วีถิมุตตสังคหะ - ภูมิจตุกกะ

วีถิมุตตสังคหะ - ภูมิจตุกกะ

ปริยัติธรรม

ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๑ วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ

ภูมิจตุกกะ

[โดยย่อ]

ในบรรดาจตุกกะ ๔ ประการเหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิ ๔ ได้แก่ อบายภูมิ ๑ กามสุคติภูมิ ๑ รูปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑ รวมเป็นภูมิ ๔

กามาวจรภูมิ ๑๑

อบายภูมิ ๔
ในบรรดาภูมิ ๔ อย่างนั้น อบายภูมิมี ๔ ภูมิ คือ นรก ๑ กําเนิดติรัจฉาน ๑ เปรตวิสัย ๑ อสุรกาย ๑

กามสุคติภูมิ ๗
กามสุคติภูมิ มี ๗ ภูมิ คือ มนุสสภูมิ ๑ จาตุมหาราชิกาภูมิ ๑ ตาวติงสภูมิ ๑ ยามาภูมิ ๑ ดุสิตาภูมิ ๑ นิมมานรติภูมิ ๑ ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ ๑

ทั้ง ๑๑ ภูมิดังกล่าวมาแล้วนั้น รวมเรียกว่ากามาวจรภูมิ (หรือกามภูมิ) ด้วย ประการฉะนี้

รูปาวจรภูมิ (รูปภูมิ) ๑๖

ปฐมฌานภูมิ ๓ ได้แก่ พรหมปาริสัชชาภูมิ ๑ พรหมปุโรหิตาภูมิ ๑ มหาพรหมาภูมิ ๑
ทุติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่ ปริตตาภาภูมิ ๑ อัปปมาณาภาภูมิ ๑ อาภัสสราภูมิ ๑
ตติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่ ปริตตสุภาภูมิ ๑ อัปปมาณสุภาภูมิ ๑ สุภกิณหาภูมิ ๑
จตุตถฌานภูมิ ๗ ได้แก่ เวหัปผลาภูมิ ๑ อสัญญสัตตภูมิ ๑ สุทธาวาสภูมิ ๕ รวมเป็น รูปาวจรภูมิ ๑๖

สุทธาวาสภูมิ ๕
สุทธาวาสภูมิมี ๕ ภูมิ คือ อวิหาภูมิ ๑ อตัปปาภูมิ ๑ สุทัสสาภูมิ ๑ สุทัสสีภูมิ ๑ อกนิฏฐาภูมิ ๑ รวมเป็น ๕ ภูมิ

อรูปาวจรภูมิ (อรูปภูมิ) ๔
อรูปาวจรภูมิ มี ๔ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ ๑ วิญญาณัญจายตนภูมิ ๑ อากิญจัญญายตนภูมิ ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ๑

แสดงบุคคลต้องห้ามในแต่ละภูมิ
ในสุทธาวาสภูมิ ๕ ไม่มีปุถุชนทั้ง ๔ โสดาบัน สกทาคามี โดยประการทั้งปวง
ในอสัญญสัตตภูมิ และอบายภูมิ ๔ ไม่มีอริยบุคคล ๘ ส่วนในภูมิที่เหลือ ๒๑ ภูมิ คือ กามภูมิ ๗ รูปภูมิ ๑๐ และอรูปภูมิ ๔ มิได้ทั้งอริยบุคคล ๘ และปุถุชน ๓ (เว้นทุคติ) ตามสมควร

[จบโดยย่อ]


[โดยอธิบายขยายความ]

อบายภูมิ ๔

คําว่า อบายภูมิ เมื่อตัดบทแล้วเป็นดังนี้ คือ อป + อย + ภูมิ เมื่อรวมกันเข้า เป็นอบายภูมิ ในที่นี้ การปราศจากเรียกว่า อป, กุศลกรรม เรียกว่า อย, ที่อยู่อาศัย เรียกว่า ภูมิ
มีวจนัตถะว่า ติวิธสมฺปตฺติโย อยนฺติ คจฺฉนฺติ ปวตฺตนฺติ เอเตนาติ อโย "สมบัติทั้ง ๓ ประการ คือ ความสุขแห่งมนุษย์ ความสุขแห่งเทวดา ความสุขแห่งนิพพาน ย่อมเกิดขึ้นเพราะกุศลกรรม เพราะเหตุนั้น กุศลกรรมนั้น จึงชื่อว่า อย"
อยโต อปคโต อปาโย “ฐานะที่ปราศจากกุศลกรรม (คือไม่ได้โอกาสกระทํากุศลกรรม) ชื่อว่า อปาย”
ภวนฺติ สตุตา เอตถาติ ภูมิ “สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในที่นั้น เพราะเหตุนั้นที่ นั้น จึงชื่อว่า ภูมิ”
อปาโย เอว ภูมิ อบายภูมิ “สถานที่ที่ไม่มีโอกาสกระทํากุศลกรรมนั้นแหละ เป็นที่อยู่ที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย จึงชื่อว่า อปายภูมิ” อบายภูมิ มี ๔ คือ นิรยภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปตติภูมิ อสุรกายภูมิ ต่อไปนี้จะได้แสดงถึง อบายภูมิ ทั้ง ๔ ตามลําดับ ดังนี้
คําว่า นิรย เมื่อตัดบทแล้วเป็นดังนี้คือ นิ + อย ในที่นี้ นิ เป็นปฏิเสธบท แปลว่า ไม่มี, อย แปลว่า ความเจริญหรือความสุข, เมื่อรวมกันเข้าเป็น นิรยะ มีวจนัตถะว่า อยติ วฑฺฒตีติ อโย ความสุขความสบายย่อมเจริญขึ้น เพราะเหตุนั้น ความสุขความสบายนั้น จึงชื่อว่า อย
อีกนัยหนึ่ง อยิตพฺโพ สาทิตพโพต อโย ความสุขสบายเป็นธรรมชาติที่สัตว์ ทั้งหลายพึงปรารถนาด้วยอํานาจแห่งโลภะ เพราะเหตุนั้น ความสุขความสบายนั้น จึงชื่อว่า อย
นตฺถิ อโย เอตฺถาติ นิรโย ความสุขความสบายไม่มีในภูมิใด เพราะเหตุนั้น ภูมินั้น จึงชื่อว่า นิรย [แปลว่า “นรก]


มหานรก ๘ ขุม

๑. สัญชีวนรก
๒. กาฬสุตตนรก
๓. สังฆาตนรก
๔. โรรุวนรก (ธูมโรรุวนรก)
๕. มหาโรรุวนรก (ชาลโรรุวนรก)
๖. ตาปนนรก
๗. มหาตาปนนรก (ปตาปนนรก)
๘. อวีจีนรก


อุสสทนรก ๕ ขุม

๑. คูถนรก
๒. กุกกุฟ์สรก
๓. สิมพลีวนนรก
๔. อสิปัตตวนนรก
๕. เวตตรณีนรก

ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มี อุสสทนรก ๑๖ ขุม เป็นบริวาร ฉะนั้น อุสสทนรก ทั้งหมดจึงมี ๑๒๘ ขุม

หมายเหตุ : ที่นับเป็น ๑๒๘ นี้ นับโดยทิศทั้ง ๔ คือ ในทิศหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ทิศละ ๔ = ๑๖ ขุมเล็ก x ๘ ขุมใหญ่ = ๑๒๘ ถ้านับโดยทิศทั้ง ๘ แล้ว ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารขุมละ ๓๒ ขุมเล็ก = ๓๒ ขุมเล็ก x ๘ ขุมใหญ่ = ๒๕๖ ขุม

ในบรรดาอุสสทนรกทั้ง ๕ นั้น ให้นับ อสิปัตตวนนรก และ เวตตรณีนรก รวมกันเป็นขุมเดียว จึงนับได้เป็น ๔ ขุม ในที่นี้ คําว่า อุสสท แปลว่า มีมาก ดังมีวจนัตถะ ว่า อุสฺสีทนุติ นานาทุกฺชา เอตฺถาติ อุสฺสทา ทุกข์คือความลําบากต่างๆ มีมากใน นิรยภูมินี้ จึงชื่อว่า อุสสท., อุสสทนรก ๑๒๘ ขุม เรียกว่า จูฬนรก ก็ได้


ที่ตั้งแห่งมหานรก ๘ ขุม

มหานรก ๘ ชุม ตั้งอยู่ภายใต้มนุษยโลกตรงกันกับชมพูทวีป ที่ติดต่อกับพื้นแผ่นดินที่มนุษย์อาศัยอยู่นี้ ความหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ชั้นบนครึ่งหนึ่งเป็นดิน ธรรมดา เรียกว่า ปํสุปถวี มีความหนาแสนสองหมื่นโยชน์ ชั้นล่างครึ่งหนึ่งเป็นหิน เรียกว่า สิลาปถวี มีความหมายแสนสองหมื่นโยชน์

มหานรกทั้ง ๘ ขุมนี้ ตั้งอยู่ภายในดินธรรมดาเฉพาะขุมหนึ่งๆ ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ โดยลําดับ คือ

นับจากพื้นชมพูทวีปลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๑ ชื่อสัญชีวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากสัญชีวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๒ ชื่อกาฟิสุตตนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากกาฬสุตตนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๓ ชื่อสังฆาตนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากสังฆาตนรกลงมาถึงนรกขุมที่ ๔ ชื่อโรรุวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากโรรุวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๕ ชื่อมหาโรรุวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากมหาโรรุวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๖ ชื่อตาปนนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากตาปนนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๗ ชื่อมหาตาปนนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากมหาตาปนนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๘ ชื่ออวีจินรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ดังนี้


ที่ตั้งแห่งอุสสทนรก ๕ ขุม

อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กๆ นั้น ตั้งอยู่แห่งเดียวกันกับมหานรกก็มี ตั้งอยู่ ตามป่า, ภูเขา, มหาสมุทร, แม่น้ำคงคา, ทวีปเล็กๆ และเกาะที่ไม่มีคนอยู่ก็มี


ยมราชและนิรยบาล
ยมราชนั้น เป็นเจ้าแห่งเวมานิกเปรต บางทีก็ได้เสวยความสุขคือได้อยู่ในวิมาน มีต้นกัลปพฤกษ์ มีสวนทิพย์ มีนางฟ้าฟ้อนรําขับร้องเป็นบริวาร บางทีก็ได้เสวยความทุกข์ที่เป็นผลของกรรมอันมีอยู่ในนรกนั้นเอง

ดังสาธกบาลีมีมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถาว่า ยมราชา นาม เวมานิกเปตราชา เอกสุมึ กาเล ทิพฺพวิมานทิพฺพกปฺปรุกขทิพฺพอุยยานทิพฺพนาฏกทิพฺพสมุปตดี อนุภวติ เอกสฺมึ กาเล กมุมวิปากํ คําว่า ผลของกรรมนั้น คือ ผลของอกุศลกรรมนั้นเอง ความพิสดารมีว่า เจ้าแห่งเวมานิกเปรตนี้ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ได้เป็นผู้กระทําอกุศลกรรมบ้าง กุศลกรร บ้าง ครั้นตายก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นสุคติอเหตุกปฏิสนธิก็มี เป็นทุเหตุกปฏิสนธิก็มี และเป็นติเหตุกปฏิสนธิก็มี เช่นเดียวกันกับวินิปาติกะเทวดาทั้งหลาย ทั้งนี้ก็เพราะด้วยอํานาจของกุศลกรรม เจ้าแห่งเวมานิกเปรตเหล่านี้จึงมีโอกาสที่จะได้มรรคผล ส่วนในปวัตติกาลนั้น บางคราวก็ได้เสวยผลของกุศล บาง คราวก็ได้เสวยผลของอกุศล ตามสมควรแห่งกรรมที่ตนได้กระทําไว้ เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์ใดได้อริยมรรค เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์นั้นก็ได้เสวยความสุข ของกุศลตลอดไป นับแต่เวลาที่ได้อริยมรรคเป็นต้นมา ขอให้นักศึกษาทั้งหลายพึง ทราบดังนี้

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และติกังคุตตรฎีกา ว่า กมุมวิปากนุติ อกุสลกมุมวิปาก เวมานิกเปตา หิ กณหสุกกวเสน มิสสกกมุม์ กตวา วินิปาติกเทว ตา วิย สุกเกน กมุมุนา ปฏิสนธี คณหนูติ, ตถา หิ เต มคุคผลภาคีโน โหนติ, ปวทุติย์ ปน กมุมานุรูป กทาจิ ปุญญผล์ กทาจิ อปุญญผล์ ปจจานุภวนติ. เยส์ ปน อริยมคโค อุปปพุชติ, เตส์ มคคาธิคมโต ปฏฐาย ปุญญผลเมว อุปปชุชตีติ ทฏฐพุพ์

ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มิใช่มียมราชองค์เดียว ความจริงมีอยู่ ๔ องค์ คือ ประตูละ ๑ องค์ ๔ ประตูเป็น ๔ องค์ ฉะนั้น เมื่อรวมแล้วมียมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถา ว่า น เจส เอโกว โหติ, จตูสุ ปน ทวาเรสุ จตุตาโร ชนา โหนติ.
ในบรรดามหานรก ๘ ขุมนั้น ขุมหนึ่งๆ มีประตู 4 ประตู รวมเป็น ๓๒ ประตู ในประตูหนึ่งๆ ๔ ขุม รวมเป็นอุสสทนรก ๑๒๘ ขุม ในประตูหนึ่งๆ มียมราชประตูละ ๑ องค์ รวมเป็นยมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในสุตตสังคหอัฏฐกถา และเทวทูตสูตรอัฏฐกถา ว่า ตตุถ เอเกกสุส จตุตาริ จิตตาริ ทวารานิ โหนติ, เอกสุม ทวาเร จตุตาโร จตุตาโร จตุตาโร อุสสทนิรยา เอเกโก จ ยมราชา.
นายนิรยบาลนั้นมิใช่เป็นสัตว์นรก เพราะการเกิดของนายนิรยบาล มิได้เกิดจากอกุศลกรรม หากแต่เกิดจากมหากุศลกรรมชั้นต่ำ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามี ชาติเป็นรากษส

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนฎีกา ว่า อเนรยิกา นิรยบาลา อนิรยคติส่วตุตนิยกมุมนิพพฤติโต, นิรยูปปตติวตุตนิยกมุมโต ทิ อญเญเนว กมฺมุนา เต นิพพฤตนุติ รกุขสชาติกตุตา. หากมีผู้ถามว่านายนิรยบาลทั้งหลายไม่ใช่สัตว์นรก แต่เกิดในนิรยภูมินั้น เพราะเหตุใด? แก้ว่า นายนิรยบาลเหล่านี้ที่ต้องไปเกิดอยู่ในนิรยภูมินั้น ก็เพราะในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก มีแต่ความยินดีพอใจในการที่จะเบียดเบียนหรือฆ่าสัตว์ ทั้งหลายเท่านั้น แม้ว่าจะมีการบําเพ็ญบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ตาม สําหรับจิตใจนั้นก็ยังคงมีความยินดีพอใจอยู่แต่ในหน้าที่ที่มีการเบียดเบียน ทรมาน ลงโทษผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่ มิได้รู้สึกเบื่อหน่ายเลย ฉะนั้น กุศลกรรมชั้นต่ำที่เจือด้วยนิกกันติ ตัณหาในตําแหน่งหน้าที่ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงทําให้เกิดในนิรยภูมิเป็นนายนิรยบาล มีร่างกายใหญ่โตเหมาะสมที่จะทําการลงโทษเบียดเบียนพวกสัตว์นรก ฉะนั้น นายนิรยบาลเหล่านี้จึงมีร่างกายใหญ่โต กํายํา มีกําลังมากกว่าสัตว์นรกทั้งหลาย และมี การแสดงกิริยาอาการดุร้ายมาก สามารถให้สัตว์นรกสะดุ้งตกใจกลัว พวกกาและสุนัข เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในนิรยภูมินี้ ก็มีรูปร่างสัณฐานใหญ่โตน่ากลัวทํานองเดียวกัน นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบตามสาธกบาลี ที่มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนุ ฎีกาว่า

ยํ ปน วทนุติ “อเนรมิกาน์ เตส์ กถ์ ตตฺถ สมุภโว” ติ เนรมิกาน ฆาตกภาว โต, เนรมิกสตุตฆาตนาโยคค์ หิ อตตภาว์ นิพพตุเตนุติ กมุม์ ตาทิสนิกนติวินา มิต์ นิรยฏฐาเนเยว นิพพุตุเตติ, เต จ เนรมิเกหิ อธิกตรพลาโรหปริณาหา อติวิย ภยานกสนตาสกรูรตรปโยคา จ โหนติ, เอเตเนว ตตฺถ กากสุนขาที่นปี นิพพฤติ ส่วณณิตาติ ทฏฐพุพํ.

พวกนกแร้ง กา เหยี่ยว สุนัขที่อยู่ในนรกเหล่านั้น พึงทราบว่า ได้แก่ นกแร้ง ยักษ์ กายักษ์ เหยี่ยวยักษ์ และสุนัขยักษ์นั้นเอง ส่วนนกแร้งเป็นต้นที่เป็นดิรัจฉาน ธรรมดาย่อมไม่สามารถที่จะมีร่างกาย และการแสดงกิริยาอาการที่โหดร้ายน่ากลัว เหล่านี้ ไม่สามารถปรากฏขึ้นได้แก่ ดังสาธกบาลี มีมาในจตุตถปาราชิกกัณฑอัฏฐกถา ว่า คิชฌาปี กากาปี กุลลาปีติ เอเตปี ยกขคิชฌา เจว ยกุขกากา จ ยกุขกุลลา จ ปจเจตพุพา, ปากติกาน ปน คิชฌาทีน อาปาถมปี เอต์ รูป์ นาคจุฉติ”


เทวทูต ๕ จําพวก

ที่มาในพระบาลีอุปริปัณณาสและอัฏฐกถา
บรรดาบุคคลทั้งหลายที่กําลังเป็นไปอยู่ในโลกทุกวันนี้ ย่อมมีอัธยาศัยจิตใจยิ่งหย่อนกว่ากันและกันในความประพฤติดีและไม่ดี มากบ้างน้อยบ้าง มากมายหลายประการ แต่เฉพาะ ณ ที่นี้จะได้กล่าวโดยย่อๆ พอสมควรแก่ความประพฤติของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นเพียง ๔ ประเภท คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอัธยาศัยชอบบําเพ็ญกุศลมาก
๒. บางคนมีอัธยาศัยชอบบําเพ็ญกุศลและก่ออกุศลเท่าๆ กัน
๓. บางคนชอบก่ออกุศลมากกว่ากุศล
๔. บางคนชอบก่ออกุศลฝ่ายเดียว

บรรดาบุคคลทั้ง ๕ ประเภทนี้ บุคคลประเภทที่หนึ่งในขณะใกล้จะตายย่อม ระลึกนึกถึงกุศลได้มาก ฉะนั้น บุคคลจําพวกนี้ย่อมจะพ้นจากการไปบังเกิดในอบายภูมิ ทั้ง ๔

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ นั้น ถ้าตัวเองพยายามระลึกถึงกุศลให้มาก หรือมิฉะนั้น ญาติคนใดคนหนึ่ง มาช่วยเตือนสติระลึกนึกถึงกุศล ก็สามารถช่วยให้พ้นจากการไป อบายได้เหมือนกัน เว้นไว้แต่ตัวเองก็ไม่พยายามระลึกถึงกุศลที่ตนได้กระทําไว้และก็ไม่มีญาติคนใดที่จะคอยเตือนสติให้ คงเหลือแต่ความกลุ้มใจเสียใจ และห่วงใยในทรัพย์สมบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ไม่มีหนทางที่จะพ้นจากอบายไปได้

ส่วนบุคคลที่อยู่ประเภทที่ ๓ นั้น อกุศลอาจิณณกรรมมากกว่ากุศล ลําพังตัวเองแล้วย่อมไม่สามารถนึกถึงกุศลนั้นได้ ยกเสียแต่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น ถึงกระนั้น การช่วยเหลือโดยการเตือนสติจากผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการช่วยเหลือ เป็นพิเศษจึงจะพ้นจากอบายได้ ถ้าเป็นการช่วยเหลืออย่างสามัญธรรมดาแล้ว ผู้นั้น ก็ยังไม่สามารถที่จะกลับใจมารับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้นๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคล จําพวกนี้ย่อมจะต้องไปสู่อบายโดยแน่นอน

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๔ นั้น ย่อมไม่พ้นจากการไปสู่อบายได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อัครสาวก และมหาสาวกเท่านั้น ที่จะช่วยเหลือได้ และการที่จะได้รับความช่วยเหลือจากท่านเหล่านี้ ผู้นั้นก็จะต้องมีกุศลอปราปริยเวทนียกรรมที่มี กําลังมากคือได้แก่กุศลกรรมที่ตนได้เคยสร้างไว้แล้วในชาติก่อนๆ

ฉะนั้น ถ้าบุคคลจําพวกนี้ต้องไปสู่นรกแล้ว ก็ไปสู่นรกโดยตรง ไม่มีโอกาสที่จะ ได้พบกับยมราชเพื่อทําการไต่ถาม

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ และที่ ๓ ถ้าต้องไปสู่นรกแล้ว ก็มีโอกาสได้พบกับยมราช เพื่อทําการไต่สวนและสอบถามถึงเรื่องเทวทูต ๕ จํานวนมากเสียก่อน แล้วจึงจะได้ ไปเสวยทุกข์ในนรกนั้นๆ ภายหลัง เมื่อบุคคลผู้นั้นได้มาสู่นรก นายนิรยบาลทั้งหลาย ต่างก็นําตัวผู้ที่ต้องมาสู่นรกนั้น มาหาพญายมราช


คําถามของยมราชอันได้แก่เทวทูต ๕ จําพวกนั้น ดังนี้

เทวทูตที่หนึ่ง คือ ความเกิด อันได้แก่ ทารกแรกเกิด
เทวทูตที่สอง คือ ความแก่ อันได้แก่ คนชรา
เทวทูตที่สาม คือ พยาธิ อันได้แก่ ผู้ป่วยไข้
เทวทูตที่สี่ คือ ผู้ที่ถูกลงโทษตามกฎหมาย อันได้แก่ คนต้องราชทัณฑ์
เทวทูตที่ห้า คือ มรณะ อันได้แก่ คนตาย

เมื่อยมราชได้เห็นบุคคลเหล่านั้นแล้ว จึงกล่าวขึ้นว่า “นี่แน่ะเจ้า บัดนี้เราจะ ถามเจ้าว่า เมื่อเจ้ายังอยู่ในมนุษยโลกนั้น ได้เคยเห็นเด็กแรกเกิดบ้างหรือเปล่า?
สัตว์นรกกล่าวตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าได้เห็นเด็กแรกเกิดนั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวของเจ้านี้ก็จะต้องเกิดอีกเช่นเดียวกัน และได้เคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากความเกิด อันเป็นชาติทุกข์บ้างไหม? สัตว์นรกได้ฟังคําถามของยมราชเช่นนี้แล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ถ้าในขณะนั้นระลึกถึงกุศลไม่ได้ก็กล่าวตอบว่าข้าพเจ้าเคยเห็นเด็กแรกเกิดก็จริง แต่ก็ไม่มีความนึกคิดอะไร คงมี แต่ความยินดี พอใจเพลิดเพลินสนุกสนาน ไปตามวิสัยธรรมดาของชาวโลกเท่านั้น

ยมราชจึงกล่าวต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น ความประมาทของเจ้าก็ดี ความเพลิดเพลิน สนุกสนานต่างๆ ของเจ้าที่ได้กระทําไปแล้วก็ดี ล้วนแต่เป็นความประมาทเพลิดเพลินที่เกิดจากตัวของเจ้าทั้งนั้น ไม่ใช่บิดามารดา บุตรภรรยา มิตรสหาย พี่น้องครูบาอาจารย์ หรือเทวดาทั้งหลายมากระทําให้เจ้า ฉะนั้น เจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าได้ เคยกระทําไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้ ตัวเจ้าได้ทําไว้ อย่างไรเจ้าก็ต้องเป็นผู้ได้รับผลอย่างนั้น

แล้วยมราชก็ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าเคยเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนต้อง ราชทัณฑ์ และคนตายบ้างไหม ? สัตว์นรกก็กล่าวตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงกล่าวถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนต้อง ราชทัณฑ์ หรือคนตายอยู่นั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวเจ้านี้ก็ต้องมี ความแก่ ความเจ็บ ต้องเป็นคนต้องราชทัณฑ์ และมีความตายเป็นธรรมดา เช่น เดียวกันกับบุคคลที่เจ้าได้เห็นอยู่นั้นแล้ว พยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา อันเป็น กุศลกรรมเพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และสามารถช่วยตนให้พ้นจากทุกข์โทษต่างๆ ได้บ้างหรือเปล่า ในเมื่อเจ้ายังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก

เมื่อสัตว์นรกได้ฟังคําถาม ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ครั้งที่สี่ และครั้งที่ห้า ถ้าระลึกถึงกุศลได้ก็ย่อมพันไปจากนรก ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ ก็กล่าวตอบแก่ยมราช อย่างเดียวกันกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในเทวทูตที่หนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ยมราชก็พยายามช่วยระลึกให้ว่า สัตว์นรกผู้นี้ได้สร้างกุศล อะไรไว้บ้าง เพราะตามธรรมดาคนที่สร้างกุศลนั้น ย่อมแผ่ส่วนกุศลนั้นๆ ให้แก่ยมราช ฉะนั้น ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนา แล้วได้อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ยมราช ก็ย่อมจะระลึกถึงกุศลนั้นได้ เพราะตนเคยได้รับส่วนบุญจากบุคคลนั้นๆ ถ้าบุคคลใด สร้างทาน ศีล ภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ได้อุทิศส่วนบุญให้แก่ยมราช ยมราชก็ไม่สามารถที่จะระลึกนึกถึงกุศลของบุคคลนั้นได้ ถ้ายมราชช่วยระลึกให้ไม่ได้ก็นิ่งเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้นายนิรยบาลทั้งหลายก็จะนําสัตว์นรกนั้นออกไปลงโทษ ตามแต่ อกุศลกรรมของสัตว์นรกนั้นได้กระทํามา

ถ้าหากว่ายมราชระลึกถึงกุศลกรรมของสัตว์นรกผู้นั้นได้ ก็ช่วยบอกให้ เมื่อสัตว์นรกนั้นได้ฟังคําบอกเล่าของยมราชแล้วก็ระลึกได้ว่า เรานี้ก็ได้เคยสร้างทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างนี้ๆ เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้เช่นนี้ ในขณะนั้นก็พ้นไปจากนรก

ฉะนั้น การช่วยเตือนสติให้ระลึกนึกถึงกุศลกรรมของยมราชจึงเป็นเหตุ ส่วนการระลึกได้ในกุศลกรรมของสัตว์นรกเองเป็นผล และการระลึกถึงกุศลกรรมของตน ได้เป็นเหตุ การพ้นจากนรกเป็นผล


มหานรก ๘ ขุม โดยลําดับ

๑. สัญชีวนรก
สํ ปูนปูน ชีวนติ เอตถาติ สญชีโว “สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ในนรกนั้นบ่อยๆ เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สัญชีวะ”
ในนรกใด นายนิรยบาลผู้มีมือถืออาวุธอันมีแสง ฟันสัตว์นรกทั้งหลาย สัตว์นรกเหล่านั้นถึงแม้ถูกฟันจนตายแล้วก็กลับฟื้นคืน ชีพได้อีก นรกนั้น เรียกว่า สัญชีวะ

๒. กาฬสุตตนรก
กาฬสุตต์ ฐเปตวา ตจุฉนุติ เอตถาติ กาฬสุตโต นายนิรยบาลทั้งหลายใช้เชือกดําตีเส้นแล้วก็ถากหรือเลื่อยตัดสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่ากาฬสุตตะ อีกนัยหนึ่งตั้งวจนัตถะว่า
กาฬสุตตานิ ปาเตตวา วาสิปรสุกุทารีอาที่หิ ตจฉนุติ เอตฺถ นิพพตุเต สตุ เตติ กาฬสุตโต นายนิรยบาลทั้งหลายใช้เชือกดําตีเส้นแล้วก็ถากหรือเลื่อยสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ด้วยเครื่องประหาร มีมีดขวานจอบ เลื่อย เป็นต้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า กาฬสุตตะ” ในนรกใด นายนิรยบาลทั้งหลายใช้เชือกดําตีเส้น แล้วติดตาม ถากหรือเลื่อยซึ่งสัตว์นรกที่กําลังหกล้มอยู่นรกนั้นเรียกว่ากาฬสุตตะ

๓. สังฆาตนรก
สฆาฎนติ เอตถาติ สฆาโต ภูเขาเหล็กย่อมบดซึ่งสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นอย่างแรง (อยู่ในนรกใด) เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ อีกนัยหนึ่ง
ตั้งวจนัตถะว่า มหนุตา ชลิตา อโยปพุพตา สฆาฎนติ จุณณวิจุณณ์ กโรนุติ เอตฺถ นิพพตเต สตุเตติ สฆาโต ภูเขาเหล็กที่สูงใหญ่มีแสงไฟอันลุกโพลง ย่อมบดซึ่งสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ให้ละเอียดเป็นจุณไป (อยู่ในนรกใด) เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ อโยมยปถพย์ ยมหิ กฏิมตต์ ปเวสเต อโยเสลา สฆาเฏนุติ สฆาโตติ ปวจจเต.ในนรกใด ภูเขาเหล็กที่มีเปลวไฟบดสัตว์นรกทั้งหลายที่กําลัง จมลงไปในแผ่นดินเหล็กลึกถึงสะเอว นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ

๔. โรรุวนรก (ธูมโรรุวะหรือจูฬโรรุวะ)
มหารว์ รวมุติ เอตถาติ โรรุโว สัตว์นรกทั้งหลายร้องไห้ด้วยเสียงอันดังในนรกใด เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า โรรุวะ อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า
มหนุเตหิ สทุเทหิ นิจกาล รวมุติ เอตฺถ นิพพฤตา สตุตาติ โรจุโว สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในนรกนั้น ย่อมพากันร้องไห้ด้วยเสียงอันดังอยู่ตลอดเวลา เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่า โรรุวะ ธูเมหิ ปวิสิตวาน เสทมานา ทยาวห์ มหารว์ รวนเตตุถ วุจจเต ธูมโรรุโว ในนรกใด สัตว์นรกทั้งหลายถูกควันไฟเข้าไปสู่ทางทวารทั้ง ๙ อบให้เร่าร้อน แผดร้องด้วยเสียงอันดังน่าสงสาร นรกนั้นเรียกว่า ธูมโรรุวะ

๕. มหาโรรุวนรก (ชาลโรรุวะ)
มหนุโต โรรุโว มหาโรรุโว นรกที่มีการร้องไห้เสียงดังกว่าจูฬโรรุวนรก เรียกว่า มหาโรรุวนรก
ชาลาทิ ปวิสิตวาน ทยุหมานา ทยาวท์ มหารวิ รวนเตตุถ วุจจเต ชาลโรรุโว สัตว์นรกทั้งหลายถูกเปลวไฟเข้ามาทางทวาร ๙ ไหม้อยู่ แผด ร้องด้วยเสียงอันดังน่าสงสาร อยู่ในนรกใด นรกนี้เรียกว่า ชาลโรรุวะ หรือ มหาโรรุวะ

๖. ตาปนนรก (จูฬตาปนะ)
ตาเปตีติ ตาปโน นรกที่แผดเผาสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนอยู่ เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า ตาปนะ อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า
นิจจเล สตุเต ตาเปติ เอตถาติ ตาปโน ไฟนรกย่อมไหม้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายที่ถูกตรึงอยู่ในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียก ว่า ตาปนะ ชดิเต อยสูลมหิ นิจจล์ นิสิทาปิเต ตาเปติ ปาปเก ปาเณ ตาปโนติ ปวจจเต. นรกใดยังสัตว์ทั้งหลายผู้ลามก ให้นั่งตรึกติดอยู่ในหลาวเหล็ก อันร้อนแดงแล้วให้ไฟไหม้อยู่ เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า ตาปนะ

๗. มหาตาปนนรก (ปตาปนะ)
อติวิย ตาเปตีติ มหาตาปโน นรกที่แผดเผาสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนเหลือประมาณ เหตุนั้น นรกนั้น จึงเรียก ว่า มหาตาปนะ
อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า มหนุโต ตาปโนติ มหาตาปโน นรกที่ยังสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนยิ่งกว่าจูฬตาปนนรก เหตุนั้น นรกนั้น เรียก ว่า มหาตาปนะ อยเสดํ อาโรเปตฺวา เหฎฐา สูล์ ปตาปิย ปาปเก โย ปตาเปติ ปตาปโนติ วุจจเต. นรกใด ยังสัตว์ทั้งหลายผู้ลามกให้ขึ้นสู่ภูเขาเหล็กที่กําลังร้อน แล้วตกลงไปสู่หลาวที่อยู่ข้างล่าง ด้วยอํานาจของลมและไฟไหม้อยู่ เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่า ปตาปนะ หรือ มหาตาปนะ

๘. อวีจินรก
นตฺถิ วิจิ เอตถาติ อวีจิ ช่องว่าง (แห่งเปลวไฟสัตว์นรกและความทุกข์) ไม่มีในนรกนั้น เหตุนั้น นรก นั้น เรียกว่า อวีจิ
อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า สตตาน วา อคคิชาลานํ วา ทุกขเวทนาน์ วา นตฺถิ วิจิ อนุตร์ เอตถาติ อวีจิ ระหว่างแห่งสัตว์ทั้งหลายและเปลวไฟ การเสวยทุกข์ไม่มีว่าง เลยในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้นจึงเรียกว่า อวีจิ ชาลาน์ สตุตาน ยตฺถ นตฺถิ ทุกขสุส อนุตร์ พาลาน์ นิวาโส โส ห อวีจีติ ปวจจเต. ช่องว่างแห่งเปลวไฟ สัตว์นรกทั้งหลายและความทุกข์ไม่มีใน นรกใด เหตุนั้น นรกอันเป็นที่อยู่แห่งสัตว์พาลทั้งหลายเสมอนั้น เรียกว่า อวีจิ

มหานรกทั้ง ๔ ขุม จบ


อุสสทนรก ๕ ขุม
อุสสทนรก ๕ ขุม มีโดยลําดับดังนี้ คือ

๑. คูถนรก
อวีจิมหา ปมุตตาปี อมตตา เสสปาชิโน ปจุจนติ ปูติเก คูเถ ตสเสว สมนนุตเร. สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้จะพ้นจากอวีจีมหานรกแล้วก็ยังไม่หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ยังต้องเสวยทุกข์ต่อไป คือยังถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกอุจจาระเน่าที่อยู่ติดต่อกับอวีจิมหานรกนั้นเอง

๒. กุกกุลนรก
ปูติคถา ปมุตตาปี อมตตา เสสปาชิโน ปจนุติ กุกกุเล อุณเห ตสุเสว สมนนุตเร. สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พันจากนรกอุจจาระเน่า แล้วก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์ต่อไป คือถูก เบียดเบียนอยู่ในนรกขี้เถ้าร้อน ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับคูถนรกนั้นเอง

๓. สิมพลิวนนรก
กุกกุลมหา ปมุตตาปิ อมตตา เสสปาชิโน ปจจนติ สิมพลีทาเย ตสเสว สมนนุตเร. สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ถึงแม้พ้นจากนรกขี้เถ้าร้อนแล้ว ก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์ต่อไป คือถูก เบียดเบียนอยู่ในนรกป่าไม้งิ้ว ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับกุกกุลนรกนั้นเอง

๔. อสิปัตตวนนรก
สิมพลีมหา ปมุตตาปี อมตตา เสสปาชิโน ปปจจนติ อสิปตเต ตสเสว สมนนุตเร. สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่นั้น ถึงแม้พ้นจากนรกป่าไม้งิ้วแล้ว ก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องไปเสวยทุกข์ต่อไป คือ ถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกป่าไม้ใบดาบ ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับสิมพลิวนนรกนั้นเอง

๕. เวตตรณีนรก
อสิปตตา ปมุตตาปี อมตตา เสสปาปิโน ปปจจนติ ขาโรทเก ตสุเสว สมนนุตเร. สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้นจากนรกป่าไม้ใบดาบ ก็ยังไม่หลุดพ้นยังต้องเสวยทุกข์ คือถูกเบียดเบียน อยู่ในนรกแม่น้ำเค็มที่มีหวายหนาม ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับอสิปัตตวนนรกนั้นเอง

อุสสทนรก ๘ ขุม ที่มาในโลกบัญญัติปกรณ์

๑. หลุมนรกอันเต็มด้วยถ่านเพลิง เรียกว่า องฺคารกาสุนิรย
๒. นรกน้ำเหล็ก เรียกว่า โลหรสนิรย
๓. นรกขี้เถ้า เรียกว่า กุกฺกุลนิรย
๔. นรกน้ำร้อน เรียกว่า อคฺคิสโมทกนิรย
๕. นรกกระทะทองแดง เรียกว่า โลหกุมฺภีนิรย
๖. นรกอุจจาระเน่า เรียกว่า คูถนิรย
๗. นรกป่าไม้งิ้ว เรียกว่า สิมฺพลิวนนิรย
๘. นรกแม่น้ำเค็มที่มีหวายหนาม เรียกว่า เวตฺตรณีนิรย

มหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๓๒ ( คือขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๔ x ๘ ทิศ มี ๓๒ มหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๓๒) ดังนั้น มหานรก ๘ ขุม จึงมีอุสสทนรก ๒๕๖ ขุม


ประเภทแห่งอวีจินรก
ที่มาในสฬายตนสังยุตตอัฏฐกถา และอังคุตตรอัฏฐกถา

๑. ปหาสนิรย
๒. อปราชิตนิรย
๓. อพพุทนิรย
๔. นิรพฺพุทนิรย
๕. อพพนิรย
๖. อหหนิรย
๗. อฏฏนิรย
๘. กุมุทนิรย
๙. โสคนฺธิกนิรย
๑๐. อุปฺปลนิรย
๑๑. ปุณฑรีกนิรย
๑๒. มหาปทุมนิรย


การจําแนกโทษของสัตว์ทั้งหลายที่ต้องไปสู่นรก

๑. พระราชามหาอํามาตย์และผู้ที่มีอํานาจมาก (กายพละ โภคพละ อาณาพละ) เวลาอยู่ในมนุษยโลกเบียดเบียนบุคคลที่ต่ํากว่าตนโดยความไม่เป็นธรรม หรือ พวกมหาโจรที่ปล้นและทําลายบ้านเมืองตลอดถึงฆ่าคน แล้วก็เอาทรัพย์สมบัติหนีไป บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในสัญชีวนรก เป็นส่วน มาก

๒. บุคคลที่เบียดเบียนหรือฆ่า ภิกษุ สามเณร ดาบส หรือเพชฌฆาตที่มีหน้าที่ ประหารบุคคล พวกภิกษุสามเณรผู้ทุศีลเป็นอลัชชี บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตาย แล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในกาฬสุตตนรก เป็นส่วนมาก อีกนัยหนึ่ง บุคคลที่ฆ่าพ่อแม่ก็ได้ ไปเสวยทุกข์อยู่ในกาฬสุตตนรก นี้เช่นกัน (แสดงไว้ในสังกิจจชาดก)

๓. บุคคลที่มีหน้าที่ทรมานช้าง ม้า โค กระบือ ฯลฯ และบุคคลที่เบียดเบียน สัตว์ที่ตนกําลังใช้ทําประโยชน์ โดยไม่มีความเมตตาสงสารสัตว์ และจําพวกนาย พรานนกนายพรานเนื้อ เหล่านี้ เป็นต้น บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ ไปเสวยทุกข์อยู่ในสังฆาตนรก เป็นส่วนมาก

๔. ชาวประมง และบุคคลที่จุดป่าอันสัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่นั้น หรือบุคคลที่ยังสัตว์ไว้มีจําพวกนกเป็นต้นแล้วจึงฆ่าให้ตาย บุคคลที่กินเหล้าเมาประทุษร้ายผู้อื่น ที่ไม่สมควร บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วย่อมไปเสวยทุกข์อยู่ในจูฬโรรุวนรก เป็นส่วนมาก

๕. บุคคลที่ขโมยทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือขโมยของภิกษุ สามเณร ดาบส แม่ชี ให้ได้รับความลําบาก หรือขโมยเครื่องสักการะที่เขาบูชา พระรัตนตรัยหรือโกงเอาของคนอื่นมาเป็นของตน และผู้ที่ขโมยด้วยประการหนึ่ง ประการใดในบรรดาขโมย ๒๕ อย่างนั้น บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในมหาโรรุวนรก เป็นส่วนมาก

๖. บุคคลที่เผาบ้านเมือง กุฏิ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท ทําลาย เจดีย์ บุคคลที่กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน จูฟิตาปนนรก

๗. บุคคลที่เข้าใจอยู่ว่าธรรมไม่ดีไม่มีสาระประโยชน์อะไร ส่วนอธรรมนั้นเข้าใจว่าดีมีสาระ หรือบุคคลที่มีอุจเฉททิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าตายแล้วสูญ ไม่มีอะไรเกิดอีก

บุคคลที่มีสัสสตทิฏฐิ คือผู้ที่มีความเห็นว่า เมื่อเป็นสุนัข, เป็นมนุษย์, เป็นคนจน, เป็นคนรวย, เป็นเทวดา, เป็นพรหม เหล่านี้เป็นต้น แล้วก็กลับเป็นสุนัขอีก, เป็นมนุษย์อีก, เป็นคนจนอีก, เป็นคนรวยอีก, เป็นเทวดาอีก, เป็นพรหมอีก, ไม่เปลี่ยนแปลง

บุคคลที่มีนัตถิกทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าการทําบุญกุศล การรักษาศีล การเจริญ สมถวิปัสสนาก็ไม่ได้รับผล การฆ่าสัตว์ ขโมยทรัพย์ก็ไม่ได้รับโทษ

บุคคลที่มีอเหตุกทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่า เป็นมนุษย์, เป็นสัตว์, เป็นคนรวย, เป็นคนจน, เป็นคนขี้เหร่, เป็นคนมีโรค ไม่มีโรค, เป็นคนมีอายุยืน อายุสั้น, เป็นคนฉลาด เป็นคนโง่, ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ

บุคคลที่มีอกิริยทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าสัตว์ทั้งหลายที่ทําอะไรๆ ก็ไม่มีผลที่กําลัง เป็นอยู่ก็ไม่มีเหตุและบุคคลที่ชักชวนผู้อื่นให้เชื่อตามมติของตน

บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้เสวยทุกข์อยู่ในมหาตาปนนรก หรือเวตตรณีอุสสทนรก แล้วแต่ว่ากรรมจะมีกําลังมากหรือน้อย


สําหรับนัตถิกทิฏฐิ ๑๐ อย่าง ในข้อที่ ๗ นี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในเนมิราชชาดก ดังนี้

๑) นตฺถิ ทินฺนํ เห็นว่า ทานที่ถวายแก่สมณพราหมณ์ไม่มีผล
๒) นตฺถิ อิฏฐํ เห็นว่า ทานที่ให้แก่สาธารณชนไม่มีผล
๓) นตฺถิ หุตํ เห็นว่า การสักการะด้วยเครื่องสักการะและการต้อนรับต่างๆไม่มีผล
๔) นตฺถิ สุกฏทุกกฏานํ กมฺมานํ ผลวิปาโก เห็นว่า ผลของกรรมดี และกรรมชั่วไม่มี
๕) นตฺถิ มาตา เห็นว่า มารดาไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๖) นตฺถิ ปิตา เห็นว่า คุณของบิดาไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๗) นตฺถิ สมณพฺราหมณา เห็นว่า ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ทรงศีลปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบ สมณะและพราหมณ์ไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๔) นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่า โอปปาติกสัตว์ คือ เทวดา, พรหม, เปรต, อสุรกาย และสัตว์นรกไม่มี
๙) นตฺถิ อยู่ โลโก เห็นว่า ไม่มีโลกนี้
๑๐) นตฺถิ ปรโลโก เห็นว่า ไม่มีโลกหน้า

บุคคลใด มีนัตถิกทิฏฐิ ๑๐ อย่าง แม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดานัตถิกทิฏฐิ เมื่อตายไป จะต้องได้เสวยทุกขเวทนาอยู่ในมหาตาปนนรก หรือ เวตตรณีอุสสทนรก

๘. ในบรรดาบุคคลที่ฆ่าบิดามารดา พระอรหันต์ ทําพระบาทพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทําสังฆเภท คือยุยงสงฆ์ที่สามัคคีให้เกิดแตกแยกกัน และบุคคลที่ทําลายพุทธเจดีย์ พระพุทธรูป ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้โดยจิตคิดประทุษร้าย และบุคคลที่ติเตียนพระสงฆ์ พระอริยบุคคล ผู้มีคุณแก่ตน ผู้ที่ยึดถือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ (นัตถิกะอเหตุกะ อกิริยะ) บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน อวีจิมหานรก หรือ โลหกุมภีอุสสทนรก แล้วแต่ว่ากรรมจะมีกําลังมากหรือน้อย

๙. ผู้หญิงทําลายลูกในครรภ์ของตนเอง เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน เวตตรณีอุสสทนรก

๑๐. ผู้หญิงที่ชอบคบชู้และแย่งสามีของผู้อื่น ผู้ชายที่ชอบเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน สิมพลิวนอุสสทนรก ต่อไปยังมีการเสวยทุกข์อยู่ใน โลหกุมภีนรก ที่มีน้ำร้อนเหมือนไฟ แล้วแต่ว่ากรรมจะมีกําลังมากหรือน้อย

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงในเนมิราชชาดกว่า ผู้หญิงที่ชอบคบชู้และแย่งสามีของผู้อื่น เมื่อตายไปแล้วได้ไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ใน สังฆาตนรก โดยเฉพาะส่วนหนึ่ง ในบรรดา สังฆาตนรก เหล่านั้น ส่วนผู้ชายที่ชอบเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปแล้วได้ไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ในอังคารกาสุนรก คือนรกหลุมถ่านเพลิง


คําถามคําตอบที่เกี่ยวเนื่องด้วยนรก
มาในเนมิราชชาดก

เวตตรณีนรก
ถาม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นเหล่าสัตว์ อันทุกข์เบียดเบียนแล้วในเวตตรณีนทีก็สะดุ้งพระทัยกลัว ตรัสถามมาตุลีเทพบุตรว่าสัตว์เหล่านั้นได้ทํา กรรมอันเป็นบาปอย่างไร?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลพยากรณ์ถวายให้ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดที่อยู่ในโลกนี้ มีธรรมเป็นบาป ย่อมเบียดเบียนขัดเคืองผู้อื่นที่หากําลังมิได้ สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบร้ายกาจเช่นนี้ จึงตกอยู่ในเวตตรณีนที

นรกสุนัขด่าง
ถาม พระราชาตรัสถามว่า สุนัขแดง สุนัขต่าง แร้ง ฝูงกา มีรูปร่างน่ากลัว เที่ยวกัดสัตว์นรกเคี้ยวกิน ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้นเคี้ยวกิน สัตว์นรก เราขอถามท่านว่าสัตว์เหล่านี้ที่ถูกฝูงกาจิกกินได้ทําบาปอะไรไว้ ท่านผู้รู้วิบากแห่งสัตว์มีกรรมเป็นบาป จงพยากรณ์ บอกเราไม่รู้?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์เหล่านั้น มีความตระหนี่ถี่เหนียว ดุด่า สมณพราหมณ์ เบียดเบียนขัดเคืองสมณพราหมณ์ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้ายแรง ฉะนั้น ฝูงกาจึงได้จิกกินสัตว์เหล่านั้น

นรกแผ่นดินเหล็ก
ถาม พระราชาตรัสถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้น ด้ทําบาปอย่างไร จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กอันลุกโพลงอยู่เห็นปานนี้?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรตอบว่า เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นอยู่ในมนุษยโลกได้ทําบาป คือเบียดเบียนประทุษร้ายชายหญิงผู้มีธรรมเป็นกุศล จึงได้มาเสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้

นรกหลุมถ่านเพลิง
ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ได้ทําบาปอย่างไรไว้หรือจึงได้มาร้องครวญครางอยู่ ในกองถ่านเพลิง?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้น พยายามโกงทรัพย์ของประชุมชน คือทําการเรี่ยไรทรัพย์ของประชาชน โดยอ้างว่าจะเอาไปปฏิสังขรณ์สถาปนา ถาวรวัตถุ แล้วทําการติดสินบนผู้เป็นประมุข เอาทรัพย์เหล่านั้นใช้เป็นส่วนตัวเสีย กล่าวเท็จว่าได้มาแต่รายนี้เท่านี้จ่ายไปเท่านี้ ตกอยู่ในทํานองทําการหลอกลวง ประชุมชน เพราะกรรมหยาบร้ายอย่างนี้ จึงมาร้องครวญครางอยู่ในกองถ่านเพลิง

โลหกุมภีนรกที่ ๑
ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทําบาปอะไรจึงตกในโลหกุมภี?
ตอบ สัตว์นรกเหล่านั้น ทําบาป เบียดเบียน ประทุษร้ายสมณพราหมณ์ผู้มีศีลจึงตกลงไปในโลหกุมภี

โลหกุมภีนรกที่ ๒
ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทําบาปอะไร จึงนอนศีรษะขาดอยู่?
ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้น ยังมีชีวิตอยู่ ได้จับนกมาฆ่า ด้วยกรรมอันหยาบร้ายอย่างนี้ จึงได้มานอนศีรษะขาดอยู่

นรกแม่น้ำขี้เถ้าร้อน
ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทําบาปอะไร เมื่อเวลาดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นขี้เถ้าร้อน?
ตอบ สัตว์นรกเหล่านั้นมีการงานอันไม่บริสุทธิ์ ขายข้าวเปลือกปูนด้วยทราย หรือดินเป็นตันแก่ผู้ซื้อ ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นจึงมีความร้อนยิ่งกว่าไฟ กระหาย น้ำมากเมื่อดื่มนํ้า นํ้าก็กลายเป็นขี้เถ้าร้อนไป

นรกอาวุธต่างๆ
ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทําบาปอะไรจึงได้ถูกทรมานด้วยหอกนอนอยู่?
ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้หลอกลวงฉ้อโกงทรัพย์สินเงินทองของเขา และตัดช่องย่องเบา ปล้น จี้ เอาข้าวของเงินทองตลอดจนสัตว์เลี้ยง เอามาเลี้ยงชีวิต เมื่อทําการหยาบร้าย ดังนี้ จึงมาถูกทรมานด้วยหอกนอนอยู่

นรกกองเนื้อ
ถาม พระเจ้าเนมิราช ได้ทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่าหนึ่งถูกนายนิรยบาลผูกคอด้วยเชือกเหล็กอันลุกโพลง แล้วคร่าตัวมาให้นอนลงบนแผ่นดินที่เป็น แผ่นเหล็กลุกโพลง ทุบตีด้วยอาวุธต่างๆ และอีกพวกหนึ่งถูกนายนิรยบาลตัดตัวเป็นชิ้นๆ วางไว้ จึงทรงถามพระมาตุลีว่า สัตว์เหล่านั้นทํากรรมอะไรจึงได้เป็นเช่นนี้?
ตอบ พระมาตุลีทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นเคยเป็นผู้ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่า ปลา เป็นต้น ครั้นฆ่าแล้วก็เอาไปวางขายในร้านที่ขายเนื้อ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้ายมาก จึงได้มาถูกตัดตัวเป็นชิ้นๆ วางอยู่ดังนี้

นรกอุจจาระปัสสาวะ
ถาม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่าหนึ่งกําลังกินมูตรและคูถอยู่ จึงทรงถามว่า สัตว์เหล่านั้นทํากรรมอะไรจึงได้มากินมูตรและคูถเป็นอาหารดังนี้?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทําความทุกข์เบียดเบียน มิตรสหาย เป็นต้น ตั้งมั่นในความเบียดเบียนผู้อื่นทุกเมื่อ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้าย ประทุษร้ายมิตรเช่นนี้ จึงได้มาเคี้ยวกินคูถอยู่

นรกเลือดหนอง
ถาม สัตว์นรกเหล่าหนึ่งมีความหิวกระหายครอบงําจัดไม่สามารถกลั้นความหิวไว้ได้ก็เคี้ยวกินโลหิตบุพโพ จึงตรัสถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทํากรรมอะไรไว้?
ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก ได้ฆ่ามารดา บิดา และ พระอรหันต์ ชื่อว่าต้องปาราชิกทางคิหิเพศ มีกรรมหยาบช้าอย่างนี้ จึงต้องมาเสวย ทุกข์มีโลหิตและบุพโพเป็นอาหาร

นรกเบ็ดเหล็ก
ถาม สัตว์นรกเหล่าหนึ่งถูกนายนิรยบาลเอาเบ็ดลุกโพลงเป็นไฟโตเท่าลําตาลเกี่ยวลิ้น และคร่าตัวให้นอนลงบนแผ่นโลหะที่ลุกโพลงเป็นไฟ แล้วเอาขอเหล็กสับหนังดุจสับหนังโค ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นมิอาจทนทุกข์ได้ จึงพากันดิ้นรนเหมือน ปลาดิ้นอยู่บนบก ต่างร้องไห้ครวญครางอยู่ จึงทรงถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทํา กรรมอะไรไว้?
ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นเป็นมนุษย์อยู่ เป็นผู้ตีราคาของ ยังราคาซื้อให้เสื่อมไป คือรับสินจ้างผู้ซื้อของราคามากตีราคาน้อยให้ผู้ซื้อไปทํากรรมอันโกง เพราะมีความโลภ ปกปิดความโกงไว้ด้วยถ้อยคําอันอ่อนหวาน ดุจคนทําการตกปลา หุ้มเบ็ดให้มิดชิดด้วยเหยื่อแล้วตกปลามาฆ่าเสีย ฉะนั้น บุคคลที่จะช่วยป้องกันความโกงของคนเหล่านั้นไม่มีเลย สัตว์นรกเหล่านั้นทํากรรมหยาบร้ายอย่างนี้ จึงต้องถูก เบ็ดเกี่ยวลิ้นทนทุกข์อยู่

นรกภูเขาเหล็ก
ถาม พระราชาบรมโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นนางสัตว์นรกเหล่านั้นมีร่างกายอันแตก มีชาติทรามเปรอะเปื้อนด้วยโลหิตและบุพโพ มีศีรษะขาดเหมือนฝูงโคที่มีศีรษะขาดบนที่ฆ่า ประคองแขนทั้ง ๒ ร้องไห้ ร่างกายของนางสัตว์เหล่านั้นจมอยู่ในพื้นแผ่นดินเพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทิศลุกโพลงผลัดกันบดนางสัตว์ เหล่านั้นให้ละเอียดไปแล้วกลับปรากฏเป็นศีรษะขึ้นมาใหม่อีก เป็นอยู่เช่นนี้มิได้หยุ หย่อน สัตว์นรกเหล่านั้นได้ทํากรรมอะไรไว้ จึงมาถูกฝังอยู่เพียงเอวในภาคพื้นดินทุกเมื่อ?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า เมื่อครั้งนางสัตว์นรกทั้งหลายเป็นกุลธิดาอยู่ในมนุษยโลก มีการงานไม่บริสุทธิ์ ได้ประพฤติกรรมอันไม่สมควร คือนางเหล่านั้นเป็นชาตินักเลงและทิ้งสามีไป ยังจิตใจของตนให้ยินดีในบุรุษอื่น ตายแล้วมาเกิดในนรกนี้จึงถูกภูเขาไฟมาแต่ ๔ ทิศ ผลัดกันบดร่างกายให้ปุ่นเป็นจุรณวิจุรณไป

สัตว์นรกที่มีศีรษะทิ่มลง
ถาม สัตว์นรกที่มีศีรษะทิ่มลงเบื้องล่าง เพราะนายนิรยบาลได้จับสัตว์เหล่านั้นพุ่งให้ศีรษะทิ่มลงไปในนรก เหตุไรสัตว์นรกเหล่านั้นจึงถูกนายนิรยบาลจับตัวพุ่ง ให้ศีรษะทิ่มลงไป?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้ประกอบทุราจารกรรม คือล่วงภรรยาแห่งบุรุษอื่น และลักภัณฑะอันอุดม จึงต้องมาสู่นรกนี้ เสวย ทุกขเวทนาสิ้นเวลาช้านาน สัตว์นรกเหล่านั้นมีการงานอัน หยาบร้าย บุคคลที่จะช่วยป้องกันสัตว์นรกผู้มีปกติทําบาปเช่นนี้ย่อมไม่มี ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นจึงต้องมาเสวยทุกข์อยู่

นรกป่าไม้งิ้ว
ถาม เมื่อพระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกน้อยใหญ่ บางพวกประกอบเหตุการณ์มีรูปร่างพิลึกปรากฏอยู่ในนรก สัตว์นรกเหล่านั้นได้ทําบาปอะไร ไว้จึงมีทุกข์มากยิ่ง เสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนอย่างนี้ ?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้มีความเห็นผิด หลงทํากรรมจนเคยชินด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ คือ ทานที่ให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล เช่นสรวงไม่มีผล ผลของความดีชั่วไม่มี มารดาบิดาไม่มี สมณพราหมณ์ไม่มี สัตว์ลอยมาเกิดไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี ชักชวนผู้อื่นให้มีความเข้าใจผิดในทิฏฐิเช่นนี้ เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนมากยิ่ง


สัตว์ที่กําลังเสวยทุกข์อยู่ในประเทศส่วนหนึ่งแห่งอวีจินร
โทษและการเสวยทุกข์ในปหาสนิรยะ

ในมนุษยโลก บุคคลที่มีความยินดีพอใจหลงใหลไปในกามคุณทั้ง ๕ มีการฟ้อน รํา ขับร้อง แสดงละคร ลิเกต่างๆ โดยเป็นพระเอกบ้าง นางเอกบ้าง ร้องไห้ หัวเราะ ร้องเพลง ฟ้อนร่า และเต้นรํา แล้วแต่เรื่องที่ตนแสดง ทําให้ผู้ดูเกิดความยินดีบ้าง เศร้าโศกบ้าง บางทีเกิดความสนุกสนานขึ้นมาจนลืมตัว มัวแต่ชมบทบาทของพระเอก นางเอกที่กําลังแสดงอยู่เฉพาะหน้า บุคคลที่ฟ้อนรําหรือบุคคลที่แสดงละครลิเกเหล่า นี้เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในปหาสนรก ในขณะเสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นคล้ายๆ กับว่าฟ้อนรํา หรือร้องเพลงอยู่

โทษและการเสวยทุกข์ในอปราชิตนิรยะ
ในมนุษยโลก บุคคลที่มีความยินดีพอใจในการรบกัน (ทําสงคราม) อยู่เสมอๆ บุคคลเหล่านี้เมื่อตายแล้ว ได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในอปราชิตนรก ในขณะเสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นคล้ายกับว่า นั่งรถที่เทียมด้วยช้างหรือม้าถืออาวุธ ๕ อย่างพร้อมโล่ ฆ่าฟัน กันอยู่ตลอดเวลา

โทษและการเสวยทุกข์ในนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทนรกเป็นต้น
บุคคลที่อยู่ในมนุษยโลก ได้กล่าวคําติเตียนดูถูกพระอริยเจ้าด้วยประการอันมิชอบ ครั้นตายแล้วจึงได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทะเป็นต้น ดังมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระโกกาลิกะได้กล่าว ครหาว่าพระอัครสาวก ๒ รูป คือพระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานเถระ ได้ล่วงเกินปาราชิกสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เมื่อพระโกกาลิกะตายแล้วได้ ไปเสวยทุกข์อยู่ในมหาปทุมนรกเพราะโทษแห่งการกล่าวคําที่ไม่จริง

อธิบายชื่อแห่งนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทนรกเป็นต้น
ในที่นี้คําว่า อัพพุทะ นิพพุทะ อพพะ เป็นต้นนี้ เป็นชื่อของหลักสังขยาที่ใช้ สําหรับการนับ ทั้งนี้โดยเริ่มต้นนับที่หลักหน่วย ร้อย, พัน, หมื่น, แสน, ล้าน, โกฏิ.. ฉะนั้น การที่เรียกชื่อนรกเหล่านี้ว่า อัพพุทะ นิรัพพุทะ อพพนรก จึงเป็นการนําเอาคําที่ระบุหลักสังขยามาตั้งเป็นชื่อของนรก ซึ่งหากในนรกใด อายุตรงตามหลักสังขยาใด ท่านก็จะใช้หลักสังขยานั้นมาทําเป็นชื่อของนรกนั้นๆ

ประมาณแห่งอายุในอัพพุทนรกคือนับด้วยจํานวนเมล็ดงาสี่ร้อยเก้าโกฏิหกแสนเมล็ด ในจํานวนเมล็ดงาทั้งหมดนี้ ร้อยปีของมนุษย์เอาออกทิ้งเสียเมล็ดหนึ่งไป จนกว่าจะหมดเมล็ดงาสี่ร้อย เก้าโกฏิหกแสนเมล็ดจึงเท่ากับอายุของอัพพุทนรก,ส่วนอายุของนิรัพพุทนรกนี้มากกว่าอายุของอัพพุทนรกยี่สิบเท่า, ส่วนอายุของอพพนรกก็มากกว่าของนิรัพพุทนรกยี่สิบเท่า

แม้ในส่วนอายุของ อหหะ อฏฏะ กุมุทะ โสคันธิกะ อุปปละ ปุณฑริกะ มหาปทุมะ นรกเหล่านี้ ก็มีอายุมากกว่ากันและกันด้วยจํานวนยี่สิบเท่าขึ้นไปตามลําดับ (มาในพระบาลีอังคุตตรนิกายและอัฏฐกถา)


ความทุกข์และการอยู่ในนรกโดยไม่แน่นอน

พระเทวทัต
พระเทวทัตได้กระทําการเบียดเบียนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ฉะนั้น พระเทวทัตจึงได้ไปบังเกิดในอวีจิมหานรกโดยตรง ในขณะที่ เสวยทุกข์อยู่ในอวีจิมหานรกนั้น มีร่างกายสูงประมาณร้อยโยชน์ ตั้งแต่หูขึ้นไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดงที่วางหนุนศีรษะ เบื้องล่างแต่ตาตุ่มลงไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดง ตาปูโดยประมาณเท่าต้นตาลดอกมือทั้งสองข้างติดไว้กับฝา หลาวเหล็กแทงข้างซ้าย ทะลุถึงข้างขวา แทงข้างหน้าทะลุถึงข้างหลัง แทงแต่ศีรษะทะลุลงมาถึงเบื้องล่างไม่ มีการกระดุกกระดิก และมีเปลวไฟเผาอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะพ้นจากอวีจีนรก

เรื่องพระนางมัลลิกาเทวี
พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระนามว่ามัลลิกา ในขณะที่พระนางยังอยู่ในมนุษยโลกได้ทรงสร้างบุญกุศลไว้มาก เวลาที่พระนางยังทรงพระสําราญดี อยู่นั้นในวันหนึ่งพระนางได้ทรงกล่าวคํามุสาแด่พระเจ้าปเสนทิโกศล ต่อมา เมื่อถึงเวลาประชวรหนัก พระนางก็ยังทรงนึกถึงบุญกุศลที่ได้เคยทรงกระทํามาแล้วนั้นอยู่เสมอ ครั้นเมื่อถึงเวลาใกล้จะสิ้นพระชนม์ พระนางเธอก็ไม่สามารถที่จะระลึกถึง บุญกุศลที่ตนได้กระทําไว้นั้น แต่กลับไประลึกถึงคํามุสาที่ได้กล่าวไว้กับพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเกิดความกลุ่มพระทัยขึ้นเรื่อยไป จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็ไต่ไปบังเกิดในอวีจิมหานรกเป็นเวลา ๗ วันตามเวลาในเมืองมนุษย์

เรื่องพระเจ้าโจรนาคะ
ในลังกาทวีป มีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าโจรนาคะ เป็นผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงทําลายวัดใหญ่ๆ ถึง ๑๘ วัด และทําการเบียดเบียนพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา สัปบุรุษทั้งหลายที่นับถือพระพุทธศาสนาอยู่ในเวลานั้น เมื่อพระองค์ได้ทรงกระทําการหยาบร้ายอยู่เช่นนี้ พระมเหสีของพระองค์ก็เกิดความไม่พอพระทัย จึงได้ทรงทําร้ายพระองค์เสียด้วย การนําเอายาพิษใส่ลงไปในกระยาหาร เมื่อพระเจ้าโจรนาคะได้เสวยกระยาหารที่เจือด้วยยาพิษก็สิ้นพระชนม์ แล้วไปบังเกิดในโลกันตริกนรก

นรกบางแห่งที่บุคคลฆ่าพ่อแม่แล้วต้องไปเสวยทุกข์
บุคคลที่ฆ่าพ่อแม่ เรียกว่า ปาราชิกบุคคล แปลว่า “บุคคลที่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ (บุคคลผู้พ่ายแพ้)” เพราะว่าบุคคลเช่นนี้ เมื่อตายแล้วก็ต้องไปเสวยทุกข์อยู่ในอวีจีมหานรกโดยมาก และไม่สามารถจะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้โดยง่าย แต่บางคนที่ ฆ่าพ่อแม่ และพระอรหันต์แล้วต้องไปเสวยทุกข์อยู่ในนรกเลือดหนองก็มี

เรื่องพระเจ้านาฬิเกระ
ในสมัยโบราณนานมาแล้ว ยังมีประเทศๆ หนึ่งชื่อว่า อังคะ นครหลวงของประเทศนี้ชื่อว่า ทันตปูระ พระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองทรงพระนามว่านาฬิเกระ พระเจ้านาฬิเกระพระองค์นี้ไม่เชื่อบาปบุญ ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงฆ่าดาบสผู้มีศีลที่เป็นธรรมกถึกเสีย แล้วนําเอาไปทิ้งไว้ให้สุนัขกิน เมื่อพระเจ้านาฬิเกระได้กระทําอกุศลกรรมอันหนักถึงเพียงนี้จึงได้ถูกธรณีสูบ เมื่อพระเจ้านาฬิเกระได้ถูกธรณีสูบแล้วก็ได้ ไปเสวยทุกข์อยู่ในอุสสทนรกชื่อว่าสุนัขนรก มีร่างกายสูงสามคาวุต มีสุนัขดําตั ใหญ่โตเท่าช้างกัดกินอยู่ อกุศลกรรมที่พระเจ้านาฬิเกระทรงทําไว้นั้น น่าจะไปเสวย ทุกข์อยู่ในมหานรก แต่ก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ กลับไปเสวยทุกข์ในอุสสทนรก

เรื่องนางเรวตี
สมัยพุทธกาล มีประเทศๆ หนึ่งชื่อว่ากาสี พระนครหลวงมีนามว่าพาราณสี ในพระนครพาราณสี มีครอบครัวหนึ่ง สองคนสามีภรรยา สามีชื่อนันทิยะ ภรรยาชื่อเรวดี นันทิยมานพเป็นผู้มีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีการบริจาคทานถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์และยาจกอยู่เสมอเป็นนิจ ส่วนภรรยาไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และไม่ยินดีในการบริจาคทาน ด้วยอํานาจของทานที่นันทิยมานพทําอยู่เป็นนิจนั้น ในดาวดึงสเทวโลกได้ปรากฏเป็นวิมานขึ้นวิมานหนึ่ง เพื่อสําหรับไว้เป็นที่อยู่ของนันทิยมานพ ดังนั้นเมื่อนันทิยมานพได้สิ้นชีวิตจากมนุษยโลกแล้ว จึงได้ไป บังเกิดอยู่ในวิมานนั้นส่วนนางเรวตีผู้เป็นภรรยา เมื่อสามีได้สิ้นชีวิตลงทานทั้งหลายที่สามีได้เคยบริจาคอยู่เป็นนิจ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่นั้น ครั้นสามีล่วงลับไปแล้ว นางหาได้เอาใจใส่ในการที่จะบริจาคทานแทนสามีต่อไปไม่ กลับทอดทิ้งการบริจาคทานนั่นเสีย ฝ่ายปฏิคาหกผู้เคยได้รับทานเสมอจากนันทิยมานพนั้น แม้ว่านันทิยมานพจะได้ล่วงลับไปแล้วก็ตาม พวกปฏิคาหกทั้งหลายก็หาได้หยุดการไปรับทานนี้ไม่คงไป รอรับอยู่ตามเคย แต่แล้วก็ถูกนางเรวตีขับไล่และกล่าวคําดูถูก เมื่อนางเรวตีได้ขับไล่และกล่าวคําดูถูกต่อปฏิคาหก คือพระภิกษุสงฆ์และยาจก ที่เคยรับทานทั้งหลายเช่นนี้แล้ว ท้าวเวสสุวัณจึงสั่งให้ยักษ์ ๒ ตน ลงไปจับนางเรวตี นําไปยังชั้นดาวดึงส์เพื่อให้ดูวิมานที่นันทิยมานพอยู่ ยักษ์ทั้ง ๒ ตนได้รับคําสั่งจาก ท้าวเวสสุวัณ แล้วก็รีบไปจัดการตามคําสั่งของท้าวเวสสุวัณ คือจับตัวนางเรวตีด้วย การหิ้วแขนคนละข้าง แล้วนําไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ให้นางเห็นนันทิยมานพที่กําลัง เสวยสุขอยู่ในวิมานอันเกิดจากการบริจาคทานนั้น เมื่อยักษ์ทั้ง ๒ ได้นํานางไปให้ เห็นนันทิยมานพ และวิมานเสร็จแล้ว ก็เหวี่ยงนางเรวตีลงไปในอุสสทนรก นายนิรยบาลทั้งหลายที่อยู่ในนั้น ก็พากันมาจับตัวและทุบตี นางเรวดีถูกนายนิรยบาลทุบตี ก็ได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส ได้ร้องครวญและรําพันด้วยประการต่างๆ นายนิรยบาลได้ยินคำรําพันต่างๆ ของนางเช่นนี้แล้ว แทนที่จะกรุณาสงสาร กลับด่าว่า เมื่อครั้งยังอยู่ในมนุษยโลกทําไมจึงไม่เกรงกลัวต่อบาป ทําบาปหยาบช้า ต่อปฏิคาหกคือพระภิกษุสงฆ์และยาจกผู้ที่เคยรับทานทั้งหลาย และทานที่นันทิยมานพเคยบริจาคอยู่เป็นนิจก็ละทิ้งเสีย ไม่ดําเนินตามทางที่ดีที่ชอบเช่นนันทิยมานพเคยทําไว้ ครั้นได้รับผลของบาปจะมาร้องไห้และรําพันอยู่เช่นนี้ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เมื่อนายนิรยบาลได้กล่าวคําจบลงก็จับเท้าทั้ง ๒ ยกขึ้น ส่วนศีรษะนั้นห้อยลง และเหวี่ยงลงไปในอุสสทนรก เพื่อให้เสวยทุกข์ต่อไปในที่นั้น

หมายเหตุ : บุคคลที่ต้องไปเสวยทุกข์อยู่ในมหานรกนั้น เพราะบุคคลเหล่านี้เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก ได้ทําการเบียดเบียนดูถูกสมณพราหมณ์โดยมาก

สัตว์ทั้งหลายที่ต้องไปเสวยทุกข์อยู่ในมหานรก หรืออุสสทนรกนี้ การเสวยทุกข์ อยู่ในนรกนั้นมีความไม่แน่นอน บางคนก็เสวยทุกข์เพียง ๗ วันก็มี บางคนเสวยทุกข์ จนตลอดกัปก็มี ทั้งนี้แล้วแต่กรรมของสัตว์นั้นๆ

เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู
พระเจ้าอชาตศัตรู แม้จะเป็นผู้ที่ควรได้อรหัตตผล ในชาตินั้นก็จริง (ปัจฉิมภวิกบุคคล) แต่เป็นผู้คบคนผิด คือไปคบกับพระเทวทัตผู้เป็นปาปมิตรที่เป็นศัตรูกัน กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหตุนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูจึงมีอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เกิดขึ้นจนถึงกับทําการปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดาเสีย ธรรมดาบุคคลผู้กระทําปิตุฆาตกรรมนั้นต้องไปสู่อวีจิมหานรกโดยมาก แต่พระองค์หาต้องไปไม่ ที่เป็นดังนี้ก็เพราะในสมัยที่พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น ได้ทรงเลิกคบกับพระเทวทัต กลับมาประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยเหล่าอริยสงฆ์สาวกเป็นที่พึ่งเกิดความเลื่อมใสสละจตุปัจจัยให้เป็นทาน จนถึงเป็นผู้อุปถัมภ์บํารุงการสังคายนา ฉะนั้นเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว จึงไม่ต้องไปสู่อวีจีมหานรก แต่ต้องไปเสวยทุกข์อยู่ในโลหกุมภีอุสสทนรกที่เป็นบริวารของอวีจีมหานรกแทน
การเสวยทุกข์ในโลหกุมภีอุสสทนรกนั้น ปรากฏว่าค่อยๆ จมลงไปทีละน้อยๆ จนถึงพื้นล่างของโลหกุมภีนับเป็นเวลานานถึงสามหมื่นปีของนรกนี้ เมื่อจะโผล่ขึ้นมาจากพื้นล่าง ก็ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาทีละน้อยๆ นับเป็นเวลานานถึงสามหมื่นปีแห่งนรกนี้อีกเช่นกัน รวมเวลาเสวยทุกข์ของพระเจ้าอชาตศัตรูในโลหกุมภีอุสสทนรก มีกําหนดหกหมื่นปีจึงจะพ้นออกจากนรกนี้
ในอนาคตต่อไปได้สองอสงไขยแสนมหากัปจักได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามี นามว่า วิชิตาวี ดังมีสาธกหลักฐานแสดงไว้ในสีลขันธวัคคอัฏฐกถา ว่า อชาตสตตุราชา โลหกุมภีย์ นิพฺพฤติตวา ที่สวสุสสหสุสาน อโธ ปานโต เหฏฐิมตลํ ปตฺวา ตีสวสสสหสุสาน อุทธ์ คจฺฉนฺโต ปุ นปี อุปริมตล์ ปาณิตวา มุจจิสสติ อนาคต ปน วิชิตาวี นาม ปจเจกพุทโธ หุตวา ปรินิพฺพายิสสติ”

การแสดงนิรยบทโดยพิสดาร จบ


ติรัจฉานภูมิ
วจนัตถะ :- ติโร อญฺชนฺตีติ ติรัจฺฉานา “สัตว์ผู้ไปโดยส่วนขวางเรียกว่าติรัจฉาน หรืออีกนัยหนึ่ง สัตว์ที่เป็นไปขวางจากมรรคผล เรียกว่า ติรัจฉาน”

ในที่นี้ อธิบายว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลาย เช่นมนุษย์ เมื่อเดินไปย่อมไปโดยส่วนสูง คือศีรษะตั้งตรงขึ้นเบื้องบน แต่ติรัจฉานนั้น เมื่อไปย่อมไปโดยส่วนขวาง คือ แขน ทั้งสองต้องใช้เป็นเท้า ศีรษะตั้งอยู่ข้างหน้า และก้มลงเบื้องล่าง ส่วนติรัจฉาน จําพวกนกนั้น ถึงแม้จะมีขาสองขาเหมือนกันกับมนุษย์ก็จริง แต่ในขณะเมื่อไปนั้น ร่างกายไม่ได้ตั้งตรง คงไปโดยส่วนขวางเช่นเดียวกัน ฉะนั้น จึงเรียกว่า ติรัจฉาน อีกประการหนึ่ง ในกําเนิดติรัจฉานนี้ แม้ว่าจะเป็นพระโพธิสัตว์แล้วก็ตาม ถ้าไปถือกําาเนิดในบรรดาติรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งแล้ว ต้องห่างจากมรรคผลโดยแน่นอน เพราะเป็นกําเนิดพวกติรัจฉาน ฉะนั้นสัตว์เหล่านี้จึงเรียกว่า ติรัจฉาน

ติรจฺฉานานํ โยนิ ติรจฉานโยน “ชาติของติรัจฉานทั้งหลายชื่อว่า ติรจฺฉาน โยนิ" ในที่นี้คําว่า โยนิ แปลว่า ชาติ เพราะติรัจฉานทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีสถานที่อยู่โดยเฉพาะ ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงเรียกว่า ติรัจฉานโยนิ ติรัจฉานนี้มี ๒ ชนิด คือ ติรัจฉานที่เห็นได้ด้วยตาปกติชนิดหนึ่ง และที่ไม่เห็นได้ด้วยตาปกติอีกชนิดหนึ่ง หมายความว่าติรัจฉานนี้ที่เป็นสัตว์จําพวกใหญ่โตก็มี และจําพวกเล็กๆ น้อยๆ ก็มี


อนึ่ง ในบรรดาติรัจฉานเหล่านี้จึงทราบว่ามีทั้งหมด ๔ จําพวก จําแนกโดยขา คือ

๑. อปทติรจฺฉาน จําพวกติรัจฉานที่ไม่มีขา ได้แก่ งู ปลาไส้เดือน เป็นต้น
๒. ทฺวิปทติรจฺฉานจําพวกติรัจฉานที่มี ๒ ขา ได้แก่ นก และ ไก่ เป็นต้น
๓. จตุ ปฺทติรจฺฉาน จําพวกติรัจฉานที่มี ๔ ขา ได้แก่ วัว ควาย เป็นต้น
๔. พหุปฺปทติรจฺฉาน จําพวกติรัจฉานที่มีขามาก ได้แก่ ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น

บรรดาติรัจฉานที่ได้กล่าวมาแล้วนี้แตกต่างกันโดยที่อาศัย คือบางพวกได้อาศัย อยู่บนแผ่นดิน แต่บางพวกอาศัยอยู่ในน้ำ ส่วนพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำนั้นมากกว่าพวกที่อาศัยอยู่บนบก มีสาธกบาลีแสดงไว้ในพระบาลีเอทั้งคุตตระว่า อปฺปกา ภิกฺขเว เต สตฺตา เย ถลชา อถโข เอเตว สตฺตา พหุตรา เย โอทกา

แปลความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตว์เหล่าใดที่เกิดบนบก สัตว์เหล่านั้นมีจํานวนน้อย แต่ความจริงนั้นสัตว์เหล่าใดที่เกิดในน้ำสัตว์เหล่านั้นมีจํานวนมาก"

ในพระบาลีนี้พระองค์ทรงแสดงไว้ว่า สัตว์ที่เกิดบนบกมีจํานวนน้อย และที่เกิดในน้ำมีจํานวนมากนั้น พระองค์มิได้หมายเฉพาะแต่ติรัจฉานจําพวกเดียว มนุษย์ก็ รวมอยู่ด้วย เพราะคําว่าสัตว์ในที่นี้หมายถึงทั้งติรัจฉานทั้งมนุษย์ที่มีอยู่ในมนุษยโลก และไม่ได้ทรงจํากัดไว้ว่า สัตว์ที่อยู่บนบกและในน้ำนั้นมีจํานวนเท่านี้ๆ เพียงแต่ทรง แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายที่อยู่บนบก และในน้ำนั้นนับไม่ถ้วน (สตฺตนิกาโย อนตฺโต)


พญานาค ว่าด้วยกำเนิดนาค ๔ จำพวก คือ

๑. อัณฑชพญานาค พญานาคที่เกิดในไข่
๒. ชลาพบพญานาค พญานาคที่เกิดในครรภ์
๓. สังเสท พญานาค พญานาคที่เกิดจากเหงื่อไคล
๔. โอปปาติกพญานาค พญานาคที่เกิดเป็นโอปปาติกะ


อายุของพญานาค
อายุของพญานาคไม่แน่นอน บางทีก็อายุยืน บางทีก็อายุสั้น พวกที่มีอายุยืน นั้นถึงแม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกถึง ๕ องค์ก็ตาม พญานาคก็คงมีอายุอยู่ เช่นพญานาคตัวหนึ่งชื่อกาละ กาละพญานาคนี้ มีอายุมาตั้งแต่พระกกุสันธะจนถึง พระสมณโคตมะ และจะมีอายุยืนต่อไปอีกจนถึงพระศรีอริยเมตตรัย

เรื่องพญานาค จบ

กินนร
วจนัตถะ :- กุจฺฉิโต นโร กินฺนโร (นรสทิสตตา) สัตว์ที่น่าเกลียดแต่เหมือน คนชื่อว่า กินนร มีรูปร่างเหมือนคน ต่างกันเป็นบางอย่าง เช่นแขนทั้งสองเหมือนคน แต่ฝ่ามือทั้งสองเหมือนนก ส่วนศีรษะ ใบหน้า จมูก ตา เหมือนคน มีริมฝีปากกว้าง จรดคอ และปากยาวยื่นออกมา เหมือนม้า ขา ฝ่าเท้า และนิ้วเหมือนนก

ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในคัมภีร์ไวยากรณ์ชื่อว่าการกาฎีกาดังนี้ว่า
คีวโต ปฏฺฐาย ยาว มุขา อสฺสมุขสณฺฐาโน คีวโต ปฏฐาย ยาว ปาทา ปกฺติสณฺฐาโน ปญฺจสุ ฐาเนสุ ปกฺติชาติโก

ในกัลลาติยชาดกได้แสดงไว้ว่า กินนรมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ธรรมดากินนรนั้นย่อมมี ความกลัวน้ำมากที่สุด ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ใน
ภัลลายชาติกัฏฐกถาว่า

กินฺนรา นาม อุทกภีรุกา โหนติ
“ธรรมดากินนรทั้งหลายย่อมกลัวน้ำ"

กินนรมี ๗ อย่าง คือ ๑. เทวกินนร ๒. จันทกินนร ๓. ทุมกินนร ๔. ทัณฑมาณ กินนร ๕. โกนตกินนร ๖. สกุณกินนร ๗. กัณณปาวุรณกินนร

เรื่องกินนร จบ

ราชสีห์

ราชสีห์มี ๔ อย่าง คือ ๑. ติณสีหะ ๒. กาฬสีหะ ๓. บัณฑุสีหะ ๔. เกสรสีหะ ดังมีสาธกบาลีในอังคุตตรอัฏฐกถาว่า
สีโหติ จตุตาโร สีทา ติณสีโท กาฬสีโท ปณฺฑสีโห เกสรสีโหติ

ในบรรดาราชสีห์ ๔ ประเภทนี้ อธิบายว่า

๑. ติณสีหะ มีร่างกายสีแดงเหมือนขานกพิราบใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม กินหญ้าเป็นอาหาร
๒. กาฬสีหะ มีร่างกายสีดํา ใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม กินหญ้าเป็นอาหาร
๓. บัณฑุสีหะ มีร่างกายสีใบไม้เหลือง ใหญ่เท่าวัวหนุ่ม กินเนื้อเป็นอาหาร
๔. เกสรสีหะ มีริมฝีปาก หางและเท้าสีแดง ตั้งแต่หัวลงไปตลอดถึงหลัง มีลายพาดสีแดงสามแถว วนรอบสะโพก ๓ รอบ ที่ต้นคอมีขนปกคลุมลงมาตั้งแต่บ่ามีสีเหมือนผ้ากําพล ส่วนร่างกายที่เหลือนอกจากนี้มีสีขาวทั้งหมด กินเนื้อเป็นอาหาร

สถานที่อยู่ของเกสรสีหะมี ๕ แห่ง คือ ๑. ถ้ำทอง ๒. ถ้ำเงิน ๓. ถ้ำแก้วมณี ๔. ถ้ำเพชร ๕. ถ้ำมโนศิลา เกสรสีหะนี้อยู่เฉพาะแต่ในป่าหิมพานต์เท่านั้น มีร่างกายใหญ่เท่ากับควาย ราชสีห์ที่เหลืออีก ๓ ชนิดนั้นอยู่ในป่าหิมาลัย หรือป่าที่ใหญ่และลึกลับก็มีอยู่ ส่วนอายุนั้นไม่แน่นอน บางทีก็ถึง ๒๐๐ หรือ ๓๐๐ ปีก็ได้, ในบรรดา ติรัจฉานทั้งหมด ราชสีห์นี้เป็นเจ้าแห่งติรัจฉาน

เรื่องราชสีห์ จบ

เรื่องพญาครุฑ

พญาครุฑมีรูปร่างสัณฐานเหมือนนก ฉะนั้น จึงจัดเข้าในประเภทของนกได้ ในบรรดานกทั้งหมด พญาครุฑเป็นนกที่ใหญ่ที่สุดในจําพวกนกทั้งหลาย อยู่ที่ป่าไม้งิ้วในชั้นที่สองของภูเขาสิเนรุๆ มีบันไดเวียนรอบ ๕ ชั้น ชั้นที่หนึ่งอยู่ในมหาสมุทรสีทันดร เป็นที่อยู่ของพญานาค เจ้าแห่งพญาครุฑมีร่างกายสูง ๑๕๐ โยชน์ ปีกทั้งสองข้างกว้างข้างละ ๕๐ โยชน์ หางยาว ๖๐ โยชน์ คอยาว ๓๐ โยชน์ ปากกว้าง ๙ โยชน์ ขายาว ๑๒ โยชน์ เจ้าแห่งพญาครุฑขณะที่กําลังบินอยู่ อํานาจของการกระพือปีกทั้งสองบังเกิดเป็นลมพายุใหญ่พัดไปทั่วไปไกลถึง ๗๐๐ หรือ ๘๐๐ โยชน์ ธรรมดาพญาครุฑนั้นต้องกินพญานาคเป็นอาหาร

เรื่องพญาครุฑ จบ

เรื่องช้าง

ช้างมี ๑๐ ชนิด คือ

๑. ช้างกาฬวกะ ช้างสีดำธรรมดา
๒. ช้างคังเคยยะ ช้างคงคา
๓. ช้างปัณฑระ ช้างเผือก
๔. ช้างตัมพะ ช้างสีแดง
๕. ช้างปิงคละ ช้างสีดาแดง
๖. ช้างคันธะ ช้างที่มีกลิ่นหอม
๗. ช้างมังคละ ช้างมงคล
๘. ช้างเหมะ ช้างสีเทา
๙. ช้างอุโปสถะ ช้างสีทีเรียบร้อย
๑๐. ช้างฉัททันตะ ช้างที่เกิดในสระฉัททันต์

เรื่องช้าง จบ

สัญญาที่ปรากฏแก่ติรัจฉาน

สัญญาที่ปรากฏแก่ติรัจฉานทั้งหลายมี ๓ อย่าง คือ

๑. กามสัญญา รู้จักเสวยกามคุณ
๒. โคจรสัญญา รู้จักกิน
๓. มรณสัญญา รู้จักกลัวตาย

ส่วน ธรรมสัญญา นั้น ติรัจฉานบางพวก เช่นโพธิสัตว์จึงจะปรากฏขึ้นได้ ติรัจฉานนอกนั้นคงมีแต่สัญญา ๓ ประการ ที่ได้กล่าวแล้วนี้โดยมาก, ในบรรดาสัญญา ๓ อย่างนั้น มรณสัญญาปรากฏมากที่สุด เพราะอันตรายเกี่ยวกับชีวิตมีมากสําหรับติรัจฉานทั้งหลาย คือสัตว์ตัวเล็กย่อมถูกสัตว์ตัวใหญ่เบียดเบียนทําร้ายจับกินเป็นอาหารเสียโดยมาก เช่น จิ้งจกกินแมลง แมวกินจิ้งจก เสือกินแมวเป็นต้น นี้จัดเป็นอันตรายที่ได้รับระหว่างสัตว์ติรัจฉานด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีอันตรายที่เกี่ยวกับชีวิต ทางด้านอื่นๆ อีก เช่นได้รับการอดอยากในเรื่องอาหารการกิน มีความลําบากในที่อยู่อาศัย ทั้งยังถูกพวกมนุษย์บางคนคอยเบียดเบียนทําร้ายเหล่านี้เป็นต้น ฉะนั้น อายุ ของพวกติรัจฉานตัวเล็กๆ มีอายุเพียง ๑ สัปดาห์ก็มี พวกสุนัขมีอายุอย่างมาก ๑๐ ถึง ๑๕ ปี วัว, ควาย, ม้า มีอายุ ๒๐ ถึง ๓๐ ปีก็มี หรือมีอายุเท่ากับคนก็มี อายุของช้างนั้นถึง ๖๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง ไม่แน่นอน สรุปความว่า อายุของติรัจฉานนั้นไม่มีการกําาหนดโดยแน่นอน

การแสดงติรัจฉานบทโดยพิสดาร จบ


เปตติวิสัยภูมิ

๑. สุขสมุสสยโต ปากฏฐ์ เอนตีติ เปตา “สัตว์ที่ชื่อว่า เปตะ เพราะย่อมถึงซึ่งฐานะอันห่างไกลจากความสุขทั้งหลาย”
๒. เปตานํ สมูโห เปตฺติ “หมู่เปรตทั้งหลาย ชื่อว่า เปตติ”
๓. เปตฺติยา วิสโย เปตติวิสโย “ที่อยู่ที่เกิดแห่งเปรตทั้งหลาย ชื่อว่า เปตติ วิสยะ” คําศัพท์ที่ว่าเปตะนี้สัตว์ทั้งหลายตายไปแล้ว เรียกว่า เปตะ ด้วยกันทั้งสิ้น แต่โดยเฉพาะในที่นี้ หมายถึงสัตว์ที่เป็นเปรต, ว่าโดยนัยไวยากรณ์แล้วในคําว่าเปตา แยกกันดังนี้ ป + อิ + ต, ป เป็นอุปสัคบท อิ เป็นธาตุ ต เป็นปัจจัย ธรรดาเปรต ทั้งหลายย่อมไม่มีที่อาศัยอยู่โดยเฉพาะ ฉะนั้น เปรตเหล่านั้นจึงมีอยู่ทั่วๆ ไป เช่น ตามป่า ตามภูเขา เหว เกาะ ทะเล มหาสมุทร ป่าช้า เหตุนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึง แสดงว่า เปตฺติวิสโย

คําว่า เปรตนั้น ได้แก่ ผี ยักษ์ และเปรตเป็นต้น ซึ่งคนทั้งหลายใช้พูดกันอยู่ทั่วไป และเปรตมีหลายจําพวกด้วยกัน บางจำพวกเป็นเปรตเล็ก บางจําพวกก็เป็นเปรตใหญ่ และเปรตนี้เนรมิตตัวให้เป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ก็ได้ ฝ่ายอิฏฐารมณ์ก็ให้เห็นเป็นเทวดา เป็นชาย เป็นหญิง ดาบส เถร พระ แม่ชี ถ้าฝ่ายอนิฏฐารมณ์ ก็ให้เห็นเป็นวัว ควาย ช้าง สุนัข รูปร่างสัณฐานน่ากลัว มีศีรษะใหญ่ ตาพอง และบางทีก็ไม่ปรากฏชัด เพียงแต่ให้เห็นเป็นสีดํา แดง ขาว ในบรรดาเปรต ทั้งหลายนี้ บางพวกก็ต้องเสวยทุกข์อยู่นาน มีการอดข้าว อดน้ำ บางพวกก็เข้าไปกินเศษอาหารที่ชาวบ้านทิ้งไว้ในที่โสโครก บางพวกก็กินเสมหะ น้ำลาย และอุจจาระ ส่วนเปรตที่อาศัยอยู่ตามภูเขา คือ ภูเขาคิชฌกูฏนั้น ไม่ใช่แต่จะอดอาหารอย่างเดียว ยังต้องเสวยทุกข์เหมือนกันกับสัตว์นรกอีกด้วย

เปรตประเภทต่างๆ ที่มาในพระคัมภีร์
เปรต ๑๒ ชนิดที่มาในโลกบัญญัติปกรณ์และฉคติทีปนีปกรณ์

๑. วันตาสเปรต เปรตที่กินนํ้าลาย เสมหะ อาเจียน เป็นอาหาร
๒. กุณปาสเปรต เปรตที่กินซากศพคนหรือสัตว์ เป็นอาหาร
๓. คูถขาทกเปรต เปรตที่กินอุจจาระต่างๆ เป็นอาหาร
๔. อัคคีชาลมุขเปรต เปรตที่มีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
๕. สูจิมุขเปรต เปรตที่มีปากเท่ารูเข็ม
๖. ตัณหัฏฏิตเปรต เปรตที่ถูกความหิวกระหายเบียดเบียนให้หิวข้าว หิวน้ำ อยู่เสมอ
๗. สุนิชฌามกเปรต เปรตที่มีลําตัวดําเหมือนตอไม้ที่ถูกเผา
๘. สัตถังคเปรต เปรตที่มีเล็บมือเล็บเท้ายาวและคมเหมือนมีด
๙. ปัพพตังคเปรต เปรตที่มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
๑๐. อชครังคเปรต เปรตที่มีร่างกายเหมือนงูเหลือม
๑๑. เวมานิกเปรต เปรตที่ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้ไปเสวยสุขในวิมาน
๑๒. มหิทธิกเปรต เปรตที่มีฤทธิ์มาก

วจนัตถะของเปรตทั้ง ๑๒ จําพวก โดยลําดับ

๑. วนฺตํ อสติ กุบตีติ วนตาโส เปรตที่เรียกว่า วันตาสะ เพราะกินน้ำลาย อาเจียน เสมหะ
๒. กุณปํ อสติ ภิกฺขติ กุณปาโส เปรตที่เรียกว่า กุณปาสะ เพราะกินซากศพคนหรือสัตว์
๓. คูถํ บาทตีติ คูถขาทโก เปรตที่เรียกว่า คูถขาทกะ เพราะกินอุจจาระ
๔. อคฺติชาลา มุขโต เอตสสาติ อคฺติชาลมโข เปรตที่เรียกว่า อัคคิซาลมุขะ เพราะมีเปลวไฟลุกอยู่ในปาก
๕. สูจิปมาณํ มุขํ เอตสฺสาติ สูจิมโข เปรตที่เรียกว่า สูจิมุขะ เพราะมีปากเท่ารูเข็ม
๖. ตณฺหาย อฏฺฏิโต ปีฬิโตติ ตณฺหภูมิโต เปรตที่เรียกว่า ตัณหัฏฏิตะ เพราะถูกเบียดเบียน ด้วยความหิวกระหาย คือหิวข้าว หิวนํ้า
๗. สุฏฺฐฺ นิสเสเสน ฌาโม สุนิชฌาโม, สุนิชฌาโม วิชาติ สุนิชฌามโก ต้นไม้ที่ถูกไฟเผากิ่ง ก้านใบและลําต้นโดยไม่มีเหลือ คงเหลือแต่ตอชื่อว่า สุนิชฌาม ได้แก่ ตอไม้ที่ถูกเผา, เปรตที่เรียกว่า สุนิชฌามกะ เพราะดําเหมือนตอไม้ที่ถูกเผา
๘. สตฺถสทิสํ องฺคํ เอตสฺสาติ สตฺถงโค เปรตที่เรียกว่า สัตถังคะ เพราะมีเล็บมือเล็บเท้ายาวและคมเหมือนมีด
๙. ปพฺพตปฺปมาโณ องฺโค เอตสฺสาติ ปพฺพงฺโค เปรตที่เรียกว่า ปัพพตังคะ เพราะมีร่างกายเท่าภูเขา
๑๐. อชครสทีโส องฺโค เอตสฺสาติ อชครงฺโค เปรตที่เรียกว่า อชครังคะ เพราะมีรูปร่างสัณฐานเหมือนงูเหลือม
๑๑. วิมาเน นิพฺพตฺโตติ เวมานิโก เปรตที่เรียกว่า เวมานิกะ เพราะเกิดในวิมาน แต่กลางวันต้องเสวยทุกข์กลางคืนได้เสวยสุข
๑๒. มหติยา อิทฺธิยา สมนฺนาคโตติ มหิทฺธิโก เปรตที่เรียกว่า มหิทธิกะ เพราะมีฤทธิ์มาก

เปรต ๔ ประเภทที่มาในเปตวัตถุอัฏฐกถา

๑. ปรทัตตุปชีวิกเปรต เปรตที่มีการเลี้ยงชีวิตอยู่โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้
๒. ขุปปีปาสิกเปรต เปรตที่ถูกเบียดเบียนด้วยการหิวข้าว หิวน้ำ
๓. นิชฌามตัณหักเปรต เปรตที่ถูกไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
๔. กาลกัญจิกเปรต เปรตจําพวกอสูร ชื่อ กัญจิกะ

กาลกัญจิกเปรตนี้มีร่างกายสูงสามคาวุต ไม่ใคร่มีแรง เพราะมีเลือดและเนื้อน้อย มีสีสันคล้ายกันกับใบไม้แห้ง ตาถลนออกมาเหมือนกับตาของปู และมีปากเท่ารูเข็มตั้งอยู่กลางศีรษะ

เปรต ๒๑ จําพวก

ที่มาในวินัยและพระบาลีลักขณสังยุต

๑. อัฏฐิสังขลิกเปรต เปรตที่มีกระดูกติดต่อกันเป็นท่อนๆ แต่ไม่มีเนื้อ
๒. มังสเปสิกเปรต เปรตที่มีเนื้อเป็นชิ้นๆ แต่ไม่มีกระดูก
๓. มังสปิณฑเปรต เปรตที่มีเนื้อเป็นก้อน
๔. นิจฉวิปุริสเปรต เปรตที่มีรูปร่างเหมือนผู้ชาย ไม่มีหนัง
๕. อสิโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นพระขรรค์
๖. สัตติโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นหอก
๗. อุสุโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นลูกธนู
๘. สูจิโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นเข็ม
๙. ทุติยสูจิโลมเปรต เปรตที่มีขนเป็นเข็มชนิดที่ ๒
๑๐. กุมภัณฑเปรต เปรตที่มีอัณฑะใหญ่โตมาก
๑๑. คูถกูปนิมุคคเปรต เปรตที่จมอยู่ในบ่ออุจจาระ
๑๒. คูถขาทกเปรต เปรตที่กินอุจจาระ
๑๓. นิจฉวิตถีเปรต เปรตหญิงทีไม่มีหนัง
๑๔. ทุกคันธเปรต เปรตที่มีกลิ่นเหม็นเน่า
๑๕. โอกิกินีเปรต เปรตที่นอนในกองถ่านไฟ
๑๖. อสีสเปรต เปรตที่ไม่มีศีรษะ
๑๗. ภิกขุเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนพระ
๑๘. ภิกขุณีเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนภิกษุณี
๑๙. สิกขมานเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนสิกขมานา
๒๐. สามเณรเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนสามเณร
๒๑. สามเณรีเปรต เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนสามเณรี

หมายเหตุ : เปรตงู และเปรตกา ที่มาในธัมมบทอัฏฐกถานั้น เปรตงู มีร่างกาย ยาว ๒๕ โยชน์ เปรตกา มีร่างกายใหญ่ ๒๕ โยชน์


ความเป็นอยู่ของเปรตต่างๆ

เปรตหมู
ในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระภิกษุรูปหนึ่งมีกายสังวรแต่ไม่มีวจีสังวร พระภิกษุรูปนี้ครั้นสิ้นชีวิตแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในนรกเนื่องด้วยไม่มี วจีสังวร เมื่อพ้นจากการเสวยทุกข์ในนรกแล้วก็มาบังเกิดเป็นเปรตหมู มีร่างกายเป็นคน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเหมือนกับทอง มีศีรษะเป็นสุกร มีชีวิตยืนยาวตลอดมา จนกระทั่งถึงสมัยศาสนาของพระสมณโคดมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ อยู่มาวันหนึ่ง เปรตหมูนี้ได้พบกับพระนารทเถระ ผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดม เปรตหมูจึงได้เรียนกับพระเถระว่า การที่ข้าพเจ้าต้องมาบังเกิดเป็นเปรตหมู มีร่างกายและศีรษะเป็นคนละอย่างไม่เหมือนกันนั้น เป็นผลที่ได้รับมาจากการที่ไม่มีวจีสังวร ส่วนร่างกายของข้าพเจ้าเป็นคนและมีผิวพรรณเปล่งปลั่งเหมือนกับทองนั้น เป็นผลที่ข้าพเจ้ามีกายสังวร ฉะนั้นขอพระคุณเจ้าจงมีกายสังวรและวจีสังวร ด้วยดี เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นเหมือนเช่นข้าพเจ้า (อธิบายเรื่องเปรตหมูนี้มาในพระ บาลีเปตวัตถุ)

เปรตหญิงผู้หนึ่ง
ในนครโกสัมพีมีมานพผู้หนึ่งชื่อว่าอุตตระ อุตตรมานพผู้นี้มีความเคารพและเลื่อมใสในพระมหากัจจายนะเถระเจ้ามากที่สุด จึงได้จัดการสร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่งเพื่อถวายแด่พระเถระเจ้าองค์นี้พร้อมกับจัดอาหารถวายท่านทุกๆ เวลา ฝ่ายมารดาของอุตตรมานพเป็นผู้ตระหนี่เหนียวมาก เมื่อเห็นบุตรชายจัดการสร้างกุฏิและถวายอาหารแด่พระเถระเจ้าอยู่เสมอเช่นนี้ ก็เกิดความไม่พอใจ อยู่มาวันหนึ่ง นางจึงกล่าวคําแช่งขึ้นว่า “อาหารใดที่ได้ถวายแล้วแก่พระเถระเจ้าองค์นี้ ต่อไปในอนาคต ขอให้อาหาร จงกลายเป็นเลือด แล้วเป็นอาหารแก่พระเถระเจ้าเถิด"

เมื่ออุตตรมานพสร้างกุฏิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้จัดการฉลอง ในการฉลองกุฏินี้ อุตตรมานพมีความประสงค์อยากได้หางนกยูงมาร้อยกรองจัดเป็นรูปพัด เพื่อจะได้ประดับตกแต่งกุฏิให้สวยงามถวายแด่พระเถระเจ้า การงานทุกอย่างที่อุตตรมานพได้กระทําไปแล้วทั้งสิ้น มารดาไม่มีความพอใจเลยแม้แต่อย่างเดียว แต่เมื่ออุตตรมานพต้องการหางนกยูงเอามาจัดประดับตกแต่งกุฏิให้สวยงามนั้น นางมีความเห็นชอบและอนุโมทนายินดีด้วยในข้อนี้ ครั้นนางสิ้นชีวิตลงก็ได้ไปบังเกิดเป็นเปรต แต่ด้วยอํานาจกุศลที่นางมีความยินดีถวายหางนกยูงแด่พระเถระเจ้า จึงทําให้นางมีเส้นผมละเอียดอ่อนยาวหยักศก มีสีอันดําขลับปลายงอน แต่ด้วยอำนาจที่นางได้ กล่าววาจาแข่งว่า “อาหารใดที่ได้ถวายแล้วแด่พระเถระ ขอให้อาหารนั้นจงกลาย เป็นเลือด”

ฉะนั้นเมื่อนางเปรตมีความกระหายน้ำขึ้นมา จึงเดินไปที่แม่น้ำคงคาเพื่อจะ หาน้ำดื่ม เมื่อไปถึงแม่น้ำแล้ว น้ำในแม่น้ำก็กลายเป็นเลือดไปสิ้น อยู่มาวันหนึ่ง นางเปรตได้พบกับพระกังขาเรวตเถระเจ้าในที่แห่งหนึ่ง ใกล้ๆ กับแม่น้ำคงคานั้น นางจึงได้กล่าวขอน้ำแก่พระเถระเจ้า เมื่อพระเถระเจ้าได้ฟังคําของนางเปรตมาขอน้ำ เพื่อจะดื่มเช่นนั้น จึงกล่าวว่าก็น้ำในแม่น้ำคงคามีอยู่ เหตุใดจึงไม่ไปดื่ม ต้องมาขอกับ เราทําไม นางเปรตตอบว่า น้ำในแม่น้ำไม่มี คงมีแต่เลือดเท่านั้น เมื่อพระเถระเจ้า ได้ยินค่าของนางเปรตเช่นนี้ก็เกิดความสงสัย เพราะท่านเองก็เห็นเป็นน้ำทั้งแม่น้ำ แต่ทําไมนางเปรตจึงได้เห็นเป็นเลือดไปเล่า จึงถามนางเปรตว่า ในชาติก่อนท่านได้ กระทํากรรมอันใดไว้จึงได้เห็นน้ำทั้งแม่น้ำเป็นเลือดไปเช่นนี้ นางเปรตจึงตอบว่า ในชาติก่อนข้าพเจ้าได้กล่าวค่าแช่งว่า อาหารใดที่ได้ถวายไปแล้วแก่พระเถระเจ้า ในอนาคตต่อไปขอให้อาหารนั้นจงกลายเป็นเลือด ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้เห็นน้ำใน แม่น้ำเป็นเลือดไป ขอพระคุณเจ้าจงโปรดเอ็นดูแก่ข้าพเจ้า ขอน้ำให้ข้าพเจ้าได้ดื่ม สักครั้งเพื่อบรรเทาความกระหายเถิด

พระเถระเจ้ากล่าวตอบว่า จะช่วยหาน้ำมาให้ เมื่อพระเถระเจ้ารับปากกับนางเปรตแล้วก็มาคำนึงว่า ถ้าจะเอาน้ำไปให้นางโดยตรง นางก็จะไม่สามารถที่จะ ดื่มได้ตามความต้องการ เพราะด้วยอํานาจอกุศลที่ตนได้ทําไว้ ฉะนั้น พระเถระเจ้า จึงคิดว่า เราต้องไปบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตได้มาแล้วจะต้องจัดการถวายแด่พระภิกษุสงฆ์แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่นางเปรต เมื่อนางเปรตได้กล่าวคํา อนุโมทนาว่า สาธุ นางจึงจะได้ดื่มน้ำตามประสงค์ได้ พระเถระเจ้าคิดดังนี้แล้วก็ ออกไปบิณฑบาต เมื่อได้อาหารบิณฑบาตมา ก็จัดอาหารนั้นพร้อมด้วยนํ้าถวายแด่ พระภิกษุสงฆ์ แล้วก็กรวดน้ำแผ่ส่วนบุญให้แก่นางเปรต

เมื่อฝ่ายนางเปรตได้รับการแผ่ส่วนบุญจากพระเถระเจ้าแล้ว ก็เปล่งคําอนุโมทนาว่าสาธุๆ เมื่อนางได้เปล่งคําอนุโมทนาว่า สาธุๆ หลายๆ ครั้ง ด้วยอํานาจ การกล่าวคําอนุโมทนาว่าสาธุของนาง นางก็พ้นจากกําเนิดที่เป็นเปรต ได้ไปบังเกิดในชั้นจาตุมหาราชิกา มีวิมานทิพย์และอาหารทิพย์เกิดขึ้น เมื่อนางได้รับผลที่เป็นทิพย์แล้วก็ลงมาหาพระเถระเจ้าเพื่อเรียนให้พระเถระทราบว่าตนได้รับผลเป็นสุข พ้นจากทุกข์แล้ว (เรื่องนี้มีมาในพระบาลีเปตวัตถุและอัฏฐกถา)

โสมเฝ้าทรัพย์
มีหญิงสาวคนหนึ่งเป็นแม่ค้าอยู่ในนครสาวัตถี อยู่มาวันหนึ่งหญิงสาวคนนี้ได้ออกจากนครสาวัตถี เพื่อไปค้าขายในจังหวัดอื่นร่วมกันกับเพื่อนหญิงด้วยกันอีกหลายคน ในการเดินทางไปค้าขายของหญิงสาวยังต่างจังหวัดครั้งนี้ หญิงสาวผู้นี้ ทําการค้ามีกําไรได้เงินมาเป็นจํานวนห้าร้อยกหาปนะ เมื่อค้าขายได้กําไรพอกับความต้องการแล้ว ต่างก็พากันกลับมายังนครสาวัตถีอันเป็นบ้านของตน ในระหว่างที่เดินทางมาได้บังเอิญไปพบกับโจรพวกหนึ่ง บรรดาเพื่อนหญิงที่ไปด้วยกันนั้นต่างก็ พากันหลบหนีพวกโจรและนําเงินติดตัวไปด้วย ส่วนหญิงสาวผู้นี้เมื่อพบโจร นางได้เอาเงินห้าร้อยที่กําไรมาจากการค้านั้นทิ้งเสียในที่รกแห่งหนึ่ง แล้วตนเองก็หลบหนีพวกโจรไปซุ่มตัวอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กันกับที่ทิ้งเงินไว้

ฝ่ายพวกโจรเมื่อมาถึงที่ที่หญิงสาวและเพื่อนหญิงหลายคนเดินทางมา ต่างก็ พากันค้นหาเงินในสถานที่นั้นทั่วๆ ไป เพราะเข้าใจว่าบรรดาหญิงทั้งหลายที่หนีไป แล้วทุกๆ คนคงทิ้งเงินไว้ แต่ก็หาไม่พบ เมื่อกําลังค้นหาอยู่นั้นได้พบหญิงสาวผู้นี้เข้า จึงพากันจับตัวลากออกมาขู่เข็ญให้นางมอบเงินให้และให้บอกที่ที่ทิ้งเงิน แต่หญิงสาวไม่ยอมบอก พวกโจรจึงพากันรุมทุบตีหญิงสาวผู้นี้จนถึงแก่ความตายเมื่อหญิงสาวถูกโจรทุบตีจนถึงแก่ความตาย ด้วยอํานาจจิตใจที่ฝักใฝ่ห่วงใยในเงินห้าร้อยที่นางได้ทิ้งไว้ จึงได้เกิดเป็นเปรตเฝ้าทรัพย์อยู่ตรงสถานที่ที่ทิ้งเงินนั้นเอง ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในเปรตวัตถุอัฏฐกถาว่า สา ธนโลเกน ตตฺเถว เปตา หุตวา นิพฺพตฺติ

เปรตงู
ในเมืองพาราณสี มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีเงิน ๔๐ โกฏิ เศรษฐีผู้นี้ได้นําเงินจํานวน ๔ โกฏิของตนไปฝังไว้ ณ ที่ใต้ดินแห่งหนึ่งบริเวณริมฝั่งแม่น้ำคงคา ต่อมาเศรษฐีผู้นี้ป่วยหนัก ในขณะที่ป่วยหนักอยู่นั้นมีความวิตกห่วงใยคิดถึงสมบัติของตนที่ฝังไว้ครั้นสิ้นชีวิตลงก็ไปเกิดเป็นงูอยู่บนปากหลุมที่ตนได้ฝังทรัพย์ไว้ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในเอกนิบาตสัจจกิรชาดกอัฏฐกถาว่า ตสฺมี ปน กาเล พาราณสีวาสี เอโก จ เสฏฐี นทีที่เร จตุตาฟิสโกฏิธน์ นิทหิตวา มรนโต ธนตณฺหาย ธนปิฏเฐ สปโป หุตวา นิพฺพตฺติ

เปรตหนู
ในเมืองพาราณสี มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีเงิน ๓๐ โกฏิ เศรษฐีผู้นี้ได้นําเงิน ๓๐ โกฏิ ของตนไปฝังไว้ที่ใต้ดินบริเวณริมฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยอํานาจของโลภตัณหา เมื่อเศรษฐีได้สิ้นชีวิตลง ก็ได้ไปเกิดเป็นหนูอยู่บนปากหลุมที่ตนได้ฝังทรัพย์ไว้ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในเอกนิบาตสัจจกิรชาดกอัฏฐกถาว่า อปโร ตสฺมีเยว ปเทเส ตีสโกฏิโย นิทหิตวา มรนโต ธนตณฺหาย ตตฺเถว อุนฺทโร นิพฺพตฺติ

เปรต ๘๔,๐๐๐
ในอดีตกาลนานมาแล้วสมัยหนึ่งนับถอยหลังจากภัทรกัปนี้เป็นต้นไปเป็นกัปที่ ๙๒ ในกัปที่ ๙๒ นี้ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งได้อุบัติขึ้นในโลก มีพระนามว่าผุสสะ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้มีพี่น้องอยู่ด้วยกัน ๓ คน, ๓ คนพี่น้องเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติมาก ต่อมาเมื่อพี่ชายคนโต คือท่านผุสสะได้ออกบวช และสําเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว น้องชายทั้ง ๒ คนก็มีศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนานี้ยิ่งนัก ฉะนั้น ทั้ง ๒ พี่น้องจึงได้ตกลงกันนําทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ ทั้งหมดไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลเป็นผู้ดูแลรักษาแทนตน คือรัฐมนตรีการคลังผู้หนึ่งและรัฐมนตรีจัดการผลประโยชน์คือเก็บภาษีอากรผู้หนึ่ง เจ้าหน้าที่ทั้งสองคนนี้ ต้องรับภาระเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของ ๒ พี่น้องต่อไป เมื่อ ๒ พี่น้องได้มอบหมาย กิจการใหญ่น้อยของตนให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งสองโดยเรียบร้อยแล้ว ก็นําบริวารพันคนไปรักษาศีลสิบในสํานักของพระพุทธเจ้าผุสสะตลอดไตรมาส

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทั้งสองได้รับมอบหมายกิจการต่างๆ จากพี่น้องทั้ง ๒ แล้ว ก็ต้องจัดหาอาหารไปถวายแด่ภิกษุสงฆ์และพระพุทธเจ้าผุสสะพร้อมทั้งพี่น้องทั้ง และบริวารพันคนทุกๆ เวลาในการหุงอาหารนี้ต้องใช้คนงานเป็นจํานวน ๘๔,๐๐๐ คน ภรรยาของท่านรัฐมนตรีทั้งสองและญาติต่างก็ได้มาช่วยในงานนี้ด้วย

เมื่อการหุงหาอาหารเสร็จแล้ว แทนที่จะจัดการถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกก่อน กลับชวนกัน รับประทานอาหารนั้นเสียก่อนเช่นนี้อยู่เสมอๆ ทุกเวลาไป เมื่อบุคคลเหล่านี้ได้สิ้นชีวิตลงแล้ว ในระหว่าง ๙๐ กัป นับถอยหลังจาก กัปนี้เป็นต้นไป กรรมไม่ดีที่เขาได้กระทําไว้นี้ไม่ทราบว่าเขาเหล่านั้นได้ไปบังเกิดเป็น อะไรอยู่ ทราบแต่เพียงว่าในสมัยศาสนาของพระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระ กัสสโป บุคคลเหล่านี้ได้บังเกิดเป็นเปรตด้วยกันทุกคนพร้อมทั้งอดอาหารด้วย ฉะนั้น

เมื่อถึงสมัยพุทธกาลของพระสมณโคดม เปรตเหล่านี้จึงได้มีโอกาสมาพบกับพระพุทธเจ้าและได้กราบทูลว่า เขาทั้งหลายได้รับทุกข์ทรมานมานานแล้ว ด้วยการ อดอาหารนับเป็นเวลาพระพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นถึง ๓ พระองค์ เขายังไม่เคยได้ รับประทานอาหารเลย ขอพระองค์จงทรงกรุณาแก่เขาทั้งหลายเพื่อให้ได้อาหารมา รับประทานด้วย

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงสดับเรื่องเหล่านี้แล้ว จึงมีพระดํารัสแก่เปรตทั้งหลายเหล่านั้นว่าญาติของท่านที่เคยเป็นรัฐมนตรีดูแลรักษา ผลประโยชน์เมื่อสมัยนั้น ได้มาเป็นพระเจ้าพิมพิสารอยู่ ณ บัดนี้ ฉะนั้น ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงบําเพ็ญกุศลใน เวลาใด ท้าวเธอก็คงจะแผ่ส่วนกุศลนั้นๆ ไปให้ เมื่อพวกเปรตทั้งหลายได้ฟัง พระพุทธองค์ตรัสนั้นแล้ว ต่างก็พากันชื่นชมยินดีว่าตนคงจะได้รับอาหารจากพระเจ้าพิมพิสารบ้างเป็นแน่

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารนั้น เมื่อท้าวเธอทรงบําเพ็ญพระราชกุศลเสร็จแล้วที่ไร ท้าวเธอก็มิได้แผ่ส่วนบุญนั้นให้แก่ญาติที่ตายไปแล้วโดยเฉพาะเลย เป็นแต่แผ่อย่างสามัญคือแผ่ทั่วๆ ไปเท่านั้น ฉะนั้น เปรตเหล่านั้นจึงไม่มีโอกาสที่จะได้อนุโมทนา ส่วนกุศลอันเป็นเหตุแห่งการได้รับ อาหารซึ่งเป็นผลก็เกิดขึ้นไม่ได้ ในคืนวันหนึ่งเขาจึงพากันไปส่งเสียงร้องและแสดงตัวให้ปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าพิมพิสาร

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทอดพระเนตรเห็นเปรตเหล่านั้น พร้อมกับได้ยินเสียงร้องของเปรตทั้งหลาย ก็มีความตกพระทัยกลัวอย่างยิ่ง พอรุ่งเช้าก็รีบเสด็จไปเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ว่า เมื่อคืนนี้ข้าพระองค์ได้ยินเสียงร้องผิดปกติ แต่ไม่ทราบว่าเป็นเสียงอะไร ฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาช่วยชี้แจงเรื่องราวทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นเมื่อคืนนี้ให้ข้าพระองค์ได้ทราบด้วยเถิด

พระพุทธองค์จึงทรงมีพระราชดํารัสตอบว่า เสียงร้องที่ท้าวเธอได้ยินเมื่อคืนนี้เป็นเสียงของเปรตที่เป็นญาติของพระองค์แต่สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าผุสสะ การที่เขาไปส่งเสียงร้องก็เพราะพระองค์ทรงบําเพ็ญพระราชกุศลเสร็จทีไรไม่เคยทรงแผ่ส่วนกุศลให้แก่พวกเขาบ้างเลย พวกเขาได้พากันรอคอยที่จะรับอนุโมทนาส่วนกุศลอันเป็นเหตุ เพื่อจะได้รับผลเป็นอาหารจากพระองค์อยู่ เพราะอดอาหารมาช้านานหนักหนาแล้ว ฉะนั้น ต่อไปนี้ถ้าพระองค์จะทรงบําเพ็ญพระราชกุศลใดๆ ขอพระองค์จงทรงแผ่ส่วนกุศลนั้นๆ ให้แก่เขาโดยเฉพาะๆ ด้วย ดังนั้น พระเจ้า พิมพิสารจึงได้ทรงจัดการบําเพ็ญกุศลเป็นการใหญ่ แล้วก็อุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่เปรตทั้งหลายซึ่งเป็นญาติเหล่านั้นโดยเฉพาะ

ฝ่ายเปรตเหล่านั้น เมื่อได้รับการแผ่ส่วนบุญจากพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ต่างก็พากันอนุโมทนาว่า สาธุๆ ขึ้นพร้อมกันเมื่อได้เปล่งวาจาว่าสาธุๆ พร้อมๆ กัน ก็พ้นจากการเป็นเปรต ได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาหมดสิ้นด้วยกันทุกคน


เปรตที่รับส่วนบุญได้
ในบรรดาเปรตทั้งหลายที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งสิ้นมี ๑๒ จําพวกบ้าง ๔ จําพวก บ้าง ๒๑ จําพวกบ้าง ฉะนั้น เปรตทั้งหมดนี้ เปรตที่มีโอกาสจะได้รับส่วนบุญจากญาติอุทิศให้ก็มีแต่ปรทัตตุปชีวิกเปรตจําพวกเดียวเท่านั้น ส่วนเปรตอื่นๆ ที่นอกจากนี้ไม่สามารถจะรับส่วนบุญที่ญาติอุทิศไปให้ได้ เพราะเหตุว่าเปรตเหล่านี้อยู่ห่างไกลจากหมู่มนุษย์แต่สําหรับปรทัตตุปชีวิกเปรตนั้นเป็นเปรตที่เกิดอยู่ในบริเวณบ้าน เช่น บุคคลบางคนถูกฆ่าตายโดยปัจจุบัน หรือผู้ที่ตายธรรมดาก็ตาม แต่มีความห่วงใย อาลัยก็เกิดเป็นเปรตอยู่ในบริเวณบ้านนั้นเอง และปรากฏตนให้บรรดาญาติหรือ บุคคลอื่นๆ เห็นได้ตามที่ชาวบ้านเขานิยมพูดกันว่าผีหรือเปรต ผีหรือเปรตเหล่านี้ ก็ได้แก่ปรทัตตุปชีวิกเปรตนั้นเอง แต่ถึงแม้ว่าปรทัตตุปชีวิกเปรตจะเป็นเปรตที่เกิดอยู่ในบริเวณบ้านทั้งหลายได้ก็ตาม แต่ถ้าไม่รู้ว่าเขาแผ่ส่วนบุญให้ก็ไม่สามารถที่จะรับส่วนบุญนั้นได้เหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าถ้าไม่รู้แล้วก็ไม่สามารถจะอนุโมทนาว่า สาธุๆ เมื่อไม่สามารถจะอนุโมทนาว่า สาธุ ก็เป็นอันว่าไม่ได้รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศมาให้ เพราะเป็นธรรมดาของเปรตทั้งหลายที่จะต้องเป็นเช่นนั้น ฉะนั้น ปรทัตตุปชีวิก เปรตจําพวกนี้ ก็ไม่เป็นการแน่นอนทีเดียวว่าจะได้รับส่วนบุญจากญาติที่อุทิศให้เสมอไป

เรื่องสัตว์ที่ตายไปแล้วรับส่วนบุญไม่ได้
บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ต่างก็ไปเกิดอยู่ในนรกบ้าง เป็นดิรัจฉานบ้าง เป็นเปรตที่อยู่ห่างไกลจากหมู่มนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง ส่วนญาติทั้งหลายที่อยู่ภายหลังต่างก็ชวนกันทําบุญอุทิศให้แก่บุคคลเหล่านี้อยู่เสมอๆก็ตาม ก็ไม่สําเร็จประโยชน์อันใดแก่บุคคลที่ได้ไปถือกําเนิดในที่ต่างๆ เช่นนั้นได้แต่คงเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อุทิศให้เท่านั้น เช่นญาติคนหนึ่งของเราถึงแก่ความตายลงและเกิดเป็นสุนัขอยู่ในบ้าน ถึงแม้ว่าญาติจะทําบุญอุทิศให้ก็จริง แต่บุญนั้นก็ไม่สําเร็จประโยชน์อะไรให้แก่สุนัขนั้นได้ ถึงแม้เป็นเทวดาหรือเป็นพรหมก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่รู้ว่าญาติของตนทําบุญและอุทิศส่วนบุญมาให้เท่านั้น บุญนั้นไม่สําเร็จประโยชน์อันใดให้แก่เทวดาและพรหมทั้งหลายเลย

ส่วนผู้ที่ทําบุญอุทิศให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ถึงแม้ญาตินั้นจะไม่ได้รับส่วนบุญอุทิศไปให้ บุญที่ผู้กระทําได้อุทิศไปให้นั้นก็ไม่สูญหายไปไหน คงเป็นบุญติดตัวอยู่แก่ผู้กระทําเสมอ ทั้งในชาตินี้ชาติหน้าและชาติต่อๆ ไป

ฉะนั้น เมื่อเวลาทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายไปแล้ว ผู้ทําบุญควรเว้นจากการสนุกสนานเอิกเกริกเฮฮา เช่น มีการเลี้ยงเหล้ากันในขณะนั้น หรือมีมหรสพ คือการเล่นต่างๆ เสีย จะเป็นบ้านหรือที่วัดก็ตาม ผู้ทําบุญควรสมาทานศีลเสียก่อนให้ใจสงบและต้องเจริญมรณานุสสติ อสุภะหรืออนิจจะ ทุกขะ อนัตตาด้วย เพื่อให้กุศลจิตเกิดขึ้น การทําบุญตามที่กล่าวมานี้ ผู้ทําก็ได้อานิสงส์มาก คือได้บุญนั้นเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ และผู้ที่ตายไปแล้ว ถ้าอนุโมทนาก็ได้รับส่วนบุญนั้นเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกันกับผู้ทํา

ถ้าหากผู้ทําบุญไม่ได้ทําตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ มัวแต่มีการสนุกสนานต่างๆ นานาแล้ว จิตใจในขณะนั้นก็ไม่สงบและกุศลก็เกิดน้อย ฉะนั้นการทําบุญที่เจือด้วยความสนุกสนานเช่นนั้น ผู้ทําบุญย่อมได้อานิสงส์ของการกระทํานั้นเล็กน้อย ไม่สามารถได้บุญเต็มที่ ฝ่ายผู้ที่ได้รับส่วนบุญที่ญาติแผ่ไปให้ก็คงได้รับไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน คือกุศลที่เกิดขึ้นในสันดานของผู้ทํามีเพียง ๑ เปอร์เซ็นต์แต่อกุศลมี ๙ เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากผู้ทําบุญบังเอิญตายในขณะนั้นเข้า ก็จะต้องไปเกิดในอบายภูมิภูมิใดภูมิหนึ่ง และไม่ควรคิดว่าจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ได้

อนึ่ง บุญใดที่บุคคลได้กระทําแล้วในชาติปัจจุบันนี้ และได้อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ท่านผู้เป็นบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ บุตร ภรรยา สามี มิตรสหายที่ได้ล่วงลับไป แล้วในชาติปัจจุบันพร้อมกับท่านที่เคยเป็นบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ บุตร ภรรยา สามี มิตรสหายในอดีตชาติที่ล่วงลับไปแล้ว แม้บุญนั้นก็ย่อมสําเร็จประโยชน์ให้ท่านเหล่านั้นได้รับผลบุญที่อุทิศให้นั้นโดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกันกับท่านที่ได้เป็นบิดา มารดาในชาติปัจจุบันนี้ อนึ่ง อายุของเปรตไม่แน่นอน แล้วแต่กรรม

การแสดงเปตติวิสยบทโดยพิสดาร จบ


อสุรภูมิ
วจนัตถะ : - น สุรนฺติ อิสสริยกีฬาที่หิน ทิพพฤติติ อสุรา “สัตว์เหล่าใดไม่สว่างรุ่งโรจน์โดยความเป็นใหญ่และสนุกรื่นเริง ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า อสุระ” อสุรานํ กาโย อสุรกาโย “หมู่แห่งอสุระทั้งหลายชื่อว่า อสุรกาย"

ในวจนัตถะนี้อธิบายว่า สัตว์ที่เรียกว่าอสุระนั้น เพราะไม่สว่างรุ่งโรจน์โดยความเป็นใหญ่และความสนุกรื่นเริง คําว่าสว่างรุ่งโรจน์ ณ ที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความสว่างที่เป็นรัศมีออกจากตัว แต่หมายถึงความสว่างรุ่งโรจน์โดยความเป็นอยู่ อุปมาเช่นคนทั้งหลายที่เป็นอยู่ในมนุษย์โลกทุกวันนี้ บางคนได้กระทําทุจริตผิดกฎหมายของบ้านเมือง ถูกลงโทษจําคุกอยู่ในเรือนจํา บุคคลเหล่านี้ย่อมได้รับทุกข์โดยนานาประการ เช่น อาหารการกินก็อดอยาก ถึงแม้จะได้อาหารก็ได้อาหารที่เลวๆ ตลอดจนผ้าที่จะนุ่งจะห่ม ที่หลับที่นอนก็ล้วนแล้วแต่ไม่ดีทั้งสิ้น มิหนําซ้ำยังต้องถูกจองจําด้วยโซ่ตรวนที่ขาอีก เขาได้รับความทุกข์ยากลําบากในการเป็นอยู่เช่นนี้แหละ จึงเรียกว่าไม่มีความสว่างรุ่งโรจน์ในทางเป็นใหญ่และความสนุกรื่นเริงไม่เหมือนกันกับบุคคลที่อยู่ภายนอก อันได้แก่บุคคลที่มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ เขาเหล่านี้ย่อมได้รับความสุขความ สบายในการเป็นอยู่ที่เกิดจากการมีโภคทรัพย์นั้นๆ อย่างสมบูรณ์ จึงเรียกบุคคลเหล่า นี้ว่า เป็นผู้ที่มีความรุ่งโรจน์ในทางเป็นใหญ่และสนุกรื่นเริง อันเป็นฝ่ายตรงกันข้าม กับบุคคลที่ถูกจองจําอยู่ในเรือนจําดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น

ฉะนั้น คําว่า อสุระที่มีความหมายตรงกับวจนัตถะนี้ ก็ได้แก่กาลกัญจิกเปรต อสุระ ธรรมดากาลกัญจิกเปรตอสุระนี้ไม่มีภูมิเป็นที่อยู่โดยเฉพาะ เที่ยวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในมนุษยโลกนี้เอง เช่น อยู่ตามป่า ทะเล มหาสมุทร ภูเขา เกาะและเหว ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงไว้ว่า อสุรกาโย หมู่แห่งกาลกัญจิกเปรตอสุระนั้นเอง เรียก ว่า อสุรภูมิ

การจําแนกสัตว์ที่เรียกว่าอสุระ (อสูร) โดยความว่าอสุระ

อสุระมี ๓ อย่าง คือ เทวอสุระ เปตติอสุระ นิรยอสุระ
เทวอสุระ ได้แก่ เทวดาที่เรียกว่าอสุระ
เปตติอสุระ ได้แก่ เปรตที่เรียกว่าอสุระ
นิรยอสุระ ได้แก่ สัตว์นรกที่เรียกว่าอสุระ


เทวอสุระมี ๖ อย่าง คือ

๑. เวปจิตติอสุระ
๒. พลิอสุระ
๓. ราหุอสุร ๔. ปหาราทอสุระ
๕. สัมพรอสุระ
๖. วินิปาติกอสุระ

ในบรรดาเทวอสุระ ๖ อย่างนี้ เวปจิตติอสุระ ๑ พลิอสุระ ๑ ราหุอสุระ ๑ ปหาราทอสุระ ๑ สัมพรตีอสุระ ๑ รวม ๕ พวกนี้ ที่เรียกว่าอสุระนั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อเทวดาชั้นตาวติงสา ถึงแม้ว่าสถานที่อยู่ของเทวดาทั้ง ๕ จําพวกนี้จะอยู่ใต้ภูเขาสิเนรุก็จริง แต่ก็สงเคราะห์เข้าในจําพวกเทวดาชั้นตาวดึงสาได้, ส่วนเทวดาที่เรียกว่า วินิปาติกอสุระนั้น ได้แก่ ปิยังกรมาตา, อุตตรมาตา, ผุสสมิตตา, ธัมมคุตตา เป็นต้น

วินิปาติกอสุระ อันได้แก่ ปียังกรมาตาเป็นต้น ที่เรียกว่าอสุระนั้นเพราะ วินิปาติกอสุระนี้ ว่าโดยรูปร่างสัณฐานก็เล็กกว่าเทวดาที่อยู่ในชั้นตาวติงสา ว่าโดย อํานาจก็น้อยกว่าและสถานที่อยู่ของวินิปาติกอสุระก็เที่ยวอาศัยอยู่ในมนุษยโลกทั่วไปเช่น ตามป่าตามเขา ต้นไม้ และศาลที่เขาปลูกไว้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของภุมมัฏฐเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้นวินิปาติกอสุระนี้ก็คงเป็นบริวารของภุมมัฏฐเทวดานั่นเอง ถ้าสงเคราะห์เข้าในจําพวกเทวดาแล้วก็คงสงเคราะห์เข้าในจําพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา

เปตติอสุระมี ๓ จําพวก
เปตติอสุระมี ๓ จําพวก คือ กาลกัญจิกเปรตอสุระ เวมานิกเปรตอสุระ อาวุธิกเปรตอสุระ บรรดาเปรตทั้งสามจําพวกนี้

๑. การกัญจิกเปรตอสุระ เป็นเปรตอสุระที่จัดเข้าในคําว่า อสุรกาโย ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ฉะนั้น ในวจนัตถะข้อแรกที่กล่าวว่า น สุรนฺติ อิสสริยกีฬาที่หิ น ทิพพฤติ อสุรา นั้น ข้อความของวจนัตถะนี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่กาลกัญจิกเปรตอสุระจําพวกเดียว มิได้หมายถึงพวกอสุระประเภทอื่นๆ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ ในชินาลังการฎีกาว่า อสุรกาโยติ ยสฺมา อสุรา นาม กาลกญจิกเปตา, ตสฺมา เต เปเตสุ ปริฏฐา

๒. เวมานิกเปรตอสุระ เป็นจําพวกเปรตที่ได้เสวยทุกข์ในเวลากลางวันแต่ กลางคืนได้เสวยสุข, ความสุขที่ได้เสวยในเวลากลางคืนนั้น เหมือนกับความสุขที่มีอยู่ในชั้นตาวติงสา อาศัยการที่ได้เสวยความสุขในเวลากลางคืนเหมือนกับเทวดาชั้นตาวดึงสานี้แหละ จึงเรียกว่าอสุระในที่นี้

๓. อาวุธิกเปรตอสุระ ได้แก่จําพวกเปรตที่ประหัตประหารซึ่งกันและกันด้วย อาวุธต่างๆ อาวุธิกเปรตที่เรียกว่าอสุระนั้น เพราะเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับเทวดาชั้น ตาวติงสาโดยความเป็นอยู่ เพราะเทวดาชั้นตาวดึงสานั้นมีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน ส่วนอาวุธิกเปรตว่าโดยความเป็นอยู่แล้ว มีแต่การประหัตประหารซึ่งกันและกัน


นิรยอสุระหนึ่งจําพวก

เปรตจําพวกหนึ่งที่ต้องเสวยทุกข์อยู่ในโลกันตริกนรก โลกันตริกนรกนี้ตั้งอยู่ระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามที่มีเขตเชื่อมติดต่อกัน ว่าโดยส่วนรอบของจักรวาลแล้ว จักรวาลหนึ่งๆ ก็มีลักษณะกลมด้วยกันทั้งสามจักรวาล ฉะนั้น เมื่อจักรวาลทั้งสามมีขอบเขตมาเชื่อมติดต่อกันเข้าเช่นนี้ ก็ปรากฏมีเป็นช่องว่างขึ้นตรงกลาง อุปมาเหมือนกับเราเอาถ้วยแก้วสามใบมาตั้งรวมกันเข้าเป็นสามมุม ก็ย่อมมีช่องว่างอยู่ ตรงระหว่างกลางของถ้วยแก้วที่ได้ตั้งไว้ทั้งสามใบฉันใด เมื่อจักรวาลทั้งสามจักรวาลได้เชื่อมต่อกันเข้าเป็นสามมุมแล้วก็ย่อมมีเป็นช่องว่างขึ้นระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามฉันนั้น ฉะนั้น ในช่องว่างระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามนี้แหละเป็นโลกันตริกนรก อันเป็นที่อาศัยของสัตว์ที่เรียกว่า สัตว์โลกันตริกนรก ภายในช่องนี้ มืดมิดภายใต้มีน้ำเย็นจัด ถ้าสัตว์นรกตนใดคนหนึ่งตกลงไปในน้ำนี้ ร่างกายของสัตว์นรกนั้นจะละลายลงทันทีเหมือนกันกับเอาเกลือใส่ลงไปในน้ำเกลือย่อมละลายหายไปฉันใด ร่างกายของสัตว์นรกที่ตกลงไปในโลกันตริกะนี้ก็ละลายหายสูญไปสิ้น ฉันนั้น

บรรดาสัตว์โลกันตริกนรกทั้งหลายที่อยู่ในโลกันตริกนรกนี้ ความเป็นอยู่ของสัตว์เหล่านี้เหมือนกันกับสัตว์ค้างคาวที่เกาะอยู่ตามฝาผนัง และกําลังไต่ไปมาตามฝาผนังอยู่ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านี้ต่างก็พากันเกาะอยู่ตามขอบจักรวาลภายในช่องว่างตรงกลางของจักรวาลทั้งสาม ซึ่งมีขอบเขตเชื่อมต่อกัน เมื่อสัตว์นรกเหล่านี้เกาะอยู่ตามขอบของจักรวาลนั้น ได้มีความหิวกระหายเป็นกําลัง ฉะนั้นขณะที่กําลังไต่ไป ไต่มาอยู่ตามขอบของจักรวาลนั้น ถ้าไปพบสัตว์นรกด้วยกันตนใดคนหนึ่งเข้าแล้ว ก็สําคัญผิดคิดว่าตนได้พบอาหาร ต่างฝ่ายต่างก็กระโดดเข้ากัดกันทันที เมื่อต่างฝ่ายต่างกระโดดเข้ากัดกันก็ต้องปล่อยมือจากการเกาะ เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์นรกที่กัดกันนั้นก็ตกลงไปในน้ำซึ่งมีอยู่ ณ ภายใต้นั้นเอง

สัตว์โลกันตริกนรกที่เรียกว่าอสุระ ก็เพราะว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับเทวดา ชั้นตาวติงสา โดยความเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่เทวดาชั้นตาวดึงสา ได้เสวยอยู่ล้วนแต่เป็นฝ่ายอิฏฐารมณ์ทั้งสิ้น ส่วนอารมณ์ที่สัตว์โลกันตริกนรกกําลังเสวยอยู่เป็นอนิฏฐารมณ์ (สัตว์โลกันตริกนรกที่เรียกว่าอสุระนี้ มีมาในพุทธวังสอัฏฐกถา)

อสุรกายภูมินี้ ถ้าจะสงเคราะห์ก็สงเคราะห์เข้าในเปตติภูมิ แต่การที่ท่านมาจัดเป็นอสุรกายภูมิเข้าอีกเช่นนี้ ก็เพราะว่าในบรรดาเปรตทั้งหลายนั้น มีเปรตที่พิเศษอีกพวกหนึ่ง ฉะนั้นเปรตที่เป็นพิเศษนี้ท่านจึงเรียกว่าอสุรกาย ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสังยุตตนิกายทสุตตรสุต อัฏฐกถาว่า เปตฺติวิสเยเนว อสุรกาโย คหิโต


โทษที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในอสุรภูมิ

บุคคลบางคนที่อยู่ในโลกนี้เป็นผู้มียศและทรัพย์พอสมควร หรือใหญ่ยิ่งก็ตาม แต่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีจิตใจไม่ดีหรือเป็นผู้ได้สดับตรับฟังน้อย ฉะนั้น จึงไม่สามารถ จะเลือกเฟ้นว่า บุคคลใดควรจะยกย่องสรรเสริญ และบุคคลใดไม่ควรยกย่องสรรเสริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาจึงได้ใช้อํานาจและทรัพย์สมบัติไปในทางที่ผิด คือบุคคลที่มีคุณงามความดีมีศีลธรรมควรจะยกย่องสรรเสริญ ก็กลับใช้อํานาจทางกายกดขี่ข่มเหง ใช้อํานาจทางวาจา กล่าวคําดูถูกติเตียน ส่วนบุคคลที่ไม่ดีมีความประพฤติทุจริตผิด ศีลธรรมก็กลับไปยกย่องสรรเสริญ บุคคลเช่นนี้เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปบังเกิดในอสูรภูมิ

คําอธิบายเกี่ยวกับอสุรกายบทโดยพิสดาร จบ

การจําแนกอบายภูมิทั้ง ๔ ที่เป็นทุคติโดยตรงและโดยอ้อม
นรก ติรัจฉาน เปรต อสุรกาย ทั้ง ๔ อย่างนี้ เรียกอบายภูมิดังที่ได้แสดงมาแล้วแต่ เบื้องต้น อบายภูมิทั้ง ๔ นี้เรียกว่าทุคติภูมิ เพราะเป็นที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยความลําาบาก ดังมีวจนัตถะว่า ทุกฺเขน คนฺตพฺพาติ ทุคฺคติ

ภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยความลําบาก ชื่อว่า ทุคติภูมิ ในบรรดาอบายภูมิทั้ง ๔ นี้ นรก เปรต อสุรกาย เรียกว่าทุคติโดยตรง ส่วนติรัจฉานที่เรียกว่าทุคตินั้นเป็นการเรียกโดยอ้อม เพราะติรัจฉานบางจําพวก มีพญานาค ราชสีห์ พญาช้างฉัททันต์เหล่านี้ล้วนแต่มีฤทธิ์มากและมีความสุข ฉะนั้น ดิรัจฉานภูมิจึงจัดเข้าในทุคติภูมิโดยตรงไม่ได้ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในเนตติอัฏฐกถาว่า อปาย คหเณน ติรจฺฉานโยนี ทีเปติ, ทุคคติคคหเณน เปตติวิส' ทีเป แปลความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงชาติของติรัจฉานด้วยศัพท์ว่า อปาย ทรงแสดงนรก เปรต อสุรกาย ทั้งสามด้วยศัพท์ว่า ทุคคติ

ในบางปกรณ์เช่น เนตติอัฏฐกถา เมื่อแสดงถึงนรก เปรต อสุรกายทั้งสามจําพวกนี้แล้ว ท่านใช้คําว่า เปตฺติ อย่างเดียว เป็นอันรวมถึงนรกและอสุรกายด้วย เพราะสัตว์ทั้งหลายทีละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมเกิดขึ้นในภพใหม่โดยความปรากฏเป็นร่างกายใหญ่โตขึ้นทันที ถ้าเกิดในนิรยภูมิก็เรียกว่าสัตว์นรก ถ้าเกิดในเปตติภูมิก็เรียกว่า สัตว์เปรต ถ้าเกิดในอสุรกายภูมิก็เรียกว่าสัตว์อสุรกาย การที่ท่านเรียกรวมกัน ว่าเป็นสัตว์เปรตอย่างเดียวนั้น ก็เพราะท่านหมายถึงรูปร่างสัณฐานของสัตว์ทั้งสาม จําพวกนี้เป็นอนิฏฐารมณ์ เหมือนกันโดยร่างกาย และอีกอย่างหนึ่งสัตว์เหล่านี้เมื่อ จุติจากภพเก่าและเกิดขึ้นในภพใหม่นั้น ร่างกายปรากฏใหญ่โตขึ้นทันที อาศัยเหตุนี้ ท่านจึงได้รวมเรียกว่าสัตว์เปรตอย่างเดียว


คําอธิบายประเภทของทุคติและสุคติ

ทุคติและประเภทของคติ

คติ แปลว่าที่ไปเกิดของสัตว์
คติมี ๔ ความหมาย คือ

๑. คติคติ ภพเป็นที่ไปเกิดแห่งสัตว์
๒. นิพพัตติคติ ความเป็นความเกิด
๓. อัชฌาสยคติ อัธยาศัยหรือความประสงค์
๔. วิภวคติ ความสูญเสีย

คําว่าคติในที่นี้ได้แก่ คติคติ ดังมีวจนัตถะในปัณณาสอัฏฐกถา ว่า สุกตทุกฺกฏกมุมวเสน คนฺตพฺพาติ คติ ภูมิที่สัตว์ทั้งหลายพึงไป โดยอํานาจแห่งกรรมที่ได้ทําไปแล้ว ที่เป็นส่วนดีและไม่ดี ชื่อว่า คติ


ความหมายของทุคติ
คําว่า ทุคติ แยกบทเป็น ทุ + คติ แปลว่า ไม่ดี คติ แปลว่าที่ไปเกิดของสัตว์ มีวจนัตถะแสดงไว้ในปัณณาสอัฏฐกถา ว่า
ทุกขสฺส คติ ปฏิสรณนฺติ ทุคคติ ภูมิที่ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นที่เกิดแห่งความลําบาก, หรืออีกนัยหนึ่ง
ทุกเขน คนต พาติ ทุคคติ ภูมิที่สัตว์จึงไปโดยความลําบาก ชื่อว่า ทุคติ


ประเภทของทุคติ

ทุคติมี ๓ อย่าง คือ ๑. อคาริยปฏิปัตติทุคติ ๒. อนาคาริยปฏิปัตติทุคติ ๓.คติทุคติ

ในทุคติทั้ง ๓ ประการนี้ คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนได้กระทําทุจริตด้วยอํานาจของกิเลส ชื่อว่า อคาริยปฏิปัตติทุคติ

ภิกษุสามเณรที่อยู่ในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติผิดคือทําลายศรัทธาที่มีอยู่ในสันดานของพุทธศาสนิกชนให้เศร้าหมองไป (กุลทูสนะ) และทําตัวเป็นหมอดู หมอยา (อเนสนะ) ภิกษุสามเณรผู้กระทําผิดดังที่ได้กล่าวมานี้ ชื่อว่า อนาคาริยปฏิปัตติทุคติ

ส่วนคติทุคตินั้น ได้แก่คฤหัสถ์และภิกษุสามเณรที่ได้กระทําผิดดังที่ได้กล่าวมาเมื่อเวลาตายได้ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เรียกว่า คติทุคติ (ประเภทแห่งทุคติทั้งสามประการนี้ มีมาในมูลปัณณาสอัฏฐกถา)


ความหมายของสุคติ
สุคติ ถ้าแยกบท เป็น สุ + คติ สุ แปลว่า “ดี”, คติ แปลว่า “ทีไปเกิดของสัตว์" ดังมีวงนัตถะแสดงไว้ในเนตติอัฏฐกถา ว่า
สุนฺทรา คติ สุคติ ภูมิที่ดีชื่อว่า สุคติ


ประเภทของสุคติ
สุคติมี ๓ อย่าง คือ ๑. อคาริยปฏิปัตติสุคติ ๒. อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ ๓. คติสุคติ

ในสุคติทั้ง ๓ ประการนี้ คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนได้ประพฤติสุจริตอยู่ในกุศลกรรม บท ๑๐ ชื่อว่า อคาริยปฏิปัตติสุคติ
ภิกษุสามเณรที่อยู่ในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติคันถธุระวิปัสสนาธุระอย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ชื่อว่า อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ
ส่วน คติสุคติ นั้น ได้แก่คฤหัสถ์และภิกษุสามเณรที่ได้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อเวลาตายได้ไปบังเกิดในมนุษยโลกเทวโลก ชื่อว่า คติสุคติ (ประเภทสุคติทั้งสามประการนี้ มีมาในมูลปัณณาสอัฏฐกถา)

การแสดงอบายภูมิ ๔ จบ


กามสุคติภูมิ ๗
กามสุคติภูมิ มี ๗ คือ ๑. มนุสสะ ๒. จาตุมหาราชิกา ๓. ตาวติงสา ๔. ยามา ๕. ดุสิตา ๖. นิมมานรดี ๗. ปรนิมมิตวสวัตตี

วจนัตถะของกามสุคติ
กามสหจริตา สุคติ กามสุคติ “สุคติภูมิที่เกิดพร้อมด้วยกามตัณหาชื่อว่า กามสุคติ”

สุคติภูมิมี ๒๗ ภูมิ ตั้งแต่มนุษย์จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ในบรรดาสุคติภูมิทั้ง ๒๗ ภูมินี้ สุคติภูมิที่เกิดพร้อมด้วยกามตัณหา มีเฉพาะแต่ในกามภูมิ ๗ ชั้นเท่านั้น คือมนุษย์หนึ่ง เทวดา ๖ ชั้น คําว่าเกิดพร้อมด้วยกามตัณหาในที่นี้นั้น ได้แก่ การที่สัตว์ทั้งหลายอุบัติขึ้นในกามสุคติภูมิทั้ง ๗ ชั้นนี้ เนื่องมาจากกามตัณหานั้นเอง คือ

อยากเห็นสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต อยากฟังเสียงของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
อยากดมกลิ่นของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต อยากลิ้มรสของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
อยากสัมผัสสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต, และในขณะที่กําลังเห็น กําลังฟังเสียง กําลังดมกลิ่น กําลังลิ้มรส กําลังถูกต้องอยู่ ก็มีความยินดีพอใจ อันนี้แหละที่เรียกว่า เกิดพร้อมด้วยกามตัณหา

ถาม ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่จะเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาได้นั้น ต้องเป็นไปด้วย อํานาจของทาน ศีล ภาวนา อันเป็นมหากุศลที่สัตว์ทั้งหลายได้สร้างสมได้แล้วใ ชาติก่อนๆ แต่ในที่นี้ทําไมจึงกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดานั้น เนื่องมาจากกามตัณหาเล่า
ตอบ ใช่ สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดาได้นั้น ย่อมเกิดมาจากมหากุศลด้วยกันทั้งสิ้น แต่ทว่ามหากุศลที่ทําให้สัตว์เกิดเป็นมนุษย์และเทวดานี้ ยังอยู่ในจําพวกภูมิ ๓๑ ภูมิ ที่เรียกว่าสังสารวัฏภูมิ ๓๑ ภูมิหรือสังสารวัฏนี้ ท่านจัดเข้าในทุกขสัจจะ ฉะนั้น ปวงหมู่สัตว์ที่เกิดขึ้นแล้วในบรรดาภูมิใดภูมิหนึ่งใน ๓๑ ภูมินี้จะ พ้นไปจากทุกขสัจจะนั้นไม่มีเลย ถึงแม้มนุษย์และเทวดาจะเกิดมาจากมหากุศลก็จริง แต่ก็ยังอยู่ในพวกทุกขสัจจะ คือมีความเกิดดับหรือเกิดแก่เจ็บตายเป็นต้น

ธรรมดาทุกขสัจจะนั้น จะมีขึ้นเองโดยที่ไม่มีเหตุที่จะให้เกิดนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ทุกขสัจจะปรากฏขึ้นได้ก็ต้องเนื่องมาจากรากฐาน คือสมุทยสัจจะ สมุทยสัจจะที่เป็นมูลรากของทุกขสัจจะที่เป็นมนุษย์เทวดานี้ได้แก่กามตัณหานั้นแหละ ฉะนั้น จึงได้มีวงนัตถะว่า กามสหจริตา สุคติ กามสุคติ แปลว่า สุคติภูมิ คือภูมิที่เกิดพร้อมด้วยกามตัณหา


มนุสสภูมิ

วจนัตถะและคําอธิบายมนุสสภูมิบทโดยพิสดาร

มโน อุสสนุนํ เอเตสนฺติ มนุสสา “สัตว์ทั้งหลายที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมี ใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง” ในวจนัตถะนี้ คําว่ามนุสสะ ว่าโดยมุขยนัย “นัยโดยตรง” ได้แก่ คนที่อยู่ในชมพูทวีป ถ้าว่าโดยสทิสูปจารนัย “นัยโดยอ้อม” ได้แก่ คนที่อยู่ในทวีปอีกสามทวีปที่เหลือ
ในที่นี้อธิบายว่า จิตใจของคนที่อยู่ในชมพูทวีป และจิตใจของคนที่อยู่ในทวีป ทั้งสามนั้นไม่เหมือนกัน คือคนที่อยู่ในชมพูทวีปเป็นผู้มีจิตใจกล้าแข็ง เป็นไปทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี
ฝ่ายดีนั้นสามารถทําให้สําเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า อัครสาวก มหาสาวก ปกติสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ ฌานลาภี อภิญญาลาภีได้
ฝ่ายที่ไม่ดีนั้น อาทิเช่น ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ และทําโลหิตุปบาท คือท้าให้พระโลหิตท้อ และทําสังฆเภท
ส่วนจิตใจของคนที่อยู่ในทวีปสามทวีปที่เหลือนั้น ไม่สามารถจะทําเช่นนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีและไม่ดี

คุณสมบัติ ๓ ประการของคนชมพูทวีป
คนชมพูทวีปมีคุณสมบัติ ๓ ประการสูงกว่า ประเสริฐกว่าคนอุตตรกุรุและ เทวดาชั้นตาวติงสา คุณสมบัติ ๓ ประการ ของคนชมพูทวีปนั้น คือ

๑. สูรภาว มีจิตใจกล้าแข็งในการทําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
๒. สติมนต มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย
๓. พฺรหฺมจริยวาส มีการประพฤติพรหมจรรย์คือบวชได้
ดังมีสาธกบาลีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ในพระบาลีนวกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า
ตีหิ ภิกขเว ฐาเนหิ ชมฺพุทปกา มนุสสา อุตตรกุรุเก มนุสเส อธิคณฺหนฺติ เทเว จ ตาวตีเส, กตเมหิ ตีห์ ฐาเนหิ ? สุรา จ สติมนโต จ อิธ พฺรหฺมจริยวาโส จาติ
แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนชมพูทวีป เป็นผู้มีคุณสูงและ ประเสริฐกว่าคนอุตตรกุรุ และเทวดาชั้นดาวดึงสาอยู่ ๓ อย่าง คือ จิตใจกล้าแข็งในการกระทําความดี มีสติตั้งมั่นในพระรัตนตรัยและประพฤติพรหมจรรย์ คือ บวชได้
เหตุที่พระโพธิสัตว์ไม่อยู่จนสิ้นอายุกับในเทวโลก

ในบรรดาคุณทั้ง ๓ อย่างนี้ อิธ พฺรหฺมจริยวาโส อันได้แก่การประพฤติพรหมจรรย์คือการบวช การรักษาศีลแปด ศีลเก้า ศีลสิบ มีโอกาสที่จะบําเพ็ญได้ก็ แต่ในชมพูทวีปของเรานี้เท่านั้น ในเทวโลกไม่มีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ได้ ฉะนั้น พระโพธิสัตว์ที่ยังมีบารมีอ่อนอยู่ ในขณะที่ไปบังเกิดในชั้นเทวโลกที่มีอายุยืนมาก จึง ไม่อยู่จนสิ้นอายุกับของชั้นเทวโลกนั้นๆ โดยอธิษฐานให้สิ้นอายุแล้วมาบังเกิดเป็นมนุษย์ในชมพูทวีป การตายของพระโพธิสัตว์ด้วยอาการเช่นนี้ เรียกว่า อธิมุตติกาลกิริยา ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในมหาวัคคอัฏฐกถาฑีฆนิกาย ว่า

อญฺญทา ปน ทีฆายุกเทวโลก นิพฺพตฺตา โพธิสตฺตา น ยาวตายก ติฏฐนฺติ, กสมา ? ตตฺถ ปารมีน ทุปปูรณียตตา
แปลเป็นใจความว่า ธรรมดาในชั้นเทวโลกการสร้างบารมีลําาบากมาก ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ที่ไปบังเกิดในชั้นเทวโลกที่มีอายุยืน จึงไม่อยู่จนตลอดอายุกัป

คุณสมบัติ ๓ ประการของชาวอุตตรกุรุ

คนอุตตรกุรุมีคุณสมบัติ ๓ ประการสูงและประเสริฐกว่าคนชมพูทวีปและเทวดาชั้นตาวดึงสา คุณสมบัติ ๓ ประการของคนอุตตรกุรุนั้น คือ
๑. ไม่มีการยึดถือเงินทองว่าเป็นของตน
๒. ไม่หวงแหน หรือยึดถือบุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของตน
๓. มีอายุยืนถึงหนึ่งพันปีเสมอ

คติภพ(ที่ไปเกิด) ของคนอุตตรกุรุ

ธรรมดาคนอุตตรกุรุ มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ ฉะนั้น เมื่อตายแล้วคนเหล่า นี้ย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลก ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในนวังคุตตรอัฏฐกถาและสารัตถทีปนีฎีกาว่า คติปี นิพทธา, ตโต จวิตวา สคเคเยว นิพฺพตฺตนฺติ แปลความว่า คติภพ (ที่ไปเกิด) ของคนอุตตรกุรุย่อมมีทิศทางที่แน่นอน คือ คนอุตตรกุรุเมื่อตาย แล้วต้องไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอน

คําอธิบายพิเศษในเรื่องคติภพ (ที่ไปเกิด) ของคนอุตตรกุรุ
อนึ่ง แม้ว่าเมื่อคนอุตตรกุรุจะตายจากภพเก่าแล้วต้องไปบังเกิดในชั้นเทวโลก โดยแน่นอนก็จริง แต่ถ้าถึงเวลาจุติจากเทวโลกแล้วอาจไปบังเกิดในอบายภูมิหรือ ทวีปอื่นหรือภูมิใดภูมิหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น ข้อที่ว่า คนอุตตรกุรุเมื่อตายแล้วต้องไปบังเกิด ในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอนนั้น เป็นคําพูดที่หมายถึงการจุติต่อจากภพที่เขากําลังเป็น อยู่เท่านั้น
วจนัตถะ ของคําว่ามนุสสภูมิมีดังนี้ มนุสสาน ภูมิติ มนุสสภูมิ “ที่อยู่ที่ อาศัยของคนทั้งหลาย ชื่อว่า มนุสสภูมิ” อีกนัยหนึ่ง มนุสฺสานํ นิวาสา มนุสสา “ที่ อยู่ที่อาศัยของคนทั้งหลาย ชื่อว่า มนุสสา”
ในวจนัตถะทั้งสองอย่างนี้ คําว่า มนุสสภูมิ และมนุสสา ก็ได้แก่ที่อยู่ที่อาศัย ของคนทั้งหลายเหมือนกัน แตกต่างกันโดยนัยไวยากรณ์เท่านั้น การแตกต่างกันโดย นัยไวยากรณ์นั้นมีดังนี้ คือ คําว่า มนุสสภูมิ นี้เป็นสมาสบท สร้างรูปคําจากบทสองบทคือ มนุสฺส + ภูมิ ภายหลังจากที่สําเร็จเป็น มนุสสภูมิ แล้ว ลงสีปฐมาวิภัติ, ลบสิวิภัตติ
ส่วนคําว่า มนุสสา นั้น เป็นนิวาสตัทธิตบท ลงณปัจจัย, ลงอาปัจจัยมาเพื่อทําศัพท์ให้เป็นอิตถีลิงค์ ลงสีวิภัติ ลบสิวิภัตติ

ที่อยู่ของมนุษย์

มนุษย์นี้อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดินที่มีอยู่ทั้ง ๔ ทิศของภูเขาสิเนรุ มีภูเขาสิเนรุอยู่ตรงกลาง ส่วนเนื้อที่ๆ เหลือนอกออกไปจากแผ่นดินที่มนุษย์อาศัยอยู่ อันได้แก่ ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ กับทวีปน้อย ๒,๐๐๐ และภูเขาสัตตบรรพ์นั้นล้วนแต่เป็นมหาสมุทรทั้งสิ้นพื้นแผ่นดินทั้ง ๔ ทิศ ได้แก่ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยของมนุษย์นั้นมี ชื่อว่า

๑. ปุพพวิเทหทวีป
๒. อปรโคยานทวีป
๓. ชมพูทวีป
๔. อุตตรกุรุทวีป

เกณฑ์อายุของมนุษย์ในทวีปทั้ง ๔

มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปทั้ง ๔ นี้ มีการกําหนดอายุดังนี้ คือ คนที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีปมีอายุไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนกว่ากันและกัน เช่นสมัยใดคนชมพูทวีปมี กาย วาจา ใจ ประกอบด้วยศีลธรรม สมัยนั้นคน ชมพูทวีปมีอายุยืนถึงหนึ่งอสงไขยปี การนับอสงไขยนั้นก็นับเช่นเดียวกันกับการนับ อายุของสัตว์นรกที่ได้อธิบายมาแล้วในเรื่องพระเจ้าอุประ สมัยใดคนชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ ไม่ประกอบด้วยศีลธรรม สมัยนั้นคนชมพูทวีปนั้น ก็มีอายุลดน้อยถอยลง มาตามลําดับ จนกระทั่งถึง ๑๐ ปี ส่วนคนที่อยู่ในปุพพวิเทหทวีปนั้น มีอายุ ๗๐๐ ปี เสมอ คนที่อยู่ในอปรโคยานทวีปนั้นมีอายุ ๕๐๐ ปีเสมอ คนที่อยู่ในอุตตรกุรุทวีปนั้น มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีเสมอ

ทวีปใหญ่ทวีปหนึ่งก็มีทวีปน้อย ๕๐๐ เป็นบริวาร รวมเป็นทวีปน้อยมี ๒,๐๐๐ ทวีป คนที่อาศัยอยู่ในทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทวีปนี้ ก็มีอายุมากบ้างน้อยบ้าง ไปตามคน ที่อยู่ในทวีปใหญ่นั้นๆ

เทวภูมิ ๖

แสดงความเกี่ยวเนื่องด้วยเทวภูมิ ๖ ชั้น โดยลําาดับ ตามอรรถกถา * ฎีกา
วจนัตถะของคําว่า เทวะ ปญฺจติ กามคุเณหิ ทิพพฤติ กีฬนตีติ เทวา “ผู้เพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้ง ๕ ชื่อว่า เทวะ”

เทวะ มี ๓ อย่าง คือ

๑. สมมุติเทวะ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ และพระราชินี พร้อมด้วย พระโอรส พระธิดา
๒. อุปปัตติเทวะ ได้แก่ เทวดาและพรหมทั้งหมด
๓. วิสุทธิเทวะ ได้แก่ พระอรหันต์ทั้งหมด

สําหรับวจนัตถะนี้ แสดงถึงอุปปัตติเทวดาผู้อยู่ในเทวภูมิ ๖ ชั้นเท่านั้น

จาตุมหาราชิกาภูมิ

วจนัตถะ
๑. จตฺตาโร มหาราชาโน จตุมหาราชา “เทวดาเป็นเจ้ายิ่งใหญ่ ๔ องค์ ชื่อ จตุมหาราช" จตุมหาราชเทวดา ๔ องค์นั้น คือ ๑. ท้าวธตรัฏฐะ ๒. ท้าววิรุฬหกะ ๓. ท้าววิรูปักขะ ๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวัณ

เทวดา ๔ องค์นี้ อาศัยอยู่ตอนกลางของภูเขาสิเนรุซึ่งสูงเท่ากันกับยอดเขายุคันธร ดังนี้

๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางด้านตะวันออกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองคันธัพพเทวดาทั้งหมด
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางด้านใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑ์เทวดาทั้งหมด (เทวดาท้องใหญ่โต)
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางด้านตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคเทวดาทั้งหมด
๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวัณ อยู่ทางด้านเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขเทวดาทั้งหมด

ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในพระบาลีมหาวรรคแห่งสุตตันตปิฎก และปรมัตถทีปนีสังคมมหาฎีกา ดังนี้

ปุริย์ ทิสํ ธตรฏฺโฐ ทกฺขิเณน วิรุฬหโก
ปจฺฉิเมน วิรูปกฺโข กุเวโร อุตตร์ ทิสํ
จตุตาโร เต มหาราชา สมนฺตา จตุโร ทิสา,
(พระบาลีมหาวรรค)

แปลความว่า ท้าวธตรัฏฐะอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ ท้าววิรุฬหกะอยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักขะอยู่ทางทิศตะวันตก ท้าวกุเวระอยู่ทางทิศเหนือ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์นั้น อยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศของภูเขาสิเนรุ ตตฺถ ตรฏฺโฐ คนธพพาน ราชา โหติ, วิรุฬหโก กุมภณฑา, วิรูปกโข นาคาร, กุเวโร ยกขาน (ปรมัตถทีปนีสังคหมหาฎีกา)

แปลความว่า ในจํานวนท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์นั้น ท้าวธตรัฏฐะเป็นเจ้าแห่งคันธัพพเทวดาทั้งหลาย ท้าววิรุฬหกะเป็น เจ้าแห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย ท้าววิรูปักขะเป็นเจ้าแห่งพญานาค ทั้งหลาย ท้าวกุเวระเป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งหลาย ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลกด้วย ฉะนั้น จึงเรียกว่าท้าวจตุโลกบาล ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในเนตติอรรถกถาว่า โลกํ ปาเลนตีติ โลกปาลา, จตุตาโร มหาราชาโน แปลความว่า เทวดาที่เป็นผู้รักษามนุษยโลก ชื่อว่าเทวดาโลกบาล ได้แก่ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นเอง, ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในโลกียปกรณ์ต่างๆ เรียกท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ นี้ว่า อินทะ ยมะ วรุณะ กุเวระ ดังมีสาธกบาลี แสดงไว้ในเนตติอรรถกถา ว่า โลกิยา ปน อินฺทยมวรุณกุเวรา โลกปาลาติ วิทยุติ แปลความว่า ส่วนบุคคลผู้ที่เข้าใจในโลกียปกรณ์นั้น เรียกเทวดาโลกบาลทั้ง ๔ องค์ นี้ว่า อินทะ ยมะ วรุณะ กุเวระ ดังนี้

๒. จตูสุ มหาราเชตุ ภตฺติ เอเตสนฺติ จาตุมหาราชิกา “เทวดาทั้งหลายที่ ชื่อว่า จาตุมหาราชิกะ เพราะเหตุว่ามีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติรับใช้ท้าวมหาราชทั้ง ๔, อธิบายว่า เทวดาที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาทั้งหมดนี้ เป็นบริวารอยู่ภายใต้อํานาจของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ด้วยเหตุนี้ เทวดาเหล่านี้ จึงได้ชื่อว่า จาตุมหาราชิกะ, อีกนัย หนึ่ง มีวจนัตถะว่า จตุมหาราช ภวาติ จาตุมหาราชิกา เทวดาทั้งหลาย ที่ชื่อว่า จาตุมหาราชิกะ เพราะเหตุว่าเกิดขึ้นในสถานที่ที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครองอยู่

อธิบายว่า สถานที่ซึ่งท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครองนั้น ตั้งอยู่ตอนกลางของภูเขา สิเนรุสูงเสมอกันกับเขายุคันธรลงมาจนถึงพื้นแผ่นดินที่มนุษย์อยู่ และบริเวณที่เสมอ กันกับยอดเขายุคันธรนั้น มีอาณาเขตแผ่ออกไปในอากาศจรดขอบจักรวาล และภูเขา สัตตบรรพ์ ตลอดทั่วมหาสมุทรทั้งหมด อาณาเขตที่ท้าวจาตุมหาราชปกครองอยู่นี้ ชื่อว่า จาตุมหาราชิกาภูมิ ดังมีวจนัตถะว่า จาตุมหาราชิกานํ นิวาสาติ จาตุมหา ราชิกา ที่อยู่ของท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ พร้อมกับเทวดาทั้งหลายที่เป็นบริวาร ชื่อว่า จาตุมหาราชิกาภูมิ

เทวดาที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของท้าวจตุมหาราช

๑. ปัพพตัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามภูเขา
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่จุติ เพราะมัวเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาจนลืมบริโภคอาหาร
๔. มโนปโทสิกเทวดา เทวดาที่จุติเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ทําให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ทําให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่อยู่ในพระอาทิตย์

ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสัมโมหวีโนทนีอรรถกถาว่า
จาตุมหาราชิกา นาม สิเนรุปพพตสฺส เวมชเฌ โหนติ ปพพตฏฐาปี อากาสฏฐาปี, เตสํ ปรมปรา จากวาฬปพพ ปตตา, บิททาปโทสิกา มโนปโทสิกา สีตวลาฬิกา อุณหวลาฬิกา จนทิมเทวปุตโต สุริยเทวปุตโตติ เอเต สัพเพปิ จาตุมหาราชิก เทวโลกฏฐกา เอว

แปลความว่า สถานที่อยู่ของท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ นั้น ตั้งอยู่ระหว่างกลางของภูเขาสิเนรุ ตั้งแต่ตอนกลางของภูเขาสิเนรุลงมาจนถึงมนุษยโลกนั้น มีเทวดาอยู่ ๒ พวก คือพวกที่อยู่บนเขา และพวกที่อยู่ในอากาศ ที่อยู่ของเทวดาเหล่านี้อยู่ติดต่อกันไป จนถึงภูเขาจักรวาลโดยรอบ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกานี้มีอยู่หลายพวกด้วยกัน ขิฑฑาปโทสิกเทวดา มโนปโทสิกเทวดา สีตวลาหกเทวดาอุณหวลาหกเทวดา จันทิมเทวบุตร สุริยเทวบุตร ทั้งหลายเหล่านี้ ก็จัดเข้าอยู่ในพวกจาตุมหาราชิกาภูมินั้นเอง

เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ มีอยู่ ๓ พวก คือ

๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนพื้นแผ่นดิน
๒. รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนต้นไม้
๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ

๑.ภุมมัฏฐเทวดา ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้ดิน บ้าน เจดีย์ ศาลา และซุ้มประตู เป็นต้น ส่วนท้าวมหาราชทั้ง ๔ กับเทวดาบางองค์ที่อยู่ตอนกลางของภูเขาสิเนรุโดยรอบนั้น มีปราสาทเป็นวิมานของตนโดยเฉพาะๆ สําหรับภุมมัฏฐเทวดาอื่นๆ ที่ไม่มีวิมานเป็นที่อยู่ของตนโดยเฉพาะนั้น ถ้าเทวดาองค์ใดไปอาศัย วัด บ้าน ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำอยู่ ก็ ถือว่าสถานที่นั้นๆ เป็นวิมานของตน

๒. รุกขัฏฐเทวดา มีอยู่ ๒ จําพวก คือ จําพวกหนึ่งมีวิมานอยู่บนต้นไม้ อีก จําพวกหนึ่งอยู่บนต้นไม้แต่ไม่มีวิมาน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสารัตถทีปนีฎีกาว่า รุกขทิพพวิมาเนติ จ สาขฎฐกวิมาน สนชาย วุตต์, รุกขสส อุปรินิพฺพฤติ หิ วิมานรุกขปฏิพนธิตา รุกขวิมานนุติ วุจจติ สาขฎฐกวิมาน ปน สพฺพสาขสนนิสสิต หุตวา ติฏฐิติ

แปลความว่า คําว่า รุกขทิพวิมาน นั้น หมายเอาวิมานที่ตั้ง อยู่บนยอดของต้นไม้ จริงอยู่ วิมานที่ปรากฏขึ้นบนยอดต้นไม้นี้ เรียกว่ารุกขวิมาน เพราะตั้งติดกันกับต้นไม้ ส่วนสาขัฏฐกวิมานนั้น เป็นวิมานที่อาศัยตั้งอยู่บนสาขาของต้นไม้ทั่วไป

๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาจําพวกนี้มีวิมานเป็นที่อยู่ของตนเองโดยเฉพาะ เช่นพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวทั้งหลาย ที่เราเห็นกันอยู่นั้นก็คือวิมานอันเป็นที่อยู่ของอากาสัฏฐเทวดาทั้งหลายนั้นเอง ทั้งภายในและภายนอกของวิมานนั้น ประกอบไปด้วยรัตนะ ๒ อย่าง อันบังเกิดขึ้นด้วยอํานาจกุศลกรรม คือ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ววิเชียร เงิน ทอง บรรดาวิมานทั้งหลายนี้ บางวิมานก็ประกอบด้วยรัตนะ ๒ บางวิมานก็ประกอบด้วยรัตนะ ๓-๔-๕-๖ และ บางวิมานก็ประกอบด้วยรัตนะทั้ง ๗ สุดแท้แต่กุศลที่ตนได้สร้างไว้ และวิมานเหล่า นี้ก็ลอยหมุนเวียนไปรอบๆ เขาสิเนรุอยู่เป็นนิจ

บางปกรณ์กล่าวไว้ว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามี ๒ จําพวก คือ ภุมมัฏฐิเทวดา และอากาสัฏฐเทวดา ส่วนรุกขัฏฐเทวดานั้นจัดเข้าอยู่ในจําพวกภุมมัฏฐเทวดา ดังมี สาธกบาลีแสดงไว้ในธัมมบทอรรถกถา พุทธวังสอรรถกถาและสคาถาวัคคลังยุคอรรถกถาและฎีกาว่า

๑. ภูมิตเล รุกขกิจ ปพฺพตาที่สุ ภุมมฏฐา เทวตา (ธัมมบทอรรถกถา)
๒. ภุมมาติ ภูมฏฐปาสาณปพพตาวนรุกขาที่สุ ฐิตา (พุทธวังสอรรถกถา)
๓. ภุมมาติ ภูมิวาสิโน, (สคาถาวัคคสังยุตอรรถกถา)
๔. ภูมิวาสิโนติ ภูมิปฏิสทธวุตติโน, เอเตน รุกฺขป พลนิวาสิโนปิ คริตา (สคาถาวัคคสังยุตตฎีกา)


เทวดาที่มีใจโหดร้าย

เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาที่มีใจโหดร้าย มีอยู่ ๔ จําพวก คือ

๑. ยักโข ยักขินี ได้แก่ เทวดายักษ์ ชาย หญิง
๒. คันธัพโพ คันธัพพี ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ชาย หญิง
๓. กุมภัณโฑ กุมภัณฑ์ ได้แก่ เทวดากุมภัณฑ์ ชาย หญิง
๔. นาโค นาคี ได้แก่ เทวดานาค ชาย หญิง

๑. ยักษ์ มี ๒ จําพวก คือ จําพวกหนึ่งมีรูปร่างสวยงามและมีรัศมี เป็นสัตว์ ชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่คน พวกนี้เป็นเทวดายักษ์ อีกพวกหนึ่งมีรูปร่างน่าเกลียด ไม่มีรัศมี พวกนี้เป็นดิรัจฉานยักษ์
เทวดายักษ์นี้ บางทีก็มีความพอใจในการเบียดเบียนสัตว์นรกให้เดือดร้อน ฉะนั้น เมื่อมีจิตคิดอยากจะเบียดเบียนสัตว์นรกขึ้นมาในเวลาใด เวลานั้นก็เนรมิตตัวเป็นนายนิรยบาลลงไปสู่นิรยโลก เที่ยวลงโทษสัตว์นรกเหล่านั้นตามความพอใจของตน หรือเมื่อมีความต้องการอยากจะกินสัตว์นรกขึ้นมา ก็เนรมิตตัวเป็นแร้งยักษ์ กายักษ์ แล้วก็พากันจับสัตว์นรกเหล่านั้นกินเสีย เทวดายักษ์เหล่านี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวกุเวระ หรือท้าวเวสสุวัณ

๒. คันธัพพเทวดา ได้แก่ เทวดาที่ถือกําเนิดอยู่ภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม และ อาศัยอยู่ตลอดไป ถึงแม้ต้นไม้นั้นจะผุพัง หรือถูกพายุพัดล้มลง หรือถูกคนมาตัดเอา ไปสร้างบ้าน สร้างกุฏิ สร้างเรือเหล่านี้แล้วก็ตาม คันธัพพเทวดาเหล่านี้ก็ไม่ยอม ละทิ้งที่อยู่ของตน คงอาศัยติดอยู่กับไม้นั้นเรื่อยๆ ไป ฉะนั้นบ้านเรือนใด กุฏิใด หรือเรือลําใดที่มีคันธัพพเทวดาอาศัยสิงอยู่นั้น บางคราวคันธัพพเทวดานี้จะแสดง ตนให้ปรากฏแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ หรือถ้าไม่แสดงตนให้ปรากฏก็มักจะ ทําการรบกวนให้อุปสรรคต่างๆ เกิดขึ้นแก่ผู้ที่อาศัยอยู่นั้น เช่น ให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น หรือทําอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติของบุคคลนั้นๆ ให้พินาศไป เป็นต้น เทวดาพวกนี้ แหละที่เราเรียกกันว่า นางไม้หรือแม่ย่านางเรือนั้นเอง ดังมีวจนัตถะว่า ปฏิสนธิว เสน คนธรุกเขสุ อปเปนติ อุปกจนตีติ คน พา “เทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า คันธัพพะ เพราะย่อมเข้าถึงด้วยการถือปฏิสนธิในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม”
คันธรุกขคันธัพพเทวดา

เทวดาคันธัพพะที่เกิดในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม มี ๑๐ จําพวก คือ

๑. มูลคันธัพพะ เกิดอยู่ในรากไม้
๒. สารคันธัพพะ เกิดอยู่ในแก่นไม้
๓. เผคคุคันธัพพะ เกิดอยู่ในเนื้อไม้
๔. ตจคันธัพพะ เกิดอยู่ในเปลือกไม้
๕. ปปฏิกคันธัพพะ เกิดอยู่ในตะคละไม้
๖. รสคันธัพพะ เกิดอยู่ในน้ำหอม
๗.ปัณณคันธัพพะ เกิดอยู่ในใบไม้
๘. ปุปผคันธัพพะ เกิดอยู่ในดอกไม้
๙. ผลคันธัพพะ เกิดอยู่ในผลไม้
๑๐. กันทคันธัพพะ เกิดอยู่ในเหง้าใต้ดิน

เทวดาคันธัพพะทั้ง ๑๐ จําพวกนี้ เรียกว่า กัฏฐยักขะ

ความแตกต่างกันในที่อาศัยของคันธัพพเทวดา และรุกขัฏฐเทวดา คือ รุกขัฏฐ เทวดานี้อาศัยต้นไม้อยู่เช่นเดียวกันกับคันธัพพเทวดา แต่ต่างกันในการอาศัยโดยที่ รุกขัฏฐเทวดาที่อาศัยต้นไม้อยู่นั้น ถ้าต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่ล้มลงหรือมีคนมาตัดไปแล้ว รุกขัฏฐเทวดาก็ย้ายไปอาศัยต้นไม้อื่นอยู่ต่อไป ซึ่งตรงกันข้ามกับคันธัพพเทวดา ดังที่ได้แสดงมาแล้วนั้น

คันธัพพเทวดาพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ คือ คันธัพพเทวดาที่ เป็นหญิงบางจำพวก ได้เคยทําอกุศลกรรมไว้ในอดีตชาติ ฉะนั้น จึงได้มาเกิดในร่างกายของมนุษย์หญิง คันธัพพเทวดาหญิงพวกนี้ในคัมภีร์เวท เรียกชื่อว่า โยคินี ส่วนหญิงที่ถูก คันธัพพเทวดามาอาศัยเกิดนี้ ท่านก็เรียกหญิงนี้ว่าโยคินีเหมือนกัน ซึ่งชาวโลกเรียกกันว่าคนผีสิง

คนที่ถูกผีเข้าสิงนี้ มีอยู่ ๒ จําพวก คือ พวกที่ ๑ คือพวกที่ถูกคันธัพพเทวดา มาอาศัยเกิดตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดา พวกที่ ๒ คือพวกที่คันธัพพเทวดามา อาศัยเกิดเมื่อเจริญเติบโตแล้ว และหญิงที่ถูกคันธัพพเทวดาเข้าสิงอยู่นี้ เมื่อเกิดความไม่พอใจผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแล้วก็ใช้คันธัพพเทวดาที่อยู่ในร่างกายของตนให้ไป ทําความเดือดร้อนประทุษร้ายแก่บุคคลที่ตนไม่ชอบอยู่นั้นต่างๆ นานา แล้วแต่จะมีโอกาสเหมาะเวลาใด

หญิงที่ถูกคันธัพพเทวดาเข้าสิงอยู่นี้ ในเวลาปกติ ความเป็นอยู่ เช่น การกิน อาหาร การทํากิจการต่างๆ ก็เหมือนกันกับคนธรรมดานั้นเอง แต่เมื่อถึงเวลา วันเพ็ญพระจันทร์ขึ้นเต็มดวง ด้วยอํานาจของคันธัพพเทวดาที่สิงอยู่ในร่างกายนั้น ทําให้หญิงนี้ออกเที่ยวแสวงหาอาหารในเวลากลางคืน ในขณะที่กําลังเที่ยวหาอาหารอยู่นั้น ก็มีแสงเป็นประกายออกมาจากร่างกายด้วยอิทธิฤทธิ์ของคันธัพพเทวดา ฉะนั้น คันธัพพเทวดานี้จึงมีชื่อว่า ชุณหา แปลว่า เทวดามีความสว่าง ดังมีวจนัตถะ ว่า ชุสนฺติ ทิพพฤติ ชุณหา “คันธัพพเทวดาชื่อว่า ชุณหา เพราะเป็นผู้ทําแสงสว่าง ให้ปรากฏขึ้น” คําว่า โยคินี ชุณหา ผีสิง ทั้งสามคํานี้มีความหมายอย่างเดียวกัน ก็ คันธัพพเทวดาทั้งหมดที่ได้กล่าวแล้วนี้ อยู่ใต้อํานาจการปกครองของท้าวธตรัฏฐะ"

๓. กุมภัณฑเทวดา เป็นเทวดาจําพวกหนึ่งที่เรียกกันว่า รากษส มีลักษณะรูปร่างพุงใหญ่ ตาพองโตสีแดง มีที่อยู่สองแห่ง คือในมนุษยโลกแห่งหนึ่งและในนิรยโลกแห่งหนึ่ง
กุมภัณฑเทวดาที่อยู่ในมนุษยโลก มีหน้าที่รักษาป่า ภูเขา ต้นไม้ สระโบกขรณี แม่น้ำ พุทธเจดีย์ แก้วรัตนะ ต้นยาที่ประเสริฐ ต้นไม้ที่มีดอกหรือไม้หอม เช่นภูเขา เวปุลละที่มีแก้วมณี และต้นมะม่วงที่เรียกว่า อัพภันตระ เป็นต้น สถานที่ต่างๆ ที่ กุมภัณฑเทวดาดูแลรักษาอยู่นั้น ถ้าหากว่ามีผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปภายในบริเวณที่ตน ดูแลรักษา ซึ่งท้าวจาตุมหาราชกําหนดให้ไว้นั้น กุมภัณฑเทวดาก็จับเอาบุคคลนั้นกิน ได้ โดยไม่มีโทษ ดังมีวงนัตถะแสดงไว้ว่า “รตนาทีนิ รกฺขิตฺวา อสนฺติ ภกฺขนฺตีติ รกฺขสา” “เทวดาผู้รักษาสมบัติต่างๆ มี แก้วมณี เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้ใดมาเอาไปย่อมจับ ผู้นั้นกินเสียเรียกว่ารากษส”, ส่วนพวกกุมภัณฑเทวดาที่อยู่ในนิรยโลกนั้น ก็ได้แก่ นายนิรยบาลรากษส การากษส สุนัขรากษส แร้งรากษสนั้นเอง ที่มีหน้าที่คอย ลงโทษสัตว์นรก และจับสัตว์นรกกิน, สําหรับนายนิรยบาลยักษ์ กายักษ์ สุนัขยักษ์ แร้งยักษ์ ที่ได้แสดงมาแล้วเป็นพวกเทวดายักษ์ กุมภัณฑเทวดาเหล่านี้ อยู่ในความ ปกครองของท้าววิรุฬหกะ

๔. นาคเทวดา มีกําเนิด ๒ อย่าง คือ กําเนิดวสุนธระ และกําเนิดภุมมเทวะ มีที่อยู่ ๒ แห่ง คืออยู่ใต้ดินธรรมดาแห่งหนึ่ง อยู่ใต้ภูเขาแห่งหนึ่ง นาคเทวดาที่อาศัย อยู่ในสถานที่ ๒ แห่งนี้ ชื่อว่า ปฐวีเทวดา
นาคเทวดาทั้งหลายนี้ บางคราวก็มีการสนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นต่างๆ และ ในขณะที่นาคเทวดากําลังเล่นกีฬาสนุกสนานอยู่นั้น มีความกระเทือนแรงมากจน เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เป็นทุกครั้งไป เพราะบางทีแผ่นดินไหวขึ้นด้วยอํานาจ ของเหตุอื่นก็มี
นาคเทวดานี้มีวิชาเกี่ยวด้วยเวทมนตร์คาถาต่างๆ ในพรหมชาลสูตรแสดงชื่อ ของเวทมนตร์คาถานี้ว่า วัตถุวิชา หรือภูมิวิชา นาคเทวดาเหล่านี้ เมื่อขณะที่ท่องเที่ยว ไปในมนุษยโลก บางทีก็ไปในสภาพร่างกายเดิมของตน บางทีก็เนรมิตเป็นคน เป็น สุนัข เสือ หรือราชสีห์เที่ยวไป นาคเทวดาพวกนี้ มีอัธยาศัยจิตใจชอบในการลงโทษพวกสัตว์นรก เช่นเดียวกันกับพวกยักขเทวดาและกุมภัณฑเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น ในบางคราวก็ลงไปสู่นิรยโลกเพื่อลงโทษพวกสัตว์นรก และเนรมิตตัวเป็นแร้งยักษ์ สุนัขยักษ์ แล้วเที่ยวจับสัตว์นรกเหล่านั้นกิน
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาที่มีใจโหดร้าย ๔ จําพวกตามที่กล่าวมาแล้วนี้ มิใช่ แต่จะเทียวเบียดเบียนสัตว์พวกอื่นให้เดือดร้อนเท่านั้น ถึงแม้ว่าในจําพวกเดียวกันก็ มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันให้เดือดร้อนอยู่เสมอเช่นเดียวกัน ฉะนั้นท้าวมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งเป็นผู้มี อํานาจปกครองอยู่ จึงได้จัดตั้งหัวหน้าขึ้นเพื่อคอยดูแล ห้ามปรามไม่ให้ ไปเที่ยวเบียดเบียนสัตว์อื่นๆ และวิวาทซึ่งกันและกัน

บางคราวทีในมนุษยโลกมีคนตายมากจนผิดปกติ ถ้ามีการจัดตั้งเครื่องสังเวย และบูชาท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ แล้ว อันตรายต่างๆ ที่กําลังปรากฏอยู่ในขณะนั้นก็ จะค่อยทุเลาลง ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในพระบาลีเปตวัตถุว่า

จตุตาโร จ มหาราช โลกปาเล ยสสสิเน
กุเวร์ ธตรฏฐญจ วิรูปกข์ วิรูฬหก๋
เต เจว ปูชิตา โหนติ ทายกา จ อนิปผลา

แปลความว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ คือ ท้าวกุเวระ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรูปักขะ ท้าววิรุฬหกะนี้ มียศและบริวารมาก เป็นผู้ รักษาคุ้มครองมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ใดทําการบูชาท่านด้วยอามิสบูชา ต่างๆ แล้ว ผู้นั้นย่อมไม่เสียผลในการบูชานั้น โดยจะได้รับความ สุขความสบายเป็นเครื่องตอบแทน
สรุปความว่า เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาทั้งหมดนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายจําพวก เช่น บางพวกมีร่างกายสวย บางพวกไม่สวย บางพวกมีความเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนา บางพวกไม่เลื่อมใส บางพวกชอบเบียดเบียนสัตว์อื่น บางพวกรักษา พระพุทธศาสนา รักษาโลก รักษาสถานที่ต่างๆ รักษาแก้วรัตนะ เหล่านี้ เป็นต้น
การแสดงความเป็นไปต่างๆ ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีมาในอรรถกถาและฎีกาแห่งพระอภิธรรม อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย อรรถกถาแห่งชาดก และคัมภีร์พระเวท
การแสดงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา จบ


ตาวติงสภูมิ

วจนัตถะ เตตุตีส ชนา นิพฺพตฺตนฺติ เอตถาติ เตตุตึสา “ภูมิอันเป็นที่เกิดของบุคคลจํานวน ๓๓ คน ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า เตตติงสะ”, เตตฺตีส เอว นิรุตตินเยน ดาวตึสา คําว่า เตตติงสะ นั้นแหละเรียกว่า ตาวติงสะ (ดาวดึงส์) โดยการแผลงคำตามหลักนิรุตติ (ไวยากรณ์)
ตามวจนัตถะทั้ง ๒ ข้อข้างต้นนี้ พึงทราบว่า เทวภูมิชั้นที่สองที่เรียกว่าตาวติงสะนั้น มีความหมายว่าภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งคน ๓๓ คน เหตุที่ทําให้เกิดการเรียก ชื่อเทวภูมิชั้นนี้ว่า ตาวติงสะนั้น มีเรื่องที่จะเล่าพอเป็นสังเขปว่า

ในอดีตกาลครั้งหนึ่ง มีหมู่บ้านหมู่หนึ่งชื่อว่า มจลคาม ณ หมู่บ้านนี้มีคนอยู่ กลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า คณะสหบุญญการี ซึ่งแปลว่า คณะทําบุญร่วมกัน คณะนี้มี อยู่ ๓๓ คนด้วยกันเป็นชายทั้งหมด คนที่เป็นหัวหน้าคณะชื่อว่า มฆมานพ ชายทั้ง ๓๓ คนนี้ช่วยกัน ทําความสะอาดถนนหนทางที่อยู่ในบริเวณหมู่บ้านนั้น และเมื่อถนนแห่งใดชํารุดทรุดโทรมก็ช่วยกันซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ขึ้นให้เรียบร้อย เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้คนที่อาศัยสัญจรไปมา พร้อมกันตั้งโรงสําหรับเก็บน้ำเพื่อให้ ประชาชนที่ผ่านไปมาทางนั้นได้อาศัยดื่มกิน และสร้างศาลาขึ้นที่หนทาง ๔ แพร่ง เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้พักอาศัย ครั้นเมื่อชายทั้ง ๓๓ คนเหล่านี้ได้สิ้นชีวิตลง แล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิชั้นที่สอง มฆมานพนั้นได้ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ ส่วน อีก ๓๒ คน ได้บังเกิดเป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ด้วยกันทุกคน ชื่อว่า ปชาปติ วรุณะ อีสานะ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้แหละเทวภูมิชั้นที่สองนี้ จึงมีนามว่า เขตสะ

อิฏฐารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์

เทพยดาทั้งหลายที่ได้มาบังเกิดในชั้นดาวดึงส์นี้ ล้วนแต่เป็นผู้ได้เสวยทิพยสมบัติอันเป็นผลที่ได้รับมาจากกุศลกรรมในอดีตภพ ฉะนั้น อารมณ์ต่างๆ ที่ได้รับ ในชั้นดาวดึงส์นี้ จึงล้วนแต่เป็นอารมณ์ที่ดีงามทั้งนั้น เทวดาผู้ชายนั้นมีรูปร่าง ลักษณะอยู่ในวัยที่มีอายุราว ๒๐ ปี ส่วนเทวดาผู้หญิงก็มีรูปร่างอยู่ในวัยที่มีอายุราว ๑๖ ปีเหมือนกันทุกๆ องค์ ความชราคือ ผมหงอก ฟันหัก ตามัว หูตึง เนื้อหนังเหี่ยว ย่น เหล่านี้ไม่มี มีแต่ความสวยงามเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไป

พยาธิ คือความเจ็บไข้ก็ไม่มี อาหารที่เป็นเครื่องอุปโภคก็เป็นชนิดละเอียดเป็นสุธาโภชน์ ด้วยเหตุนี้ภายในร่างกายจึงไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทวดาหญิงก็ไม่มีประจําเดือนและไม่ต้องมีครรภ์ ส่วนภุมมัฏฐเทพธิดาบางองค์นั้น มีประจําเดือนและมีครรภ์เหมือนกับมนุษย์หญิงธรรมดา

ธรรมดาบุตรและธิดาเทวดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น จะได้บังเกิดเหมือนมนุษย์นั้นหามิได้ แต่บุตรธิดาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมบังเกิดในตักแห่งเทวดาทั้งหลาย ถ้าแลนางฟ้าทั้งหลายจะบังเกิดเป็นบาทบริจาริกา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในที่นอน เทวดา ที่เป็นพนักงานตกแต่งประดับอาภรณ์วิภูษิต เครื่องทรงเป็นต้นนั้น ย่อมบังเกิดล้อม รอบที่นอน ถ้าจะเป็นไวยาวัจกรนั้นย่อมบังเกิดขึ้นภายในวิมาน ดังมีสาธกบาลี แสดงไว้ในสักกปัญหสุตตันตอรรถกถา และมูลปัณณาสอรรถกถาว่า เทวาน ตา จ ปุตตา จ อ เก นิพฺพตตนติ ปาทบริจาริกา อิตถิโย สยเน นิ พ ตนุติ ตาส มณฑนปสาธน การิกา เทวตา สยน ปริวาเรตวา นิพฺพตฺตนฺติ เวยยาวจากราอนฺโตวิมาเน นิพฺพตุตนฺติ

เมื่อเทวดาทั้งหลาย ไปบังเกิดขึ้นภายในวิมานของเทวดาองค์หนึ่งองค์ใดแล้วย่อมเป็นอันว่าเทวดาหรือนางฟ้าก็ตามที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้น ต้องเป็นบริวารของเทวดาผู้เป็นเจ้าของวิมานนั้นๆ โดยที่เทวดาองค์อื่นๆ จะมาวิวาทแย่งชิงเอาไปไม่ได้เลย ถ้าเทพบุตรก็ดีเทพธิดาก็ดี บังเกิดขึ้นภายนอกระหว่างกลางเขตแดนวิมานต่อวิมานแล้ว เทวดาที่เป็นเจ้าของวิมานนั้นๆ ก็บังเกิดการวิวาทแก่กัน เพื่อแย่งชิงเอาเทวดาทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้นมาเป็นกรรมสิทธิของตน ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่สามารถจะตัดสินได้ว่าเทวดาที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้นจะเป็นของใครได้แล้ว ก็พากันไปสู่ สํานักแห่งท้าวสักกเทวราชผู้เป็นอธิบดีใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวง ถ้าวิมานของเทวดาองค์ใดอยู่ใกล้กว่ากัน ท้าวสักกะเทวราชก็พิพากษาให้เป็นของเทวดาองค์นั้น ถ้าเทวดาผู้บังเกิดใหม่ปรากฏขึ้นในที่ท่ามกลางเสมอกันแห่งวิมานของเทวดา ๒ องค์ เทวดาที่บังเกิดใหม่นั้น เล็งแลดูวิมานของเทวดาองค์ใด ท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของเทวดาองค์นั้น ถ้าเทวดาผู้บังเกิดใหม่ มิได้ดูแลซึ่งวิมานหนึ่งวิมานใด แล้วท้าว สักกะก็พิพากษาให้เป็นของพระองค์เสียเอง เพื่อตัดความวิวาทแห่งเทวดาทั้งหลายเสีย เทวดาบางองค์ก็มีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา ๕๐๐ บ้าง ๗๐๐ บ้าง ๑๐๐๐ บ้าง เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เทวดาที่ไม่มีวิมานอยู่โดยเฉพาะของตนก็มีอยู่เป็นจํานวนมาก และในเทวโลกนี้ก็เป็นไปคล้ายกับ มนุษยโลก คือมีการทะเลาะวิวาทกัน และมีผู้พิพากษาตัดสินความเช่นเดียวกัน

เทพบุตรและเทพธิดาที่อยู่ในเทวโลกนี้ ก็มีการไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันเช่นเดียวกับในมนุษยโลก จะพึงรู้ได้จากเรื่องเทพบุตรที่เป็นนักเล่นดนตรีองค์หนึ่งชื่อว่าปัญจสิขะ เทพบุตรองค์นี้ชํานาญในการดีดพิณที่มีชื่อว่าเพลุวะ และ ชํานาญในการขับร้อง มีความรักใคร่ในสุริยวัจฉลาเทพธิดา ซึ่งเป็นธิดาของเทวดา ผู้ใหญ่องค์หนึ่งชื่อว่า ติมพรุเทพบุตร

วันหนึ่ง ปัญจสิบเทพบุตรได้ไปหาสุริยวัจฉสาเทพธิดา และได้ดีดพิณขับร้องมีใจความว่า
ยํเม อตฺถิ กต ปุญญ์ อรหนุเตสุ ตาทิสุ ตํ เม สพฺพงฺคกลยาณี ตยา สุทธิ วิปจฺจติ "
แปลความว่า แน่ะ นางผู้มีเรือนร่างที่งดงาม กุศลใดๆ ที่ข้าพเจ้าได้เคยสร้างสมมาแล้วต่อพระอรหันต์ที่มีคุณต่างๆ ขอกุศล นั้นๆ จงเป็นผลสําเร็จแก่ข้าพเจ้า และแม่นางทุกประการเทอญ
แต่เทพธิดาสูริยวัจฉลานั้น ได้รักใคร่กันกับสิขันติเทพบุตร ซึ่งเป็นบุตรของมาตุลีเทพบุตร เมื่อทั้ง ๒ ฝ่ายมีความรักไม่ตรงกันเช่นนี้ ท้าวโกสีย์เทวราชทรงพิจารณาเห็นว่า ปัญจสิขเทพบุตรเป็นผู้มีความดีความชอบ และทําคุณประโยชน์ให้แก่พระองค์มาก จึงตัดสินพระทัยยกสูริยวัจฉสาเทพธิดาให้แก่ปัญจสิขเทพบุตร
เทพธิดาบางองค์มีวิมานอยู่โดยเฉพาะๆ ของตนแล้วแต่ยังขาดคู่ครองก็ทําให้ เกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของตน ไม่มีความเบิกบานและร่าเริงเหมือนกับเทพธิดาที่มีคู่ครองทั้งหลาย ส่วนเทพธิดาที่มีคู่ครองต่างก็ชวนกันไปแสวงหาความสุขสําราญในสถานทั้ง ๔ แห่ง พร้อมด้วยบริวารของตน

อนึ่ง บริวาร วิมาน และรูปารมณ์ต่างๆ อันเป็นสมบัติของเทพยดาทั้งหลายนั้น มีความสวยงามยิ่งหย่อนกว่ากันและกัน แล้วแต่กุศลกรรมที่ตนได้สร้างสมไว้ ฉะนั้น รัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายและอาภรณ์ภูษาที่เป็นเครื่องประดับเครื่องทรง ของเทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลาย พร้อมทั้งวิมานอันเป็นที่อยู่ของตนๆ นั้น บางองค์ก็มีรัศมีสว่าง ๑๒ โยชน์ ถ้าองค์ใดมีบุญมาก ก็มีรัศมีสว่างถึง ๑๐๐ โยชน์ ดังมี สาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกายมหาวรรคว่า ยา สา สพฺพเทวตาน วตถาลงฺการวิมานสรีรา ปภา ทวาทสโยชนาน ผรติ, มหาปุญญาน ปน สรีรปุปภา โยชนสต้ ผรติ

มีปัญหาว่า บรรดาเทวดาทั้ง ๖ ชั้นนี้ จะแลเห็นซึ่งกันและกันได้หรือไม่?
ข้อนี้วิสัชนาว่า เทวดาที่อยู่ชั้นเบื้องบนย่อมเห็นเทวดาที่อยู่ชั้นต่ำกว่าตนได้ แต่เทวดาที่อยู่ชั้นต่ำจะเห็นเทวดาที่อยู่สูงกว่าตนไม่ได้ เพราะธรรมดาเทวดาที่อยู่ชั้นนั้น มีร่างกายละเอียดมากกว่าเทวดาที่อยู่ชั้นต่ำ นอกจากเทวดาที่อยู่ชั้นเบื้อง บนนั้นจะเนรมิตร่างกายให้หยาบขึ้น เทวดาที่อยู่ต่ำกว่าจึงจะเห็นได้ ทั้งนี้เป็นไปตามสูงๆ ลําดับชั้นกันดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกายมหาวรรคว่า เหฏฐา เหฏฐา หิ เทวตา อุปรูปริเทวาน โอฬาริก กตวา มาปิตเมว อตตภาว์ ปสฺสิต สกโกนติ

ในระหว่างมนุษย์และเทวดาก็เช่นเดียวกัน มนุษย์จะไม่สามารถมองแลเห็นเทวดาได้ เพราะเทวดามีรูปร่างละเอียด นอกจากเทวดานั้นจะเนรมิตรูปให้หยาบ พวกมนุษย์จึงจะสามารถเห็นได้
อนึ่ง ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า อารมณ์ต่างๆ ที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้ล้วนแต่เป็นอิฏฐารมณ์ทั้งสิ้น และบรรดาเทพบุตรเทพธิดาที่อยู่ในชั้นนี้ก็เป็นผู้เสวยแต่ทิพยสมบัติ เครื่องทรงและอาภรณ์ ตลอดจนร่างกายก็เป็นทิพย์ ไม่มีสิ่งโสโครกปฏิกูลที่ จะไหลออกจากทวารทั้ง ๙ เลย ซึ่งต่างกับพวกมนุษย์ที่เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ อยู่เสมอ ฉะนั้น เทวดาทั้งหลาย เมื่อได้กลิ่นมนุษย์เข้าแล้ว จะมีความรู้สึกอย่างไร?

ตอบว่า เทวดาทั้งหลายเมื่อได้กลิ่นมนุษย์ที่อยู่ห่างกันถึง ๑๐๐ โยชน์ในขณะใด ขณะนั้นจะรู้สึกเหมือนกับได้กลิ่นสุนัขเน่า แม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งในวันหนึ่ง มีการสรงน้ำ ๒ ครั้ง เปลี่ยนฉลองพระองค์ ๓ ครั้ง และทรงลูบไล้พระวรกายด้วย สุคนธรสอันดีเลิศเช่นนั้นแล้วก็ตาม ถ้าเทวดาทั้งหลายได้กลิ่นของพระเจ้าจักรพรรดิ ที่อยู่ในระยะห่างกัน ๑๐๐ โยชน์ในเวลาใด ก็เหมือนกับได้กลิ่นสุนัขเน่าที่เอามาผูก ติดอยู่ที่คอฉะนั้น

ความวิจิตรงดงาม และความสุขที่เป็นทิพยสมบัติในชั้นดาวดึงส์นี้ไม่สามารถจะบรรยายให้หมดสิ้นได้ สมบัติต่างๆ ที่มีอยู่ในมนุษยโลก จะเป็นสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิหรือของราชเศรษฐี คหบดีก็ตาม ก็ไม่อาจจะเอามาเปรียบเทียบกับเทวสมบัติซึ่งเป็นของทิพย์ได้

อิฏฐารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์นั้น อิฏฐารมณ์ที่มีอยู่ในสวนนันทวันเป็นอิฏฐารมณ์ที่ดีเลิศ ยิ่งกว่าอิฏฐารมณ์ที่มีอยู่ในสถานที่ต่างๆ ทั้งหมดในชั้นดาวดึงส์ เพราะว่าถ้าเทพบุตรหรือเทพธิดาองค์ใดเกิดโสกะปริเทวะพิไรรําพันกลัวความตาย ที่จะได้รับอยู่นั้น ถ้าได้เข้าไปยังสวนนันทวันแล้ว ความโสกะปริเทวะเหล่านั้นก็หายไปสิ้น ฉะนั้น เทวดาองค์ใดหรือมนุษย์คนใดก็ตาม ถ้ายังไม่เคยเข้าไปในสวนนันทวัน แล้วจัดว่าบุคคลนั้นยังไม่รู้ถึงความสุขที่ดีเลิศที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์

บุคคลเหล่าใดยังไม่เคยชมสวนนันทวัน อันเป็นสถานที่หย่อนใจของเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายซึ่งเป็นผู้มีบุญมี ความสวยงาม มีบริวารมากในชั้นดาวดึงส์นี้บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็น ผู้ที่ยังไม่สมบูรณ์ต่อการเสวยความสุขในกามคุณที่มีอยู่ในเทวภูมิชั้นนี้

อนึ่ง สวนนันทวันนี้มิใช่มีอยู่แต่เฉพาะชั้นดาวดึงส์แห่งเดียวเท่านั้น ในเทวภูมิชั้นอื่นๆ ก็มีเช่นเดียวกันทุกชั้น สําหรับเหตุผลในการตั้งชื่อสวนว่านันทวันนั้น ก็เพราะว่าเป็นสถานที่ที่น่ายินดีน่าเพลิดเพลินนั้นเองดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกายมหาวรรคว่า สพฺเพสุ เทวโลเกสุ หิ นนทวน อตฺถิเยว

ในสารัตถทีปนีฎีกาแสดงไว้ว่า ในบรรดาสวน ๖ แห่ง ที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้ มีต้นไม้ทิพย์อยู่ทุกๆ สวน สวนหนึ่งๆ มีต้นไม้ทิพย์นี้อยู่พันต้น ดังมีบาลีแสดงว่า ต ปน ทิพพรุกขสหสฺสปฏิมรณฑิต ตถา นนทวน์ ผารุสกวันญจ

ภายในสวนจิตรลดามีต้นไม้เครือเถาชื่อว่า อาสาวตี หนึ่งพันปีของชั้นดาวดึงส์นี้ จึงจะมีผลครั้งหนึ่ง ข้างในผลมีน้ำเรียกว่าน้ำทิพย์ น้ำทิพย์ที่อยู่ข้างในผลไม้นี้แหละ เป็นสุราของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาองค์ใดได้ดื่มแล้วจะเกิดความมึนเมา และฤทธิ์ของความเมานี้ทําให้หลับไปเป็นเวลานานถึง ๔ เดือน จึงจะสร้างความเมา เครือเถาทิพย์ที่เรียกว่า อาสาวดีนี้ มีอยู่ในสวนจิตรลดาและเครือเถาทิพย์หนึ่งพันปีจึงจะมีผลครั้งหนึ่ง ดอกเครือเถานี้ก็เป็นดอกไม้ทิพย์

เรื่องพระอินทร์ที่มีนามว่าสักกะ

วจนัตถะของคําว่า สักกะ, สกุกจฺจํ ทานํ ททาติ สกโก ที่เรียกว่า ท้าวสักกะ เพราะว่ามีการบริจาคทานโดยเคารพ หรืออีกนัยหนึ่ง
อสุเร เชตุ สกุกุณาติติ สกโก ที่เรียกว่า ท้าวสักกะ เพราะว่าสามารถเอาชัย ชนะต่อพวกอสูรได้

ท้าวสักกเทวราช หรือที่เรียกกันว่าท้าวโกสีย์อมรินทร์นี้ เป็นผู้ปกครองเทพยดา และชั้นดาวดึงส์และเทพยดาชั้นจาตุมหาราชิกา เทวภูมิทั้งสองนี้ เทวภูมิดาวดึงส์เป็นที่อยู่ของท้าวโกสีย์อมรินทร์ มีปราสาททองเป็นที่ประทับชื่อว่า เวชยันต์ สูงหนึ่ง พ้นโยชน์ ที่ปราสาทเวชยันต์นี้มีเสาธงปักอยู่โดยรอบ เสาธงนี้ประดับด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง ๓๐๐ โยชน์ มีราชรถเป็นที่สําหรับทรงของท้าวโกสีย์ ชื่อว่า เวชยันต์เช่นเดียวกัน ตอนหน้าราชรถเป็นที่นั่งของสารถีคือมาตุลีเทพบุตร ที่นั่งนี้ยาว ๕๐ โยชน์ ตอนกลางเป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์ ยาว ๕๐ โยชน์ ตอนท้ายยาว ๕๐ โยชน์ รวมความ ยาวของราชรถเวชยันต์ยาว ๑๕๐ โยชน์ ส่วนกว้าง ๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบตัวราชรถ แล้วได้ ๔๐๐ โยชน์ บัลลังก์ที่ประทับภายในราชรถสําเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ กั้นด้วยเศวตฉัตรใหญ่ ๓ โยชน์ มีม้าสินธพอาชานัยพร้อมด้วย เครื่องประดับสําหรับเทียมราชรถ ๑,๐๐๐ ตัว ม้าสินธพอาชานัยนั้นไม่ใช่เป็นสัตว์ ดิรัจฉาน เป็นเทพยดาในชั้นดาวดึงส์นั้นเองเนรมิตกายขึ้น

บางครั้งท้าวสักกเทวราชก็ทรงช้างเป็นพาหนะ ช้างทรงนี้ชื่อว่า เอราวัณไม่ใช่ช้างดิรัจฉาน เป็นช้างที่สําเร็จขึ้นด้วยการเนรมิตกายของเทพยดาในชั้นดาวดึงส์ในเมื่อท้าวสักกเทวราชมีความประสงค์จะทรงช้าง

ช้างเอราวัณนี้มีร่างใหญ่ ๑๕๐ โยชน์ มีเศียร ๓๓ เศียร เศียรหนึ่งๆ มีงา ๗ งา รวม ๓๓ เศียร มีงา ๒๓๑ งา งาหนึ่งๆ ยาว ๕๐ โยชน์ในงาข้างหนึ่งๆ มีสระโบกขรณี ๗ สระ รวม ๒๓๑ งา มีสระโบกขรณี ๑,๖๑๗ สระ สระโบกขรณีสระ หนึ่งๆ มีกอบัว ๗ กอ รวม ๑,๖๑๗ สระ มีกอบัว ๑๑,๓๑๙ กอ กอบัวกอหนึ่งๆ มีดอกบัว ๗ ดอก รวม ๑๑,๓๑๙ กอ มีดอกบัว ๗๙,๒๓๓ ดอก ดอกบัวดอกหนึ่งๆ มี กลีบ ๗ กลีบ รวม ๗๙,๒๓๓ ดอก มีกลีบ ๕๕๔,๖๓๐ กลีบ กลีบหนึ่งๆ มีเทพธิดา ๗ องค์ รวม ๕๔๔,๖๓๑ กลีบ มีเทพธิดา ๓,๘๘๒,๔๑๗ องค์ เทพธิดาทั้งหมด กําลัง ฟ้อนรําถวายท้าวสักกเทวราชให้ทอดพระเนตรอยู่ภายในงาช้าง ๒๓๑ งา ซึ่งมีความยาวงาละ ๕๐ โยชน์นั้นเอง

บนกระพองหัวช้างเอราวัณ หัวที่อยู่ตรงกลางนั้นชื่อว่า สุทัสสนะ มีมณฑปสูง ๑๒ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ข้างในมณฑปมีบัลลังก์แก้วมณีกว้าง ๑ โยชน์ เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ รอบๆ มณฑปมีธงปักไว้ในระยะชิดๆ กัน ธงผืนหนึ่งๆ ยาว ๑ โยชน์ มีกระดิ่งใบโพธิ์แขวนไว้ที่ปลายคันธงทุกๆ คัน เมื่อเวลาต้องลมมีเสียงปรากฏออกมาเหมือนกับเสียงพิณ

ท้าวสักกเทวราชนี้ ถึงแม้ว่าจะมีจักษุทั้งสองเหมือนกันกับจักษุของเทพยดา ทั้งหลายก็จริง แต่จักษุของท้าวสักกะนั้น สามารถมองแลเห็นสิ่งต่างๆ ได้ไกลมาก เท่ากับตาพันดวง ฉะนั้น จึงได้ชื่ออีกนัยหนึ่งว่า ท้าวสหัสสนัย ดังมีสาธกบาลีแสดง ไว้ในสรภังคชาดกอรรถกถาว่า
สหสฺสเนตฺตานํ เทวาน ทสสนูปจาราติกุกมนสมตโถติ สทสุ เนตโต.

อนึ่ง ผู้ที่จะเป็นพระอินทร์ได้นั้นต้องประกอบด้วยคุณธรรม ๗ ประการ คือ

๑. เลี้ยงบิดามารดา
๒. เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
๓. กล่าววาจาอ่อนหวาน
๔. ไม่กล่าวคําาส่อเสียด
๕. ไม่มีความตระหนี่
๖. มีความสัตย์
๗. ระงับความโกรธไว้ได้

เรื่องเกี่ยวกับศาลาสุธัมมา

ในตอนต้นได้แสดงมาแล้วว่า ดาวดึงส์เทวภูมิชั้นนี้มีสถานที่ที่สวยสดงดงามต่างๆ เช่น พระนครสุทัสสนะ สวนสาธารณะ ๔ แห่ง และสวนพิเศษอีก ๒ แห่ง คือสวนปุณฑริกะและสวนมหาวัน ซึ่งสวนมหาวันนั้นเป็นสวนที่สําหรับพักผ่อน สําราญพระทัยของท้าวสักกเทวราช เหล่านี้จัดเป็นสถานที่อํานวยความสําราญใน ส่วนโลกียวิสัยเท่านั้น ส่วนสวนปุณฑริกะนั้นเป็นสวนพิเศษที่มีความสําคัญมากกว่า สวนอื่นๆ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งปูชนียสถานสําคัญต่างๆ เช่น พระจุฬามณี พระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ต้นปาริฉัตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จขึ้นไป ประทับแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ และศาลาสุธัมมาเทวสภา ซึ่งเป็นสถานที่ที่ เทวดาทั้งหลายมาประชุมฟังธรรม

ต่อไปนี้ จะได้แสดงถึงเรื่องเกี่ยวกับศาลาสุธัมมาโดยเฉพาะดังนี้คือ ศาลาสุธัมมานี้เป็นสถานที่ที่เทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลายที่สนใจในธรรมพากันมา ประชุมฟังธรรมและสนทนาธรรมกัน ณ ที่นี้ โดยมีท้าวอมรินทราธิราช (พระอินทร์) เป็นประธาน ศาลาสุธัมมานี้สําเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีความสูง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบศาลาได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นของศาลาสําเร็จด้วยแก้วผลึก เสา สําเร็จด้วยทองเครื่องบนมีชื่อคาน ระแนง หลังคา เพดาน เป็นต้น เหล่านี้สําเร็จ ด้วยรัตนะทั้ง ๗ หลังคามุงด้วยแก้วอินทนิล บนเพดานและตามเสาประดับด้วย ลวดลายต่างๆ ซึ่งสําเร็จด้วยแก้วประพาฬ ช่อฟ้าสําเร็จด้วยเงิน ภายในศาลา ตรง กลางตั้งธรรมาสน์สําหรับแสดงธรรมสูง ๑ โยชน์ สําเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ กั้นด้วย เศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้างๆ ธรรมมาสน์เป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์เทวราช ถัดจาก นั้นเป็นที่ประทับของเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ มีท้าวปชาปติ ท้าววรุณะ ท้าวอีสานะ เป็นต้นโดยลําดับ ถัดต่อไป เป็นที่นั่งของเทวดาผู้ใหญ่องค์อื่นๆ และเทวดาผู้น้อยทั่วไป ศาลาธัมมานี้ตั้งอยู่ข้างๆ ต้นปาริฉัตร

ต้นปาริฉัตรนี้ ออกดอกปีละ ๑ ครั้ง เมื่อเวลาใกล้จะมีดอก ใบจะมีสีนวล เมื่อเทวดาทั้งหลายแลเห็นใบปาริฉัตรตกสีนวลแล้ว ต่างองค์ก็มีความยินดี ด้วยว่าอีกไม่ช้าแล้วก็จะได้พากันชมดอกปาริฉัตร แล้วก็คอยเฝ้ามาเวียนดูอยู่เสมอ เมื่อถึงคราวออกดอกแล้วใบนั้นก็ร่วงลงหมดสิ้น มีแต่ดอกออกสะพรั่งไปหมด สีของดอกปาริฉัตร นี้มีสีแดง ฉายแสงเป็นรัศมีแผ่ไปเป็นปริมณฑลกว้าง ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอมไป ตามลมได้ ๑๐๐ โยชน์ ดอกปาริฉัตรนี้ไม่จําเป็นต้องขึ้นไปเก็บบนต้นหรือใช้ไม้สอยแต่อย่างใด มีลมชื่อว่ากันตนะ ทําหน้าที่พัดให้ดอกนั้นหล่นลงมาเอง และเมื่อดอกหล่นลงมาแล้วก็ไม่ต้องใช้ภาชนะมีผอบเป็นต้นมาคอยรองรับ มีลมชื่อว่าสัมปฏิจฉนะ ทําหน้าที่รองรับดอกไม้นั้นไม่ให้ร่วงลงสู่พื้นได้ ต่อจากนั้น มีลมชื่อว่าปเวสนะ ทําหน้าที่พัดเอาดอกไม้นั้นให้เข้าไปในศาลาสุธัมมา ลมชื่อว่าสัมมิชชนะก็ทําหน้าที่คอยพัดเอาดอกเก่าออกไป และลมชื่อว่าสันถกะ ก็ทําหน้าที่จัดดอกไม้นั้นให้เป็นระเบียบ เรียบร้อยไม่ให้รวมกันเป็นกองดังนี้

ระเบียบการประชุมฟังธรรมที่ในศาลาสุธัมมานั้น เมื่อถึงเวลาประชุมฟังธรรม เทศนา ท้าวอมรินทราธิราชก็ทรงเป่าสังข์ชื่อว่า วิชยุตตระ สังข์นี้มีความยาวประมาณ ๑๒๐ ศอก เสียงสังข์ดังก้องกังวานทั่วไปทั้งภายในและภายนอกพระนครสุทัสสนะ และเสียงของสังข์ที่เป่าครั้งหนึ่งๆ นั้น ดังปรากฏอยู่นานถึง ๔ เดือนของมนุษย์

เทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้ เมื่อได้ยินเสียงสังข์ดัง ก้องกังวานขึ้นต่างพากันมาสู่ ณ ที่ศาลา รัศมีที่ออกจากร่างกายและแสงของเครื่องทรง เครื่องประดับก็ส่องสว่างทั่วไปทั้งศาลา เมื่อท้าวโกสีย์เทวราชทรงเป่าสังข์ ประกาศแก่ปวงเทพยดาทั้งหลายแล้ว ท้าวเธอพร้อมด้วยมเหสีทั้ง ๔ องค์ ก็เสด็จออกจากปราสาทเวชยันต์ขึ้นทรงช้างเอราวัณ มีเทพยดาห้อมล้อมตามเสด็จประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านองค์ ไปสู่ศาลาสุธัมมา สําหรับผู้แสดงธรรมนั้น ได้แก่พรหมชื่อว่าสนังกุมาระ ได้เสด็จลงมาแสดงเสมอ แต่ในบางครั้งท้าวโกสีย์ก็ทรงแสดงเอง หรือ เทพบุตรองค์ใดที่มีความรู้ในธรรมดีก็เป็นผู้แสดงได้

อนึ่ง ศาลาสุธัมมานี้มิใช่จะมีอยู่แต่ในชั้นดาวดึงส์ชั้นเดียวเท่านั้น แม้ในเทวโลกเบื้องบนอีก ๔ ชั้นก็มีศาลาสุธัมมาเช่นเดียวกัน

เรื่องพระอินทร์ทรงบําเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา

พระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวงในชั้นดาวดึงส์นี้ ระหว่างที่พระศาสนาของพระสมณโคดมยังไม่อุบัติขึ้นนั้น ความสวยงาม รัศมีและ วิมานก็ด้อยกว่าเทพยดาชั้นผู้ใหญ่บางองค์ คงมีแต่อํานาจความเป็นใหญ่อย่างเดียว ต่อมาเมื่อศาสนาของพระสมณโคดมได้อุบัติขึ้นแล้ว ความสวยงามของวิมานและ รัศมีของท้าวสักกะจึงมีบริบูรณ์เต็มที่ ทั้งนี้เป็นด้วยอํานาจของกุศลกรรมที่ท้าวเธอ ใต้ลงมาถวายทานแด่พระมหากัสสปเถระเจ้า ดังมีเรื่องว่า

ขณะที่พระอินทราธิราชเสวยทิพยสมบัติอยู่ในชั้นดาวดึงส์นั้นได้ทอดพระเนตร เห็นเทพยดาชั้นผู้ใหญ่บางองค์มีรัศมีและ มีวิมานสวยงามมากกว่าพระองค์ซึ่งเป็นใหญ่กว่า จึงทรงนึกในพระทัยว่า เพราะเหตุใดเทวดาพวกนี้ จึงมีรัศมีและวิมานสวยงามมากกว่าพระองค์ก็ทรงทราบได้ว่าการที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เทวดาพวกนี้ ได้สร้างกุศลไว้ในพระพุทธศาสนาในขณะที่ศาสนาดํารงอยู่ ฉะนั้น กุศลกรรมอันใด ที่บุคคลได้ทําไว้ในเวลาที่ยังมีพระพุทธศาสนา กุศลอันนั้น ย่อมมีอานิสงส์ไพบูลย์ยิ่ง กว่ากุศลกรรมที่ทําในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนา สําหรับพระองค์ที่มีรัศมีน้อย มีวิมานที่สวยงามน้อยกว่านั้น ก็เพราะว่ากุศลกรรมที่พระองค์ได้ทําไว้นั้นเป็นไปในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนา เมื่อพระองค์ทรงทราบดังนี้แล้ว ก็พยายามคอยหา โอกาสที่จะทรงสร้างกุศลในพระพุทธศาสนาให้จงได้

อยู่มาวันหนึ่ง พระองค์ทรงเล็งทิพยเนตรเห็นพระมหากัสสปเถระเจ้า ออก จากนิโรธสมาบัติ และกําลังจะไปโปรดคนที่ยากจน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อ พระองค์ทรงทราบดังนี้แล้วก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะคอยหาโอกาสที่จะทําบุญในพระพุทธศาสนามานานแล้ว จึงชวนนางสุชาดามเหสีเสด็จลงสู่มนุษยโลก พร้อมด้วยสุธาโภชน์ สําหรับถวายแก่พระมหาเถระเจ้า เมื่อลงมาถึงมนุษยโลกแล้ว ก็เนรมิตองค์เป็นคนชราสองคนผัวเมียทอผ้าอยู่ในกระท่อมอยู่ต้นทางที่พระมหาเถระจะผ่านมา

เมื่อพระมหากัสสปเถระเจ้าออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ก็ตั้งใจว่าจะไปโปรดคนที่ยากจนในหมู่บ้านแห่งนั้น จึงจัดแจงครองจีวรและอุ้มบาตรเดินมา เมื่อถึงหมู่บ้านนั้นแล้วก็เข้าไปหยุดยืนอยู่ที่หน้าบ้านๆ แรกที่ถึงสมเด็จอมรินทราธิราชแปลงเมื่อแลเห็น พระมหาเถระเจ้าหยุดยืนที่หน้าประตูกระท่อมของตนก็รีบออกมาแล้วบอกให้นางสุชาดายกเอาอาหารมาให้เพื่อจะได้ใส่บาตร นางสุชาดาก็ยกเอา สุธาโภชน์ที่เตรียมมานั้นมาให้แก่พระสามี องค์อมรินทร์จึงยกเอาสุธาโภชน์นั้นใส่ลง ในบาตรของพระมหาเถระเจ้า

ในชั้นแรก พระมหาเถระเจ้าไม่ได้พิจารณารู้ว่าสองสามีภรรยาผู้ใส่บาตรนี้ เป็นพระอินทร์และพระมเหสี คิดว่าเป็นคนยากจนธรรมดาเหมือนกับคนอื่นๆ ต่อ เมื่อรับเอาอาหารที่พระอินทร์ถวายแล้ว กลิ่นของอาหารนั้นมาสัมผัสกับจมูก ท่านก็รู้ได้ทันทีว่านี่ ไม่ใช่อาหารธรรมดา แต่เป็นอาหารทิพย์ และชายชรากับภรรยานั้นก็มิใช่คนธรรมดา แท้จริงเป็นพระอินทร์กับพระมเหสีปลอมแปลงมา พระมหาเถระรู้ ดังนั้นแล้วก็ต่อว่าพระอินทร์ขึ้นว่า ในการที่อาตมภาพมาโปรดสัตว์ ณ ที่นี้ มิได้ ตั้งใจจะมาโปรดผู้ที่มีบุญอยู่แล้วเช่นองค์อมรินทร์นี้ อาตภาพตั้งใจจะมาโปรดคน ยากคนจน เหตุไฉน ท่านจึงมาทําเช่นนี้ พระอินทร์จึงบอกว่าข้าพระองค์ก็เป็นคน ยากจนเหมือนกัน เพราะถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะเป็นใหญ่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ก็จริงอยู่ แต่ว่ารัศมีก็ดี วิมานก็ดี ของข้าพระองค์นั้น ยังด้อยกว่าเทวดาองค์อื่นๆ บางองค์มากนัก ทั้งนี้ก็ เพราะว่า ข้าพระองค์ไม่ได้ทํากุศลในเวลาที่มีพระพุทธศาสนานั้นเอง มาบัดนี้ ข้าพระองค์ได้มาพบกับพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จึงต้องการสร้างกุศลในศาสนา เพื่อให้รัศมีแห่งกายและวิมานของข้าพระองค์ได้มีความสว่างรุ่งโรจน์อย่างบริบูรณ์ด้วย เหตุนี้แหละ ข้าพระองค์จึงต้องแปลงปลอมตนมากระทําดังนี้

อาศัยการถวายทานแก่พระขีณาสวะมหากัสสปเถระแล้ว เมื่อพระอินทร์กลับขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวโลกนั้น รัศมีกายของพระองค์ และรัศมีแห่งวิมาน ก็ปรากฏสว่างรุ่งโรจน์สวยงามบริบูรณ์เต็มที่ด้วยประการดังนี้

เรื่องท้าวสักกเทวราชเป็นโสดาบันและในอนาคตจะได้มาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก

ท้าวสักกเทวราชพระองค์นี้ เมื่อได้ทรงฟังพระธรรมเทศนาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าในเรื่องพรหมชาลสูตรจบลงแล้ว ท้าวเธอก็ได้สําเร็จเป็นโสดาบัน และจะอยู่ในดาวดึงส์พิภพตลอดจนสิ้นอายุ และเมื่อจุติจากดาวดึงส์แล้วก็จะได้มาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก จะได้สําเร็จเป็นสกทาคามีเป็นลําดับที่ ๒ เมื่อสิ้นชีพจากมนุษย์แล้วก็ไปบังเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก และได้สําเร็จเป็นพระอนาคามีเป็นลําดับที่ ๓ เมื่อสิ้นอายุในภพดาวดึงส์จะได้ไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาสตั้งแต่ชั้นอวิหาเป็นต้นไป จนถึงชั้นอกนิฏฐาและปรินิพพานในชั้นนั้น เรื่องที่แสดงมานี้ มีมาในสักกปัญหสูตรพระบาลีมหาวรรคและอรรถกถา

เรื่องอสุรินทราหู

ในชั้นดาวดึงส์เทวโลกนี้ ยังมีเทพยดาองค์หนึ่งชื่อว่า อสุรินทราหู มีกายสูงใหญ่กว่าเทพยดาทั้งหลายที่มีอยู่ในเทวโลก ทั้ง ๖ ชั้น ร่างกายแห่งอสุรินทราหูนั้นมีความ สูง ๔,๘๐๐ โยชน์ ระหว่างไหล่ทั้งสองกว้าง ๑,๒๐๐ โยชน์ รอบตัวใหญ่ ๖๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าใหญ่ ๒๐๐ โยชน์ จมูกใหญ่ ๓๐๐ โยชน์ ปากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ องคุลี หนึ่งๆ ยาว ๕๐ โยชน์ ระหว่างลูกตาทั้ง ๒ ห่างกัน ๕๐ โยชน์ หน้าผากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ ศีรษะใหญ่ ๙๐๐ โยชน์ ความสูงใหญ่ของอสุรินทราหูนี้ ถ้าหากลงไปใน มหาสมุทรอันลึกล้ำนั้น น้ำในมหาสมุทรจะท่วมเพียงแค่เข่า

มีประวัติเกี่ยวกับความสูงใหญ่ของอสุรินทราหูกับอิทธิฤทธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอสุรินทราหูนี้เสวยสิริสมบัติเป็นอุปราชอยู่ในพิภพอสูรภายใต้เขาพระสุเมรุ เมื่อได้ฟังกิตติคุณแห่งสมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้าในสํานักแห่งเทพยดา ทั้งปวงได้เห็นเทพยดาทั้งปวงพากันไปสู่สํานักสมเด็จพระพุทธองค์ ก็มาดําริว่าเรานี้ มีกายอันสูงใหญ่ จะไปสู่สํานักสมเด็จพระพุทธองค์อันมีร่างกายเล็กน้อยและจะก้ม ตัวลงแลดูสมเด็จพระพุทธองค์นั้น เรามิอาจก้มตัวลงได้ อสุรินทราหูดํารฉะนี้แล้วก็ มิได้ไปสู่สํานักสมเด็จพระพุทธองค์ อยู่มาในกาลวันหนึ่งอสุรินทราหูได้ฟังเทพยดาทั้งปวงสรรเสริญพระเดชพระคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาที่สุดมิได้ จึงคิดว่าสมเด็จพระพุทธเจ้านั้นจะประเสริฐเป็นประการใดหนอ เทพยดาจึงสรรเสริญ เยินยอยิ่งนัก เราจะพยายามไปดูสักครั้งหนึ่ง แต่กว่าจะก้มจะกราบมองดูอย่างไร หนอจึงจะแลเห็นองค์สมเด็จพระศาสดาจารย์ ดําริฉะนี้แล้ว อสุรินทราหูก็ปรารภที่จะมาสู่สํานักสมเด็จพระมหาศาสดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระกรุณา

ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ก็ทรงทราบอัธยาศัยแห่งอสุรินทราหู พระองค์จึงทรงดําริว่า ราหูจะมาสู่สํานักตถาคตในครั้งนี้ ตถาคตจะสําแดงอิริยาบถยืน หรือจะสําแดงอิริยาบถนั่ง หรือจะสําแดงอิริยาบถเดิน หรือจะอิริยาบถนอนเป็นประการใด จึงทรงพระปริวิตกต่อไปว่า บุคคลที่ยืนหรือนั่งถึงจะต่ำก็ปรากฏดุจดังว่า สูง เหตุนี้ ตถาคตควรจะสําแดงซึ่งอิริยาบถไสยาสน์แก่อสุรินทราหู ให้อสุรินทราหู เห็นตถาคตในอิริยาบถนอนนี้เถิด เมื่อทรงดําริฉะนี้แล้วก็มีพระพุทธฎีกาตรัสสั่งแก่พระอานนท์ว่า

“ดูกรอานนท์ เธอจงตกแต่งเตียงที่บรรทมแห่งตถาคตภายในบริเวณใกล้แห่งพระคันธกุฎีนี้เถิด ตถาคตจะบรรทมในสถานที่นั้น"
พระอานนท์รับพระพุทธฎีกาแล้ว ก็ตกแต่งเตียงที่บรรทมแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคในบริเวณแห่งพระคันธกุฎี สมเด็จพระพุทธองค์ทรงสําเร็จสีหไสยาสน์ บรรทมในสถานที่นั้น
ฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อมาถึงสํานักสมเด็จพระพุทธองค์แล้ว ต้องเงยหน้าขึ้นแล ดูสมเด็จพระพุทธเจ้า ประดุจหนึ่งทารกแหงนดูดวงจันทร์ในอากาศ สมเด็จพระบรม โลกนาถจึงมีพุทธฎีกาตรัสถามว่า
“ดูกรอสุรินทราหู ท่านมาแลดูตถาคตนี้เห็นเป็นประการใดบ้าง? อสุรินทราหูจึงทูลตอบว่า
“ขอเดชะทรงพระมหากรุณา กระหม่อมฉันนี้ไม่ทราบเลยว่าพระพุทธองค์นี้ทรงพระเดชพระคุณอันล้ำเลิศประเสริฐดังนี้ กระหม่อมฉันนี้สําคัญว่าเมื่อมาแล้วจักมิอาจที่จะก้มลงได้ ฉะนั้นกระหม่อมฉันจึงเพิกเฉยอยู่มิได้มาสู่สํานักพระองค์”
“ดูกรอสุรินทราหู เมื่อตถาคตบําเพ็ญพระบารมีทั้งปวงนั้น ตถาคตจะได้ก้มหน้าย่อท้อต่อที่จะบําเพ็ญพระบารมีนั้นหามิได้ ตถาคตเงยหน้าขึ้นแล้วก็บําเพ็ญพระบารมีทั้งปวงมิได้หดหู่ย่อท้อเลย ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้ปรารถนาจะแลดู ตถาคตนี้จะต้องก้มหน้าลง แลดูเหมือนอย่างท่านคิดนั้นหามิได้”
มีพุทธฎีกาตรัสฉะนี้แล้ว ก็โปรดประทานพระธรรมเทศนาแก่อสุรินทราหู อสุรินทราหูก็ยอมรับนับถือสมเด็จพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งในกาลครั้งนั้น
การแสดงเทวดาชั้นดาวดึงส์ จบ


ยามาภูมิ

วจนัตถะ : ทุกฺขโต ยาตา อปกตาติ ยามา (ยา ธาตุ + ม ปัจจัย) เทวดา ทั้งหลายที่ชื่อว่า ยามะเพราะว่าปราศจากความสามาก
อีกนัยหนึ่ง ทิพสุข ยาตา ปยาตา สมฺปตฺตาติ ยามา (ยา ธาตุ + ม ปัจจัย) เทวดาเหล่าใดถึงแล้วซึ่งความสุขด้วยดี เทวดาเหล่านั้น ชื่อว่า ยามะ

วจนัตถะทั้ง ๒ ข้อนี้ มุ่งหมายถึงเทวดาที่อยู่ในเทวภูมิชั้นยามานี้ แต่ถ้า มุ่งหมายถึงภูมิจะต้องตั้งวจนัตถะดังนี้ว่า
ยามานํ นิวาสา ยามา (คํานี้เป็นนิวาสตัทธิต) “ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา ทั้งหลายที่ปราศจากความลําบากและผู้ถึงซึ่งความสุขที่เป็นทิพย์ ฉะนั้น ภูมินั้นชื่อว่ายามา

วจนัตถะทั้ง ๓ ข้อที่ได้แสดงมานี้ เป็นการแสดงตามศัพท์บาลี ฉะนั้น คําว่า ยามะ ในวจนัตถะนี้ หมายถึงเทวดาทั้งหมดที่อยู่ในเทวโลกชั้นที่ ๓ เพราะเทวดาเหล่านั้นเป็นผู้ปราศจากความลําบาก และมีความสุขที่เป็นทิพย์นั้นเอง ฉะนั้น เทวดา เหล่านั้นจึงชื่อว่า ยามะ สถานที่อยู่ของพวกยามะเทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่ายามาภูมินั้น เรียกไปตามชื่อของเทวดานั้นเอง

อนึ่ง ตําแหน่งท้าวเทวราชผู้เป็นใหญ่ปกครองเทวดาทั้งหลายนั้น ไม่ใช่มีอยู่แต่ในชั้นดาวดึงส์ชั้นเดียวเท่านั้น ถึงแม้ในชั้นอื่นๆ ก็มีเทวดาที่มีตําแหน่งเป็นท้าว เทวราชปกครองอยู่ทุกๆ ชั้นเช่นเดียวกัน

ท้าวเทวราชผู้ปกครองเทวดาในเทวโลกชั้นที่ ๓ ชื่อว่า สุยามะ หรือ ยามะ
ท้าวเทวราชผู้ปกครองเทวดาในเทวโลกชั้นที่ ๔   "   สันตุสสิตะ
ท้าวเทวราชผู้ปกครองเทวดาในเทวโลกชั้นที่ ๕   "   สุนิมมิตะ หรือ นิมมิตะ
ท้าวเทวราชผู้ปกครองเทวดาในเทวโลกชั้นที่ ๖   "   ปรนิมมิตะ

ฉะนั้น เทวภูมิชั้นที่ ๓ ที่เรียกว่ายามานั้น ใช้เรียกตามชื่อของท้าวยามะผู้เป็นใหญ่ก็กล่าวได้ ดังมีวจนัตถะแสดงไว้ว่า ยามนามกสฺส เทวราชสุส นิพฺพตฺโตติ ยาโม ภูมิเป็นที่อยู่ของท้าวเทวราชผู้มีนามว่ายามะ เพราะเหตุนั้น ภูมินั้นจึงชื่อว่า ยามา

ชั้นยามาภูมินี้เป็นภูมิที่ตั้งอยู่ในอากาศ ฉะนั้น จึงไม่มีพวกภุมมัฏฐเทวดามีแต่อากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว ส่วนวิมานทิพยสมบัติ และร่างกายของเทวดาชั้นยามานี้ ประณีตสวยงามมากกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ และอายุขัยก็ยืนยาวมากกว่า บริเวณของชั้นยามาภูมินี้แผ่กว้างออกไปเสมอด้วยกําแพงจักรวาล มีวิมานอันเป็นที่อยู่ของเทวดาในชั้นนี้อยู่ตลอดทั่วไป

การแสดงเทวดาชั้นยามา จบ


ดุสิตภูมิ

วจนัตถะ : นิจจ์ ตุสนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺตา เทวาติ ดุสิตา ภูมิที่ชื่อดุสิตนั้นเพราะทําให้เทวดาทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในภูมินั้นมีความยินดีและแช่มชื่นอยู่เป็นนิจ
อธิบายว่า เทวโลกชั้นที่ ๔ นี้เป็นสถานที่ที่ปราศจากความร้อนใจ มีแต่นำความยินดีและความชื่นบานให้แก่ผู้ที่อยู่ในภูมินี้ทั้งหมด ฉะนั้น ภูมินี้ จึงจัดว่าเป็นภูมิที่ประเสริฐ
อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดในมนุษยโลก และได้สําเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในภพสุดท้ายนั้น ย่อมบังเกิดอยู่ในชั้นดุสิตภูมินี้ทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมาบังเกิดในอนาคตเช่นพระศรีอริยเมตตรัย พร้อมด้วยผู้ที่จะได้มาบังเกิดเป็นอัครสาวกนั้น เวลานี้ก็เสวยทิพยสมบัติอยู่ในดุสิตาภูมิเหมือนกัน ต่อเมื่ออายุขัยของมนุษย์ได้ ๘ หมื่นปีในเวลาข้างหน้านี้แล้ว พระองค์ท่านพร้อม ด้วยผู้ที่จะเป็นอัครสาวกก็จะได้จุติจากดุสิตาภูมิลงมาบังเกิดในมนุษยโลก และได้ ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ และอัครสาวกโพธิญาณสืบต่อไป ข้อนี้ก็เป็นเหตุที่กล่าว ได้ว่าเทวโลกชั้นดุสิตนี้ เป็นภูมิที่ประเสริฐกว่าเทวภูมิชั้นอื่นๆ

อีกนัยหนึ่งของ อตฺตโน สิริสมุปตติยา ตุส ปีติ อิตา คตาติ ดุสิตา “เทวดา เหล่าใดถึงพร้อมด้วยความยินดีและแช่มชื่นอยู่ในสมบัติอันเป็นสิริมงคลของตน ฉะนั้นเทวดาเหล่านั้นชื่อว่า ดุสิต” ในวจนัตถะข้อนี้ คําว่า ดุสิต หมายเอาชื่อของ เทวดาเหล่านั้น

อีกนัยหนึ่ง ดุสิตาน์ นิวาสา ดุสิตา “สถานที่อันเป็นที่อยู่ของเทวดาถึงพร้อมด้วยความยินดีและแช่มชื่นอยู่ในสมบัติอันเป็นสิริมงคลของตน ฉะนั้น สถานที่นั้นชื่อว่า ดุสิต” วจนัตถะข้อนี้หมายถึงภูมิที่อยู่, เทวภูมิชั้นดุสิตนี้ห่างจากชั้นยามาสี่หมื่นสองพันโยชน์ เทวดาที่อยู่ในภูมินี้มีจําพวกเดียวคืออากาสัฏฐเทวดา วิมานทิพยสมบัติ และรูปร่างของเทวดาชั้นนี้ก็ประณีตมากกว่าเทวดาชั้นยามา อายุขัยก็ยืนยาวกว่า

การแสดงเทวดาชั้นดุสิต จบ


นิมมานรดีภูมิ

วจนัตถะ : ยถารุจิเต โภเค สยเมว นิมมิตวา นิมมิตวา รมยุติ เอตถาติ นิมมานรดี “เทวดาทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภูมินั้น ย่อมเนรมิตกามคุณทั้ง ๕ ขึ้นตามความพอใจของตนเอง แล้วมีความยินดีเพลิดเพลินในอารมณ์เหล่านั้น ฉะนั้น ภูมิ นั้นจึงชื่อว่า นิมมานรดี”
อีกนัยหนึ่ง อีกในหนึ่ง นิมมาเน รติ เอเตสนฺติ นิมมานรติโน “เทวดาที่ชื่อว่า นิมมานรตี นั้น เพราะมีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๕ ที่ตนเนรมิตขึ้น” นิมมานรัตน์ นิวาสา นิมมานรดี “ภูมิที่อยู่ของเทวดาที่มีปกติเสวยกามคุณทั้ง ๕ ที่ตนเนรมิตนั้น ฉะนั้น ภูมินั้นชื่อว่า นิมมานรดี”

อธิบายว่า ในเทวโลกตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตทั้ง ๔ ภูมิ นี้เทวดาทั้งหลายย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจําอยู่ แต่ในชั้นนิมมานรดีและ ปรนิมมิตวสวัตตีนั้นไม่มีคู่ครองเป็นประจํา เทพบุตรหรือเทพธิดาที่อยู่ในชั้นนิมมานรดีนี้ เวลาใดอยากเสวยกามคุณซึ่งกันและกัน เวลานั้นตนเองก็เนรมิตเป็นเทพบุตร เทพธิดาขึ้น

นิมมานรดีภูมินี้ อยู่ห่างจากดุสิตภูมิสี่หมื่นสองพันโยชน์ มีอากาสัฏฐเทวดา อยู่จําพวกเดียว ความประณีตสวยงามของวิมานและเทวดานั้น ประเสริฐกว่าเทวดา ที่อยู่ในชั้นดุสิต อายุขัยที่ยืนยาวกว่า

การแสดงเทวดาชั้นนิมมานรดี จบ


ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ

วจนัตถะ : อตฺตโน รุจี ญตวา ปเรหิ นิมมิเตสุ โกเคสุ วส์ วตฺตนฺติ เอตถาติ ปรนิมมิตวสวัตตี “เทวดาทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภูมินั้น ย่อมเสวยกามคุณทั้ง ๕ ที่ เทวดาองค์อื่นรู้ความต้องการของตนแล้วเนรมิตให้ ฉะนั้น ภูมินั้นจึงชื่อว่าปรนิมมิตวสวัตตี”
อีกนัยหนึ่ง ปรนิมมิตเตสุ โกเคสุ วส์ วัตเตนตีติ ปรนิมมิตวสวัตติโน “เทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตี เพราะได้เสวยกามคุณที่เทวดาองค์อื่นๆ เนรมิตให้
ปรนิมมิตวสวดตน์ นิวาสา ปรนิมมิตวสวัตตี “ภูมิที่อยู่ของเทวดาที่ได้เสวย กามคุณ ๕ ที่เทวดาองค์อื่นเนรมิตให้ ฉะนั้น ภูมินั้นชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตี
อธิบายว่า เทพบุตรเทพธิดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนี้ เมื่อต้องการเสวย กามคุณ ๕ เวลาใด เวลานั้น เทวดาที่เป็นผู้รับใช้ก็จัดการเนรมิตขึ้น ให้ตามความประสงค์ของตน ฉะนั้น เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีจึงไม่มีคู่ครอง เป็นประจําของตน เช่นเดียวกันกับเทวดาชั้นนิมมานรดี
ปรนิมมิตวสวัตติภูมินี้ อยู่ห่างจากนิมมานรติภูมิสี่หมื่นสองพันโยชน์ เทวดาที่อยู่ในภูมินี้ก็เป็นพวกอากาสัฏฐเทวดาเช่นเดียวกัน ความสวยงามความประณีตแห่ง วิมานทิพยสมบัติ และรูปร่างนั้น มีความประณีตมากกว่าเทวดาชั้นนิมมานรดี และ อายุขัยก็ยืนกว่า
การแสดงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี จบ


ผู้ปกครองเทวภูมิทั้ง ๖ ชั้น

เทวดาผู้มีอํานาจยิ่งใหญ่เหนือเทวดาทั้งหลายนั้นคือ วสวัตดีมารเทวบุตร อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตติภูมิ เป็นผู้ปกครองเทวดาทั่วทั้ง ๖ ชั้น มารเทวบุตรองค์นี้ เป็นมิจฉาเทวดา ไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ นับตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมณ์เป็นต้นมาจน กระทั่งถึงปรินิพพาน ต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงไปแล้ว ๓๐๐ ปี ในสมัยนั้นพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นพระราชาครองราชสมบัติอยู่ในเมือง ปาตลีบุตร มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงสร้างปูชนียสถานคือพระเจดีย์ และวัดขึ้นเป็นจํานวนอย่างละ ๘ หมื่น ๔ พัน เพื่อเป็นการบูชาพระธรรมขันธ์อันมี จํานวน ๘ หมื่น ๔ พันพระธรรมขันธ์ และทรงสร้างมหาเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสําหรับเป็นที่สักการบูชา เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็มีการฉลองปูชนียสถานที่สร้างขึ้นนั้นเป็นเวลา ๗ เดือน ๗ วัน ในขณะที่ทําการฉลองอยู่นั้นพญามารเทวบุตรผู้นี้ก็ได้มาแกล้งทําลายพิธีนั้นเสียด้วยอิทธิฤทธิ์มีประการต่างๆ แต่การทําลายของพญามารผู้นี้ไม่สําเร็จ เพราะพระมหาเถรอุปคุตต์ได้มาทําการขัดขวางต่อสู้กับพญามาร และได้ทรมานพญามารเสียจนสิ้นพยศ ผลสุดท้ายพญามารละมิจฉาทิฏฐิได้กลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนถึงกับปรารถนาพุทธภูมิใน กาลข้างหน้า


เทวโลกมีอริยบุคคลมากกว่ามนุษยโลก

ถามว่า : ในมนุษยโลกและในเทวโลกทั้ง ๓ ภูมินี้ ภูมิไหนจะมีอริยบุคคลมากกว่ากัน
ตอบว่า : ในเทวโลกมีอริยบุคคลมากกว่าในมนุษยโลก อธิบายว่าในสมัยพุทธกาล บรรดาคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายที่อยู่ในกรุงสาวัตถี ราชคฤห์ เวสาลี โกสัมพี กบิลพัสดุ์ เป็นต้น เมื่อบุคคลเหล่านี้ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้สําเร็จเป็นโสดาบันบ้าง สกทาคามีบ้าง ในประเทศหนึ่งๆ มีจํานวนหลายโกฏิ เมื่อบุคคลเหล่านี้ได้สิ้นชีพจากมนุษย์แล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก ทั้ง ๖ ชั้น

ส่วนพวกเทวดาทั้งหลายมีอยู่ในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรม เทศนาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มหาสมัยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร อนัตตลักขณสูตร สมจิตตสูตร เหล่านี้เป็นต้น ต่างก็ได้สําเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี เป็นจํานวนมากมายหาประมาณมิได้ ฉะนั้น อริยบุคคลที่เกิดอยู่ในเทวโลก ทั้ง ๖ ชั้นนี้ จึงไม่สามารถจะประมาณได้ว่ามีจํานวนเท่าใด

สําหรับพระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งสองพวกนี้ ไม่ต้องนับเข้าอยู่ในจํานวนนี้ เพราะว่าพระอนาคามีก็ไม่มาเกิดในมนุษยโลกอีก และพระอรหันต์ก็เข้าสู่ปรินิพพานไปเลย ฉะนั้น อริยบุคคลที่มีอยู่ในมนุษยโลกนั้น ก็กล่าวได้ว่ามีจํานวน น้อยกว่าอริยบุคคลที่มีอยู่ในเทวโลก


คุณสมบัติเพื่อความเป็นอริยะ

การที่อริยบุคคลในมนุษยโลกมีน้อยกว่าในเทวโลกนั้น ก็เพราะว่าบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาในมนุษยโลกนี้ มีความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นส่วนน้อย และการที่จะเป็นอริยบุคคลได้นั้นต้องประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ

๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล
๒. ต้องได้เคยสร้างบารมีที่เกี่ยวกับวิปัสสนามาแล้วในชาติก่อน
๓. ต้องมีความเพียรในชาติปัจจุบันนี้ด้วย
๔. วิธีเจริญวิปัสสนาต้องถูกต้องตามหลักพระบาลีและอรรถกถา
๕. ต้องมีสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ
๖. ต้องไม่มีปลิโพธ ๑๐ ประการ
๗. ต้องมีเวลาอันสมควร

ฉะนั้นบุคคลที่มีความสนใจในวิปัสสนาธุระเป็นส่วนน้อยอยู่แล้วนั้นจะหาบุคคล ที่ประกอบด้วยธรรมทั้ง ๓ ประการ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็หาได้โดยยากและมีบุคคลที่มีความเข้าใจผิดคิดว่า

๑. ถ้าเราเจริญวิปัสสนาแล้ว จะทําให้เราเป็นคนมีชื่อเสียงดี
๒. จะเป็นที่เคารพและเชื่อถือแก่บุคคลทั่วๆ ไป ทําให้อาชีพของเราเจริญขึ้นได้ง่าย

ความเข้าใจผิดเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปแก่บุคคลทั้งหมดก็หามิได้ หมายถึงมีอยู่ในบุคคลเป็นส่วนมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า อริยบุคคลที่มีอยู่ในมนุษยโลกนั้น น้อยกว่าอริยบุคคลที่มีอยู่ในเทวโลกเป็นจํานวนมาก, มีพุทธภาษิตที่เป็นเครื่องวินิจฉัยอยู่ ๕ ข้อ ชื่อว่า ปธานิยังคะ สําหรับเป็นเครื่องตัดสิน ตัวเองว่าชาตินี้ตนจะเป็นอริยะได้หรือไม่ดังนี้คือ


ปธานิยังคะ ๕

๑. ต้องมีความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ที่สอนวิปัสสนา
๒. ต้องมีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรค
๓. ต้องไม่มีมารยาสาไถยกับอาจารย์ หรือในหมู่พวกปฏิบัติด้วยกัน
๔. ต้องมีความเพียรตั้งมั่นในใจว่าเลือดและเนื้อของเรานี้ แม้ว่าจะเหือด แห้งไปคงเหลือแต่หนัง เส้นเอ็น กระดูกก็ตาม เราจะไม่ยอมละความเพียรนั้นเสีย
๕. ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นอุทยัพพยญาณเสียก่อน

พุทธภาษิตที่วางไว้เป็นหลักสําหรับวินิจฉัยตนเองทั้ง ๕ ข้อนี้ เมื่อผู้ใดพิจารณา ดูตัวเองว่ามีครบถ้วนแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าตนต้องสําเร็จมรรคผลในชาตินี้ได้แน่นอน ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ก็เป็นอันหวังไม่ได้ซึ่งมรรคผลในชาตินี้


ความเจริญแห่งพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในมนุษยโลกและในเทวโลก

เมื่อจะกล่าวถึงความเจริญของพระพุทธศาสนา ที่อยู่ในมนุษยโลกกับที่อยู่ในเทวโลกแล้ว ย่อมกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น มีความเจริญ รุ่งเรืองมากกว่าในมนุษยโลก เพราะในการที่พระพุทธศาสนาจะเจริญแพร่หลายได้นั้นก็ต้อง อาศัยพุทธศาสนิกชนเป็นใหญ่ ในสถานที่ใดมีพุทธศาสนิกชนมาก สถานที่นั้นก็เป็นที่เจริญแพร่หลายของพระพุทธศาสนามาก และอริยบุคคลที่มีอยู่ในเทวโลกนั้นมีมากกว่าอริยบุคคลที่มีอยู่ในมนุษยโลก ข้อนี้จึงแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเทวโลกนั้นมีความเจริญแพร่หลายมาก ก็ด้วยการที่มีอริยบุคคลมากนั้นเอง

ส่วนในมนุษยโลกนั้น พุทธศาสนิกชนมีน้อยมากก็จริง แต่ก็ยังมีข้อพิเศษที่ต่างกันกับเทวโลก คือ ในมนุษยโลก มีปริยัติศาสนา ได้แก่ การสอนพระไตรปิฎก การเรียนพระไตรปิฎก การแสดงธรรม และการฟังธรรม ทั้ง ๔ อย่างนี้มีอยู่โดยพร้อม มูล แต่ในเทวโลกมีอยู่เพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ การแสดงธรรมและการฟังธรรม อีกประการหนึ่ง ในเทวโลกไม่มีพระสงฆ์ มีอยู่แต่ในมนุษยโลกเท่านั้น

การแสดงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น จบ


รูปาวจรภูมิ ๑๖
การแสดงรูปาวจรภูมิ ๑๖ ชั้นโดยลําาดับและคําอธิบาย

วจนัตถะ รูปพรหมาน วจรา ภูมิ รูปาวจรภูมิ “ที่เกิดของรูปพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า รูปาวจรภูมิ” อีกนัยหนึ่ง
รูปาวจราน ภูมิ รูปาวจรภูมิ “ที่เกิดของรูปาวจร วิบาก ชื่อว่า รูปาวจรภูมิ”
รูปสฺส ภโว รูป ภูมิเป็นที่เกิดแห่งรูป ชื่อว่า รูป (รูปาวจรภูมิ)
รูปาวจรภูมิทั้ง ๑๖ ชั้นนี้ เป็นที่อยู่ของพวกพรหมทั้งหลาย ฉะนั้น คําว่า พรหม นั้นหมายความว่ากระไร? และได้แก่บุคคลจําพวกไหน?
คําว่า พรหม นั้น หมายความว่า ผู้ที่มีความเจริญอยู่ด้วยคุณพิเศษ มีฌาน เป็นต้น เรียกว่า พรหม ได้แก่
เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นพรหมโลก ดังมีวงนัตถะแสดง ว่า พรูหนุติ วฑฺฒนฺติ อติปณีเตหิ ฌานาทีคุเณที่ติ พฺรหฺมาโน เทวดาทั้งหลายที่ มีความเจริญด้วยคุณพิเศษมีฌานเป็นต้น อันเป็นสิ่งที่ประณีตมาก ฉะนั้น เทวดา เหล่านั้นชื่อว่า พรหม”

อธิบายว่า ความเจริญมีอยู่ ๒ อย่าง คือ ความเจริญทางโลกอย่างหนึ่ง ความเจริญทางธรรมอย่างหนึ่ง ความเจริญทางโลกนั้นได้แก่การบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ยศ บริวาร ที่อยู่ที่อาศัย เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และการมีความรู้ความเข้าใจในวิชาทางโลก การมีอายุยืน มีผิวพรรณงดงาม มีความสุขกายสุขใจ มีกําลังแข็งแรง เหล่านี้ได้ชื่อว่ามีความเจริญทางโลก

ความเจริญทางธรรม ได้แก่ การเจริญด้วยกุศลธรรมต่างๆ มี ศีล สมาธิ ปัญญา หรือฌาน อภิญญา มรรค ผล นิพพาน หรือการเจริญด้วยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เหล่านี้ ได้ชื่อว่ามีความเจริญทางธรรม

สําหรับผู้ที่ได้ชื่อว่าพรหมนั้น ย่อมมีความเจริญได้ ทั้งทางโลกและทางธรรม ความเจริญทางโลกของพวกพรหมนั้น คือการมีอายุยืนนาน มีผิวพรรณผ่องใสงดงาม มีความสุขอย่างประณีต มีร่างกายแข็งแรง มีวิมานอย่างวิจิตรงดงามเป็นที่อาศัย มี สวนดอกไม้เป็นที่หย่อนอารมณ์ มีบริวารตามสมควร สิ่งที่เป็นสมบัติของพรหมเหล่านี้ย่อมประเสริฐพิเศษกว่าพวกเทวดาชั้นกามาวจรทั้งหลาย

ความเจริญในทางธรรมของพรหม คือ การมีศีล สมาธิ ปัญญา หรือฌานสมาบัติ อภิญญา และพรหมวิหารธรรม การเจริญด้วยคุณพิเศษมีฌานเป็นต้น อันเป็นสิ่ง ประณีตมากดังที่ได้กล่าวมานี้ ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า พรหม

๑. พรัหมปาริสัชชาภูมิ
วจนัตถะ ปริสติ ภวา ปาริสัชชา “พรหมที่อยู่ในบริษัท (อยู่ในฝักฝ่ายที่เป็นบริวาร) ชื่อว่า ปาริสัชชะ” ได้แก่ พวกที่เป็นสามัญธรรมดา ไม่มีอํานาจอะไรเป็นพิเศษ
อีกนัยหนึ่ง พฺรหฺมานํ ปาริสัชชา พรหฺมปารีสชชา “พวกพรหมที่เป็นบริษัทของมหาพรหม ชื่อพรหมปาริสัชชะ” หมายความว่าพวกพรหมปาริสัชชะนี้เป็น บริวารของมหาพรหม, ในรูปภูมิทั้ง ๔ ชั้น คือ ปฐมฌานภูมิชั้น ๑ ทุติยฌานภูมิชั้น ๑ ตติยฌานภูมิชั้น ๑ จตุตถฌานภูมิชั้น ๑ (เว้นอสัญญสัตตาภูมิ) ทั้ง ๔ ชั้นนี้ ในชั้นหนึ่งแบ่งพรหมออกเป็น ๓ พวกคือ

๑. พรหมที่เป็นบริวารคอยรับใช้พรหมที่เป็นหัวหน้า เรียกว่า ปาริสัชชพรหม
๒. พรหมที่เป็นที่ปรึกษาของพรหมที่เป็นหัวหน้า เรียกว่า ปุโรหิตพรหม
๓. พรหมที่เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า เรียกว่า มหาพรหม

พรหมทั้ง ๓ พวกนี้ มีอยู่ทุกๆ ชั้นของรูปภูมิทั้ง ๔ ชั้นนั้น คําว่า พรหมปาริสัชชะนี้ เป็นชื่อของพรหมจําพวกหนึ่งที่เกิดอยู่ในชั้นปฐมฌานภูมิ และสถานที่ที่เป็นที่เกิดที่อาศัยของพรหมจําพวกนี้ ก็เรียกว่าพรหมปาริสัชชา ทั้งนี้ ก็โดยเอาชื่อ ของผู้ที่อยู่ในที่นั้นมาตั้งเป็นชื่อของสถานที่นั้นเอง ดังนี้ เรียกว่าการตั้งชื่อโดยฐานยูปจารนัย คือตั้งชื่อโดยทางอ้อม ไม่ใช่ตั้งชื่อโดยตรงทีเดียว [วิธีการนําเอาคำที่เป็นชื่อของบุคคลมาใช้เป็นชื่อของสถานที่นี้ เรียกว่า ฐานยูปจาระ]

วจนัตถะของคําว่า “พรหมปาริสัชชา ซึ่งเป็นชื่อของภูมิมีดังนี้ พรหมปาริสัชชาน นิพฺพตฺตาติ พรหมปารีสชชา “ภูมิอันเป็นที่เกิดที่อาศัย ของพวกพรหมที่เป็นบริษัท ของพรหมที่เป็นหัวหน้า ฉะนั้น ชื่อว่า พรหมปาริสัชชา”

๒. พรหมปุโรหิตาภูมิ
วจนัตถะ ปุเร อุจฺเจ ฐาเน โอหนฺติ ติฏฐนตีติ ปุโรหิตา “ผู้มีตําแหน่งสูงฐานะ เป็นผู้นําในกิจการทั้งหลายของมหาพรหม ชื่อว่า ปุโรหิตะ”
อีกนัยหนึ่ง ปุเร อคเค ธียเต ปิยเตติ ปุโรหิโต “ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตําแหน่งเป็นผู้แนะนํา ชื่อว่า ปุโรหิตะ”
วจนัตถะทั้ง ๒ ข้อนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีตําแหน่งเป็นปุโรหิต พฺรหฺมานํ ปุโรหิตา พรหมปุโรหิตา “พวกพรหมที่เป็นปุโรหิตของมหาพรหม ชื่อว่า พรหมปุโรหิตะ”
คําว่า พรหมปุโรหิตะนี้ ก็เป็นชื่อของพวกพรหมที่เกิดอยู่ในชั้นปฐมฌานภูมินั้นเอง สถานที่ที่เป็นที่เกิดที่อาศัยของพรหมจําพวกนี้ก็เรียกชื่อว่า พรหมปุโรหิตา โดยเอาชื่อของผู้ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นมาตั้งเป็นชื่อของสถานที่เช่นเดียวกัน

วจนัตถะของคําว่า พรหมปุโรหิตา ซึ่งเป็นชื่อของภูมิ มีดังนี้ พรหมปุโรหิตาน นิพฺพตฺตาติ พรหมปุโรหิตา “ภูมิอันเป็นที่เกิดที่อาศัยของพวกพรหมที่เป็นปุโรหิต ของมหาพรหม ชื่อว่า พรหมปุโรหิตา”

๓. มหาพรหมาภูมิ
วจนัตถะ พรูหติ ปริวตีติ พรหมา “ผู้ที่มีความเจริญด้วยคุณวิเศษมี ฌานเป็นต้น ชื่อว่า พรหม” ได้แก่ ผู้ที่มีความเจริญในฌาน อภิญญา และอายุ วรรณะ สุขะ พละ มากกว่ามนุษย์และเทวดากามาวจรทั้งหลาย

มหนฺโต พรหมา มหาพรหมา พรหมที่เป็นใหญ่ ชื่อว่า มหาพรหม ได้แก่ พรหมที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าพรหมปารีสัชชะและพรหมปุโรหิตะทั้งหลาย
มหาพรหมมี ๓ จําพวก คือ

๑. มหาพรหมที่มีรัศมีแผ่ไปไกล ๑,๐๐๐ จักรวาล เรียกว่า สหัสสพรหม
๒. มหาพรหมที่มีรัศมีแผ่ไปไกล ๒,๐๐๐ จักรวาล   "      ทวิสหัสสพรหม
๓. มหาพรหมที่มีรัศมีแผ่ไปไกล ๓,๐๐๐ จักรวาล   "      ติสหัสสพรหม

มหาพรหมาน นิพฺพตฺตาติ มหาพรหมา “ภูมิอันเป็นที่เกิดที่อาศัยของพวกมหาพรหม ชื่อว่า มหาพรหมา", คําว่า มหาพรหมนั้น ก็เป็นชื่อของพวกพรหมที่เป็น ผู้ยิ่งใหญ่อยู่ในปฐมฌานภูมิ และสถานที่อยู่ของพรหมพวกนี้ก็เรียกว่า มหาพรหมา โดยเอาชื่อของผู้ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นมาตั้งเป็นชื่อของสถานที่ ดุจเดียวกันกับภูมิที่ได้แสดงมาแล้วข้างต้น

ที่ตั้งแห่งปฐมฌานภูมิ ๓

ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งปฐมฌานภูมิทั้ง ๓ นี้ หาได้ตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไปตาม ลําดับกันไม่ ความจริงนั้น ปฐมฌานทั้ง ๓ ภูมินี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน เหมือนกับพื้นที่ของพวกมนุษย์ และตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศห่างจากกามาวจรเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ประมาณ ๕ ล้าน ๕ แสน 4 พันโยชน์ พรั่งพร้อมไปด้วยวิมาน สวนดอกไม้ สระโบกขรณี อันตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งล้วนแล้วไปด้วยแก้วรัตนะ ๗ อย่าง มีรัศมีสวยงามยิ่งนัก ในปฐมฌานภูมิ ๓ นี้ แบ่งอาณาเขตออกเป็นส่วนๆ ส่วนหนึ่งเป็นที่อยู่ของปุโรหิตพรหม และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อยู่ของ ปาริสัชชพรหม ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันทั้งสิ้น แต่เรียกชื่อเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามลําดับนั้น มิได้มุ่งหมายเอาภูมิเป็นที่ตั้ง อาศัยเรียกไปตามตําแหน่งของพรหมที่อยู่ในชั้นปฐมฌานภูมินี้นั้นเอง ดังมี สาธกบาลีแสดงไว้ในธัมมหทยวิภังคอรรถกถาว่า อิเม ตโยปี ชนา ปฐมฌานภูมิย์ เอกตเล วสนฺติ * แปลความว่า พรหมทั้ง ๓ เหล่านี้อยู่ชั้นปฐมฌานภูมิในพื้นที่ระดับ เดียวกันนั้นเอง

มหาพรหมที่เป็นใหญ่อยู่ในชั้นปฐมฌานภูมิ ๓ นั้น มีอยู่องค์เดียว การที่รู้ได้เช่นนี้ก็โดยอาศัยข้อความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพรหมชาลสูตรว่า เมื่อเวลาที่โลกถูกทําลายลงด้วยไฟก็ดี ด้วยน้ำก็ดี หรือด้วยลมก็ดี ชั้นปฐมฌานภูมินี้ ได้ถูกทําลายลงด้วยทุกๆ ครั้งไป และเมื่อเวลาที่เริ่มสร้างโลกใหม่นั้น ในชั้นปฐมฌานภูมิก็มีมหาพรหมองค์เดียวเกิดขึ้นก่อน ส่วนพรหมปุโรหิตะ และพรหมปาริสัชชะ ๒ พวกนี้เกิดตามมาภายหลัง

อีกประการหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในพรหมสังยุตว่า ตตฺร สุท ภิกฺขเว พรหมา (มหาพรหมา) จ พรหมปริสา จ พรหมปาริสัชชา จ อุชฌายนติ ขียนติ ” เป็นต้น ตามพระบาลีที่แสดงมานี้ เมื่อพิจารณาดูตามนัยแห่งไวยากรณ์ แล้ว จะเห็นได้ว่าบาลีได้แสดงมุ่งหมายถึงมหาพรหมนั้นใช้วิภัตติฝ่ายเอกวจนะ ส่วนบาลีที่มุ่งหมายถึงพรหมปุโรหิตะและพรหมปาริสัชชะนั้นใช้พหุวจนะ ด้วยเหตุนี้ จึงสันนิษฐานได้ว่ามหาพรหมนี้มีองค์เดียวในชั้นปฐมฌานภูมิ

ทุติยฌานภูมิ ๓

๑. ปริตตาภาภูมิ
วจนัตถะ ปริตตา อาภา เอเตสนติ ปริตตาภา “พรหมทีมีรัศมีน้อยกว่า พรหมที่อยู่เบื้องบน ชื่อว่า ปริตตาภา”
อีกนัยหนึ่ง ปริตตาภา นิพฺพตฺตาติ ปริตตาภา “ภูมิที่เกิดของปริตตาภาพรหม ชื่อว่า ปริตตาภา”

๒. อัปปมาณาภาภูมิ
วจนัตถะ อปปมาณา อาภา เอเตสนุติ อปปมาณาภา “พรหมที่มีรัศมีหา ประมาณมิได้ ชื่อว่า อัปปมาณาภะ"
อีกนัยหนึ่ง อปุปมาณาภา นิพฺพตฺตาติ อปปมาณาภา “ภูมิเป็นที่เกิดของ พวกอัปปมาณาภาพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า อัปปมาณาภา”

๓. อาภัสสราภูมิ
วจนัตถะ สรติ นิสสรตีติ สรา “รัศมีที่แผ่ซ่านออก ชื่อว่า สรา”, อาภา สรา เอเตสนติ อาภสสรา “พรหมที่มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากร่างกาย ชื่อว่า อาภัสสระ”
อีกนัยหนึ่ง อาภา สรนุติ นิจฉรนติ เอเตสูติ อาภัสสรา รัศมีแผ่ซ่านอยู่ใน ร่างกายของพรหมเหล่านั้น ฉะนั้น พรหมเหล่านั้น ชื่อว่า อาภัสสระ
อาภัสสรพรหมเหล่านี้มีความยินดีในฌานของตนอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นไปด้วย อํานาจของปีติอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงทําให้จิตใจของพรหมพวกนี้มีความผ่องใสมาก เมื่อจิตใจผ่องใสแล้ว จิตตชรูปคือรูปที่อาศัยเกิดก็มีความผ่องใสตามไปด้วย และด้วยอํานาจแห่งจิตตชรูปที่ผ่องใสนี้แหละเป็นเหตุให้เห็นอุตุชรูป คือรูปที่ปรากฏให้เป็นแสงรัศมี จึงมีความผ่องใสเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ในการที่พวกอาภัสสรพรหมมีรัศมีแผ่ซ่านไปทั้งร่างกายนี้ก็เป็นไปด้วยอํานาจแห่งอุตุชรูปซึ่งอาศัยจิตตชรูปเกิด เรียกว่า จิตตปัจจยอุตุชรูป ที่มีความผ่องใสปรากฏออกมานั้นเอง

อาภัสสราน นิพฺพตฺตาติ อาภัสสรา ภูมิซึ่งเป็นที่เกิดของพวกอาภัสสรพรหม ชื่อว่า อาภัสสรา
คําว่า ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ทั้ง ๓ ชื่อนี้เป็นชื่อของพรหมโดยตรง สําหรับภูมิที่เรียกชื่อเหมือนกันกับชื่อของพรหมนั้น ก็เป็นการเรียกชื่อโดย ฐานยูปจารนัย เช่นเดียวกันกับพวกปฐมฌานภูมิ ดังได้แสดงมาแล้วนั้น

ที่ตั้งแห่งทุติยฌานภูมิทั้ง ๓ นี้ ตั้งอยู่กลางอากาศห่างจากปฐมฌานภูมิ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ พื้นที่ของภูมิทั้ง ๓ นี้ตั้งอยู่ในระดับเดียวกัน สําเร็จไป ด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมไปด้วยวิมาน สวนดอกไม้ สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์

ทุติยฌานภูมิ ๓ ที่ตั้งอยู่กลางอากาศนั้น ประดุจเรือลําใหญ่ที่ลอยลําอยู่ท่าม กลางมหาสมุทร และบรรดาพรหมที่อยู่ในทุติยฌานภูมิ ๓ นี้

ปริตตาภาพรหม มีตําแหน่งเท่ากับ ปาริสัชชพรหม
อัปปมาณาภาพรหม มีตําแหน่งเท่ากับ ปุโรหิตพรหม
อาภัสสรพรหม มีตําแหน่งเท่ากับ มหาพรหม

ตติยฌานภูมิ ๓

๑. ปริตตสุภาภูมิ
วจนัตถะ ปริตตา สุภา เอเตสนฺติ ปริตตสุภา พรหมที่มีรัศมีสวยงามแต่ น้อยกว่าพรหมที่อยู่เบื้องบน ชื่อว่า ปริตตสุภะ
อีกนัยหนึ่ง ปริตตสุภาพ นิพพุตตาติ ปริตตสุภา ภูมิเป็นที่เกิดของปริตต สุภาพรหมทั้งหลายชื่อว่า ปริตตสุภา

๒. อัปปมาณสุภาภูมิ
วจนัตถะ อุปปมาณา สุภา เอเตสนฺติ อปปมาณสุภา พรหมที่มีรัศมีสวยงาม หาประมาณมิได้ ชื่อว่า อัปปมาณสุภะ
อีกนัยหนึ่ง อปปมาณสุภาน นิพฺพตฺตาติ อัปปมาณสุภา ภูมิเป็นที่เกิดของ อัปปมาณสุภาพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า อัปปมาณสุภา

๓. สุภกิณหาภูมิ
วจนัตถะ สุภาทิ อากิญญาติ สุภาภิณณา พรหมที่มีรัศมีสวยงามตลอดไป ทั่วร่างกาย ชื่อว่า สุภาภิณณะ
อีกนัยหนึ่ง สุภาภิณญาน์ นิพฺพตฺตาติ สุภาภิณณา ภูมิเป็นที่เกิดของสุภาภิณณะพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า สุภาภิณณา
คําว่า สุภา ในที่นี้ หมายถึง ความสวยงามของรัศมีที่มีอยู่ในร่างกายของพวก พรหมที่อยู่ในชั้นตติยฌานภูมินี้ รัศมีอย่างไรจึงเรียกว่าเป็นรัศมีที่สวยงาม ?
อธิบายว่า รัศมีที่สวยงามของพวกพรหมเหล่านี้มีลักษณะเช่นเดียวกันกับรัศมีของดวงจันทร์ คือแสงสว่างของรัศมีนั้นรวมกันอยู่เป็นวงกลม ไม่กระจัดกระจาย ออกจากกัน เช่นนี้แหละจึงได้ชื่อว่า สุภา คือรัศมีที่สวยงาม

คําว่า สุภาภิณณา นี้ เรียกว่า สุภกิณฺหา ก็ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยนัยแห่งไวยากรณ์ คือเปลี่ยน อา เป็น อ. แปลง ณ ตัวที่สองเป็น ห สําเร็จรูปเป็น สุภกิณหา, อีกนัย หนึ่ง จะเรียกว่า สุภกิณฺณา ก็ได้ ไม่เป็นการผิดหลักไวยากรณ์ แสดงวจนัตถะดังนี้ คือ สุเภน กิณฺณาติ สุภกิณฺณา พรหมที่มีรัศมีสวยงามตลอดทั่วไปทั้งร่างกาย ชื่อว่า สุภกิณณะ

มีสาธกบาลีแสดงไว้ในมูลฎีกาว่า โสภนปลาย ภิญญา สุภาภิณญาติ วตฺตพฺเพ อาการสุส รสสตต์ อนุติมณการสุส หการญจ กตวา สุภกิณหาติ วุตตา อถ ปน สุโภน กัณณา สุภกิณฺณา

คําว่า ปริตตาสุภา อปปมาณสุภา สุภกิณหา ทั้ง ๓ นี้เป็นชื่อของพรหมโดยตรง แต่การที่เรียกชื่อภูมิโดยใช้ชื่อทั้งสามนั้นก็เป็นการเรียกโดยทางอ้อม คือ เอาชื่อของผู้ที่อยู่ในที่นั้นมาตั้งเป็นชื่อสถานที่นั้นเอง

ตติยฌานภูมิ ๓ นี้ตั้งอยู่กลางอากาศ ห่างจากทุติยฌานภูมิ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ พื้นที่ของภูมิทั้ง ๓ นี้ตั้งอยู่ในระดับเดียวกัน สําเร็จไปด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยวิมาน สวน สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์

บรรดาพรหมทั้งหลายที่อยู่ในตติยฌานภูมิ ๓ นี้
ปริตตสุภพรหม มีตําแหน่งเท่ากับ ปาริสัชชพรหม
อัปปมาณสุภพรหม มีตําแหน่งเท่ากับ ปุโรหิตพรหม
สุภกิณหพรหม มีตําแหน่งเท่ากับ มหาพรหม

จตุตถฌานภูมิ ๗

๑.เวหัปผลาภูมิ
วจนัตถะ วิปุล ผล เอเตสนุติ เวทปผลา พรหมที่มีผลไพบูลย์ ชื่อว่า เวทีปผละ, ในที่นี้คําว่า เวหปผลา ที่เป็นนิปผันนบทนั้น ถ้าตามวจนัตถะแล้ว ควรจะเป็น วิปุลผลา แต่การที่เป็นไปตามคํานี้ไม่ได้ ก็เพราะเกี่ยวกับหลักของไวยากรณ์ ซึ่งเป็น ดังนี้ คือ วิปุล เป็น เวท, ผ เป็น ปุย (อสทิสเทวภาว)

อีกนัยหนึ่ง เวทปผลาน นิพฺพตฺตาติ เวทปผลา ภูมิเป็นที่เกิดของเวหัปผล พรหมทั้งหลายชื่อว่า เวหัปผลา
อีกนัยหนึ่ง ฌานานุรูป วิเสเสน อีหิต อาเนญชิต ปุญญผล เอตฺถ อตฺถิติ เวทปผลา ผลของกุศลที่มั่นคงและไพบูลย์ อันไม่หวั่นไหวเป็นพิเศษ ที่เป็นไปตามฌาน ที่มีอยู่ในภูมิใด ภูมินั้นชื่อว่า เวหัปผลา

อธิบายว่า ผลของกุศลที่ปรากฏอยู่ในชั้นปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ ทั้ง ๙ ภูมินี้ ไม่เรียกว่า เวหัปผลา เพราะว่าเมื่อคราวที่โลกถูกทําลายด้วยไฟนั้น ปฐมฌานภูมิ ๓ ก็ถูกทําลายลงด้วย เมื่อคราวที่โลกถูกทําลายด้วยน้ำ ปฐมฌานภูมิ ๓ และทุติยฌานภูมิ ๓ ทั้ง ๖ ภูมินี้ก็ถูกทําลายด้วย และเมื่อคราว ที่โลกถูกทําลายด้วยลม ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ และตติยฌานภูมิ ๓ ก็ ถูกทําลายด้วย บรรดาพรหมที่อาศัยอยู่ในภูมิเหล่านี้ก็ต้องถึงกาลสิ้นอายุลง วิมานและทิพยสมบัติของพวกพรหมเหล่านี้ก็ถูกทําลายลงด้วยทุกครั้งไป

ในบรรดาภูมิ ๙ ภูมินี้ พรหมที่เกิดอยู่ในชั้นสุภกิณณามีอายุยืนมากกว่าพรหมอื่นๆ ที่เกิดอยู่ในภูมิเบื้องต่ำกว่าตน อายุขัยของสุภกิณณาพรหมนี้มีอายุถึง ๖๔ มหากัป แต่สุภกิณณพรหมที่จะมีอายุขัยได้เต็ม ๖๔ มหากัปนั้นจะต้องเป็นพรหมที่อุบัติ ขึ้นพร้อมกับโลกที่เริ่มสร้างใหม่ ส่วนพรหมที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นย่อมมีอายุไม่ถึง ๖๔ มหากัป ต้องลดอายุขัยลงมาโดยลําดับ ทั้งนี้เพราะว่าในจํานวน ๖๔ มหากัปนั้น ตติยฌานภูมิ ๓ นี้จะต้องถูกทําลายลงด้วยลมครั้งหนึ่งเสมอไป

ส่วนเวหัปผลาภูมิเป็นภูมิที่พ้นจากการถูกทําลายทุกๆ อย่าง ฉะนั้น พรหมทุกๆ องค์ที่เกิดอยู่ในภูมินี้ จะเกิดขึ้นในเวลาใดก็ตาม ย่อมมีอายุขัยเต็ม ๕๐๐ มหากัป เสมอไป ด้วยเหตุนี้แหละผลของกุศลที่นํามาให้เกิดอยู่ในภูมินี้ จึงเรียกว่า เวหัปผลา ซึ่งเกิดจากอํานาจของปัญจมฌานกุศลที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา

ส่วนพวกพรหมที่เกิดอยู่ในชั้นปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ และตติยฌานภูมิ ๓ นั้นเกิดขึ้นด้วยอํานาจของปฐมฌานกุศล ทุติยฌานกุศล ตติยฌานกุศล และ จตุตถฌานกุศล ซึ่งเป็นฌานกุศลที่ประกอบด้วยโสมนัสเวทนา

ธรรมดาฌานกุศลที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนานั้น เป็นกุศลที่ประเสริฐ มั่นคงไม่หวั่นไหวยิ่งกว่าฌานกุศลที่ประกอบด้วยโสมนัสเวทนา ฉะนั้น ผลที่เกิดจาก ฌานกุศลที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนาจึงเป็นผลที่ประเสริฐมั่นคง เป็นไปตามเหตุ ส่วนผลที่เกิดจากฌานกุศลที่ประกอบด้วยโสมนัสเวทนานั้น ย่อมไม่ประเสริฐและไม่มั่นคง เป็นไปตามเหตุเช่นเดียวกัน

๒. อสัญญสัตตาภูมิ
วจนัตถะ นตฺถิ สญญา เอเตสนฺติ อสัญญา “สัญญาเจตสิกไม่มีแก่พรหม เหล่าใด ฉะนั้น พรหมเหล่านั้น ชื่อว่า อสัญญะ” ในที่นี้คําว่า “อสัญญะ” นั้น เป็นการแสดงโดยยกสัญญาเจตสิกเป็นประธาน แต่ความจริงจิตและเจตสิกอื่นๆ ซึ่ง เป็นนามขันธ์ ๕ นั้น ไม่มี การแสดงตามนัยนี้ เป็นการแสดงโดยอุปลักขณนิทัสสนนัย

อีกนัยหนึ่ง นตฺถิ สญฺญเขน จตฺตาโร อรูปกขันธา เอเตสนฺติ อสัญญา นาม ขันธ์ ๔ โดยยกเอาสัญญาเจตสิกเป็นประธาน ไม่มีแก่พรหมเหล่าใด ฉะนั้น พรหม เหล่านั้น ชื่อว่า อสัญญะ

อสญญา จ เต สตุตา จาติ อสญญสดุตา พรหมที่ไม่มีนามขันธ์ ๔ ที่ยกเอาสัญญาเจตสิกเป็นประธาน แต่พรหมนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า อสัญญสัตตะ

คนส่วนมากยังเข้าใจอยู่ว่า บรรดาสิ่งทั้งหลายถ้าไม่มีนามธรรมแล้ว สิ่งนั้นไม่ เรียกว่าสัตว์ ความเข้าใจเช่นนี้จะจัดว่าถูกต้องโดยทั้งหมดไม่ได้ สําหรับในกามโลกนั้น ถูกต้องแล้ว แต่สําหรับในพรหมโลกนั้นใช้ไม่ได้ทั่วไป เพราะว่าพรหมจําพวกหนึ่งที่เกิดด้วยอํานาจปัญจมฌาน ซึ่งมีสัญญาวิราคภาวนา เป็นหลัก มีอยู่ในพรหมโลกนี้ พรหมจําพวกนี้ไม่มีนามขันธ์ มีแต่รูปขันธ์อย่างเดียวก็จริง แต่ก็คงนับเข้าอยู่ในสัตว์จําพวกหนึ่ง เพราะมีชีวิตรูปปกครองอยู่ ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงคําว่า สัตตะ ประกอบกับคําว่า อสัญญะ รวมเรียกว่า อสัญญสัตตะ

อสญฺญสตฺตานํ นิพฺพตฺตาติ อสัญญสัตตา ภูมิเป็นที่เกิดของอสัญญสัตตพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า อสัญญสัตตา, ที่เรียกชื่อว่า เวหัปผลาภูมิและอสัญญสัตตาภูมิ นั้น เป็นการเรียกชื่อโดยทางอ้อม คือเอาชื่อของผู้ที่อยู่ในภูมินั้นๆ มาตั้งเป็นชื่อของ ภูมินั้นเอง

จตุตถฌานภูมิทั้ง ๒ นี้ ตั้งอยู่กลางอากาศ ห่างจากตติยฌานภูมิ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์พื้นที่ของภูมิทั้ง ๒ นี้ตั้งอยู่ในระดับเดียวกัน สําเร็จไปด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยสวนดอกไม้ สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์

พรหมที่อยู่ในชั้นเวหัปผลาก็แบ่งออกเป็น ๓ จําพวกเช่นเดียวกัน เนื่องมาจากความต่างกันของปัญจมฌาน กุศลนั้นเอง คือปัญจมฌานกุศลที่เป็นอย่างดีนะ ก็ไปบังเกิดในตําแหน่งที่เทียบเท่ากับปาริสัชชพรหม ถ้ากุศลนั้นเป็นอย่างมัชฌิมะ ก็ไป บังเกิดในตําแหน่งที่เทียบเท่ากับปุโรหิตธรรม และถ้ากุศลนั้นเป็นอย่างปณีตะ ก็ไป บังเกิดในตำแหน่งที่เทียบเท่ากับมหาพรหม

การที่ท่านอรรถกถาจารย์ไม่ได้จําแนกชื่อของพวกพรหมที่อยู่ในชั้นเวหัปผลา ออกเป็น ๓ พวกเหมือนกับพรหมที่อยู่ในภูมิที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้น ก็เพราะพวกพรหมที่บังเกิดอยู่ในภูมินี้ ว่าโดยอายุขัยแล้วก็มีอายุขัยเท่ากันหมด และพวกเวหัปผล พรหมนี้สามารถมองแลเห็นพวกอสัญญสัตตพรหมได้ ส่วนพวกพรหมที่อยู่ในชั้นปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิเหล่านี้ ไม่สามารถจะมองเห็นพรหมที่อยู่ชั้นสูงกว่าได้ อาจารย์ที่รู้สภาวะแสดงว่า พรหมในชั้นเดียวกันนั้นแลเห็นซึ่งกัน และกันได้โดยไม่ต้องเนรมิตตนให้หยาบ ด้วยเหตุนี้ ท่านอรรถกถาจารย์จึงรวมเรียก ว่า เวหัปผลพรหมอย่างเดียว ไม่แยกชื่อเรียกเป็นพวกๆ


สุทธาวาสภูมิ ๕

ภูมิที่เรียกว่าสุทธาวาสนี้ เป็นภูมิที่อยู่ของพวกพระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งหลายผู้มีความบริสุทธิ์เท่านั้น ส่วนบุคคลอื่นๆ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ปัญจมฌานก็ตาม จะไปบังเกิดในภูมินี้ไม่ได้ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า สุทฺธานํ อนาคามิ อรหนุตานเมว อาวาสาติ สุทธาวาสา ภูมิเป็นที่อยู่ของพระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เท่านั้น เหตุนั้น ภูมินั้น จึงชื่อว่า สุทธาวาส, สุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้นกับเวหัปผลาภูมิและอสัญญสัตตภูมินี้ เรียกว่า จตุตถฌานภูมิ เพราะเกิดจากจตุตถฌานกุศล (ว่าโดยจตุกกนัย) หรือปัญจมฌานกุศล (ว่าโดยปัญจกนัย)

สุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ ชั้นนี้ตั้งอยู่กลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไปตาม ลําดับของภูมิ หาได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ ระดับเดียวกันดังเช่นภูมิอื่นๆ มีปฐมฌานภูมิ เป็นต้นดังที่กล่าวมาแล้วนั้นไม่ ชั้นล่างสุดอยู่ห่างจากเวหัปผลาภูมิและอสัญญสัตตาภูมิ สูงขึ้นไป ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ และภูมิหนึ่งๆ ก็อยู่สูงกว่ากัน ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ตามลําาดับเช่นเดียวกัน

๑. อวิหาภูมิ
วจนัตถะ อปุปเกน กาเลน อตฺตโน ฐานํ น วิชหนตีติ อวิหา พรหมเหล่าใด ไม่ละทิ้งสถานที่ของตนโดยเวลาเพียงเล็กน้อย พรหมเหล่านั้น ชื่อว่า อวิหะ
อีกนัยหนึ่ง อตฺตโน สมฺปตฺติยา น หายนฺตติ อวิหา พรหมเหล่าใดไม่เสื่อม ถอยจากสมบัติของตน พรหมเหล่านั้น ชื่อว่า อวิหะ
อธิบายว่า พรหมที่บังเกิดอยู่ในชั้นอวิหาภูมินี้ ย่อมไม่ละทิ้งสถานที่ของตน คือหมายความว่าไม่จุติเสียก่อนที่จะมีอายุครบกําหนด สําหรับพรหมที่อยู่ในภูมิที่เหลืออีก ๔ ภูมิ คือ อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา นั้นไม่ได้อยู่จนครบอายุก็มีการ จุติเสียก่อน
อีกประการหนึ่ง ทิพยสมบัติต่างๆ ของพวกพรหมเหล่านั้น ย่อมมีบริบูรณ์เต็มที่ อยู่เสมอตลอดอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอย่างใด ด้วยเหตุนี้แหละ พรหมเหล่านั้น จึงได้ชื่อว่า อวิหะ, อวิหาน นิพฺพตฺตาติ อวิหา “ภูมิเป็นที่เกิดของ อวิหพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า อวิหา” คําว่า อวิหา นี้เป็นชื่อของพรหมโดยตรง ส่วนชื่อ ของภูมินั้นพึงทราบว่าที่เรียกชื่อเหมือนกันนั้น เพราะเป็นการนําเอาชื่อของพรหมนั้น เองมาตั้งเป็นชื่อของภูมิ และภูมิที่เหลืออีก ๔ ภูมินั้นก็คงเป็นไปตามทํานองเดียวกันนี้

๒. อตัปปาภูมิ
วจนัตถะ น ต ปนตีติ อตปุปา พรหมที่ไม่มีความเดือดร้อนใจ พรหมนั้นชื่อ ว่า อตัปปะ, อธิบายว่า อตัปปพรหมทั้งหลายนั้นย่อมเข้าฌานหรือเข้าผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสที่เป็นเหตุทําให้จิตเดือดร้อนก็ย่อมไม่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ฉะนั้นจิตใจของ พรหมนั้นจึงมีแต่ความสงบเยือกเย็น ไม่มีความเดือดร้อนประการใด
อีกนัยหนึ่ง อตปปาน นิพฺพตฺตาติ อตปปา ภูมิเป็นที่เกิดของอตัปปพรหม ทั้งหลาย ชื่อว่า อตัปปา

๓. สุทัสสาภูมิ
วจนัตถะ สุเขน ทิสสนฺติ สุทสสา พรหมที่ปรากฏโดยความเป็นสุข ฉะนั้น พรหมนั้นชื่อว่า สุทัสสะ
อีกนัยหนึ่ง ปริสุทเธ ปสาทที่พุทธมฺมปญฺญาจกซู สมฺปนฺนตฺตา สุ ปสฺสนฺตีติ สุทสสา พรหมทั้งหลายเหล่าใดเห็นสิ่งต่างๆ โดยปรากฏชัด เพราะบริบูรณ์ ด้วยปสาทจักขุ ทิพพจักขุ ธัมมจักขุ ที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า สุทัสสะ
อธิบายว่า พรหมที่อยู่ในสุทัสสาภูมินี้มีร่างกายสวยงามมาก ฉะนั้น ผู้หนึ่งผู้ใดได้เห็นแล้วย่อมเกิดความสุข เหตุนั้นพรหมพวกนั้น จึงชื่อว่า สุทัสสะ, อีกประการหนึ่ง สุทัสสพรหมบริบูรณ์ด้วยจักขุทั้ง ๔ คือ ปสาทจักขุ ทิพพจักขุ ธัมมจักขุ ปัญญาจักขุ จักขุทั้ง ๔ นี้ ตาธรรมดาเรียกว่า ปสาทจักขุ, ทิพพจักขุอภิญญาเรียกว่า ทิพพจักขุ หรือตาธรรมดาเรียกว่า ทิพพจักขุก็ได้ เพราะธรรมดาตาของพรหมเหล่านี้มีอํานาจที่ มองแลเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในระยะไกลๆ หรือสิ่งที่เล็กๆ น้อยๆ ได้เป็นอย่างดี มัคคญาณเบื้องต่ำ ๓ เรียกว่า ธัมมจักขุ, วิปัสสนาญาณ ปัจจเวกขณญาณ และอภิญญา ต่างๆ เรียกว่า ปัญญาจักขุ
สุทสุสาน นิพฺพตฺตาติ สุทสุภา ภูมิเป็นที่เกิดของสุทัสสพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า สุทัสสา

๔. สุทัสสีภูมิ
วจนัตถะ สุเขน ปสฺสนฺติติ สุทสฺสี พรหมที่แลเห็นสิ่งต่างๆ ได้โดยความ สะดวก ชื่อว่า สุทัสสี
อีกนัยหนึ่ง ตโต อติสเยน สฏฐ ทสฺสนภาวเน สมมุนาคตาติ สุทัสสี พรหมที่บริบูรณ์ด้วยจักษุอันเป็นเหตุในการเห็นที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าพวกสุทัสสพรหมชื่อว่า สุทัสสี
อธิบายว่า สุทัสสีพรหมนี้ ว่าโดยจักขุ ๔ ประการแล้ว ปสาทจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุทั้ง ๓ อย่างนี้ มีกําลังมากยิ่งกว่าสุทัสสพรหม แต่ธัมมจักขุเท่านั้นที่มี กําลังเสมอกันได้
สุทสฺสนํ นิพฺพตฺตาติ สุทสฺสี ภูมิเป็นที่เกิดของพวกสุทัสสีพรหมทั้งหลาย ชื่อ ว่า สุทัสสี

๕. อกนิฏฐาภูมิ
วจนัตถะ นตฺถิ กนิฏโฐ เอเตสนฺติ อกนิฏฐา ทิพยสมบัติและความสุขที่มี ประมาณน้อยไม่มีแก่พรหมเหล่านั้น ฉะนั้น พรหมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อกนิฏฐะ
อีกนัยหนึ่ง นตฺถิ รูปีน สตฺตานํ มัชเฌ เกนจิ คุเณน กนิฏฐภาโว เอเตสนฺติ อกนิฏฐา คุณสมบัติบางอย่างซึ่งมีอานุภาพเล็กน้อยซึ่งมีอยู่ในหมู่รูปพรหมทั้งหลาย ไม่มีแก่พรหมเหล่านั้น ฉะนั้น พรหมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อกนิฏฐะ
อกนิฏฐาน นิพฺพตฺตาติ อกนิฏฐา ภูมิเป็นที่เกิดของอกนิฏฐพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า อกนิฏฐา
อธิบายว่า พรหมที่อยู่ในชั้นที่ ๕ ของสุทธาวาสภูมินี้ เป็นพรหมที่มีคุณสมบัติ ยิ่งกว่าพรหมที่มีรูปทั้งหมด เพราะว่าพรหมที่อยู่ในชั้นที่ ๑-๒-๓-๔ ของสุทธาวาสภูมิ นี้ คือ อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม เหล่านี้ เมื่อยังไม่ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมไปเกิดในภูมิเบื้องบนในขั้นสุทธาวาสนั้นได้ตามสมควร แต่จะไม่เกิดภูมิ หรือไม่เกิดในภูมิที่ต่ำกว่า ส่วนอกนิฏฐพรหมย่อมไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นอีกเลย จะต้องปรินิพพานอยู่ในอกนิฏฐาภูมินี้เท่านั้น ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า พรหมที่อยู่ในชั้นอกนิฏฐาภูมินี้ มีศีลคุณ สมาธิคุณ และปัญญาคุณยิ่งกว่าพรหมที่มี รูปทั้งหมด

ในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ ภูมินี้ ในภูมิหนึ่งๆ ก็ไม่ได้จําแนกพรหมออกเป็นพวกๆ เช่นเดียวกันกับในปฐมฌานภูมิหรือ ทุติยฌานภูมิ เป็นต้น ในชั้นอวิหาภูมิก็มีแต่อวิหา พรหมพวกเดียวเท่านั้น ในชั้นอตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐาก็เช่นเดียวกัน คือไม่มีการแยกพรหมเป็นพวกๆ เพราะเมื่อว่าโดยอายุขัยแล้ว พรหมที่อยู่ในสุทธาวาสภูมิ ทั้ง ๕ ภูมินี้ พรหมที่เกิดอยู่ในภูมิหนึ่ง ย่อมมีอายุขัยเท่ากันหมดไม่มีแตกต่างกัน และ พรหมที่อยู่ในภูมิหนึ่งนั้นก็สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีการ จําแนกพรหมในภูมิหนึ่งๆ ออกเป็น ๒-๓ พวก ดังกล่าวแล้ว

บุคคลที่จะไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาสภูมิได้นั้น บุคคลผู้นั้น จะเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม จะต้องเป็นพระอนาคามีบุคคลผู้ที่เป็นปัญจมฌานลาภีเท่านั้น จึง จะไปบังเกิดในสุทธาวาสทั้ง ๕ ภูมินี้ได้ แต่ในการที่สุทธาวาสภูมิแบ่งออกเป็น ๕ ชั้น นั้นก็เพราะเป็นด้วยอํานาจของอินทรีย์ทั้ง ๕ นั้นเอง คือ

ถ้า สัทธินทรีย์ มีกําลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จะเกิดในขั้น อวิหาภูมิ
ถ้า วิริยินทรีย์ มีกําลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จะเกิดในขั้น อตัปปาภูมิ
ถ้า สตินทรีย์ มีกําลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จะเกิดในขั้น สุทัสสาภูมิ
ถ้า สมาธินทรีย์ มีกําลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จะเกิดในขั้น สุทัสสีภูมิ
ถ้า ปัญญินทรีย์ มีกําลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จะเกิดในขั้น อกนิฏฐาภูมิ

ข้อนี้มีสาธกบาลีแสดงไว้ในสังคหอรรถกถาและวิภาวนีฎีกาว่า อนาคามิโนปน สุทธาวาเส อุปปชฺชนฺติ สุทธาทิอินทรียเมตตตานุกุกเมน ปญฺจสุ สุทธา วาเสส อุปปชุชนติ

ความต่างกันแห่งชื่อของพรหมที่อยู่ในรูปาวจรภูมิ ๑๕ ชั้น (เว้นอสัญญสัตตพรหม)
ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ในบรรดาภูมิที่เป็นที่อยู่ของพรหมทั้ง ๔ ภูมิ นั้น ในภูมิหนึ่งๆ มีพรหมอยู่ ๓ จําพวกเหมือนกันทั้ง ๔ ภูมิ แต่ในการเรียกชื่อของพรหมที่อยู่ในชั้นทุติยฌานภูมิ ๓ นั้น จนถึงจตุตถฌานภูมิ ๗ เรียกชื่อไม่เหมือนกัน กับพวกที่อยู่ในชั้นปฐมฌานภูมิ ๓ นั้น ก็เพราะเหตุว่าการเรียกชื่อพรหมที่อยู่ในชั้น ปฐมฌานภูมินั้น ใช้เรียกไปตามตําแหน่งของพรหม ส่วนในทุติยฌานภูมิ ๓ และ ตติยฌานภูมิ ๓ ทั้ง ๒ ภูมินี้ ถึงแม้ว่าพรหมในชั้นเหล่านี้จะมีตําแหน่งเป็นพรหมปาริสัชชะ พรหมปุโรหิตะและมหาพรหมก็จริง แต่ใน ๒ ภูมินี้ก็ไม่ใช่เรียกชื่อตามตําแหน่ง ใช้เรียกไปตามความแตกต่างกันแห่งรัศมีของพรหมนั้นๆ และในจตุตถ ฌานภูมิ ๗ ก็ใช้เรียกชื่อพรหมให้ตรงกันกับคุณธรรมที่บังเกิดในชั้นนั้นๆ

การเรียกชื่อของพรหมตามนัยที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อจะให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายมีความเข้าใจในพรหมที่เกิดอยู่ในชั้นทั้งหมดนี้ได้ง่ายและทั้งให้จําชื่อได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้การเรียกชื่อพรหมในปฐมฌานภูมิ ๓ และภูมิที่เหลืออีก ๑๒ ภูมินั้น จึงมีความแตกต่างกัน

สหัมปติพรหม

ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว มีพรหมองค์หนึ่งมีนามว่าสหัมปติ ได้ลงมาจากพรหมโลกแล้วมาอาราธนาขอให้พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายนั้น มีคําถามว่า พรหมองค์นี้อยู่ในภูมิชั้นไหน? ตอบว่าท้าวสหัมปติพรหมนี้อยู่ในชั้นที่ ๓ ของปฐมฌานภูมิ

มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีภิกษุ ๒ รูป เป็นสหายกัน รูปหนึ่งพอใจในคันถธุระ อีกรูปหนึ่งพอใจในวิปัสสนาธุระ ภิกษุรูปที่พอใจในวิปัสสนาธุระนั้น พยายามเจริญสมถภาวนาอยู่เสมอจนได้ปฐมฌาน เมื่อสิ้นอายุขัยจากมนุษย์แล้ว ก็ได้ไปเกิดในพรหมโลกอยู่ในชั้นที่ ๓ ของปฐมฌานภูมิมีนามว่า สหัมปติ

ส่วนภิกษุรูปที่พอใจในคันถธุระนั้น เมื่อสิ้นอายุแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลก และได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ มีพระนามว่าพระสมณโคดม ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสคาถาวัคคลังยุคดอรรถกถาว่า โส กร กสฺสปสฺส ภควโต สาสเน สหโก นาม เถโร ปฐมฌาน์ นิพพุตเตตวา ปฐมชฺฌานภูมิย์ กปปากพรหมา หุตวา นิพฺพตฺโต ตตฺร นํ สหมปติพรหมาติ สญฺชานนุติ
การแสดงรูปพรหม ๑๖ ชั้น จบ


อรูปาวจรภูมิ ๔

ที่เกิดของอรูปพรหม ทั้งหลาย ชื่อว่า อรูปาวจรภูมิ อีกนัยหนึ่ง ที่เกิดของอรูปาวจรวิบาก ชื่อว่า อรูปาวจรภูมิ
ภูมิเป็นที่เกิดแห่งนามชื่อว่า อรูปาวจรภูมิ

๑. อากาสานญฺจายตนสฺส ภูมิ อากาสานญฺจายตนภูมิ ภูมิเป็นที่ตั้งของอากาสานัญจายตนฌาน ชื่อว่า อากาสานัญจายตนภูมิ
๒. วิญฺญาณญฺจายตนสฺส ภูมิ วิญฺญาณญฺจายตนภูมิ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณัญจายตนฌาน ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนภูมิ
๓. อากิญฺจญฺญายตนสฺส ภูมิ อากิญฺจญฺญายตนภูมิ ภูมิเป็นที่ตั้งของอากิญจัญญายตนฌาน ชื่อว่า อากิญจัญญายตนภูมิ
๔. เนวสญฺญานาสญฺญายตนสฺส ภูมิ เนวสญฺญานาสญฺญายตนภูมิ ภูมิเป็นที่ตั้งของเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

อธิบายว่า ในอรูปภูมิทั้ง ๔ นี้ ถึงแม้จะเรียกว่าภูมิก็จริง แต่ภูมินี้ไม่ปรากฏว่า มีรูปร่างสัณฐานอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะเป็นภูมิที่มีแต่อากาศว่างเปล่าอยู่เท่านั้น สําหรับอรูปพรหมนั้นก็เป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นามขันธ์ ๔ เกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่นนับตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นมา

ประเภทแห่งกับและความเป็นไปแห่งกัปที่ถูกทําลายและกัปที่สร้างขึ้นใหม่


กัปมี ๔ อย่าง คือ

๑. อายุกัป
๒. อันตรกัป
๓. อสงไขยกัป
๔. มหากัป

๑. อายุกับ สมัยใดมนุษย์มีอายุยืนถึงอสงไขยปี หรือลดน้อยลงมาจนถึง ๑๐ ปี เป็นอายุขัยก็ถือเอาตามเกณฑ์อายุของมนุษย์ในสมัยนั้นๆ เป็นอายุกัป ดังเช่นในสมัยพุทธกาล ในสมัยนั้นอายุขัยของมนุษย์มีจํานวน ๑๐๐ ปี ก็นับเอา ๑๐๐ ปีเป็นอายุกัป ต่อมายก็ค่อยๆ ลดน้อยลงจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้อายุขัยของมนุษย์มีจํานวน ๗๕ ปี ก็ถือเอา ๗๕ ปีเป็นอายุกัป ทั้งนี้แล้วแต่จํานวนอายุขัยของมนุษย์ในสมัยนั้นๆ ในเทวภูมิและพรหมภูมิก็เป็นไปเช่นเดียวกันนี้ เช่น ในจาตุมหาราชิกาภูมิที่อยู่ในชั้นนี้มีอายุได้ ๕๐๐ ปีทิพย์ ก็ถือเอา ๕๐๐ ปีทิพย์นั้นเป็นอายุกับของจาตุมหา ราชิกาภูมิและในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมที่อยู่ในชั้นนี้มีกําหนดอายุได้ ๘๔,๐๐๐ มหากัป ก็ถือเอา ๔๔,๐๐๐ มหากัปเป็นอายุกับของพรหมชั้นนี้ ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า

"กปฺปียเต ปริจฺฉิชฺชเตติ กปฺโป" บัณฑิตทั้งหลาย พึงกําหนดอายุของสัตว์ไว้ว่า มีประมาณเท่านี้ๆ เหตุนั้น อายุของสัตว์เหล่านี้จึงเรียกว่า กัป

๒. อันตรกัป การนับอันตรกัปนั้น นับด้วยวิธีดังนี้ คือ ในสมัยต้นกัปนั้นมนุษย์ มีอายุยืนถึงอสงไขยปีเป็นอายุกัป ต่อมาอายุของมนุษย์ค่อยๆ ลดลงตามลําดับ จนกระทั่งอายุ ๑๐ ปีเป็นอายุกัป เมื่อลดลงถึง ๑๐ ปีแล้วก็ค่อยๆ ขึ้นไปอีกจนถึง อสงไขยปีเป็นอายุกับอย่างเก่าอีก นับจากอสงไขยปีลงมาถึง ๑๐ ปี แล้วนับจาก ๑๐ ปีขึ้นไปจนถึงอสงไขยปีเป็นคู่หนึ่งเช่นนี้ เรียกว่า ๑ อันตรกัป

๓. อสงไขยกัป จํานวนอันตรกัปดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น เมื่อครบ ๖๔ อันตรกัปแล้ว นับเป็น ๑ อสงไขยกัป

๔. มหากัป วิธีนับมหากัปนั้น นับ ๔ อสงไขยกัปเป็นหนึ่งมหากัปในจํานวน มหากัปหนึ่งๆ นั้นมีเวลานานมาก จนไม่สามารถประมาณได้ว่าเป็นเวลานานสักเท่าใด ท่านอุปมาเวลานานของมหากัปนี้เหมือนกับว่ามีพื้นแผ่นดินแห่งหนึ่ง กว้าง ๑๐๐ โยชน์ ยาว ๑๐๐ โยชน์ เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดไปกองไว้ให้เต็มพื้นที่นี้ เมื่อครบกําหนดร้อยปี ก็หยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นออกทิ้งเสียเมล็ดหนึ่ง จนกว่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นจะ หมดไปถึงกระนั้นก็ยังไม่ครบจํานวนเวลาของหนึ่งมหากัป นี้ก็เป็นแต่เพียงข้ออุปมา เท่านั้น ส่วนเวลาที่แท้จริงนั้นเหลือที่จะประมาณนับได้ มีวงนัตถะแสดงว่า

"สาสปราโสปมาทีหิ กปฺปียตีติ กปุโป" บัณฑิตทั้งหลายพึงนับความเป็นอยู่แห่งโลกด้วยข้ออุปมาต่างๆ ก็กองเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ฉะนั้นความเป็นอยู่แห่งโลกนั้น ชื่อว่า กัป ได้แก่ มหากัป อีกนัยหนึ่งกัปที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ

๑. สุญญกัป
๒. อสุญญกัป

สุญญกัป หมายถึง กับที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระเจ้าจักรพรรดิอุบัติขึ้น
อสุญญกัป หมายถึง กับที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิอุบัติขึ้น


สุญญกัป ๔
สุญญกัป มี ๔ อย่าง คือ

๑. สุญญมหากัป ได้แก่ มหากัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
๒. สุญญอสงไขยกัป ได้แก่ สังวัฏฏอสงไขยกัป สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป วิวัฏฏอสงไขยกัป
๓. สุญญอันตรกัป ได้แก่ อันตรกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
๔. สุญญอายุกับ ได้แก่ กับในระหว่างที่มนุษย์มีอายุยืนมากกว่าแสนปีขึ้นไป และในระหว่างที่มนุษย์มีอายุน้อยกว่าร้อยปีลงมา


อสุญญกัป ๕
อสุญญกัป มี ๕ อย่าง คือ

๑. สารกับ ได้แก่ มหากัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น หนึ่งพระองค์
๒. มัณฑกัป ได้แก่ มหากัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น สองพระองค์
๓. วรกัป ได้แก่ มหากัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น สามพระองค์
๔. สารมัณฑกัป ได้แก่ มหากัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น สี่พระองค์
๕. ภัททกัป ได้แก่ มหากัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ห้าพระองค์

ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในปทุมุตตรพุทธวังสอรรถกถาว่า

เอโก พุทฺโธ สารกปเป มณฺฑกปฺเป ชินา ทุเว
วรกปฺเป ตโย พุทฺธา สารมณฺเฑ จตุโร พุทฺธา
ปญฺจ พุทฺธา ภทฺทกปฺเป ตโต นตฺถาธิกา ชินา.

มหากัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๖ พระองค์ หรือ ๗ พระองค์ มีหรือไม่ ?
อธิบายว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะอุบัติขึ้นในโลกนั้น ในมหากัปหนึ่งๆ อย่างน้อยที่สุดก็มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเพียง ๑ พระองค์ อย่างมากที่สุดมี ๕ พระองค์ มหากัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมากกว่านี้ย่อมไม่มี ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ ในอนาคตวังสอรรถกถาว่า"น หิ เอกสฺม กปฺเป ฉฏฺโฐ วา สตฺตโม วา อุปฺปชฺชติ" แปลความว่า ในมหากัปหนึ่งๆ พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น ๖ หรือ ๗ พระองค์นั้นย่อมไม่มี


สังวัฏฏอสงไขยกัป คือ กัปที่โลกนี้ถูกทําลาย (โดยพิสดาร)
สังวัฏฏอสงไขยกัป มี ๓ ประเภท คือ

๑. เตโชสังวัฏฏอสงไขยกัป คือ กัปที่โลกนี้ถูกทําลายด้วย ไฟ
๒. อาโปสังวัฏฏอสงไขยกัป คือ กัปที่โลกนี้ถูกทําลายด้วย น้ำ
๓. วาโยสังวัฏฏอสงไขยกัป คือ กัปที่โลกนี้ถูกทําลายด้วย ลม

รวมจํานวนมหากัปที่ถูกทําลายด้วยไฟด้วยน้ำ และด้วยลมนั้น ทั้งหมดมีจํานวน ๖๔ มหากัป บรรดามหากัปทั้ง ๖๔ มหากัปนี้ มหากัปที่ถูกทําลายด้วยไฟมี ๕๖ มหากัป ถูกทําลายด้วยน้ำมี ๗ มหากัป ถูกทําลายด้วยลมมี ๑ มหากัป รวมเป็น ๖๔ มหากัป เรียกว่ามหากัปรอบใหญ่รอบหนึ่ง มหากัปรอบใหญ่รอบหนึ่งนี้ เมื่อแบ่งออกเป็นมหากัปรอบเล็กๆ แล้วได้ ๘ รอบ รอบหนึ่งๆ มีจํานวนมหากัป ๔ มหากัป

มหากัปรอบเล็กรอบที่ ๑ ถูกทําลายด้วยไฟ ๗ มหากัปติดๆ กัน ในมหากัปที่ ๘ นั้นถูกทําลายด้วยน้ำ รวมเป็น ๘ มหากัป เรียกว่ารอบเล็กรอบหนึ่ง

ในรอบเล็กรอบที่ ๒ ถึงรอบที่ ๗ ก็เป็นไปเช่นเดียวกันกับรอบที่ ๑ คือ ใน รอบหนึ่งๆ นั้น ถูกทําลายด้วยไฟ ๗ มหากัป ถูกทําลายด้วยน้ำ ๑ มหากัป เป็นดังนี้ ทุกๆ รอบ จนครบ ๗ รอบ

ในรอบที่ ๘ มหากัปที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ นั้น ถูกทําลายด้วยไฟเช่นเดียวกัน กับในรอบที่ ๑ ถึงรอบที่ ๗ แต่ในมหากัปที่ ๘ ของรอบนี้ถูกทําลายด้วยลม เป็น การทําลายครั้งสุดท้ายของมหากัปที่ ๖๔ ซึ่งนับเป็นมหากัปรอบใหญ่รอบหนึ่ง ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาและสารัตถทีปนีฎีกาว่า มหากัปทีพินาศด้วยไฟ ๗ ครั้ง ครั้งที่ ๘ พินาศ ด้วยน้ำ เวลาใดมหากัป ๖๔ มหากัปครบบริบูรณ์แล้ว เวลานั้น มหากับครั้งที่ ๖๔ นั้นพินาศด้วยลม

มหากัปที่พินาศด้วยไฟนั้น ย่อมพินาศขึ้นไปจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ ที่อยู่ใต้อาภัสสราภูมิซึ่งเป็นชั้นทุติยฌานภูมิลงมา ถ้าพินาศด้วยน้ำๆ ท่วมขึ้นไปถึงทุติยฌาน ภูมิ ๓ ที่อยู่ใต้สุภกิณหาภูมิ ซึ่งเป็นชั้นตติยฌานภูมิลงมา ถ้าพินาศด้วยลม ชั้นตติยฌานภูมิ ๓ ย่อมพินาศด้วย ไปสิ้นสุดลงที่ใต้ชั้นเวหัปผลาภูมิซึ่งเป็นชั้นจตุตถฌานภูมิ ลงมา ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาและสารัตถทีปนีฎีกาว่า

อคฺคินาภสฺสรา เหฏฺฐา อาเปน สุภกิณฺหโต
เวทปฺผลโต วาเตน เอวํ โลโก วินสฺสติ

แปลความว่า โลกเมื่อจะพินาศด้วยไฟนั้น พินาศตั้งแต่ใต้ชั้นอาภัสสราภูมิลงมาเมื่อพินาศด้วยน้ำๆ ท่วมตั้งแต่ใต้ชั้นสุภกิณหาภูมิลงมา เมื่อพินาศด้วยลม พินาศตั้งแต่ใต้ชั้นเวหัปผลาภูมิลงมา โลกย่อมถึงความพินาศด้วยประการฉะนี้

กําหนดเวลาแห่งการพินาศของโลก
โลกในปัจจุบันนี้จัดเป็นวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ก็วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนี้ เมื่อครบ ๖๔ อันตรกัป พร้อมกับการนับอายุของมนุษย์ตั้งแต่มนุษย์มีอายุหนึ่งอสงไขยปี ลงมาจนถึงพันปี เมื่อเวลาทั้ง ๒ นี้มาบรรจบกันเข้าเวลาใดแล้ว เวลานั้นโลกก็ถึง กําหนดเวลาที่จะพินาศลง

เหตุที่ทําให้โลกพินาศ

ธรรมที่เป็นเหตุให้โลกพินาศลงนั้น มี ๓ อย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ สมัย ใดสัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นไปด้วยราคะแล้ว เมื่อถึงคราวพินาศย่อมพินาศ ลงด้วยไฟ เหตุด้วยราคะนั้นร้อนเหมือนไฟ ถ้าในสมัยใดสัตว์ทั้งหลายมีสันดานมาก ด้วยโทสะ เมื่อถึงคราวพินาศย่อมพินาศด้วยน้ำ เหตุด้วยโทสะนั้นร้ายเหมือนน้ำกรด และถ้าสมัยใดสันดานของสัตว์ทั้งหลายหนาไปด้วยโมหะ เมื่อถึงคราวพินาศย่อม พินาศด้วยลม ด้วยเหตุโมหะนั้นเหมือนหนึ่งลมกรด จึงเป็นอันว่าโลกธาตุย่อมพินาศ ลงด้วยเหตุทั้ง ๓ ประการ ดังได้กล่าวแล้วนั้น


โกลาหล ๕
โกลาหล คือเสียงเซ็งแซ่เอิกเกริก มี ๕ ประการ

๑. กัปปโกลาหล เสียงที่ประกาศก้องเอิกเกริกว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเป็น เวลาอีกแสนปี โลกจะถึงความพินาศ
๒. พุทธโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเป็นเวลาอีกหนึ่งพันปี จะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นในโลก
๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงที่ประกาศว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปอีกหนึ่งร้อยปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิมาบังเกิดขึ้นในโลก
๔. มังค โกลาหล เสียงที่ประกาศว่า ภายในระยะเวลาอีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ
๕. โมเนยยโกลาหล เสียงที่ประกาศว่า ภายในระยะเวลาอีก ๗ ปี จะมีผู้ปฏิบัติ โมเนยยะมาบังเกิดในโลก


รายละเอียดเกี่ยวกับโลกที่ถูกทําลายด้วยไฟ

เมื่อถึงคราวที่โลกจะถูกทําลายด้วยไฟนั้น จะมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อว่ากัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้นก่อนแล้วทําให้ฝนตกลงมาทั่วในแสนโกฏิจักรวาล บรรดามนุษย์ทั้งหลายก็พากันชื่นชมยินดี พากันจัดแจงไถและพรวนดิน เสร็จแล้วก็หว่านข้าวกล้าลงในนา พอข้าวกล้าเหล่านั้นแตกงอกงามขึ้นตามลําดับขนาดโคกัดกินได้ กัปปวินาสมหาเมฆนั้นจะบังเกิดเสียงลั่น มีสําเนียงดุจเสียงลาร้อง แต่นั้นมาฝนจะ ไม่ตกลงมาอีกเลย ข้าวกล้าในนาก็ตายหมดด้วยเหตุนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวลาที่มหาเมฆมีเสียงลั่นดุจ เสียงลาร้องนั้น แต่นั้นเป็นต้นไปฝนก็ไม่ตกลงอีกเลยนับเป็นเวลาตั้งร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยนํ้าฝนเลี้ยงชีวิตก็พากันตายลง และไปบังเกิดในพรหมโลกมีปริตตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ อาภัสสราภูมิ สัตว์ทั้งหลายและเทพยดา ที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ เลี้ยงชีวิต ก็จักกระทํากาลกิริยาตายไปบังเกิดในพรหมโลกทั้งหมด เมื่อการได้เป็นไปเช่นนี้ล่วงไปสิ้นเวลาช้านาน บรรดาน้ำที่อยู่ในห้วย ลําธาร บึง บ่อ สระ ก็งวดแห้งลง สัตว์น้ำอันมีเต่า ปลา เป็นต้น ก็พากันตายไปเกิดในพรหมโลกทั้งสิ้น เมื่อบรรดาสัตว์ทั้งหลายพากันตายไปบังเกิดในพรหมโลกนั้น สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน นรกก็ทําลายฉิบหายไปด้วยพร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏขึ้น

ความตอนนี้อาจทําให้เกิดความสงสัย จึงมีข้อปุจฉาถามว่า ธรรมดาสัตว์ ทั้งหลายที่จะไปบังเกิดในพรหมโลกได้นั้น จะต้องอาศัยการบําเพ็ญภาวนากุศล คือ การได้ฌานสมาบัติเสียก่อน ก็ในเวลานั้นสัตว์ทั้งหลายจะได้ฌานสมาบัติก็หามิได้ บางพวกก็ตายด้วยความอดอยาก บางพวกก็เป็นอภัพพบุคคลหาควรแก่ฌานสมาบัติไม่ เหตุไฉนจึงไปเกิดในพรหมโลกได้?

วิสัชนาว่า ไม่ใช่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นไปบังเกิดในพรหมโลกเลยทีเดียว อบายสัตว์เหล่านั้นได้ตายแล้วก็มาเกิดในมนุษย์ก่อน ตายจากมนุษยภูมิแล้วจึงไปเกิด ในสวรรค์ชั่นกามาวจร เมื่อไปเกิดในเทวโลกแล้ว ก็บําเพ็ญฌานไปเกิดยังพรหมโลก อีกทีหนึ่ง การที่เป็นไปได้เช่นนี้ ก็เพราะเหตุว่า เมื่อโลกจะเกิดมีการพินาศขึ้นนั้น สภาวธรรมดาของโลกได้เข้าดลจิตตักเตือนให้เทวดาที่เกิดในชั้นกามาวจรมีชื่อว่า โลกพยุหเทวดา ให้รู้ตัวว่า อีกแสนปีข้างหน้าจะบังเกิดมีกัปปวินาส เทวดาเหล่านั้น จึงพากันร้องไห้ สยายผมแล้วนุ่งห่มด้วยผ้าสีแดง เนตรทั้งสองฟูมฟายไปด้วยน้ําตา ต่างก็ยกมือทั้งสองขึ้นเช็ดน้ําตา มีวรกายอันวิกลควรสังเวช พากันลงมาสัญจรเที่ยว ไปในมนุษยโลกประกาศร้องป่าวว่า ดูกรท่านทั้งหลายผู้จะต้องประสบต่อความ พินาศเสมอเหมือนกัน ตั้งแต่นี้ต่อไปอีกแสนปี จะบังเกิดกัปปวินาสโลกจะฉิบหาย บรรดามหาสมุทร แผ่นดิน ภูเขาจักรวาล และเขาสิเนรุราช จะถูกไฟเผาผลาญให้ เลี่ยนเตียนหมดสิ้น ตลอดล่วงถึงพรหมโลกคือปฐมฌานภูมิ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจง อย่าได้ประมาทมัวเมา จงพากันเจริญจตุพรหมวิหาร มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และจงอุปถัมภ์บํารุงบิดามารดา คารวะผู้เฒ่าผู้แก่ในตระกูลให้เป็นอันดี

การประกาศของโลกพยุหเทวดานี้ กําหนดร้อยปีก็ลงมาประกาศครั้งหนึ่ง อนึ่ง ในการที่โลกพยุหเทวดามาประกาศเตือนสติให้สัตว์ทั้งหลายรู้ตัวเช่นนี้ ก็เพราะเหตุ ด้วยธรรมชาติเข้าดลใจให้พวกเทวดาเหล่านี้รู้ว่าจะมีการทําลายโลกเกิดขึ้น อาจารย์ บางพวกกล่าวว่าเทวดารู้ว่ากับจะวินาศเพราะเล็งเห็นซึ่งอกุศลนิมิตที่เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็กล่าวว่า พรหมทั้งหลายซึ่งได้ฌานสมาบัติ ล่วงรู้เหตุการณ์อันจะเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า จึงใช้ให้เทวดามาป่าวร้องดังนี้ในกาลครั้งนี้ บรรดามนุษย์และเทวดา ทั้งหลายเมื่อได้ยินโลกพยุหเทวดามาประกาศเช่นนั้น ต่างคนต่างก็บังเกิดธรรม สังเวชสลดใจ มีจิตรักใคร่ซึ่งกันและกัน บําเพ็ญการกุศล เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาภาวนา ด้วยอํานาจแห่งการเจริญพรหมวิหารนั้น ครั้นตายแล้วก็ได้ไปบังเกิด ในเทวโลก แล้วก็พากันเจริญวาโยกสิณบริกรรมจนได้ฌานสมาบัติ เมื่อได้ฌานสมาบัติแล้ว เขาเหล่านั้นก็จุติจากสวรรค์ชั้นกามาวจร แล้วจึงไปบังเกิดในพรหมโลก

ส่วนพวกสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ที่มีอกุศลกรรมเบาบาง ก็ได้ ไปเกิดในสวรรค์ ด้วยกําลังกุศลผลบุญอันตนได้กระทํามาแต่ชาติก่อน เพราะสัตว์ ทั้งหลายที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์นี้ที่จะไม่มีกุศลอันเป็นอปราปริยเวทนียกรรม นั้นไม่มีเลย ฉะนั้น ด้วยอํานาจของกุศลอปราปริยเวทนียกรรมนี้เอง ทําให้สัตว์ที่มีกรรมอันเบาบางไปเกิดในเทวโลก เมื่อไปเกิดยังเทวโลกแล้ว ก็เจริญฌานไปเกิดยัง พรหมโลกด้วยกันสิ้น ส่วนพวกที่มีกรรมอันหนัก เช่น พวกนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เมื่อโลกจะทําลายก็จุติจากอบายภูมิในที่ที่โลกทําลาย ไปบังเกิดต่อไปในอบายภูมิใน จักรวาลอื่นที่มิได้ถูกทําลายก็มี

อีกนัยหนึ่ง อาจารย์บางองค์กล่าวว่า เมื่อถึงกาลที่โลกถูกทําลายลง สัตว์นรก ทั้งหลายตลอดจนพวกที่เป็น นิยามิจฉาทิฏฐิ และพวกที่มีสังฆเภทกรรมก็ย่อมพ้น จากอบายได้ในคราวนั้น สัตว์นรกก็ถูกทําลายลงแล้วไปเสวยทุกข์ในนรกที่อยู่ในจักรวาลอื่นอันมิได้ถูกทําลายนั้นไม่มีเลย ท่านให้เหตุผลว่า ถึงแม้บุคคลผู้นั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก จะเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลก็ตาม แต่เมื่อเขาเหล่านั้นตายจากมนุษย์ไปเสวยทุกข์ในนิรยโลก ก็มีความรู้สึกสํานึกตัวขึ้นได้ว่า การที่ตนต้องลงมาเสวยทุกข์อันหนักเช่นนี้ก็เนื่องด้วยอํานาจแห่งความเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิของตนนั้นเอง เมื่อสํานึกได้เช่นนี้สัตว์นรกผู้นั้นย่อมคลายจากทิฏฐินั้นลงไป และการที่สัตว์นรกมีความรู้สึกเช่นนี้ก็ด้วยอํานาจแห่งชาติ สรญาณคือระลึกชาติได้

ดังนั้น เมื่อโลกจะมีการทําลายโลกพยุหเทวดามาประกาศบอกให้รู้ตัวแล้ว สัตว์นรกเหล่านี้ก็พากันทิ้งความเห็นผิดที่เรียกว่านิยามิจฉาทิฏฐิลงโดยสิ้นเชิง เมื่อละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว อํานาจของกุศลที่เป็นอปราปริยเวทนียกรรมที่เคยกระทําบ้างในชาติก่อนๆ ก็ส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้น ขึ้นมาบังเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา แล้ว ก็พากันเจริญฌานต่อไป เมื่อตายจากมนุษย์หรือเทวดาแล้วก็ไปบังเกิดยังพรหมโลก ได้เช่นเดียวกัน


ลําดับการเกิดของดวงอาทิตย์ที่เผาโลก

นับจ่าเดิมแต่โลกธาตุมิได้มีฝนตกลงมาสิ้นกาลช้านาน บรรดาพืชพันธุ์ ธัญญาหารต่างๆ ก็พากันเหี่ยวแห้งตายลงเป็นลําดับ พวกสัตว์ทั้งหลายได้รับความ อดอยากก็ค่อยๆ ตายไปดังกล่าวแล้ว ครั้นต่อมา ถึงเวลากลางคืน ดวงอาทิตย์จะบังเกิดขึ้นอีก ๑ ดวงเป็นดวงที่ ๒ เมื่อดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นเป็น ๒ ดวงนี้ เวลาที่ กําหนดว่าเป็นกลางวันและกลางคืนนั้นหามีไม่ เพราะเมื่อดวงหนึ่งลับขอบฟ้าไปแล้ว อีกดวงหนึ่งก็ปรากฏขึ้น โลกของเราก็ถูกความร้อนแผดเผาอยู่ไม่ว่างเว้น และดวงอาทิตย์ที่ขึ้นมาแผดเผาโลกให้พินาศไปนี้ หาเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ส่องโลกอยู่เป็นประจําไม่ คือไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจําในสุริยวิมานนั้น และมีความร้อนแรงกล้ามากกว่าดวงเดิม ส่วนสุริยเทพบุตรที่อยู่ประจําในสุริยวิมานดวงเดิมนั้นก็เจริญกสิณทําญานให้เกิดขึ้น แล้วก็ไปบังเกิดในพรหมโลก ส่วนสุริยมณฑลวิมานทองนั้นยิ่งมี อํานาจผ่องใส ไพโรจน์ยิ่งกว่าสุริยวิมานที่เป็นปกติ ท้องฟ้าอากาศที่เคยมีเมฆหมอก ปกคลุมอยู่นั้นก็หายไปหมดสิ้น แสงของดวงอาทิตย์นั้นแรงกล้าผ่องใส ราวกับกระจก แว่นเทศ อาศัยด้วยเหตุนี้ แม่น้ําน้อยใหญ่ก็เหือดแห้งไปสิ้นทุกตําบล ยกไว้แต่มหา นทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิ สรภู เท่านั้น

นับแต่ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้นแล้ว เวลาล่วงมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวง ที่ ๓ ก็เกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ ที่กล่าวแล้วนั้นก็เหือดแห้งไปสิ้น ต่อมาอีกช้านานก็เกิดมี ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นดวงที่ ๔ สระใหญ่ทั้ง ๗ สระ คือ สระอโนดาต สระกุณาละ สระ รถการะ สระมัณฑากินี สระสีหปปาตะ สระกัณณมุณฑะ และสระฉัททันตะ น้ำในสระทั้ง ๗ นี้ก็เหือดแห้งไป เมื่อน้ำในสระใหญ่ ๗ สระแห้งไปแล้วดังนี้ น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึกได้ ๘ หมื่น ๔ พันโยชน์ก็ค่อยๆ งวดลงเป็นลําดับไป กาลต่อมาดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ก็เกิดขึ้น น้ำในมหาสมุทรทะเลหลวงก็แห้งหมด จะมีเหลือติดอยู่ เพียงสักองคุลีหนึ่งก็หาไม่ ครั้นนานไปก็บังเกิดดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ขึ้นมา เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิดขึ้น โลกทั้งหลายก็เป็นควันกลุ้มตลบไปด้วยกันหมดทั่วแสนโกฏิ จักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้งหลายก็สิ้นชาติสิ้นยางคือความชุ่มเย็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในสัตตังคุตตรพระบาลีว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันว่า นายช่างหม้อลําดับภาชนะดินดิบเข้าในเตาแล้ว เอาดินฉาบข้างบนแล้วใส่ไฟในเตา บังเกิดเป็นควันกลุ้มตลบไปทั่วเตานั้น มีอุปมาฉันใด ปางเมื่อดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้น เป็นดวงที่ ๖ แล้ว ก็บังเกิดควันกลุ่มตลบไปทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาลนั้นเอง เป็นควัน กลุ่มตลบอยู่ดังนี้เป็นเวลานานนับปีนับเดือนมิได้ จึงบังเกิดดวงอาทิตย์ขึ้นอีกดวง หนึ่งเป็นดวงที่ ๗ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ บังเกิดขึ้นโลกธาตุในแสนโกฏิจักรวาล ก็รุ่งโรจน์โชตนาการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงพิลึกกึกก้องน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก ยอดเขาพระสุเมรุราชจอมจักรวาลต่างๆ ก็หลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายสูญหายไปในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเดิมเกิดแต่มนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วลุกลามขึ้นไปไหม้เอาจาตุมหาราชิกาเทวโลก สังหารซึ่งวิมานเงินวิมานทอง วิมานแก้วยุบยับพินาศไป แล้วลุกลาม ไหม้ไปจนถึงชั้นดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตีเป็นลําดับไป จนกระทั่งถึงปฐมฌานภูมิ ๓ คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา แล้ว ก็หยุดอยู่เพียงนั้น

บรรดาสังขารโลกทั้งปวงมีแผ่นดินเป็นอาทิ ก็ไหม้เป็นจุณวิจุณไป อุปมาดัง เพลิงไหม้น้ำมันเนยและน้ำมันงาสิ้นแล้ว ก็หามีเถ้าถ่านเหลืออยู่ไม่ ฉันใด เพลิงที่ล้างโลก ไหม้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ก็สูญสิ้นหาเชื้อมิได้ฉันนั้น ถ้าเชื้อยังมีเหลือค้างอยู่แม้แต่ เท่าอณูอยู่ตราบใด ไฟประลัยก็ยังไหม้อยู่ตราบนั้น จนกว่าสรรพสังขารทั้งหลายไหม้ สิ้นไม่มีเหลือแม้แต่เท่าอณูแล้ว อันว่าเตโชธาตุที่เผาโลกให้พินาศนั้นก็ดับ อากาศใน เบื้องต่ำกับอัชฎากาศเบื้องบนก็ตลอดโล่งถึงกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บังเกิดความมืดมนอนธการช้านานนักหนา


การก่อตัวขึ้นใหม่ของจักรวาล

เมื่อโลกสันนิวาสถึงซึ่งความพินาศ อากาศเนื่องเป็นอันเดียวกันแล้ว จึงบังเกิดโลกสัณฐาน ในขณะนั้นมีเมฆตั้งขึ้นเรียกว่า มหาเมฆ แล้วฝนก็ตกลงมาทั่วในที่ที่ถูกไฟทําลายไปนั้นในชั้นแรกเม็ดฝนนั้นยังไม่ใหญ่ มีประมาณเท่าหยาดน้ำค้างอันละเอียด ฝนที่ตกเพื่อจะสร้างโลกในตอนแรกก็ฉันนั้น ตกอยู่เช่นนี้เป็นเวลานาน เม็ดฝนนั้นก็ใหญ่ขึ้นโดยลําดับ เดิมนั้นเท่าหยาดน้ำค้างแล้วค่อยๆ โตขึ้นเท่าเมล็ดงา เมล็ดข้าว เมล็ดถั่ว แล้วเท่าก้านดอกโกมุท เท่าไม้เสา ไม้สากตําข้าว เท่าลําตาล เต็มไปใน แสนโกฏิจักรวาลสิ้นที่ไฟไหม้จนถึง ทุติยฌานภูมิ และจะเกิดลมพัดขึ้นข้างใต้รองรับ น้ำฝนไว้มิให้รั่วลงไปได้ในเบื้องต่ำประดุจว่าหยาดน้ำในใบบัว อํานาจของลมที่พัดอย่างแรงกล้าจะพัดแทรกน้ำขึ้นมา กระทําให้น้ำงวดเป็นแท่งเข้างวดลงมาเบื้องต่ำแล้ว โดยลําดับๆ เมื่อน้ำงวดลงมาถึงที่พรหมโลกๆ ก็ตั้งขึ้น เมื่องวดลงมาถึงที่กามาวจร เทวโลกทั้ง ๔ ชั้น คือ ปรนิมมิตวสวัตตี นิมมานรดี ดุสิต ยามา ทั้ง ๔ ชั้นนี้ ตั้งอยู่ แต่ชั้นดาวดึงส์กับจาตุมหาราชิกา ยังมิได้ตั้งขึ้น ด้วยเหตุว่าเทวโลกทั้ง ๒ ชั้นนี้ตั้งอยู่ ที่เขาสิเนรุ และเขาสิเนรุนี้เกี่ยวเนื่องติดต่อกับพื้นแผ่นดิน เมื่อพื้นแผ่นดินยังไม่เกิด เขาสิเนรุราชก็เกิดไม่ได้ เมื่อน้ำฝนงวดลงมากระทั่งถึงที่เกิดแห่งพื้นแผ่นดิน จึงบังเกิดมีลมกําลังแรงกล้าพัดมาโดยรอบ หวนหอบกลัดน้ำเข้าไว้โดยรอบมิให้ไหล ไปมาได้ อุปมาเหมือนน้ำในธมกรกฉะนั้น ต่อมาน้ำนั้นก็ค่อยๆ งวดแห้งลงจนเกิด เป็นตะกอนจับกันเข้า กลายเป็นแผ่นดินลอยอยู่เหนือน้ำ ดุจดังใบบัวลอยอยู่บนน้ำ แผ่นดินนี้มีสีเหลืองเหมือนดอกกรรณิการ์ มีกลิ่นหอม มีรสหวาน เรียกว่ารสแผ่นดิประดิษฐานอยู่เหนือน้ำ

บรรดาพื้นแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งประเทศทั้งหลายนั้น แผ่นดินซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งแห่งโพธิบัลลังก์นั้น คราวเมื่อจะทําลายก็ทําลายภายหลัง คราวเมื่อจะตั้งขึ้นก็ตั้งขึ้นก่อนที่ทั้งปวง ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า ศีรษะแผ่นดิน ด้วยอรรถว่าเป็น ประธานแก่พื้นชมพูทวีปประเทศที่นั้นเป็นที่อัศจรรย์ มีกอบัวกอหนึ่งผุดขึ้นก่อนเป็น บุพนิมิต ถ้าว่าอสงไขยกัปนั้นจะมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด บัวกอนั้นก็มีดอก ถ้าเป็นสุญญกัปไม่มีพระพุทธเจ้า บัวก็ไม่มีดอก ถ้าพระพุทธเจ้าจะบังเกิดพระองค์เดียว บัวก็มีดอกเดียว บังเกิด ๒ องค์ก็มี ๒ ดอก ๓ องค์ก็มี ๓ ดอก ๔ องค์ก็มี ๔ ดอก ๕ องค์ก็มี ๕ ดอกเป็นกําหนดครั้งนั้นจะได้เห็นได้รู้ก็แต่มหาพรหมพวกเดียว ผิว่าท้าวมหาพรหมได้เห็นดอกบัวก็รื่นเริงบันเทิงใจ ถ้าแลไปมิได้เห็นก็เกิดสังเวชสลดใจ เปล่งวาจาว่าชาวเราทั้งหลาย โลกจักฉิบหายหาที่พึ่งมิได้แล้วประทีปแก้วจะไม่มีส่อง โลกแล้วก็พากันเศร้าโศกสลดใจ

ในสมัยเมื่อแผ่นดินตั้งขึ้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่ได้ไปบังเกิดในชั้นอาภัสสราภูมิ นั้นบางจําพวกสิ้นบุญสิ้นอายุ จุติลงมาด้วยอุปปาติกะกําเนิด หมู่มนุษย์ทั้งหลายพวก นั้นมีเพศเหมือนพรหม หาเป็นหญิงเป็นชายไม่ ประกอบด้วยรัศมีแห่งร่างกายมีแสง รุ่งเรือง สว่างเหาะเหินเดินอากาศได้ เที่ยวไปในเวหาเป็นสุขอยู่สิ้นกาลช้านาน ครั้น นานมาคนหนึ่งในจํานวนเหล่านั้นเกิดมีความโลภขึ้น ด้วยแลเห็นแผ่นดินมี สีสันงดงาม มีกลิ่นหอม ก็นึกอยากจะลองลิ้มรสดูว่าจะมีรสเป็นประการใด จึงหยิบดินนั้นขึ้นมา นิดหนึ่ง วางลงที่ปลายลิ้นของตน แต่พอถึงปลายลิ้นรสดินนั้นก็แผ่ซาบซ่านไปทั่ว สรรพางค์กาย บังเกิดรสอร่อยเป็นที่ชอบใจยิ่งนัก เกิดตัณหาเข้าครอบงําา ก็บริโภคดินนั้นเรื่อยๆ ไป คนอื่นๆ แลเห็นดังนั้นก็พากันเอาอย่าง ลองชิมดูรสแผ่นดินเมื่อ รู้จักรสแล้วก็เกิดตัณหาพากันบริโภครสแผ่นดินสิ้นทุกคน แต่นั้นมารัศมีกายก็ อันตรธานหายไป บังเกิดความมืดมนอนธการไปทั่ว คนทั้งหลายก็มีความสะดุ้งตกใจ กลัวเป็นกําลัง ในลําดับนั้นก็บังเกิดดวงอาทิตย์มีปริมณฑลได้ ๕๐ โยชน์ปรากฏใน อากาศเวหา มีรัศมีสว่างส่องทั่วไป

ฝ่ายมนุษย์ทั้งหลายได้เห็นวิมานทองส่องโลกลอยอยู่ในท้องฟ้า ก็บังเกิดความโสมนัส เปล่งวาจาออกด้วยใจชื่นชมยินดีว่า เทพยดาเจ้าพระองค์นี้มีรัศมีอันสว่าง มีปกติยังสุขภาพแกล้วกล้าให้บังเกิดแก่เราทั้งหลาย สุริยมณฑลวิมานทองนั้นจึงมีนาม ว่าพระสุริยะ สืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ ในเมื่อพระสุริยวิมานส่องสว่างแล้ว อัสดง คตโลกก็กลับมีดไปดังเก่า ประชาชนทั้งปวงก็กลับสะดุ้งตกใจกลัวไปอีก พากันพูดจา ปรารภว่า พวกเราทั้งหลายจะทําไฉนดี พระสุริยเทวบุตรผู้เป็นที่พึ่งของเราจากไปไม่ เห็นแล้ว ทําไฉนจึงจะได้ที่พึ่งอันจะส่องสว่างต่อไปอีกเล่า เมื่อคนทั้งหลายมีความ วิตกปรารภกันเช่นนี้แล้ว ราวกับว่าธรรมชาตินั้นจะรู้ใจคนเหล่านั้น ดวงจันทร์ วิมานมีปริมณฑล ๔๙ โยชน์ ก็บังเกิดขึ้นในอากาศ ประชาชนทั้งหลายก็พากัน ชื่นชมโสมนัส จึงตั้งนามว่า จันทรเทวบุตร ในเมื่อพระอาทิตย์ พระจันทร์ ปรากฏมี ในโลกธาตุแล้ว ลําดับนั้นหมู่นักขัตดาราก็เกิดขึ้น ตั้งแต่นั้นมาก็บังเกิดเป็นกลางวัน กลางคืน ปีเดือน ทุ่มโมง ต่อๆ กันมา และในวันที่พระอาทิตย์พระจันทร์เกิดขึ้นนั้น เขาพระสุเมรุ เขาจักรวาล เขาหิมพานต์ ท้องมหาสมุทร ก็เกิดร่วมวันพร้อมกันทั้ง 5 อย่างในวันเพ็ญเดือน ๔


จึงมีคําปุจฉาว่า สภาวะสิ่งทั้งปวงมีแผ่นดินและภูเขา เมื่อบังเกิดขึ้นนั้น บังเกิดขึ้นอย่างไร?

วิสัชนาว่า เมื่อสภาวโลกบังเกิดขึ้นนั้น เปรียบเหมือนอย่างบุคคลหุงข้าวฟ่าง ธรรมดาข้าวฟ่างที่หุงนั้น ย่อมเดือดปุดขึ้นเป็นฟองพร้อมกันคราวเดียว ตําแหน่งที่ฟองข้าวปุดขึ้นนั้น ลางแห่งก็สูงนูนขึ้นเป็นหย่อมๆ ลางแห่งก็ยุบพร่องลงไป ลางแห่งก็เสมอๆ กัน มีอุปมาฉันใด โลกธาตุที่ตั้งขึ้นก็มีอุปไมยดังนั้น สถานที่ที่เป็นจอม สูงก็เกิดเป็นภูเขา ที่ที่ลุ่มก็เกิดเป็นห้องมหาสมุทร ที่ที่เสมอกันก็เป็นทวีปใหญ่ ทวีป น้อยตามลําดับ

เมื่อสัตว์ทั้งหลายอันรสตัณหาเข้าครอบงํา และชวนกันกินซึ่งรสแผ่นดินนั้น บางหมู่ก็มีสีสันวรรณะผุดผ่องใส บางหมู่ก็มีฉวีวรรณชั่ว เป็นที่ดูหมิ่นดูแคลนของ คนที่มีฉวีวรรณผ่องใส บาปธรรมทั้ง ๒ คือ สักกายทิฏฐิและมานะซึ่งเป็นต้นเหตุเป็น ปัจจัยที่จะยังโลกให้แปรปรวนก็บังเกิดขึ้น เมื่อบาปธรรมทั้ง ๒ บังเกิดแรงกล้า รส แผ่นดินที่เป็นอาหารหวานอร่อยนั้นก็สูญหายไป แผ่นดินก็กลายเป็นสะเก็ด แต่ว่า สะเก็ดดินนั้นมีกลิ่นหอมและมีรสเป็นอาหารแห่งมนุษย์ ครั้นว่าสันดานของคนนั้น หนาไปด้วยบาปธรรม สะเก็ดดินนั้นก็อันตรธานหายไปอีก ในลําดับนั้นเครือดินจึง บังเกิดขึ้น เมื่อเครือดินสูญหายไป ข้าวสาลีขาวก็งอกขึ้นเอง ไม่มีไม่มีลีบ มีกลิ่น หอมเป็นรวงข้าวสาลีขึ้นทีเดียว มนุษย์ทั้งหลายก็ไปรูดเก็บเอามาหุงกินสืบไป สุดแท้ แต่กินเวลาเช้า เวลาเย็นก็เป็นต้นขึ้นอีก การหุงต้มก็ไม่ยากลําบากอะไร รูดข้าวเอา ไปใส่ภาชนะแล้วก็เอาไปตั้งลงไว้เหนือแผ่นศิลาแล้วก็เดือดสุกไปเอง อนึ่ง อาหาร แห่งมนุษย์ครั้งนั้นก็ไม่ต้องมีกับข้าว เครื่องแกล้มอะไรเลย เมื่อมีความพอใจในรสใดข้าวสุกก็เป็นรสนั้น ในข้อที่มนุษย์รับประทานอาหารอย่างนั้น เป็นอาหารที่ต้องย่อย ก็เกิดเป็นสูตรและกรีบขึ้น ด้วยเหตุว่าเดิมทีมนุษย์ทั้งหลายเมื่อยังรับประทานรสแผ่นดิน สะเก็ดดิน และเครือดินอยู่นั้น เหมือนกันกับสุธาหาร บรรเทาเสียได้ซึ่งความอยาก ยังรสสิ่งเดียวให้บังเกิดขึ้น ครั้นเมื่อมารับประทานอาหาร ซึ่งรสอาหารคือข้าวสุก เป็นวัตถุหยาบ อุจจาระ ปัสสาวะ ก็บังเกิด เมื่อมีอุจจาระ ปัสสาวะ ปากแผลเป็นที่ไหลออกแห่งสูตรและกรีษนั้นก็แตกออกเป็นอวัยวะเพศทั้ง ๒ เกิดขึ้นตามตําแหน่ง ที่ใครเคยเป็นชายก็เป็นชาย ใครเคยเป็นหญิงก็เป็นหญิงไป ดังนี้

เดิมทีที่พวกพรหมทั้งหลาย เมื่อหมดบุญแล้วจุติลงมาเกิดในมนุษยโลกนั้น อุปจารสมาธิที่ต่อเนื่องมาในสันดานตั้งแต่ครั้งอยู่ในพรหมโลกนั้นยังมีอยู่ คือข่มไว้ซึ่งกามราคะมิให้บังเกิดขึ้นได้ เมื่อมาอาศัยซึ่งอินทรียรูปคืออิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์มี ขึ้นแล้วจึงเป็นที่บังเกิดแห่งกามราคะ เมื่อกามราคะบังเกิดแล้ว อุปจารสมาธิก็ขาด จากสันดานแห่งสัตว์ทั้งปวง เมื่ออุปจารสมาธิขาดจากสันดานแล้ว ก็เป็นโอกาสแห่งกามคุณเกิดมากขึ้นและเมื่ออิตถีภาวะและปุริสภาวะอันเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งกาม ราคะนั้นบังเกิดมีขึ้นแล้ว ทั้งหญิงทั้งชายก็พิศเพ่งเล็งแลดูซึ่งกันและกันไปมา ต่างคนต่างก็กระวนกระวายด้วยราคะดํากฤษณา ตั้งแต่นั้นมนุษย์ทั้งหลายก็ต้องเสพซึ่งเมถุนธรรม การเสพซึ่งอสัจธรรมเป็นเหตุมนุษย์ทั้งหลายก็ต้องขวนขวายแสวงหาซึ่ง เคหสถาน เมื่อคนทั้งหลายครอบครองเหย้าเรือนขึ้นดังนั้น คนที่เกียจคร้านก็เกิดขึ้น กระทําการสะสมข้าวสาร คือขึ้นไปรูดเอาข้าวสารมาไว้คราวหนึ่งมากๆ ใส่ไว้ใน ภาชนะให้เต็ม คนอื่นได้เห็นเยี่ยงอย่างก็ทําตามกันเป็นจํานวนมาก เวลานั้นข้าวสาลี ก็มีเปลือกมีรําขึ้น ข้าวที่รูดที่เกี่ยวแล้วก็สาบสูญหายไป จะได้กลับงอกขึ้นเหมือน อย่างแต่ก่อนก็หามิได้ ขณะนั้นคนทั้งหลายต่างก็พากันเป็นทุกข์ทอดถอนใจใหญ่ ปรารภกันว่า พวกเราทั้งหลาย ลามกทํากรรมอันชั่วบังเกิดขึ้นแก่ตัวเราและท่าน ทั้งปวงแล้วแต่ก่อนพวกเราทั้งหลายได้รับความสบายด้วยเหตุว่ามีปีติเป็นอาหาร จะ ไปไหนมาไหนก็เหาะไปได้ดังใจนึก ได้รับความเจริญมาช้านาน ครั้นต่อมาๆ กินซึ่ง รสตินแล้วมากินสะเก็ดดินและเครือดิน ความเจริญนั้นก็เสื่อมไปจนกระทั่งถึงกินข้าวสาลีเป็นอาหาร แต่ก่อนนี้คันธรสสาลีไม่มีเปลือกไม่มีราเก็บกินเวลาเย็น เช้าก็งอกดังเก่า มาบัดนี้สารพัดที่จะแปรปรวนไปสิ้น นานไปเราจะหากินลําบาก ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายจงมาแบ่งปันข้าวสาลีนั้นให้เป็นส่วนเป็นเขตกันไว้เถิด แล้วก็จัดแจงแบ่งปันกันเป็นส่วนเป็นเขต ต่อมาจึงเกิดมีบุรุษชาติคนโฉดประกอบด้วยใจอกุศลเข้า มาลักขโมยเอาส่วนของผู้อื่น อันเจ้าของมิได้ให้ด้วยกายและวาจา เมื่อเจ้าของเขาจับได้เขาก็ตัดพ้อต่อว่าแล้วก็ปล่อยตัวไป แต่กระทําอทินนาทานการบาปมาเช่นนี้เป็นเวลานาน พอเขาจับได้เป็นครั้งที่ ๓ เขาก็กลุ้มรุมกันทุบตีด้วยไม้ค้อนก้อนดินแล้วก็ปล่อยไป ตั้งแต่นั้นมาการลักขโมยก็บังเกิดมีขึ้น การครหาติเตียนกันก็บังเกิดขึ้น มุสา ก็เกิด สินไหมและอาชญาก็บังเกิด ประชาชนมีความคับแคบขึ้น จึงประชุมปรึกษา พร้อมกันว่า เวลานี้สัตว์ทั้งหลายที่ลามกใจบาปหยาบช้ามีมากขึ้น เราทั้งหลายจะนิ่ง อยู่เสียมิได้ จะต้องจัดแจงตั้งตําแหน่งหน้าที่กันขึ้น บรรดาพวกเราทั้งหลายนี้เห็นว่า ผู้ใดมีสติปัญญาควรจะว่ากล่าวลงโทษได้ ก็พึงลงโทษ หรือขับไล่เสียจึงจะมีความผาสุก ส่วนท่านทั้งปวงนี้มีหน้าที่เป็นคนส่งส่วยข้าวสารคนละสัดจึงจะควร เมื่อปรึกษา พร้อมกันฉะนี้แล้วก็พากันเที่ยวแสวงหาบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนั้น

ในต้นภัทรอสงไขยกัปนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราบังเกิดเป็นโพธิสัตว์มีรูปร่างกํายําแข็งแรง มีสติปัญญา มีท่วงทีกิริยาเป็นที่เกรงขาม สามารถจะปกครองว่ากล่าวสั่งสอนคนทั้งปวงได้ คนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันไปสู่สํานักแห่งพระโพธิสัตว์เชื้อเชิญให้รับอาราธนา แล้วกระทําการราชาภิเษก ถวายพระนามว่า พระเจ้าขัตติยมหาสมมุติเทวราช เมื่อประชาชนจัดแจงแต่งตั้งพระเจ้าขัตติยมหา สมมุติราชเสร็จเรียบร้อย คนบางพวกก็เกิดปริวิตกไปว่า บาปธรรมอกุศลกรรมนี้ บังเกิดปรากฏมีแก่เราและสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพวกเราทั้งหลาย จงมาลอยซึ่งบาปนั้นเสียบ้างเถิด คนเหล่านั้นก็เห็นพร้อมด้วยแล้วก็พากัน เข้าป่าสร้างบรรณศาลาอาศัยอยู่ มีปกติเที่ยวไปในหมู่บ้านเพื่อขออาหารเขากิน คนเหล่านั้นก็ได้ชื่อว่า พราหมณ์ ด้วยเหตุว่าคิดอ่านจะลอยเสียซึ่งลอยบาปเมถุนธรรม คนจําพวกใดพอใจเสพซึ่งเมถุน คนจําพวกนั้นก็วุ่นวายไปด้วยการทํามาหากิน มีการทำกสิกรรม เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย เรียกว่าพ่อค้า ชาวนา คนจําพวกใดไม่พอใจจะเบียด เบียนใครๆ ประพฤติตนหาเลี้ยงชีพโดยบริสุทธิ์ก็เรียกว่า กรรมกร สืบมาจนทุกวันนี้

กําหนดอสงไขยกัปทั้ง ๔
กําหนดตั้งแต่กัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้นแล้วไฟไหม้ จนกระทั่งไฟดับ ชื่อว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
ตั้งแต่ขาดเปลวไฟจนถึงฝนตกเต็มในที่ไฟไหม้ ชื่อว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
ตั้งแต่ฝนตกเต็มไปทั่วแสนโกฏิจักรวาล จนถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ บังเกิดขึ้น ชื่อว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป
ตั้งแต่พระอาทิตย์ พระจันทร์บังเกิดขึ้น จนถึงกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้นอีก ชื่อว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป มีประการดังนี้

การทําลายโลกด้วยไฟและการสร้างโลก จบ


โลกถูกทําลายด้วยน้ำ

การทําลายโลกด้วยน้ำนั้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับการทําลายด้วยไฟ มีข้อที่แปลกกันอยู่ว่า เมื่อตอนที่กัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้นแล้วมีฝนตกลงมาพอให้ได้ ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารแล้ว แต่นั้นมาฝนก็หยุดไม่ตกอีกต่อไป สําหรับการทําลายโลกด้วยน้ำนี้ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มี ขารุทกมหาเมฆ คือมหาเมฆ น้ำกรดเกิดขึ้นแทน และมหาเมฆน้ำกรดนี้ก็ตกเป็นฝนลงมา ครั้งแรกก็ตกอย่างละเอียดก่อน แล้วก็ค่อยๆ ตกเม็ดใหญ่ขึ้นเป็นลําดับ เต็มไปทั่วแสนโกฏิจักรวาล พื้นพสุธามหาบรรพตทั้งปวงเมื่อต้องฝนน้ำกรด ก็ทนทานมิได้แหลกละลายเป็นจุณวิจุณไปสิ้น ดุจดังก้อนเกลือที่ทิ้งลงไปในน้ำ ฉะนั้น แล้วเกิดมีลมพัดห่อหุ้มหอบน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฏิจักรวาล น้ำที่ทําลายโลกนั้นท่วมขึ้นไปถึงกามา วจรเทวโลก ๖ ชั้น แล้วล่วงขึ้นไปถึงชั้นรูปพรหม ๖ ชั้น มากกว่าเมื่อทําลายด้วยไฟ ๓ ชั้น ไปหยุดอยู่ใต้ชั้นสุภกิณหา บรรดาสังขารทั้งหลายแหลกละลายไปสิ้น มาตรว่ายัง มีเหลืออยู่แม้แต่เท่าอณูแล้ว น้ำกรดนั้นก็ยังคงมีอยู่ต่อเมื่อเชื้อนั้นสูญสิ้นแล้ว น้ำกรดนั้นก็ยุบแห้งอันตรธานหายไป อากาศเบื้องบนกับอากาศเบื้องต่ำก็เนื่องกัน เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเมื่อคราวที่โลกจะตั้งขึ้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันกับที่ได้แสดงมาแล้ว แต่คราวที่ทําลายด้วยน้ำนี้ เมื่อตั้งขึ้นใหม่ก็ตั้งขึ้นตั้งแต่อาภัสสราภูมิลงมา สัตว์ทั้งหลายก็จุติจากชั้นสุภกิณหาต่อๆ ลงมาเป็นลําดับ ต่อจากนี้ก็ เป็นไปเช่นเดียวกันกับการสร้างขึ้นของโลก เมื่อทําลายด้วยไฟ อันว่าการทําลายโลก ด้วยนํ้าและการตั้งขึ้นของโลกก็มีด้วยประการดังนี้

กําหนดนับเวลาตั้งแต่กัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น แล้วฝนน้ำกรดซึ่งทําลายโลกตกลงมา จนกระทั่งฝนนั้นอันตรธานหายไป เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป ตั้งแต่ฝนทําลายโลกขาดหายไปจนกระทั่งถึงมหาเมฆที่จะให้บังเกิดโลกตั้งขึ้น และฝนที่สร้างโลกตกลงมาเต็มแสนโกฏิจักรวาลท่วมถึงที่ทําลายด้วยน้ำนั้น เรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ตั้งแต่ฝนตกเต็มที่แล้วค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งบังเกิดดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ขึ้นเรียกว่าวิวัฏฏอสงไขยกัป ตั้งแต่บังเกิดดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงเวลาที่กัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้นอีก เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป และ อสงไขยกับทั้ง ๔ นี้มีระยะเวลานานเสมอกัน รวมนับเป็น ๑ มหากัป

การทําลายโลกด้วยน้ำ จบ


โลกถูกทําลายด้วยลม

การทําลายโลกด้วยลม ก็เป็นไปเช่นเดียวกันกับการทําลายด้วยไฟ ต่างกันอยู่ ในตอนที่เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น บันดาลให้ฝนตกลงทั่วแสนโกฏิจักรวาลแล้วก็หยุดไป สําหรับในการทําลายโลกด้วยลมนี้ ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ มิได้เกิดขึ้น แต่บังเกิดลมขึ้นแทนชื่อ วาโยสังวัฏฏะ คือลมทําลายโลกให้พินาศไป ลมนี้ในชั้นแรก เริ่มพัดเรื่อยๆ อ่อนๆ พอพัดธุลีละอองอันละเอียดๆ ให้ฟังขึ้นแล้ว ลมนั้นก็ค่อยๆ พัดแรงกล้าขึ้น พัดเอาก้อนศิลาน้อยใหญ่ พัดถอนต้นไม้น้อยใหญ่ และภูเขาต่างๆ ให้เลื่อนลอยไปในอากาศ ไปกระทบกระทั่งกันแหลกละเอียดสูญหายไปในอากาศ จะได้กลับตกลงมานั้นหามิได้ ต่อมามีลมจําพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกําลัง แรงมาก พัดให้แผ่นดินพลิกขึ้น แล้วก็ชัดขึ้นไปบนอากาศพื้นพสุธาอันหนาได้ ๒ แสน ๔ หมื่นโยชน์นั้น ก็แยกออกเป็นท่อนๆ ท่อนละร้อยโยชน์บ้าง สี่ร้อยโยชน์บ้าง กระทบกันแหลกละเอียดเป็นจุณวิจุณไป แล้วพัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาหิมพานต์ เขาจักรวาล และอากาศวิมาน กามาวจรเทวโลกในแสนโกฏิจักรวาล ให้เลื่อนลอยขึ้นไปกระทบประหารซึ่งกันและกันย่อยยับสูญหายไปในอากาศ ลมนั้น จะพัดตั้งแต่มนุษยโลกขึ้นไปจนถึงรูปาวจรตติยฌานภูมิพินาศไปด้วยลมทั้งสิ้น ลมประลัยโลกนี้เมื่อสังหารโลกในเบื้องต่ำ ตั้งแต่อัชฎกาศขึ้นมาจนล่วงสิ้นพรหมโลก ๙ ชั้น คือ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ แล้วก็หยุดอยู่เพียงนั้น ลมประลัยโลกนี้พัดประหารสรรพสิ่งทั้งปวง จนกระทั่งน้ำรองแผ่นดินและลมรองน้ำให้วินาศสาบสูญไปสิ้นแล้ว ลมนั้นก็หายสาบสูญสงบไปเอง อากาศเบื้องบนและอากาศ เบื้องต่ำก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมน อนธการอยู่ทั่วไป

เมื่อถึงคราวจะตั้งโลกขึ้น ก็บังเกิดมีมหาเมฆสําหรับจะให้บังเกิดโลกใหม่ขึ้น แล้วก็ยังห่าฝนให้ตกลงเต็มไปทั่วแสนโกฏิจักรวาล ให้น้ำท่วมขึ้นไปจนถึงที่ที่พินาศ ด้วยลม แล้วน้ำนั้นก็ค่อยๆ แห้งลดลงมาตามลําดับ โลกที่ปรากฏตั้งขึ้นก็ตั้งขึ้นตั้งแต่ ชั้นสุภกิณหาพรหมลงมาโดยลําดับ สัตว์ที่จะจุติลงมาเกิด ก็จุติจากชั้นเวหัปผลาพรหมต่อๆ ลงมา ความต่อจากนี้ก็ดําเนินไปตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้น

กําหนดนับเวลาตั้งแต่กัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น จนกระทั่งถึงลมที่ทําลายโลกนั้นสงบ ชื่อว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป ตั้งแต่ลมสงบจนกระทั่งถึงฝนตกเต็มในที่ที่ลมทําลาย ชื่อว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ตั้งแต่น้ำท่วมเต็มที่จนกระทั่งบังเกิดมีดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ชื่อว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป ตั้งแต่บังเกิดดวงอาทิตย์ดวงจันทร์เป็นต้นมา จนกระทั่งบังเกิดกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้นอีกชื่อว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

อสงไขยกับทั้ง ๔ นี้มีระยะเวลานานเท่าๆ กัน คืออสงไขยกัปหนึ่งๆ ถ้าจะ นับเข้าด้วยอันตรกัปนั้นได้ ๖๔ อันตรกัป รวมทั้ง ๔ อสงไขยกับได้อันตรกัป ๒๕๖ อันตรกัป นับเป็น ๑ มหากัป

การทําลายโลกด้วยลม จบ

ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว


พิมพ์