วีถิสังคหะ

วีถิสังคหะ

ปริยัติธรรม

ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๔ วีถิสังคหะ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ

วิถีสังคหะ

อธิบายขยายความในวิถีสังคหะ

ปวัตติสังคหะ การรวบรวมความเป็นไปแห่ง จิต เจตสิก ในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล รวมทั้งภูมิและบุคคล ตามสมควร, ปฏิสนธิกาล คือ อุปปาทักขณะ ของปฏิสนธิจิต, ปวัตติกาล คือ ตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต เป็นต้น จนถึงจิตที่เกิดก่อนจุติจิต หรือตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา จนถึงฐีติขณะของจุติจิต (ภังคักขณะของจุติจิต เรียกว่าจุติกาล)

ภูมิ ๓๑ ภูมิ คือ กามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๖ อรูปภูมิ ๔ ภูมิที่เกี่ยว กับวิถีจิต มี ๓๐ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ), ภูมิ ๓๑ ภูมินั้น ท่านแสดงไว้แล้ว ในภูมิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕


บุคคล ๑๒ คือ

๑. ทุคคติอเหตุกบุคคล
๒. สุคติอเหตุกบุคคล
๓. ทวิเหตุกบุคคล
๔. ติเหตุกปุถุชน
๑-๔ รวมกันเรียกว่า ปุถุชน ๔

๕. โสดาปัตติมรรคบุคคล
๖. โสดาปัตติผลบุคคล (พระโสดาบันบุคคล)
๗. สกทาคามิมรรคบุคคล
๘. สกทาคามิผลบุคคล (พระสกทาคามีบุคคล)
๙. อนาคามิมรรคบุคคล
๑๐. อนาคามิผลบุคคล (พระอนาคามีบุคคล)
๑๑. อรหัตตมรรคบุคคล
๑๒. อรหัตตผลบุคคล (พระอรหันตบุคคล)
๕-๑๒ เรียกว่า พระอริยบุคคล ๘ จําพวก

บุคคลเหล่านี้จะปรากฎชัด ตอนที่จําแนกวิถีจิตโดยบุคคล


แสดงฉักกะ ๖ อย่างๆ ละ ๖ และองค์ธรรม ในวิถีสังคหะ ดังนี้คือ

วัตถุจักกะ วัตถุ ๖ คือ
๑. จักขุวัตถุ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตวัตถุ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
๓. ฆานวัตถุ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาวัตถุ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายวัตถุ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖. หทัยวัตถุ องค์ธรรมได้แก่ หทยวัตถุรูป

ทวารฉักกะ ทวาร ๖ คือ
๑. จักขุทวาร องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตทวาร องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
๓. ฆานทวาร องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๕. ชิวหาทวาร องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายทวาร องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖. มโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิต ๑๙

อารัมมณฉักกะ อารมณ์ ๖ คือ
๑. รูปารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ สีต่างๆ
๒. สัททารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ
๓. คันธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๔. รสารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ รสต่างๆ
๕. โผฏฐพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เย็น ร้อน, อ่อนแข็ง, หย่อนตึง
๖. ธัมมารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน บัญญัติ

วิญญาณฉักกะ วิญญาณ ๖ คือ
๑. จักขุวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒
๒. โสตวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒
๓. ฆานวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒
๔. ชิวหาวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๕. กายวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒
๖. มโนวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ จิต ๗๙ ที่เหลือ


วิถีฉักกะ วิถีมี ๖

ว่าโดยทวาร มี ๖ คือ
๑. จักขุทวารวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นทางตา องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๔๖ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
๒. โสตทวารวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นทางหู องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๔๖ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
๓. ฆานทวารวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นทางจมูก องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๔๖ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
๔. ชิวหาทวารวิถีความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นทางลิ้น องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๔๖ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
๕. กายทวารวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นทางกาย องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๔๖ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
๖. มโนทวารวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นทางใจ องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๖๗ เจตสิก ๕๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓ มหัคคตวิปาก จิต ๙ )

ว่าโดยวิญญาณ มี ๖ คือ
๑. จักขุวิญญาณวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่ยกจักขุวิญญาณขึ้น เป็นประธาน
๒. โสตวิญญาณวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่ยกโสตวิญญาณขึ้น เป็นประธาน
๓. ฆานวิญญาณวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่ยกฆานวิญญาณขึ้น เป็นประธาน
๔. ชิวหาวิญญาณวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่ยกชิวหาวิญญาณขึ้น เป็นประธาน
๕. กายวิญญาณวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่ยกกายวิญญาณขึ้น เป็นประธาน
๖. มโนวิญญาณวิถี ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่ยกมโนวิญญาณคือ ชวนะ ๕๕ ขึ้นเป็นประธาน
ส่วนวิสยัปปวัตติ ๖ หรือ ๘ ในบาสีข้อที่ ๗ และที่ ๘ นั้น ได้แปลและ อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว


อายุของจิตพร้อมด้วยเจตสิกและรูป

ในจํานวนจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น จิตดวงหนึ่งๆ มีขณะเล็ก (อนุขณะ) อยู่ ๓ ขณะคือ อุปปาทักขณะ (ขณะเกิดขึ้น) ฐิติขณะ (ขณะตั้งอยู่) ภังคักขณะ (ขณะดับไป) และขณะทั้ง ๓ เหล่านี้ เป็นอายุของจิต (รวมทั้งเจตสิก) ดวงหนึ่งๆ

จิตที่เหลือ คือ ภวังคจิต ๑๙ ปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถีมี ปัญจทวารวัชชนจิตและมโนทวาราวัชชนจิต เป็นต้น และจุติจิต ๑๙ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกัน
รูป ๒๒ รูป (เว้นวิญญัติรูป ๒ ลักษณรูป ๔) รูปใดรูปหนึ่ง มีอายุเท่า กันกับระยะเวลาของขณะจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ๑๗ ดวง หรือ ๕๑ ขณะเล็ก

อายุของนามและรูปในขณะทั้ง ๓ นั้น มีความแตกต่างกัน ตรงฐิติขณะ คือ ฐิติขณะของนามมี ๑ ขณะ ส่วนฐิติขณะของรูปมี ๔๙ ขณะ สําหรับอุปปาทักขณะ และภังคักขณะนั้นมี ๑ ขณะเท่ากัน

คําว่า ขณะ หมายความว่า ชั่วระยะเล็กน้อยที่สุดจะหาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ วิถีสังคหะ แยกออกเป็น ๒ บท คือ วิถี + สังหคะ
วิถี หมายความว่า การเกิดขึ้นโดยลําดับติดต่อกันเป็นแถวของจิต เจตสิก รูป

สังคหะ หมายความว่า การสงเคราะห์หรือการรวบรวม เมื่อรวมกันเป็น วิถี สังคหะ หมายความว่าการสงเคราะห์การเกิดขึ้นโดยลําดับติดต่อกันเป็นแถวของ จิต เจตสิก รูป


ปัญจทวารวิถี ๗๕ หรือ ๑๐๐ วิถี
อภิธัมมัตถสังคหบาลีข้อที่ ๑๑ ถึงข้อที่ ๒๐ ได้แสดงถึงความเป็นไปของปัญจทวารวิถี และข้อที่ ๒๑ แสดงสรุปจํานวนปัญจทวารวิถีทั้งหมด

จักขุทวาริกอติมหันตารมณ์วิถีมี ๓ วิธี คือ
๑. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ที่มีอดีตภวังค์ ๑ ขณะ เป็นตทารมมณวาระ
๒. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ที่มีอดีตภวังค์ ๑ ขณะ เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์
๓. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ที่มีอดีตภวังค์ ๑ ขณะ เป็นชวนวาระ มีอาคันตุกภวังค์

จักขุทวาริกอติมหันตารมณ์วิถีทั้ง ๓ วิถีนี้
เมื่อกล่าวโดยประเภทแล้วมี ๕ ประเภทคือ

๑. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ตทารัมมณวาระ ที่มีกามชวนะ ๒๗ (เว้นโทสชวนะ ๒)
๒. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ตทารัมมณวาระ ที่มีโทสชวนะ ๒
๓. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ที่เกิด ในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
๔. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ที่เกิด ในกามภูมิ ๑๑
๕. จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ชวนวาระ ที่มีอาคันตุกภวังค์ที่เกิด ในกามสุคติภูมิ ๗

ปัญจทวาริก อติมหันตารมณ์วิถีที่เหลือคือ โสตทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ๓ วิถี ๕ ประเภท และฆานทวาริก ชิวหาทวาริก กายทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ๓ วิถี ๔ ประเภท (เว้นวิถีประเภทที่ ๓ ที่เกิดในรูปภูมิ ๑๕) ก็เหมือนกันกับ จักขุทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ๓ วิถี ๕ ประเภท


วิสยัปปวัตติ ๔ และวาระ ๔

วิสยัปปวัตติ = ความเป็นไปแห่งอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ของวิถีจิต หรือวิถีจิต ที่เกิดขึ้นโดยมีวิสยัปปวัตติ เป็นอารมณ์นั้น ถ้าไปสิ้นสุดที่ตทารัมมณจิตเรียกว่า ตทารัมมณวาระ ถ้าไปสิ้นสุดที่ชวนจิต เรียกว่าชวนวาระ ถ้าไปสิ้นสุดที่โวฏฐัพพนจิต เรียกว่า โวฏฐัพพนวาระ แต่ถ้าปัญจารมณ์ที่ผ่านอดีตภวังค์ไปตั้งแต่ ๑๐ ขณะถึง ๑๕ หรือ ๑๖ ขณะ ที่ใกล้จะดับลงแล้ว จึงปรากฏแก่ปัญจปสาท แล้วทําให้ภวังค์ หวั่นไหวเกิดขึ้น ๒ ขณะ หรือ ๑ ขณะเท่านั้นก็เรียกว่า โมฆวาระ ดังนั้น วิสยัปปวัตติ ๔ และวาระ ๔ ในปัญจทวาร จึงมีความสัมพันธ์กันดังนี้

อติมหันตารมณ์ ตทารัมมณวาระ
มหันตารมณ์ ชวนวาระ
ปริตตารมณ์ โวฏฐพพนวาระ
อติปริตตารมณ์ โมฆวาระ

แสดงการนับจํานวนวิถีจิตในปัญจทวาร

ปัญจทวาริก อติมหันตารมณ์วิถี ตทารัมมณวาระในอภิธัมมัตถสังคหะ มี การสรุปวิธีนับวิถีจิตดังนี้
๑. ว่าโดยวิถีจิต มี ๗ อย่างคือ ๑ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๒ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ทวารใดทวารหนึ่ง ๓ สัมปฏิจฉนจิต ๔ สันตีรณจิต ๕ โวฏฐัพพนจิต ๖ ชวนจิต ๗ ตทารัมมณจิต
๒. ว่าโดยจิตตุปบาท การเกิดขึ้นแห่งวิถีจิตมี ๑๔ ขณะคือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ทวิปัญจวิญญาณจิต สัมปฏิจฉนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต แต่ละอย่างนับเป็น ๑ ขณะ รวม ๕ ขณะ ชวนจิตนับเป็น ๗ ขณะ และตทารัมมณจิ นับ เป็น ๒ ขณะ รวมทั้งหมดเป็น ๑๔ ขณะ (เมื่อนับวิถีมุตตจิต ๓ ขณะคือ อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ รวมเข้าอีกเป็น ๑๗ ขณะจิต ก็ครบจํานวน จิตตกขณะ ๑๗ ขณะพอดี ในอติมหันตารมณ์วิถี ตทารัมมณวาระ)
๓. ว่าโดยจํานวนวิถีจิตที่เกิดขึ้นในปัญจทวารทั้งหมดมี ๕๔ ดวง คือ กามจิต ๕๔ นั้นเอง


มโนทวารวิถี ๕๒ วิถี

มโนทวารวิถี หมายความว่า การเกิดขึ้นโดยลําดับติดต่อกันเป็นแถวของจิต เจตสิกทางใจ มี ๕๒ วิถี คือ
กามชวนมโนทวารวิถีมี ๔๕ วิถี
อัปปนาชวนมโนทวารวิถีมี ๗ วิถี

กามชวนมโนทวารวิถี เป็นมโนทวารวิถีที่มีกามชวนจิตเป็นประธานมี ๔๕ วิถี คือ
ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนวารวิถีมี ๔ วิถี
สุทธมโนทวารวิถี หรือ กามชวนสุทธมโนทวารวิถีมี ๔๑ วิถี

ตหนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี เป็นกามชวนมโนทวารวิถีที่เกิดขึ้นต่อจากปัญจทวารวิถีโดยตรงมี ๔ วิถี คือ

๑. อตีตักคหณวิถี เป็นวิถีที่ทําหน้าที่รับอติวิภูตปัญจารมณ์ที่เป็นอดีต คือ อดีตปัญจารมณ์ที่ปรากฎชัดมากในทางใจ หรือวิภูตปัญจารมณ์ที่เป็นอดีตคือ อดีตปัญจารมณ์ ที่ปรากฏชัดในทางใจที่เกิดขึ้นต่อจากปัญจทวารวิถี
๒. สมูหัคคหณวิถี เป็นวิถีที่ทําหน้าที่รวบรวมทุกๆ ส่วนของอติวิภูตปัญจารมณ์ที่เป็นอดีต หรือ วิภูตปัญจารมณ์ที่เป็นอดีต ที่เกิดขึ้นต่อจากอดีตัคคหณวิถี
๓. อัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่มีหน้าที่รับรูปร่างสัณฐาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ปัญจารมณ์ อันเป็นอัตถบัญญัติที่เกิดขึ้นต่อจากสมหัคคหณวิถี
๔. นามัคคหณวิถี เป็นวิถีที่มีหน้าที่รับชื่อของรูปร่างสัณฐานนั้นๆ อันเป็น นามบัญญัติที่เป็นไปตามโวหารของชาวโลกเรียกขานกัน ซึ่งเกิดขึ้นต่อจากอัตถัคคหณวิถี หรือ เกิดขึ้นต่อจากอดีตัคคหณวิถี ตามสมควรแก่นามบัญญัติ คือชื่อต่างๆ คําพูดต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัญจารมณ์นั้นๆ

ตหนุวัตติกมโนทวารวิถีทั้ง ๔ วิถีนี้ เมื่อว่าโดยประเภทแล้วมี ๑๖ ประเภทคือ

๑. อตีตัคคหณวิถี ที่เป็นตทารัมมณวาระ ที่มีกามชวนะ ๒๗ (เว้นโทสชวนะ ๒)
๒. อตีตัคคหณวิถี ที่เป็นตทารัมมณวาระ ที่มีโทสชวนะ ๒
๓. อตีตกคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีกามชวนะ ๒๗ (เว้นโทสชวนะ ๒) ที่เกิดในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) ซึ่งเป็นวิถีที่เกิดขึ้น ต่อจากอติมหันตารมณ์วิถี หรือ มหันตารมณ์วิถีก็ได้ทั้ง ๒ แต่ถ้าเป็นวิถีที่เกิดใน กามภูมิ ๑๑ ต้องเป็นวิถีที่เกิดขึ้นต่อจากมหันตารมณ์วิถีอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะ เป็นชวนวาระไม่มีอาคันตุกภวังค์ และไม่เป็นตทารัมมณวาระ
๔. อตีตัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามภูมิ ๑๑
๕. อตีตัอคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รวมเป็นอดีตคคหณวิถี ๕ ประเภท
๖. สมูหัคคหณวิถี ที่เป็นตทารัมมณวาระ ที่มีกามชวนะ ๒๗ (เว้นโทส ชวนะ ๒)
๗. สมูหัคคหณวิถี ที่เป็นตทารัมมณวาระ ที่มีโทสชวนะ ๒
๘. สมูหัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีกามชวนะ ๒๗ (เว้นโทสชวนะ ๒) ที่เกิดในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) ซึ่งเป็นวิถีที่เกิดขึ้น ต่อจากอติมหันตารมณ์วิถี หรือมหันตารมณ์วิถีก็ได้ทั้ง ๒ แต่ถ้าเป็นวิถีที่เกิดใน กามภูมิ ๑๑ ต้องเป็นวิถีที่เกิดขึ้นต่อจากมหันตารมณ์วิถีอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนกันกับอตีตัคคหณวิถีประเภทที่ ๓
๙. สมูหัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามภูมิ ๑๑
๑๐. สมูหัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รวมเป็นสมูหัคคหณวิถี ๕ ประเภท
๑๑. อัตถัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีกามชวนะ ๒๖ (เว้นโทสชวนะ ๒ หสิตุปปาทชวนะ ๑) ที่เกิดในปัญจโวการภูมิ ๒๖
๑๒. อัตถัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามภูมิ ๑๑
๑๓. อัตถัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รวมเป็นอัตถัคคหณวิถี ๓ ประเภท
๑๔. นามัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีกามชวนะ ๒๖ (เว้นโทสชวนะ ๒ หสิตุปปาทชวนะ ๑) ที่เกิดในปัญจโวการภูมิ ๒๖
๑๕. นามัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ ไม่มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามภูมิ ๑๑
๑๖. นามัคคหณวิถี ที่เป็นชวนวาระ มีอาคันตุกภวังค์ ที่มีโทสชวนะ ๒ ที่เกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รวมเป็นนามัคคหณวิถี ๓ ประเภท

ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี ที่นอกจาก ๔ วิถี ที่แสดงมาแล้วนั้น ยังมีอยู่อีก ๓ วิถีคือ กายวิญญัตติคคหณวิถี วจีวิญญัตติคคหณวิถี และ อธิปปายัคคหณวิถี เป็นวิถีที่นับสงเคราะห์เข้าในอัตถักคหณวิถี


อธิบายอัปปนาชวนมโนทวารวิถี ๗ วิถี

๑. อาทิกัมมิกฌานวิถี

ว่าโดยบุคคล เกิดขึ้นแก่บุคคล ๕ จําพวกคือ ติเหตุกปุถุชน ๑ และอริยผลบุคคล ๔
ว่าโดยภูมิ เกิดได้ใน ๒๖ ภูมิคือ กามสุคติภูมิ ๗, รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) และอรูปภูมิ ๔
ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลังได้แก่ ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ คือ กามติเหตุกภวังคจิต ๔ และมหัคคตภวังคจิต ๙ แล้วแต่บุคคลและภูมิ ส่วนวิถีจิตเหล่านั้นได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากิริยาฌาณสัมปยุตตจิต ๔ มหัคคตกุศลจิต ๙ และมหัคคตกิริยาจิต ๙
ว่าโดยอารมณ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลัง ที่เป็นเหตุกกามภวังคจิต ๔ มีอารมณ์ ๖ ที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ที่ได้ รับมาจากฉทวาริกมรณาสันนชวนะในภพก่อนเมื่อใกล้จะตายเป็นอารมณ์, ที่เป็นรูป ภวังคจิต ๕ มีบัญญัติกรรมนิมิตธรรมารมณ์ อันเนื่องด้วยกรรมฐาน ๒๖ คือ กสิณบัญญัติ ๑๐ อสุภบัญญัติ ๑๐ โกฏฐาสบัญญัติ ๑ อานาปานบัญญัติ ๑ หรือ สัตวบัญญัติ ๔ ที่ได้รับมาจากมโนทวาริกมรณาสันนชวนะในภพก่อนเมื่อใกล้จะ ตายเป็นอารมณ์ ส่วนที่เป็นอรูปภวังคจิต ๔ มีบัญญัติหรือมหัคคตกรรมนิมิตธรรมารมณ์ อันเนื่องด้วยอรูปกรรมฐาน ๔ คือ กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติอากาสานัญจายตนฌาน นัตถิภาวบัญญัติ หรืออากิญจัญญายตนฌานที่ได้รับมาจากมโนทวาริกมรณาสันนชวนะในภพก่อนเมื่อใกล้จะตายเป็นอารมณ์

สําหรับวิถีจิตทั้งหมดที่อยู่ในวิถีนี้ ถ้ามโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวงใดดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู และอัปปนาชวนะคือ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ อากาสานัญจายตนกุศลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ อากิญจัญญายตนกุศลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ มีปฏิภาคนิมิตของกรรมฐาน ๒๘ คือ กสิณบัญญัติ ๑๐ อสุภบัญญัติ ๑๐ โกฏฐาสบัญญัติ ๑ อานาปานบัญญัติ ๑ สัตวบัญญัติ ๔ หรือกสิณคฆาฏิมากาส บัญญัติ ๑ นัตถิภาวบัญญัติ ๑ เป็นอารมณ์ ถ้ามโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศล ญาณสัมปยุตตอุเบกขา ๒ มหากิริยาญาณสัมปยุตตอุเบกขา ๒ ดวงใดดวงหนึ่งที่ มีชื่อว่า ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู และอัปปนาชวนะคือ วิญญาณัญจายตนกุศลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ มีมหัคคต ปฏิภาคนิมิตของอรูปกรรมฐาน ๒ คือ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตน ฌาน ๑ เป็นอารมณ์
ว่าโดยวัตถุ ภวังค์แรก, ภวังค์หลัง และวิถีจิตทั้งหมด ถ้าเกิดในกามสุคติ ภูมิ ๗ และรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) ก็อาศัยหทยวัตถุเกิด แต่ถ้าเกิดใน อรูปภูมิ ๔ ก็ไม่ต้องอาศัยหทยวัตถุเกิด (ส่วนในวิถีที่ ๒,๓, ๔,๕,๖ และ ๗ เมื่อ ว่าโดยวัตถุก็พึงทราบเช่นเดียวกันกับวิถีนี้)

การเกิดขึ้นของอาทิกัมมิกฌานวิถี

การเกิดขึ้นของอาทิกัมมิกฌานวิถีของมันทบุคคลมีดังนี้ คือ
พระโยคีบุคคลเจริญกรรมฐาน ๓๐ อย่าง มีปฐวีกสิณเป็นต้นเมื่อใกล้จะได้ฌานนั้นบัญญัติหรือมหัคคตปฏิภาคนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งในจํานวน ๓๐ อย่าง ที่ตนได้ใช้เจริญมานั้นได้ปรากฏขึ้นทางมโนทวาร ฉะนั้นภวังคจิตจึงเกิดขึ้น ๒ ขณะ ชื่อว่าภวังคจลนะ และภวังคุปัจเฉทะแล้วก็ดับลง ต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นรับบัญญัติหรือมหัคคตปฏิภาคนิมิต ๑ ขณะแล้วก็ดับไป ในลําดับนั้นมหากุศลหรือมหากิริยาญาณสัมปยุตต ชวนจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้นรับ บัญญัติ หรือมหัคคตปฏิภาคนิมิต ๔ ขณะ ในฐานะที่เป็นปริกรรม, อุปจาร, อนุโลม และโคตรภูที่เรียกว่าอุปจารสมาธิชวนะ แล้วก็ดับไป ต่อจากนั้นฌานกุศล หรือฌานกิริยาเกิดขึ้น ๑ ขณะ รับบัญญัติหรือมหัคคตปฏิภาคนิมิตที่เรียกว่าอัปปนา สมาธิชวนะ ๑ ขณะแล้วก็ดับไป ต่อจากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อไป หลังจากนั้น มโนทวารวิถีที่มีมหากุสลชวนะ ๘ หรือมหากริยาชวนะ ๘ ย่อมเกิดขึ้นทําหน้าที่ โดยฐานะเป็นปัจจเวกขณวิถี กล่าวคือพิจารณาองค์ฌานมีวิตกเป็นต้น เกิดขึ้น หลายรอบตามสมควรต่อไป

ฌานสมาปัตติวิถี
เมื่อว่าโดยบุคคลเป็นต้นจนถึงวัตถุเหล่านี้ ก็คงเป็นไปเหมือนกันกับอาทิ กัมมิกฌานวิถีทุกประการ ต่างกันแต่เพียงว่าอาทิกัมมิกฌานวิถี มีฌานจิตเกิดขึ้น เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ส่วนฌานสมาปัตติวิถีมีฌานจิตเกิดขึ้นติดต่อกันเรื่อยๆ ไป ตามความประสงค์ของฌานลาภีบุคคลที่ได้อธิษฐานไว้

บุพพกิจก่อนเข้าฌานสมาบัติ
พระโยคีบุคคลก่อนเข้าฌานได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ปฐมฌาน (หรือทุติยฌาน, ตติยฌาน เป็นต้น จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วแต่ความประสงค์) ที่ ข้าพเจ้าได้มาแล้ว จงบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าตลอดเวลา ๑ ชั่วโมง (หรือ ๒-๓ ชั่วโมง แล้วแต่ต้องการ) แล้วก็เพิ่งปฏิภาคนิมิตของกรรมฐานนั้น พร้อมกับบริกรรมว่า ปถวีๆ (หรือ อาโป เตโช วาโย หรือ สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา อเวรา โหนฺตุ หรือ อุทธมาตกํ วินีลกํ เป็นต้น แล้วแต่กรรมฐานที่ตนใช้เจริญมา)

การเกิดขึ้นของฌานสมาปัตติวิถี
การเกิดขึ้นของฌานสมาปัตติวิถีมีดังนี้ คือ ฌานลาภีบุคคลก่อนเข้า ฌานได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ปฐมฌาน (หรือทุติยฌาน ตติยฌาน เป็นต้น แล้วแต่ ความประสงค์) ที่ข้าพเจ้าได้มาแล้วนั้น จงบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าตลอดเวลา ๑ ชั่วโมง (หรือ ๒-๓ ชั่วโมง แล้วแต่ต้องการ) แล้วก็เพ่งปฏิภาคนิมิตของกรรมฐานนั้นพร้อม กับบริกรรมว่าปถวี ๆ (หรือ อาโป เตโช วาโย หรือ สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา อเวรา โหนฺตุ หรือ อุทฺธุมาตกํ วินีลกํ เป็นต้น แล้วแต่กรรมฐานที่ตนใช้ เจริญมา) ก่อนฌานจิตจะเกิดนั้น ภวังค์ไหวได้เกิดขึ้น ๒ ขณะ เรียกว่า ภวังคจสนะ และภวังคุปัจเฉทะ แล้วก็ดับลง ต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นรับปฏิภาค นิมิตอารมณ์แล้วก็ดับไป ในลําดับนั้นมหากุศลญาณสัมปยุตตหรือมหากิริยาญาณ สัมปยุตตชวนจิต ดวงใดดวงหนึ่งก็เกิดขึ้น ๔ หรือ ๓ ขณะ (แล้วแต่บุคคล) รับ ปฏิภาคนิมิตโดยฐานะเป็นปริกรรม, อุปจาร, อนุโลม, และโคตรภู หรืออุปจาร, อนุโลมและโคตรภู แล้วก็ดับลง ต่อจากนั้นฌานจิตก็เกิดขึ้นติดต่อกันเรื่อย ๆ ไป ตลอดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ เมื่อครบ กําหนดเวลาตามที่ได้อธิษฐานไว้แล้ว ภวังคจิต ก็เกิดขึ้นหลังจากนั้นปัจจเวกขณวิถีก็เกิดขึ้นตามสมควรต่อไป


๓. ปาทกฌานวิถี

ว่าโดยบุคคล เกิดขึ้นแก่บุคคล ๕ จําพวกคือ ติเหตุกปุถุชน ๑ และอริยผล บุคคล ๔
ว่าโดยภูมิ เกิดได้ใน ๒๒ ภูมิคือ กามสุคติภูมิ ๗ และรูปภูมิ ๑๕ (เว้น อสัญญสัตตภูมิ)
ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลังได้แก่ ติเหตุกปัญจโวการภวังคจิต ๙ คือ ติเหตุกกามภวังคจิต ๔ และรูปภวังคจิต ๕ แล้วแต่บุคคล และภูมิ ส่วนวิถีจิตเหล่านั้นได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตต อุเบกขา ๒ มหากิริยาญาณสัมปยุตตอุเบกขา ๒ และรูปาวจรปัญจมฌานกุศลจิต ๑ กิริยาจิต ๑
ว่าโดยอารมณ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลัง ที่เป็นติเหตุกกามภวังคจิต ๔ มีอารมณ์ ๖ ที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ ที่ ได้รับมาจากฉทวาริกมรณาสันนชวนะในภพก่อนเมื่อใกล้จะตายเป็นอารมณ์ ที่เป็น รูปภวังคจิต ๕ มีบัญญัติกรรมนิมิตธรรมารมณ์ อันเนื่องด้วยกรรมฐาน ๒๖ คือ กสิณบัญญัติ ๑๐ อสุภบัญญัติ๑๐ โกฏฐาสบัญญัติ ๑ อานาปานบัญญัติ ๑ หรือ สัตวบัญญัติ ๔ ที่ได้รับมาจากมโนทวาริกมรณาสันนชวนะในภพก่อนเมื่อใกล้จะตาย เป็นอารมณ์ สําหรับวิถีจิตทั้งหมดที่อยู่ในวิถีนี้ มีปฏิภาคนิมิตอันเนื่องด้วยกสิณบัญญัติ ๑๐ เท่านั้นเป็นอารมณ์


๔. อภิญญาวิถี

ว่าโดยบุคคล เหมือนกันกับปาทกฌานวิถี
ว่าโดยภูมิ เหมือนกันกับปาทกฌานวิถี

ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลังได้แก่ ติเหตุกปัญจโวการภวังคจิต ๙ แล้วแต่บุคคลและภูมิ ส่วนวิถีจิตเหล่านั้นได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตอุเบกขา ๒ มหากิริยาฌาณสัมปยุตตอุเบกขา ๒ และรูปาวจรปัญจมฌานกุศลอภิญญาจิต ๑ กิริยาอภิญญาจิต ๑
ว่าโดยอารมณ์ ภวังค์แรก และ ภวังค์หลัง ที่เป็นติเหตุกามภวังคจิต ๔ และรูปภวังคจิต ๕ มีอารมณ์เช่นเดียวกันกับปาทกฌานวิถี สําหรับวิถีจิตทั้งหมดที่อยู่ในวิถีนี้ มีอารมณ์ ๖ ทั้งที่เป็นปรมัตถ์และ บัญญัติทั้งหมดเป็นอารมณ์

บุพพกิจก่อนทําอภิญญา

๑. เข้าปาทกฌานก่อน กล่าวคือ เข้ารูปปัญจมฌาน
๒. เมื่อออกจากปาทกฌานแล้ว ก็อธิษฐานตามความต้องการ
๓. เมื่ออธิษฐานเรียบร้อยแล้ว ก็กลับเข้าปาทุกฌานอีก
๔. เมื่อออกจากปาทุกฌานครั้งที่ ๒ แล้ว อภิญญาวิถีก็เกิดขึ้น เมื่อ อภิญญาวิถีเกิดขึ้นแล้ว ในขณะนั้นเองความประสงค์ทุกอย่างตามที่ตนต้องการก็จะบังเกิดขึ้น

พระโยคีบุคคลก่อนที่จะทําอภิญญานั้น ต้องตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้รูปปัญจมฌานที่ข้าพเจ้าได้มาแล้วนั้น จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วก็เพ่งกสิณบัญญัติ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง (จะเพ่งกรรมฐานอื่นๆ ไม่ได้) ต่อจากนั้นฌานสมาบัติที่เกี่ยวกับ ปัญจมฌานก็เกิดขึ้นตามลําดับดังนี้คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนจิต ปริกรรม อุปจาร อนุโลม และโคตรภู แล้วรูปปัญจมฌานก็เกิด ขึ้นเรื่อยไปประมาณ ๑ วินาที หรือ ๑ นาทีนี้เรียกว่า ปาทกฌานวิถี

เมื่อออกจากรูปปัญจมฌานแล้วก็ต้องบริกรรมที่เกี่ยวกับการทําอภิญญา กล่าวคือ ถ้ามีความประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นทําการเหาะก็อธิษฐานว่าขอให้ร่างกายของข้าพเจ้าลอยไปได้ในอากาศ, ถ้าอยากจะเห็นนรกสวรรค์ก็อธิษฐานว่าขอให้ข้าพเจ้าได้เห็นความเป็นอยู่ของสัตว์นรกหรือของเทวดา, ถ้าจะต้องการเนรมิตสิ่งของใดๆ ก็ตั้งใจอธิษฐานตามที่ตนต้องการ, อยากจะทราบถึงจิตใจของบุคคลใด ก็อธิษฐานว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงความเป็นไปของจิตใจผู้นั้น หรือต้องการจะเนรมิตตนเองให้เป็นหลายคนก็ตั้งจิตอธิษฐานตามที่ตนต้องการ ในขณะที่กําลังทําการอธิษฐานอยู่นั้นวิถีจิตที่เรียกว่า ปริกรรมวิถีก็เกิดอยู่เรื่อย ๆ ดังนี้คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนจิต ชวนจิต ๗ ขณะ แล้วภวังคจิตต่อไป เกิดขึ้นหลายๆ รอบจนนับไม่ถ้วน

การเกิดขึ้นของอภิญญาวิถี
เมื่ออธิษฐานเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าปาทกฌานอีกคือ รูปปัญจมฌานนั่นเอง การเข้ารูปปัญจมฌานครั้งที่สองนี้ การงานที่เข้าก็คงเป็นไปในทํานองเดียวกันกับครั้ง ที่ ๑ เมื่อออกจากปัญจมฌานแล้ว อภิญญาวิถีที่ให้สําเร็จตามที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ก็ เกิดขึ้นดังนี้คือ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนจิต ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู และอภิญญาจิต ๑ ขณะ แล้วภวังคจิตเกิดต่อไป ในขณะที่ อภิญญาจิตเกิดกิจต่างๆ ตามที่ตนได้อธิษฐานไว้ก็สําเร็จทุกประการ


๕. มัคควิถี

ก. โสดาปัตติมัคควิถี

ว่าโดยบุคคล เกิดขึ้นแก่ติเหตุกปุถุชน
ว่าโดยภูมิ เกิดได้ใน ๑๗ ภูมิคือ กามสุคติภูมิ ๗ และรูปภูมิ ๑๐ (เว้น อสัญญสัตตภูมิและสุทธาวาสภูมิ ๕)
ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลังได้แก่ ติเหตุกปัญจโวการภวังคจิต ๙ แล้วแต่บุคคลส่วนวิถีจิตเหล่านั้นได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ โสดาปัตติมัคคจิต ๑ หรือ ๕ และโสดาปัตติผลจิต ๑ หรือ ๕
ว่าโดยอารมณ์ ภวังค์แรกภวังค์หลัง ที่เป็นติเหตุกกามภวังคจิต ๔ และ รูปภวังคจิต ๕ มีอารมณ์เช่นเดียวกันกับปาทกฌานวิถี สําหรับวิถีจิตทั้งหมดที่อยู่ในวิถีนี้ มโนทวาราวัชซจิต ๑ และมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ในขณะทําหน้าที่ปริกรรม อุปจาร และอนุโลม มีพระไตรลักษณ์ แห่งรูปนามเป็นอารมณ์ ส่วนในขณะทําหน้าที่โคตรภูและโสดาปัตติมัคคจิต ๑ หรือ ๕ โสดาปัตติผลจิต ๑ หรือ ๕ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

การเกิดขึ้นของโสดาปัตติมัคควิถี
การเกิดขึ้นแห่งโสดาปัตติมัคควิถีของติกขบุคคลมีดังนี้คือ พระโยคี บุคคลที่กําลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่นั้น ก่อนที่จะบรรลุมรรคผลและนิพพานนั้น ต้องได้เห็นพระไตรลักษณ์โดยชัดเจนอย่างสูงสุด และในขณะนั้นภวังค์ไหวได้ เกิดขึ้น ๒ ขณะ ชื่อว่า ภวังคจลนะ และภวังคุปัจเฉทะ แล้วก็ดับลงต่อจากนั้น มโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นรับสภาพรูปหรือนามแล้วดับลง ในลําดับนั้นมหากุศลญาณสัมปยุตตชวนจิต ๔ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น ๓ ขณะ ใน ๓ ขณะนั้นอุปจาร และอนุโลม รับอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามแล้วก็ดับลง ส่วนโคตรภูนั้นรับพระนิพพาน เป็นอารมณ์ โดยฐานะที่เป็นอาวัชชนะของโสดาปัตติมัคคจิตและทําลายเชื้อชาติ ปุถุชนแล้วก็ดับลง ต่อจากนั้นโสดาปัตติมัคคจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ รับพระนิพพาน เป็นอารมณ์พร้อมกับประหาณ ทิฏฐิและวิจิกิจฉา โดยไม่มีเหลือแล้วก็ดับลง ต่อจากนั้นโสดาปัตติผลจิตก็เกิดขึ้น ๓ ขณะ รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็ดับลง ต่อจากนั้นภวังคจิตก็เกิดขึ้นและมโนทวารวิถีที่มีมหากุศลญาณสัมปยุตตชวนจิตดวงใดดวงหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ทําหน้าที่โดยฐานะเป็นปัจจเวกขณวิถีกล่าวคือ ทําหน้าที่พิจารณามรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละได้แล้วและกิเลสที่ยังเหลืออยู่เกิดขึ้นหลาย รอบตามสมควรต่อไป

ข. มัคควิถีเบื้องบน ๓

ว่าโดยบุคคล เกิดขึ้นแก่บุคคล ๓ จําพวกกล่าวคือ สกทาคามิมัคควิถี เกิดขึ้นแก่พระโสดาบันบุคคล อนาคามิมัคควิถีเกิดขึ้นแก่พระสกทาคามีบุคคล อรหัตตมัคควิถีเกิดขึ้นแก่พระอนาคามีบุคคล
ว่าโดยภูมิ เกิดได้ใน ๒๖ ภูมิตามสมควรแก่มรรคดังนี้ สกทาคามิมัคควิถีและอนาคามิมัคควิถีเกิดได้ ๒๑ ภูมิคือ กามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๑๐ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ และสุทธาวาสภูมิ ๕) และอรูปภูมิ ๔ ส่วนอรหัตตมัคควิถีเกิดได้ ใน ๒๖ ภูมิคือ กามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) และอรูปภูมิ ๔
ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลังได้แก่ ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ คือ ติเหตุกกามภวังคจิต ๔ และมหัคคตภวังคจิต ๙ แล้วแต่บุคคลและภูมิ ส่วนวิถีจิตเหล่านั้นได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มัคคจิตเบื้องบน ๓ หรือ ๑๕ และผลจิตเบื้องบน ๓ หรือ ๑๕
ว่าโดยอารมณ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลัง มีอารมณ์เช่นเดียวกันกับอาทิกัมมิกฌานวิถี
สําหรับวิถีจิตทั้งหมดที่อยู่ในวิถีนี้ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ และมหากุศล ญาณสัมปยุตตจิต ๔ ในขณะทําหน้าที่ปริกรรม อุปจาร และอนุโลม มีพระไตรลักษณ์ แห่งรูปนามเป็นอารมณ์ ส่วนในขณะทําหน้าที่โวทานและมัคคจิตเบื้องบน ๓ หรือ ๑๕ ผลจิตเบื้องบน ๓ หรือ ๑๕ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

การเกิดขึ้นของมัคควิถีเบื้องบน ๓
การเกิดขึ้นแห่งมัคควิถีเบื้องบน ๓ ของมันทบุคคลมีดังนี้คือ พระโยคี บุคคลที่กําลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่นั้น ก่อนที่มัคควิถีเบื้องบนจะเกิดขึ้นต้อง ได้เห็นพระไตรลักษณ์โดยชัดเจนอย่างสูงสุด และในขณะนั้นกวังค์ไหวได้เกิดขึ้น ๒ ขณะชื่อว่า ภวังคจลนะ และภวังคุปัจเฉทะ แล้วก็ดับลงต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นรับสภาพรูปหรือนามแล้วก็ดับลง ในลําดับนั้นมหากุศลญาณ - สัมปยุตตชวนจิต ๔ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น ๔ ขณะ ใน ๔ ขณะนั้น ปริกรรม อุปจาร และอนุโลมรับอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามแล้วก็ดับลง ส่วนโวทานรับพระนิพพานเป็น อารมณ์โดยฐานะเป็นอาวัชชนะของมัคคจิตเบื้องบน ๓ ต่อจากนั้นสกทาคามิมัคคจิต อนาคามิมัคคจิต หรืออรหัตตมัคคจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ (ตามสมควรแก่บุคคล) รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ พร้อมกับประหาณ กิเลสตามสมควร โดยไม่มีเหลือ แล้วก็ดับลง ต่อจากนั้นสกทาคามิผลจิต อนาคามิผลจิต หรืออรหัตตผลจิตก็เกิด ขึ้น ๒ ขณะ (ตามสมควรแก่บุคคล) รับพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้วก็ดับลงต่อ จากนั้นภวังคจิตก็เกิดขึ้น แล้วปัจจเวกขณวิถีที่มีหน้าที่พิจารณามรรค ผล นิพพาน กิเลส ที่ละและกิเลสที่เหลือก็เกิดขึ้นตามสมควรต่อไป


๖. ผลสมาปัตติวิถี

ว่าโดยบุคคล เกิดขึ้นแก่บุคคล ๔ จําพวก คือ อริยผลบุคคล ๔
ว่าโดยภูมิ เกิดได้ใน ๒๖ ภูมิตามสมควรแก่ผลดังนี้ โสดาปัตติผลสมาปัตติวิถีและสกทาคามิผลสมาปัตติวิถีเกิดได้ ๒๑ ภูมิคือ กามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๑๐ (เว้นอสัญญสัตตภูมิและสุทธาวาสภูมิ ๕) และอรูปภูมิ ๔ ส่วนอนาคามิผล สมาปัตติวิถี และอรหัตตผลสมาปัตติวิถีเกิดได้ ๒๖ ภูมิคือ กามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) และอรูปภูมิ ๔
ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลังได้แก่ ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ ส่วนวิถีจิตเหล่านั้นได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ (ในขณะทําหน้าที่อนุโลม ๓ หรือ ๔ ขณะ ตาม สมควรแก่บุคคล) และผลจิต ๔ หรือ ๒๐
ว่าโดยอารมณ์ ภวังค์แรกและภวังค์หลัง มีอารมณ์เช่นเดียวกันกับอาทิกัมมิกณานวิถี สําหรับวิถีจิตทั้งหมดที่อยู่ในวิถีนี้ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณ สัมปยุตตจิต ๔ และมหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ มีพระไตรลักษณ์แห่งรูปนาม เป็นอารมณ์ ส่วนผลจิต ๔ หรือ ๒๐ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์


มรณาสันนวิถี

มรณาสันนวิถี คือวิถีจิตที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้จะตาย เมื่อว่าโดยจํานวนแล้ว ย่อมมีหลายสิบหลายร้อยวิถีและวิถีจิตเหล่านี้ก็ได้ชื่อว่า มรณาสันนวิถีด้วยกันทั้งสิ้น มรณาสันนวิถีนี้ หาใช่เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายวิถีเดียวก็หามิได้ ดังมี วจนัตถะแสดงว่า “มรณสฺส อาสนุนํ = มรณาสนุนํ” (วิถีจิต) ที่ใกลต่อความตาย ชื่อว่ามรณาสันนะ “มรณาสนุเน ปวตุตาวิถี = มรณาสนุนวิถี, วิถีจิตที่ เกิดขึ้นในเวลาใกล้จะตาย ชื่อว่า มรณาสันนวิถี
การเกิดขึ้นของชวนจิตในเวลาใกล้จะตายนั้นมีกําลังลดน้อยลง เพราะว่าในเวลานั้นกระแสจิตมีกําลังอ่อน และหทัยวัตถุอันเป็นที่อาศัยเกิดของจิตเจตสิกทั้งหลายก็มีกําลังน้อยอีกด้วย ฉะนั้นชวนจิตในมรณาสันนวิถีจึงเกิดได้เพียง ๕ ขณะ เท่านั้นในมรณาสันนวิถีนี้ เมื่อว่าโดยระยะเวลาที่ใกล้จะตายแล้วแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ

๑. มรณาสันนวิถีธรรมดา คือมรณาสันนวิถีที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่จะตายภายใน เวลา ๑-๒ นาที หรือ ๑-๒ ชั่วโมง เป็นต้น สําหรับบุคคลประเภทนี้เรียกว่า มรณาสันนบุคคล คือบุคคลที่ใกล้จะตายตามธรรมดา
๒. ปัจจาสันนมรณวิถี คือมรณาสันนวิถีที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่จะตายในระยะใกล้ที่สุด หมายความว่าเมื่อปัจจาสันนมรณวิถีเกิดขึ้นในระยะใกล้ที่สุดไม่ถึง ๑๐ วินาที หรือไม่ถึง ๒๐ วินาทีได้ดับลง ต่อจากนั้นภวังคจิตตุปบาทได้เปลี่ยนหน้าที่มาเป็นจุติจิต และกัมมชรูปก็เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย แล้วมาดับลงพร้อมกันกับจุติจิต เป็นอันว่าความเป็นอยู่แห่งปัจจุบันภพนั้นได้สิ้นสุดลง หรืออาจกล่าวได้ว่า ปัจจา - สันนมรณวิถีได้เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายในปัจจุบันภพ สําหรับบุคคลที่ใกล้จะตายในระยะใกล้ที่สุดนี้เรียกว่า ปัจจาสันนมรณบุคคล

อนึ่ง มรณาสันนวิถีที่จะกล่าวต่อไปนี้ มุ่งหมายเอาปัจจาสันนมรณวิถีที่ เกิดติดต่อกับจุติจิตเท่านั้น

มรณาสันนวิถีแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ปัญจทวารมรณาสันนวิถี คือการเกิดขึ้นของวิถีจิตในขณะใกล้ตายทาง ปัญจทวารมี ๔ ประเภท คือ

๑. ชวนะ, ตทารัมมณะ, จุติ
๒. ชวนะ, ตทารัมมณะ, ภวังค์, จุติ
๓. ชวนะ, จุติ
๔. ชวนะ, ภวังค์, จุติ

๒. มโนทวารมรณาสันนวิถี คือการเกิดขึ้นของวิถีจิตในขณะใกล้ตายทาง มโนทวารมี ๒ ประเภทคือ

๑. กามชวนมโนทวารมรณาสันนวิถี คือการเกิดขึ้นของวิถีจิตในขณะ ใกล้ตายทางมโนทวารของปุถุชน ๔ และผลเสกขบุคคล ๓ แบ่งเป็น ๔ ประเภทคือ
๑. ชวนะ, ตทารัมมณะ, จุติ
๒. ชวนะ, ตทารัมมณะ, ภวังค์, จุติ
๓. ชวนะ, จุติ
๔. ชวนะ, ภวังค์, จุติ

๒. ปรินิพพานวิถี คือการเกิดขึ้นของวิถีจิตในขณะใกล้ดับขันธปรินิพพานของพระอรหันตบุคคล ซึ่งวิถีประเภทนี้ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้มีการปฏิสนธิ ในภพใหม่ได้อีก แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ

๑. ปรินิพพานวิถีที่เกิดต่อจากกามชวนะ หรือปรินิพพานวิถี ธรรมดาคือ มโนทวารมรณาสันนวิถีของพระอรหันตบุคคลที่เป็นไปอย่างธรรมดาสามัญ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษมี ๔ ประเภท เช่นเดียวกันกับกามชวนมโนทวารมรณาสันนวิถีต่างกันแต่เพียงว่าวิถีประเภทนี้เกิดขึ้นแก่พระอรหันตบุคคลเท่านั้น
๒. ปรินิพพานวิถีที่เกิดต่อจากอัปปนาชวนะ หรือปรินิพพานวิถี พิเศษคือ มโนทวารมรณาสันนวิถีของพระอรหันต์ที่เกิดติดต่อกันกับอัปปนาชวนจิต มี ๔ ชนิดดังนี้คือ
๑. ฌานสมน้นตรวิถี คือปรินิพพานจุติของพระอรหันต์ ที่เกิด ขึ้นต่อจากฌานสมาบัติวิถีโดยไม่มีวิถีจิตอื่นๆ มาคั่น
๒. ปัจจเวกขณสมนันตรวิถี คือปรินิพพานจุติของพระอรหันต์ ที่เกิดขึ้นต่อจากการพิจารณาองค์ฌานโดยไม่มีวิถีจิตอื่นๆ มาคั่น
๓. อภิญญาสมนั้นตรวิถี คือปรินิพพานจุติของพระอรหันต์ ที่เกิดต่อจากอภิญญาจิตที่เกี่ยวกับการแสดงอิทธิวิธอภิญญาเท่านั้นโดยไม่มีวิถีจิต อื่นๆ มาคั่น
๔. ชีวิตสมสีสีวิถี คือปรินิพพานจุติของพระอรหันต์ ที่เกิดขึ้น ต่อจากการพิจารณามรรค, ผล, นิพพาน และกิเลสที่ได้ประหาณไปแล้วโดยไม่มี วิถีจิตอื่นๆ มาคั่น


รูปวิถี

กัมมชกลาป จิตตชกลาป อาหารชกลาป และอุตุชกลาปทั้ง ๔ ประเภทนี้ เมื่อว่าโดยความเป็นไปมี ๓ ชนิดคือ

๑. รูปกลาปที่กําลังเกิด
๒. รูปกลาปที่กําลังตั้งอยู่
๓. รูปกลาปที่กําลังดับ

๑. ในบรรดาความเป็นไปของรูปกลาปทั้ง ๓ ชนิดนั้น นับตั้งแต่อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นไปจนถึงฐิติขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๖ กัมมชกลาปที่ กําลังเกิดขึ้นและกําลังตั้งอยู่มีแต่กัมมชกลาปที่กําลังดับยังไม่มี นับตั้งแต่ภังคักขณะ ของภวังคจิตดวงที่ ๑๖ เป็นต้นไป กัมมชกลาปที่กําลังเกิดขึ้น กําลังดับ และ กําลังตั้งอยู่มีได้ทั้ง ๓ ชนิด

๒. นับตั้งแต่อุปปาทักขณะของกวังคจิตดวงที่ ๑ เป็นต้นไป จนถึงฐิติขณะ ของมโนทวาราวัชชนจิต จิตตชกลาปที่กําลังเกิดขึ้น (เว้นฐีติขณะและภังคักขณะ) และกําลังตั้งอยู่มี แต่จิตตชกลาปที่กําลังดับยังไม่มี นับตั้งแต่ภังคักขณะของมโนทวาราวัชชนจิตเป็นต้นไป จิตตชกลาปที่กําลังดับก็มีได้ (สรุปแล้วตั้งแต่ภังคักขณะ ของมโนทวาราวัชชนจิตเป็นต้นไป จิตตชกลาปที่กําลังเกิดขึ้นกําลังดับและกําลังตั้ง อยู่ก็มีได้ครบทั้ง ๓ ชนิด หมายความว่าทุก ๆ อุปปาทักขณะของจิต นับตั้งแต่ มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็น จิตดวงที่ ๑๗ เป็นต้นไป จิตตชกลาปกําลังเกิดขึ้น และกําลังตั้งอยู่ฐีติขณะของจิตตั้งแต่มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็นจิตดวงที่ ๑๗ เป็นต้นไป จิตตชกลาปกําลังตั้งอยู่ ภังคักขณะของจิตตั้งแต่มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่ง เป็นจิตดวงที่ ๑๗ เป็นต้นไป จิตตชกลาปกําลังดับและกําลังตั้งอยู่)

๓. นับตั้งแต่ฐิติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นไป จนถึงภังคักขณะของภวังคจิต ดวงที่ ๑๖ อุตุชกลาปที่กําลังเกิดขึ้นและกําลังตั้งอยู่มี แต่อุตุชกลาปที่กําลังดับยัง ไม่มี นับตั้งแต่อุปปาทักขณะของมโนทวารา วัชชนจิตเป็นต้นไป อุตุชกลาปที่กําลัง เกิดขึ้น กําลังดับและกําลังตั้งอยู่ก็มีได้ทั้ง ๓ ชนิด

ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว


พิมพ์