ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๙ เล่ม ๑ สมถกรรมฐานทีปนี รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
ปริจเฉทที่ชื่อว่า กรรมฐานสังคหะ หมายความว่า เป็นปริจเฉทที่แสดงการรวบรวมกรรมฐานต่างๆ ดังมีวงนัตถะแสดงว่า
“กมุมฏฺฐานาน สงฺคโห - กมุมฏฐานสงฺคโห ปริจเฉทที่แสดงการรวบรวมกรรมฐานทั้งหมดชื่อว่า กรรมฐานสังคหะ
อธิบายบทโดยเฉพาะๆ ในคาถานี้
ภาวนา แปลว่า ธรรมที่ควรเจริญ คือ ให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสันดานของตน ชื่อว่า ภาวนา ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
“ภาเวตพฺพาติ = ภาวนา”
ธรรมที่บัณฑิตทั้งหลาย จึงทําให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและครั้งหลังๆ ให้ติดต่อกันเป็นนิจ จนถึงเจริญขึ้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภาวนา
การที่แสดงวจนัตถะ คือ เนื้อความของภาวนาดังนี้นั้น เพราะเป็นธรรมที่ อํานวยประโยชน์ให้แก่ผู้กระทําให้ได้รับความสุขกาย สุขใจ ทั้งในภพนี้และภพหน้า ตลอดจนกระทั่งพ้นจากวัฏฏสงสาร
ธรรมที่ชื่อว่า ภาวนา นี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. สมถภาวนา
๒. วิปัสสนาภาวนา
๑. สมถภาวนา “กิเลเส สเมตติ สมโถ” ธรรมใดทําให้กิเลสมีกามฉันทนิวรณ์ เป็นต้น สงบลง ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า สมถะ ได้แก่สมาธิ คือ เอกัคคตาที่ใน มหากุศลจิต ๘ และ รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต ๑
หรืออีกนัยหนึ่ง “จิตตํ สเมตติ = สมโถ” ธรรมใดทําให้จิตที่ไม่สงบ เนื่องมาจากการได้รับอารมณ์หลายๆ อย่าง สงบลงมาตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว ฉะนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า สมถะ ได้แก่ สมาธิ คือ เอกัคคตาที่ใน มหากริยาจิต ๘ และ รูปาวจรปฐมฌานกริยาจิต ๑
หรืออีกนัยหนึ่ง “วิตกกาทิ โอฬาริกธมฺเม สเมตติ = สมโถ” ใดทําให้องค์ฌานชนิดหยาบมีวิตก เป็นต้น สงบลง คือ ไม่ให้เกิด ฉะนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า สมถะ ได้แก่สมาธิ คือ เอกัคคตาที่ใน ทุติยฌานกุศล กริยา เป็นต้น จนถึง ปัญจมฌานกุศล กริยา
อธิบายในวจนัตถะทั้ง ๓ ข้อของสมถะตามลําดับ
๑.) ปุถุชนทั้งหลาย ที่กําลังเจริญสมถกรรมฐานอยู่นั้น ในเวลานั้นมหากุศล- จิตตุปบาทย่อมเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าผู้นั้นเป็นเหตุกปุถุชน และมีความพยายามอย่าง เพียงพอแล้วก็จะสามารถสําเร็จเป็นฌานลาบุคคล คือ รูปาวจรปฐมฌานกุศลย่อม เกิดขึ้น มหากุศลจิตตุปบาทและปฐมฌานกุศลจิตตุปบาท เหล่านี้ มีเอกัคคตาเจตสิก เป็นประธาน ท่านมุ่งหมายเอาเฉพาะเอกัคคตาเจตสิกดวงนี้แหละ จึงแสดงวจนัตถะว่า “กิเลเส สเมติติ = สมโถ”
๒.) ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วแต่กลับมาเจริญสมถกรรมฐาน เพื่อที่จะให้ได้โลกียฌานนั้น ในเวลานั้นมหากริยาจิตตุปบาทย่อมเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนสําเร็จเป็น ฌานลาบุคคล คือ รูปาวจรปฐมฌานกริยาจิตตุปบาท ย่อมเกิดขึ้น มหากริยาจิตตุปบาท และ ปฐมฌาน กริยาจิตตุปบาทเหล่านี้ ไม่ได้ทําการประหาณกิเลสนิวรณ์แต่ประการใด หากแต่เกิดขึ้นทําให้จิตที่ไม่สงบ เนื่องมาจากการได้รับอารมณ์มากมายหลายประการ นั้นสงบลงมาตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว มหากริยาจิตตุปบาทและปฐมฌานกริยาจิตตุปบาทเหล่านี้มีเอกัคคตาเจตสิกเป็นประธาน ท่านมุ่งหมายเอาเฉพาะเอกัคคตาเจตสิกดวงนี้แหละ จึงแสดง วจนัตถะว่า “จิตต์ สเมตติ = สมโถ”
๓.) ปฐมฌานลาบุคคลที่เป็นปุถุชนและพระเสกขะ อเสกขบุคคล เหล่านี้ เมื่อเจริญสมถกรรมฐานต่อไป ฌานเบื้องบนมีทุติยฌานกุศล - กริยา เป็นต้น ย่อม เกิดขึ้นตามลําดับ ทุติยฌานจิตตุปบาทที่เป็นกุศล กริยา เป็นต้นนี้ ไม่ต้องทําการประ หากกิเลสนิวรณ์ให้สงบลงอีกแต่ประการใด หากแต่เกิดขึ้น ทําให้จิตใจมีสมาธิแก่กล้า ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลําดับ พร้อมกับทําการละองค์ฌานอย่างหยาบมีวิตก เป็นต้น ให้สงบลง กล่าวคือ ทุติยฌานสมาธิก็ละวิตกองค์ฌาน ตติยฌานสมาธิก็ละวิจารองค์ฌาน จตุตถ ฌานสมาธิก็ละปีติองค์ฌาน ปัญจมฌานสมาธิก็ละสุของค์ฌานให้สงบลงไปเป็นชั้นๆ ในทุติยฌานกุศล กริยาจิตตุปบาทเหล่านี้มีเอกัคคตาเจตสิกเป็นประธาน ท่านมุ่ง หมายเอาเฉพาะเอกัคคตาเจตสิกดวงนี้แหละจึงแสดงวจนัตถะว่า “วิตกกาทิ โอฬา ริกธมฺเม สเมตติ = สมโถ”
สมถะมี ๒ ประการ
๑.) ปริตตสมถะ การเจริญสมถกรรมฐานของบุคคลที่ยังไม่เข้าถึงอัปปนา ภาวนานั้น ชื่อว่า ปริตตสมถะ เพราะในขณะนั้นมีแต่มหากุศล หรือ มหากริยาชวนะ เท่านั้นที่เกิดขึ้น องค์ฌานที่ประกอบอยู่นั้นก็ยังมีกําลังอ่อนอยู่
๒.) มหัคคตสมถะ การเจริญสมถกรรมฐานของบุคคลที่เข้าถึง อัปปนา ภาวนา คือ มหัคคตฌาน ชื่อว่า มหัคคตสมถะ เพราะในขณะนั้นมหัคคตกุศล หรือ กริยาชวนะเท่านั้นที่เกิดขึ้น และองค์ฌานที่ประกอบอยู่นั้นก็มีกําลังมาก สามารถเข้าไป เพ่งในสมถอารมณ์อย่างแน่วแน่ ส่วนองค์ฌานที่ประกอบกับมหัคคตกุศลนั้นเล่า ก็มี กําลังมาก สามารถประหาณนิวรณ์ธรรม โดยวิกขัมภนะอีกด้วย
๒. วิปัสสนาภาวนา
“รูปาที่อารมุมเณสุ ปญญัตติยา จ นิจจ สุข อตฺต สุภ สัญญายจ วิเสเสน นามรูปภาเวน วา อนิจจาทิอากาเป็น วา ปสฺสติ = วิปสฺสนา”
ธรรมชาติใดย่อมเห็นแจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ มีรูปารมณ์ เป็นต้น โดยความเป็น นาม รูป ที่พิเศษนอกออกไปจากบัญญัติ โดยการละทิ้งสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติเสียสิ้น และย่อมเห็นแจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ มีรูปารมณ์ เป็นต้น โดยอาการเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ที่พิเศษนอกออกไปจากนิจจสัญญาวิปัลลาส สุขสัญญาวิปัลลาส อัตตสัญญาวิปัลลาส สุภสัญญาวิปัลลาสเสีย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศล มหากริยา
หรืออีกนัยหนึ่ง “ปญฺจกชนเธ วิวิเธน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ วิปสฺสนา”
ธรรมชาติใดย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่าง ๆ มี อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ใน มหากุศล มหากริยา
อธิบายในวจนัตถะข้อที่
ในวจนัตถะข้อที่ ๑ นี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ
“รูปาที่อารมุมเณสุ ปญญัตติยา วิเสเสน นามรูปภาเวน ปสฺสติ = วิปสฺสนา” ตอนหนึ่ง
“รูปาที่อารมุมเณสุ นิจจ สุข อตฺต สุภ สญฺญาย วิเสเสน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ = วิปัสสนา” ตอนหนึ่ง
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเนื่องมาจากคําว่า “วิปัสสนา” นั้นเอง กล่าวคือ วิปัสสนา นี้มีบทอยู่ ๒ บท เป็น “วิ” บทหนึ่ง “ปัสสนา” บทหนึ่ง “วี” แปลว่า พิเศษ “ปัสสนา” แปลว่า ความเห็นแจ้ง เมื่อรวมเข้าทั้งสองบทแล้วก็คงแปลว่า ความเห็นแจ้ง เป็นพิเศษ ดังแสดงวจนัตถะว่า “วิเสเสน ปสฺสติ - วิปสฺสนา” ธรรมชาติใด ย่อมเห็นแจ้งเป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิปัสสนา
การเห็นแจ้งเป็นพิเศษซึ่งเป็นตัววิปัสสนาปัญญานี้มีอยู่ ๒ ประการ คือ การ เห็นแจ้งเป็นพิเศษในอารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรากฎทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดย ความเป็นรูป นาม ประการหนึ่ง
การเห็นแจ้งเป็นพิเศษในอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยความเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ประการหนึ่ง
การเห็นเช่นนี้แหละจึงกล่าวว่ามีการเห็นเป็นพิเศษ เพราะว่า อารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ ในขณะแรก ๆ ล้วนแต่เป็นปรมัตถ์ อันได้แก่ รูป นาม ทั้งสิ้น แต่สัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ ไม่เห็น ในความเป็นไปของอารมณ์ เหล่านี้ว่า เป็นรูป เป็นนาม คงรู้คงเห็นที่เป็นไปในฝ่ายบัญญัติอย่างเดียว คือ เมื่อได้ แลเห็นรูปารมณ์ด้วยตา ก็รู้ว่าตนได้เห็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติ ได้ยินสัททารมณ์ ด้วยหู ก็รู้ว่าตนได้ยินเรื่องนั้น เรื่องนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติ ได้รับคันธารมณ์ด้วยจมูก ก็รู้ ว่าตนได้กลิ่นชนิดนั้น ชนิดนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติ ได้รับรสารมณ์ด้วยลิ้น ก็รู้ว่าตนได้ลิ้ม รสชนิดนั้น ชนิดนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติได้รับโผฏฐัพพารมณ์ด้วยกาย ก็รู้ว่าตนได้สัมผัส กับวัตถุชนิดนั้น ชนิดนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติได้รับธัมมารมณ์ด้วยใจ ก็รู้ว่าเป็นหญิง เป็นชาย เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ดี เลว ผิด ถูก ดีใจ เสียใจ โง่ ฉลาด เลื่อมใส สงสาร รักใคร่ ซึ่งเป็นบัญญัติ
ความรู้ ความเห็นเป็นบัญญัติดังกล่าวมาแล้วนี้ ย่อมเป็นไปตามธรรมดา ส่วนความรู้ ความเห็นในอารมณ์ต่างๆ โดยความเป็นรูปนามนั้น เป็นความรู้ ความเห็น เป็นพิเศษ นี้เป็นคําอธิบายในวจนัตถะตอนที่ ๑ ที่แสดงไว้ว่า “รูปาที่อารมุมเณ ปญฺญตติยา วิเสเสน นามรูปภาเวน ปสฺสตีติ - วิปสฺสนา”
ส่วนการเห็นแจ้งเป็นพิเศษในอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยความเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ประการที่ ๒ นั้น คือเมื่ออารมณ์ ต่าง ๆ ที่เป็นภายนอกหรือภายในตนได้มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว แม้ว่าธรรมชาติของอารมณ์เหล่านี้จะมีสภาพเกิดดับประจําอยู่ก็จริง แต่หาได้รู้เห็นตาม ความเป็นจริง ตามสภาพของอารมณ์ที่มีการเกิดดับอยู่นั้นไม่ มีแต่ความรู้สึกว่าการเห็น การได้ยิน เป็นต้นนี้ตั้งอยู่เสมอโดยไม่ขาดสาย และอารมณ์ที่มาปรากฏเฉพาะหน้านั้น เล่าก็ตั้งอยู่เสมอ ไม่มีการดับไปและเกิดขึ้นใหม่ติดต่อกันแต่ประการใด ในขณะเดียวกัน นั้นเองก็มีความรู้สึกนึกคิดว่า อารมณ์อย่างนี้สวยงาม น่ารัก อย่างนี้ ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารัก เรื่องนี้ เมื่อจะเปรียบเทียบให้เห็นแล้วเหมือนกันกับความรู้สึกของผู้ที่กําลังดูภาพยนต์อยู่ คือ ในขณะนั้นมีแต่การเห็นภาพต่างๆ ที่สําเร็จเป็นบ้านเมือง ถนน หนทาง ต้นไม้ ภูเขา ตลอดจนกระทั่งสําเร็จในอิริยาบถใหญ่น้อยของคนหนึ่งๆ โดยครบถ้วน บริบูรณ์แล้ว แต่หาได้เห็นไม่ว่าภาพต่างๆ ก็ดี อิริยาบถใหญ่น้อยของคนหนึ่ง ๆ ที่กําลัง ปรากฏเป็นไปอยู่ก็ดี มีการติดต่อกันเป็นระยะ ๆ ไปตามลําดับของฟิล์มมากมายหลาย ร้อยหลายพันแผ่น หาใช่มีแต่เพียงแผ่นเดียวไม่ ข้อนี้ฉันใดอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏ เฉพาะหน้าทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เหมือนกันกับความเป็นไปของภาพยนต์ ความรู้สึกต่าง ๆ ของบุคคล ในขณะที่กําลังได้รับอารมณ์อยู่นั้น เหมือนกับความรู้สึก ของผู้ที่กําลังดูภาพยนต์อยู่
ความรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยความเป็น นิจจะ สุขะ อัตตะ สุภะ ดังกล่าวแล้วนี้ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศล ญาณสัมปยุตต์ก็มี ญาณวิปปยุตต์ก็มี แต่กุศลญาณสัมปยุตต์นี้ หาใช่ประกอบกับ วิปัสสนาปัญญาแต่ประการใดไม่ คงเป็นเพียงปัญญาสามัญทั่วๆ ไปเท่านั้น
สําหรับกุศลญาณสัมปยุตต์ที่ประกอบกับวิปัสสนาปัญญานั้น เมื่อได้รับอารมณ์ต่าง ๆ แล้วมีความรู้สึกได้ทันทีว่ามีความดับไป และเกิดขึ้นใหม่ติดต่อกันไป อย่างไม่ขาดสายโดยความเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ความเห็นเช่นนี้แหละ เป็นความเห็นที่พิเศษจาก นิจจะ สุขะ อัตตะ สุภะ ซึ่งมีเป็นประจําตามธรรมดา นี้เป็นคําอธิบายในวจนัตถะตอนที่ ๒ ที่แสดงว่า “รูปาที่อารมุมเณสุ นิจจ สุข อตฺต สุภ สญฺญาย วิเสเสน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ = วิปสฺสนา”
อธิบายในวจนัตถะข้อที่ ๒
ในวจนัตถะข้อนี้ คําว่า “วี” หมายความว่า ประการต่างๆ ประการต่าง ๆ นั้นได้แก่ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ “ปัสสนา” หมายความว่า การเห็นแจ้ง เมื่อรวมคําทั้งสองนี้เข้าด้วยกันแล้ว หมายความว่า การเห็นแจ้งโดยประการต่างๆ มี อนิจจะ เป็นต้น เพราะตามธรรมดา สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีความเข้าใจในขันธ์ ๕ คือ กาย ใจ การเสวยอารมณ์ การจําอารมณ์ การจัดแจงปรุงแต่งในอารมณ์ การรู้อารมณ์ เหล่า นี้ว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน อยู่ภายใต้บังคับบัญชา สวยงาม ล้วนแต่ เป็นความเห็น ความเข้าใจ ไปในฝ่ายวิปัลลาส ที่เป็นอกุศลบ้าง กุศลญาณสัมปยุตต์ บ้าง ญาณวิปปยุตต์บ้าง กุศลญาณสัมปยุตต์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับวิปัลลาสธรรมนี้ หาใช่ ประกอบกับวิปัสสนาปัญญา แต่ประการใดไม่ ส่วนกุศลญาณสัมปยุตต์ที่ประกอบกับ วิปัสสนาปัญญานั้น ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ดังนั้นจึงมีวจนัตถะแสดงว่า “ปญฺจกฺขนฺเธสุ วิวิเธน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ = วิปสฺสนา”
วิปัสสนามี ๓ ประการ
๑.) สงขารปริคฺคณฺหนกวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณที่มีการกําหนดรู้ใน สังขาร ธรรม รูป นาม
สมาบัติได้
๒.) ผลสมาบัติวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้าผลสมาบัติได้
๓.) นิโรธสมาบัติวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้านิโรธ
ในวิปัสสนาภาวนาทั้ง ๓ ประการนี้ สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา นั้น ไม่ ว่าจะเป็น ชนิด มันทะ หรือ ติกขวิปัสสนาก็ตาม เมื่อเข้าถึงความเป็นวุฏฐานคามิ นิวิปัสสนาแล้ว ก็ย่อมเป็นเหตุใกล้ที่จะให้ได้มรรคทั้งนั้น ต่างกันก็เพียงแต่ว่าได้สําเร็จ มรรคช้า หรือ เร็ว คือ ถ้าวิปัสสนาเป็นมันทะก็ให้สําเร็จมรรคช้า มรรคนั้นเรียกว่า ทันทาภิญญามรรค ถ้าวิปัสสนาเป็นติกขะก็ให้สําเร็จมรรคเร็ว มรรคนั้นเรียกว่า ขิปปาภิญญามรรค
ผลสมาปัตติวิปัสสนา นั้น จะต้องเป็นตึกขวิปัสสนาจึงจะเข้าถึงผลสมาบัติได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ติกขวิปัสสนานี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ ให้ผลจิตตุปบาทเกิดขึ้นได้ โดย ไม่ต้องอาศัยมรรคจิตตุปบาท เช่นเดียวกันกับ มรรคจิตตุปบาท ในมรรควิถีเป็นปัจจัย ช่วยอุปการะให้ผลจิตตุปบาทเกิด ๒-๓ ขณะต่อจากตน ฉันนั้น นี้มุ่งหมายเอาเพราะ ผู้ที่เริ่มเข้าผลสมาบัติใหม่ๆ เท่านั้น ถ้าผู้นั้นชํานาญในการเข้าผลสมาบัติแล้ว มันทวิปัสสนา ก็ได้เช่นเดียวกัน
ส่วน นิโรธสมาบัตติวิปัสสนา นั้นจะต้องเป็นวิปัสสนากลางๆ จะเป็นมันทะ หรือ ติกขวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ เพราะว่า นิโรธสมาบัตติวิปัสสนา นี้เป็น วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นสลับกันไปกับสมถะเรื่อยๆ ฉะนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคนันธวิปัสสนา
เนื่องด้วยวิปัสสนา มี ๓ ประการดังกล่าวมาแล้วนี้ ท่านอรรถกถาจารย์จึงได้ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา และ ปฏิสัมภิทามรรคอรรถกถา” ว่า
“วิปัสสนา ปเนสา ติวิธา โหติ สังขารปริคฺคณฺหนกวิปสฺสนา, ผลสมาบัติวิปัสสนา, นิโรธสมาบัติวิปัสสนาติ, ตตฺถ สังขารปริกคุณหน กวิปัสสนา มนทา วา โหตุ ติกขา วา มคฺคสฺส ปทฏฺฐานํ โหติเยว, ผล สมาปตฺติวิปัสสนา ติกขาว วฏฺฏติ มคฺคภาวนาสทิสา, นิโรธสมาบัติวิปัสสนา ปน นาติมนฺทนาติติกขา วัฏฏติ, ตสฺมา เอส นาติมนุทาย นาฬิกขาย วิปสฺสนาย เต สงฺขาเร วิปสฺสติ”
วิปัสสนาญาณนี้ มี ๓ อย่าง คือ สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา วิปัสสนา ญาณที่กําหนดรู้สังขารธรรม รูป นาม เพื่อจะได้มรรค ผลสมาปัตติวิปัสสนา วิปัสสนาญาณที่พิจารณา รูป นาม เพื่อจะเข้าผลสมาบัติ นิโรธสมาปัตติวิปัสสนา วิปัสสนาญาณที่มีการพิจารณามหัคคตธรรม เพื่อเข้านิโรธสมาบัติ
ในวิปัสสนาญาณทั้ง ๓ นั้น สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา วิปัสสนาญาณที่เป็น มันทะ หรือ ติกขะก็ตาม ล้วนแต่เป็นเหตุใกล้ให้ได้มรรคทั้งนั้น ผลสมาปัตติวิปัสสนา ต้องเป็นตึกขะอย่างเดียว จึงจะสมควร เช่นเดียวกันกับการเจริญขึ้นขององค์มรรคใน มรรคจิต (เพราะว่าวิปัสสนาญาณนี้แม้มีสังขารธรรมเป็นอารมณ์ก็ตาม แต่มีความเป็น ไปอย่างท้อถอยจากสังขารธรรม ประการหนึ่ง และเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ผลจิต- ตุปบาท ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เหมือนกันกับมรรคจิตที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ผล จิตตุปบาทในมรรควิถี ประการหนึ่งดังนี้) ส่วน นิโรธสมาบัตติวิปัสสนานั้นจะต้องเป็น วิปัสสนาญาณอย่างกลางที่เป็นนาติมันทะนาติติกขะ (เพราะว่าถ้าวิปัสสนาญาณเป็นชนิดอ่อนแล้วสมาธิก็จะมีกําลังมาก เมื่อสมาธิมีกําลังมาก จิต เจตสิกก็ไม่ดับ คือเข้า นิโรธสมาบัติไม่ได้ เพียงแต่มีจิตใจสงบลง เท่านั้น ถ้าวิปัสสนาเป็นชนิดอย่างแก่กล้าก็มี
การเห็นโทษในสังขารธรรมเป็นอย่างมาก ก็จะสําเร็จเป็นผลสมาบัติไป)
หมายเหตุ ความที่กล่าวไว้ในวงเล็บนี้ คัดมาจากวิสุทธิมรรคมหาฎีกา
กมุมฏฐาน คําว่า “กมุมฏฐาน” แปลว่า เป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสมถะ และ วิปัสสนา เมื่อแยกบทออกแล้วก็คงได้ ๒ บท คือ กมุม + ฐาน
กมุม แปลว่า การกระทํา
ฐาน แปลว่า เป็นที่ตั้ง
ดังมีวจนัตถะว่า “กิริยา = กมุม” การกระทําชื่อว่า กรรม
“ติฏฐิติ เอาถาติ = ฐาน” การเจริญสมถะวิปัสสนา ย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์ มีกสิณ เป็นต้น และ รูป นาม ฉะนั้น อารมณ์อันมีกสิณ เป็นต้น และรูป นาม จึงชื่อว่า ฐาน
กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ อารมณ์กรรมฐาน อย่างหนึ่ง อารัมมณิกภาวนา กรรมฐาน อย่างหนึ่ง ใน ๒ อย่างนี้ อารมณ์กรรมฐาน ได้แก่อารมณ์ของสมถะ มี ปถวีกสิณ เป็นต้น และอารมณ์ของวิปัสสนา มี เตภูมกสังขารธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดอยู่ใน ภูมิทั้ง ๓ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “กมุมสฺส ฐาน = กมมฏฐาน” อารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสมถะ วิปัสสนา ชื่อว่า กัมมัฏฐาน
อารัมมณีกภาวนากรรมฐาน ได้แก่การพยายามเจริญสมถะ และวิปัสสนาที่ เกิดขึ้นก่อนๆ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “กมุมสฺส ฐาน = กมมฏฐาน” ความพยายาม ที่เกิดขึ้นก่อน ๆ อันเป็นที่ตั้งของความพยายามที่เกิดขึ้นหลังๆ ชื่อว่า กัมมัฏฐาน สําหรับวจนัตถะในข้อนี้นั้น หมายความว่า ความพยายามที่เกิดขึ้นในครั้งหลังๆ นี้ มี ความพยายามที่เกิดขึ้นแล้วในขณะก่อนๆ เป็นระยะสืบต่อกันมานั้นเองเป็นที่ตั้ง ฉะนั้น ความพยายามที่เกิดขึ้นก่อนๆ นั้น จึงชื่อว่า อารัมมณีกภาวนากรรมฐาน
เมื่อสรุปความแล้ว อารมณ์สมถะและวิปัสสนา มี กสิณ เป็นต้น ก็ชื่อว่า กรรมฐาน ความพยายามที่เกิดขึ้นก่อนๆ ติดต่อกันมาเป็นลําดับก็ชื่อว่า กรรมฐาน ทั้งสองประการนี้ต่างกันก็แต่เพียงอย่างหนึ่งเป็น อารัมมณธรรม อุปมาเหมือนตัว ละคร ส่วนอีกอย่างหนึ่งเป็น อารัมมณิกธรรม อุปมาเหมือนกับผู้ดูละคร
แสดงวจนัตถะของคําว่า “กมุมฏฐาน” ตามนัยมูลฎีกา
“กมุมเมว วิเสสาธิคมสุส ฐานนุติ = กมฺมฏฺฐาน” ” (วา) “กมเมภาวนา รพโพ ฐานนฺติ - กมุมฏฐาน”
การเจริญภาวนาทั้งสองนี้แหละ เป็นเหตุแห่งการได้บรรลุฌาน มรรค ผล นิพพาน ที่เป็นธรรมพิเศษ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กรรมฐาน
หรืออีกนัยหนึ่ง ความพยายามเจริญในการกระทําทั้งสองอย่างนี้เป็นเหตุแห่ง การได้บรรลุ ฌาน มรรค ผล นิพพาน ฉะนั้น จึงชื่อว่า กรรมฐาน
ตามวจนัตถะทั้งสองนัยนี้ หมายความว่า การเจริญสมถะและวิปัสสนาทั้ง สองอย่างนี้ชื่อว่า กรรมฐาน เพราะเป็นเหตุให้ผู้เจริญได้บรรลุ ฌาน มรรค ผล นิพพาน ยถาทุกข์ คําว่า “ยถากกม” แปลว่า ตามลําดับ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ยํยํ กโม ยถากกโม” ลําดับใด ๆ ชื่อว่า ยถากกมะ
ในคาถาของพระอนุรุทธาจารย์ได้ใช้คําว่า “ยถากกม” ซึ่งเป็นคําพิเศษไว้ใน ลําดับสุดท้ายนั้น ก็เพื่อจะให้รู้ในคําปฏิญญาของท่าน ว่าท่านจะแสดงสมถกรรมฐาน ก่อน แล้วจึงจะแสดงวิปัสสนากรรมฐานต่อไปตามลําดับ
จบอธิบายบทโดยเฉพาะ ๆ ในคาถาปฏิญญา
ภาวนา ๓
บริกรรมภาวนา มหากุศล มหากริยาที่เกิดขึ้นก่อน ๆ นับตั้งแต่ได้เริ่มต้นเจริญ สมถกรรมฐานใหม่ ๆ ตลอดมา จนถึงจุดขอบเขตแห่งอุคคหนิมิตนั้น ชื่อว่า บริกรรม
วิถีจิตอันใดย่อมจัดแจงปรุงแต่งอัปปนา ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า บริกรรม หรือ อีกนัยหนึ่ง วิถีจิตที่เป็นเหตุแห่งการเจริญกรรมฐานเบื้องต้นชื่อว่า บริกรรม
คําว่า “ปรํ” ที่ใน ปริกมุม นี้เป็นอุปสารบท ในวจนัตถะข้อที่ ๑ คําว่า “ปริ” เป็น ธาตุวัตถา วตตกอุปสารปท หมายความว่า ไม่มีแสดงเนื้อความโดย เฉพาะ แต่คงเป็นไปตามเนื้อความของธาตุ ในวจนัตถะข้อที่ ๒ คําว่า “ปริ” เป็น ธาตุวัตถวิเสสกอุปสารปท หมายความว่า ย่อมกระทําเนื้อความของธาตุให้มีความ หมายเป็นพิเศษ คือแสดงให้รู้ว่า การเจริญกรรมฐานนี้เป็นการเจริญเบื้องต้น
วิถีจิตที่จัดแจงปรุงแต่งอัปปนา หรือ วิถีจิตที่เป็นเหตุแห่งการเจริญกรรมฐาน เบื้องต้นนี้ พระโยคีบุคคลควรกระทําให้เกิดขึ้นติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ และทวีมากยิ่งขึ้น ไปเป็นลําดับ ฉะนั้นวิถีจิตนั้น ชื่อว่า บริกรรมภาวนา
วิถีจิตที่เกิดขึ้นติดต่อกันอยู่เรื่อย ๆ ในขณะที่กําลังบริกรรมว่า ปถวี ๆ อยู่ เป็นต้นนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า บริกรรมภาวนา ดังมีวงนัตถะแสดงว่า “ปริกมุมญฺจ ต ภาวนา จาติ = ปริกมุมภาวนา” วิถีจิตใดชื่อว่า บริกรรมด้วย ชื่อว่า ภาวนาด้วย ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า บริกรรมภาวนา
อุปจารภาวนา มหากุศล มหากริยา ที่เกิดขึ้นใกล้กันกับอัปปนาฌาน ชื่อว่า อุปจาร ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อปปนาย สมีเป จรติ ปวตฺตตีติ - อุปจาร วิถีจิตอันใดเกิดขึ้นใกล้เคียงกันกับขอบเขตของอัปปนาฌาน ฉะนั้น วิถีจิตนั้น ชื่อว่า อุปจาร
วิถีจิตที่ชื่อว่า อุปจารนี้แหละ พระโยคีบุคคลควรกระทําให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ โดย ให้ทวีมากยิ่งขึ้นไป ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า อุปจารภาวนา ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อุปจารญฺจ ตํ ภาวนา จาติ = อุปจารภาวนา” วิถีจิตใดชื่อว่า อุปจารด้วยชื่อ ว่า ภาวนาด้วย ฉะนั้น วิถีจิตนั้น ชื่อว่า อุปจารภาวนา
อัปปนาภาวนา คําว่า “อัปปนา” นี้เป็นชื่อของวิตกโดยตรง ส่วนมหัคคตจิต โลกุตตรจิต เจตสิก ที่เรียกว่า อัปปนา นั้นเป็นการเรียกโดยอ้อมตามนัยอวยรูปจารนัย หมายความว่า ยกชื่อของวิตกขึ้นมาตั้งไว้ในธรรมที่ประกอบกันกับวิตก ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า “อปเปติ สมปยุตตธมฺเม อารมณ์ อภินิโรเปตีติ = อปปนา” ธรรมชาติใดย่อมยกสัมปยุตตธรรมขึ้นสู่อารมณ์เฉพาะหน้า ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อัปปนา ได้แก่ วิตกองค์ฌาน ที่ประกอบกับมหัคคตโลกุตตรธรรม “อปปนา จ สา ภาวนา เจติ = อฺปปนาภาวนา” ธรรมชาติใดเป็นอัปปนาด้วย เป็นการกระทําที่ ถึงแล้วซึ่งความเจริญนั้นด้วย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อัปปนาภาวนา
ในภาวนาทั้ง นี้ มหากุศล มหากริยาชวนะ ที่เกิดก่อนมหัคคตฌานนั้น แหละ ชื่อว่า บริกรรมภาวนา แต่บริกรรมภาวนานี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ ตอนแรกของมหากุศล มหากริยา ที่เกิดอยู่ห่างไกลจากมหัคคตฌานนั้น มหากุศล มหากริยานี้ ชื่อว่า บริกรรมภาวนา เมื่อเกิดอยู่เรื่อย ๆ และทวียิ่ง ๆ ขึ้นมาตามลําดับ เกือบใกล้ที่มหัคคตฌาน จะเกิด มหากุศล มหากริยานี้ชื่อว่า อุปจารภาวนา เมื่อ สรุปแล้วก็คงได้ความว่า บริกรรมภาวนานี้เอง เมื่อเกิดอยู่ใกล้ที่มหัคคตฌานจะเกิดนั้น บริกรรมภาวนานี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อุปจารภาวนา เหมือนกันกับภวังคจลนะดวงที่ ๒ ที่เกิดขึ้นก่อนวิถีจิต ชื่อว่า ภวังคุปัจเฉทะ
นิมิต ๓
บริกรรมนิมิต อารมณ์กรรมฐานต่างๆ มี ปถวีกสิณ เป็นต้น ชื่อว่า นิมิต ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
“อารมฺมณิกธมฺเมหิ นิมิยเต ฌานิยเต = นิมิตต์” ธรรมอันใดพึงรู้เป็นนิจ โดย จิต เจตสิก ซึ่งเป็นอารมณณิกธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า นิมิต ได้แก่อารมณ์
คําว่า บริกรรมนิมิตนี้ ก็คือนิมิตของบริกรรมนั้นเอง เหมือนกับคําบาลีที่ว่า ราชปุตโต ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า โอรสของพระราชา ข้อนี้ฉันใด คําว่าบริกรรมนิมิต ก็เช่นเดียวกัน ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ปริกมุมสฺส นิมิตต์ = ปริกมุมนิมิต” อารมณ์ของบริกรรมภาวนา ชื่อว่า บริกรรมนิมิต ได้แก่รูปารมณ์ หรือ โผฏฐัพพารมณ์ หรือ ธัมมารมณ์ ซึ่งเป็นองค์กรรมฐานที่พระโยคีบุคคลใช้เจริญ
อุคคหนิมิต อารมณ์กรรมฐานมี ปถวีกสิณ เป็นต้น ที่ปรากฏขึ้นแล้วทางใจ โดยไม่ต้องอาศัยตาเพ่งนั้น ชื่อว่า อุคคหนิมิต ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อุคคเหตพฺพสฺติ = อุคคห์, อุคคหญจ ติ นิมิตตญชาติ = อุคคหนิมิตต์” อารมณ์ใดจึงยึดแล้ว โดยมโนทวาริกกุศล หรือ กริยาชวนะ ฉะนั้น อารมณ์นั้นชื่อว่า อุคคหะ อารมณ์ใดที่ จึงยึดแล้วโดย มโนทวาริกกุศล หรือ กริยาชวนะด้วย เป็นนิมิตด้วย ฉะนั้น อารมณ์นั้น ชื่อว่า อุคคหนิมิต หรืออีกนัยหนึ่ง “อุคฺคณาที่ติ อุคฺคโห, อุคคหสฺส นิมิต ติ = อุคคหนิมิตต์” วิถีจิตอันใดย่อมยึดไว้ซึ่งอารมณ์กรรมฐาน ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อ ว่า อุคคหะ ได้แก่ มโนทวารวิถีที่มีกุศล หรือ กริยาชวนะ อารมณ์ของมโนทวารวิถีจิต ชื่อว่า อุคคหนิมิต
ความแตกต่างกันระหว่าง บริกรรมนิมิต กับ อุคคหนิมิต
อารมณ์กรรมฐานที่เป็น บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ทั้งสองนี้ ต่างกันก็แต่ เพียงว่า บริกรรมนิมิตนั้น พระโยคีบุคคลเห็นได้ด้วยตา เป็นปัจจุบันรูปารมณ์ ส่วน อุคคหนิมิตนั้น เป็นภาพที่พระโยคีบุคคลเห็นได้ด้วยใจ เป็นอดีตรูปารมณ์ เมื่อว่าโดย รูปร่างสัณฐาน สีสรร วรรณะ ตลอดจนประมาณความเล็ก หรือ ใหญ่แล้ว ก็คงเหมือนกันทั้งสิ้น
ปฏิภาคนิมิต อารมณ์กรรมฐานที่มีส่วนคล้าย ชื่อว่าปฏิภาค ฉะนั้น ปฏิภาคนิมิต นั้น จึงเป็นอารมณ์กรรมฐาน ที่มีสภาพคล้ายกันกับอุคคหนิมิต ดังมีวจนัตถะ
แสดงว่า “ปฏิภาค นิมิตตํ = ปฏิภาคนิมิตตํ” อารมณ์กรรมฐานที่มีสภาพคล้ายกันกับอุคคหนิมิต ชื่อว่า ปฏิภาคนิมิต
ความแตกต่างกันระหว่าง อุคคหนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต
อารมณ์กรรมฐานที่เป็นอุคคหนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิตทั้งสองนี้ เป็นอารมณ์ที่ ปรากฏขึ้นทางใจด้วยกันทั้งคู่ ต่างกันก็เพียงแต่ รูปารมณ์ที่เป็นอุคคหนิมิตนั้น มีสภาพ คงที่เหมือนกันกับของเดิมทุกประการ ส่วนรูปารมณ์ที่เป็นปฏิภาคนิมิตนั้นไม่เหมือน กันกับของเดิม คือ องค์กสิณที่พระโยคีบุคคลจัดทําขึ้นนั้นมีรอยนิ้วจับต้องติดอยู่ก็ดี หรือ ดินนั้นมีผงธุลีแปดเปื้อนติดอยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ดี เมื่อปรากฏเป็นอุคคหนิมิตขึ้น ทางใจนั้น สิ่งเหล่านี้ก็คงปรากฏเห็นได้ทุกอย่างเหมือนกับของเดิม ไม่มีการผิดแผก แปลกแต่อย่างใด สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ถึงแม้จะปรากฏทางใจเช่นเดียวกันก็ตาม แต่ รูปารมณ์นี้มีความใสสะอาด บริสุทธิ์หมดจดมากกว่าอุคคหนิมิตร้อยเท่า เหมือนกับ ความบริสุทธิ์ หมดจด ใสสะอาดปราศจากเมฆหมอกของดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ทั้งชี้ ขาดลงไปไม่ได้อีกด้วยว่า ปฏิภาคนิมิตนั้นมีสีสรรวรรณะอย่างนั้น ๆ ที่เป็นเช่นนี้ ก็ เพราะปฏิภาคนิมิตนั้น เป็นรูปารมณ์แทนอุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจสมาธิพระโยคีบุคคล
ปถวีกสิณ
คําว่า “ปถวี” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาวปถวี ที่มีลักษณะแข็ง หรือ อ่อนแต่ประการใด หากแต่มุ่งหมายเอา สสัมการปถวี คือ ดินที่มีสัณฐานกลม ถ้าเป็นชนิดเล็กก็โตประมาณเท่าจานข้าว หรือ ตะแกรงเล็กที่มีขนาดกว้าง ๑ คืบกับ ๔ องคุลี ถ้าเป็นชนิดใหญ่ก็โตประมาณเท่ากับลานข้าว นี้แหละเรียกว่า ปถวี
คําว่า “กสิณ” แปลว่า ทั้งหมด หมายความว่า ผู้ที่เพ่งกสิณนั้นจะต้องเพ่ง องค์กสิณให้ทั่วไปพร้อม ๆ กัน
ดังนั้น ปถวีนั้นก็ได้แก่ ดินที่มีปริมณฑลกลม โดยจัดทําขึ้นบ้าง หรือ เป็น ดินที่มีปริมณฑลกลมอยู่แล้วโดยมิได้จัดทําขึ้นแต่อย่างใด ที่เป็นชนิดเล็ก หรือ ใหญ่ ซึ่งพระโยคีบุคคลควรเพ่งโดยทั่วไปพร้อม ๆ กันนั้นเอง ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ปถวี เยว กสิณนฺติ = ปถวีกสิณํ” ดินที่มีสัณฐานกลมนั้นแหละเป็นดินที่พระโยคีบุคคล ต้องเพ่งโดยทั่วไปพร้อม ๆ กัน มิใช่เพ่งเฉพาะแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยใช้บริกรรม ว่า ปถวี ๆ ด้วยภาวนาจิต ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปถวีกสิณ
การที่กล่าวว่า ดินมีปริมณฑลกลมอยู่แล้วโดยมิได้จัดทําขึ้น แต่ใช้เป็นองค์ กสิณได้นี้มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ มีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการ เคยได้รูปวจรฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กันกับภพนี้ โดยการเพ่งปถวีกสิณเท่านั้น เพราะผู้ที่เคยได้รูปาจารฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กันกับภพนี้ โดยการเพ่งปถวีกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นดินที่มีปริมณฑลกลม หรือ ลานข้าวเข้าแล้วก็เพ่ง ดูโดยบริกรรมว่า ปถวีๆ เพียงเท่านี้ ภาพปถวีกสิณนั้นก็ปรากฏติดอยู่กับใจได้ ที่เรียก ว่าเป็น อุคคหนิมิต เมื่อได้อุคคหนิมิตแล้ว ก็ไม่จําเป็นอย่างใดที่จะต้องมาเพ่งดินหรือ ลานข้าวนั้นอีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่กับบ้าน หรือ กุฎีต่อไป
จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
บุพพกิจ คือ กิจเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้าปฏิบัติ
พุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์ ชาย หญิง และบรรพชิตทั้งหลายที่ได้เกิดมา เป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เมื่อมีความเชื่อ ความเลื่อมใส ในคุณของพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป ผลของบุญ บาป โลกนี้ โลกหน้า นรก สวรรค์ เหล่านี้ เป็นต้นแล้วสมควรที่จะแสวงหาอมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย
การเจริญสมถภาวนาก็ดี การเจริญวิปัสสนาภาวนาก็ดี กิจเบื้องต้นก่อนที่จะลงมือเจริญนั้นมีอยู่ ๗ ประการ คือ
๑. ตั้งตนอยู่ในศีล
๒. ตัด มหาปลิโพธ เครื่องกังวลใหญ่ ๑๐ ประการ
๓. แสวงหากัลยาณมิตรที่มีความรู้ในการ ให้กรรมฐาน
๔. ทําการศึกษาอบรมในกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตของตน ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของปริยัติที่เนยยบุคคลทั้งหลายเว้นเสียมิได้
๕. เว้นจากสถานที่ที่เป็นโทษแก่ การปฏิบัติ
๖. อยู่ในสถานที่ที่สะดวกสบายแก่การปฏิบัติ
๗. ตัดขุททกปลิโพธเครื่อง กังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็ลงมือปฏิบัติ
ขยายความในบุพพกิจทั้ง ๗ ตามลําดับดังต่อไปนี้
๑. ตั้งตนอยู่ในศีล
ศีล ๕ หรือ อาชีวัฏฐมกศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์
ศีล ๘ ธรรมดา เป็นศีลของชี
ศีล ๑๐ เป็นศีลของสามเณร
ปาฏิโมกขสังวรศีล เป็นศีลของพระ
๒. มหาปลิโพธ ๑๐ ประการ
เครื่องก่อกวนให้เกิดความกังวลมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ ที่อยู่ ที่อาศัย มีวัด กุฎี บ้านเป็นต้น ทายกทายิกา ลาภสักการะ หมู่คณะ นวกรรม การงานที่จัดซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ซึ่งเป็นที่ ๕ การเดินทาง ญาติโยม อาพาธ การศึกษา การสอนพระปริยัติธรรม การแสดงอิทธิฤทธิ์
๓. แสวงหากัลยาณมิตร
ผู้ที่จะเป็นอาจารย์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรของผู้ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา ทั้งหลายนี้ ต้องประกอบด้วยคุณ ๗ ประการ คือ
ปิโย เป็นผู้ที่น่ารัก น่าเลื่อมใส เพราะมีศีลบริสุทธิ์ อย่างหนึ่ง
ครุ เป็นผู้ที่น่าเคารพ เพราะประกอบด้วยคุณธรรมมีศีล สมาธิ และการถือ ธุดงค์ มีบังสุกุลกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ ปิณฑบาติกังคธุดงค์ เอกาสนิกังคธุดงค์ เหล่านี้ เป็นต้น อย่างหนึ่ง
ภาวนีโย เป็นที่น่าสรรเสริญ เพราะมีจิตใจเที่ยงธรรม ไม่ลําเอียงในบรรดาสห ธรรมิกและลูกศิษย์ อย่างหนึ่ง
วตฺตา เป็นผู้ที่สามารถอบรมลูกศิษย์ให้ดี อย่างหนึ่ง
วจนกขโม เป็นผู้ยอมรับคําตักเตือนจากสหธรรมิก และลูกศิษย์ อย่างหนึ่ง
คมภีรญฺจ กถํ กตฺตา เป็นผู้สามารถแสดงธรรมอันลึกซึ้ง กล่าวคือ ความเป็นไปของรูป นาม ขันธ์ ๕ มีสัจจะ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เหล่านี้ เป็นต้น ได้อย่าง แจ่มแจ้งชัดเจน อย่างหนึ่ง
อฏฐาเน โน จ นิโยชเย เป็นผู้เว้นจากการชักชวนในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แม้ที่สุดเพียงครั้งเดียวก็ไม่ทํา มีแต่การคอยชักนําให้ทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์ตน และ ประโยชน์ของพระพุทธศาสนาอยู่เป็นนิจ อย่างหนึ่ง
คุณ ๗ ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมมีคุณแก่ตนและผู้ปฏิบัติตลอดทั่ว ไปในพระพุทธศาสนา ฉะนั้น ถ้าหากว่าผู้ที่เป็นอาจารย์ขาดคุณ ๗ ประการนี้ไปเพียง ประการใดประการหนึ่งแล้ว จะเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตรที่แท้นั้นยังไม่ได้ โดยเหตุนี้แหละ ผู้ที่เป็นอาจารย์ สมถะ วิปัสสนา ของผู้ปฏิบัติทั้งหลายควรพยายาม อบรม ตั้งตนไว้ให้สมบูรณ์ด้วยคุณทั้ง ๗ ประการนี้ เพื่อจะได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตร ที่ถูก ที่แท้ พร้อมมูล โดยอาการทั้งปวง สําหรับผู้ที่ปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา ทั้ง หลายนั้นเล่า ก็ต้องแสวงหาอาจารย์ที่ประกอบด้วยคุณธรรม ๗ ประการนี้ด้วยเช่นกัน จึงจะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัตินี้อย่างสมบูรณ์ได้
๔. ทําการศึกษาอบรมในกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตของตน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปริยัติที่เนยยบุคคลทั้งหลายจะเว้นเสียไม่ได้
คําอธิบายขยายความของข้อที่ ๔ นี้ จักขอระงับเอาไว้ไม่อธิบาย เพราะเนื้อ ความในข้อนี้ มีอยู่แล้วในหมวดสัปปายเภท ซึ่งเป็นหลักของอภิธัมมัตถสังคหะที่ได้ แสดงมาแล้วแต่ตอนต้น
สําหรับเนื้อความพิเศษนั้นจะได้ทราบโดยถี่ถ้วนในเมื่อถึงตอนอธิบายขยายความในหมวดสัปปายเภทต่อไป
๕. เว้นจากสถานที่ที่เป็นโทษแก่การปฏิบัติ ในที่นี้สถานที่ที่เป็นโทษแก่การปฏิบัติมีอยู่ ๑๘ ประการ คือ
๑.) มหาวาสํ ที่อยู่อาศัย กว้างขวางใหญ่โตมาก
๒.) นวาวาส ที่อยู่อาศัย ที่พึ่งสร้างขึ้นใหม่
๓.) ชราวาส ที่อยู่อาศัย ที่ชํารุดทรุดโทรมเก่าแก่
๔.) ปนถนิสสิต สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับหนทาง
๕.) โสณฑ์ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับบ่อน้ํา สระน้ํา
๖.) ปณฺณํ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับสวนผักต่างๆ
๗.) ปุปฺผํ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับสวนดอกไม้
๘.) ผลํ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับสวนผลไม้
๕.) ปฏฐนียตา สถานที่ที่อยู่ เป็นสโมสร
๑๐.) นครสนนิสฺสิตา สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับตัวเมือง
๑๑.) ทารุสนนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับป่าฟืน
๑๒.) เขตตอนนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับนา
๑๓.) วิสภาคาน บุคคลาน อตฺถิตา สถานที่ที่อยู่ของบุคคลที่ไม่ถูก กันกับตน
๑๔.) ปฏฏนสนนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ใกล้กับท่าเรือ สถานีรถไฟ สนามบิน
๑๕.) ปจฺจนฺตสนฺนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ในชนบท ซึ่งชน เหล่านั้น ไม่เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
๑๖.) รชชสีมสนนิสฺสิตา สถานที่ที่อยู่ในระหว่างพรมแดนแวดล้อมไปด้วยราชภัย
๑๗.) อสปปายตา สถานที่ไม่สบาย ซึ่งเนื่องมาจาก ยักขภัย โจรภัย
๑๘.) กลยาณมิตตา อลาโภ สถานที่ไม่มีกัลยาณมิตร คือครู อาจารย์ ที่ประกอบด้วยคุณ ๗ ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น
๖. อยู่ในสถานที่ที่สะดวกสบายแก่การปฏิบัติ สถานที่ที่สะดวกสบายแก่การปฏิบัตินั้นมีอยู่ ๕ ประการ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ซึ่งเหมาะสมแก่การปฏิบัติ นั้น เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ในศาสนาของตถาคตนั้น มีดังนี้ คือ
๑.) มีหนทาง ไปมาสะดวกสบาย คือ ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากหมู่บ้าน
๒.) ไม่มีเสียงอึกทึก คือ กลางวันก็ไม่จอแจด้วยผู้คน กลางคืนก็เงียบสงัด
๓.) ไม่มี แมลงวัน ยุง สัตว์เลื้อยคลานมารบกวนกัดต่อย ไม่ถูกลม แดด
๔.) จีวรปิณฑบาตเสนาสนคิลานปัจจัยเภสชฺชปริกฺขารา ฯ สถานที่ที่บริบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม อาหาร ที่พักอาศัย ยารักษาโรค ซึ่งผู้ปฏิบัติแสวงหาได้โดยง่าย ไม่ลําบาก
๕.) ในสถานที่นั้น มีพระภิกษุผู้เป็น พระเถระที่เป็นพหูสูตร มีความรู้อย่างกว้างขวาง เป็นผู้มีความท่องจําไว้ได้ คือ พระสูตร พระอภิธรรม พระวินัย และหัวข้อในพระไตรปิฎก พํานักอาศัยอยู่ พระโยคีบุคคล เข้าไปหาท่านตามกาลเวลาอันสมควร แล้วไต่ถามสอบสวนข้อความเหล่านั้นว่า บทนี้ จะต้องทําความเข้าใจอย่างไร มีความหมายว่ากระไร ดังนี้ ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผยข้อ ลี้ลับ และข้อธรรมที่ยังไม่กระจ่างท่านก็ทําให้กระจ่าง และบรรเทาความสงสัยในข้อ ธรรมที่สุขุมลุ่มลึกที่เป็นเหตุให้เกิดความสังสัย อันจะทําให้โยคีบุคคลนั้นได้รับ ประโยชน์อย่างใหญ่ไพศาล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ดังนี้แล ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ประกอบด้วยองค์ ๕
๗. ตัดขุททกปลิโพธ เครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วลงมือปฏิบัติการตัดความกังวลหยุมหยิมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนหน้าจะทําการปฏิบัติที่ได้ชื่อว่า ขุททกปลิโพธิ์นั้น มีดังนี้ คือ
๑.) ตัดผม ตัดเล็บ โกนหนวดที่ยาวเสียใหม่ให้เรียบร้อย
๒.) จัดการ ปะชุนจีวรที่ใช้สึกหรือคร่ําไปแล้วนั้น ให้มั่นคงเรียบร้อยดีขึ้น ถ้าเนื้อผ้าฉีกขาดไปก็จัดการเย็บเสียใหม่
๓.) ก็ต้องจัดการย้อมสีเสียใหม่ให้เรียบร้อยเมื่อสีของจีวรนั้นเก่าจางไป
๔.) ถ้าในบาตรมีสนิม ก็ต้องทําการระบบบาตรเสียใหม่ให้ดีขึ้น
๕.) ต้องปัดกวาด เช็ดถู เตียง และตั่ง เป็นต้นให้สะอาดหมดจด
การตัดผม ตัดเล็บ โกนหนวดเครา ปะชุนเย็บจีวร ย้อมจีวร ระบบบาตรที่ เป็นสนิม ปัดกวาด เช็ดถู เตียงและตั้ง เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องกังวลหยุมหยิมเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ผู้ปฏิบัติควรต้องจัดทําให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน จึงจะสบาย เพื่อจะ ได้ไม่ต้องกังวล ถึงเรื่องเหล่านี้ในเวลาที่กําลังทําการปฏิบัติอยู่
การจัดทําองค์ปถวีกสิณและการเพ่งนั้น มีดังนี้
พุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์ทั้งชาย หญิง และบรรพชิตทั้งหลาย เมื่อมี ความประสงค์ใคร่ที่จะเจริญสมถกรรมฐาน โดยการเพ่งปถวีกสิณนั้น จะต้องจัดการหา ดินมาทําเป็นองค์กสิณขึ้นเสียก่อน โดยเลือกใช้ดินที่มีสีอรุณและมีความเหนียวพอ ประมาณ เพื่อจะได้ทําให้จิตใจแจ่มใสชุ่มชื่นเบิกบาน ทั้งจะได้ป้องกันไม่ให้ไปปะปน กันกับวัณณกสิณทั้ง ๔ คือ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ แต่อย่างใด ๆ อีกด้วย เสร็จแล้วจัดการเก็บสิ่งสกปรกต่างๆ ที่มีติดอยู่กับดินนั้นออกเสียให้หมด เมื่อ เห็นว่าดินนั้นมีความสะอาดดี เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยนํามาผสมกับน้ําทําการขยํานวด พื้นเคล้าคลึงไปมา จนกว่าดินนั้นจะละเอียดอ่อนสะอาดหมดจดจากฝุ่นละอองธุลีที่มี แปดเปื้อน แล้วก็คลึงแผ่ออกไปให้เป็นแผ่นวงกลมกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี เสร็จแล้วเอาสีเขียวหรือขาวมาทาลงรอบๆ
ของวงกลมให้ใหญ่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสี่ของนิ้ว หรือมิฉะนั้น จะใช้หนังหรือไม้กระดานเป็นต้นก็ได้ มาตัดทําเป็นวงกลม แล้ว เอาดินดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ทาลงไปที่แผ่นหนังหรือกระดานนั้น ตามรอบๆ ของวงกลมก็ คงใช้สีเขียว หรือ สีขาวให้ใหญ่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสี่ของนิ้วเช่นเดียวกัน สําหรับ ทางด้านที่จะใช้เพ่งนั้น ต้องจัดทําให้สะอาดเรียบร้อย สม่ําเสมอ เกลี้ยงเกลา เป็น พิเศษให้เหมือนกับหน้ากลอง
อนึ่ง ถ้าต้องการจะทําองค์กสิณให้เล็กกว่า หรือ ใหญ่กว่าจากที่กําหนดไว้ แล้วนั้นก็ได้ คือ จะให้เล็กลงไปอีกประมาณ ๒ หรือ ๓ องคุลี หรือ ใหญ่กว่าไปอีก ประมาณ ๔ หรือ ๘ องคุลีก็ได้ ทั้งนี้ถ้าหากว่าองค์กสิณนั้นเล็ก จะทําให้จิตใจของ พระโยคีตั้งมั่นอยู่กับองค์กสิณได้เร็ว และอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ทั้งสองอย่างนี้ก็ ปรากฏได้เร็วเช่นเดียวกัน แต่สําหรับจิตใจของพระโยคีบุคคลนั้นไม่รู้จะกว้างขวางนัก คือ สมาธิไม่ค่อยมีกําลังแรง ถ้าองค์กสิณใหญ่ จะทําให้จิตใจของพระโยคีตั้งมั่นได้ช้า และอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ทั้งสองนั้น ก็ปรากฏได้ช้าเช่นเดียวกัน แต่สําหรับจิตใจ ของพระโยคีบุคคลนั้นกว้างขวางยิ่ง คือ สมาธิกําลังแรงมาก
สําหรับองค์กสิณที่ใช้เพ่งอยู่นี้ พระโยคีบุคคลจะต้องทําการเคารพนับถือให้ เหมือน ๆ กันกับการเคารพนับถือในพระบรมธาตุ แล้วต้องหมั่นดูแลพิทักษ์รักษา เช็ด ถูให้สะอาดมิให้มีฝุ่นละอองธุลีใดๆ มาแปดเปื้อนอีกด้วย เหมือนกับการรักษาพระพุทธรูปฉันนั้น
เมื่อพระโยคีบุคคล ได้จัดการทําองค์กสิณเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ต่อแต่นั้นก็พึ่ง แสวงหาสถานที่ห่างจากหมู่คณะและเสียงต่างๆ จะเป็นภายในบริเวณบ้าน หรือภายใน บริเวณวัด ตามเรือกสวน ป่า เขา ก็ได้ อันเป็นสถานที่ที่เงียบสงัด สะดวกสบายแก่การ ที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ แล้วก็เริ่มต้นลงมือปฏิบัติต่อไป การลงมือปฏิบัติเพ่งปถวีกสิณนี้ ต้องตั้งองค์ปถวีกสิณไว้ในที่จําเพาะหน้า โดยไม่ให้สูงไปหรือต่ําไปจากสายตาของตนนัก เพราะว่าถ้าตั้งสูงไปก็จะต้องแหงนหน้าเพ่งดู ถ้าต่ําไปก็จะต้องก้มหน้าเพ่งดู ซึ่งจะ ทําให้ตนได้รับความลําบากในการเพ่งดูนั้น ครั้นเมื่อจะเข้าไปนั่งขัดสมาธิทําการเพ่งอยู่ ก็จงนั่งลงภายในหัตถบาส คือ ๒ ศอก กับ ๑ คืบ ซึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลไปจากองค์กสิณ เพราะว่าถ้าหากนั่งไกลเกินไป จะทําให้การเห็นปริมณฑลขององค์กสิณไม่ได้ชัด ถ้า หากว่าทั้งใกล้ไป ก็จะทําให้แลเห็นรอยนิ้วมือ หรือ รอยไม้ที่ใช้ทําการกดคลึงองค์กสิณ นั้นได้อย่างแจ้งชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเป็นอุปสรรคแก่สมาธิ คือ ทําให้สมาธิหย่อน ไปทั้งในขณะที่กําลังเพ่งอยู่ และเมื่อเวลาที่อุคคหนิมิตปรากฏเกิดขึ้น โดยเหตุนี้แหละ จึงต้องนั่งภายในระยะที่ไม่ให้ใกล้ หรือ ไกลออกไปจากองค์กสิณดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น
ภายหลังจากที่ได้นั่งลงโดยเรียบร้อยแล้ว ต่อแต่นั้นก็จงเริ่มปรารภความพอใจ ที่จะได้มาซึ่งฌานที่จะทําตนให้พ้นออกไปจากกามคุณอารมณ์ต่างๆ อันเป็นตัวฉันทะที่ ประกอบด้วยเนกขัมมสังกัปปะ แล้วจงพิจารณาในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปจนกว่าจิตใจจะบังเกิดความรู้สึกแช่มชื่นอิ่มเอิบปราโมทย์ในพระคุณนั้น ๆ จาก นั้นก็จงทําการแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลาย มีเทวดาและมนุษย์ เป็นต้น พอสมควร เสร็จแล้วจึงค่อยน้อมใจมาพิจารณาถึงตัวของตนว่า คนนี้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่มี สิ่งใดที่จะช่วยตนให้พ้นไปจากความตายได้ ฉะนั้นก่อนที่ความตายจะมาถึงตน ตนจึง จําเป็นที่จะต้องพยายามขวนขวายหาสรณะที่พึ่งให้แก่ตัวของตนให้จงได้ พร้อมกับมี ความคิดเห็นว่า การปฏิบัติโดยเพ่งกสิณนี้ เป็นวิธีปฏิบัติของบัณฑิตทั้งหลาย มีพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดจน พระอริยสาวก เป็นต้น และท่านทั้งหลายเหล่านี้ที่ท่านได้พ้นออกไปจากวัฏฏทุกข์ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้นั้น ก็เพราะอาศัยการเพ่งกสิณนี้เอง ดังนั้นการที่ตนจะพ้นออกไปจากสังสารวัฏฏ์ซึ่งมี การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ก็โดยอาศัยการเพ่งกสิณนี้เช่นเดียวกัน เมื่อคิดเห็นเช่นนี้แล้ว ก็จงยกมือขึ้นทําการอัญชลีกรรมแต่องค์กสิณนั้น แล้วทําการเพ่งดู พร้อมกับแผ่ใจตลอดทั่ว ไปภายในขอบเขตแห่งองค์กสิณนั้น อย่าได้ใช้สายตาเพ่งดู หรือ ใช้ใจไปจดจ่อแต่เพียง ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กสิณเป็นอันขาด
เมื่อทําการเพ่งแผ่ใจโดยทั่วๆ ไปอยู่นั้น ก็จงอย่าได้ไปสนใจกับสีของปัถวี ที่ เป็นองค์กสิณ และสภาวลักษณะของปถวี ที่มีความแข็ง อ่อน แต่อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ก็เพราะว่า มิได้ทําการเพ่งวัณณกสิณ แต่กําลังทําการเพ่งปถวีกสิณอยู่ ทั้งไม่ต้องไป ทําการพิจารณาถึงปรมัตถปถวีแต่ประการใดอีกด้วย หากแต่ต้องตั้งใจเพ่งดูอยู่เฉพาะ แต่ในบัญญัติปถวีอย่างเดียวเท่านั้น โดยเหตุนี้แหละพระโยคีบุคคลจึงไม่ควรไปสนใจใน สีของปถวี และ ปรมัตถสภาวปถวีแต่อย่างใด ๆ
ฝ่ายภายในด้านจิตใจนั้น ก็จงทําความพอใจ อิ่มใจ ตั้งมั่นอยู่อย่างจริงใจใน ให้เหมือนกันกับเสือที่กําลังกัดดึงดูดเอาแต่เฉพาะเนื้อเต่าออกมาจาก กระดองเต่าฉันนั้น เมื่อกําลังเพ่งดูอยู่ก็จงลืมตาดูอยู่อย่างธรรมดา อย่าลืมตาให้โตหรือ หรี่ตาให้เล็กลงไปแต่อย่างใดนัก พร้อมกันนั้นก็จงใช้ปากบริกรรมว่า ปถวี ๆ หรือ ดิน ๆ เป็นระยะๆ ไป ไม่จําเป็นจะต้องบริกรรมโดยไม่หยุดหย่อน ซึ่งจะทําให้กลายเป็นการ เสกคาถาไป และจงพยายามลืมตาบริกรรมให้มากที่สุดที่จะมากได้ ส่วนการหลับตา บริกรรมนั้น ก็จงใช้เป็นบางครั้งบางคราว แต่อย่าให้บ่อยนัก ทําอยู่เช่นนี้เรื่อยๆ ไป จนกว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏขึ้น
หมายเหตุ การงานที่จะพึงปฏิบัติในการเพ่งองค์กสิณที่เหลืออีก ๙ นั้นก็คง เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้ทุกประการ ที่พิเศษ ๆ นอกออกไปจากนี้ก็จะได้แสดงให้ ทราบโดยเฉพาะๆ ไป ในเมื่อถึงเรื่องขององค์กสิณนั้นๆ
วิธีป้องกันอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากใจในระหว่างที่อุคคหนิมิตยังไม่ปรากฏ
ในระหว่างที่กําลังเพ่งดูสสัมภารปถวี หรือ อุตุชปถวีองค์กสิณพร้อมกับใช้ปาก บริกรรมว่า ปถวี ๆ อยู่นั้น พระโยคีบุคคลนั้น ย่อมมีความต้องการให้อุคคหนิมิต ปรากฏเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ แต่อุคคหนิมิตนั้นก็มีปรากฏได้โดยเร็วตามความ ประสงค์ของพระโยคี ฉะนั้น จิตใจของพระโยคีจึงรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เมื่อจิตใจรู้สึก เหน็ดเหนื่อยขึ้นมาแล้ว ร่างกายก็พลอยอ่อนเพลียและเหน็ดเหนื่อยตามใจไปด้วย เมื่อ เป็นเช่นนี้ ถีนมิทธนิวรณ์ ก็ได้โอกาสเกิดขึ้นครอบงํา โดยทําให้อยากหยุดพัก หรือไป ทํากิจการอื่น ๆ มีการปัดกวาด ทําความสะอาด สวดมนต์ไหว้พระ เป็นต้น ที่เป็น ปลิโพธเครื่องกังวลต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าอาการดังกล่าวแล้วนี้ บังเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคล แล้วไซร้ ก็จงเตือนตนเองว่า มีวันใดก็วันหนึ่ง ความตายก็จะบังเกิดมีแก่ตนอย่างแน่แท้ ทั้งอุคคหนิมิตก็ยังมิได้เกิดขึ้นเลย ถ้าตนขึ้นหยุดพัก หรือ มัวไปกังวลอยู่กับการงาน อื่น ๆ แล้ว สมาธิของตนก็จะเสียไป ทั้งการงานเหล่านี้ตนก็เคยกระทํามาแล้วหลายภพ หลายชาติ จนกระทั่งถึงภพนี้ก็ยังต้องทําอยู่ ฉะนั้น ในขณะที่ตนกําลังเพ่งปถวีกสิณ อยู่นี้ ไม่บังควรที่จะไปกระทํากิจต่างๆ เหล่านี้เลย แล้วจงมีความพยายามอดทนเพ่ง ดูอยู่ต่อไปให้มาก และอย่ากะพริบตาบ่อยนัก ประมาณ ๒ หรือ ๓ นาที จึงค่อยใช้ปากบริกรรมว่า ปถวี ๆ หรือ ดิน ๆ เสียครั้งหนึ่ง เป็นระยะห่างกันไปตามสมควร จน กว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏขึ้น
เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้ว
พระโยคีบุคคล เมื่อกําลังเพ่งปถวีองค์กสิณ ที่ยังเป็นบริกรรมนิมิตอยู่นั้น บาง ท่านก็ได้อุคคหนิมิตเร็ว บางท่านก็ได้ช้า คือ ต้องพยายามอดทนต่อสู้อยู่นานกับนิวรณ์ ซึ่งเป็นตัวอุปสรรคคอยขัดขวางอย่างยิ่ง อุคคหนิมิตจึงปรากฏขึ้นได้ เมื่อุคคหนิมิต ปรากฏขึ้นทางใจได้ แล้วก็ไม่จําเป็นต้องเพ่งปัถวีองค์กสิณที่เป็นบริกรรมนิมิต ซึ่งเป็น อารมณ์ภายนอกอีก แต่กลับเพ่งอุคคหนิมิต อันเป็นอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นทางใจ และ ใน เวลานั้น ความเป็นไปของปถวีองค์กสิณที่เป็นอุคคหนิมิต กับจิตใจของพระโยคีบุคคล นั้น เสมือนแม่เหล็กที่มีกําลัง ดึงดูดเอาสิ่งของที่เป็นเหล็กด้วยกันให้มาติดอยู่ได้ฉันใด จิตใจของพระโยคีบุคคลก็ดึงดูดเอาปถวีองค์กสิณ ที่เป็นอุคคหนิมิตให้ติดแนบอยู่กับใจ ได้ฉันนั้น ฉะนั้น การเห็นสิ่งของอื่นๆ ได้ก็เฉพาะแต่ในเวลาที่พระโยคีลืมตาดูอยู่เท่านั้น ครั้นหลับตาลงก็คงเห็นแต่เพียงภาพปถวีองค์กสิณอยู่อย่างเดียว อารมณ์ต่างๆ ที่ได้เห็น มาด้วยตาก็ไม่มีการมาปรากฏทางใจได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใดๆ ทั้งสิ้น กล่าวคือ ในขณะที่หลับตานอนอยู่ก็ดี ก็คงเห็น แต่ภาพปถวีองค์กสิณเท่านั้นมาปรากฏอยู่เบื้อง บน เมื่อลุกขึ้นนั่งก็ปรากฏให้เห็นอยู่ข้างหน้า เมื่อก้มหน้าลงก็เห็นอยู่ข้างล่าง เมื่อเงย หน้าขึ้นก็เห็นอยู่ข้างบน จะเหลียวซ้ายแลขวา ก็คงเห็นมาปรากฏอยู่ข้าง ๆ ตัว เมื่อ เดินหลับตาจงกรมก็คงเห็นอยู่ข้างหน้าเรื่อยๆ ไป แม้ที่สุดจะลืมตาอยู่ในที่มืด จักขุท วารวิถีก็ไม่เกิด คงเห็นแต่ภาพปถวีองค์กสิณที่เป็น อุคคหนิมิตเท่านั้น อุปมาดังเช่น คนที่กลัวผี บังเอิญเดินไปพบซากศพ หรือ มีความจําเป็นที่จะต้องช่วยจัดช่วยทําความ สะอาดให้แก่ศพบ้างบางประการ ครั้นถึงยามเข้านอนพอหลับตาลงก็เห็นแต่ภาพศพที่ ตนได้ไปพบเห็น หรือ จับต้องจัดแจงมานั้น ปรากฏขึ้นติดตาอยู่ไม่รู้หาย ข้อนี้ฉันใด อุคคหนิมิตที่ปรากฏติดอยู่ทางใจของพระโยคีบุคคลก็ฉันนั้น นอกจากจะหลับลงไป เท่านั้นจึงจะไม่แลเห็น ถ้าตื่นขึ้นเวลาใด ในขณะที่ยังไม่ลืมตา เวลานั้นภาพปถวีองค์กสิณก็จะปรากฏขึ้นทางใจให้แลเห็นได้ทันที กับทาให้ความง่วงเหงาหาวนอนและ ความเกียจคร้าน อ่อนแอ ท้อแท้ ซึ่งเป็นตัวถีนมิทธนิวรณ์ก็ค่อยๆ ถอยห่างออกไป พร้อมด้วยนิวรณ์ที่เหลือ นอกนั้นก็ค่อยๆ ทุเลาเบาบางลงไปด้วย
การเจริญสมถภาวนานี้ บุคคลใดจะได้สําเร็จเป็นฌานลาภี บุคคลนั้นต้อง ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ ฉะนั้น จะรู้ได้ว่าพระโยคีบุคคลนี้เป็นติเหตุกะหรือไม่นั้นก็อยู่ที่ ปฏิภาคนิมิต ถ้าการเจริญสมถภาวนาของพระโยคีบุคคลเข้าถึงขั้นปฏิภาคนิมิตได้ก็พึง ตัดสินว่า พระโยคีบุคคล นี้มีปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ ถ้าหากว่า การเจริญภาวนาของ พระโยคีบุคคลมิอาจเข้าถึงปฏิภาคนิมิต เพียงแต่ได้ถึงขั้นอุคคหนิมิตเท่านั้น เช่นนี้แล้ว ก็จึงตัดสินได้ว่า ไม่ใช่เป็นเหตุกปฏิสนธิบุคคล จะให้ได้รับผลเป็นฌานลาภีบุคคลใน ภพนี้นั้นไม่ได้ แต่การเจริญสมถภาวนาของพระโยคีบุคคล ที่จะเข้าถึงขั้นปฏิภาคนิมิต ได้นั้นก็เป็นไปต่างๆ กัน คือบางท่านก็ปฏิบัติอยู่ไม่ถึง ๑ เดือน หรือ ๑ ปี ปฏิภาค นิมิตก็ปรากฏขึ้น ต่อไปไม่ช้าก็สําเร็จเป็นฌานลาภีบุคคล แต่บางท่านก็ต้องทําการ ปฏิบัติอยู่เป็นเวลานานประมาณ ๑๐ ปี ถึง ๒๐ ปี ปฏิภาคนิมิตจึงจะปรากฏ ต่อจาก นั้นไปไม่ช้าก็สําเร็จเป็นฌานลาภี ที่เป็นต่างๆ กันดังนี้ ก็เพราะอํานาจแห่งอินทรีย์ทั้ง ๕ และบารมีในภพก่อนๆ ไม่เหมือนกันนั้นเอง ฉะนั้น เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งทําการเจริญสมถ ภาวนาได้เพียง ๑ เดือน หรือ ๒ - ๓ เดือนล่วงแล้ว แต่ปฏิภาคนิมิตก็หาได้ปรากฏ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้แนะนําก็ดี ตนเองก็ดี จะถือเอาว่าผู้นั้นมิใช่ เป็นติเหตุกปฏิสนธิบุคคล ก็หาเป็นที่ถูกต้องแน่นอนเสมอไปไม่ เหตุนี้จึงควรปฏิบัติอยู่ เรื่อยๆ ไปจนตราบเท่าถึงสิ้นชีวิตนั้นแหละถึงจะเป็นการดี เพราะใครๆ ก็มิอาจทราบ ได้ว่า บุคคลผู้นี้จะต้องใช้เวลาปฏิบัติอยู่นานเท่าใด จึงจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็น ไตรเหตุหรือมิใช่ไตรเหตุ สําหรับการที่จะสําเร็จเป็นฌานลาภหรือไม่นั้น ไม่ต้องนํามา คิดนึก ถึงแม้ว่าภพนี้จักไม่สําเร็จก็ตามที ก็ยังเป็นที่ฝึกฝนอบรมสั่งสมอินทรีย์เอาไว้ เพื่อจะให้ได้มาในภพข้างหน้าต่อไป
เมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นแล้ว
พระโยคีบุคคลที่ทําการเพ่งปถวีองค์กสิณ จนถึงได้อุคคหนิมิตปรากฏขึ้นทาง ใจแล้วนั้น พระโยคีบุคคลก็ไม่ต้องไปนั่งเพ่งปถวีองค์กสิณนั้นอีก แต่ต้องย้ายที่ไปเสีย ที่อื่น สุดแต่จะเห็นว่าที่ใดจะสะดวกสบายและสมควร ก็จงพักอาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนั้น แล้วตั้งต้นเพ่งอุคคหนิมิตที่ได้มาแล้วนั้นต่อไป ถ้าอุคคหนิมิตที่ตนกําลังเพ่งบริกรรมอยู่นั้น เกิดเลือนหายไปเนื่องมาจากปลิโพธ เครื่องกังวลใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จงรีบกลับไปยังที่เก่า เริ่มต้นเพ่งปถวีองค์กสิณเสียใหม่ ต่อเมื่อได้อุคคหนิมิตแล้วจึง กลับไปยังที่ใหม่ตามเดิม แล้วเริ่มเพ่งอุคคหนิมิตนั้นต่อไป ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้ายังเพ่ง ปถวีองค์กสิณเดิมอยู่อีก จะทําให้ปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นได้โดยยาก ครั้นพยายามเพ่ง อุคคหนิมิตอยู่ต่อไปอย่างไม่ขาดสายแล้ว อุคคหนิมิตที่ถูกเพ่งอยู่นั้นก็จะมีสภาพ สะอาดปราศจากริ้วรอย ด่างพร้อย ด้วยมลทินต่าง ๆ มีแต่ความละเอียดประณีตยิ่งขึ้น มามากกว่าอุคคหนิมิตที่ปรากฏเมื่อขณะแรก คือ ค่อยๆ ใสขึ้นมาเป็นลําดับเหมือนหนึ่ง กับเนื้อกระจก จิตใจในขณะนั้นก็มีแต่ความชุ่มชื่นอิ่มเอิบอยู่โดยไม่รู้เบื่อต่อการนั้นเลย อุคคหนิมิตที่มีคุณภาพเช่นนี้แหละ จึงกลับเปลี่ยนชื่อเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต กามาวจรัส มาธิของพระโยคีบุคคล นับจําเดิมตั้งแต่เริ่มเพ่งบริกรรมนิมิตเป็นต้นมา ตลอดจนถึง การเพ่งอุคคหนิมิตนั้น ยังเป็นบริกรรมภาวนา คือ บริกรรมสมาธิอยู่ต่อเมื่อถึงตอน ปฏิภาคนิมิต เกิดขึ้นนั้น กามาวจรสมาธิของพระโยคีบุคคลนั้นก็จะถูกเปลี่ยนชื่อเรียกว่า อุปจารภาวนา หรือ อุปจารสมาธิไป ด้วยอํานาจแห่งอุปจารสมาธินี้แหละ นิวรณ์ธรรม ต่างๆ ย่อมสงบลงเป็นอย่างดี ไม่มีโอกาสจะปรากฏขึ้นมาเป็นปริยุฏฐานะได้ คือ
๑. ไม่มีกามฉันทนิวรณ์ ที่ไม่มีความยินดีพอใจ ติดใจในการเสวยกามคุณอารมณ์
๒. ไม่มีพยาบาทนิวรณ์ ที่ทําให้เกิดความโกรธ ความเสียใจ กลุ้มใจ
๓. ไม่มีถีนมิทธนิวรณ์ ที่ทําให้เกิดความง่วงเหงาหาวนอน ท้อถอย
๔. ไม่มีอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ที่ทําให้เกิดวามฟุ้งซ่านรําคาญใจ
๕. ไม่มีวิจิกิจฉานิวรณ์ ที่ทําให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ลังเลใจ ใน ครูอาจารย์ที่ทําการแนะนําสั่งสอนถึงวิธีปฏิบัติ พร้อมกับแนวทางที่กําลังปฏิบัติอยู่ กับ ทําให้อวิชชานิวรณ์และกิเลสอื่นๆ บรรเทาเบาลงไปด้วย
เมื่อพระโยคีบุคคลได้พยายามเจริญภาวนาตลอดมา จนปฏิภาคนิมิตได้ปรากฏ ขึ้นนั้น ถ้าพระโยคีนั้นเป็นตึกขบุคคลแล้ว ในไม่ช้าก็จะสําเร็จเป็นฌานลาภีบุคคล คือ รูปาวจรปฐมฌานที่ชื่อว่า อัปปนาภาวนา หรือ อัปปนาสมาธิ ได้บังเกิดขึ้นแก่พระโยคี นั้นเอง แต่ถ้าหากเป็นมันทบุคคลก็จะสําเร็จเป็นฌานลาที่ได้ช้า ดังนั้นในระหว่างที่
รูปาวจรปฐมฌานยังไม่เกิดนั้น พระโยคีบุคคลจําเป็นต้องมีการระวังรักษาปฏิภาคนิมิตไว้เป็นอย่างดี เสมือนหนึ่งพระราชินีที่กําลังทรงพระครรภ์ อันพราหมณ์ปุโรหิตทั้งหลาย ได้ทํานายว่า พระกุมารในพระครรภ์นี้เป็นพระโอรส และจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ฉะนั้น จึงทรงทะนุถนอม บํารุงรักษา พระครรภ์นั้นเป็นอย่างดี มิให้มีภัยอันตรายใดๆ มาพ้องพาน กล้ํากลายได้ฉันใด พระโยคีบุคคลก็ต้องระวังรักษาปฏิภาคนิมิตไว้ให้จงดี เสมือนดังเช่นพระราชินีทรงระวังพระครรภ์ ฉันนั้น ถ้าหากไม่ระวังรักษาไว้ให้ดีแล้ว ปฏิภาคนิมิตนั้นก็จะเลือนหายไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาวนาจิต หรือ สมาธิของพระโยคี บุคคลก็จะลดต่ําลงไป กล่าวคือ ภาวนาจิต หรือ สมาธิของพระโยคีบุคคล ในขณะที่ ปฏิภาคนิมิตกําลังปรากฏอยู่นั้น จัดเข้าอยู่ในขั้นอุปจารฌาน หรือ อุปจารสมาธิ เมื่อ ปฏิภาคนิมิตเลือนหายไป ภาวนาจิต หรือสมาธิของพระโยคีบุคคลนั้นก็จะลดลงไปอยู่ ขั้นบริกรรมภาวนา หรือ บริกรรมสมาธิตามไปด้วย ดังนั้น พระมหาพุทธโฆสาจารย์ จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า พระโยคีบุคคลที่มีการรักษาปฏิภาคนิมิตไว้เป็นอย่างดี ย่อมไม่ มีการเสื่อมจากอุปจารฌานสมาธิที่ตนได้มาแล้ว ถ้าไม่มีการรักษาปฏิภาคนิมิตให้ดีแล้ว อุปจารฌานสมาธิที่ตนได้มา ๆ นั้นก็ย่อมเสื่อมหายไป
การขยายปฏิภาคนิมิต
เมื่อพระโยคีบุคคลรักษาปฏิภาคนิมิตไว้ได้เป็นอย่างดีแล้ว จากนั้นก็ควรขยาย ปฏิภาคนิมิตนี้ ให้ค่อย ๆ กว้างใหญ่ขึ้นไป ๆ ทีละน้อยจนแผ่ตลอดไปถึงภูเขา จักรวาล เพื่อเป็นการอบรมสมาธิให้มีกําลังแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้นไป สําหรับอุคคหนิมิตนั้นไม่ควร ขยาย เพราะการขยายอุคคหนิมิตนั้นไม่ได้รับประโยชน์อันใด กลับจะทําให้สมาธิที่มีกําลังดีอยู่แล้วนั้นเสื่อมถอยลงไป หากจะขยายให้แผ่กว้างออกไปเหมือนกับการขยาย ปฏิภาคนิมิต ก็คงทําได้เช่นกัน แต่จิตใจนั้นมิอาจตั้งมั่นอยู่ในอุคคหนิมิตนี้ให้ตลอดทั่ว ถึงได้ การที่กล่าวว่าค่อยๆ แผ่กว้างออกไปๆ ทีละน้อยนั้น คือการขยายปฏิภาคนิมิต ที่มีอยู่จากเดิมนั้นออกไปทีละ ๑ นิ้ว ๒ นิ้ว ๔ นิ้ว ๘ นิ้ว ๑ ศอก ๒ ศอก จนถึง รอบบริเวณสถานที่แล้วก็ค่อยๆ ขยายให้กว้างใหญ่ออกไป จนถึงหมู่บ้าน ตําบล จังหวัด ประเทศ กระทั่งถึงที่สุดจดขอบเขตภูเขาจักรวาล การขยายปฏิภาคนิมิตนี้ พระโยคี บุคคลจะขยายในขณะที่สมาธิยังเป็นอุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ใกล้ต่อฌานก็ได้ หรือ ภายหลังจากที่ได้สําเร็จอัปปนาสมาธิ คือ ฌานก็ได้
ปฐมฌานเกิด
เมื่อพระโยคีบุคคลได้ปฏิบัติถูกต้องดังที่ได้พรรณนามาแล้วนี้ รูปาวจรปฐม- ฌานที่มีองค์ฌาน ๕ ก็เกิดขึ้นแก่พระโยคีเป็นไปดังนี้ คือ มโนทวาราวัชชนะที่มีปถวี ปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นตัดกระแสภวังค์ขาด ในลําดับนั้นมหากุศลญาณ สัมปยุตตชวนะดวงใดดวงหนึ่งก็เกิดขึ้น ๔ ขณะ แก่มันทบุคคล หรือ ๓ ขณะ แก่ ติกขบุคคล ซึ่งมีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ในฐานที่เป็น บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู หรือ อุปจาร อนุโลม โคตรภู เรียกว่า อุปจารสมาธิชวนะในฌานวิถีแล้วก็ดับไป ต่อจากนั้น ปฐมฌานกุศล ที่เป็นอัปปนาสมาธิ ที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ๑ ขณะแล้วก็ดับลง จากนั้น ภวังคจิตก็เกิดต่อไป หลังจากภวังคจิต ปัจจเวกขณวิถี ที่มีมโนทวาราวัชชนจิต ๑ ครั้ง มหากุศลชวนะ ๗ ครั้ง ก็เกิดขึ้นหลาย ๆ รอบทํา การพิจารณาองค์ฌานทั้ง ๕ โดยเฉพาะ ๆ ว่าเป็น วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เสมือนผู้ที่ตื่นจากหลับ แล้วพิจารณาถึงความฝันของตนว่าได้ฝันเรื่องอะไรบ้าง
เหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นอัปปนาฌานหลังจากฌานวิถีได้ดับลงแล้ว
ในฌานวิถีนี้ อารมณ์ของปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ที่เป็นกามชวนะ กับอารมณ์ของอัปปนาฌานที่เป็นอัปปนาชวนะนั้น แม้ว่าจะมีปถวีปฏิภาคนิมิตเป็น อารมณ์เหมือนกันก็จริง แต่ขณะที่กามชวนะเกิดอยู่นั้น อํานาจของกามตัณหา หาได้ สงบราบคาบไม่ จิตใจก็ยังไม่มีกําลังเต็มที่ ต่อเมื่อปฐมฌานเกิดขึ้นนั้น แม้ว่าเกิด เพียงขณะจิตเดียวก็จริง แต่สามารถข่มกามตัณหาให้สงบลงได้อย่างราบคาบเป็นพิเศษ จิตใจก็มีกําลังกล้าแข็งเต็มที่ องค์ฌานทั้ง ๕ ก็ปรากฏขึ้นมาอย่างเด่นชัด อุปมา เหมือนกับการตอกตะปูลงไปบนแผ่นกระดานจนแน่น ฉันใด การเข้าสู่อารมณ์ของ ปฐมฌานก็ไม่หวั่นไหวคลอนแคลน ฉันนั้น ฉะนั้น จึงทําให้รู้ได้ว่า ฌานเกิดขึ้นแล้ว แก่ตน ส่วนจะบอกได้หรือไม่นั้น เกี่ยวกับความรู้ในด้านพระอภิธรรมโดยตรง กล่าวคือ ถ้าได้รับการศึกษาดีพอก็พูดได้ ถ้าไม่ได้รับการศึกษาดีพอก็อาจพูดไม่ถูก
ปฐมฌานที่ได้ชื่อว่ารูปาวจรจิต และ การปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ทุติยฌาน เป็นต้นเกิดขึ้น
เจตนาที่อยู่ในปฐมฌานกุศลนี้ไม่มีกามตัณหา คือ ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ ฉะนั้น จึงไม่มีการส่งผลให้ปฐมฌานลาภีบุคคลได้บังเกิดในกามภูมิอีก แต่กลับส่งผล ให้ไปบังเกิดในรูปภูมิ ฉะนั้น ปฐมฌานกุศลนี้จึงได้ชื่อว่า รูปาวจรจิต
สําหรับการปฏิบัติเพื่อจะให้ทุติยฌาน เป็นต้น เกิดขึ้นได้นั้น ในขั้นแรกฌาน ลาภีบุคคลพึงกระทํา ปฐมฌานกุศลชวนะ ให้เกิดติดต่อกันอยู่ตลอด ๑ วัน ถึง ๗ วัน เสียก่อน เพื่อจะได้อบรมจิตใจให้มีสมาธิกล้าแข็งขึ้น เพื่อเป็นบาทแห่งการฝึกหัดวสีภาวะ ๕ ประการต่อไป ที่ต้องกระทําดังนี้ เพราะการเจริญทุติยฌาน หรือ ตติยจตุตถ ปัญจมฌาน ให้เกิดต่อไปตามลําดับได้นั้น จําเป็นต้องอาศัยวสีภาวะทั้ง ๕ นี้เป็นเหตุ สําคัญ ถ้าขาดวสีภาวะทั้ง ๕ นี้เสียแล้ว ฌานเบื้องบนก็เกิดขึ้นไม่ได้ วสีภาวะทั้ง ๕ จะสําเร็จลงได้ก็ต้องอาศัย การเข้าปฐมฌานอยู่เสมอ ๆ เสียก่อน จนจิตใจมีสมาธิกล้า แข็งขึ้น ความสามารถเข้าปฐมฌานได้ติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ ตลอด ๑ วัน หรือ ๗ วัน นี้ แหละเป็นจิตใจที่มีสมาธิกล้าแข็งอันเป็นเหตุสําคัญขั้นแรก
การที่จะให้ปฐมฌานกุศลชวนะเกิดขึ้นได้เสมอ ๆ นั้น ก็ต้องเพ่งปฏิภาคนิมิต เสียก่อนทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อเพ่งปฏิภาคนิมิตเวลาใด เวลานั้นฌานจิตก็ต้องเกิดขึ้น เป็นธรรมดา แต่ทว่าในวิถีหนึ่ง ๆ นั้น คงมีปฐมฌานกุศลชวนะเกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะ หรือ ๒ - ๓ ขณะ แล้วภวังคจิตก็เกิดต่อไป เป็นไปอยู่ดังนี้ ฉะนั้น ขณะใดที่รู้สึกว่า ฌานจิตที่เกิดขึ้นนั้นได้ดับไปแล้ว ขณะนั้นต้องรีบเพ่งปฏิภาคนิมิตอีก เพื่อจะได้กลับเข้า ปฐมฌานอีก อย่านิ่งนอนใจและอย่าสนใจในเรื่องอื่นใดทั้งสิ้น จงพยายามเข้าปฐมฌาน ไว้เสมอๆ อย่าให้ขาดสาย เพื่อเป็นการอบรมจิตใจให้สมาธิกล้าแข็งขึ้น ในระหว่างที่ กําลังพยายามเข้าปฐมฌานอยู่ยังเข้าไม่ได้ตลอด ๑ วัน ๒ วัน เป็นต้นนั้น ในเวลานั้น อย่าสนใจในการพิจารณาองค์ฌาน ๕ มี วิตก เป็นต้นให้มากนัก ควรสนใจแต่ในการเพ่งปฏิภาคนิมิต เพื่อจะได้เข้าปฐมฌานประการเดียว เพราะว่า ถ้าพิจารณาองค์ฌาน มากไปในขณะนั้น องค์ฌานเหล่านั้นก็จะปรากฏขึ้นเป็นของหยาบและมีกําลังน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทําให้ปฐมฌานที่ได้มาแล้วเสื่อมไป ทุติยฌานที่จะเกิดขึ้นใหม่ก็เกิดไม่ ได้ เมื่อพยายามเข้าปฐมฌานได้เสมอๆ ตลอด ๑ วัน ถึง ๗ วัน ดังนี้แล้ว ต่อจาก นั้นก็ควรฝึกหัดในด้านการกระทํา วสีภาวะทั้ง ๕ ให้ชํานาญต่อไป
วจนัตถะของคําว่า วสีภาวะ “วสน์ สมตน = วโส, วโส ยสฺส อตฺถิติ = วสี” ความสามารถชื่อว่า วสะ ความสามารถที่มีอยู่แก่ผู้ใด ฉะนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า วสี “วสิโน ภาโว - วสภาโว” ความเป็นผู้มีความสามารถ ชื่อว่า วสีภาวะ
ขั้นสุดท้ายแห่งการปฏิบัติเพื่อให้ทุติยฌานเกิด
เมื่อปฐมฌานลาภีบุคคลได้ฝึกฝนในวสีภาวะทั้ง ๕ จนชํานาญแล้ว จากนั้น จงเข้าปฐมฌานก่อน ออกจากปฐมฌานแล้วก็พิจารณาปฐมฌานนั้นว่า ปฐมฌานนี้เป็น ฌานที่ยังใกล้กับนิวรณ์อยู่ ทั้งวิตกองค์ฌานก็มีสภาพหยาบ ซึ่งเป็นเหตุทําให้องค์ฌาน อื่น ๆ มีวิจาร เป็นต้น มีกําลังน้อยไป ทําให้จิตใจมีสมาธิไม่เข้มแข็งพอ นิวรณ์ที่ถูก ประหาณไปแล้วนั้น อาจกลับเกิดขึ้นอีกได้ ทําให้ปฐมฌานที่ได้มาแล้วนี้กลับเสื่อมสูญ ไป ส่วนทุติยฌานนั้นย่อมห่างไกลจากนิวรณ์ ทั้งองค์ฌานก็มีความประณีตสุขุมอีกด้วย
เมื่อได้ใคร่ครวญดูอย่างนี้โดยถี่ถ้วน จนเกิดการเบื่อหน่ายในปฐมฌาน ปราศ จากนิกันติตัณหา คือ ไม่มีการติดใจในปฐมฌานแต่อย่างใดแล้ว จากนั้นก็จงเริ่มต้น เพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนาจิตทั้งสามตามลําดับ อันเป็นวิตักกวิราคภาวนา คือ ใน ขณะที่กําลังเพ่งปฏิภาคนิมิตพร้อมกับบริกรรมในใจว่า ปถวี ๆ เพื่อจะให้ได้มาซึ่ง ทุติยฌานนั้น ภาวนาจิตในขณะนั้นชื่อว่า บริกรรมภาวนา และนิมิตของบริกรรม ภาวนาในระยะนี้ คือ ปฏิภาคนิมิต มิใช่บริกรรมนิมิต หรือ อุคคหนิมิต ซึ่งต่างกับ บริกรรมภาวนาที่เป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ที่มีบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิตเป็นอารมณ์
เมื่อพระโยคีบุคคลทําการเพ่งและบริกรรมอยู่ดังนี้ จะรู้ว่าภาวนาจิตของตนได้ เข้าใกล้ในขอบเขตของอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌานหรือยัง ก็จงเข้าปฐมฌานเสียก่อน เมื่อออกจากปฐมฌาน ก็พิจารณาองค์ฌาน ๕ ตามลําดับโดยเฉพาะ ๆ และในขณะที่ มีการพิจารณานี้ ถ้าเห็นสภาพของวิตกว่าเป็นสภาพหยาบ และเห็นสภาพขององค์ฌาน ๔ นอกนั้นมีความละเอียดสุขุม เช่นนี้ ก็พึงรู้ได้ว่า ภาวนาจิตของตนนี้ได้เข้าถึงขั้น อุปจารภาวนา ซึ่งใกล้เคียงกับอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌานแล้ว ถ้าหากยังไม่เห็นสภาพหยาบของวิตก และความประณีตสุขุมของวิจาร เป็นต้นแล้ว เวลานั้นภาวนาจิตก็ยังคงเป็นบริกรรมภาวนาอยู่เป็นอันรู้ได้ว่ายังห่างไกลจากอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรพยายามเพ่งและบริกรรมต่อไป จนอุปจารภาวนาเกิดขึ้น
ครั้นการเพ่งได้เข้าถึงขั้นอุปจารภาวนาเวลาใด หากพยายามเพ่งต่อไป ในไม่ ช้าอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌาน ก็จักเกิดขึ้นโดยลําดับดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ทุติยฌาน ๑ ครั้ง ภวังคจิตต่อไป จากนั้น ปัจจเวกขณวิถี ที่มีการพิจารณาองค์ฌาน ๔ ตาม ลําดับโดยเฉพาะๆ ก็เกิดขึ้น เป็นอันว่า ได้สําเร็จเป็นทุติยฌานลาภีบุคคล
การปฏิบัติในขั้นแรกและขั้นสุดท้าย เพื่อให้ ตติยฌาน เป็นต้นจนถึง ปัญจม ฌาน เกิดต่อไปนั้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้ทุกประการ คนต่างกันแต่เพียงการ พิจารณาให้เห็นโทษขององค์ฌานนั้นๆ ตามลําดับเท่านั้น คือ ทุติยฌานลาภีบุคคล เมื่อจะขึ้นตติยฌาน ก็ต้องพิจารณาให้เห็นโทษของวิจาร ที่มีสภาพหยาบกว่า ปีติ สุข เอกัคคตา แล้วตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนาทั้งสามตามลําดับ อันเป็นวิจารวิราค ภาวนาต่อไป ตติยฌานลาภิบุคคล เมื่อจะขึ้นจตุตถฌาน ก็ต้องพิจารณาให้เห็นโทษ ของปีติ ที่มีสภาพหยาบกว่า สุขเอกัคคตา แล้วก็ตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนา ทั้งสามตามลําดับ อันเป็นปีติวิราคภาวนาต่อไป จตุตถฌานลาภีบุคคล เมื่อจะขึ้น ปัญจมฌาน ก็ต้องพิจารณาให้เห็นโทษของสุข ที่มีสภาพหยาบกว่า อุเบกขา เอกัคคตา แล้วก็ตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิต โดยภาวนาทั้งสามตามลําดับ อันเป็นสุขวิราคภาวนาต่อไป
เท่าที่ได้พรรณนามานี้ เป็นการพรรณนาโดยปัญจกนัย ตามนัยแห่งปัญญาของ มันทบุคคล ที่ไม่อาจพิจารณาเห็นโทษของวิตกและวิจารทั้งสองนี้ในเวลาเดียวกันได้ สําหรับติกขบุคคลนั้น เมื่อจะขึ้นทุติยฌานต่อไปนั้น มีปัญญาสามารถใคร่ครวญเห็น โทษของวิตกและวิจารทั้งสองพร้อม ๆ กัน ดังนั้น เมื่อตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนา จิตทั้งสาม ตามลําดับ อันเป็นวิตักกวิจารวิราคภาวนาต่อไปนั้น ทุติยฌานที่มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา ก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อได้ปฏิบัติต่อไป ตติยฌานที่มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา ก็ย่อมเกิดขึ้น และเมื่อได้ปฏิบัติต่อไปอีก จตุตถฌาน ที่มี องค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา ก็ย่อมเกิดขึ้น เหตุนี้ ฌานเหล่านี้จึงเป็นไปโดยจตุกกนัยตามปัญญาของตึกขบุคคล เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จรูปาวจรฌานหมดสิ้น ในขณะที่ได้รูปาวจรปัญจมฌานนั้น หากผู้นั้นได้เคยสร้างบารมีเป็นพิเศษมาแล้ว กล่าว คือ ได้เคยชํานาญในการแสดงอภิญญาในภพก่อนๆ ที่ใกล้กับภพนี้ก็ดีหรือ ได้เคย สร้างทาน ศีล ภาวนาในภพก่อนๆ โดยตั้งความปรารถนาไว้จะให้ตนได้อภิญญาใน ภพต่อไปเหล่านี้ก็ดี เมื่อรูปาวจรปัญจมฌานเกิดขึ้นนั้น ปัญญาที่ประกอบกับจิตดวง นั้นเป็นปัญญาที่มีอํานาจพิเศษอยู่ในตัวเรียกว่า อภิญญา จากนั้นเมื่อต้องการทํา อภิญญาเวลาใดก็ทําได้ สําหรับรูปฌานลาภที่นอกจากบุคคลเหล่านี้ ต้องได้ อรูปฌาน ทั้ง ๔ พร้อมทั้งมีความชํานาญในวสีภาวะ ๕ อย่างที่เกี่ยวกับรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็น สมาบัติ ๙ หรือ ๘ เสียก่อน จึงจะแสดงอภิญญาได้
การปฏิบัติขั้นแรก และ ขั้นสุดท้ายเพื่อจะได้อรูปฌานต่อไปตามลําดับ
ขั้นแรกของการปฏิบัติ เพื่อให้อากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ฌานลาภีบุคค พึงกระทํารูปาวจรปัญจมฌานกุศลชวนะ ให้เกิดติดต่อกันจนชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับรูปาวจรปัญจมฌาน เหมือนกับการปฏิบัติของปฐมฌานลาภีเพื่อให้ทุติยฌาน เกิด ฉันนั้น ต่างกันก็เพียงก่อนหน้าจะเริ่มฝึกหัดในวสีภาวะทั้ง ๕ นั้น ฌานลาบุคคล ได้มีความเห็นต่างกันเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นความเห็นทั่ว ๆ ไป ในเวลาที่ว่าง จากพระพุทธศาสนา อีกฝ่ายหนึ่งเป็นความเห็นทั่ว ๆ ไปในเวลาที่มีพระพุทธศาสนา ปรากฏขึ้นแล้ว
ความเห็นในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนานั้น ปัญจมฌานลาภีบุคคลมีความ เห็นว่า การประหัตประหารซึ่งกันและกันด้วยอาวุธต่างๆ ก็ดี โรคต่างๆ ก็ดี ความ หิวกระหายก็ดี ความกําหนัดรักใคร่ซึ่งกันและกันก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เนื่องจากร่างกาย นั้นเองเป็นต้นเหตุ และ ร่างกายนี้เล่าก็เกิดมาจากโลหิตของ มารดา บิดา อันเป็น ของไม่สะอาดอีกด้วย ฉะนั้น กายนี้จึงเรียกว่า กระกาย ส่วนในอรูปภูมินั้นเป็นภูมิที่ ปราศจากร่างกาย มีแต่จิตใจอย่างเดียว ฉะนั้น เรื่องเดือดร้อนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกาย นั้นจึงได้ถูกระงับไปหมดสิ้น เป็นความสุขอย่างยิ่ง เมื่อได้คิดเห็นเช่นนี้แล้วก็เกิด ความเบื่อหน่ายในร่างกาย มีแต่ความอยากได้ไปเกิดในอรูปภูมิ พร้อมกันนั้นก็มีความ หวาดกลัวในปฏิภาคนิมิต อันเป็นอารมณ์ของรูปาวจรปัญจมฌาน ที่เกิดเนื่องต่อกันมาจากรูปที่เป็นองค์กสิณอีกด้วย เสมือนหนึ่งผู้ที่กลัวผีในเวลาค่ําคืนได้แลเห็นตอไม้เข้า ก็สําคัญผิดคิดว่าผีหลอก เกิดการสะดุ้งกลัว ฉันใด ปัญจมฌานลาภีบุคคลที่มีการเห็น โทษของร่างกายก็ฉันนั้น สมดังที่มีคาถาแสดงไว้ว่า
ผู้ที่กลัวผีในเวลากลางคืน แม้ได้เห็นตอไม้ก็มีความสะดุ้งกลัว เกิดขึ้น ฉันใด โยคีบุคคลที่มีความกลัวต่อร่างกาย ก็ย่อมกลัวต่อรูปฌานที่มีอารมณ์ เป็นรูปกสิณ ฉันนั้น
ส่วนความเห็นในสมัยที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นแล้วนั้น ปัญจมฌานลาภีบุคคล หาได้มีการพิจารณาเห็นโทษในร่างกายแต่ประการใดไม่ เพียงแต่มีความเห็นว่าสมาธิที่
เกิดจากอรูปฌานนั้นมีกําลังมั่นคงและประณีตมากกว่าสมาธิที่เกิดจากรูปฌาน ฉะนั้นจึง อาจทําอภิญญาได้ หรือถ้าได้สําเร็จเป็นพระอนาคามี พระอรหันต์เวลาใด ก็ยังช่วยให้ ตนสามารถเข้านิโรธสมาบัติ อันเป็นสันติสุขที่มีสภาพคล้ายกับอนุปาทิเสสนิพพานได้ อีกด้วย เมื่อมีความเห็นเช่นนี้แล้ว ก็เริ่มต้นปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ต่อไป ในระยะ ขั้นสุดท้ายนี้ เมื่อออกจากรูปปัญจมฌานแล้ว ถ้าเห็นว่าปริมณฑลของปฏิภาคนิมิตที่ แผ่ไปในนั้นเล็กเกินไป อยากขยายให้ใหญ่ถึงภูเขาจักรวาลก็ทําได้ แล้วแต่กําลังสมาธิ ของตนที่จะสามารถเพ่งให้ทั่วถึงได้ ถ้าเห็นว่าใหญ่มากเกินไปอยากทําให้เล็กลงก็ทําได้ เช่นกัน แต่อย่างเล็กที่สุดต้องมีขนาด ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี จะเล็กกว่านี้ไม่ได้ หรือ เห็นว่าไม่จําเป็นที่จะขยายให้ใหญ่ หรือ เล็กลง เมื่อมีขนาดเท่าใดก็คงให้มีอยู่เท่านั้นก็ได้ แล้วเพ่งต่อไปอย่างไม่สนใจใด ๆ ในปฏิภาคนิมิตที่ปรากฏอยู่นั้นเลย มีแต่ความ พยายามที่จะพรากใจออกจากปฏิภาคนิมิตนั้น แล้วกลับพยายามยึดหน่วงให้อากาศ บัญญัติมาปรากฏแทนที่ โดยคิดว่าปถวีปฏิภาคนิมิตไม่มี ๆ คงมีแต่อากาศว่างเปล่าอยู่ เท่านั้น พร้อมกับบริกรรมอยู่ภายในใจว่า อากาโส อนตฺโต ๆ (อากาศไม่มีที่สิ้นสุดๆ)
เมื่อปัญจมฌานลาภีบุคคลพยายามเจริญเช่นนี้เสมอไปนั้น เวลาใดจิตใจปราศจากนิกันติตัณหาในรูปปัญจมฌาน เวลานั้นภาวนาจิตของพระโยคีบุคคลนั้นก็ขึ้น สู่ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาจากนี้ต่อไปไม่ช้านัก ปถวีปฏิภาคนิมิต ที่เป็นนิมิตกรรมฐานก็จะสูญหายไปจากใจ คงเหลือแต่อากาศว่างเปล่าที่เป็นภายในบริเวณ อุปมาดังผู้ที่กําลังเพ่งดูผ้าม่านที่ติดอยู่กับช่องหน้าต่างอย่างของปฏิภาคนิมิตแผ่ไปสนใจ ในขณะนั้น ผ้าม่านก็หลุดไปด้วยอํานาจพายุที่พัดมาอย่างแรง จึงมองเห็นแต่ อากาศที่ว่างๆ อยู่เท่านั้น ฉันใด พระโยคีบุคคลเพิกปถวีปฏิภาคนิมิตออกจากใจได้ ก็ ฉันนั้น แต่การเพิกกสิณออกจากใจนั้น หาใช่เหมือนกับการเลิกเสื่อออก หรือ ยกจาน อาหารออกจากถาดแต่อย่างใดไม่ หากเป็นการเพิกโดยไม่ให้จิตใจไปคิดนึกพัวพันอยู่ ในกสิณอีกเท่านั้น ดังมีคาถากล่าวไว้ตรงกันกับวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า
พระโยคีบุคคลเลิกองค์กสิณออกจากใจนี้ หาใช่เหมือนกับการ เลิกเสื้อออก หรือ ยกจานขนมออกแต่อย่างใดไม่ หากแต่เป็นการเลิกสนใจในกสิณ นิมิตนั้นเสีย กลับไปสนใจเพ่งและบริกรรมว่า อากาโส ๆ ต่อไป
อากาโส อนตฺโต (อากาศไม่มีที่สิ้นสุด) นี้หมายความว่า ธรรมดาอากาศ นั้นเป็นบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์ ฉะนั้น จึงไม่มีเบื้องต้น คือ การอุบัติขึ้น และไม่มี เบื้องปลาย คือ การดับไป นี้แหละ เรียกว่า อนตฺโต แต่การบริกรรมนั้นใช้แต่เพียงว่า อากาโส ๆ ก็ได้ หรือ อากาส ๆ ก็ได้
เมื่อสามารถเพิกปถวีปฏิภาคนิมิต ซึ่งเป็นนิมิตกรรมฐานที่ติดอยู่กับใจเสียได้ ในเวลานั้น อากาศบัญญัติก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ที่มีองค์ฌาน ๒ ก็เกิดขึ้นเป็นไปดังนี้คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อากาสานัญจายตนกุศลจิต เกิดขึ้น ๑ ครั้ง แล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็กน้อย แล้วปัจจเวกขณวิถีที่ มีการพิจารณา อุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จเป็น อากาสานัญจายตนฌานสารีบุคคล
อากาสานัญจายตนฌานนี้มีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ ๑. อรูปฌาน ๒. อากาสานัญจายตนฌาน ๓. ปฐมารุปปฌาน ที่เรียกว่า อรูปฌาน นั้น เพราะว่าปัญจมฌานลาภีบุคคลนี้มิได้สนใจเพ่งปถวีปฏิภาคนิมิตที่เป็นรูปอารมณ์แต่ประการใด เมื่อฌานจิตเกิดขึ้นนั้น ฌานจิตนี้ก็ปราศจากรูปเป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงเรียกว่าอรูปฌาน ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน นั้น ก็เพราะว่า ฌานจิตนี้มีความมั่นคงอยู่ไม่ หวั่นไหว เกิดขึ้นโดยอาศัยอากาศบัญญัติ ซึ่งไม่ปรากฏว่าเบื้องต้น คือ ความเกิดและ เบื้องปลาย คือ ความดับนั้นอยู่ตรงไหน ฉะนั้น จึงเรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ที่เรียกว่า ปฐมารุปปฌาน นั้นก็เพราะว่า ภายหลังที่ได้เว้นจากบัญญัติกรรมฐานที่ เกี่ยวกับรูปได้แล้ว ฌานนี้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในบรรดาอรูปฌานทั้ง ๔ ฉะนั้น จึงเรียกว่า ปฐมารุปปฌาน
การปฏิบัติขั้นแรก และขั้นสุดท้ายของวิญญาณัญจายตนฌาน
พระโยคีบุคคล เมื่อต้องการเจริญวิญญาณัญจายตนฌานต่อไป ขั้นแรกก็จง ปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับ อากาสานัญจายตนฌาน เสียก่อน หลังจากมีความ ชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว แต่นั้นก็จงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อออกจากฌานก็พิจารณาเห็นโทษของอากาสานัญจายตนฌานว่า อากาสานัญจาย ตนฌานนี้ เป็นฌานที่ใกล้กับรูปปัญจมฌานอันเป็นข้าศึกแก่กันอยู่ ถ้าขาดการเข้าฌาน นี้อยู่เสมอๆ เวลาใดแล้ว เวลานั้นฌานนี้อาจเลือนหายไปจากใจและกลับทําให้สมาธิลด ระดับลงไปตั้งอยู่ในรูปปัญจมฌานตามเดิมได้อีก ทั้งสมาธิที่เกิดจากฌานนี้ก็ยังหยาบ กว่าสมาธิที่เกิดจากวิญญาณัญจายตนฌานอีกด้วย เมื่อพิจารณาเห็นโทษในอากาสา นัญจายตนฌานดังนี้แล้ว ก็เกิดการฝักใฝ่สนใจในปฐมารุปปวิญญาณ คือ อากาสา นัญจายตนฌานที่ดับไปแล้วจากจิตสันดานของตนโดยการพยายามพรากใจออกจาก
อากาศบัญญัตินั้นเสีย แล้วกลับพยายามยึดหน่วงให้อากาสานัญจายตนฌานมาปรากฏ แทนที่โดยบริกรรมว่า วิญญาณ อนนต์ๆ หรือ วิญญาณ ๆ (นี้เป็นปฐมารุปป วิญญาณที่มีอากาศบัญญัติไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือ นี้เป็นปฐมารูปปวิญญาณ) อยู่ดังนี้เรื่อยๆ
เมื่อพระโยคีบุคคลพยายามเจริญอยู่อย่างนี้เสมอไปนั้น เวลาใด จิตใจปราศจาก นิกันติตัณหาในอากาสานัญจายตนฌาน เวลานั้นภาวนาจิตของพระโยคีบุคคลนั้นก็ขึ้น สู่ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาต่อไปในไม่ช้า อากาศบัญญัติที่เป็นนิมิตกรรมฐานก็จักสูญหายไปจากใจ การพยายามก้าวล่วงอากาศบัญญัติ ซึ่งเป็นนิมิตกรรมฐานติดอยู่ กับใจเสียได้ในเวลาใด เวลานั้น อากาสานัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วยวิญญาณัญจายตนฌานที่มีองค์ฌาน ๒ ก็เกิดขึ้นเป็นไปดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู วิญญาณัญจายตนกุศลจิต เกิดขึ้น ครั้งแล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็ก น้อย แล้วปัจจเวกขณวิถี ที่มีการพิจารณา อุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จเป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาภีบุคคล
เรื่องนี้ก็น่าสงสัยว่า เมื่อฌานลาภีบุคคลได้เห็นโทษของอากาสานัญจายตน ฌานด้วยประการต่างๆ ฉะนี้แล้ว เหตุไฉนเมื่อจะเจริญฌานเบื้องบนต่อไปนั้น จึงกลับ ไปฝักใฝ่สนใจในอากาสานัญจายตนฌานนั้นอีก ข้อนี้แก้ว่า วิญญาณัญจายตนฌาน จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน นี้แหละเป็นเหตุ เช่นเดียวกันกับ สัททารมณ์ซึ่งเป็นเหตุในการเกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณ ฉันนั้น โดยเหตุนี้ ถึงแม้ว่า ฌานลาภีบุคคลจะพิจารณาเห็นเป็นโทษอย่างใดก็ตามที ก็ยังจําเป็นต้องใส่ใจนึกถึงอยู่
นั่นเอง
ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้สําเร็จผลเป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาบุคคลตามความมุ่ง หมายของตนเท่านั้น อุปมาเหมือนหนึ่งมหาดเล็กที่ได้แลเห็นโทษของพระราชาใน ประการต่าง ๆ เช่น ความไม่เป็นธรรม มากน้อยเพียงใดก็ตามที แต่ก็ต้องมีใจเคารพรักและคอยปฏิบัติรับใช้ต่อพระองค์อยู่นั้นเอง เพื่อจะได้เป็นที่อาศัยพักพิงยังอาชีพ ของตนให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายหน้า ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์ ได้แสดงไว้ว่า
ผู้ที่มีความประสงค์อยากได้วิญญาณัญจายตนฌาน ย่อมจําเป็น ที่จะต้องกระทําอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นอารมณ์เสมอไป เพราะนอกจากนี้ก็ไม่มี อารมณ์อื่นๆ ที่จะกระทําให้วิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้นได้ เสมือนหนึ่งบุรุษมหาดเล็ก แม้ว่าจะได้เห็นโทษของพระราชาโดยประการใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ต้องเคารพรัก รับใช้ในพระราชาพระองค์นั้นอยู่นั้นเอง เพื่อแก่การยังอาชีพของตนให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
การปฏิบัติขั้นแรก และ ขั้นสุดท้ายของอากิญจัญญายตนฌาน
พระโยคีบุคคล เมื่อต้องการเจริญอากิญจัญญายตนฌานต่อไปนั้น ชั้นแรกก็ จงปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับวิญญาณัญจายตนฌานเสียก่อน หลังจากมีความ ชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว แต่นั้นก็จงเข้าวิญญาณัญจายตนฌานเมื่อ ออกจากฌาน ก็พิจารณาเห็นโทษของวิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณัญจายตนฌาน นี้ ยังเป็นฌานที่ใกล้กับอากาสานัญจายตนฌาน อันเป็นข้าศึกแก่กันอยู่ คือ ถ้าขาด การเข้าฌานนี้อยู่เสมอ ๆ ในเวลาใดแล้ว เวลานั้นฌานนี้อาจเลือนหายไปจากใจได้ กลับทําให้สมาธิลดระดับไปตั้งอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานตามเดิมได้อีก ทั้งสมาธิที่ เกิดจากฌานนี้ ก็ยังหยาบกว่าสมาธิที่เกิดจากอากิญจัญญายตนฌานเสียอีกด้วย ครั้นได้พิจารณาเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานดังนี้แล้ว ก็เกิดการฝักใฝ่สนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่ดับสูญขาดไปจากจิตสันดานของตนอย่างไม่มีเหลืออยู่เลย แม้ที่สุดเพียงแต่ภวังคักขณะของฌานนั้นก็หาได้มีเหลืออยู่ไม่ โดยการพยายามพรากใจ ออกจากอากาสานัญจายตนฌานนั้น ๆ เสีย แล้วกลับพยายามทําการยึดหน่วงให้ นัตถิภาวบัญญัติมาปรากฏแทนที่ โดยบริกรรมว่า นตฺถิ กิญจิ ๆ (ความเหลืออยู่ของ อากาสานัญจายตนฌานแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่มี ๆ หมายความว่า อย่าว่าแต่ อุปาทะ ฐิติ คือ ขณะเกิด ขณะตั้งอยู่ของอากาสานัญจายตนฌานนั้นแล แม้แต่เพียงภวังคะ คือ ขณะดับ ก็ยังไม่มีเหลืออยู่) อยู่ดังนี้เรื่อยๆ
เมื่อพระโยคีบุคคล พยายามเจริญอยู่อย่างนี้เสมอไปนั้น เวลาใดจิตใจปราศจาก นิกันติตัณหาในวิญญาณัญจายตนฌาน เวลานั้นภาวนาจิตของพระโยคีบุคคลนั้นก็ขึ้นสู่ ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาจากนี้ต่อไปไม่ช้า อากาสานัญจายตนฌานที่เป็น นิมิตกรรมฐานก็จะสูญหายไปจากใจ อุปมาเสมือนกับบุรุษนายหนึ่งที่กําลังเดินผ่านไป ทางด้านหน้าสภาประชุมสงฆ์ ในขณะนั้นได้เหลือบเห็นหมู่สงฆ์กําลังประชุมกันอยู่ อย่างคับคั่งแล้วก็เดินเลยไป ขากลับก็คงเดินผ่านมาทางด้านนั้นอีกเช่นกัน แต่ครั้งนี้ มิได้เห็นเหมือนเช่นเดิม ทั้งนี้ก็เพราะคณะสงฆ์ได้กลับไปหมดสิ้นแล้ว บุรุษนั้นรําพึงอยู่ ภายในใจว่า บัดนี้พระสงฆ์ท่านกลับไปหมดสิ้นแล้วแม้แต่เพียงรูปหนึ่งก็ไม่มีเหลืออยู่เลย การพยายามก้าวล่วงจากอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งเป็นนิมิตกรรมฐานติดอยู่ กับใจเสียได้ในเวลาใด เวลานั้น นัตถิภาวบัญญัติก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วย อากิญจัญญายตนฌานที่มีองค์ฌาน ๒ ก็ได้เกิดขึ้นเป็นไปดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อากิญจัญญาย ตนฌานกุศลจิต เกิดขึ้น ๑ ครั้ง แล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็กน้อยแล้ว ปัจจเวกขณวิถีที่มีการพิจารณาอุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้น ได้สําเร็จเป็นอากิญจัญญายตนฌานลาภีบุคคล
การปฏิบัติขั้นแรก และ ขั้นสุดท้ายของเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
พระโยคีบุคคล เมื่อต้องการเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อไปนั้น ขั้น แรก ก็จงปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับอากิญจัญญายตนฌานเสียก่อน หลังจากมี ความชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว แต่นั้นจงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อออกจากฌานก็พิจารณาเห็นโทษของอากิญจัญญายตนฌานนั้นว่า อากิญจัญญาย ตนฌานนี้ยังเป็นฌานที่ใกล้กันกับ วิญญาณัญจายตนฌาน อันเป็นข้าศึกแก่กันอยู่ หาก ขาดการเข้าฌานนี้อยู่เสมอ ๆ ในเวลาใดแล้ว เวลานั้นฌานนี้อาจเลื่อนหายไปจากใจได้ กลับทําให้สมาธิลดระดับลงไปตั้งอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌานตามเดิมได้อีก ทั้งสมาธิ ที่เกิดจากฌานนี้ก็ยังไม่ประณีต และความสงบนั้นเล่า ก็ยังไม่สงบเท่ากับความสงบที่ มีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สําหรับสัญญา ความจํา เป็นต้น ที่มีอยู่ในอา กิญจัญญายตนฌานนี้ก็ยังหยาบอยู่จึงเป็นอุปสรรคแก่สมาธิ ส่วนสัญญา ความจํา เป็นต้น ที่มีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นประณีตสุขุมมากกว่านี้ยิ่งนัก ฉะนั้น อรูป ฌานที่ ๔ นี้ จึงเป็นฌานที่มีความประณีตอย่างยอดยิ่ง เป็นการพิจารณาเห็นโทษ เพื่อ ให้หมดความยินดีในอากิญจัญญายตนฌาน แต่ก็ยังเห็นความดีของฌานนี้อยู่ว่า ถึง แม้จะสงบ ประณีต ไม่เท่ากับฌานที่ ๔ ก็จริงอยู่ แต่ทว่ามีความสงบ ความประณีต อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะสามารถรับบัญญัติอารมณ์ที่ไม่มีปรมัตถ์รองรับที่เป็น อภาวบัญญัติ หรือ นัตถิภาวบัญญัติอันเกี่ยวกับอากาสานัญจายตนฌานได้ เมื่อคิดเช่น นี้แล้ว ก็สนใจนึกถึงอากิญจัญญายตนฌานที่ดับไปแล้วจากจิตสันดานของตนโดยการ พยายามพรากใจออกจากนัตถิภาวบัญญัติ นั้นเสีย แล้วพยายามยึดหน่วงให้อากิญจัญญายตนฌานมาปรากฏแทนที่ โดยบริกรรมว่า สนฺตเมต์ ปณีตเมต์ (อากิญจัญ ญายตนฌาน นี้มีสมาธิสงบมาก ประณีตมาก หรือ สนฺติ ๆ ปณีต ๆ ดังนี้ก็ได้) อยู่ ดังนี้เรื่อยๆ
เมื่อพระโยคีบุคคล พยายามเจริญอยู่อย่างนี้เสมอไปนั้น เวลาใดจิตใจ ปราศจากนิกันติตัณหาในอากิญจัญญายตนฌาน เวลานั้น ภาวนาจิตของพระโยคีบุคคล นั้นก็ขึ้นสู่ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาต่อไปไม่ช้านัก นัตถิภาวบัญญัติที่เป็น นิมิตกรรมฐานก็จะสูญหายไปจากใจ การก้าวล่วงจากนัตถิภาวบัญญัติซึ่งเป็นนิมิตกรรม ฐานติดอยู่กับใจเสียได้ในเวลาใด เวลานั้น อากิญจัญญายตนฌาน ก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่มีองค์ฌาน ๒ ก็ได้เกิดขึ้นเป็น ไปดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชนนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู่ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง แล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็กน้อย แล้วปัจจเวกขณวิถีที่มีการพิจารณา อุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานลาบุคคล
การปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ของพระโยคีบุคคล นั้น ก่อนบริกรรมก็ได้พิจารณาเห็นโทษของอากิญจัญญายตนฌานโดยนานาประการ แต่ครั้นลงมือบริกรรม กลับเห็นคุณความดีของฌานนี้อยู่ไม่น้อย ทั้งได้ยกย่องชมเชย เป็นอันมาก ดังที่ปรากฏในคําบริกรรมว่า สนฺตเมต์ ปณีตเมต์ เช่นนี้มีเป็นการขัด กันไปหรือ ? แก้ว่า หาได้ขัดกันแต่อย่างใดไม่ อุปมาเหมือนกับคนๆ หนึ่ง ซึ่งมีรูป ร่างสัณฐานผิวพรรณไม่งดงาม ไม่น่าชมเลย แต่จิตใจประกอบด้วยคุณความดีหลายประการ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งได้พบเข้าก็จะกล่าวคําตําหนิเย้ยหยันว่า ช่างมีรูปร่างขี้ริ้วเสียจริงๆ แต่ ครั้นได้เข้าใกล้ ทราบถึงอัธยาศัยจิตใจเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะต้องสรรเสริญในคุณความ ดีของบุคคลนั้น ฉันใด การพิจารณาเห็นโทษแล้วกลับเห็นความดีในอากิญจัญญายตน ฌานของพระโยคีบุคคล ก็ฉันนั้น
อนึ่ง การยกย่องชมเชยอากิญจัญญายตนฌาน โดยการบริกรรมว่า สนฺตเมติ ปณีตเมต นั้น หาใช่มีความประสงค์จะเข้าฌานนี้อีกก็หามิได้ เพียงแต่อาศัยใช้บริกรรมเพื่อจะพ้นไปจากฌานนี้ แล้วก้าวขึ้นสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อไปต่างหากอุปมาดังพระราชาประทับทรงช้างออกไปทอดพระเนตรในการแสดงศิลปหัตถกรรม ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ในขณะที่ทอดพระเนตรโดยทั่ว ๆ ไปภายในบริเวณนั้น ได้ทอดพระ เนตรเห็นบุรุษนายหนึ่งกําลังนั่งแกะสลักงาช้างอย่างวิจิตรงดงาม ทรงพอพระทัยในฝีมือ ของบุรุษนั้นเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับออกพระโอษฐ์ชมเชยว่า บุรุษนี้ช่างมีฝีมือในการแกะ สลักเป็นอย่างยิ่ง ยากที่จะหาผู้ใดเทียมได้ แม้จะทรงพอพระทัยมากมายเพียงใดก็ดี แต่ก็หาได้มีพระดําริจะทรงสละราชสมบัติออกมาเป็นนายช่างแกะสลักงาช้างไม่ เพียง แต่ทรงชมเชยแล้วก็เสด็จผ่านเลยไปกลับเข้าสู่พระราชวังตามเดิม ดังนั้น พระมหาพุทธ
โฆสาจารย์จึงได้กล่าวว่า
แม้พระราชาจะได้ทรงชมเชยบุรุษที่เป็นช่างแกะสลักงาช้างอย่างยิ่ง แต่หาได้มีพระราชประสงค์จะทรงเป็นนายช่างแกะสลักงาช้างนั้นไม่ เพียงใดก็ตาม พระโยคีบุคคลที่ได้ตติยารุปปฌานแล้ว แม้ว่าจะได้กล่าวคําชมเชยตติยารุปปฌานนี้ โดยคําบริกรรมว่า สนฺตเมต์ ปณีตเมต์ อยู่ดังนี้ก็ตามที ครั้นแล้วก็ได้ก้าวล่วงตติ ยารุปปฌานนี้ไปเสียทั้งนี้ก็เพราะ พระโยคีบุคคลไม่มีความประสงค์ที่จะเข้าฌานสมาบัตินี้อีก
อรูปฌานทั้ง ๔ มีความประณีตต่างกันยิ่ง ๆ ขึ้นไป ตามลําดับแห่งชั้นของ ฌานนั้นๆ
ในอรูปฌานทั้ง ๔ นั้น ฌานที่เกิดขึ้นครั้งหลังๆ ย่อมมีสภาพ ประณีตกว่าฌานที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนๆ การที่อรูปฌานทั้ง ๔ มีความประณีตมากกว่ากันและกันนั้น อุปมาเหมือนหนึ่งความประณีตสวยงามของปราสาท ๔ ชั้น และผ้านุ่ง ๔ ผืน ที่มีฝีมือละเอียดมากกว่ากันและกัน
อธิบายคําว่า เมื่อได้พิจารณาดูอรูปฌานทั้ง ๔ ชั้นนี้ ในแง่ขององค์ฌานฝ่าย เดียว โดยไม่พิจารณาไปในแง่ของภาวนาแล้ว ก็อาจเข้าใจผิดว่าอรูปฌานทั้ง ๔ นี้มี คุณธรรมเสมอกัน เพราะมีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา เท่ากันนั้นเอง แต่ ถ้าได้พิจารณาถึง การอบรมเจริญภาวนาของฌานนั้นๆ แล้ว จะเห็นได้ว่าฌานเบื้องบน ย่อมมีคุณธรรม ประณีตกว่าฌานเบื้องต่ําตามลําดับ เสมือนหนึ่งปราสาท หรือ โรงแรม ๔ ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นได้รับการตกแต่งด้วยเครื่องเรือนอย่างดี พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค ตลอดจน ความสนุกสนานเพลิดเพลินต่างๆ ก็ได้จัดไว้ทั้ง ๔ ชั้น แต่ถ้าได้ พิจารณาดูให้ถี่ถ้วนถึง การตกแต่งห้องก็ดี เครื่องอุปโภค บริโภคก็ดี ตลอดถึงความ สนุกสนานเพลิดเพลินที่มีอยู่ก็ดี เหล่านี้ในชั้นบนๆ ขึ้นไป ย่อมมีความสวยงาม บริบูรณ์ และสนุกสนานมากกว่าชั้นล่าง ลงไปตามลําดับๆ หาใช่มีความสวยงาม บริบูรณ์ สนุก สนานเท่ากันไม่ หรือเหมือนกับผ้านุ่ง ๔ ผืน ที่ทอขึ้นด้วยด้ายชนิดเดียวกัน กว้าง ยาวก็เท่ากัน แต่ฝีมือการทอก็ดี เนื้อผ้าก็ดี มีความประณีตมากกว่ากันและกันใน จํานวน ๔ ผืนนั้น
เท่าที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นจนถึงวาระสุดท้ายนี้ เป็นการบรรยายถึงวิธีการเพ่ง ปถวีกสิณ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้รูปฌาน และอรูปฌานอย่างกว้างขวาง ที่เกิดขึ้นโดย อาศัยการเพ่งปถวีกสิณนี้ ส่วนวิธีเพ่งองค์กสิณที่ยังเหลืออยู่อีก ๙ และ การเกิดขึ้นของ รูปฌานและอรูปฌานโดยอาศัยการเพ่งองค์กสิณที่ยังเหลือ ๙ นี้ ก็คงเป็นไปในทํานอง เดียวกันทุกประการ ฉะนั้น จะได้บรรยายแต่เพียงข้อความบางประการที่เป็นพิเศษออก ไปจากการเพ่ง ปถวีกสิณนี้ เท่านั้น
อาโปกสิณ คําว่า “อาโป” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาวอาโปที่มีลักษณะไหล หรือ เกาะกุมแต่ประการใด แต่มุ่งหมายเอา สสัมภารอาโป คือน้ําธรรมดาที่ใช้อาบใช้ กินนี้เอง ฉะนั้น ผู้ที่ประสงค์จะเพ่งอาโปกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่ง อาโปกสิณนั้นในภพนี้เมื่อได้แลเห็นแม่น้ํา สระน้ํา หรือ บ่อน้ํา ก็เพียงแต่เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า อาโป ๆ หรือ น้ําๆ อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิต ปรากฏแล้ว ก็มีจําเป็นที่จะเพ่งดูแม่น้ํา สระน้ํา หรือ บ่อน้ํานั้นอีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิต ที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่กับบ้าน หรือ กุฎีต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวแล้วก็ต้องจัดทําองค์กสิณขึ้นน้ําที่จะใช้เป็นอารมณ์กสิณนั้น ต้องเป็นน้ําที่ใสสะอาดปราศจากโทษ คือ ไม่ เจือปนด้วยสีต่างๆ มี เขียว เหลือง แดง ขาว เป็นต้น เช่นน้ําฝนที่ตกลงมายังไม่ ถึงพื้นดิน โดยใช้ผ้าขาวสะอาดรองรับไว้ใส่ในบาตรหรือตุ่มเล็ก ๆ ไว้ให้เต็มเสมอกับ ขอบปากที่มีส่วนกว้าง และ ส่วนลึกประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว หรือ ๑ ฟุต ๑ ศอก ตั้งไว้ในที่ที่จะทําการเพ่ง ขณะเพ่งอยู่นั้น อย่าพิจารณาสีของน้ํา หรือ สภาพของน้ําที่ มีลักษณะไหล หรือ เกาะกุมแต่อย่างใด ๆ แต่ต้องเพ่งดูน้ําธรรมดา พร้อมกับบริกรรมว่า อาโป ๆ หรือ น้ําๆ จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้วก็เพ่ง อุคคหนิมิตนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
อนึ่ง ความเป็นไปแห่งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตที่เกิดจากการเพ่งอาโป- กสิณนั้นคือ อุคคหนิมิตนี้เหมือนกันกับบริกรรมนิมิตทุกอย่าง หมายความว่า ถ้าอาโป องค์กสิณนั้นไหวกระเพื่อม หรือมีฟอง มีต่อม อุคคหนิมิตก็มีลักษณะไหวกระเพื่อม ฯลฯ ปรากฏอยู่เช่นเดียวกัน ส่วนอาโปปฏิภาคนิมิตนั้น ต่างกันกับอุคคหนิมิต คือ ไม่มีการเคลื่อนไหว ตั้งนิ่ง ย่อมปรากฏเป็นความใสสะอาดเหมือนดังแก้วมรกตที่ตั้งไว้ ในที่สูง
สําหรับการงานต่าง ๆ ที่พระโยคีบุคคลจะพึงปฏิบัติในการเจริญอาโปกสิณนับ ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิตเกิด เป็นต้น จนถึงได้รูปฌาน อรูปฌานนั้น ก็คงเป็นไปเช่นเดียว กับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
เตโชกสิณ คําว่า “เตโช” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาวเตโช ที่มีลักษณะ เย็นร้อน แต่ประการใด หากแต่มุ่งหมายเอา สสัมภารเตโช คือ ไฟธรรมดาที่ปรากฏ อยู่ทั่วๆ ไปนี้เอง ฉะนั้น ผู้ที่ประสงค์จะเพ่งเตโชกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้โดยอาศัยการ เพ่ง เตโชกสิณนั้น ภพนี้เมื่อได้แลดูเปลวไฟที่ตะเกียง ในเตา ในฐานระบมมาตร หรือ ไฟไหม้ป่า อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็เพียงแต่เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า เตโช ๆ หรือ ไฟ ๆ อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้วก็มีจําเป็นที่จะต้องเพ่งดุเปลวไฟ นั้น ๆ อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่ไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและ ได้รูปฌาน
ผู้ที่ไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทําองค์ กสิณขึ้น ไฟที่ใช้เป็นอารมณ์กสิณนั้นต้องทําดังนี้ คือ เอาไม้แก่นมาผ่าออกแล้วตาก ให้แห้ง ทอนให้เป็นท่อน ๆ จะใช้หญ้าแห้ง หรือ พื้นก็ได้ แล้วนําไปสู่โคนไม้ กุฎี หรือ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่สมควร จัดการสุมไฟให้ลุกโพลงขึ้น จึงเอาเสื่อลําแพน หรือ แผ่นหนังกั้นไว้ข้างหน้าตรงกองไฟ เจาะช่องกลมโตประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว หรือ ๑ ฟุตก็ได้ ในขณะที่เพ่งอยู่นั้น อย่าพิจารณาสีของไฟ ท่อนฟืน เถ้าถ่าน ควันไฟ และ ความร้อนของไฟแต่อย่างใด ๆ แต่ต้องเพ่งดูเปลวไฟธรรมดา พร้อมกับบริกรรมว่า เตโช ๆ หรือ ไฟ ๆ จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้วก็เพ่งอุคคหนิมิตนั้น ต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและรูปฌาน
อนึ่ง ความเป็นไปแห่งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่ง เตโชกสิณนั้น คือ อุคคหนิมิตนี้เหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกอย่าง คือ ถ้าเปลวไฟของ องค์กสิณนั้นลุกโพลงขึ้น หรือ มีการพัดไหวๆ อยู่ก็ดี หรือตั้งนิ่งอยู่ก็ดี อุคคหนิมิต อันเป็นนิมิตที่ปรากฏติดอยู่กับใจก็คงมีอาการปรากฏเป็นไปเช่นเดียวกัน ถ้าไฟที่พระ โยคีใช้เพ่งนั้นเป็นกองไฟธรรมดา มิได้จัดทําให้ถูกต้องตามวิธีที่กล่าวไว้ เมื่ออุคคหนิมิต เกิดโทษแห่งกสิณก็จักปรากฏขึ้น คือ มีท่อนพื้นที่ไฟกําลังติดอยู่ ก้อนถ่าน เถ้าถ่าน และควันไฟ พร้อมด้วยอาการต่างๆ ของเปลวไฟที่กล่าวแล้วนี้ก็จักปรากฏมีอยู่ด้วย เช่นเดียวกัน ส่วนเตโชปฏิภาคนิมิตนั้นต่างกับอุคคหนิมิต คือ ตั้งมั่นนิ่งอยู่ไม่มีการ พัดไหวไปมาแต่อย่างใด ย่อมปรากฏเป็นความใสสะอาดดังผ้ากัมพลแดง หรือ พัดใบ ตาลทองคํา หรือ เสาทองคําที่ตั้งไว้ในที่สูง
สําหรับการงานต่างๆ ที่พระโยคีบุคคลจะพึงปฏิบัติในการเจริญเตโชกสิณนับ ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิตเกิด เป็นต้น จนถึงได้รูปฌาน อรูปฌาน นั้น ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกัน กับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
วาโยกสิณ
คําว่า "วาโย” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาววาโย ที่มีลักษณะ เคร่งตึง เคลื่อนไหวแต่ประการใด หากแต่มุ่งหมายเอา สสัมภารวาโย คือ ลมธรรมดา ที่มีทั่ว ๆ ไปนี้เอง ฉะนั้น ผู้ที่ประสงค์จะเพ่งวาโยกสิณนี้ จะเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนๆ ใกล้ ๆ กับภพนี้ โดย อาศัยการเพ่งวาโยกสิณก็ตาม หรือ ไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อนก็ตาม การจัดทํา วาโยองค์กสิณขึ้นเป็นพิเศษย่อมไม่มี จําเป็นจะต้องถือเอานิมิตจากลมธรรมดานี้เอง โดยอาศัยการเห็นและการถูกต้องแล้วจึงทําการเพ่งและบริกรรมได้ กล่าวคือ เมื่อได้แล เห็นยอดไม้ ใบไม้ ที่สั่นไหว แกว่ง และเส้นผมที่ถูกลม หรือ ในขณะที่ลมพัดมาต้อง กายอยู่ ในขณะนั้นก็จะทําการเพ่งดูความสั่นไหว แกว่งไกวของยอดไม้ ใบไม้ ปลายผม หรือ ความรู้สึกสัมผัสในเมื่อลมมาต้องกายอย่างใด อย่างหนึ่งแล้วแต่จะสะดวก พร้อมกับบริกรรมว่า วาโย ๆ หรือ ลม ๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏขึ้น เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้วก็มีจําเป็นที่จะเพ่งดูความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อีก แต่ต้องเพ่งอุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้งสามในการเพ่งวาโยกสิณนั้น การไหวสั่น แกว่งของยอดไม้ ใบไม้ เส้นผมที่ถูกลมก็ดี ลมพัดต้องกายก็ดี เหล่านี้เป็นบริกรรมนิมิต สําหรับอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตทั้งสองนี้ เมื่อปรากฏเกิดขึ้นนั้นมีลักษณะเหมือน กับเกลียวแห่งไอข้าว ไอน้ํา น้ําตก ควัน ที่เราเคยเห็นอยู่นี้เอง แต่อุคคหนิมิตนั้นมีการ เคลื่อนไหวหวั่น สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นไม่ไหวหวั่น มีสภาพเป็นกลุ่ม เป็นกอง ตั้งมั่น นิ่งอยู่เหมือนกับภาพถ่าย หรือ ภาพเขียน ตามปกติลมนั้นเห็นด้วยตาไม่ได้ ฉะนั้น พระโยคีบุคคลจึงต้องอาศัยการไหวสั่น แกว่ง ของใบไม้ เป็นต้น ที่เกิดจากลมพัดเป็น เครื่องเพ่ง แต่เมื่ออุคคหนิมิต เกิดขึ้นนั้น พระโยคีบุคคลจะเห็นลมนี้ได้โดยทางใจ เพราะได้เปลี่ยนจากลมธรรมดาเป็นลมพิเศษปรากฏขึ้นแก่ใจพระโยคี ดังนั้นลมธรรมดา นี้จึงเปลี่ยนสภาพไปเหมือนกับเกลียวแห่งไอข้าว ไอน้ํา น้ําตก ควัน โดยเหตุนี้ พระโยคี จึงควรเข้าใจในเรื่องลมธรรมดา และลมพิเศษทั้งสองอย่างนี้ให้ได้ เพื่อจะให้ได้มาซึ่ง อุคคหนิมิตโดยเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะมีคําถามขึ้นมาว่า จะเพ่งไอข้าว ไอน้ํา ควัน ทีเดียวไม่ได้หรือ เพราะสิ่งเหล่านี้ก็เป็นลมพิเศษเหมือนกัน ? แก้ว่า จะทําเช่นนั้นไม่ได้ เพราะมีสีสรรวรรณะปนอยู่ ทั้งเป็นลมพิเศษอีกด้วย และจะกลายเป็นการเพ่งวัณณกสิณ ซึ่งไม่ได้ตั้งใจจะเจริญ โดยตั้งใจเจริญวาโยกสิณต่างหาก
สําหรับการงานต่างๆ ที่พระโยคีบุคคลจะพึงปฏิบัติในการเจริญวาโยกสิณ นับ ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิตเกิด เป็นต้น จนถึงรูปฌาน อรูปฌานนั้น ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับ การเจริญปถวีกสิณทุกประการ
จบมหาภูตกสิณ
นีลกสิณ
พระโยคีบุคคล ประสงค์จะเจริญนีลกสิณนั้น ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย อุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งนีลกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นใบไม้ ดอกไม้สีเขียว หรือ ผ้าสีเขียว แก้วมณีสีเขียว วัตถุสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นสีเขียว แล้วก็เพ่งดูพร้อม กับบริกรรมว่า นีล นีล หรือ เขียว เขียว เท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อยุคค หนิมิตปรากฏแล้ว ก็มีจําเป็นจะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีกคงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มา แล้วนั้นอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน ถ้าหากว่าไม่เคยมีบุญบารมี มาจากภพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วก็ต้องจัดทําเป็นองค์กสิณขึ้น
การจัดทําองค์นีลกสิณนั้น พระโยคีบุคคลจะใช้ดอกไม้สีเขียว มีดอกอัญชัน ดอกอุบลเขียว เป็นต้น หรือ ผ้าสีเขียว วัตถุที่มีสีเขียว อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้แล้ว แต่ความพอใจของตน ถ้าจะใช้ดอกไม้ก็ต้องนําดอกไม้นั้นมาจัดใส่ผะอบ พาน กล่อง บาตร ขัน อย่าให้เกสร หรือ ขั้วปรากฏขึ้นมา ให้เต็มเสมอกับขอบภาชนะที่มีขนาด กว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี เมื่อจะใช้ผ้าก็ต้องใช้ผ้าเขียวเอามาทําเป็นวงกลมขึ้น ถ้าจะใช้กระดาษ หรือสังกะสี ก็ต้องนําเอาสิ่งเหล่านี้มาตัดให้เป็นวงกลมกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี แล้วเอาสีเขียวแก่ทาลงบนแผ่นวงกลมนี้ให้เรียบร้อย ตาม ขอบทาด้วยสีขาว หรือ แดง ใหญ่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสี่ของนิ้ว เพื่อช่วยให้สีเขียว นั้นปรากฏเด่นชัดขึ้น
วัณณกสิณที่เหลือ พระโยคีบุคคลมีความประสงค์ที่จะเจริญ ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง โลหิตกสิณ กสิณสีแดง โอทาตกสิณ กสิณสีขาว ทั้ง ๓ นี้ อย่างใด อย่างหนึ่งนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูป ฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งวัณณกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา ๓ อย่างนี้ ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นดอกไม้ ผ้า หรือ วัตถุสิ่งของที่มีสี เหลือง แดง ขาว เข้าแล้ว ก็เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า ปีตก ปีตก เหลือง เหลือง โลหิต โลหิต แดง แดง โอทาติ โอทาต์ ขาว ขาว เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้ว ก็มีจําเป็นจะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีก คง เพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต และได้รูปฌาน ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อนๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทําองค์กสิณ ขึ้น การจัดทําองค์กสิณทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นไปเช่นเดียวกันกับการทํานีลกสิณนั้นเอง
ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งวัณณกสิณนั้น สีเขียว เหลือง แดง ขาว ที่เป็นองค์กสิณนั้นเองเป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นก็ได้แก่สภาพขอ งบริกรรมนิมิตนั้นเอง หากแต่เป็นสภาพที่ปรากฏให้เห็นได้ทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิต นั้นมีสภาพใสบริสุทธิ์ สะอาดปราศจากมลทิน ยิ่งไปกว่าอุคคหนิมิตหลายสิบเท่า ถ้า เป็นโลกสิณก็ปรากฏเหมือนกับแก้วมณีสีเขียว ถ้าเป็นปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ ก็ปรากฏเหมือนกับแก้วมณีที่เป็นสีเหลือง แดง ขาว
ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัติ นับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถึงได้รูปฌาน อรูปฌาน นั้น ก็เป็นเช่นเดียวกันกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
สีอื่นๆ ก็จัดเข้าในวัณณกสิณทั้งสี่นี้ได้ คือ สีดํา สีน้ําเงิน สีฟ้าแก่ สีเขียวใบไม้ เป็นต้น เหล่านี้ อนุโลมเข้าในฝ่ายนีลกสิณ สีทองอนุโลมเข้าในฝ่ายปีตกสิณ สีชมพู สีแสด อนุโลมเข้าในฝ่ายโลหิตกสิณ สีไข่ไก่ สีฟ้าอ่อนๆ สีเทาอ่อน ๆ เหล่านี้ก็ อนุโลมเข้าในฝ่าย โอทาตกสิณได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสีต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั่วไปนั้น เมื่อใช้เพ่งแล้วก็ทําให้รูปฌานเกิดได้
จบวัณณกสิน
อาโลกกสิณ
พระโยคีบุคคล มีความประสงค์จะเจริญอาโลกกสิณนั้น ถ้า เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพ ก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งอาโลกกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้ เมื่อได้แลเห็นแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟ เป็นต้น แล้วก็เพ่งดูแสงสว่างของสิ่ง เหล่านี้พร้อมกับบริกรรมว่า โอภาโส โอภาโส แสง แสง หรือ อาโลโก อาโลโก สว่าง สว่าง เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็มี จําเป็นที่จะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต และได้รูปฌาน ถ้าหากว่าไม่เคยมีบุญบารมีจากภพก่อนๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทําเป็นองค์กสิณขึ้น
การจัดทําอาโลกกสิณนั้น เมื่อพระโยคีบุคคล มิอาจเพ่งแสงสว่างของดวง อาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟต่างๆ โดยตรงได้ ก็ต้องจัดทําองค์กสิณขึ้นโดยวิธีเจาะฝา เรือน หรือหลังคาบ้าน เพื่อให้แสงสว่างลอดเข้าไปภายใน ปรากฏที่ฝา หรือ พื้นเรือน แต่บางเวลาแสงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ก็ไม่มี เช่นนี้ก็ต้องจัดทําแสงขึ้นโดยจุด ตะเกียง หรือ เปิดไฟเอาไว้ แล้วเอามานมากั้นกําบังไว้อย่างมิดชิด ม่านนั้นก็เจาะให้ กว้างตามสมควร เพื่อแสงจะได้ส่องลอดออกมาเป็นดวงที่ฝา แล้วก็เพ่งดูแสงสว่างนั้น - พร้อมกับบริกรรมตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้ จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต
ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งอาโลกกสิณ คือ แสงสว่างที่ ปรากฏจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟต่างๆ เป็นต้นก็ดี แสงสว่างที่ตนจัดทํา ขึ้นก็ดี เหล่านี้ เป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับบริกรรมนิมิตทุก ประการ คือ บริกรรมนิมิต มีแสงสว่างเท่าใด อุคคหนิมิตก็มีเพียงนั้น สําหรับ ปฏิภาคนิมิตนั้น แสงสว่างมีสัณฐานปรากฏเป็นกลุ่มก้อน คล้ายกับดวงไฟที่ปรากฏอยู่ ในโป๊ะไฟสีขาว สว่างรุ่งโรจน์ยิ่งไปกว่าแสงสว่างของอุคคหนิมิตมากมายหลายเท่า
ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัตินับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้รูปฌาน อรูปฌาน นั้นก็เป็นเช่นเดียวกันกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
จบอาโลกกสิณ
ปริจจินนากาสกสิณ หรือ อากาสกสิณ
พระโยคีบุคคล มีความประสงค์ จะเจริญอากาสกสิณนั้น ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วในภพก่อนๆ ใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งอากาสกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้ เมื่อได้เห็นอากาศตามช่องฝา ช่องลม ช่องประตู ช่องหน้าต่าง เหล่านี้แล้วก็เพ่งดูอากาศตามช่องนั้น ๆ พร้อมกับบริกรรมว่า อากาโส อากาโส หรือ แจ้ง แจ้ง เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้วก็มีจําเป็น ที่จะต้องเพ่งดูอากาศนี้อีกคงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อนๆ ตามที่ได้กล่าว มาแล้วก็ต้องจัดทําเป็นองค์กสิณขึ้น
การจัดทําองค์อากาสกสิณนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลมีอาจเพ่งอากาศตามช่องฝา ช่องลมเป็นต้น โดยตรงได้ ก็ต้องจัดทําอากาศองค์กสิณขึ้นโดยวิธีเจาะฝาเรือนที่มิดชิด หรือหลังคาที่มุ่งสนิทเรียบร้อยดีนั้นให้เป็นช่องกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ นิ้ว แล้ว เพ่งดูอากาศที่ปรากฏตามช่องนั้นๆ พร้อมกับบริกรรมตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต
ความแตกต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งอากาสกสิณนั้น อากาศที่ ปรากฏตามช่องฝา ช่องลม เป็นต้นก็ดี อากาศที่ปรากฏตามช่องฝา หลังคาที่ได้จัด ทําขึ้นก็ดี เหล่านี้เป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกประการ คือบริกรรมนิมิตมีขอบเขตของช่องฝาหลังคาอย่างใด อุคคหนิมิตก็คง ปรากฏมีอยู่อย่างนั้นเหมือนกันสําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ย่อมปรากฏเฉพาะแต่อากาศ อย่างเดียว ขอบเขตของสิ่งเหล่านั้น มิได้ปรากฎ ทั้งทําการขยายให้กว้างใหญ่ออกไป เท่าใด ๆ ก็ขยายได้ เพราะสมาธิมีกําลังมากพอ แต่อุคคหนิมิตนั้นพระโยคียังทําการ ขยายไม่ได้ เพราะสมาธิในขณะนั้นยังมีกําลังไม่พอ
ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัตินับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้รูปฌาน อรูปฌานนั้น ก็เป็นเช่นเดียวกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
จบปริจฉิมนากาสกสิณ
การเพ่งกสิณอย่างหนึ่ง แต่ก็สามารถยังนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณอื่น ๆ ที่เหลือ อีก ๙ ให้เกิดได้
พระโยคีบุคคลที่ได้รูปฌานทั้ง ๕ โดยอาศัยการเพ่งกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน บรรดากสิณ ๑๐ นั้น ถ้าต้องการ อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ที่เกี่ยวกับกสิณที่เหลือ 8 นอกจากที่ตนได้เคยเพ่งมาแล้วนั้น มีจําเป็นที่จะต้องจัดทําองค์กสิณขึ้นใหม่แต่ประการ ใด เมื่อได้แลเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมดา มีดิน แม่น้ํา บ่อน้ํา ไฟ ลม สีต่างๆ แสงสว่าง อากาศ แล้วก็ทําการเพ่งพร้อมกับบริกรรม เพียงเท่านี้อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตก็จักปรากฏได้ เช่นเดียวกับผู้ที่เคยมีบุญบารมีมาแล้วจากภพก่อนๆ
กรรมฐานที่ทําให้ได้ฌานเร็ว
ในบรรดากรรมฐาน ๓๐ ที่ให้ถึงฌานได้นั้น กสิณ ๑๐ เป็นกรรมฐานที่ทําให้ ถึงฌานได้เร็วกว่ากรรมฐานอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพราะการเพ่งกสิณนั้น อุคคหนิมิตและอุปจาร สมาธิเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่ออุคคหนิมิต และ อุปจารสมาธิเกิดง่าย การได้ฌานก็เร็ว ยิ่ง เป็นวัณณกสิณ ๔ ด้วยแล้ว อุคคหนิมิต และ อุปจารสมาธิ ตลอดจนถึงการได้ฌาน เหล่านี้ ย่อมเกิดได้โดยง่ายและเร็วยิ่งกว่ากสิณอื่นๆ อีกด้วย ยิ่งกว่านั้นในวัณณกสิณ ด้วยกันนี้ พระพุทธองค์ก็ยังทรงยกย่องโอทาตกสิณว่าเป็นกสิณที่ประเสริฐเลิศยิ่งกว่า กสิณที่เหลือ ๓ โดยเหตุว่า ทําให้จิตใจของพระโยคีบุคคลที่กําลังเจริญอยู่นั้นมีความ ผ่องใส ปราศจากถิ่นมิทธะเป็นพิเศษ และในขณะที่อุคคหนิมิตยังไม่ปรากฏ หรือ ปรากฏแล้วก็ตาม โอทาตกสิณยังเป็นกสิณที่ทําให้พระโยคีบุคคลสามารถทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ คล้ายกับผู้ที่ได้ฌานอภิญญา
อานุภาพแห่งกสิณ ๑๐
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจปถวีกสิณ คือ
๑. เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นหลายร้อย หลายพัน ๒. เนรมิตตนเองให้เป็น พระยานาค พระยาครุฑ
๓. ทําท้องอากาศ แม่น้ํา มหาสมุทร ให้เป็น พื้นแผ่นดิน เดิน ยืน นั่ง นอนได้
๔. เนรมิตเป็น ต้นไม้ วิมาน วัดวาอาราม เคหสถาน บ้านเรือน วัตถุ สิ่งของต่างๆ แล้วแต่ความประสงค์ของตน
๕. ทําสิ่งที่เบาให้หนัก
๖. ทําให้วัตถุตั้งมั่นติดแน่นอยู่ มิให้โยกย้ายเคลื่อนที่ไปได้
๗. ได้อภิภายตนะ คือ สามารถข่มทําลายธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจิตใจ และ สามารถข่มอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์มิให้มาปรากฏภายในจิตใจของตนได้
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจอาโปกสิณ คือ
๑. แทรกแผ่นดินไปแล้ว ผุดขึ้นมาได้
๒. ทําให้ฝนตก
๓.ทําพื้นแผ่นดินให้เป็น แม่น้ํา และ มหาสมุทร
๔. ทําน้ําให้เป็น น้ํามัน น้ํานม น้ําผึ้ง
๕. ทําให้กระแสน้ําพุ่งออกมาจากร่างกาย
๖. ทําให้ภูเขา ปราสาท วิมาน สะเทือนหวั่นไหว
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจเตโชกสิณ คือ
๑. เกิดควันกําบังตนและทําให้เปลวไฟลุกโชติช่วงขึ้นจากร่างกายหรือวัตถุอื่นๆ
๒. ทําให้ฝนถ่านเพลิงตกลงมา
๓. ใช้ไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของตนดับไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของผู้อื่นให้ดับลง
๔. สามารถเผาผลาญบ้านเมือง วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ได้
๕. ทําให้แสงสว่างเกิดขึ้น เพื่อจะได้แลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุอภิญญา
๖ . ทําให้เตโชธาตุเกิดขึ้นไหม้สรีระในสมัยที่ปรินิพพาน
๗. ทําให้ความมืดหายไป
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจวาโยกสิณ คือ
๑. เหาะไปได้
๒. สามารถไปถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปได้อย่างรวดเร็ว
๓. ทําสิ่งที่หนักให้เบา
๔. ทําให้พายุใหญ่เกิดขึ้น
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจนีลกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีเขียว
๒. ทาเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้นให้เป็นแก้วมรกต
๓. ทําความมืดให้เกิดขึ้นไม่ว่าในเวลาใด
๔. ได้อภิภายตนะ
๕. ได้สุภวิโมกข์ คือ บรรลุ มรรค ผล นิพพานโดยง่ายและสะดวกสบาย
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจปีตกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีเหลือง
๒. ท่าเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นทอง
๓. ได้อภิภายตนะ
๔. ได้สุภวิโมกข์
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจโลหิตกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีแดง
๒. ทําเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง ให้เป็นแก้วทับทิม
๓. ได้อภิภายตนะ
๔. ได้สุภวิโมกข์
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจโอทาตกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีขาว
๒. ท่าเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง ให้เป็นเงิน
๓. ทําให้หายจากความง่วงเหงาหาวนอน
๔. ทําให้ความมืดหายไป แล้วทําแสงสว่างให้เกิดขึ้น เพื่อเห็นรูปด้วยทิพพจักษุอภิญญา
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจอาโลกกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เกิดแสงสว่าง หรือ ทําให้ร่างกายเกิดแสงสว่างเป็นรัศมีพวยพุ่งขึ้นมา
๒. เนรมิตเป็นรูปต่างๆ ประกอบด้วยแสงสว่างอย่างรุ่งโรจน์
๓. ทําให้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
๔. ทําความมืดให้หายไป แล้วทําแสงสว่างให้เกิดขึ้น เพื่อเห็นรูปด้วยทิพพจักษุอภิญญา
พระมหาพุทธโฆสาจารย์ ได้กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า บรรดากสิณ ๓ มี เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ ที่ทําให้แสงสว่างเกิดขึ้น เพื่อจะได้เห็น รูปต่างๆ ด้วยทิพพจักขุอภิญญานั้น ท่านจัดอาโลกกสิณว่าเป็นกสิณที่ดีเยี่ยม
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจอากาสกสิณ คือ
๑. ทําการเปิดเผยสิ่งที่ปกปิดซ่อนเร้นลับให้ปรากฏเห็นได้
๒. ทําให้มีอากาศเป็นอุโมงค์ช่องว่างเกิดขึ้นภายในพื้นแผ่นดิน ภูเขา มหาสมุทร แล้วยืน เดิน นั่ง นอนได้
๓. เข้าออกทางฝา หรือ กําแพงได้
ฤทธิ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นฤทธิ์ที่เกิดจากอํานาจของกสิณ โดยเฉพาะๆ สําหรับฤทธิ์ที่เกิดจากกสิณทั้ง ๑๐ ได้นั้นมีดังนี้
๑. ทําการกําบังสิ่งต่างๆ ไว้มิให้ผู้ใดแลเห็น
๒. ทําวัตถุสิ่งของที่เล็กให้กลับเป็นใหญ่ หรือ ที่ใหญ่ให้กลับเป็นเล็ก
๓. ทําระยะทางใกล้ให้เป็นไกล และย่นหนทางที่ไกลให้กลับเป็นใกล้
อธิบายกสิณ จบลงเพียงเท่านี้
อธิบายอสุภ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
ไม่สวยไม่งามในที่นี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะความ เปลี่ยนแปลงแห่งร่างกายของคนทั้งหลายที่ตายไปแล้วเท่านั้น
๑. อุทธุมาตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยการพองขึ้นภายหลังที่ตาย ๒ - ๓ วัน พองขึ้นภายหลังชื่อว่า อุทธุมาตะ ศพที่พองขึ้นภายหลังที่ตายแล้ว เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า อุทธุมาตกะ
๒. วินีลกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีสี ต่างๆ ปนกัน คือ สีแดง สีขาว สีเขียว และดํา สีเขียวเป็นพิเศษโดยมีสีแดงและขาวปนอยู่ด้วย ชื่อว่า วินีละ ศพที่มีสีเขียวเป็นพิเศษโดยมีสีแดงและขาวปะปนอยู่ด้วยเป็นสิ่งที่น่า เกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วินีลกะ
๓. วิปุพพกะ คือ ศพที่น่าเกลียด โดยมีน้ําเหลืองและน้ําหนองไหลจากเนื้อ หนองที่ ไหลออกมาจากเนื้อที่ปริแตกชื่อว่า วิปุพพะ ศพที่มีน้ําเหลืองและน้ําหนองไหลออก จากเนื้อที่ปริเปื่อยพังเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิปุพพกะ
๔. วิจฉัททกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยที่ร่างกายถูกฟันขาดออก เป็น ๒ ท่อน ศพที่ถูกฟันขาด ชื่อว่า ฉัททะ ศพ ที่ถูกฟันขาดออกเป็น ๒ ท่อน ชื่อว่า วิจฉัททะ ศพที่ถูกฟันขาดออกเป็น ๒ ท่อน เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิจฉัททกะ
๕. วิกขายตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดย ถูก แร้ง กา สุนัข จิก กัด ทิ้ง ยื้อแย่งกระจัดกระจายโดยอาการต่างๆ ฉะนั้น ชื่อว่า ขายตะ ศพที่ถูกแร้ง กา สุนัข จิก กัด ทั้ง ซื้อแย้ง โดยอาการต่างๆ ชื่อว่า วิกขายตะ ศพที่ถูกแร้ง กา สุนัข จิก กัด ทั้ง ซื้อแย้ง กระจัดกระจายโดยอาการต่างๆ เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิกขายตกะ
๖. วิกขิตตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยถูกทิ้งเรี่ยรายไว้ มี มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทาง ศพที่ถูกทิ้งเรี่ยรายไว้โดยประการต่างๆ มี มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทาง ชื่อว่า วิกขิตตะ ศพที่ถูกทิ้งเรี่ยรายไว้โดยประการต่างๆ มี มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทาง เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิกขิตตกะ
๗. หตวิกขิตตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยถูกฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอก เป็น ริ้วเป็นรอยเหมือนตีนกา ศพที่ถูกฟันด้วยมีดทิ้งเรี่ยรายไว้เป็นชิ้นๆ โดยประการต่าง ๆ ชื่อว่า หตวิกขิตตะ ศพที่ถูกฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอก เป็น ริ้วเป็นรอยเหมือนตีนกา ทิ้งเรี่ยรายไว้เป็นชิ้น ๆ โดยประการต่าง ๆ เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า หตวิกขิตตกะ
๘. โลหิตกะ คือ โลหิตก ศพที่มีโลหิตไหลออกมา จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ศพที่มีโลหิตหลั่งไหลซ่านออก มาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังเอาโลหิตไปราดไว้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า โลหิตกะ
๙. ปุฬวกะ คือ ศพที่มีหนอนไซอยู่ทั่วร่างกาย
๑๐. อัฏฐิกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมี แต่กระดูกเหลืออยู่ ศพที่มีแต่กระดูกเหลืออยู่เป็นศพที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัฏฐิกะ
วิธีเจริญอสุภกรรมฐาน และ นิมิตทั้งสาม
อุทธุมาตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญอุทธุมาตกกรรมฐานนั้น จะ ต้องแสวงหาศพอุทธุมาตกะที่เป็นสภาคะกันกับตน คือ หญิงก็ใช้ศพหญิง ชายก็ใช้ศพ ชาย แล้วพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า อุทธุมาตก ปฏิ กูฬ, อุทธุมาตก ปฏิกฬ (ศพอุทธุมาตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไป จนกว่าอุคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพอุทธุมาตกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วน อุคคหนิมิตนั้น เป็นที่ปรากฏทางใจ ตัวศพมีความน่าเกลียด น่ากลัว ชวนสะอิดสะเอียน เพียงใดก็ปรากฏทางใจ ฉันนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นความน่าเกลียด น่ากลัว ชวนสะอิดสะเอียน ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นขนาดใหญ่ที่ อ้วนพี่ล่ําสัน ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้น พระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณา โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง
อนึ่ง อุทธุมาตกกรรมฐานนี้ เป็นกรรมฐานที่หาเจริญได้ยากกว่า อสุภกรรม ฐานอื่นๆ เพราะศพที่มีอาการอืดพองขึ้นนั้นจะมีอยู่เพียง ๑ หรือ ๒ วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นศพวินีลกะ วิปุพพกะไป อย่างไรก็ดี ในระยะที่ยังเป็นศพอุทธ มาตกะอยู่นั้น อุคคหนิมิตย่อมปรากฏแก่พระโยคีบุคคลบางท่านได้ เมื่ออุคคหนิมิต ปรากฏแล้ว ก็มีจําเป็นที่จะพิจารณาศพนั้นอีก คงพิจารณาแต่อุคคหนิมิตต่อไป จนกว่า จะได้ปฏิภาคนิมิต และ ปฐมฌาน เมื่อพระโยคีได้มาซึ่งปฐมฌานแล้ว มีความประสงค์ จะเจริญทุติยฌาน เป็นต้น ต่อไป ก็ต้องเปลี่ยนกรรมฐานเสียใหม่ จะใช้อสุภกรรมฐาน ต่อไปนั้นไม่สําเร็จ เพราะอสุภกรรมฐานเป็นกรรมฐานหยาบ มิอาจทําให้ผู้เจริญได้ถึง ฌานเบื้องบนได้ และในระหว่างที่ยังไม่ถึงฌานนั้น หากอุคคหนิมิตเกิดการเสื่อมหายไป ก็จะต้องไปหาศพอุทธุมาตกะเพื่อทําการพิจารณาใหม่ การหาศพอุทธุมาตกะใหม่นี้ หากศพคนที่เป็นสภาคะกับตนไม่ได้ จะใช้ซากศพสัตว์ดิรัจฉานมีสุนัขเป็นต้น แทนก็ได้
วินีลกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวินีลกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวง หาศพวินีลกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับ บริกรรมว่า วินีลก ปฏิกูฬ, วินีลก ปฏิกฬ (ศพวินีลกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่า ขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพวินีลกะ ก็ได้แก่ตัวศพนั้น เอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ความน่า เกลียด น่ากลัวไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นสีเขียว สีดํา สีแดง ไปตามสี ของศพที่ปรากฏมากที่สุดในขณะนั้น มีความใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ ถึงกระนั้น พระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับการงานในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ โดยความเป็นของน่าเกลียด
วิปุพพกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิปุพพกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพวิปุพพกะที่เป็นสกาคะกับตนมาพิจารณา พร้อมกับบริกรรมว่า วิปุพพก ปฏิกฬ, วิปุพพก ปฏิกฬ (ศพวิปุพพกะนี้ เป็น ของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพอุทธ มาตกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับ ปฏิภาคนิมิตนั้น หนองที่ไหลออกมา โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้นไม่มีแต่ อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ ถึงกระนั้นพระโยคี บุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่ เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
วิจนิททุกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิจนิททุกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพวิจฉัททกะที่เป็นสภาคะกับตน มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วิจนิททก์ ปฏิกฬ, วิจนิททก์ ปฏิกูฬ (ศพวิจนิททกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด ข้อสําคัญก่อนที่จะลง มือปฏิบัตินั้น ถ้าหากว่าร่างกายของศพที่ขาดเป็นท่อนวางอยู่ห่างจากกันมากนัก ก็ขอ ให้ผู้ใดจับวางให้ต่อกันห่างกันประมาณ ๑ องคุลี บริกรรมนิมิตของศพวิจนิททกะก็ได้ แก่ร่างศพที่ขาดเป็นสองท่อนนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ร่างนั้นไม่เห็นขาดเป็นสองท่อน ให้เป็นที่น่าเกลียดน่ากลัวแต่ อย่างใด คงเป็นเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางไว้นิ่งอยู่เป็นท่อนเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น พระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของที่น่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้น เอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
วิกขายตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิกขายตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพวิกขายิตกะที่เป็นสภาอะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วิกขายตก์ ปฏิกูฬ, วิกขายตก ปฏิกฬ (ศพวกขายตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพ วิกขายตกะ ก็ได้แก่ศพที่ถูก แร้ง กา สุนัข จิก กัด ทั้ง ยื้อแย่ง เรี่ยรายไป นั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น สภาพต่าง ๆ ที่ เป็นของน่าเกลียด น่ากลัวเหล่านี้ มิได้ปรากฏมีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้น ที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความ เป็นของที่น่าเกลียดน่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียว กับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
วิกขิตตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิกขิตตกกรรมฐานนั้น จะต้อง แล้วหาศพที่วิกขิตตกะที่เป็นสภาคะกับตน โดยขอให้ผู้อื่นช่วยเก็บให้แล้ววางไว้ให้เป็น ลําดับต่อกันมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วิกขิตตก์ ปฏิกูฬ, วิกขิตตก์ ปฏิกฬ (ศพวกขิตตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไป จนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิดบริกรรมนิมิตของศพวิกขิตตกะก็ได้แก่ตัวศพที่อยู่เฉพาะหน้านั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นสภาพที่ขาดจากกันเป็นชิ้นๆ โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็น ไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด หมดจด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคี บุคคลก็ต้องพิจารณา โดยความเป็นของที่น่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่ เหลือจากนี้ ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
หตวิกขิตตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญหตวิกขิตตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพหตวิกขิตตกะที่เป็นสภาคะกับตน โดยวานให้ผู้อื่นช่วยเก็บแล้ววาง ให้เป็นลําดับต่อกัน มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า หตวิกขิตตก ปฏิกูฬ, หดวิกขิตตก ปฏิกูฬ (ศพหตวิกขิตตกะนี้ เป็นของน่า เกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพหตวิกขิต ตกะก็ได้แก่ตัวศพที่อยู่เฉพาะหน้านั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นสภาพที่ถูกแทงเป็นริ้วรอยเหมือนตีนกา โดยความเป็นของน่า เกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่า กลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรรม ฐานทุกประการ โดยความเป็นของน่าเกลียด
โลหิตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญโลหิตกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพโลหิตกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณา พร้อมกับบริกรรมว่า โลหิตก์ ปฏิกูฬ, โลหิตก์ ปฏิกูฬ (ศพโลหิตกะนี้ เป็นของ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพโลหิตกะ ก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาค นิมิตนั้น ความน่าเกลียด น่ากลัวไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ทําด้วย กํามะหยี่สีแดง ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้อง พิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คง เป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ พวกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญพวกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพบุฬวกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณา โดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อม กับบริกรรมว่า พวก ปฏิกฬ, ปุพวก ปฏิกฬ (ศพบุฬวกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพปุฬวกะก็ได้แก่ตัวศพ นั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ตัวหนอน ที่กําลังไปไหลออกมาจากร่างกาย โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่าง ใด คงเป็นไปคล้ายๆ กับก้อนข้าวสาลีที่ปั้นไว้ มีความใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
อัฏฐิกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญอัฏฐิกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวง หาศพอัฏฐิกะ มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า อฏฐิก ปฏิกูฬ, อฏฐิก ปฏิกฬ (ศพอัฏฐิกะนี้ เป็นของน่าเกลียด) ไปจนกว่าอุคคหนิมิต จะเกิดบริกรรมนิมิตของศพอัฏฐิกะก็ได้แก่อัฏฐินั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นที่ปรากฏ ทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ความน่าเกลียด น่ากลัวของกระโหลกศีรษะที่กลวง ช่องระหว่างซี่โครง นิ้วมือ และท่อนกระดูกมือ เท้า แข็ง ขา เป็นต้น ที่ต่อเชื่อม กันอยู่เป็นเปลาะ ๆ นั้นมิได้ปรากฏขึ้นแต่อย่างใด คงปรากฏเป็นไปโดยความสม่ําเสมอ ใสสะอาดหมดจด เป็นแท่งเดียวกัน ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นก็ตามพระโยคีบุคคลก็ต้อง พิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คง เป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
ศพอัฏฐิกะที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน มีอยู่ ๕ อย่าง คือ
๑. สมสโลหิต นหารุ สมพนธ์ อฏฐิก = ร่างกระดูกที่ยังมีเนื้อ และ เลือด เส้นเอ็นรัดรึงอยู่
๒. นิมิสโลหิต มกขิต นหารุ สมพนธ์ อฏฐิก = ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อ แต่แปดเปื้อนด้วยโลหิต และยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
๓.อุปคุต มีสโลหิต นหารุ สมพนธ์ อฏฐิก = ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อและเลือด แต่ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงติดต่อกันอยู่
๔. อปคต นหารุ สมพนธ์ ทิสาวิทิสาวิกขิตต อฏฐิก = กระดูกที่ไม่มีเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงไว้แล้วกระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ
๕. เสตสงขวณฺณปฏิภาค อฏฐิก = ท่อนกระดูกที่มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์
ชี้แจงในเรื่องการเจริญอสุภกรรมฐาน
การเจริญอสุภกรรมฐานตามที่ได้กล่าวนี้ หากว่าผู้นั้น มีบุญบารมีมาแล้วจาก ภพก่อนๆ ก็เพียงแต่พิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดตามที่ได้กล่าวแล้ว อุคคห นิมิตและปฏิภาคนิมิตก็จักปรากฏแก่ผู้นั้นได้รวดเร็ว สําหรับบุคคลอื่นๆ นอกนั้น อุคคหนิมิตและ ปฏิภาคนิมิตจักปรากฏขึ้นได้เหมือนกัน แต่ไม่แน่นอน โดยอาศัยการ พิจารณาตามหลักธรรมดานี้ ฉะนั้น หากอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตมิได้ปรากฏมีแก่ พระโยคีบุคคลแล้วไซร้ พระโยคีบุคคลก็จะต้องหมั่นพิจารณาศพนั้นโดยอาการทั้ง ๖ เพื่อจะได้ช่วยให้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นเร็ว เมื่อได้พิจารณาโดยอาการ ทั้ง ๖ นี้แล้ว อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ก็ยังไม่ปรากฏ ก็จะต้องทําการพิจารณาโดย อาการทั้ง ๕ ต่อไป
อาการทั้ง ๖ นั่น คือ
๑. วณณโต กําหนดโดยสี รู้ว่าศพนี้เป็นคนผิวดํา ผิวขาว ผิวเหลือง
๒. สิงคโต กําหนดโดยวัย รู้ว่าศพนี้อยู่ในปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย โดยไม่ต้องไปกําหนดถึงเรื่องของเพศ เพราะคําว่า “ลิงคะ” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายถึงเพศ หากแต่ มุ่งหมายถึงวัย
๓. สัณฐานโต กําหนดโดยสัณฐาน รู้ว่านี้เป็นศีรษะ คอ มือ ท้อง สะดือ เอว ขา อก แข็ง เท้า
๔. ทิสโต กําหนดโดยทิศ รู้ว่าตั้งแต่สะดือขึ้นไปเป็นส่วนบน ใต้สะดือลงมา เป็นส่วนล่าง หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ทางทิศนี้ ศพอยู่ทางทิศนั้น
๕. โอกาสโต กําหนดโดยที่ตั้ง รู้ว่ามือ เท้า ศีรษะ กลางตัว อยู่ตรงนี้ หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ตรงนี้ ศพอยู่ที่ตรงนั้น
๖. ปริจเฉทโต กําหนดโดยขอบเขต รู้ว่าเบื้องต่ําสุดของร่างศพนั้นแค่พื้น เท้า เบื้องบนสุดแค่ปลายผม ทั่วตัวสุดแค่ผิวหนัง
อาการทั้ง ๕ นั้น คือ
๑. สนธิโต กําหนดโดยที่ต่อ รู้ว่าในสรีระของศพนั้นมีที่ต่อส่วนใหญ่ ๆ อยู่ ๑๔ แห่ง คือ ที่ต่อมือขวา ๓ ที่ต่อมือซ้าย ๓ ที่ต่อเท้าขวา ๓ ที่ต่อเท้าซ้าย ๓ คอ ๑ ที่ต่อเอว ๑
๒. วิวรโต กําหนดโดยช่อง รู้ว่านี้ช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องท้อง ช่องมือ ช่องเท้า หลับตา ลืมตา อ้าปาก หรือ หุบปาก
๓. นินนโต กําหนดโดยที่ลุ่ม รู้ว่านี้หลุมตา หลุมคอ ภายในปาก หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ ณ ที่ต่ํา ศพอยู่ ณ ที่สูง
๔. ถลโต กําหนดโดยที่ดอน รู้ว่าที่นูนขึ้นนี้เป็นหัวเข่า หน้าผาก หน้าอก หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ ณ ที่สูง ศพอยู่ ณ ที่ต่ํา
๕. สมนฺตโต กําหนดโดยรอบด้าน รู้ทั่วไปในร่างของศพ ในขณะที่ กําหนดรู้ทั่วไปรอบๆ ด้านของศพอยู่นั้น ถ้าส่วนไหนปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ตาม ลักษณะของศพ อุทธุมาตกะ ศพวินีลกะ หรือ ศพวิปุพพกะแล้ว ก็จงตั้งจิตกําหนดลง ที่ตรงนั้นพร้อมกับบริกรรมว่า อุทธุมาตก ปฏิกูฬ หรือ วินีลก ปฏิกฬ หรือ วิปุพพก ปฏิกฬ ดังนี้เป็นต้น
การเข้าไปทําการพิจารณาศพ
พระโยคีบุคคลเมื่อจะเข้าไปทําการพิจารณาศพนั้นอย่าได้ไปทําการพิจารณาใต้ลม หรือ เหนือลม และไม่พึงอยู่เหนือศีรษะ หรือ ปลายเท้า แต่จงทําการพิจารณาอยู่ใน ระหว่างกลางตัวภายในระยะอันสมควร คือ อย่าให้ใกล้ หรือ ไกลออกไปนัก
อนึ่ง ผู้ที่มีความกลัวผีเป็นปกติธรรมดาอยู่แล้ว เมื่อมาทําการพิจารณาอสุภ กรรมฐานนี้ อุคคหนิมิตย่อมปรากฏได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีความกลัว ดังนั้น ถ้าหากว่ามี ความจําเป็นเกิดขึ้นเกี่ยวแก่การโยกย้ายศพก็ดี จัดทําให้เป็นระเบียบเรียบร้อยก็ดี เหล่านี้ควรวานให้ผู้อื่นช่วยจัดทําให้จะเป็นการดีมาก สําหรับตนเองนั้นอย่าได้ไปจับ ต้องเป็นอันขาด ถ้าหากว่าจะต้องทําบ้างในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จงใช้ไม้เท้าเขี่ยแทนมือ เพราะถ้าไปจับต้องด้วยมือ อยู่เสมอๆ แล้ว ก็จะทําให้ความหวาดเสียวกลัวที่มีอยู่นั้น ค่อย ๆ จางหายไป และจะทําให้กลายเป็นคนที่ไม่กลัวเพราะชินกันกับศพเสียแล้ว เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุคคหนิมิตก็ไม่มีทางที่จะปรากฏได้ เช่นเดียวกับนายป่าช้า หรือ สัปเหร่อ ถึงแม้ว่าจะได้พบเห็นศพมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งหลายเดือน หลายปี ก็ตามที แต่การ ปรากฏขึ้นแห่งอุคคหนิมิตที่เกี่ยวกับศพต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีเลย
ศพที่มีผีเข้าสิงได้
ในบรรดาอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนั้น อสุภที่จะทําให้จิตใจของพระโยคีบุคคลเกิดการ วิปริตผิดแผกไปได้ มีอยู่ ๓ อย่างคือ อุทธุมาตกะ วินีลกะ วิปุพพกะ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งก่อนหน้าอุคคหนิมิตจะเกิดนั้น พระโยคีบุคคลอาจมีความคิดนึกไปต่าง ๆ ว่า ศพนี้กําลังลุกขึ้นนั่ง ยืน เดิน การที่คิดเช่นนี้ ถ้าเป็นผู้มีความกลัวอยู่แล้วก็อาจทําให้ เสียสติได้ ดังนั้น ผู้ที่มีนิสัยกลัวผี เมื่อจะไปทําการพิจารณาจะไปด้วยกัน ๒ - ๓ คน ก็ได้ และในขณะที่คิดนึกไปต่าง ๆ นั้น ก็จงทําการพิจารณาห้ามใจตนเองว่า ตาม ธรรมดาศพนั้นไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ หรือ ท่อนไม้ เพราะเป็นร่างที่ปราศจากจิตใจอาศัย อยู่ ฉะนั้น จะลุกขึ้นนั่ง ยืน เดิน ไม่ได้เป็นอันขาด แต่การที่เห็นเป็นไปดังนี้ก็เพราะ เนื่องมาจากจิตใจที่คิดนึกไปเอง ส่วนศพนั้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อมีการพิจารณา ห้ามใจได้เช่นนี้ ความกลัวก็จะเลือนหายไป แต่อย่างไรก็ตาม ศพที่ยังสดอยู่อาจลุกขึ้น นั่ง ยืน เดินได้ก็มี โดยมีผีอื่น ๆ มาเข้าสิง เมื่อมีผีมาเข้าสิงทําให้ศพท่าอาการต่างๆ ขึ้นแล้ว พระโยคีบุคคลก็จงขับไล่ผีนั้นโดยการสวดมนต์ มีรัตนสูตรเป็นต้น หรือม ฉะนั้นก็ใช้ไม้เท้าตีให้ล้มลง เหตุนั้น เมื่อจะไปพิจารณาศพก็จงเอาไม้เท้าติดตัวไปด้วย
อุคคหนิมิตจะกลับเป็นภัยแก่ผู้ที่มีนิสัยกลัว
หลังจากที่อุคคหนิมิตปรากฏแล้ว พระโยคีบุคคลที่มีนิสัยค่อนข้างกลัวอยู่ ใน ระหว่างนั้น ถ้าขาดอาจารย์คอยแนะนําตักเตือน ทั้งตนเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่อง อุคคหนิมิตด้วยแล้ว ก็เห็นไปว่าถูกผีหลอก ถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เกิดเจ็บป่วย ต้องหาหมอมาทําการรักษากันยกใหญ่ก็มี หรือ ผู้ที่มิได้ตั้งใจจะพิจารณาศพแต่อย่างใด เมื่อได้ไปเห็นศพอยู่นานๆ แล้ว ไม่ว่าจะไปข้างไหน อยู่ในอิริยาบถใด ก็คงเห็นแต่ภาพ ศพนั้นมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ติดตา ติดใจอยู่ การที่ภาพศพมาอยู่เฉพาะหน้า ติดตา ติดใจอยู่อย่างชัดเจนเช่นนี้ เป็นอุคคหนิมิตอันเป็นของดี หากแต่สําคัญผิดไปว่าไม่ดี จึงเกิดกลัวถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องล้มป่วย เช่นเดียวกับผู้ไม่มีความรู้ในเรื่อง อุคคหนิมิตที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
ความต่างกันในระหว่างการเห็นบริกรรมนิมิต และ อุคคหนิมิต
พระโยคีบุคคลผู้เจริญอสุภกรรมฐาน โดยมากมักจะเข้าใจผิดในเรื่องบริกรรม นิมิต และ อุคคหนิมิตทั้งสองนี้อยู่เสมอ คือ หลังจากที่ได้ไปพิจารณาศพมาแล้ว พระโยคีบุคคล ก็จํารูปร่างสัณฐานของศพนั้นได้อย่างชัดเจน เมื่อจําได้ชัดเจนเช่นนี้ ก็ สําคัญผิดไปว่าได้อุคคหนิมิต ซึ่งที่จริงนั้นหาใช่อุคคหนิมิตไม่ เพียงแต่เป็นสัญญา ความจําอารมณ์บริกรรมนิมิต ที่เป็นอดีตมาปรากฏแก่ใจต่างหาก แต่การปรากฏแห่ง อุคคหนิมิตนั้นก็หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ เป็นการปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าอยู่เสมอไม่ว่าจะไป ข้างไหน และอยู่ในอิริยาบถใดโดยไม่มีการนึกถึงเลย ส่วนการจํารูปร่างสัณฐานศพได้ อย่างชัดเจนนั้นเป็นการน้อมนึกถึงภาพที่ตนได้ไปพิจารณาแล้วจํามา หาใช่เป็นภาพที่ ติดตามมาปรากฏเฉพาะหน้าแต่อย่างใดไม่ เปรียบเหมือนกับผู้ที่อ่านหนังสือ เมื่อปิด หนังสือแล้วก็ยังคงจําตัวอักษรในหน้าหนังสือนั้นได้อยู่ แต่ถ้าให้อ่านดูให้ถูกเหมือนกับ เปิดหนังสือดูนั้นก็มิอาจทําได้ ฉะนั้น การจําอารมณ์ที่เป็นบริกรรมนิมิตได้ก็คงเป็นเช่น เดียวกันกับการจําตัวหนังสือได้อย่างชัดเจน แต่มิอาจที่จะอ่านให้ถูกได้ทั้งหมด ฉันนั้น
ส่วนการเห็นที่เป็นอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับผู้ที่อ่านข้อความในหนังสือนั้นได้ถูกต้อง โดยไม่ต้องเปิดดู แม้ในการเพ่งองค์กสิณ พระโยคีบุคคลที่มีความสําคัญผิดในบริกรรม- นิมิตที่เรียกว่า การจํารู้ กับอุคคหนิมิตที่เรียกว่า การเห็นรู้เช่นกัน
อสุภที่ใช้แทนวัณณกสิณเพื่อเจริญทุติยฌาน เป็นต้น ต่อไป
ได้กล่าวแล้วว่า การเจริญอสุภกรรมฐานนี้มิอาจให้ฌานเบื้องบน มีทุติยฌาน เป็นต้นเกิดได้ ดังนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลได้ปฐมฌานแล้ว ถ้าหากว่าไม่ต้องการจะ เปลี่ยนก็จงเพ่งสีต่างๆ ที่ปรากฏชัดมากที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในศพ ซึ่งจัดเข้า ในประเภทแห่งวัณณกสิณพร้อมกับบริกรรมว่า เขียวๆ หรือ เหลืองๆ แดง ๆ ขาวๆ จนกว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏ เมื่อุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็เจริญต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและทุติยฌานตามวิธีการของกสิณที่ได้กล่าวแล้ว
การพิจารณาอสุภใช้ได้ทั้งสองนัย
การพิจารณาอสุภกรรมฐานนี้มีอยู่สองนัย คือ สมถนัย เป็นนัยที่ให้ได้ฌาน และ วิปัสสนานัย เป็นนัยที่ให้ได้มรรค ผล ในนัยทั้งสองนี้ สมถนัยได้กล่าวมาแล้ว สําหรับ วิปัสสนานัยนั้นมิได้มีการพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดแต่อย่างใด หากแต่พิจารณา เป็นไปโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่า
๑. ความเป็นอยู่ของตนนี้ก็ไม่เที่ยง คือ จะต้องตายลงเช่นเดียวกัน เพียงแต่ เขาตายก่อนและตนจะตายทีหลังเท่านั้น เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ
๒. ชีวิตและร่างกายของตน ที่กําลังได้รับความทุกข์ยากลําบากอยู่ในบัดนี้ นั้นยังไม่ถึงซึ่งยอดทุกข์แต่อย่างใด แต่มิวันใดก็วันหนึ่งจะต้องถึงซึ่งยอดทุกข์ อันเป็น ทุกข์ที่มิอาจทนสู้ได้ถึงกับสิ้นชีวิตลงเช่นเดียวกับผู้ตายนี้ เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรง เทศนาว่า สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
๓. ผู้ที่ตายอยู่จําเพาะหน้าตนนี้ ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ไม่มีความประสงค์ในการ แก่ เจ็บ ตาย แต่อย่างใด แต่ก็มิอาจเป็นไปตามความประสงค์ได้ เพราะร่างกายมิได้ อยู่ใต้บังคับบัญชาของตน คงเป็นไปตามสภาวะของรูป นาม ที่เป็นอนัตตะ ตนนี้ก็ ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้เหมือนกัน คือ มิอาจหลีกเลี่ยงให้เป็นไปอย่างอื่นได้ จะต้องเป็น ไปอย่างนี้โดยแน่แท้เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาว่า สพฺเพ ธัมมา อนตฺตา รูป นาม ทั้งหลายไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น
อนึ่ง การพิจารณาศพตามวิปัสสนานัยดังที่ได้กล่าวนี้ พระโยคีบุคคลไม่ จําเป็นที่จะต้องเลือกศพว่าเป็นหญิง หรือ ชาย ดังที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิตศพ หญิงให้แก่พระกุลลเถระที่มีราคจริตพิจารณา และทรงใช้ให้ภิกษุหนุ่มไปพิจารณาศพ นางสิริมา นครโสเภณี ที่ภิกษุนั้นหลงรักมากที่สุดถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ โดย ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อธิบาย อสุภ จบลงเพียงเท่านี้
อนุสสติ
อนุสสติ หมายความว่า การระลึกเนือง ๆ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ อนุ + สติ, อนุ เนือง ๆ สติ ระลึก ดังแสดงวจนัตถะว่า “สรณ์ = สติ” การระลึกได้ ชื่อว่า สติ “อนุปูนปูน สติ อนุสสติ” การระลึกเนือง ๆ ชื่อว่า อนุสสติ ได้แก่ สติเจตสิก
คําว่า “อนุสสติ” นี้ น่าจะเป็น อนุสติ ตามที่แยกบทไว้ แต่ที่เป็นเช่นนั้น ไม่ได้ ก็เพราะคําเดิมของ สติ มาจาก สรธาตุ ฉะนั้น สรธาตุมาอยู่ข้างหลัง อนุ ก็จะ ต้องเป็น ส สองตัว จึงสําเร็จเป็น อนุสสติ ไป
พุทธานุสสติ
พุทธานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้ามี อรหํ เป็นต้น เนื่องๆ ชื่อ ว่า พุทธานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “พุทธ์ อนุสสติ = พุทธานุสสติ” การ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเนือง ๆ ชื่อว่า พุทธานุสสติ ได้แก่สติเจตสิก ที่มีคุณของ พระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ตามธรรมดาคําว่า “พุทธ” นั้น ย่อมหมายถึงพระสรีรกาย ของพระพุทธองค์ แต่ในที่นี้มุ่งหมายถึงพระคุณต่างๆ ที่มีอยู่ในสันดานของพระองค์ อย่างไรก็ดี การระลึกถึงพระคุณนี้ก็มิอาจเว้นจากพระสรีรกายไปได้ เพราะความงาม แห่งพระสรีรกายนั้น ก็เป็นพระคุณอย่างหนึ่งที่เป็นบุญสิริอยู่ในบท ภควา
วิธีระลึกถึงพระพุทธคุณ
การระลึกไปในพระพุทธคุณนั้น จะระลึกเป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ได้ ภาษา บาลีนั้นมีดังนี้ อิติปิโส ภควา, อรห์, สมมาสัมพุทโธ, วิชชาจรณสมฺปนฺโน, สุคโต, โลกวิทู อนุตตโร ปุริสทมฺมสารถี, สตฺถาเทวมนุสสาน, พุทโธ, ภควา
หรืออีกนัยหนึ่ง โสภควา อิติปิ อรห์, โสภควา อิติปิ สมมาสม พุทโธ, โสภควา อิติปิ วิชชาจรณสมฺปนฺโน, โสภควา อิติปิ สุคโต, โสภควา อิติปิ โลกวิทู, โสภควา อิติปิ อนุตฺตโร ปริสุทมุมสารถี, โสภควา อิติปิ สตถาเทวมนุสสาน, โสภควา อิติปิ พุทโธ, โสภควา อิติปิ ภควาฯ
ถ้าเป็นภาษาไทยก็ระลึกได้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีชื่อเสียง เลื่องลือเซ็งแซ่ตลอดทั่วไปจนถึงพรหมโลก ด้วยพระคุณบทว่า อรห์ เพราะเป็นผู้ห่าง ไกลจากกิเลส ๑๕๐๐ ทั้งวาสนาของกิเลสอย่างเด็ดขาด มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสงดงาม เป็นผู้ควรได้รับการสักการะบูชาเป็นพิเศษจากมวลมนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า สมมาสัมพุทโธ เพราะเป็นผู้ ตรัสรู้ เญยยธรรม ๕ ประการ คือ สังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน บัญญัติ ด้วย อํานาจแห่งพระสัพพัญญุตญาณโดยลําพังพระองค์เองอย่างถูกถ้วน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า วิชชาจรณสัมปันโน เพราะ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และการปฏิบัติอย่างประเสริฐเป็นยอดเยี่ยม คือ วิชชา ๓
หรือ ๘ และจรณะ ๑๕ ประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า สุคโต เพราะเป็นผู้ดําเนิน กิจการต่างๆ เป็นอย่างดี เพื่อการที่จะได้มาซึ่งสัพพัญญุตญาณด้วยการสร้างบารมี ๓๐ ทัศ และ ทําการปฏิบัติอยู่อย่างซื่อตรง ปราศจากมิจฉาทิฏฐิประกอบด้วยสติสัมป ชัญญะ อันจะนําประโยชน์มาให้แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้ง ๓ นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ ในขณะที่ทรงซบพระเศียรแทบพระบาทของสมเด็จพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นมาจนถึงโพธิบัลลังก์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า โลกวิทู เพราะเป็นผู้รู้แจ้งโลก ทั้ง ๓ คือ สัตวโลก โอกาสโลก สังขารโลก อย่างทั่วถึงโดยรอบคอบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า อนุตฺตโร ปริสุทมุมสาร เพราะเป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม หาที่เปรียบมิได้ในเชิงการอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มี ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ตั้งอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา โดยลําดับยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทั่งถึงได้ ฌาน มรรค ผล โดยอุบายวิธีต่างๆ ด้วยการปลอบโยน กดขี่ ยกย่อง ตามควรแก่อัธยาศัย ของสัตว์นั้นๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า สัตถาเทวมนุสสาน เพราะเป็น ศาสดาของมนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลาย ในการที่จะให้พ้นออกไปจากชาติ ชรา มรณะ แล้วเข้าถึงพระนิพพาน เสมือนอย่างพ่อค้าเกวียนใหญ่ย่อมนําพวกเกวียนที่เป็นลูกน้องให้ข้ามพ้นจากทางกันดาร เข้าสู่แดนเกษมสําราญได้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า พุทโธ เพราะเป็นผู้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ โดยรอบคอบอย่างถี่ถ้วน แล้วสามารถยังสัตว์ทั้งหลายให้รู้ตาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า ภควา เพราะเป็นผู้มีบุญ 5 ประการ คือ อิสสริย ธมุม ยสฺส สิริ กาม ปยุตฺต อย่างประเสริฐ น่าอัศจรรย์ยิ่ง
ข้อความที่ควรรู้ในบทพระพุทธคุณ
เญยยธรรม หมายความว่า ธรรมที่ควรรู้ เญยยธรรม มี ๕ ประการ คือ
๑. สังขาร ได้แก่ จิต เจตสิก และนิปฝันนรูป
๒. วิการ ได้แก่ วิการรูป ๕
๓. ลักขณะ ได้แก่ ลักขณรูป ๔
๔. นิพพาน ได้แก่ ธรรมชาติที่นอกจากขันธ์ ๕ และบัญญัติ
๕. บัญญัติ ได้แก่ สัททบัญญัติ คือ ชื่อต่างๆ ภาษาต่างๆ อัตถ บัญญัติ ได้แก่เนื้อความ คือ คําอธิบายใจความในเรื่องนั้น ๆ และรูปร่างสัณฐานของ มนุษย์ เทวดา พรหม อบายสัตว์ ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขา แม่น้ํา ป่า เป็นต้น
วิชชา หมายความว่า ความรู้ในพระสูตรบางแห่งแสดงวิชชา ๓ แต่ในบาง แห่งแสดงวิชชา ๘
วิชชา ๓ คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตได้
๒. ทิพพจักขุญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ในที่ห่างไกล หรือ เล็กที่สุดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง มิว่าจะอยู่ในที่แจ้ง หรือ ลี้ลับกําบังไว้อย่างมิดชิด ประการใดก็ตาม ย่อมสามารถเห็นได้เป็นอย่างดีเหมือนกับตาของเทวดาและพรหมทั้งหลาย
๓. อาสวักขยญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถทําลายกิเลสอาสวะให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
วิชชา ๘ คือ
๑. วิปัสสนาญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถรู้แจ้ง รูป นาม ทั้งปวงที่มี สภาพเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๒. อิทธิวิธญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๓. มโนมยิทธิญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถเนรมิตร่างกายอื่นๆ ให้ เกิดขึ้นภายในร่างกายของตน แล้วแต่จะต้องการ
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตได้
๕. เจโตปริยญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถรู้จิตใจของบุคคลอื่นได้อย่าง
๖. ทิพพจักขุญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ในที่ห่างไกล หรือ เล็กที่สุดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง มิว่าจะอยู่ในที่แจ้ง หรือ ลี้ลับกําบังไว้อย่างมิดชิด ประการใด ๆ ก็ตามที ย่อมสามารถเห็นได้เป็นอย่างดีเหมือนกับตาของเทวดาและพรหมทั้งหลาย
๗. ทิพพโสตญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถได้ยินเสียงในที่ห่างไกล หรือ เบาที่สุดเหมือนกับหูของเทวดา และพรหมทั้งหลาย
๘. อาสวักขยญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถทําลายกิเลสอาสวะให้หมด ไปโดยสิ้นเชิง
จรณะ หมายความว่า ความประพฤติ จรณะ มี ๑๕ ประการ คือ
๑. ศรัทธา เชื่อต่อการงานของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นบุญก็มี เป็นบาป ก็มี และจะได้รับผลของ บาป บุญ นั้นอย่างแน่แท้ เชื่อในคุณของพระรัตนตรัยว่ามีจริง เชื่อว่าเคยเกิดมาแล้วในภพก่อนๆ
๒. สติ มีการระลึกอยู่ในการงานที่เป็นฝ่ายดี
๓. หิริ มีความละอายในการงานอันเป็นทุจริตทราชีพ
๔. โอตตัปปะ มีความสะดุ้งกลัวในการงานที่เป็นทุจริตทราชีพ
๕. วิริยะ มีความขยันในการงานที่เป็นฝ่ายดี
๖. สุตะ เคยฟัง เคยเห็นมามาก
๗. ปัญญา การเฉลียวฉลาดในกิจการทั้งปวง
๗. โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค
๙. ชาคริยานุโยค ตื่นไวในยามหลับ คือ มีการหลับนอนน้อย
๑๐. ศีล มีศีลสมบูรณ์
๑๑. อินทรียสังวร การสํารวมในทวาร ๖
๑๒. รูปปฐมฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๕
๑๓. รูปทุติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๓
๑๔. รูปตติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒
๑๕. รูปจตุตถฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒
จบพุทธานุสสติ
ธัมมานุสสติ
ธัมมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระธรรมเจ้า มี สวากขาโต เป็นต้นอยู่เนืองๆ ชื่อว่า ธัมมานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “ธมฺม อนุสสติ = ธัมมานุสสติ” การระลึกถึงคุณพระธรรมเจ้าเนือง ๆ ชื่อว่า ธัมมานุสสติ องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระธรรมเจ้าเป็นอารมณ์
วิธีเจริญธัมมานุสสติ
การเจริญธัมมานุสสติ ผู้เจิรญจะใช้ระลึกเป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ เป็นภาษาบาลีนั้นมีดังนี้
สวากขาโต ภควตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อกาลิโก, เอหิปสฺสิโก, โอปนยิโก, ปจจตต์ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ ฯ
หรืออีกนัยหนึ่ง ภควโต ธมฺโม สวากขาโต ภควโต ธัมโม สันทิฏฐิโก, ภควโต ธมฺโม อกาลิโก, ภควโต ธมฺโม เอหิปสฺสิโก, ภควโต ธมฺโม โอปนยิโก, ภควโต ธมฺโม ปจฺจตฺติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ ฯ
เป็นภาษาไทยนั้นระลึกดังนี้
สวากขาโต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม ๑๐ ประการ มีปิฎกทั้ง สามอรรถกถาบางอย่าง และมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ไว้ดีแล้ว โดยทําให้ผู้ฟัง สงบระงับดับเสียซึ่งความทุกข์ต่างๆ ซึ่งเนื่องจากกิเลสได้ชั่วระยะหนึ่ง กับทําให้จิตใจ ได้รับความชุ่มชื่นเบิกบานแจ่มใสขึ้น ระหว่างประพฤติปฏิบัติตามก็มีแต่ความสุขกาย สบายใจฝ่ายเดียว หลังจากการประพฤติปฏิบัติแล้วก็ยิ่งได้รับความชุ่มชื่น อิ่มเอิบ แห่งจิตใจเป็นทวีคูณ ใกล้ต่อการสิ้นไปแห่งทุกข์ สมความมุ่งหมายของตนที่ได้แสวง หามาเป็นเวลาช้านาน
สนทิฏฐิโก พระธรรม ๙ อย่าง มีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ มิใช่เป็น ธรรมที่เพียงแต่ได้ยินได้ฟังแล้วจดจําเอาไว้เท่านั้น หากแต่เป็นธรรมที่ควรรู้ควรเห็นเป็นประจักษ์ด้วยตนเอง
อกาลิโก มรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น นี้ย่อมให้ผลเกิดขึ้นในลําดับ ของตนโดยไม่มีการรอเวลาแม้แต่เพียงเล็กน้อย
เอหิปสฺสิโก พระธรรม ๙ อย่างมีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ เป็นธรรม ที่ควรแก่การเชื้อเชิญชนทั้งหลายให้มาชมได้โดยกล่าวคําว่า ท่านจงมาดูเถิด ๆ พระธรรมเหล่านี้มีจริง เหมือนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่กําลังโคจรอยู่
โอปเนยยิโก พระธรรม ๙ อย่างมีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ เป็น ธรรมที่ควรยึดหน่วงให้มาปรากฏแก่ใจ แม้ที่สุดจะถูกไฟไหม้เครื่องนุ่งห่ม หรือ ผมที่อยู่บนศรีษะก็ตามที แต่ก็มียอมที่จะทําการดับไฟนั้น โดยเหตุว่า ธรรมเหล่านี้เมื่อ ปรากฏขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียวก็สามารถปิดประตูอบายได้
ปจฺจตฺติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ พระธรรม ๑๐ หรือ ๙ นี้ เป็นธรรมที่ผู้มี ปัญญา คือ กัลยาณปุถุชน และ อริยบุคคลทั้งหลาย พึ่งรู้จึงเสวยด้วยตนเองโดยเฉพาะๆ
จบธัมมานุสสติ
สังฆานุสสติ
สังฆานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระสังฆเจ้ามี สุปปฏิปนฺโน เป็นต้นอยู่เนือง ๆ ชื่อว่า สังฆานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “สงฆ์ อนุสสติ สังฆานุสสติ” การระลึกถึงคุณของพระสังฆเจ้าเนือง ๆ ชื่อว่า สังฆานุสสติ องค์ ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์
วิธีเจริญสังฆานุสสติ
การระลึกไปในพระสังฆคุณนั้น จะใช้ระลึกตามภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ ตามภาษาบาลีนั้นมีดังนี้
สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ, อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวก สังโฆ, ญายปปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ, สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ (ยที่ท์ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคลา) เอส ภควโต สาว กสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกรณีโย, อนุตตร ปุญญักเขตต์ โลกสฺส ฯ
หรืออีกนัยหนึ่ง ภควโต สาวกสังโฆ สุปฏิปนฺโน, ภควโต สาวกสังโฆ อุชุปฏิปันโน, ภควโต สาวกสังโฆ ญายปปฏิปนฺโน, ภควโต สาวกสังโฆ สามีจิปฏิปนฺโน, ภควโต สาวกสังโฆ อาหุเนยโย, ภควโต สาวกสังโฆ ปาหุเนยโย, ภควโต สาวกสังโฆ ทุกขิเณยโย, ภควโต สาวกสังโฆ อัญชลี กรณีโย, ภควโต สาวกสังโฆ อนุตตร์ ปุญญเขตต์ โลกสฺส ฯ
ตามภาษาไทยนั้นระลึกดังนี้
สุปฏิปันโน พระอริยสงฆ์สาวก ๔ จําพวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ ปฏิบัติดี สมบูรณ์ด้วยอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
อุชุปฏิปันโน พระอริยสงฆ์สาวก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อหนทางที่นําเข้าสู่ พระนิพพานโดยส่วนเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโลก ทั้งไม่มีมารยาสาไถยแต่อย่างใด เข้ามาเจือปน
ญายปปฏิปนฺโน พระอริยสงฆ์สาวก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติมุ่งต่อพระนิพพานอัน เป็นอมตธรรม ไม่มีการปรารถนาอยากได้ภวสมบัติและโภคสมบัติแต่อย่างใดเลย
สามีจิปปฏิปนฺโน พระอริยสงฆ์สาวก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่การ เคารพกราบไหว้ของชนทั้งหลายด้วยกาย ใจ
(บุรุษ ๔ คู่ที่เป็นคู่กันตาม มรรค ผล อันใดมีอยู่ บุรุษเหล่านี้เมื่อแยกโดย เฉพาะๆ แล้วก็เป็นอริยบุคคล ๘ ดังนี้)
อาหุเนยโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ จําพวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามารถให้ผลเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงเป็นผู้ควรรับอามิสบูชาที่เขานํามาจากที่ไกล
ปาหุเนยโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ เป็นแขกที่ประเสริฐสุดของคน ทั่วโลก เพราะมีแต่ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็น ผู้ที่ควรแก่การต้อนรับด้วยปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้สําหรับรับแขกที่เป็นฝ่ายโลกียะ
ทุกขิเณยโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ สามารถให้อานิสงส์ผลเกิดขึ้น ตามความประสงค์ของคนทั้งหลายได้ ดังนั้น จึงควรแก่การรับทักขิณาทาน คือ การ บริจาคทานของผู้มีความปรารถนาภวสมบัติ โภคสมบัติ ที่เกี่ยวกับตน หรือ คนอื่นในภพหน้า
อญชลีกรณีโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น จึงสมควรแก่การกระทําอัญชลีของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย
อนุตตรํ ปุญญเขตตํ โลกสฺส พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ เป็นที่หว่าน อันประเสริฐแห่งพืชต่างๆ คือ บุญกุศล ของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย เปรียบ เหมือนพื้นที่นาชั้นเอกที่ทําให้เมล็ดพืชเจริญงอกงามเป็นอย่างดี แม้ที่สุดจะหว่านลงเพียงเล็กน้อย
ความต่างกัน และ เหมือนกันในระหว่างคฤหัสถ์กับบรรพชิต ที่สําเร็จเป็น อริยบุคคล
การได้สําเร็จเป็นพระอริยบุคคลของคฤหัสถ์ทั้งหลายก็ดี การสําเร็จเป็นพระ อริยบุคคลของบรรพชิตทั้งหลายก็ดี ในระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่ายนี้ คงมีความต่างกัน อยู่ที่ความประพฤติ คือดําเนินงานทางอธิศีลสิกขาเท่านั้น สําหรับความประพฤติ ดําเนินงานทางอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขานั้นเหมือนกัน กล่าวคือ อธิศีลสิกขา ของคฤหัสถ์ก็เป็น ศีล ๕ อธิศีลสิกขาของบรรพชิตเป็นศีล ๒๒๗ หรือ ๘๑๙๐ โกฏิ ๕ ล้าน ๓ หมื่น ๖ พัน สิกขาบท ดังนั้นคุณทั้ง ๙ มี สุปปฏิปันโน เป็นต้น จนถึง อนุตตรังปุญญักเขตตังโลกัสสะนั้น เป็นคุณของบรรพชิต และคฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคลได้ทั้งสองฝ่าย
จบสังฆานุสสติ
สีลานุสสติ
สีลานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ตนรักษาไว้ โดยปราศจากโทษ ๔ อย่างมี อขัณฑะ เป็นต้นอยู่เนืองๆ ชื่อว่า สีลานุสสติ ดัง แสดงวจนัตถะว่า “สีสํ อนุสสติ = สีลานุสสติ” การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีล ที่ตนรักษาไว้โดยปราศจากโทษเนื่องๆ ชื่อว่า สีลานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ ในมหากุศลจิตที่มีการเว้น การรักษา ตามสิกขาบทนั้นๆ
วิธีเจริญสีลานุสสติ
การเจิรญสีลานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตาม หลักทั้ง ๕ ประการเสียก่อน คือ
๑. จะต้องชําระศีลของตนให้พ้นจากโทษทั้ง ๔ แล้วตั้งอยู่ในคุณทั้ง ๔ จน ครบบริบูรณ์ อย่างหนึ่ง
๒. จะต้องมีจิตใจพ้นไปจากความเป็นทาสแห่งตัณหา กล่าวคือ การรักษา ศีลที่ไม่มีความมุ่งหวังต่อโลกียสมบัติ อย่างหนึ่ง
๓. มีการปฏิบัติกาย วาจา ให้ตั้งอยู่ในสิกขาบทอย่างเคร่งครัด จนมิอาจที่ผู้ใด ผู้หนึ่งจะมาจับผิดโดยอ้างวัตถุขึ้นแสดงเป็นหลักฐานได้ อย่างหนึ่ง
๔. ความประพฤติด้วยกาย วาจา ของตนนั้น แม้ว่าคนอันธพาลและผู้ที่เป็น ศัตรูแก่ตนจะไม่มีความเห็นดีเห็นชอบด้วยก็ตาม แต่วิญญูชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญอย่างหนึ่ง
๕. ต้องประกอบด้วยความรู้ว่า ศีลนี้เป็นเหตุทําให้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และ มรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นได้
จบสีลานุสสติ
จาคานุสสติ
จาคานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงการบริจาคทานของตน ที่เป็นไป โดยบริสุทธิ์ ไม่มีการโอ้อวด หรือ การเอาหน้า เอาชื่อเสียงแม้แต่ประการใด ๆ อยู่เนืองๆ ชื่อว่า จาคานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “จาคา อนุสสติ = จาคานุสสติ” การระลึกถึงการบริจาคทานของตนที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์อยู่เนืองๆ ชื่อว่า จาคานุสสติ
องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิตที่มีบริจาคเจตนาเป็นอารมณ์
วิธีเจริญจาคานุสสติ
การเจริญจาคานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีการบริจาคทานที่ถึงพร้อมด้วยคุณความดี ๓ ประการ คือ
๑. ธัมมิยลัทธวัตถุ คือ วัตถุสิ่งของที่เป็นเทยยธรรมนั้น ได้มาโดยชอบธรรม
๒. บริบูรณ์ด้วยเจตนาทั้ง ๓ คือ ปุพพเจตนา บุญจเจตนา อปรเจตนา ๓
๓. มุตตจาคี คือ การบริจาคที่สละละพ้นไปจากความตระหนี่ และ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
เมื่อบริจาคทานของตน ได้ถึงพร้อมด้วยคุณความดีดังนี้แล้ว ก็มาคํานึงนึก ถึงความเป็นอยู่ของโลกเทียบกันกับความเป็นอยู่ของตนว่า ตามธรรมดาชนทั้งหลายนั้น โดยมากมักมีความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์สิน เงินทอง ของตน ไม่ใคร่จะยอมบริจาค ให้เป็นทาน แต่กลับไปสนใจอยู่ในเรื่องการบํารุงบําเรอตัณหา มานะ ทิฏฐิ กล่าวคือ มีการตบแต่งร่างกายเกินกว่าเหตุ อาหารการบริโภคเกินสมควร การสนุกสนานเพลิดเพลิน โอ้อวดซึ่งกันและกัน ล้วนแต่เป็นเรื่องที่หาสาระมิได้ทั้งสิ้น สําหรับตนในคราว นี้นั้น ย่อมมีโอกาสได้ชัยชนะต่อศัตรูภายใน คือ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์สิน เงินทองที่มีอยู่ ด้วยการยอมลดละจากการบํารุงบําเรอตัณหา มานะ ทิฏฐิ มีการตบ แต่งร่างกายเกินควร เป็นต้นเสียได้ ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของตนอย่างแท้จริง แต่ต่อไป ในภายภาคหน้าก็จะได้รับแต่อานิสงส์ที่ดีงาม มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ประกอบไป ด้วยความโสมนัสอย่างยอดยิ่ง การคํานึงนึกถึงอย่างนี้แหละ ได้ชื่อว่าจาคานุสสติ ต่อ แต่นั้นก็เริ่มต้นภาวนาว่า
มนุสสติ สุลทช์ เม ยุวาห์ จาเค สทา รโต
มจฺเฉรปริฏฺฐาย ปชาย วิคโต ตโต ๆ
ในบรรดาชนทั้งหลาย ที่มีมัจฉริยะก่อกวนกําเริบด้วยการหวงแหนอยู่นั้น แต่ เรานั้นมีความยินดีปลื้มใจอยู่แต่ในการบริจาคทาน โดยความปราศจากมัจฉริยะลงได้ การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ดีจริงหนอ
อนึ่ง บรรพชิตที่กําลังปฏิบัติสารณียธรรม หรือ สารณียวัตรอยู่นั้น ถ้าให้ เจริญจาคานุสสติกรรมฐานไปด้วย ก็จะช่วยให้การปฏิบัติสารณียธรรมได้ดําเนินไปโดยเรียบร้อย เพราะการปฏิบัติสารณียธรรมนั้นต้องให้ทานทุกวันตลอดระยะเวลา ๑๒ ปี ฉะนั้น ถ้าภิกษุได้ทําการเจริญจาคานุสสติกรรมฐานด้วยแล้ว ก็จะช่วยให้ได้รับผลทั้ง
สองฝ่าย
จบจาคานุสสติ
เทวตานุสสติ
เทวตานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงกุศลกรรมของตน มีศรัทธา เป็นต้น โดยเปรียบเทียบกับเทวดา พรหมทั้งหลาย ที่บริบูรณ์ด้วยสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง และสัปปุริสธรรม ๗ ประการอยู่เนืองๆ ชื่อว่า เทวตานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ที่มีศรัทธาเป็นต้นเป็นอารมณ์
วิธีเจริญเทวตานุสสติ
การเจริญเทวตานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องอยู่ในสถานที่ที่เงียบสงัดจากฝูงชน แล้วระลึก ถึงความเป็นไปของเทวดาและพรหมทั้งหลายว่า ขณะที่ท่านเหล่านั้นยังเป็น มนุษย์อยู่นั้น ท่านเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยธรรมอันดีงามมีสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ และสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ ปัญญาด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้น เมื่อตายลงก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่มีสภาพอันดีงามเหล่านี้ตนก็มีอยู่ เหมือนกัน เมื่อพิจารณา เปรียบเทียบดูอยู่อย่างนี้เนืองๆ แล้วก็บังเกิดความโสมนัสใจเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ท่านฎีกาจารย์” กล่าวว่า “ยถารูปาย สุทธาทธมมชาตาย สมน นาคตา เทวตา อิโตจุตา ตตฺถ อุปปันนา, เมหมปิ ตตฺถารูปาย สุทธาทธมมา สํวิชฺชนฺติ ฯ”
เทวดาและพรหมทั้งหลาย เมื่อขณะที่ยังเป็นมนุษย์อยู่นั้น ล้วนแต่เป็นผู้ที่บริบูรณ์ ด้วยสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง และสัปปุริสธรรม ๗ ประการ ที่มีสภาพดีงาม คือ ศรัทธา เป็นต้น อันใด ฉะนั้น เมื่อจุติจากมนุษย์แล้วก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่ มีสภาพดีงาม คือ ศรัทธา เป็นต้นเหล่านี้ ก็มีอยู่ในเราเช่นเดียวกัน
จบเทวตานุสสติ
อุปสมานุสสติ
อุปสมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระนิพพานที่มีสภาพ สันติสุข สงบจากกิเลส ขันธ์ ๕ อยู่เนืองๆ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิตที่มีคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์
วิธีเจริญอุปสมานุสสติ
การเจริญอุปสมานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณศัพท์ที่ พรรณนาถึงคุณของพระนิพพานมี ๒๙ ประการให้ดีเสียก่อน จึงจะทําการเจริญอุป สมานุสสตินี้ได้ คุณศัพท์ของพระนิพพานมี ๒๙ ประการนั้น คือ
๑. มทนมุมททโน พระนิพพาน เป็นธรรมที่ย่ำยีความมัวเมาต่างๆ
๒. ปีปาสวินโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์
๓. อาลัยสมุคุฆาโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์
๔. วฏฎปจฺเฉโท พระนิพพาน เป็นธรรมตัดเสียซึ่งการเวียนไปใน วัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด
๕. ตณฺหกขโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่สิ้นแห่งตัณหา
๖. วิราโค พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากราคะ
๗. นิโรโธ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ดับแห่งตัณหา
๘. ธุว พระนิพพาน เป็นธรรมที่ตั้งมั่นอยู่เสมอ
๙. อชํร พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความแก่
๑๐. นิปฺปปญฺจํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ทําให้วัฏฏสงสารกว้างขวาง
๑๑. สจฺจํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่มีความจริงแน่นอน
๑๒. ปารํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ข้ามพ้นจากฝั่งแห่งวัฏฏทุกข์
๑๓. สุทุทฺทสํ พระนิพพานเป็นธรรมที่ผู้มีปัญญาน้อยย่อมเห็นได้ยาก
๑๔. สิวํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่สบายปราศจากกิเลส
๑๕. อมต พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความตาย
๑๖. เขมํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากภัย
๑๗. อพฺภูติ พระนิพพาน เป็นธรรมที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง
๑๘. อณัติกํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีภัยอย่างร้ายแรง ที่นําความเสียหายมาสู่
๑๕. ตาณํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ช่วยรักษาสัตว์ ไม่ให้ตกอยู่ ในวัฏฏสงสาร
๒๐. เลณํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่หลบภัยต่าง ๆ
๒๑. ทีปํ พระนิพพาน เป็นเกาะที่พ้นจากการท่วมทับของโอฆะ ที่ง ๔
๒๒. วิสุทธิ พระนิพพาน เป็นธรรมที่บริสุทธิ์จากกิเลส
๒๓. วรํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่สัปปุรุษทั้งหลายพึงปรารถนา
๒๔. นิปุณํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุขุมละเอียด
๒๕. อสงฺขติ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔
๒๖. โมกุโข พระนิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากกิเลส
๒๗. เสฏโฐ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ควรสรรเสริญโดยพิเศษ
๒๘. อนุตฺตโร พระนิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐยิ่งหาที่เปรียบมิได้
๒๕. โลกสฺสนฺโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุดสิ้นแห่งโลกทั้ง
เมื่อรู้ถึงคุณของพระนิพพานด้วยใจจริงดังนี้แล้ว ก็จงน้อมนึกบริกรรมในใจว่า
ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขาตา วา อสงขาตา วา วิราโค เตส์ ธมมาน อคคมกขายติ, ยาท มทนมุมทุกโน, ปิปาสวินโย, อาลยสมุคุฆาโต, วฎฎปจฺเฉโท ตณฺหกขโย, วิราโค, นิโรโธ, นิพพาน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่ถูก ปรุงแต่งและไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ที่ชื่อว่า สังขตะ อสังขตะ มีอยู่ ในบรรดาสังขตะ อสังขตะทั้ง ๒ อย่างนี้ ธรรมใดเป็นสภาพที่ย่ํายีความมัวเมาต่างๆ บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์ ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์ ตัดเสียซึ่งการเวียนไป ในวัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด ที่สิ้นไปแห่งตัณหา ปราศจากราคะที่ ดับแห่งตัณหา และพ้นจากตัณหาอันเป็น เครื่องร้อยรัดนี้แหละ ตถาคตจึงกล่าวว่าเป็น ธรรมอันประเสริฐอย่างยอดยิ่ง อยู่ดังนี้เรื่อยๆ ไป ในการระลึกนั้นผู้ปฏิบัติจะใช้ระลึก เป็นภาษาบาลีก็ได้ หรือ ภาษาไทยตามที่ได้แปลไว้นั้นก็ได้ มิฉะนั้นจะระลึกในคุณทั้ง ๘ หรือ ๒๙ ประการมี มทนิมุมพุทโน เป็นต้น ดังนี้ก็ได้ ความสําคัญยิ่งก็อยู่ที่ผู้ระลึกจะต้องรู้ถึงความหมายของคุณศัพท์นั้นๆ ไปด้วย
อนึ่งในบรรดาบุคคลทั้งหลายที่เจริญอนุสสติ มีพุทธานุสสติ เป็นต้นจนถึงอุป สมานุสสติ ให้สมบูรณ์อย่างถี่ถ้วยได้นั้น คงทําได้แต่พระอริยบุคคลพวกเดียว สําหรับปุถุชนนั้นจะเจริญให้ได้ดีอย่างสมบูรณ์นั้นยังทําไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นผู้ที่มี สุตมยปัญญาอันสําเร็จมาจากการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถระลึกไป ในพระคุณนั้น ๆ ได้ด้วยดี จิตใจก็จะบังเกิดความเสื่อมใสในอารมณ์กรรมฐานนี้ได้เช่นกัน
อธิบายการที่พระนิพพานได้ชื่อว่า อุปสมะ และ มีสันติสุข
ในที่นี้ คําว่า “อุปสมะ” แปลว่าสงบ หมายถึงความสงบจากกิเลสและขันธ์ ๕ เหตุนั้น พระนิพพานจึงได้ชื่อว่า อุปสมะ เมื่อกล่าวถึงความสุขแล้ว พระนิพพานมี สันติสุข หมายถึงไม่มีกิเลสและขันธ์ ๕ นั้นเองจึงเป็นสุข อธิบายว่า พระนิพพานนี้ ไม่ใช่เป็นธรรมที่เสวย อารมณ์ต่าง ๆ เหมือนสัตว์ทั้งหลาย และไม่มีอารมณ์ที่จะพึงเสวย เหมือนกับรูปารมณ์ สัททารมณ์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจได้ว่า ในพระนิพพาน ย่อมไม่มีเวทยิตสุข คือ ความสุข ที่เกี่ยวด้วยการเสวยกามคุณอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นไป อยู่ในโลกเลย แต่มีสภาพสงบที่เรียกว่า สันติสุข ซึ่งเป็นความสุขที่ประเสริฐและ ประณีตกว่าเวทยิตสุข
ธรรมดาเวทยิตสุข คือ ความสุขที่เกี่ยวด้วยการเสวยกามคุณอารมณ์ต่างๆ นั้น เมื่อเสวยไปๆ แล้ว อารมณ์เหล่านั้นย่อมหมดไปๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เสวยย่อมจะ ต้องขวนขวายพยายามสร้างหามาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อตนจะได้เสวยต่อ ๆ ไป ความลําบากต่างๆ ที่ต้องได้รับอันเนื่องมาจากการแสวงหาความสุขเหล่านั้นย่อมมีมากมาย ไม่คุ้มกับความสุขที่จะได้รับ เมื่อลงทุนลงแรงด้วยความลําบาก และความสุขที่ได้มา นั้นก็ยังไม่เป็นที่เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็จะต้องยิ่งขวนขวาย
พยายามให้หนักขึ้นอีก จะเป็นไปในทางสุจริตก็ตาม ทุจริตก็ตาม ไม่คํานึงถึง ขอแต่ เพียงให้ได้สิ่งที่ตนต้องการมาให้สมประสงค์เท่านั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายประพฤติตนให้ เป็นไปตามอํานาจของโลภะที่สนใจ ติดใจต่อเวทยิตสุขต่างๆ อยู่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพ นี้ไปแล้ว ก็จะต้องไปเกิดในอบายภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่ง และ จะต้องได้เสวยความทุกข์ ยากลําบากอย่างมหันต์ ที่ตนไม่เคยได้รับเลยขณะที่มีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก ความ ลําบากต่างๆ ที่ได้รับอยู่ในอบายภูมินั้น เปรียบเสมือนหนึ่งเป็นการใช้หนี้ให้แก่เวทยิต สุขที่ตนยืมมาใช้พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก ฉะนั้นพุทธศาสนิกชนทั้ง หลาย เมื่อพิจารณารู้ดังนี้แล้ว ก็ควรจะสังเวชสลดใจ เพราะความลําบากต่างๆ ที่ตนได้ เคยรับมาแต่ภพก่อนๆ ก็ดี ที่กําลังได้รับอยู่ก็ดี และที่จะได้รับต่อไปข้างหน้าก็ดี เหล่า นี้ล้วนแต่เกิดมาจากเวทยิตสุขเป็นเหตุทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ยกย่องสรรเสริญเวทยิตสุข
สําหรับสันติสุขนั้น ไม่เกี่ยวด้วยการเสวยกามคุณอารมณ์ต่างๆ เหมือนกับ เวทยิตสุข เป็นสภาพที่สงบจากสังขารธรรม รูป นาม ทั้งปวง สภาพเช่นนี้แหละ เป็นความสุขที่มีอยู่ในพระนิพพาน อุปมาเหมือนมหาเศรษฐีผู้บริบูรณ์ด้วยกามคุณ อารมณ์ต่าง ๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อย่างพร้อมมูล วันหนึ่งท่านเศรษฐีกําลัง หลับอยู่อย่างเป็นสุข ฝ่ายพวกข้าทาส บริวารทั้งหลายก็จัดแจงเตรียมโภชนาหาร พร้อมด้วยเครื่องบํารุงบําเรอความสุขต่างๆ ไว้สําหรับท่านเศรษฐี เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว ก็เข้าไปปลุก ท่านเศรษฐีถูกปลุกในเวลาที่กําลัง หลับสนิทอยู่ก็ไม่พอใจ จึงดูพวกคน ใช้เหล่านั้นว่า ทําไมจึงมาปลุกเราในเวลาที่กําลังนอนสบาย ๆ อยู่เช่นนี้ คนใช้ตอบว่า อาหารพร้อมด้วยเครื่องบําเรอความสุขสําราญได้เตรียมพร้อมแล้ว พวกข้าพเจ้าจึงได้ มาปลุกท่าน เพื่อให้ท่านได้ตื่นขึ้นมาเสวยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านเศรษฐีไม่ยอมลุก กลับไล่คนใช้ว่าออกไปให้พ้น แล้วก็หลับต่อไป ขณะที่ท่านเศรษฐีนอนอยู่นั้นไม่มีการเสวย อารมณ์อย่างชัดเจนแต่อย่างใด แต่ท่านเศรษฐีก็ยังมีความพอใจในการนอนหลับ ยิ่งกว่า ความสุขที่เกี่ยวด้วยการเสวยอารมณ์ต่างๆ และธรรมดาคนในโลกนี้ ย่อมพอใจการ นอนหลับได้สนิทว่าสบายมาก นี้แสดงให้เห็นว่า เพียงแต่การนอนหลับที่สงบจากการ เสวยกามคุณอารมณ์ชั่วคราวก็ยังรู้สึกว่าเป็นความสุขถึงเพียงนี้ ถ้าเป็นความสุขชนิดที่ สงบจากสังขารธรรม รูป นาม ทั้งปวงแล้ว จะมีความสุขประเสริฐเพียงใด ขอให้ พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายได้โปรดพิจารณาดูเถิด เหตุนี้แหละพระพุทธองค์จึงทรง เทศนาไว้ในเทวทหวัคค์ สฬายตนสังยุตต์ พระบาลี” ว่า
๑. สเทวกสฺส โลกสฺส เอเตโว สุขสมมตา
ยตฺถ เจเต นิรุชฺฌนฺติ ติ เตส ทุกขสมมติ ฯ
๒. สุข ทิฏฐมริเยภิ สกุกายสฺส นิโรธน์
ปัจจนึกมิท โหติ สพฺพโลเกน ปสฺสติ ฯ
แปลความว่า
๑. สัตว์โลกทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดา สมมุติกันว่าโลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านั้นดี และมีความสุข ธรรมอันใด คือ พระนิพพาน ที่ โลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านั้น ดับสูญสิ้นหมดแล้ว สัตว์โลก ทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดานั้น สมมุติกันว่าธรรมอันนั้น คือ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ ไม่ดี เป็นทุกข์
๒. พระอริยบุคคลทั้งหลาย ได้รู้แจ้งสันติสุข คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ ดับแห่ง รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่ปรากฏมีโดยปรมัตถ์ได้แล้ว พระอริยบุคคลเหล่านั้นได้ รู้แจ้งพระนิพพานอันปุถุชนทั้งหลายมิอาจที่จะรู้ถึงได้นี้ จึงมีความเห็นตรงกันข้ามกับ สัตว์โลกที่มีโมหะปิดบังและตกอยู่ภายใต้อํานาจของตัณหา เสมือนคนสองคนยืนผืน หลังให้แก่กันแล้ววิ่งหนีจากกันไป ฉันนั้น
จบอุปสมานุสสติ
มรณานุสสติ
หมายความว่า การระลึกถึงความตายที่ตนจะต้องได้ประสบ แล้วเกิดความสังเวชสลดใจอยู่เนืองๆ ชื่อว่า มรณานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ที่มีชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะเป็นอารมณ์ มรณะมี ๔ ประการ คือ
๑. สมุจเฉทมรณะ ได้แก่ การเข้าปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ตัดเสียซึ่งวัฏฏทุกข์ทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง
๒. ขณิกมรณะ ได้แก่ ความดับของสังขารธรรม รูป นาม ที่เป็นอยู่ทุก ๆ ภังคักขณะ
๓.สมมุติมรณะ ได้แก่ ความตายที่โลกสมมุติเรียกกันว่า ต้นไม้ตาย ทองแดงตาย ปรอทตาย เหล็กตาย
๔. ชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะ ได้แก่ รูปชีวิต นามชีวิต ของสัตว์ทั้ง หลายดับสิ้นลงในภพหนึ่งๆ
ในจํานวนมรณะ ๔ ประการนี้ มรณะที่จะใช้เป็นมรณานุสสติได้นั้น ได้แก่ ชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะอย่างเดียว สําหรับสมุจเฉทมรณะนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคล ทั่วไป คงมีแต่เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น ขณิกมรณะก็เป็นมรณะชนิดละเอียดมาก บุคคลธรรมดาไม่สามารถพิจารณาเห็นได้ สมมุติมรณะก็ไม่ได้ทําให้ความสังเวชเกิดขึ้น อย่างใดเลย ฉะนั้น มรณะทั้ง ๓ เหล่านี้ จึงไม่ใช้ในการเจริญมรณานุสสติ ชีวิตินทรียุปัจเฉทมรณะนั้น เป็นมรณะที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป และมีอยู่ ๒ ประการคือ กาลมรณะ กับ อกาลมรณะ กาลมรณะ ได้แก่ การตายด้วยสิ้นบุญ หรือ สิ้นอายุ หรือ สิ้นทั้งบุญสิ้นทั้งอายุทั้ง ๒ อกาลมรณะ ได้แก่ การตายด้วยอุปัจเฉทกกรรม คือ อุปัทวเหตุต่างๆ นั้นเอง ซึ่งผู้เจริญใช้ระลึกได้ทั้ง ๒ ประการ
วิธีเจริญมรณานุสสติ
การเจริญมรณานุสสตินี้ ผู้เจริญต้องพิจารณาศพที่อยู่เฉพาะหน้า หรือ ระลึก ถึงคนที่ตายไปแล้ว ที่มียศ มีอํานาจ มีทรัพย์สมบัติ แล้วก็นึกบริกรรมอยู่ในใจว่า “มรณ์ เม ภวิสฺสติ, ชีวิตินทรีย์ อุปจนิชชิสสติ” เราจะต้องตาย รูปชีวิต นามชีวิต จะต้องขาดจากกัน อยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ไป หรือ จะบริกรรมว่า “มรณ์ เม ธุว์ ชีวิต เม อธิว” ความตายเป็นของแน่ ความมีชีวิตอยู่เป็นของไม่แน่ ดังนี้ก็ได้
การเจริญนี้ ผู้เจริญจะระลึกนึกบริกรรมไปเฉยๆ นั้นไม่ได้ จะต้องมีโยนิโสมน สิการประกอบไปด้วย ถ้าระลึกนึกอยู่โดยไม่มีโยนิโสมนสิการแล้ว ปัญญาที่เกี่ยวด้วย ความสังเวชสลดใจย่อมไม่เกิด และจะกลับเป็นโทษเกิดขึ้น กล่าวคือ เมื่อนึกถึงความ ตายของคนที่ตนรักใคร่ชอบพอแล้ว ความเศร้าโศกเสียใจก็จักเกิดขึ้น เมื่อนึกถึงความ ตายของผู้ที่เป็นศัตรูกับตน ความดีใจก็จักเกิดขึ้น เมื่อนึกถึงความตายของบุคคลที่ ตนไม่รักไม่เป็นศัตรูก็จะรู้สึกเฉยๆ เมื่อนึกถึงความตายของตนเอง ก็จะเกิดความกลัว นี้แหละ เป็นโทษที่เกิดจากการไม่มีโยนิโสมนสิการ ส่วนการเจริญที่ประกอบด้วโยน สมนสิการนั้น ผู้เจริญ มีการระลึกนึกถึงแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ความตายของบุคคลจําพวกใด เมื่อระลึกนึกอยู่แต่ในความตายอย่างเดียว ไม่เกี่ยว ด้วยความรัก ความชัง หรือ เป็นศัตรูแล้ว ความสังเวชสลดใจก็จะบังเกิดขึ้น นี้แหละ เป็นการระลึกที่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เจริญจะต้องทําการเจริญ ให้ถูกตรงตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงเทศนา
จบมรณานุสสติ
กายคตาสติ
กายคตาสติ หมายความว่า การระลึกถึง ๓๒ โกฏฐาส มี เกสา โลมา นขา ทันตา เป็นต้นเนืองๆ ชื่อว่า กายคตาสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ๘ ที่มี ๓๒ โกฏฐาสเป็นอารมณ์ คําว่า กาย แปลว่ากอง หมายความว่ากองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขน เล็ก ฟัน หนัง เป็นต้น ดังมีวงนัตถะว่า “กาเย คตา = กายคตา, กายคตา จ สา สติ จาติ = กายคตาสติ” การเป็นไปโดยกระทําให้เป็นอารมณ์ ในกองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขน เป็นต้น ชื่อว่า กายคตา ธรรมชาติที่เป็นไป โดยกระทําให้เป็นอารมณ์ในกองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขน เป็นต้นนั้นด้วย เป็น สติด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า กายคตาสติ ในวจนัตถะนี้ เมื่อสําเร็จเป็นบทรวมแล้ว ควรจะเป็น กายคตสติ แต่ที่มิได้เป็นไปเช่นนั้นก็เพราะว่า อา สระที่อยู่หลัง ๆ นั้น พระพุทธองค์มิได้ทรงรัสสะ ฉะนั้น จึงคงเป็น กายคตาสติ
กายคตาสติกรรมฐานนี้เรียกว่า ทวัตติงสกายกรรมฐาน ก็ได้ หรือ โกฏฐาสกรรมฐาน ก็ได้ เพราะคําว่า กายะ และ โกฏฐาส นั้นมีความหมายอย่าง เดียวกันคือ กายะ แปลว่า กอง ได้แก่กองส่วนต่างๆ มี ๓๒ นั้นเอง โกฏฐาส แปลว่า หมวด ได้แก่ ส่วนต่าง ๆ มี ๓๒ หมวดนั้นเอง
วิธีเจริญกายคตาสติ
ผู้ที่จะเจริญกายคตาสติ ก่อนลงมือปฏิบัติต้องรู้กิจเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติให้ ดีเสียก่อน กิจเบื้องต้นนั้นมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. อุคคหโกสลุด ความฉลาดใน การศึกษา ๗ อย่าง ๒. มนสิการโกสกุล ความฉลาดในการพิจารณา ๑๐ อย่าง
อุคคหโกสัลละ ความฉลาดในการศึกษา ๒ อย่างนั้น คือ
๑. วจสา การพิจารณาโดยใช้วาจา
๒. มนสา การพิจารณาด้วยใจ
๓. วณฺณโต การพิจารณาโดยความเป็นวรรณะ (สีดําา ขาว หรือแดง)
๔. สณฺฐานโต การพิจารณาโดยความเป็นรูปร่างสัณฐาน
๕. ทิสาโต การพิจารณาโดยที่เกิด (คือ เกิดอยู่ส่วนบน หรือ ส่วนล่างของร่างกาย)
๖. โอกาสโต การพิจารณาโดยที่ตั้ง (คือ ตั้งอยู่ในร่างกายส่วนใด)
๓. ปริจเฉทโต การพิจารณาโดยกําหนดขอบเขต (เช่น เส้นผม กําหนดเขต โดยผมนั้นหยั่งลงในศีรษะประมาณเม็ดข้าวเปลือก และในรูที่เส้นผมหยั่งลงนั้น ไม่มีผม ๒ เส้นอยู่ด้วยกัน กําหนดเขตปลายผมนั้น สุดความยาวของเส้นผม)
มนสิการโกสัลละ ความฉลาดในการพิจารณา ๑๐ อย่างนั้น คือ
๑. อนุปุพฺพโต การพิจารณาไปตามลําดับ (ไม่กระโดดข้ามหมวด)
๒. นาติส โต การพิจารณา โดยไม่รีบร้อนนัก
๓. นาติสณิกโต การพิจารณา โดยไม่เฉื่อยช้านัก
๔. วิกเขปปปฏิพาหนโต การพิจารณา โดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น
๕. ปณฺณฤติสมติกุกมโต การพิจารณา โดยก้าวล่วงบัญญัติ
๖. อนุปุพฺพบุญจนโต การพิจารณา โดยทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏโดยสี ยังมีเรือน กันยายนนี้ พรอย พอ สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขตตามลําดับ
๗. อปปนาโต การพิจารณา ในโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เข้าถึงอัปปนา
๘. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร
๙. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร
๑๐. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร
การเจริญท่องบ่นครั้งแรกในหมวดหนึ่ง ๆ นั้น ผู้เจริญจะต้องท่องบ่นโดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นประการเดียว ไม่ต้องพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นปฏิกูล เป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุ แต่อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น ฝ่ายอาจารย์ผู้สอนก็ไม่ต้องสอนให้ พิจารณาถึงสี ถึงปฏิกูล ถึงธาตุ แต่อย่างใด ๆ เลย เพียงแต่สอนให้ท่องบ่นพิจารณา โดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มี ความเข้าใจผิดเกิดขึ้น หมายความว่า ถ้าสอนให้ท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นสีแล้ว ขณะที่ทําการท่องบ่นพิจารณาอยู่นั้น หากวัณณนิมิต คือ สีปรากฏขึ้น ผู้เจริญก็ไม่มี ความเข้าใจผิด เพราะตรงกับคําสอนของอาจารย์ หากวัณณนิมิตมีปรากฏดังที่สอน คงปรากฏแต่ปฏิกูลนิมิต คือ ความปฏิกูล ธาตุนิมิต คือ ความเป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุเช่นนี้ ผู้เจริญก็จะเข้าใจผิดไปว่า การเจริญนี้ผิดไปเสียแล้ว เพราะนิมิตที่ปรากฏ นั้นไม่ตรงกับคําสอน ทําให้การสอนนั้นกลับกลายเป็นโทษไป ถ้าอาจารย์เพียงแต่ สอนให้ท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ประการเดียว เมื่อ วัณณนิมิตปรากฏก็ดี ปฏิกูลนิมิตปรากฏก็ดี ธาตุนิมิตปรากฏก็ดี ผู้เจริญก็ไม่มีความ เข้าใจผิด ครั้นถึงเวลาสอบอารมณ์ อาจารย์ก็มีโอกาสชี้แจงสนับสนุนแก่ผู้เจริญได้เช่น ถ้าวัณณนิมิตปรากฏ ก็บอกว่าดีมาก เพราะผู้เจริญมีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยเจริญวัณณกสิณมาแต่ภพก่อนๆ ฉะนั้น วัณณนิมิตจึงปรากฏ เป็นอันเชื่อได้ว่าวัณณกรรม- ฐานเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสําหรับผู้นั้น ดังนั้น ควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็น สีต่อไป ถ้าปฏิกูลนิมิตปรากฏ ก็บอกว่าผู้เจริญเคยพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลมาแต่ ภพก่อน ฉะนั้น ปฏิกูลนิมิตจึงปรากฏ เป็นอันเชื่อได้ว่าปฏิกูลกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสําหรับผู้นั้นควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลต่อไปถ้าธาตุนิมิตปรากฏ
ก็บอกว่าผู้เจริญเคยพิจารณาโดยความเป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ มาแต่ภพก่อนๆ ฉะนั้น ธาตุนิมิตจึงเกิด เป็นอันเชื่อได้ว่าธาตุกรรมฐาน เป็นกรรมฐาน ที่เหมาะสมสําหรับผู้นั้น ควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไป
การที่วัณณนิมิตปรากฏ ก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดมีสีอยู่ ขณะที่กําลังท่องบ่นว่า เกสา ๆ หรือ ผม ๆ อยู่นั้น สีดํา สีขาว สีแดง อันเป็นวัณณนิมิตก็จักปรากฏได้ เพราะ ผมมีหลายสี ส่วน ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นนั้น วัณณนิมิตก็ปรากฏได้เช่นเดียวกัน ผลจากการเพ่งวัณณนิมิตต่อไปนั้น คือให้ได้รูปฌาน ๕ เมื่อได้รูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดารูปฌาน ๕ นั้นแล้ว ก็อาศัยรูปฌานนั้น ๆ เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจน สําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล การที่ปฏิกูลนิมิตปรากฏก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดเป็น ปฏิกูลอยู่แล้ว ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลต่อไปนั้น คือ ให้ได้ถึงรูปปฐมฌาน จากนั้นก็อาศัยปฐมฌานสมาธิเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจน สําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล การที่ธาตุนิมิตปรากฏก็เพราะโกฏฐาส ๒๐ มี เกสา เป็นต้น จนถึงมัตถลุงคัง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปถวีธาตุ โกฏฐาสที่เหลือ ๑๒ มีปิตตัง เป็นต้น จนถึง มุตตัง เป็นอาโปธาตุ ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณา โดยความ เป็นธาตุต่อไปนั้นได้แต่เพียงอุปจารสมาธิ ไม่ถึงรูปฌาน จากนั้นก็อาศัยอุปจารสมาธินี้ แหละ เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไป จนสําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล
ในบรรดานิมิตทั้ง ๓ อย่างนั้น วัณณนิมิตและปฏิกูลนิมิตปรากฏไม่ยาก เมื่อ ปรากฏแล้วผู้เจริญก็ตัดสินได้ถูก ว่าเป็นวัณณนิมิตหรือปฏิกูลนิมิต ฝ่ายอาจารย์ก็ วินิจฉัยได้โดยง่าย สําหรับธาตุนิมิตนั้นปรากฏก็ยาก เมื่อปรากฏแล้วผู้เจริญก็รู้ได้ยาก ฝ่ายอาจารย์ก็วินิจฉัยได้ลําบากเช่นกัน ดังนั้นจะได้กล่าวถึงการปรากฏขึ้นแห่งธาตุนิมิตพร้อมทั้งวิธีท่องบ่นพิจารณาความเป็นธาตุพอสังเขปดังต่อไปนี้
การปรากฏขึ้นแห่งธาตุนิมิตนั้นคือ ในขณะที่ผู้เจริญกําลังท่องบ่นโกฏฐาสใน หมวดต่างๆ อยู่ เวลาที่ธาตุนิมิตปรากฏนั้น อัตถบัญญัติ คือ รูปร่างสัณฐานของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เหล่านี้ไม่มี สัญญาที่เคยจําไว้ว่าเป็นสัตตชีวะ ก็หาย ไปจากใจ อุปมาเหมือนผู้ที่เห็นเถ้าจากการเผาศพ ขณะนั้น ไม่ได้เห็นเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือเป็นบุคคล หญิง ชาย แต่อย่างใดเลย คงเห็นแต่ความเป็นเถ้าอยู่เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด ขณะที่กําลังท่องบ่นพิจารณาว่าผมๆ ขน ๆ เป็นต้นอยู่นั้น ผมก็ปรากฏเสมือนหนึ่ง หญ้าคาที่ขึ้นอยู่บน จอมปลวก ขนก็ปรากฏเสมือนหนึ่งหญ้าแพรกที่ขึ้นอยู่ในบ้านร้าง เล็บก็ปรากฏเสมือนหนึ่ง ลูกมะซางที่เสียบติดอยู่กับปลายไม้ ฟันก็ปรากฏเสมือนหนึ่ง เมล็ดน้ําเต้าที่เสียบไว้กับก้อนดิน หนังก็ปรากฏเสมือนหนึ่งหนังโคสดที่ขึงไว้บนพื้น เนื้อก็ปรากฏเสมือนหนึ่งดินเหนียวที่ฉาบฝาเรือน เอ็นก็ปรากฏเสมือนหนึ่งเถาวัลย์ที่ ผูกพันทัพพสัมภาระเรือนไว้ กระดูกก็ปรากฏ เสมือนหนึ่งเสาฝาและตัวเรือน ดังนี้ เป็นต้น มิได้ปรากฏว่าเป็น คน ชาย หญิง สัตว์แต่อย่างใด จิตของผู้เจริญมีความ รู้สึกดังนี้แหละ จึงตัดสินได้ว่าเป็นการปรากฏแห่งธาตุนิมิต
วิธีท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุนั้น พิจารณาเห็นว่าผมนี้ไม่รู้ว่าตนได้งอกอยู่ในหนังบนศีรษะ ส่วนหนังที่หุ้มศีรษะอยู่ก็ไม่รู้ว่าผมได้งอกขึ้นบนตน ฉะนั้น ผมนี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น ขนก็ไม่รู้ว่าตนได้ขึ้นอยู่ในหนังทั่วร่างกาย หนังที่หุ้มร่างกายอยู่นั้นก็ไม่รู้ว่าขนขึ้นอยู่ใน ตนทั่วไป ฉะนั้น ขนจึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น เล็บมือ เล็บเท้า เหล่านี้ ก็ไม่รู้ว่าตนได้งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ส่วนปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าก็ไม่รู้ว่ามีเล็บงอกอยู่ ฉะนั้น เล็บมือ เล็บเท้า เหล่านี้จึงมิใช่ เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีเท่านั้น ฟันก็ไม่รู้ว่าตน ได้งอกขึ้นมาจากกระดูก ส่วนกระดูกคางก็ไม่รู้ว่าฟันได้งอกขึ้นมาจากตน ฉะนั้น ฟัน นี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น หนัง ก็ไม่รู้ว่าตนได้ปกคลุมอยู่ทั่วไปตลอดร่างกาย ร่างกายก็ไม่รู้ว่ามีหนังปกคลุมหุ้มห่อตน ไว้ ฉะนั้น หนังนี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวี ธาตุเท่านั้น
ปถวีโกฏฐาสที่เหลือ ๑๕ ตั้งแต่ยังสั่ง เป็นต้น จนถึงมัดถลุงดังก็ไม่มีการรู้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ยังสั่งเป็นต้น จนถึงมัตถลุงคงจึงไม่ใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่ อย่างใด เพียงเป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น สําหรับอาโปโกฏฐาส ๑๒ มีปิตตัง เป็นต้น จนถึงมุตตังก็ไม่มีการรู้ความเป็นอยู่ของตน ๆ เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ปิตตัง เป็นต้น จนถึงมุตตังเหล่านี้จึงไม่ใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ อาโปธาตุเท่านั้น
ในขณะที่ท่องบนพิจารณาเห็นว่าเป็นแต่ปถวีธาตุ อาโปธาตุ มิใช่คน ไม่มี ชีวิตจิตใจแต่ประการใด ๆ นั้น อุสสทาเตโช เตโชธาตุที่มีกําลังกล้า ปรากฏที่ท้องมาก รู้ได้อย่างชัดเจน อุสสทาวาโย วาโยธาตุที่มีกําลังกล้า ปรากฏที่ปลายจมูกมาก รู้ได้อย่าง ชัดเจน เป็นอันว่าได้พิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ ครบบริบูรณ์ สําเร็จเป็นจตุธาตุววัตถาน เมื่อพิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในร่างกายตนจนครบบริบูรณ์แล้ว กรรมฐานด้วยจากนั้น ก็พิจารณาเห็นอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิดอยู่ภายในกายของตนนั้น ๆ พร้อมไปด้วย เป็นอันว่าได้พิจารณาเห็นรูปขันธ์ที่เกิดอยู่ภายในตนโดยภาวนามัย ต่อ แต่นั้นนามขันธ์ ๔ ก็ปรากฏขึ้นด้วยอํานาจแห่งการกระทบกันระหว่างอารมณ์กับทวาร เป็นอันว่าผู้เจริญได้เห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่ภายในตนครบถ้วยทุกประการ การปรากฏขึ้น แห่งขันธ์ ๕ โดยลําดับดังที่ได้กล่าวแล้วนี้แหละ ทําให้ผู้เจริญได้กําหนดรู้ต่อไปได้อีกว่า ขันธ์ ๕ นี้ก็คืออายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ นั้นเอง สําเร็จเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ จากนั้นได้พิจารณาเห็นว่า รูป นาม ที่กําลังเป็นไปอยู่นี้เกิดขึ้นโดยอาศัย อวิชชา ตัณหา กรรม อาหารเป็นเหตุ หาใช่เกิดขึ้น โดยปราศจากเหตุแต่อย่างใดไม่ สําเร็จเป็น ปัจจยปริคคหญาณ ปราศจากความเห็นว่าเป็น สัตว์ เป็นคน มีชีวิต หรือ ไม่มีชีวิต คงเห็นแต่ รูป นาม กับเหตุทั้ง ๔ ที่ให้ รูป นาม เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นญาตปริญญา ผู้เจริญทําการเจริญตลอดมานับแต่การเริ่มต้นท่องบ่นพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็น ธาตุจนถึงปัจจยปริคคหญาณเกิดนั้นได้ชื่อว่า จูฬโสดาบัน เป็นพระโสดาบันขั้นแรก บังเกิดความภาคภูมิใจในผลกําไรที่ตนได้รับจากการเกิดมาเป็นมนุษย์ในสมัยที่มี พระพุทธศาสนา ถ้าหากเจริญต่อไปมิได้หยุดยั้งเพียงนี้ก็จักสําเร็จเป็นมัชฌิมโสดาบัน มหาโสดาบัน ตลอดจนสําเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
ดังที่ได้พรรณนามานี้เป็นการพรรณนาถึงวิธีเจริญ และผลที่ได้รับจากการเจริญโกฏฐาสหลังจากธาตุนิมิตได้ปรากฏแล้ว
ฌานเบื้องบน และ มรรค ผล ก็เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐานได้
ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล ให้ได้เพียงรูปปฐมฌาน ถ้าผู้เจริญมีความประสงค์อยากได้ฌานเบื้องบนต่อไป ก็จงทําการเพ่งสีของโกฏฐาสนั้นๆ แทนการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล เพราะว่าสีของโกฏฐาสเป็นวัณณกสิณ ซึ่งจะทําให้รูปฌานเบื้องบน ๔ เกิดได้เช่นกัน
สําหรับ มรรค ผล ที่เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนั้น หลังจาก ได้ปฐมฌาน หรือ ฌานเบื้องบนอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้เจริญจะต้องทําการท่องบ่น โกฏฐาสให้ปรากฏขึ้นโดยความเป็นธาตุ ครั้นธาตุนิมิตปรากฏแล้วก็ทําการท่องบ่น พิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไป ดังที่ได้แสดงมาแล้ว
อนึ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผู้เจริญได้อาศัยอัปปนาสมาธิ และอุปจารสมาธิที่ เกิดจากกายคตาสติกรรมฐานโดยมีวัณณนิมิต ปฏิกูลนิมิต ธาตุนิมิต แล้วเจริญวิปัสสนาต่อไปจนได้สําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผลนั้น เป็นการกล่าวแต่เพียงว่าได้อาศัย สมาธิที่เกิดจากกายคตาสติกรรมฐานเท่านั้น สําหรับวิธีเจริญและอารมณ์ที่จะให้ได้มรรค ผลนั้นเป็นคนละอย่างไม่เหมือนกัน กล่าวคือ อารมณ์ที่จะให้ได้มรรค ผล เป็นองค์ฌาน หรือ รูป นามที่เกิดอยู่ภายในตน หาใช่เป็นโกฏฐาสหมวดหนึ่งหมวดใดไม่ ส่วนวิธี เจริญก็มีการกําหนดรู้องค์ฌาน ที่ดับไป หรือ รูป นาม โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มิได้ทําการท่องบ่นว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้นแต่อย่างใดไม่
ส่วนในตอนที่กล่าวว่า มรรค ผล ก็เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน ได้นั้น ก็เพราะว่าวิธีเจริญก็ดี อารมณ์ที่จะให้ได้ มรรค ผล ก็ดีมิได้เปลี่ยนออกไป จากกายคตาสติกรรมฐานนี้เลย คงอาศัยกายคตาสติกรรมฐานนี้เจริญต่อไป เพียงแต่ พยายามทําการท่องบ่นโกฏฐาสให้ปรากฏโดยความเป็นธาตุอย่างเดียว ฉะนั้น จึงได้ กล่าวว่า การเจริญกายคตาสติกรรมฐานก็สําเร็จมรรค ผลได้ นี้เป็นการกล่าวถึงข้อ ปฏิบัติที่จะให้ได้ฌานเบื้องบน และ มรรค ผล ในการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน
อธิบายในอุคคหโกสัลละ ๕ ข้อที่เหลือ
ในอุคคหโกสัลละ ๗ อย่างนั้น ข้อที่หนึ่ง วจสา และข้อที่สอง มนสา เป็น หลักของการสอน เป็นประธานในการเจิรญกายคตาสติกรรมฐาน ส่วนที่เหลืออีก ๕ ข้อนั้นเป็นเครื่องประกอบของมนสา กล่าวคือ เมื่อใจพิจารณาเห็นโกฏฐาสอย่างใด อย่างหนึ่งตามวาจาที่ท่องบ่นอยู่ ในเวลานั้น การพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นรูปร่าง สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง และกําหนดขอบเขตก็มีพร้อมกันไป ฉะนั้น จะได้แสดงถึงการ พิจารณาโดยความเป็นสี (วณณโต) เป็นรูปร่างสัณฐาน (สัณฐานโต) ที่เกิด (ที- สาโต) ที่ตั้ง (โอกาสโต) และกําหนดโดยขอบเขต (ปริจเฉทโต) เฉพาะในหมวด ตจปัญจกะ ส่วนหมวดอื่น ๆ ก็ให้ถือตามแนวนี้
๑. เกสา ผม สีดํา แดง ขาว มีสัณฐานยาวกลม เกิดขึ้นอยู่เบื้องบนของ ร่างกาย ตั้งอยู่ในหนังอ่อนซึ่งหุ้มกะโหลกศีรษะ สองข้างจดหมวกหู ข้างหน้าจดหน้า ผาก ข้างหลังจดหลุมคอ ขอบเขตของผมเบื้องต่ําเส้นหนึ่ง ๆ หยั่งลงในหนังหุ้มศีรษะ เข้าไปประมาณเท่าปลายข้าวเปลือก เบื้องบนมีขอบเขตแค่อากาศ (หมายความว่าสุด แค่ความยาวและความสั้น) ส่วนกว้างกําหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกัน ๒ เส้นไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๒. โลมา ขน สีดําบ้าง เหลืองบ้าง คือ ไม่ดําล้วน มีสัณฐานดังรากตาล ปลายน้อมลง เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย ขึ้นอยู่ในหนังทั่วตัว เว้นไว้ แต่ที่เกิดแห่ง ผม และ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ขอบเขตเบื้องต่ํากําหนดด้วยรากของตนที่แยง เข้าในหนังหุ้มร่างกายประมาณเท่าไข่เหา เบื้องบนกําหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้าง กําหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกัน ๒ เส้นไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่ โกฏฐาสอื่นๆ
๓. นขา เล็บ สีขาว มีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา เกิดอยู่ทั้ง ๒ ส่วน คือ เล็บมือเกิดอยู่ส่วนบน เล็บเท้าเกิดอยู่ส่วนล่าง ตั้งอยู่ที่หลังปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขอบ เขตกําหนด ด้วยเนื้อปลายนิ้วทั้ง ๓ ด้าน ภายในกําหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ภายนอก และปลายก้าหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกําหนดด้วยส่วนของกันและกัน เล็บ ๒ อัน ติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๔. ทันตา ฟัน สีขาว มีสัณฐานต่างๆ คือ ฟันซี่ในท่ามกลางระเบียบ ฟันข้างล่างเหมือนเม็ดน้ําเต้าที่เสียบติดไว้เป็นลําดับบนก้อนดินเหนียว ฟันซี่หนึ่ง ๆ ใน ข้างทั้ง ๒ ของหน้าฟัน ๔ ซี่ มีรากอันเดียวปลายอันเดียว ทรวดทรงเหมือนดอก มะลิตูม กรามมีราก ๒ ง่ามปลาย ๒ ง่าม ทรวดทรงเหมือนไม้ค้ําเกวียน ถัดกราม เข้าไปมีราก ๓ ง่ามปลาย ๓ ง่าม ถัดนั้นเข้าไปมีราก ๔ งามปลาย ๔ ง่าม แม้ใน ระเบียบฟันข้างบนก็มีนัยนี้เหมือนกัน เกิดอยู่ในส่วนบนของร่างกาย ตั้งอยู่ที่กระดูก
คางทั้ง ๒ ขอบเขตเบื้องต่ํากําหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกําหนดด้วยส่วนของกันและ กัน ฟัน ๒ ซี่ติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๕. ตโจ หนัง หนังที่หุ้มทั่วร่างกายที่ได้ชื่อว่าผิวนั้น ดําบ้าง ดําคล้ําบ้าง เหลืองบ้าง ยาวบ้าง ส่วนหนังหนานั้นมีแต่สีขาวอย่างเดียว มีสัณฐานเท่ากันกับร่างกาย เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ตั้งอยู่โดยดึงรัดทั่วไปทั้งตัว ขอบเขตเบื้องต่ํากําหนด ด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ เบื้องบนกําหนดด้วยอากาศ มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัยเกิด ที่ตั้ง ล้วนแต่เป็นของน่าเกลียดทั้งสิ้น บุคคลใดได้เห็นผม ขน เล็บ ฟัน หนังก็ดี หรือ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่คล้ายกันกับโกฏฐาสเหล่านี้ก็ดี ตกอยู่ในภาชนะอาหารแล้ว แม้ว่า อาหารนั้นจะเป็นอาหารดีและชอบก็ตาม ย่อมเกลียด รับประทานไม่ลง สั่งให้เททิ้งเสีย ความน่าเกลียดในหมวดอื่นๆ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้
จบกายคตาสติ
อานาปานัสสติ
อานาปานัสสติ หมายความว่า การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก ชื่อว่า อานา ปานัสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ๘ ที่มีลมหายใจเข้าออกเป็น อารมณ์ อานาปานัสสติ เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ อาน + ปาน (หรือ อปาน) + สติ, อาน = หายใจเข้า ปาน หรือ อปาน - หายใจออก สติ = ความระลึก เมื่อรวมแล้วเป็นอานาปานัสสติ การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออกดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อานญฺจ ปานญฺจ = อานาปาน” ลมเข้าข้างในและลมออกข้างนอก ชื่อว่า อานาปานะ “อานาปาเน ปวดตา สติ : อานาปานสติ” สติที่เกิดขึ้นโดยมี การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้า ออก ชื่อว่า อานาปานัสสติ
หายใจเข้าเรียกว่า อานะ หายใจออกเรียกว่า ปานะ หรือ อย่านะ นี้ เพราะมีคําว่าสติ อยู่ด้วย เป็นการกล่าวเรียกตามปวัตติกกมนัย นัยแห่งการเป็นอยู่ ตามลําดับของลมหายใจที่มีแจ้งไว้ในพระสูตร อรรถกถา ตามปกติธรรมดาของคนย่อมมีการหายใจเข้าก่อน แล้วจึงจะหายใจออกภายหลัง ดังนั้น เมื่อทําการปฏิบัติก็ ต้องปฏิบัติกําหนดไปตามอย่างที่เป็นไปอยู่ คือ กําหนดลมหายใจเข้าก่อนแล้วจึงจะ กําหนดลมหายใจออกทีหลัง ส่วนอานาปานะที่แสดงไว้ในวินยอรรถกถา และอภิธรรม กถานั้น อานะ เรียกว่า หายใจออก ปานะ หรือ อย่านะ เรียกว่า หายใจเข้า เป็นการ เรียกตามอุปปัตติกกมนัย นัยแห่งการเกิดขึ้นตามลําดับของลมหายใจในขณะที่แรก คลอดจากครรภ์ เป็นความจริงอย่างนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ ในครรภ์นั้นมิได้มี การหายใจด้วยตนเอง แต่ได้อาศัยการหายใจจากมารดา ฉะนั้น เมื่อแรกคลอดออก มาทารกจึงได้หายใจออกก่อน แล้วจึงหายใจเข้าทีหลัง ดังมีมาในสมันตปาสาทิกอรรถกถาว่า
สัพเพส คพุกเสยยกาน มาตุกจนโต นิกขมนกาเล ปฐม อพกนตรวาโต พ นิกขมติ, ปุจฉา พาหิรวาโต สุขุมรช์” อเหตุวา อนุภนุตร์ ปสนฺโต ตาล อาหาจ นิพฺพายติ ฯ
แปลความว่า สัตว์ทั้งหลายซึ่งอยู่ในครรภ์ทั้งหมด ในเวลาคลอดจากครรภ์ มารดา ลมภายในย่อมออกข้างนอกก่อน จากนั้นลมภายนอกพัดเอาละอองธุลีที่
ละเอียดเข้าไปภายในห้องโดยกระทบกันเพดานแล้วเงียบไป
อานาปานะ นี้ยังมีคําเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “อัสสาสปัสสาสะ” คําทั้งสองนี้ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน คือ อัสสาสะ หายใจเข้า ปัสสาสะ หายใจออก แยก
บทแล้วเป็น ดังนี้ อา + สาส, อา แปลว่า ก่อน (อาทิมหิ) สาส แปลว่า สูดลมหายใจ ป แปลว่า หลัง (ปจฉา) สาส แปลว่า ระบายลมหายใจ ดังแสดงวจนัตถะ ว่า
“อาทิมหิ สาสน์ - อาสาโส” การสูดลมหายใจก่อนเรียกว่า อัสสาสะ “ปุจฉา สาสน์ - ปสฺสาโส” การระบายลมหายใจหลังเรียกว่า ปัสสาสะ
วิธีเจริญอานาปานัสสติ
การเจริญอานาปานัสสติมีพระบาลีชี้แนวทางไว้ดังต่อไปนี้
๑. โส สโต ว อสฺสสติ สโต ว ปสฺสสติ ผู้ปฏิบัตินั่งคู่บัลลังก์ ตั้ง กายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้าอารมณ์กรรมฐาน ณ สถานที่เงียบสงัด ย่อมตั้งสติ ทํา ความรู้สึกตัวแล้วจึงหายใจเข้า และ หายใจออก
๒. ทีม วา อสฺสสนฺโต ทีฆ์ อนุสสามีติ ปชานาติ, ที่มี วา ปสฺสสนฺโต ทีฆ์ ปสฺสสามีติ ปชานาติ เมื่อหายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว
๓. รสส์ วา อสฺสสนฺโต รสส์ อสฺสสามีติ ปชานาติ, รสส์ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ เมื่อหายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น
๔. สพฺพกาย ปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ, สพฺพกาย ปฏิสเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อมสําเหนียกว่า เราจะหายใจเข้า และ หายใจออก ก็ต้อง รู้ โดยแจ้งชัด ต้นลม กลางลม ปลายลม
๕. ปสฺสมฺภย์ กายสงฺขาร อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ, ปสฺสมฺภย์ กาย- สงฺขาร ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อมสําเหนียกว่า เราจะทําลมเข้า และ ลมออกที่ หยาบ ให้ละเอียด แล้วจึงหายใจเข้า และ หายใจออก
ในพระบาลี ๕ ข้อนี้ ข้อ ๑ ทรงวางหลักการปฏิบัติอานาปานัสสติกรรมฐาน ข้อ ๒ ถึงข้อ ๕ ทรงเพิ่มเติมข้อปฏิบัติ เพื่ออบรมสมาธิให้กล้ายิ่งขึ้นไปจนถึงอัปปนา
สมาธิเกิด
ตามนัยข้อที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะต้องตั้งใจคอยกําหนดลมหายใจที่กระทบกับ ปลายจมูก หรือ ริมฝีปากบน ในขณะที่ตนหายใจเข้าและหายใจออก การกระทบของ ลมที่ปรากฏชัดนั้นแล้วแต่บุคคล คือ บุคคลใดจมูกยาวลมก็ปรากฏชัดที่โครงจมูก ถ้าจมูกสั้นลมก็ปรากฏชัดที่ริมฝีปากบน การให้กําหนดรู้อยู่ในลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอ ๆ นี้ก็เพื่อจะมิให้จิตซัดส่ายไปในเรื่องอื่นๆ เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เกิดสมาธิ เพราะ ตามธรรมดา จิตใจของคนเรานี้ย่อมฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ หาเวลาสงบนิ่งอยู่ใน อารมณ์อันเดียวได้ยาก แต่กระนั้นก็หารู้ตัวไม่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมิได้มีการสังเกตดู นั้นเอง หากจะสังเกตดูจริงๆ แล้วจะเห็นว่า ชั่วขณะที่สวดมนต์ไหว้พระอยู่ ใจก็หา ได้นิ่งแนวอยู่ในบทสวดมนต์นั้นไม่ คงว่าไปเปล่า ๆ ด้วยความชํานาญเท่านั้น เหตุนั้น เมื่อจะทําการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เป็นสมาธิ จึงจําเป็นที่จะต้องตั้งใจคอยกําหนดลม หายใจเข้าออกที่กระทบกับปลายจมูก หรือริมฝีปากบน ดังที่ท่านโบราณาจารย์ได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา ว่า
ยถา ถมเท นิพนเธยย วจน ทม์ นโร อิธ
พนเธ เยว สก จิตต์ สติยารมุมเณ ทฬหนติ ฯ
แปลความว่า ผู้มีความประสงค์จะฝึกลูกวัวที่พยศ จึงจับผูกที่เสา ฉันใด บุคคลที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งคําสอนของพระพุทธศาสนา มีความประสงค์จะฝึกฝน อบรมจิตของตน จึงผูกจิตด้วยเชือก คือ สติ ที่เสา คือ อารมณ์กรรมฐานให้มั่น ฉันนั้น การอบรมจิตใจให้เกิดสมาธิด้วยวิธีเจริญกรรมฐานต่างๆ นั้น อานาปานัสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่สะดวกสบายมากกว่ากรรมฐานอื่น ๆ ฉะนั้น แนวทาง ๕ ประการที่ได้ทรงวางไว้เป็นหลักใหญ่ และข้อเพิ่มเติมนั้น พระโยคีบุคคลต้องดําเนินงาน การปฏิบัติไปตามนัยทั้ง ๔ คือ
๑. คุณนานัย การนับลมหายใจเข้าออกเป็นหมวดๆ มี ๖ หมวด ตั้งแต่ หมวดปัญจกะ เป็นต้น จนถึงหมวดทสกะ
๒. อนุพันธนานัย พลั้งเผลอทุกระยะที่หายใจเข้าออก การกําาหนดรู้ตามลมเข้าและลมออกทุก ๆ ขณะโดยไม่
๓. ผุสนานัย ในขณะที่กําหนดรู้ตามคุณนานัย และอนุพันธนานัยอยู่นั้นจะ ต้องกําหนดรู้การกระทบของลมพร้อมไปด้วย หมายความว่า ผุสนานัยนี้เข้าอยู่ในคณนานัย และอนุพันธนานัยทั้งสองนั้นเอง หาได้มีอยู่โดยเฉพาะไม่
๔. ฐปนานัย การกําหนดรู้ลมหายใจเข้าออกโดยอนุพันธนานัย กับผุสนานัย ที่เป็นไปอย่างดีอยู่นั้น ครั้นเมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏ จิตก็เปลี่ยนจากการกําหนดรู้การ กระทบของลม แล้วเข้าไปตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในปฏิภาคนิมิตอย่างเดียวตลอดจนกระทั่งรูปฌานเกิด นี้แหละเป็นรูปนานัย หมายความว่า การกําหนดรู้โดยรูปนานัยโดยเฉพาะ นั้นไม่มี เช่นเดียวกับผุสนานัยนั้นเอง
ในนัยทั้ง ๔ นี้ คุณนานัย มี ๒ นัย คือ
๑.) ธัญญมาม คณนานัย การนับลมหายใจเข้าออกด้วยวิธีนับช้าๆ ดุจคน ตวงข้าวเปลือก การนับช้าๆ นั้นหมายความว่า ต้องนับแต่ลมหายใจเข้า หรือหายใจ ออก ที่รู้สึกชัดเจนทางใจเท่านั้น ส่วนลมหายใจที่ไม่รู้สึกชัดเจนทางใจจงทิ้งเสีย ไม่ ต้องนับ สําหรับผู้ปฏิบัติก็ต้องมีการหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ เพื่อจะได้กําหนดรู้ทัน และนับถูก
๒.) โคปาลกคณานานัย การนับลมหายใจเข้าออกด้วยวิธีนับเร็วๆ ดุจคน เลี้ยงโคทําการนับโคที่เบียดกันออกจากคอกที่คับแคบเป็นหมู่ๆ การนับเร็ว ๆ นั้น
หมายความว่า เมื่อทําการนับลมหายใจเข้าออกตามวิธีธัญญมามกคุณนานัยอยู่เรื่อยๆ นั้น ความรู้สึกชัดเจนทางใจก็มีขึ้นทุก ๆ ขณะการหายใจเข้าและหายใจออก เนื่องมา จากมีสมาธิดี ความรู้สึกไม่ชัดเจนก็จะหมดไป การหายใจเข้าออกก็จะเร็วขึ้น
กําหนดนับก็เร็วตามไปด้วย
แนวทางการปฏิบัติอานาปานัสสติกรรมฐานนอกจากนัยทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีอีก ๔ นัย ซึ่งเป็นนัยที่เกี่ยวกับวิปัสสนา คือ
๑. สลักขณา หลังจากที่ได้ฌานที่เนื่องมาจากการเจริญอานาปานัสสติแล้ว มีการกําหนดพิจารณารูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต่อไป เปรียบดัง นักศึกษาที่จบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์ ต่อแต่นั้นก็เข้าเตรียมอุดมเพื่อจะเข้ามหาวิทยาลัย
๒. วิวฏฏนา การเกิดขึ้นแห่งมรรคจิตเนื่องมาจากสัลลักขณา พร้อมกับการ ประหาณกิเลส สําเร็จเป็นมรรคบุคคลปาริสุทธิ์ การเกิดขึ้นแห่งผลจิต สําเร็จเป็นผลบุคคล
๓. ปาริสุทธิ์ การเกิดขึ้นแห่งผลจิต สําเร็จเป็นผลบุคคล
๔. ปฏิปสฺสนา การเกิดขึ้นแห่งปัจจเวกขณญาณ คือ การพิจารณามรรค ผล นิพพาน กิเลส หลังจากสําเร็จเป็นอริยบุคคลแล้ว
อานาปานัสสติ
จบอนุสติ ๑๐
อัปปมัญญา ๔
อัปปมัญญา หมายความว่า ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่มีจํากัดชื่อว่า อัปปมัญญา ดังแสดงวจนัตถะว่า “อปปมาเณสุ สตฺเตสุ ภวาติ = อปมญญา” ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่มีจํากัด ฉะนั้น ชื่อว่า อัปปมัญญา ผู้เจริญอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น จะต้องมีการแผ่ตลอด ทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีจํากัด จึงจะเรียกว่า เป็นการแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่เป็นอัปปมัญญา ทั้งเป็นเหตุที่จะให้ได้รูปฌานด้วย สําหรับการแผ่เมตตา ฯลฯ โดยกําจัดบุคคล และ จํากัดสถานที่ ไม่จัดว่าเป็นการเจริญอัปปมัญญากรรมฐาน และ ไม่ทําให้รูปฌานเกิด เป็นแต่เพียงการแผ่อย่างธรรมดา อย่างไรก็ตาม การแผ่ที่มีการ จํากัดบุคคล และ สถานที่นี้ก็ยังได้รับอานิสงส์อย่างไพศาล คือ ในภพนี้ก็ช่วยให้พ้นจากภัยต่างๆ ในภพหน้าก็ช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา
อัปปมัญญา ๔ ที่ได้ชื่อว่า พรหมวิหาร นั้น เพราะว่า บุคคลใดกําลังดําเนิน การปฏิบัติในอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ บุคคลนั้นย่อมมีจิตใจเสมือนพรหม ดัง มิวจนัตถะว่า “พรหมาน วิหาโรติ = พรหมวิหาโร” การปฏิบัติในอัปปมัญญา อย่างใดอย่างหนึ่งของผู้มีจิตใจเสมือนหนึ่งพรหม ฉะนั้น การปฏิบัติอัปปมัญญา ๔ นั้น ชื่อว่า พรหมวิหาร
หรืออีกนัยหนึ่ง คําว่า “พรหม” แปลว่า ผู้ประเสริฐ “วิหาร” แปลว่า ความ เป็นอยู่ที่เข้าถึงอย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ เมื่อรวมแล้ว ความเป็นอยู่ที่เข้าถึง อย่างประเสริฐของบุคคลผู้ประเสริฐ ชื่อว่า พรหมวิหาร ดังมีวจนัตถะว่า “วิหรติ เอเตรีติ = วิหารา” สัปบุรุษทั้งหลายย่อมเป็นอยู่อย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ ฉะนั้น อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นเครื่องให้สัปบุรุษทั้งหลายเข้าถึงความเป็นอยู่อย่างประเสริฐ ชื่อว่า วิหาร “พรหมาน (เสฎฐาน) วิหาโร (เสฎฐภูโต) ติ = พรหมวิหาโร” ความเป็นอยู่อย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลผู้ประเสริฐ ชื่อว่า พรหมวิหาร
เมตตา หมายความว่า การปรารถนาดีรักใคร่ต่อสัตว์ทั้งหลาย ดังแสดง วจนัตถะว่า “มิชชติ สินิยตีติ = เมตตา” ธรรมชาติใดย่อมรักใคร่ชื่นชมต่อสัตว์ ทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า เมตตา องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่มีปิย มนาปสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ ปิยมนาปบุคคล ได้แก่ บุคคลอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ปิยมนาปบุคคลนี้ มีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวกคือ จําพวกธรรมดาอย่างหนึ่ง จําพวกที่ เป็นไปด้วยอํานาจภาวนาสมาธิอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แม้ว่าการเจริญในระยะต้นๆ จะมีได้ ก็เฉพาะปิยมนาปบุคคลธรรมดาเป็นอารมณ์ของเมตตาภาวนาก็จริง ครั้นการเจริญนั้นได้เข้าถึงขั้นอุปจารภาวนาแล้ว จิตใจในขณะนั้นก็จะแผ่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหลายได้หมด แม้แต่ผู้ที่เป็นศัตรู หรือ บุคคลที่ตนไม่ชอบเข้าเป็นปิยมนาปบุคคลอันเป็นอารมณ์ของ โทสเจตสิก ซึ่งเป็นตัวเมตตาได้สิ้น สําหรับอโทสเจตสิกที่เกิดขึ้นในขณะสวดมนต์ ไหว้พระ ฟังธรรมนั้น มิได้มีอารมณ์เป็นปิยมนาปสัตวบัญญัติ ดังนั้น อโทสเจตสิก ขณะนั้นจึงไม่เรียกว่า เมตตา
การนึกถึงและมองดูคนอื่นด้วยโทสะ ในขณะนั้นย่อมมีแต่ความเกลียดชัง จิตใจไม่ชื่นบาน ส่วนการนึกถึงและมองดูบุคคลอื่นด้วยเมตตานั้น จิตใจก็จะมีแต่ ความรักใคร่เบิกบาน ดังนั้น วจนัตถะของเมตตาจึงมีว่า “มิชชติ สินิยุตติ” ย่อม รักใคร่ชื่นชมต่อสัตว์ ดังนี้ ความรักใคร่ชื่นชมนี้มี ๒ อย่าง คือ ๑. เมตตาอโทสะ ๒. ตัณหาเปมะ ใน ๒ อย่างนี้ เมตตาอโทสะ เป็นความรักใคร่ชื่นชมปรารถนาดี ไม่มีการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง แต่อย่างใด ถึงจะจากไปอยู่ที่อื่นก็ไม่เดือนร้อน ส่วนตัณหาเปมะนั้น เป็นความรักใคร่ ชื่นชมด้วยการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้นความรักใคร่ชื่นชมที่เป็นชนิดตัณหาเปมะนี้ จึงได้ชื่อว่า เป็นเมตตาเทียม องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ถึงกระนั้นตัณหาเปมะอันเป็นตัวเมตตา เทียมนี้ ก็ยังเป็นความดีในการที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ให้แก่เมตตาอโทสะเกิดขึ้น ได้ง่าย และดํารงมั่นไม่เสื่อมถอย อานิสงส์ของเมตตาอโทสะ ที่เกิดจากตัณหาเปมะ เป็นมูล มีแจ้งไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาแล้ว ความว่า แม่โคนมตัวหนึ่ง ยืนให้ลูก ดื่มนม นายพรานคนหนึ่งจะฆ่า จึงหยิบหอกพุ่งตรงไปที่แม่โค แต่หอกนั้นหาได้ ทํา อันตรายแม่โคไม่ กลับปลิวตกไปดุจใบตาลหล่นลงฉะนั้น
ฝ่ายผู้ที่แสวงหาโลกุตตรธรรมนั้น ถ้าจิตใจยังประกอบด้วยตัณหาเปมะต่อ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โลกุตตรธรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ ตัณหาเปมะนี้ขัดกันกับ สมาธิตลอด จนถึงสติสัมปชัญญะ ดังเช่น พระฉันนเถระ มีความรักในพระพุทธองค์ อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากเคยอยู่ใกล้ชิด จึงถึงออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ดังนั้น ใน ระหว่างที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระภิกษุฉันนะมิอาจปฏิบัติให้มรรค ผล เกิดได้ ต่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วการปฏิบัติจึงสําเร็จ ทั้งนี้ก็เพราะตัณหาเปมะที่ ขัดกับสมาธิ สติสัมปชัญญะ ได้หายไปจากใจหมดสิ้น
วิธีแผ่เมตตาแก่ตน และ คนอื่น
การแผ่เมตตาแก่ตนมี ๔ ประการ
๑. อหํ อเวโร โหมิ ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและภายนอก
๒. อหํ อพยาปัชโช โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก
๓. อหํ อนีโฆ โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความลําบาก ใจ พ้นจาก อุปัทวเหตุ
๔. อหํ สุขี อตฺตานํ ปริหราม ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้นําอัตภาพที่เป็น อยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนาน
ใน ๔ ประการนี้ จะใช้ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้
การแผ่เมตตาแก่คนอื่น มี ๔ ประการเช่นกัน ถ้าแผ่ไปในคนหนึ่งๆ ตาม ลําดับแล้ว ก็มีคําแผ่เป็นเอกพจน์ว่าดังนี้
๑. อเวโร โหตุ ขอจงไร้ศัตรูภายในและภายนอก
๒. อพฺยาปชฺโช โหตุ ขอจงไร้ความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาท
๓. อนีโฆ โหตุ ขอจงไร้ความลําบากกาย ใจ พ้นจากอุปัทวภัย
๔. สุขี อตฺตานํ ปริหรตุ ขอจงนําอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนาน
ถ้าแต่ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปจนถึงประมาณไม่ได้แล้ว ก็มีคําแผ่เป็นพหูพจน์ว่าดังนี้
๑. อเวรา โหนตุ ขอจงไม่มีศัตรูภายในและภายนอกทั่วกัน
๒. อพยาปัชชา โหนตุ ขอจงไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาททั่วกัน
๓. อนีฆา โหนตุ ขอจงไม่มีความลําบากกายใจ พ้นจากอุปัทวภัยทั่วกัน
๔. สุขี อตฺตานํ ปริหรันตุ ขอจงนําอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจตลอดกาลนานทั่วกัน
จบเมตตา
กรุณา
กรุณา หมายความว่า เมื่อเห็นสัตว์ทั้งหลายได้รับความลําบาก จิตใจของ สัปบุรุษก็เกิดความหวั่นไหวนิ่งดูอยู่ไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่ง หมายความว่า ย่อมช่วยผู้ที่ ได้รับความลําบากนั้นให้ได้รับความสุข ดังแสดงวจนัตถะว่า “ปรทุกเข สติ สาธูน หทยกมปน กโรติ = กรุณา” ธรรมชาติใดย่อมทําให้จิตใจของสัปบุรุษทั้งหลายหวั่นไหวนิ่งอยู่ไม่ได้ เมื่อผู้อื่นได้รับความลําบาก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กรุณา “กิณาติ ปรทุกข์ ที่สติ วินาเสติ - กรุณา” ธรรมชาติใดย่อมเบียดเบียนทําลาย ความลําบากของผู้อื่นเสีย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กรุณา องค์ธรรมได้แก่ กรุณา เจตสิกที่มีทุกข์ตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
กรุณา เมื่อว่าโดยสามัญแล้ว มี ๒ อย่าง คือ กรุณาแท้ และ กรุณาเทียม ใน ๒ อย่างนี้ กรุณาแท้ แม้ว่าจะมีความสงสารต่อสัตว์ที่ได้รับความลําบากอยู่ หรือ จะได้รับความลําบากต่อไปในข้างหน้าก็ดี ทําการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลําบากอยู่ด้วย ประการใดๆ ก็ดี ความเศร้าโศก เดือดร้อน ขุ่นหมองใจไม่มี มีแต่ความแช่มชื่นผ่องใส ซึ่งเป็นมหากุศล หรือ มหากริยาจิตตุปบาท ที่เนื่องมาจากกรุณาเจตสิก อันเป็น กรุณาอัปปมัญญาแท้ สําหรับกรุณาเทียมนั้น เมื่อมีความสงสารต่อสัตว์ที่ได้รับความ ลําบากอยู่ หรือจะได้รับความลําบากต่อไปในข้างหน้าก็ดี ช่วยเหลือผู้ที่กําลังได้รับ ความลําบากอยู่ก็ดี ย่อมมีความเศร้าโศก เดือดร้อน ขุ่นมัว ซึ่งเป็นโทสจิตตุปบาท ที่เนื่องมาจากโทมนัสเวทนา อันเป็นกรุณาเทียม การเจริญกรุณากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้อง ทําการแผ่โดยกรุณาแท้ ไปในสัตว์ทั้งหลายที่เป็นทุกขิตบุคคล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวก คือผู้ที่กําลังได้รับความลําบากเนื่องมา จากพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง และผู้ที่จะต้องประสบกับพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งในข้างหน้าหรือจะได้เสวยความ ทุกข์ในอบายภูมิ หรือวัฏฏทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ ซึ่งใคร ๆ ก็มี อาจที่จะหนีพ้นไปได้ ถ้าผู้เจริญมิได้พบเห็น ทุกขิตบุคคล จําพวกที่ ๑ จะทําการแผ่ ไปในทุกจิตบุคคลจําพวกที่ ๒ ก็ได้ โดยมาคํานึงว่า บุคคลเหล่านี้แม้กําลังได้รับความ สุขสบายด้วยยศ อํานาจ ทรัพย์สิน บริวาร อยู่ก็ตาม แต่ก็มิอาจหลีกหนีให้พ้นจาก ความทุกข์ต่างๆ มีพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งในวันข้างหน้า หรือวัฏฏทุกข์ ที่เป็น ไปในภพนี้และภพหน้า หรืออบายทุกข์ได้เลย
คําที่สําหรับใช้แผ่นั้นมีอยู่อย่างเดียวกันทั้งตนและคนอื่น คือ แผ่แก่ตนใช้คําว่า อห์ ทุกขา มุจจามิ ข้าพเจ้าจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ แผ่ไปในผู้อื่นถ้าเป็น คนเดียวใช้คําว่า ทุกฺขา มุจจตุ ขอท่านจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถ้า ๒ คน ขึ้นไปก็ใช้คําว่า ทุกขา มุจฺจนฺตุ ขอท่านทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
แบบบริกรรมท่องจําแผ่กรุณาทั่วไปอย่างสามัญนั้น ว่าโดย อาการแห่งกรุณา ก็มี หนึ่ง คือ ทุกขา มุจฺจนฺตุ ว่าโดย บุคคลที่ได้รับการแผ่ มี ๑๒ จําพวก คือ อโนทิสบุคคล ๕ โอทิสบุคคล ๗ ทําการแผ่ไปดังนี้
๑. สพฺเพ สัตตา ทุกฺขา มุจจนตุ ขอสัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ฯลฯ
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนนา ทุกขา มุจฺจนฺตุ ขอสัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
รวมเป็น ๕ เรียกว่า อโนทิศผรณากรุณา
๑. สัพพา อิตถิโย ทุกขา มุจฺจนฺตุ หญิงทั้งหลาย จงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ฯลฯ
๗. สพฺเพ วินิปาติกา ทุกขา มุจฺจนฺตุ พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลาย จงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
รวมเป็น ๗ เรียกว่า โอทิสผรณากรุณา
อโนทิศผรณากรุณา ๕ โอทิสผรณากรุณา ๗ รวมเป็น ๑๒ เรียกว่า ปุคคลวารผรณากรุณา
การแผ่โดยทิศทั้ง ๑๐
๑. ปุรถมาย ที่สาย สพฺเพ สัตตา ฯลฯ สพฺเพ วินิปาติกา ทุกขา มุจฺจนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ วินิปาติกอสุราทั้งหลายที่อยู่ทางทิศตะวันออก จง พ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ทิศที่เหลือ ๙ ก็คงทําการแผ่ไปในทํานองเดียวกันนี้ เมื่อจะนับจํานวนกรุณา ที่แผ่ไปในบุคคลที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ แล้ว ในทิศหนึ่ง ๆ ได้กรุณา ๑๒ รวม ๑๐ ทิศได้กรุณา ๑๒๐ เรียกว่า ทิสาผรณากรุณา
ปุคคลวารผรณากรุณา ๑๒ ทิสาผรณากรุณา ๑๒๐ สองอย่างรวมเป็น ผรณากรุณาโดยพิสดาร ๑๓๒
จบกรุณา
มุทิตา
มุทิตา หมายความว่า ความรื่นเริงบันเทิงใจในความสุขความสมบูรณ์ของผู้อื่น ดังแสดงวจนัตถะว่า “ต์-สมงคิโน โมทนฺติ เอตายาติ = มุทิตา” สัปบุรุษผู้มีใจ ถึงพร้อมด้วยมุทิตาทั้งหลาย ย่อมรื่นเริงในความสุขความสมบูรณ์ของผู้อื่นด้วย ธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการรื่นเริงชื่อว่า มุทิตา องค์ธรรมได้แก่ มุทิตาเจตสิกที่มีสุขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
มุทิตา เมื่อว่าโดยสามัญแล้วมี ๒ อย่าง คือ มุทิตาแท้และมุทิตาเทียม ใน ๒ อย่างนี้ มุทิตาแท้ แม้ว่าจะมีความรื่นเริงบันเทิงใจต่อสัตว์ที่มีสุขอยู่ หรือจะได้รับ ความสุขต่อไปข้างหน้าก็ดี จิตใจหาได้มีการยึดถือหรืออยากโอ้อวดต่อผู้อื่นแต่อย่างใด ไม่ มีแต่ความเบิกบานแจ่มใสอันเป็นตัวมหากุศล หรือ มหากริยาจิตตุปบาทที่เนื่อง มาจากมุทิตาเจตสิก อันเป็นมุทิตาแท้ สําหรับมุทิตาเทียมนั้น แม้จะมีความยินดีปรีดา ก็จริง แต่ก็มีการยึดถืออยากได้ดีมีหน้าซ่อนอยู่เบื้องหลัง เนื่องมาจากโลภมูลโสมนัส จิตตุปบาท มุทิตาเทียมนี้ ส่วนมากย่อมเกิดขึ้นในเมื่อได้เห็น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง บุตร ธิดา มิตรสหายของตนมียศ ทรัพย์ อํานาจ หรือได้ทราบว่าจะได้รับยศ อํานาจในวันหน้า โดยความยึดถือว่าผู้นั้นเป็นบิดา มารดา ฯลฯ ของตน
การเจริญมุทิตากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้องทําการแผ่มุทิตาแท้ ไปในสัตว์ทั้ง หลายที่เป็นสุขิตบุคคล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวก คือ ผู้ที่กําลังมีความสุขสบายอยู่ หรือจะได้รับความสุขสบายในวันข้างหน้า อย่างหนึ่ง และผู้ที่เคยมีความสุขสบายมา แล้ว แต่เวลานี้กําลังมีความลําบากอยู่ อย่างหนึ่ง ดังนั้นถ้าผู้เจริญมิได้พบเห็นสุขิต บุคคลจําพวกที่ ๑ จะทําการแผ่ไปในบุคคลจําพวกที่ ๒ ก็ได้ โดยมาคํานึงว่าบุคคลนี้ แม้ว่ากําลังได้รับความลําบากอยู่ก็ตามที แต่เมื่อก่อนนี้เคยเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ มีความสุขกายสบายใจด้วย ยศ ทรัพย์สินเงินทองมาแล้ว
เมื่อจะทําการแผ่ผู้เจริญจะต้องแผ่ไปในบุคคลโดยลําดับ มีดังนี้
๑. ต้องแผ่แก่ตนเองก่อน
๒. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นอติปิยบุคคล
๓. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นปิยบุคคล
๔. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นมัชฌัตตบุคคล
๕. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นเวรีบุคคล
ในบุคคล ๕ จําพวกนี้ หลังจากการแผ่แก่ตนเองแล้ว จะต้องแผ่ไปในอติปิยบุคคลก่อนปิยบุคคลสามัญ เพราะมุทิตาเทียมย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยอติปิยบุคคลได้ง่าย ฉันใด มุทิตาแท้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยอติปิยบุคคลได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึง ต้องทําการแผ่ไปในอติปิยบุคคลก่อน ให้ทําการแผ่มุทิตาไปในบุคคลตามลําดับโดยนัย นี้เรื่อยไป จนกว่าจะได้สําเร็จถึงขั้นสมสัมเภท ดังที่กล่าวไว้แล้วในเมตตา ข้อปฏิบัติที่ จะมิให้โทสะ อิสสา เกิดขึ้นในเวลาที่ทําการแผ่ไปในเวรีสุขิตบุคคลประเภทที่หนึ่งและ ที่สองนั้น คงเป็นไปในทํานองเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ในเมตตา จะมีการพิจารณาต่างกัน บ้างเพียงเล็กน้อย ดังนั้น จึงมิได้แสดงซ้ําอีก จากนั้นจึงจะใช้วิธีแผ่ตามแบบบริกรรม ท่องจําแผ่ไปโดยส่วนรวม ดังจะแสดงต่อไปนี้
คําที่สําหรับใช้แผ่นั้นมีอยู่อย่างเดียวกันทั้งตนและคนอื่น คือ แผ่แก่ตนใช้คําว่า อห์ ยถาลทธสมบัติโต มา วิคจฺฉามิ = ขอข้าพเจ้าอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ แผ่ไปในผู้อื่น ถ้าเป็นคนเดียวใช้คําว่า ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจนตุ = ขอท่านอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ ถ้า ๒ คนขึ้นไปก็ ใช้คําว่า ยถาลทธสมปตฺโต มา วิคจฺฉนฺตุ = ขอท่านทั้งหลายอย่าได้สูญสิ้นจาก ความสุขความเจริญที่มีอยู่
แบบบริกรรมท่องจําแผ่มุทิตาทั่วไปอย่างสามัญนั้น ว่าโดย อาการแห่งมุทิตา ก็มีหนึ่งคือ ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉตุ ว่าโดย บุคคลที่ได้รับการแผ่ มี ๑๒ จําพวก คือ อโนทิสบุคคล ๕ โอทิสบุคคล ๗ ทําการแผ่ไปดังนี้
๑. สัพเพ สัตตา ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฉันตุ = ขอสัตว์ทั้ง หลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
ฯลฯ
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนนา ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ ขอสัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ รวมเป็น ๕ เรียกว่า อโนทิศผรณามุทิตา
ฯลฯ
๑. สพฺพา อิตถิโย ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฉนฺตุ = หญิงทั้ง หลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
ฯลฯ
๗. สัพเพ วินิปาติกา ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ = พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
รวมเป็น 6 เรียกว่า โอทิสผรณามุทิตา
อโนทิสผรณามุทิตา ๕ โอทิสผรณามุทิตา ๗ รวมเป็น ๑๒ เรียกว่า ปุคคลวารผรณามุทิตา
เมื่อแผ่ตามทิศทั้ง ๑๐
๑. ปรตุกิมาย ทิสาย สพเพ สตตา ฯลฯ สพฺเพ วินิปาติกา ยถาลทธสมฺปตฺติโน มา วิคจฺฉนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ วินิปาติกอสุราทั้ง หลายที่อยู่ทางทิศตะวันออกอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
ทิศที่เหลือ ๙ ก็คงทําการแผ่ไปในทํานองเดียวกันนี้ เมื่อนับจํานวนมุทิตาที่ แผ่ไปในบุคคลที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ แล้ว ในทิศหนึ่งๆ ได้มุทิตา ๑๒ รวม ทิศใต้มุทิตา ๑๒๐ เรียกว่า ทิสาผรณามุทิตา
บุคคลวารผรณามุทิตา ๑๒ ทิสาผรณามุทิตา ๑๒๐ สองอย่างรวมเป็น ผรณามุทิตาโดยพิสดาร ๑๓๒
จบมุทิตา
อุเบกขา
อุเบกขา หมายความว่า ความวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายโดยมีจิตใจที่ปราศ จากอาการทั้ง ๓ กล่าวคือ ไม่น้อมไปในความปรารถนาดี ในการที่จะบําบัดทุกข์ ใน การชื่นชมยินดี ในความสุขของสัตว์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังแสดงวจนัตถะว่า “อเวรา โหนตุ อาทิพยาบาร ปหาเนน มชฺฌตฺต ภารูป คมเนน จ อุเปกขาติ อุเปกขา” ธรรมชาติใดพิจารณาในสัตว์ทั้งหลายพอประมาณด้วยการที่ไม่รักไม่ชัง คือ สละความ วุ่นวายที่เนื่องด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา มี อเวรา โหนตุ เป็นต้น และมีสภาพเข้าถึงความเป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่มีมัชฌัตตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
มัชฌัตตบุคคลที่เป็นอารมณ์ของอุเบกขาพรหมวิหารนี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวก คือ พวกธรรมดา อย่างหนึ่ง พวกที่เป็นไปด้วยอํานาจภาวนาสมาธิ อย่างหนึ่ง พวก ธรรมดานั้นได้แก่ บุคคลที่ไม่รัก ไม่ชัง เฉย ๆ ซึ่งเป็นวิสัยธรรมดาของจิตใจของคน ทั่วไป พวกที่เป็นไปด้วยอํานาจภาวนาสมาธินั้นได้แก่ ปิยบุคคล เวรีบุคคล ที่มีความสุข หรือมีความทุกข์อยู่
การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายนั้นมีอยู่ด้วยกัน ๒ อย่าง คือ เป็นไปด้วย อําานาจแห่งตัตตรมัชฌัตตตา หรือเป็นไปด้วยอํานาจโมหะชนิดที่เป็นไปด้วยอํานาจแห่ง ตัตตรมัชฌัตตตานั้น ไม่มีการเกี่ยวข้องกับ เมตตา กรุณา มุทิตา ดังที่ได้กล่าวแล้ว นั้นแต่อย่างใด นี้เป็น อุเบกขาแท้ ที่เป็นไปด้วยอํานาจโมหะนั้น เมื่อได้ประสบกับสิ่ง ที่น่ารักก็ไม่รู้จักรัก น่าขวนขวายน่าอยากได้ ก็ไม่มีการขวนขวายอยากได้ เฉย ๆ ไป น่าเคารพเลื่อมใส ก็ไม่รู้จักทําการเคารพเลื่อมใส น่ากลัว น่าเกลียดก็ไม่รู้จักกลัวจัก เกลียด ควรสนับสนุน ส่งเสริม ก็ไม่รู้จักสนับสนุนส่งเสริม ควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีให้ สมบูรณ์ในการงานทั้งปวงก็นิ่งเฉยเสีย นี้เป็น อุเบกขาเทียม เรียกว่า อญาณอุเบกขา การเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้องทําการแผ่อุเบกขาแท้ไปในสัตว์ทั้งหลายที่ เป็นมัชฌัตตบุคคล
ความแตกต่างระหว่างอุเบกขาพรหมวิหาร กับ อุเบกขาบารมี
ในสองอย่างนี้แม้ว่าจะมีการวางเฉยต่อสัตว์ด้วยกันก็จริง แต่อารมณ์ที่จะให้ เกิดความวางเฉยนี้ต่างกันคือ อุเบกขาพรหมวิหาร มีการวางเฉยต่อสัตว์ คือ ละความวุ่นวายที่เนื่องด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา มีสภาพเข้าถึงความเป็นกลางในสัตว์ ทั้งหลาย สําหรับ อุเบกขาบารมี นั้น เป็นการวางเฉยในบุคคลที่กระทําดีและไม่ดี ต่อตน โดยไม่มีการยินดียินร้ายแต่ประการใด คือ ผู้ที่กระทําความดี มีความเคารพ นับถือ บูชาสักการะ เกื้อกูล อนุเคราะห์ สงเคราะห์ เป็นประโยชน์แก่ตนสักเท่าใด ๆ ก็คงมีจิตใจวางเฉยอยู่ และผู้ที่กระทําความไม่ดีมีการประทุษร้ายต่อตนสักเพียงใด ก็ตามก็คงวางเฉยอยู่ได้เช่นกัน ในการวางเฉยทั้ง ๒ อย่างนี้ ฝ่ายบารมีประเสริฐยิ่ง การบําเพ็ญก็สําเร็จได้ยาก
การเจริญอุเบกขากรรมฐานจนถึงได้อัปปนา
ในการเจริญพรหมวิหารนี้ การเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา จนถึงได้อัปปนาฌานนั้น ไม่จํากัดบุคคล ทั้งกรรมฐานก็ไม่จํากัด แต่การเจริญอุเบกขานั้น ผู้เจริญจะ ต้องเป็นจตุตถฌานลาบุคคล และ จตุตถฌานที่ตนได้นั้นก็ต้องเนื่องมาจากการเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่ง หาใช่สําเร็จจากกรรมฐานอื่น ๆ ไม่ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่ามีการจํากัดบุคคล และจํากัดกรรมฐาน เหตุผลในการจํากัดบุคคลและ กรรมฐานนั้น เพราะการเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ให้ได้แต่เพียงรูปาวจรปัญจมฌาน อย่างเดียว ดังนั้น ผู้ที่จะทําการเจริญอุเบกขากรรมฐาน ถ้ามิใช่เป็นจตุตถฌานลาภแล้ว ก็มิอาจเจริญอุเบกขาให้สําเร็จจนถึงฌานได้ ฉะนั้น จึงกล่าวว่ามีการจํากัดบุคคล สําหรับกรรมฐานที่มีการจํากัดนั้นเนื่องด้วยจตุตถฌานที่เกิดจากการเพ่งกสิณก็ดี หรือการเจริญอานาปานัสสติก็ดี ก็มิอาจที่จะช่วยอุดหนุนให้การเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ สําเร็จถึงฌานได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่ากสิณบัญญัติ หรือ อานาปานบัญญัติ ที่เป็นอารมณ์ ของจตุตถฌานที่ตนได้มานี้ กับมัชฌัตตสัตวบัญญัติ ที่เป็นอารมณ์ของรูปาวจรปัญจม ฌานที่จักเกิดต่อไปนั้น มีสภาพไม่ถูกกัน (วิสภาคะ) ส่วนจตุตถฌานที่เกิดจากการ เจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่งหนึ่งที่สามารถช่วยอุดหนุนในการเจริญ อุเบกขาให้สําเร็จถึงฌานได้นั้น เพราะว่า ปิยมนาปสัตวบัญญัติ ทุกข์ตสัตวบัญญัติ หรือ สุขิตสัตวบัญญัติที่เป็นอารมณ์ของจตุตถฌาน ที่ตนได้มา กับมัชฌัตตสัตว บัญญัติที่เป็นอารมณ์ของรูปาวจรปัญจมฌาน ที่จักเกิดต่อไปมีสภาพถูกกัน (สภาคะ)
จบอุเบกขา
จบอัปปปมัญญา
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
อาหาเรปฏิกูลสัญญา พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
อาหาเรปฏิกูลสัญญา หมายความว่า การพิจารณาจนเกิดความรู้สึกยึดโดย ความเป็นของน่าเกลียดในอาหารนั้น ชื่อว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา องค์ธรรมได้แก่
สัญญาเจตสิกที่ในมหากุศล มหากริยา
วิธีพิจารณาให้ปฏิกูลสัญญาเกิดในการบริโภคอาหาร ๑๐ ประการ
คมนา เอสนา โภคา อาสยา จ นิธานโต
อปกกา จ ปกกา ผลา นิสสนฺทโต จ มักขนา
เอว ท หากาเรหิ อิกเขยุย ปฏิกูลตา ฯ
แปลความว่า ผู้เจริญจึงพิจารณาเห็นเป็นของน่าเกลียดในการบริโภค โดยอาการทั้ง ๑๐ มีดังนี้ ๑. โดยการไปสู่สถานที่ที่มีอาหาร ๒. โดยการแสวงหา ๓. โดยการบริโภค ๔. โดยที่อยู่มี ดี เสมหะ หนอง เลือด ๕. โดยกระเพาะซึ่งเป็นที่ หมักหมมรวมกัน แห่ง อาหารใหม่ ๖. โดยยังไม่ย่อย ๗. โดยย่อยแล้ว ๘. โดย ผลที่สําเร็จ ๙. โดยการหลั่งไหล ๑๐. โดยเปื้อน
๑. คมนา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการไปสู่สถานที่ที่มีอาหาร ว่า แม้จะมีการงานที่เกี่ยวกับคันถธุระและวิปัสสนาธุระ อยู่ในที่ที่ปราศจากคนยัดเยียด สะอาด ดี เรียบร้อย บริบูรณ์ด้วยน้ําท่าร่มเงาเยือกเย็น สุขสบายเงียบสงัดน่าพึงพอใจ อย่างไรก็ตาม แต่พอถึงรุ่งอรุณ ก็ต้องจัดการนุ่งห่มครองจีวร บ่ายหน้ามุ่งตรงต่อหมู่ บ้านเพื่อหาอาหารเที่ยวไปในสถานที่ที่ไม่สงบและไม่เรียบร้อย ได้รับความลําบากต่างๆ มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น ในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม กรําแดดกรําฝน เบียดเบียนไป ด้วยฝูงชนทั้งหลายอย่างน่าเบื่อ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็ต้องไปทํางาน หรือ ประกอบการค้า ขายเพื่อจะได้เงินมาเป็นค่าครองชีพ การบริโภคอาหารนี้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ลําบากยุ่งยากมากมิได้เว้นแต่ละวัน
ดังนั้น
๒. เอสนา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการแสวงหา ว่า เมื่อถึงหมู่บ้าน แล้วก็ต้องแวะไปที่บ้านนั้นบ้าง บ้านนี้บ้าง จากถนนสายนี้ไปยังถนนสายอื่น เพื่อหา อาหารให้ได้พอเพียงบางพวกก็ให้ บางพวกก็มิได้ให้ บางพวกก็ให้ของค้างแต่วานนี้ บ้าง บูดแล้วบ้าง เก่าบ้าง ฝ่ายพวกที่มิได้ให้นั้นน้อยพวกนักที่จะกล่าวว่า โปรดสัตว์ ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า (อาจฉก ภนฺเต) บางพวกก็ทําเป็นไม่เห็น หรือมิฉะนั้นก็แสร้ง ทําเป็นพูดกับคนอื่นเสีย บางพวกก็ด่าด้วยคําหยาบ จําต้องเหยียบหลุมโสโครก บ่อน้ําครําที่เจือปนด้วยน้ําล้างปลาและน้ําล้างเนื้อ น้ําซาวข้าว น้ํามูก น้ําลาย มูลสุนัข และสุกร เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่หมอนแมลงวันหัวเขียว ซึ่งเป็นแมลงวันที่ชาวบ้าน เพาะขึ้นเที่ยวจับแฝงอยู่ที่ผ้าสังฆาฏิบ้าง ที่บาตรบ้าง ที่ศีรษะบ้าง จําต้องเห็น จําต้อง ได้กลิ่น จําต้องอดกลั้น จําเดิมแต่เข้าไปจนกระทั่งออก ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องไปตลาด ออกจากร้านนั้นเข้าร้านนี้ จากตลาดนี้ไปตลาดโน้น เหยียบย่ําาไปในที่ที่เฉอะแฉะ สกปรก ปะปนไปด้วยสิ่งที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง ดังนั้นการบริโภคอาหารนี้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ลําบากยุ่งยากมากมิได้เว้นแต่ละวัน
๓. โภคา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการบริโภค ว่า อาหารนี้เมื่อ หย่อนมือลงไปหยิบทําเป็นคําใส่เข้าในปาก ก็คลุกเคล้าปะปนด้วยน้ําลายใสที่ปลายลิ้น ด้วยน้ําลายขันที่กลางลิ้น ฟันล่างทํากิจต่างครก ฟันบนทํากิจต่างสาก ลิ้นทํากิจต่างมือ เคี้ยวอยู่ก็แปดเปื้อนด้วยมูลฟันที่ไม่ชําระฟันชําระไม่ถึง สี กลิ่น และ เครื่องปรุงที่จัด ว่าเป็นอย่างดีนั้นก็กลับเปลี่ยนเป็นของน่าเกลียดไป ดุจดังรากสุนัขที่อยู่ในรางสุนัข แม้เป็นเช่นนั้นก็ยังกลืนกินได้ ก็เพราะลับสายตา หากว่าก่อนที่จะกลืน คายออกมาดู เสียก่อนแล้วจึงคอยหยิบใส่ปากกลืนไปใหม่ ดังนี้ก็จักบริโภคไปไม่ไหว นอกจากนี้ยัง ต้องบริโภคแล้วบริโภคอีกซ้ํา ๆ ซาก ๆ อยู่เสมอทุกค่ําเช้ามิได้เว้นวัน ดังนั้น อาหารที่ คนๆ หนึ่งได้บริโภคเข้าไป นับจําเดิมแต่คลอดจากครรภ์มารดาจนกระทั่งถึงตาย แต่ละอย่างๆ ถ้านําเอาออกมากองรวมไว้เป็นส่วนๆ เฉพาะ ๆ แล้ว ก็มีมากมายใหญ่โต เพียงแต่ข้าวสารกับน้ํา ๒ อย่างเท่านั้น ข้าวสารคะเนว่าจะเป็นกองใหญ่เท่ากับเรือน หลังหนึ่ง จํานวนข้าวประมาณสัก ๑๕๐ กระสอบ น้ําเท่ากับสระโบกขรณี ๑ สระ นี้ว่ากันแต่ในภพนี้ ยังหาได้รวมภพก่อน ๆ เข้าด้วยไม่ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึง กล่าวว่า ท้องของเรานี้เป็นมหาสมุทรอย่างหนึ่งที่มีประจําร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดในอาหารโดยการบริโภค
๔. อาสยา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยที่อยู่ ว่า อาหารที่บริโภคเข้าไป นี้มีที่อาศัยอยู่ ๔ อย่าง คือ ๑. น้ําดี ๒. เสมหะ ๓. หนอง ๔ เลือด ใน ๔ อย่างนี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิ์ มีอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนชนทั้ง หลายนอกจากนี้มีครบทั้ง ๔ เหตุนั้นผู้ใดมีน้ําดีมาก อาหารของผู้นั้นก็แปดเปื้อนด้วย น้ําดีดุจดังเขาเคล้าด้วยน้ํามันมะซางข้น ถ้ามีเสมหะมากก็แปดเปื้อนด้วยเสมหะดุจดัง เขาระคนด้วยน้ําในกากะทิง ถ้ามีหนองมากก็แปดเปื้อนด้วยหนองดุจดังเขาระคนด้วย เปรียงเน่า ถ้ามีโลหิตมากก็แปดเปื้อนด้วยโลหิตดังเขาระคนด้วยน้ําย้อม นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดในอาหารโดยที่อยู่
๕. นิธานโต พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยกระเพาะซึ่งเป็นที่หมักหมม รวมกันแห่งอาหารใหม่ ว่า อาหารที่ระคนด้วยน้ําดี เสมหะ หนอง เลือด ๔ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ภายในนั้น มิใช่ว่าจะไปหมักหมมรวมกันตั้งอยู่ในภาชนะเงิน ทอง แก้วมณี เป็นต้นแต่อย่างใดไม่ หากได้เข้าไปหมักหมมรวมกันไว้ในกระเพาะที่โสโครกน่าเกลียด ฉะนั้น ผู้มีอายุ ๑๐ ปีบริโภคเข้าไป อาหารก็ไปหมักหมมรวมกัน ไว้ในกระเพาะที่โสโครกนี้ตลอดระยะเวลา ๑๐ ปี โดยมิได้มีการชําระล้างถ่ายทิ้งออก เสียแต่อย่างใด เป็นไปเสมือนหนึ่งดุจหลุมคูณที่มิได้ขุดลอกถ่ายออกทิ้งก็ฉันนั้น ถ้าผู้ มีอายุ ๒๐ ปี ๓๐ ปี จนถึง ๑๐๐ ปี บริโภคเข้าไป อาหารก็คงเข้าไปหมักหมมรวม กันไว้ในกระเพาะที่โสโครกนี้ตลอดระยะเวลานานเท่านั้น มิได้มีเวลาที่จะทําการถ่ายทิ้งชําระได้แม้แต่อย่างใดเลย คงเป็นไปเสมือนหนึ่งหลุมคูลที่มิได้มีการขุดถ่ายออกตลอดระยะเวลา ๒๐-๓๐-๑๐๐ ปี ก็ฉันนั้น นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยกระเพาะซึ่งเป็น ที่หมักหมมรวมกันแห่งอาหารใหม่
๖. อปกกา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยยังไม่ย่อย ว่า อาหารที่บริโภค แต่วานนี้ก็ดี วันนี้ก็ดี ที่เข้าไปหมักหมมรวมกันอยู่ในกระเพาะอันเป็นที่โสโครกนี้ มี อาการเป็นฟองเกิดขึ้น ด้วยอํานาจของปาจกเตโชที่มีประจําอยู่ภายใต้กระเพาะอาหาร ทําการเผาผลาญให้ย่อยละลาย เป็นไปเสมือนหนึ่งขยะมูลฝอยเศษอาหารต่างๆ หญ้า ใบไม้ เสื่อลําแพนเก่า ซากงู สุนัข หนู เป็นต้นที่ชาวบ้านพากันทิ้งไว้ในหลุม เมื่อ ฝนตกในฤดูแร้งถูกแสงอาทิตย์แผดเผาให้ร้อน ก็เดือดปุดเป็นฟองขึ้นมาเป็นฝาอยู่ฉัน ใด อาหารที่บริโภคเข้าไปแต่วานนี้ วันนี้ ก็มีสภาพเป็นของน่าสะอิดสะเอียนยิ่งก็ฉันนั้น นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยยังไม่ย่อย
๗. ปกกา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยย่อยแล้ว ว่า อาหารที่ถูกเผา ผลาญด้วยปากเตโชน เมื่อย่อยเสร็จแล้วนั้นหาใช่กลายเป็นทองเป็นเงิน ดังเช่นการ เล่นแร่แปรธาตุให้สําเร็จเป็นทองคํา เป็นเงินขึ้น เช่นนี้ก็หาไม่ หากแต่กลายไปเป็นอุจจาระ และปัสสาวะ ส่วนที่เป็นอุจจาระนั้นก็ไปขังอยู่ในกระเพาะอุจจาระเป็นก้อนๆ เหมือน ดังดินเหลืองที่เขาบดให้ละเอียดแล้วใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ฉันนั้น ส่วนที่เป็นปัสสาวะก็ไปขังเต็มอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยย่อยแล้ว
๘. ผลา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยผลที่สําเร็จ ว่า อาหารที่ย่อยเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ด้วยอํานาจปาจกเตโชธาตุนั้นย่อมให้สําเร็จเป็นเลือด เนื้อ กระดูก ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น ส่วนอาหารที่ไม่ย่อยนั้นก็กลับทําให้โรคต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ททท หิดเปื่อย กณฑ์ คิดด้าน กจ คุดทะราด กุฏฐ โรคเรื้อน กลาส กลาก โสส หืด กาส ไอ อติสาร ลงแดง เป็นต้น ล้วนแต่เป็นผลที่เกิดจากอาหารที่ บริโภคเข้าไปนี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดและน่ากลัวโดยผลที่สําเร็จ
๙. นิสสนฺทโต พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการหลั่งไหล ว่า อาหารที่ บริโภคเข้าไปนี้ เมื่อขณะบริโภคนั้นย่อมเข้าไปแต่ทางเดียว ครั้นเมื่อไหลออกก็ไหล ออกจากช่องใหญ่ทั้ง ๙ ช่องเล็กทุกขุมขน เป็นไปโดยประการต่างๆ เป็นต้นว่าไหล จากช่องตาทั้งสองเป็นขี้ตา ไหลจากช่องหูทั้งสองเป็นขี้หู ไหลออกจากช่องจมูกทั้ง สองเป็นขี้มูก ไหลจากช่องปากเป็น น้ําลาย เสมหะ ไหลจากช่องทวารหนักเป็นอุจจาระ จากทวารเบาเป็นปัสสาวะ ไหลจากช่องขุมขนเป็นเหงื่อ ขณะที่บริโภคอยู่นั้นย่อมนั่ง ล้อมวงพร้อมหน้ากันเป็นหมู่ๆ เมื่อถึงคราวที่จะถ่ายออกเป็นอุจจาระ ปัสสาวะก็ต้อง ปลีกออกจากหมู่ไปแอบแฝงแต่เดียวดาย เมื่อบริโภคในวันแรกมีทั้งยินดี ร่าเริง สนุก สนาน ปลื้มใจปีติโสมนัส ครั้นวันที่ ๒ เป็นเวลาที่จะถ่ายออก ย่อมปิดจมูก หน้า นิ้วคิ้วขมวดสะอิดสะเอียน เก้อเขิน และในวันแรกมีความเอร็ดอร่อยชอบอกชอบใจ จดจ่อหลงไหลหมกมุ่นกลืนกิน พอรุ่งขึ้นวันที่ ๒ ทิ้งไว้เพียงคืนเดียวก็หมดความชอบใจ กลับเกลียดขยะแขยง มีความรําคาญไม่สบายเพราะต้องทําการถ่ายออก
๑๐. มกขนา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยความแปดเปื้อน ว่า อาหาร นี้แม้ในเวลาบริโภคอยู่ ย่อมแปดเปื้อนมือ ปาก ลิ้น เพดาน ฉะนั้น อวัยวะเหล่านี้ จึงมีการเปรอะเปื้อนไปด้วยสิ่งเหม็นคาวสิ้น แม้ล้างแล้วก็ต้องล้างอีก ถึงกระนั้นกลิ่น คาวเหม็นก็ไม่ค่อยจะหมดไป จําต้องล้างด้วยเครื่องหอมซ้ําอีกเพื่อจักขจัดกลิ่นให้สิ้น สูญ ครั้นถึงคราวที่จะไหลออก หลังจากย่อยเสร็จแล้วก็เปื้อนเปรอะไปทั่วตัว คือ เปื้อนตาโดยเป็นขี้ตา เปื้อนหู โดยเป็นขี้หู เปื้อนจมูกโดยเป็นขี้มูก เปื้อนฟันโดย เป็นขี้ฟัน เปื้อนปากและลิ้นเพดานโดยเป็นน้ําลาย เสมหะ เปื้อนร่างกายทั่วไปโดยเป็น เหงื่อ เปื้อนทวารหนัก ทวารเบาโดยเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ เปรอะเปื้อนน่าเกลียดทั่ว ไปหมด แม้จะหมั่นอาบน้ําชําระขัดสีอยู่ทุกวันก็ไม่สะอาดไปได้ เปรอะเปื้อนอยู่แต่ อย่างนี้ตลอดไป บางส่วนของร่างกายชําระล้างเพียงครั้งหนึ่งหรือ ๒ ครั้งก็พอจะ สะอาดสะอ้านเกลี้ยงเกลาลงได้บ้าง เสร็จแล้วมือก็ไม่ต้องล้าง คงสะอาดหมดจดไป ด้วย สําหรับบางส่วนมีทวารหนักทวารเบานั้นต้องชําระล้างเป็นพิเศษ เสร็จแล้วก็ต้องทําการล้างมือเสียใหม่ด้วยเครื่องชําระล้างต่างๆ เพื่อขจัดความแปดเปื้อนสกปรกที่มือให้หมดไป นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยความแปดเปื้อน
นิมิต ภาวนา และปริญญาในการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา
เมื่อผู้เจริญได้ทําการพิจารณาในอาหารโดยความเป็นปฏิกูลด้วยอาการ ๑๐ อย่าง ติดต่อกันอยู่เสมอตามลําดับดังที่กล่าวแล้ว การเจริญกรรมฐานนี้ไม่มีอุคคหนิมิตและ ปฏิภาคนิมิตเกิด คงมีแต่บริกรรมนิมิตเกิดอย่างเดียว คือ อาหารต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยสัญญาของตนที่มีการเห็นว่าเป็นปฏิกูลนี้เอง
ส่วนภาวนานั้นได้ ๒ อย่าง คือ บริกรรมภาวนาและอุปจารภาวนา ที่เป็นดังนี้ เพราะการเจริญกรรมฐานนี้มีสภาวอาหาร คือ กพฬิการาหาร เป็นอารมณ์เป็นหลัก เกณฑ์ สําหรับสมมุติอาหาร คือ ตัวอาหารต่าง ๆ ที่เห็นอยู่นั้น เพียงแต่เป็นเครื่อง ประกอบในการเจริญเท่านั้น ตามธรรมดาสภาวอาหารนี้มีสภาพละเอียดสุขุมลุ่มลึกทั้ง เป็นธรรมารมณ์ ด้วยเหตุนี้ อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตทั้งสองนี้จึงไม่ปรากฏ เมื่อ ปฏิภาคนิมิตไม่ปรากฏ อัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม การเจริญกรรมฐานนี้ ผู้เจริญย่อมได้ปริญญาทั้ง ๓ เกิดขึ้นตามลําาดับดังนี้
๑. เห็นความทุกข์ยากลําบากโดยนานาประการในการบริโภค นับแต่การไปสู่ สถานที่ การแสวงหา เป็นต้นจนถึง การเปื้อนเปรอะ นี้เรียกว่า ญาตปริญญา
๒. เห็นความเกิดดับของอาหารที่บริโภคเข้าไป ความเกิดดับของรูปภายใน ตนที่เกิดจากอาหาร และ ความเกิดดับของจิตใจในขณะที่กําลังบริโภค และ หลังจาก บริโภคแล้ว นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา
๓. สามารถประหาณรสตัณหา คือ ความยินดีพอใจในรสเสียได้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา
จบอาหาเรปฏิกูลสัญญา
ธาตุทั้ง ๔ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
จตุธาตุววัตถาน หมายความว่า การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่ปรากฏในร่างกาย จนกระทั่งเห็นเป็นแต่เพียงกองแห่งธาตุ โดยปราศจากความจ๋าว่าเป็นหญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคลเสียได้ เรียกว่า จตุธาตุววัตถาน องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ ในมหากุศล มหากริยา
ในจตุธาตุววัตถานนี้ ผู้เจริญจะต้องทําการพิจารณาธาตุ ๔ ที่มีอยู่ภายในตน ธาตุ ๔ ที่มีอยู่ภายในตนนี้ เมื่อนับโดยพิสดารแล้วมี ๔๒ คือ ปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ บรรดาธาตุ ๔๒ นี้ เกสา โลมา เป็นต้น จนถึงมัตถลุงคงรวมเป็น ๒๐ โกฏฐาส มีลักษณะสัณฐานเป็นก้อนเป็นแท่ง ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นปถวีธาตุ ปิตตัง เป็นต้นจนถึงมุตตัง รวมเป็น ๑๒ โกฏฐาส มีลักษณะ เหลวและไหลได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอาโปธาตุ ไออุ่นที่ทําให้ร่างกายมีความร้อนมาก เรียกว่า สันตัปปนเตโช ไออุ่น ที่มีความร้อนสูงสามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตไป เรียกว่า ทหนเตโช ไออุ่นที่ทําให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง เรียกว่า ชีรณเตโช ไออุ่นที่ ทําหน้าที่ย่อยอาหาร เรียกว่า ปาจกเตโช รวมเป็นเตโชธาตุ ๔ (สําหรับอุสมาเตโช นั้น ไม่ต้องนับโดยเฉพาะอีก เพราะเข้าอยู่ในเตโช ๓ อย่างข้างต้นนั้นแล้ว) ลมพัดขึ้นเบื้อง บน เรียกว่า อุทธังคมวาโย ลมพัดลงสู่เบื้องล่าง เรียกว่า อโธคมวาโย ลมที่อยู่ใน ช่องท้อง เรียกว่า กุฏฐิฏฐวาโย ลมที่อยู่ในลําไส้ใหญ่ เรียกว่า โกฏฐาสยวาโย ลม ที่อยู่ทั่วร่างกาย เรียกว่า อังคมังคานุสารีวาโย ลมหายใจเข้าออก เรียกว่า อัสสาส ปัสสาสวาโย รวมเป็นวาโยธาตุ ๖
ดังนั้น ที่เรียกกันว่า หญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคล มนุษย์ เทวดา พรหม ที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นกองปรากฏขึ้นเป็นนั้น หาใช่อื่นไม่ แท้จริงนั้นก็ได้แก่ธาตุ ๔ ที่รวมกันเป็นเป็นกลุ่มกองปรากฏขึ้นเป็นรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ กันตามอํานาจของกรรมนั้นเอง
การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่มีในกายตนนี้ มี ๒ ประการ คือ โดยย่อและโดย พิสดารใน ๒ ประการนี้ ผู้ที่เป็นตึกขบุคคลทําการพิจารณาเพียงแต่โดยย่อ ธาตุทั้ง ๔ ก็ ปรากฏแจ่มแจ้ง ขจัดความเห็นว่าเป็นหญิง ชาย เรา เขา สัตตชีวะลงได้ ส่วน มันทบุคคล นั้น ต้องพิจารณาโดยพิสดาร ธาตุทั้ง ๔ จึงจะปรากฏแจ่มแจ้ง ขจัดความ เห็นว่าเป็นหญิง ชาย ฯลฯ ให้หายไป
วิธีพิจารณาโดยย่อ
ผู้ปฏิบัติจะต้องทําการพิจารณาด้วยใจก่อน ตามหลักที่พระธรรมเสนาบดีได้ กล่าว แนะนําว่า บรรดาที่อาศัยต่าง ๆ อันชาวโลกทั้งหลายกล่าวเรียกกันว่าเป็น เคหสถานบ้านเรือนเหล่านี้ หาใช่อะไรอื่นไม่ แท้จริงนั้นก็ได้แก่ไม้ อิฐ ปูน ทราย สังกะสี กระเบื้อง ตะปู เหล็ก รวมกันปรากฏขึ้น โดยส่วนล่างมีเป็นแผ่นดินรองรับ ส่วนบนและรอบบริเวณมีเป็นอากาศล้อมรอบ ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของเรานี้ก็ได้แก่ กระดูก ๓๐๐ ท่อนเศษ เส้นเอ็น ๙๐๐ ก้อนเนื้อ ๙๐๐ ผิวหนังทั่วกายใหญ่ประมาณ เท่าเมล็กมะขามป้อม ก็อยู่เพียงเท่านี้เอง ควบคุมกันเข้าเป็นรูปร่างสัณฐานปรากฏขึ้น ในที่ที่มีอากาศล้อมรอบ
กายที่มีแต่กระดูก เส้นเอ็น ก้อนเนื้อ ผิวหนัง ควบคุมกันอยู่นี้ เมื่อจะค้นคว้า หาสิ่งที่มีจริงและปรากฏชัดแล้ว ก็แต่เพียง ๔ อย่าง คือ สิ่งที่แข็งกระด้างเป็นปถวีธาตุ - ธาตุดิน สิ่งที่เกาะกุมเหนียวและเอิบอาบซึมซาบไหลเป็นอาโปธาตุ ธาตุน้ํา สิ่งที่ ทําให้สุกโดยอาการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว หนังเหี่ยวย่น แก่หง่อมลง และ ความ เย็นร้อนในกายทั่วไปเป็นเตโชธาตุ ธาตุไฟ สิ่งที่ทําให้อิริยาบถใหญ่น้อยเคร่งตึงตั้งมั่น และ คลื่อนไหวไปมาได้เป็นวาโยธาตุ ธาตุลม จากนี้ก็มีการพิจารณาทั้งทางวาจาและ ใจพร้อมกันไปมีดังนี้
ยถา ปฏิจจ กฎฐาทึ อาคารนฺติ ปวุจฺจติ
เอว ปฏิจจ อฏฐยาที่ สรีรนุติ ปจติ ฯ
แปลความว่า อาศัยไม้เป็นต้น แล้วเรียกว่า บ้าน กุฎี ศาลา อาคารต่าง ๆ ฉันใด อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง แล้วเรียกว่า ร่างกาย ก็ฉันนั้น
อฏฐิ นหารุญจ มีสญจ จมมญฺจ จตุก ปต
ปริวาริโต อาการส สงฺขย์ รูปนติ คนติ ฯ
แปลความว่า ช่องอากาศที่ล้อมรอบโดยอาศัยบริวาร ๔ อย่าง มีกระดูก ๓๐๐ เศษ เส้นเอ็น ๕๐๐ ก้อนเนื้อ ๕๐๐ หนังหนาและหนังผิวรวมกันอยู่ได้ชื่อว่า ร่างกาย
โย อิมสฺม กาเย ฤทธภาโว วา ปรภาโว วา อยู่ ปฐวีธาตุ, โย อาพนธนภาโว วา ทรวกาโว วา อยู่ อาโปธาตุ, โย ปริปาจนภาโว วา อุณหภาโว วา อย เตโชธาตุ, โย วิตถานภาโว วา สมุทรณภาโว อย วาโยธาตุ ฯ
แปลความว่า ในร่างกายนี้ ส่วนที่แข็งและกระด้าง ส่วนนั้นเป็นปถวีธาตุ ส่วนที่เกาะกุมเหนียวเอิบอาบซึมซาบไหล ส่วนนั้นเป็นอาโปธาตุ สิ่งที่ทําให้สุกโดย อาการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว หนังเหี่ยวย่น แก่หง่อมลงก็ดี ความเย็นร้อนในกาย ทั่วไปก็ดี เหล่านี้เป็นเตโชธาตุ สิ่งใดทําให้อิริยาบถใหญ่น้อยเคร่งตึงตั้งมั่นก็ดี ทําให้ เคลื่อนไหวไปมาได้ก็ดี เหล่านี้เป็นวาโยธาตุ
อิติ อย กาโย อเจตโน อยากโต สุญฺโญ นิสฺสตฺโต นิชชีโว ธาตุลมูโหเยว ฯ
แปลความว่า ร่างกายนี้ไม่มีจิตใจ เป็นอัพยากตะ ปราศจากการวุ่นวาย สูญ จากความเป็นตัวตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวะอะไรๆ ทั้งสิ้น มีแต่ธาตุทั้ง ๔ รวมกันอยู่ เท่านั้น ดังที่ได้กล่าวแล้ว
วิธีพิจารณาโดยพิสดาร
ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาธาตุทั้ง ๔๒ มีปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ โดยเฉพาะๆ ไปตามลําดับดังนี้
เกสา ได้แก่ผมที่งอกอยู่บนศีรษะนั้น ก็มิได้รู้ว่าตนได้งอกอยู่ในหนังบนศีรษะ หนังที่หุ้มศีรษะอยู่ก็ไม่รู้ว่าผมได้งอกขึ้นบนตน ฉะนั้น ผมนี้จึงมิได้เป็นสัตตชีวะ แต่ ประการใด เพียงแต่เป็นปถวีธาตุเท่านั้น ต่อไปก็พิจารณาดูว่า ผมที่มีรูปร่างสัณฐาน เป็นเส้น ๆ นี้ นอกจากเป็นปถวีธาตุแล้วก็ยังมีอาโป เตโช วาโย อันเป็นนิสสยธาตุที่ อาศัย ๓ และวัณณะ คันธะ รสะ โอชา อันเป็นนิสสิตธาตุ ธาตุอาศัยเกิด ๔ รวมอยู่ด้วย เป็นแต่อวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น หาใช่เป็นสัตตชีวะแต่อย่างใดไม่
สําหรับการพิจารณาโลมาเป็นต้นจนมาถึงมัตถลุงคั่ง โดยความเป็นปถวีธาตุ ก็ดี แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็นอวินิพโภครูป ๘ ก็ดี อาโปธาตุ ๑๒ มีปิตตั้ง เป็นต้น จนถึง มุตตังโดยความเป็นอาโปธาตุ แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็น อวินิพโภครูป ๘ ก็ดี เตโชธาตุ ๔ มีสันตัปปนเตโชเป็นต้นจนถึงปาจกเตโช โดย ความเป็นเตโชธาตุ ก็ดี แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็นอวินิพโภครูป ๘ ก็ดี วาโยธาตุ ๖ มีอุทธังคมวาโย เป็นต้นจนถึง อัสสาสปัสสาสวาโย โดยความเป็นวาโยธาตุก็ดี แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็น อวินิพโภครูป ๘ ก็ดี ทั้งหมดนี้ก็มีการพิจารณาไป เช่นเดียวกันกับการพิจารณาเกสานั้นเอง
เมื่อสรุปการพิจารณาธาตุ ๔๒ ที่มีอยู่ในร่างกาย โดยความเป็นธาตุดิน ธาตุน้ํา ธาตุไฟ ธาตุลม และสี กลิ่น รสโอชาแล้ว พระโยคีบุคคลก็พึงรู้ได้ดังนี้ คือ ความเป็นธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม รวม ๓ ธาตุนี้ รู้ได้โดยอาศัยการสัมผัสทางกาย ความเป็นธาตุน้ํารู้ได้โดยอาศัยการคิดนึกทางใจ ความเป็นสีรู้ได้โดยอาศัยการเห็นทาง ตา ความเป็นกลิ่นรู้ได้โดยอาศัยการดมทางจมูก ความเป็นรสรู้ได้โดยอาศัยการซิมทางลิ้น ความเป็นโอชารู้ได้โดยอาศัยการคิดนึกทางใจ
นิมิต ภาวนา และ มรรค ผล ในการเจริญจตุธาตุววัตถาน
การเจริญจตุธาตุววัตถานนี้ ไม่มีอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเกิด คงมีแต่ บริกรรมนิมิตอย่างเดียว คือ ธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในกายตนนั้นเอง ส่วนภาวนานั้นได้ ๒ อย่าง คือ บริกรรมภาวนา และอุปจารภาวนา สําหรับอัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌาน นั้นเกิดขึ้นไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธาตุทั้ง ๔ นี้เป็นสภาวะล้วนๆ ผู้เจริญต้องใช้ ปัญญาอย่างแรงกล้า จึงจะรู้เห็นในสภาวะเหล่านี้ได้ เหตุนี้สมาธิของผู้เจริญจึงไม่มีกําลัง พอที่จะเข้าถึงฌาน ดังนั้น ถ้าหากว่าการพิจารณาทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในกายตนโดยมีปัญญา เป็นประธานนี้ได้เห็นธาตุทั้ง ๔ โดยความเกิดดับแล้ว ก็จะทําให้ผู้เจริญนั้นได้สําเร็จ มรรค ผล
จบจตุธาตุววัตถาน
อารุปป ๔ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
ในที่นี้อารุปป ๔ มีอากาสานัญจายตนฌานเป็นต้นนั้น หาใช่เป็นอารมณ์ กรรมฐาน เหมือนกสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ แต่อย่างใดไม่ เพียงแต่เป็นอารัมมณีกกรรมฐาน คือ ตัวฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์กรรม- ฐานทั้ง ๔ มี กสิณคฆาฏิมากาสบัญญัติ อากาสานัญจายตนฌาน นัตถิภาวบัญญัติ อากิญจัญญายตนฌาน เหมือนกับอาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน ที่เกิด ขึ้นโดยอาศัยอาหารต่างๆ และธาตุทั้ง ๔ ฉันนั้น
สําหรับเนื้อความพร้อมด้วยแนวทางปฏิบัตินั้นได้แสดงไว้แล้ว ในลําดับแห่งการได้รูปปัญจมฌาน โดยอาศัยการเพ่งปถวีกสิณ (ในหน้า ๒๖) ดังนั้นจึงมิได้แสดง ไว้ในที่นี้อีก
จบอารุปป ๔
จําแนกสมถกรรมฐาน ๔๐ โดยภูมิ
ในบรรดากรรมฐาน ๔๐ นี้ ในมนุษยภูมิได้กรรมฐาน ๔๐ ในเทวภูมิ ๖ ได้กรรมฐาน ๒๘ (เว้นอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑) ที่เป็นดัง นี้ก็เพราะเทวดาเป็นส่วนมากเมื่อจุติแล้วไม่มีซากศพเหลืออยู่ ร่างกายสูญหายไปดุจ ดังดวงประทีปดับไป ฉะนั้น ส่วนร่างกายมี ผม ขน เล็บเป็นต้นก็เป็นสิ่งที่งดงามไม่ เป็นปฏิกูล เรื่องอาหารก็ไม่ลําบากเพราะมีอาหารเป็นทิพย์ บริโภคแล้วให้เป็นเลือด เนื้ออย่างเดียว ไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะน้ําลายที่เป็นปฏิกูลแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จึงไม่มีในภูมินี้ สําหรับจาตุมมหา ราชิกาเทวดาบางพวกที่อยู่ติดต่อกันกับมนุษย์นั้น เมื่อจุติแล้วคงเป็นซากศพเหลืออยู่ก็ มี สําหรับอวัยวะต่างๆ อาหารต่างๆ เป็นปฏิกูลยิ่งกว่ามนุษย์เสียอีก
ในรูปภูมิ ๑๕ ได้กรรมฐาน ๒๗ (เว้นอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานัสสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑) เพราะพรหมทั้งหลายไม่มีลมหายใจ ไม่มีการบริโภค อาหาร ดังนั้น อานาปานัสสติและอาหาเรปฏิกูลสัญญากรรมฐานจึงไม่มี ส่วนอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ไม่มีนั้นก็คงเป็นไปเช่นเดียวกันกับเทวภูมิเบื้องบน ๕ นั้นเอง
ในอรูปภูมิ ๔ ชั้นนั้น ชั้นที่ ๑ ได้อรูปกรรมฐาน ๔ เท่านั้น ชั้นที่ ๒ ได้ อรูปกรรมฐาน ๓ (เว้นอากาสบัญญัติกรรมฐาน) ชั้นที่ ๓ ได้อรูปกรรมฐาน ๒ (เว้น อากาสบัญญัติและอากาสานัญจายตนฌาน) ชั้นที่ ๔ ได้อากิญจัญญายตนฌานกรรม ฐานอย่างเดียว
แสดงการจําแนกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต
ในบรรดาจริต ๖ อย่างนี้ ราคะ โทสะ โมหะ วิตกจริต เป็นจริตที่ไม่ดี ไม่งาม ดังนั้น พระโยคีบุคคลจึงต้องใช้กรรมฐานที่ไม่ถูกกับจริตเหล่านี้ เพื่อทําลายให้ หมดไปจากจิตตสันดาน สําหรับศรัทธาและพุทธจริตทั้ง ๒ นี้ เป็นจริตที่ดีที่งาม ดังนั้น พระโยคีบุคคลจึงจําเป็นที่จะต้องประคับประคองส่งเสริมโดยการใช้กรรมฐานให้ถูกกับ จริตทั้ง ๒ นี้ เพื่อแก่การที่จะให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น เสมือนหนึ่งผู้ที่มีโรคต้องบริโภคยา และอาหารที่เป็นปฏิปักษ์กับโรคนั้น ในอันที่จะทําลายให้หายไป แต่ถ้าใช้ยาและอาหาร ที่ถูกกับโรคนั้นเข้า แทนที่โรคจะหายก็กลับทําให้โรคนั้น กําเริบขึ้นจนได้รับอันตรายก็ได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีโรคและมีสุขภาพดี ก็ต้องรับประทานอาหารที่ดีๆ เพื่อช่วยบํารุงรักษา สุขภาพที่ดีอยู่แล้วนั้นให้ดียิ่งขึ้น และเว้นจากอาหารไม่ดี ที่จะไปทําลายสุขภาพให้เสีย อีกด้วย ส่วนการใช้กรรมฐานที่ไม่เหมาะสมแก่จริต ถึงแม้ไม่มีโทษ แต่ก็ทําให้ได้ผลช้า
ก. ฉะนั้น ผู้มีราคจริต จึงต้องเจริญอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ราคะจึงจะ สงบแล้วทําให้ฌานเกิดขึ้น ถ้าเจริญอัปปมัญญา ๔ หรือวัณณกสิณ ๔ ราคะก็จะทวี มากขึ้น ทําให้ฌานเกิดขึ้นไม่ได้
ข. ผู้มีโทสจริต ธรรมชาติของโทสะเป็นสภาพที่ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ก็มีสภาพไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด เช่นกัน ฉะนั้น ผู้ที่มี โทสจริต เจริญกรรมฐานนี้เข้า โทสะที่มีอยู่ก็จะมีมากขึ้น ฌานก็ไม่สําเร็จ ส่วนอัปปมัญญา ๔ เป็น สภาพที่ทําให้จิตใจเยือกเย็น ชุ่มชื่น เบิกบาน และวัณณกสิณ ๔ ก เป็นสภาพที่สวยงาม สามารถทําให้จิตใจของผู้เพ่งเกิดปีติโสมนัส เหตุนั้นผู้มีโทสจริต จึงต้องเจริญอัปปมัญญา ๔ และ วัณณกสิณ ๔ เพื่อที่จะทําลายโทสะให้สงบลง และ ให้ฌานเกิดขึ้น
ค. ผู้มีโมหจริตและวิตกจริต ธรรมชาติของโมหะเป็นสภาพที่มืดมัว ย่อม ทําให้จิตใจฟุ้งซ่านโลเลหวั่นไหว ธรรมชาติของวิตกมีการคิดนึกเรื่อยเปื่อยไป ฉะนั้น ถ้าวิตกนี้มีกําลังกล้าขึ้นก็ทําให้บุคคลมีจิตใจเลื่อนลอยไม่สงบ ดังนั้น ผู้ที่มีโมหจริต และวิตกจริตถ้าเจริญมรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถานที่มีความละเอียดลึกซึ้งเห็นคุณโทษได้ยากแล้ว ก็จะทําให้โมหะและวิตกทวีกําลังขึ้น ส่วนอานาปานัสสตินั้น ไม่มีความลึกซึ้งและปรากฏชัดอยู่ทุก ๆ ขณะที่หายใจเข้าออก ดังนั้น ผู้รู้ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ถ้ามีวิตกมากจนถึงกับนอนไม่หลับแล้วก็จงกําหนด ลมหายใจเข้าออกเหตุนั้นผู้ที่มี โมหะ หรือวิตกจริต จึงต้องเจริญอานาปานัสสติ เพื่อจะได้ทําลายโมหะและวิตกให้สงบลงและให้ฌานเกิดขึ้น
ฆ. ผู้มีศรัทธาจริต ธรรมชาติของศรัทธานั้น เป็นสภาพที่มีความเชื่อ ความ เลื่อมใส ฉะนั้น เมื่อได้รู้ได้เห็นคุณความดีของพระธรรม และศีล สมาธิ ปัญญาของ พระพุทธ พระสงฆ์แล้ว ศรัทธาก็จะทวียิ่งขึ้น เหตุนั้นผู้มีศรัทธาจึงต้องเจริญอนุสสติ ๖ มีพุทธานุสสติ เป็นต้นจนถึง เทวตานุสสติ เพื่อจะให้ศรัทธาแก่กล้าขึ้นตลอดโดย
ง. ผู้มีพุทธิจริต ธรรมชาติของปัญญานั้น เป็นสภาพที่มีความรู้แจ้งแทง ไม่มีสิ่งปกปิดกําบังสภาพความเป็นจริงของอารมณ์นั้น ๆ ได้ ฉะนั้น เมื่อ ได้พิจารณาในอารมณ์ที่มีสภาพละเอียดสุขุมแล้ว ปัญญาก็จะมีความเฉียบแหลมแก่กล้า ขึ้นไปอีก เหตุนั้น ผู้มีพุทธิจริตจึงต้องเจริญกรรมฐาน ๔ อย่าง คือ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน เพื่อเป็นการอบรมปัญญาที่มี อยู่แล้วให้เฉียบแหลมเพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป
กรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริตทั่วไป
จ. มหาภูตกสิณ ๔ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ อารุปปกรรมฐาน ๔ รวม ๑๐ อย่างนี้ บุคคลที่มีจริตใด ๆ ก็ตาม เมื่อได้มีการเจริญแล้ว ย่อมข่มกิเลสนิวรณ์ให้สงบ ลงแล้ว ให้ฌานเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้กล่าวว่าเหมาะสมแก่ผู้มีจริต ทั่วไป แต่มีข้อพิเศษอยู่ว่า ผู้มีโมหจริตและวิตกจริตจะเจริญกสิณ ๑๐ อย่างใดอย่าง หนึ่งแล้ว ต้องมีการปฏิบัติดังนี้ คือ
ฉ. ผู้มีโมหจริตต้องใช้ ปุถุลกสิณ คือ องค์กสิณที่มีขนาดกว้างเท่าลานข้าว สําหรับเพ่ง ถ้าองค์กสิณเล็กไป ก็จะทําให้เกิดความอึดอัด เผลอเรอ ใจลอย ส่วนผู้ มีวิตกจริตต้องใช้ขุททกกสิณ คือ องค์กสิณที่มีขนาดโตเท่ากระด้ง หรือ เล็ก ประมาณเท่าจานข้าว ถ้าองค์กสิณใหญ่นัก ก็ไปสนับสนุนวิตกให้นึกพล่านมากขึ้นเป็นไปตามองค์กสิณที่กว้างใหญ่นั้น สําหรับผู้มี ราคะ โทสะ ศรัทธา พุทธิจริตนั้น ใช้ เพ่งองค์กสิณขนาดกลางจึงจะเหมาะสม
อนึ่งการจําแนกกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตที่ได้ชื่อว่า สัปปายเภท ดังที่กล่าว นี้ หาใช่บังคับไม่ให้ทําการเจริญกรรมฐานอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับจริตของตนแต่อย่าง ใดไม่ เพียงแต่เป็นการชี้แจงให้ทราบว่า กรรมฐานใดเหมาะสมแก่จริตใด เมื่อต้องการ เจริญก็จะได้เลือกเจริญให้ถูกแก่จริตของตนเท่านั้น สมดังที่แสดงไว้ในปรมัตถทีปนี มหาฎีกาว่า สพฺพญเจต์ อุชวิปจฺจนึกวเสน เจว อติสปปายตาย จ วุตต์ ฯ
แปลความว่า ท่านได้กล่าวเนื้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับสัปปายเภทเหล่านี้ ก็ เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่ถูกต้องกันกับจริตไม่ดีโดยตรง อย่างหนึ่ง และเป็นกรรมฐาน ที่ถูกกันกับจริตมากที่สุด อย่างหนึ่งนั้นเอง
เพราะขึ้นชื่อว่ากรรมฐานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานอย่างไหน ย่อมสามารถ ทําลายจริตที่ไม่ดี และอุดหนุนส่งเสริมจริตที่ดี มีศรัทธาจริต และพุทธจริต ให้เจริญ ยิ่งขึ้นได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น เมื่อว่ากันโดยสามัญแล้ว จะใช้อย่างไหนก็ได้ในกรรมฐาน ๔๐ นี้
แสดงการจําแนกกรรมฐานโดยภาวนา ๓
ก. ตามธรรมดาผู้ที่จะทําการเจริญกรรมฐานนั้น ไม่ว่าจะเจริญกรรมฐานใด ถ้าเว้นเสียจากบริกรรมภาวนาเสียแล้ว อุปจารภาวนาอันเป็นกุศลจิตตุปบาทที่ใกล้ต่อ ฌานก็ดี และอัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌานก็ดี เหล่านี้ก็จักไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้น บริกรรมภาวนาจึงได้ในกรรมฐานทั้งหมด
ข. กรรมฐาน ๑๐ อย่าง คือ อนุสสติ ๘ มีพุทธานุสสติเป็นต้น จนถึง มรณานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ รวม ๑๐ อย่างนี้ ไม่ สามารถทําให้กุศลจิตตุปบาทของผู้เจริญเข้าถึงอัปปนาภาวนา ซึ่งเป็นมหัคคตฌานได้ เพียงแต่ให้เข้าถึงอุปจารภาวนาเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกรรมฐานเหล่านี้มีอารมณ์ เป็นปรมัตถ์อันละเอียดสุขุมลุ่มลึก องค์ฌาน ๕ มีวิตกเป็นต้น มิสามารถที่จะตั้งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานเหล่านี้จนถึงสมาธิมีกําลังแก่กล้าให้ฌานเกิดได้ อุปมาเหมือนเรือที่ ทอดสมออยู่กลางน้ําลึก เรือมิอาจหยุดอยู่กับที่ได้ เนื่องจากสมอที่ทอดลงไปมิได้หยั่ง ลงถึงที่ก็ฉันนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และพระนิพพาน นั้น นอกจากจะมีความละเอียดสุขุมลุ่มลึกแล้ว ยังมีความกว้างขวางลึกซึ้งเหลือที่จะ นับจะประมาณได้อีกด้วย ซึ่งจะระลึกอยู่แต่ในพระคุณบทใดบทหนึ่งก็ไม่ได้ ผู้เจริญ จะต้องระลึกไปในพระคุณอันกว้างขวางลึกซึ้งนั้นตามสติปัญญาของตน เหตุนั้นสมาธิของผู้นั้นจึงไม่มีกําลังพอที่จะเข้าถึงฌานได้
ค. กรรมฐานที่เหลือ ๓๐ ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานัสสติ ๑ อัปปมัญญา ๔ อารุปป ๔ ทั้งหมดนี้ ย่อมทําให้กุศลจิตตุปบาท ของผู้เจริญเข้าสู่ขั้นอัปปนาภาวนาได้นั้น ก็เพราะนอกจากวิญญาณัญจายตนฌานและ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานทั้ง ๒ แล้ว กรรมฐานเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวกับบัญญัติ ซึ่งเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเป็นต้นบ้าง เป็นอารมณ์ของอากาสานัญจายตนและ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนั้น จึงไม่มีข้อที่น่าสงสัยแต่อย่างใดในการที่ฌานเกิดขึ้น
สําหรับ อารุปปกรรมฐาน ๒ ที่มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ แต่ฌานก็เกิดได้นั้น ก็เพราะว่าการเกิดขึ้นของอรูปฌานนั้นเป็น อารัมมณากกมฌานความหมายว่า เวลาใดภาวนาจิตของผู้เจริญสามารถก้าวล่วงละทิ้งอารมณ์ของฌานเบื้องต่ําจากใจ แล้ว ทําให้ อารมณ์ใหม่ปรากฏขึ้นแทนขณะใด ในขณะนั้นฌานเบื้องบนก็เกิดขึ้น ไม่ว่า อารมณ์ใหม่จะเป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์ ขอแต่ให้อารมณ์กรรมฐานกับฌานตรงกันเท่านั้น เหตุนี้แหละ อารุปปกรรมฐาน ๒ จึงให้ฌานเกิดขึ้นได้
มีข้อที่น่าคิดอยู่ว่า นิพพานก็เป็นปรมัตถ์อารมณ์เหมือนกัน แต่ไฉน มรรค ผล จึงเกิดได้ ที่เป็นดังนี้ เพราะเป็นด้วยอํานาจแห่งภาวนาจิตที่เกิดขึ้นตามลําดับของ วิสุทธิ ๗ และวิปัสสนาญาณนั้นเอง หมายความว่า แม้พระนิพพานจะมีความละเอียดลึกซึ้งสักปานใดก็ตาม เมื่อจิตใจของพระโยคีบุคคลได้มีการอบรมด้วยภาวนา ไปตามลําดับชั้น จนกระทั่งถึงวิสุทธิ์ที่ ๖ และมีสังขารุเปกขาญาณเป็นเครื่องประกอบ แล้ว ขั้นสุดท้ายแห่งภาวนาจิตนั้นเอง นิพพานอารมณ์ก็จักปรากฏพร้อมทั้งมรรค ผล เกิดขึ้น
แสดงการจําแนกกรรมฐาน ๓๐ ที่เข้าถึงอัปปนาโดยฌานทั้ง ๙
ก. กสิณ ๑๐ อานาปานัสสติ ๑ รวม ๑๑ กรรมฐานนี้เป็นอารมณ์ของรูปฌาน ๕ ดังนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลได้เจริญในกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว ย่อมสําเร็จฌานทั้ง ๕ ตามลําดับได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน
ข. อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ รวม ๑๑ กรรมฐานนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงให้ได้แต่เพียงปฐมฌาน ถ้าต้องการฌานเบื้องบนต่อไปก็จะต้อง เปลี่ยนเป็นกรรมฐานอื่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ นี้เป็นอารมณ์ หยาบ น่าเกลียดมาก ที่ปฐมฌานเกิดได้ก็เพราะอาศัยวิตกองค์ฌานช่วยยกภาวนาจิต ให้ขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐานเหล่านี้ ส่วนทุติยฌานจิต เป็นต้นนั้นไม่มีวิตกช่วยยกภาวนาจิตให้ขึ้นสู่อารมณ์ ดังนั้น กรรมฐานเหล่านี้จึงทำให้ผู้เจริญได้เพียงปฐมฌาน
ค. เมตตา กรุณา มุทิตา ทั้ง ๓ ทําให้ผู้เจริญได้รูปฌานเบื้องต่ำ ๔
ฆ. ส่วนผู้เจริญอุเบกขาพรหมวิหารนั้น ย่อมให้ได้แต่รูปปัญจมฌานอย่างเดียว
ง. สําหรับอารุปปกรรมฐาน ๔ ย่อมทําให้ผู้เจริญได้อรูปฌาน ๔ โดยเฉพาะๆ กล่าวคือ อากาสบัญญัติให้ได้แต่อากาสานัญจายตนฌาน ปฐมารุปปวิญญาณให้ได้ แต่วิญญาณัญจายตนฌาน นัตถิภาวบัญญัติให้ได้แต่อากิญจัญญายตนฌาน ตติยารุปปวิญญาณให้ได้แต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ในที่นี้เมื่อได้พิจารณาดูการจําแนกกรรมฐาน ๓๐ โดยรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า อารมณ์กรรมฐานของรูปฌานนั้นล้วนแต่เป็นบัญญัติ ส่วนอารมณ์กรรมฐานของอรูปฌานนั้นมีทั้งบัญญัติและปรมัตถ์ เมื่อสรุปแล้วก็คงได้จํานวนกรรมฐานและฌาน ดังนี้
กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ โกฏฐาส ๑ อัสสาสปัสสาสะ ๑ สัตวบัญญัติ ๓ รวม บัญญัติกรรมฐาน ๒๕ เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน
กสิณ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ สัตวบัญญัติ ๓ รวมบัญญัติกรรมฐาน ๑๔ เป็น อารมณ์ของทุติยฌาน จนถึงจตุตถฌาน
กสิณ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ ๑ รวมบัญญัติกรรมฐาน ๑๒ นี้ เป็นอารมณ์ของรูปปัญจมฌาน
จบจําแนกสมถกรรมฐาน ๔๐
การปรากฏของอภิญญา
ตามธรรมดาการเกิดขึ้นแห่งรูปปัญจมฌานนั้น จะเกิดในครั้งแรกก็ดี ขณะที่ เข้าฌานสมาบัติอยู่ก็ดี ย่อมมีอารมณ์จํากัดแน่นอน คือ บัญญัติธัมมารมณ์ ซึ่งได้แก่ กสิณบัญญัติ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ ๑ รวม ๑๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น สําหรับ รูปปัญจมฌานที่เกิดขึ้นโดยความเป็นอภิญญานั้นมี ได้จํากัดอารมณ์ คือ รับอารมณ์ ๖ ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติได้หมด แล้วแต่การอธิษฐาน ของอภิญญาลาภีบุคคลเมื่อออกจากปาทุกฌานแล้ว ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงกล่าวว่า อภิญญาวเสน ปวตฺตมาน ฯลฯ รูปาที่สุ อารมุมเณ ยการหมป์เปติ ฯ
อภิญญา หมายความว่า ปัญญาที่มีการรู้ในอารมณ์ ๖ เป็นพิเศษ เมื่อ แยกบทแล้ว ได้ ๒ บท คือ อภิ + ญา ธาตุ อภิ แปลว่า พิเศษ ญา แปลว่า รู้ในอารมณ์ ๖ ดังแสดงวจนถะว่า “วิเสสโต ชานาติ : อภิญญา” ปัญญาใต ย่อมรู้ในอารมณ์ ๖ เป็นพิเศษ ฉะนั้น ปัญญานั้น ชั่วว่า อภิญญา หมายความว่า ปัญญาที่ประกอบในรูปปัญจมฌานที่มีความรู้ความสามารถอย่างน่าอัศจรรย์ เนื่องมา จากสมาธิที่มีกําลังแก่กล้าอย่างเยี่ยมนี้เองเรียกว่า อภิญญา เป็นการเรียกโดยตรง ส่วนรูปปัญจมฌานจิตที่เรียกว่า อภิญญาจิตนั้น ก็เพราะเกิดพร้อมกันกับอภิญญา เป็นการเรียกโดยอ้อม
กรรมฐานที่ให้ได้อภิญญา
ในบรรดากรรมฐานทั้งหมด การเจริญกสิณ ๑๐ เท่านั้นที่จะให้ได้อภิญญา ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. สมาธิในรูปปัญจมฌานที่เกิดจากการเจริญกสิณ ๑๐ นั้น มีกําลังแรงกล้า ยิ่งกว่ากรรมฐานอีก ๑๖ อย่างที่เหลือ
๒. ตามธรรมดาผู้ที่จะได้อภิญญานั้นจะต้องได้สมาบัติ ๙ คือ รูปฌาน และ อรูปฌาน เว้นแต่ผู้ที่มีบารมีเป็นพิเศษเท่านั้น ฉะนั้น รูปปัญจมฌานลาภีบุคคลก่อนที่จะ เจริญอรูปฌาน ต้องทําการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่ได้มาจากกสิณ ๙ (เว้นอากาสกสิณ) โดยบริกรรมว่า อากาใสๆ อรูปฌานขั้นที่หนึ่งจึงจะเกิดได้ ถ้าไปเจริญกรรมฐานอื่น ๆ แทน อรูปฌานขั้นต้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้แหละ การเจริญกสิณ ๑๐ เท่านั้น จึงจะให้สําเร็จอภิญญา
ผู้ที่ไม่ได้สมาบัติ ๙ แต่ก็ได้อภิญญาด้วยอํานาจบารมี
ผู้ที่ไม่ได้สมาบัติ ๙ แต่ได้อภิญญาด้วยอํานาจบารมีนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๒ พวก คือ ปุถุชนฌานลาภี และพระอริยบุคคล ใน ๒ จําพวกนี้ ผู้ที่เคยได้อภิญญาในภพ ก่อนที่ใกล้กันกับภพนี้ เมื่อมีการเจริญกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ต้องได้อรูปฌาน ๔ ได้แต่เพียงรูปฌาน ๕ อภิญญาก็เกิดได้ดังเช่น พระดาบส ๒๔,๐๐๐ รูปซึ่งเป็นสานุ ศิษย์ของพระสุรุจิดาบสใหญ่ ที่ได้มาเป็นพระสารีบุตรในศาสนาของพระสมณโคดมนี้ เมื่อท่านเหล่านั้นทําการเจริญกสิณจนได้สําเร็จรูปฌาน ๕ แล้วอภิญญาก็สําเร็จด้วย ทั้งนี้ก็เพราะท่านเหล่านั้นเคยได้อภิญญาในภพก่อนที่ใกล้กันกับภพนี้นั้นเอง
พระอริยบุคคลบางท่าน เมื่อได้บรรลุมรรคผลแล้ว ปัญญาที่ประกอบกับ มรรคจิตนั้นมีอํานาจที่เกี่ยวกับอภิญญาอยู่ด้วย หากแต่ยังมิใช่เป็นตัวอภิญญาเท่านั้น เมื่อมีความประสงค์จะทําอภิญญาเวลาใด เวลานั้นรูปปัญจมฌานที่มีตัวอภิญญาก็เกิดขึ้น ความประสงค์ที่อธิษฐานไว้ก็สําเร็จพร้อมไปด้วย อภิญญาชนิดนี้ได้ชื่อว่า มัคค สิทธิอภิญญา ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจบารมีที่เคยได้อภิญญามาแต่ภพก่อนใกล้กันกับภพนี้ หรือ ด้วยอํานาจที่ได้ปรารถนาไว้ มัคคสิทธิอภิญญามีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. เหฏฐิมมัคคีสิทธิอภิญญา อภิญญาที่สําเร็จพร้อมด้วยมรรคเบื้องต่ำ ๓
๒. อรหัตตมัคคสิทธิอภิญญา อภิญญาที่สําเร็จพร้อมด้วยอรหัตตมรรค ผู้ที่ได้เหฏฐิมมัคคสิทธิอภิญญานั้น มีตัวอย่าง คือ ภิกษุ ๕๐๐ รูปที่ได้สดับ ฟังพระธรรมเทศนาเรื่อง กุณาลชาดก ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงจบลง ก็ได้สําเร็จโสดาปัตติมรรคพร้อมด้วยอภิญญา ดังที่มีเรื่องแสดงใน มหาสมัยสูตรอรรถกถา ผู้ที่ได้ อรหัตตมัคคสิทธิอภิญญานั้น มีตัวอย่าง คือ พระอานนทเถระ ขณะที่ท่านได้สําเร็จ อรหัตตมรรคนั้น อภิญญาก็ทําสําเร็จพร้อมไปด้วย
แนวทางให้ได้อภิญญาสําหรับผู้ที่ได้สมาบัติ ๙ แล้ว
ผู้ที่ได้สมาบัติ ๙ แล้ว ถ้าประสงค์จะทําอภิญญา ก็ต้องฝึกฝนสมาธิให้ชํานาญ ในการเพ่งกสิณ ๘ (เว้นอากาสกสิณ อาโลกกสิณ) และการเข้าสมาบัติ ๙ ด้วยวิธี ฝึกสมาธิโดยอาการ ๑๔ อย่าง คือ
๑. กสิณานุโลมโต การเข้าฌาน โดยมีการเพ่งกสิณไปตามลําดับหลายร้อยครั้ง
๒. กสิณปฏิโลมโต การเข้าฌานที่มีการเพ่งกสิณ โดยการย้อนกลับหลายร้อยครั้ง
๓. กสิณานุโลมปฏิโลมโต การเพ่งกสิณแต่ต้นจนถึงที่สุดไปตามลําดับ แล้ว กลับเพ่งจากที่สุดย้อนมาหาต้น ในการเข้าฌานนั้น ๆ หลายร้อยครั้ง
๔. ฌานานุโลมโต การเข้าฌานตามลําดับแห่งสมาบัติ ๙ หลายร้อยครั้ง
๕. ฌานปฏิโลมโต การเข้าฌานย้อนจากปลายมาหาต้นตามลําดับแห่งสมาบัติ ๙ หลายร้อยครั้ง
๖. ฌานานุโลมปฏิโลมโต การเข้าสมาบัติ ๙ ไปตามลําดับ และย้อนกลับ หลายร้อยครั้ง
๗. มานุกกันติกโต การเข้าสมาบัติ ๙ โดยมีการข้ามฌานไปตามลําดับ แห่ง ฌานหลายร้อยครั้ง
๘. กสิณ กนติกโต การเข้าสมาบัติโดยมีการเพ่งกสิณ ข้ามไปตามลําดับ แห่งกสิณหลายร้อยครั้ง
๙. ฌานกสิกกันติกโต การเข้าฌาน การเพ่งกสิณ ที่มีการข้ามไปตาม ลําาดับแห่งฌานและตามลําดับแห่งกสิณหลายร้อยครั้ง
๑๐. องฺคสงฺกนฺติโต การเพ่งกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเข้ารูปฌาน ๕ โดยการก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลําดับหลายร้อยครั้ง
๑๑. อารมมณสงฺกนฺติโต การเข้าปฐมฌานเป็นต้น ที่มีการเปลี่ยนอารมณ์ กรรมฐาน คือ เปลี่ยนย้ายการเพ่งกสิณทั้ง ๘ ไปตามลําดับหลายร้อยครั้ง
๑๒. องการมุมแสงฺกนฺติโต การเข้าฌาน และการเพ่งอารมณ์กรรมฐานไม่ ให้ซ้ํากันไปตามลําดับแห่งฌานและลําดับแห่งกสิณหลายร้อยครั้ง
๑๓. องควรฏฐาปนโต การพิจารณากําหนดรู้องค์ฌานไปตามลําดับแห่ง สมาบัติ 8 หลายร้อยครั้ง
๑๔. อารมฺมณววฏฐาปนโต การพิจารณากําหนดรู้อารมณ์กรรมฐานแห่ง สมาบัติ ๕ หลายร้อยครั้ง
อธิบาย
ข้อ ๑. หมายความว่า การเพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน หรือรูปฌานอื่น แล้วออกมาเพ่งอาโปกสิณ แล้วกลับเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก ต่อไปออก มาเพ่ง เตโชกสิณ แล้วกลับเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก เปลี่ยนการเพ่งเรื่อย ไปจนกระทั่งถึงโอทาตกสิณ แต่ฌานที่เข้านั้นคงเป็นอย่างเดิม เรียกว่า สมาธิโดยลําาดับแห่งการเพ่งกสิณ
การอบรม
ข้อ ๒. การเพ่งโอทาตกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นเสร็จแล้วออก มาเพ่งโลหิตกสิณ แล้วเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก เสร็จแล้วออกมาเพ่งปีตกสิณ แล้วกลับเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก เปลี่ยนการเพ่งย้อนกลับเรื่อยไปอย่างนี้จนกระทั่งถึงปถวีกสิณ แต่ฌานที่เข้านั้นคงเป็นอย่างเดิม เรียกว่า การอบรมสมาธิที่มีการ เพ่งกสิณโดยการย้อนกลับ
ข้อ ๓. การเพ่งปัถวีกสิณ เป็นต้นไปตามลําดับจนถึง โอทาตกสิณ ตามข้อ ๑ แล้วก็เพ่งโอทาตกสิณ เป็นต้น นั้นย้อนกลับมาตามลําดับจนถึงปถวีกสิณตามข้อ ๒ แต่ฌานที่เข้านั้นต้องเป็นอย่างเดิมทุกๆ ครั้งไป เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเพ่ง กสิณโดยอนุโลมและปฏิโลมในการเข้าฌานนั้น
ข้อ ๔. การเข้าฌานตั้งแต่ ปฐมฌาน เรื่อยไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญาย ตนฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าฌานไปตามลําดับแห่งสมาบัติ ๙
ข้อ ๕. การเข้าฌานจาก เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรื่อยมาตามลําดับ จนถึงปฐมฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าย้อนจากปลายมาหาต้นตามลําดับ แห่งสมาบัติ ๘
ข้อ ๖. การเข้าฌานตั้งแต่ ปฐมฌาน เรื่อยไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญาย แล้วก็เข้าย้อนกลับมาหาต้นโดยเข้าตั้งแต่ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรื่อยมาจนถึงปฐมฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าสมาบัติ ๙ ไปตามลําดับ และย้อนกลับเพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าตติยฌาน
ข้อ ๗. เพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน เพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปัญจมฌาน เพื่อออกจากปัญจมฌานแล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติที่ เพิกจากปถวีกสิณเป็นอารมณ์ แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญ จายตนฌานแล้วก็ทําการพิจารณานัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ แล้วเข้าอากิญจัญญาย นฌาน ส่วนกสิณที่เหลือ ๗ และการเข้าก็คงเป็นไปในทํานองเดียวกันนี้เรียกว่า การอบรมสมาธิโดยการข้ามฌานไปตามลําดับ
ข้อ ๘. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโชกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งนีลกสิณ เข้าปฐมฌาน เพ่งโลหิตกสิณเข้าปฐมฌาน การเข้ารูปฌานที่เหลือ ๔ ก็คงเป็นเช่น เดียวกัน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเพ่งกสิณข้ามไปตามลําดับแห่งกสิณ
ข้อ ๙. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโชกสิณเข้าตติยฌาน เพ่งนีลกสิณ เข้าปัญจมฌานเมื่อออกจากปัญจมฌานแล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติที่เพิกจากนีลกสิณ แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้วก็เพ่งโลหิตกสิณ โดยการเพิกปฏิภาคนิมิตออกคงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่จะพิจารณา
ต่ออากาสบัญญัตินี้ คงกลับไปสนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของ ตนที่ดับไปนั้นด้วยการพิจารณาว่า นตฺถิ กิญจิ ๆ แล้วก็เข้าอากิญจัญญายตนฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าฌาน การเพ่งข้ามไปตามลําาดับแห่งฌานและ ลําาดับแห่งกสิณ
ในข้อ ๙. นี้ ในปรมัตถทีปนีมหาฎีกา ท่านได้แสดงการเพ่งกสิณ และการเข้า ฌานข้ามไปตามลําดับนี้ เป็นพิเศษออกไปอีกเล็กน้อย คือ เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโชกสิณเข้าตติยฌาน เพ่งนีลกสิณเข้าปัญจมฌาน เมื่อออกจากปัญจมฌานแล้วก็ ทําการพิจารณาอากาสานัญจายตนฌาน ที่เคยเกิดในสันดานของตนในภพนี้แล้วเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน เสร็จแล้วออกมาพิจารณาอากิญจัญญายตนฌานที่เคยเกิดใน สันดานของตนในภพนี้ แล้วเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เสร็จแล้วออกมา พิจารณานัตถิภาวบัญญัติเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกมาเพ่งปีตกสิณโดยการเพิก ปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติเข้าอากาสานัญจายนฌาน ออกมาเพ่งวาโยกสิณเข้าจตุตถฌาน ออกมาเพ่งอาโปกสิณเข้าทุติยฌาน
การเข้าฌาน การเพ่งกสิณ ด้วยวิธีข้ามทั้งอนุโลมและปฏิโลมตามนัยปรมัตถ ทีปนีมหาฎีกานี้ ความสําคัญมีอยู่ว่าในระหว่างที่กระทําอยู่อย่างนี้หลายร้อยครั้งนั้นเพื่อ ที่จะได้มีการเพ่งกสิณให้ครบทั้ง ๘ อย่างนั้นเอง
ข้อ ๑๐. เพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน เป็นต้นจนถึง ปัญจมฌาน โดย การก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลําดับ และการเข้ารูปฌานต่อไปที่มีการเพ่งกสิณที่เหลือ ๗ ก็คงเป็นไปในทํานองเดียวกันนี้เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้ารูปฌาน โดยการ ก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลําาดับ
ข้อ ๑๑. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งอาโปกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโช - กสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งวาโยกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งนีลกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งปีต- กสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งโลหิตกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งโอทาตกสิณเข้าปฐมฌาน ตั้งแต่ ทุติยฌาน เป็นต้น จนถึง ปัญจมฌาน ก็มีการเปลี่ยนเพ่งองค์กสิณดังนี้ทุก ๆ ฌานไป เรียกว่า การอบรมสมาธิโดยการเปลี่ยนเพ่งองค์กสิณทั้ง ๘ ตามลําดับ
ข้อ ๑๒. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งอาโปกสิณเข้าทุติยฌาน เพ่งเตโช - กสิณเข้าตติยฌาน เพ่งวาโยกสิณเข้าจตุตถฌาน เพ่งนี้ลูกสิณเข้าปัญจมฌาน เพ่ง ปีตกสิณโดยการเพิกปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติแล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติ นั้นเข้าอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อออกมาก็เพ่งโลหิตกสิณที่มีการเพิกปฏิภาคนิมิต ออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่จะพิจารณาในอากาสบัญญัตินี้ คงกลับไปสนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของตนที่ดับไปนั้นด้วยการ พิจารณาว่า (วิญญาณ อนนต์ ๆ) แล้วเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อออกมาก็เพ่ง โอทาตกสิณที่มีการเพิกปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่ จะพิจารณาในอากาศบัญญัติ นี้ คงกลับไปสนใจในนัตถิภาวบัญญัติด้วยการพิจารณาว่า (นตฺถิ กิญจิ ๆ) แล้วเข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อออกมาก็เพ่งอาโลกกสิณที่มี การเพิกปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่จะพิจารณาใน อากาสบัญญัตินี้ คงกลับไปสนใจในอากิญจัญญายตนฌานที่เกิดในสันดานของตนที่ดับ ไปนั้นด้วยการพิจารณาว่า (สันติ ปณีตๆ) แล้วเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
หมายเหตุ ในตอนต้นได้กล่าวว่าใช้แต่องค์กสิณ ๘ มีปถวีกสิณ เป็นต้น จนถึงโอทาตกสิณเท่านั้น ในการอบรมสมาธินี้ แต่ในข้อ ๑๒. ได้กล่าวว่า มีการเพ่ง อาโลกกสิณ ก่อนที่จะเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ที่เป็นดังนี้ก็เพราะการเพ่งกสิณ ทั้ง ๘ นี้ได้หมดลงเพียงแค่อากิญจัญญายตนฌานซึ่งเป็นฌานสมาบัติอันดับที่ ๘ แต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นยังเหลืออยู่ เหตุนี้ก่อนที่จะเข้าเนวสัญญานาสัญญาย ตนฌาน จึงจําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนไปเพ่งอาโลกกสิณ แต่ถ้าฌานลาภีบุคคลนั้นได้รูป ฌานตามจตุกกนัย องค์กสิณ ๘ กับฌานสมาบัติก็ครบกันพอดี มีต้องไปเพ่งอาโลกก สิณแต่อย่างใด อนึ่งการที่จัดองค์กสิณแต่เพียง ๘ นั้น ก็เพราะว่าอาโลกกสิณนี้ท่าน สงเคราะห์เข้าในโอทาตกสิณอยู่แล้ว ส่วนอากาสกสิณนั้นมิสามารถที่จะช่วยอุดหนุน แก่การเข้าอรูปฌาน ฉะนั้น จึงมิได้นํามากล่าวไว้ในที่นี้ แต่ก็สามารถช่วยอุดหนุนแก่ การเข้ารูปฌาน ทําการเพ่งอบรมสมาธิเพื่อประโยชน์ ในอันที่จะได้เนรมิตอากาศให้เกิด ขึ้นภายใต้พื้นแผ่นดินและในน้ํา ดังนั้น แม้ว่าท่านอรรถกถาจารย์จะไม่ได้กล่าวไว้แต่ ท่านฎีกาจารย์ได้แนะนําว่าใช้ได้เหมือนกัน
ข้อ ๑๓. ปฐมฌานนี้มีองค์ฌาน ๕ ประกอบ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ทุติยฌานมีองค์ฌาน ๔ ประกอบ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ ประกอบ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา จตุตถฌานมีองค์ฌาน ๒ ประกอบ ได้แก่ สุข เอกัคคตา ปัญจมฌานมีองค์ฌาน ๒ ประกอบ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เหล่านี้มีองค์ฌาน ๒ ประกอบ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา เรียกว่า การอบรมสมาธิโดยการพิจารณาองค์ฌานไปตามลําาดับแห่งสมาบัติ ๙ ข้อ
๑๔.ปฐมฌานที่เกิดขึ้นที่มีปถวีกสิณเป็นอารมณ์ ก็พิจารณาว่า ปถวีกสิณ นี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน ถ้ามีอาโป หรือ เตโชกสิณ เป็นต้นจนถึง โอทาตกสิณ ก็พิจารณาว่า อาโป เตโชกสิณ เป็นต้น หรือ โอทาตกสิณนี้ เป็นอารมณ์ของ ปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้นจนถึง ปัญจมฌาน ที่เกิดขึ้นจากการเพ่งกสิณนั้น ก็คง มีการพิจารณาไปในทํานองเดียวกันกับปฐมฌานเกิด เมื่ออากาสานัญจายตนฌานเกิดวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้นแล้ว ก็พิจารณาว่าอากาสบัญญัตินี้เป็นอารมณ์ของอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อ ก็พิจารณาว่า อากาสานัญจายตนฌานนี้เป็น อารมณ์ของวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่ออากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้นแล้ว ก็พิจารณาว่า นัตถิภาวบัญญัตินี้เป็นอารมณ์ของอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตน ฌานเกิดขึ้นแล้ว ก็พิจารณาว่า อากิญจัญญายตนฌาน นี้เป็นอารมณ์ของเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการพิจารณากําหนดรู้อารมณ์กรรม ฐานแห่งสมาบัติ ๙
เมื่อสรุปความในหลัก ๑๔ อย่างนี้แล้ว จะเห็นว่า จุดประสงค์มีอยู่อย่างเดียว คือ จะให้ฌานลาภีบุคคลมีความชํานาญในการเพ่งกสิณ การเข้าฌานสมาบัติ อันเป็น สิ่งสําคัญที่จะช่วยทําจิตให้มีอํานาจโดยมีสมาธิกล้าแข็งเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นเหตุที่จะทําให้ รูปปัญจมฌานอภิญญาเกิดขึ้น ดังนั้น การอบรมฝึกฝนสมาธิให้กล้าแข็งนี้ ฌานลาภ- บุคคลจะมีวิธีอื่นเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ มีเป็นการขัดข้องแต่ประการใด
อภิญญา ๒ ประเภท
อภิญญานี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ ประเภท คือ โลกียอภิญญา และ โลกุตตรอภิญญา ใน ๒ ประเภทนี้ โลกียอภิญญา เมื่อนับโดยพิสดารแล้วมี ๗ คือ
๑. อิทธิวิธอภิญญา
๒. ทิพพโสตอภิญญา
๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา
๕. ทิพพจักขุอภิญญา
๖. ยถากัมมูปคอภิญญา
๗. อนาคตั้งสอภิญญา
พระอนุรุทธาจารย์ได้กล่าวไว้แต่เพียง ๕ ประการ หาได้กล่าวถึงยถากัมมูป คอภิญญาและ อนาคตั้งสอภิญญาไม่ ทั้งนี้ก็เพราะอภิญญาทั้ง ๒ นี้สงเคราะห์ในทิพพจักขุอภิญญาอยู่แล้ว กล่าวคือ ทิพพจักขุอภิญญานี้ เมื่อสามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายที่ เกิดอยู่ในภูมิต่าง ๆ ตามอํานาจแห่งการกระทําของตนก็เรียกว่า ยถากัมมูปคอภิญญา และ เมื่อสามารถรู้เห็นเรื่องต่างๆ ที่จะบังเกิดในกาลข้างหน้าก็เรียกว่า อนาคตั้งสอภิญญา โลกียอภิญญา ๕ หรือ ๗ นี้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในรูปาวจรปัญจมฌาน กุศลและกริยา
สําหรับโลกุตตรอภิญญานั้นมีอยู่อย่างเดียว คือ อาสวักขยอภิญญา อภิญญา ที่สามารถทําลายกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปจากขันธสันดาน องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิกที่ในอรหัตตมรรคจิต ๑ เมื่อรวมแล้วจึงเป็น อภิญญา ๖
แสดงการทําอภิญญาต่างๆ
๑. อิทธิวิธอภิญญา
การแสดง อธิฏฐานาอิทธิ นั้น เพ่งกสิณแล้วเข้าป่าทุกฌาน เพื่อปลุกสมาธิ ที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง แล้วออกมาทําการอธิษฐานตามที่ต้องการ เสร็จแล้วกลับเข้าปาทุก ฌานใหม่ เมื่อออกมาอภิญญาวิถีที่มีปรมัตถ์และบัญญัติเป็นอารมณ์ ตรงกับที่ตนได้ อธิษฐานไว้ก็เกิดขึ้น คือ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อภิญญาชวนะ ๑ ครั้ง ครั้นภวังคจิตเกิดต่อไป ฤทธิ์ต่างๆ ที่ตนประสงค์ก็สําเร็จขึ้น ในขณะเดียวกับที่อภิญญาจิตเกิดนั้นเอง แล้วตั้งอยู่เป็นไป ตามที่ได้กําหนดเวลาไว้ เมื่อถึงเวลาก็อันตรธานไปเอง โดยมิต้องทําอภิญญาให้หายไป แต่อย่างใด ถ้ามิได้กําหนดเวลาเอาไว้ ฤทธิ์นั้นก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่หายไป เมื่อต้องการ ให้หายไป ก็ต้องทําอภิญญาใหม่ โดยเข้าปากฌาน ออกจากปาทกฌานแล้ว ก็ทํา การอธิษฐานว่าขอให้ฤทธิ์ที่ตั้งอยู่นี้สูญสิ้นไป แล้วกลับเข้าปาทุกฌานอีก เมื่อออกมา อภิญญาวิถีที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้น คือ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวา ราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อภิญญาชวนะ ๑ ครั้ง แล้วภวังคจิต เกิดต่อไป ฤทธิ์ที่ตั้งอยู่ก็อันตรธานไปในขณะเดียวกับที่อภิญญาชวนะเกิดนั้นเอง
อธิษฐานาอิทธินี้ ย่อมให้สําเร็จโดยประการต่างๆ คือ ทําตนเอง หรือ คนอื่น เพียงคนเดียวให้เป็นหลายร้อยหลายพันคน แต่ละคนๆ ก็มีกิริยาอาการต่างๆ กันไป ส่วนตนเอง หรือ คนอื่นนั้นคงเป็นอยู่อย่างเดิม การที่จะให้สําเร็จเป็นไปได้โดยประการ ต่าง ๆ นั้น ข้อสําคัญอยู่ที่การอธิษฐานของผู้แสดง เพราะอธิษฐานาอิทธินี้กว้างขวาง มาก ถ้าต้องการแสดงฤทธิ์อันใด ก็เพ่งกสิณให้ตรงกับเรื่องที่ตนประสงค์ ฤทธิ์ต่างๆ ก็จักเกิดขึ้นดังเช่น
ก. ถ้าประสงค์จะดําดินลงไป แล้วโผล่ขึ้นมาจากดินเหมือนกับดําน้ํา แล้วโผล่ขึ้นมาจากน้ํา ผู้นั้นจะต้องเพ่งอาโปกสิณแล้วอธิษฐานว่า ให้แผ่นดินนี้จงเป็นน้ํา
ข. ถ้าประสงค์จะเดินจงกรมภายในภูเขา กําแพง หรือ แผ่นดิน ก็ให้เพ่ง อากาสกสิณ แล้วอธิษฐานว่า ขอให้ภายในภูเขา กําแพง หรือ แผ่นดิน จงมีช่องว่าง
ค. ถ้าประสงค์จะเหาะขึ้นไป และเดินจงกรมในท้องอากาศ เหมือนกับ เดินจงกรมบนพื้นดิน ก็เห่งปถวีกสิณและอธิษฐานว่า ขอให้ท้องอากาศจงเป็นพื้นแผ่นดิน
ฆ. ถ้าประสงค์จะเหาะขึ้นไปในอากาศเหมือนกับเครื่องบิน ก็เพ่งวาโยกสิณ แล้วอธิษฐานว่า ขอให้ตัวของข้าพเจ้าเหาะไปได้ จึงเหาะไปได้เร็ว หรือ ช้านั้น อยู่ที่อธิษฐาน ถ้าต้องการจะไปที่หนึ่งที่ใดให้ถึงโดยเร็วพร้อมกับอภิญญาจิต เหมือน กับการไปของโลหิตดาบส ก็ให้อธิษฐานว่า ขอให้ตัวของข้าพเจ้าเบาเหมือนกับจิต
ง. ถ้าประสงค์จะให้ผู้อื่นแลเห็นนิรยภูมิ ก็เพ่งอากาสกสิณ แล้วอธิษฐาน ว่า ขอให้พื้นแผ่นดินนี้จงเป็นอากาศ ถ้าจะให้ผู้อื่นเห็นเทวภูมิ พรหมภูมิ ก็เพ่ง อากาสกสิณแล้วอธิษฐานว่า ขอให้สถานที่เหล่านี้จงปรากฏให้แลเห็นได้
สําหรับอานุภาพแห่งกสิณ ๑๐ นั้น ได้แสดงไว้แล้วในตอนต้นแห่งปกรณ์นี้
การแสดง วิกพพนาอิทธินั้น ตัวของตนเองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามฤทธิ์ เช่น จะแสดงเป็นพระยานาค ร่างกายของตนก็กลายเป็นพระยานาค จะแสดงเป็นภูเขา ร่างกายของตนก็เปลี่ยนแปลงเป็นภูเขาไป ส่วนการเพ่งกสิณ เข้าปาทุกฌาน อธิษฐาน ตลอดจนถึง การเกิดขึ้นของอภิญญาวิถีเหล่านี้ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เป็นไป ทํานองเดียวกันกับการแสดง อธิษฐานาอิทธิ
การแสดง มโนมยาอิทธิ นั้น ผู้แสดงจะแสดงให้เป็นคนๆ เดียว หรือ หลายร้อยหลายพันคนก็ตาม ร่างกายของผู้นั้นคงเป็นปกติอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่น การแสดงของท่านจูฬบัณฑก แต่การแสดงฤทธิ์ชนิดนี้ผู้แสดงจะต้องอธิษฐาน ๒ ครั้ง ทําอภิญญาก็ ๒ ครั้ง จึงจะสําเร็จ คือ ครั้งแรกเพ่งกสิณเข้าปาทุกฌาน แล้วออกมา อธิษฐาน ขอให้ภายในร่างกายของตนเป็นช่องอากาศ เสร็จแล้วกลับเข้าปากฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีเกิดสําเร็จเป็นช่องอากาศขึ้นภายในตนในขณะนั้นเอง จากนั้นก็เพ่ง กสิณเข้าปาทกฌานอีกเป็นครั้งที่สองแล้วออกมาอธิษฐานขอให้ตนเองมีเป็น ๒ คน หรือ หลายร้อยหลายพัน เสร็จแล้วกลับเข้าปาทกฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีเกิดปรากฏเป็นคนขึ้นมีจํานวนดังที่ตนได้อธิษฐานไว้
๒. ทิพพโสตอภิญญา การทําอภิญญาแต่ละอย่างๆ นั้น แม้ว่าฌานลาภ บุคคลจะได้อภิญญาก็ตาม หาใช่ว่าทําได้โดยทันทีทันใดไม่ ดังนั้นก่อนที่จะทําจึงต้อง ฝึกหัดในเรื่องที่เกี่ยวกับอภิญญานั้นๆ เสียก่อน เช่น ก่อนที่จะทําทิพพโสตอภิญญา ก็ต้องฝึกหัดฟังเสียงด้วยบริกรรมสมาธิ คือ เพ่งวาโยกสิณ หรือ อากาสกสิณ เข้า
ปาทุกฌาน แล้วออกมาแสวงหาเสียงที่มีอยู่ ณ ที่ต่างๆ ชั้นแรกน้อมใจนึกถึงเสียงของ ราชสีห์ ช้าง เสือ เหล่านี้ เป็นต้นที่มีอยู่ในป่า ซึ่งเป็นเสียงหยาบในที่ไกลด้วยประสาทหู แล้วก็นึกถึงเสียงละเอียดเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปโดยลําดับ ตั้งแต่เสียงหยาบๆ มีเสียงระฆัง ในวัด เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงสวดมนต์ท่องบ่นดัง ๆ ของภิกษุ สามเณร เสียง คุยกัน เสียงนก เสียงลม เสียงเท้า เสียงน้ําเดือด เสียงใบไม้ที่แห้งกรอบ เสียงมด เป็นต้น ไปในทิศต่าง ๆ มีทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ เบื้องล่าง เบื้องบน แม้ในทิศเล็กทั้ง 4 ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ด้วยบริกรรมสมาธิประกอบด้วยมหากุศลญาณ สัมปยุตต์ เมื่อได้ยินเสียงเหล่านี้ด้วยบริกรรมสมาธิแล้วจึงทําทิพพโสตอภิญญาต่อไป
การทําทิพพโสตอภิญญานั้น มีการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เกี่ยวกับวาโยกสิณ หรือ อากาสกสิณ แล้วขยายไปตามระยะที่ตนประสงค์จะฟัง ดังนั้น ถ้ามีการขยายปฏิภาค นิมิตให้กว้างออกไปจนจดขอบจักรวาล เบื้องบนจดเทวภูมิ พรหมภูมิ เบื้องต่ําจด นิรยภูมิแล้ว ก็สามารถได้ยินเสียงที่มีอยู่ ณ สถานที่ต่างๆ เหล่านั้นได้ทั้งหมด สับสนปะปนกันไป เมื่อมีความประสงค์จะฟังเฉพาะแต่เสียงใดเสียงหนึ่ง ให้อธิษฐานว่า ขอให้ได้ยินเฉพาะแต่เสียงนี้แล้วก็จะได้ยินแต่เสียงที่ต้องการ เช่น ต้องการได้ยินแต่เสียง ที่มีอยู่ภายในบริเวณบ้าน มีเสียงมด ไร ปลวก เท่านั้น ก็จักได้ยินเฉพาะดังประสงค์
การได้ยินเสียงที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปทั้งหมดนั้น รู้ความหมายก็มี ไม่รู้ความ หมายก็มี ฉะนั้น ถ้าต้องการรู้ความหมายของเสียงใดเสียงหนึ่งโดยชัดแจ้งแล้ว ก็ต้อง ทําปรจิตตวิชานนอภิญญาเพื่อรู้ถึงจิตใจเจ้าของเสียงนั้นก่อนว่ามีความประสงค์อันใด เมื่อรู้แล้วก็รู้ความหมายของเสียงนั้นๆ ด้วย
๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา การทําปรจิตตวิชานนอภิญญานี้ คือ เพ่งอาโลกกสิณ เข้าปากฌาน แล้วออกมาอธิษฐานขอให้รู้ถึงจิตใจของผู้นั้น เสร็จแล้วกลับเข้าปาทกฌานใหม่ ออกมาปรจิตตวิชานนอภิญญาวิถีก็เกิด สามารถรู้จิตใจของบุคคลทั้งหลายได้หมดตลอดจนถึงอรูปพรหม
เนื้อความการทําปรจิตตวิชานนอภิญญาที่นอกจากนี้ ได้แสดงไว้แล้วในการขยายความโลกียอภิญญา
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา ก่อนที่จะทําปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญานั้น ได้มีการฝึกหัดนึกทบทวนในการทํา การพูด การคิดต่างๆ ตลอตจนถึงสถานที่ที่ตน อยู่อาศัย โดยการเพ่งกสิณ ๓ มี เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเข้าปาทุกฌานเพื่อปลุกสมาธิที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง จากนั้นก็ออกมาทําการระลึกถึง กิจการต่าง ๆ ที่ตนได้กระทําไปทั้งสิ้น ตลอดจนถึงสถานที่ที่อยู่ นับแต่ขณะนั้นเป็นต้น ทวนถอยหลังเรื่อยไปโดยลําดับ จนถึงสมัยที่ตนยังอยู่ในครรภ์มารดา แล้วก็กลับน้อม นึกจากสมัยนั้นมาโดยลําดับจนถึงความเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยความเป็นปฏิโลมอนุโลม ด้วยบริกรรมสมาธิที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ถ้านึกไม่ได้ก็เข้าปาทุกฌาน ใหม่ แล้วออกมาทําการน้อมนึกไปในทํานองนี้อีก ทําเช่นนี้ จนกว่าจะนึกได้ แล้วจึง จะทําปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญาต่อไป
การทําปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญานี้ มีการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้กล่าวแล้ว โดยขยายให้กว้างแผ่ออกไปจนจดขอบจักรวาล แล้ว
เข้าปาทกฌานออกมาทําการอธิษฐานขอให้ได้รู้ถึงภพชาติของตนในปางก่อนตลอด จนถึงความเป็นอยู่นับจากภพที่แล้วเป็นต้น ถอยหลังไปโดยลําดับแล้วกลับเข้าปาก ฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีก็เกิด สําเร็จในการระลึกรู้ได้ดังที่ตนประสงค์ทุกประการ ถ้าอภิญญาวิถีไม่เกิด ก็กลับเข้าป่าทุกฌานอีก แล้วออกมาอธิษฐานใหม่ ทําอยู่อย่าง นี้จนอภิญญาวิถีเกิดขึ้น
ส่วนการที่จะรู้ถึงความเป็นไปของผู้อื่น โดยนับจากภพปัจจุบันถอยหลังเรื่อย ไปโดยลําดับ แล้วย้อนกลับมาใหม่จนถึงภพนี้นั้น ก็คงมีการปฏิบัติเช่นเดียวกัน เมื่อ อภิญญาวิถีเกิดก็รู้ได้ดังประสงค์ ตลอดจนถึงผู้นั้นได้เข้าสู่พระนิพพานแล้วก็สามารถรู้ ได้เช่นกัน แต่การรู้การเข้าสู่พระนิพพานของผู้อื่นนั้น มีพิเศษอยู่ว่า อภิญญาลาภี- บุคคลต้องเป็นพระอริยะจึง จะรู้ได้
อนึ่ง การระลึกรู้ถึงภพชาติในอดีตได้นั้น มีการระลึกรู้ได้ไม่เหมือนกัน คือ ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงระลึกรู้ได้โดยไม่มีจํากัดทั้ง ไม่ต้องนึกไปตามลําดับแห่งภพ และไม่ต้องค้นหาต้นและปลายของภพ คือ ปฏิสนธิ และ จุติแต่อย่างใด พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายระลึกได้ ๒ อสงไขยแสนมหากัป พระอัครสาวกระลึกได้ ๑ อสงไขยแสนมหากัป ท่านเหล่านี้มีต้องมีการนึกไปโดยลําดับ แห่งภพแต่อย่างใด เพียงแต่นึกค้นหาต้นและปลายของภพ คือ ปฏิสนธิ และ จุติ เท่านั้นก็รู้ได้ มหาสาวกทั้งหลายระลึกได้แสนมหากัป ปกติสาวกระลึกได้ระหว่างร้อย ถึงพันมหากัป แล้วแต่บารมีที่ได้สร้างสมมา ทั้งสองพวกนี้จะทําการระลึกนึกไปโดย ลําดับแห่งภพก็ได้ หรือ จะค้นหาต้นและปลายของภพนั้น ๆ คือ ปฏิสนธิ และ จุติก็ได้ ส่วนพวกเดียรถีย์นั้น ระลึกรู้ได้เพียง ๔๐ มหากัปเท่านั้น และต้องมีการนึกไปโดยลําดับ แห่งภพด้วย ต้องค้นหาต้นและปลายของภพนั้น คือ ปฏิสนธิ และ จุติด้วยจึงจะรู้ได้
๕. ทิพพจักขุอภิญญา ก่อนที่จะทําทิพพจักขุอภิญญานั้น ได้มีการฝึกหัดดู เสียก่อนโดยการเพ่งกสิณที่มีความสว่าง ได้แก่ เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเข้าป่าทุกฌาน เพื่อปลุกสมาธิที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เสร็จแล้วออก มาแสวงดูสิ่งต่าง ๆ ที่ปกปิดกําบังไว้มีอยู่ภายในบริเวณของตนด้วยบริกรรมสมาธิ ถ้า ยังไม่เห็นก็เข้าปากฌานใหม่ แล้วออกมาดูอีก ทําอยู่อย่างนี้จนกว่าจะเห็นได้ เมื่อ เห็นได้ด้วยบริกรรมสมาธิแล้วจึงจะ ทําทิพพจักขุอภิญญาต่อไป กสิณทั้ง ๓ อย่างนี้ ท่านอรรถกถาจารย์ยกย่องอาโลกกสิณว่า ดีที่สุด
การทําทิพพจักขุอภิญญานั้น มีการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณ ๓ อย่าง อย่าง ใดอย่างหนึ่งที่ได้กล่าวแล้ว โดยขยายให้กว้างแผ่ออกไปตามสถานที่ต่าง ๆ มี บ้านเรือน จังหวัด ประเทศ ทวีป จนถึงขอบจักรวาล เทวภูมิ พรหมภูมิ นิรยภูมิ เป็นต้น ตามที่ตนประสงค์จะดู แล้วเข้าปาทุกฌาน ออกมาทําการอธิษฐานขอให้เห็น สิ่งนั้น ๆ เสร็จแล้วก็เข้าปาทุกฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีก็เกิดมีการเห็นสิ่งนั้นๆ ได้ ดังที่ตนอธิษฐานไว้ ถ้าอภิญญาวิถีไม่เกิดก็กลับเข้าปาทกฌานอีก แล้วออกมาอธิษฐาน ใหม่ ทําเช่นนี้จนกว่าอภิญญาวิถีเกิดขึ้น
เนื้อความต่าง ๆ ที่นอกจากนี้ ได้แสดงไว้แล้วในการขยายความโลกียอภิญญา
๖.-๗. ยถากัมมูปคอภิญญา และ อนาคตั้งสอภิญญา อภิญญาทั้งสองนี้ กสิณที่ใช้เพ่งนั้นเป็นอย่างเดียวกับทิพพจักขุอภิญญา ส่วนเนื้อความนั้นก็มิได้มีอะไร
เป็นพิเศษไปอีก จึงเข้าใจตามความที่ได้แสดงไว้ในการขยายความโลกียอภิญญา
ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง
คําว่า “อิทธิ" ในบท อิทธิวิธอภิญญา นั้นแปลว่า ความสําเร็จ ท่านอรรถกถาจารย์ได้แสดงจําแนกความสําเร็จนี้ออกเป็น ๑๐ อย่าง คือ
๑. อธิฏฐานาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดจากการตั้งใจ
๒. วิภพพนาอิทธิ ฤทธิ์แปลงกายให้เป็นไปอย่างอื่น ดังเช่น พระโมคคัลลานะแปลงเป็นพระยานาค เป็นต้น
๓. มโนมยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดจากฌานสมาธิ ดังเช่น พระจุฬบัณฑก
๔. ญาณวิปผาราอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นทําการคุ้มครองให้พ้นจากอันตราย เนื่องด้วยอํานาจแห่งอรหัตตมรรคที่จักเกิดขึ้น ดังเช่น พระพากุลเถระ และ พระสังกิจจเถระ เป็นต้น
๕. สมาธิวิปผาราอิทธิ ฤทธิ์เกิดขึ้นป้องกันอันตราย เนื่องด้วยอํานาจสมาธิดังเช่น พระสารีบุตร นางอุตตรา นางสามาวดี
๖. อริยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งการเป็นพระอรหันต์ คือ ไม่ รู้สึกเกลียดในสิ่งที่น่าเกลียด ด้วยการแผ่เมตตาและการพิจารณาธาตุทั้ง ๔ และมีการ เกลียดต่อสิ่งที่น่ารักน่ายินดี ด้วยอํานาจแห่งการพิจารณาอสุภะและอนิจจะ
๗. กัมมวิปากซาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งผลของกรรม ดังเช่น นกบินไปได้ เทวดาและพรหมทั้งหลายเหาะได้ หายตัวได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ และ วินิปาติก เทวดา คือ นางยักขินีที่ชื่อว่า ผุสสะ มิตตะ ธัมมปุตตะ ที่เป็นมารดา ของปียังกะ อุตตระ เหาะได้ หายตัวได้ เหล่านี้เป็นต้น
๘. ปุญญวโตอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจของบุญ ดังเช่นพระเจ้าจักร พรรดิ์ทรงเหาะไปในทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยเสนาข้าราชบริพาร และโชติกเศรษฐีที่มี ปราสาทเป็นแก้วมณีผุดให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
๙. วิชชามยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจของวิชาอาคม ที่แสดงไว้ใน อาถรรพนเวทปกรณ์ ดังเงินวิชาธรเหาะได้ แสดงเป็นพลช้าง พลม้า พลเท้า พลรถ
ปรากฏในท้องอากาศให้คนทั้งหลายเห็นได้
๑๐. ตัตถหัตถสัมมาปโยคปัจจยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งความ พยายามค้นคว้าศึกษาพิสูจน์อย่างรอบคอบถี่ถ้วนโดยถูกต้อง ในด้านวัตถุสิ่งของนั้นๆ และการงานต่าง ๆ ตลอดจนถึงการปริยัติและปฏิบัติ ดังเช่นการประหาณนิวรณ์ด้วย ปฐมฌานเป็นต้น การประหาณกิเลสด้วยมรรคทั้ง ๔ ความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และอรรถกถา วิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ อักษร ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ยุทธศาสตร์ เหล่า นี้เป็นต้น
จบสมถกรรมฐานทีปนี
“กมุมฏฺฐานาน สงฺคโห - กมุมฏฐานสงฺคโห ปริจเฉทที่แสดงการรวบรวมกรรมฐานทั้งหมดชื่อว่า กรรมฐานสังคหะ
อธิบายบทโดยเฉพาะๆ ในคาถานี้
ภาวนา แปลว่า ธรรมที่ควรเจริญ คือ ให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสันดานของตน ชื่อว่า ภาวนา ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
“ภาเวตพฺพาติ = ภาวนา”
ธรรมที่บัณฑิตทั้งหลาย จึงทําให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและครั้งหลังๆ ให้ติดต่อกันเป็นนิจ จนถึงเจริญขึ้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภาวนา
การที่แสดงวจนัตถะ คือ เนื้อความของภาวนาดังนี้นั้น เพราะเป็นธรรมที่ อํานวยประโยชน์ให้แก่ผู้กระทําให้ได้รับความสุขกาย สุขใจ ทั้งในภพนี้และภพหน้า ตลอดจนกระทั่งพ้นจากวัฏฏสงสาร
ธรรมที่ชื่อว่า ภาวนา นี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. สมถภาวนา
๒. วิปัสสนาภาวนา
๑. สมถภาวนา “กิเลเส สเมตติ สมโถ” ธรรมใดทําให้กิเลสมีกามฉันทนิวรณ์ เป็นต้น สงบลง ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า สมถะ ได้แก่สมาธิ คือ เอกัคคตาที่ใน มหากุศลจิต ๘ และ รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต ๑
หรืออีกนัยหนึ่ง “จิตตํ สเมตติ = สมโถ” ธรรมใดทําให้จิตที่ไม่สงบ เนื่องมาจากการได้รับอารมณ์หลายๆ อย่าง สงบลงมาตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว ฉะนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า สมถะ ได้แก่ สมาธิ คือ เอกัคคตาที่ใน มหากริยาจิต ๘ และ รูปาวจรปฐมฌานกริยาจิต ๑
หรืออีกนัยหนึ่ง “วิตกกาทิ โอฬาริกธมฺเม สเมตติ = สมโถ” ใดทําให้องค์ฌานชนิดหยาบมีวิตก เป็นต้น สงบลง คือ ไม่ให้เกิด ฉะนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า สมถะ ได้แก่สมาธิ คือ เอกัคคตาที่ใน ทุติยฌานกุศล กริยา เป็นต้น จนถึง ปัญจมฌานกุศล กริยา
อธิบายในวจนัตถะทั้ง ๓ ข้อของสมถะตามลําดับ
๑.) ปุถุชนทั้งหลาย ที่กําลังเจริญสมถกรรมฐานอยู่นั้น ในเวลานั้นมหากุศล- จิตตุปบาทย่อมเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าผู้นั้นเป็นเหตุกปุถุชน และมีความพยายามอย่าง เพียงพอแล้วก็จะสามารถสําเร็จเป็นฌานลาบุคคล คือ รูปาวจรปฐมฌานกุศลย่อม เกิดขึ้น มหากุศลจิตตุปบาทและปฐมฌานกุศลจิตตุปบาท เหล่านี้ มีเอกัคคตาเจตสิก เป็นประธาน ท่านมุ่งหมายเอาเฉพาะเอกัคคตาเจตสิกดวงนี้แหละ จึงแสดงวจนัตถะว่า “กิเลเส สเมติติ = สมโถ”
๒.) ผู้ที่สําเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วแต่กลับมาเจริญสมถกรรมฐาน เพื่อที่จะให้ได้โลกียฌานนั้น ในเวลานั้นมหากริยาจิตตุปบาทย่อมเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนสําเร็จเป็น ฌานลาบุคคล คือ รูปาวจรปฐมฌานกริยาจิตตุปบาท ย่อมเกิดขึ้น มหากริยาจิตตุปบาท และ ปฐมฌาน กริยาจิตตุปบาทเหล่านี้ ไม่ได้ทําการประหาณกิเลสนิวรณ์แต่ประการใด หากแต่เกิดขึ้นทําให้จิตที่ไม่สงบ เนื่องมาจากการได้รับอารมณ์มากมายหลายประการ นั้นสงบลงมาตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว มหากริยาจิตตุปบาทและปฐมฌานกริยาจิตตุปบาทเหล่านี้มีเอกัคคตาเจตสิกเป็นประธาน ท่านมุ่งหมายเอาเฉพาะเอกัคคตาเจตสิกดวงนี้แหละ จึงแสดง วจนัตถะว่า “จิตต์ สเมตติ = สมโถ”
๓.) ปฐมฌานลาบุคคลที่เป็นปุถุชนและพระเสกขะ อเสกขบุคคล เหล่านี้ เมื่อเจริญสมถกรรมฐานต่อไป ฌานเบื้องบนมีทุติยฌานกุศล - กริยา เป็นต้น ย่อม เกิดขึ้นตามลําดับ ทุติยฌานจิตตุปบาทที่เป็นกุศล กริยา เป็นต้นนี้ ไม่ต้องทําการประ หากกิเลสนิวรณ์ให้สงบลงอีกแต่ประการใด หากแต่เกิดขึ้น ทําให้จิตใจมีสมาธิแก่กล้า ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลําดับ พร้อมกับทําการละองค์ฌานอย่างหยาบมีวิตก เป็นต้น ให้สงบลง กล่าวคือ ทุติยฌานสมาธิก็ละวิตกองค์ฌาน ตติยฌานสมาธิก็ละวิจารองค์ฌาน จตุตถ ฌานสมาธิก็ละปีติองค์ฌาน ปัญจมฌานสมาธิก็ละสุของค์ฌานให้สงบลงไปเป็นชั้นๆ ในทุติยฌานกุศล กริยาจิตตุปบาทเหล่านี้มีเอกัคคตาเจตสิกเป็นประธาน ท่านมุ่ง หมายเอาเฉพาะเอกัคคตาเจตสิกดวงนี้แหละจึงแสดงวจนัตถะว่า “วิตกกาทิ โอฬา ริกธมฺเม สเมตติ = สมโถ”
สมถะมี ๒ ประการ
๑.) ปริตตสมถะ การเจริญสมถกรรมฐานของบุคคลที่ยังไม่เข้าถึงอัปปนา ภาวนานั้น ชื่อว่า ปริตตสมถะ เพราะในขณะนั้นมีแต่มหากุศล หรือ มหากริยาชวนะ เท่านั้นที่เกิดขึ้น องค์ฌานที่ประกอบอยู่นั้นก็ยังมีกําลังอ่อนอยู่
๒.) มหัคคตสมถะ การเจริญสมถกรรมฐานของบุคคลที่เข้าถึง อัปปนา ภาวนา คือ มหัคคตฌาน ชื่อว่า มหัคคตสมถะ เพราะในขณะนั้นมหัคคตกุศล หรือ กริยาชวนะเท่านั้นที่เกิดขึ้น และองค์ฌานที่ประกอบอยู่นั้นก็มีกําลังมาก สามารถเข้าไป เพ่งในสมถอารมณ์อย่างแน่วแน่ ส่วนองค์ฌานที่ประกอบกับมหัคคตกุศลนั้นเล่า ก็มี กําลังมาก สามารถประหาณนิวรณ์ธรรม โดยวิกขัมภนะอีกด้วย
๒. วิปัสสนาภาวนา
“รูปาที่อารมุมเณสุ ปญญัตติยา จ นิจจ สุข อตฺต สุภ สัญญายจ วิเสเสน นามรูปภาเวน วา อนิจจาทิอากาเป็น วา ปสฺสติ = วิปสฺสนา”
ธรรมชาติใดย่อมเห็นแจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ มีรูปารมณ์ เป็นต้น โดยความเป็น นาม รูป ที่พิเศษนอกออกไปจากบัญญัติ โดยการละทิ้งสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติเสียสิ้น และย่อมเห็นแจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ มีรูปารมณ์ เป็นต้น โดยอาการเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ที่พิเศษนอกออกไปจากนิจจสัญญาวิปัลลาส สุขสัญญาวิปัลลาส อัตตสัญญาวิปัลลาส สุภสัญญาวิปัลลาสเสีย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศล มหากริยา
หรืออีกนัยหนึ่ง “ปญฺจกชนเธ วิวิเธน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ วิปสฺสนา”
ธรรมชาติใดย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่าง ๆ มี อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ใน มหากุศล มหากริยา
อธิบายในวจนัตถะข้อที่
ในวจนัตถะข้อที่ ๑ นี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ
“รูปาที่อารมุมเณสุ ปญญัตติยา วิเสเสน นามรูปภาเวน ปสฺสติ = วิปสฺสนา” ตอนหนึ่ง
“รูปาที่อารมุมเณสุ นิจจ สุข อตฺต สุภ สญฺญาย วิเสเสน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ = วิปัสสนา” ตอนหนึ่ง
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเนื่องมาจากคําว่า “วิปัสสนา” นั้นเอง กล่าวคือ วิปัสสนา นี้มีบทอยู่ ๒ บท เป็น “วิ” บทหนึ่ง “ปัสสนา” บทหนึ่ง “วี” แปลว่า พิเศษ “ปัสสนา” แปลว่า ความเห็นแจ้ง เมื่อรวมเข้าทั้งสองบทแล้วก็คงแปลว่า ความเห็นแจ้ง เป็นพิเศษ ดังแสดงวจนัตถะว่า “วิเสเสน ปสฺสติ - วิปสฺสนา” ธรรมชาติใด ย่อมเห็นแจ้งเป็นพิเศษ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิปัสสนา
การเห็นแจ้งเป็นพิเศษซึ่งเป็นตัววิปัสสนาปัญญานี้มีอยู่ ๒ ประการ คือ การ เห็นแจ้งเป็นพิเศษในอารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรากฎทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดย ความเป็นรูป นาม ประการหนึ่ง
การเห็นแจ้งเป็นพิเศษในอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยความเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ประการหนึ่ง
การเห็นเช่นนี้แหละจึงกล่าวว่ามีการเห็นเป็นพิเศษ เพราะว่า อารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ ในขณะแรก ๆ ล้วนแต่เป็นปรมัตถ์ อันได้แก่ รูป นาม ทั้งสิ้น แต่สัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ ไม่เห็น ในความเป็นไปของอารมณ์ เหล่านี้ว่า เป็นรูป เป็นนาม คงรู้คงเห็นที่เป็นไปในฝ่ายบัญญัติอย่างเดียว คือ เมื่อได้ แลเห็นรูปารมณ์ด้วยตา ก็รู้ว่าตนได้เห็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติ ได้ยินสัททารมณ์ ด้วยหู ก็รู้ว่าตนได้ยินเรื่องนั้น เรื่องนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติ ได้รับคันธารมณ์ด้วยจมูก ก็รู้ ว่าตนได้กลิ่นชนิดนั้น ชนิดนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติ ได้รับรสารมณ์ด้วยลิ้น ก็รู้ว่าตนได้ลิ้ม รสชนิดนั้น ชนิดนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติได้รับโผฏฐัพพารมณ์ด้วยกาย ก็รู้ว่าตนได้สัมผัส กับวัตถุชนิดนั้น ชนิดนี้ ซึ่งเป็นบัญญัติได้รับธัมมารมณ์ด้วยใจ ก็รู้ว่าเป็นหญิง เป็นชาย เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ดี เลว ผิด ถูก ดีใจ เสียใจ โง่ ฉลาด เลื่อมใส สงสาร รักใคร่ ซึ่งเป็นบัญญัติ
ความรู้ ความเห็นเป็นบัญญัติดังกล่าวมาแล้วนี้ ย่อมเป็นไปตามธรรมดา ส่วนความรู้ ความเห็นในอารมณ์ต่างๆ โดยความเป็นรูปนามนั้น เป็นความรู้ ความเห็น เป็นพิเศษ นี้เป็นคําอธิบายในวจนัตถะตอนที่ ๑ ที่แสดงไว้ว่า “รูปาที่อารมุมเณ ปญฺญตติยา วิเสเสน นามรูปภาเวน ปสฺสตีติ - วิปสฺสนา”
ส่วนการเห็นแจ้งเป็นพิเศษในอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยความเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ประการที่ ๒ นั้น คือเมื่ออารมณ์ ต่าง ๆ ที่เป็นภายนอกหรือภายในตนได้มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว แม้ว่าธรรมชาติของอารมณ์เหล่านี้จะมีสภาพเกิดดับประจําอยู่ก็จริง แต่หาได้รู้เห็นตาม ความเป็นจริง ตามสภาพของอารมณ์ที่มีการเกิดดับอยู่นั้นไม่ มีแต่ความรู้สึกว่าการเห็น การได้ยิน เป็นต้นนี้ตั้งอยู่เสมอโดยไม่ขาดสาย และอารมณ์ที่มาปรากฏเฉพาะหน้านั้น เล่าก็ตั้งอยู่เสมอ ไม่มีการดับไปและเกิดขึ้นใหม่ติดต่อกันแต่ประการใด ในขณะเดียวกัน นั้นเองก็มีความรู้สึกนึกคิดว่า อารมณ์อย่างนี้สวยงาม น่ารัก อย่างนี้ ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารัก เรื่องนี้ เมื่อจะเปรียบเทียบให้เห็นแล้วเหมือนกันกับความรู้สึกของผู้ที่กําลังดูภาพยนต์อยู่ คือ ในขณะนั้นมีแต่การเห็นภาพต่างๆ ที่สําเร็จเป็นบ้านเมือง ถนน หนทาง ต้นไม้ ภูเขา ตลอดจนกระทั่งสําเร็จในอิริยาบถใหญ่น้อยของคนหนึ่งๆ โดยครบถ้วน บริบูรณ์แล้ว แต่หาได้เห็นไม่ว่าภาพต่างๆ ก็ดี อิริยาบถใหญ่น้อยของคนหนึ่ง ๆ ที่กําลัง ปรากฏเป็นไปอยู่ก็ดี มีการติดต่อกันเป็นระยะ ๆ ไปตามลําดับของฟิล์มมากมายหลาย ร้อยหลายพันแผ่น หาใช่มีแต่เพียงแผ่นเดียวไม่ ข้อนี้ฉันใดอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏ เฉพาะหน้าทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เหมือนกันกับความเป็นไปของภาพยนต์ ความรู้สึกต่าง ๆ ของบุคคล ในขณะที่กําลังได้รับอารมณ์อยู่นั้น เหมือนกับความรู้สึก ของผู้ที่กําลังดูภาพยนต์อยู่
ความรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยความเป็น นิจจะ สุขะ อัตตะ สุภะ ดังกล่าวแล้วนี้ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศล ญาณสัมปยุตต์ก็มี ญาณวิปปยุตต์ก็มี แต่กุศลญาณสัมปยุตต์นี้ หาใช่ประกอบกับ วิปัสสนาปัญญาแต่ประการใดไม่ คงเป็นเพียงปัญญาสามัญทั่วๆ ไปเท่านั้น
สําหรับกุศลญาณสัมปยุตต์ที่ประกอบกับวิปัสสนาปัญญานั้น เมื่อได้รับอารมณ์ต่าง ๆ แล้วมีความรู้สึกได้ทันทีว่ามีความดับไป และเกิดขึ้นใหม่ติดต่อกันไป อย่างไม่ขาดสายโดยความเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ความเห็นเช่นนี้แหละ เป็นความเห็นที่พิเศษจาก นิจจะ สุขะ อัตตะ สุภะ ซึ่งมีเป็นประจําตามธรรมดา นี้เป็นคําอธิบายในวจนัตถะตอนที่ ๒ ที่แสดงว่า “รูปาที่อารมุมเณสุ นิจจ สุข อตฺต สุภ สญฺญาย วิเสเสน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ = วิปสฺสนา”
อธิบายในวจนัตถะข้อที่ ๒
ในวจนัตถะข้อนี้ คําว่า “วี” หมายความว่า ประการต่างๆ ประการต่าง ๆ นั้นได้แก่ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ “ปัสสนา” หมายความว่า การเห็นแจ้ง เมื่อรวมคําทั้งสองนี้เข้าด้วยกันแล้ว หมายความว่า การเห็นแจ้งโดยประการต่างๆ มี อนิจจะ เป็นต้น เพราะตามธรรมดา สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีความเข้าใจในขันธ์ ๕ คือ กาย ใจ การเสวยอารมณ์ การจําอารมณ์ การจัดแจงปรุงแต่งในอารมณ์ การรู้อารมณ์ เหล่า นี้ว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน อยู่ภายใต้บังคับบัญชา สวยงาม ล้วนแต่ เป็นความเห็น ความเข้าใจ ไปในฝ่ายวิปัลลาส ที่เป็นอกุศลบ้าง กุศลญาณสัมปยุตต์ บ้าง ญาณวิปปยุตต์บ้าง กุศลญาณสัมปยุตต์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับวิปัลลาสธรรมนี้ หาใช่ ประกอบกับวิปัสสนาปัญญา แต่ประการใดไม่ ส่วนกุศลญาณสัมปยุตต์ที่ประกอบกับ วิปัสสนาปัญญานั้น ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ดังนั้นจึงมีวจนัตถะแสดงว่า “ปญฺจกฺขนฺเธสุ วิวิเธน อนิจจาทิอากาเรน ปสฺสติ = วิปสฺสนา”
วิปัสสนามี ๓ ประการ
๑.) สงขารปริคฺคณฺหนกวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณที่มีการกําหนดรู้ใน สังขาร ธรรม รูป นาม
สมาบัติได้
๒.) ผลสมาบัติวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้าผลสมาบัติได้
๓.) นิโรธสมาบัติวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้านิโรธ
ในวิปัสสนาภาวนาทั้ง ๓ ประการนี้ สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา นั้น ไม่ ว่าจะเป็น ชนิด มันทะ หรือ ติกขวิปัสสนาก็ตาม เมื่อเข้าถึงความเป็นวุฏฐานคามิ นิวิปัสสนาแล้ว ก็ย่อมเป็นเหตุใกล้ที่จะให้ได้มรรคทั้งนั้น ต่างกันก็เพียงแต่ว่าได้สําเร็จ มรรคช้า หรือ เร็ว คือ ถ้าวิปัสสนาเป็นมันทะก็ให้สําเร็จมรรคช้า มรรคนั้นเรียกว่า ทันทาภิญญามรรค ถ้าวิปัสสนาเป็นติกขะก็ให้สําเร็จมรรคเร็ว มรรคนั้นเรียกว่า ขิปปาภิญญามรรค
ผลสมาปัตติวิปัสสนา นั้น จะต้องเป็นตึกขวิปัสสนาจึงจะเข้าถึงผลสมาบัติได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ติกขวิปัสสนานี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ ให้ผลจิตตุปบาทเกิดขึ้นได้ โดย ไม่ต้องอาศัยมรรคจิตตุปบาท เช่นเดียวกันกับ มรรคจิตตุปบาท ในมรรควิถีเป็นปัจจัย ช่วยอุปการะให้ผลจิตตุปบาทเกิด ๒-๓ ขณะต่อจากตน ฉันนั้น นี้มุ่งหมายเอาเพราะ ผู้ที่เริ่มเข้าผลสมาบัติใหม่ๆ เท่านั้น ถ้าผู้นั้นชํานาญในการเข้าผลสมาบัติแล้ว มันทวิปัสสนา ก็ได้เช่นเดียวกัน
ส่วน นิโรธสมาบัตติวิปัสสนา นั้นจะต้องเป็นวิปัสสนากลางๆ จะเป็นมันทะ หรือ ติกขวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ เพราะว่า นิโรธสมาบัตติวิปัสสนา นี้เป็น วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นสลับกันไปกับสมถะเรื่อยๆ ฉะนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคนันธวิปัสสนา
เนื่องด้วยวิปัสสนา มี ๓ ประการดังกล่าวมาแล้วนี้ ท่านอรรถกถาจารย์จึงได้ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา และ ปฏิสัมภิทามรรคอรรถกถา” ว่า
“วิปัสสนา ปเนสา ติวิธา โหติ สังขารปริคฺคณฺหนกวิปสฺสนา, ผลสมาบัติวิปัสสนา, นิโรธสมาบัติวิปัสสนาติ, ตตฺถ สังขารปริกคุณหน กวิปัสสนา มนทา วา โหตุ ติกขา วา มคฺคสฺส ปทฏฺฐานํ โหติเยว, ผล สมาปตฺติวิปัสสนา ติกขาว วฏฺฏติ มคฺคภาวนาสทิสา, นิโรธสมาบัติวิปัสสนา ปน นาติมนฺทนาติติกขา วัฏฏติ, ตสฺมา เอส นาติมนุทาย นาฬิกขาย วิปสฺสนาย เต สงฺขาเร วิปสฺสติ”
วิปัสสนาญาณนี้ มี ๓ อย่าง คือ สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา วิปัสสนา ญาณที่กําหนดรู้สังขารธรรม รูป นาม เพื่อจะได้มรรค ผลสมาปัตติวิปัสสนา วิปัสสนาญาณที่พิจารณา รูป นาม เพื่อจะเข้าผลสมาบัติ นิโรธสมาปัตติวิปัสสนา วิปัสสนาญาณที่มีการพิจารณามหัคคตธรรม เพื่อเข้านิโรธสมาบัติ
ในวิปัสสนาญาณทั้ง ๓ นั้น สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา วิปัสสนาญาณที่เป็น มันทะ หรือ ติกขะก็ตาม ล้วนแต่เป็นเหตุใกล้ให้ได้มรรคทั้งนั้น ผลสมาปัตติวิปัสสนา ต้องเป็นตึกขะอย่างเดียว จึงจะสมควร เช่นเดียวกันกับการเจริญขึ้นขององค์มรรคใน มรรคจิต (เพราะว่าวิปัสสนาญาณนี้แม้มีสังขารธรรมเป็นอารมณ์ก็ตาม แต่มีความเป็น ไปอย่างท้อถอยจากสังขารธรรม ประการหนึ่ง และเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ผลจิต- ตุปบาท ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เหมือนกันกับมรรคจิตที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ผล จิตตุปบาทในมรรควิถี ประการหนึ่งดังนี้) ส่วน นิโรธสมาบัตติวิปัสสนานั้นจะต้องเป็น วิปัสสนาญาณอย่างกลางที่เป็นนาติมันทะนาติติกขะ (เพราะว่าถ้าวิปัสสนาญาณเป็นชนิดอ่อนแล้วสมาธิก็จะมีกําลังมาก เมื่อสมาธิมีกําลังมาก จิต เจตสิกก็ไม่ดับ คือเข้า นิโรธสมาบัติไม่ได้ เพียงแต่มีจิตใจสงบลง เท่านั้น ถ้าวิปัสสนาเป็นชนิดอย่างแก่กล้าก็มี
การเห็นโทษในสังขารธรรมเป็นอย่างมาก ก็จะสําเร็จเป็นผลสมาบัติไป)
หมายเหตุ ความที่กล่าวไว้ในวงเล็บนี้ คัดมาจากวิสุทธิมรรคมหาฎีกา
กมุมฏฐาน คําว่า “กมุมฏฐาน” แปลว่า เป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสมถะ และ วิปัสสนา เมื่อแยกบทออกแล้วก็คงได้ ๒ บท คือ กมุม + ฐาน
กมุม แปลว่า การกระทํา
ฐาน แปลว่า เป็นที่ตั้ง
ดังมีวจนัตถะว่า “กิริยา = กมุม” การกระทําชื่อว่า กรรม
“ติฏฐิติ เอาถาติ = ฐาน” การเจริญสมถะวิปัสสนา ย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์ มีกสิณ เป็นต้น และ รูป นาม ฉะนั้น อารมณ์อันมีกสิณ เป็นต้น และรูป นาม จึงชื่อว่า ฐาน
กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ อารมณ์กรรมฐาน อย่างหนึ่ง อารัมมณิกภาวนา กรรมฐาน อย่างหนึ่ง ใน ๒ อย่างนี้ อารมณ์กรรมฐาน ได้แก่อารมณ์ของสมถะ มี ปถวีกสิณ เป็นต้น และอารมณ์ของวิปัสสนา มี เตภูมกสังขารธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดอยู่ใน ภูมิทั้ง ๓ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “กมุมสฺส ฐาน = กมมฏฐาน” อารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสมถะ วิปัสสนา ชื่อว่า กัมมัฏฐาน
อารัมมณีกภาวนากรรมฐาน ได้แก่การพยายามเจริญสมถะ และวิปัสสนาที่ เกิดขึ้นก่อนๆ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “กมุมสฺส ฐาน = กมมฏฐาน” ความพยายาม ที่เกิดขึ้นก่อน ๆ อันเป็นที่ตั้งของความพยายามที่เกิดขึ้นหลังๆ ชื่อว่า กัมมัฏฐาน สําหรับวจนัตถะในข้อนี้นั้น หมายความว่า ความพยายามที่เกิดขึ้นในครั้งหลังๆ นี้ มี ความพยายามที่เกิดขึ้นแล้วในขณะก่อนๆ เป็นระยะสืบต่อกันมานั้นเองเป็นที่ตั้ง ฉะนั้น ความพยายามที่เกิดขึ้นก่อนๆ นั้น จึงชื่อว่า อารัมมณีกภาวนากรรมฐาน
เมื่อสรุปความแล้ว อารมณ์สมถะและวิปัสสนา มี กสิณ เป็นต้น ก็ชื่อว่า กรรมฐาน ความพยายามที่เกิดขึ้นก่อนๆ ติดต่อกันมาเป็นลําดับก็ชื่อว่า กรรมฐาน ทั้งสองประการนี้ต่างกันก็แต่เพียงอย่างหนึ่งเป็น อารัมมณธรรม อุปมาเหมือนตัว ละคร ส่วนอีกอย่างหนึ่งเป็น อารัมมณิกธรรม อุปมาเหมือนกับผู้ดูละคร
แสดงวจนัตถะของคําว่า “กมุมฏฐาน” ตามนัยมูลฎีกา
“กมุมเมว วิเสสาธิคมสุส ฐานนุติ = กมฺมฏฺฐาน” ” (วา) “กมเมภาวนา รพโพ ฐานนฺติ - กมุมฏฐาน”
การเจริญภาวนาทั้งสองนี้แหละ เป็นเหตุแห่งการได้บรรลุฌาน มรรค ผล นิพพาน ที่เป็นธรรมพิเศษ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กรรมฐาน
หรืออีกนัยหนึ่ง ความพยายามเจริญในการกระทําทั้งสองอย่างนี้เป็นเหตุแห่ง การได้บรรลุ ฌาน มรรค ผล นิพพาน ฉะนั้น จึงชื่อว่า กรรมฐาน
ตามวจนัตถะทั้งสองนัยนี้ หมายความว่า การเจริญสมถะและวิปัสสนาทั้ง สองอย่างนี้ชื่อว่า กรรมฐาน เพราะเป็นเหตุให้ผู้เจริญได้บรรลุ ฌาน มรรค ผล นิพพาน ยถาทุกข์ คําว่า “ยถากกม” แปลว่า ตามลําดับ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ยํยํ กโม ยถากกโม” ลําดับใด ๆ ชื่อว่า ยถากกมะ
ในคาถาของพระอนุรุทธาจารย์ได้ใช้คําว่า “ยถากกม” ซึ่งเป็นคําพิเศษไว้ใน ลําดับสุดท้ายนั้น ก็เพื่อจะให้รู้ในคําปฏิญญาของท่าน ว่าท่านจะแสดงสมถกรรมฐาน ก่อน แล้วจึงจะแสดงวิปัสสนากรรมฐานต่อไปตามลําดับ
จบอธิบายบทโดยเฉพาะ ๆ ในคาถาปฏิญญา
ภาวนา ๓
บริกรรมภาวนา มหากุศล มหากริยาที่เกิดขึ้นก่อน ๆ นับตั้งแต่ได้เริ่มต้นเจริญ สมถกรรมฐานใหม่ ๆ ตลอดมา จนถึงจุดขอบเขตแห่งอุคคหนิมิตนั้น ชื่อว่า บริกรรม
วิถีจิตอันใดย่อมจัดแจงปรุงแต่งอัปปนา ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า บริกรรม หรือ อีกนัยหนึ่ง วิถีจิตที่เป็นเหตุแห่งการเจริญกรรมฐานเบื้องต้นชื่อว่า บริกรรม
คําว่า “ปรํ” ที่ใน ปริกมุม นี้เป็นอุปสารบท ในวจนัตถะข้อที่ ๑ คําว่า “ปริ” เป็น ธาตุวัตถา วตตกอุปสารปท หมายความว่า ไม่มีแสดงเนื้อความโดย เฉพาะ แต่คงเป็นไปตามเนื้อความของธาตุ ในวจนัตถะข้อที่ ๒ คําว่า “ปริ” เป็น ธาตุวัตถวิเสสกอุปสารปท หมายความว่า ย่อมกระทําเนื้อความของธาตุให้มีความ หมายเป็นพิเศษ คือแสดงให้รู้ว่า การเจริญกรรมฐานนี้เป็นการเจริญเบื้องต้น
วิถีจิตที่จัดแจงปรุงแต่งอัปปนา หรือ วิถีจิตที่เป็นเหตุแห่งการเจริญกรรมฐาน เบื้องต้นนี้ พระโยคีบุคคลควรกระทําให้เกิดขึ้นติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ และทวีมากยิ่งขึ้น ไปเป็นลําดับ ฉะนั้นวิถีจิตนั้น ชื่อว่า บริกรรมภาวนา
วิถีจิตที่เกิดขึ้นติดต่อกันอยู่เรื่อย ๆ ในขณะที่กําลังบริกรรมว่า ปถวี ๆ อยู่ เป็นต้นนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า บริกรรมภาวนา ดังมีวงนัตถะแสดงว่า “ปริกมุมญฺจ ต ภาวนา จาติ = ปริกมุมภาวนา” วิถีจิตใดชื่อว่า บริกรรมด้วย ชื่อว่า ภาวนาด้วย ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า บริกรรมภาวนา
อุปจารภาวนา มหากุศล มหากริยา ที่เกิดขึ้นใกล้กันกับอัปปนาฌาน ชื่อว่า อุปจาร ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อปปนาย สมีเป จรติ ปวตฺตตีติ - อุปจาร วิถีจิตอันใดเกิดขึ้นใกล้เคียงกันกับขอบเขตของอัปปนาฌาน ฉะนั้น วิถีจิตนั้น ชื่อว่า อุปจาร
วิถีจิตที่ชื่อว่า อุปจารนี้แหละ พระโยคีบุคคลควรกระทําให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ โดย ให้ทวีมากยิ่งขึ้นไป ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อว่า อุปจารภาวนา ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อุปจารญฺจ ตํ ภาวนา จาติ = อุปจารภาวนา” วิถีจิตใดชื่อว่า อุปจารด้วยชื่อ ว่า ภาวนาด้วย ฉะนั้น วิถีจิตนั้น ชื่อว่า อุปจารภาวนา
อัปปนาภาวนา คําว่า “อัปปนา” นี้เป็นชื่อของวิตกโดยตรง ส่วนมหัคคตจิต โลกุตตรจิต เจตสิก ที่เรียกว่า อัปปนา นั้นเป็นการเรียกโดยอ้อมตามนัยอวยรูปจารนัย หมายความว่า ยกชื่อของวิตกขึ้นมาตั้งไว้ในธรรมที่ประกอบกันกับวิตก ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า “อปเปติ สมปยุตตธมฺเม อารมณ์ อภินิโรเปตีติ = อปปนา” ธรรมชาติใดย่อมยกสัมปยุตตธรรมขึ้นสู่อารมณ์เฉพาะหน้า ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อัปปนา ได้แก่ วิตกองค์ฌาน ที่ประกอบกับมหัคคตโลกุตตรธรรม “อปปนา จ สา ภาวนา เจติ = อฺปปนาภาวนา” ธรรมชาติใดเป็นอัปปนาด้วย เป็นการกระทําที่ ถึงแล้วซึ่งความเจริญนั้นด้วย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อัปปนาภาวนา
ในภาวนาทั้ง นี้ มหากุศล มหากริยาชวนะ ที่เกิดก่อนมหัคคตฌานนั้น แหละ ชื่อว่า บริกรรมภาวนา แต่บริกรรมภาวนานี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ ตอนแรกของมหากุศล มหากริยา ที่เกิดอยู่ห่างไกลจากมหัคคตฌานนั้น มหากุศล มหากริยานี้ ชื่อว่า บริกรรมภาวนา เมื่อเกิดอยู่เรื่อย ๆ และทวียิ่ง ๆ ขึ้นมาตามลําดับ เกือบใกล้ที่มหัคคตฌาน จะเกิด มหากุศล มหากริยานี้ชื่อว่า อุปจารภาวนา เมื่อ สรุปแล้วก็คงได้ความว่า บริกรรมภาวนานี้เอง เมื่อเกิดอยู่ใกล้ที่มหัคคตฌานจะเกิดนั้น บริกรรมภาวนานี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อุปจารภาวนา เหมือนกันกับภวังคจลนะดวงที่ ๒ ที่เกิดขึ้นก่อนวิถีจิต ชื่อว่า ภวังคุปัจเฉทะ
นิมิต ๓
บริกรรมนิมิต อารมณ์กรรมฐานต่างๆ มี ปถวีกสิณ เป็นต้น ชื่อว่า นิมิต ดังมีวจนัตถะแสดงว่า
“อารมฺมณิกธมฺเมหิ นิมิยเต ฌานิยเต = นิมิตต์” ธรรมอันใดพึงรู้เป็นนิจ โดย จิต เจตสิก ซึ่งเป็นอารมณณิกธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า นิมิต ได้แก่อารมณ์
คําว่า บริกรรมนิมิตนี้ ก็คือนิมิตของบริกรรมนั้นเอง เหมือนกับคําบาลีที่ว่า ราชปุตโต ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า โอรสของพระราชา ข้อนี้ฉันใด คําว่าบริกรรมนิมิต ก็เช่นเดียวกัน ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ปริกมุมสฺส นิมิตต์ = ปริกมุมนิมิต” อารมณ์ของบริกรรมภาวนา ชื่อว่า บริกรรมนิมิต ได้แก่รูปารมณ์ หรือ โผฏฐัพพารมณ์ หรือ ธัมมารมณ์ ซึ่งเป็นองค์กรรมฐานที่พระโยคีบุคคลใช้เจริญ
อุคคหนิมิต อารมณ์กรรมฐานมี ปถวีกสิณ เป็นต้น ที่ปรากฏขึ้นแล้วทางใจ โดยไม่ต้องอาศัยตาเพ่งนั้น ชื่อว่า อุคคหนิมิต ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อุคคเหตพฺพสฺติ = อุคคห์, อุคคหญจ ติ นิมิตตญชาติ = อุคคหนิมิตต์” อารมณ์ใดจึงยึดแล้ว โดยมโนทวาริกกุศล หรือ กริยาชวนะ ฉะนั้น อารมณ์นั้นชื่อว่า อุคคหะ อารมณ์ใดที่ จึงยึดแล้วโดย มโนทวาริกกุศล หรือ กริยาชวนะด้วย เป็นนิมิตด้วย ฉะนั้น อารมณ์นั้น ชื่อว่า อุคคหนิมิต หรืออีกนัยหนึ่ง “อุคฺคณาที่ติ อุคฺคโห, อุคคหสฺส นิมิต ติ = อุคคหนิมิตต์” วิถีจิตอันใดย่อมยึดไว้ซึ่งอารมณ์กรรมฐาน ฉะนั้น วิถีจิตนั้นชื่อ ว่า อุคคหะ ได้แก่ มโนทวารวิถีที่มีกุศล หรือ กริยาชวนะ อารมณ์ของมโนทวารวิถีจิต ชื่อว่า อุคคหนิมิต
ความแตกต่างกันระหว่าง บริกรรมนิมิต กับ อุคคหนิมิต
อารมณ์กรรมฐานที่เป็น บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ทั้งสองนี้ ต่างกันก็แต่ เพียงว่า บริกรรมนิมิตนั้น พระโยคีบุคคลเห็นได้ด้วยตา เป็นปัจจุบันรูปารมณ์ ส่วน อุคคหนิมิตนั้น เป็นภาพที่พระโยคีบุคคลเห็นได้ด้วยใจ เป็นอดีตรูปารมณ์ เมื่อว่าโดย รูปร่างสัณฐาน สีสรร วรรณะ ตลอดจนประมาณความเล็ก หรือ ใหญ่แล้ว ก็คงเหมือนกันทั้งสิ้น
ปฏิภาคนิมิต อารมณ์กรรมฐานที่มีส่วนคล้าย ชื่อว่าปฏิภาค ฉะนั้น ปฏิภาคนิมิต นั้น จึงเป็นอารมณ์กรรมฐาน ที่มีสภาพคล้ายกันกับอุคคหนิมิต ดังมีวจนัตถะ
แสดงว่า “ปฏิภาค นิมิตตํ = ปฏิภาคนิมิตตํ” อารมณ์กรรมฐานที่มีสภาพคล้ายกันกับอุคคหนิมิต ชื่อว่า ปฏิภาคนิมิต
ความแตกต่างกันระหว่าง อุคคหนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต
อารมณ์กรรมฐานที่เป็นอุคคหนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิตทั้งสองนี้ เป็นอารมณ์ที่ ปรากฏขึ้นทางใจด้วยกันทั้งคู่ ต่างกันก็เพียงแต่ รูปารมณ์ที่เป็นอุคคหนิมิตนั้น มีสภาพ คงที่เหมือนกันกับของเดิมทุกประการ ส่วนรูปารมณ์ที่เป็นปฏิภาคนิมิตนั้นไม่เหมือน กันกับของเดิม คือ องค์กสิณที่พระโยคีบุคคลจัดทําขึ้นนั้นมีรอยนิ้วจับต้องติดอยู่ก็ดี หรือ ดินนั้นมีผงธุลีแปดเปื้อนติดอยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ดี เมื่อปรากฏเป็นอุคคหนิมิตขึ้น ทางใจนั้น สิ่งเหล่านี้ก็คงปรากฏเห็นได้ทุกอย่างเหมือนกับของเดิม ไม่มีการผิดแผก แปลกแต่อย่างใด สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ถึงแม้จะปรากฏทางใจเช่นเดียวกันก็ตาม แต่ รูปารมณ์นี้มีความใสสะอาด บริสุทธิ์หมดจดมากกว่าอุคคหนิมิตร้อยเท่า เหมือนกับ ความบริสุทธิ์ หมดจด ใสสะอาดปราศจากเมฆหมอกของดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ทั้งชี้ ขาดลงไปไม่ได้อีกด้วยว่า ปฏิภาคนิมิตนั้นมีสีสรรวรรณะอย่างนั้น ๆ ที่เป็นเช่นนี้ ก็ เพราะปฏิภาคนิมิตนั้น เป็นรูปารมณ์แทนอุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจสมาธิพระโยคีบุคคล
ปถวีกสิณ
คําว่า “ปถวี” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาวปถวี ที่มีลักษณะแข็ง หรือ อ่อนแต่ประการใด หากแต่มุ่งหมายเอา สสัมการปถวี คือ ดินที่มีสัณฐานกลม ถ้าเป็นชนิดเล็กก็โตประมาณเท่าจานข้าว หรือ ตะแกรงเล็กที่มีขนาดกว้าง ๑ คืบกับ ๔ องคุลี ถ้าเป็นชนิดใหญ่ก็โตประมาณเท่ากับลานข้าว นี้แหละเรียกว่า ปถวี
คําว่า “กสิณ” แปลว่า ทั้งหมด หมายความว่า ผู้ที่เพ่งกสิณนั้นจะต้องเพ่ง องค์กสิณให้ทั่วไปพร้อม ๆ กัน
ดังนั้น ปถวีนั้นก็ได้แก่ ดินที่มีปริมณฑลกลม โดยจัดทําขึ้นบ้าง หรือ เป็น ดินที่มีปริมณฑลกลมอยู่แล้วโดยมิได้จัดทําขึ้นแต่อย่างใด ที่เป็นชนิดเล็ก หรือ ใหญ่ ซึ่งพระโยคีบุคคลควรเพ่งโดยทั่วไปพร้อม ๆ กันนั้นเอง ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ปถวี เยว กสิณนฺติ = ปถวีกสิณํ” ดินที่มีสัณฐานกลมนั้นแหละเป็นดินที่พระโยคีบุคคล ต้องเพ่งโดยทั่วไปพร้อม ๆ กัน มิใช่เพ่งเฉพาะแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยใช้บริกรรม ว่า ปถวี ๆ ด้วยภาวนาจิต ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปถวีกสิณ
การที่กล่าวว่า ดินมีปริมณฑลกลมอยู่แล้วโดยมิได้จัดทําขึ้น แต่ใช้เป็นองค์ กสิณได้นี้มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ มีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการ เคยได้รูปวจรฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กันกับภพนี้ โดยการเพ่งปถวีกสิณเท่านั้น เพราะผู้ที่เคยได้รูปาจารฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กันกับภพนี้ โดยการเพ่งปถวีกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นดินที่มีปริมณฑลกลม หรือ ลานข้าวเข้าแล้วก็เพ่ง ดูโดยบริกรรมว่า ปถวีๆ เพียงเท่านี้ ภาพปถวีกสิณนั้นก็ปรากฏติดอยู่กับใจได้ ที่เรียก ว่าเป็น อุคคหนิมิต เมื่อได้อุคคหนิมิตแล้ว ก็ไม่จําเป็นอย่างใดที่จะต้องมาเพ่งดินหรือ ลานข้าวนั้นอีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่กับบ้าน หรือ กุฎีต่อไป
จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
บุพพกิจ คือ กิจเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้าปฏิบัติ
พุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์ ชาย หญิง และบรรพชิตทั้งหลายที่ได้เกิดมา เป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เมื่อมีความเชื่อ ความเลื่อมใส ในคุณของพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป ผลของบุญ บาป โลกนี้ โลกหน้า นรก สวรรค์ เหล่านี้ เป็นต้นแล้วสมควรที่จะแสวงหาอมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย
การเจริญสมถภาวนาก็ดี การเจริญวิปัสสนาภาวนาก็ดี กิจเบื้องต้นก่อนที่จะลงมือเจริญนั้นมีอยู่ ๗ ประการ คือ
๑. ตั้งตนอยู่ในศีล
๒. ตัด มหาปลิโพธ เครื่องกังวลใหญ่ ๑๐ ประการ
๓. แสวงหากัลยาณมิตรที่มีความรู้ในการ ให้กรรมฐาน
๔. ทําการศึกษาอบรมในกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตของตน ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของปริยัติที่เนยยบุคคลทั้งหลายเว้นเสียมิได้
๕. เว้นจากสถานที่ที่เป็นโทษแก่ การปฏิบัติ
๖. อยู่ในสถานที่ที่สะดวกสบายแก่การปฏิบัติ
๗. ตัดขุททกปลิโพธเครื่อง กังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็ลงมือปฏิบัติ
ขยายความในบุพพกิจทั้ง ๗ ตามลําดับดังต่อไปนี้
๑. ตั้งตนอยู่ในศีล
ศีล ๕ หรือ อาชีวัฏฐมกศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์
ศีล ๘ ธรรมดา เป็นศีลของชี
ศีล ๑๐ เป็นศีลของสามเณร
ปาฏิโมกขสังวรศีล เป็นศีลของพระ
๒. มหาปลิโพธ ๑๐ ประการ
เครื่องก่อกวนให้เกิดความกังวลมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ ที่อยู่ ที่อาศัย มีวัด กุฎี บ้านเป็นต้น ทายกทายิกา ลาภสักการะ หมู่คณะ นวกรรม การงานที่จัดซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ซึ่งเป็นที่ ๕ การเดินทาง ญาติโยม อาพาธ การศึกษา การสอนพระปริยัติธรรม การแสดงอิทธิฤทธิ์
๓. แสวงหากัลยาณมิตร
ผู้ที่จะเป็นอาจารย์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรของผู้ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา ทั้งหลายนี้ ต้องประกอบด้วยคุณ ๗ ประการ คือ
ปิโย เป็นผู้ที่น่ารัก น่าเลื่อมใส เพราะมีศีลบริสุทธิ์ อย่างหนึ่ง
ครุ เป็นผู้ที่น่าเคารพ เพราะประกอบด้วยคุณธรรมมีศีล สมาธิ และการถือ ธุดงค์ มีบังสุกุลกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ ปิณฑบาติกังคธุดงค์ เอกาสนิกังคธุดงค์ เหล่านี้ เป็นต้น อย่างหนึ่ง
ภาวนีโย เป็นที่น่าสรรเสริญ เพราะมีจิตใจเที่ยงธรรม ไม่ลําเอียงในบรรดาสห ธรรมิกและลูกศิษย์ อย่างหนึ่ง
วตฺตา เป็นผู้ที่สามารถอบรมลูกศิษย์ให้ดี อย่างหนึ่ง
วจนกขโม เป็นผู้ยอมรับคําตักเตือนจากสหธรรมิก และลูกศิษย์ อย่างหนึ่ง
คมภีรญฺจ กถํ กตฺตา เป็นผู้สามารถแสดงธรรมอันลึกซึ้ง กล่าวคือ ความเป็นไปของรูป นาม ขันธ์ ๕ มีสัจจะ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เหล่านี้ เป็นต้น ได้อย่าง แจ่มแจ้งชัดเจน อย่างหนึ่ง
อฏฐาเน โน จ นิโยชเย เป็นผู้เว้นจากการชักชวนในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แม้ที่สุดเพียงครั้งเดียวก็ไม่ทํา มีแต่การคอยชักนําให้ทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์ตน และ ประโยชน์ของพระพุทธศาสนาอยู่เป็นนิจ อย่างหนึ่ง
คุณ ๗ ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมมีคุณแก่ตนและผู้ปฏิบัติตลอดทั่ว ไปในพระพุทธศาสนา ฉะนั้น ถ้าหากว่าผู้ที่เป็นอาจารย์ขาดคุณ ๗ ประการนี้ไปเพียง ประการใดประการหนึ่งแล้ว จะเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตรที่แท้นั้นยังไม่ได้ โดยเหตุนี้แหละ ผู้ที่เป็นอาจารย์ สมถะ วิปัสสนา ของผู้ปฏิบัติทั้งหลายควรพยายาม อบรม ตั้งตนไว้ให้สมบูรณ์ด้วยคุณทั้ง ๗ ประการนี้ เพื่อจะได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตร ที่ถูก ที่แท้ พร้อมมูล โดยอาการทั้งปวง สําหรับผู้ที่ปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา ทั้ง หลายนั้นเล่า ก็ต้องแสวงหาอาจารย์ที่ประกอบด้วยคุณธรรม ๗ ประการนี้ด้วยเช่นกัน จึงจะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัตินี้อย่างสมบูรณ์ได้
๔. ทําการศึกษาอบรมในกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตของตน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปริยัติที่เนยยบุคคลทั้งหลายจะเว้นเสียไม่ได้
คําอธิบายขยายความของข้อที่ ๔ นี้ จักขอระงับเอาไว้ไม่อธิบาย เพราะเนื้อ ความในข้อนี้ มีอยู่แล้วในหมวดสัปปายเภท ซึ่งเป็นหลักของอภิธัมมัตถสังคหะที่ได้ แสดงมาแล้วแต่ตอนต้น
สําหรับเนื้อความพิเศษนั้นจะได้ทราบโดยถี่ถ้วนในเมื่อถึงตอนอธิบายขยายความในหมวดสัปปายเภทต่อไป
๕. เว้นจากสถานที่ที่เป็นโทษแก่การปฏิบัติ ในที่นี้สถานที่ที่เป็นโทษแก่การปฏิบัติมีอยู่ ๑๘ ประการ คือ
๑.) มหาวาสํ ที่อยู่อาศัย กว้างขวางใหญ่โตมาก
๒.) นวาวาส ที่อยู่อาศัย ที่พึ่งสร้างขึ้นใหม่
๓.) ชราวาส ที่อยู่อาศัย ที่ชํารุดทรุดโทรมเก่าแก่
๔.) ปนถนิสสิต สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับหนทาง
๕.) โสณฑ์ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับบ่อน้ํา สระน้ํา
๖.) ปณฺณํ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับสวนผักต่างๆ
๗.) ปุปฺผํ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับสวนดอกไม้
๘.) ผลํ สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับสวนผลไม้
๕.) ปฏฐนียตา สถานที่ที่อยู่ เป็นสโมสร
๑๐.) นครสนนิสฺสิตา สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับตัวเมือง
๑๑.) ทารุสนนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับป่าฟืน
๑๒.) เขตตอนนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ ใกล้กับนา
๑๓.) วิสภาคาน บุคคลาน อตฺถิตา สถานที่ที่อยู่ของบุคคลที่ไม่ถูก กันกับตน
๑๔.) ปฏฏนสนนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ใกล้กับท่าเรือ สถานีรถไฟ สนามบิน
๑๕.) ปจฺจนฺตสนฺนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ในชนบท ซึ่งชน เหล่านั้น ไม่เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
๑๖.) รชชสีมสนนิสฺสิตา สถานที่ที่อยู่ในระหว่างพรมแดนแวดล้อมไปด้วยราชภัย
๑๗.) อสปปายตา สถานที่ไม่สบาย ซึ่งเนื่องมาจาก ยักขภัย โจรภัย
๑๘.) กลยาณมิตตา อลาโภ สถานที่ไม่มีกัลยาณมิตร คือครู อาจารย์ ที่ประกอบด้วยคุณ ๗ ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น
๖. อยู่ในสถานที่ที่สะดวกสบายแก่การปฏิบัติ สถานที่ที่สะดวกสบายแก่การปฏิบัตินั้นมีอยู่ ๕ ประการ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ซึ่งเหมาะสมแก่การปฏิบัติ นั้น เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ในศาสนาของตถาคตนั้น มีดังนี้ คือ
๑.) มีหนทาง ไปมาสะดวกสบาย คือ ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากหมู่บ้าน
๒.) ไม่มีเสียงอึกทึก คือ กลางวันก็ไม่จอแจด้วยผู้คน กลางคืนก็เงียบสงัด
๓.) ไม่มี แมลงวัน ยุง สัตว์เลื้อยคลานมารบกวนกัดต่อย ไม่ถูกลม แดด
๔.) จีวรปิณฑบาตเสนาสนคิลานปัจจัยเภสชฺชปริกฺขารา ฯ สถานที่ที่บริบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม อาหาร ที่พักอาศัย ยารักษาโรค ซึ่งผู้ปฏิบัติแสวงหาได้โดยง่าย ไม่ลําบาก
๕.) ในสถานที่นั้น มีพระภิกษุผู้เป็น พระเถระที่เป็นพหูสูตร มีความรู้อย่างกว้างขวาง เป็นผู้มีความท่องจําไว้ได้ คือ พระสูตร พระอภิธรรม พระวินัย และหัวข้อในพระไตรปิฎก พํานักอาศัยอยู่ พระโยคีบุคคล เข้าไปหาท่านตามกาลเวลาอันสมควร แล้วไต่ถามสอบสวนข้อความเหล่านั้นว่า บทนี้ จะต้องทําความเข้าใจอย่างไร มีความหมายว่ากระไร ดังนี้ ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผยข้อ ลี้ลับ และข้อธรรมที่ยังไม่กระจ่างท่านก็ทําให้กระจ่าง และบรรเทาความสงสัยในข้อ ธรรมที่สุขุมลุ่มลึกที่เป็นเหตุให้เกิดความสังสัย อันจะทําให้โยคีบุคคลนั้นได้รับ ประโยชน์อย่างใหญ่ไพศาล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ดังนี้แล ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ประกอบด้วยองค์ ๕
๗. ตัดขุททกปลิโพธ เครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วลงมือปฏิบัติการตัดความกังวลหยุมหยิมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนหน้าจะทําการปฏิบัติที่ได้ชื่อว่า ขุททกปลิโพธิ์นั้น มีดังนี้ คือ
๑.) ตัดผม ตัดเล็บ โกนหนวดที่ยาวเสียใหม่ให้เรียบร้อย
๒.) จัดการ ปะชุนจีวรที่ใช้สึกหรือคร่ําไปแล้วนั้น ให้มั่นคงเรียบร้อยดีขึ้น ถ้าเนื้อผ้าฉีกขาดไปก็จัดการเย็บเสียใหม่
๓.) ก็ต้องจัดการย้อมสีเสียใหม่ให้เรียบร้อยเมื่อสีของจีวรนั้นเก่าจางไป
๔.) ถ้าในบาตรมีสนิม ก็ต้องทําการระบบบาตรเสียใหม่ให้ดีขึ้น
๕.) ต้องปัดกวาด เช็ดถู เตียง และตั่ง เป็นต้นให้สะอาดหมดจด
การตัดผม ตัดเล็บ โกนหนวดเครา ปะชุนเย็บจีวร ย้อมจีวร ระบบบาตรที่ เป็นสนิม ปัดกวาด เช็ดถู เตียงและตั้ง เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องกังวลหยุมหยิมเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ผู้ปฏิบัติควรต้องจัดทําให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน จึงจะสบาย เพื่อจะ ได้ไม่ต้องกังวล ถึงเรื่องเหล่านี้ในเวลาที่กําลังทําการปฏิบัติอยู่
การจัดทําองค์ปถวีกสิณและการเพ่งนั้น มีดังนี้
พุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์ทั้งชาย หญิง และบรรพชิตทั้งหลาย เมื่อมี ความประสงค์ใคร่ที่จะเจริญสมถกรรมฐาน โดยการเพ่งปถวีกสิณนั้น จะต้องจัดการหา ดินมาทําเป็นองค์กสิณขึ้นเสียก่อน โดยเลือกใช้ดินที่มีสีอรุณและมีความเหนียวพอ ประมาณ เพื่อจะได้ทําให้จิตใจแจ่มใสชุ่มชื่นเบิกบาน ทั้งจะได้ป้องกันไม่ให้ไปปะปน กันกับวัณณกสิณทั้ง ๔ คือ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ แต่อย่างใด ๆ อีกด้วย เสร็จแล้วจัดการเก็บสิ่งสกปรกต่างๆ ที่มีติดอยู่กับดินนั้นออกเสียให้หมด เมื่อ เห็นว่าดินนั้นมีความสะอาดดี เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยนํามาผสมกับน้ําทําการขยํานวด พื้นเคล้าคลึงไปมา จนกว่าดินนั้นจะละเอียดอ่อนสะอาดหมดจดจากฝุ่นละอองธุลีที่มี แปดเปื้อน แล้วก็คลึงแผ่ออกไปให้เป็นแผ่นวงกลมกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี เสร็จแล้วเอาสีเขียวหรือขาวมาทาลงรอบๆ
ของวงกลมให้ใหญ่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสี่ของนิ้ว หรือมิฉะนั้น จะใช้หนังหรือไม้กระดานเป็นต้นก็ได้ มาตัดทําเป็นวงกลม แล้ว เอาดินดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ทาลงไปที่แผ่นหนังหรือกระดานนั้น ตามรอบๆ ของวงกลมก็ คงใช้สีเขียว หรือ สีขาวให้ใหญ่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสี่ของนิ้วเช่นเดียวกัน สําหรับ ทางด้านที่จะใช้เพ่งนั้น ต้องจัดทําให้สะอาดเรียบร้อย สม่ําเสมอ เกลี้ยงเกลา เป็น พิเศษให้เหมือนกับหน้ากลอง
อนึ่ง ถ้าต้องการจะทําองค์กสิณให้เล็กกว่า หรือ ใหญ่กว่าจากที่กําหนดไว้ แล้วนั้นก็ได้ คือ จะให้เล็กลงไปอีกประมาณ ๒ หรือ ๓ องคุลี หรือ ใหญ่กว่าไปอีก ประมาณ ๔ หรือ ๘ องคุลีก็ได้ ทั้งนี้ถ้าหากว่าองค์กสิณนั้นเล็ก จะทําให้จิตใจของ พระโยคีตั้งมั่นอยู่กับองค์กสิณได้เร็ว และอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ทั้งสองอย่างนี้ก็ ปรากฏได้เร็วเช่นเดียวกัน แต่สําหรับจิตใจของพระโยคีบุคคลนั้นไม่รู้จะกว้างขวางนัก คือ สมาธิไม่ค่อยมีกําลังแรง ถ้าองค์กสิณใหญ่ จะทําให้จิตใจของพระโยคีตั้งมั่นได้ช้า และอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ทั้งสองนั้น ก็ปรากฏได้ช้าเช่นเดียวกัน แต่สําหรับจิตใจ ของพระโยคีบุคคลนั้นกว้างขวางยิ่ง คือ สมาธิกําลังแรงมาก
สําหรับองค์กสิณที่ใช้เพ่งอยู่นี้ พระโยคีบุคคลจะต้องทําการเคารพนับถือให้ เหมือน ๆ กันกับการเคารพนับถือในพระบรมธาตุ แล้วต้องหมั่นดูแลพิทักษ์รักษา เช็ด ถูให้สะอาดมิให้มีฝุ่นละอองธุลีใดๆ มาแปดเปื้อนอีกด้วย เหมือนกับการรักษาพระพุทธรูปฉันนั้น
เมื่อพระโยคีบุคคล ได้จัดการทําองค์กสิณเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ต่อแต่นั้นก็พึ่ง แสวงหาสถานที่ห่างจากหมู่คณะและเสียงต่างๆ จะเป็นภายในบริเวณบ้าน หรือภายใน บริเวณวัด ตามเรือกสวน ป่า เขา ก็ได้ อันเป็นสถานที่ที่เงียบสงัด สะดวกสบายแก่การ ที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ แล้วก็เริ่มต้นลงมือปฏิบัติต่อไป การลงมือปฏิบัติเพ่งปถวีกสิณนี้ ต้องตั้งองค์ปถวีกสิณไว้ในที่จําเพาะหน้า โดยไม่ให้สูงไปหรือต่ําไปจากสายตาของตนนัก เพราะว่าถ้าตั้งสูงไปก็จะต้องแหงนหน้าเพ่งดู ถ้าต่ําไปก็จะต้องก้มหน้าเพ่งดู ซึ่งจะ ทําให้ตนได้รับความลําบากในการเพ่งดูนั้น ครั้นเมื่อจะเข้าไปนั่งขัดสมาธิทําการเพ่งอยู่ ก็จงนั่งลงภายในหัตถบาส คือ ๒ ศอก กับ ๑ คืบ ซึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลไปจากองค์กสิณ เพราะว่าถ้าหากนั่งไกลเกินไป จะทําให้การเห็นปริมณฑลขององค์กสิณไม่ได้ชัด ถ้า หากว่าทั้งใกล้ไป ก็จะทําให้แลเห็นรอยนิ้วมือ หรือ รอยไม้ที่ใช้ทําการกดคลึงองค์กสิณ นั้นได้อย่างแจ้งชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเป็นอุปสรรคแก่สมาธิ คือ ทําให้สมาธิหย่อน ไปทั้งในขณะที่กําลังเพ่งอยู่ และเมื่อเวลาที่อุคคหนิมิตปรากฏเกิดขึ้น โดยเหตุนี้แหละ จึงต้องนั่งภายในระยะที่ไม่ให้ใกล้ หรือ ไกลออกไปจากองค์กสิณดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น
ภายหลังจากที่ได้นั่งลงโดยเรียบร้อยแล้ว ต่อแต่นั้นก็จงเริ่มปรารภความพอใจ ที่จะได้มาซึ่งฌานที่จะทําตนให้พ้นออกไปจากกามคุณอารมณ์ต่างๆ อันเป็นตัวฉันทะที่ ประกอบด้วยเนกขัมมสังกัปปะ แล้วจงพิจารณาในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปจนกว่าจิตใจจะบังเกิดความรู้สึกแช่มชื่นอิ่มเอิบปราโมทย์ในพระคุณนั้น ๆ จาก นั้นก็จงทําการแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลาย มีเทวดาและมนุษย์ เป็นต้น พอสมควร เสร็จแล้วจึงค่อยน้อมใจมาพิจารณาถึงตัวของตนว่า คนนี้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่มี สิ่งใดที่จะช่วยตนให้พ้นไปจากความตายได้ ฉะนั้นก่อนที่ความตายจะมาถึงตน ตนจึง จําเป็นที่จะต้องพยายามขวนขวายหาสรณะที่พึ่งให้แก่ตัวของตนให้จงได้ พร้อมกับมี ความคิดเห็นว่า การปฏิบัติโดยเพ่งกสิณนี้ เป็นวิธีปฏิบัติของบัณฑิตทั้งหลาย มีพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดจน พระอริยสาวก เป็นต้น และท่านทั้งหลายเหล่านี้ที่ท่านได้พ้นออกไปจากวัฏฏทุกข์ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้นั้น ก็เพราะอาศัยการเพ่งกสิณนี้เอง ดังนั้นการที่ตนจะพ้นออกไปจากสังสารวัฏฏ์ซึ่งมี การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ก็โดยอาศัยการเพ่งกสิณนี้เช่นเดียวกัน เมื่อคิดเห็นเช่นนี้แล้ว ก็จงยกมือขึ้นทําการอัญชลีกรรมแต่องค์กสิณนั้น แล้วทําการเพ่งดู พร้อมกับแผ่ใจตลอดทั่ว ไปภายในขอบเขตแห่งองค์กสิณนั้น อย่าได้ใช้สายตาเพ่งดู หรือ ใช้ใจไปจดจ่อแต่เพียง ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กสิณเป็นอันขาด
เมื่อทําการเพ่งแผ่ใจโดยทั่วๆ ไปอยู่นั้น ก็จงอย่าได้ไปสนใจกับสีของปัถวี ที่ เป็นองค์กสิณ และสภาวลักษณะของปถวี ที่มีความแข็ง อ่อน แต่อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ก็เพราะว่า มิได้ทําการเพ่งวัณณกสิณ แต่กําลังทําการเพ่งปถวีกสิณอยู่ ทั้งไม่ต้องไป ทําการพิจารณาถึงปรมัตถปถวีแต่ประการใดอีกด้วย หากแต่ต้องตั้งใจเพ่งดูอยู่เฉพาะ แต่ในบัญญัติปถวีอย่างเดียวเท่านั้น โดยเหตุนี้แหละพระโยคีบุคคลจึงไม่ควรไปสนใจใน สีของปถวี และ ปรมัตถสภาวปถวีแต่อย่างใด ๆ
ฝ่ายภายในด้านจิตใจนั้น ก็จงทําความพอใจ อิ่มใจ ตั้งมั่นอยู่อย่างจริงใจใน ให้เหมือนกันกับเสือที่กําลังกัดดึงดูดเอาแต่เฉพาะเนื้อเต่าออกมาจาก กระดองเต่าฉันนั้น เมื่อกําลังเพ่งดูอยู่ก็จงลืมตาดูอยู่อย่างธรรมดา อย่าลืมตาให้โตหรือ หรี่ตาให้เล็กลงไปแต่อย่างใดนัก พร้อมกันนั้นก็จงใช้ปากบริกรรมว่า ปถวี ๆ หรือ ดิน ๆ เป็นระยะๆ ไป ไม่จําเป็นจะต้องบริกรรมโดยไม่หยุดหย่อน ซึ่งจะทําให้กลายเป็นการ เสกคาถาไป และจงพยายามลืมตาบริกรรมให้มากที่สุดที่จะมากได้ ส่วนการหลับตา บริกรรมนั้น ก็จงใช้เป็นบางครั้งบางคราว แต่อย่าให้บ่อยนัก ทําอยู่เช่นนี้เรื่อยๆ ไป จนกว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏขึ้น
หมายเหตุ การงานที่จะพึงปฏิบัติในการเพ่งองค์กสิณที่เหลืออีก ๙ นั้นก็คง เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้ทุกประการ ที่พิเศษ ๆ นอกออกไปจากนี้ก็จะได้แสดงให้ ทราบโดยเฉพาะๆ ไป ในเมื่อถึงเรื่องขององค์กสิณนั้นๆ
วิธีป้องกันอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากใจในระหว่างที่อุคคหนิมิตยังไม่ปรากฏ
ในระหว่างที่กําลังเพ่งดูสสัมภารปถวี หรือ อุตุชปถวีองค์กสิณพร้อมกับใช้ปาก บริกรรมว่า ปถวี ๆ อยู่นั้น พระโยคีบุคคลนั้น ย่อมมีความต้องการให้อุคคหนิมิต ปรากฏเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ แต่อุคคหนิมิตนั้นก็มีปรากฏได้โดยเร็วตามความ ประสงค์ของพระโยคี ฉะนั้น จิตใจของพระโยคีจึงรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เมื่อจิตใจรู้สึก เหน็ดเหนื่อยขึ้นมาแล้ว ร่างกายก็พลอยอ่อนเพลียและเหน็ดเหนื่อยตามใจไปด้วย เมื่อ เป็นเช่นนี้ ถีนมิทธนิวรณ์ ก็ได้โอกาสเกิดขึ้นครอบงํา โดยทําให้อยากหยุดพัก หรือไป ทํากิจการอื่น ๆ มีการปัดกวาด ทําความสะอาด สวดมนต์ไหว้พระ เป็นต้น ที่เป็น ปลิโพธเครื่องกังวลต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าอาการดังกล่าวแล้วนี้ บังเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคล แล้วไซร้ ก็จงเตือนตนเองว่า มีวันใดก็วันหนึ่ง ความตายก็จะบังเกิดมีแก่ตนอย่างแน่แท้ ทั้งอุคคหนิมิตก็ยังมิได้เกิดขึ้นเลย ถ้าตนขึ้นหยุดพัก หรือ มัวไปกังวลอยู่กับการงาน อื่น ๆ แล้ว สมาธิของตนก็จะเสียไป ทั้งการงานเหล่านี้ตนก็เคยกระทํามาแล้วหลายภพ หลายชาติ จนกระทั่งถึงภพนี้ก็ยังต้องทําอยู่ ฉะนั้น ในขณะที่ตนกําลังเพ่งปถวีกสิณ อยู่นี้ ไม่บังควรที่จะไปกระทํากิจต่างๆ เหล่านี้เลย แล้วจงมีความพยายามอดทนเพ่ง ดูอยู่ต่อไปให้มาก และอย่ากะพริบตาบ่อยนัก ประมาณ ๒ หรือ ๓ นาที จึงค่อยใช้ปากบริกรรมว่า ปถวี ๆ หรือ ดิน ๆ เสียครั้งหนึ่ง เป็นระยะห่างกันไปตามสมควร จน กว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏขึ้น
เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้ว
พระโยคีบุคคล เมื่อกําลังเพ่งปถวีองค์กสิณ ที่ยังเป็นบริกรรมนิมิตอยู่นั้น บาง ท่านก็ได้อุคคหนิมิตเร็ว บางท่านก็ได้ช้า คือ ต้องพยายามอดทนต่อสู้อยู่นานกับนิวรณ์ ซึ่งเป็นตัวอุปสรรคคอยขัดขวางอย่างยิ่ง อุคคหนิมิตจึงปรากฏขึ้นได้ เมื่อุคคหนิมิต ปรากฏขึ้นทางใจได้ แล้วก็ไม่จําเป็นต้องเพ่งปัถวีองค์กสิณที่เป็นบริกรรมนิมิต ซึ่งเป็น อารมณ์ภายนอกอีก แต่กลับเพ่งอุคคหนิมิต อันเป็นอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นทางใจ และ ใน เวลานั้น ความเป็นไปของปถวีองค์กสิณที่เป็นอุคคหนิมิต กับจิตใจของพระโยคีบุคคล นั้น เสมือนแม่เหล็กที่มีกําลัง ดึงดูดเอาสิ่งของที่เป็นเหล็กด้วยกันให้มาติดอยู่ได้ฉันใด จิตใจของพระโยคีบุคคลก็ดึงดูดเอาปถวีองค์กสิณ ที่เป็นอุคคหนิมิตให้ติดแนบอยู่กับใจ ได้ฉันนั้น ฉะนั้น การเห็นสิ่งของอื่นๆ ได้ก็เฉพาะแต่ในเวลาที่พระโยคีลืมตาดูอยู่เท่านั้น ครั้นหลับตาลงก็คงเห็นแต่เพียงภาพปถวีองค์กสิณอยู่อย่างเดียว อารมณ์ต่างๆ ที่ได้เห็น มาด้วยตาก็ไม่มีการมาปรากฏทางใจได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใดๆ ทั้งสิ้น กล่าวคือ ในขณะที่หลับตานอนอยู่ก็ดี ก็คงเห็น แต่ภาพปถวีองค์กสิณเท่านั้นมาปรากฏอยู่เบื้อง บน เมื่อลุกขึ้นนั่งก็ปรากฏให้เห็นอยู่ข้างหน้า เมื่อก้มหน้าลงก็เห็นอยู่ข้างล่าง เมื่อเงย หน้าขึ้นก็เห็นอยู่ข้างบน จะเหลียวซ้ายแลขวา ก็คงเห็นมาปรากฏอยู่ข้าง ๆ ตัว เมื่อ เดินหลับตาจงกรมก็คงเห็นอยู่ข้างหน้าเรื่อยๆ ไป แม้ที่สุดจะลืมตาอยู่ในที่มืด จักขุท วารวิถีก็ไม่เกิด คงเห็นแต่ภาพปถวีองค์กสิณที่เป็น อุคคหนิมิตเท่านั้น อุปมาดังเช่น คนที่กลัวผี บังเอิญเดินไปพบซากศพ หรือ มีความจําเป็นที่จะต้องช่วยจัดช่วยทําความ สะอาดให้แก่ศพบ้างบางประการ ครั้นถึงยามเข้านอนพอหลับตาลงก็เห็นแต่ภาพศพที่ ตนได้ไปพบเห็น หรือ จับต้องจัดแจงมานั้น ปรากฏขึ้นติดตาอยู่ไม่รู้หาย ข้อนี้ฉันใด อุคคหนิมิตที่ปรากฏติดอยู่ทางใจของพระโยคีบุคคลก็ฉันนั้น นอกจากจะหลับลงไป เท่านั้นจึงจะไม่แลเห็น ถ้าตื่นขึ้นเวลาใด ในขณะที่ยังไม่ลืมตา เวลานั้นภาพปถวีองค์กสิณก็จะปรากฏขึ้นทางใจให้แลเห็นได้ทันที กับทาให้ความง่วงเหงาหาวนอนและ ความเกียจคร้าน อ่อนแอ ท้อแท้ ซึ่งเป็นตัวถีนมิทธนิวรณ์ก็ค่อยๆ ถอยห่างออกไป พร้อมด้วยนิวรณ์ที่เหลือ นอกนั้นก็ค่อยๆ ทุเลาเบาบางลงไปด้วย
การเจริญสมถภาวนานี้ บุคคลใดจะได้สําเร็จเป็นฌานลาภี บุคคลนั้นต้อง ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ ฉะนั้น จะรู้ได้ว่าพระโยคีบุคคลนี้เป็นติเหตุกะหรือไม่นั้นก็อยู่ที่ ปฏิภาคนิมิต ถ้าการเจริญสมถภาวนาของพระโยคีบุคคลเข้าถึงขั้นปฏิภาคนิมิตได้ก็พึง ตัดสินว่า พระโยคีบุคคล นี้มีปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ ถ้าหากว่า การเจริญภาวนาของ พระโยคีบุคคลมิอาจเข้าถึงปฏิภาคนิมิต เพียงแต่ได้ถึงขั้นอุคคหนิมิตเท่านั้น เช่นนี้แล้ว ก็จึงตัดสินได้ว่า ไม่ใช่เป็นเหตุกปฏิสนธิบุคคล จะให้ได้รับผลเป็นฌานลาภีบุคคลใน ภพนี้นั้นไม่ได้ แต่การเจริญสมถภาวนาของพระโยคีบุคคล ที่จะเข้าถึงขั้นปฏิภาคนิมิต ได้นั้นก็เป็นไปต่างๆ กัน คือบางท่านก็ปฏิบัติอยู่ไม่ถึง ๑ เดือน หรือ ๑ ปี ปฏิภาค นิมิตก็ปรากฏขึ้น ต่อไปไม่ช้าก็สําเร็จเป็นฌานลาภีบุคคล แต่บางท่านก็ต้องทําการ ปฏิบัติอยู่เป็นเวลานานประมาณ ๑๐ ปี ถึง ๒๐ ปี ปฏิภาคนิมิตจึงจะปรากฏ ต่อจาก นั้นไปไม่ช้าก็สําเร็จเป็นฌานลาภี ที่เป็นต่างๆ กันดังนี้ ก็เพราะอํานาจแห่งอินทรีย์ทั้ง ๕ และบารมีในภพก่อนๆ ไม่เหมือนกันนั้นเอง ฉะนั้น เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งทําการเจริญสมถ ภาวนาได้เพียง ๑ เดือน หรือ ๒ - ๓ เดือนล่วงแล้ว แต่ปฏิภาคนิมิตก็หาได้ปรากฏ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้แนะนําก็ดี ตนเองก็ดี จะถือเอาว่าผู้นั้นมิใช่ เป็นติเหตุกปฏิสนธิบุคคล ก็หาเป็นที่ถูกต้องแน่นอนเสมอไปไม่ เหตุนี้จึงควรปฏิบัติอยู่ เรื่อยๆ ไปจนตราบเท่าถึงสิ้นชีวิตนั้นแหละถึงจะเป็นการดี เพราะใครๆ ก็มิอาจทราบ ได้ว่า บุคคลผู้นี้จะต้องใช้เวลาปฏิบัติอยู่นานเท่าใด จึงจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็น ไตรเหตุหรือมิใช่ไตรเหตุ สําหรับการที่จะสําเร็จเป็นฌานลาภหรือไม่นั้น ไม่ต้องนํามา คิดนึก ถึงแม้ว่าภพนี้จักไม่สําเร็จก็ตามที ก็ยังเป็นที่ฝึกฝนอบรมสั่งสมอินทรีย์เอาไว้ เพื่อจะให้ได้มาในภพข้างหน้าต่อไป
เมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นแล้ว
พระโยคีบุคคลที่ทําการเพ่งปถวีองค์กสิณ จนถึงได้อุคคหนิมิตปรากฏขึ้นทาง ใจแล้วนั้น พระโยคีบุคคลก็ไม่ต้องไปนั่งเพ่งปถวีองค์กสิณนั้นอีก แต่ต้องย้ายที่ไปเสีย ที่อื่น สุดแต่จะเห็นว่าที่ใดจะสะดวกสบายและสมควร ก็จงพักอาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนั้น แล้วตั้งต้นเพ่งอุคคหนิมิตที่ได้มาแล้วนั้นต่อไป ถ้าอุคคหนิมิตที่ตนกําลังเพ่งบริกรรมอยู่นั้น เกิดเลือนหายไปเนื่องมาจากปลิโพธ เครื่องกังวลใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จงรีบกลับไปยังที่เก่า เริ่มต้นเพ่งปถวีองค์กสิณเสียใหม่ ต่อเมื่อได้อุคคหนิมิตแล้วจึง กลับไปยังที่ใหม่ตามเดิม แล้วเริ่มเพ่งอุคคหนิมิตนั้นต่อไป ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้ายังเพ่ง ปถวีองค์กสิณเดิมอยู่อีก จะทําให้ปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นได้โดยยาก ครั้นพยายามเพ่ง อุคคหนิมิตอยู่ต่อไปอย่างไม่ขาดสายแล้ว อุคคหนิมิตที่ถูกเพ่งอยู่นั้นก็จะมีสภาพ สะอาดปราศจากริ้วรอย ด่างพร้อย ด้วยมลทินต่าง ๆ มีแต่ความละเอียดประณีตยิ่งขึ้น มามากกว่าอุคคหนิมิตที่ปรากฏเมื่อขณะแรก คือ ค่อยๆ ใสขึ้นมาเป็นลําดับเหมือนหนึ่ง กับเนื้อกระจก จิตใจในขณะนั้นก็มีแต่ความชุ่มชื่นอิ่มเอิบอยู่โดยไม่รู้เบื่อต่อการนั้นเลย อุคคหนิมิตที่มีคุณภาพเช่นนี้แหละ จึงกลับเปลี่ยนชื่อเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต กามาวจรัส มาธิของพระโยคีบุคคล นับจําเดิมตั้งแต่เริ่มเพ่งบริกรรมนิมิตเป็นต้นมา ตลอดจนถึง การเพ่งอุคคหนิมิตนั้น ยังเป็นบริกรรมภาวนา คือ บริกรรมสมาธิอยู่ต่อเมื่อถึงตอน ปฏิภาคนิมิต เกิดขึ้นนั้น กามาวจรสมาธิของพระโยคีบุคคลนั้นก็จะถูกเปลี่ยนชื่อเรียกว่า อุปจารภาวนา หรือ อุปจารสมาธิไป ด้วยอํานาจแห่งอุปจารสมาธินี้แหละ นิวรณ์ธรรม ต่างๆ ย่อมสงบลงเป็นอย่างดี ไม่มีโอกาสจะปรากฏขึ้นมาเป็นปริยุฏฐานะได้ คือ
๑. ไม่มีกามฉันทนิวรณ์ ที่ไม่มีความยินดีพอใจ ติดใจในการเสวยกามคุณอารมณ์
๒. ไม่มีพยาบาทนิวรณ์ ที่ทําให้เกิดความโกรธ ความเสียใจ กลุ้มใจ
๓. ไม่มีถีนมิทธนิวรณ์ ที่ทําให้เกิดความง่วงเหงาหาวนอน ท้อถอย
๔. ไม่มีอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ที่ทําให้เกิดวามฟุ้งซ่านรําคาญใจ
๕. ไม่มีวิจิกิจฉานิวรณ์ ที่ทําให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ลังเลใจ ใน ครูอาจารย์ที่ทําการแนะนําสั่งสอนถึงวิธีปฏิบัติ พร้อมกับแนวทางที่กําลังปฏิบัติอยู่ กับ ทําให้อวิชชานิวรณ์และกิเลสอื่นๆ บรรเทาเบาลงไปด้วย
เมื่อพระโยคีบุคคลได้พยายามเจริญภาวนาตลอดมา จนปฏิภาคนิมิตได้ปรากฏ ขึ้นนั้น ถ้าพระโยคีนั้นเป็นตึกขบุคคลแล้ว ในไม่ช้าก็จะสําเร็จเป็นฌานลาภีบุคคล คือ รูปาวจรปฐมฌานที่ชื่อว่า อัปปนาภาวนา หรือ อัปปนาสมาธิ ได้บังเกิดขึ้นแก่พระโยคี นั้นเอง แต่ถ้าหากเป็นมันทบุคคลก็จะสําเร็จเป็นฌานลาที่ได้ช้า ดังนั้นในระหว่างที่
รูปาวจรปฐมฌานยังไม่เกิดนั้น พระโยคีบุคคลจําเป็นต้องมีการระวังรักษาปฏิภาคนิมิตไว้เป็นอย่างดี เสมือนหนึ่งพระราชินีที่กําลังทรงพระครรภ์ อันพราหมณ์ปุโรหิตทั้งหลาย ได้ทํานายว่า พระกุมารในพระครรภ์นี้เป็นพระโอรส และจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ฉะนั้น จึงทรงทะนุถนอม บํารุงรักษา พระครรภ์นั้นเป็นอย่างดี มิให้มีภัยอันตรายใดๆ มาพ้องพาน กล้ํากลายได้ฉันใด พระโยคีบุคคลก็ต้องระวังรักษาปฏิภาคนิมิตไว้ให้จงดี เสมือนดังเช่นพระราชินีทรงระวังพระครรภ์ ฉันนั้น ถ้าหากไม่ระวังรักษาไว้ให้ดีแล้ว ปฏิภาคนิมิตนั้นก็จะเลือนหายไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาวนาจิต หรือ สมาธิของพระโยคี บุคคลก็จะลดต่ําลงไป กล่าวคือ ภาวนาจิต หรือ สมาธิของพระโยคีบุคคล ในขณะที่ ปฏิภาคนิมิตกําลังปรากฏอยู่นั้น จัดเข้าอยู่ในขั้นอุปจารฌาน หรือ อุปจารสมาธิ เมื่อ ปฏิภาคนิมิตเลือนหายไป ภาวนาจิต หรือสมาธิของพระโยคีบุคคลนั้นก็จะลดลงไปอยู่ ขั้นบริกรรมภาวนา หรือ บริกรรมสมาธิตามไปด้วย ดังนั้น พระมหาพุทธโฆสาจารย์ จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า พระโยคีบุคคลที่มีการรักษาปฏิภาคนิมิตไว้เป็นอย่างดี ย่อมไม่ มีการเสื่อมจากอุปจารฌานสมาธิที่ตนได้มาแล้ว ถ้าไม่มีการรักษาปฏิภาคนิมิตให้ดีแล้ว อุปจารฌานสมาธิที่ตนได้มา ๆ นั้นก็ย่อมเสื่อมหายไป
การขยายปฏิภาคนิมิต
เมื่อพระโยคีบุคคลรักษาปฏิภาคนิมิตไว้ได้เป็นอย่างดีแล้ว จากนั้นก็ควรขยาย ปฏิภาคนิมิตนี้ ให้ค่อย ๆ กว้างใหญ่ขึ้นไป ๆ ทีละน้อยจนแผ่ตลอดไปถึงภูเขา จักรวาล เพื่อเป็นการอบรมสมาธิให้มีกําลังแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้นไป สําหรับอุคคหนิมิตนั้นไม่ควร ขยาย เพราะการขยายอุคคหนิมิตนั้นไม่ได้รับประโยชน์อันใด กลับจะทําให้สมาธิที่มีกําลังดีอยู่แล้วนั้นเสื่อมถอยลงไป หากจะขยายให้แผ่กว้างออกไปเหมือนกับการขยาย ปฏิภาคนิมิต ก็คงทําได้เช่นกัน แต่จิตใจนั้นมิอาจตั้งมั่นอยู่ในอุคคหนิมิตนี้ให้ตลอดทั่ว ถึงได้ การที่กล่าวว่าค่อยๆ แผ่กว้างออกไปๆ ทีละน้อยนั้น คือการขยายปฏิภาคนิมิต ที่มีอยู่จากเดิมนั้นออกไปทีละ ๑ นิ้ว ๒ นิ้ว ๔ นิ้ว ๘ นิ้ว ๑ ศอก ๒ ศอก จนถึง รอบบริเวณสถานที่แล้วก็ค่อยๆ ขยายให้กว้างใหญ่ออกไป จนถึงหมู่บ้าน ตําบล จังหวัด ประเทศ กระทั่งถึงที่สุดจดขอบเขตภูเขาจักรวาล การขยายปฏิภาคนิมิตนี้ พระโยคี บุคคลจะขยายในขณะที่สมาธิยังเป็นอุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ใกล้ต่อฌานก็ได้ หรือ ภายหลังจากที่ได้สําเร็จอัปปนาสมาธิ คือ ฌานก็ได้
ปฐมฌานเกิด
เมื่อพระโยคีบุคคลได้ปฏิบัติถูกต้องดังที่ได้พรรณนามาแล้วนี้ รูปาวจรปฐม- ฌานที่มีองค์ฌาน ๕ ก็เกิดขึ้นแก่พระโยคีเป็นไปดังนี้ คือ มโนทวาราวัชชนะที่มีปถวี ปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นตัดกระแสภวังค์ขาด ในลําดับนั้นมหากุศลญาณ สัมปยุตตชวนะดวงใดดวงหนึ่งก็เกิดขึ้น ๔ ขณะ แก่มันทบุคคล หรือ ๓ ขณะ แก่ ติกขบุคคล ซึ่งมีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ในฐานที่เป็น บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู หรือ อุปจาร อนุโลม โคตรภู เรียกว่า อุปจารสมาธิชวนะในฌานวิถีแล้วก็ดับไป ต่อจากนั้น ปฐมฌานกุศล ที่เป็นอัปปนาสมาธิ ที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ๑ ขณะแล้วก็ดับลง จากนั้น ภวังคจิตก็เกิดต่อไป หลังจากภวังคจิต ปัจจเวกขณวิถี ที่มีมโนทวาราวัชชนจิต ๑ ครั้ง มหากุศลชวนะ ๗ ครั้ง ก็เกิดขึ้นหลาย ๆ รอบทํา การพิจารณาองค์ฌานทั้ง ๕ โดยเฉพาะ ๆ ว่าเป็น วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เสมือนผู้ที่ตื่นจากหลับ แล้วพิจารณาถึงความฝันของตนว่าได้ฝันเรื่องอะไรบ้าง
เหตุที่ทําให้รู้ได้ว่าเป็นอัปปนาฌานหลังจากฌานวิถีได้ดับลงแล้ว
ในฌานวิถีนี้ อารมณ์ของปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ที่เป็นกามชวนะ กับอารมณ์ของอัปปนาฌานที่เป็นอัปปนาชวนะนั้น แม้ว่าจะมีปถวีปฏิภาคนิมิตเป็น อารมณ์เหมือนกันก็จริง แต่ขณะที่กามชวนะเกิดอยู่นั้น อํานาจของกามตัณหา หาได้ สงบราบคาบไม่ จิตใจก็ยังไม่มีกําลังเต็มที่ ต่อเมื่อปฐมฌานเกิดขึ้นนั้น แม้ว่าเกิด เพียงขณะจิตเดียวก็จริง แต่สามารถข่มกามตัณหาให้สงบลงได้อย่างราบคาบเป็นพิเศษ จิตใจก็มีกําลังกล้าแข็งเต็มที่ องค์ฌานทั้ง ๕ ก็ปรากฏขึ้นมาอย่างเด่นชัด อุปมา เหมือนกับการตอกตะปูลงไปบนแผ่นกระดานจนแน่น ฉันใด การเข้าสู่อารมณ์ของ ปฐมฌานก็ไม่หวั่นไหวคลอนแคลน ฉันนั้น ฉะนั้น จึงทําให้รู้ได้ว่า ฌานเกิดขึ้นแล้ว แก่ตน ส่วนจะบอกได้หรือไม่นั้น เกี่ยวกับความรู้ในด้านพระอภิธรรมโดยตรง กล่าวคือ ถ้าได้รับการศึกษาดีพอก็พูดได้ ถ้าไม่ได้รับการศึกษาดีพอก็อาจพูดไม่ถูก
ปฐมฌานที่ได้ชื่อว่ารูปาวจรจิต และ การปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ทุติยฌาน เป็นต้นเกิดขึ้น
เจตนาที่อยู่ในปฐมฌานกุศลนี้ไม่มีกามตัณหา คือ ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ ฉะนั้น จึงไม่มีการส่งผลให้ปฐมฌานลาภีบุคคลได้บังเกิดในกามภูมิอีก แต่กลับส่งผล ให้ไปบังเกิดในรูปภูมิ ฉะนั้น ปฐมฌานกุศลนี้จึงได้ชื่อว่า รูปาวจรจิต
สําหรับการปฏิบัติเพื่อจะให้ทุติยฌาน เป็นต้น เกิดขึ้นได้นั้น ในขั้นแรกฌาน ลาภีบุคคลพึงกระทํา ปฐมฌานกุศลชวนะ ให้เกิดติดต่อกันอยู่ตลอด ๑ วัน ถึง ๗ วัน เสียก่อน เพื่อจะได้อบรมจิตใจให้มีสมาธิกล้าแข็งขึ้น เพื่อเป็นบาทแห่งการฝึกหัดวสีภาวะ ๕ ประการต่อไป ที่ต้องกระทําดังนี้ เพราะการเจริญทุติยฌาน หรือ ตติยจตุตถ ปัญจมฌาน ให้เกิดต่อไปตามลําดับได้นั้น จําเป็นต้องอาศัยวสีภาวะทั้ง ๕ นี้เป็นเหตุ สําคัญ ถ้าขาดวสีภาวะทั้ง ๕ นี้เสียแล้ว ฌานเบื้องบนก็เกิดขึ้นไม่ได้ วสีภาวะทั้ง ๕ จะสําเร็จลงได้ก็ต้องอาศัย การเข้าปฐมฌานอยู่เสมอ ๆ เสียก่อน จนจิตใจมีสมาธิกล้า แข็งขึ้น ความสามารถเข้าปฐมฌานได้ติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ ตลอด ๑ วัน หรือ ๗ วัน นี้ แหละเป็นจิตใจที่มีสมาธิกล้าแข็งอันเป็นเหตุสําคัญขั้นแรก
การที่จะให้ปฐมฌานกุศลชวนะเกิดขึ้นได้เสมอ ๆ นั้น ก็ต้องเพ่งปฏิภาคนิมิต เสียก่อนทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อเพ่งปฏิภาคนิมิตเวลาใด เวลานั้นฌานจิตก็ต้องเกิดขึ้น เป็นธรรมดา แต่ทว่าในวิถีหนึ่ง ๆ นั้น คงมีปฐมฌานกุศลชวนะเกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะ หรือ ๒ - ๓ ขณะ แล้วภวังคจิตก็เกิดต่อไป เป็นไปอยู่ดังนี้ ฉะนั้น ขณะใดที่รู้สึกว่า ฌานจิตที่เกิดขึ้นนั้นได้ดับไปแล้ว ขณะนั้นต้องรีบเพ่งปฏิภาคนิมิตอีก เพื่อจะได้กลับเข้า ปฐมฌานอีก อย่านิ่งนอนใจและอย่าสนใจในเรื่องอื่นใดทั้งสิ้น จงพยายามเข้าปฐมฌาน ไว้เสมอๆ อย่าให้ขาดสาย เพื่อเป็นการอบรมจิตใจให้สมาธิกล้าแข็งขึ้น ในระหว่างที่ กําลังพยายามเข้าปฐมฌานอยู่ยังเข้าไม่ได้ตลอด ๑ วัน ๒ วัน เป็นต้นนั้น ในเวลานั้น อย่าสนใจในการพิจารณาองค์ฌาน ๕ มี วิตก เป็นต้นให้มากนัก ควรสนใจแต่ในการเพ่งปฏิภาคนิมิต เพื่อจะได้เข้าปฐมฌานประการเดียว เพราะว่า ถ้าพิจารณาองค์ฌาน มากไปในขณะนั้น องค์ฌานเหล่านั้นก็จะปรากฏขึ้นเป็นของหยาบและมีกําลังน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทําให้ปฐมฌานที่ได้มาแล้วเสื่อมไป ทุติยฌานที่จะเกิดขึ้นใหม่ก็เกิดไม่ ได้ เมื่อพยายามเข้าปฐมฌานได้เสมอๆ ตลอด ๑ วัน ถึง ๗ วัน ดังนี้แล้ว ต่อจาก นั้นก็ควรฝึกหัดในด้านการกระทํา วสีภาวะทั้ง ๕ ให้ชํานาญต่อไป
วจนัตถะของคําว่า วสีภาวะ “วสน์ สมตน = วโส, วโส ยสฺส อตฺถิติ = วสี” ความสามารถชื่อว่า วสะ ความสามารถที่มีอยู่แก่ผู้ใด ฉะนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า วสี “วสิโน ภาโว - วสภาโว” ความเป็นผู้มีความสามารถ ชื่อว่า วสีภาวะ
ขั้นสุดท้ายแห่งการปฏิบัติเพื่อให้ทุติยฌานเกิด
เมื่อปฐมฌานลาภีบุคคลได้ฝึกฝนในวสีภาวะทั้ง ๕ จนชํานาญแล้ว จากนั้น จงเข้าปฐมฌานก่อน ออกจากปฐมฌานแล้วก็พิจารณาปฐมฌานนั้นว่า ปฐมฌานนี้เป็น ฌานที่ยังใกล้กับนิวรณ์อยู่ ทั้งวิตกองค์ฌานก็มีสภาพหยาบ ซึ่งเป็นเหตุทําให้องค์ฌาน อื่น ๆ มีวิจาร เป็นต้น มีกําลังน้อยไป ทําให้จิตใจมีสมาธิไม่เข้มแข็งพอ นิวรณ์ที่ถูก ประหาณไปแล้วนั้น อาจกลับเกิดขึ้นอีกได้ ทําให้ปฐมฌานที่ได้มาแล้วนี้กลับเสื่อมสูญ ไป ส่วนทุติยฌานนั้นย่อมห่างไกลจากนิวรณ์ ทั้งองค์ฌานก็มีความประณีตสุขุมอีกด้วย
เมื่อได้ใคร่ครวญดูอย่างนี้โดยถี่ถ้วน จนเกิดการเบื่อหน่ายในปฐมฌาน ปราศ จากนิกันติตัณหา คือ ไม่มีการติดใจในปฐมฌานแต่อย่างใดแล้ว จากนั้นก็จงเริ่มต้น เพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนาจิตทั้งสามตามลําดับ อันเป็นวิตักกวิราคภาวนา คือ ใน ขณะที่กําลังเพ่งปฏิภาคนิมิตพร้อมกับบริกรรมในใจว่า ปถวี ๆ เพื่อจะให้ได้มาซึ่ง ทุติยฌานนั้น ภาวนาจิตในขณะนั้นชื่อว่า บริกรรมภาวนา และนิมิตของบริกรรม ภาวนาในระยะนี้ คือ ปฏิภาคนิมิต มิใช่บริกรรมนิมิต หรือ อุคคหนิมิต ซึ่งต่างกับ บริกรรมภาวนาที่เป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ที่มีบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิตเป็นอารมณ์
เมื่อพระโยคีบุคคลทําการเพ่งและบริกรรมอยู่ดังนี้ จะรู้ว่าภาวนาจิตของตนได้ เข้าใกล้ในขอบเขตของอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌานหรือยัง ก็จงเข้าปฐมฌานเสียก่อน เมื่อออกจากปฐมฌาน ก็พิจารณาองค์ฌาน ๕ ตามลําดับโดยเฉพาะ ๆ และในขณะที่ มีการพิจารณานี้ ถ้าเห็นสภาพของวิตกว่าเป็นสภาพหยาบ และเห็นสภาพขององค์ฌาน ๔ นอกนั้นมีความละเอียดสุขุม เช่นนี้ ก็พึงรู้ได้ว่า ภาวนาจิตของตนนี้ได้เข้าถึงขั้น อุปจารภาวนา ซึ่งใกล้เคียงกับอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌานแล้ว ถ้าหากยังไม่เห็นสภาพหยาบของวิตก และความประณีตสุขุมของวิจาร เป็นต้นแล้ว เวลานั้นภาวนาจิตก็ยังคงเป็นบริกรรมภาวนาอยู่เป็นอันรู้ได้ว่ายังห่างไกลจากอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรพยายามเพ่งและบริกรรมต่อไป จนอุปจารภาวนาเกิดขึ้น
ครั้นการเพ่งได้เข้าถึงขั้นอุปจารภาวนาเวลาใด หากพยายามเพ่งต่อไป ในไม่ ช้าอัปปนาภาวนา คือ ทุติยฌาน ก็จักเกิดขึ้นโดยลําดับดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ทุติยฌาน ๑ ครั้ง ภวังคจิตต่อไป จากนั้น ปัจจเวกขณวิถี ที่มีการพิจารณาองค์ฌาน ๔ ตาม ลําดับโดยเฉพาะๆ ก็เกิดขึ้น เป็นอันว่า ได้สําเร็จเป็นทุติยฌานลาภีบุคคล
การปฏิบัติในขั้นแรกและขั้นสุดท้าย เพื่อให้ ตติยฌาน เป็นต้นจนถึง ปัญจม ฌาน เกิดต่อไปนั้น ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้ทุกประการ คนต่างกันแต่เพียงการ พิจารณาให้เห็นโทษขององค์ฌานนั้นๆ ตามลําดับเท่านั้น คือ ทุติยฌานลาภีบุคคล เมื่อจะขึ้นตติยฌาน ก็ต้องพิจารณาให้เห็นโทษของวิจาร ที่มีสภาพหยาบกว่า ปีติ สุข เอกัคคตา แล้วตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนาทั้งสามตามลําดับ อันเป็นวิจารวิราค ภาวนาต่อไป ตติยฌานลาภิบุคคล เมื่อจะขึ้นจตุตถฌาน ก็ต้องพิจารณาให้เห็นโทษ ของปีติ ที่มีสภาพหยาบกว่า สุขเอกัคคตา แล้วก็ตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนา ทั้งสามตามลําดับ อันเป็นปีติวิราคภาวนาต่อไป จตุตถฌานลาภีบุคคล เมื่อจะขึ้น ปัญจมฌาน ก็ต้องพิจารณาให้เห็นโทษของสุข ที่มีสภาพหยาบกว่า อุเบกขา เอกัคคตา แล้วก็ตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิต โดยภาวนาทั้งสามตามลําดับ อันเป็นสุขวิราคภาวนาต่อไป
เท่าที่ได้พรรณนามานี้ เป็นการพรรณนาโดยปัญจกนัย ตามนัยแห่งปัญญาของ มันทบุคคล ที่ไม่อาจพิจารณาเห็นโทษของวิตกและวิจารทั้งสองนี้ในเวลาเดียวกันได้ สําหรับติกขบุคคลนั้น เมื่อจะขึ้นทุติยฌานต่อไปนั้น มีปัญญาสามารถใคร่ครวญเห็น โทษของวิตกและวิจารทั้งสองพร้อม ๆ กัน ดังนั้น เมื่อตั้งต้นเพ่งปฏิภาคนิมิตโดยภาวนา จิตทั้งสาม ตามลําดับ อันเป็นวิตักกวิจารวิราคภาวนาต่อไปนั้น ทุติยฌานที่มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา ก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อได้ปฏิบัติต่อไป ตติยฌานที่มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา ก็ย่อมเกิดขึ้น และเมื่อได้ปฏิบัติต่อไปอีก จตุตถฌาน ที่มี องค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา ก็ย่อมเกิดขึ้น เหตุนี้ ฌานเหล่านี้จึงเป็นไปโดยจตุกกนัยตามปัญญาของตึกขบุคคล เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จรูปาวจรฌานหมดสิ้น ในขณะที่ได้รูปาวจรปัญจมฌานนั้น หากผู้นั้นได้เคยสร้างบารมีเป็นพิเศษมาแล้ว กล่าว คือ ได้เคยชํานาญในการแสดงอภิญญาในภพก่อนๆ ที่ใกล้กับภพนี้ก็ดีหรือ ได้เคย สร้างทาน ศีล ภาวนาในภพก่อนๆ โดยตั้งความปรารถนาไว้จะให้ตนได้อภิญญาใน ภพต่อไปเหล่านี้ก็ดี เมื่อรูปาวจรปัญจมฌานเกิดขึ้นนั้น ปัญญาที่ประกอบกับจิตดวง นั้นเป็นปัญญาที่มีอํานาจพิเศษอยู่ในตัวเรียกว่า อภิญญา จากนั้นเมื่อต้องการทํา อภิญญาเวลาใดก็ทําได้ สําหรับรูปฌานลาภที่นอกจากบุคคลเหล่านี้ ต้องได้ อรูปฌาน ทั้ง ๔ พร้อมทั้งมีความชํานาญในวสีภาวะ ๕ อย่างที่เกี่ยวกับรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็น สมาบัติ ๙ หรือ ๘ เสียก่อน จึงจะแสดงอภิญญาได้
การปฏิบัติขั้นแรก และ ขั้นสุดท้ายเพื่อจะได้อรูปฌานต่อไปตามลําดับ
ขั้นแรกของการปฏิบัติ เพื่อให้อากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ฌานลาภีบุคค พึงกระทํารูปาวจรปัญจมฌานกุศลชวนะ ให้เกิดติดต่อกันจนชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับรูปาวจรปัญจมฌาน เหมือนกับการปฏิบัติของปฐมฌานลาภีเพื่อให้ทุติยฌาน เกิด ฉันนั้น ต่างกันก็เพียงก่อนหน้าจะเริ่มฝึกหัดในวสีภาวะทั้ง ๕ นั้น ฌานลาบุคคล ได้มีความเห็นต่างกันเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นความเห็นทั่ว ๆ ไป ในเวลาที่ว่าง จากพระพุทธศาสนา อีกฝ่ายหนึ่งเป็นความเห็นทั่ว ๆ ไปในเวลาที่มีพระพุทธศาสนา ปรากฏขึ้นแล้ว
ความเห็นในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนานั้น ปัญจมฌานลาภีบุคคลมีความ เห็นว่า การประหัตประหารซึ่งกันและกันด้วยอาวุธต่างๆ ก็ดี โรคต่างๆ ก็ดี ความ หิวกระหายก็ดี ความกําหนัดรักใคร่ซึ่งกันและกันก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เนื่องจากร่างกาย นั้นเองเป็นต้นเหตุ และ ร่างกายนี้เล่าก็เกิดมาจากโลหิตของ มารดา บิดา อันเป็น ของไม่สะอาดอีกด้วย ฉะนั้น กายนี้จึงเรียกว่า กระกาย ส่วนในอรูปภูมินั้นเป็นภูมิที่ ปราศจากร่างกาย มีแต่จิตใจอย่างเดียว ฉะนั้น เรื่องเดือดร้อนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกาย นั้นจึงได้ถูกระงับไปหมดสิ้น เป็นความสุขอย่างยิ่ง เมื่อได้คิดเห็นเช่นนี้แล้วก็เกิด ความเบื่อหน่ายในร่างกาย มีแต่ความอยากได้ไปเกิดในอรูปภูมิ พร้อมกันนั้นก็มีความ หวาดกลัวในปฏิภาคนิมิต อันเป็นอารมณ์ของรูปาวจรปัญจมฌาน ที่เกิดเนื่องต่อกันมาจากรูปที่เป็นองค์กสิณอีกด้วย เสมือนหนึ่งผู้ที่กลัวผีในเวลาค่ําคืนได้แลเห็นตอไม้เข้า ก็สําคัญผิดคิดว่าผีหลอก เกิดการสะดุ้งกลัว ฉันใด ปัญจมฌานลาภีบุคคลที่มีการเห็น โทษของร่างกายก็ฉันนั้น สมดังที่มีคาถาแสดงไว้ว่า
ผู้ที่กลัวผีในเวลากลางคืน แม้ได้เห็นตอไม้ก็มีความสะดุ้งกลัว เกิดขึ้น ฉันใด โยคีบุคคลที่มีความกลัวต่อร่างกาย ก็ย่อมกลัวต่อรูปฌานที่มีอารมณ์ เป็นรูปกสิณ ฉันนั้น
ส่วนความเห็นในสมัยที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นแล้วนั้น ปัญจมฌานลาภีบุคคล หาได้มีการพิจารณาเห็นโทษในร่างกายแต่ประการใดไม่ เพียงแต่มีความเห็นว่าสมาธิที่
เกิดจากอรูปฌานนั้นมีกําลังมั่นคงและประณีตมากกว่าสมาธิที่เกิดจากรูปฌาน ฉะนั้นจึง อาจทําอภิญญาได้ หรือถ้าได้สําเร็จเป็นพระอนาคามี พระอรหันต์เวลาใด ก็ยังช่วยให้ ตนสามารถเข้านิโรธสมาบัติ อันเป็นสันติสุขที่มีสภาพคล้ายกับอนุปาทิเสสนิพพานได้ อีกด้วย เมื่อมีความเห็นเช่นนี้แล้ว ก็เริ่มต้นปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ต่อไป ในระยะ ขั้นสุดท้ายนี้ เมื่อออกจากรูปปัญจมฌานแล้ว ถ้าเห็นว่าปริมณฑลของปฏิภาคนิมิตที่ แผ่ไปในนั้นเล็กเกินไป อยากขยายให้ใหญ่ถึงภูเขาจักรวาลก็ทําได้ แล้วแต่กําลังสมาธิ ของตนที่จะสามารถเพ่งให้ทั่วถึงได้ ถ้าเห็นว่าใหญ่มากเกินไปอยากทําให้เล็กลงก็ทําได้ เช่นกัน แต่อย่างเล็กที่สุดต้องมีขนาด ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี จะเล็กกว่านี้ไม่ได้ หรือ เห็นว่าไม่จําเป็นที่จะขยายให้ใหญ่ หรือ เล็กลง เมื่อมีขนาดเท่าใดก็คงให้มีอยู่เท่านั้นก็ได้ แล้วเพ่งต่อไปอย่างไม่สนใจใด ๆ ในปฏิภาคนิมิตที่ปรากฏอยู่นั้นเลย มีแต่ความ พยายามที่จะพรากใจออกจากปฏิภาคนิมิตนั้น แล้วกลับพยายามยึดหน่วงให้อากาศ บัญญัติมาปรากฏแทนที่ โดยคิดว่าปถวีปฏิภาคนิมิตไม่มี ๆ คงมีแต่อากาศว่างเปล่าอยู่ เท่านั้น พร้อมกับบริกรรมอยู่ภายในใจว่า อากาโส อนตฺโต ๆ (อากาศไม่มีที่สิ้นสุดๆ)
เมื่อปัญจมฌานลาภีบุคคลพยายามเจริญเช่นนี้เสมอไปนั้น เวลาใดจิตใจปราศจากนิกันติตัณหาในรูปปัญจมฌาน เวลานั้นภาวนาจิตของพระโยคีบุคคลนั้นก็ขึ้น สู่ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาจากนี้ต่อไปไม่ช้านัก ปถวีปฏิภาคนิมิต ที่เป็นนิมิตกรรมฐานก็จะสูญหายไปจากใจ คงเหลือแต่อากาศว่างเปล่าที่เป็นภายในบริเวณ อุปมาดังผู้ที่กําลังเพ่งดูผ้าม่านที่ติดอยู่กับช่องหน้าต่างอย่างของปฏิภาคนิมิตแผ่ไปสนใจ ในขณะนั้น ผ้าม่านก็หลุดไปด้วยอํานาจพายุที่พัดมาอย่างแรง จึงมองเห็นแต่ อากาศที่ว่างๆ อยู่เท่านั้น ฉันใด พระโยคีบุคคลเพิกปถวีปฏิภาคนิมิตออกจากใจได้ ก็ ฉันนั้น แต่การเพิกกสิณออกจากใจนั้น หาใช่เหมือนกับการเลิกเสื่อออก หรือ ยกจาน อาหารออกจากถาดแต่อย่างใดไม่ หากเป็นการเพิกโดยไม่ให้จิตใจไปคิดนึกพัวพันอยู่ ในกสิณอีกเท่านั้น ดังมีคาถากล่าวไว้ตรงกันกับวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า
พระโยคีบุคคลเลิกองค์กสิณออกจากใจนี้ หาใช่เหมือนกับการ เลิกเสื้อออก หรือ ยกจานขนมออกแต่อย่างใดไม่ หากแต่เป็นการเลิกสนใจในกสิณ นิมิตนั้นเสีย กลับไปสนใจเพ่งและบริกรรมว่า อากาโส ๆ ต่อไป
อากาโส อนตฺโต (อากาศไม่มีที่สิ้นสุด) นี้หมายความว่า ธรรมดาอากาศ นั้นเป็นบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์ ฉะนั้น จึงไม่มีเบื้องต้น คือ การอุบัติขึ้น และไม่มี เบื้องปลาย คือ การดับไป นี้แหละ เรียกว่า อนตฺโต แต่การบริกรรมนั้นใช้แต่เพียงว่า อากาโส ๆ ก็ได้ หรือ อากาส ๆ ก็ได้
เมื่อสามารถเพิกปถวีปฏิภาคนิมิต ซึ่งเป็นนิมิตกรรมฐานที่ติดอยู่กับใจเสียได้ ในเวลานั้น อากาศบัญญัติก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ที่มีองค์ฌาน ๒ ก็เกิดขึ้นเป็นไปดังนี้คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อากาสานัญจายตนกุศลจิต เกิดขึ้น ๑ ครั้ง แล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็กน้อย แล้วปัจจเวกขณวิถีที่ มีการพิจารณา อุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จเป็น อากาสานัญจายตนฌานสารีบุคคล
อากาสานัญจายตนฌานนี้มีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ ๑. อรูปฌาน ๒. อากาสานัญจายตนฌาน ๓. ปฐมารุปปฌาน ที่เรียกว่า อรูปฌาน นั้น เพราะว่าปัญจมฌานลาภีบุคคลนี้มิได้สนใจเพ่งปถวีปฏิภาคนิมิตที่เป็นรูปอารมณ์แต่ประการใด เมื่อฌานจิตเกิดขึ้นนั้น ฌานจิตนี้ก็ปราศจากรูปเป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงเรียกว่าอรูปฌาน ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน นั้น ก็เพราะว่า ฌานจิตนี้มีความมั่นคงอยู่ไม่ หวั่นไหว เกิดขึ้นโดยอาศัยอากาศบัญญัติ ซึ่งไม่ปรากฏว่าเบื้องต้น คือ ความเกิดและ เบื้องปลาย คือ ความดับนั้นอยู่ตรงไหน ฉะนั้น จึงเรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ที่เรียกว่า ปฐมารุปปฌาน นั้นก็เพราะว่า ภายหลังที่ได้เว้นจากบัญญัติกรรมฐานที่ เกี่ยวกับรูปได้แล้ว ฌานนี้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในบรรดาอรูปฌานทั้ง ๔ ฉะนั้น จึงเรียกว่า ปฐมารุปปฌาน
การปฏิบัติขั้นแรก และขั้นสุดท้ายของวิญญาณัญจายตนฌาน
พระโยคีบุคคล เมื่อต้องการเจริญวิญญาณัญจายตนฌานต่อไป ขั้นแรกก็จง ปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับ อากาสานัญจายตนฌาน เสียก่อน หลังจากมีความ ชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว แต่นั้นก็จงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อออกจากฌานก็พิจารณาเห็นโทษของอากาสานัญจายตนฌานว่า อากาสานัญจาย ตนฌานนี้ เป็นฌานที่ใกล้กับรูปปัญจมฌานอันเป็นข้าศึกแก่กันอยู่ ถ้าขาดการเข้าฌาน นี้อยู่เสมอๆ เวลาใดแล้ว เวลานั้นฌานนี้อาจเลือนหายไปจากใจและกลับทําให้สมาธิลด ระดับลงไปตั้งอยู่ในรูปปัญจมฌานตามเดิมได้อีก ทั้งสมาธิที่เกิดจากฌานนี้ก็ยังหยาบ กว่าสมาธิที่เกิดจากวิญญาณัญจายตนฌานอีกด้วย เมื่อพิจารณาเห็นโทษในอากาสา นัญจายตนฌานดังนี้แล้ว ก็เกิดการฝักใฝ่สนใจในปฐมารุปปวิญญาณ คือ อากาสา นัญจายตนฌานที่ดับไปแล้วจากจิตสันดานของตนโดยการพยายามพรากใจออกจาก
อากาศบัญญัตินั้นเสีย แล้วกลับพยายามยึดหน่วงให้อากาสานัญจายตนฌานมาปรากฏ แทนที่โดยบริกรรมว่า วิญญาณ อนนต์ๆ หรือ วิญญาณ ๆ (นี้เป็นปฐมารุปป วิญญาณที่มีอากาศบัญญัติไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือ นี้เป็นปฐมารูปปวิญญาณ) อยู่ดังนี้เรื่อยๆ
เมื่อพระโยคีบุคคลพยายามเจริญอยู่อย่างนี้เสมอไปนั้น เวลาใด จิตใจปราศจาก นิกันติตัณหาในอากาสานัญจายตนฌาน เวลานั้นภาวนาจิตของพระโยคีบุคคลนั้นก็ขึ้น สู่ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาต่อไปในไม่ช้า อากาศบัญญัติที่เป็นนิมิตกรรมฐานก็จักสูญหายไปจากใจ การพยายามก้าวล่วงอากาศบัญญัติ ซึ่งเป็นนิมิตกรรมฐานติดอยู่ กับใจเสียได้ในเวลาใด เวลานั้น อากาสานัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วยวิญญาณัญจายตนฌานที่มีองค์ฌาน ๒ ก็เกิดขึ้นเป็นไปดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู วิญญาณัญจายตนกุศลจิต เกิดขึ้น ครั้งแล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็ก น้อย แล้วปัจจเวกขณวิถี ที่มีการพิจารณา อุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จเป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาภีบุคคล
เรื่องนี้ก็น่าสงสัยว่า เมื่อฌานลาภีบุคคลได้เห็นโทษของอากาสานัญจายตน ฌานด้วยประการต่างๆ ฉะนี้แล้ว เหตุไฉนเมื่อจะเจริญฌานเบื้องบนต่อไปนั้น จึงกลับ ไปฝักใฝ่สนใจในอากาสานัญจายตนฌานนั้นอีก ข้อนี้แก้ว่า วิญญาณัญจายตนฌาน จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน นี้แหละเป็นเหตุ เช่นเดียวกันกับ สัททารมณ์ซึ่งเป็นเหตุในการเกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณ ฉันนั้น โดยเหตุนี้ ถึงแม้ว่า ฌานลาภีบุคคลจะพิจารณาเห็นเป็นโทษอย่างใดก็ตามที ก็ยังจําเป็นต้องใส่ใจนึกถึงอยู่
นั่นเอง
ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้สําเร็จผลเป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาบุคคลตามความมุ่ง หมายของตนเท่านั้น อุปมาเหมือนหนึ่งมหาดเล็กที่ได้แลเห็นโทษของพระราชาใน ประการต่าง ๆ เช่น ความไม่เป็นธรรม มากน้อยเพียงใดก็ตามที แต่ก็ต้องมีใจเคารพรักและคอยปฏิบัติรับใช้ต่อพระองค์อยู่นั้นเอง เพื่อจะได้เป็นที่อาศัยพักพิงยังอาชีพ ของตนให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายหน้า ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์ ได้แสดงไว้ว่า
ผู้ที่มีความประสงค์อยากได้วิญญาณัญจายตนฌาน ย่อมจําเป็น ที่จะต้องกระทําอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นอารมณ์เสมอไป เพราะนอกจากนี้ก็ไม่มี อารมณ์อื่นๆ ที่จะกระทําให้วิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้นได้ เสมือนหนึ่งบุรุษมหาดเล็ก แม้ว่าจะได้เห็นโทษของพระราชาโดยประการใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ต้องเคารพรัก รับใช้ในพระราชาพระองค์นั้นอยู่นั้นเอง เพื่อแก่การยังอาชีพของตนให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
การปฏิบัติขั้นแรก และ ขั้นสุดท้ายของอากิญจัญญายตนฌาน
พระโยคีบุคคล เมื่อต้องการเจริญอากิญจัญญายตนฌานต่อไปนั้น ชั้นแรกก็ จงปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับวิญญาณัญจายตนฌานเสียก่อน หลังจากมีความ ชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว แต่นั้นก็จงเข้าวิญญาณัญจายตนฌานเมื่อ ออกจากฌาน ก็พิจารณาเห็นโทษของวิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณัญจายตนฌาน นี้ ยังเป็นฌานที่ใกล้กับอากาสานัญจายตนฌาน อันเป็นข้าศึกแก่กันอยู่ คือ ถ้าขาด การเข้าฌานนี้อยู่เสมอ ๆ ในเวลาใดแล้ว เวลานั้นฌานนี้อาจเลือนหายไปจากใจได้ กลับทําให้สมาธิลดระดับไปตั้งอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานตามเดิมได้อีก ทั้งสมาธิที่ เกิดจากฌานนี้ ก็ยังหยาบกว่าสมาธิที่เกิดจากอากิญจัญญายตนฌานเสียอีกด้วย ครั้นได้พิจารณาเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานดังนี้แล้ว ก็เกิดการฝักใฝ่สนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่ดับสูญขาดไปจากจิตสันดานของตนอย่างไม่มีเหลืออยู่เลย แม้ที่สุดเพียงแต่ภวังคักขณะของฌานนั้นก็หาได้มีเหลืออยู่ไม่ โดยการพยายามพรากใจ ออกจากอากาสานัญจายตนฌานนั้น ๆ เสีย แล้วกลับพยายามทําการยึดหน่วงให้ นัตถิภาวบัญญัติมาปรากฏแทนที่ โดยบริกรรมว่า นตฺถิ กิญจิ ๆ (ความเหลืออยู่ของ อากาสานัญจายตนฌานแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่มี ๆ หมายความว่า อย่าว่าแต่ อุปาทะ ฐิติ คือ ขณะเกิด ขณะตั้งอยู่ของอากาสานัญจายตนฌานนั้นแล แม้แต่เพียงภวังคะ คือ ขณะดับ ก็ยังไม่มีเหลืออยู่) อยู่ดังนี้เรื่อยๆ
เมื่อพระโยคีบุคคล พยายามเจริญอยู่อย่างนี้เสมอไปนั้น เวลาใดจิตใจปราศจาก นิกันติตัณหาในวิญญาณัญจายตนฌาน เวลานั้นภาวนาจิตของพระโยคีบุคคลนั้นก็ขึ้นสู่ ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาจากนี้ต่อไปไม่ช้า อากาสานัญจายตนฌานที่เป็น นิมิตกรรมฐานก็จะสูญหายไปจากใจ อุปมาเสมือนกับบุรุษนายหนึ่งที่กําลังเดินผ่านไป ทางด้านหน้าสภาประชุมสงฆ์ ในขณะนั้นได้เหลือบเห็นหมู่สงฆ์กําลังประชุมกันอยู่ อย่างคับคั่งแล้วก็เดินเลยไป ขากลับก็คงเดินผ่านมาทางด้านนั้นอีกเช่นกัน แต่ครั้งนี้ มิได้เห็นเหมือนเช่นเดิม ทั้งนี้ก็เพราะคณะสงฆ์ได้กลับไปหมดสิ้นแล้ว บุรุษนั้นรําพึงอยู่ ภายในใจว่า บัดนี้พระสงฆ์ท่านกลับไปหมดสิ้นแล้วแม้แต่เพียงรูปหนึ่งก็ไม่มีเหลืออยู่เลย การพยายามก้าวล่วงจากอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งเป็นนิมิตกรรมฐานติดอยู่ กับใจเสียได้ในเวลาใด เวลานั้น นัตถิภาวบัญญัติก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วย อากิญจัญญายตนฌานที่มีองค์ฌาน ๒ ก็ได้เกิดขึ้นเป็นไปดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อากิญจัญญาย ตนฌานกุศลจิต เกิดขึ้น ๑ ครั้ง แล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็กน้อยแล้ว ปัจจเวกขณวิถีที่มีการพิจารณาอุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้น ได้สําเร็จเป็นอากิญจัญญายตนฌานลาภีบุคคล
การปฏิบัติขั้นแรก และ ขั้นสุดท้ายของเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
พระโยคีบุคคล เมื่อต้องการเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อไปนั้น ขั้น แรก ก็จงปฏิบัติในวสีภาวะทั้ง ๕ ที่เกี่ยวกับอากิญจัญญายตนฌานเสียก่อน หลังจากมี ความชํานาญในวสีภาวะทั้ง ๕ อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว แต่นั้นจงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อออกจากฌานก็พิจารณาเห็นโทษของอากิญจัญญายตนฌานนั้นว่า อากิญจัญญาย ตนฌานนี้ยังเป็นฌานที่ใกล้กันกับ วิญญาณัญจายตนฌาน อันเป็นข้าศึกแก่กันอยู่ หาก ขาดการเข้าฌานนี้อยู่เสมอ ๆ ในเวลาใดแล้ว เวลานั้นฌานนี้อาจเลื่อนหายไปจากใจได้ กลับทําให้สมาธิลดระดับลงไปตั้งอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌานตามเดิมได้อีก ทั้งสมาธิ ที่เกิดจากฌานนี้ก็ยังไม่ประณีต และความสงบนั้นเล่า ก็ยังไม่สงบเท่ากับความสงบที่ มีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สําหรับสัญญา ความจํา เป็นต้น ที่มีอยู่ในอา กิญจัญญายตนฌานนี้ก็ยังหยาบอยู่จึงเป็นอุปสรรคแก่สมาธิ ส่วนสัญญา ความจํา เป็นต้น ที่มีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นประณีตสุขุมมากกว่านี้ยิ่งนัก ฉะนั้น อรูป ฌานที่ ๔ นี้ จึงเป็นฌานที่มีความประณีตอย่างยอดยิ่ง เป็นการพิจารณาเห็นโทษ เพื่อ ให้หมดความยินดีในอากิญจัญญายตนฌาน แต่ก็ยังเห็นความดีของฌานนี้อยู่ว่า ถึง แม้จะสงบ ประณีต ไม่เท่ากับฌานที่ ๔ ก็จริงอยู่ แต่ทว่ามีความสงบ ความประณีต อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะสามารถรับบัญญัติอารมณ์ที่ไม่มีปรมัตถ์รองรับที่เป็น อภาวบัญญัติ หรือ นัตถิภาวบัญญัติอันเกี่ยวกับอากาสานัญจายตนฌานได้ เมื่อคิดเช่น นี้แล้ว ก็สนใจนึกถึงอากิญจัญญายตนฌานที่ดับไปแล้วจากจิตสันดานของตนโดยการ พยายามพรากใจออกจากนัตถิภาวบัญญัติ นั้นเสีย แล้วพยายามยึดหน่วงให้อากิญจัญญายตนฌานมาปรากฏแทนที่ โดยบริกรรมว่า สนฺตเมต์ ปณีตเมต์ (อากิญจัญ ญายตนฌาน นี้มีสมาธิสงบมาก ประณีตมาก หรือ สนฺติ ๆ ปณีต ๆ ดังนี้ก็ได้) อยู่ ดังนี้เรื่อยๆ
เมื่อพระโยคีบุคคล พยายามเจริญอยู่อย่างนี้เสมอไปนั้น เวลาใดจิตใจ ปราศจากนิกันติตัณหาในอากิญจัญญายตนฌาน เวลานั้น ภาวนาจิตของพระโยคีบุคคล นั้นก็ขึ้นสู่ขั้นอุปจารภาวนา การเจริญภาวนาต่อไปไม่ช้านัก นัตถิภาวบัญญัติที่เป็น นิมิตกรรมฐานก็จะสูญหายไปจากใจ การก้าวล่วงจากนัตถิภาวบัญญัติซึ่งเป็นนิมิตกรรม ฐานติดอยู่กับใจเสียได้ในเวลาใด เวลานั้น อากิญจัญญายตนฌาน ก็ปรากฏขึ้นแทนที่ทันที พร้อมด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่มีองค์ฌาน ๒ ก็ได้เกิดขึ้นเป็น ไปดังนี้ คือ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชนนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู่ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง แล้วก็ดับไป จากนั้นภวังคจิตก็เกิดต่อเล็กน้อย แล้วปัจจเวกขณวิถีที่มีการพิจารณา อุเบกขา เอกัคคตา ก็เกิดขึ้นตามสมควร เป็นอันว่าผู้นั้นได้สําเร็จเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานลาบุคคล
การปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ของพระโยคีบุคคล นั้น ก่อนบริกรรมก็ได้พิจารณาเห็นโทษของอากิญจัญญายตนฌานโดยนานาประการ แต่ครั้นลงมือบริกรรม กลับเห็นคุณความดีของฌานนี้อยู่ไม่น้อย ทั้งได้ยกย่องชมเชย เป็นอันมาก ดังที่ปรากฏในคําบริกรรมว่า สนฺตเมต์ ปณีตเมต์ เช่นนี้มีเป็นการขัด กันไปหรือ ? แก้ว่า หาได้ขัดกันแต่อย่างใดไม่ อุปมาเหมือนกับคนๆ หนึ่ง ซึ่งมีรูป ร่างสัณฐานผิวพรรณไม่งดงาม ไม่น่าชมเลย แต่จิตใจประกอบด้วยคุณความดีหลายประการ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งได้พบเข้าก็จะกล่าวคําตําหนิเย้ยหยันว่า ช่างมีรูปร่างขี้ริ้วเสียจริงๆ แต่ ครั้นได้เข้าใกล้ ทราบถึงอัธยาศัยจิตใจเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะต้องสรรเสริญในคุณความ ดีของบุคคลนั้น ฉันใด การพิจารณาเห็นโทษแล้วกลับเห็นความดีในอากิญจัญญายตน ฌานของพระโยคีบุคคล ก็ฉันนั้น
อนึ่ง การยกย่องชมเชยอากิญจัญญายตนฌาน โดยการบริกรรมว่า สนฺตเมติ ปณีตเมต นั้น หาใช่มีความประสงค์จะเข้าฌานนี้อีกก็หามิได้ เพียงแต่อาศัยใช้บริกรรมเพื่อจะพ้นไปจากฌานนี้ แล้วก้าวขึ้นสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อไปต่างหากอุปมาดังพระราชาประทับทรงช้างออกไปทอดพระเนตรในการแสดงศิลปหัตถกรรม ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ในขณะที่ทอดพระเนตรโดยทั่ว ๆ ไปภายในบริเวณนั้น ได้ทอดพระ เนตรเห็นบุรุษนายหนึ่งกําลังนั่งแกะสลักงาช้างอย่างวิจิตรงดงาม ทรงพอพระทัยในฝีมือ ของบุรุษนั้นเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับออกพระโอษฐ์ชมเชยว่า บุรุษนี้ช่างมีฝีมือในการแกะ สลักเป็นอย่างยิ่ง ยากที่จะหาผู้ใดเทียมได้ แม้จะทรงพอพระทัยมากมายเพียงใดก็ดี แต่ก็หาได้มีพระดําริจะทรงสละราชสมบัติออกมาเป็นนายช่างแกะสลักงาช้างไม่ เพียง แต่ทรงชมเชยแล้วก็เสด็จผ่านเลยไปกลับเข้าสู่พระราชวังตามเดิม ดังนั้น พระมหาพุทธ
โฆสาจารย์จึงได้กล่าวว่า
แม้พระราชาจะได้ทรงชมเชยบุรุษที่เป็นช่างแกะสลักงาช้างอย่างยิ่ง แต่หาได้มีพระราชประสงค์จะทรงเป็นนายช่างแกะสลักงาช้างนั้นไม่ เพียงใดก็ตาม พระโยคีบุคคลที่ได้ตติยารุปปฌานแล้ว แม้ว่าจะได้กล่าวคําชมเชยตติยารุปปฌานนี้ โดยคําบริกรรมว่า สนฺตเมต์ ปณีตเมต์ อยู่ดังนี้ก็ตามที ครั้นแล้วก็ได้ก้าวล่วงตติ ยารุปปฌานนี้ไปเสียทั้งนี้ก็เพราะ พระโยคีบุคคลไม่มีความประสงค์ที่จะเข้าฌานสมาบัตินี้อีก
อรูปฌานทั้ง ๔ มีความประณีตต่างกันยิ่ง ๆ ขึ้นไป ตามลําดับแห่งชั้นของ ฌานนั้นๆ
ในอรูปฌานทั้ง ๔ นั้น ฌานที่เกิดขึ้นครั้งหลังๆ ย่อมมีสภาพ ประณีตกว่าฌานที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนๆ การที่อรูปฌานทั้ง ๔ มีความประณีตมากกว่ากันและกันนั้น อุปมาเหมือนหนึ่งความประณีตสวยงามของปราสาท ๔ ชั้น และผ้านุ่ง ๔ ผืน ที่มีฝีมือละเอียดมากกว่ากันและกัน
อธิบายคําว่า เมื่อได้พิจารณาดูอรูปฌานทั้ง ๔ ชั้นนี้ ในแง่ขององค์ฌานฝ่าย เดียว โดยไม่พิจารณาไปในแง่ของภาวนาแล้ว ก็อาจเข้าใจผิดว่าอรูปฌานทั้ง ๔ นี้มี คุณธรรมเสมอกัน เพราะมีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา เท่ากันนั้นเอง แต่ ถ้าได้พิจารณาถึง การอบรมเจริญภาวนาของฌานนั้นๆ แล้ว จะเห็นได้ว่าฌานเบื้องบน ย่อมมีคุณธรรม ประณีตกว่าฌานเบื้องต่ําตามลําดับ เสมือนหนึ่งปราสาท หรือ โรงแรม ๔ ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นได้รับการตกแต่งด้วยเครื่องเรือนอย่างดี พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค ตลอดจน ความสนุกสนานเพลิดเพลินต่างๆ ก็ได้จัดไว้ทั้ง ๔ ชั้น แต่ถ้าได้ พิจารณาดูให้ถี่ถ้วนถึง การตกแต่งห้องก็ดี เครื่องอุปโภค บริโภคก็ดี ตลอดถึงความ สนุกสนานเพลิดเพลินที่มีอยู่ก็ดี เหล่านี้ในชั้นบนๆ ขึ้นไป ย่อมมีความสวยงาม บริบูรณ์ และสนุกสนานมากกว่าชั้นล่าง ลงไปตามลําดับๆ หาใช่มีความสวยงาม บริบูรณ์ สนุก สนานเท่ากันไม่ หรือเหมือนกับผ้านุ่ง ๔ ผืน ที่ทอขึ้นด้วยด้ายชนิดเดียวกัน กว้าง ยาวก็เท่ากัน แต่ฝีมือการทอก็ดี เนื้อผ้าก็ดี มีความประณีตมากกว่ากันและกันใน จํานวน ๔ ผืนนั้น
เท่าที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นจนถึงวาระสุดท้ายนี้ เป็นการบรรยายถึงวิธีการเพ่ง ปถวีกสิณ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้รูปฌาน และอรูปฌานอย่างกว้างขวาง ที่เกิดขึ้นโดย อาศัยการเพ่งปถวีกสิณนี้ ส่วนวิธีเพ่งองค์กสิณที่ยังเหลืออยู่อีก ๙ และ การเกิดขึ้นของ รูปฌานและอรูปฌานโดยอาศัยการเพ่งองค์กสิณที่ยังเหลือ ๙ นี้ ก็คงเป็นไปในทํานอง เดียวกันทุกประการ ฉะนั้น จะได้บรรยายแต่เพียงข้อความบางประการที่เป็นพิเศษออก ไปจากการเพ่ง ปถวีกสิณนี้ เท่านั้น
อาโปกสิณ คําว่า “อาโป” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาวอาโปที่มีลักษณะไหล หรือ เกาะกุมแต่ประการใด แต่มุ่งหมายเอา สสัมภารอาโป คือน้ําธรรมดาที่ใช้อาบใช้ กินนี้เอง ฉะนั้น ผู้ที่ประสงค์จะเพ่งอาโปกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่ง อาโปกสิณนั้นในภพนี้เมื่อได้แลเห็นแม่น้ํา สระน้ํา หรือ บ่อน้ํา ก็เพียงแต่เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า อาโป ๆ หรือ น้ําๆ อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิต ปรากฏแล้ว ก็มีจําเป็นที่จะเพ่งดูแม่น้ํา สระน้ํา หรือ บ่อน้ํานั้นอีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิต ที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่กับบ้าน หรือ กุฎีต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวแล้วก็ต้องจัดทําองค์กสิณขึ้นน้ําที่จะใช้เป็นอารมณ์กสิณนั้น ต้องเป็นน้ําที่ใสสะอาดปราศจากโทษ คือ ไม่ เจือปนด้วยสีต่างๆ มี เขียว เหลือง แดง ขาว เป็นต้น เช่นน้ําฝนที่ตกลงมายังไม่ ถึงพื้นดิน โดยใช้ผ้าขาวสะอาดรองรับไว้ใส่ในบาตรหรือตุ่มเล็ก ๆ ไว้ให้เต็มเสมอกับ ขอบปากที่มีส่วนกว้าง และ ส่วนลึกประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว หรือ ๑ ฟุต ๑ ศอก ตั้งไว้ในที่ที่จะทําการเพ่ง ขณะเพ่งอยู่นั้น อย่าพิจารณาสีของน้ํา หรือ สภาพของน้ําที่ มีลักษณะไหล หรือ เกาะกุมแต่อย่างใด ๆ แต่ต้องเพ่งดูน้ําธรรมดา พร้อมกับบริกรรมว่า อาโป ๆ หรือ น้ําๆ จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้วก็เพ่ง อุคคหนิมิตนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
อนึ่ง ความเป็นไปแห่งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตที่เกิดจากการเพ่งอาโป- กสิณนั้นคือ อุคคหนิมิตนี้เหมือนกันกับบริกรรมนิมิตทุกอย่าง หมายความว่า ถ้าอาโป องค์กสิณนั้นไหวกระเพื่อม หรือมีฟอง มีต่อม อุคคหนิมิตก็มีลักษณะไหวกระเพื่อม ฯลฯ ปรากฏอยู่เช่นเดียวกัน ส่วนอาโปปฏิภาคนิมิตนั้น ต่างกันกับอุคคหนิมิต คือ ไม่มีการเคลื่อนไหว ตั้งนิ่ง ย่อมปรากฏเป็นความใสสะอาดเหมือนดังแก้วมรกตที่ตั้งไว้ ในที่สูง
สําหรับการงานต่าง ๆ ที่พระโยคีบุคคลจะพึงปฏิบัติในการเจริญอาโปกสิณนับ ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิตเกิด เป็นต้น จนถึงได้รูปฌาน อรูปฌานนั้น ก็คงเป็นไปเช่นเดียว กับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
เตโชกสิณ คําว่า “เตโช” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาวเตโช ที่มีลักษณะ เย็นร้อน แต่ประการใด หากแต่มุ่งหมายเอา สสัมภารเตโช คือ ไฟธรรมดาที่ปรากฏ อยู่ทั่วๆ ไปนี้เอง ฉะนั้น ผู้ที่ประสงค์จะเพ่งเตโชกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้โดยอาศัยการ เพ่ง เตโชกสิณนั้น ภพนี้เมื่อได้แลดูเปลวไฟที่ตะเกียง ในเตา ในฐานระบมมาตร หรือ ไฟไหม้ป่า อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็เพียงแต่เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า เตโช ๆ หรือ ไฟ ๆ อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้วก็มีจําเป็นที่จะต้องเพ่งดุเปลวไฟ นั้น ๆ อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่ไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและ ได้รูปฌาน
ผู้ที่ไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทําองค์ กสิณขึ้น ไฟที่ใช้เป็นอารมณ์กสิณนั้นต้องทําดังนี้ คือ เอาไม้แก่นมาผ่าออกแล้วตาก ให้แห้ง ทอนให้เป็นท่อน ๆ จะใช้หญ้าแห้ง หรือ พื้นก็ได้ แล้วนําไปสู่โคนไม้ กุฎี หรือ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่สมควร จัดการสุมไฟให้ลุกโพลงขึ้น จึงเอาเสื่อลําแพน หรือ แผ่นหนังกั้นไว้ข้างหน้าตรงกองไฟ เจาะช่องกลมโตประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว หรือ ๑ ฟุตก็ได้ ในขณะที่เพ่งอยู่นั้น อย่าพิจารณาสีของไฟ ท่อนฟืน เถ้าถ่าน ควันไฟ และ ความร้อนของไฟแต่อย่างใด ๆ แต่ต้องเพ่งดูเปลวไฟธรรมดา พร้อมกับบริกรรมว่า เตโช ๆ หรือ ไฟ ๆ จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้วก็เพ่งอุคคหนิมิตนั้น ต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและรูปฌาน
อนึ่ง ความเป็นไปแห่งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่ง เตโชกสิณนั้น คือ อุคคหนิมิตนี้เหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกอย่าง คือ ถ้าเปลวไฟของ องค์กสิณนั้นลุกโพลงขึ้น หรือ มีการพัดไหวๆ อยู่ก็ดี หรือตั้งนิ่งอยู่ก็ดี อุคคหนิมิต อันเป็นนิมิตที่ปรากฏติดอยู่กับใจก็คงมีอาการปรากฏเป็นไปเช่นเดียวกัน ถ้าไฟที่พระ โยคีใช้เพ่งนั้นเป็นกองไฟธรรมดา มิได้จัดทําให้ถูกต้องตามวิธีที่กล่าวไว้ เมื่ออุคคหนิมิต เกิดโทษแห่งกสิณก็จักปรากฏขึ้น คือ มีท่อนพื้นที่ไฟกําลังติดอยู่ ก้อนถ่าน เถ้าถ่าน และควันไฟ พร้อมด้วยอาการต่างๆ ของเปลวไฟที่กล่าวแล้วนี้ก็จักปรากฏมีอยู่ด้วย เช่นเดียวกัน ส่วนเตโชปฏิภาคนิมิตนั้นต่างกับอุคคหนิมิต คือ ตั้งมั่นนิ่งอยู่ไม่มีการ พัดไหวไปมาแต่อย่างใด ย่อมปรากฏเป็นความใสสะอาดดังผ้ากัมพลแดง หรือ พัดใบ ตาลทองคํา หรือ เสาทองคําที่ตั้งไว้ในที่สูง
สําหรับการงานต่างๆ ที่พระโยคีบุคคลจะพึงปฏิบัติในการเจริญเตโชกสิณนับ ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิตเกิด เป็นต้น จนถึงได้รูปฌาน อรูปฌาน นั้น ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกัน กับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
วาโยกสิณ
คําว่า "วาโย” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายเอา สภาววาโย ที่มีลักษณะ เคร่งตึง เคลื่อนไหวแต่ประการใด หากแต่มุ่งหมายเอา สสัมภารวาโย คือ ลมธรรมดา ที่มีทั่ว ๆ ไปนี้เอง ฉะนั้น ผู้ที่ประสงค์จะเพ่งวาโยกสิณนี้ จะเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนๆ ใกล้ ๆ กับภพนี้ โดย อาศัยการเพ่งวาโยกสิณก็ตาม หรือ ไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อนก็ตาม การจัดทํา วาโยองค์กสิณขึ้นเป็นพิเศษย่อมไม่มี จําเป็นจะต้องถือเอานิมิตจากลมธรรมดานี้เอง โดยอาศัยการเห็นและการถูกต้องแล้วจึงทําการเพ่งและบริกรรมได้ กล่าวคือ เมื่อได้แล เห็นยอดไม้ ใบไม้ ที่สั่นไหว แกว่ง และเส้นผมที่ถูกลม หรือ ในขณะที่ลมพัดมาต้อง กายอยู่ ในขณะนั้นก็จะทําการเพ่งดูความสั่นไหว แกว่งไกวของยอดไม้ ใบไม้ ปลายผม หรือ ความรู้สึกสัมผัสในเมื่อลมมาต้องกายอย่างใด อย่างหนึ่งแล้วแต่จะสะดวก พร้อมกับบริกรรมว่า วาโย ๆ หรือ ลม ๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏขึ้น เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้วก็มีจําเป็นที่จะเพ่งดูความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อีก แต่ต้องเพ่งอุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน
ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้งสามในการเพ่งวาโยกสิณนั้น การไหวสั่น แกว่งของยอดไม้ ใบไม้ เส้นผมที่ถูกลมก็ดี ลมพัดต้องกายก็ดี เหล่านี้เป็นบริกรรมนิมิต สําหรับอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตทั้งสองนี้ เมื่อปรากฏเกิดขึ้นนั้นมีลักษณะเหมือน กับเกลียวแห่งไอข้าว ไอน้ํา น้ําตก ควัน ที่เราเคยเห็นอยู่นี้เอง แต่อุคคหนิมิตนั้นมีการ เคลื่อนไหวหวั่น สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นไม่ไหวหวั่น มีสภาพเป็นกลุ่ม เป็นกอง ตั้งมั่น นิ่งอยู่เหมือนกับภาพถ่าย หรือ ภาพเขียน ตามปกติลมนั้นเห็นด้วยตาไม่ได้ ฉะนั้น พระโยคีบุคคลจึงต้องอาศัยการไหวสั่น แกว่ง ของใบไม้ เป็นต้น ที่เกิดจากลมพัดเป็น เครื่องเพ่ง แต่เมื่ออุคคหนิมิต เกิดขึ้นนั้น พระโยคีบุคคลจะเห็นลมนี้ได้โดยทางใจ เพราะได้เปลี่ยนจากลมธรรมดาเป็นลมพิเศษปรากฏขึ้นแก่ใจพระโยคี ดังนั้นลมธรรมดา นี้จึงเปลี่ยนสภาพไปเหมือนกับเกลียวแห่งไอข้าว ไอน้ํา น้ําตก ควัน โดยเหตุนี้ พระโยคี จึงควรเข้าใจในเรื่องลมธรรมดา และลมพิเศษทั้งสองอย่างนี้ให้ได้ เพื่อจะให้ได้มาซึ่ง อุคคหนิมิตโดยเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะมีคําถามขึ้นมาว่า จะเพ่งไอข้าว ไอน้ํา ควัน ทีเดียวไม่ได้หรือ เพราะสิ่งเหล่านี้ก็เป็นลมพิเศษเหมือนกัน ? แก้ว่า จะทําเช่นนั้นไม่ได้ เพราะมีสีสรรวรรณะปนอยู่ ทั้งเป็นลมพิเศษอีกด้วย และจะกลายเป็นการเพ่งวัณณกสิณ ซึ่งไม่ได้ตั้งใจจะเจริญ โดยตั้งใจเจริญวาโยกสิณต่างหาก
สําหรับการงานต่างๆ ที่พระโยคีบุคคลจะพึงปฏิบัติในการเจริญวาโยกสิณ นับ ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิตเกิด เป็นต้น จนถึงรูปฌาน อรูปฌานนั้น ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับ การเจริญปถวีกสิณทุกประการ
จบมหาภูตกสิณ
นีลกสิณ
พระโยคีบุคคล ประสงค์จะเจริญนีลกสิณนั้น ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย อุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งนีลกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นใบไม้ ดอกไม้สีเขียว หรือ ผ้าสีเขียว แก้วมณีสีเขียว วัตถุสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นสีเขียว แล้วก็เพ่งดูพร้อม กับบริกรรมว่า นีล นีล หรือ เขียว เขียว เท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อยุคค หนิมิตปรากฏแล้ว ก็มีจําเป็นจะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีกคงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มา แล้วนั้นอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน ถ้าหากว่าไม่เคยมีบุญบารมี มาจากภพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วก็ต้องจัดทําเป็นองค์กสิณขึ้น
การจัดทําองค์นีลกสิณนั้น พระโยคีบุคคลจะใช้ดอกไม้สีเขียว มีดอกอัญชัน ดอกอุบลเขียว เป็นต้น หรือ ผ้าสีเขียว วัตถุที่มีสีเขียว อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้แล้ว แต่ความพอใจของตน ถ้าจะใช้ดอกไม้ก็ต้องนําดอกไม้นั้นมาจัดใส่ผะอบ พาน กล่อง บาตร ขัน อย่าให้เกสร หรือ ขั้วปรากฏขึ้นมา ให้เต็มเสมอกับขอบภาชนะที่มีขนาด กว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี เมื่อจะใช้ผ้าก็ต้องใช้ผ้าเขียวเอามาทําเป็นวงกลมขึ้น ถ้าจะใช้กระดาษ หรือสังกะสี ก็ต้องนําเอาสิ่งเหล่านี้มาตัดให้เป็นวงกลมกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี แล้วเอาสีเขียวแก่ทาลงบนแผ่นวงกลมนี้ให้เรียบร้อย ตาม ขอบทาด้วยสีขาว หรือ แดง ใหญ่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสี่ของนิ้ว เพื่อช่วยให้สีเขียว นั้นปรากฏเด่นชัดขึ้น
วัณณกสิณที่เหลือ พระโยคีบุคคลมีความประสงค์ที่จะเจริญ ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง โลหิตกสิณ กสิณสีแดง โอทาตกสิณ กสิณสีขาว ทั้ง ๓ นี้ อย่างใด อย่างหนึ่งนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูป ฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งวัณณกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา ๓ อย่างนี้ ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นดอกไม้ ผ้า หรือ วัตถุสิ่งของที่มีสี เหลือง แดง ขาว เข้าแล้ว ก็เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า ปีตก ปีตก เหลือง เหลือง โลหิต โลหิต แดง แดง โอทาติ โอทาต์ ขาว ขาว เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้ว ก็มีจําเป็นจะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีก คง เพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต และได้รูปฌาน ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อนๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทําองค์กสิณ ขึ้น การจัดทําองค์กสิณทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นไปเช่นเดียวกันกับการทํานีลกสิณนั้นเอง
ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งวัณณกสิณนั้น สีเขียว เหลือง แดง ขาว ที่เป็นองค์กสิณนั้นเองเป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นก็ได้แก่สภาพขอ งบริกรรมนิมิตนั้นเอง หากแต่เป็นสภาพที่ปรากฏให้เห็นได้ทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิต นั้นมีสภาพใสบริสุทธิ์ สะอาดปราศจากมลทิน ยิ่งไปกว่าอุคคหนิมิตหลายสิบเท่า ถ้า เป็นโลกสิณก็ปรากฏเหมือนกับแก้วมณีสีเขียว ถ้าเป็นปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ ก็ปรากฏเหมือนกับแก้วมณีที่เป็นสีเหลือง แดง ขาว
ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัติ นับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถึงได้รูปฌาน อรูปฌาน นั้น ก็เป็นเช่นเดียวกันกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
สีอื่นๆ ก็จัดเข้าในวัณณกสิณทั้งสี่นี้ได้ คือ สีดํา สีน้ําเงิน สีฟ้าแก่ สีเขียวใบไม้ เป็นต้น เหล่านี้ อนุโลมเข้าในฝ่ายนีลกสิณ สีทองอนุโลมเข้าในฝ่ายปีตกสิณ สีชมพู สีแสด อนุโลมเข้าในฝ่ายโลหิตกสิณ สีไข่ไก่ สีฟ้าอ่อนๆ สีเทาอ่อน ๆ เหล่านี้ก็ อนุโลมเข้าในฝ่าย โอทาตกสิณได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสีต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั่วไปนั้น เมื่อใช้เพ่งแล้วก็ทําให้รูปฌานเกิดได้
จบวัณณกสิน
อาโลกกสิณ
พระโยคีบุคคล มีความประสงค์จะเจริญอาโลกกสิณนั้น ถ้า เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพ ก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งอาโลกกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้ เมื่อได้แลเห็นแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟ เป็นต้น แล้วก็เพ่งดูแสงสว่างของสิ่ง เหล่านี้พร้อมกับบริกรรมว่า โอภาโส โอภาโส แสง แสง หรือ อาโลโก อาโลโก สว่าง สว่าง เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็มี จําเป็นที่จะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต และได้รูปฌาน ถ้าหากว่าไม่เคยมีบุญบารมีจากภพก่อนๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทําเป็นองค์กสิณขึ้น
การจัดทําอาโลกกสิณนั้น เมื่อพระโยคีบุคคล มิอาจเพ่งแสงสว่างของดวง อาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟต่างๆ โดยตรงได้ ก็ต้องจัดทําองค์กสิณขึ้นโดยวิธีเจาะฝา เรือน หรือหลังคาบ้าน เพื่อให้แสงสว่างลอดเข้าไปภายใน ปรากฏที่ฝา หรือ พื้นเรือน แต่บางเวลาแสงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ก็ไม่มี เช่นนี้ก็ต้องจัดทําแสงขึ้นโดยจุด ตะเกียง หรือ เปิดไฟเอาไว้ แล้วเอามานมากั้นกําบังไว้อย่างมิดชิด ม่านนั้นก็เจาะให้ กว้างตามสมควร เพื่อแสงจะได้ส่องลอดออกมาเป็นดวงที่ฝา แล้วก็เพ่งดูแสงสว่างนั้น - พร้อมกับบริกรรมตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้ จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต
ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งอาโลกกสิณ คือ แสงสว่างที่ ปรากฏจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟต่างๆ เป็นต้นก็ดี แสงสว่างที่ตนจัดทํา ขึ้นก็ดี เหล่านี้ เป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับบริกรรมนิมิตทุก ประการ คือ บริกรรมนิมิต มีแสงสว่างเท่าใด อุคคหนิมิตก็มีเพียงนั้น สําหรับ ปฏิภาคนิมิตนั้น แสงสว่างมีสัณฐานปรากฏเป็นกลุ่มก้อน คล้ายกับดวงไฟที่ปรากฏอยู่ ในโป๊ะไฟสีขาว สว่างรุ่งโรจน์ยิ่งไปกว่าแสงสว่างของอุคคหนิมิตมากมายหลายเท่า
ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัตินับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้รูปฌาน อรูปฌาน นั้นก็เป็นเช่นเดียวกันกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
จบอาโลกกสิณ
ปริจจินนากาสกสิณ หรือ อากาสกสิณ
พระโยคีบุคคล มีความประสงค์ จะเจริญอากาสกสิณนั้น ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วในภพก่อนๆ ใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งอากาสกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้ เมื่อได้เห็นอากาศตามช่องฝา ช่องลม ช่องประตู ช่องหน้าต่าง เหล่านี้แล้วก็เพ่งดูอากาศตามช่องนั้น ๆ พร้อมกับบริกรรมว่า อากาโส อากาโส หรือ แจ้ง แจ้ง เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้วก็มีจําเป็น ที่จะต้องเพ่งดูอากาศนี้อีกคงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อนๆ ตามที่ได้กล่าว มาแล้วก็ต้องจัดทําเป็นองค์กสิณขึ้น
การจัดทําองค์อากาสกสิณนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลมีอาจเพ่งอากาศตามช่องฝา ช่องลมเป็นต้น โดยตรงได้ ก็ต้องจัดทําอากาศองค์กสิณขึ้นโดยวิธีเจาะฝาเรือนที่มิดชิด หรือหลังคาที่มุ่งสนิทเรียบร้อยดีนั้นให้เป็นช่องกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ นิ้ว แล้ว เพ่งดูอากาศที่ปรากฏตามช่องนั้นๆ พร้อมกับบริกรรมตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต
ความแตกต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งอากาสกสิณนั้น อากาศที่ ปรากฏตามช่องฝา ช่องลม เป็นต้นก็ดี อากาศที่ปรากฏตามช่องฝา หลังคาที่ได้จัด ทําขึ้นก็ดี เหล่านี้เป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกประการ คือบริกรรมนิมิตมีขอบเขตของช่องฝาหลังคาอย่างใด อุคคหนิมิตก็คง ปรากฏมีอยู่อย่างนั้นเหมือนกันสําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ย่อมปรากฏเฉพาะแต่อากาศ อย่างเดียว ขอบเขตของสิ่งเหล่านั้น มิได้ปรากฎ ทั้งทําการขยายให้กว้างใหญ่ออกไป เท่าใด ๆ ก็ขยายได้ เพราะสมาธิมีกําลังมากพอ แต่อุคคหนิมิตนั้นพระโยคียังทําการ ขยายไม่ได้ เพราะสมาธิในขณะนั้นยังมีกําลังไม่พอ
ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัตินับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้รูปฌาน อรูปฌานนั้น ก็เป็นเช่นเดียวกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ
จบปริจฉิมนากาสกสิณ
การเพ่งกสิณอย่างหนึ่ง แต่ก็สามารถยังนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณอื่น ๆ ที่เหลือ อีก ๙ ให้เกิดได้
พระโยคีบุคคลที่ได้รูปฌานทั้ง ๕ โดยอาศัยการเพ่งกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน บรรดากสิณ ๑๐ นั้น ถ้าต้องการ อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ที่เกี่ยวกับกสิณที่เหลือ 8 นอกจากที่ตนได้เคยเพ่งมาแล้วนั้น มีจําเป็นที่จะต้องจัดทําองค์กสิณขึ้นใหม่แต่ประการ ใด เมื่อได้แลเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมดา มีดิน แม่น้ํา บ่อน้ํา ไฟ ลม สีต่างๆ แสงสว่าง อากาศ แล้วก็ทําการเพ่งพร้อมกับบริกรรม เพียงเท่านี้อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตก็จักปรากฏได้ เช่นเดียวกับผู้ที่เคยมีบุญบารมีมาแล้วจากภพก่อนๆ
กรรมฐานที่ทําให้ได้ฌานเร็ว
ในบรรดากรรมฐาน ๓๐ ที่ให้ถึงฌานได้นั้น กสิณ ๑๐ เป็นกรรมฐานที่ทําให้ ถึงฌานได้เร็วกว่ากรรมฐานอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพราะการเพ่งกสิณนั้น อุคคหนิมิตและอุปจาร สมาธิเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่ออุคคหนิมิต และ อุปจารสมาธิเกิดง่าย การได้ฌานก็เร็ว ยิ่ง เป็นวัณณกสิณ ๔ ด้วยแล้ว อุคคหนิมิต และ อุปจารสมาธิ ตลอดจนถึงการได้ฌาน เหล่านี้ ย่อมเกิดได้โดยง่ายและเร็วยิ่งกว่ากสิณอื่นๆ อีกด้วย ยิ่งกว่านั้นในวัณณกสิณ ด้วยกันนี้ พระพุทธองค์ก็ยังทรงยกย่องโอทาตกสิณว่าเป็นกสิณที่ประเสริฐเลิศยิ่งกว่า กสิณที่เหลือ ๓ โดยเหตุว่า ทําให้จิตใจของพระโยคีบุคคลที่กําลังเจริญอยู่นั้นมีความ ผ่องใส ปราศจากถิ่นมิทธะเป็นพิเศษ และในขณะที่อุคคหนิมิตยังไม่ปรากฏ หรือ ปรากฏแล้วก็ตาม โอทาตกสิณยังเป็นกสิณที่ทําให้พระโยคีบุคคลสามารถทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ คล้ายกับผู้ที่ได้ฌานอภิญญา
อานุภาพแห่งกสิณ ๑๐
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจปถวีกสิณ คือ
๑. เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นหลายร้อย หลายพัน ๒. เนรมิตตนเองให้เป็น พระยานาค พระยาครุฑ
๓. ทําท้องอากาศ แม่น้ํา มหาสมุทร ให้เป็น พื้นแผ่นดิน เดิน ยืน นั่ง นอนได้
๔. เนรมิตเป็น ต้นไม้ วิมาน วัดวาอาราม เคหสถาน บ้านเรือน วัตถุ สิ่งของต่างๆ แล้วแต่ความประสงค์ของตน
๕. ทําสิ่งที่เบาให้หนัก
๖. ทําให้วัตถุตั้งมั่นติดแน่นอยู่ มิให้โยกย้ายเคลื่อนที่ไปได้
๗. ได้อภิภายตนะ คือ สามารถข่มทําลายธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจิตใจ และ สามารถข่มอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์มิให้มาปรากฏภายในจิตใจของตนได้
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจอาโปกสิณ คือ
๑. แทรกแผ่นดินไปแล้ว ผุดขึ้นมาได้
๒. ทําให้ฝนตก
๓.ทําพื้นแผ่นดินให้เป็น แม่น้ํา และ มหาสมุทร
๔. ทําน้ําให้เป็น น้ํามัน น้ํานม น้ําผึ้ง
๕. ทําให้กระแสน้ําพุ่งออกมาจากร่างกาย
๖. ทําให้ภูเขา ปราสาท วิมาน สะเทือนหวั่นไหว
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจเตโชกสิณ คือ
๑. เกิดควันกําบังตนและทําให้เปลวไฟลุกโชติช่วงขึ้นจากร่างกายหรือวัตถุอื่นๆ
๒. ทําให้ฝนถ่านเพลิงตกลงมา
๓. ใช้ไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของตนดับไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของผู้อื่นให้ดับลง
๔. สามารถเผาผลาญบ้านเมือง วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ได้
๕. ทําให้แสงสว่างเกิดขึ้น เพื่อจะได้แลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุอภิญญา
๖ . ทําให้เตโชธาตุเกิดขึ้นไหม้สรีระในสมัยที่ปรินิพพาน
๗. ทําให้ความมืดหายไป
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจวาโยกสิณ คือ
๑. เหาะไปได้
๒. สามารถไปถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปได้อย่างรวดเร็ว
๓. ทําสิ่งที่หนักให้เบา
๔. ทําให้พายุใหญ่เกิดขึ้น
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจนีลกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีเขียว
๒. ทาเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้นให้เป็นแก้วมรกต
๓. ทําความมืดให้เกิดขึ้นไม่ว่าในเวลาใด
๔. ได้อภิภายตนะ
๕. ได้สุภวิโมกข์ คือ บรรลุ มรรค ผล นิพพานโดยง่ายและสะดวกสบาย
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจปีตกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีเหลือง
๒. ท่าเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นทอง
๓. ได้อภิภายตนะ
๔. ได้สุภวิโมกข์
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจโลหิตกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีแดง
๒. ทําเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง ให้เป็นแก้วทับทิม
๓. ได้อภิภายตนะ
๔. ได้สุภวิโมกข์
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจโอทาตกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เป็นสีขาว
๒. ท่าเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง ให้เป็นเงิน
๓. ทําให้หายจากความง่วงเหงาหาวนอน
๔. ทําให้ความมืดหายไป แล้วทําแสงสว่างให้เกิดขึ้น เพื่อเห็นรูปด้วยทิพพจักษุอภิญญา
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจอาโลกกสิณ คือ
๑. ทําวัตถุสิ่งของให้เกิดแสงสว่าง หรือ ทําให้ร่างกายเกิดแสงสว่างเป็นรัศมีพวยพุ่งขึ้นมา
๒. เนรมิตเป็นรูปต่างๆ ประกอบด้วยแสงสว่างอย่างรุ่งโรจน์
๓. ทําให้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
๔. ทําความมืดให้หายไป แล้วทําแสงสว่างให้เกิดขึ้น เพื่อเห็นรูปด้วยทิพพจักษุอภิญญา
พระมหาพุทธโฆสาจารย์ ได้กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า บรรดากสิณ ๓ มี เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ ที่ทําให้แสงสว่างเกิดขึ้น เพื่อจะได้เห็น รูปต่างๆ ด้วยทิพพจักขุอภิญญานั้น ท่านจัดอาโลกกสิณว่าเป็นกสิณที่ดีเยี่ยม
ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจอากาสกสิณ คือ
๑. ทําการเปิดเผยสิ่งที่ปกปิดซ่อนเร้นลับให้ปรากฏเห็นได้
๒. ทําให้มีอากาศเป็นอุโมงค์ช่องว่างเกิดขึ้นภายในพื้นแผ่นดิน ภูเขา มหาสมุทร แล้วยืน เดิน นั่ง นอนได้
๓. เข้าออกทางฝา หรือ กําแพงได้
ฤทธิ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นฤทธิ์ที่เกิดจากอํานาจของกสิณ โดยเฉพาะๆ สําหรับฤทธิ์ที่เกิดจากกสิณทั้ง ๑๐ ได้นั้นมีดังนี้
๑. ทําการกําบังสิ่งต่างๆ ไว้มิให้ผู้ใดแลเห็น
๒. ทําวัตถุสิ่งของที่เล็กให้กลับเป็นใหญ่ หรือ ที่ใหญ่ให้กลับเป็นเล็ก
๓. ทําระยะทางใกล้ให้เป็นไกล และย่นหนทางที่ไกลให้กลับเป็นใกล้
อธิบายกสิณ จบลงเพียงเท่านี้
อธิบายอสุภ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
ไม่สวยไม่งามในที่นี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะความ เปลี่ยนแปลงแห่งร่างกายของคนทั้งหลายที่ตายไปแล้วเท่านั้น
๑. อุทธุมาตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยการพองขึ้นภายหลังที่ตาย ๒ - ๓ วัน พองขึ้นภายหลังชื่อว่า อุทธุมาตะ ศพที่พองขึ้นภายหลังที่ตายแล้ว เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า อุทธุมาตกะ
๒. วินีลกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีสี ต่างๆ ปนกัน คือ สีแดง สีขาว สีเขียว และดํา สีเขียวเป็นพิเศษโดยมีสีแดงและขาวปนอยู่ด้วย ชื่อว่า วินีละ ศพที่มีสีเขียวเป็นพิเศษโดยมีสีแดงและขาวปะปนอยู่ด้วยเป็นสิ่งที่น่า เกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วินีลกะ
๓. วิปุพพกะ คือ ศพที่น่าเกลียด โดยมีน้ําเหลืองและน้ําหนองไหลจากเนื้อ หนองที่ ไหลออกมาจากเนื้อที่ปริแตกชื่อว่า วิปุพพะ ศพที่มีน้ําเหลืองและน้ําหนองไหลออก จากเนื้อที่ปริเปื่อยพังเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิปุพพกะ
๔. วิจฉัททกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยที่ร่างกายถูกฟันขาดออก เป็น ๒ ท่อน ศพที่ถูกฟันขาด ชื่อว่า ฉัททะ ศพ ที่ถูกฟันขาดออกเป็น ๒ ท่อน ชื่อว่า วิจฉัททะ ศพที่ถูกฟันขาดออกเป็น ๒ ท่อน เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิจฉัททกะ
๕. วิกขายตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดย ถูก แร้ง กา สุนัข จิก กัด ทิ้ง ยื้อแย่งกระจัดกระจายโดยอาการต่างๆ ฉะนั้น ชื่อว่า ขายตะ ศพที่ถูกแร้ง กา สุนัข จิก กัด ทั้ง ซื้อแย้ง โดยอาการต่างๆ ชื่อว่า วิกขายตะ ศพที่ถูกแร้ง กา สุนัข จิก กัด ทั้ง ซื้อแย้ง กระจัดกระจายโดยอาการต่างๆ เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิกขายตกะ
๖. วิกขิตตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยถูกทิ้งเรี่ยรายไว้ มี มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทาง ศพที่ถูกทิ้งเรี่ยรายไว้โดยประการต่างๆ มี มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทาง ชื่อว่า วิกขิตตะ ศพที่ถูกทิ้งเรี่ยรายไว้โดยประการต่างๆ มี มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทาง เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิกขิตตกะ
๗. หตวิกขิตตกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยถูกฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอก เป็น ริ้วเป็นรอยเหมือนตีนกา ศพที่ถูกฟันด้วยมีดทิ้งเรี่ยรายไว้เป็นชิ้นๆ โดยประการต่าง ๆ ชื่อว่า หตวิกขิตตะ ศพที่ถูกฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอก เป็น ริ้วเป็นรอยเหมือนตีนกา ทิ้งเรี่ยรายไว้เป็นชิ้น ๆ โดยประการต่าง ๆ เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า หตวิกขิตตกะ
๘. โลหิตกะ คือ โลหิตก ศพที่มีโลหิตไหลออกมา จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ศพที่มีโลหิตหลั่งไหลซ่านออก มาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังเอาโลหิตไปราดไว้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า โลหิตกะ
๙. ปุฬวกะ คือ ศพที่มีหนอนไซอยู่ทั่วร่างกาย
๑๐. อัฏฐิกะ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมี แต่กระดูกเหลืออยู่ ศพที่มีแต่กระดูกเหลืออยู่เป็นศพที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัฏฐิกะ
วิธีเจริญอสุภกรรมฐาน และ นิมิตทั้งสาม
อุทธุมาตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญอุทธุมาตกกรรมฐานนั้น จะ ต้องแสวงหาศพอุทธุมาตกะที่เป็นสภาคะกันกับตน คือ หญิงก็ใช้ศพหญิง ชายก็ใช้ศพ ชาย แล้วพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า อุทธุมาตก ปฏิ กูฬ, อุทธุมาตก ปฏิกฬ (ศพอุทธุมาตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไป จนกว่าอุคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพอุทธุมาตกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วน อุคคหนิมิตนั้น เป็นที่ปรากฏทางใจ ตัวศพมีความน่าเกลียด น่ากลัว ชวนสะอิดสะเอียน เพียงใดก็ปรากฏทางใจ ฉันนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นความน่าเกลียด น่ากลัว ชวนสะอิดสะเอียน ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นขนาดใหญ่ที่ อ้วนพี่ล่ําสัน ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้น พระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณา โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง
อนึ่ง อุทธุมาตกกรรมฐานนี้ เป็นกรรมฐานที่หาเจริญได้ยากกว่า อสุภกรรม ฐานอื่นๆ เพราะศพที่มีอาการอืดพองขึ้นนั้นจะมีอยู่เพียง ๑ หรือ ๒ วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นศพวินีลกะ วิปุพพกะไป อย่างไรก็ดี ในระยะที่ยังเป็นศพอุทธ มาตกะอยู่นั้น อุคคหนิมิตย่อมปรากฏแก่พระโยคีบุคคลบางท่านได้ เมื่ออุคคหนิมิต ปรากฏแล้ว ก็มีจําเป็นที่จะพิจารณาศพนั้นอีก คงพิจารณาแต่อุคคหนิมิตต่อไป จนกว่า จะได้ปฏิภาคนิมิต และ ปฐมฌาน เมื่อพระโยคีได้มาซึ่งปฐมฌานแล้ว มีความประสงค์ จะเจริญทุติยฌาน เป็นต้น ต่อไป ก็ต้องเปลี่ยนกรรมฐานเสียใหม่ จะใช้อสุภกรรมฐาน ต่อไปนั้นไม่สําเร็จ เพราะอสุภกรรมฐานเป็นกรรมฐานหยาบ มิอาจทําให้ผู้เจริญได้ถึง ฌานเบื้องบนได้ และในระหว่างที่ยังไม่ถึงฌานนั้น หากอุคคหนิมิตเกิดการเสื่อมหายไป ก็จะต้องไปหาศพอุทธุมาตกะเพื่อทําการพิจารณาใหม่ การหาศพอุทธุมาตกะใหม่นี้ หากศพคนที่เป็นสภาคะกับตนไม่ได้ จะใช้ซากศพสัตว์ดิรัจฉานมีสุนัขเป็นต้น แทนก็ได้
วินีลกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวินีลกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวง หาศพวินีลกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับ บริกรรมว่า วินีลก ปฏิกูฬ, วินีลก ปฏิกฬ (ศพวินีลกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่า ขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพวินีลกะ ก็ได้แก่ตัวศพนั้น เอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ความน่า เกลียด น่ากลัวไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นสีเขียว สีดํา สีแดง ไปตามสี ของศพที่ปรากฏมากที่สุดในขณะนั้น มีความใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ ถึงกระนั้น พระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับการงานในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ โดยความเป็นของน่าเกลียด
วิปุพพกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิปุพพกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพวิปุพพกะที่เป็นสกาคะกับตนมาพิจารณา พร้อมกับบริกรรมว่า วิปุพพก ปฏิกฬ, วิปุพพก ปฏิกฬ (ศพวิปุพพกะนี้ เป็น ของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพอุทธ มาตกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับ ปฏิภาคนิมิตนั้น หนองที่ไหลออกมา โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้นไม่มีแต่ อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ ถึงกระนั้นพระโยคี บุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่ เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
วิจนิททุกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิจนิททุกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพวิจฉัททกะที่เป็นสภาคะกับตน มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วิจนิททก์ ปฏิกฬ, วิจนิททก์ ปฏิกูฬ (ศพวิจนิททกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด ข้อสําคัญก่อนที่จะลง มือปฏิบัตินั้น ถ้าหากว่าร่างกายของศพที่ขาดเป็นท่อนวางอยู่ห่างจากกันมากนัก ก็ขอ ให้ผู้ใดจับวางให้ต่อกันห่างกันประมาณ ๑ องคุลี บริกรรมนิมิตของศพวิจนิททกะก็ได้ แก่ร่างศพที่ขาดเป็นสองท่อนนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ร่างนั้นไม่เห็นขาดเป็นสองท่อน ให้เป็นที่น่าเกลียดน่ากลัวแต่ อย่างใด คงเป็นเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางไว้นิ่งอยู่เป็นท่อนเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น พระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของที่น่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้น เอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
วิกขายตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิกขายตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพวิกขายิตกะที่เป็นสภาอะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วิกขายตก์ ปฏิกูฬ, วิกขายตก ปฏิกฬ (ศพวกขายตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพ วิกขายตกะ ก็ได้แก่ศพที่ถูก แร้ง กา สุนัข จิก กัด ทั้ง ยื้อแย่ง เรี่ยรายไป นั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น สภาพต่าง ๆ ที่ เป็นของน่าเกลียด น่ากลัวเหล่านี้ มิได้ปรากฏมีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้น ที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความ เป็นของที่น่าเกลียดน่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียว กับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
วิกขิตตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิกขิตตกกรรมฐานนั้น จะต้อง แล้วหาศพที่วิกขิตตกะที่เป็นสภาคะกับตน โดยขอให้ผู้อื่นช่วยเก็บให้แล้ววางไว้ให้เป็น ลําดับต่อกันมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วิกขิตตก์ ปฏิกูฬ, วิกขิตตก์ ปฏิกฬ (ศพวกขิตตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไป จนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิดบริกรรมนิมิตของศพวิกขิตตกะก็ได้แก่ตัวศพที่อยู่เฉพาะหน้านั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นสภาพที่ขาดจากกันเป็นชิ้นๆ โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็น ไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด หมดจด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคี บุคคลก็ต้องพิจารณา โดยความเป็นของที่น่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่ เหลือจากนี้ ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
หตวิกขิตตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญหตวิกขิตตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพหตวิกขิตตกะที่เป็นสภาคะกับตน โดยวานให้ผู้อื่นช่วยเก็บแล้ววาง ให้เป็นลําดับต่อกัน มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า หตวิกขิตตก ปฏิกูฬ, หดวิกขิตตก ปฏิกูฬ (ศพหตวิกขิตตกะนี้ เป็นของน่า เกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพหตวิกขิต ตกะก็ได้แก่ตัวศพที่อยู่เฉพาะหน้านั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้นสภาพที่ถูกแทงเป็นริ้วรอยเหมือนตีนกา โดยความเป็นของน่า เกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่า กลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรรม ฐานทุกประการ โดยความเป็นของน่าเกลียด
โลหิตกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญโลหิตกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพโลหิตกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณา พร้อมกับบริกรรมว่า โลหิตก์ ปฏิกูฬ, โลหิตก์ ปฏิกูฬ (ศพโลหิตกะนี้ เป็นของ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพโลหิตกะ ก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาค นิมิตนั้น ความน่าเกลียด น่ากลัวไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ทําด้วย กํามะหยี่สีแดง ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้อง พิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คง เป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ พวกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญพวกกรรมฐานนั้น จะต้อง แสวงหาศพบุฬวกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณา โดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อม กับบริกรรมว่า พวก ปฏิกฬ, ปุพวก ปฏิกฬ (ศพบุฬวกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพปุฬวกะก็ได้แก่ตัวศพ นั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ตัวหนอน ที่กําลังไปไหลออกมาจากร่างกาย โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่าง ใด คงเป็นไปคล้ายๆ กับก้อนข้าวสาลีที่ปั้นไว้ มีความใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
อัฏฐิกกรรมฐาน ผู้มีความประสงค์จะเจริญอัฏฐิกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวง หาศพอัฏฐิกะ มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า อฏฐิก ปฏิกูฬ, อฏฐิก ปฏิกฬ (ศพอัฏฐิกะนี้ เป็นของน่าเกลียด) ไปจนกว่าอุคคหนิมิต จะเกิดบริกรรมนิมิตของศพอัฏฐิกะก็ได้แก่อัฏฐินั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นที่ปรากฏ ทางใจ สําหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ความน่าเกลียด น่ากลัวของกระโหลกศีรษะที่กลวง ช่องระหว่างซี่โครง นิ้วมือ และท่อนกระดูกมือ เท้า แข็ง ขา เป็นต้น ที่ต่อเชื่อม กันอยู่เป็นเปลาะ ๆ นั้นมิได้ปรากฏขึ้นแต่อย่างใด คงปรากฏเป็นไปโดยความสม่ําเสมอ ใสสะอาดหมดจด เป็นแท่งเดียวกัน ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นก็ตามพระโยคีบุคคลก็ต้อง พิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คง เป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ
ศพอัฏฐิกะที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน มีอยู่ ๕ อย่าง คือ
๑. สมสโลหิต นหารุ สมพนธ์ อฏฐิก = ร่างกระดูกที่ยังมีเนื้อ และ เลือด เส้นเอ็นรัดรึงอยู่
๒. นิมิสโลหิต มกขิต นหารุ สมพนธ์ อฏฐิก = ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อ แต่แปดเปื้อนด้วยโลหิต และยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
๓.อุปคุต มีสโลหิต นหารุ สมพนธ์ อฏฐิก = ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อและเลือด แต่ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงติดต่อกันอยู่
๔. อปคต นหารุ สมพนธ์ ทิสาวิทิสาวิกขิตต อฏฐิก = กระดูกที่ไม่มีเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงไว้แล้วกระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ
๕. เสตสงขวณฺณปฏิภาค อฏฐิก = ท่อนกระดูกที่มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์
ชี้แจงในเรื่องการเจริญอสุภกรรมฐาน
การเจริญอสุภกรรมฐานตามที่ได้กล่าวนี้ หากว่าผู้นั้น มีบุญบารมีมาแล้วจาก ภพก่อนๆ ก็เพียงแต่พิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดตามที่ได้กล่าวแล้ว อุคคห นิมิตและปฏิภาคนิมิตก็จักปรากฏแก่ผู้นั้นได้รวดเร็ว สําหรับบุคคลอื่นๆ นอกนั้น อุคคหนิมิตและ ปฏิภาคนิมิตจักปรากฏขึ้นได้เหมือนกัน แต่ไม่แน่นอน โดยอาศัยการ พิจารณาตามหลักธรรมดานี้ ฉะนั้น หากอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตมิได้ปรากฏมีแก่ พระโยคีบุคคลแล้วไซร้ พระโยคีบุคคลก็จะต้องหมั่นพิจารณาศพนั้นโดยอาการทั้ง ๖ เพื่อจะได้ช่วยให้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นเร็ว เมื่อได้พิจารณาโดยอาการ ทั้ง ๖ นี้แล้ว อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ก็ยังไม่ปรากฏ ก็จะต้องทําการพิจารณาโดย อาการทั้ง ๕ ต่อไป
อาการทั้ง ๖ นั่น คือ
๑. วณณโต กําหนดโดยสี รู้ว่าศพนี้เป็นคนผิวดํา ผิวขาว ผิวเหลือง
๒. สิงคโต กําหนดโดยวัย รู้ว่าศพนี้อยู่ในปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย โดยไม่ต้องไปกําหนดถึงเรื่องของเพศ เพราะคําว่า “ลิงคะ” ในที่นี้มิได้มุ่งหมายถึงเพศ หากแต่ มุ่งหมายถึงวัย
๓. สัณฐานโต กําหนดโดยสัณฐาน รู้ว่านี้เป็นศีรษะ คอ มือ ท้อง สะดือ เอว ขา อก แข็ง เท้า
๔. ทิสโต กําหนดโดยทิศ รู้ว่าตั้งแต่สะดือขึ้นไปเป็นส่วนบน ใต้สะดือลงมา เป็นส่วนล่าง หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ทางทิศนี้ ศพอยู่ทางทิศนั้น
๕. โอกาสโต กําหนดโดยที่ตั้ง รู้ว่ามือ เท้า ศีรษะ กลางตัว อยู่ตรงนี้ หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ตรงนี้ ศพอยู่ที่ตรงนั้น
๖. ปริจเฉทโต กําหนดโดยขอบเขต รู้ว่าเบื้องต่ําสุดของร่างศพนั้นแค่พื้น เท้า เบื้องบนสุดแค่ปลายผม ทั่วตัวสุดแค่ผิวหนัง
อาการทั้ง ๕ นั้น คือ
๑. สนธิโต กําหนดโดยที่ต่อ รู้ว่าในสรีระของศพนั้นมีที่ต่อส่วนใหญ่ ๆ อยู่ ๑๔ แห่ง คือ ที่ต่อมือขวา ๓ ที่ต่อมือซ้าย ๓ ที่ต่อเท้าขวา ๓ ที่ต่อเท้าซ้าย ๓ คอ ๑ ที่ต่อเอว ๑
๒. วิวรโต กําหนดโดยช่อง รู้ว่านี้ช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องท้อง ช่องมือ ช่องเท้า หลับตา ลืมตา อ้าปาก หรือ หุบปาก
๓. นินนโต กําหนดโดยที่ลุ่ม รู้ว่านี้หลุมตา หลุมคอ ภายในปาก หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ ณ ที่ต่ํา ศพอยู่ ณ ที่สูง
๔. ถลโต กําหนดโดยที่ดอน รู้ว่าที่นูนขึ้นนี้เป็นหัวเข่า หน้าผาก หน้าอก หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ ณ ที่สูง ศพอยู่ ณ ที่ต่ํา
๕. สมนฺตโต กําหนดโดยรอบด้าน รู้ทั่วไปในร่างของศพ ในขณะที่ กําหนดรู้ทั่วไปรอบๆ ด้านของศพอยู่นั้น ถ้าส่วนไหนปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ตาม ลักษณะของศพ อุทธุมาตกะ ศพวินีลกะ หรือ ศพวิปุพพกะแล้ว ก็จงตั้งจิตกําหนดลง ที่ตรงนั้นพร้อมกับบริกรรมว่า อุทธุมาตก ปฏิกูฬ หรือ วินีลก ปฏิกฬ หรือ วิปุพพก ปฏิกฬ ดังนี้เป็นต้น
การเข้าไปทําการพิจารณาศพ
พระโยคีบุคคลเมื่อจะเข้าไปทําการพิจารณาศพนั้นอย่าได้ไปทําการพิจารณาใต้ลม หรือ เหนือลม และไม่พึงอยู่เหนือศีรษะ หรือ ปลายเท้า แต่จงทําการพิจารณาอยู่ใน ระหว่างกลางตัวภายในระยะอันสมควร คือ อย่าให้ใกล้ หรือ ไกลออกไปนัก
อนึ่ง ผู้ที่มีความกลัวผีเป็นปกติธรรมดาอยู่แล้ว เมื่อมาทําการพิจารณาอสุภ กรรมฐานนี้ อุคคหนิมิตย่อมปรากฏได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีความกลัว ดังนั้น ถ้าหากว่ามี ความจําเป็นเกิดขึ้นเกี่ยวแก่การโยกย้ายศพก็ดี จัดทําให้เป็นระเบียบเรียบร้อยก็ดี เหล่านี้ควรวานให้ผู้อื่นช่วยจัดทําให้จะเป็นการดีมาก สําหรับตนเองนั้นอย่าได้ไปจับ ต้องเป็นอันขาด ถ้าหากว่าจะต้องทําบ้างในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จงใช้ไม้เท้าเขี่ยแทนมือ เพราะถ้าไปจับต้องด้วยมือ อยู่เสมอๆ แล้ว ก็จะทําให้ความหวาดเสียวกลัวที่มีอยู่นั้น ค่อย ๆ จางหายไป และจะทําให้กลายเป็นคนที่ไม่กลัวเพราะชินกันกับศพเสียแล้ว เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุคคหนิมิตก็ไม่มีทางที่จะปรากฏได้ เช่นเดียวกับนายป่าช้า หรือ สัปเหร่อ ถึงแม้ว่าจะได้พบเห็นศพมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งหลายเดือน หลายปี ก็ตามที แต่การ ปรากฏขึ้นแห่งอุคคหนิมิตที่เกี่ยวกับศพต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีเลย
ศพที่มีผีเข้าสิงได้
ในบรรดาอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนั้น อสุภที่จะทําให้จิตใจของพระโยคีบุคคลเกิดการ วิปริตผิดแผกไปได้ มีอยู่ ๓ อย่างคือ อุทธุมาตกะ วินีลกะ วิปุพพกะ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งก่อนหน้าอุคคหนิมิตจะเกิดนั้น พระโยคีบุคคลอาจมีความคิดนึกไปต่าง ๆ ว่า ศพนี้กําลังลุกขึ้นนั่ง ยืน เดิน การที่คิดเช่นนี้ ถ้าเป็นผู้มีความกลัวอยู่แล้วก็อาจทําให้ เสียสติได้ ดังนั้น ผู้ที่มีนิสัยกลัวผี เมื่อจะไปทําการพิจารณาจะไปด้วยกัน ๒ - ๓ คน ก็ได้ และในขณะที่คิดนึกไปต่าง ๆ นั้น ก็จงทําการพิจารณาห้ามใจตนเองว่า ตาม ธรรมดาศพนั้นไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ หรือ ท่อนไม้ เพราะเป็นร่างที่ปราศจากจิตใจอาศัย อยู่ ฉะนั้น จะลุกขึ้นนั่ง ยืน เดิน ไม่ได้เป็นอันขาด แต่การที่เห็นเป็นไปดังนี้ก็เพราะ เนื่องมาจากจิตใจที่คิดนึกไปเอง ส่วนศพนั้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อมีการพิจารณา ห้ามใจได้เช่นนี้ ความกลัวก็จะเลือนหายไป แต่อย่างไรก็ตาม ศพที่ยังสดอยู่อาจลุกขึ้น นั่ง ยืน เดินได้ก็มี โดยมีผีอื่น ๆ มาเข้าสิง เมื่อมีผีมาเข้าสิงทําให้ศพท่าอาการต่างๆ ขึ้นแล้ว พระโยคีบุคคลก็จงขับไล่ผีนั้นโดยการสวดมนต์ มีรัตนสูตรเป็นต้น หรือม ฉะนั้นก็ใช้ไม้เท้าตีให้ล้มลง เหตุนั้น เมื่อจะไปพิจารณาศพก็จงเอาไม้เท้าติดตัวไปด้วย
อุคคหนิมิตจะกลับเป็นภัยแก่ผู้ที่มีนิสัยกลัว
หลังจากที่อุคคหนิมิตปรากฏแล้ว พระโยคีบุคคลที่มีนิสัยค่อนข้างกลัวอยู่ ใน ระหว่างนั้น ถ้าขาดอาจารย์คอยแนะนําตักเตือน ทั้งตนเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่อง อุคคหนิมิตด้วยแล้ว ก็เห็นไปว่าถูกผีหลอก ถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เกิดเจ็บป่วย ต้องหาหมอมาทําการรักษากันยกใหญ่ก็มี หรือ ผู้ที่มิได้ตั้งใจจะพิจารณาศพแต่อย่างใด เมื่อได้ไปเห็นศพอยู่นานๆ แล้ว ไม่ว่าจะไปข้างไหน อยู่ในอิริยาบถใด ก็คงเห็นแต่ภาพ ศพนั้นมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ติดตา ติดใจอยู่ การที่ภาพศพมาอยู่เฉพาะหน้า ติดตา ติดใจอยู่อย่างชัดเจนเช่นนี้ เป็นอุคคหนิมิตอันเป็นของดี หากแต่สําคัญผิดไปว่าไม่ดี จึงเกิดกลัวถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องล้มป่วย เช่นเดียวกับผู้ไม่มีความรู้ในเรื่อง อุคคหนิมิตที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
ความต่างกันในระหว่างการเห็นบริกรรมนิมิต และ อุคคหนิมิต
พระโยคีบุคคลผู้เจริญอสุภกรรมฐาน โดยมากมักจะเข้าใจผิดในเรื่องบริกรรม นิมิต และ อุคคหนิมิตทั้งสองนี้อยู่เสมอ คือ หลังจากที่ได้ไปพิจารณาศพมาแล้ว พระโยคีบุคคล ก็จํารูปร่างสัณฐานของศพนั้นได้อย่างชัดเจน เมื่อจําได้ชัดเจนเช่นนี้ ก็ สําคัญผิดไปว่าได้อุคคหนิมิต ซึ่งที่จริงนั้นหาใช่อุคคหนิมิตไม่ เพียงแต่เป็นสัญญา ความจําอารมณ์บริกรรมนิมิต ที่เป็นอดีตมาปรากฏแก่ใจต่างหาก แต่การปรากฏแห่ง อุคคหนิมิตนั้นก็หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ เป็นการปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าอยู่เสมอไม่ว่าจะไป ข้างไหน และอยู่ในอิริยาบถใดโดยไม่มีการนึกถึงเลย ส่วนการจํารูปร่างสัณฐานศพได้ อย่างชัดเจนนั้นเป็นการน้อมนึกถึงภาพที่ตนได้ไปพิจารณาแล้วจํามา หาใช่เป็นภาพที่ ติดตามมาปรากฏเฉพาะหน้าแต่อย่างใดไม่ เปรียบเหมือนกับผู้ที่อ่านหนังสือ เมื่อปิด หนังสือแล้วก็ยังคงจําตัวอักษรในหน้าหนังสือนั้นได้อยู่ แต่ถ้าให้อ่านดูให้ถูกเหมือนกับ เปิดหนังสือดูนั้นก็มิอาจทําได้ ฉะนั้น การจําอารมณ์ที่เป็นบริกรรมนิมิตได้ก็คงเป็นเช่น เดียวกันกับการจําตัวหนังสือได้อย่างชัดเจน แต่มิอาจที่จะอ่านให้ถูกได้ทั้งหมด ฉันนั้น
ส่วนการเห็นที่เป็นอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับผู้ที่อ่านข้อความในหนังสือนั้นได้ถูกต้อง โดยไม่ต้องเปิดดู แม้ในการเพ่งองค์กสิณ พระโยคีบุคคลที่มีความสําคัญผิดในบริกรรม- นิมิตที่เรียกว่า การจํารู้ กับอุคคหนิมิตที่เรียกว่า การเห็นรู้เช่นกัน
อสุภที่ใช้แทนวัณณกสิณเพื่อเจริญทุติยฌาน เป็นต้น ต่อไป
ได้กล่าวแล้วว่า การเจริญอสุภกรรมฐานนี้มิอาจให้ฌานเบื้องบน มีทุติยฌาน เป็นต้นเกิดได้ ดังนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลได้ปฐมฌานแล้ว ถ้าหากว่าไม่ต้องการจะ เปลี่ยนก็จงเพ่งสีต่างๆ ที่ปรากฏชัดมากที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในศพ ซึ่งจัดเข้า ในประเภทแห่งวัณณกสิณพร้อมกับบริกรรมว่า เขียวๆ หรือ เหลืองๆ แดง ๆ ขาวๆ จนกว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏ เมื่อุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็เจริญต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและทุติยฌานตามวิธีการของกสิณที่ได้กล่าวแล้ว
การพิจารณาอสุภใช้ได้ทั้งสองนัย
การพิจารณาอสุภกรรมฐานนี้มีอยู่สองนัย คือ สมถนัย เป็นนัยที่ให้ได้ฌาน และ วิปัสสนานัย เป็นนัยที่ให้ได้มรรค ผล ในนัยทั้งสองนี้ สมถนัยได้กล่าวมาแล้ว สําหรับ วิปัสสนานัยนั้นมิได้มีการพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดแต่อย่างใด หากแต่พิจารณา เป็นไปโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่า
๑. ความเป็นอยู่ของตนนี้ก็ไม่เที่ยง คือ จะต้องตายลงเช่นเดียวกัน เพียงแต่ เขาตายก่อนและตนจะตายทีหลังเท่านั้น เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ
๒. ชีวิตและร่างกายของตน ที่กําลังได้รับความทุกข์ยากลําบากอยู่ในบัดนี้ นั้นยังไม่ถึงซึ่งยอดทุกข์แต่อย่างใด แต่มิวันใดก็วันหนึ่งจะต้องถึงซึ่งยอดทุกข์ อันเป็น ทุกข์ที่มิอาจทนสู้ได้ถึงกับสิ้นชีวิตลงเช่นเดียวกับผู้ตายนี้ เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรง เทศนาว่า สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
๓. ผู้ที่ตายอยู่จําเพาะหน้าตนนี้ ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ไม่มีความประสงค์ในการ แก่ เจ็บ ตาย แต่อย่างใด แต่ก็มิอาจเป็นไปตามความประสงค์ได้ เพราะร่างกายมิได้ อยู่ใต้บังคับบัญชาของตน คงเป็นไปตามสภาวะของรูป นาม ที่เป็นอนัตตะ ตนนี้ก็ ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้เหมือนกัน คือ มิอาจหลีกเลี่ยงให้เป็นไปอย่างอื่นได้ จะต้องเป็น ไปอย่างนี้โดยแน่แท้เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาว่า สพฺเพ ธัมมา อนตฺตา รูป นาม ทั้งหลายไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น
อนึ่ง การพิจารณาศพตามวิปัสสนานัยดังที่ได้กล่าวนี้ พระโยคีบุคคลไม่ จําเป็นที่จะต้องเลือกศพว่าเป็นหญิง หรือ ชาย ดังที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิตศพ หญิงให้แก่พระกุลลเถระที่มีราคจริตพิจารณา และทรงใช้ให้ภิกษุหนุ่มไปพิจารณาศพ นางสิริมา นครโสเภณี ที่ภิกษุนั้นหลงรักมากที่สุดถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ โดย ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อธิบาย อสุภ จบลงเพียงเท่านี้
อนุสสติ
อนุสสติ หมายความว่า การระลึกเนือง ๆ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ อนุ + สติ, อนุ เนือง ๆ สติ ระลึก ดังแสดงวจนัตถะว่า “สรณ์ = สติ” การระลึกได้ ชื่อว่า สติ “อนุปูนปูน สติ อนุสสติ” การระลึกเนือง ๆ ชื่อว่า อนุสสติ ได้แก่ สติเจตสิก
คําว่า “อนุสสติ” นี้ น่าจะเป็น อนุสติ ตามที่แยกบทไว้ แต่ที่เป็นเช่นนั้น ไม่ได้ ก็เพราะคําเดิมของ สติ มาจาก สรธาตุ ฉะนั้น สรธาตุมาอยู่ข้างหลัง อนุ ก็จะ ต้องเป็น ส สองตัว จึงสําเร็จเป็น อนุสสติ ไป
พุทธานุสสติ
พุทธานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้ามี อรหํ เป็นต้น เนื่องๆ ชื่อ ว่า พุทธานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “พุทธ์ อนุสสติ = พุทธานุสสติ” การ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเนือง ๆ ชื่อว่า พุทธานุสสติ ได้แก่สติเจตสิก ที่มีคุณของ พระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ตามธรรมดาคําว่า “พุทธ” นั้น ย่อมหมายถึงพระสรีรกาย ของพระพุทธองค์ แต่ในที่นี้มุ่งหมายถึงพระคุณต่างๆ ที่มีอยู่ในสันดานของพระองค์ อย่างไรก็ดี การระลึกถึงพระคุณนี้ก็มิอาจเว้นจากพระสรีรกายไปได้ เพราะความงาม แห่งพระสรีรกายนั้น ก็เป็นพระคุณอย่างหนึ่งที่เป็นบุญสิริอยู่ในบท ภควา
วิธีระลึกถึงพระพุทธคุณ
การระลึกไปในพระพุทธคุณนั้น จะระลึกเป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ได้ ภาษา บาลีนั้นมีดังนี้ อิติปิโส ภควา, อรห์, สมมาสัมพุทโธ, วิชชาจรณสมฺปนฺโน, สุคโต, โลกวิทู อนุตตโร ปุริสทมฺมสารถี, สตฺถาเทวมนุสสาน, พุทโธ, ภควา
หรืออีกนัยหนึ่ง โสภควา อิติปิ อรห์, โสภควา อิติปิ สมมาสม พุทโธ, โสภควา อิติปิ วิชชาจรณสมฺปนฺโน, โสภควา อิติปิ สุคโต, โสภควา อิติปิ โลกวิทู, โสภควา อิติปิ อนุตฺตโร ปริสุทมุมสารถี, โสภควา อิติปิ สตถาเทวมนุสสาน, โสภควา อิติปิ พุทโธ, โสภควา อิติปิ ภควาฯ
ถ้าเป็นภาษาไทยก็ระลึกได้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีชื่อเสียง เลื่องลือเซ็งแซ่ตลอดทั่วไปจนถึงพรหมโลก ด้วยพระคุณบทว่า อรห์ เพราะเป็นผู้ห่าง ไกลจากกิเลส ๑๕๐๐ ทั้งวาสนาของกิเลสอย่างเด็ดขาด มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสงดงาม เป็นผู้ควรได้รับการสักการะบูชาเป็นพิเศษจากมวลมนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า สมมาสัมพุทโธ เพราะเป็นผู้ ตรัสรู้ เญยยธรรม ๕ ประการ คือ สังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน บัญญัติ ด้วย อํานาจแห่งพระสัพพัญญุตญาณโดยลําพังพระองค์เองอย่างถูกถ้วน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า วิชชาจรณสัมปันโน เพราะ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และการปฏิบัติอย่างประเสริฐเป็นยอดเยี่ยม คือ วิชชา ๓
หรือ ๘ และจรณะ ๑๕ ประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า สุคโต เพราะเป็นผู้ดําเนิน กิจการต่างๆ เป็นอย่างดี เพื่อการที่จะได้มาซึ่งสัพพัญญุตญาณด้วยการสร้างบารมี ๓๐ ทัศ และ ทําการปฏิบัติอยู่อย่างซื่อตรง ปราศจากมิจฉาทิฏฐิประกอบด้วยสติสัมป ชัญญะ อันจะนําประโยชน์มาให้แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้ง ๓ นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ ในขณะที่ทรงซบพระเศียรแทบพระบาทของสมเด็จพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นมาจนถึงโพธิบัลลังก์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า โลกวิทู เพราะเป็นผู้รู้แจ้งโลก ทั้ง ๓ คือ สัตวโลก โอกาสโลก สังขารโลก อย่างทั่วถึงโดยรอบคอบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า อนุตฺตโร ปริสุทมุมสาร เพราะเป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม หาที่เปรียบมิได้ในเชิงการอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มี ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ตั้งอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา โดยลําดับยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทั่งถึงได้ ฌาน มรรค ผล โดยอุบายวิธีต่างๆ ด้วยการปลอบโยน กดขี่ ยกย่อง ตามควรแก่อัธยาศัย ของสัตว์นั้นๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า สัตถาเทวมนุสสาน เพราะเป็น ศาสดาของมนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลาย ในการที่จะให้พ้นออกไปจากชาติ ชรา มรณะ แล้วเข้าถึงพระนิพพาน เสมือนอย่างพ่อค้าเกวียนใหญ่ย่อมนําพวกเกวียนที่เป็นลูกน้องให้ข้ามพ้นจากทางกันดาร เข้าสู่แดนเกษมสําราญได้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า พุทโธ เพราะเป็นผู้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ โดยรอบคอบอย่างถี่ถ้วน แล้วสามารถยังสัตว์ทั้งหลายให้รู้ตาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยพระคุณบทว่า ภควา เพราะเป็นผู้มีบุญ 5 ประการ คือ อิสสริย ธมุม ยสฺส สิริ กาม ปยุตฺต อย่างประเสริฐ น่าอัศจรรย์ยิ่ง
ข้อความที่ควรรู้ในบทพระพุทธคุณ
เญยยธรรม หมายความว่า ธรรมที่ควรรู้ เญยยธรรม มี ๕ ประการ คือ
๑. สังขาร ได้แก่ จิต เจตสิก และนิปฝันนรูป
๒. วิการ ได้แก่ วิการรูป ๕
๓. ลักขณะ ได้แก่ ลักขณรูป ๔
๔. นิพพาน ได้แก่ ธรรมชาติที่นอกจากขันธ์ ๕ และบัญญัติ
๕. บัญญัติ ได้แก่ สัททบัญญัติ คือ ชื่อต่างๆ ภาษาต่างๆ อัตถ บัญญัติ ได้แก่เนื้อความ คือ คําอธิบายใจความในเรื่องนั้น ๆ และรูปร่างสัณฐานของ มนุษย์ เทวดา พรหม อบายสัตว์ ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขา แม่น้ํา ป่า เป็นต้น
วิชชา หมายความว่า ความรู้ในพระสูตรบางแห่งแสดงวิชชา ๓ แต่ในบาง แห่งแสดงวิชชา ๘
วิชชา ๓ คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตได้
๒. ทิพพจักขุญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ในที่ห่างไกล หรือ เล็กที่สุดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง มิว่าจะอยู่ในที่แจ้ง หรือ ลี้ลับกําบังไว้อย่างมิดชิด ประการใดก็ตาม ย่อมสามารถเห็นได้เป็นอย่างดีเหมือนกับตาของเทวดาและพรหมทั้งหลาย
๓. อาสวักขยญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถทําลายกิเลสอาสวะให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
วิชชา ๘ คือ
๑. วิปัสสนาญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถรู้แจ้ง รูป นาม ทั้งปวงที่มี สภาพเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๒. อิทธิวิธญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๓. มโนมยิทธิญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถเนรมิตร่างกายอื่นๆ ให้ เกิดขึ้นภายในร่างกายของตน แล้วแต่จะต้องการ
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตได้
๕. เจโตปริยญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถรู้จิตใจของบุคคลอื่นได้อย่าง
๖. ทิพพจักขุญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ในที่ห่างไกล หรือ เล็กที่สุดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง มิว่าจะอยู่ในที่แจ้ง หรือ ลี้ลับกําบังไว้อย่างมิดชิด ประการใด ๆ ก็ตามที ย่อมสามารถเห็นได้เป็นอย่างดีเหมือนกับตาของเทวดาและพรหมทั้งหลาย
๗. ทิพพโสตญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถได้ยินเสียงในที่ห่างไกล หรือ เบาที่สุดเหมือนกับหูของเทวดา และพรหมทั้งหลาย
๘. อาสวักขยญาณ ได้แก่ ปัญญาที่สามารถทําลายกิเลสอาสวะให้หมด ไปโดยสิ้นเชิง
จรณะ หมายความว่า ความประพฤติ จรณะ มี ๑๕ ประการ คือ
๑. ศรัทธา เชื่อต่อการงานของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นบุญก็มี เป็นบาป ก็มี และจะได้รับผลของ บาป บุญ นั้นอย่างแน่แท้ เชื่อในคุณของพระรัตนตรัยว่ามีจริง เชื่อว่าเคยเกิดมาแล้วในภพก่อนๆ
๒. สติ มีการระลึกอยู่ในการงานที่เป็นฝ่ายดี
๓. หิริ มีความละอายในการงานอันเป็นทุจริตทราชีพ
๔. โอตตัปปะ มีความสะดุ้งกลัวในการงานที่เป็นทุจริตทราชีพ
๕. วิริยะ มีความขยันในการงานที่เป็นฝ่ายดี
๖. สุตะ เคยฟัง เคยเห็นมามาก
๗. ปัญญา การเฉลียวฉลาดในกิจการทั้งปวง
๗. โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค
๙. ชาคริยานุโยค ตื่นไวในยามหลับ คือ มีการหลับนอนน้อย
๑๐. ศีล มีศีลสมบูรณ์
๑๑. อินทรียสังวร การสํารวมในทวาร ๖
๑๒. รูปปฐมฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๕
๑๓. รูปทุติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๓
๑๔. รูปตติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒
๑๕. รูปจตุตถฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒
จบพุทธานุสสติ
ธัมมานุสสติ
ธัมมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระธรรมเจ้า มี สวากขาโต เป็นต้นอยู่เนืองๆ ชื่อว่า ธัมมานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “ธมฺม อนุสสติ = ธัมมานุสสติ” การระลึกถึงคุณพระธรรมเจ้าเนือง ๆ ชื่อว่า ธัมมานุสสติ องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระธรรมเจ้าเป็นอารมณ์
วิธีเจริญธัมมานุสสติ
การเจริญธัมมานุสสติ ผู้เจิรญจะใช้ระลึกเป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ เป็นภาษาบาลีนั้นมีดังนี้
สวากขาโต ภควตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อกาลิโก, เอหิปสฺสิโก, โอปนยิโก, ปจจตต์ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ ฯ
หรืออีกนัยหนึ่ง ภควโต ธมฺโม สวากขาโต ภควโต ธัมโม สันทิฏฐิโก, ภควโต ธมฺโม อกาลิโก, ภควโต ธมฺโม เอหิปสฺสิโก, ภควโต ธมฺโม โอปนยิโก, ภควโต ธมฺโม ปจฺจตฺติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ ฯ
เป็นภาษาไทยนั้นระลึกดังนี้
สวากขาโต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม ๑๐ ประการ มีปิฎกทั้ง สามอรรถกถาบางอย่าง และมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ไว้ดีแล้ว โดยทําให้ผู้ฟัง สงบระงับดับเสียซึ่งความทุกข์ต่างๆ ซึ่งเนื่องจากกิเลสได้ชั่วระยะหนึ่ง กับทําให้จิตใจ ได้รับความชุ่มชื่นเบิกบานแจ่มใสขึ้น ระหว่างประพฤติปฏิบัติตามก็มีแต่ความสุขกาย สบายใจฝ่ายเดียว หลังจากการประพฤติปฏิบัติแล้วก็ยิ่งได้รับความชุ่มชื่น อิ่มเอิบ แห่งจิตใจเป็นทวีคูณ ใกล้ต่อการสิ้นไปแห่งทุกข์ สมความมุ่งหมายของตนที่ได้แสวง หามาเป็นเวลาช้านาน
สนทิฏฐิโก พระธรรม ๙ อย่าง มีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ มิใช่เป็น ธรรมที่เพียงแต่ได้ยินได้ฟังแล้วจดจําเอาไว้เท่านั้น หากแต่เป็นธรรมที่ควรรู้ควรเห็นเป็นประจักษ์ด้วยตนเอง
อกาลิโก มรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น นี้ย่อมให้ผลเกิดขึ้นในลําดับ ของตนโดยไม่มีการรอเวลาแม้แต่เพียงเล็กน้อย
เอหิปสฺสิโก พระธรรม ๙ อย่างมีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ เป็นธรรม ที่ควรแก่การเชื้อเชิญชนทั้งหลายให้มาชมได้โดยกล่าวคําว่า ท่านจงมาดูเถิด ๆ พระธรรมเหล่านี้มีจริง เหมือนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่กําลังโคจรอยู่
โอปเนยยิโก พระธรรม ๙ อย่างมีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ เป็น ธรรมที่ควรยึดหน่วงให้มาปรากฏแก่ใจ แม้ที่สุดจะถูกไฟไหม้เครื่องนุ่งห่ม หรือ ผมที่อยู่บนศรีษะก็ตามที แต่ก็มียอมที่จะทําการดับไฟนั้น โดยเหตุว่า ธรรมเหล่านี้เมื่อ ปรากฏขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียวก็สามารถปิดประตูอบายได้
ปจฺจตฺติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ พระธรรม ๑๐ หรือ ๙ นี้ เป็นธรรมที่ผู้มี ปัญญา คือ กัลยาณปุถุชน และ อริยบุคคลทั้งหลาย พึ่งรู้จึงเสวยด้วยตนเองโดยเฉพาะๆ
จบธัมมานุสสติ
สังฆานุสสติ
สังฆานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระสังฆเจ้ามี สุปปฏิปนฺโน เป็นต้นอยู่เนือง ๆ ชื่อว่า สังฆานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “สงฆ์ อนุสสติ สังฆานุสสติ” การระลึกถึงคุณของพระสังฆเจ้าเนือง ๆ ชื่อว่า สังฆานุสสติ องค์ ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์
วิธีเจริญสังฆานุสสติ
การระลึกไปในพระสังฆคุณนั้น จะใช้ระลึกตามภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ ตามภาษาบาลีนั้นมีดังนี้
สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ, อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวก สังโฆ, ญายปปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ, สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ (ยที่ท์ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคลา) เอส ภควโต สาว กสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกรณีโย, อนุตตร ปุญญักเขตต์ โลกสฺส ฯ
หรืออีกนัยหนึ่ง ภควโต สาวกสังโฆ สุปฏิปนฺโน, ภควโต สาวกสังโฆ อุชุปฏิปันโน, ภควโต สาวกสังโฆ ญายปปฏิปนฺโน, ภควโต สาวกสังโฆ สามีจิปฏิปนฺโน, ภควโต สาวกสังโฆ อาหุเนยโย, ภควโต สาวกสังโฆ ปาหุเนยโย, ภควโต สาวกสังโฆ ทุกขิเณยโย, ภควโต สาวกสังโฆ อัญชลี กรณีโย, ภควโต สาวกสังโฆ อนุตตร์ ปุญญเขตต์ โลกสฺส ฯ
ตามภาษาไทยนั้นระลึกดังนี้
สุปฏิปันโน พระอริยสงฆ์สาวก ๔ จําพวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ ปฏิบัติดี สมบูรณ์ด้วยอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
อุชุปฏิปันโน พระอริยสงฆ์สาวก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อหนทางที่นําเข้าสู่ พระนิพพานโดยส่วนเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโลก ทั้งไม่มีมารยาสาไถยแต่อย่างใด เข้ามาเจือปน
ญายปปฏิปนฺโน พระอริยสงฆ์สาวก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติมุ่งต่อพระนิพพานอัน เป็นอมตธรรม ไม่มีการปรารถนาอยากได้ภวสมบัติและโภคสมบัติแต่อย่างใดเลย
สามีจิปปฏิปนฺโน พระอริยสงฆ์สาวก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่การ เคารพกราบไหว้ของชนทั้งหลายด้วยกาย ใจ
(บุรุษ ๔ คู่ที่เป็นคู่กันตาม มรรค ผล อันใดมีอยู่ บุรุษเหล่านี้เมื่อแยกโดย เฉพาะๆ แล้วก็เป็นอริยบุคคล ๘ ดังนี้)
อาหุเนยโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ จําพวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามารถให้ผลเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงเป็นผู้ควรรับอามิสบูชาที่เขานํามาจากที่ไกล
ปาหุเนยโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ เป็นแขกที่ประเสริฐสุดของคน ทั่วโลก เพราะมีแต่ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็น ผู้ที่ควรแก่การต้อนรับด้วยปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้สําหรับรับแขกที่เป็นฝ่ายโลกียะ
ทุกขิเณยโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ สามารถให้อานิสงส์ผลเกิดขึ้น ตามความประสงค์ของคนทั้งหลายได้ ดังนั้น จึงควรแก่การรับทักขิณาทาน คือ การ บริจาคทานของผู้มีความปรารถนาภวสมบัติ โภคสมบัติ ที่เกี่ยวกับตน หรือ คนอื่นในภพหน้า
อญชลีกรณีโย พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น จึงสมควรแก่การกระทําอัญชลีของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย
อนุตตรํ ปุญญเขตตํ โลกสฺส พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ฯลฯ เป็นที่หว่าน อันประเสริฐแห่งพืชต่างๆ คือ บุญกุศล ของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย เปรียบ เหมือนพื้นที่นาชั้นเอกที่ทําให้เมล็ดพืชเจริญงอกงามเป็นอย่างดี แม้ที่สุดจะหว่านลงเพียงเล็กน้อย
ความต่างกัน และ เหมือนกันในระหว่างคฤหัสถ์กับบรรพชิต ที่สําเร็จเป็น อริยบุคคล
การได้สําเร็จเป็นพระอริยบุคคลของคฤหัสถ์ทั้งหลายก็ดี การสําเร็จเป็นพระ อริยบุคคลของบรรพชิตทั้งหลายก็ดี ในระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่ายนี้ คงมีความต่างกัน อยู่ที่ความประพฤติ คือดําเนินงานทางอธิศีลสิกขาเท่านั้น สําหรับความประพฤติ ดําเนินงานทางอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขานั้นเหมือนกัน กล่าวคือ อธิศีลสิกขา ของคฤหัสถ์ก็เป็น ศีล ๕ อธิศีลสิกขาของบรรพชิตเป็นศีล ๒๒๗ หรือ ๘๑๙๐ โกฏิ ๕ ล้าน ๓ หมื่น ๖ พัน สิกขาบท ดังนั้นคุณทั้ง ๙ มี สุปปฏิปันโน เป็นต้น จนถึง อนุตตรังปุญญักเขตตังโลกัสสะนั้น เป็นคุณของบรรพชิต และคฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคลได้ทั้งสองฝ่าย
จบสังฆานุสสติ
สีลานุสสติ
สีลานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ตนรักษาไว้ โดยปราศจากโทษ ๔ อย่างมี อขัณฑะ เป็นต้นอยู่เนืองๆ ชื่อว่า สีลานุสสติ ดัง แสดงวจนัตถะว่า “สีสํ อนุสสติ = สีลานุสสติ” การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีล ที่ตนรักษาไว้โดยปราศจากโทษเนื่องๆ ชื่อว่า สีลานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ ในมหากุศลจิตที่มีการเว้น การรักษา ตามสิกขาบทนั้นๆ
วิธีเจริญสีลานุสสติ
การเจิรญสีลานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตาม หลักทั้ง ๕ ประการเสียก่อน คือ
๑. จะต้องชําระศีลของตนให้พ้นจากโทษทั้ง ๔ แล้วตั้งอยู่ในคุณทั้ง ๔ จน ครบบริบูรณ์ อย่างหนึ่ง
๒. จะต้องมีจิตใจพ้นไปจากความเป็นทาสแห่งตัณหา กล่าวคือ การรักษา ศีลที่ไม่มีความมุ่งหวังต่อโลกียสมบัติ อย่างหนึ่ง
๓. มีการปฏิบัติกาย วาจา ให้ตั้งอยู่ในสิกขาบทอย่างเคร่งครัด จนมิอาจที่ผู้ใด ผู้หนึ่งจะมาจับผิดโดยอ้างวัตถุขึ้นแสดงเป็นหลักฐานได้ อย่างหนึ่ง
๔. ความประพฤติด้วยกาย วาจา ของตนนั้น แม้ว่าคนอันธพาลและผู้ที่เป็น ศัตรูแก่ตนจะไม่มีความเห็นดีเห็นชอบด้วยก็ตาม แต่วิญญูชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญอย่างหนึ่ง
๕. ต้องประกอบด้วยความรู้ว่า ศีลนี้เป็นเหตุทําให้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และ มรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นได้
จบสีลานุสสติ
จาคานุสสติ
จาคานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงการบริจาคทานของตน ที่เป็นไป โดยบริสุทธิ์ ไม่มีการโอ้อวด หรือ การเอาหน้า เอาชื่อเสียงแม้แต่ประการใด ๆ อยู่เนืองๆ ชื่อว่า จาคานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า “จาคา อนุสสติ = จาคานุสสติ” การระลึกถึงการบริจาคทานของตนที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์อยู่เนืองๆ ชื่อว่า จาคานุสสติ
องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิตที่มีบริจาคเจตนาเป็นอารมณ์
วิธีเจริญจาคานุสสติ
การเจริญจาคานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีการบริจาคทานที่ถึงพร้อมด้วยคุณความดี ๓ ประการ คือ
๑. ธัมมิยลัทธวัตถุ คือ วัตถุสิ่งของที่เป็นเทยยธรรมนั้น ได้มาโดยชอบธรรม
๒. บริบูรณ์ด้วยเจตนาทั้ง ๓ คือ ปุพพเจตนา บุญจเจตนา อปรเจตนา ๓
๓. มุตตจาคี คือ การบริจาคที่สละละพ้นไปจากความตระหนี่ และ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
เมื่อบริจาคทานของตน ได้ถึงพร้อมด้วยคุณความดีดังนี้แล้ว ก็มาคํานึงนึก ถึงความเป็นอยู่ของโลกเทียบกันกับความเป็นอยู่ของตนว่า ตามธรรมดาชนทั้งหลายนั้น โดยมากมักมีความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์สิน เงินทอง ของตน ไม่ใคร่จะยอมบริจาค ให้เป็นทาน แต่กลับไปสนใจอยู่ในเรื่องการบํารุงบําเรอตัณหา มานะ ทิฏฐิ กล่าวคือ มีการตบแต่งร่างกายเกินกว่าเหตุ อาหารการบริโภคเกินสมควร การสนุกสนานเพลิดเพลิน โอ้อวดซึ่งกันและกัน ล้วนแต่เป็นเรื่องที่หาสาระมิได้ทั้งสิ้น สําหรับตนในคราว นี้นั้น ย่อมมีโอกาสได้ชัยชนะต่อศัตรูภายใน คือ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์สิน เงินทองที่มีอยู่ ด้วยการยอมลดละจากการบํารุงบําเรอตัณหา มานะ ทิฏฐิ มีการตบ แต่งร่างกายเกินควร เป็นต้นเสียได้ ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของตนอย่างแท้จริง แต่ต่อไป ในภายภาคหน้าก็จะได้รับแต่อานิสงส์ที่ดีงาม มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ประกอบไป ด้วยความโสมนัสอย่างยอดยิ่ง การคํานึงนึกถึงอย่างนี้แหละ ได้ชื่อว่าจาคานุสสติ ต่อ แต่นั้นก็เริ่มต้นภาวนาว่า
มนุสสติ สุลทช์ เม ยุวาห์ จาเค สทา รโต
มจฺเฉรปริฏฺฐาย ปชาย วิคโต ตโต ๆ
ในบรรดาชนทั้งหลาย ที่มีมัจฉริยะก่อกวนกําเริบด้วยการหวงแหนอยู่นั้น แต่ เรานั้นมีความยินดีปลื้มใจอยู่แต่ในการบริจาคทาน โดยความปราศจากมัจฉริยะลงได้ การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ดีจริงหนอ
อนึ่ง บรรพชิตที่กําลังปฏิบัติสารณียธรรม หรือ สารณียวัตรอยู่นั้น ถ้าให้ เจริญจาคานุสสติกรรมฐานไปด้วย ก็จะช่วยให้การปฏิบัติสารณียธรรมได้ดําเนินไปโดยเรียบร้อย เพราะการปฏิบัติสารณียธรรมนั้นต้องให้ทานทุกวันตลอดระยะเวลา ๑๒ ปี ฉะนั้น ถ้าภิกษุได้ทําการเจริญจาคานุสสติกรรมฐานด้วยแล้ว ก็จะช่วยให้ได้รับผลทั้ง
สองฝ่าย
จบจาคานุสสติ
เทวตานุสสติ
เทวตานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงกุศลกรรมของตน มีศรัทธา เป็นต้น โดยเปรียบเทียบกับเทวดา พรหมทั้งหลาย ที่บริบูรณ์ด้วยสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง และสัปปุริสธรรม ๗ ประการอยู่เนืองๆ ชื่อว่า เทวตานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ที่มีศรัทธาเป็นต้นเป็นอารมณ์
วิธีเจริญเทวตานุสสติ
การเจริญเทวตานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องอยู่ในสถานที่ที่เงียบสงัดจากฝูงชน แล้วระลึก ถึงความเป็นไปของเทวดาและพรหมทั้งหลายว่า ขณะที่ท่านเหล่านั้นยังเป็น มนุษย์อยู่นั้น ท่านเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยธรรมอันดีงามมีสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ และสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ ปัญญาด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้น เมื่อตายลงก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่มีสภาพอันดีงามเหล่านี้ตนก็มีอยู่ เหมือนกัน เมื่อพิจารณา เปรียบเทียบดูอยู่อย่างนี้เนืองๆ แล้วก็บังเกิดความโสมนัสใจเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ท่านฎีกาจารย์” กล่าวว่า “ยถารูปาย สุทธาทธมมชาตาย สมน นาคตา เทวตา อิโตจุตา ตตฺถ อุปปันนา, เมหมปิ ตตฺถารูปาย สุทธาทธมมา สํวิชฺชนฺติ ฯ”
เทวดาและพรหมทั้งหลาย เมื่อขณะที่ยังเป็นมนุษย์อยู่นั้น ล้วนแต่เป็นผู้ที่บริบูรณ์ ด้วยสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง และสัปปุริสธรรม ๗ ประการ ที่มีสภาพดีงาม คือ ศรัทธา เป็นต้น อันใด ฉะนั้น เมื่อจุติจากมนุษย์แล้วก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่ มีสภาพดีงาม คือ ศรัทธา เป็นต้นเหล่านี้ ก็มีอยู่ในเราเช่นเดียวกัน
จบเทวตานุสสติ
อุปสมานุสสติ
อุปสมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระนิพพานที่มีสภาพ สันติสุข สงบจากกิเลส ขันธ์ ๕ อยู่เนืองๆ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิตที่มีคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์
วิธีเจริญอุปสมานุสสติ
การเจริญอุปสมานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณศัพท์ที่ พรรณนาถึงคุณของพระนิพพานมี ๒๙ ประการให้ดีเสียก่อน จึงจะทําการเจริญอุป สมานุสสตินี้ได้ คุณศัพท์ของพระนิพพานมี ๒๙ ประการนั้น คือ
๑. มทนมุมททโน พระนิพพาน เป็นธรรมที่ย่ำยีความมัวเมาต่างๆ
๒. ปีปาสวินโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์
๓. อาลัยสมุคุฆาโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์
๔. วฏฎปจฺเฉโท พระนิพพาน เป็นธรรมตัดเสียซึ่งการเวียนไปใน วัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด
๕. ตณฺหกขโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่สิ้นแห่งตัณหา
๖. วิราโค พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากราคะ
๗. นิโรโธ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ดับแห่งตัณหา
๘. ธุว พระนิพพาน เป็นธรรมที่ตั้งมั่นอยู่เสมอ
๙. อชํร พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความแก่
๑๐. นิปฺปปญฺจํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ทําให้วัฏฏสงสารกว้างขวาง
๑๑. สจฺจํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่มีความจริงแน่นอน
๑๒. ปารํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ข้ามพ้นจากฝั่งแห่งวัฏฏทุกข์
๑๓. สุทุทฺทสํ พระนิพพานเป็นธรรมที่ผู้มีปัญญาน้อยย่อมเห็นได้ยาก
๑๔. สิวํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่สบายปราศจากกิเลส
๑๕. อมต พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความตาย
๑๖. เขมํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากภัย
๑๗. อพฺภูติ พระนิพพาน เป็นธรรมที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง
๑๘. อณัติกํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีภัยอย่างร้ายแรง ที่นําความเสียหายมาสู่
๑๕. ตาณํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ช่วยรักษาสัตว์ ไม่ให้ตกอยู่ ในวัฏฏสงสาร
๒๐. เลณํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่หลบภัยต่าง ๆ
๒๑. ทีปํ พระนิพพาน เป็นเกาะที่พ้นจากการท่วมทับของโอฆะ ที่ง ๔
๒๒. วิสุทธิ พระนิพพาน เป็นธรรมที่บริสุทธิ์จากกิเลส
๒๓. วรํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่สัปปุรุษทั้งหลายพึงปรารถนา
๒๔. นิปุณํ พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุขุมละเอียด
๒๕. อสงฺขติ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔
๒๖. โมกุโข พระนิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากกิเลส
๒๗. เสฏโฐ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ควรสรรเสริญโดยพิเศษ
๒๘. อนุตฺตโร พระนิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐยิ่งหาที่เปรียบมิได้
๒๕. โลกสฺสนฺโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุดสิ้นแห่งโลกทั้ง
เมื่อรู้ถึงคุณของพระนิพพานด้วยใจจริงดังนี้แล้ว ก็จงน้อมนึกบริกรรมในใจว่า
ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขาตา วา อสงขาตา วา วิราโค เตส์ ธมมาน อคคมกขายติ, ยาท มทนมุมทุกโน, ปิปาสวินโย, อาลยสมุคุฆาโต, วฎฎปจฺเฉโท ตณฺหกขโย, วิราโค, นิโรโธ, นิพพาน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่ถูก ปรุงแต่งและไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ที่ชื่อว่า สังขตะ อสังขตะ มีอยู่ ในบรรดาสังขตะ อสังขตะทั้ง ๒ อย่างนี้ ธรรมใดเป็นสภาพที่ย่ํายีความมัวเมาต่างๆ บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์ ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์ ตัดเสียซึ่งการเวียนไป ในวัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด ที่สิ้นไปแห่งตัณหา ปราศจากราคะที่ ดับแห่งตัณหา และพ้นจากตัณหาอันเป็น เครื่องร้อยรัดนี้แหละ ตถาคตจึงกล่าวว่าเป็น ธรรมอันประเสริฐอย่างยอดยิ่ง อยู่ดังนี้เรื่อยๆ ไป ในการระลึกนั้นผู้ปฏิบัติจะใช้ระลึก เป็นภาษาบาลีก็ได้ หรือ ภาษาไทยตามที่ได้แปลไว้นั้นก็ได้ มิฉะนั้นจะระลึกในคุณทั้ง ๘ หรือ ๒๙ ประการมี มทนิมุมพุทโน เป็นต้น ดังนี้ก็ได้ ความสําคัญยิ่งก็อยู่ที่ผู้ระลึกจะต้องรู้ถึงความหมายของคุณศัพท์นั้นๆ ไปด้วย
อนึ่งในบรรดาบุคคลทั้งหลายที่เจริญอนุสสติ มีพุทธานุสสติ เป็นต้นจนถึงอุป สมานุสสติ ให้สมบูรณ์อย่างถี่ถ้วยได้นั้น คงทําได้แต่พระอริยบุคคลพวกเดียว สําหรับปุถุชนนั้นจะเจริญให้ได้ดีอย่างสมบูรณ์นั้นยังทําไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นผู้ที่มี สุตมยปัญญาอันสําเร็จมาจากการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถระลึกไป ในพระคุณนั้น ๆ ได้ด้วยดี จิตใจก็จะบังเกิดความเสื่อมใสในอารมณ์กรรมฐานนี้ได้เช่นกัน
อธิบายการที่พระนิพพานได้ชื่อว่า อุปสมะ และ มีสันติสุข
ในที่นี้ คําว่า “อุปสมะ” แปลว่าสงบ หมายถึงความสงบจากกิเลสและขันธ์ ๕ เหตุนั้น พระนิพพานจึงได้ชื่อว่า อุปสมะ เมื่อกล่าวถึงความสุขแล้ว พระนิพพานมี สันติสุข หมายถึงไม่มีกิเลสและขันธ์ ๕ นั้นเองจึงเป็นสุข อธิบายว่า พระนิพพานนี้ ไม่ใช่เป็นธรรมที่เสวย อารมณ์ต่าง ๆ เหมือนสัตว์ทั้งหลาย และไม่มีอารมณ์ที่จะพึงเสวย เหมือนกับรูปารมณ์ สัททารมณ์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจได้ว่า ในพระนิพพาน ย่อมไม่มีเวทยิตสุข คือ ความสุข ที่เกี่ยวด้วยการเสวยกามคุณอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นไป อยู่ในโลกเลย แต่มีสภาพสงบที่เรียกว่า สันติสุข ซึ่งเป็นความสุขที่ประเสริฐและ ประณีตกว่าเวทยิตสุข
ธรรมดาเวทยิตสุข คือ ความสุขที่เกี่ยวด้วยการเสวยกามคุณอารมณ์ต่างๆ นั้น เมื่อเสวยไปๆ แล้ว อารมณ์เหล่านั้นย่อมหมดไปๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เสวยย่อมจะ ต้องขวนขวายพยายามสร้างหามาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อตนจะได้เสวยต่อ ๆ ไป ความลําบากต่างๆ ที่ต้องได้รับอันเนื่องมาจากการแสวงหาความสุขเหล่านั้นย่อมมีมากมาย ไม่คุ้มกับความสุขที่จะได้รับ เมื่อลงทุนลงแรงด้วยความลําบาก และความสุขที่ได้มา นั้นก็ยังไม่เป็นที่เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็จะต้องยิ่งขวนขวาย
พยายามให้หนักขึ้นอีก จะเป็นไปในทางสุจริตก็ตาม ทุจริตก็ตาม ไม่คํานึงถึง ขอแต่ เพียงให้ได้สิ่งที่ตนต้องการมาให้สมประสงค์เท่านั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายประพฤติตนให้ เป็นไปตามอํานาจของโลภะที่สนใจ ติดใจต่อเวทยิตสุขต่างๆ อยู่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพ นี้ไปแล้ว ก็จะต้องไปเกิดในอบายภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่ง และ จะต้องได้เสวยความทุกข์ ยากลําบากอย่างมหันต์ ที่ตนไม่เคยได้รับเลยขณะที่มีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก ความ ลําบากต่างๆ ที่ได้รับอยู่ในอบายภูมินั้น เปรียบเสมือนหนึ่งเป็นการใช้หนี้ให้แก่เวทยิต สุขที่ตนยืมมาใช้พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก ฉะนั้นพุทธศาสนิกชนทั้ง หลาย เมื่อพิจารณารู้ดังนี้แล้ว ก็ควรจะสังเวชสลดใจ เพราะความลําบากต่างๆ ที่ตนได้ เคยรับมาแต่ภพก่อนๆ ก็ดี ที่กําลังได้รับอยู่ก็ดี และที่จะได้รับต่อไปข้างหน้าก็ดี เหล่า นี้ล้วนแต่เกิดมาจากเวทยิตสุขเป็นเหตุทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ยกย่องสรรเสริญเวทยิตสุข
สําหรับสันติสุขนั้น ไม่เกี่ยวด้วยการเสวยกามคุณอารมณ์ต่างๆ เหมือนกับ เวทยิตสุข เป็นสภาพที่สงบจากสังขารธรรม รูป นาม ทั้งปวง สภาพเช่นนี้แหละ เป็นความสุขที่มีอยู่ในพระนิพพาน อุปมาเหมือนมหาเศรษฐีผู้บริบูรณ์ด้วยกามคุณ อารมณ์ต่าง ๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อย่างพร้อมมูล วันหนึ่งท่านเศรษฐีกําลัง หลับอยู่อย่างเป็นสุข ฝ่ายพวกข้าทาส บริวารทั้งหลายก็จัดแจงเตรียมโภชนาหาร พร้อมด้วยเครื่องบํารุงบําเรอความสุขต่างๆ ไว้สําหรับท่านเศรษฐี เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว ก็เข้าไปปลุก ท่านเศรษฐีถูกปลุกในเวลาที่กําลัง หลับสนิทอยู่ก็ไม่พอใจ จึงดูพวกคน ใช้เหล่านั้นว่า ทําไมจึงมาปลุกเราในเวลาที่กําลังนอนสบาย ๆ อยู่เช่นนี้ คนใช้ตอบว่า อาหารพร้อมด้วยเครื่องบําเรอความสุขสําราญได้เตรียมพร้อมแล้ว พวกข้าพเจ้าจึงได้ มาปลุกท่าน เพื่อให้ท่านได้ตื่นขึ้นมาเสวยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านเศรษฐีไม่ยอมลุก กลับไล่คนใช้ว่าออกไปให้พ้น แล้วก็หลับต่อไป ขณะที่ท่านเศรษฐีนอนอยู่นั้นไม่มีการเสวย อารมณ์อย่างชัดเจนแต่อย่างใด แต่ท่านเศรษฐีก็ยังมีความพอใจในการนอนหลับ ยิ่งกว่า ความสุขที่เกี่ยวด้วยการเสวยอารมณ์ต่างๆ และธรรมดาคนในโลกนี้ ย่อมพอใจการ นอนหลับได้สนิทว่าสบายมาก นี้แสดงให้เห็นว่า เพียงแต่การนอนหลับที่สงบจากการ เสวยกามคุณอารมณ์ชั่วคราวก็ยังรู้สึกว่าเป็นความสุขถึงเพียงนี้ ถ้าเป็นความสุขชนิดที่ สงบจากสังขารธรรม รูป นาม ทั้งปวงแล้ว จะมีความสุขประเสริฐเพียงใด ขอให้ พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายได้โปรดพิจารณาดูเถิด เหตุนี้แหละพระพุทธองค์จึงทรง เทศนาไว้ในเทวทหวัคค์ สฬายตนสังยุตต์ พระบาลี” ว่า
๑. สเทวกสฺส โลกสฺส เอเตโว สุขสมมตา
ยตฺถ เจเต นิรุชฺฌนฺติ ติ เตส ทุกขสมมติ ฯ
๒. สุข ทิฏฐมริเยภิ สกุกายสฺส นิโรธน์
ปัจจนึกมิท โหติ สพฺพโลเกน ปสฺสติ ฯ
แปลความว่า
๑. สัตว์โลกทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดา สมมุติกันว่าโลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านั้นดี และมีความสุข ธรรมอันใด คือ พระนิพพาน ที่ โลกียอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นเหล่านั้น ดับสูญสิ้นหมดแล้ว สัตว์โลก ทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดานั้น สมมุติกันว่าธรรมอันนั้น คือ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ ไม่ดี เป็นทุกข์
๒. พระอริยบุคคลทั้งหลาย ได้รู้แจ้งสันติสุข คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ ดับแห่ง รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่ปรากฏมีโดยปรมัตถ์ได้แล้ว พระอริยบุคคลเหล่านั้นได้ รู้แจ้งพระนิพพานอันปุถุชนทั้งหลายมิอาจที่จะรู้ถึงได้นี้ จึงมีความเห็นตรงกันข้ามกับ สัตว์โลกที่มีโมหะปิดบังและตกอยู่ภายใต้อํานาจของตัณหา เสมือนคนสองคนยืนผืน หลังให้แก่กันแล้ววิ่งหนีจากกันไป ฉันนั้น
จบอุปสมานุสสติ
มรณานุสสติ
หมายความว่า การระลึกถึงความตายที่ตนจะต้องได้ประสบ แล้วเกิดความสังเวชสลดใจอยู่เนืองๆ ชื่อว่า มรณานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ที่มีชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะเป็นอารมณ์ มรณะมี ๔ ประการ คือ
๑. สมุจเฉทมรณะ ได้แก่ การเข้าปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ตัดเสียซึ่งวัฏฏทุกข์ทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง
๒. ขณิกมรณะ ได้แก่ ความดับของสังขารธรรม รูป นาม ที่เป็นอยู่ทุก ๆ ภังคักขณะ
๓.สมมุติมรณะ ได้แก่ ความตายที่โลกสมมุติเรียกกันว่า ต้นไม้ตาย ทองแดงตาย ปรอทตาย เหล็กตาย
๔. ชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะ ได้แก่ รูปชีวิต นามชีวิต ของสัตว์ทั้ง หลายดับสิ้นลงในภพหนึ่งๆ
ในจํานวนมรณะ ๔ ประการนี้ มรณะที่จะใช้เป็นมรณานุสสติได้นั้น ได้แก่ ชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะอย่างเดียว สําหรับสมุจเฉทมรณะนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคล ทั่วไป คงมีแต่เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น ขณิกมรณะก็เป็นมรณะชนิดละเอียดมาก บุคคลธรรมดาไม่สามารถพิจารณาเห็นได้ สมมุติมรณะก็ไม่ได้ทําให้ความสังเวชเกิดขึ้น อย่างใดเลย ฉะนั้น มรณะทั้ง ๓ เหล่านี้ จึงไม่ใช้ในการเจริญมรณานุสสติ ชีวิตินทรียุปัจเฉทมรณะนั้น เป็นมรณะที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป และมีอยู่ ๒ ประการคือ กาลมรณะ กับ อกาลมรณะ กาลมรณะ ได้แก่ การตายด้วยสิ้นบุญ หรือ สิ้นอายุ หรือ สิ้นทั้งบุญสิ้นทั้งอายุทั้ง ๒ อกาลมรณะ ได้แก่ การตายด้วยอุปัจเฉทกกรรม คือ อุปัทวเหตุต่างๆ นั้นเอง ซึ่งผู้เจริญใช้ระลึกได้ทั้ง ๒ ประการ
วิธีเจริญมรณานุสสติ
การเจริญมรณานุสสตินี้ ผู้เจริญต้องพิจารณาศพที่อยู่เฉพาะหน้า หรือ ระลึก ถึงคนที่ตายไปแล้ว ที่มียศ มีอํานาจ มีทรัพย์สมบัติ แล้วก็นึกบริกรรมอยู่ในใจว่า “มรณ์ เม ภวิสฺสติ, ชีวิตินทรีย์ อุปจนิชชิสสติ” เราจะต้องตาย รูปชีวิต นามชีวิต จะต้องขาดจากกัน อยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ไป หรือ จะบริกรรมว่า “มรณ์ เม ธุว์ ชีวิต เม อธิว” ความตายเป็นของแน่ ความมีชีวิตอยู่เป็นของไม่แน่ ดังนี้ก็ได้
การเจริญนี้ ผู้เจริญจะระลึกนึกบริกรรมไปเฉยๆ นั้นไม่ได้ จะต้องมีโยนิโสมน สิการประกอบไปด้วย ถ้าระลึกนึกอยู่โดยไม่มีโยนิโสมนสิการแล้ว ปัญญาที่เกี่ยวด้วย ความสังเวชสลดใจย่อมไม่เกิด และจะกลับเป็นโทษเกิดขึ้น กล่าวคือ เมื่อนึกถึงความ ตายของคนที่ตนรักใคร่ชอบพอแล้ว ความเศร้าโศกเสียใจก็จักเกิดขึ้น เมื่อนึกถึงความ ตายของผู้ที่เป็นศัตรูกับตน ความดีใจก็จักเกิดขึ้น เมื่อนึกถึงความตายของบุคคลที่ ตนไม่รักไม่เป็นศัตรูก็จะรู้สึกเฉยๆ เมื่อนึกถึงความตายของตนเอง ก็จะเกิดความกลัว นี้แหละ เป็นโทษที่เกิดจากการไม่มีโยนิโสมนสิการ ส่วนการเจริญที่ประกอบด้วโยน สมนสิการนั้น ผู้เจริญ มีการระลึกนึกถึงแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ความตายของบุคคลจําพวกใด เมื่อระลึกนึกอยู่แต่ในความตายอย่างเดียว ไม่เกี่ยว ด้วยความรัก ความชัง หรือ เป็นศัตรูแล้ว ความสังเวชสลดใจก็จะบังเกิดขึ้น นี้แหละ เป็นการระลึกที่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เจริญจะต้องทําการเจริญ ให้ถูกตรงตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงเทศนา
จบมรณานุสสติ
กายคตาสติ
กายคตาสติ หมายความว่า การระลึกถึง ๓๒ โกฏฐาส มี เกสา โลมา นขา ทันตา เป็นต้นเนืองๆ ชื่อว่า กายคตาสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ๘ ที่มี ๓๒ โกฏฐาสเป็นอารมณ์ คําว่า กาย แปลว่ากอง หมายความว่ากองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขน เล็ก ฟัน หนัง เป็นต้น ดังมีวงนัตถะว่า “กาเย คตา = กายคตา, กายคตา จ สา สติ จาติ = กายคตาสติ” การเป็นไปโดยกระทําให้เป็นอารมณ์ ในกองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขน เป็นต้น ชื่อว่า กายคตา ธรรมชาติที่เป็นไป โดยกระทําให้เป็นอารมณ์ในกองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขน เป็นต้นนั้นด้วย เป็น สติด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า กายคตาสติ ในวจนัตถะนี้ เมื่อสําเร็จเป็นบทรวมแล้ว ควรจะเป็น กายคตสติ แต่ที่มิได้เป็นไปเช่นนั้นก็เพราะว่า อา สระที่อยู่หลัง ๆ นั้น พระพุทธองค์มิได้ทรงรัสสะ ฉะนั้น จึงคงเป็น กายคตาสติ
กายคตาสติกรรมฐานนี้เรียกว่า ทวัตติงสกายกรรมฐาน ก็ได้ หรือ โกฏฐาสกรรมฐาน ก็ได้ เพราะคําว่า กายะ และ โกฏฐาส นั้นมีความหมายอย่าง เดียวกันคือ กายะ แปลว่า กอง ได้แก่กองส่วนต่างๆ มี ๓๒ นั้นเอง โกฏฐาส แปลว่า หมวด ได้แก่ ส่วนต่าง ๆ มี ๓๒ หมวดนั้นเอง
วิธีเจริญกายคตาสติ
ผู้ที่จะเจริญกายคตาสติ ก่อนลงมือปฏิบัติต้องรู้กิจเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติให้ ดีเสียก่อน กิจเบื้องต้นนั้นมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. อุคคหโกสลุด ความฉลาดใน การศึกษา ๗ อย่าง ๒. มนสิการโกสกุล ความฉลาดในการพิจารณา ๑๐ อย่าง
อุคคหโกสัลละ ความฉลาดในการศึกษา ๒ อย่างนั้น คือ
๑. วจสา การพิจารณาโดยใช้วาจา
๒. มนสา การพิจารณาด้วยใจ
๓. วณฺณโต การพิจารณาโดยความเป็นวรรณะ (สีดําา ขาว หรือแดง)
๔. สณฺฐานโต การพิจารณาโดยความเป็นรูปร่างสัณฐาน
๕. ทิสาโต การพิจารณาโดยที่เกิด (คือ เกิดอยู่ส่วนบน หรือ ส่วนล่างของร่างกาย)
๖. โอกาสโต การพิจารณาโดยที่ตั้ง (คือ ตั้งอยู่ในร่างกายส่วนใด)
๓. ปริจเฉทโต การพิจารณาโดยกําหนดขอบเขต (เช่น เส้นผม กําหนดเขต โดยผมนั้นหยั่งลงในศีรษะประมาณเม็ดข้าวเปลือก และในรูที่เส้นผมหยั่งลงนั้น ไม่มีผม ๒ เส้นอยู่ด้วยกัน กําหนดเขตปลายผมนั้น สุดความยาวของเส้นผม)
มนสิการโกสัลละ ความฉลาดในการพิจารณา ๑๐ อย่างนั้น คือ
๑. อนุปุพฺพโต การพิจารณาไปตามลําดับ (ไม่กระโดดข้ามหมวด)
๒. นาติส โต การพิจารณา โดยไม่รีบร้อนนัก
๓. นาติสณิกโต การพิจารณา โดยไม่เฉื่อยช้านัก
๔. วิกเขปปปฏิพาหนโต การพิจารณา โดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น
๕. ปณฺณฤติสมติกุกมโต การพิจารณา โดยก้าวล่วงบัญญัติ
๖. อนุปุพฺพบุญจนโต การพิจารณา โดยทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏโดยสี ยังมีเรือน กันยายนนี้ พรอย พอ สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขตตามลําดับ
๗. อปปนาโต การพิจารณา ในโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เข้าถึงอัปปนา
๘. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร
๙. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร
๑๐. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร
การเจริญท่องบ่นครั้งแรกในหมวดหนึ่ง ๆ นั้น ผู้เจริญจะต้องท่องบ่นโดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นประการเดียว ไม่ต้องพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นปฏิกูล เป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุ แต่อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น ฝ่ายอาจารย์ผู้สอนก็ไม่ต้องสอนให้ พิจารณาถึงสี ถึงปฏิกูล ถึงธาตุ แต่อย่างใด ๆ เลย เพียงแต่สอนให้ท่องบ่นพิจารณา โดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มี ความเข้าใจผิดเกิดขึ้น หมายความว่า ถ้าสอนให้ท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นสีแล้ว ขณะที่ทําการท่องบ่นพิจารณาอยู่นั้น หากวัณณนิมิต คือ สีปรากฏขึ้น ผู้เจริญก็ไม่มี ความเข้าใจผิด เพราะตรงกับคําสอนของอาจารย์ หากวัณณนิมิตมีปรากฏดังที่สอน คงปรากฏแต่ปฏิกูลนิมิต คือ ความปฏิกูล ธาตุนิมิต คือ ความเป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุเช่นนี้ ผู้เจริญก็จะเข้าใจผิดไปว่า การเจริญนี้ผิดไปเสียแล้ว เพราะนิมิตที่ปรากฏ นั้นไม่ตรงกับคําสอน ทําให้การสอนนั้นกลับกลายเป็นโทษไป ถ้าอาจารย์เพียงแต่ สอนให้ท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ประการเดียว เมื่อ วัณณนิมิตปรากฏก็ดี ปฏิกูลนิมิตปรากฏก็ดี ธาตุนิมิตปรากฏก็ดี ผู้เจริญก็ไม่มีความ เข้าใจผิด ครั้นถึงเวลาสอบอารมณ์ อาจารย์ก็มีโอกาสชี้แจงสนับสนุนแก่ผู้เจริญได้เช่น ถ้าวัณณนิมิตปรากฏ ก็บอกว่าดีมาก เพราะผู้เจริญมีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยเจริญวัณณกสิณมาแต่ภพก่อนๆ ฉะนั้น วัณณนิมิตจึงปรากฏ เป็นอันเชื่อได้ว่าวัณณกรรม- ฐานเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสําหรับผู้นั้น ดังนั้น ควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็น สีต่อไป ถ้าปฏิกูลนิมิตปรากฏ ก็บอกว่าผู้เจริญเคยพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลมาแต่ ภพก่อน ฉะนั้น ปฏิกูลนิมิตจึงปรากฏ เป็นอันเชื่อได้ว่าปฏิกูลกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสําหรับผู้นั้นควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลต่อไปถ้าธาตุนิมิตปรากฏ
ก็บอกว่าผู้เจริญเคยพิจารณาโดยความเป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ มาแต่ภพก่อนๆ ฉะนั้น ธาตุนิมิตจึงเกิด เป็นอันเชื่อได้ว่าธาตุกรรมฐาน เป็นกรรมฐาน ที่เหมาะสมสําหรับผู้นั้น ควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไป
การที่วัณณนิมิตปรากฏ ก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดมีสีอยู่ ขณะที่กําลังท่องบ่นว่า เกสา ๆ หรือ ผม ๆ อยู่นั้น สีดํา สีขาว สีแดง อันเป็นวัณณนิมิตก็จักปรากฏได้ เพราะ ผมมีหลายสี ส่วน ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นนั้น วัณณนิมิตก็ปรากฏได้เช่นเดียวกัน ผลจากการเพ่งวัณณนิมิตต่อไปนั้น คือให้ได้รูปฌาน ๕ เมื่อได้รูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดารูปฌาน ๕ นั้นแล้ว ก็อาศัยรูปฌานนั้น ๆ เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจน สําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล การที่ปฏิกูลนิมิตปรากฏก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดเป็น ปฏิกูลอยู่แล้ว ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลต่อไปนั้น คือ ให้ได้ถึงรูปปฐมฌาน จากนั้นก็อาศัยปฐมฌานสมาธิเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจน สําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล การที่ธาตุนิมิตปรากฏก็เพราะโกฏฐาส ๒๐ มี เกสา เป็นต้น จนถึงมัตถลุงคัง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปถวีธาตุ โกฏฐาสที่เหลือ ๑๒ มีปิตตัง เป็นต้น จนถึง มุตตัง เป็นอาโปธาตุ ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณา โดยความ เป็นธาตุต่อไปนั้นได้แต่เพียงอุปจารสมาธิ ไม่ถึงรูปฌาน จากนั้นก็อาศัยอุปจารสมาธินี้ แหละ เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไป จนสําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล
ในบรรดานิมิตทั้ง ๓ อย่างนั้น วัณณนิมิตและปฏิกูลนิมิตปรากฏไม่ยาก เมื่อ ปรากฏแล้วผู้เจริญก็ตัดสินได้ถูก ว่าเป็นวัณณนิมิตหรือปฏิกูลนิมิต ฝ่ายอาจารย์ก็ วินิจฉัยได้โดยง่าย สําหรับธาตุนิมิตนั้นปรากฏก็ยาก เมื่อปรากฏแล้วผู้เจริญก็รู้ได้ยาก ฝ่ายอาจารย์ก็วินิจฉัยได้ลําบากเช่นกัน ดังนั้นจะได้กล่าวถึงการปรากฏขึ้นแห่งธาตุนิมิตพร้อมทั้งวิธีท่องบ่นพิจารณาความเป็นธาตุพอสังเขปดังต่อไปนี้
การปรากฏขึ้นแห่งธาตุนิมิตนั้นคือ ในขณะที่ผู้เจริญกําลังท่องบ่นโกฏฐาสใน หมวดต่างๆ อยู่ เวลาที่ธาตุนิมิตปรากฏนั้น อัตถบัญญัติ คือ รูปร่างสัณฐานของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เหล่านี้ไม่มี สัญญาที่เคยจําไว้ว่าเป็นสัตตชีวะ ก็หาย ไปจากใจ อุปมาเหมือนผู้ที่เห็นเถ้าจากการเผาศพ ขณะนั้น ไม่ได้เห็นเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือเป็นบุคคล หญิง ชาย แต่อย่างใดเลย คงเห็นแต่ความเป็นเถ้าอยู่เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด ขณะที่กําลังท่องบ่นพิจารณาว่าผมๆ ขน ๆ เป็นต้นอยู่นั้น ผมก็ปรากฏเสมือนหนึ่ง หญ้าคาที่ขึ้นอยู่บน จอมปลวก ขนก็ปรากฏเสมือนหนึ่งหญ้าแพรกที่ขึ้นอยู่ในบ้านร้าง เล็บก็ปรากฏเสมือนหนึ่ง ลูกมะซางที่เสียบติดอยู่กับปลายไม้ ฟันก็ปรากฏเสมือนหนึ่ง เมล็ดน้ําเต้าที่เสียบไว้กับก้อนดิน หนังก็ปรากฏเสมือนหนึ่งหนังโคสดที่ขึงไว้บนพื้น เนื้อก็ปรากฏเสมือนหนึ่งดินเหนียวที่ฉาบฝาเรือน เอ็นก็ปรากฏเสมือนหนึ่งเถาวัลย์ที่ ผูกพันทัพพสัมภาระเรือนไว้ กระดูกก็ปรากฏ เสมือนหนึ่งเสาฝาและตัวเรือน ดังนี้ เป็นต้น มิได้ปรากฏว่าเป็น คน ชาย หญิง สัตว์แต่อย่างใด จิตของผู้เจริญมีความ รู้สึกดังนี้แหละ จึงตัดสินได้ว่าเป็นการปรากฏแห่งธาตุนิมิต
วิธีท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุนั้น พิจารณาเห็นว่าผมนี้ไม่รู้ว่าตนได้งอกอยู่ในหนังบนศีรษะ ส่วนหนังที่หุ้มศีรษะอยู่ก็ไม่รู้ว่าผมได้งอกขึ้นบนตน ฉะนั้น ผมนี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น ขนก็ไม่รู้ว่าตนได้ขึ้นอยู่ในหนังทั่วร่างกาย หนังที่หุ้มร่างกายอยู่นั้นก็ไม่รู้ว่าขนขึ้นอยู่ใน ตนทั่วไป ฉะนั้น ขนจึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น เล็บมือ เล็บเท้า เหล่านี้ ก็ไม่รู้ว่าตนได้งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ส่วนปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าก็ไม่รู้ว่ามีเล็บงอกอยู่ ฉะนั้น เล็บมือ เล็บเท้า เหล่านี้จึงมิใช่ เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีเท่านั้น ฟันก็ไม่รู้ว่าตน ได้งอกขึ้นมาจากกระดูก ส่วนกระดูกคางก็ไม่รู้ว่าฟันได้งอกขึ้นมาจากตน ฉะนั้น ฟัน นี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น หนัง ก็ไม่รู้ว่าตนได้ปกคลุมอยู่ทั่วไปตลอดร่างกาย ร่างกายก็ไม่รู้ว่ามีหนังปกคลุมหุ้มห่อตน ไว้ ฉะนั้น หนังนี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวี ธาตุเท่านั้น
ปถวีโกฏฐาสที่เหลือ ๑๕ ตั้งแต่ยังสั่ง เป็นต้น จนถึงมัดถลุงดังก็ไม่มีการรู้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ยังสั่งเป็นต้น จนถึงมัตถลุงคงจึงไม่ใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่ อย่างใด เพียงเป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น สําหรับอาโปโกฏฐาส ๑๒ มีปิตตัง เป็นต้น จนถึงมุตตังก็ไม่มีการรู้ความเป็นอยู่ของตน ๆ เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ปิตตัง เป็นต้น จนถึงมุตตังเหล่านี้จึงไม่ใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ อาโปธาตุเท่านั้น
ในขณะที่ท่องบนพิจารณาเห็นว่าเป็นแต่ปถวีธาตุ อาโปธาตุ มิใช่คน ไม่มี ชีวิตจิตใจแต่ประการใด ๆ นั้น อุสสทาเตโช เตโชธาตุที่มีกําลังกล้า ปรากฏที่ท้องมาก รู้ได้อย่างชัดเจน อุสสทาวาโย วาโยธาตุที่มีกําลังกล้า ปรากฏที่ปลายจมูกมาก รู้ได้อย่าง ชัดเจน เป็นอันว่าได้พิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ ครบบริบูรณ์ สําเร็จเป็นจตุธาตุววัตถาน เมื่อพิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในร่างกายตนจนครบบริบูรณ์แล้ว กรรมฐานด้วยจากนั้น ก็พิจารณาเห็นอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิดอยู่ภายในกายของตนนั้น ๆ พร้อมไปด้วย เป็นอันว่าได้พิจารณาเห็นรูปขันธ์ที่เกิดอยู่ภายในตนโดยภาวนามัย ต่อ แต่นั้นนามขันธ์ ๔ ก็ปรากฏขึ้นด้วยอํานาจแห่งการกระทบกันระหว่างอารมณ์กับทวาร เป็นอันว่าผู้เจริญได้เห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่ภายในตนครบถ้วยทุกประการ การปรากฏขึ้น แห่งขันธ์ ๕ โดยลําดับดังที่ได้กล่าวแล้วนี้แหละ ทําให้ผู้เจริญได้กําหนดรู้ต่อไปได้อีกว่า ขันธ์ ๕ นี้ก็คืออายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ นั้นเอง สําเร็จเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ จากนั้นได้พิจารณาเห็นว่า รูป นาม ที่กําลังเป็นไปอยู่นี้เกิดขึ้นโดยอาศัย อวิชชา ตัณหา กรรม อาหารเป็นเหตุ หาใช่เกิดขึ้น โดยปราศจากเหตุแต่อย่างใดไม่ สําเร็จเป็น ปัจจยปริคคหญาณ ปราศจากความเห็นว่าเป็น สัตว์ เป็นคน มีชีวิต หรือ ไม่มีชีวิต คงเห็นแต่ รูป นาม กับเหตุทั้ง ๔ ที่ให้ รูป นาม เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นญาตปริญญา ผู้เจริญทําการเจริญตลอดมานับแต่การเริ่มต้นท่องบ่นพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็น ธาตุจนถึงปัจจยปริคคหญาณเกิดนั้นได้ชื่อว่า จูฬโสดาบัน เป็นพระโสดาบันขั้นแรก บังเกิดความภาคภูมิใจในผลกําไรที่ตนได้รับจากการเกิดมาเป็นมนุษย์ในสมัยที่มี พระพุทธศาสนา ถ้าหากเจริญต่อไปมิได้หยุดยั้งเพียงนี้ก็จักสําเร็จเป็นมัชฌิมโสดาบัน มหาโสดาบัน ตลอดจนสําเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
ดังที่ได้พรรณนามานี้เป็นการพรรณนาถึงวิธีเจริญ และผลที่ได้รับจากการเจริญโกฏฐาสหลังจากธาตุนิมิตได้ปรากฏแล้ว
ฌานเบื้องบน และ มรรค ผล ก็เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐานได้
ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล ให้ได้เพียงรูปปฐมฌาน ถ้าผู้เจริญมีความประสงค์อยากได้ฌานเบื้องบนต่อไป ก็จงทําการเพ่งสีของโกฏฐาสนั้นๆ แทนการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล เพราะว่าสีของโกฏฐาสเป็นวัณณกสิณ ซึ่งจะทําให้รูปฌานเบื้องบน ๔ เกิดได้เช่นกัน
สําหรับ มรรค ผล ที่เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนั้น หลังจาก ได้ปฐมฌาน หรือ ฌานเบื้องบนอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้เจริญจะต้องทําการท่องบ่น โกฏฐาสให้ปรากฏขึ้นโดยความเป็นธาตุ ครั้นธาตุนิมิตปรากฏแล้วก็ทําการท่องบ่น พิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไป ดังที่ได้แสดงมาแล้ว
อนึ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผู้เจริญได้อาศัยอัปปนาสมาธิ และอุปจารสมาธิที่ เกิดจากกายคตาสติกรรมฐานโดยมีวัณณนิมิต ปฏิกูลนิมิต ธาตุนิมิต แล้วเจริญวิปัสสนาต่อไปจนได้สําเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผลนั้น เป็นการกล่าวแต่เพียงว่าได้อาศัย สมาธิที่เกิดจากกายคตาสติกรรมฐานเท่านั้น สําหรับวิธีเจริญและอารมณ์ที่จะให้ได้มรรค ผลนั้นเป็นคนละอย่างไม่เหมือนกัน กล่าวคือ อารมณ์ที่จะให้ได้มรรค ผล เป็นองค์ฌาน หรือ รูป นามที่เกิดอยู่ภายในตน หาใช่เป็นโกฏฐาสหมวดหนึ่งหมวดใดไม่ ส่วนวิธี เจริญก็มีการกําหนดรู้องค์ฌาน ที่ดับไป หรือ รูป นาม โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มิได้ทําการท่องบ่นว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้นแต่อย่างใดไม่
ส่วนในตอนที่กล่าวว่า มรรค ผล ก็เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน ได้นั้น ก็เพราะว่าวิธีเจริญก็ดี อารมณ์ที่จะให้ได้ มรรค ผล ก็ดีมิได้เปลี่ยนออกไป จากกายคตาสติกรรมฐานนี้เลย คงอาศัยกายคตาสติกรรมฐานนี้เจริญต่อไป เพียงแต่ พยายามทําการท่องบ่นโกฏฐาสให้ปรากฏโดยความเป็นธาตุอย่างเดียว ฉะนั้น จึงได้ กล่าวว่า การเจริญกายคตาสติกรรมฐานก็สําเร็จมรรค ผลได้ นี้เป็นการกล่าวถึงข้อ ปฏิบัติที่จะให้ได้ฌานเบื้องบน และ มรรค ผล ในการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน
อธิบายในอุคคหโกสัลละ ๕ ข้อที่เหลือ
ในอุคคหโกสัลละ ๗ อย่างนั้น ข้อที่หนึ่ง วจสา และข้อที่สอง มนสา เป็น หลักของการสอน เป็นประธานในการเจิรญกายคตาสติกรรมฐาน ส่วนที่เหลืออีก ๕ ข้อนั้นเป็นเครื่องประกอบของมนสา กล่าวคือ เมื่อใจพิจารณาเห็นโกฏฐาสอย่างใด อย่างหนึ่งตามวาจาที่ท่องบ่นอยู่ ในเวลานั้น การพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นรูปร่าง สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง และกําหนดขอบเขตก็มีพร้อมกันไป ฉะนั้น จะได้แสดงถึงการ พิจารณาโดยความเป็นสี (วณณโต) เป็นรูปร่างสัณฐาน (สัณฐานโต) ที่เกิด (ที- สาโต) ที่ตั้ง (โอกาสโต) และกําหนดโดยขอบเขต (ปริจเฉทโต) เฉพาะในหมวด ตจปัญจกะ ส่วนหมวดอื่น ๆ ก็ให้ถือตามแนวนี้
๑. เกสา ผม สีดํา แดง ขาว มีสัณฐานยาวกลม เกิดขึ้นอยู่เบื้องบนของ ร่างกาย ตั้งอยู่ในหนังอ่อนซึ่งหุ้มกะโหลกศีรษะ สองข้างจดหมวกหู ข้างหน้าจดหน้า ผาก ข้างหลังจดหลุมคอ ขอบเขตของผมเบื้องต่ําเส้นหนึ่ง ๆ หยั่งลงในหนังหุ้มศีรษะ เข้าไปประมาณเท่าปลายข้าวเปลือก เบื้องบนมีขอบเขตแค่อากาศ (หมายความว่าสุด แค่ความยาวและความสั้น) ส่วนกว้างกําหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกัน ๒ เส้นไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๒. โลมา ขน สีดําบ้าง เหลืองบ้าง คือ ไม่ดําล้วน มีสัณฐานดังรากตาล ปลายน้อมลง เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย ขึ้นอยู่ในหนังทั่วตัว เว้นไว้ แต่ที่เกิดแห่ง ผม และ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ขอบเขตเบื้องต่ํากําหนดด้วยรากของตนที่แยง เข้าในหนังหุ้มร่างกายประมาณเท่าไข่เหา เบื้องบนกําหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้าง กําหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกัน ๒ เส้นไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่ โกฏฐาสอื่นๆ
๓. นขา เล็บ สีขาว มีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา เกิดอยู่ทั้ง ๒ ส่วน คือ เล็บมือเกิดอยู่ส่วนบน เล็บเท้าเกิดอยู่ส่วนล่าง ตั้งอยู่ที่หลังปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขอบ เขตกําหนด ด้วยเนื้อปลายนิ้วทั้ง ๓ ด้าน ภายในกําหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ภายนอก และปลายก้าหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกําหนดด้วยส่วนของกันและกัน เล็บ ๒ อัน ติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๔. ทันตา ฟัน สีขาว มีสัณฐานต่างๆ คือ ฟันซี่ในท่ามกลางระเบียบ ฟันข้างล่างเหมือนเม็ดน้ําเต้าที่เสียบติดไว้เป็นลําดับบนก้อนดินเหนียว ฟันซี่หนึ่ง ๆ ใน ข้างทั้ง ๒ ของหน้าฟัน ๔ ซี่ มีรากอันเดียวปลายอันเดียว ทรวดทรงเหมือนดอก มะลิตูม กรามมีราก ๒ ง่ามปลาย ๒ ง่าม ทรวดทรงเหมือนไม้ค้ําเกวียน ถัดกราม เข้าไปมีราก ๓ ง่ามปลาย ๓ ง่าม ถัดนั้นเข้าไปมีราก ๔ งามปลาย ๔ ง่าม แม้ใน ระเบียบฟันข้างบนก็มีนัยนี้เหมือนกัน เกิดอยู่ในส่วนบนของร่างกาย ตั้งอยู่ที่กระดูก
คางทั้ง ๒ ขอบเขตเบื้องต่ํากําหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกําหนดด้วยส่วนของกันและ กัน ฟัน ๒ ซี่ติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๕. ตโจ หนัง หนังที่หุ้มทั่วร่างกายที่ได้ชื่อว่าผิวนั้น ดําบ้าง ดําคล้ําบ้าง เหลืองบ้าง ยาวบ้าง ส่วนหนังหนานั้นมีแต่สีขาวอย่างเดียว มีสัณฐานเท่ากันกับร่างกาย เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ตั้งอยู่โดยดึงรัดทั่วไปทั้งตัว ขอบเขตเบื้องต่ํากําหนด ด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ เบื้องบนกําหนดด้วยอากาศ มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัยเกิด ที่ตั้ง ล้วนแต่เป็นของน่าเกลียดทั้งสิ้น บุคคลใดได้เห็นผม ขน เล็บ ฟัน หนังก็ดี หรือ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่คล้ายกันกับโกฏฐาสเหล่านี้ก็ดี ตกอยู่ในภาชนะอาหารแล้ว แม้ว่า อาหารนั้นจะเป็นอาหารดีและชอบก็ตาม ย่อมเกลียด รับประทานไม่ลง สั่งให้เททิ้งเสีย ความน่าเกลียดในหมวดอื่นๆ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกันนี้
จบกายคตาสติ
อานาปานัสสติ
อานาปานัสสติ หมายความว่า การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก ชื่อว่า อานา ปานัสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ๘ ที่มีลมหายใจเข้าออกเป็น อารมณ์ อานาปานัสสติ เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บท คือ อาน + ปาน (หรือ อปาน) + สติ, อาน = หายใจเข้า ปาน หรือ อปาน - หายใจออก สติ = ความระลึก เมื่อรวมแล้วเป็นอานาปานัสสติ การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออกดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อานญฺจ ปานญฺจ = อานาปาน” ลมเข้าข้างในและลมออกข้างนอก ชื่อว่า อานาปานะ “อานาปาเน ปวดตา สติ : อานาปานสติ” สติที่เกิดขึ้นโดยมี การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้า ออก ชื่อว่า อานาปานัสสติ
หายใจเข้าเรียกว่า อานะ หายใจออกเรียกว่า ปานะ หรือ อย่านะ นี้ เพราะมีคําว่าสติ อยู่ด้วย เป็นการกล่าวเรียกตามปวัตติกกมนัย นัยแห่งการเป็นอยู่ ตามลําดับของลมหายใจที่มีแจ้งไว้ในพระสูตร อรรถกถา ตามปกติธรรมดาของคนย่อมมีการหายใจเข้าก่อน แล้วจึงจะหายใจออกภายหลัง ดังนั้น เมื่อทําการปฏิบัติก็ ต้องปฏิบัติกําหนดไปตามอย่างที่เป็นไปอยู่ คือ กําหนดลมหายใจเข้าก่อนแล้วจึงจะ กําหนดลมหายใจออกทีหลัง ส่วนอานาปานะที่แสดงไว้ในวินยอรรถกถา และอภิธรรม กถานั้น อานะ เรียกว่า หายใจออก ปานะ หรือ อย่านะ เรียกว่า หายใจเข้า เป็นการ เรียกตามอุปปัตติกกมนัย นัยแห่งการเกิดขึ้นตามลําดับของลมหายใจในขณะที่แรก คลอดจากครรภ์ เป็นความจริงอย่างนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ ในครรภ์นั้นมิได้มี การหายใจด้วยตนเอง แต่ได้อาศัยการหายใจจากมารดา ฉะนั้น เมื่อแรกคลอดออก มาทารกจึงได้หายใจออกก่อน แล้วจึงหายใจเข้าทีหลัง ดังมีมาในสมันตปาสาทิกอรรถกถาว่า
สัพเพส คพุกเสยยกาน มาตุกจนโต นิกขมนกาเล ปฐม อพกนตรวาโต พ นิกขมติ, ปุจฉา พาหิรวาโต สุขุมรช์” อเหตุวา อนุภนุตร์ ปสนฺโต ตาล อาหาจ นิพฺพายติ ฯ
แปลความว่า สัตว์ทั้งหลายซึ่งอยู่ในครรภ์ทั้งหมด ในเวลาคลอดจากครรภ์ มารดา ลมภายในย่อมออกข้างนอกก่อน จากนั้นลมภายนอกพัดเอาละอองธุลีที่
ละเอียดเข้าไปภายในห้องโดยกระทบกันเพดานแล้วเงียบไป
อานาปานะ นี้ยังมีคําเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “อัสสาสปัสสาสะ” คําทั้งสองนี้ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน คือ อัสสาสะ หายใจเข้า ปัสสาสะ หายใจออก แยก
บทแล้วเป็น ดังนี้ อา + สาส, อา แปลว่า ก่อน (อาทิมหิ) สาส แปลว่า สูดลมหายใจ ป แปลว่า หลัง (ปจฉา) สาส แปลว่า ระบายลมหายใจ ดังแสดงวจนัตถะ ว่า
“อาทิมหิ สาสน์ - อาสาโส” การสูดลมหายใจก่อนเรียกว่า อัสสาสะ “ปุจฉา สาสน์ - ปสฺสาโส” การระบายลมหายใจหลังเรียกว่า ปัสสาสะ
วิธีเจริญอานาปานัสสติ
การเจริญอานาปานัสสติมีพระบาลีชี้แนวทางไว้ดังต่อไปนี้
๑. โส สโต ว อสฺสสติ สโต ว ปสฺสสติ ผู้ปฏิบัตินั่งคู่บัลลังก์ ตั้ง กายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้าอารมณ์กรรมฐาน ณ สถานที่เงียบสงัด ย่อมตั้งสติ ทํา ความรู้สึกตัวแล้วจึงหายใจเข้า และ หายใจออก
๒. ทีม วา อสฺสสนฺโต ทีฆ์ อนุสสามีติ ปชานาติ, ที่มี วา ปสฺสสนฺโต ทีฆ์ ปสฺสสามีติ ปชานาติ เมื่อหายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว
๓. รสส์ วา อสฺสสนฺโต รสส์ อสฺสสามีติ ปชานาติ, รสส์ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ เมื่อหายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น
๔. สพฺพกาย ปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ, สพฺพกาย ปฏิสเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อมสําเหนียกว่า เราจะหายใจเข้า และ หายใจออก ก็ต้อง รู้ โดยแจ้งชัด ต้นลม กลางลม ปลายลม
๕. ปสฺสมฺภย์ กายสงฺขาร อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ, ปสฺสมฺภย์ กาย- สงฺขาร ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อมสําเหนียกว่า เราจะทําลมเข้า และ ลมออกที่ หยาบ ให้ละเอียด แล้วจึงหายใจเข้า และ หายใจออก
ในพระบาลี ๕ ข้อนี้ ข้อ ๑ ทรงวางหลักการปฏิบัติอานาปานัสสติกรรมฐาน ข้อ ๒ ถึงข้อ ๕ ทรงเพิ่มเติมข้อปฏิบัติ เพื่ออบรมสมาธิให้กล้ายิ่งขึ้นไปจนถึงอัปปนา
สมาธิเกิด
ตามนัยข้อที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะต้องตั้งใจคอยกําหนดลมหายใจที่กระทบกับ ปลายจมูก หรือ ริมฝีปากบน ในขณะที่ตนหายใจเข้าและหายใจออก การกระทบของ ลมที่ปรากฏชัดนั้นแล้วแต่บุคคล คือ บุคคลใดจมูกยาวลมก็ปรากฏชัดที่โครงจมูก ถ้าจมูกสั้นลมก็ปรากฏชัดที่ริมฝีปากบน การให้กําหนดรู้อยู่ในลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอ ๆ นี้ก็เพื่อจะมิให้จิตซัดส่ายไปในเรื่องอื่นๆ เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เกิดสมาธิ เพราะ ตามธรรมดา จิตใจของคนเรานี้ย่อมฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ หาเวลาสงบนิ่งอยู่ใน อารมณ์อันเดียวได้ยาก แต่กระนั้นก็หารู้ตัวไม่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมิได้มีการสังเกตดู นั้นเอง หากจะสังเกตดูจริงๆ แล้วจะเห็นว่า ชั่วขณะที่สวดมนต์ไหว้พระอยู่ ใจก็หา ได้นิ่งแนวอยู่ในบทสวดมนต์นั้นไม่ คงว่าไปเปล่า ๆ ด้วยความชํานาญเท่านั้น เหตุนั้น เมื่อจะทําการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เป็นสมาธิ จึงจําเป็นที่จะต้องตั้งใจคอยกําหนดลม หายใจเข้าออกที่กระทบกับปลายจมูก หรือริมฝีปากบน ดังที่ท่านโบราณาจารย์ได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา ว่า
ยถา ถมเท นิพนเธยย วจน ทม์ นโร อิธ
พนเธ เยว สก จิตต์ สติยารมุมเณ ทฬหนติ ฯ
แปลความว่า ผู้มีความประสงค์จะฝึกลูกวัวที่พยศ จึงจับผูกที่เสา ฉันใด บุคคลที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งคําสอนของพระพุทธศาสนา มีความประสงค์จะฝึกฝน อบรมจิตของตน จึงผูกจิตด้วยเชือก คือ สติ ที่เสา คือ อารมณ์กรรมฐานให้มั่น ฉันนั้น การอบรมจิตใจให้เกิดสมาธิด้วยวิธีเจริญกรรมฐานต่างๆ นั้น อานาปานัสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่สะดวกสบายมากกว่ากรรมฐานอื่น ๆ ฉะนั้น แนวทาง ๕ ประการที่ได้ทรงวางไว้เป็นหลักใหญ่ และข้อเพิ่มเติมนั้น พระโยคีบุคคลต้องดําเนินงาน การปฏิบัติไปตามนัยทั้ง ๔ คือ
๑. คุณนานัย การนับลมหายใจเข้าออกเป็นหมวดๆ มี ๖ หมวด ตั้งแต่ หมวดปัญจกะ เป็นต้น จนถึงหมวดทสกะ
๒. อนุพันธนานัย พลั้งเผลอทุกระยะที่หายใจเข้าออก การกําาหนดรู้ตามลมเข้าและลมออกทุก ๆ ขณะโดยไม่
๓. ผุสนานัย ในขณะที่กําหนดรู้ตามคุณนานัย และอนุพันธนานัยอยู่นั้นจะ ต้องกําหนดรู้การกระทบของลมพร้อมไปด้วย หมายความว่า ผุสนานัยนี้เข้าอยู่ในคณนานัย และอนุพันธนานัยทั้งสองนั้นเอง หาได้มีอยู่โดยเฉพาะไม่
๔. ฐปนานัย การกําหนดรู้ลมหายใจเข้าออกโดยอนุพันธนานัย กับผุสนานัย ที่เป็นไปอย่างดีอยู่นั้น ครั้นเมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏ จิตก็เปลี่ยนจากการกําหนดรู้การ กระทบของลม แล้วเข้าไปตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในปฏิภาคนิมิตอย่างเดียวตลอดจนกระทั่งรูปฌานเกิด นี้แหละเป็นรูปนานัย หมายความว่า การกําหนดรู้โดยรูปนานัยโดยเฉพาะ นั้นไม่มี เช่นเดียวกับผุสนานัยนั้นเอง
ในนัยทั้ง ๔ นี้ คุณนานัย มี ๒ นัย คือ
๑.) ธัญญมาม คณนานัย การนับลมหายใจเข้าออกด้วยวิธีนับช้าๆ ดุจคน ตวงข้าวเปลือก การนับช้าๆ นั้นหมายความว่า ต้องนับแต่ลมหายใจเข้า หรือหายใจ ออก ที่รู้สึกชัดเจนทางใจเท่านั้น ส่วนลมหายใจที่ไม่รู้สึกชัดเจนทางใจจงทิ้งเสีย ไม่ ต้องนับ สําหรับผู้ปฏิบัติก็ต้องมีการหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ เพื่อจะได้กําหนดรู้ทัน และนับถูก
๒.) โคปาลกคณานานัย การนับลมหายใจเข้าออกด้วยวิธีนับเร็วๆ ดุจคน เลี้ยงโคทําการนับโคที่เบียดกันออกจากคอกที่คับแคบเป็นหมู่ๆ การนับเร็ว ๆ นั้น
หมายความว่า เมื่อทําการนับลมหายใจเข้าออกตามวิธีธัญญมามกคุณนานัยอยู่เรื่อยๆ นั้น ความรู้สึกชัดเจนทางใจก็มีขึ้นทุก ๆ ขณะการหายใจเข้าและหายใจออก เนื่องมา จากมีสมาธิดี ความรู้สึกไม่ชัดเจนก็จะหมดไป การหายใจเข้าออกก็จะเร็วขึ้น
กําหนดนับก็เร็วตามไปด้วย
แนวทางการปฏิบัติอานาปานัสสติกรรมฐานนอกจากนัยทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีอีก ๔ นัย ซึ่งเป็นนัยที่เกี่ยวกับวิปัสสนา คือ
๑. สลักขณา หลังจากที่ได้ฌานที่เนื่องมาจากการเจริญอานาปานัสสติแล้ว มีการกําหนดพิจารณารูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต่อไป เปรียบดัง นักศึกษาที่จบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์ ต่อแต่นั้นก็เข้าเตรียมอุดมเพื่อจะเข้ามหาวิทยาลัย
๒. วิวฏฏนา การเกิดขึ้นแห่งมรรคจิตเนื่องมาจากสัลลักขณา พร้อมกับการ ประหาณกิเลส สําเร็จเป็นมรรคบุคคลปาริสุทธิ์ การเกิดขึ้นแห่งผลจิต สําเร็จเป็นผลบุคคล
๓. ปาริสุทธิ์ การเกิดขึ้นแห่งผลจิต สําเร็จเป็นผลบุคคล
๔. ปฏิปสฺสนา การเกิดขึ้นแห่งปัจจเวกขณญาณ คือ การพิจารณามรรค ผล นิพพาน กิเลส หลังจากสําเร็จเป็นอริยบุคคลแล้ว
อานาปานัสสติ
จบอนุสติ ๑๐
อัปปมัญญา ๔
อัปปมัญญา หมายความว่า ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่มีจํากัดชื่อว่า อัปปมัญญา ดังแสดงวจนัตถะว่า “อปปมาเณสุ สตฺเตสุ ภวาติ = อปมญญา” ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่มีจํากัด ฉะนั้น ชื่อว่า อัปปมัญญา ผู้เจริญอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น จะต้องมีการแผ่ตลอด ทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีจํากัด จึงจะเรียกว่า เป็นการแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่เป็นอัปปมัญญา ทั้งเป็นเหตุที่จะให้ได้รูปฌานด้วย สําหรับการแผ่เมตตา ฯลฯ โดยกําจัดบุคคล และ จํากัดสถานที่ ไม่จัดว่าเป็นการเจริญอัปปมัญญากรรมฐาน และ ไม่ทําให้รูปฌานเกิด เป็นแต่เพียงการแผ่อย่างธรรมดา อย่างไรก็ตาม การแผ่ที่มีการ จํากัดบุคคล และ สถานที่นี้ก็ยังได้รับอานิสงส์อย่างไพศาล คือ ในภพนี้ก็ช่วยให้พ้นจากภัยต่างๆ ในภพหน้าก็ช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา
อัปปมัญญา ๔ ที่ได้ชื่อว่า พรหมวิหาร นั้น เพราะว่า บุคคลใดกําลังดําเนิน การปฏิบัติในอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ บุคคลนั้นย่อมมีจิตใจเสมือนพรหม ดัง มิวจนัตถะว่า “พรหมาน วิหาโรติ = พรหมวิหาโร” การปฏิบัติในอัปปมัญญา อย่างใดอย่างหนึ่งของผู้มีจิตใจเสมือนหนึ่งพรหม ฉะนั้น การปฏิบัติอัปปมัญญา ๔ นั้น ชื่อว่า พรหมวิหาร
หรืออีกนัยหนึ่ง คําว่า “พรหม” แปลว่า ผู้ประเสริฐ “วิหาร” แปลว่า ความ เป็นอยู่ที่เข้าถึงอย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ เมื่อรวมแล้ว ความเป็นอยู่ที่เข้าถึง อย่างประเสริฐของบุคคลผู้ประเสริฐ ชื่อว่า พรหมวิหาร ดังมีวจนัตถะว่า “วิหรติ เอเตรีติ = วิหารา” สัปบุรุษทั้งหลายย่อมเป็นอยู่อย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ ฉะนั้น อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นเครื่องให้สัปบุรุษทั้งหลายเข้าถึงความเป็นอยู่อย่างประเสริฐ ชื่อว่า วิหาร “พรหมาน (เสฎฐาน) วิหาโร (เสฎฐภูโต) ติ = พรหมวิหาโร” ความเป็นอยู่อย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลผู้ประเสริฐ ชื่อว่า พรหมวิหาร
เมตตา หมายความว่า การปรารถนาดีรักใคร่ต่อสัตว์ทั้งหลาย ดังแสดง วจนัตถะว่า “มิชชติ สินิยตีติ = เมตตา” ธรรมชาติใดย่อมรักใคร่ชื่นชมต่อสัตว์ ทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า เมตตา องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่มีปิย มนาปสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ ปิยมนาปบุคคล ได้แก่ บุคคลอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ปิยมนาปบุคคลนี้ มีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวกคือ จําพวกธรรมดาอย่างหนึ่ง จําพวกที่ เป็นไปด้วยอํานาจภาวนาสมาธิอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แม้ว่าการเจริญในระยะต้นๆ จะมีได้ ก็เฉพาะปิยมนาปบุคคลธรรมดาเป็นอารมณ์ของเมตตาภาวนาก็จริง ครั้นการเจริญนั้นได้เข้าถึงขั้นอุปจารภาวนาแล้ว จิตใจในขณะนั้นก็จะแผ่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหลายได้หมด แม้แต่ผู้ที่เป็นศัตรู หรือ บุคคลที่ตนไม่ชอบเข้าเป็นปิยมนาปบุคคลอันเป็นอารมณ์ของ โทสเจตสิก ซึ่งเป็นตัวเมตตาได้สิ้น สําหรับอโทสเจตสิกที่เกิดขึ้นในขณะสวดมนต์ ไหว้พระ ฟังธรรมนั้น มิได้มีอารมณ์เป็นปิยมนาปสัตวบัญญัติ ดังนั้น อโทสเจตสิก ขณะนั้นจึงไม่เรียกว่า เมตตา
การนึกถึงและมองดูคนอื่นด้วยโทสะ ในขณะนั้นย่อมมีแต่ความเกลียดชัง จิตใจไม่ชื่นบาน ส่วนการนึกถึงและมองดูบุคคลอื่นด้วยเมตตานั้น จิตใจก็จะมีแต่ ความรักใคร่เบิกบาน ดังนั้น วจนัตถะของเมตตาจึงมีว่า “มิชชติ สินิยุตติ” ย่อม รักใคร่ชื่นชมต่อสัตว์ ดังนี้ ความรักใคร่ชื่นชมนี้มี ๒ อย่าง คือ ๑. เมตตาอโทสะ ๒. ตัณหาเปมะ ใน ๒ อย่างนี้ เมตตาอโทสะ เป็นความรักใคร่ชื่นชมปรารถนาดี ไม่มีการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง แต่อย่างใด ถึงจะจากไปอยู่ที่อื่นก็ไม่เดือนร้อน ส่วนตัณหาเปมะนั้น เป็นความรักใคร่ ชื่นชมด้วยการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้นความรักใคร่ชื่นชมที่เป็นชนิดตัณหาเปมะนี้ จึงได้ชื่อว่า เป็นเมตตาเทียม องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ถึงกระนั้นตัณหาเปมะอันเป็นตัวเมตตา เทียมนี้ ก็ยังเป็นความดีในการที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ให้แก่เมตตาอโทสะเกิดขึ้น ได้ง่าย และดํารงมั่นไม่เสื่อมถอย อานิสงส์ของเมตตาอโทสะ ที่เกิดจากตัณหาเปมะ เป็นมูล มีแจ้งไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาแล้ว ความว่า แม่โคนมตัวหนึ่ง ยืนให้ลูก ดื่มนม นายพรานคนหนึ่งจะฆ่า จึงหยิบหอกพุ่งตรงไปที่แม่โค แต่หอกนั้นหาได้ ทํา อันตรายแม่โคไม่ กลับปลิวตกไปดุจใบตาลหล่นลงฉะนั้น
ฝ่ายผู้ที่แสวงหาโลกุตตรธรรมนั้น ถ้าจิตใจยังประกอบด้วยตัณหาเปมะต่อ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โลกุตตรธรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ ตัณหาเปมะนี้ขัดกันกับ สมาธิตลอด จนถึงสติสัมปชัญญะ ดังเช่น พระฉันนเถระ มีความรักในพระพุทธองค์ อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากเคยอยู่ใกล้ชิด จึงถึงออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ดังนั้น ใน ระหว่างที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระภิกษุฉันนะมิอาจปฏิบัติให้มรรค ผล เกิดได้ ต่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วการปฏิบัติจึงสําเร็จ ทั้งนี้ก็เพราะตัณหาเปมะที่ ขัดกับสมาธิ สติสัมปชัญญะ ได้หายไปจากใจหมดสิ้น
วิธีแผ่เมตตาแก่ตน และ คนอื่น
การแผ่เมตตาแก่ตนมี ๔ ประการ
๑. อหํ อเวโร โหมิ ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและภายนอก
๒. อหํ อพยาปัชโช โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก
๓. อหํ อนีโฆ โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความลําบาก ใจ พ้นจาก อุปัทวเหตุ
๔. อหํ สุขี อตฺตานํ ปริหราม ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้นําอัตภาพที่เป็น อยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนาน
ใน ๔ ประการนี้ จะใช้ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้
การแผ่เมตตาแก่คนอื่น มี ๔ ประการเช่นกัน ถ้าแผ่ไปในคนหนึ่งๆ ตาม ลําดับแล้ว ก็มีคําแผ่เป็นเอกพจน์ว่าดังนี้
๑. อเวโร โหตุ ขอจงไร้ศัตรูภายในและภายนอก
๒. อพฺยาปชฺโช โหตุ ขอจงไร้ความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาท
๓. อนีโฆ โหตุ ขอจงไร้ความลําบากกาย ใจ พ้นจากอุปัทวภัย
๔. สุขี อตฺตานํ ปริหรตุ ขอจงนําอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนาน
ถ้าแต่ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปจนถึงประมาณไม่ได้แล้ว ก็มีคําแผ่เป็นพหูพจน์ว่าดังนี้
๑. อเวรา โหนตุ ขอจงไม่มีศัตรูภายในและภายนอกทั่วกัน
๒. อพยาปัชชา โหนตุ ขอจงไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาททั่วกัน
๓. อนีฆา โหนตุ ขอจงไม่มีความลําบากกายใจ พ้นจากอุปัทวภัยทั่วกัน
๔. สุขี อตฺตานํ ปริหรันตุ ขอจงนําอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจตลอดกาลนานทั่วกัน
จบเมตตา
กรุณา
กรุณา หมายความว่า เมื่อเห็นสัตว์ทั้งหลายได้รับความลําบาก จิตใจของ สัปบุรุษก็เกิดความหวั่นไหวนิ่งดูอยู่ไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่ง หมายความว่า ย่อมช่วยผู้ที่ ได้รับความลําบากนั้นให้ได้รับความสุข ดังแสดงวจนัตถะว่า “ปรทุกเข สติ สาธูน หทยกมปน กโรติ = กรุณา” ธรรมชาติใดย่อมทําให้จิตใจของสัปบุรุษทั้งหลายหวั่นไหวนิ่งอยู่ไม่ได้ เมื่อผู้อื่นได้รับความลําบาก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กรุณา “กิณาติ ปรทุกข์ ที่สติ วินาเสติ - กรุณา” ธรรมชาติใดย่อมเบียดเบียนทําลาย ความลําบากของผู้อื่นเสีย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กรุณา องค์ธรรมได้แก่ กรุณา เจตสิกที่มีทุกข์ตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
กรุณา เมื่อว่าโดยสามัญแล้ว มี ๒ อย่าง คือ กรุณาแท้ และ กรุณาเทียม ใน ๒ อย่างนี้ กรุณาแท้ แม้ว่าจะมีความสงสารต่อสัตว์ที่ได้รับความลําบากอยู่ หรือ จะได้รับความลําบากต่อไปในข้างหน้าก็ดี ทําการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลําบากอยู่ด้วย ประการใดๆ ก็ดี ความเศร้าโศก เดือดร้อน ขุ่นหมองใจไม่มี มีแต่ความแช่มชื่นผ่องใส ซึ่งเป็นมหากุศล หรือ มหากริยาจิตตุปบาท ที่เนื่องมาจากกรุณาเจตสิก อันเป็น กรุณาอัปปมัญญาแท้ สําหรับกรุณาเทียมนั้น เมื่อมีความสงสารต่อสัตว์ที่ได้รับความ ลําบากอยู่ หรือจะได้รับความลําบากต่อไปในข้างหน้าก็ดี ช่วยเหลือผู้ที่กําลังได้รับ ความลําบากอยู่ก็ดี ย่อมมีความเศร้าโศก เดือดร้อน ขุ่นมัว ซึ่งเป็นโทสจิตตุปบาท ที่เนื่องมาจากโทมนัสเวทนา อันเป็นกรุณาเทียม การเจริญกรุณากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้อง ทําการแผ่โดยกรุณาแท้ ไปในสัตว์ทั้งหลายที่เป็นทุกขิตบุคคล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวก คือผู้ที่กําลังได้รับความลําบากเนื่องมา จากพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง และผู้ที่จะต้องประสบกับพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งในข้างหน้าหรือจะได้เสวยความ ทุกข์ในอบายภูมิ หรือวัฏฏทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ ซึ่งใคร ๆ ก็มี อาจที่จะหนีพ้นไปได้ ถ้าผู้เจริญมิได้พบเห็น ทุกขิตบุคคล จําพวกที่ ๑ จะทําการแผ่ ไปในทุกจิตบุคคลจําพวกที่ ๒ ก็ได้ โดยมาคํานึงว่า บุคคลเหล่านี้แม้กําลังได้รับความ สุขสบายด้วยยศ อํานาจ ทรัพย์สิน บริวาร อยู่ก็ตาม แต่ก็มิอาจหลีกหนีให้พ้นจาก ความทุกข์ต่างๆ มีพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งในวันข้างหน้า หรือวัฏฏทุกข์ ที่เป็น ไปในภพนี้และภพหน้า หรืออบายทุกข์ได้เลย
คําที่สําหรับใช้แผ่นั้นมีอยู่อย่างเดียวกันทั้งตนและคนอื่น คือ แผ่แก่ตนใช้คําว่า อห์ ทุกขา มุจจามิ ข้าพเจ้าจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ แผ่ไปในผู้อื่นถ้าเป็น คนเดียวใช้คําว่า ทุกฺขา มุจจตุ ขอท่านจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถ้า ๒ คน ขึ้นไปก็ใช้คําว่า ทุกขา มุจฺจนฺตุ ขอท่านทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
แบบบริกรรมท่องจําแผ่กรุณาทั่วไปอย่างสามัญนั้น ว่าโดย อาการแห่งกรุณา ก็มี หนึ่ง คือ ทุกขา มุจฺจนฺตุ ว่าโดย บุคคลที่ได้รับการแผ่ มี ๑๒ จําพวก คือ อโนทิสบุคคล ๕ โอทิสบุคคล ๗ ทําการแผ่ไปดังนี้
๑. สพฺเพ สัตตา ทุกฺขา มุจจนตุ ขอสัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ฯลฯ
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนนา ทุกขา มุจฺจนฺตุ ขอสัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
รวมเป็น ๕ เรียกว่า อโนทิศผรณากรุณา
๑. สัพพา อิตถิโย ทุกขา มุจฺจนฺตุ หญิงทั้งหลาย จงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ฯลฯ
๗. สพฺเพ วินิปาติกา ทุกขา มุจฺจนฺตุ พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลาย จงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
รวมเป็น ๗ เรียกว่า โอทิสผรณากรุณา
อโนทิศผรณากรุณา ๕ โอทิสผรณากรุณา ๗ รวมเป็น ๑๒ เรียกว่า ปุคคลวารผรณากรุณา
การแผ่โดยทิศทั้ง ๑๐
๑. ปุรถมาย ที่สาย สพฺเพ สัตตา ฯลฯ สพฺเพ วินิปาติกา ทุกขา มุจฺจนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ วินิปาติกอสุราทั้งหลายที่อยู่ทางทิศตะวันออก จง พ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ทิศที่เหลือ ๙ ก็คงทําการแผ่ไปในทํานองเดียวกันนี้ เมื่อจะนับจํานวนกรุณา ที่แผ่ไปในบุคคลที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ แล้ว ในทิศหนึ่ง ๆ ได้กรุณา ๑๒ รวม ๑๐ ทิศได้กรุณา ๑๒๐ เรียกว่า ทิสาผรณากรุณา
ปุคคลวารผรณากรุณา ๑๒ ทิสาผรณากรุณา ๑๒๐ สองอย่างรวมเป็น ผรณากรุณาโดยพิสดาร ๑๓๒
จบกรุณา
มุทิตา
มุทิตา หมายความว่า ความรื่นเริงบันเทิงใจในความสุขความสมบูรณ์ของผู้อื่น ดังแสดงวจนัตถะว่า “ต์-สมงคิโน โมทนฺติ เอตายาติ = มุทิตา” สัปบุรุษผู้มีใจ ถึงพร้อมด้วยมุทิตาทั้งหลาย ย่อมรื่นเริงในความสุขความสมบูรณ์ของผู้อื่นด้วย ธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการรื่นเริงชื่อว่า มุทิตา องค์ธรรมได้แก่ มุทิตาเจตสิกที่มีสุขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
มุทิตา เมื่อว่าโดยสามัญแล้วมี ๒ อย่าง คือ มุทิตาแท้และมุทิตาเทียม ใน ๒ อย่างนี้ มุทิตาแท้ แม้ว่าจะมีความรื่นเริงบันเทิงใจต่อสัตว์ที่มีสุขอยู่ หรือจะได้รับ ความสุขต่อไปข้างหน้าก็ดี จิตใจหาได้มีการยึดถือหรืออยากโอ้อวดต่อผู้อื่นแต่อย่างใด ไม่ มีแต่ความเบิกบานแจ่มใสอันเป็นตัวมหากุศล หรือ มหากริยาจิตตุปบาทที่เนื่อง มาจากมุทิตาเจตสิก อันเป็นมุทิตาแท้ สําหรับมุทิตาเทียมนั้น แม้จะมีความยินดีปรีดา ก็จริง แต่ก็มีการยึดถืออยากได้ดีมีหน้าซ่อนอยู่เบื้องหลัง เนื่องมาจากโลภมูลโสมนัส จิตตุปบาท มุทิตาเทียมนี้ ส่วนมากย่อมเกิดขึ้นในเมื่อได้เห็น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง บุตร ธิดา มิตรสหายของตนมียศ ทรัพย์ อํานาจ หรือได้ทราบว่าจะได้รับยศ อํานาจในวันหน้า โดยความยึดถือว่าผู้นั้นเป็นบิดา มารดา ฯลฯ ของตน
การเจริญมุทิตากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้องทําการแผ่มุทิตาแท้ ไปในสัตว์ทั้ง หลายที่เป็นสุขิตบุคคล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวก คือ ผู้ที่กําลังมีความสุขสบายอยู่ หรือจะได้รับความสุขสบายในวันข้างหน้า อย่างหนึ่ง และผู้ที่เคยมีความสุขสบายมา แล้ว แต่เวลานี้กําลังมีความลําบากอยู่ อย่างหนึ่ง ดังนั้นถ้าผู้เจริญมิได้พบเห็นสุขิต บุคคลจําพวกที่ ๑ จะทําการแผ่ไปในบุคคลจําพวกที่ ๒ ก็ได้ โดยมาคํานึงว่าบุคคลนี้ แม้ว่ากําลังได้รับความลําบากอยู่ก็ตามที แต่เมื่อก่อนนี้เคยเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ มีความสุขกายสบายใจด้วย ยศ ทรัพย์สินเงินทองมาแล้ว
เมื่อจะทําการแผ่ผู้เจริญจะต้องแผ่ไปในบุคคลโดยลําดับ มีดังนี้
๑. ต้องแผ่แก่ตนเองก่อน
๒. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นอติปิยบุคคล
๓. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นปิยบุคคล
๔. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นมัชฌัตตบุคคล
๕. สุขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นเวรีบุคคล
ในบุคคล ๕ จําพวกนี้ หลังจากการแผ่แก่ตนเองแล้ว จะต้องแผ่ไปในอติปิยบุคคลก่อนปิยบุคคลสามัญ เพราะมุทิตาเทียมย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยอติปิยบุคคลได้ง่าย ฉันใด มุทิตาแท้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยอติปิยบุคคลได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึง ต้องทําการแผ่ไปในอติปิยบุคคลก่อน ให้ทําการแผ่มุทิตาไปในบุคคลตามลําดับโดยนัย นี้เรื่อยไป จนกว่าจะได้สําเร็จถึงขั้นสมสัมเภท ดังที่กล่าวไว้แล้วในเมตตา ข้อปฏิบัติที่ จะมิให้โทสะ อิสสา เกิดขึ้นในเวลาที่ทําการแผ่ไปในเวรีสุขิตบุคคลประเภทที่หนึ่งและ ที่สองนั้น คงเป็นไปในทํานองเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ในเมตตา จะมีการพิจารณาต่างกัน บ้างเพียงเล็กน้อย ดังนั้น จึงมิได้แสดงซ้ําอีก จากนั้นจึงจะใช้วิธีแผ่ตามแบบบริกรรม ท่องจําแผ่ไปโดยส่วนรวม ดังจะแสดงต่อไปนี้
คําที่สําหรับใช้แผ่นั้นมีอยู่อย่างเดียวกันทั้งตนและคนอื่น คือ แผ่แก่ตนใช้คําว่า อห์ ยถาลทธสมบัติโต มา วิคจฺฉามิ = ขอข้าพเจ้าอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ แผ่ไปในผู้อื่น ถ้าเป็นคนเดียวใช้คําว่า ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจนตุ = ขอท่านอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ ถ้า ๒ คนขึ้นไปก็ ใช้คําว่า ยถาลทธสมปตฺโต มา วิคจฺฉนฺตุ = ขอท่านทั้งหลายอย่าได้สูญสิ้นจาก ความสุขความเจริญที่มีอยู่
แบบบริกรรมท่องจําแผ่มุทิตาทั่วไปอย่างสามัญนั้น ว่าโดย อาการแห่งมุทิตา ก็มีหนึ่งคือ ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉตุ ว่าโดย บุคคลที่ได้รับการแผ่ มี ๑๒ จําพวก คือ อโนทิสบุคคล ๕ โอทิสบุคคล ๗ ทําการแผ่ไปดังนี้
๑. สัพเพ สัตตา ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฉันตุ = ขอสัตว์ทั้ง หลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
ฯลฯ
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนนา ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ ขอสัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ รวมเป็น ๕ เรียกว่า อโนทิศผรณามุทิตา
ฯลฯ
๑. สพฺพา อิตถิโย ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฉนฺตุ = หญิงทั้ง หลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
ฯลฯ
๗. สัพเพ วินิปาติกา ยถาลทธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ = พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
รวมเป็น 6 เรียกว่า โอทิสผรณามุทิตา
อโนทิสผรณามุทิตา ๕ โอทิสผรณามุทิตา ๗ รวมเป็น ๑๒ เรียกว่า ปุคคลวารผรณามุทิตา
เมื่อแผ่ตามทิศทั้ง ๑๐
๑. ปรตุกิมาย ทิสาย สพเพ สตตา ฯลฯ สพฺเพ วินิปาติกา ยถาลทธสมฺปตฺติโน มา วิคจฺฉนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ วินิปาติกอสุราทั้ง หลายที่อยู่ทางทิศตะวันออกอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่
ทิศที่เหลือ ๙ ก็คงทําการแผ่ไปในทํานองเดียวกันนี้ เมื่อนับจํานวนมุทิตาที่ แผ่ไปในบุคคลที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ แล้ว ในทิศหนึ่งๆ ได้มุทิตา ๑๒ รวม ทิศใต้มุทิตา ๑๒๐ เรียกว่า ทิสาผรณามุทิตา
บุคคลวารผรณามุทิตา ๑๒ ทิสาผรณามุทิตา ๑๒๐ สองอย่างรวมเป็น ผรณามุทิตาโดยพิสดาร ๑๓๒
จบมุทิตา
อุเบกขา
อุเบกขา หมายความว่า ความวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายโดยมีจิตใจที่ปราศ จากอาการทั้ง ๓ กล่าวคือ ไม่น้อมไปในความปรารถนาดี ในการที่จะบําบัดทุกข์ ใน การชื่นชมยินดี ในความสุขของสัตว์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังแสดงวจนัตถะว่า “อเวรา โหนตุ อาทิพยาบาร ปหาเนน มชฺฌตฺต ภารูป คมเนน จ อุเปกขาติ อุเปกขา” ธรรมชาติใดพิจารณาในสัตว์ทั้งหลายพอประมาณด้วยการที่ไม่รักไม่ชัง คือ สละความ วุ่นวายที่เนื่องด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา มี อเวรา โหนตุ เป็นต้น และมีสภาพเข้าถึงความเป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่มีมัชฌัตตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
มัชฌัตตบุคคลที่เป็นอารมณ์ของอุเบกขาพรหมวิหารนี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ จําพวก คือ พวกธรรมดา อย่างหนึ่ง พวกที่เป็นไปด้วยอํานาจภาวนาสมาธิ อย่างหนึ่ง พวก ธรรมดานั้นได้แก่ บุคคลที่ไม่รัก ไม่ชัง เฉย ๆ ซึ่งเป็นวิสัยธรรมดาของจิตใจของคน ทั่วไป พวกที่เป็นไปด้วยอํานาจภาวนาสมาธินั้นได้แก่ ปิยบุคคล เวรีบุคคล ที่มีความสุข หรือมีความทุกข์อยู่
การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายนั้นมีอยู่ด้วยกัน ๒ อย่าง คือ เป็นไปด้วย อําานาจแห่งตัตตรมัชฌัตตตา หรือเป็นไปด้วยอํานาจโมหะชนิดที่เป็นไปด้วยอํานาจแห่ง ตัตตรมัชฌัตตตานั้น ไม่มีการเกี่ยวข้องกับ เมตตา กรุณา มุทิตา ดังที่ได้กล่าวแล้ว นั้นแต่อย่างใด นี้เป็น อุเบกขาแท้ ที่เป็นไปด้วยอํานาจโมหะนั้น เมื่อได้ประสบกับสิ่ง ที่น่ารักก็ไม่รู้จักรัก น่าขวนขวายน่าอยากได้ ก็ไม่มีการขวนขวายอยากได้ เฉย ๆ ไป น่าเคารพเลื่อมใส ก็ไม่รู้จักทําการเคารพเลื่อมใส น่ากลัว น่าเกลียดก็ไม่รู้จักกลัวจัก เกลียด ควรสนับสนุน ส่งเสริม ก็ไม่รู้จักสนับสนุนส่งเสริม ควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีให้ สมบูรณ์ในการงานทั้งปวงก็นิ่งเฉยเสีย นี้เป็น อุเบกขาเทียม เรียกว่า อญาณอุเบกขา การเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้องทําการแผ่อุเบกขาแท้ไปในสัตว์ทั้งหลายที่ เป็นมัชฌัตตบุคคล
ความแตกต่างระหว่างอุเบกขาพรหมวิหาร กับ อุเบกขาบารมี
ในสองอย่างนี้แม้ว่าจะมีการวางเฉยต่อสัตว์ด้วยกันก็จริง แต่อารมณ์ที่จะให้ เกิดความวางเฉยนี้ต่างกันคือ อุเบกขาพรหมวิหาร มีการวางเฉยต่อสัตว์ คือ ละความวุ่นวายที่เนื่องด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา มีสภาพเข้าถึงความเป็นกลางในสัตว์ ทั้งหลาย สําหรับ อุเบกขาบารมี นั้น เป็นการวางเฉยในบุคคลที่กระทําดีและไม่ดี ต่อตน โดยไม่มีการยินดียินร้ายแต่ประการใด คือ ผู้ที่กระทําความดี มีความเคารพ นับถือ บูชาสักการะ เกื้อกูล อนุเคราะห์ สงเคราะห์ เป็นประโยชน์แก่ตนสักเท่าใด ๆ ก็คงมีจิตใจวางเฉยอยู่ และผู้ที่กระทําความไม่ดีมีการประทุษร้ายต่อตนสักเพียงใด ก็ตามก็คงวางเฉยอยู่ได้เช่นกัน ในการวางเฉยทั้ง ๒ อย่างนี้ ฝ่ายบารมีประเสริฐยิ่ง การบําเพ็ญก็สําเร็จได้ยาก
การเจริญอุเบกขากรรมฐานจนถึงได้อัปปนา
ในการเจริญพรหมวิหารนี้ การเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา จนถึงได้อัปปนาฌานนั้น ไม่จํากัดบุคคล ทั้งกรรมฐานก็ไม่จํากัด แต่การเจริญอุเบกขานั้น ผู้เจริญจะ ต้องเป็นจตุตถฌานลาบุคคล และ จตุตถฌานที่ตนได้นั้นก็ต้องเนื่องมาจากการเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่ง หาใช่สําเร็จจากกรรมฐานอื่น ๆ ไม่ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่ามีการจํากัดบุคคล และจํากัดกรรมฐาน เหตุผลในการจํากัดบุคคลและ กรรมฐานนั้น เพราะการเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ให้ได้แต่เพียงรูปาวจรปัญจมฌาน อย่างเดียว ดังนั้น ผู้ที่จะทําการเจริญอุเบกขากรรมฐาน ถ้ามิใช่เป็นจตุตถฌานลาภแล้ว ก็มิอาจเจริญอุเบกขาให้สําเร็จจนถึงฌานได้ ฉะนั้น จึงกล่าวว่ามีการจํากัดบุคคล สําหรับกรรมฐานที่มีการจํากัดนั้นเนื่องด้วยจตุตถฌานที่เกิดจากการเพ่งกสิณก็ดี หรือการเจริญอานาปานัสสติก็ดี ก็มิอาจที่จะช่วยอุดหนุนให้การเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ สําเร็จถึงฌานได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่ากสิณบัญญัติ หรือ อานาปานบัญญัติ ที่เป็นอารมณ์ ของจตุตถฌานที่ตนได้มานี้ กับมัชฌัตตสัตวบัญญัติ ที่เป็นอารมณ์ของรูปาวจรปัญจม ฌานที่จักเกิดต่อไปนั้น มีสภาพไม่ถูกกัน (วิสภาคะ) ส่วนจตุตถฌานที่เกิดจากการ เจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่งหนึ่งที่สามารถช่วยอุดหนุนในการเจริญ อุเบกขาให้สําเร็จถึงฌานได้นั้น เพราะว่า ปิยมนาปสัตวบัญญัติ ทุกข์ตสัตวบัญญัติ หรือ สุขิตสัตวบัญญัติที่เป็นอารมณ์ของจตุตถฌาน ที่ตนได้มา กับมัชฌัตตสัตว บัญญัติที่เป็นอารมณ์ของรูปาวจรปัญจมฌาน ที่จักเกิดต่อไปมีสภาพถูกกัน (สภาคะ)
จบอุเบกขา
จบอัปปปมัญญา
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
อาหาเรปฏิกูลสัญญา พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
อาหาเรปฏิกูลสัญญา หมายความว่า การพิจารณาจนเกิดความรู้สึกยึดโดย ความเป็นของน่าเกลียดในอาหารนั้น ชื่อว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา องค์ธรรมได้แก่
สัญญาเจตสิกที่ในมหากุศล มหากริยา
วิธีพิจารณาให้ปฏิกูลสัญญาเกิดในการบริโภคอาหาร ๑๐ ประการ
คมนา เอสนา โภคา อาสยา จ นิธานโต
อปกกา จ ปกกา ผลา นิสสนฺทโต จ มักขนา
เอว ท หากาเรหิ อิกเขยุย ปฏิกูลตา ฯ
แปลความว่า ผู้เจริญจึงพิจารณาเห็นเป็นของน่าเกลียดในการบริโภค โดยอาการทั้ง ๑๐ มีดังนี้ ๑. โดยการไปสู่สถานที่ที่มีอาหาร ๒. โดยการแสวงหา ๓. โดยการบริโภค ๔. โดยที่อยู่มี ดี เสมหะ หนอง เลือด ๕. โดยกระเพาะซึ่งเป็นที่ หมักหมมรวมกัน แห่ง อาหารใหม่ ๖. โดยยังไม่ย่อย ๗. โดยย่อยแล้ว ๘. โดย ผลที่สําเร็จ ๙. โดยการหลั่งไหล ๑๐. โดยเปื้อน
๑. คมนา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการไปสู่สถานที่ที่มีอาหาร ว่า แม้จะมีการงานที่เกี่ยวกับคันถธุระและวิปัสสนาธุระ อยู่ในที่ที่ปราศจากคนยัดเยียด สะอาด ดี เรียบร้อย บริบูรณ์ด้วยน้ําท่าร่มเงาเยือกเย็น สุขสบายเงียบสงัดน่าพึงพอใจ อย่างไรก็ตาม แต่พอถึงรุ่งอรุณ ก็ต้องจัดการนุ่งห่มครองจีวร บ่ายหน้ามุ่งตรงต่อหมู่ บ้านเพื่อหาอาหารเที่ยวไปในสถานที่ที่ไม่สงบและไม่เรียบร้อย ได้รับความลําบากต่างๆ มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น ในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม กรําแดดกรําฝน เบียดเบียนไป ด้วยฝูงชนทั้งหลายอย่างน่าเบื่อ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็ต้องไปทํางาน หรือ ประกอบการค้า ขายเพื่อจะได้เงินมาเป็นค่าครองชีพ การบริโภคอาหารนี้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ลําบากยุ่งยากมากมิได้เว้นแต่ละวัน
ดังนั้น
๒. เอสนา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการแสวงหา ว่า เมื่อถึงหมู่บ้าน แล้วก็ต้องแวะไปที่บ้านนั้นบ้าง บ้านนี้บ้าง จากถนนสายนี้ไปยังถนนสายอื่น เพื่อหา อาหารให้ได้พอเพียงบางพวกก็ให้ บางพวกก็มิได้ให้ บางพวกก็ให้ของค้างแต่วานนี้ บ้าง บูดแล้วบ้าง เก่าบ้าง ฝ่ายพวกที่มิได้ให้นั้นน้อยพวกนักที่จะกล่าวว่า โปรดสัตว์ ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า (อาจฉก ภนฺเต) บางพวกก็ทําเป็นไม่เห็น หรือมิฉะนั้นก็แสร้ง ทําเป็นพูดกับคนอื่นเสีย บางพวกก็ด่าด้วยคําหยาบ จําต้องเหยียบหลุมโสโครก บ่อน้ําครําที่เจือปนด้วยน้ําล้างปลาและน้ําล้างเนื้อ น้ําซาวข้าว น้ํามูก น้ําลาย มูลสุนัข และสุกร เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่หมอนแมลงวันหัวเขียว ซึ่งเป็นแมลงวันที่ชาวบ้าน เพาะขึ้นเที่ยวจับแฝงอยู่ที่ผ้าสังฆาฏิบ้าง ที่บาตรบ้าง ที่ศีรษะบ้าง จําต้องเห็น จําต้อง ได้กลิ่น จําต้องอดกลั้น จําเดิมแต่เข้าไปจนกระทั่งออก ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องไปตลาด ออกจากร้านนั้นเข้าร้านนี้ จากตลาดนี้ไปตลาดโน้น เหยียบย่ําาไปในที่ที่เฉอะแฉะ สกปรก ปะปนไปด้วยสิ่งที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง ดังนั้นการบริโภคอาหารนี้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ลําบากยุ่งยากมากมิได้เว้นแต่ละวัน
๓. โภคา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการบริโภค ว่า อาหารนี้เมื่อ หย่อนมือลงไปหยิบทําเป็นคําใส่เข้าในปาก ก็คลุกเคล้าปะปนด้วยน้ําลายใสที่ปลายลิ้น ด้วยน้ําลายขันที่กลางลิ้น ฟันล่างทํากิจต่างครก ฟันบนทํากิจต่างสาก ลิ้นทํากิจต่างมือ เคี้ยวอยู่ก็แปดเปื้อนด้วยมูลฟันที่ไม่ชําระฟันชําระไม่ถึง สี กลิ่น และ เครื่องปรุงที่จัด ว่าเป็นอย่างดีนั้นก็กลับเปลี่ยนเป็นของน่าเกลียดไป ดุจดังรากสุนัขที่อยู่ในรางสุนัข แม้เป็นเช่นนั้นก็ยังกลืนกินได้ ก็เพราะลับสายตา หากว่าก่อนที่จะกลืน คายออกมาดู เสียก่อนแล้วจึงคอยหยิบใส่ปากกลืนไปใหม่ ดังนี้ก็จักบริโภคไปไม่ไหว นอกจากนี้ยัง ต้องบริโภคแล้วบริโภคอีกซ้ํา ๆ ซาก ๆ อยู่เสมอทุกค่ําเช้ามิได้เว้นวัน ดังนั้น อาหารที่ คนๆ หนึ่งได้บริโภคเข้าไป นับจําเดิมแต่คลอดจากครรภ์มารดาจนกระทั่งถึงตาย แต่ละอย่างๆ ถ้านําเอาออกมากองรวมไว้เป็นส่วนๆ เฉพาะ ๆ แล้ว ก็มีมากมายใหญ่โต เพียงแต่ข้าวสารกับน้ํา ๒ อย่างเท่านั้น ข้าวสารคะเนว่าจะเป็นกองใหญ่เท่ากับเรือน หลังหนึ่ง จํานวนข้าวประมาณสัก ๑๕๐ กระสอบ น้ําเท่ากับสระโบกขรณี ๑ สระ นี้ว่ากันแต่ในภพนี้ ยังหาได้รวมภพก่อน ๆ เข้าด้วยไม่ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึง กล่าวว่า ท้องของเรานี้เป็นมหาสมุทรอย่างหนึ่งที่มีประจําร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดในอาหารโดยการบริโภค
๔. อาสยา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยที่อยู่ ว่า อาหารที่บริโภคเข้าไป นี้มีที่อาศัยอยู่ ๔ อย่าง คือ ๑. น้ําดี ๒. เสมหะ ๓. หนอง ๔ เลือด ใน ๔ อย่างนี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิ์ มีอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนชนทั้ง หลายนอกจากนี้มีครบทั้ง ๔ เหตุนั้นผู้ใดมีน้ําดีมาก อาหารของผู้นั้นก็แปดเปื้อนด้วย น้ําดีดุจดังเขาเคล้าด้วยน้ํามันมะซางข้น ถ้ามีเสมหะมากก็แปดเปื้อนด้วยเสมหะดุจดัง เขาระคนด้วยน้ําในกากะทิง ถ้ามีหนองมากก็แปดเปื้อนด้วยหนองดุจดังเขาระคนด้วย เปรียงเน่า ถ้ามีโลหิตมากก็แปดเปื้อนด้วยโลหิตดังเขาระคนด้วยน้ําย้อม นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดในอาหารโดยที่อยู่
๕. นิธานโต พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยกระเพาะซึ่งเป็นที่หมักหมม รวมกันแห่งอาหารใหม่ ว่า อาหารที่ระคนด้วยน้ําดี เสมหะ หนอง เลือด ๔ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ภายในนั้น มิใช่ว่าจะไปหมักหมมรวมกันตั้งอยู่ในภาชนะเงิน ทอง แก้วมณี เป็นต้นแต่อย่างใดไม่ หากได้เข้าไปหมักหมมรวมกันไว้ในกระเพาะที่โสโครกน่าเกลียด ฉะนั้น ผู้มีอายุ ๑๐ ปีบริโภคเข้าไป อาหารก็ไปหมักหมมรวมกัน ไว้ในกระเพาะที่โสโครกนี้ตลอดระยะเวลา ๑๐ ปี โดยมิได้มีการชําระล้างถ่ายทิ้งออก เสียแต่อย่างใด เป็นไปเสมือนหนึ่งดุจหลุมคูณที่มิได้ขุดลอกถ่ายออกทิ้งก็ฉันนั้น ถ้าผู้ มีอายุ ๒๐ ปี ๓๐ ปี จนถึง ๑๐๐ ปี บริโภคเข้าไป อาหารก็คงเข้าไปหมักหมมรวม กันไว้ในกระเพาะที่โสโครกนี้ตลอดระยะเวลานานเท่านั้น มิได้มีเวลาที่จะทําการถ่ายทิ้งชําระได้แม้แต่อย่างใดเลย คงเป็นไปเสมือนหนึ่งหลุมคูลที่มิได้มีการขุดถ่ายออกตลอดระยะเวลา ๒๐-๓๐-๑๐๐ ปี ก็ฉันนั้น นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยกระเพาะซึ่งเป็น ที่หมักหมมรวมกันแห่งอาหารใหม่
๖. อปกกา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยยังไม่ย่อย ว่า อาหารที่บริโภค แต่วานนี้ก็ดี วันนี้ก็ดี ที่เข้าไปหมักหมมรวมกันอยู่ในกระเพาะอันเป็นที่โสโครกนี้ มี อาการเป็นฟองเกิดขึ้น ด้วยอํานาจของปาจกเตโชที่มีประจําอยู่ภายใต้กระเพาะอาหาร ทําการเผาผลาญให้ย่อยละลาย เป็นไปเสมือนหนึ่งขยะมูลฝอยเศษอาหารต่างๆ หญ้า ใบไม้ เสื่อลําแพนเก่า ซากงู สุนัข หนู เป็นต้นที่ชาวบ้านพากันทิ้งไว้ในหลุม เมื่อ ฝนตกในฤดูแร้งถูกแสงอาทิตย์แผดเผาให้ร้อน ก็เดือดปุดเป็นฟองขึ้นมาเป็นฝาอยู่ฉัน ใด อาหารที่บริโภคเข้าไปแต่วานนี้ วันนี้ ก็มีสภาพเป็นของน่าสะอิดสะเอียนยิ่งก็ฉันนั้น นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยยังไม่ย่อย
๗. ปกกา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยย่อยแล้ว ว่า อาหารที่ถูกเผา ผลาญด้วยปากเตโชน เมื่อย่อยเสร็จแล้วนั้นหาใช่กลายเป็นทองเป็นเงิน ดังเช่นการ เล่นแร่แปรธาตุให้สําเร็จเป็นทองคํา เป็นเงินขึ้น เช่นนี้ก็หาไม่ หากแต่กลายไปเป็นอุจจาระ และปัสสาวะ ส่วนที่เป็นอุจจาระนั้นก็ไปขังอยู่ในกระเพาะอุจจาระเป็นก้อนๆ เหมือน ดังดินเหลืองที่เขาบดให้ละเอียดแล้วใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ฉันนั้น ส่วนที่เป็นปัสสาวะก็ไปขังเต็มอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยย่อยแล้ว
๘. ผลา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยผลที่สําเร็จ ว่า อาหารที่ย่อยเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ด้วยอํานาจปาจกเตโชธาตุนั้นย่อมให้สําเร็จเป็นเลือด เนื้อ กระดูก ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น ส่วนอาหารที่ไม่ย่อยนั้นก็กลับทําให้โรคต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ททท หิดเปื่อย กณฑ์ คิดด้าน กจ คุดทะราด กุฏฐ โรคเรื้อน กลาส กลาก โสส หืด กาส ไอ อติสาร ลงแดง เป็นต้น ล้วนแต่เป็นผลที่เกิดจากอาหารที่ บริโภคเข้าไปนี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดและน่ากลัวโดยผลที่สําเร็จ
๙. นิสสนฺทโต พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการหลั่งไหล ว่า อาหารที่ บริโภคเข้าไปนี้ เมื่อขณะบริโภคนั้นย่อมเข้าไปแต่ทางเดียว ครั้นเมื่อไหลออกก็ไหล ออกจากช่องใหญ่ทั้ง ๙ ช่องเล็กทุกขุมขน เป็นไปโดยประการต่างๆ เป็นต้นว่าไหล จากช่องตาทั้งสองเป็นขี้ตา ไหลจากช่องหูทั้งสองเป็นขี้หู ไหลออกจากช่องจมูกทั้ง สองเป็นขี้มูก ไหลจากช่องปากเป็น น้ําลาย เสมหะ ไหลจากช่องทวารหนักเป็นอุจจาระ จากทวารเบาเป็นปัสสาวะ ไหลจากช่องขุมขนเป็นเหงื่อ ขณะที่บริโภคอยู่นั้นย่อมนั่ง ล้อมวงพร้อมหน้ากันเป็นหมู่ๆ เมื่อถึงคราวที่จะถ่ายออกเป็นอุจจาระ ปัสสาวะก็ต้อง ปลีกออกจากหมู่ไปแอบแฝงแต่เดียวดาย เมื่อบริโภคในวันแรกมีทั้งยินดี ร่าเริง สนุก สนาน ปลื้มใจปีติโสมนัส ครั้นวันที่ ๒ เป็นเวลาที่จะถ่ายออก ย่อมปิดจมูก หน้า นิ้วคิ้วขมวดสะอิดสะเอียน เก้อเขิน และในวันแรกมีความเอร็ดอร่อยชอบอกชอบใจ จดจ่อหลงไหลหมกมุ่นกลืนกิน พอรุ่งขึ้นวันที่ ๒ ทิ้งไว้เพียงคืนเดียวก็หมดความชอบใจ กลับเกลียดขยะแขยง มีความรําคาญไม่สบายเพราะต้องทําการถ่ายออก
๑๐. มกขนา พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยความแปดเปื้อน ว่า อาหาร นี้แม้ในเวลาบริโภคอยู่ ย่อมแปดเปื้อนมือ ปาก ลิ้น เพดาน ฉะนั้น อวัยวะเหล่านี้ จึงมีการเปรอะเปื้อนไปด้วยสิ่งเหม็นคาวสิ้น แม้ล้างแล้วก็ต้องล้างอีก ถึงกระนั้นกลิ่น คาวเหม็นก็ไม่ค่อยจะหมดไป จําต้องล้างด้วยเครื่องหอมซ้ําอีกเพื่อจักขจัดกลิ่นให้สิ้น สูญ ครั้นถึงคราวที่จะไหลออก หลังจากย่อยเสร็จแล้วก็เปื้อนเปรอะไปทั่วตัว คือ เปื้อนตาโดยเป็นขี้ตา เปื้อนหู โดยเป็นขี้หู เปื้อนจมูกโดยเป็นขี้มูก เปื้อนฟันโดย เป็นขี้ฟัน เปื้อนปากและลิ้นเพดานโดยเป็นน้ําลาย เสมหะ เปื้อนร่างกายทั่วไปโดยเป็น เหงื่อ เปื้อนทวารหนัก ทวารเบาโดยเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ เปรอะเปื้อนน่าเกลียดทั่ว ไปหมด แม้จะหมั่นอาบน้ําชําระขัดสีอยู่ทุกวันก็ไม่สะอาดไปได้ เปรอะเปื้อนอยู่แต่ อย่างนี้ตลอดไป บางส่วนของร่างกายชําระล้างเพียงครั้งหนึ่งหรือ ๒ ครั้งก็พอจะ สะอาดสะอ้านเกลี้ยงเกลาลงได้บ้าง เสร็จแล้วมือก็ไม่ต้องล้าง คงสะอาดหมดจดไป ด้วย สําหรับบางส่วนมีทวารหนักทวารเบานั้นต้องชําระล้างเป็นพิเศษ เสร็จแล้วก็ต้องทําการล้างมือเสียใหม่ด้วยเครื่องชําระล้างต่างๆ เพื่อขจัดความแปดเปื้อนสกปรกที่มือให้หมดไป นี้แหละเป็นสิ่งที่น่าเกลียดโดยความแปดเปื้อน
นิมิต ภาวนา และปริญญาในการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา
เมื่อผู้เจริญได้ทําการพิจารณาในอาหารโดยความเป็นปฏิกูลด้วยอาการ ๑๐ อย่าง ติดต่อกันอยู่เสมอตามลําดับดังที่กล่าวแล้ว การเจริญกรรมฐานนี้ไม่มีอุคคหนิมิตและ ปฏิภาคนิมิตเกิด คงมีแต่บริกรรมนิมิตเกิดอย่างเดียว คือ อาหารต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยสัญญาของตนที่มีการเห็นว่าเป็นปฏิกูลนี้เอง
ส่วนภาวนานั้นได้ ๒ อย่าง คือ บริกรรมภาวนาและอุปจารภาวนา ที่เป็นดังนี้ เพราะการเจริญกรรมฐานนี้มีสภาวอาหาร คือ กพฬิการาหาร เป็นอารมณ์เป็นหลัก เกณฑ์ สําหรับสมมุติอาหาร คือ ตัวอาหารต่าง ๆ ที่เห็นอยู่นั้น เพียงแต่เป็นเครื่อง ประกอบในการเจริญเท่านั้น ตามธรรมดาสภาวอาหารนี้มีสภาพละเอียดสุขุมลุ่มลึกทั้ง เป็นธรรมารมณ์ ด้วยเหตุนี้ อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตทั้งสองนี้จึงไม่ปรากฏ เมื่อ ปฏิภาคนิมิตไม่ปรากฏ อัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม การเจริญกรรมฐานนี้ ผู้เจริญย่อมได้ปริญญาทั้ง ๓ เกิดขึ้นตามลําาดับดังนี้
๑. เห็นความทุกข์ยากลําบากโดยนานาประการในการบริโภค นับแต่การไปสู่ สถานที่ การแสวงหา เป็นต้นจนถึง การเปื้อนเปรอะ นี้เรียกว่า ญาตปริญญา
๒. เห็นความเกิดดับของอาหารที่บริโภคเข้าไป ความเกิดดับของรูปภายใน ตนที่เกิดจากอาหาร และ ความเกิดดับของจิตใจในขณะที่กําลังบริโภค และ หลังจาก บริโภคแล้ว นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา
๓. สามารถประหาณรสตัณหา คือ ความยินดีพอใจในรสเสียได้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา
จบอาหาเรปฏิกูลสัญญา
ธาตุทั้ง ๔ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
จตุธาตุววัตถาน หมายความว่า การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่ปรากฏในร่างกาย จนกระทั่งเห็นเป็นแต่เพียงกองแห่งธาตุ โดยปราศจากความจ๋าว่าเป็นหญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคลเสียได้ เรียกว่า จตุธาตุววัตถาน องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ ในมหากุศล มหากริยา
ในจตุธาตุววัตถานนี้ ผู้เจริญจะต้องทําการพิจารณาธาตุ ๔ ที่มีอยู่ภายในตน ธาตุ ๔ ที่มีอยู่ภายในตนนี้ เมื่อนับโดยพิสดารแล้วมี ๔๒ คือ ปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ บรรดาธาตุ ๔๒ นี้ เกสา โลมา เป็นต้น จนถึงมัตถลุงคงรวมเป็น ๒๐ โกฏฐาส มีลักษณะสัณฐานเป็นก้อนเป็นแท่ง ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นปถวีธาตุ ปิตตัง เป็นต้นจนถึงมุตตัง รวมเป็น ๑๒ โกฏฐาส มีลักษณะ เหลวและไหลได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอาโปธาตุ ไออุ่นที่ทําให้ร่างกายมีความร้อนมาก เรียกว่า สันตัปปนเตโช ไออุ่น ที่มีความร้อนสูงสามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตไป เรียกว่า ทหนเตโช ไออุ่นที่ทําให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง เรียกว่า ชีรณเตโช ไออุ่นที่ ทําหน้าที่ย่อยอาหาร เรียกว่า ปาจกเตโช รวมเป็นเตโชธาตุ ๔ (สําหรับอุสมาเตโช นั้น ไม่ต้องนับโดยเฉพาะอีก เพราะเข้าอยู่ในเตโช ๓ อย่างข้างต้นนั้นแล้ว) ลมพัดขึ้นเบื้อง บน เรียกว่า อุทธังคมวาโย ลมพัดลงสู่เบื้องล่าง เรียกว่า อโธคมวาโย ลมที่อยู่ใน ช่องท้อง เรียกว่า กุฏฐิฏฐวาโย ลมที่อยู่ในลําไส้ใหญ่ เรียกว่า โกฏฐาสยวาโย ลม ที่อยู่ทั่วร่างกาย เรียกว่า อังคมังคานุสารีวาโย ลมหายใจเข้าออก เรียกว่า อัสสาส ปัสสาสวาโย รวมเป็นวาโยธาตุ ๖
ดังนั้น ที่เรียกกันว่า หญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคล มนุษย์ เทวดา พรหม ที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นกองปรากฏขึ้นเป็นนั้น หาใช่อื่นไม่ แท้จริงนั้นก็ได้แก่ธาตุ ๔ ที่รวมกันเป็นเป็นกลุ่มกองปรากฏขึ้นเป็นรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ กันตามอํานาจของกรรมนั้นเอง
การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่มีในกายตนนี้ มี ๒ ประการ คือ โดยย่อและโดย พิสดารใน ๒ ประการนี้ ผู้ที่เป็นตึกขบุคคลทําการพิจารณาเพียงแต่โดยย่อ ธาตุทั้ง ๔ ก็ ปรากฏแจ่มแจ้ง ขจัดความเห็นว่าเป็นหญิง ชาย เรา เขา สัตตชีวะลงได้ ส่วน มันทบุคคล นั้น ต้องพิจารณาโดยพิสดาร ธาตุทั้ง ๔ จึงจะปรากฏแจ่มแจ้ง ขจัดความ เห็นว่าเป็นหญิง ชาย ฯลฯ ให้หายไป
วิธีพิจารณาโดยย่อ
ผู้ปฏิบัติจะต้องทําการพิจารณาด้วยใจก่อน ตามหลักที่พระธรรมเสนาบดีได้ กล่าว แนะนําว่า บรรดาที่อาศัยต่าง ๆ อันชาวโลกทั้งหลายกล่าวเรียกกันว่าเป็น เคหสถานบ้านเรือนเหล่านี้ หาใช่อะไรอื่นไม่ แท้จริงนั้นก็ได้แก่ไม้ อิฐ ปูน ทราย สังกะสี กระเบื้อง ตะปู เหล็ก รวมกันปรากฏขึ้น โดยส่วนล่างมีเป็นแผ่นดินรองรับ ส่วนบนและรอบบริเวณมีเป็นอากาศล้อมรอบ ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของเรานี้ก็ได้แก่ กระดูก ๓๐๐ ท่อนเศษ เส้นเอ็น ๙๐๐ ก้อนเนื้อ ๙๐๐ ผิวหนังทั่วกายใหญ่ประมาณ เท่าเมล็กมะขามป้อม ก็อยู่เพียงเท่านี้เอง ควบคุมกันเข้าเป็นรูปร่างสัณฐานปรากฏขึ้น ในที่ที่มีอากาศล้อมรอบ
กายที่มีแต่กระดูก เส้นเอ็น ก้อนเนื้อ ผิวหนัง ควบคุมกันอยู่นี้ เมื่อจะค้นคว้า หาสิ่งที่มีจริงและปรากฏชัดแล้ว ก็แต่เพียง ๔ อย่าง คือ สิ่งที่แข็งกระด้างเป็นปถวีธาตุ - ธาตุดิน สิ่งที่เกาะกุมเหนียวและเอิบอาบซึมซาบไหลเป็นอาโปธาตุ ธาตุน้ํา สิ่งที่ ทําให้สุกโดยอาการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว หนังเหี่ยวย่น แก่หง่อมลง และ ความ เย็นร้อนในกายทั่วไปเป็นเตโชธาตุ ธาตุไฟ สิ่งที่ทําให้อิริยาบถใหญ่น้อยเคร่งตึงตั้งมั่น และ คลื่อนไหวไปมาได้เป็นวาโยธาตุ ธาตุลม จากนี้ก็มีการพิจารณาทั้งทางวาจาและ ใจพร้อมกันไปมีดังนี้
ยถา ปฏิจจ กฎฐาทึ อาคารนฺติ ปวุจฺจติ
เอว ปฏิจจ อฏฐยาที่ สรีรนุติ ปจติ ฯ
แปลความว่า อาศัยไม้เป็นต้น แล้วเรียกว่า บ้าน กุฎี ศาลา อาคารต่าง ๆ ฉันใด อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง แล้วเรียกว่า ร่างกาย ก็ฉันนั้น
อฏฐิ นหารุญจ มีสญจ จมมญฺจ จตุก ปต
ปริวาริโต อาการส สงฺขย์ รูปนติ คนติ ฯ
แปลความว่า ช่องอากาศที่ล้อมรอบโดยอาศัยบริวาร ๔ อย่าง มีกระดูก ๓๐๐ เศษ เส้นเอ็น ๕๐๐ ก้อนเนื้อ ๕๐๐ หนังหนาและหนังผิวรวมกันอยู่ได้ชื่อว่า ร่างกาย
โย อิมสฺม กาเย ฤทธภาโว วา ปรภาโว วา อยู่ ปฐวีธาตุ, โย อาพนธนภาโว วา ทรวกาโว วา อยู่ อาโปธาตุ, โย ปริปาจนภาโว วา อุณหภาโว วา อย เตโชธาตุ, โย วิตถานภาโว วา สมุทรณภาโว อย วาโยธาตุ ฯ
แปลความว่า ในร่างกายนี้ ส่วนที่แข็งและกระด้าง ส่วนนั้นเป็นปถวีธาตุ ส่วนที่เกาะกุมเหนียวเอิบอาบซึมซาบไหล ส่วนนั้นเป็นอาโปธาตุ สิ่งที่ทําให้สุกโดย อาการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว หนังเหี่ยวย่น แก่หง่อมลงก็ดี ความเย็นร้อนในกาย ทั่วไปก็ดี เหล่านี้เป็นเตโชธาตุ สิ่งใดทําให้อิริยาบถใหญ่น้อยเคร่งตึงตั้งมั่นก็ดี ทําให้ เคลื่อนไหวไปมาได้ก็ดี เหล่านี้เป็นวาโยธาตุ
อิติ อย กาโย อเจตโน อยากโต สุญฺโญ นิสฺสตฺโต นิชชีโว ธาตุลมูโหเยว ฯ
แปลความว่า ร่างกายนี้ไม่มีจิตใจ เป็นอัพยากตะ ปราศจากการวุ่นวาย สูญ จากความเป็นตัวตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวะอะไรๆ ทั้งสิ้น มีแต่ธาตุทั้ง ๔ รวมกันอยู่ เท่านั้น ดังที่ได้กล่าวแล้ว
วิธีพิจารณาโดยพิสดาร
ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาธาตุทั้ง ๔๒ มีปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ โดยเฉพาะๆ ไปตามลําดับดังนี้
เกสา ได้แก่ผมที่งอกอยู่บนศีรษะนั้น ก็มิได้รู้ว่าตนได้งอกอยู่ในหนังบนศีรษะ หนังที่หุ้มศีรษะอยู่ก็ไม่รู้ว่าผมได้งอกขึ้นบนตน ฉะนั้น ผมนี้จึงมิได้เป็นสัตตชีวะ แต่ ประการใด เพียงแต่เป็นปถวีธาตุเท่านั้น ต่อไปก็พิจารณาดูว่า ผมที่มีรูปร่างสัณฐาน เป็นเส้น ๆ นี้ นอกจากเป็นปถวีธาตุแล้วก็ยังมีอาโป เตโช วาโย อันเป็นนิสสยธาตุที่ อาศัย ๓ และวัณณะ คันธะ รสะ โอชา อันเป็นนิสสิตธาตุ ธาตุอาศัยเกิด ๔ รวมอยู่ด้วย เป็นแต่อวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น หาใช่เป็นสัตตชีวะแต่อย่างใดไม่
สําหรับการพิจารณาโลมาเป็นต้นจนมาถึงมัตถลุงคั่ง โดยความเป็นปถวีธาตุ ก็ดี แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็นอวินิพโภครูป ๘ ก็ดี อาโปธาตุ ๑๒ มีปิตตั้ง เป็นต้น จนถึง มุตตังโดยความเป็นอาโปธาตุ แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็น อวินิพโภครูป ๘ ก็ดี เตโชธาตุ ๔ มีสันตัปปนเตโชเป็นต้นจนถึงปาจกเตโช โดย ความเป็นเตโชธาตุ ก็ดี แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็นอวินิพโภครูป ๘ ก็ดี วาโยธาตุ ๖ มีอุทธังคมวาโย เป็นต้นจนถึง อัสสาสปัสสาสวาโย โดยความเป็นวาโยธาตุก็ดี แล้วจําแนกออกไปโดยความเป็น อวินิพโภครูป ๘ ก็ดี ทั้งหมดนี้ก็มีการพิจารณาไป เช่นเดียวกันกับการพิจารณาเกสานั้นเอง
เมื่อสรุปการพิจารณาธาตุ ๔๒ ที่มีอยู่ในร่างกาย โดยความเป็นธาตุดิน ธาตุน้ํา ธาตุไฟ ธาตุลม และสี กลิ่น รสโอชาแล้ว พระโยคีบุคคลก็พึงรู้ได้ดังนี้ คือ ความเป็นธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม รวม ๓ ธาตุนี้ รู้ได้โดยอาศัยการสัมผัสทางกาย ความเป็นธาตุน้ํารู้ได้โดยอาศัยการคิดนึกทางใจ ความเป็นสีรู้ได้โดยอาศัยการเห็นทาง ตา ความเป็นกลิ่นรู้ได้โดยอาศัยการดมทางจมูก ความเป็นรสรู้ได้โดยอาศัยการซิมทางลิ้น ความเป็นโอชารู้ได้โดยอาศัยการคิดนึกทางใจ
นิมิต ภาวนา และ มรรค ผล ในการเจริญจตุธาตุววัตถาน
การเจริญจตุธาตุววัตถานนี้ ไม่มีอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเกิด คงมีแต่ บริกรรมนิมิตอย่างเดียว คือ ธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในกายตนนั้นเอง ส่วนภาวนานั้นได้ ๒ อย่าง คือ บริกรรมภาวนา และอุปจารภาวนา สําหรับอัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌาน นั้นเกิดขึ้นไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธาตุทั้ง ๔ นี้เป็นสภาวะล้วนๆ ผู้เจริญต้องใช้ ปัญญาอย่างแรงกล้า จึงจะรู้เห็นในสภาวะเหล่านี้ได้ เหตุนี้สมาธิของผู้เจริญจึงไม่มีกําลัง พอที่จะเข้าถึงฌาน ดังนั้น ถ้าหากว่าการพิจารณาทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในกายตนโดยมีปัญญา เป็นประธานนี้ได้เห็นธาตุทั้ง ๔ โดยความเกิดดับแล้ว ก็จะทําให้ผู้เจริญนั้นได้สําเร็จ มรรค ผล
จบจตุธาตุววัตถาน
อารุปป ๔ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
ในที่นี้อารุปป ๔ มีอากาสานัญจายตนฌานเป็นต้นนั้น หาใช่เป็นอารมณ์ กรรมฐาน เหมือนกสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ แต่อย่างใดไม่ เพียงแต่เป็นอารัมมณีกกรรมฐาน คือ ตัวฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์กรรม- ฐานทั้ง ๔ มี กสิณคฆาฏิมากาสบัญญัติ อากาสานัญจายตนฌาน นัตถิภาวบัญญัติ อากิญจัญญายตนฌาน เหมือนกับอาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน ที่เกิด ขึ้นโดยอาศัยอาหารต่างๆ และธาตุทั้ง ๔ ฉันนั้น
สําหรับเนื้อความพร้อมด้วยแนวทางปฏิบัตินั้นได้แสดงไว้แล้ว ในลําดับแห่งการได้รูปปัญจมฌาน โดยอาศัยการเพ่งปถวีกสิณ (ในหน้า ๒๖) ดังนั้นจึงมิได้แสดง ไว้ในที่นี้อีก
จบอารุปป ๔
จําแนกสมถกรรมฐาน ๔๐ โดยภูมิ
ในบรรดากรรมฐาน ๔๐ นี้ ในมนุษยภูมิได้กรรมฐาน ๔๐ ในเทวภูมิ ๖ ได้กรรมฐาน ๒๘ (เว้นอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑) ที่เป็นดัง นี้ก็เพราะเทวดาเป็นส่วนมากเมื่อจุติแล้วไม่มีซากศพเหลืออยู่ ร่างกายสูญหายไปดุจ ดังดวงประทีปดับไป ฉะนั้น ส่วนร่างกายมี ผม ขน เล็บเป็นต้นก็เป็นสิ่งที่งดงามไม่ เป็นปฏิกูล เรื่องอาหารก็ไม่ลําบากเพราะมีอาหารเป็นทิพย์ บริโภคแล้วให้เป็นเลือด เนื้ออย่างเดียว ไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะน้ําลายที่เป็นปฏิกูลแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จึงไม่มีในภูมินี้ สําหรับจาตุมมหา ราชิกาเทวดาบางพวกที่อยู่ติดต่อกันกับมนุษย์นั้น เมื่อจุติแล้วคงเป็นซากศพเหลืออยู่ก็ มี สําหรับอวัยวะต่างๆ อาหารต่างๆ เป็นปฏิกูลยิ่งกว่ามนุษย์เสียอีก
ในรูปภูมิ ๑๕ ได้กรรมฐาน ๒๗ (เว้นอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานัสสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑) เพราะพรหมทั้งหลายไม่มีลมหายใจ ไม่มีการบริโภค อาหาร ดังนั้น อานาปานัสสติและอาหาเรปฏิกูลสัญญากรรมฐานจึงไม่มี ส่วนอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ไม่มีนั้นก็คงเป็นไปเช่นเดียวกันกับเทวภูมิเบื้องบน ๕ นั้นเอง
ในอรูปภูมิ ๔ ชั้นนั้น ชั้นที่ ๑ ได้อรูปกรรมฐาน ๔ เท่านั้น ชั้นที่ ๒ ได้ อรูปกรรมฐาน ๓ (เว้นอากาสบัญญัติกรรมฐาน) ชั้นที่ ๓ ได้อรูปกรรมฐาน ๒ (เว้น อากาสบัญญัติและอากาสานัญจายตนฌาน) ชั้นที่ ๔ ได้อากิญจัญญายตนฌานกรรม ฐานอย่างเดียว
แสดงการจําแนกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต
ในบรรดาจริต ๖ อย่างนี้ ราคะ โทสะ โมหะ วิตกจริต เป็นจริตที่ไม่ดี ไม่งาม ดังนั้น พระโยคีบุคคลจึงต้องใช้กรรมฐานที่ไม่ถูกกับจริตเหล่านี้ เพื่อทําลายให้ หมดไปจากจิตตสันดาน สําหรับศรัทธาและพุทธจริตทั้ง ๒ นี้ เป็นจริตที่ดีที่งาม ดังนั้น พระโยคีบุคคลจึงจําเป็นที่จะต้องประคับประคองส่งเสริมโดยการใช้กรรมฐานให้ถูกกับ จริตทั้ง ๒ นี้ เพื่อแก่การที่จะให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น เสมือนหนึ่งผู้ที่มีโรคต้องบริโภคยา และอาหารที่เป็นปฏิปักษ์กับโรคนั้น ในอันที่จะทําลายให้หายไป แต่ถ้าใช้ยาและอาหาร ที่ถูกกับโรคนั้นเข้า แทนที่โรคจะหายก็กลับทําให้โรคนั้น กําเริบขึ้นจนได้รับอันตรายก็ได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีโรคและมีสุขภาพดี ก็ต้องรับประทานอาหารที่ดีๆ เพื่อช่วยบํารุงรักษา สุขภาพที่ดีอยู่แล้วนั้นให้ดียิ่งขึ้น และเว้นจากอาหารไม่ดี ที่จะไปทําลายสุขภาพให้เสีย อีกด้วย ส่วนการใช้กรรมฐานที่ไม่เหมาะสมแก่จริต ถึงแม้ไม่มีโทษ แต่ก็ทําให้ได้ผลช้า
ก. ฉะนั้น ผู้มีราคจริต จึงต้องเจริญอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ราคะจึงจะ สงบแล้วทําให้ฌานเกิดขึ้น ถ้าเจริญอัปปมัญญา ๔ หรือวัณณกสิณ ๔ ราคะก็จะทวี มากขึ้น ทําให้ฌานเกิดขึ้นไม่ได้
ข. ผู้มีโทสจริต ธรรมชาติของโทสะเป็นสภาพที่ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ก็มีสภาพไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด เช่นกัน ฉะนั้น ผู้ที่มี โทสจริต เจริญกรรมฐานนี้เข้า โทสะที่มีอยู่ก็จะมีมากขึ้น ฌานก็ไม่สําเร็จ ส่วนอัปปมัญญา ๔ เป็น สภาพที่ทําให้จิตใจเยือกเย็น ชุ่มชื่น เบิกบาน และวัณณกสิณ ๔ ก เป็นสภาพที่สวยงาม สามารถทําให้จิตใจของผู้เพ่งเกิดปีติโสมนัส เหตุนั้นผู้มีโทสจริต จึงต้องเจริญอัปปมัญญา ๔ และ วัณณกสิณ ๔ เพื่อที่จะทําลายโทสะให้สงบลง และ ให้ฌานเกิดขึ้น
ค. ผู้มีโมหจริตและวิตกจริต ธรรมชาติของโมหะเป็นสภาพที่มืดมัว ย่อม ทําให้จิตใจฟุ้งซ่านโลเลหวั่นไหว ธรรมชาติของวิตกมีการคิดนึกเรื่อยเปื่อยไป ฉะนั้น ถ้าวิตกนี้มีกําลังกล้าขึ้นก็ทําให้บุคคลมีจิตใจเลื่อนลอยไม่สงบ ดังนั้น ผู้ที่มีโมหจริต และวิตกจริตถ้าเจริญมรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถานที่มีความละเอียดลึกซึ้งเห็นคุณโทษได้ยากแล้ว ก็จะทําให้โมหะและวิตกทวีกําลังขึ้น ส่วนอานาปานัสสตินั้น ไม่มีความลึกซึ้งและปรากฏชัดอยู่ทุก ๆ ขณะที่หายใจเข้าออก ดังนั้น ผู้รู้ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ถ้ามีวิตกมากจนถึงกับนอนไม่หลับแล้วก็จงกําหนด ลมหายใจเข้าออกเหตุนั้นผู้ที่มี โมหะ หรือวิตกจริต จึงต้องเจริญอานาปานัสสติ เพื่อจะได้ทําลายโมหะและวิตกให้สงบลงและให้ฌานเกิดขึ้น
ฆ. ผู้มีศรัทธาจริต ธรรมชาติของศรัทธานั้น เป็นสภาพที่มีความเชื่อ ความ เลื่อมใส ฉะนั้น เมื่อได้รู้ได้เห็นคุณความดีของพระธรรม และศีล สมาธิ ปัญญาของ พระพุทธ พระสงฆ์แล้ว ศรัทธาก็จะทวียิ่งขึ้น เหตุนั้นผู้มีศรัทธาจึงต้องเจริญอนุสสติ ๖ มีพุทธานุสสติ เป็นต้นจนถึง เทวตานุสสติ เพื่อจะให้ศรัทธาแก่กล้าขึ้นตลอดโดย
ง. ผู้มีพุทธิจริต ธรรมชาติของปัญญานั้น เป็นสภาพที่มีความรู้แจ้งแทง ไม่มีสิ่งปกปิดกําบังสภาพความเป็นจริงของอารมณ์นั้น ๆ ได้ ฉะนั้น เมื่อ ได้พิจารณาในอารมณ์ที่มีสภาพละเอียดสุขุมแล้ว ปัญญาก็จะมีความเฉียบแหลมแก่กล้า ขึ้นไปอีก เหตุนั้น ผู้มีพุทธิจริตจึงต้องเจริญกรรมฐาน ๔ อย่าง คือ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน เพื่อเป็นการอบรมปัญญาที่มี อยู่แล้วให้เฉียบแหลมเพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป
กรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริตทั่วไป
จ. มหาภูตกสิณ ๔ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ อารุปปกรรมฐาน ๔ รวม ๑๐ อย่างนี้ บุคคลที่มีจริตใด ๆ ก็ตาม เมื่อได้มีการเจริญแล้ว ย่อมข่มกิเลสนิวรณ์ให้สงบ ลงแล้ว ให้ฌานเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้กล่าวว่าเหมาะสมแก่ผู้มีจริต ทั่วไป แต่มีข้อพิเศษอยู่ว่า ผู้มีโมหจริตและวิตกจริตจะเจริญกสิณ ๑๐ อย่างใดอย่าง หนึ่งแล้ว ต้องมีการปฏิบัติดังนี้ คือ
ฉ. ผู้มีโมหจริตต้องใช้ ปุถุลกสิณ คือ องค์กสิณที่มีขนาดกว้างเท่าลานข้าว สําหรับเพ่ง ถ้าองค์กสิณเล็กไป ก็จะทําให้เกิดความอึดอัด เผลอเรอ ใจลอย ส่วนผู้ มีวิตกจริตต้องใช้ขุททกกสิณ คือ องค์กสิณที่มีขนาดโตเท่ากระด้ง หรือ เล็ก ประมาณเท่าจานข้าว ถ้าองค์กสิณใหญ่นัก ก็ไปสนับสนุนวิตกให้นึกพล่านมากขึ้นเป็นไปตามองค์กสิณที่กว้างใหญ่นั้น สําหรับผู้มี ราคะ โทสะ ศรัทธา พุทธิจริตนั้น ใช้ เพ่งองค์กสิณขนาดกลางจึงจะเหมาะสม
อนึ่งการจําแนกกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตที่ได้ชื่อว่า สัปปายเภท ดังที่กล่าว นี้ หาใช่บังคับไม่ให้ทําการเจริญกรรมฐานอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับจริตของตนแต่อย่าง ใดไม่ เพียงแต่เป็นการชี้แจงให้ทราบว่า กรรมฐานใดเหมาะสมแก่จริตใด เมื่อต้องการ เจริญก็จะได้เลือกเจริญให้ถูกแก่จริตของตนเท่านั้น สมดังที่แสดงไว้ในปรมัตถทีปนี มหาฎีกาว่า สพฺพญเจต์ อุชวิปจฺจนึกวเสน เจว อติสปปายตาย จ วุตต์ ฯ
แปลความว่า ท่านได้กล่าวเนื้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับสัปปายเภทเหล่านี้ ก็ เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่ถูกต้องกันกับจริตไม่ดีโดยตรง อย่างหนึ่ง และเป็นกรรมฐาน ที่ถูกกันกับจริตมากที่สุด อย่างหนึ่งนั้นเอง
เพราะขึ้นชื่อว่ากรรมฐานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานอย่างไหน ย่อมสามารถ ทําลายจริตที่ไม่ดี และอุดหนุนส่งเสริมจริตที่ดี มีศรัทธาจริต และพุทธจริต ให้เจริญ ยิ่งขึ้นได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น เมื่อว่ากันโดยสามัญแล้ว จะใช้อย่างไหนก็ได้ในกรรมฐาน ๔๐ นี้
แสดงการจําแนกกรรมฐานโดยภาวนา ๓
ก. ตามธรรมดาผู้ที่จะทําการเจริญกรรมฐานนั้น ไม่ว่าจะเจริญกรรมฐานใด ถ้าเว้นเสียจากบริกรรมภาวนาเสียแล้ว อุปจารภาวนาอันเป็นกุศลจิตตุปบาทที่ใกล้ต่อ ฌานก็ดี และอัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌานก็ดี เหล่านี้ก็จักไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้น บริกรรมภาวนาจึงได้ในกรรมฐานทั้งหมด
ข. กรรมฐาน ๑๐ อย่าง คือ อนุสสติ ๘ มีพุทธานุสสติเป็นต้น จนถึง มรณานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ รวม ๑๐ อย่างนี้ ไม่ สามารถทําให้กุศลจิตตุปบาทของผู้เจริญเข้าถึงอัปปนาภาวนา ซึ่งเป็นมหัคคตฌานได้ เพียงแต่ให้เข้าถึงอุปจารภาวนาเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกรรมฐานเหล่านี้มีอารมณ์ เป็นปรมัตถ์อันละเอียดสุขุมลุ่มลึก องค์ฌาน ๕ มีวิตกเป็นต้น มิสามารถที่จะตั้งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานเหล่านี้จนถึงสมาธิมีกําลังแก่กล้าให้ฌานเกิดได้ อุปมาเหมือนเรือที่ ทอดสมออยู่กลางน้ําลึก เรือมิอาจหยุดอยู่กับที่ได้ เนื่องจากสมอที่ทอดลงไปมิได้หยั่ง ลงถึงที่ก็ฉันนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และพระนิพพาน นั้น นอกจากจะมีความละเอียดสุขุมลุ่มลึกแล้ว ยังมีความกว้างขวางลึกซึ้งเหลือที่จะ นับจะประมาณได้อีกด้วย ซึ่งจะระลึกอยู่แต่ในพระคุณบทใดบทหนึ่งก็ไม่ได้ ผู้เจริญ จะต้องระลึกไปในพระคุณอันกว้างขวางลึกซึ้งนั้นตามสติปัญญาของตน เหตุนั้นสมาธิของผู้นั้นจึงไม่มีกําลังพอที่จะเข้าถึงฌานได้
ค. กรรมฐานที่เหลือ ๓๐ ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานัสสติ ๑ อัปปมัญญา ๔ อารุปป ๔ ทั้งหมดนี้ ย่อมทําให้กุศลจิตตุปบาท ของผู้เจริญเข้าสู่ขั้นอัปปนาภาวนาได้นั้น ก็เพราะนอกจากวิญญาณัญจายตนฌานและ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานทั้ง ๒ แล้ว กรรมฐานเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวกับบัญญัติ ซึ่งเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเป็นต้นบ้าง เป็นอารมณ์ของอากาสานัญจายตนและ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนั้น จึงไม่มีข้อที่น่าสงสัยแต่อย่างใดในการที่ฌานเกิดขึ้น
สําหรับ อารุปปกรรมฐาน ๒ ที่มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ แต่ฌานก็เกิดได้นั้น ก็เพราะว่าการเกิดขึ้นของอรูปฌานนั้นเป็น อารัมมณากกมฌานความหมายว่า เวลาใดภาวนาจิตของผู้เจริญสามารถก้าวล่วงละทิ้งอารมณ์ของฌานเบื้องต่ําจากใจ แล้ว ทําให้ อารมณ์ใหม่ปรากฏขึ้นแทนขณะใด ในขณะนั้นฌานเบื้องบนก็เกิดขึ้น ไม่ว่า อารมณ์ใหม่จะเป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์ ขอแต่ให้อารมณ์กรรมฐานกับฌานตรงกันเท่านั้น เหตุนี้แหละ อารุปปกรรมฐาน ๒ จึงให้ฌานเกิดขึ้นได้
มีข้อที่น่าคิดอยู่ว่า นิพพานก็เป็นปรมัตถ์อารมณ์เหมือนกัน แต่ไฉน มรรค ผล จึงเกิดได้ ที่เป็นดังนี้ เพราะเป็นด้วยอํานาจแห่งภาวนาจิตที่เกิดขึ้นตามลําดับของ วิสุทธิ ๗ และวิปัสสนาญาณนั้นเอง หมายความว่า แม้พระนิพพานจะมีความละเอียดลึกซึ้งสักปานใดก็ตาม เมื่อจิตใจของพระโยคีบุคคลได้มีการอบรมด้วยภาวนา ไปตามลําดับชั้น จนกระทั่งถึงวิสุทธิ์ที่ ๖ และมีสังขารุเปกขาญาณเป็นเครื่องประกอบ แล้ว ขั้นสุดท้ายแห่งภาวนาจิตนั้นเอง นิพพานอารมณ์ก็จักปรากฏพร้อมทั้งมรรค ผล เกิดขึ้น
แสดงการจําแนกกรรมฐาน ๓๐ ที่เข้าถึงอัปปนาโดยฌานทั้ง ๙
ก. กสิณ ๑๐ อานาปานัสสติ ๑ รวม ๑๑ กรรมฐานนี้เป็นอารมณ์ของรูปฌาน ๕ ดังนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลได้เจริญในกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว ย่อมสําเร็จฌานทั้ง ๕ ตามลําดับได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน
ข. อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ รวม ๑๑ กรรมฐานนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงให้ได้แต่เพียงปฐมฌาน ถ้าต้องการฌานเบื้องบนต่อไปก็จะต้อง เปลี่ยนเป็นกรรมฐานอื่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ นี้เป็นอารมณ์ หยาบ น่าเกลียดมาก ที่ปฐมฌานเกิดได้ก็เพราะอาศัยวิตกองค์ฌานช่วยยกภาวนาจิต ให้ขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐานเหล่านี้ ส่วนทุติยฌานจิต เป็นต้นนั้นไม่มีวิตกช่วยยกภาวนาจิตให้ขึ้นสู่อารมณ์ ดังนั้น กรรมฐานเหล่านี้จึงทำให้ผู้เจริญได้เพียงปฐมฌาน
ค. เมตตา กรุณา มุทิตา ทั้ง ๓ ทําให้ผู้เจริญได้รูปฌานเบื้องต่ำ ๔
ฆ. ส่วนผู้เจริญอุเบกขาพรหมวิหารนั้น ย่อมให้ได้แต่รูปปัญจมฌานอย่างเดียว
ง. สําหรับอารุปปกรรมฐาน ๔ ย่อมทําให้ผู้เจริญได้อรูปฌาน ๔ โดยเฉพาะๆ กล่าวคือ อากาสบัญญัติให้ได้แต่อากาสานัญจายตนฌาน ปฐมารุปปวิญญาณให้ได้ แต่วิญญาณัญจายตนฌาน นัตถิภาวบัญญัติให้ได้แต่อากิญจัญญายตนฌาน ตติยารุปปวิญญาณให้ได้แต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ในที่นี้เมื่อได้พิจารณาดูการจําแนกกรรมฐาน ๓๐ โดยรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า อารมณ์กรรมฐานของรูปฌานนั้นล้วนแต่เป็นบัญญัติ ส่วนอารมณ์กรรมฐานของอรูปฌานนั้นมีทั้งบัญญัติและปรมัตถ์ เมื่อสรุปแล้วก็คงได้จํานวนกรรมฐานและฌาน ดังนี้
กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ โกฏฐาส ๑ อัสสาสปัสสาสะ ๑ สัตวบัญญัติ ๓ รวม บัญญัติกรรมฐาน ๒๕ เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน
กสิณ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ สัตวบัญญัติ ๓ รวมบัญญัติกรรมฐาน ๑๔ เป็น อารมณ์ของทุติยฌาน จนถึงจตุตถฌาน
กสิณ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ ๑ รวมบัญญัติกรรมฐาน ๑๒ นี้ เป็นอารมณ์ของรูปปัญจมฌาน
จบจําแนกสมถกรรมฐาน ๔๐
การปรากฏของอภิญญา
ตามธรรมดาการเกิดขึ้นแห่งรูปปัญจมฌานนั้น จะเกิดในครั้งแรกก็ดี ขณะที่ เข้าฌานสมาบัติอยู่ก็ดี ย่อมมีอารมณ์จํากัดแน่นอน คือ บัญญัติธัมมารมณ์ ซึ่งได้แก่ กสิณบัญญัติ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ ๑ รวม ๑๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น สําหรับ รูปปัญจมฌานที่เกิดขึ้นโดยความเป็นอภิญญานั้นมี ได้จํากัดอารมณ์ คือ รับอารมณ์ ๖ ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติได้หมด แล้วแต่การอธิษฐาน ของอภิญญาลาภีบุคคลเมื่อออกจากปาทุกฌานแล้ว ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงกล่าวว่า อภิญญาวเสน ปวตฺตมาน ฯลฯ รูปาที่สุ อารมุมเณ ยการหมป์เปติ ฯ
อภิญญา หมายความว่า ปัญญาที่มีการรู้ในอารมณ์ ๖ เป็นพิเศษ เมื่อ แยกบทแล้ว ได้ ๒ บท คือ อภิ + ญา ธาตุ อภิ แปลว่า พิเศษ ญา แปลว่า รู้ในอารมณ์ ๖ ดังแสดงวจนถะว่า “วิเสสโต ชานาติ : อภิญญา” ปัญญาใต ย่อมรู้ในอารมณ์ ๖ เป็นพิเศษ ฉะนั้น ปัญญานั้น ชั่วว่า อภิญญา หมายความว่า ปัญญาที่ประกอบในรูปปัญจมฌานที่มีความรู้ความสามารถอย่างน่าอัศจรรย์ เนื่องมา จากสมาธิที่มีกําลังแก่กล้าอย่างเยี่ยมนี้เองเรียกว่า อภิญญา เป็นการเรียกโดยตรง ส่วนรูปปัญจมฌานจิตที่เรียกว่า อภิญญาจิตนั้น ก็เพราะเกิดพร้อมกันกับอภิญญา เป็นการเรียกโดยอ้อม
กรรมฐานที่ให้ได้อภิญญา
ในบรรดากรรมฐานทั้งหมด การเจริญกสิณ ๑๐ เท่านั้นที่จะให้ได้อภิญญา ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. สมาธิในรูปปัญจมฌานที่เกิดจากการเจริญกสิณ ๑๐ นั้น มีกําลังแรงกล้า ยิ่งกว่ากรรมฐานอีก ๑๖ อย่างที่เหลือ
๒. ตามธรรมดาผู้ที่จะได้อภิญญานั้นจะต้องได้สมาบัติ ๙ คือ รูปฌาน และ อรูปฌาน เว้นแต่ผู้ที่มีบารมีเป็นพิเศษเท่านั้น ฉะนั้น รูปปัญจมฌานลาภีบุคคลก่อนที่จะ เจริญอรูปฌาน ต้องทําการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่ได้มาจากกสิณ ๙ (เว้นอากาสกสิณ) โดยบริกรรมว่า อากาใสๆ อรูปฌานขั้นที่หนึ่งจึงจะเกิดได้ ถ้าไปเจริญกรรมฐานอื่น ๆ แทน อรูปฌานขั้นต้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้แหละ การเจริญกสิณ ๑๐ เท่านั้น จึงจะให้สําเร็จอภิญญา
ผู้ที่ไม่ได้สมาบัติ ๙ แต่ก็ได้อภิญญาด้วยอํานาจบารมี
ผู้ที่ไม่ได้สมาบัติ ๙ แต่ได้อภิญญาด้วยอํานาจบารมีนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๒ พวก คือ ปุถุชนฌานลาภี และพระอริยบุคคล ใน ๒ จําพวกนี้ ผู้ที่เคยได้อภิญญาในภพ ก่อนที่ใกล้กันกับภพนี้ เมื่อมีการเจริญกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ต้องได้อรูปฌาน ๔ ได้แต่เพียงรูปฌาน ๕ อภิญญาก็เกิดได้ดังเช่น พระดาบส ๒๔,๐๐๐ รูปซึ่งเป็นสานุ ศิษย์ของพระสุรุจิดาบสใหญ่ ที่ได้มาเป็นพระสารีบุตรในศาสนาของพระสมณโคดมนี้ เมื่อท่านเหล่านั้นทําการเจริญกสิณจนได้สําเร็จรูปฌาน ๕ แล้วอภิญญาก็สําเร็จด้วย ทั้งนี้ก็เพราะท่านเหล่านั้นเคยได้อภิญญาในภพก่อนที่ใกล้กันกับภพนี้นั้นเอง
พระอริยบุคคลบางท่าน เมื่อได้บรรลุมรรคผลแล้ว ปัญญาที่ประกอบกับ มรรคจิตนั้นมีอํานาจที่เกี่ยวกับอภิญญาอยู่ด้วย หากแต่ยังมิใช่เป็นตัวอภิญญาเท่านั้น เมื่อมีความประสงค์จะทําอภิญญาเวลาใด เวลานั้นรูปปัญจมฌานที่มีตัวอภิญญาก็เกิดขึ้น ความประสงค์ที่อธิษฐานไว้ก็สําเร็จพร้อมไปด้วย อภิญญาชนิดนี้ได้ชื่อว่า มัคค สิทธิอภิญญา ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจบารมีที่เคยได้อภิญญามาแต่ภพก่อนใกล้กันกับภพนี้ หรือ ด้วยอํานาจที่ได้ปรารถนาไว้ มัคคสิทธิอภิญญามีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. เหฏฐิมมัคคีสิทธิอภิญญา อภิญญาที่สําเร็จพร้อมด้วยมรรคเบื้องต่ำ ๓
๒. อรหัตตมัคคสิทธิอภิญญา อภิญญาที่สําเร็จพร้อมด้วยอรหัตตมรรค ผู้ที่ได้เหฏฐิมมัคคสิทธิอภิญญานั้น มีตัวอย่าง คือ ภิกษุ ๕๐๐ รูปที่ได้สดับ ฟังพระธรรมเทศนาเรื่อง กุณาลชาดก ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงจบลง ก็ได้สําเร็จโสดาปัตติมรรคพร้อมด้วยอภิญญา ดังที่มีเรื่องแสดงใน มหาสมัยสูตรอรรถกถา ผู้ที่ได้ อรหัตตมัคคสิทธิอภิญญานั้น มีตัวอย่าง คือ พระอานนทเถระ ขณะที่ท่านได้สําเร็จ อรหัตตมรรคนั้น อภิญญาก็ทําสําเร็จพร้อมไปด้วย
แนวทางให้ได้อภิญญาสําหรับผู้ที่ได้สมาบัติ ๙ แล้ว
ผู้ที่ได้สมาบัติ ๙ แล้ว ถ้าประสงค์จะทําอภิญญา ก็ต้องฝึกฝนสมาธิให้ชํานาญ ในการเพ่งกสิณ ๘ (เว้นอากาสกสิณ อาโลกกสิณ) และการเข้าสมาบัติ ๙ ด้วยวิธี ฝึกสมาธิโดยอาการ ๑๔ อย่าง คือ
๑. กสิณานุโลมโต การเข้าฌาน โดยมีการเพ่งกสิณไปตามลําดับหลายร้อยครั้ง
๒. กสิณปฏิโลมโต การเข้าฌานที่มีการเพ่งกสิณ โดยการย้อนกลับหลายร้อยครั้ง
๓. กสิณานุโลมปฏิโลมโต การเพ่งกสิณแต่ต้นจนถึงที่สุดไปตามลําดับ แล้ว กลับเพ่งจากที่สุดย้อนมาหาต้น ในการเข้าฌานนั้น ๆ หลายร้อยครั้ง
๔. ฌานานุโลมโต การเข้าฌานตามลําดับแห่งสมาบัติ ๙ หลายร้อยครั้ง
๕. ฌานปฏิโลมโต การเข้าฌานย้อนจากปลายมาหาต้นตามลําดับแห่งสมาบัติ ๙ หลายร้อยครั้ง
๖. ฌานานุโลมปฏิโลมโต การเข้าสมาบัติ ๙ ไปตามลําดับ และย้อนกลับ หลายร้อยครั้ง
๗. มานุกกันติกโต การเข้าสมาบัติ ๙ โดยมีการข้ามฌานไปตามลําดับ แห่ง ฌานหลายร้อยครั้ง
๘. กสิณ กนติกโต การเข้าสมาบัติโดยมีการเพ่งกสิณ ข้ามไปตามลําดับ แห่งกสิณหลายร้อยครั้ง
๙. ฌานกสิกกันติกโต การเข้าฌาน การเพ่งกสิณ ที่มีการข้ามไปตาม ลําาดับแห่งฌานและตามลําดับแห่งกสิณหลายร้อยครั้ง
๑๐. องฺคสงฺกนฺติโต การเพ่งกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเข้ารูปฌาน ๕ โดยการก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลําดับหลายร้อยครั้ง
๑๑. อารมมณสงฺกนฺติโต การเข้าปฐมฌานเป็นต้น ที่มีการเปลี่ยนอารมณ์ กรรมฐาน คือ เปลี่ยนย้ายการเพ่งกสิณทั้ง ๘ ไปตามลําดับหลายร้อยครั้ง
๑๒. องการมุมแสงฺกนฺติโต การเข้าฌาน และการเพ่งอารมณ์กรรมฐานไม่ ให้ซ้ํากันไปตามลําดับแห่งฌานและลําดับแห่งกสิณหลายร้อยครั้ง
๑๓. องควรฏฐาปนโต การพิจารณากําหนดรู้องค์ฌานไปตามลําดับแห่ง สมาบัติ 8 หลายร้อยครั้ง
๑๔. อารมฺมณววฏฐาปนโต การพิจารณากําหนดรู้อารมณ์กรรมฐานแห่ง สมาบัติ ๕ หลายร้อยครั้ง
อธิบาย
ข้อ ๑. หมายความว่า การเพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน หรือรูปฌานอื่น แล้วออกมาเพ่งอาโปกสิณ แล้วกลับเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก ต่อไปออก มาเพ่ง เตโชกสิณ แล้วกลับเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก เปลี่ยนการเพ่งเรื่อย ไปจนกระทั่งถึงโอทาตกสิณ แต่ฌานที่เข้านั้นคงเป็นอย่างเดิม เรียกว่า สมาธิโดยลําาดับแห่งการเพ่งกสิณ
การอบรม
ข้อ ๒. การเพ่งโอทาตกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นเสร็จแล้วออก มาเพ่งโลหิตกสิณ แล้วเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก เสร็จแล้วออกมาเพ่งปีตกสิณ แล้วกลับเข้าปฐมฌาน หรือ รูปฌานอื่นอีก เปลี่ยนการเพ่งย้อนกลับเรื่อยไปอย่างนี้จนกระทั่งถึงปถวีกสิณ แต่ฌานที่เข้านั้นคงเป็นอย่างเดิม เรียกว่า การอบรมสมาธิที่มีการ เพ่งกสิณโดยการย้อนกลับ
ข้อ ๓. การเพ่งปัถวีกสิณ เป็นต้นไปตามลําดับจนถึง โอทาตกสิณ ตามข้อ ๑ แล้วก็เพ่งโอทาตกสิณ เป็นต้น นั้นย้อนกลับมาตามลําดับจนถึงปถวีกสิณตามข้อ ๒ แต่ฌานที่เข้านั้นต้องเป็นอย่างเดิมทุกๆ ครั้งไป เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเพ่ง กสิณโดยอนุโลมและปฏิโลมในการเข้าฌานนั้น
ข้อ ๔. การเข้าฌานตั้งแต่ ปฐมฌาน เรื่อยไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญาย ตนฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าฌานไปตามลําดับแห่งสมาบัติ ๙
ข้อ ๕. การเข้าฌานจาก เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรื่อยมาตามลําดับ จนถึงปฐมฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าย้อนจากปลายมาหาต้นตามลําดับ แห่งสมาบัติ ๘
ข้อ ๖. การเข้าฌานตั้งแต่ ปฐมฌาน เรื่อยไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญาย แล้วก็เข้าย้อนกลับมาหาต้นโดยเข้าตั้งแต่ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรื่อยมาจนถึงปฐมฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าสมาบัติ ๙ ไปตามลําดับ และย้อนกลับเพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าตติยฌาน
ข้อ ๗. เพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน เพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปัญจมฌาน เพื่อออกจากปัญจมฌานแล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติที่ เพิกจากปถวีกสิณเป็นอารมณ์ แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญ จายตนฌานแล้วก็ทําการพิจารณานัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ แล้วเข้าอากิญจัญญาย นฌาน ส่วนกสิณที่เหลือ ๗ และการเข้าก็คงเป็นไปในทํานองเดียวกันนี้เรียกว่า การอบรมสมาธิโดยการข้ามฌานไปตามลําดับ
ข้อ ๘. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโชกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งนีลกสิณ เข้าปฐมฌาน เพ่งโลหิตกสิณเข้าปฐมฌาน การเข้ารูปฌานที่เหลือ ๔ ก็คงเป็นเช่น เดียวกัน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเพ่งกสิณข้ามไปตามลําดับแห่งกสิณ
ข้อ ๙. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโชกสิณเข้าตติยฌาน เพ่งนีลกสิณ เข้าปัญจมฌานเมื่อออกจากปัญจมฌานแล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติที่เพิกจากนีลกสิณ แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้วก็เพ่งโลหิตกสิณ โดยการเพิกปฏิภาคนิมิตออกคงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่จะพิจารณา
ต่ออากาสบัญญัตินี้ คงกลับไปสนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของ ตนที่ดับไปนั้นด้วยการพิจารณาว่า นตฺถิ กิญจิ ๆ แล้วก็เข้าอากิญจัญญายตนฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้าฌาน การเพ่งข้ามไปตามลําาดับแห่งฌานและ ลําาดับแห่งกสิณ
ในข้อ ๙. นี้ ในปรมัตถทีปนีมหาฎีกา ท่านได้แสดงการเพ่งกสิณ และการเข้า ฌานข้ามไปตามลําดับนี้ เป็นพิเศษออกไปอีกเล็กน้อย คือ เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโชกสิณเข้าตติยฌาน เพ่งนีลกสิณเข้าปัญจมฌาน เมื่อออกจากปัญจมฌานแล้วก็ ทําการพิจารณาอากาสานัญจายตนฌาน ที่เคยเกิดในสันดานของตนในภพนี้แล้วเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน เสร็จแล้วออกมาพิจารณาอากิญจัญญายตนฌานที่เคยเกิดใน สันดานของตนในภพนี้ แล้วเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เสร็จแล้วออกมา พิจารณานัตถิภาวบัญญัติเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกมาเพ่งปีตกสิณโดยการเพิก ปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติเข้าอากาสานัญจายนฌาน ออกมาเพ่งวาโยกสิณเข้าจตุตถฌาน ออกมาเพ่งอาโปกสิณเข้าทุติยฌาน
การเข้าฌาน การเพ่งกสิณ ด้วยวิธีข้ามทั้งอนุโลมและปฏิโลมตามนัยปรมัตถ ทีปนีมหาฎีกานี้ ความสําคัญมีอยู่ว่าในระหว่างที่กระทําอยู่อย่างนี้หลายร้อยครั้งนั้นเพื่อ ที่จะได้มีการเพ่งกสิณให้ครบทั้ง ๘ อย่างนั้นเอง
ข้อ ๑๐. เพ่งปถวีกสิณแล้วเข้าปฐมฌาน เป็นต้นจนถึง ปัญจมฌาน โดย การก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลําดับ และการเข้ารูปฌานต่อไปที่มีการเพ่งกสิณที่เหลือ ๗ ก็คงเป็นไปในทํานองเดียวกันนี้เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการเข้ารูปฌาน โดยการ ก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลําาดับ
ข้อ ๑๑. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งอาโปกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งเตโช - กสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งวาโยกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งนีลกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งปีต- กสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งโลหิตกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งโอทาตกสิณเข้าปฐมฌาน ตั้งแต่ ทุติยฌาน เป็นต้น จนถึง ปัญจมฌาน ก็มีการเปลี่ยนเพ่งองค์กสิณดังนี้ทุก ๆ ฌานไป เรียกว่า การอบรมสมาธิโดยการเปลี่ยนเพ่งองค์กสิณทั้ง ๘ ตามลําดับ
ข้อ ๑๒. เพ่งปถวีกสิณเข้าปฐมฌาน เพ่งอาโปกสิณเข้าทุติยฌาน เพ่งเตโช - กสิณเข้าตติยฌาน เพ่งวาโยกสิณเข้าจตุตถฌาน เพ่งนี้ลูกสิณเข้าปัญจมฌาน เพ่ง ปีตกสิณโดยการเพิกปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติแล้วก็เพ่งอากาสบัญญัติ นั้นเข้าอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อออกมาก็เพ่งโลหิตกสิณที่มีการเพิกปฏิภาคนิมิต ออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่จะพิจารณาในอากาสบัญญัตินี้ คงกลับไปสนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของตนที่ดับไปนั้นด้วยการ พิจารณาว่า (วิญญาณ อนนต์ ๆ) แล้วเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อออกมาก็เพ่ง โอทาตกสิณที่มีการเพิกปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่ จะพิจารณาในอากาศบัญญัติ นี้ คงกลับไปสนใจในนัตถิภาวบัญญัติด้วยการพิจารณาว่า (นตฺถิ กิญจิ ๆ) แล้วเข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อออกมาก็เพ่งอาโลกกสิณที่มี การเพิกปฏิภาคนิมิตออก คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่แล้วก็มิได้สนใจที่จะพิจารณาใน อากาสบัญญัตินี้ คงกลับไปสนใจในอากิญจัญญายตนฌานที่เกิดในสันดานของตนที่ดับ ไปนั้นด้วยการพิจารณาว่า (สันติ ปณีตๆ) แล้วเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
หมายเหตุ ในตอนต้นได้กล่าวว่าใช้แต่องค์กสิณ ๘ มีปถวีกสิณ เป็นต้น จนถึงโอทาตกสิณเท่านั้น ในการอบรมสมาธินี้ แต่ในข้อ ๑๒. ได้กล่าวว่า มีการเพ่ง อาโลกกสิณ ก่อนที่จะเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ที่เป็นดังนี้ก็เพราะการเพ่งกสิณ ทั้ง ๘ นี้ได้หมดลงเพียงแค่อากิญจัญญายตนฌานซึ่งเป็นฌานสมาบัติอันดับที่ ๘ แต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นยังเหลืออยู่ เหตุนี้ก่อนที่จะเข้าเนวสัญญานาสัญญาย ตนฌาน จึงจําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนไปเพ่งอาโลกกสิณ แต่ถ้าฌานลาภีบุคคลนั้นได้รูป ฌานตามจตุกกนัย องค์กสิณ ๘ กับฌานสมาบัติก็ครบกันพอดี มีต้องไปเพ่งอาโลกก สิณแต่อย่างใด อนึ่งการที่จัดองค์กสิณแต่เพียง ๘ นั้น ก็เพราะว่าอาโลกกสิณนี้ท่าน สงเคราะห์เข้าในโอทาตกสิณอยู่แล้ว ส่วนอากาสกสิณนั้นมิสามารถที่จะช่วยอุดหนุน แก่การเข้าอรูปฌาน ฉะนั้น จึงมิได้นํามากล่าวไว้ในที่นี้ แต่ก็สามารถช่วยอุดหนุนแก่ การเข้ารูปฌาน ทําการเพ่งอบรมสมาธิเพื่อประโยชน์ ในอันที่จะได้เนรมิตอากาศให้เกิด ขึ้นภายใต้พื้นแผ่นดินและในน้ํา ดังนั้น แม้ว่าท่านอรรถกถาจารย์จะไม่ได้กล่าวไว้แต่ ท่านฎีกาจารย์ได้แนะนําว่าใช้ได้เหมือนกัน
ข้อ ๑๓. ปฐมฌานนี้มีองค์ฌาน ๕ ประกอบ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ทุติยฌานมีองค์ฌาน ๔ ประกอบ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ ประกอบ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา จตุตถฌานมีองค์ฌาน ๒ ประกอบ ได้แก่ สุข เอกัคคตา ปัญจมฌานมีองค์ฌาน ๒ ประกอบ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เหล่านี้มีองค์ฌาน ๒ ประกอบ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา เรียกว่า การอบรมสมาธิโดยการพิจารณาองค์ฌานไปตามลําาดับแห่งสมาบัติ ๙ ข้อ
๑๔.ปฐมฌานที่เกิดขึ้นที่มีปถวีกสิณเป็นอารมณ์ ก็พิจารณาว่า ปถวีกสิณ นี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน ถ้ามีอาโป หรือ เตโชกสิณ เป็นต้นจนถึง โอทาตกสิณ ก็พิจารณาว่า อาโป เตโชกสิณ เป็นต้น หรือ โอทาตกสิณนี้ เป็นอารมณ์ของ ปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้นจนถึง ปัญจมฌาน ที่เกิดขึ้นจากการเพ่งกสิณนั้น ก็คง มีการพิจารณาไปในทํานองเดียวกันกับปฐมฌานเกิด เมื่ออากาสานัญจายตนฌานเกิดวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้นแล้ว ก็พิจารณาว่าอากาสบัญญัตินี้เป็นอารมณ์ของอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อ ก็พิจารณาว่า อากาสานัญจายตนฌานนี้เป็น อารมณ์ของวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่ออากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้นแล้ว ก็พิจารณาว่า นัตถิภาวบัญญัตินี้เป็นอารมณ์ของอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตน ฌานเกิดขึ้นแล้ว ก็พิจารณาว่า อากิญจัญญายตนฌาน นี้เป็นอารมณ์ของเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เรียกว่า การอบรมสมาธิด้วยการพิจารณากําหนดรู้อารมณ์กรรม ฐานแห่งสมาบัติ ๙
เมื่อสรุปความในหลัก ๑๔ อย่างนี้แล้ว จะเห็นว่า จุดประสงค์มีอยู่อย่างเดียว คือ จะให้ฌานลาภีบุคคลมีความชํานาญในการเพ่งกสิณ การเข้าฌานสมาบัติ อันเป็น สิ่งสําคัญที่จะช่วยทําจิตให้มีอํานาจโดยมีสมาธิกล้าแข็งเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นเหตุที่จะทําให้ รูปปัญจมฌานอภิญญาเกิดขึ้น ดังนั้น การอบรมฝึกฝนสมาธิให้กล้าแข็งนี้ ฌานลาภ- บุคคลจะมีวิธีอื่นเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ มีเป็นการขัดข้องแต่ประการใด
อภิญญา ๒ ประเภท
อภิญญานี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ ประเภท คือ โลกียอภิญญา และ โลกุตตรอภิญญา ใน ๒ ประเภทนี้ โลกียอภิญญา เมื่อนับโดยพิสดารแล้วมี ๗ คือ
๑. อิทธิวิธอภิญญา
๒. ทิพพโสตอภิญญา
๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา
๕. ทิพพจักขุอภิญญา
๖. ยถากัมมูปคอภิญญา
๗. อนาคตั้งสอภิญญา
พระอนุรุทธาจารย์ได้กล่าวไว้แต่เพียง ๕ ประการ หาได้กล่าวถึงยถากัมมูป คอภิญญาและ อนาคตั้งสอภิญญาไม่ ทั้งนี้ก็เพราะอภิญญาทั้ง ๒ นี้สงเคราะห์ในทิพพจักขุอภิญญาอยู่แล้ว กล่าวคือ ทิพพจักขุอภิญญานี้ เมื่อสามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายที่ เกิดอยู่ในภูมิต่าง ๆ ตามอํานาจแห่งการกระทําของตนก็เรียกว่า ยถากัมมูปคอภิญญา และ เมื่อสามารถรู้เห็นเรื่องต่างๆ ที่จะบังเกิดในกาลข้างหน้าก็เรียกว่า อนาคตั้งสอภิญญา โลกียอภิญญา ๕ หรือ ๗ นี้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในรูปาวจรปัญจมฌาน กุศลและกริยา
สําหรับโลกุตตรอภิญญานั้นมีอยู่อย่างเดียว คือ อาสวักขยอภิญญา อภิญญา ที่สามารถทําลายกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปจากขันธสันดาน องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิกที่ในอรหัตตมรรคจิต ๑ เมื่อรวมแล้วจึงเป็น อภิญญา ๖
แสดงการทําอภิญญาต่างๆ
๑. อิทธิวิธอภิญญา
การแสดง อธิฏฐานาอิทธิ นั้น เพ่งกสิณแล้วเข้าป่าทุกฌาน เพื่อปลุกสมาธิ ที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง แล้วออกมาทําการอธิษฐานตามที่ต้องการ เสร็จแล้วกลับเข้าปาทุก ฌานใหม่ เมื่อออกมาอภิญญาวิถีที่มีปรมัตถ์และบัญญัติเป็นอารมณ์ ตรงกับที่ตนได้ อธิษฐานไว้ก็เกิดขึ้น คือ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อภิญญาชวนะ ๑ ครั้ง ครั้นภวังคจิตเกิดต่อไป ฤทธิ์ต่างๆ ที่ตนประสงค์ก็สําเร็จขึ้น ในขณะเดียวกับที่อภิญญาจิตเกิดนั้นเอง แล้วตั้งอยู่เป็นไป ตามที่ได้กําหนดเวลาไว้ เมื่อถึงเวลาก็อันตรธานไปเอง โดยมิต้องทําอภิญญาให้หายไป แต่อย่างใด ถ้ามิได้กําหนดเวลาเอาไว้ ฤทธิ์นั้นก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่หายไป เมื่อต้องการ ให้หายไป ก็ต้องทําอภิญญาใหม่ โดยเข้าปากฌาน ออกจากปาทกฌานแล้ว ก็ทํา การอธิษฐานว่าขอให้ฤทธิ์ที่ตั้งอยู่นี้สูญสิ้นไป แล้วกลับเข้าปาทุกฌานอีก เมื่อออกมา อภิญญาวิถีที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้น คือ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวา ราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อภิญญาชวนะ ๑ ครั้ง แล้วภวังคจิต เกิดต่อไป ฤทธิ์ที่ตั้งอยู่ก็อันตรธานไปในขณะเดียวกับที่อภิญญาชวนะเกิดนั้นเอง
อธิษฐานาอิทธินี้ ย่อมให้สําเร็จโดยประการต่างๆ คือ ทําตนเอง หรือ คนอื่น เพียงคนเดียวให้เป็นหลายร้อยหลายพันคน แต่ละคนๆ ก็มีกิริยาอาการต่างๆ กันไป ส่วนตนเอง หรือ คนอื่นนั้นคงเป็นอยู่อย่างเดิม การที่จะให้สําเร็จเป็นไปได้โดยประการ ต่าง ๆ นั้น ข้อสําคัญอยู่ที่การอธิษฐานของผู้แสดง เพราะอธิษฐานาอิทธินี้กว้างขวาง มาก ถ้าต้องการแสดงฤทธิ์อันใด ก็เพ่งกสิณให้ตรงกับเรื่องที่ตนประสงค์ ฤทธิ์ต่างๆ ก็จักเกิดขึ้นดังเช่น
ก. ถ้าประสงค์จะดําดินลงไป แล้วโผล่ขึ้นมาจากดินเหมือนกับดําน้ํา แล้วโผล่ขึ้นมาจากน้ํา ผู้นั้นจะต้องเพ่งอาโปกสิณแล้วอธิษฐานว่า ให้แผ่นดินนี้จงเป็นน้ํา
ข. ถ้าประสงค์จะเดินจงกรมภายในภูเขา กําแพง หรือ แผ่นดิน ก็ให้เพ่ง อากาสกสิณ แล้วอธิษฐานว่า ขอให้ภายในภูเขา กําแพง หรือ แผ่นดิน จงมีช่องว่าง
ค. ถ้าประสงค์จะเหาะขึ้นไป และเดินจงกรมในท้องอากาศ เหมือนกับ เดินจงกรมบนพื้นดิน ก็เห่งปถวีกสิณและอธิษฐานว่า ขอให้ท้องอากาศจงเป็นพื้นแผ่นดิน
ฆ. ถ้าประสงค์จะเหาะขึ้นไปในอากาศเหมือนกับเครื่องบิน ก็เพ่งวาโยกสิณ แล้วอธิษฐานว่า ขอให้ตัวของข้าพเจ้าเหาะไปได้ จึงเหาะไปได้เร็ว หรือ ช้านั้น อยู่ที่อธิษฐาน ถ้าต้องการจะไปที่หนึ่งที่ใดให้ถึงโดยเร็วพร้อมกับอภิญญาจิต เหมือน กับการไปของโลหิตดาบส ก็ให้อธิษฐานว่า ขอให้ตัวของข้าพเจ้าเบาเหมือนกับจิต
ง. ถ้าประสงค์จะให้ผู้อื่นแลเห็นนิรยภูมิ ก็เพ่งอากาสกสิณ แล้วอธิษฐาน ว่า ขอให้พื้นแผ่นดินนี้จงเป็นอากาศ ถ้าจะให้ผู้อื่นเห็นเทวภูมิ พรหมภูมิ ก็เพ่ง อากาสกสิณแล้วอธิษฐานว่า ขอให้สถานที่เหล่านี้จงปรากฏให้แลเห็นได้
สําหรับอานุภาพแห่งกสิณ ๑๐ นั้น ได้แสดงไว้แล้วในตอนต้นแห่งปกรณ์นี้
การแสดง วิกพพนาอิทธินั้น ตัวของตนเองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามฤทธิ์ เช่น จะแสดงเป็นพระยานาค ร่างกายของตนก็กลายเป็นพระยานาค จะแสดงเป็นภูเขา ร่างกายของตนก็เปลี่ยนแปลงเป็นภูเขาไป ส่วนการเพ่งกสิณ เข้าปาทุกฌาน อธิษฐาน ตลอดจนถึง การเกิดขึ้นของอภิญญาวิถีเหล่านี้ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เป็นไป ทํานองเดียวกันกับการแสดง อธิษฐานาอิทธิ
การแสดง มโนมยาอิทธิ นั้น ผู้แสดงจะแสดงให้เป็นคนๆ เดียว หรือ หลายร้อยหลายพันคนก็ตาม ร่างกายของผู้นั้นคงเป็นปกติอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่น การแสดงของท่านจูฬบัณฑก แต่การแสดงฤทธิ์ชนิดนี้ผู้แสดงจะต้องอธิษฐาน ๒ ครั้ง ทําอภิญญาก็ ๒ ครั้ง จึงจะสําเร็จ คือ ครั้งแรกเพ่งกสิณเข้าปาทุกฌาน แล้วออกมา อธิษฐาน ขอให้ภายในร่างกายของตนเป็นช่องอากาศ เสร็จแล้วกลับเข้าปากฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีเกิดสําเร็จเป็นช่องอากาศขึ้นภายในตนในขณะนั้นเอง จากนั้นก็เพ่ง กสิณเข้าปาทกฌานอีกเป็นครั้งที่สองแล้วออกมาอธิษฐานขอให้ตนเองมีเป็น ๒ คน หรือ หลายร้อยหลายพัน เสร็จแล้วกลับเข้าปาทกฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีเกิดปรากฏเป็นคนขึ้นมีจํานวนดังที่ตนได้อธิษฐานไว้
๒. ทิพพโสตอภิญญา การทําอภิญญาแต่ละอย่างๆ นั้น แม้ว่าฌานลาภ บุคคลจะได้อภิญญาก็ตาม หาใช่ว่าทําได้โดยทันทีทันใดไม่ ดังนั้นก่อนที่จะทําจึงต้อง ฝึกหัดในเรื่องที่เกี่ยวกับอภิญญานั้นๆ เสียก่อน เช่น ก่อนที่จะทําทิพพโสตอภิญญา ก็ต้องฝึกหัดฟังเสียงด้วยบริกรรมสมาธิ คือ เพ่งวาโยกสิณ หรือ อากาสกสิณ เข้า
ปาทุกฌาน แล้วออกมาแสวงหาเสียงที่มีอยู่ ณ ที่ต่างๆ ชั้นแรกน้อมใจนึกถึงเสียงของ ราชสีห์ ช้าง เสือ เหล่านี้ เป็นต้นที่มีอยู่ในป่า ซึ่งเป็นเสียงหยาบในที่ไกลด้วยประสาทหู แล้วก็นึกถึงเสียงละเอียดเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปโดยลําดับ ตั้งแต่เสียงหยาบๆ มีเสียงระฆัง ในวัด เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงสวดมนต์ท่องบ่นดัง ๆ ของภิกษุ สามเณร เสียง คุยกัน เสียงนก เสียงลม เสียงเท้า เสียงน้ําเดือด เสียงใบไม้ที่แห้งกรอบ เสียงมด เป็นต้น ไปในทิศต่าง ๆ มีทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ เบื้องล่าง เบื้องบน แม้ในทิศเล็กทั้ง 4 ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ด้วยบริกรรมสมาธิประกอบด้วยมหากุศลญาณ สัมปยุตต์ เมื่อได้ยินเสียงเหล่านี้ด้วยบริกรรมสมาธิแล้วจึงทําทิพพโสตอภิญญาต่อไป
การทําทิพพโสตอภิญญานั้น มีการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เกี่ยวกับวาโยกสิณ หรือ อากาสกสิณ แล้วขยายไปตามระยะที่ตนประสงค์จะฟัง ดังนั้น ถ้ามีการขยายปฏิภาค นิมิตให้กว้างออกไปจนจดขอบจักรวาล เบื้องบนจดเทวภูมิ พรหมภูมิ เบื้องต่ําจด นิรยภูมิแล้ว ก็สามารถได้ยินเสียงที่มีอยู่ ณ สถานที่ต่างๆ เหล่านั้นได้ทั้งหมด สับสนปะปนกันไป เมื่อมีความประสงค์จะฟังเฉพาะแต่เสียงใดเสียงหนึ่ง ให้อธิษฐานว่า ขอให้ได้ยินเฉพาะแต่เสียงนี้แล้วก็จะได้ยินแต่เสียงที่ต้องการ เช่น ต้องการได้ยินแต่เสียง ที่มีอยู่ภายในบริเวณบ้าน มีเสียงมด ไร ปลวก เท่านั้น ก็จักได้ยินเฉพาะดังประสงค์
การได้ยินเสียงที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปทั้งหมดนั้น รู้ความหมายก็มี ไม่รู้ความ หมายก็มี ฉะนั้น ถ้าต้องการรู้ความหมายของเสียงใดเสียงหนึ่งโดยชัดแจ้งแล้ว ก็ต้อง ทําปรจิตตวิชานนอภิญญาเพื่อรู้ถึงจิตใจเจ้าของเสียงนั้นก่อนว่ามีความประสงค์อันใด เมื่อรู้แล้วก็รู้ความหมายของเสียงนั้นๆ ด้วย
๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา การทําปรจิตตวิชานนอภิญญานี้ คือ เพ่งอาโลกกสิณ เข้าปากฌาน แล้วออกมาอธิษฐานขอให้รู้ถึงจิตใจของผู้นั้น เสร็จแล้วกลับเข้าปาทกฌานใหม่ ออกมาปรจิตตวิชานนอภิญญาวิถีก็เกิด สามารถรู้จิตใจของบุคคลทั้งหลายได้หมดตลอดจนถึงอรูปพรหม
เนื้อความการทําปรจิตตวิชานนอภิญญาที่นอกจากนี้ ได้แสดงไว้แล้วในการขยายความโลกียอภิญญา
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา ก่อนที่จะทําปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญานั้น ได้มีการฝึกหัดนึกทบทวนในการทํา การพูด การคิดต่างๆ ตลอตจนถึงสถานที่ที่ตน อยู่อาศัย โดยการเพ่งกสิณ ๓ มี เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเข้าปาทุกฌานเพื่อปลุกสมาธิที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง จากนั้นก็ออกมาทําการระลึกถึง กิจการต่าง ๆ ที่ตนได้กระทําไปทั้งสิ้น ตลอดจนถึงสถานที่ที่อยู่ นับแต่ขณะนั้นเป็นต้น ทวนถอยหลังเรื่อยไปโดยลําดับ จนถึงสมัยที่ตนยังอยู่ในครรภ์มารดา แล้วก็กลับน้อม นึกจากสมัยนั้นมาโดยลําดับจนถึงความเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยความเป็นปฏิโลมอนุโลม ด้วยบริกรรมสมาธิที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ถ้านึกไม่ได้ก็เข้าปาทุกฌาน ใหม่ แล้วออกมาทําการน้อมนึกไปในทํานองนี้อีก ทําเช่นนี้ จนกว่าจะนึกได้ แล้วจึง จะทําปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญาต่อไป
การทําปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญานี้ มีการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้กล่าวแล้ว โดยขยายให้กว้างแผ่ออกไปจนจดขอบจักรวาล แล้ว
เข้าปาทกฌานออกมาทําการอธิษฐานขอให้ได้รู้ถึงภพชาติของตนในปางก่อนตลอด จนถึงความเป็นอยู่นับจากภพที่แล้วเป็นต้น ถอยหลังไปโดยลําดับแล้วกลับเข้าปาก ฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีก็เกิด สําเร็จในการระลึกรู้ได้ดังที่ตนประสงค์ทุกประการ ถ้าอภิญญาวิถีไม่เกิด ก็กลับเข้าป่าทุกฌานอีก แล้วออกมาอธิษฐานใหม่ ทําอยู่อย่าง นี้จนอภิญญาวิถีเกิดขึ้น
ส่วนการที่จะรู้ถึงความเป็นไปของผู้อื่น โดยนับจากภพปัจจุบันถอยหลังเรื่อย ไปโดยลําดับ แล้วย้อนกลับมาใหม่จนถึงภพนี้นั้น ก็คงมีการปฏิบัติเช่นเดียวกัน เมื่อ อภิญญาวิถีเกิดก็รู้ได้ดังประสงค์ ตลอดจนถึงผู้นั้นได้เข้าสู่พระนิพพานแล้วก็สามารถรู้ ได้เช่นกัน แต่การรู้การเข้าสู่พระนิพพานของผู้อื่นนั้น มีพิเศษอยู่ว่า อภิญญาลาภี- บุคคลต้องเป็นพระอริยะจึง จะรู้ได้
อนึ่ง การระลึกรู้ถึงภพชาติในอดีตได้นั้น มีการระลึกรู้ได้ไม่เหมือนกัน คือ ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงระลึกรู้ได้โดยไม่มีจํากัดทั้ง ไม่ต้องนึกไปตามลําดับแห่งภพ และไม่ต้องค้นหาต้นและปลายของภพ คือ ปฏิสนธิ และ จุติแต่อย่างใด พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายระลึกได้ ๒ อสงไขยแสนมหากัป พระอัครสาวกระลึกได้ ๑ อสงไขยแสนมหากัป ท่านเหล่านี้มีต้องมีการนึกไปโดยลําดับ แห่งภพแต่อย่างใด เพียงแต่นึกค้นหาต้นและปลายของภพ คือ ปฏิสนธิ และ จุติ เท่านั้นก็รู้ได้ มหาสาวกทั้งหลายระลึกได้แสนมหากัป ปกติสาวกระลึกได้ระหว่างร้อย ถึงพันมหากัป แล้วแต่บารมีที่ได้สร้างสมมา ทั้งสองพวกนี้จะทําการระลึกนึกไปโดย ลําดับแห่งภพก็ได้ หรือ จะค้นหาต้นและปลายของภพนั้น ๆ คือ ปฏิสนธิ และ จุติก็ได้ ส่วนพวกเดียรถีย์นั้น ระลึกรู้ได้เพียง ๔๐ มหากัปเท่านั้น และต้องมีการนึกไปโดยลําดับ แห่งภพด้วย ต้องค้นหาต้นและปลายของภพนั้น คือ ปฏิสนธิ และ จุติด้วยจึงจะรู้ได้
๕. ทิพพจักขุอภิญญา ก่อนที่จะทําทิพพจักขุอภิญญานั้น ได้มีการฝึกหัดดู เสียก่อนโดยการเพ่งกสิณที่มีความสว่าง ได้แก่ เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเข้าป่าทุกฌาน เพื่อปลุกสมาธิที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เสร็จแล้วออก มาแสวงดูสิ่งต่าง ๆ ที่ปกปิดกําบังไว้มีอยู่ภายในบริเวณของตนด้วยบริกรรมสมาธิ ถ้า ยังไม่เห็นก็เข้าปากฌานใหม่ แล้วออกมาดูอีก ทําอยู่อย่างนี้จนกว่าจะเห็นได้ เมื่อ เห็นได้ด้วยบริกรรมสมาธิแล้วจึงจะ ทําทิพพจักขุอภิญญาต่อไป กสิณทั้ง ๓ อย่างนี้ ท่านอรรถกถาจารย์ยกย่องอาโลกกสิณว่า ดีที่สุด
การทําทิพพจักขุอภิญญานั้น มีการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณ ๓ อย่าง อย่าง ใดอย่างหนึ่งที่ได้กล่าวแล้ว โดยขยายให้กว้างแผ่ออกไปตามสถานที่ต่าง ๆ มี บ้านเรือน จังหวัด ประเทศ ทวีป จนถึงขอบจักรวาล เทวภูมิ พรหมภูมิ นิรยภูมิ เป็นต้น ตามที่ตนประสงค์จะดู แล้วเข้าปาทุกฌาน ออกมาทําการอธิษฐานขอให้เห็น สิ่งนั้น ๆ เสร็จแล้วก็เข้าปาทุกฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีก็เกิดมีการเห็นสิ่งนั้นๆ ได้ ดังที่ตนอธิษฐานไว้ ถ้าอภิญญาวิถีไม่เกิดก็กลับเข้าปาทกฌานอีก แล้วออกมาอธิษฐาน ใหม่ ทําเช่นนี้จนกว่าอภิญญาวิถีเกิดขึ้น
เนื้อความต่าง ๆ ที่นอกจากนี้ ได้แสดงไว้แล้วในการขยายความโลกียอภิญญา
๖.-๗. ยถากัมมูปคอภิญญา และ อนาคตั้งสอภิญญา อภิญญาทั้งสองนี้ กสิณที่ใช้เพ่งนั้นเป็นอย่างเดียวกับทิพพจักขุอภิญญา ส่วนเนื้อความนั้นก็มิได้มีอะไร
เป็นพิเศษไปอีก จึงเข้าใจตามความที่ได้แสดงไว้ในการขยายความโลกียอภิญญา
ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง
คําว่า “อิทธิ" ในบท อิทธิวิธอภิญญา นั้นแปลว่า ความสําเร็จ ท่านอรรถกถาจารย์ได้แสดงจําแนกความสําเร็จนี้ออกเป็น ๑๐ อย่าง คือ
๑. อธิฏฐานาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดจากการตั้งใจ
๒. วิภพพนาอิทธิ ฤทธิ์แปลงกายให้เป็นไปอย่างอื่น ดังเช่น พระโมคคัลลานะแปลงเป็นพระยานาค เป็นต้น
๓. มโนมยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดจากฌานสมาธิ ดังเช่น พระจุฬบัณฑก
๔. ญาณวิปผาราอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นทําการคุ้มครองให้พ้นจากอันตราย เนื่องด้วยอํานาจแห่งอรหัตตมรรคที่จักเกิดขึ้น ดังเช่น พระพากุลเถระ และ พระสังกิจจเถระ เป็นต้น
๕. สมาธิวิปผาราอิทธิ ฤทธิ์เกิดขึ้นป้องกันอันตราย เนื่องด้วยอํานาจสมาธิดังเช่น พระสารีบุตร นางอุตตรา นางสามาวดี
๖. อริยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งการเป็นพระอรหันต์ คือ ไม่ รู้สึกเกลียดในสิ่งที่น่าเกลียด ด้วยการแผ่เมตตาและการพิจารณาธาตุทั้ง ๔ และมีการ เกลียดต่อสิ่งที่น่ารักน่ายินดี ด้วยอํานาจแห่งการพิจารณาอสุภะและอนิจจะ
๗. กัมมวิปากซาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งผลของกรรม ดังเช่น นกบินไปได้ เทวดาและพรหมทั้งหลายเหาะได้ หายตัวได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ และ วินิปาติก เทวดา คือ นางยักขินีที่ชื่อว่า ผุสสะ มิตตะ ธัมมปุตตะ ที่เป็นมารดา ของปียังกะ อุตตระ เหาะได้ หายตัวได้ เหล่านี้เป็นต้น
๘. ปุญญวโตอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจของบุญ ดังเช่นพระเจ้าจักร พรรดิ์ทรงเหาะไปในทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยเสนาข้าราชบริพาร และโชติกเศรษฐีที่มี ปราสาทเป็นแก้วมณีผุดให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
๙. วิชชามยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจของวิชาอาคม ที่แสดงไว้ใน อาถรรพนเวทปกรณ์ ดังเงินวิชาธรเหาะได้ แสดงเป็นพลช้าง พลม้า พลเท้า พลรถ
ปรากฏในท้องอากาศให้คนทั้งหลายเห็นได้
๑๐. ตัตถหัตถสัมมาปโยคปัจจยาอิทธิ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งความ พยายามค้นคว้าศึกษาพิสูจน์อย่างรอบคอบถี่ถ้วนโดยถูกต้อง ในด้านวัตถุสิ่งของนั้นๆ และการงานต่าง ๆ ตลอดจนถึงการปริยัติและปฏิบัติ ดังเช่นการประหาณนิวรณ์ด้วย ปฐมฌานเป็นต้น การประหาณกิเลสด้วยมรรคทั้ง ๔ ความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และอรรถกถา วิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ อักษร ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ยุทธศาสตร์ เหล่า นี้เป็นต้น
จบสมถกรรมฐานทีปนี
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว