฺขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อให้ได้ทุติยฌาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
ตติยฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย ปีที่ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สงฺขารุ- เปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อให้ได้ตติยฌานชื่อว่า สังขา รุเปกขาญาณ
จตุตถฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย สุขทุกฺเข ปฏิสขา สนฺติฏฺฐินา ปุญญา สงฺขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อให้ได้จตุตถฌาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย รูปสัญญ์ ปฏิฆสัญญ์ นานๆตสญฺญ์ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหา ทางแล้ววางเฉย รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อให้ได้อากาสานัญจายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
วิญญาณญจายตนสมาปกติ ปฏิลาภตฺถาย อากาสานัญจายตนสัญญ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย อากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้วิญญาณัญจายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อากิญจญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย วิญญาณญจายตนสญญ์ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย วิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้อากิญจัญญายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย อากิญจญญายตน สญญํ ปฏิสขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววาง เฉย อากิญจัญญายตสัญญา เพื่อให้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่า สังขารุ เปกขาญาณ
ข. สังขารุเปกขาญาณที่เกิดจากวิปัสสนา ๑๐ คือ
โสดาปัตติมคค์ ปฏิลาภตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ ปฏิสิขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จน
กระทั่งถึงอุปายาสะเพื่อให้ได้โสดาปัตติมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
โสดาปัตติผลสมาปตฺตตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ ปฏิเขา สนฺติฏฐนา ปญฺญา สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จน กระทั่งถึงอุปายาสะเพื่อให้ได้โสดาปัตติผลสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ สกทาคามิมคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความ เกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ เพื่อให้ได้สกทาคามิมรรคแล้ววาง เฉย ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
สกทาคามิผลสมานตาตุกาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ เพื่อให้ได้สกทาคามิผลสมาบัติแล้ว วางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อนาคามิมัคค ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อนาคามิมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อนาคามิผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อรหัตตมัคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด
ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อรหัตตมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อรหัตตผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อรหัตตผลสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
สุญญตวิหารสมเปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้สุญญตวิหารสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
อนิมิตตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อนิมิตตวิหารสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณโดยกุศลติกะ
สังขารุเปกขาญาณทั้งหมดมีเท่าไร จัดเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤตมีเท่าไร อะไรบ้าง ?
สังขารุเปกขาญาณทั้งหมดมี ๑๘ คือฝ่ายสมถะมี ๘ ฝ่ายวิปัสสนามี ๑๐ จัดเป็นกุศล ๑๕ จัดเป็นอัพยากฤต ๓ คืออรหัตตผล ๑ สุญญตวิหาร ๑ อนิมิตตวิหาร ๑ เหลืออีก ๑๕ จัดเป็นกุศล ส่วนอกุศลไม่มี
ความว่างเปล่า
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความว่างเปล่ามีเงื่อน ๒ คือ
๑. ก๋าหนดความว่างเปล่าจากตน
๒. กําหนดความว่างเปล่าจากตนและสิ่งของๆ ตนคือ ไม่เห็นมีอะไรเป็นของ ตนเลยทั้งรูปขันธ์ภายนอก รูปขันธ์ภายใน เห็นมีแต่ความว่างเปล่าดุจจอมปลวกร้าง และดุจบ้านร้าง ฉะนั้น
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความว่างเปล่ามีเงื่อน ๔ คือ
๑. กําหนดว่าเราไม่เห็นตนของตนในที่ไหนคือ หาตนไม่มี
๒. กําหนดว่าไม่เห็นตนว่าจะเกี่ยวข้องกับใครๆ
๓. กําหนดว่าไม่เห็นตนของผู้อื่นในที่ไหนคือ ไม่มีใครเลยมีแต่รูปกับนามเท่านั้น
๔. กําหนดว่าไม่เห็นผู้อื่นว่าจะเกี่ยวข้องกับตน
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความว่างเปล่ามีเงื่อน ๖ โดยแบ่งออก เป็น ๔ หมวด คือ
หมวดที ๑ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะทั้ง ๖ นี้เป็นของสูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจากความเที่ยง สูญจากความยั่งยืน สูญ จากความมั่นคง สูญจากความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
หมวดที่ ๒ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อายตนะทั้ง ๖ นี้ก็สูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจากความเที่ยง สูญ จากความยั่งยืน สูญจากความมั่นคง สูญจากความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
หมวดที ๓ วิญญาณ ๖ คือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณทั้ง ๖ นี้สูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจากความเที่ยง สูญจากความยั่งยืน สูญจากความมั่นคง สูญจากความไม่ เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
หมวดที่ ๔ สัมผัส ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส สัมผัสทั้ง ๖ นี้สูญจากตน สูญจากของๆ ตน สูญจาก ความเที่ยง สูญจากความยั่งยืน สูญจากความมั่นคง สูญจากความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา
ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานกําหนดความสูญมีเงื่อน ๘ คือ
กําหนดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ชรา มรณะ เหล่านี้ ไม่มีสาระ หาสาระมิได้ ปราศจากสาระโดยความสูญมีเงื่อน ๘ คือ โดยสาระมีนิจจ สาระ โดยสาระคือธุวสาระ สุขสาระ อัตตสาระ โดยความเป็นของเที่ยง โดยความ เป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง โดยความเป็นของไม่มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา ราวกับไม้อ้อราวกับต้นละหุ่ง ราวกับต้นมะเดื่อ ราวกับต้นสําลีขาว ราวกับ ต้นแคฝอย ราวกับฟองน้ํา ราวกับต่อมน้ํา ราวกับพยับแดด ราวกับต้นกล้วยฉะนั้น
ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน กําหนดความสูญ ความว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๐ คือ
๑. รูป ริตฺตโต ปสฺสติ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของนิดหน่อย
๒. ตุจนโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของว่างเปล่า
๓. สุญญโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของสูญเพราะไม่มีตน ไม่มีแก่นสาร
๔. อนตฺตโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา
๕. อนิสสริยโต พิจารณาเห็นรูปโดยความไม่มีอิสระ เพราะไม่มีความเป็นอิสระ และใครๆ ก็ไม่สามารถจะทําให้เป็นอิสระได้เลย
๖. อกามการิยโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่ให้ทําได้ตาม ความปรารถนา ไม่ให้ทําได้ตามความพอใจคือใครๆ จะปรารถนาทํารูปนามนั้นให้ เที่ยงให้สุข ให้สวยงามอยู่ตามชอบใจไม่ได้ อุปมาเหมือนกับบุคคลเอาฟองน้ํามาปั้น เป็นภาชนะไม่ได้ ฉะนั้น
๗. อนุภนียโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของอันใครๆ ไม่พึงได้ตาม ความปรารถนา เช่นปรารถนาว่า ขอให้สุขสบาย อย่าให้เจ็บให้ป่วยเลย รูปก็ไม่เป็น ไปตามคําขอ ไม่เป็นไปตามคําอ้อนวอน ไม่เป็นไปตามปรารถนาของใครๆ ทั้งสิ้น
๘. อวสวดตกโต พิจารณาเห็นรูปโดยความไม่เป็นไปในอํานาจของใครๆ ทั้งสิ้น
๙. ปรโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอื่นคือ ดํารงอยู่ไม่ได้
๑๐. วิวิตตโต พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของสงัดจากสัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา มีแต่ความว่างเปล่า ดุจบ้านร้าง ทั้งว่างทั้งเงียบ ทั้งสงัด ฉะนั้น
ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เป็นการพิจารณารูปขันธ์โดยความเป็นของว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๐ ส่วนการพิจารณา เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ โดยความ เป็นของว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๐ ก็ให้พิจารณาโดยทํานองเดียวกัน
ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณารูปขันธ์โดยความว่างเปล่า มีเงื่อน ๑๒ คือ
๑. รูป น สตฺโต พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่สัตว์
๒. น ชีโว พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ชีวะ
๓. น นโร พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่นระ
๔. น มาณรา พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่มาณพ
๕. น อิตถี พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่หญิง
๖. น ปุริโส พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ชาย
๗. น อ ตา พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ตน
๘. น อตฺตนิย พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่สิ่งที่นับว่าตน
๔. นาหั พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่เรา
๑๐. น มม พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ของๆ เรา
๑๑. น อญฺญสฺส พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ของคนอื่น
๑๒. น กสฺสจิ พิจารณาเห็นรูปว่า ไม่ใช่ของใครๆ
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญ โดยอาการอย่างดังนี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ สมดังที่ตรัสสอน พระโมฆราช (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ข้อ ๕๐๔) ว่า
สุญฺญโต โลก์ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต
อตฺตานุทิฏฐิ โอหงุจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา
เอว์ โลก์ อเวกฺขนฺต มจุจุราชา น ปสฺสติ ฯ
ดูก่อนโมฆราช เธอจงมีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็น ของสูญ จงถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความตามเห็นว่า เป็นตัวตนเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ จึงข้ามพ้นความตายได้ พระยามัจจุราชย่อมไม่ แลเห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกโดยอาการอย่างนี้
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญ โดยอาการต่างๆ ดังที่บรรยายมานี้ ใจก็วางเฉยในรูปนามเหล่านั้นได้จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
ผลของสังขารุเปกขาญาณ
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของสูญอยู่อย่างนี้ แล้วยกขึ้นสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กําหนดพิจารณาซ้ําแล้วซ้ําอีก ก็จะปรากฏดังนี้
๑. ละความกลัว ละความยินดีเสียได้ มีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม
๒. ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปนามว่าเป็นของเรา มีอุปมาเหมือนกันกับบุรุษที่ หย่าขาดจากภริยาแล้ว คือ มีบุรุษคนหนึ่ง มีภริยาเป็นที่รักใคร่พอใจมาก จนเขาไม่ สามารถจะยอมจากภริยาได้เลยแม้เพียงครู่เดียว เพราะเขารักมากที่สุด ถ้าเห็นภริยายืน นั่งพูด หัวเราะกับชายอื่น เขาจะโกรธหึงหวงมากและน้อยใจมาก เสียใจมากที่สุด ครั้นต่อมาเห็นโทษของภริยานั้นเกิดความเบื่อหน่าย ต้องการจะหนีไปให้พ้นจึงหย่า ขาดจากภริยานั้น ไม่ถือภริยานั้นว่าเป็นของตนจําเดิมแต่นั้นไป แม้ว่าเขาจะเห็นภริยา นั้นทําอะไรกับใครที่ไหนก็ตาม เขาจะไม่โกรธ ไม่หึงหวง ไม่น้อยใจ ไม่เสียใจ มีแต่ วางเฉย เป็นกลางอย่างเดียว ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้นต้องการจะพ้นจากรูป นามทั้งปวง จึงกําหนดสังขารด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ไม่เห็นสิ่งใดที่จะพึงถือเอา ว่าเป็นของเรา จึงได้ละความกลัว ละความยินดี มีใจวางเฉยอยู่ในรูปนามทั้งปวงฉะนั้น
๓. เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะรู้เห็นอยู่ อย่างนี้ จิตย่อมไม่หวนกลับ ไม่ วกไม่เวียน ไม่ซ่านไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ คง เหลืออยู่แต่ความวางเฉยในรูปนาม หรือเห็นรูปนามเป็นปฏิกูลสะอิดสะเอียน ขยะแขยง จึงถอยกลับหวนกลับจากภพชาติ เป็นต้น มีอุปมาเหมือนหยาดน้ําค้างบนใบบัว และขนปีกไก่กล่าวคือ
อันธรรมดาของหยาดน้ําค้างบนใบบัวที่อ่อนลงไปเอียงลงไป น้ําค้างก็มีแต่ จะไหลลงไปฝ่ายเดียว ไม่หวนกลับไม่วกไม่เวียน ไม่ไหลย้อนกลับมาติดอยู่บนใบบัว
นั้นอีก ฉันใด ใจของผู้ปฏิบัติเมื่อถึงญาณนี้ ก็ไม่หวนกลับ ไม่วกไม่เวียนมาในภพ ๓ กําเนิด ๔ เป็นต้นอีกฉันนั่น เหมือนกัน
ขนปีกไก่และเส้นเอ็นที่บุคคลเอาใส่เข้าไปในไฟย่อมหดม้วนกลับเข้ามา ไม่คลี่ไม่เหยียดออกไปฉันใด ใจของผู้ปฏิบัติเมื่อถึงญาณนี้แล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมถอยออกไปจากภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ เป็นต้น ไม่ยอมหวนกลับ ไม่ยอมย้อน กลับมาอีก มีแต่เบื่อหน่ายอยากพ้นแล้ววางเฉยอยู่ เพราะเห็นชัดแล้วว่าเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด ไม่น่ายินดีเพลิดเพลินฉันนั้น
๕. ปฏิสสติ มีสติตั้งมั่น องค์ธรรมได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เพราะ เมื่อสติมีกําลังแก่กล้าปรากฏแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลงก็ไม่มี อุปมาเหมือนกับไฟฟ้าที่มีแรงเทียนสูง ย่อมให้แสงสว่างมาก ดูอะไรๆ ก็เห็นได้ชัดเจน ไม่มีความ มีดฉันนั้น ดังนั้นใจจึงมีแต่ความวางเฉย
๕. วิรตตจิตตํ ใจไม่ยึดมั่นไม่ถือมั่น ไม่ผูกพันไม่เกาะเกี่ยว ไม่กําหนัด พอใจในรูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้นจึงปรากฏแต่ความวางเฉย
๖. นชโฌสติฏฐนํ ไม่รับบัญญัติไว้เป็นอารมณ์คือ ไม่รับว่าเบญจขันธ์ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เพราะมีสติปัญญาพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่า เบญจ ขันธ์ เป็นอสุภะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัญญาวิปัลลาสจึงหายไปไม่เข้าใจผิด และไม่ หลงติดอยู่ ใจจึงมีแต่ความวางเฉยในรูปนาม
๗. ทุกขอปจินํ ไม่สั่งสมทุกข์ไว้ มีแต่ความพยายามตัดรากของทุกข์ให้ หมดไปให้สลายไป ใจก็วางเฉยในรูปนาม
๘. นิพพานเมว ปกขนฺทติ เมื่อเห็นรูปนามว่าเป็นภัยเป็นทุกข์ เป็นโทษ เบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ใจเข้มแข็งแล้ววางเฉย จิตก็จะแล่นไปสู่สันติบท คือความสงบ ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็ย่อมกลับไปยึดรูปนามมาเป็นอารมณ์ซ้ําๆ ซากๆ อยู่อย่างนั้น อีก มีอุปมาเหมือนกับนกกาของพวกพ่อค้าชาวทะเล คือ
ในสมัยก่อนเมื่อมนุษย์ยังไม่มีเข็มทิศ พวกพ่อค้าชาวทะเล เวลาจะออกเรือ ย่อมจับเอานกกาไปด้วยเพื่อจะได้ปล่อยดูทิศ เมื่อใดเรือต้องลมแล่นไปผิดทาง มองไม่ เห็นฝั่ง เมื่อนั้นเขาย่อมปล่อยนกกาดูทิศ นกกาก็บินจากปลายเสากระโดงเรือสู่กลาง หาว แล้วบินไปตามทิศน้อยทิศใหญ่ ถ้าเห็นฝั่งก็บินบ่ายหน้าตรงไปยังทิศนั้นเลย ถ้า ยังไม่เห็นก็จะต้องบินย้อนกลับมาเกาะอยู่ที่ปลายเสากระโดงนั้นอีกบ่อยๆ ข้อนี้ฉันใด สังขารุเปกขาญาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเห็นสันติบทคือ พระนิพพานว่าสงบแล้ว ก็ สละรูปนามที่กําลังเกิดดับอยู่นั้นแล้วแล่นตรงไปสู่พระนิพพานเลยทีเดียว ถ้าไม่เห็นก็ ต้องย้อนกลับมามนสิการรูปนามเป็นอารมณ์ต่อไปอีก จะต้องมนสิการกลับไปกลับมา เป็นอนุโลมปฏิโลมอยู่อย่างนี้บ่อยๆ
๙. ติวิธานุปัสสนาวเสน ติฏฐิติ สังขารุเปกขาญาณนี้ยิ่งนานก็ยิ่งละเอียด สุขุม ประณีต ดุจบุคคลเอาตะแกรงร่อนแป้ง และดุจชีฝ่ายที่หีบแล้วด้วยใน ฉะนั้น ครั้น พิจารณารูปนามโดยประการต่างๆ อย่างนี้แล้ว ละความกลัว ละความยินดี มีใจวางเฉยในการพิจารณารูปนาม จิตย่อมตั้งมั่นอยู่ด้วยอํานาจของอนุปัสสนาทั้ง ๓ เมื่อตั้งอยู่ โดยอาการอย่างนี้ ย่อมถึงความเป็นวิโมกขมุข ๓ อย่าง และเป็นปัจจัยแก่การจําแนก พระอริยบุคคลออกเป็น ๗ จําพวก
อนุปัสสนา ๓
อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา ๑ ทุกขานุปัสสนา ๑ อนัตตานุปัสสนา ๑
อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามว่า ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ ดับไป เกิดที่ไหนก็ดับไปที่นั่น ใจจึงแล่นไปในธาตุที่ไม่มีนิมิต รูปนามก็ปรากฏว่า มี แต่ความเสื่อมไปสิ้นไป แล้วมีใจวางเฉย มีสติกําหนดรู้อยู่
ทุกขานุปัสสนา ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ใจก็เกิดความสังเวชสลดในรูปนามแล้วแล่นไปในธาตุซึ่งไม่มีที่ตั้ง รูปนามก็ปรากฏว่าเป็นภัย คือเป็นของน่ากลัวแล้วมีใจวางเฉย มีสติกําหนดรู้อยู่
อนัตตานุปัสสนา ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามว่า ไม่ใช่ตัวตนเป็นของ สูญ ว่างเปล่า ใจก็แล่นไปในธาตุว่าง รูปนามก็จะปรากฏโดยความเป็นของสูญฝ่าย เดียวแล้วมีใจวางเฉย มีสติกําหนดรู้อยู่
วิโมกขมุข ๑
วิโมกขมุข แปลว่าหนทางแห่งความหลุดพ้น โดยวิเศษจากกิเลสทั้งปวง โดยใจความก็ได้แก่อนุปัสสนาทั้ง ๓ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น เพราะเป็นหนทางนําออก ไปจากโลกนําไปเหนือโลกคือ โลกุตตระ ได้แก่หนทางไปสู่พระนิพพาน
วิโมกข์ มี ๓ คือ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมกข์ ๑
๑. ถ้าผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ชื่อว่า เป็น ผู้มากด้วยศรัทธา เพราะเบื้องแรกมีศรัทธาพอประมาณครั้นเข้ามาปฏิบัติ ได้เห็น อนิจจังประจักษ์ชัด ด้วยอํานาจวิปัสสนาญาณของตนเองที่ได้พิสูจน์ดูมาแล้วนั้น จึงมีศรัทธามากเลื่อมใสมาก สัทธินทรีย์มีกําลังในพระบรมศาสดาอย่างแก่กล้ามาก จึงมี ศรัทธามาก
๒. ถ้าผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ชื่อว่ามากด้วยปัสสัทธิ คือความสงบ เพราะพิจารณาเห็นเป็นทุกข์ ใจก็น้อมไปสู่พระนิพพาน อัน เป็นสุขที่สงบประณีต โดยพิจารณาเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์แท้ ถ้าตรงกันข้าม ไม่มีสังขารคงเป็นสุข เป็นนิพพาน ใจก็เบิกบานแจ่มใส เต็มไปด้วยปีติปราโมทย์ สมาธินทรีย์มีกําลังกล้าย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์
๓. ถ้าผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนัตตา ชื่อว่า เป็นผู้มากด้วยปัญญา มีปัญญาละเอียดสุขุมคัมภีรภาพมาก เป็นผู้ห่างไกลจากโมหะย่อม ได้สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ แยกเป็น อนิมิตต + วิโมกข์, อนิมิตต = ไม่มีเครื่องหมาย วิโมกข์ = พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย อนิมิตตวิโมกข์ องค์ธรรมได้แก่อริยมรรค ซึ่ง ทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วเป็นไปโดยอาการไม่มีนิมิตคือ ไม่มีนิจจนิมิต ไม่มีธุวนิมิต และไม่มีอัตตนิมิต
อัปปณิหิตวิโมกข์ แยกเป็น อัปปณิหิต + วิโมกข์, อัปปณิหิต = ไม่มีที่ตั้ง วิโมกข์ - พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย อัปปณิหิตวิโมกข์ องค์ธรรมได้แก่อริยมรรค ซึ่งท่าพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการไม่มีที่ตั้งแห่งกิเลสตัณหา ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
สุญญวิโมกข์ แยกเป็น สุญญต = วิโมกข์ สุญญต = ว่างเปล่า วิโมกข์ : พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย สุญญตวิโมกข์ องค์ธรรมได้แก่ อริยมรรค ซึ่งทําพระ นิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการว่างเปล่า คือ ว่างเปล่าจาก ราคะ โทสะ โมหะ
พระอริยบุคคล ๘
พระอริยสาวกทุกๆ รูป ต้องผ่านพระไตรลักษณ์และวิโมกข์ ๓ ด้วยกัน ทุกๆ รูป พระอริยบุคคล แปลว่า ท่านผู้ประเสริฐคือ มีความประพฤติทาง กาย วาจา ใจ ดีงาม ด้วยอํานาจแห่งศีล สมาธิ ปัญญา อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลแปลว่า ท่านผู้ ไกลจากข้าศึก คือ ไกลจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
พระอริยบุคคล กล่าวโดยผลแห่งการปฏิบัติมีอยู่ ๘ คือ
๑. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
๒. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
๓. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค
๔. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
๕. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
๖. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
๗. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
๘. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
ท่านที่จะได้เป็นพระอริยบุคคลเหล่านี้ต้องลงมือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านญาณต่างๆ ถึง ๑๖ ญาณ สําหรับโสดาปัตติมรรคอันเป็นมรรคที่ ๑ ส่วนมรรคที่ ๒, ๓, ๔, ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานผ่านญาณต่างๆ เพียง ๑๓ ญาณ คือตั้งแต่ พลวอุทยัพพยญาณ จนถึงปัจจเวกขณญาณและต้องผ่านอีก ๓ ครั้ง ก็จะทําที่สุดแห่ง ทุกข์ โดยชอบได้ โดยเสร็จกิจพรหมจรรย์แล้ว
ลําดับวิปัสสนาญาณ ๓ มี ๑๕
มุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ปฏิสังขาญาณ ๓ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ทั้ง ๓ ญาณ นี้โดยใจความเป็นอันเดียวกัน ดังที่ปรากฏอยู่ในปฏิสังภิทามรรค ถอดใจความได้ดังนี้
๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนามแล้ว อยากหลุดพ้นจากรูป จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูความเกิดดับของรูปนาม จัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยต่อความเกิดดับของรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามที่กําลังเกิดดับอยู่ แล้ว อยากหลุดพ้นจากรูปนาม จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามที่ กําลังเกิดดับอยู่นั้น จัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามที่กําลังเกิดดับอยู่นั้น จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นนิมิตคือ ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนเป็นต้น ของรูป นามทั้งปวง แล้วอยากหลุดพ้นจากรูปนามนั้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจ พิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็นปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นกรรมที่เป็นเหตุให้รูปนามเกิดอีกแล้วอยากหลุด พ้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามปฏิสนธิ คือเห็นการเกิดขึ้นต่อไปอีกของ รูปนาม แล้วอยากหลุดพ้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนาม นั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติของรูปนามแล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิต กัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยใน รูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาพิจารณาเห็นความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย แล้วอยาก หลุดพ้น จัดเป็นมุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขา ญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาพิจารณาเห็นอุปปัตติ คือความเป็นไปแห่งวิบากของรูปนาม ที่กําลังเกิดดับอยู่ แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดู รูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาพิจารณาเห็นชาติ คือความเกิดขึ้นของรูปนาม แล้วอยากหลุด พ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความชราของรูปนามนั้นแล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเจ็บไข้ของรูปนามแล้วอยากหลุดพ้น จัด เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความ วางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความตายของรูปนาม แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความ วางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเศร้าโศก คือความเร่าร้อนแห่งใจเพราะ ประสบกับความเสื่อมญาติเสื่อมทรัพย์ ถูกโรคภัยเบียดเบียนอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความ วางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นปริเทวะ คือความพิไรรําพันบ่นเพ้อไปต่างๆ นานา เพราะประสบกับความเสื่อม ๕ ประการ มีความเสื่อมญาติเป็นต้น แล้วอยาก หลุดพ้นจัดเป็น บุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขา ญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นอุปายาสะ คือความคับแค้นใจ เพราะได้ ประสบกับความทุกข์แห่งใจขนาดหนัก เนื่องจากญาติตายบ้าง ทรัพย์สมบัติวิบัติไปบ้าง ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนบ้าง เห็นผิดบ้าง ศีลวิบัติบ้าง องค์ธรรมได้แก่โทสะนั้นเอง แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการที่ได้พรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อ จัดเป็นลักษณะของญาณทั้ง ๓ แยกให้ละเอียดออกไปอีกเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและการปฏิบัติ
ธรรมดานักปฏิบัติธรรมทุกๆ ท่านทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ทั้งในอดีต อนาคตปัจจุบัน จะต้องมีสภาวะอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติเกิดขึ้นเหมือนๆ กัน ดุจน้ํา ทะเล อันธรรมดาน้ําทะเลจะอยู่ประเทศใดเมืองใดก็ต้องมีรสเค็มเหมือนกัน ฉะนั้นจะ เป็นชนชาติใด ภาษาใดก็ตาม ถ้าได้เข้ามาปฏิบัติธรรมคือ วิปัสสนากรรมฐานนี้แล้ว จะมีญาณต่างๆ เกิดขึ้นเหมือนๆ กันทั้งหมดนี้แหละ เป็นความอัศจรรย์ของพระพุทธศาสนา
พิจารณารูปนามเป็นทุกข์
ลักษณะอาการของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และสังขารุเปกขา ญาณ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีอยู่อีกมาก แต่จะได้อธิบายรวมกันเป็นข้อๆ ดัง ต่อไปนี้
๑. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดมาแล้วเป็นทุกข์ ความอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาพิจารณาเห็น สังขารนิมิตคือความเป็นอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ ของรูปนามทั้งหมดเป็นทุกข์ อยากหลุดพ้นตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูป นาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาพิจารณาเห็น กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ถือปฏิสนธิอีกเป็น ทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาพิจารณาเห็น การถือปฏิสนธิคือเกิดขึ้นมาอีก เป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติใดๆ ก็ตามมี ทุคติ สุคติ เป็นทุกข์ อยากหลุด พ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาพิจารณาเห็น ความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาพิจารณาเห็น ความอุบัติขึ้นของรูปนาม ได้แก่ความเป็นไป แห่งผลกรรมของรูปนามเป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาพิจารณาเห็น ชาติ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวาง เฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาพิจารณาเห็น ชรา เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. ปัญญาพิจารณาเห็น พยาธิ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. ปัญญาพิจารณาเห็น ความตาย เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ปัญญาพิจารณาเห็นความเศร้าโศก เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ปัญญาพิจารณาเห็น ความพิไรรําพันบ่นเพ้อร้องไห้ เป็นทุกข์อยาก หลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ปัญญาพิจารณาเห็น ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการดังพรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อ ก็จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณ และนอกจากนี้ยังมีอยู่อีกคือ
พิจารณารูปนามเป็นภัย
๑. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น เป็นภัยอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดมาแล้ว เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารนิมิต คือความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ยั่งยืน ไม่สวยงาม ไม่ใช่ตัวตน เป็นภัยอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาพิจารณาเห็นกรรมที่เป็นเหตุให้สรรพสัตว์ถือปฏิสนธิอีก เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาพิจารณาเห็นการถือปฏิสนธิเกิดขึ้นมาอีก เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติใดๆ ก็ตาม มี ทุคติ สุคติ เป็นภัย อยากหลุด พ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาพิจารณาเห็นความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นภัย อยาก หลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งวิบาก คือผลกรรมของรูปนาม เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความแก่เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจ ปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความตายเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเศร้าโศกเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความพิไรรําพันบ่นเพ้อร้องไห้เป็นภัย อยาก หลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความคับแค้นใจเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจ ปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการดังที่พรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อก็จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณนอกจากนี้ยังมีอยู่อีกคือ
พิจารณารูปนามแล้ววางเฉย
๑. ความเกิดขึ้น เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๒. ความเป็นไปของรูปนาม เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๓. นิมิตทั้ง ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็น สังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๔. อายุหนะ คือกรรมที่เป็นเหตุให้ปฏิสนธิอีกต่อไป เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้ จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๕. ปฏิสนธิ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๖. คติ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๗. นิพพัตติ ความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัด เป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๘. อุปปัตติ ความเป็นไปแห่งวิบาก คือผลกรรมของสรรพสัตว์ เป็น สังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขา ก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๙. ชาติ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ชรา เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๑. พยาธิ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. มรณะ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๓. ความเศร้าโศก เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อ สังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๔. ความพิไรรําพันบ่นเพ้อร้องไห้ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขาร เหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
๑๕. ความคับแค้นใจ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วาง เฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ
อาการดังบรรยายทั้ง ๑๕ ข้อ จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณ
ยอดของวิปัสสนา
ธรรมดาต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ต้องมียอดฉันใด วิปัสสนาก็ฉันนั้น ต้องมียอดเช่นกัน ยอดของวิปัสสนานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง
๑. สิกขาปัตตะ วิปัสสนาที่ถึงยอดถึงปลาย ถึงความสูงสุด ได้แก่สังขา รุเปกขาญาณที่ครบองค์ ๖ เมื่อครบ ๖ แล้ว ผู้นั้นก็มีหวังจะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน อย่างแน่นอน
๒. วุฏฐานดามณี วิปัสสนาที่ถึงการออกไป มีสืบต่อกันกับมรรค ดังมี หลักฐานรับรองไว้ว่า มคเคน สุทธิ ฆฏิวัติ ฯ แปลว่า สืบต่อกันกับมรรค
มรรค ชื่อว่า วุฏฐานะ เพราะออกจากวัตถุที่ยึดอันเป็นนิมิต ๒ ประการ
ก. นิมิตตภูโต อภินิวิฏฐวัตถุโต ๆ ออกจากนิมิต ออกจากวัตถุที่เป็นเหตุให้ ยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
ข. อรุณฤตปปวตฺตนโต ออกจากความเป็นไปแห่งมิจฉาทิฏฐิ ในภายใน ขันธสันดานของตน และออกจากกองกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
เพราะเหตุทั้ง ๒ ประการ วิปัสสนา จึงได้ชื่อว่า วุฏฐานคามินี ฯ
องค์ ๖ ประการของสังขารุเปกขาญาณ
๑. ภยญจ นนทิญา วิปปหาย (วิสุทธิมรรค) ไม่มีความกลัว ไม่มีความ ยินดียินร้าย กําหนดได้สม่ําเสมอเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรคความขัดข้อง กําหนดได้ ง่ายที่สุด
๒. เนว สุมโน โหติ น ทุมมโน อเปกขโก วิหรติ สโต สมฺปชาโน (วิภังคบาลี) ดีใจก็ไม่มี เสียใจก็ไม่มี มีแต่สติสัมปชัญญะ กําหนดเฉยอยู่
๓. สพฺพสูงขาเรส อุทาสิโน โหติ มชฺฌตฺโต (วิสุทธิมรรค) ผู้เป็นกลาง วางเฉยอยู่ในสังขารทั้งปวง ไม่ถือเอาว่าเป็นเราเป็นของเรา เปรียบดังบุรุษที่หย่าขาด จากภรรยา ฉะนั้น
๔. สนฺติฏฐนา ปญฺญา (ปฏิสัมภิทามรรค) ปล่อยวางแล้ววางเฉยได้ในที่สุด หรือสมาธิตั้งอยู่นาน กําหนดอยู่ได้นานๆ ไม่อยากลุกขึ้นเพราะใจสงบ ความฟุ้งซ่าน ไม่มีนิวรณธรรมก็ไม่รบกวน
๕. สรุปคเค ปิฎฐ์ วฏฐิยมาน วิย (วิสุทธิมรรค) วิปัสสนาญาณนั้น เหมือน แป้งในกระด้งที่ถูกขยี้อยู่ เหมือนฝ้ายที่ปล้อน (เมล็ด) แล้วถูกชีอยู่ กําหนดสังขาร ทั้งหลายโดยประการต่างๆ จนละความกลัวและความยินดีได้แล้ว มีความเป็นกลางใน การตรวจสอบสังขาร ตั้งอยู่ในอนุปัสสนา ๑
๖. ปฏิลียติ ปฏิบัติ ปฏิวฏฺฏติ น สมุปสาริยติ (วิสุทธิมรรค) จิตใจของ พระโยคีบุคคล ย่อมถอยย่อมหดย่อมกลับ ไม่เหยียดยืนไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ หมายถึง จิตใจแคบเข้ามาคิดฟุ้งซ่านออกไปข้างนอกน้อย ที่สุด จนแทบจะไม่มีในขณะที่กําหนดอยู่ แม้อารมณ์ภายในก็ถอยลงมา เหมือนกับ ยางที่ยืดออกไปแล้วกลับหดเข้ามาฉะนั้น
ผลของสังขารุเปกขาญาณ (อีกนัยหนึ่ง)
สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกขัง เป็นโทษ เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามเรียกว่า วิปัสสนาญาณที่ แก่กล้าถึงความเป็นยอดคือ สูงสุดเรียกว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา แปลว่าวิปัสสนาที่ ถึงการออกไปจากกิเลสและกองทุกข์ด้วยอํานาจแห่งมรรค ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว สรุปผลได้ ๔ ดังนี้
๑. ผู้ที่เห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในเบื้องต้นแต่เวลาถึงมรรค ก็เห็นอนิจจังชัด ผู้นั้นมากด้วยอธิโมกข์มีศรัทธามากได้สัทธินทรีย์ ย่อมหลุดพ้นคือ ถึงพระนิพพานด้วยอนิมิตวิโมกข์ เป็นสัทธานุสารีในขณะมรรคที่ ๑ คือโสดาปัตติ มรรคเป็นสัทธาวิมุตในฐานะ ๗ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค และอรหัตตผล
๒. ถ้าออกทางทุกข์คือ เวลาถึงมรรคเห็นทุกข์ ผู้นั้นมากด้วยปัสสัทธิ คือ ความสงบ ได้สมาธินทรีย์ย่อมหลุดพ้นด้วย อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นกายสักขีในที่ทุกแห่ง ๓. ถ้าผู้ใดเจริญสมถกรรมฐานจนได้อรูปฌานแล้ว เอาสมถะเป็นบาทของ วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล ผู้นั้นเป็นอุภโตภาควิมุตในผลอันเลิศ คือ อรหัตตผล
๔. ถ้าออกทางอนัตตาผู้นั้นมากด้วยเวทะคือ ความรู้ย่อมได้ปัญญินทรีย์ หลุด พ้นด้วยสุญญตวิโมกข์เป็นธัมมานุสารี ในขณะที่บรรลุโสดาปัตติมรรค เป็นทิฏฐิปัตตะ ในฐานะ ๖ คือ ในขณะโสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และอรหัตตมรรค เป็นปัญญาวิมุตในผลอันเลิศ คือ อรหัตตผล
เพื่อให้วุฏฐานคามินีวิปัสสนานี้แจ่มแจ้ง พร้อมกับญาณต้นๆ คือ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มณีจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณและญาณหลังๆ มี โคตรภูญาณเป็นต้น พึงทราบอุปมา ๖ ข้อพอเป็น ตัวอย่างดังต่อไปนี้
อุปมาสังขารุเปกขาญาณ ๖ ข้อ
๑. อุปมาด้วยค้างคาว
ยังมีค้างคาวตัวหนึ่งจับแอบอยู่ที่ต้นมะซางที่มีกิ่ง ๕ กิ่ง โดยตั้งใจว่าจะได้ดอก ผลในต้นไม้นั้นครั้นไปจับที่กิ่งที่ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ก็ไม่มีอะไร ไม่พบอะไร อีกเช่นกัน จึงได้ทอดอาลัยในต้นไม้นั้นว่า ต้นไม้นี้ไม่มีดอกไม่มีผลอะไรที่ควรถือเอา ได้เลย แล้วบินขึ้นไปเกาะที่กิ่งตรงยอดโผล่ศีรษะตรงระหว่างคาคบ แหงนดูข้างบน แล้วบินไปในอากาศ ไปแอบอยู่ที่ต้นมีผลอื่นๆ จึงเปรียบเทียบกับการปฏิบัติดังนี้
๑. ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา เปรียบเหมือนค้างคาว
๒. อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหมือนต้นมะซางมี ๕ กิ่ง
๓. การยึดมั่นขันธ์ ๕ เหมือนกับการไปแอบจับอยู่ที่กิ่งทั้ง ๕ ของค้างคาว
๔. ผู้ปฏิบัติพิจารณาขันธ์ที่ ๑ ไม่เห็นมีอะไรที่ควรยึดมั่นจึงพิจารณาขันธ์ ที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ก็ไม่พบอะไรอีก เปรียบเหมือนค้างคาวนั้นไปจับกิ่งที่ ๑ ไม่เห็น มีอะไรจึงบินไปจับกิ่งที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ก็ไม่เห็นมีอะไรอีก ฉะนั้น
๕. การที่ผู้ปฏิบัติเบื่อหน่าย เพราะเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเกิดญาณทั้ง ๓ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และสังขารุเปกขา ญาณ เปรียบเหมือนค้างคาวนั้นสละความอาลัยทอดอาลัยในต้นไม้นั้นว่า ต้นไม้นี้ไม่มีดอกผลอะไรเลย
๖. อนุโลมญาณของผู้ปฏิบัติ เปรียบเหมือนการบินขึ้นข้างบนเกาะที่กิ่ง ตรงยอดของค้างคาว
๗. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการชะโงกศีรษะแลดูเบื้องบนของค้างคาว
๘. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการบินไปในอากาศของค้างคาว
๙. ผลญาณ เปรียบเหมือนการบินไปจับอยู่ที่ต้นไม้มีผลต้นอื่นของค้างคาว
๑๐. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของค้างคาว
๒. อุปมาด้วยงูเห่า (กณฺหสปฺโป)
มีบุรุษคนหนึ่งอยากจะได้ปลามาเป็นอาหาร จึงเอาสุ่มๆ ลงไปในน้ําแล้วงม ตามไป เผอิญไปถูกงูเห่าเข้าจึงจับคองูภายในน้ําไว้ได้ นึกกระหยิ่มอยู่ในใจว่า เราจับ ปลาใหญ่ได้ ครั้นยกขึ้นมาดูจริงๆ จึงรู้ว่าเป็นงูเห่าเพราะเห็นดอกจัน เขาหวาดกลัว มากเห็นโทษในการจับ เพราะเกรงจะถูกงูกัดตายต้องการปล่อยให้พ้นไปจากตัวโดย เร็ว จึงหาอุบายปล่อย คือจับหางงูคลายขนดจากแขนตนแล้วยกขึ้นแกว่งไปวนมา อยู่ ๒ - ๓ ครั้ง ทําให้งูอิดโรยอ่อนกําลังก่อนแล้วจึงโยนไป ตัวเองก็รีบขึ้นมาสู่ขอบบึง ยืนดูทางมาโดยหมายใจว่า เราพ้นจากปากงูเห่าแล้ว
อุปมานี้ มีการเปรียบเทียบกับญาณดังนี้คือ
๑. เวลาผู้ปฏิบัติได้อัตภาพมาเป็นคนตั้งแต่ต้น รู้สึกว่ามีความยินดี เปรียบเหมือนกับตอนที่บุรุษนั้นจับงูเห่าได้เข้าใจว่าเป็นปลาแล้วดีใจมาก
๒. เวลาที่ผู้ปฏิบัติแยกรูปนามได้เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม เห็นอนิจจ ลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ เห็นความเกิดดับของรูปนาม เห็นเฉพาะความ ดับไปของรูปนาม รูปนามปรากฏเป็นของน่ากลัว ตอนนี้จัดเป็น นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจัยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ เปรียบเหมือน กับบุรุษนั้นดึงงูออกมาจากสุ่ม แลเห็นรู้ว่าเป็นงูแล้วกลัว
๓. เวลาที่ผู้ปฏิบัติตามพิจารณาเห็นโทษของรูปนาม ได้แก่ อาทีนวญาณ เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นตามเห็นโทษของงูว่าถ้าถูกงูตัวนั้นกัดก็จะต้องมีอันตรายแก่ชีวิต
๔. เวลาผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์โทษแล้วเบื่อหน่ายได้แก่ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้นเห็นทุกข์โทษ อันจะเกิดขึ้นเพราะถูกงูกัดแล้ว เบื่อหน่าย ไม่อยากให้งูอยู่ในมือของตนอีก
๕. เวลาผู้ปฏิบัติอยากพ้นไปจากรูปนามและสังสารวัฏ ได้แก่ มุญจิต กัมยตาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้น อยากจะปล่อยงูให้หลุดพ้นไปจากตัว
๖. เวลาผู้ปฏิบัติยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยอุบาย ๔๐ อย่าง ได้แก่ ปฏิสังขาญาณ เปรียบเหมือนบุรุษนั้นทําอุบายเพื่อปล่อยงู
๗. เวลาผู้ปฏิบัติพิจารณารูปนามยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์บ่อยๆ วนไปเวียนมาอยู่กับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทําให้กิเลสอ่อนกําลังลงจนถอนอนิจจสัญญา ความสําคัญผิดคิดว่า เที่ยง สุขสัญญา ความสําคัญผิดคิดว่าเป็นสุข สุภสัญญา ความ สําคัญผิดคิดว่าเป็นของสวยงาม อัตตสัญญา ความสําคัญผิดคิดว่าเป็นตัวตนเสียได้ มี ใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้น จับงู แกว่งทําให้หมดกําลังลง จนไม่สามารถจะเลี้ยวมากัดเขาได้ ใจก็วางเฉยอยู่
๘. เวลาผู้ปฏิบัติเห็นพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดเจน แจ่มแจ้ง เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษนั้นกําลังจะปล่อยงู และแน่ใจมั่นใจว่า ตนต้องพ้นอันตราย โดยอุบายอย่างนี้
๙. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการปล่อยงูให้พ้นจากมือของบุรุษนั้น แล้วรีบไปยืนอยู่ขอบบึง
๑๐. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการยืนอยู่บนขอบบึงของบุรุษนั้น
๑๑. ผลญาณ เปรียบเหมือนการไปยืนอยู่ในที่ไม่มีภัย ยืนอยู่ในที่ปลอดภัย ยืนอยู่ในที่ไม่มีอันตรายแล้ว
๑๒. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของบุรุษ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาทุกๆ ท่านทั้งที่ล่วงมาแล้ว กําลังเป็นไปอยู่ และจะมีมาใน อนาคต ก็ต้องผ่านลักษณะการของวิปัสสนาญาณต่างๆ ไปเหมือนกัน
๓. อุปมาด้วยเรือนไฟไหม้
เมื่อเจ้าของเรือนรับประทานอาหารอิ่มหนําสําราญแล้ว ก็พากันขึ้นสู่ที่นอน แล้วนอนหลับไปอย่างสบาย แต่เรือนถูกไฟไหม้ พอตื่นขึ้นมาเห็นไฟแล้วหวาดกลัว คิดหาทางออกว่า ถ้าออกไปไม่ให้ถูกไฟไหม้เป็นความดีของเราจึงพิจารณาตรวจตราดู เมื่อเห็นหนทางแล้วก็ออกไปยืนอยู่ในที่เกษมโดยเร็วพลัน ข้อนี้มีอุปมาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติธรรม คือ
๑. การยืดถือขันธ์ ๕ ว่าของเราของบุคคลผู้โง่เขลาเบาปัญญา เปรียบเหมือนการรับประทานอาหารแล้วขึ้นสู่ที่นอนแล้วนอนหลับไป
๒. การเจริญวิปัสสนา จนเห็นพระไตรลักษณ์ เห็นรูปนามปรากฏเป็น ของน่ากลัว มีโทษเบื่อหน่าย ได้แก่ ภัยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบ เหมือนเจ้าของเรือนตื่นขึ้นเห็นไฟแล้วกลัว
๓. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบ เหมือนการอยากพ้นจากไฟแล้วรีบหาทางออกไปจนเห็นลู่ทางวางใจได้ ว่าจะต้อง ปลอดภัยโดยอุบายนี้แน่ จึงเบาใจไม่ร้อนใจเหมือนก่อน
๔. อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนการแลเห็นทางและแน่ใจแล้วว่า ทางนี้ปลอดภัยแน่นอน
๕. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการออกจากเรือน
๖. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการวิ่งไปโดยเร็ว
๗. ผลญาณ เปรียบเหมือนการยืนอยู่ในที่ปลอดภัย
๘. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของตน ฉะนั้น
๔. อุปมาด้วยโค
โคของชาวนาคนหนึ่ง เมื่อเจ้าของนอนหลับไปในเวลากลางคืนทําลายคอกหนีไป พอตอนใกล้สว่างเจ้าของโคไปที่คอกและดูไม่เห็นรู้ว่าโคหนีไป ออกติดตาม รอยเท้าโค ไปพบโคของหลวง เข้าใจว่าเป็นโคของตัวจึงจับจูงมา พอเวลาสว่างจําได้ ว่าโคนี้มิใช่ของตัวเป็นโคของหลวงรู้สึกว่า คิดว่าถ้าพวกราชบุรุษยังไม่ได้จับเราว่าเป็น โจร ยังไม่ให้เราถึงความฉิบหายเพียงใด เราจักหนีไปเพียงนั้น จึงทิ้งโคแล้วหนีไปโดย เร็ว หยุดอยู่ในที่พ้นภัย ในข้อนั้นมีอุปมาเปรียบกับข้อปฏิบัติ ดังนี้
๑. การยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเรา ของปุถุชน เปรียบเหมือนกับ การจับโตของหลวงโดยเข้าใจผิดคิดว่าโคของตน
๒. การรู้ขันธ์ ๕ ว่า มีแต่มีรูปนามเกิดมาเพราะเหตุปัจจัย เป็นของไม่ เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีแต่ความเกิดดับและมีแต่ความดับไปฝ่ายเดียว ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ซึ่ง เปรียบเหมือนกับการจําได้ว่า เป็นโคของหลวง
๓. ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนเวลากลัวเห็น โทษ และเกิดความเบื่อของชายคนนั้น
๔. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือน ความอยากหนีของชายนั้นหาทางหนีแล้วเดินจากไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
๕. อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนการเตรียมเดินตรงไปตามทางของชาย นั้น เพราะรู้แน่แล้วว่าต้องไปทางนี้
๖. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการสละโค
๗. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการหนีไป
๘. ผลญาณ เปรียบเหมือนการหนีไปยืนอยู่ในที่ปลอดภัย
๙. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการดูทางมาของตน
๕. อุปมาด้วยยักษิณี
บุรุษคนหนึ่งได้อยู่ร่วมกันกับนางยักษิณี นางยักษิณีนั้นครั้นเวลากลางคืน พอรู้ว่าผัวหลับแล้วก็ไปสู่ป่าช้าผีดิบกินเนื้อมนุษย์อยู่ ชายผู้เป็นตัวตื่นขึ้นคิดว่านางนี้ไป ไหน จึงออกติดตามไป พบนางกําลังกินเนื้อมนุษย์อยู่รู้ว่าเป็นอมนุษย์จึงกลัว แล้วรีบ หนีไปโดยเร็ว หยุดยืนในที่เกษมปลอดภัย ในข้อนั้น มีการเปรียบเทียบกับญาณใน การปฏิบัติ ดังนี้
๑. การยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเรา เปรียบเหมือนบุรุษนั้นได้อยู่ร่วมกันกับนางยักษิณี
๒. การเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นของไม่เที่ยง ได้แก่นามรูปนามปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ เปรียบเหมือนการเห็นนางยักษิณีเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ในป่าช้า จึงรู้ว่านี้เป็นนางยักษิณี
๓. ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนเวลากลัวนาง ยักษิณี เห็นโทษและเบื่อนางยักษิณี
๔. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือน เวลาต้องการหนีหาทางหนีแล้วทําใจเฉยอยู่
๕. อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนการละนางยักษิณี
๖. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการหนีไปโดยเร็ว
๗. ผลญาณ เปรียบเหมือนการหยุดยืนในที่พ้นภัย
๘. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการยืนแลดูทางมาของตน
๖. อุปมาด้วยเด็ก
หญิงนางหนึ่งรักลูกมาก นางนั่งอยู่บนปราสาท ได้ยินเสียงเด็กร้องระหว่าง ถนน ระแวงว่าใครเบียดเบียนลูกของเรา จึงรีบลงมาโดยเร็วอุ้มเอาเด็กของคนอื่นไป โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลูกของตน พอนางรู้ว่านี้เป็นลูกของคนอื่น จึงมีความเกรงกลัวมาก เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้คิดว่า อย่าทันให้ใครๆ กล่าวว่าเราขโมยเด็ก แล้วรีบวางเด็กลง ในที่นั้น วิ่งขึ้นไปบนปราสาทโดยเร็วแล้วนั่งอยู่ ในข้อนั้น มีการเปรียบเทียบกับญาณ ในการปฏิบัติ ดังนี้
๑. การถือขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเรา เปรียบเหมือนการที่หญิงนั้นยึดถือบุตร คนอื่นว่าเป็นบุตรของตน
๒. การรู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ ได้แก่ นามรูปนามปริจเฉทญาณ ปัจจปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ เปรียบเหมือนการรู้ว่านี้ เป็นบุตรของคนอื่น
๓. ภัยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนความเกรงกลัว
๔. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือน การแลดูทางโน้นทางนี้
๕. อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนการเริ่มวางทารกไว้ในที่นั้น
๖. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนเวลาวางเด็กแล้วกําลังอยู่ระหว่างถนน
๗. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการขึ้นสู่ปราสาท
๘. ผลญาณ เปรียบเหมือนการขึ้นไปนั่งบนปราสาทแล้ว
๘. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของตน
เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้รู้เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอย่างนี้แล้ว จิตย่อม ถอยกลับจากภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ มีแต่ความวางเฉย มีแต่ความสะอิดสะเอียน มีแต่ความปฏิกูลเกิดขึ้นจิตจะไม่หวนกลับมาเพลิดเพลินยินดี ในภพกําเนิดเป็นต้นอีก มีแต่จะโน้มเอียงไปสู่พระนิพพานโดยส่วนเดียว ดุจหยาดน้ํา ตกไปจากใบบัว ฉะนั้น
ความตั้งใจปฏิบัติอย่างไม่ย่อท้อ
ด้วยคุณเพียงเท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไม่ถอยหลัง อย่างไม่ย่อท้อ สมดังคําที่ท่านกล่าวยืนยันรับรองไว้ว่า
ปฏิลีนจรลุส ภิกฺขุโน
ภชมานสฺส วิวิตตมาสน์
สามคฺคิยมาหุ ตสฺส ต๋
โย อตฺตานํ ภวเน น ทสฺสเย ฯ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวการไม่แสดงตนในภพ (อันต่างด้วยนรกเป็นต้น) ของ ภิกษุผู้ประพฤติไม่ท้อถอย ผู้เสพที่นั่งอันสงัดว่าเป็นการสมควร ดังนี้
สังขารุเปกขาญาณที่ควรทราบ
สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ววางเฉยอยู่ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติ สมาธิ ปัญญาแก่กล้าดี มี ลักษณะที่นักปฏิบัติธรรมจะพึงทราบอีกหลายประการ คือ
๑. ปฏิลีนจรภาว์ นิยเมตวา นิยมคือ กระทําความไม่ท้อถอยให้แน่นอน เป็นอันเดียวแก่ผู้ปฏิบัติ อธิบายว่า ทําใจของผู้นั้นให้เชื่อมั่น ให้ตั้งมั่น ให้ตรงดิ่งต่อจุดเดียว คือ นิพพาน
๒. ธมมวิเสส นิยเมตวา นิยมความวิเศษของธรรม ๕ ประการ
ก. โพชฌงควิเสสํ ความวิเศษของโพชฌงค์ ๘ ประการ มีสติสัมโพช ฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น หมายความว่าโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้ จะต้อง มาเป็นธรรมสมังคีให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
ข. มคฺคงควิเสสํ ความวิเศษขององค์มรรค หมายความว่าองค์มรรค ทั้ง ๘ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นต้น จะต้องมารวมกําลังเป็นมัคคสมังคีเพื่อเข้า มาทํางานประหาณกิเลส พร้อมกันตั้งแต่ญาณนี้เป็นต้นไป
ค. ฌานควิเสสํ ความวิเศษขององค์ฌาน คําว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน เพ่งรูปนามเป็นอารมณ์จนเห็นพระไตรลักษณ์ อย่างหนึ่ง อารัมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์สมถกรรมฐาน ๔๐ ฌาน ในที่นี้ท่านหมายเอาญาณ คือ ปัญญาซึ่งมีกําลังแก่กล้า จวนจะได้บรรลุมรรคอยู่แล้ว ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
ปาทกชุฌานนฺติ มอสส อาสนุนวุฏฐานคามินียา วิปสฺสนาย ปทฏฐานภูติ ญาณ ฯ (มหาฎีกาหน้า ๕๗๔)
ปาทุกชฺฌานํ แปลว่า ฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนา ได้แก่ ญาณ ซึ่งเป็น ปทัฏฐานของวิปัสสนาอันใกล้ต่อมรรคและจะให้ถึงการออกจากกิเลส
ฆ ปฏิทาวิเสส์ ความวิเศษแห่งข้อปฏิบัติได้แก่ ปฏิปทาทั้ง ๔ มี
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญญา ปฏิบัติลําบากได้ผลช้า
ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญญา ปฏิบัติลําบากได้ผลเร็ว
สุขาปฏิปทา ทนุธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกได้ผลช้า
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกได้ผลเร็ว
อธิบายว่า ปฏิบัติลําบากได้ผลช้า เพราะกิเลส ๑๐ รบกวนมากในเวลาปฏิบัติ และเวลาจะถึงมรรค สังขารุเปกขาก็ทําวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรค ให้เกิดช้าๆ ปฏิบัติลําบากได้ผลเร็ว เพราะกิเลส ๑๐ รบกวนมากในเวลาปฏิบัติแต่ สังขารุเปกขาญาณทําวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรค ให้เกิดขึ้นได้เร็ว ปฏิบัติ สะดวกได้ผลช้า เพราะกิเลส ๑๐ ไม่รบกวนแต่เวลามรรคจะเกิด เกิดได้ยาก สังขารุ เปกขาญาณทําวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรคให้เกิดช้าๆ ปฏิบัติสะดวก ได้ผลเร็ว เพราะผู้ปฏิบัติข่มกิเลส ๑๐ ได้ง่าย ไม่รบกวนในเวลาปฏิบัติและในเวลามรรค จะเกิดขึ้น สังขารุเปกขาญาณ ก็ทําความปรากฏแห่งมรรคให้เกิดขึ้นได้ง่าย
ความต่างกันแห่งปฏิปทา ๔ ของผู้ปฏิบัติ
๑. สําหรับภิกษุบางรูป ในมรรคทั้ง ๔ มีปฏิปทาเพียงอย่างเดียว
๒. สําหรับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสะดวกและรู้ได้ง่ายทั้ง ๔ มรรค
๓. สําหรับพระธรรมเสนาบดีคล้ายกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
๔. สําหรับพระมหาโมคคัลลานเถระ มรรคที่ ๑ โสดาปัตติมรรค ปฏิบัติ สะดวก รู้ได้ง่าย ส่วนมรรคที่เหลือ ๓ คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตต มรรค ปฏิบัติ ลําบากรู้ได้ยาก เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทนุธาภิญญา
ง. วิโมกวิเสสํ ความวิเศษแห่งวิโมกข์ คืออนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิ หิตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ แม้ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ คือลงมือเจริญวิปัสสนาแต่อย่าง เดียวมิได้เจริญสมถกรรมฐานมาก่อน เวลามรรคเกิดองค์ฌานก็เกิดขึ้นตามธรรมเนียม ของวิปัสสนา ดังมีหลักฐานรับรองไว้ในวิสุทธิมรรค (ภาค ๓ หน้า ๓๑๒ บรรทัดที่ ๓ - ๔) ว่า
วิปสฺสนานยาเมน หิ สุกขวิปสฺสกสฺส อุปปมนมคโคปี สมเปตติลาภิโน ฌาน ปาทก็ อก วา อุปฺปนฺนมคโค ปฐมฌาน ปาทก์ ก วา ปกิณณกสงฺขาร สมุม ตวา อุปปาทิตมคโคปี ปฐมฌานิกา ว โหนติ ฯ
จริงอยู่ ตามธรรมเนียมของวิปัสสนาย่อมเป็นดังนี้ มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ดี มรรคที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ได้ฌานสมาบัติ แต่ไม่ทําฌานให้เป็นบาท แห่งวิปัสสนาก็ดี มรรคที่ผู้ปฏิบัติทําปฐมฌานให้เป็นบาท พิจารณารูปนามเบ็ดเตล็ดคือ พิจารณารูปนามอื่นนอกจากองค์ฌานที่เป็นบาทก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมประกอบด้วย องค์ของปฐมฌานทั้งนั้น และรวมลงในมรรคทั้งหมด ดังมาในวิสุทธิมรรคว่า สพเพส สตฺต โพชฌงคานิ อฏฺฐมคคงคาน ปญฺจ ฌานคาน โหนติ ฯ
โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ องค์ฌาน ๕ ย่อมมีอยู่ในมรรคทั้งหมด
วิปัสสนาอันเป็นส่วนแห่งมรรคเบื้องต้นคือ เมื่อโยคาวจรเจริญไปจนถึง สังขารุเปกขาญาณแล้ว ย่อมประกอบด้วยโสมนัสสหรคตด้วยอุเบกขา ในเวลาจะถึงมรรค ออกจากกิเลสก็ย่อมสหรคตด้วยโสมนัส ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
เตสมฺปิ หิ ปุพพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหคตาปี อุเปกขาสหคตาปี หุตวาวุฏฺฐานกาเล สงฺขารุเปกขาภาวํ ปตฺวา โสมนสฺสสหกตา โหติ ฯ
จริงอยู่ วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้น ประกอบด้วย โสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ครั้นถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วในเวลาจะ ออกจากกิเลส จะออกจากโลกียะ จะออกจากโคตรปุถุชน ย่อมสหรคตคือประกอบไป ด้วยโสมนัส
ในข้อนั้นมียกเว้นอย่างนี้คือ ถ้าผู้ปฏิบัติทําปัญจมฌานให้เป็นบาทแล้ว สหรคตด้วยอุเบกขาอย่างเดียวเท่านั้น ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
เตสมปี หิ ปุพพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหคตาปี อุเปกขาสหคตา โหติ วุฎฐานคามินี โสมนสฺสสหกตา ว ปญฺจมชุฌานํ ปาทก์ กตวา นิพฺพฤติตมคเค ฯลฯ
อิมสฺมี หิ นาย ปุพพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหกตา วา อุเปกขาสหคตา วา โหติ วุฎฐานคามินี อุเปกขาสหคตา ว ฯ
จริงอยู่วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้นประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้างที่เป็นวุฏฐานคามินี ประกอบด้วยโสมนัสเท่านั้น ส่วน ในมรรคที่เกิดขึ้นโดยทําปัญจมฌานให้เป็นบาท ฯลฯ แต่ในนัยนี้ วิปัสสนาอันเป็นส่วน เบื้องต้น (แห่งมรรค) ประกอบด้วยโสมนัสหรือประกอบด้วยอุเบกขาก็ตาม ที่เป็น วุฏฐานคามินี ต้องประกอบด้วยอุเบกขาเท่านั้น
เหตุที่ชื่อว่ามรรค
เมื่อผู้ปฏิบัติถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วก็จะต้องถึงสัจจานุโลมิกญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณต่อไป มรรคนั้นชื่อว่ามรรคเพราะเหตุ ๕ อย่าง
๑. สรเสน เพราะกิจของตนได้แก่ ความเป็นไปพิเศษของตน
๒. ปจจนเกน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อข้าศึก
๓. สคุเณน เพราะคุณของตน
๔. อารมมเณน เพราะอารมณ์
๕. อาคมเนน เพราะอาคม (การมา)
อธิบายว่า ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมมีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นมาจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจังแล้วออกจากกิเลสถึงมรรค ชื่อว่าหลุดพ้นด้วย อนิมิตตวิโมกข์ ถ้าพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์แล้วออกจากกิเลส ชื่อว่าหลุดพ้นด้วย อัปปณิหิตวิโมกข์ ถ้าพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนัตตาแล้วออกจากกิเลส ชื่อว่าหลุดพ้น ด้วยสุญญตวิโมกข์ อย่างนี้ได้ชื่อว่ามรรคเพราะกิจของตนเพราะความเป็นไปวิเศษ
ของตน
วิมุตติ - ปหาน
วิมุตติ กับ ปหาน ต่างกันแต่พยัญชนะ ส่วนความหมายเหมือนกัน โปรดเทียบเคียงดังนี้
วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น มีอยู่ ๕ อย่าง
๑. ตทังควิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว ได้แก่ ศีล
๒. วิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่มไว้ ได้แก่ สมาธิ
๓. สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นได้เด็ดขาด ได้แก่ มรรค
๔. ปฏิปัสสัมภนวิมุตติ หลุดพ้นโดยความสงบ ได้แก่ ผล
๕. นิสสรณวิมุตติ หลุดพ้นออกไป ได้แก่ พระนิพพาน
ปหาน คือ การละ มีอยู่ ๕ อย่าง
๑. ตทังคปหาน ละชั่วคราว ได้แก่ ศีล
๒. วิกขัมภนป่หาน ละด้วยการข่มไว้ ได้แก่ สมาธิ (ฌาน)
๓. สมุจเฉทปหาน ละโดยเด็ดขาด ได้แก่ มรรค (อริยมรรค)
๔. ปฏิปัสสัมภนปหาน ละได้โดยความสงบ ได้แก่ ผล
๕. นิสสรณปหาน ละโดยการออกไปได้แก่ นิพพาน
เมื่อเทียบเคียงแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า วิมุตติ กับ ปหาน นั้นต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น ส่วนความหมายนั้นเหมือนกัน
จบ สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. อนุโลมญาณ
อนุโลมญาณ ญาณที่อนุโลมไปตามลําดับเพื่อสําเร็จกิจแห่งวิปัสสนาญาณ ๗ โดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ หรืออนุโลมไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการในเบื้องสูง
อนุโลมญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ แยกบทเป็น สัจจะ + อนุโลมิก + ญาณ มีความหมายตามรูปศัพท์ ดังนี้
สัจจะ แปลว่า ความจริง ความจริงแห่งอริยเจ้า ได้แก่ อริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ
ทุกขสัจ ของจริงคือ ทุกข์ ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘
สมุทยสัจ ของจริงคือ สมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ โลภเจตสิก
นิโรธสัจ ของจริงคือ นิโรธ ดับทุกข์ได้แก่ พระนิพพาน
มรรคสัจ ของจริงคือ มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค มีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้นย่นลงมาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ นี้มีปรมัตถ์คือ นิพพานเป็นอารมณ์
อนุโลมิกะ แปลว่า เป็นไปตามลําดับ ๒ ประการคือ อนุโลมตามญาณต่ํา ไปหาญาณสูงอย่างหนึ่ง อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อย่างหนึ่ง
๑. อนุโลมตามญาณต่างๆ เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ เป็นต้น จนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณ รวม ๘ ญาณด้วยกัน อย่างนี้เรียกว่า อนุโลม ตามญาณต่ํามาหาญาณสูง
๒. อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มี สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ดังที่กล่าวแล้ว มีหลักฐานรับรองไว้ คือ ปุริมาน อฏฐนฺนํ วิปัสสนาญาณาน ตถกิจจตาย จ อนุโลเมติ ฯ อนุโลมแก่วิปัสสนาญาณเบื้องต้น ๘ คือ
อุทยัพพยญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม
ภังคญาณ พิจารณาเห็นเพราะความดับไปของรูปนามอย่างเดียว
ภยญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว
อาทีนวญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่ามีโทษมาก
นิพพิทาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามแล้วเบื่อหน่าย
มุญจิตุกัมยตาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษ เบื่อหน่ายแล้วอยากหลุดพ้น
ปฏิสังขาญาณ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจ ปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง
สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์แล้วมีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม อย่างนี้เรียกว่า อนุโลมตามญาณต้น เพราะมีกิจพิจารณาพระไตรลักษณ์ เป็นอารมณ์ เหมือนกันกับญาณ ๘ ญาณข้างต้น
อุปริ จ สตฺตตีสาย โพธิปักขิยธมฺมานํ ฯ อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ในเบื้องสูง
เมื่ออนุโลมตามญาณต่ําได้กําลังพอคือ อินทรีย์ ๕ แก่กล้าแล้วก็เข้าเขต อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
ว่าด้วยอุปมาอนุโลมญาณ ๓
อนุโลมญาณ คือพิจารณารูปนามเป็นไปด้วยอํานาจอนิจจลักษณะ มีอุปมา ดังนี้ คือ เช่น พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงธรรม ประทับนั่งในที่วินิจฉัย ทรงสดับการวินิจฉัย ของมหาอํามาตย์ผู้พิพากษา ๘ นายในศาล พระองค์ไม่มีความลําเอียงเลย ทรงตั้งพระ ทัยเป็นกลาง ทรงอนุโมทนาว่า จงตัดสินอย่างนี้แหละ ทรงอนุโลมต่อการวินิจฉัยของ มหาอํามาตย์เหล่านั้นเพราะตัดสินถูกต้องตามทํานองคลองธรรมดีแล้ว และทรงอนุโลม ต่อราชธรรมดั้งเดิมของพระองค์คือ ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ไม่มีโกรธ ไม่มี เบียดเบียน มีขันติ เป็นต้น ข้อนี้ฉันใด อนุโลมญาณก็ฉันนั้น
๑. ญาณทั้ง ๘ เปรียบเหมือนมหาอํามาตย์ ๘ คน
๒. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เปรียบเหมือนทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ โพธิ ปักขิยธรรม ๓๗ เป็นฝ่ายพุทธจักร ส่วนทศพิธราชธรรม ๑๐ เป็นของฝ่ายอาณาจักร
๓. พระราชาตรัสว่า จงตัดสินอย่างนี้แหละชื่อว่าทรงอนุโลมตามผู้พิพากษา เปรียบเหมือนอนุโลมญาณ ก็ต้องพิจารณารูปนามเหมือนกับญาณทั้ง ๘ ฉะนั้น
เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมคือคล้อยตามมัคคสัจ อนุโลมญาณ ว่าโดยอารมณ์มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์เท่านั้น
กิจของอนุโลมญาณ
อนุโลมญาณ ว่าโดยกิจมี ๒ คือ
๑. ลักขณิตตยสัมมสนกิจ อนุโลมญาณมีหน้าที่พิจารณาลักษณะทั้ง ๓ คือ ลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
๒. สัมโมสาทิปฏิปักขวิธมนกิจ อนุโลมญาณมีหน้าที่กําจัดปฏิปักษ์คือ ข้าศึกทั้งหลายมี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น, กิเลสตมวิโนทนกิจ มีหน้าที่กําจัด ความมืด คือกิเลสนั้นเองเพราะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มาประชุมพร้อมกัน เพื่อทํางานละกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน
ผลของอนุโลมญาณ
อนุโลม สัจจปฏิจฉาทก์ กิเลสตม์ วิโนเหตุ สกโกติ อนุโลมญาณ ย่อม สามารถก๋าจัดความมืด คือ กิเลสอันปกปิดอริยสัจ ๔ เสียได้
ผลของญาณทั้ง ๙
อิมานิ นว ญาณานิ ญาณทัสสนวิสุทธิยา ปฏิปทาภาวโต ติลักขณชาน นตฺเถน ปจฺจกฺขโต ทสฺสนฺตฺเถน ปฏิปักขิโต วิสุทธตฺตา จ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ นาม ฯ (วิภาววินฎีกา)
ญาณทั้ง ๙ คือ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะเหตุ ๖ ประการ
๑. เพราะเป็นข้อปฏิบัติเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิคือ มรรค
๒. เพราะรู้พระไตรลักษณ์
๓. เพราะปรากฏชัด
๔. เพราะเป็นเครื่องเห็นพระไตรลักษณ์และอริยสัจ ๔
๕. เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่ผิด
๖. เพราะบริสุทธิวิเศษ
ตัวอย่างคือ พระมหาสิวเถรเจ้า เล่าไว้ว่า แรกเริ่มเดิมทีพระเถระนั้นได้ ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาดี ได้เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรมถึง ๑๘ แห่งในวัน หนึ่งๆ จะหาเวลาว่างมิได้เลย เพราะท่านเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรดี ทั้งเป็น ผู้ปราดเปรื่องในพระไตรปิฎกมีศิษย์เป็นจํานวนมาก ศิษย์คนหนึ่งได้เจริญวิปัสสนา กรรมฐานจนได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้คํานึงถึงอาจารย์ของตน ทราบชัดด้วยปัญญา ว่ายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จึงมุ่งหน้าไปหาอาจารย์ เพื่อจะได้แสดงธรรมวิเศษให้แก่ อาจารย์ฟัง เมื่อไปถึงที่อยู่แล้วก็ได้กล่าวทักทายปราศัยกันตามฉันศิษย์กับอาจารย์แล้วบอกความประสงค์ของตนให้แก่อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็ตอบว่า ไม่มีเวลาว่างพอ แม้ ขณะนี้ก็จะไปสอนธรรมในสถานที่ต่างๆ หลายแห่งกลับมาก็มืดค่ําแล้ว ถึงศิษย์จะ อ้อนวอนอย่างไรๆ ก็ไม่สําเร็จ อาจารย์ก็ยืนยันว่าไม่มีเวลาอยู่อย่างนั้นแหละ เมื่อศิษย์ เห็นว่าอาจารย์จะไม่ได้ปฏิบัติธรรมตามที่ตนจะแนะนําถวาย จึงเหาะไปต่อหน้าอาจารย์ เมื่ออาจารย์ได้เห็นศิษย์ของตนเหาะไปต่อหน้าเช่นนั้น ได้สติรู้สึกตนขึ้นมาว่าการที่ ศิษย์มาหาครั้งนี้ก็เพื่อจะแนะนําให้เราได้เข้าถึงธรรมวิเศษ โดยปฏิเวธญาณอย่างแท้จริง แต่เราก็กลับมีความประมาทเสีย และเราเองก็ไม่ได้มีธรรมวิเศษเหมือนเขาเลย เมื่อมีสติระลึกได้เช่นนี้ จึงตั้งสัจจาธิษฐานขึ้นว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะต้องเจริญ วิปัสสนาตั้งหน้าปฏิบัติอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งธรรมวิเศษนั้น ตราบใดเรายังไม่ได้ ธรรมวิเศษนั้น ตราบนั้นเราจะไม่ยอมละทิ้งความเพียรเป็นอันขาด จะยอมทุ่มเทกําลัง กายกําลังใจทุกอย่าง เพื่อแลกเอาธรรมวิเศษนั้นให้ได้
ครั้นท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐานอย่างนี้แล้ว ก็เริ่มลงมือปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ปฏิบัติไปวันหนึ่งก็แล้ว สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว สามเดือนก็แล้ว สามปีที่แล้ว เจ็ดปี สิบปี สิบห้าปี ยี่สิบปีที่แล้ว ยังไม่ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เลย ถึงอย่างนั้นท่านก็ ไม่เคยละทิ้งความเพียรยิ่งพยายามทําอย่างสุดความสามารถ ผลที่สุดเมื่อถึง ๓๐ ปี ท่านก็ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์สมความปรารถนา
โลกมนุษย์เต็มไปด้วยภัยนานาประการ เช่น ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย อัตตานุวาทภัย ทัณฑภัย ทุคติภัย อัคคีภัย อุทกภัย ทุพภิกขภัย โจรภัย อูมิภัย กุมภีลภัย อาวาฎภัย สุสุทาภัย ภัยเหล่านี้ย่อมนํามาแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อนร้อยแปดพัน ประการ ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารจงรีบพยายามต่อไป และองค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าก็ได้ตรัสเตือนไว้ว่า - อุฏฐาก นิสีทา โก อตฺโถ สุปิเตน โว ๆ
ลุกขึ้นเถิดท่านทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลายนั่งเถิด ท่านทั้งหลายจะมัว หลับไหลเอาประโยชน์อะไร (ในเมื่อชาวโลกถูกภัยต่างๆ คุกคามอยู่อย่างนี้ เชิญท่าน ทั้งหลายศึกษาเพื่อสันติเถิด) นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ยังได้กล่าวเตือนและ ชักชวนไว้อีก ว่า
อิติเนเกหิ นาเมหิ กิตติกา ยา มเหสีนา
วุฏฺฐานคามินี สนฺตา ปริสุทฺธา วิปสฺสนา
วุฏฺฐาตุกาโม สํสาร- ทุกฺขปงกา มหพภยา
กเรยย สตต์ ตตฺถ โยคี ปณฺฑิตชาติโก ฯ
วุฏฐานคามินีวิปัสสนาใด สงบ บริสุทธิ์ อันพระมหาฤๅษีตรัส ไว้ โดยชื่อหลายอย่าง ดังกล่าวมานี้ บุคคลผู้มีชาติบัณฑิต ผู้ปรารถนา จะออกจากเชือกตม คือสั่งสารทุกข์มีภัยใหญ่ จึงทําความเพียรเนืองๆ ในวุฏฐานคามินีวิปัสสนานั้นแล
จบ อนุโลมญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ
โคตรภูญาณ ปัญญาที่ทําลายโคตรของปุถุชนแล้วเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้า ปุถุชน แปลว่า ชนผู้หนา มีความหมาย ๙ อย่าง
๑. ผู้มีกิเลสหนาด้วยประการต่างๆ ได้แก่มี สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต ปรามาส เป็นต้น
๒. ผู้หนาด้วยคติทั้ง ๕ ผู้ไม่ออกจากคติทั้ง ๕ อันหนา ได้แก่ นิรยุคติ ติรัจฉานคติ ปิตติวิสัยคติ มนุสสุคติ เทวคติ
๓. ผู้สร้างสังขารอันหนาทั้ง ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร
๔. ผู้ถูกโอฆะอันหนาทั้ง ๔ พัดไปคือ ถูกทิฏโฐฆะ กาโมฆะ ภโวซะ อวิชโชฆะ พัดไป
๕. ผู้เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนอันหนา มีประการต่างๆ มีความเร่าร้อน เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
๖. ผู้กําหนด ชอบใจ ติดใจ ข้อง จม หลง พัวพันอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ อย่างแน่นหนาคือ พอใจอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
๗. ผู้ถูกนิวรณ์ ๕ อันหนาครอบงําท่วมทับหุ้มห่อปกปิดไว้ให้มิด ถูกกาม ฉันทะ พอใจในกามคุณ ๕ ปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกพยาบาทอาฆาตจองเวรกันและกัน ปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกถีนมิทธะ ความท้อใจอ่อนใจ ท้อถอยหดหู ง่วงเหงาหาวนอน ปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรําคาญปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูก วิจิกิจฉาความสงสัยลังเลใจในพระรัตนตรัย บุญ บาป เป็นต้นปกปิดไว้อย่างหนึ่ง
๘. ผู้หยั่งลงสู่ธรรมอันต่ําสู่มรรยาทอันต่ํา ผู้หันหลังให้อารยธรรม อารยธรรมนั้นมี ๖ อย่างคือ ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่บุญคุณท่าน มีความบริสุทธิ์ เป็นสัมมาทิฏฐิ และมีปัญญา
๙. ผู้ปราศจากสารธรรมทั้ง ๕ มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ทั้ง ๙ ข้อ เป็นความหมายของ ปุถุชน (ปฏิ, อรรถ, ๓๑)
ปุถุชนมี ๒ พวก
ปุถุชน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจําแนกได้เป็น ๒ พวก คือ อันธปุถุชน และกัลยาณปุถุชน
อันธปุถุชน คือ ชนผู้หนา จนได้นามว่า คนบอด หมายถึง ทั้งบอด ทั้งหนา ท่านแก้ไว้ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ได้แก่ บุคคลที่ไม่ได้เรียน ไม่ได้สอบถาม ไม่ ได้ฟัง ไม่ได้จํา ไม่ได้พิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เป็นต้น
กัลยาณปุถุชน คือ คนมีกิเลสหนา แต่ได้นามว่า เป็นคนดีเพราะได้เรียนรู้ ได้สอบถาม ได้ฟัง จําได้ และได้พิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ ได้ตั้งตนไว้ในศีล ๕ และ กัลยาณธรรม ๕ มี เมตตา จาคะ สันโดษ สัจจะ สติ
ปัญญาที่ทําลายโคตรของปุถุชนทั้ง ๒ ประเภทหมุนออกไปจากสังขารนิมิต ภายนอกชื่อว่า โคตรภูญาณ
สังขารนิมิต
สังขารนิมิต เครื่องหมายของรูปนามได้แก่ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ
ภายนอก ได้แก่ นอกจากกองแห่ง อกุศล ที่เป็นไปในสันดานของตน หมายถึงเมื่อการปฏิบัติได้ดําเนินมาถึงโคตรภูญาณแล้วอกุศลไม่เกิดขึ้นได้เลยในขณะนั้น
สังขาร โดยใจความก็ได้แก่ รูปนามคือ ร่างกายของหญิง ของชายในโลกนี้ ท่านเรียกว่า เป็นนิมิต เพราะปรากฏว่าเป็นที่รักใคร่ชอบใจแก่ชาวโลกเช่น เห็นรูปดี รูปสวย รูปงาม ย่อมพากันชอบใจ ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นนิมิตคือ เป็นเครื่องหมายของกิเลส
โคตรภู นัยที่ ๑
โคตรภู ยังมีเครื่องหมายแตกต่างออกไปอีกหลายข้อหลายนัย ดังวิเคราะห์ ศัพท์ที่ท่านจํากัดความไว้ต่อไปนี้
๑. อุปปาท์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความเกิดของรูปนามใน ภพนี้ เพราะกรรมในภพก่อนเป็นปัจจัย ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อปฏิบัติถึงโคตร ภูญาณแล้วรูปนามก็ดับไป
๒. ปวตฺติ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความเป็นไปไม่ขาดสาย ของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้ว เพราะกรรมก่อนเป็นปัจจัยนั่นแหละชื่อว่า โคตรภู
๓. นิมิตต์ อภิภัยที่ติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําสังขารนิมิตชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ครอบงําธุวนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่ารูปนามเป็นของเที่ยง ยั่งยืน ครอบงําสุขนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่ารูปนามเป็นสุข อัตตนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่า รูปนาม เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๔. อายุหน์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงํากรรมที่เป็นเหตุให้ถือ ปฏิสนธิในภพต่างๆ ไปอีกชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อปฏิบัติถึงญาณนี้แล้ว กรรมต่างๆ ที่จะนําบุคคลนั้นไปให้ถือปฏิสนธิในภพอื่นอีกคงเหลือเพียง ๗ ชาติ เป็นอย่างมาก
๕. ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําปฏิสนธิชื่อว่า โคตรภู
๖. คดี อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําคติทั้ง ๕ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่าคติที่จะต้องไปเกิดอีกในเมื่อตายไปแล้วไม่มี ถ้าหากยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ เป็นพระอรหันต์ก็มีแต่คติที่ดีๆ เช่น เทวคติ ไม่ไปเกิดในคติอันชั่ว มีนิรยคติ เป็นต้น
๗. นิพพฤติ อภิกขุยตีติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําความบังเกิดขึ้นแห่ง ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบันในขณะนั้นดับไม่ เกิด และขันธ์ในอนาคตก็ลดน้อยถอยลงไป จะเหลือเพียง ๑ ถึง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
๘. อุปปัตติ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําอุปบัติคือความเกิด เป็นไปของวิบากชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ถ้าท่านผู้ใดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมา จนถึงโคตรภูญาณนี้แล้ว ท่านผู้นั้นจะพ้นจากผลกรรมต่างๆ ตามสมควร เพราะชาติมี ความเกิด ลดน้อยถอยลงมาจะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
๙. ชาติ อภิภัยที่ติ โคตรภู ฯ ปัญญาครอบงําชาติชื่อว่า โคตรภู มีชาติ คือ ความเกิด แบ่งออกเป็น ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต โคตรภูครอบงําชาติคือ ความเกิดขึ้นของรูปนามในขณะปัจจุบัน เช่น เมื่อเวลาโคตรภูญาณเกิดขึ้นนั้น รูปนามดับไปหมดเพราะยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๐. ชร์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําชราชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ขณะถึงโคตรภูญาณ รูปนามที่กําลังแก่กําลังเสื่อมอยู่ดับไป เพราะมี พระนิพพาน เป็นอารมณ์
๑๑. พยาธิ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําพยาธิชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อถึงโคตรภูแล้ว พยาธิ ความเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ไม่มีเลย สงบไปดับไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๒. มรณ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความตายชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า มรณะ คือ ความตาย ความตายมีอยู่ ๓ อย่าง
ก. ขณิกมรณะ ความตายชั่วขณะจิตดวงหนึ่งๆ
ข. สมมติมรณะ ความตายโดยสมมติเช่น คนตาย สัตว์ตาย
ค. สมุจเฉทมรณะ ความตายโดยตัดขาดจากวัฏฏะ ได้แก่ การตาย ของท่านผู้สิ้นอาสวกิเลสแล้วซึ่งเรียกว่า นิพพาน หมายเอาครอบงําความตายคือ ขณะ ที่ถึงพระนิพพาน เพราะพระนิพพานไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย
๑๓. โสก์ อภิกขุยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความเศร้าโศก ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ความเศร้าโศกของบุคคลจะเกิดได้เพราะเหตุ ๕ อย่าง
ก. เพราะความเสื่อมญาติ เช่น ญาติตาย
ข. เพราะเสื่อมโภคะ เช่น เพราะถูกไฟไหม้ ถูกโจรปล้นเป็นต้น
ค. เพราะถูกโรคเบียดเบียน เช่น เป็นโรคมะเร็ง เป็นต้น
ฆ. เพราะศีลวิบัติ เช่น ประพฤติผิดศีลธรรม มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น
ง. เพราะเห็นความผิดจากท่านองคลองธรรม
เมื่อปฏิบัติถึงโคตรภูญาณความเสื่อมทั้ง ๕ นี่สงบไป ดับไป ไม่เกิดขึ้น เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔. ปริเทว์ อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่ครอบงําความพิไรรําพัน บ่นเพ้อ ร้องไห้ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า บุคคลจะพิไรรําพันร้องไห้ก็เพราะถูกความ เสื่อมทั้ง ๕ ประการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงํา ครั้นเจริญวิปัสสนากรรมฐานถึง โคตรภูญาณ ความเสื่อมดังกล่าวมานั้นจะไม่มีเลยเพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕. อุปายาส์ อภิกขุยตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงําความคับแค้นใจ เสียได้ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า บุคคลจะเกิดความคับแค้นใจก็เพราะถูกความเสื่อม ทั้ง ๕ นั้น ครอบงํา เบียดเบียน ความคับแค้นใจก็คือ โทสะนั่นเอง เมื่อถึงโคตรภูญาณแล้ว ความคับแค้นใจก็ดับไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๖. พหิทธา สังขารนิมิตต์ อภิภัยที่ติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงํา สังขารนิมิตในภายนอกที่เป็นไปในสันดานของตนชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า นิมิต ว่าเที่ยง ว่ายั่งยืน ว่าสวยงาม ว่าเป็นตัวตน เราเขาไม่มี มีแต่ความสงบ สันติ เท่านั้น เพราะโคตรภูญาณ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น
โคตรภู นัยที่ ๒
โคตรภู ท่านวิเคราะห์ศัพท์จํากัดความไว้ในปฏิสัมภิทามรรคหลายประการดังนี้
๑. อนุปปาท์ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้นของ รูปนาม ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนามีปัญญาดําเนินมาถึงขั้นนี้ แล้ว ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับไป
๒. อปปวตต์ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ของรูปนามชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูปนามที่กําลังเป็นไปนั้นดับไป
๓. อนิมิตต์ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่อนิมิตชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า แล่นไปสู่พระนิพพาน
๔. อนายหน ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่มีกรรม ที่จะเป็นเหตุให้ถือปฏิสนธิอีกชื่อว่า โคตรภู
๕. อปปฏิสนธิ์ ปกขนฺทติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ๆ ไม่มี ปฏิสนธิชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า แล่นไปสู่พระนิพพานอันไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๖. อคติ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่อคติชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า คติทั้ง ๕ ไม่มีในที่ใดที่นั่นแหละชื่อว่า อคติ ได้แก่พระนิพพานนั่นเอง
๗. อนิพฺพตฺตี ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ๆ ไม่มีขันธ์ ๕ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในที่ใดแล่นไปสู่ ที่นั่น คือ พระนิพพาน
๘. อนุปปัตติ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่อุบัติขึ้น มาอีก ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า วิบากขันธ์ที่จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน เหฏฐิมสงสาร มัชฌิมสงสาร อุปริมสงสาร ไม่มี
๙. อชาติ ปกขนที่ตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เกิดชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูปนามดับลงไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๐. อชรํ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่ชรา ชื่อว่า โคตรภู
๑๑. อพยาธิ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่มีพยาธิ ชื่อว่า โคตรภู
๑๒. อมรณํ ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่ตาย ชื่อว่า โคตรภู
๑๓. อโสก ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความเศร้าโศก ชื่อว่า โคตรภู
๑๔. อปริเทวํ ปกขนฺทติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความพิไร รําพันบ่นเพ้อชื่อว่า โคตรภู
๑๕. อนุปายาสํ ปกขนฺทติ โคตรภู ๆ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความ คับแค้นใจชื่อว่า โคตรภู
๑๖. นิโรธํ นิพพาน ปกขนฺทติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่นิโรธคือ พระนิพพานชื่อว่า โคตรภู
โคตรภู นัยที่ ๓
โคตรภูญาณ ท่านยังจําแนกลักษณะที่พึงทราบไว้อีกคือ
๑. อุปปาทา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเกิด หมายความว่า ทิ้งรูปนามที่กําลังเกิดขึ้นแล้วเข้าสู่พระนิพพาน
๒. ปวตฺตา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไป | ของรูปนามที่กําลังเกิดดับ
๓. นิมิตตา วุฏฺฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากนิมิต หมายความว่า ออกจากความเห็นผิดที่ว่ารูปนามเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน
๔. อายูหนา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากกรรมที่จะ ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ
๕. ปฏิสนธิยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ
๖. คติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากคติ หมายความ ว่า ออกจากคติที่จะต้องไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เป็นต้น มีแต่เข้าสู่ความไม่มีคติทั้ง ๕ คือ พระนิพพาน
๗. นิพฺพตฺติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความ ปรากฏของขันธ์ ๕ หมายความว่า ขันธ์ ๕ ไม่เกิด ดับไป คือ ถึงพระนิพพานนั่นเอง
๘. อุปปัตติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากอุปบัติ หมายความว่า ออกจากเหฏฐิมสงสาร มัชฌิมสงสาร อุปริมสงสาร เข้าสู่พระนิพพาน
๙. ชาติยา วุฏฐาตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากชาติ หมายความว่า ไม่มีเกิดเพราะถึงพระนิพพาน
๑๐. ชราย วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากชรา หมายความว่า ไม่มีความชราเพราะถึงพระนิพพาน
๑๑. พยาธิมหา วุฏฐชาติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากพยาธิ หมายความว่า ไม่มีความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ เพราะถึงพระนิพพาน
๑๒. มรณา วฎฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากมรณะ หมายความว่า เมื่อถึงโคตรภูญาณนี้แล้ว มรณะ ไม่มี เพราะถึงพระนิพพาน
๑๓. โสกา วุฏฐาติติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเศร้า โศก หมายความว่า ไม่มีความเศร้าโศก ความเศร้าโศกดับไปหมดสิ้นไม่มีเหลือ เพราะถึงพระนิพพาน
๑๔. ปริเทวา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความ ร้องไห้ บ่นเพ้อพิไรรําพัน หมายความว่า ความเสื่อมทั้ง ๕ คือ เสื่อมญาติ เสื่อมโภคะ มีโรคเบียดเบียนเป็นต้น ไม่มี
๑๕. อุปายาสา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความ คับแค้นใจ หมายความว่า ไม่มีความคับแค้นใจเนื่องมาจากความเสื่อมทั้ง ๕ เพราะ ความคับแค้นใจดับไปหมดแล้ว
๑๖. พหิทธา สังขารนิมิตตา วุฏฐาตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะ ออกจากสังขารนิมิตภายนอก หมายความว่า รูปนามภายนอกก็ไม่มี รูปนามภายในก็ ดับหมดไป ไม่มีอะไรปรากฏเหลืออยู่
โคตรภูเกิดจากสมถะ
โคตรภูธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งสมถะ มี ๘ คือ
๑. ปฐมฌาน์ ปฏิลาภตถาย นีวรรณ อภิกขุยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํานิวรณ์ ๕ เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน หมายความว่า ผู้ที่ เจริญสมถกรรมฐาน ก็มีโคตรภูเกิดขึ้นดุจผู้เจริญวิปัสสนาตามวิถีจิตเป็นดังนี้ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ คือตัดกระแสภวังค์แล้วมโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ฌาน ภวังค์
๒. ทุติยฌาน ปฏิลาภตฺถาย วิตกวิจาร อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําวิตกวิจารเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งทุติยฌาน หมายความว่าเมื่อผู้เจริญ สมถกรรมฐานได้ปฐมฌานแล้วเมื่อจะถึงทุติยฌานก็ต้องผ่านโคตรภูอีกจึงจะถึงทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน์ ปฏิลาภตฺถาย ปีติ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําปีติเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งตติยฌาน หมายความว่า เมื่อจะถึงตติยฌานก็ต้อง ผ่านโคตรภู่อีกจึงจะถึงตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน ปฏิลาภตฺถาย สุขทุกฺเข อภิภัยยาติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําสุขและทุกข์เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งจตุตถฌาน หมายความว่าเมื่อ จะถึงจตุตถฌาน ก็ต้องผ่านโคตรภูอีกจึงจะถึงจตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย รูปสัญญ์ ปฏิฆสัญญ นานๆตสญฺญ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ
๖. วิญญาณญจายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย อากาสนัญจายตน สัญญ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้ เฉพาะซึ่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
๗. อากิญจัญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย วิญญาณัญจายตนสัญญ อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้ เฉพาะซึ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ปฏิลาภตฺถาย อากิญจัญญายตน สญญ์ อภิภุยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงําอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อ ให้ได้เฉพาะซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งสมถกรรมฐานมี ๘ ดังกล่าวแล้ว
โคตรภูเกิดจากวิปัสสนา
โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอํานาจวิปัสสนามี ๑๐ คือ
๑. โสดาปัตติมคฺค์ ปฏิลาภตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดเป็นไปอยู่นิมิต กรรม (ที่จะต้องให้เกิดอีก) การถือปฏิสนธิคติที่จะต้องไปเกิด ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ๕ ความเกิดขึ้นของวิบาก ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และ ครอบงําสังขารนิมิต คือรูปนามภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรค หมายความ ว่า จะได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ก็ต้องผ่านโคตรภูมาก่อน
๒. โสดาปัตติผลสมาปตฺตตฺถาย อุปปาทํ ฯเปฯ ปฏิสนธึ อภิภัยที่ติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดเป็นไปอยู่นิมิตกรรม ปฏิสนธิ เพื่อต้องการโสดาปัตติผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่ได้เป็นพระโสดาบัน เวลาจะเข้า ผลสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อน จึงจะถึงผลสมาบัติได้
๓. สกทาคามิมัคค ปฏิลาภตฺถาย อุปปาท์ ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงําสังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งสกทาคามิมรรค หมายความว่า ผู้ที่จะได้บรรลุสกทาคามิมรรคก็ต้องผ่านโคตรภูอีกครั้งหนึ่ง สกทาคามิ มรรคจึงจะเกิดได้
๔. สกทาคามิผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยาติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อ ต้องการแก่สกทาคามิผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระสกทาคามี เวลาจะเข้าผล สมาบัติ ก็ต้องผ่าน โคตรภู่ก่อนเช่นกัน
๕. อนาคามิมคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ ปฏิสนธิ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงําสังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอนาคามิมรรค หมายความว่า ผู้ที่ได้เป็นพระสกทาคามีเวลาจะได้บรรลุอนาคามิมรรคก็ต้องผ่าน โคตรภูอนาคามิมรรคจึงจะเกิดได้
๖. อนาคามิผลสมาบัตตถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่กําลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม และครอบงํา ปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่อนาคามิผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นอนาคามีจะต้องเข้า ผลสมาบัติ ก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อน จึงจะถึงผลสมาบัติได้
๗. อรหัตตมัคคี ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ พหิทธาสังขารนิมิตต์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้น กําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงํา สังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอรหัตตมรรค หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอนาคามี เมื่อปฏิบัติกรรมฐานต่อไปก่อนจะบรรลุอรหัตตมรรคก็ต้องผ่านโคตรอรหัตตมรรคจึงจะเกิดขึ้น
๘. อรหตุผลสมเปตตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยาติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้นกําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อ ต้องการแก่อรหัตตผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่ได้บรรลุอรหัตตมรรคอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ เมื่อจะเข้าผลสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อน จึงเข้าผลสมาบัติได้
๙. อนิมิตตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อ ว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้นกําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เวลาจะเข้าต้องการแก่อนิมิตตวิหารสมาบัติอนิมิตตวิหารสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อนจึงจะเข้าได้
๑๐. สุญญตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนธิ์ อภิภัยยตีติ โคตรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงํารูปนามที่เกิดขึ้นกําลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม และปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่สุญญตวิหารสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เวลาจะเข้า สุญญตวิหารสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภู่ก่อนจึงจะเข้าได้
โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนามี ๑๐ ดังที่กล่าวแล้ว เมื่อรวม กันเข้าทั้งสมถะและวิปัสสนาจึงเป็นโคตรภู ๑๘ ประการ
โคตรภูกุลลติกะ
โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ลักษณะของ โคตรภูญาณ ตามที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกปฏิสัมภิทามรรคมีเพียงเท่านี้
โคตรภูญาณปัญญาที่ทําลายโคตรของปุถุชน แล้วเข้าสู่โคตรของพระ อริยเจ้า เป็นยอดของวิปัสสนาญาณ ไม่จัดเป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะไม่ได้ พิจารณารูปนามเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่จัดเป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ์ เพราะ ไม่ได้ทําให้กิเลสสิ้นไป ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นโลกียะ ญาณทัสสนวิสุทธิ์ เป็น โลกุตตระ ส่วนโคตรภูญาณอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ เป็นอัพโภหาริก คือ อยู่ในระหว่างปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์และญาณทัสสนวิสุทธิต่อกัน แต่จัดเป็น
วิปัสสนาได้เพราะตกไปในกระแสแห่งวิปัสสนา
ในขั้นต้นไม่มีกิจที่จําจักทําอะไรอย่างอื่น เพราะกิจใดที่ผู้ปฏิบัตินี้จักทํากิจ นั้นอันท่านยังวิปัสสนา มีอนุโลมญาณเป็นที่สุดให้เกิดทําเรียบร้อยแล้ว ส่วนใจของผู้ ปฏิบัติซึ่งมีอนุโลมญาณเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่แล่นไปในสังขารทั้งปวงไม่หยุดอยู่ ไม่น้อมไปไม่ข้องอยู่ ไม่ติดอยู่ไม่เกาะอยู่ ในสังขารทั้งปวง เมื่ออนุโลมญาณทั้ง ๓ ขณะนั้นกําจัดความมืดคือกิเลสอย่างหยาบ อันปกปิดอริยสัจ ๔ เป็นขั้นๆ ให้สูญสิ้นไป ตามสมควรแก่กําลังของตนแล้ว ย่อมละทิ้งสังขารคือ รูปนาม ดุจน้ําตกไปจากใบบัว ฉะนั้นโคตรภู่จึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ ปราศจากรูปนามข้ามซึ่งโคตรปุถุชน ข้ามซึ่ง ภูมิของปุถุชน ขึ้นสู่โคตรแห่งพระอริยะ ก้าวขึ้นสู่สามัญญะแห่งพระอริยะ และสู่ภูมิแห่งพระอริยะ เป็นการคํานึงฝักใฝ่จดจ่อต่ออารมณ์คือ พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ให้สําเร็จความเป็นปัจจัยแห่งมรรค
โดยใจความเมื่อ บริกรรม อุปจาระ อนุโลม ซึ่งรวมเรียกว่า อนุโลมญาณ เกิดขึ้น ๓ ขณะ กําจัดเสียซึ่งกองมืดโมหันธการ กิเลสอย่างหยาบอันปกปิดปัญญา มิให้เห็นจตุราริยสัจให้อันตรธานโดยสมควรแก่กําลังแล้ว จิตแห่งพระโยคาวจรนั้นก็ ถอยกลับหวนกลับจากสังขารธรรมทั้งปวง มิได้ข้องอยู่ในภพสังขาร ปานประหนึ่งว่า ต่อมน้ําอันกลมกลิ้งไปจากใบบัว โคตรภูญาณเมื่อกระทําพระนิพพานเป็นอารมณ์ ข่ม เสียซึ่งโคตรปุถุชนและจะให้ถึงโคตรพระอริยะคือ อริยภูมิ โคตรภูญาณนี้บังเกิดขึ้น เป็นปฐมาวัชชนะ คือแรกพิจารณาเห็นพระนิพพาน ให้สําเร็จซึ่งสภาวะเป็นปัจจัยแก่ พระอริยมรรค ด้วยอาการ ๖ คือเป็นอนัตตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย เป็นที่สุดยอดแห่งวิปัสสนา บังเกิดในที่สุดแห่ง อนุโลมญาณ อันมีอาเสวนะเนืองๆ นั้นแล
จบ โคตรภูญาณ
๑๔. มรรคญาณ
โสดาปัตติมรรคญาณ
อุปมาที่แสดงถึงอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ แม้ดําเนินไปในวิถีเดียวกัน อาวัชชนะเดียวกันแต่มีอารมณ์ต่างกัน คือ
บุรุษที่ปรารถนาจะกระโดดข้ามคูน้ํากว้างใหญ่เพื่อไปยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่ง จึงวิ่งมาโดยเร็วแล้วเหนี่ยวเชือกที่ผูกกับกิ่งไม้ หรือใช้ไม้ค้ํายันแล้วกระโดดขึ้นโน้มตัวไปยังฝั่งตรงข้าม เมื่ออยู่เหนือฝั่งแล้วจึงปล่อยเชือกหรือไม้ค้ําแล้วซวนเซตกลงบนฝั่งนั้น ต่อจากนั้นจึงค่อยๆ ทรงตัวยืนขึ้นฉันใด แม้พระโยคาวจรก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความ ปรารถนาเพื่อบรรลุถึงพระนิพพานซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับภพ ๓ โยน ๔ คติ ๕ ฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ จึงวิ่งมาเร็วด้วยญาณ มีอุทยัพพยญาณเป็นต้นแล้วเหนี่ยวเชือกคือ รูปที่ผูกติดกับกิ่งไม้คือ อัตภาพร่างกายหรือใช้ไม้ค้ํายัน มี เวทนาขันธ์ เป็นต้น อย่าง ใดอย่างหนึ่ง โดยการรําพึงของอนุโลมญาณว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา การยังไม่ละเชือก คือ รูปหรือไม้ค้ํายันคือ เวทนา เป็นต้น ด้วยอนุโลมจิต ดวงที่ ๑ หรือบริกรรมเป็นผู้มีจิตใจโน้มเอียงไปสู่พระนิพพาน ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๒ หรือ อุปจาระ ดุจบุรุษผู้โน้มเอียงโอนไปยังฝั่งข้างโน้นของคูน้ํา เป็นผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน ที่ตนจะพึงถึง ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๓ ดุจบุรุษที่กระโดดไปถึงส่วนเบื้องบนของฝั่งโน้น แล้วละอารมณ์คือ สังขารธรรม (รูปหรือนาม) ในขณะที่อนุโลมจิตดวงที่ ๓ ดับลง จิตนั้นก็จะรับพระนิพพานที่ปราศจากสังขารธรรม ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับสังขารธรรม ด้วยโคตรภูจิต แต่เพราะยังไม่มีความคุ้นเคยในพระนิพพานอารมณ์เลย จึงทําให้โคตร ภูจิตหวั่นไหวไม่มีความตั้งมั่น ดุจบุรุษโดดข้ามน้ําแล้วซวนเซ ต่อจากนั้น มรรคญาณ ก็บังเกิดขึ้นอย่างมั่นคง
อนุโลมญาณ สามารถกําจัดความมืดคือ กิเลสที่ปิดบังอริยสัจออกไปได้ แต่กระทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ไม่ได้ โคตรภูญาณ สามารถกระทําพระนิพพาน ให้เป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่สามารถกําจัดความมืดที่ปิดบังอริยสัจออกไปได้ ในการทํากิจ ของอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ มีอุปมาดังนี้
บุรุษที่ปรารถนาดูฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตร จึงออกมาในเวลากลางคืนแล้ว แหงนดูดวงจันทร์ แต่ไม่เห็นเพราะถูกเมฆบังไว้ ทันใดนั้นก็มีลมระลอกที่ ๑ พัดพา หมู่เมฆหนาๆ ออกไป ลมระลอกที่ ๒ พัดพาหมู่เมฆชนิดกลางๆ ออกไป ลมระลอกที่ ๓ พัดพาหมู่เมฆบางๆ ออกไป เมื่อท้องฟ้าปราศจากเมฆแล้วบุรุษนั้นก็เห็นดวงจันทร์ แล้วจึงรู้ฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตร ได้
อุปมา ความมืดคือ กิเลสอย่างหนา กลาง ละเอียดที่ปิดบังสัจจะไว้เปรียบ เหมือนเมฆ ๓ ชนิต อนุโลมจิต ๓ ขณะ เปรียบเหมือนลม ๓ ระลอก โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนบุรุษ พระนิพพานเปรียบเหมือนดวงจันทร์ การกําจัดความมืดคือ กิเลส ที่ปิดบังอริยสัจออกไปด้วยอนุโลมจิตดวงหนึ่งๆ เปรียบเหมือนการพัดพาเอาหมู่เมฆ ๔ ชนิดออกไป เมื่อปราศจากความมืดที่ปิดบังอริยสัจแล้ว โคตรภูญาณก็เห็นพระนิพพาน อันบริสุทธิ์เปรียบเหมือนท้องฟ้าเมื่อปราศจากหมู่เมฆ บุรุษนั้นก็เห็นดวงจันทร์อันผ่องใสได้
แม้ว่าโคตรภูญาณ สามารถเห็นพระนิพพานได้อย่างเดียว ไม่สามารถกําจัด ความมืดคือ กิเลสได้ก็ตาม แต่ท่านกล่าวว่า โคตรภูญาณนี้เป็นอาวัชชนะของมรรคคือ หันมุ่งมาสู่มรรคหรือคล้ายกับว่าให้สัญญาณนัดหมายแก่มรรคว่า “ท่านจงเกิดขึ้นอย่างนี้” แล้วตนเองก็ดับไป มรรคญาณเองก็ไม่ลืมสัญญาณที่นัดหมายกันไว้กับโคตรภูจิต จึงเกิดตามโคตรภูญาณโดยไม่มีระหว่างคั่นทันที อีกทั้งเจาะทะลุ ทุบทําลายกองโลภะ โทสะ ที่ไม่เคยทําลายมาก่อน
อนึ่ง ในการเจาะทะลุทุบทําลายนั้น มีอุปมาดังนี้ นักยิงธนูคนหนึ่งตั้ง แผ่นกระดานแก่นไม้สนซ้อนกัน ๑๐๐ แผ่น ห่างออกไป ๔ ศอกเอาผ้าปิดตัวเองขึ้น สายยืนอยู่บนกระดานหมุนให้เพื่อนหมุนกระดานนั้น เมื่อใดที่แผ่นกระดานที่ซ้อนมา อยู่ตรงหน้านักยิงธนู เมื่อนั้นเพื่อนของเขาจะให้สัญญาณด้วยการเคาะไม้ นักยิงธนูเมื่อ ได้ยินสัญญาณ ก็ยิงธนูไปเจาะทะลุกระดาน ๑๐๐ แผ่นทันที
อุปมา โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนสัญญาณเคาะไม้ มรรคญาณ เปรียบเหมือน นักยิงธนู การที่มรรคญาณไม่ลืมสัญญาณที่โคตรภูญาณให้ไว้แล้วทํานิพพานเป็น อารมณ์ เจาะทะลุทุบทําลายกองโลภะ โทสะ โมหะ ที่ไม่เคยทําลายมาก่อน เปรียบ เหมือนนักยิงธนูที่ไม่ลืมสัญญาณเคาะไม้แล้วยิงธนูทะลุไม้กระดาน ๑๐๐ แผ่นในทันที
อานิสงส์ของโสดาปัตติมรรค มิใช่แต่ทําการเจาะทะลุกองกิเลสเพียงอย่างเดียว เท่านั้นแต่ทํามหาสมุทรแห่งความทุกข์ในสังสารวัฏซึ่งไม่มีใครรู้ที่สุดและเบื้อง ต้นให้เหือดแห้งไปด้วย ปิดประตูอบายทั้งปวงทําให้เป็นผู้มีอริยทรัพย์ ๗ ประการสมบูรณ์ สลัดทิ้งในทางดําเนินผิด ๘ ประการเสียได้ ทําเวรภัยทุกอย่างให้สงบลง นําให้เข้าถึง ความเป็นบุตรอันเกิดจากพระอุระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นไปเพื่ออานิสงส์อื่นๆ อีกนานัปการ
สกทาคามิมรรคญาณ
เมื่อพระโสดาบันสํารวจทบทวนดู มรรค ผล นิพพาน และกิเลส ด้วย ปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิมหรือในโอกาสต่อมาแล้วทําความเพียรในวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุสกทาคามิมรรคญาณ เพื่อทํากามราคะให้เบาบาง และละพยาบาทอย่างหยาบ ท่านจึงรวบรวมอินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ทําให้ สม่ําเสมอกัน แล้วพิจารณาสังขารธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วย ปัญญาที่กําหนดว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถี ของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระโสดาบันปฏิบัติเช่นนี้แล้วอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ ก็จะบังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปกขาญาณ และสกทาคามิมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ
อนาคามิมรรคญาณ
เมื่อพระสกทาคามีสํารวจทบทวนดูมรรค ผล นิพพาน และกิเลสด้วย ปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิม หรือในโอกาสต่อมาทําความเพียร ในวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุอนาคามิมรรคญาณ เพื่อละสังโญชน์เบื้องต่ําอีก ๒ คือ กามราคะและพยาบาทอย่างละเอียดโดยไม่เหลือ ท่านจึงเจริญอินทรีย์พละและโพชฌงค์ ทําให้สม่ําเสมอกัน แล้วพิจารณาสังขารธรรมด้วยปัญญาที่กําหนดว่า “ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา” ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถีของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระสกทา คามี ปฏิบัติเช่นนี้แล้วอนุโลมญาณและโคตรภูญาณก็จะบังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปก ขาญาณ และอนาคามิมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ
อรหัตตมรรคญาณ
เมื่อพระอนาคามีสํารวจทบทวนดูมรรค ผล นิพพาน และกิเลส ด้วย ปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิมหรือในโอกาสต่อมา แล้วทําความ เพียรในวิปัสสนายิ่งขึ้น เพื่อบรรลุอรหัตตมรรคญาณ เพื่อละสัญโญชน์เบื้องบนอีก ๕ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ โดยไม่มีเหลือ ท่านจึง เจริญอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ทําให้สม่ําเสมอ แล้วพิจารณาสังขารด้วยปัญญา ที่กําหนดว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถีของ วิปัสสนาญาณ เมื่อพระอนาคามีปฏิบัติเช่นนี้แล้ว อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ ก็จะ บังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปกขาญาณ และอรหัตตมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ
มรรคญาณมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นฝ่ายโลกุตตระ เห็นอริยสัจ ๔ ชัดแจ้ง เปรียบเหมือนคุณสมบัติของดวงไฟทํากิจ ๔ อย่างในขณะเดียวกัน คือ
๑. ทําให้ไส้ไหม้
๒. ขจัดความมืด
๓. เกิดแสงสว่าง
๔. ทําให้น้ํามันหมดไป
มรรคญาณ เมื่อเสวยอารมณ์นิพพานก็ต้องเห็นนิโรธ เมื่อเห็นนิโรธเป็นจุด สุดยอดก็ต้องเห็นอีก ๓ อริยสัจคือ ทุกข์ สมุทัย มรรค พร้อมกันทีเดียว ในวิสุทธิมรรค จึงแสดงว่า (นิโรธ) ปฏิวิชฺฌตีติ เอเตน นิโรธสจฺจเมก อารมฺมณปฏิเวเธน จตฺตาร์ สัจจาน อสมโมหปฏิเวเธน มคฺคญาณ์ ปฏิวิชฺฌติ ฯ
มรรคญาณ ย่อมแทงตลอดนิโรธสัจจะหนึ่งด้วยอารัมมณปฏิเวธ ด้วยคําว่า ปฏิวิชฺฌติ นี้ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยอสัมโมหปฏิเวธ
จบ มรรคญาณ
๑๕. ผลญาณ
โสดาปัตติผลญาณ
ในลําดับต่อจากปฐมมรรคคือ โสดาปัตติมรรคจิตดับลงแล้ว ผลจิตที่เป็น วิบากของมรรคจิต ได้แก่ โสดาปัตติผลจิตหรือโสดาปัตติผลญาณก็เกิดขึ้น ๒ หรือ ๓ ขณะ ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มรรคจิตนี้เป็นอานันตริกสมาธิคือ มัคคสมาธิซึ่งให้ อริยผลเกิดทันทีเพราะว่าโลกุตตรกุศลทั้งหลาย มีวิบากเกิดสืบเนื่องเป็นผลอยู่โดยแน่นอนเสมอ
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผลจิตนี้เกิดขึ้น ๑, ๒, ๓ หรือ ๔ ขณะ คํากล่าว ของอาจารย์ที่ว่าเกิดขึ้น ๑ หรือ ๔ ขณะนั้นไม่ควรถือเอาเพราะว่าโคตรภูญาณ ย่อม เกิดขึ้นในที่สุดแห่งอาเสวนปัจจัยของอนุโลมญาณเหตุนั้น โดยการกําหนดอย่างต่ําที่สุด อนุโลมญาณต้องเกิด ๒ ขณะ (อุปจาร, อนุโลม) เพราะขณะเดียวย่อมไม่ได้อาเสวน ปัจจัย และในอาวัชชนจิตของวิถีหนึ่งๆ ย่อมมีชวนจิต ๗ ขณะเป็นอย่างมาก ถ้าญาณ ใดมีอนุโลม ๒ ขณะชวนะขณะที่ ๓ ของญาณนั้นเป็นโคตรภู ชวนะขณะที่ ๔ เป็น มรรคจิต และชวนะอีก ๓ ขณะเป็นผลจิต (รวมเป็น ๗ ขณะ) ถ้าญาณใดมีอนุโลม ๓ ขณะ (บริกรรม, อุปจาร, อนุโลม) ชวนะขณะที่ ๔ ของญาณนั้นเป็นโคตรภู ชวนะ ขณะที่ ๕ เป็นมรรคจิต และชวนะอีก ๒ ขณะ เป็นผลจิต (รวมเป็น ๗ ขณะ) เพราะ เหตุนั้น ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงกล่าวว่า เทว ติณ วา ผลจิตตานี อุปฺปชฺชนฺติ ผลจิต ๒ หรือ ๓ ขณะย่อมเกิดขึ้น
ส่วนญาณใดมีอนุโลม ๔ ขณะ ชวนะขณะที่ ๕ ของญาณนั้นเป็นโคตรภู ชวนะขณะที่ ๖ เป็นมรรคจิต ชวนะอีก ๑ ขณะเป็นผลจิต (รวมเป็น ๒ ขณะเช่นเดียว กัน) คํานั้น ก็ไม่ควรเชื่อถือโดยความเป็นสาระเพราะค้านได้ว่า ชวนะขณะที่ ๔ หรือที่ ๕ ย่อมเป็นอัปปนาชวนะคือมรรคญาณ ไม่มากยิ่งไปกว่านี้เพราะใกล้กันกับภวังค์
อนึ่ง ผลชวนะทั้ง ๔ ดวงนั้น เป็นอาเสวนปัจจัยและเป็นอาเสวนปัจจยุปบัน ไม่ได้เพราะในปัฏฐานแสดงว่าธรรมที่เป็นอาเสวนปัจจัยนั้น ต้องเป็นชวนจิตชาติเดียว กัน กล่าวคือ กุศลชวนะเป็นปัจจัยแก่กุศลชวนะ, อกุศลชวนะเป็นปัจจัยแก่อกุศล ชวนะ, กิริยาชวนะเป็นปัจจัยแก่กิริยาชวนะ ด้วยอํานาจอาเสวนปัจจัย แต่เมื่อว่าโดยภูมิ แล้ว เป็นจิตต่างภูมิกันได้เช่น ติเหตุกกามกุศลชวนะ (กามภูมิ) เป็นอาเสวนปัจจัยแก่ มหัคคตกุศลชวนะ (รูปภูมิ, อรูปภูมิ) หรือเป็นอาเสวนปัจจัยแก่โลกุตตรกุศลชวนะ (โลกุตตรภูมิ) ด้วยเหตุนี้ ผลจิต ๒ หรือ ๓ ขณะ ที่อยู่ในมรรควิถีนั้น จึงเป็นอาเสวน ปัจจัย และเป็นอาเสวนปัจจยุปบันไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นจิตชาติเดียวกันกับกุศลชาติ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อโยคีท่านนี้เป็นพระอริยบุคคลที่ ๒ ชื่อว่า พระโสดาบันแล้วท่านยังเป็น ผู้ประมาทอยู่ ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไปในมนุษยโลกและเทวโลกทั้งหลายอีก ๓ ครั้ง แล้วก็จะเป็นผู้ที่สามารถทําที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ การที่จะประหาณกิเลสตัณหาอันมี ฤทธิ์ร้ายมีอยู่วิธีเดียวคือ การบําเพ็ญวิปัสสนาจนบรรลุถึงโลกุตตรภูมิ ด้วยการสามารถ ประหาณกิเลสตัณหาได้อย่างเด็ดขาดเป็นขั้นๆ ไป อันกิเลสตัณหานั้นมีอยู่ไม่ใช่น้อย ดังที่กล่าวว่ากิเลสมีถึง ๑๕๐๐ และตัณหามีถึง ๑๐๘ แต่เพื่อความเข้าใจได้ง่ายขึ้นจึง ประมวลเอากิเลสตัณหาเหล่านั้นลงไว้ในกิเลสซึ่งเป็นหลักใหญ่ ๑๐ อย่าง
๑. ทิฏฐิกิเลส
๒. วิจิกิจฉากิเลส
๓. โลภกิเลส
๔. โทสกิเลส
๕. โมหกิเลส
๖. มานกิเลส
๗. ถีนกิเลส
๘. อุทธัจจกิเลส
๙. อหิริกกิเลส
๑๐. อโนตตัปปกิเลส
ต่อไปจะกล่าวถึงโลกุตตรภูมิทําการประหาณกิเลส ๑๐ โดยลําดับ ผู้ที่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาจนได้บรรลุถึงโลกุตตรภูมิอันดับแรกสําเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล ด้วยอํานาจแห่งโลกุตตรภูมิชั้นนี้ย่อมทําให้สามารถละกิเลสได้ ๒ อย่าง
๑. ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕ เข้าไปยึดมั่น ถือมั่นว่าปัญจขันธ์นี้เป็นของแห่งตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล, เรา, เขา เช่น ในการยืน เดิน นั่ง นอน ก็เข้าใจว่าตนเป็นผู้ยืน เดิน นั่ง นอน ความเข้าใจผิดเช่นนี้ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อันเป็นความเห็นผิดที่ทําให้ติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏสงสาร เรื่องสักกายทิฏฐินี้ พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาแก่พระภิกษุทั้งหลาย ในสังยุตตนิกายพระบาลีว่า
สตฺติยา วิย โอมฏฺโฐ ฑยุหมาโน ว มตฺถเก
สกุกายทิฏฐิปหานาย สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช ฯ
ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร รู้สึกตนประหนึ่งถูกสาตราวุธอันมีคมทิ่มแทงอยู่ หรือดุจถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ พึงเป็นผู้มีสติไม่ประมาทอยู่เถิด เพื่อจะได้กําจัด เสียซึ่งสักกายทิฏฐิ ฉะนั้น
๒. วิจิกิจฉากิเลส ได้แก่ ธรรมชาติที่ทําให้ตัดสินใจลําบาก คือสงสัยใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า :- กิเลเสสุ ทิฏฐิวิจิกิจฉา ปฐมฌาณวชฌา ฯ
บรรดากิเลสทั้งหลาย ทิฏฐิกิเลสและวิจิกิจฉากิเลสทั้ง ๒ นี้ มรรคญาณที่ ๑ คือ โสดาปัตติมรรคญาณประหาณได้โดยเด็ดขาด
ถึงแม้พระโสดาบันบุคคลสามารถประหาณกิเลสอันเป็นเหตุให้วนเวียนอยู่ ในสังสารวัฏได้เพียง ๒ ตัวก็จริง ถึงกระนั้นท่านก็ตัดสังสารวัฏลงได้มากทีเดียว เพราะ พระโสดาบันนั้นจักเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ ตามประเภทแห่งพระโสดาบัน ๓ ประเภท คือ
๑. เอกฟิชโสดาบัน มีวงนัตถะว่า :- เอก พีช อสสาติ เอกพีช พระ โสดาบันที่จะปฏิสนธิต่อไปข้างหน้าอีกชาติเดียวก็จะได้บรรลุถึงอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า เอกพีซีโสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่ สร้างบารมีมาแก่กล้า โดยมีจิตสันดานมากไปด้วยปัญญาเจริญสมถภาวนามาน้อย
๒. โกลังโกลโสดาบัน มีวงนัตถะว่า กุลโต กุล คนตีติ โกโกโล ฯ พระโสดาบันที่จะต้องปฏิสนธิต่อไปอีกตั้งแต่ ๒ ชาติถึง ๖ ชาติเป็นอย่างมาก ก็จะบรรลุอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า โกลังโกล โสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่สร้างบารมีมาอย่างปานกลาง โดยมีจิตสันดานประกอบ ด้วยปัญญาและสมาธิเท่าๆ กัน เจริญวิปัสสนาภาวนาและสมถภาวนาพอๆ กัน พระ โสดาบันประเภทนี้ในคัมภีร์ บุคคลบัญญัติอรรถกถากล่าวไว้ว่า
เทสนมตฺตเมว เจต์ เทว วา ที่ณิ วาติ ยาว ฉฏฐภวา สรนโตปี โกล์โกโลว โหติ ฯ
การที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ว่า ๒ ชาติก็ดี ๓ ชาติก็ดี เป็นการเทศนา โดยสํานวนโวหารเท่านั้นเอง แต่พระอรรถกถาจารย์ได้แก้ไว้ว่า ความจริง บุคคล ประเภทนี้จะท่องเที่ยวจากตระกูลหนึ่งไปสู่ตระกูลหนึ่ง นับตั้งแต่ ๒ ชาติจนถึง ๖ ชาติ ก็จะได้บรรลุอรหัตตผล
๓. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน มีวงนัตถะว่า :- สตฺตกฺขตตุปรม อสสาติ สต ตกฺขต ปรโม ฯ พระโสดาบันที่จะปฏิสนธิในมนุษยภูมิและเทวภูมิอีกเพียง ๗ ชาติ ที่ จะบรรลุอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า สัตตักขัตตุ ปรมโสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่สร้างบารมีมาอย่างอ่อน โดยมีจิตสันดานประกอบ ด้วยสมาธิมากแต่ปัญญาน้อย เคยเจริญสมถภาวนามากแต่เจริญวิปัสสนาน้อย
อีกนัยหนึ่ง พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะเจริญวิปัสสนาโดยกําลังแรงกล้า เช่นนี้เป็น เอกพีชีโสดาบัน
พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะ เจริญวิปัสสนาโดยกําลังอย่างปานกลาง เช่นนี้เป็น โกลังโกลโสดาบัน
พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะ เจริญวิปัสสนาโดยกําลังอย่างอ่อน เช่นนี้เป็น สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
อีกนัยหนึ่ง อุคฆฏิตัญญูบุคคล เรียกว่า เอกพีชีโสดาบัน วิปัญจิตัญญูบุคคล เรียกว่า โกลังโกลโสดาบัน เนยบุคคล เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
สกทาคามิผลญาณ
เมื่อสกทาคามิมรรคจิตดับลง สกทาคามิผลจิตหรือสกทาคามิผลญาณ บังเกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ทํานองเดียวกันกับโสดาปัตติมรรคญาณและโสดาปัตติผลญาณ การบังเกิดขึ้นของสกทาคามิผลญาณ ทําให้เป็นพระอริยบุคคล มี นามว่า พระสกทาคามี ซึ่งท่านจะกลับมาถือปฏิสนธิในโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และท่านสามารถทําที่สุดแห่งกองทุกข์ได้
พระโสดาบันบรรลุถึงสกทาคามิมรรคญาณ สกทาคามิผลญาณแล้ว ชื่อว่า สกทาคามีบุคคล เพราะทําราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง (ตนุกรปทาน) จะมาสู่ โลกนี้เพียงชาติเดียวเท่านั้น ดังมีวจนัตถะว่า :- สกี อิม กามธาตุ อาคจนตีติ สกทาคามี
บุคคลที่มาปฏิสนธิในกามธาตุอีกครั้งเดียวชื่อว่า สกทาคามีบุคคล
ผู้ที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาผ่านโสดาบันโลกุตตรภูมิมาแล้ว ปรารถนาจะได้ บรรลุมรรค ผลที่สูงขึ้นไป จึงเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งๆ ขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ เสมอกันเป็นอันดี โดยที่มีวาสนาบารมีอันตนได้เคยสร้างสมอบรมมาเพียงพอ สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นตามลําดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไปจนถึงสังขารุ เปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฏชัดเจนละเอียดกว่าที่ตนเคยผ่านมาแล้วในชั้น โสดาบันโลกุตตรภูมิ ต่อจากนั้นอนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้นตามติดมาด้วยโวทาน โวทาน นี้แทนโคตรภูญาณ เพราะท่านผู้นี้เป็นพระอริยบุคคลแล้วไม่ใช่ปุถุชน เพราะฉะนั้น ญาณที่ตัดโคตรปุถุชนคือ โคตรภูญาณจึงไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นอีก ครั้นแล้วทุติยมรรค คือ สกทาคามิมรรคญาณก็เกิดขึ้นตามติดด้วยสกทาคามิผลญาณ มีถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์อีกครั้งหนึ่ง
สกทาคามิมรรคนี้ ไม่ได้ตัดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งให้ขาดออกจากขันธ สันดานอย่างเด็ดขาด แต่ถึงกระนั้นก็มีอํานาจทําให้กิเลสทั้งหลายเป็น ตนุกระ คือ ทําให้เบาบางลงกว่าโสดาปัตติมรรค
พระสกทาคามีนี้ นอกจากจะมีกิเลสเบาบางกว่าพระโสดาบันและสามารถ ที่จะเข้าสกทาคามิผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามจิตปรารถนาพระสกทาคามีมี ๕ จําพวก คือ
๑. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพฤติตวา อิธ ปรินิพพาย ๆ พระสกทาคามีบางจําพวกสําเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทพเจ้า ณ เทวโลก เมื่อจุติจากเทวโลกกลับมาเกิดในมนุษยโลกนี้อีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง
๒. อิธ ปตวา อิธ ปรินิพพาย ๆ พระสกทาคามีบางจําพวกสําเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว กระทําความเพียรเจริญวิปัสสนาไปอย่างไม่หยุดยั้งจนกระทั่งได้บรรลุอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง
๓. อิธ ปตวา ตตฺถ ปรินิพพาย ฯ พระสกทาคามีบางจําพวกเป็นพระสก ทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทพเจ้า ณ เทวโลกแล้วก็ได้สําเร็จเป็น อรหันต์และดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลกนั่นเอง
๔. ตตฺถ ปสฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ฯ พระสกทาคามีบางจําพวกเป็นเทพเจ้า สําเร็จเป็นพระสกทาคามี ณ เทวโลกแล้ว ได้บรรลุอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลกนั่นเอง
๕. ตตฺถ ปตวา อิธ ปรินิพฺพาย ๆ พระสกทาคามีบางจําพวกเป็นเทพเจ้า สําเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล ณ เทวโลกแล้ว จุติมาอุบัติบังเกิดในมนุษยโลกนี้แล้ว ได้บรรลุพระอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง นัยโดยอ้อม
พระสกทาคามีประเภทที่ ๑ นี้เป็นนัยโดยตรง ส่วนประเภทอื่นนอกนั้นเป็น
อนาคามิผลญาณ
เมื่ออนาคามิมรรคจิตดับลง อนาคามิผลจิตหรืออนาคามิผลญาณก็บังเกิด ขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ทํานองเดียวกันกับสกทาคามีมรรคญาณและสกทา คามิผลญาณและการบังเกิดของอนาคามิผลญาณนี้ พระอริยบุคคลนั้น มีนามว่าพระ อนาคามี การพิจารณามรรค ผล นิพพาน และกิเลสของพระอนาคามีด้วยปัจจเวกขณญาณ มีดังต่อไปนี้
เมื่ออนาคามิมรรคญาณ และอนาคามิผลญาณเกิด พระอริยบุคคลนั้นได้ชื่อ ว่า อนาคามีบุคคล จะไม่กลับมาเกิดยงกามภูมิอีก เพราะได้ประหาณกามราคะ, พยาบาทหมดแล้ว ดังมีวจนัตถะว่า :- อิม กามธาตุ น อาคารที่ติ อนาคามีฯ บุคคล ใดจะไม่กลับมาปฏิสนธิในกามภูมิ เพราะฉะนั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า พระอนาคามี โลกุตตรมรรคอันดับที่ ๓ มีชื่อว่า อนาคามีโลกุตตระ
ผู้ต้องการบรรลุอนาคามี มีความปรารถนาที่จะบรรลุมรรค, ผล จึงอุตสาหะ เจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ เสมอกันเป็นอันดี โดยที่วาสนาบารมีอันตนได้เคยสั่งสมอบรมมาเพียงพอ สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นตามลําดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฏ ชัดเจนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่ตนได้เคยผ่านมาในโลกุตตรภูมิก่อนๆ ต่อจากนั้น อนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้น ตามติดมาด้วย โวทาน ครั้นแล้ว อนาคามิมรรคญาณ ก็เกิด ขึ้น ซึ่งทําการประหาณกิเลสได้อย่างเด็ดขาดได้อีกส่วนหนึ่ง เมื่ออนาคามิมรรคบังเกิด ขื่น อนาคามิผล ก็จะเกิดตามติดมา
ผู้ที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนได้บรรลุอนาคามิมรรค สําเร็จเป็นพระอนาคามี สามารถฆ่ากิเลส ที่ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารได้อีก ๑ คือ โทสกิเลส และ โทสกิเลสในที่นี้แบ่งออกเป็น ๒ คือ
๑. โทสะที่เป็นอปายคมนียะ คือนําไปสู่อบายภูมิได้ เพราะความโกรธที่ ดุร้าย สามารถทําอกุศลกรรมบถ มีปาณาติบาตเป็นต้น โทสะชนิดนี้พระโสดาบันละได้แล้ว
๒. โทสะที่ไม่เป็นอปายคมนียะ คือนําไปสู่อบายไม่ได้ ได้แก่ความขัดใจ โกรธเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงกับล่วงอกุศลกรรมบถ โทสะที่สุขุมคืออย่างประณีตนั้น พระอนาคามีเท่านั้นจึงละได้อย่างเด็ดขาด อนาคามิมรรคจึงประหาณโทสกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉท ดังนั้นในวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า
โทโส ตติยฌาณวิชโฌ โทสกิเลสนั้น ญาณที่ ๓ คือ อนาคามีมรรคญาณ ประหาณได้อย่างเด็ดขาด
พระอนาคามีนี้นอกจากจะตัดโทสกิเลสให้ขาดออกไปจากจิตสันดานอย่าง เด็ดขาด และสามารถเข้าอนาคามิผลสมาบัติได้ดังปรารถนา และท่านย่อมไปบังเกิดใน
พรหมโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่ไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ และจะได้สําเร็จเป็น พระอรหันต์ ดับขันธปรินิพพาน ณ ที่นั้น
ในกรณีนี้ถ้าจะมีปัญหาว่า การที่จะไปเกิดในพรหมโลกได้นั้น จะต้องปฏิสนธิ ด้วยฌานวิบากอันเป็นผลแห่งญานกุศล สําหรับพระอนาคามีที่เป็นฌานลาภีเคยบําเพ็ญ สมถภาวนาได้สําเร็จฌานมาก่อนก็ไม่มีปัญหา แต่พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกบําเพ็ญ วิปัสสนาภาวนาอย่างเดียวล้วนๆ ไม่เคยบําเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย จะไปบังเกิดใน พรหมโลกได้หรือ ตอบว่า พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกนี้เมื่อใกล้จะจุติ มรรคสิทธิฌาน ย่อมบังเกิดขึ้น อันเป็นปัจจัยให้ท่านไปเกิดในพรหมโลก ถึงแม้ว่าท่านจะจุติลงโดยไม่ทันรู้ตัว เช่นขณะที่กําลังนอนหลับอยู่ก็ดี มรรคสิทธิญาณก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นแก่ ท่านก่อนแล้วจึงจุติ ตราบใดที่มรรคสิทธิฌานยังไม่เกิดขึ้น พระอนาคามีจะไม่จุติ
พระอนาคามี ๕
ได้กล่าวแล้วว่า พระอนาคามีบุคคลส่วนใหญ่จะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิ ทั้ง ๕ นอกจากบางองค์ไปปฏิสนธิในพรหมภูมิที่ต่ํากว่าแล้วแต่ใจปรารถนา และการ
ที่ท่านจะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิชั้นใดนั้น ก็สุดแท้แต่บารมีแห่งตนที่เคยบําเพ็ญมาตามประเภทแห่งอินทรีย์ ๕ คือ
๑. พระสกทาคามีผู้บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนตติยมรรคบังเกิดในขันธ สันดานของตนนั้น ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี สัทธินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อวิหาภูมิ
๒. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี วิริยินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อตัปปาภูมิ
๓. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี สตินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน สุทัสสาภูมิ
๔. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี สมาธินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน สุทัสสีภูมิ
๕. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี ปัญญินทรีย์ แก่กล้ากว่า อินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อกนิฏฐาภูมิ
อรหัตตผลญาณ
เมื่ออรหัตตมรรคจิตดับลง อรหัตตผลจิตหรืออรหัตตผลญาณก็บังเกิดขึ้น ติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างกัน ทํานองเดียวกันกับอนาคามิมรรคญาณและอนาคามิผล ญาณและด้วยการบังเกิดขึ้นของอรหัตตผลญาณ พระอริยบุคคลนั้นมีนามว่า พระอรหันต์ หรือพระมหาขีณาสพ ผู้มีร่างกายนี้เป็นวาระสุดท้าย เป็นผู้ปลงภาระลงได้แล้ว เป็นผู้ บรรลุถึงความต้องการของตนเอง เป็นผู้หมดสิ้นสัญโญชน์ในภพ เป็นผู้พ้นจากกองทุกข์ ด้วยความรู้อันชอบแล้วเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นสุดยอดของมนุษยโลกและเทวโลก
ผู้ที่จะบรรลุถึงโลกุตตรภูมิชั้นสูงสุดได้นี้ต้องเป็นผู้ที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนา ผ่านอนาคามีโลกุตตรภูมิมาแล้ว และมีใจปรารถนาที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลอัน สูงสุด จึงมีอุตสาหะเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ ได้เสมอกันเป็น อันดี โดยที่มีวาสนาบารมีอันตนได้สร้างสมอบรมมาจนบริบูรณ์แล้ว สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณขั้นสูงก็จะเกิดขึ้นตามลําดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นจนถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฏละเอียดชัดเจนเป็นที่สุดต่อจากนั้น อนุโลม ญาณ ก็จะเกิดขึ้น ตามติดมาด้วย โวทาน และวาระอันสําคัญที่สุดคือ จตุตถมรรค หรือ อรหัตตมรรคญาณ ก็จะพลันอุบัติขึ้นทําการประหาณกิเลสทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ใน ขันธสันดานให้หมดไปโดยสิ้นเชิงต่อจากนั้น อรหัตตผลญาณ ก็จะเกิดขึ้นติดตามมา ได้สําเร็จเป็นพระขีณาสพเจ้าผู้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง กิเลสธุลีแม้แต่เพียง ยองใยก็ไม่มีเหลือติดอยู่ในขันธสันดานอีกเลย
ผลแห่งจตุตถมรรค
ผู้บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนามีปัญญาบารมีเต็มเปี่ยม ได้บรรลุจตุตถมรรคสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมมีโอกาสได้รับผลแห่งจตุตถมรรคอันสามารถประหาณกิเลสที่ยัง เหลืออยู่ในขันธสันดานอีก ๒ ประการ ให้หมดสิ้นไปได้อย่างเด็ดขาดดังต่อไปนี้
๑. โลภกิเลส ได้แก่ รูปราคะ ความยินดีพอใจใน รูปภพ รูปฌาน มี ความพอใจในการทําความเพียรเจริญสมถภาวนาเพื่อให้ได้บรรลุรูปฌาน และความยินดี พอใจในการไปเกิดเป็นรูปพรหม ความยินดีพอใจในสภาวะดังกล่าวมานี้ พระอรหันต์ ละได้โดยเด็ดขาด อรูปราคะ ความยินดีพอใจในอรูปภพ อรูปฌาน มีความยินดีพอใจ ในการบําเพ็ญสมถภาวนาเพื่อให้ได้บรรลุอรูปฌาน และความยินดีพอใจในการไปเกิด เป็นอรูปพรหม ความยินดีพอใจในสภาวะดังกล่าวนี้ เป็นโลภกิเลสที่ละเอียดที่สุด พระอรหันต์ประหาณได้โดยเด็ดขาด ส่วนกามราคะนั้น พระอนาคามีประหาณเป็นสมุจเฉทแล้ว
๒. มานกิเลส ได้แก่ ความถือตัว ที่จัดเป็นกิเลส เพราะเมื่อว่าตามสภาวะ ย่อมเป็นการปฏิบัติผิด โดยยึดเอารูปนาม คือขันธ์ ๕ มาเป็นเราเป็นเขา ซึ่งเป็นเหตุให้ ติดอยู่ในวัฏทุกข์ประการหนึ่ง มานกิเลสนี้แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ได้ ๒ อย่าง คือ
ก. อยาถาวมานะ ความถือตัวไม่เป็นไปตามความเป็นจริง ได้แก่
ตนเป็นคนชั้นสูง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง
ตนเป็นคนชั้นสูง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ํา
ตนเป็นคนชั้นกลาง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
ตนเป็นคนชั้นกลาง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ํา
ตนเป็นคนชันต่ำ แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
ตนเป็นคนชั้นต่ำ แต่ถือว่าตนเป็นคนชินกลาง
อยาถาวมานะทั้ง ๖ ประการนี้ พระโสดาบันละได้เด็ดขาดแล้ว เพราะเป็นกิเลสที่หยาบมาก
ข. ยาถาวมานะ ความถือตัวเป็นไปตามความเป็นจริง ได้แก่
ตนเป็นคนชั้นสูง ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
ตนเป็นคนชั้นกลาง ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง
ตนเป็นคนชั้นต่ำ ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ
ยาถาวมานะทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นกิเลสที่ประณีตกว่าอยาถาวมานะ แม้ แต่พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็ยังไม่สามารถประหาณให้เด็ดขาด เป็นเพียงทําให้เบาบางลงเท่านั้น เมื่อได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์จึงสามารถประหาณกิเลสนี้ให้หมดสิ้น ได้อย่างเด็ดขาด
๓. อุทธัจจกิเลส ได้แก่ สภาพที่มีจิตฟุ้งซ่านจับอารมณ์ไม่แน่นอน หรือ สภาพที่ไม่สามารถตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวได้นานๆ อุทธัจจะอันเป็นอกุศลชาติซึ่งเป็น เครื่องปิดกั้นความดีไม่ให้เกิดขึ้นนี้ พระอรหันต์เท่านั้นจึงสามารถประหาณได้เด็ดขาด
๔. ถินกิเลส ได้แก่ กิเลสที่ทําให้จิตง่วงเหงาท้อถอย ถิ่นกิเลสนี้ย่อมมีอยู่ ประจําในขันธสันดานของปุถุชนและพระเสกขบุคคล เมื่อได้บรรลุพระอรหันต์แล้วจึง สามารถประหาณถิ่นกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ การที่พระอรหันต์ทั้งหลายยังมีการพักผ่อน หลับนอนอยู่นั้น หาใช่เป็นไปโดยอํานาจในกิเลสไม่ ที่แท้เป็นเพราะร่างกายของท่านได้ ปฏิบัติหน้าที่ระยะหนึ่งแล้ว ย่อมมีการอ่อนเพลียหมดกําลังลง จิตก็ตกภวังค์ไปเฉยๆ ตามธรรมดาอุปาทินนกสังขารจะต้องมีการพักผ่อนเหมือนคนทั่วไป สรุปว่า ถิ่นกิเลส นี้ย่อมเกิดได้แก่ปุถุชนและพระเสกขะ และเกิดขึ้นในจิตที่เป็นสสังขาริกคือ ขณะที่จิต รับอารมณ์ไม่เข้มแข็ง เช่นขณะที่ง่วงจวนจะหลับหรือขณะที่แรกตื่นนอนไม่ใช่ในเวลา หลับ เพราะในเวลาหลับนั้นจิตลงสู่ภวังค์ ซึ่งถิ่นกิเลสไม่อาจเกิดร่วมด้วยได้
๕. อหิริกกิเลส ได้แก่ สภาพที่ไม่ละอายต่ออกุศลทุจริต กิเลสชนิดนี้เป็นที่ รังเกียจของบัณฑิตทั้งหลาย ในคัมภีร์อัฏฐสาลินีกล่าวไว้ว่า ก้อนเหล็กที่แปดเปื้อนไป ด้วยอุจจาระคนที่ฉลาดย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้อง เพราะน่ารังเกียจสะอิดสะเอียน อกุศลทุจริตก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้อง เพราะมีใจหยั่งลงสู่ลัชชีธรรม คือความละอายแก่ใจในการที่จะแตะต้องอกุศลทุจริตอันเป็นบาป เป็นความชั่วนั้น
ถามว่า พระอรหันต์เท่านั้นเป็นผู้สามารถละอหิริกกิเลสนี้ได้หมดสิ้น ถ้า เช่นนั้นพระเสกขะทั้งหลายก็ยังมีความยินดีพอใจในการประพฤติอกุศลทุจริตอยู่อีกหรือ แก้ว่าพระเสกขทั้งหลายมิได้มีความยินดีพอใจในอกุศลทุจริตเหมือนปุถุชน แท้จริงโดย อํานาจแห่งอริยมรรคที่เกิดขึ้นได้ประหาณกิเลสนี้เป็นขั้นๆ มาแล้ว คือ พระโสดาบัน สามารถประหาณอริริกกิเลสในส่วนที่เป็นอปายคมนียะ พระสกทาคามีสามารถ ประหาณอาริกกิเลสในส่วนที่เป็นโอฬาริกะทั้งหมด โดยทําให้เบาบางจากขันธสันดาน
ได้ พระอนาคามีสามารถประหาณอหิริกกิเลสในส่วนที่สุขุมละเอียดที่เกี่ยวกับกามราคะ ส่วนพระอรหันต์ย่อมสามารถประหาณกิเลสนี้ไม่ให้มีเหลือในขันธสันดานอีกเลย
๖. อโนตตัปปกิเลส ได้แก่ สภาพที่ไม่เกรงกลัวต่ออกุศลทุจริตซึ่งเป็นเหตุ ให้ต้องได้รับทุกข์ในวัฏสงสาร ขึ้นชื่อว่าอกุศลทุจริตนั้นบัณฑิตทั้งหลายย่อมมีความ เกรงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ให้ผลเป็นทุกข์แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างมาก ในคัมภีร์อัฏฐสาลินีกล่าวไว้ว่า ก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผาลูกแดงโชน คนฉลาดย่อมไม่ ปรารถนาที่จะแตะต้องเพราะเกรงกลัวความร้อนที่ก้อนเหล็กนั้น ซึ่งถ้าแตะต้องเข้าแล้ว ย่อมจะได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัส อกุศลทุจริตก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายย่อม ไม่ปรารถนาที่จะแตะต้องเพราะมีปัญญาทราบดีว่า อกุศลทุจริตนี้มีแต่จะให้ทุกข์โทษอย่างเดียวมิให้คุณเลย
ส่วนการประหาณกิเลสของพระเสกขะ มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกับการประหาณอริริกกิเลส คือพระโสดาบันสามารถประหาณอโนตตัปปกิเลสที่เป็นอปาย คมนียะ พระสกทาคามีและพระอนาคามีนั้น แม้อโนตตัปปะส่วนที่สุขุมละเอียดจะมี อยู่ในขันธสันดานของท่าน แต่ก็เบาบางลงมากแล้ว ส่วนพระอรหันต์ย่อมสามารถประหารกิเลสนี้ให้ไม่มีเหลือในขันธสันดานอีกเลย
๗. โมหกิเลส ได้แก่ สภาพที่มืดมนปิดปัญญาไม่ให้เห็นพระจตุราริยสัจ มี อวิชชาคือ ความไม่รู้นั่นเอง
นักศึกษาทั้งหลายจะเห็นได้ว่าโมหกิเลสนี้ แม้จะได้ถูกอริยมรรคประหาณถึง ๓ ครั้ง แต่ก็หาได้หมดลงสิ้นเชิงไม่ ทั้งที่อริยมรรคทั้ง ๓ นั้นก็ทรงไว้ซึ่งสมรรถภาพมีคุณวิเศษเป็นอย่างยิ่ง มีอํานาจทําลายกิเลสที่สําคัญต่างๆ ไปแล้วหลายประการ แต่ยังไม่สามารถทําลายโมหกิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ให้สิ้นไปอย่างเด็ดขาดได้ เพียงแต่กําจัดให้สงบไปเล็กน้อยเหมือนกับฟ้าแลบ ที่มีอํานาจกําจัดความมืดให้เห็น ทางได้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น อริยมรรคทั้ง ๓ ข้างต้น จึงชื่อว่า วิชชูปมธรรม คือ ธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าแลบ
ส่วนอรหัตตมรรคญาณเมื่อเกิดขึ้นแล้ว โมหกิเลสก็ถูกประหาณเป็นสมุจเฉทในกรณีนี้มีคําอุปมาว่า ธรรมดาสายฟ้าที่ฟาดลงมานั้นย่อมมีกําลังแรงกล้ายิ่งนัก เมื่อ ฟาดลงที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นย่อมแตกทําลายไป อุปมาข้อนี้ฉันใด อรหัตตมรรค ก็เป็นเช่นนั้น คือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว กิเลสอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งจะไม่ถูกทําลายเป็นไม่มี กิเลสทั้งหลายซึ่งอริยมรรคอื่นๆ ทําลายไม่ได้ จะต้องถูกอรหัตตมรรคทําลายหมดสิ้น ฉะนั้นอรหัตตมรรคนี้ จึงชื่อว่า วชิรูปมธรรม คือธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า
พระมหาขีณาสพ ๒ ประเภท
พระมหาขีณาสพเจ้าซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนานี้ เมื่อจะกล่าวโดยประเภทก็มี ๒ ประเภทคือ
๑. เจโตวิมุตติพระอรหันต์ ได้แก่ท่านผู้บําเพ็ญสมถภาวนาได้ฌานมาก่อนแล้ว ภายหลังได้บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี หรือท่านผู้ บําเพ็ญเฉพาะวิปัสสนา เมื่ออรหัตตมรรคบังเกิดขึ้น ฌานก็อุบัติขึ้นในขณะเดียวกันนั่นเอง โดยอํานาจแห่งบุพพาธิการ ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ฌานลาภีบุคคล คือสําเร็จฌาน สมาบัติได้บรรลุวิชชาและอภิญญา มีคุณพิเศษในการแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ต่างๆ
๒. ปัญญาวิมุตติพระอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บําเพ็ญวิปัสสนาภาวนาล้วนๆ ไม่ได้บําเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้น ฌานก็ไม่มีเกิดขึ้นร่วม ด้วย ท่านเหล่านี้จึงเป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก คือผู้ที่แห้งแล้งจากฌานไม่สามารถ แสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้
นอกจากนี้ พระมหาขีณาสพยังแบ่งโดยประเภทแห่งคุณวิเศษได้อีก ๒ ประเภท คือ
๑. ปฏิสัมภิทาปัตตพระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ทั้ง ๔ ประการ
ก. อัตถปฏิสัมภิทา แตกฉานในอรรถ
ข. ธัมมปฏิสัมภิทา แตกฉานในธรรม
ค. นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในภาษา
ง. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในปฏิภาณ ไหวพริบ
ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ อย่างนี้อุบัติขึ้นพร้อมกันในขณะที่ท่านได้บรรลุอรหัตตมรรค, อรหัตตผล
๒. อัปปฏิสัมภิทาปัตตพระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ซึ่งไม่แตกฉานใน ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง 4 ดังกล่าวมาแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายมีประเภทต่างๆ ดังนี้ก็ โดยอํานาจแห่งบุพพาธิการที่ท่านได้สร้างสมอบรมมาแต่อดีตชาติต่างกัน กล่าวคือบาง ท่านเมื่อชาติก่อนๆ นั้นเมื่อได้ประกอบกุศลกรรมใดๆ ย่อมได้ตั้งจิตปรารถนาเอาไว้ โดยอํานาจแห่งบุพพาธิการนี้ ท่านจึงได้สําเร็จเป็นฌานลาภพระอรหันต์ หรือสําเร็จ เป็นปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ดังกล่าวมาแล้ว ส่วนท่านที่ไม่มีฌานหรือไม่ได้ปฏิสัมภิทา ญาณ ก็เพราะไม่มีปุพพาธิการดังกล่าว คือในอดีตชาติเมื่อท่านประกอบกุศลกรรมใดๆ ก็ตาม ไม่เคยได้ตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าว ฉะนั้น คุณพิเศษคือญาณและปฏิสัมภิทาญาณ จึงไม่เกิดขึ้นแก่ท่าน ตามที่พรรณนามาฉะนี้
จบ ผลญาณ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
มคคํ ผลญฺจ นิพฺพานํ ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต
ปรีเน กิเลเส เสเส จ ปจฺจเวกฺขติ วา น วา
ฉพฺพิสุทธิกุกเมเนวิ ภาเวตพฺโพ จตุพุพิโธ
ญาณทสฺสนวิสุทธิ นาม มคฺโค ปวุจฺจติ ฯ
บัณฑิตผู้เป็นอริยบุคคลย่อมพิจารณา มรรค ผล นิพพาน และย่อมพิจารณา กิเลสที่ประหาณแล้ว และกิเลสที่ยังไม่ได้ประมาณ แต่ผู้ที่ไม่ได้พิจารณากิเลสที่ ประหาณแล้ว และยังไม่ได้ประหาณก็มีบ้าง อริยมรรค ๔ ประการที่เนื่องจากการเจริญ วิสุทธิ ๖ มาโดยลําดับ เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้
ปัจจเวกขณะของพระอริยะ
เมื่อโสดาปัตติผลจิตดับลงแล้ว จิตของพระโสดาบันก็ลงสู่ภวังค์ จากนั้น มโนทวาราวัชชนจิตก็ตัดกระแสภวังค์เกิดขึ้น เพื่อสํารวจดูโสดาปัตติมรรค เมื่อมโน ทวาราวัชชนจิตดับลง ชวนจิต ๗ ขณะ ก็เกิดขึ้นติดต่อกันไป ด้วยการกระทํามรรคให้ เป็นอารมณ์ แล้วจิตก็ลงสู่ภวังค์อีก ส่วนการเกิดขึ้นเพื่อย้อนสํารวจดูผล กิเลสทั้งหลาย ที่ละได้และกิเลสทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ หรือพระนิพพาน ก็มีการสํารวจเช่นเดียวกับ ด้วยการสํารวจมรรคนั่นเอง
พระอริยบุคคลสํารวจทบทวนดูมรรคว่า “ข้าพเจ้าสําเร็จมาด้วยอํานาจแห่ง มรรคนี้แน่แล้ว” สํารวจทบทวนดูผลว่า “อานิสงส์ดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าได้รับแล้ว” สํารวจ ทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้วว่า “กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆ ข้าพเจ้าละได้แล้ว” สํารวจ ทบทวนดูกิเลสที่ยังเหลืออยู่ว่า “กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆ ข้าพเจ้ายังเหลืออยู่” และสุดท้าย ก็สํารวทบทวนดูพระนิพพานว่า “พระธรรมนี้ ข้าพเจ้าแทงตลอด โดยอารมณ์แล้ว”
ปัจจเวกขณญาณของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี มีอย่างละ ๕ เท่ากัน แต่พระอรหันต์ไม่มีการสํารวจทบทวนดูกิเลสที่เหลืออยู่เพราะท่านประหาณ กิเลสทั้งหลายหมดแล้ว จึงมีปัจจเวกขณญาณ ๔ เท่านั้น รวมทั้งหมดจึงมี ๑๕ อย่าง แต่ความจริงแล้วพระเสขบุคคลอาจทบทวนดูหรือไม่ทบทวนดูในกิเลสที่เหลือก็ได้ ดัง เช่นเจ้าศากยมหานาม ผู้เป็นพระสกทาคามีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีธรรมชื่ออะไรอยู่อีกหรือ ที่หม่อมฉันมิได้ละแล้วภายในตน ซึ่งเป็นเหตุให้สิ่งที่เรียก ว่าโลภะทั้งหลายครอบงําจิตใจของหม่อมฉันไว้ในบางครั้งบางคราว” ดังนี้ ในอภิธัมมัตถสังคหะกล่าวไว้ว่า
มคอํ ผล จ นิพฺพานํ ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต
ปหีเน กิเลเส เสเส จ ปจจเวกฺขติ วา น วา ฯ
อริยบัณฑิตย่อมพิจารณา มรรค ผล นิพพาน ย่อมพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว และที่ยังเหลือ พระอริยบุคคลบางองค์ไม่พิจารณากิเลสที่ละแล้ว และยังไม่ละก็มีบ้าง
กิเลสที่ถูกพิจารณา
ญาณความรู้ที่เกิดขึ้นพิจารณาเห็นมรรค ผล นิพพาน กิเลสที่เหลืออยู่และกิเลสที่ละแล้วโดยอํานาจของมรรคทั้ง ๔ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า
สํโยชเนสุ ตาว สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพพตปรามาโส อุปายคมนียา จ กามราคปฏิฆาติ เอเต ปญฺจ ธมฺมา ปฐมฌาณวชฌา เสสา กามราคปฏิมา โอฬาริกา ทุติยฌาณวชฌา สุขุมา ตติยฌาณวชฌา รูปราคาทโย ปญฺจ จตุตถฌาณวชฌา เอว ฯ
สังโยชน์ ๑๐ ประการนั้น โสดาปัตติมรรคประหาณสังโยชน์ได้ ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ อปายคมนิยกามราคะ ๑ อปาย คมนียปฏิฆะ ๑ ส่วนที่เหลืออยู่นั้น สกทาคามิมรรคสามารถประหาณได้ตามอํานาจ ของตนคือ กามราคะ ปฏิฆะ ที่ไม่เป็นอปายคมนียะชนิดที่เป็นโอฬาริกะคืออย่างหยาบ อนาคามิมรรคสามารถประหาณได้ตามอํานาจของตนคือ กามราคะ ปฏิฆะ ที่ไม่เป็น อปายคมนียะ ชนิดที่เป็นสุขุมะคืออย่างประณีต อรหัตตมรรคสามารถประหาณสังโยชน์ ที่เป็นอุทธัมภาคิยะ ๕ ประการ ได้โดยเด็ดขาดโดยอํานาจของตน อนึ่ง ในคัมภีร์ วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า
กิเลเลส ทิฏฐิวิจิกิจฉา ปฐมฌาณวิชญา โทโส ตติยฌาณเวชโฌ โลภโมหมาน ถีนอุทธ จอหิริกอโนตฺตปปาน จตุตถฌาณวชฌาน ฯ
กิเลส ๑๐ อย่างนั้น ทิฏฐิและวิจิกิจฉา โสดาปัตติมรรคประหาณได้โดย เด็ดขาด โทสะนั้นอนาคามิมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด โลภะ โมหะ มานะ นะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ นั้น อรหัตตมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด
สรุปโสฬสญาณ
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
๒. ปัจจยปริคคหญาณ
๓. สัมมสนญาณ
๔. อุทยัพพยญาณ
๕. ภังคญาณ
๖. กยญาณ
๗. อาทีนวญาณ
๘. นิพพิทาญาณ
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐. ปฏิสังขาญาณ
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. อนุโลมญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ
๑๔. มรรคญาณ
๑๕. ผลญาณ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
ญาณเหล่านี้เรียกว่า โสฬสญาณ ญาณ ๑๖ เมื่อผ่านญาณ ๑๖ ไปแล้ว ก็ หมายความว่าโยคีบุคคลผู้นั้นได้ดําเนินถึงจุดหมายปลายทางอันยิ่งใหญ่ในชีวิตได้
ประสบสมบัติอันเป็นอมฤต ซึ่งจะหาสมบัติอื่นใดมาเปรียบปานอีกไม่ได้ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า เพราะอานิสงส์ของพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น เป็นอานิสงส์ ที่ยิ่งใหญ่ บาลีในพระธรรมบทกล่าวไว้ว่า
ปฐพฺยา เอกรชุเชน สกุล ล คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปปจฺเจน โสดาปตติผล วรํ ฯ
โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ กว่าท้าวสักกเทว ราช หรือกว่ามหาพรหม ผู้มีมหิทธานุภาพยิ่งใหญ่
พระบาลีนี้แสดงความเป็นใหญ่ในฐานะต่างๆ กัน เช่นพระราชาผู้เป็นเอกราช ในแว่นแคว้นใดๆ ก็หาเทียบเท่ากับเดชานุภาพของพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นอิสระใน พื้นพิภพแห่งมนุษย์นี้ได้ไม่ เพราะพระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๓ ประการ แม้ ท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะพระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วย ทิพยสมบัติอยู่ในเทวสถาน แม้ท้าวมหาพรหมผู้ทรงมหิทธานุภาพยิ่งใหญ่ในหมู่พรหม ทั้งหลาย พรั่งพร้อมด้วยทิพยสมบัติอันประณีตยิ่งกว่าท้าวสักกเทวราชก็ตาม แต่เมื่อ นํามาเทียบกับโสดาปัตติผลแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจเทียบได้เลย เพราะพระนิพพาน ที่พระโสดาบันได้บรรลุนั้นเป็นธรรมที่ประณีตประเสริฐสุด สามารถทําให้ผู้บรรลุไม่ต้องไปสู่อบายภูมิ และสามารถพ้นจากสังสารวัฏอันยาวนานได้
จบ วิปัสสนาญาณ ๑๐ และญาณ ๑๖ เพียงเท่านี้
แสดงวิโมกขสังคหะ
วจนัตถะวิโมกข์ ๓
วิโมกข์ ตามวจนัตถะ วิเคราะห์ศัพท์ว่า :- ปฏิปกฺขโต วิโมกข์ตีติ วิโมกโข สภาวะใดข้ามพ้นจากกิเลสโดยความเป็นปฏิปักษ์ ฉะนั้น สภาวะนั้นจึงชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่
วิโมกข์ ๓ คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่ได้รับโดยการกําหนดเห็นชัดเจนใน อนัตตา
๒. อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่ได้รับโดยการกําาหนดเห็นชัดเจนใน อนิจจัง
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่ได้รับโดยการกําาหนดเห็นชัดเจนใน ทุกขัง
สรุปว่า วิโมกข์เป็นชื่อของอริยมรรคทั้ง ๔ อย่างเรียกชื่อตามพระไตรลักษณ์ หมายความว่า สําหรับผู้บําเพ็ญความเพียรเจริญวิปัสสนาภาวนาที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า
มีปัญญาเป็นปุพพาธิการอันตนเคยสร้างสมมาแต่ชาติก่อนเป็นกําลังแรงส่งให้ในขณะ ที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น ท่านย่อมจะเห็นชัดเจนในอนัตตลักษณะมากที่สุด เห็น อนัตตลักษณะแจ่มใสชัดเจนกว่าพระไตรลักษณ์อื่นๆ เพราะอนัตตลักษณะมีกําลังมาก กว่า ฉะนั้น เมื่อวุฏฐานคามินีวิปัสสนา กําลังเป็นไป รูปนามแสดงความเป็นอนัตตาให้ ปรากฏอย่างชัดเจน เมื่อเห็นอนัตตาอย่างชัดเจนแล้ว วุฏฐานคามินีวิปัสสนาก็จะเข้าสู่ มรรคในทันใด ลักษณะอย่างนี้ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ คือหลุดพ้นด้วยอนัตตา หรือเข้าสู่
มรรคด้วยอนัตตลักษณะ
ส่วนผู้บําเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนาภาวนาที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า มีศรัทธาเป็น ปุพพาธิการสูงคือ ได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อนเป็นกําลังส่ง ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนา ภาวนาอยู่นั้น ท่านย่อมจะเห็นแจ้งชัดในอนิจจลักษณะมากที่สุด เหตุใดจึงเห็นแจ้งชัด แต่อนิจจลักษณะเท่านั้น พระไตรลักษณ์อื่นๆ ไม่เห็นหรือ ตอบว่าเห็นทุกข้อแต่ว่าพระ ไตรลักษณ์ข้ออื่นๆ ไม่ชัดเท่าอนิจจลักษณะ เพราะอนิจจลักษณะมีกําลังแรงกล้า ฉะนั้น เมื่อ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ ตัววิปัสสนาที่จะเข้าไปสู่มรรคกําลังเป็นไปนั้น ย่อมจะ ทําให้เห็นรูปนามแสดงความไม่เที่ยงแล้วก็เข้าสู่มรรคลักษณะอย่างนี้ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยอนิจจัง หรือเข้าสู่มรรคด้วยอนิจจลักษณะ
สําหรับผู้บําเพ็ญความเพียร เจริญวิปัสสนาภาวนาที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า มี สมาธิเป็นปุพพาธิการ อันตนเคยสั่งสมมาแล้วแต่ชาติก่อนเป็นกําลังแรงส่งให้ ในขณะ ที่ปฏิบัติวิปัสสนาอยู่นั้น ย่อมจะเห็นอย่างแจ้งชัดในทุกขลักษณะมากที่สุด เห็นทุกข ลักษณะมากกว่าพระไตรลักษณ์อื่นๆ เพราะทุกขลักษณะมีกําลังแรงกล้า ฉะนั้นเมื่อ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา กําลังดําเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูปนามแสดงความทุกข์ ให้ ปรากฏชัดเจนแล้วก็เข้าสู่มรรค ลักษณะอย่างนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วย ทุกขัง หรือเข้าสู่มรรคด้วยทุกขลักษณะ
จบ วิโมกขสังคหะ
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว