สมุจจยสังคหะ

สมุจจยสังคหะ

ปริยัติธรรม

ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และ ปริจเฉทที่ ๗ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ

สมุจจยสังคหะ

วัตถุธรรม คือ ธรรมที่มีสภาพของตนโดยแท้ ๗๒ ประการนั้น ข้าพเจ้าได้แสดงไปแล้ว บัดนี้จะแสดงสมุจจยสังคหะ คือ สังคหะที่รวบรวมธรรมต่างๆ ของวัตถุธรรม ๗๒ ประการนั้น ตามที่จะเข้ากันได้

คําอธิบาย

คําว่า วัตถุธรรม หมายความว่า ธรรมที่มีองค์ธรรมปรมัตถ์ของตนโดยเฉพาะ สามารถปรากฏแก่ปัญญาได้ ฉะนั้น บรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลาย ถ้านับเอาแต่ธรรมที่มีสภาวลักษณะของตนแล้ว ย่อมมี ๗๒ กล่าวคือ

จิตทั้งหมด นับเป็น ๑ เพราะเมื่อว่าโดยสภาวลักษณะแล้ว ย่อมมีลักษณะ อย่างเดียวกัน คือ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ ที่เรียกว่า อารมฺมณวิชานนลกฺขณา ด้วย เหตุนี้ จิตทั้งหมดจึงนับแต่เพียง ๑

เจตสิก เมื่อกล่าวโดยพิสดาร มี ๓,๔๒๖ ดวง แต่ถ้านับตามสภาวลักษณะ ของตนๆ แล้ว มี ๕๒ ดวง

ในจํานวน รูปทั้งหมด นั้น นับเอาแต่เฉพาะนิปปผันนรูปและนิปผันนรูปนี้ ก็มี อยู่หลายประเภทด้วยกัน คือ กัมมชนิปผันนรูปก็มี จิตตชนิปผันนรูปก็มี อุตุชนิปผันนรูปก็มี อาหารชนิปผันนรูปก็มี แต่เมื่อกล่าวโดยสถาวลักษณะแล้ว ก็มีอยู่เพียง ๑๘ ฉะนั้น จึงนับเอาไปผันนรูป ๑๘ และ นิพพาน ๑

ส่วน อนิปผันนรูป ๑๐ นั้น ไม่มีสกาวลักษณะของตนโดยเฉพาะ เป็นการกําหนดรูปกลางต่อรูปกลาป และเป็นอาการของนิปผันนรูปนั้นเอง ฉะนั้น จึงไม่นับเอาอนิปผันนรูปทั้ง ๑๐ นี้ เข้าอยู่ในวัตถุธรรมให้เป็นพิเศษขึ้นไปอีก จึงคงมีวัตถุธรรมเพียง ๗๒ เท่านั้น

ปริจเฉทที่ชื่อว่า สมุจจยะ เพราะเป็นปริจเฉททีแสดงรวบรวมปรมัตถธรรม ทั้ง ๔ ประการ พร้อมกัน (หรือ) ปริจเฉทที่ชื่อว่า สมุจจยะ เพราะเป็นเหตุแห่งการแสดงรวบรวมปรมัตถธรรมที่มีสภาพเข้ากันได้ ให้อยู่เป็นหมวดๆ

ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ พระอนุรุทธาจารย์แสดงการรวบรวมธรรมที่มีสภาพเข้ากันได้ ที่เรียกว่า สมุจจยสังคหะ นั้น เป็นหมวดๆ มี ๔ หมวดด้วยกัน คือ

๑. อกุศลสังคหะ
การแสดงสงเคราะห์ธรรมที่เป็นฝ่าย อกุศล โดยส่วนเดียว หมวดหนึ่ง

๒. มิสสกสังคหะ
การแสดงสงเคราะห์ธรรมที่เป็น กุศล อกุศล อพยากตะ ทั้ง ๓ ปนกันหมวดหนึ่ง

๓. โพธิปักขิยสังคหะ
การแสดงสงเคราะห์ธรรมที่เป็นฝ่าย มรรคญาณ หมวดหนึ่ง

๔. สัพพสังคหะ
การแสดงสงเคราะห์ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นวัตถุธรรมทั้งหมด รวมกัน หมวดหนึ่ง


ต่อไปนี้จะให้แสดงสมุจจยสังคหะทั้ง ๔ หมวด ไปตามลําดับดังนี้


อกุศลสังคหะ

ในอกุศลสังคหะนี มีธรรมอยู่ ๙ หมวด คือ ๑. อาสวะ ๒. โอฆะ ๓. โยคะ ๔. คันถะ ๕. อุปาทาน ๖. นิวรณะ ๗. อนุสัย ๘. สังโยชน์ ๙. กิเลส

๑. อาสวะ มี ๔ คือ

๑. กามาสวะ
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องไหลอยู่ในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. ภวาสวะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องไหลอยู่ในรูปภพ อรูปภพ หรือรูป ฌาน อรูปฌาน องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๓. ทิฏฐาสวะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องไหลอยู่ในความเห็นผิด องค์ธรรม ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อวิชชาสวะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องไหลอยู่ในความหลง ความโง่ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๒. โอฆะ มี ๔ คือ

๑. กาโมฆะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องทําให้สัตว์จมอยู่ในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. ภโวมะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องทําให้สัตว์จมอยู่ใน รูปภพ อรูปภพ หรือ รูปฌาน อรูปฌาน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๓. ทิฏโฐมะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องทําให้สัตว์จมอยู่ใน ความเห็นผิด องค์ธรรม ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อวิชโชมะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องทําให้สัตว์จมอยู่ใน ความหลง ความโง่ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๓. โยคะ มี ๔ คือ

๑. กามโยคะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในกามคุณ อารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลกมูลจิต ๘

๒. ภวโยกะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ใน รูปภพ อรูปภพ หรือรูปฌาน อรูปฌาน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิก วิปปยุตตจิต ๔

๓. ทิฏฐิโยคะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ใน ความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อวิชชาโยคะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในความหลง ความโง่ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๔. คันถะ มี ๔ คือ

๑. อภิชฌากายคันถะ
ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกายรูปกายไว้โดย อาการผูกพันอยู่ในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. พยาปาทกายคันถะ
ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกายรูปกายไว้ โดยอาการโกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกาย รูปกาย ไว้โดยอาการยึดถือในการปฏิบัติที่ผิดองค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อิทังสัจจภินิเวสกายคันถะ ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกาย รูปกายไว้โดยอาการยึดมั่นในความเห็นผิดของตนว่าถูก ความเห็นของคนอื่นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิ เจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๕. อุปาทาน มี ๔ คือ

๑. กามุปาทาน
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องยึดมั่นในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลกมูลจิต ๘

๒. ทิฏปาทาน
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องยึดมั่นในความเห็นผิด ที่นอกจากสีลัพพตปรามาสทิฏฐิ และ อัตตวาททิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๓. สีลัพพตปาทาน
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องยึดมั่นในการปฏิบัติผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อัตตวาทุปาทาน
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องยึดมั่นในรูปนาม ขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวเป็นตน องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคสัมปยุตตจิต ๔

๖. นีวรณะ มี ๖ คือ

๑. กามัจฉันทนิวรณะ
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความพอใจใน กามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. พยาปาทนิวรณะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องกั้นความดี คือ ความโกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๓. ถีนมิทธนีวรณะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องกั้นความดี คือ ความหดหูท้อถอยอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ถีนะและมิทธเจตสิก ที่ใน อกุศลสสังขารึกจิต ๕

๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องกั้นความดี คือ ความฟุ้งซ่าน รําคาญใจ องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒ และกุกกุจจเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๕. วิจิกิจจา วรณะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องกั้นความดี คือ ความสงสัย ลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑

๖. อวิชชา วรณะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องกั้นความดี คือ ความหลง ความโง่ ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๗. อนุสัย มี ๒ คือ

๑. กามราคานุสัย
ธรรมชาติที่ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือ ความติดใจ ในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. ภวราคานุสัย
ธรรมชาติที่ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือ ความติดใจ ในรูปภพ อรูปภพ หรือรูปฌาน อรูปฌาน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๓. ปฏิฆานุสัย
ธรรมชาติที่ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือ ความโกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๔. มานานุสัย
ธรรมชาติที่ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือ ความเย่อ หยิ่งถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๕. ทิฏฐานุสัย
ธรรมชาติที่ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือ ความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๖. วิจิกิจฉานุสัย
ธรรมชาติที่ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือ ความสงสัย ลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาลัมปยุตตจิต ๑

๗. อวิชชานุสัย
ธรรมชาติที่ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือ ความหลง ความโง่ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริงองค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๘. สังโยชน์ มี ๑๐ (ตามนัยพระสูตร) คือ

๑. กามราคสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. รูปราคสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่ติดอยู่ในรูปภพ หรือรูปฌาน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๓. อรูปราคสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่ ติดอยู่ใน อรูปภพ หรืออรูปฌาน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิควิปปยุตตจิต ๔

๔. ปฏิฆสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่โกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๕. มานสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่เย่อหยิ่งถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๖. ทิฏฐิสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่มีความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่ปฏิบัติผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคสัมปยุตตจิต ๔

๘. วิจิกิจจาสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่สงสัยลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑

๙. อุทธัจจสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่ ฟุ้งซ่าน องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๑๐. อวิชชาสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่หลงโง่ ไม่รู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

สังโยชน์ มี ๑๐ (ตามนัยพระอภิธรรม) คือ

๑. กามราคสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่ติดอยู่ใน กามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. ภวราคสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่ ติดอยู่ ใน รูปภพ อรูปภพ หรือรูปฌาน อรูปฌาน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๓.ปฏิฆสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่โกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๔. มานสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่เย่อหยิ่งถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๕. ทิฏฐิสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่มีความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่ปฏิบัติผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๗. วิจิกิจฉาสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่สงสัยลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑

๘. อิสสาสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่อิสสา ในคุณงามความดีของผู้อื่น องค์ธรรมได้แก่ อิสสาเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๙. มัจฉริยสังโยชน์
ธรรมชาติที่ ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่ตระหนี่ หวงแหนในสมบัติ หรือคุณความดีของตน องค์ธรรมได้แก่ มัจฉริยเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๑๐. อวิชชาสังโยชน์
ธรรมชาติที่ผูกดึงสัตว์ไว้โดยอาการที่หลงโง่ไม่รู้ ตามความเป็นจริง องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๙. กิเลส มี ๑๐ คือ

๑. โลภะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความยินดีพอใจในโลกียอารมณ์ต่างๆ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘

๒. โทสะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือความโกรธ ความไม่พอใจ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒

๓. โมหะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความหลง ความโง่ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๔. มานะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความเย่อหยิ่งถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๕. ทิฏฐิ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความเห็นผิด องค์ธรรม ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๖. วิจิกิจจา
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความสงสัยลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาสัมมปยุตตจิต ๑

๗. ถีนะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความหดหู่ องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ใน อกุศลสสังขาริกจิต ๕

๘. อุทธัจจะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความฟุ้งซ่าน องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๙. อหิริกะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่ละอายต่อ ทุจริต องค์ธรรมได้แก่ อหิรีกเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๑๐. อโนตตัปปะ
ธรรมชาติที่เป็น เครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่สะดุ้งกลัว ต่อทุจริต องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒


คําอธิบายในอกุศลสังคหะ

หมวดที่สงเคราะห์สภาวธรรมต่างๆ มี โอฆะ ๔ เป็นต้น ที่เป็นอกุศลชาติล้วนๆ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลสังคหะ

๑. อาสวะ

สิ่งใดถูกหมักดองอยู่นาน ๆ สิ่งนั้น ชื่อว่า อาสวะ (ได้แก่ สุรา) ธรรมเหล่าใด มีสภาพเหมือนสุรา ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อาสวะ (ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ)

หมายความว่า ความเป็นอยู่แห่ง รูป นาม ขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลาย คนหนึ่ง ๆ ที่เกิด แล้วตาย ตายแล้วเกิด เป็นอยู่เช่นนี้ ที่แล้วๆ มาจนถึงปัจจุบันภพนี้ ก็นับเป็นเวลานานจนกําหนดไม่ได้ และต่อไปข้างหน้าก็จะต้องตายเกิด ๆ อย่างนี้อีก กําหนดนับไม่ได้เช่นเดียวกัน

ธรรมเหล่าใด ทําให้วัฏฏทุกข์ที่ยาวนานนั้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อาสวะ (ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ)

ตามธรรมดา โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ทั้ง ๓ นี้ เกิดขึ้นโดยอาศัยโลกียธรรม และบัญญัติธรรมอยู่แล้ว ฉะนั้น ที่แสดงว่าเกิดได้จนถึงภวัดคภูมิ หรือโคตรภูนั้น ไม่มีเนื้อความพิเศษอย่างใด หมายความว่า เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิก็ดี โคตรภูญาณ หรือ โวทานก็ดี เหล่านี้ ยังเป็นโลกียธรรมอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอารมณ์ของ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า โลภะ ทิฏฐิ โมหะ อาสวธรรมทั้ง ๓ นี้ เกิดได้หรือ ไหลไปได้ จนถึงภวัดคภูมิ หรือโคตรภู

๒. โอฆะ

คําว่า โอฆะ ในที่นี้หมายความว่า ธรรมที่เหมือนกับห้วงน้ํา ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ อกุศลเจตสิก ๓ ดวงนี้ เป็นธรรมที่เหมือนห้วงน้ำนั้น เพราะเหตุไร? เพราะ ว่าตามธรรมดาห้วงน้ำนั้น เมื่อวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือสัตว์ใด ตกลงในห้วงน้ําแล้ว น้ำนั้นย่อมท่วมทับเบียดเบียนวัตถุหรือสัตว์นั้นๆ และทําให้วัตถุหรือสัตว์ทั้งหลายนั้นจมลง ไม่มีโอกาสจะโผล่ขึ้นมาได้เลย สภาพของโลภะ ทิฏฐิ โมหะ ทั้ง ๓ นี้ก็เช่น เดียวกัน คือ ท่วมทับสัตว์ทั้งหลายอยู่ และทําให้สัตว์ทั้งหลายนั้นจมลงในวัฏฏสงสาร จนถึงอบายภูมิ โดยไม่ให้มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นจากวัฏฏสงสาร ให้เข้าถึงพระนิพพา ได้ ด้วยเหตุนี้ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ทั้ง ๓ นี้เท่านั้น ชื่อว่า โอฆะ อกุศลเจตสิกอื่น ๆ ไม่ชื่อว่า โอฆะ ก็เป็นไปโดยท่านองเดียวกันกับ อาสวะ

ธรรมชาติใด ย่อมท่วมทับเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า โอฆะ (ได้แก่ ห้วงนํ้า) (หรือ)
ธรรมชาติใด ทําให้สัตว์ทั้งหลายจมลง ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าโอฆะ (ได้แก่ห้วงน้ํา) (หรือ)
ธรรมเหล่าใด ท่วมทับเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย และทําให้สัตว์ทั้งหลายจมลงใน วัฏฏสงสารจนถึงอบายภูมิ เหมือนกับห้วงน้ํา ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า โอฆะ (ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ)

๓. โยคะ
คําว่า โยคะ แปลว่า ประกอบ เหมือนกับกาวที่ประกอบของ ๒ สิ่งให้ติดแน่น ไม่ให้หลุดออกจากกัน ฉันใด โลภะ ทิฏฐะ โมหะ ก็ฉันนั้น คือ ประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์ ไม่ให้หลุดพ้นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว การเปรียบได้กับโลภะ ทิฏฐิ โมหะ วัตถุสิ่งของ ๒ สิ่ง สิ่งหนึ่งเปรียบได้กับสัตว์ทั้งหลาย อีกสิ่งหนึ่งเปรียบได้กับภพชาติต่างๆ คือ วัฏฏทุกข์ นั้นเอง

หรือ อุปมาอีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนวัวที่ถูกนํามาผูกเทียมเกวียนไว้ เมื่อวัวนั้น จะเดินไปในทางไหนก็ต้องลากเอาเกวียนติดไปด้วยเสมอ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที วนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์ หลุดพ้นไปไม่ได้เพราะถูกประกอบด้วย โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ก็ ฉันนั้น เมื่อเปรียบเทียบแล้ว วัวเปรียบได้กับสัตว์ทั้งหลาย เกวียน เปรียบได้กับ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ซึ่งเป็นวัฏฏทุกข์ เชือก ที่ผูกวัวให้ติดอยู่กับเกวียน เปรียบได้ กับ โลภะ ทิฏฐะ โมหะ

ตามข้ออุปมาที่กล่าวมานี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏทุกข์ไม่พ้นไปได้นั้น ก็ด้วยอํานาจของโลภะ ทิฏฐิ โมหะ นี้เอง เป็นผู้ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแสดง โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ทั้ง ๓ นี้ ว่าเป็น โยคะ ส่วนอกุศลเจตสิกอื่น ๆ ที่ไม่ได้ชื่อว่า โยคะ นั้น ก็มีข้อความทํานองเดียวกันกับ อาสวะ ที่กล่าวมาแล้ว

ธรรมเหล่าใด ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์ คือ ภพต่าง ๆ ฉะนั้น ธรรม เหล่านั้น ชื่อว่า โยคะ (ได้แก่ โลภะ ทิฏฐะ โมหะ)

๔. คันถะ
คําว่า คันถะ หมายถึง เครื่องผูกสัตว์ไว้โดยอาการที่เกี่ยวคล้องกัน ประดุจโซ่เหล็ก ธรรมดาโซ่เหลีกนั้น เป็นห่วงเกี่ยวคล้องโยงติดต่อกันเป็นสายยืดยาว ฉันใด โลภะ โทสะ ทิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ ย่อมเกี่ยวคล้องสัตว์ไว้ในระหว่างจุติกับปฏิสนธิ แล ปฏิสนธิกับจุติติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ไม่มีเวลาหลุดพ้นไปได้ เหมือนดังห่วงโซ่เกี่ยวคล้องติดต่อกัน ฉันนั้น ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนา โลภะ โทสะ ทิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ ว่าเป็น คันถะ แต่ในคันถะนี้ มีคําว่า กายะ ประกอบอยู่ด้วย นี้ก็เพื่อจะให้รู้ ถึงธรรมที่ถูกเกี่ยวคล้องไว้โดย โลภะ โทสะ ทิฏฐิ นั้นว่า คือ นามกาย รูปกาย อันได้แก่ สัตว์ทั้งหลายนั้นเอง

ธรรมเหล่าใด ผูก คือ เกี่ยวคล้องไว้ซึ่งนามกาย ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กายคันถะ (หรือ) ธรรมเหล่าใด ผูก คือ เกี่ยวคล้องไว้ระหว่าง นามกายรูปกายในปัจจุบันภพ กับ นามกายรูปกายในอนาคตภพ ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กายคันถะ

๕. อุปาทาน
คําว่า อุปาทาน เมื่อแยกบทออกแล้วได้ ๒ บท คือ อุป + อาทาน อุป หมายถึง มั่น อาทาน หมายถึง ยึด เมื่อรวม ๒ บท เข้าด้วยกันแล้ว หมายถึง การยึดมั่นในอารมณ์ ธรรมที่ยึดมั่นในอารมณ์ ที่เรียกว่า อุปาทาน นี้ เปรียบเสมือนหนึ่ง งูที่จับกบได้ กัดกบนั้นไว้แน่น ไม่ยอมปล่อย ฉันใด โลภะ ทิฏฐิ ทั้ง ๒ ที่มีสภาพ ยึดมั่นในอารมณ์ของตนๆ ไม่ยอมปล่อย ก็ฉันนั้น

ธรรมเหล่าใด ย่อมยึดมั่นในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อุปาทาน

๖. นิวรณะ
คําว่า นีวรณะ นี้ หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องห้าม หรือ กั้นความดี คือกุศลธรรมต่างๆ ไม่ให้เกิด และกุศลบางอย่าง เช่น ฌานที่เกิดอยู่แล้ว ทําให้เสื่อมสิ้นไปได้

ตามธรรมดาบุคคลทั้งหลายนั้น ย่อมไม่ยินดีในการบําเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เป็นส่วนมาก ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะด้วยอํานาจแห่งนีวรณธรรม อันได้แก่ โลภะ โทสะ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา โมหะ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ๒, ๓, ๔ นั้น เอง หรือบางทีขณะที่กําลังทํากุศลอยู่นั้น ก็เกิดความท้อถอย เบื่อหน่าย ไม่พอใจ เกิด ขึ้นได้ ทําให้ศรัทธาสติปัญญาถอยเสื่อมสิ้นไป นี้ก็เป็น เพราะอํานาจแห่งถิ่นมิทธ นีวรณ์เกิดขึ้น กั้นความดี คือ ศรัทธา เป็นต้น นั้นเสีย และหากว่ากามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ชนิดหยาบเกิดขึ้นแก่ฌานลาภีบุคคลแล้ว ก็ทําให้ฌานที่ได้อยู่นั้น เสื่อมสิ้นไป ไม่สามารถจะเข้าฌานได้

จะยกตัวอย่างขึ้นแสดงให้เห็นง่ายๆ ว่า ผู้ที่ไม่มีความเลื่อมใสในเรื่องของพุทธ ศาสนา แต่เผอิญได้ไปฟังเขาแสดงถึงเรื่องกรรม ที่มีหน้าที่จัดแจงให้สัตว์ทั้งหลาย มีความสุข ความทุกข์ หรือเมื่อตายแล้วก็ให้เกิดเป็นเทวดาบ้าง มนุษย์บ้าง สัตว์ ดิรัจฉานบ้าง ไปตกนรกบ้าง มีการยกเหตุผล อุปมา อุปมัย เปรียบเทียบพร้อมด้วย หลักฐาน พุทธภาษิตและอรรถกถา ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่มีนิวรณ์ครอบงําอยู่ได้ฟังแล้ว ก็ย่อม จะต้องเกิดความเลื่อมใสขึ้น พยายามตั้งอกตั้งใจฟัง และจดจ่าเนื้อความนั้นไว้ มีจิตใจ ไม่วอกแวก และก็เข้าใจในเนื้อความนั้นไปด้วย ซึ่งเป็นกุศลธรรม อันได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้น

แต่ผู้ที่ไม่มีความเลื่อมใสในเรื่องของพุทธศาสนา ที่กําลังฟังเรื่องนี้อยู่นั้น ย่อม เกิดความลังเล สงสัย ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปตามนั้นได้ เพราะผู้นั้นไม่มีความเข้าใจใน เรื่องความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปตามอํานาจของกรรม เมื่อไม่มีความเข้าใจ แล้ว ก็เกิดการเบื่อหน่าย ไม่อยากฟัง จิตใจย่อมสายหาอารมณ์อื่น ที่จะทําให้เกิดความ เพลิดเพลินขึ้นแทน เมื่อหาไม่ได้ เพราะในที่นั้นมีแต่การแสดงธรรมเท่านั้น แล้วก็เกิด ความไม่พอใจ นึกไปว่าเรามาในสถานที่นี้ผิดไปแล้ว ในขณะเดียวกันนั้น จิตใจของ ผู้นั้นก็คิดถึงเรื่องราวอื่นๆ ร้อยแปด ไม่ได้ตั้งใจฟังเรื่องที่กําลังแสดงอยู่เลย จนกระทั่งการแสดงจบลง โดยที่ผู้นั้นไม่มีกุศลเกิดขึ้นเลย มีแต่นิวรณ์เกิดฝ่ายเดียว คือ ในตอนแรกวิจิกิจฉาน่ารณ์เกิด ต่อมาอวิชชานีวรณ์เกิต และต่อมาถีนมิทธนิวรณ์ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ กุกกุจจนีวรณ์ อุทธังจนีวรณ์เกิด เป็นบาดับมา

ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาแสดงนี้ แสดงให้เห็นว่ากุศลธรรมที่ควรจะเกิด ก็ไม่มีโอกาสเกิดเพราะ โลภะ เป็นต้นนั้นเอง ที่เป็นเครื่องกั้นกุศลธรรมไว้ ฉะนั้น โลภะ เป็นต้นเหล่านี้ จึงได้ชื่อว่า นีวร

ธรรมเหล่าใด ห้ามความดี มี ฌาน เป็นต้น ไม่ให้เกิดขึ้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า นิวรณ์

๒. อนุสัย
อนุสัยนี้ เป็นกิเลสชนิดหนึ่งที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย และเป็นธรรมที่เร้นลับ ไม่มีใครสามารถมองเห็นได้ ยกเว้นแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เดียวเท่านั้น ตามปกติอนุสัยกิเลสนี้ สงบนิ่ง ไม่ปรากฏออกมาโดยทางหนึ่งทางใดเลย ต่อมาเมื่อมีอารมณ์ต่าง ๆ ที่ดีก็ตามไม่ดีก็ตาม มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว อนุสัยกิเลสที่สงบอยู่นั้น ก็เปลี่ยนสภาพเป็นปริยุฏฐานกิเลสปรากฏเกิดขึ้นทางใจ ถ้าปริฏฐานกิเลสนี้มีกําลังแรงมาก ก็เปลี่ยนสภาพเป็นวีติกกมกิเลส ล่วงออกมาทางกายและวาจา ปริฏฐานกิเลสที่เกิดขึ้นทางใจก็ดี วีติกกมกิเลสที่เกิดทาง กาย วาจา ก็ดี ทั้ง ๒ นี้ไม่เรียกว่า อนุสัยกิเลส แต่ปริยุฏฐานกิเลส ก็เกิดมาจากอนุสัยกิเลส และวีตกกมกิเลสก็เกิดมาจากปริฏฐานกิเลส ด้วยเหตุนี้ คําว่า อนุสัย จึงเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ที่สงบนิ่งอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย

ธรรมเหล่าใด ย่อมนอนเนื่องอยู่ในความสืบต่อแห่งรูป นาม ฉะนั้น ธรรมเหล่า นั้นชื่อว่า อนุสัย หรืออีกนัยหนึ่ง

ธรรมเหล่าใด เมื่อได้เหตุที่สมควรแล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนุสัย

ถ้าจะอุปมาเปรียบเทียบระหว่าง อนุสัยกิเลส ปริฏฐานกิเลส และ วีติกกม กิเลส ทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว ก็เปรียบเหมือนกับ ไม้ขีดไฟ อนุสัยกิเลส เปรียบเหมือนไฟ ที่อยู่ในหัวไม้ขีด อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เปรียบเหมือน เอาก้านไม้ขีดไปขีดที่ข้างกล่อง เมื่อไฟปรากฏขึ้น ไฟนี้เปรียบเหมือนปริยฏฐานกิเลส และเมื่อเอาไฟที่ปรากฏขึ้นนี้ ไปจุดเข้ากับวัตถุ สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ไฟที่ลุกติดวัตถุ นั้นๆ เปรียบเหมือน วีติกามกิเลส ดังนี้

การประหาณกิเลสทั้ง ๓ โดย ศีล สมาธิ ปัญญา
๑. ศีลกุศล สามารถประหาณ วี กามกิเลส ได้
๒. สมาธิกุศล สามารถประหาณ ปริฏฐานกิเลส ไต้
๓. ปัญญาในมรรค สามารถประหาณ อนุสัยกิเลส ได้

๘. สังโยชน์
คําว่า สังโยชน์ หมายถึง ธรรมชาติที่ผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ไม่ให้ออกไป จากวัฏฏทุกข์ได้ เหมือนหนึ่งเชือกที่ผูกโยงสัตว์ หรือ วัตถุสิ่งของไว้ไม่ให้หลุดไป

ธรรมเหล่าใด ย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังโยชน์ ตามธรรมดาในสันดานของปุถุชนทั้งหลายนั้นย่อมมีธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เปรียบ เสมือนเส้นเชือกใหญ่ ๑๐ เส้นด้วยกัน ซึ่งทําการผูกมัดสัตว์ทั้งหลายไว้ ไม่ให้หลุด พ้นไปจากกองทุกข์ได้ เชือก ๑๐ เส้นเหล่านี้ ได้แก่ สังโยชน์นั้นเอง และในบรรดา เชือก คือสังโยชน์ทั้ง ๑๐ เส้นเหล่านี้ ถ้าหากว่าเส้นหนึ่งเส้นใดมีอาการตึงขึ้นแล้ว สังโยชน์เส้นนั้นก็จะนําสัตว์นั้น ให้ไปเกิดในภูมิที่เกี่ยวกับสังโยชน์นั้นๆ โดยอาศัย กรรมที่สัตว์นั้นๆ กระทําขึ้น

การจําแนกสังโยชน์ ๑๐
โดย โอรัมภาคิยะและอุทธัมภาคิยะ

๑. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องต่ํา ได้แก่ กามภูมิ มี ๕ คือ

๑. กามราคสังโยชน์
๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. ทิฏฐิสังโยชน์
๔. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์

๒. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องสูง ได้แก่ รูปภูมิ อรูปภูมิ มี ๕ คือ

๑. รูปราคสังโยชน์
๒. อรูปราคสังโยชน์
๓. มานสังโยชน์
๔. อุทธัจจสังโยชน์
๕. อวิชชาสังโยชน์

๙. กิเลส

ค่าว่า กิเลส หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทําให้เศร้าหมอง หรือ เร่าร้อน ฉะนั้น จิต เจตสิก รูป ที่เกิดพร้อมกับกิเลสเหล่านั้น จึงมีความเศร้าหมองเร่าร้อนไปด้วย เพราะตามธรรมดาจิตใจ และกริยาอาการของบุคคลทั้งหลายนั้น ถ้าไม่ได้เกิด เกี่ยวข้องกับ โลภะ โทสะ เป็นต้น แล้ว บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกว่าจิตใจสบาย รูปร่าง หน้าตาผ่องใส ไม่มีความเดือดร้อนแต่ประการใด เป็นที่สบายตา สบายใจแก่ผู้ที่ได้พบ เห็น แต่ถ้าจิตใจของผู้ใดเกิดขึ้นโดยมีโลภะ โทสะ เป็นต้น เข้าเกี่ยวข้องผูกพันด้วยแล้ว จิตใจของผู้นั้นก็จะมีความเศร้าหมองเดือดร้อน รูปร่างหน้าตาไม่ผ่องใสปรากฏขึ้น แล้วแต่กําลังของกิเลสนั้น ๆ และย่อมเป็นที่ไม่สบายตาสบายใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงเรียก โลภะ โทสะ เป็นต้น เหล่านี้ว่า กิเลส

ธรรมชาติใด ย่อมท่าให้เร่าร้อน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กิเลส หรือ สัมปยุตตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมองด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้น ธรรมชาติที่ เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรมนั้น จึงชื่อว่า กิเลส (ได้แก่ กิเลส ๑๐)

กิเลส โดยพิสดาร ๑,๕๐๐

อารมณ์ที่เป็นเหตุให้กิเลส ๑๐ เกิดขึ้นได้นั้น มี ๑๕๐ คือ

- นามเตปัญญาสะ คือ นามธรรม ๕๓ นิปผันนรูป ๑๘ ลักขณรูป ๔ รวมเป็น ๗๕
- ใน อัชฌัตตสันดาน คือ ภายในตัวเรา มี ๗๕

- ใน พริทธสันดาน คือ สิ่งที่มีชีวิต และ ไม่มีชีวิต ที่อยู่ภายนอกตัวเรา มี ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐ อารมณ์ ๑๕๐ x กิเลส ๑๐ คงเป็นกิเลส ๑,๕๐๐

จบ อกุศลสังคหะ


มิสสกสังคหะ

การแสดงสงเคราะห์ธรรมที่เป็น กุศล อกุศล อพยากตะ ทั้ง ๓ ปนกัน

ในมิสสกสังคหะนี้ มีธรรมอยู่ ๗ หมวด คือ ๑. เหตุ ๒. ฌานังคะ ๓. มัคคังคะ ๔. อินทรีย์ ๕. พละ ๖. อธิบดี ๗. อาหาร

ว่าโดยประเภทมี ๖๔ ประเภท ดังจะแสดงตามลําดับต่อไปนี้

๑. เหตุ มี ๖ คือ

๑.โลภเหตุ ควาามอยากได้ เป็นเครื่องให้รูปนามที่เกิดพร้อมกันกับ ตนตั้งมั่น และเจริญขึ้นได้ในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘
๒. โทสเหตุ ความโกรธ เป็นเครื่องให้รูปนามที่เกิดพร้อมกันกับตนตั้ง มั่น และเจริญขึ้นได้ในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒
๓. โมหเหตุ ความหลง เป็นเครื่องให้รูปนามที่เกิดพร้อมกันกับตน ตั้งมั่น และเจริญขึ้นได้ในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ใน อกุศลจิต ๑๒
๔. อโลภเหตุ ความไม่ติดใจในกามคุณอารมณ์ เป็นเครื่องให้รูปนามที่ เกิดพร้อมกันกับตนตั้งมั่น และเจริญขึ้นได้ในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๔ หรือ ๕๑
๕. อโทสเหตุ ความไม่โกรธ เป็นเครื่องให้รูปนามที่เกิดพร้อมกันกับตนตั้งมั่น และเจริญขึ้นได้ในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๖. อโมหเหตุ ความไม่หลง เป็นเครื่องให้รูปนามที่เกิดพร้อมกันกับ ตนตั้งมั่น และเจริญขึ้นได้ในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙

๒. ฌานังกะ มี ๗ คือ

๑. วิตก ธรรมชาติที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นเครื่องเพ่งอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ใน กามจิต ๔๔ ปฐม- ฌานจิต ๑๑
๒. วิจาร ธรรมชาติที่เคล้าคลึงอารมณ์ เป็นเครื่องเพ่งอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วิจารเจตสิก ที่ใน กามจิต ๔๔ ปฐม- ฌานจิต ๑๑ ทุติยฌานจิต ๑๑
๓. ปีติ ธรรมชาติที่มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์ เป็นเครื่องเพ่ง อารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ใน กามโสมนัส ๑๘ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌานจิต ๑๑ ตติยฌานจิต ๑๑
๔. เอกัคคตา ธรรมชาติที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว เป็นเครื่องเพ่งอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน จิต ๑๑๑ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐)
๕. โสมนัส ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์เป็นสุขใจ เป็นเครื่องเพ่ง อารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โสมนัสสหคตจิต ๖๒
๖. โทมนัส ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์เป็นทุกข์ใจ เป็นเครื่องเพ่งอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒
๗. อุเบกขา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์เป็นกลาง เป็นเครื่องเพ่งอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน อุเบกขาสหคตจิต ๔๗ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณอุเบกขา ๘)

๓. มัคคังคะ มี ๑๒ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิและพระนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ เป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิและพระนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ใน กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑
๓. สัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ เป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิและพระ นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๔๐
๔. สัมมากัมมันตะ การทําการงานชอบ เป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิ และพระ นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตะเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๔๐
๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบเป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิและพระนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๔๐
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ เป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิและพระนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ เป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิและพระนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นชอบ เป็นหนทางให้ถึงสุคติภูมิและพระนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๙. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นทางให้ถึงทุคติภูมิ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๑๐. มิจฉาสังกัปปะ ความดําริผิด เป็นหนทางให้ถึงทุคติภูมิ องค์ธรรม ได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒
๑๓. มิจฉาวายามะ ความเพียรผิด เป็นหนทางให้ถึงทุคติภูมิ องค์ธรรม ได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒
๑๒. มิจฉาสมาธิ ความตั้งมั่นผิด เป็นหนทางให้ถึงทุคติภูมิ องค์ธรรม ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๑ (เว้น วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑)

๔. อินทรีย์ มี ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองใน การเห็น องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองใน การได้ยิน องค์ธรรมได้แก่ โสตปลาท
๓. ฆานินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองใน การรู้กลิ่น องค์ธรรมได้แก่ ฆานปลาท
๔. ชิวหินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองใน การรู้รส องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองใน การสัมผัส องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖. อิตถินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นหญิง องค์ธรรม ได้แก่ อิตถีภาวรูป
๗. ปุริสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นชาย องค์ธรรม ได้แก่ ปุริสภาวรูป
๘. ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรักษารูป และนาม องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป และ ชีวิตินทรีย์เจตสิก
๙. มนินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรับอารมณ์ องค์ธรรม ได้แก่ จิตทั้งหมด
๑๐. สุขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขกาย องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน สุข หอตกาย วิญญาณจิต ๑
๑๑. ทุกบินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์กาย องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน ทุกขสหคตกาย วิญญาณจิต ๑
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขใจ องค์ ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โสมนัสสหคจิต ๖๒
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์ใจ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒
๑๔. อุเปกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยอารมณ์เป็น กลาง องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน อุเบกขาสหคตจิต ๕๕
๑๕. สัทธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๑๖. วีริยินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเพียร องค์ธรรม ได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ใน วีริยสัมปยุตตจิต ๑๐๕
๑๗. สตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการระลึกชอบ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๑๘. สมาธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่น ในอารมณ์อันเดียว องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน จิต ๗๒ (เว้น อริยจิต ๑๖ วิจิกิจฉาสมปยุตตจิต ๑)
๑๙. ปัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๒๐. อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในในการรู้แจ้ง อริยสัจจ์ ๔ ที่ตนไม่เคยรู้ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน โสดาปัตติมรรคจิต ๑
๒๑. อัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้ง อริยสัจจ์ ๔ ที่ตนเคยรู้ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มรรคจิตเบื้องบน ๓ และผลจิตเบื่องต่ำ ๓
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้ง อริยสัจจ์ ๔ สิ้นสุดแล้ว องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน อรหัตตผลจิต ๑

๕. พละ มี ๙ คือ

๑. สัทธาพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรม ได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๒. วิริยพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในความเพียร องค์ธรรมได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ใน วีริยสัมปยุตตจิต ๑๐๕
๓. สติพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในการระลึกชอบ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๔. สมาธิพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในการตั้งมั่นในอารมณ์อันเดียว องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน จิต ๑๐๔ (เว้น อวิริยจิต ๑๖ และวิจิกิจฉา สัมปยุตตจิต ๑)
๕. ปัญญาพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในการรู้ตามความเป็นจริง องค์ ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตจิต ๗๙
๖. หิริพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในความละอายต่อทุจริต องค์ธรรม ได้แก่ หิริเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๗. โอตตัปปพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในความสะดุ้งกลัวต่อทุจริต องค์ธรรมได้แก่ โอตตัปปเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๙๑
๘. อหิรีกพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในความไม่ละอายต่อทุจริต องค์ธรรมได้แก่ อหิรีกเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒
๙. อโนตตัปปพละ ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหวในความไม่สะดุ้งกลัวทุจริต องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

๖. อธิบดี มี ๔ คือ

๑. จันทาธิปติ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในความพอใจ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน ทวิเหตุกชวนะ ๑๘ ติเหตุกชวนะ ๓๔ หรือ ๖๖
๒. วิริยาธิปติ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในความเพียร องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน ทวิเหตุกชวนะ ๑๘ ติเหตุกชวนะ ๓๔ หรือ ๖๖
๓. จิตตาธิปติ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในการรับอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ทวิเหตุกชวนะ และ ติเหตุกชวนะ ๕๒ หรือ ๘๔
๔. วีมังสาธิปติ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งตามความเป็นจริงองค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนะ ๓๔ หรือ ๖๖

๗. อาหาร มี ๔ คือ

๑. กพฬีการาหาร ธรรมชาติที่เป็นผู้นําให้ อาหารชรูปเกิด องค์ธรรม ได้แก่ โอชา ที่อยู่ ในอาหารต่างๆ
๒. ผัสสาหาร ธรรมชาติที่เป็นผู้นําให้ เวทนาเกิด องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ใน จิตทั้งหมด
๓. มโนสัญเจตนาหาร ธรรมชาติที่เป็นผู้นําให้ วิปากวิญญาณมี ปฏิสนธิจิต เป็นต้นเกิด องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ใน จิต ทั้งหมด
๔. วิญญาณาหาร ธรรมชาติที่เป็นผู้นําให้ เจตสิกและกัมมชรูปเกิด องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด


โพธิปักขิยสังคหะ

การแสดงสงเคราะห์ธรรมที่เป็นฝ่ายมรรคญาณ

ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ มีธรรมอยู่ ๗ หมวด คือ ๑. สติปัฏฐาน ๒. สัมมัปปธาน ๓. อิทธิบาท ๔. อินทรีย์ ๕. พละ ๖. โพชฌงค์ ๗. มัคคังคะ ว่าโดยประเภท มี ๓๗ ประการ ดังจะแสดงตามลําดับต่อไปนี้

๑. สติปัฏฐาน มี ๔ คือ

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนืองๆ ซึ่ง กาย คือ รูปขันธ์ มี ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถ ใหญ่ อิริยาบถน้อย เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนืองๆ ซึ่ง เวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิตมี โลภจิต อโลภจิต โทสจิต อโทสจิต โมหจิต อโมหจิต เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนืองๆ ซึ่งสภาพธรรมที่เป็นอยู่ โดยอาการที่ปราศจากตัวตน มีสภาพของ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖

๒. สัมมัปปธาน มี ๔ คือ

๑. อุปปันนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม ความพยายามเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ใน กุศลจิต ๒๑
๒. อนุปปนนานํ ปาปกานํ อนุปปาทาย วายาโม ความพยายามเพื่อให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดนั้นไม่ให้เกิดขึ้น องค์ธรรม ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุศลจิต ๒๑
๓. อนุปปันนานํ กุสลานํ อุปปาทาย วายาโม ความพยายามเพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น วีริยเจตสิก ที่ใน กุศลจิต ๒๑
๔. อุปปันนานํ กุสลานํ ภิยโยภาวาย วายาโม องค์ธรรมได้แก่ ความพยายามเพื่อให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป องค์ธรรม ได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ใน กุศลจิต ๒๑

๓. อิทธิบาท มี ๔ คือ

๑. นันทิทธิบาท ความพอใจอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื้องต้นแห่งความสําเร็จ ฌาน มรรค ผล องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน กุศลจิต ๒๑
๒. วิริยิทธิบาท ความพยายามอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื่องต้นแห่งความสําเร็จ ฌาน มรรค ผล องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุศลจิต ๒
๓. จิตติทธิบาท ความตั้งใจอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื้องต้นแห่งความสําเร็จ ฌาน มรรค ผล องค์ธรรมได้แก่ กุศลจิต ๒๔
๔. วีมังสิทธิบาท ปัญญาอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื้องต้นแห่งความสําเร็จ ฌาน มรรค ผล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน กุศลญาณ สัมปยุตตจิต ๑๗

๔. อินทรีย์ มี ๕ คือ

๑. สัทธินทรีย์ ศรัทธา เป็นผู้ปกครองในความเลื่อมใสต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๒. วีริยินทรีย์ วิริยะ เป็นผู้ปกครองในความพยายามต่อสิ่งที่ควร องค์ ธรรมได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๓. สตินทรีย์ สติ เป็นผู้ปกครองในการระลึกถึงต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๔. สมาธินทรีย์ สมาธิ เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่ควร องค์ ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๕. ปัญญินทรีย์ ปัญญา เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ อัปปนาชวนะ ๒๖

๕. พละ มี ๕ คือ

๑. สัทธาพละ ศรัทธา เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความเลื่อมใสต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๒. วิริยพละ วิริยะ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความพยายามต่อสิ่งที่ควร องค์ ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๓. สติพละ สติ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการระลึกถึงสิ่งที่ควร องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหาภริยาจิต อัปปนาชวนะ ๒๖
๔. สมาธิพละ สมาธิ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่ควร องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๕. ปัญญาพละ ปัญญา เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการรู้ตามความเป็นจริง องค์ ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ มหากริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ อัปปนาชวนะ ๒๖

๖. โพชฌงค์ มี ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจจ์ ๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การพิจารณาค้นคว้าในธรรมทั้งภายในภายนอกเป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจจ์ ๔ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ อัปปนาชวนะ ๒๖
๓. วีริยสัมโพชฌงค์ ความเพียร เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจจ์ ๔ องค์ ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ความอิ่มใจ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจจ์ ๔ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ใน มหากุศลโสมนัส ๔ มหากริยาโสมนัส ๔ สัปปีติกอัปปนาชวนะ ๓๐ หรือ รูปกุศล ๓ รูปกริยา ๓ โลกุตตรจิต ๘
๕. ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกาย สงบใจ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจจ์ ๔ องค์ธรรมได้แก่ กายปัสสิทธิเจตสิก จิตตปัสสัทธิเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความตั้งมั่นในอารมณ์ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจจ์ ๔ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ การทําให้สัมปยุตตธรรม มีความสม่ําเสมอ ในหน้าที่ของตนๆ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจจ์ ๔ องค์ธรรมได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖

๗. มัคคังคะ มี ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ อัปปนาชวนะ ๒๖
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ ปฐมฌานชวนะ ๑๐ หรือ รูปกุศล ๑ รูปกริยา ๑ โลกุตตรจิต ๘
๓. สัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘
๔. สัมมากัมมันตะ การทํางานชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิก ใน มหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘
๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๒. สัมมาสติ ความระลึกชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖
๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อัปปนาชวนะ ๒๖


สัพพสังคหะ

การแสดงสงเคราะห์ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นวัตถุธรรมทั้งหมดรวมกัน

ในสัพพสังคหะนี้ มีธรรมอยู่ ๕ หมวด คือ ๑. ขันธ์ ๓. อุปาทานักขันธ์ ๓. อายตนะ ๔. ธาตุ ๕. สัจจะ ว่าโดยประเภทมี ๓๙ (ไม่ต้องนับอุปทานักขันธ์โดยเฉพาะ) ดังจะแสดงตามลําดับต่อไปนี้

๑. ขันธ์ มี ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ กองรูป องค์ธรรมได้แก่ รูป ๒๘
๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา องค์ธรรมได้แก่ สัญญาเจตสิก ที่ใน จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้น เวทนาสัญญา) ที่ใน จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ตามสมควร
๕. วิญญาณขันธ์ กองจิต องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

๒. อุปาทานักขันธ์ มี ๕ คือ

๑. รูปุปาทานักขันธ์ กองรูป ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน องค์ธรรม ได้แก่ รูป ๒๘
๒. เวทนูปาทานักขันธ์ กองเวทนา ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน องค์ ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โลกียจิต ๘๑
๓. สัญญูปาทานักขันธ์ กองสัญญา ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน องค์ ธรรมได้แก่ สัญญาเจตสิก ที่ใน โลกียจิต ๘๑
๔. สังขารูปาทานักขันธ์ กองสังขาร ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน องค์ ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้น เวทนาสัญญา) ที่ใน โลกียจิต ๘๑
๕. วิญญาณูปาทานักขันธ์ กองจิต ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน องค์ธรรม ได้แก่ โลกียจิต ๘๑

๓. อายตนะ มี ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ จักขุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตายตนะ โสตะ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ โสตปลาท
๓. มานายตนะ มานะ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหายตนะ ชิวหา ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายายตนะ กายะ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖. รูปายตนะ รูปารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ สีต่าง ๆ
๗. สัททายตนะ สัททารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิด องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่าง ๆ
๘. คันธายตนะ คันธารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิด องค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๙. รสายตนะ รสารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ รสต่าง ๆ
๑๐. โผฏฐัพพายตนะ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้ จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่าง ๆ
๑๑. มนายตนะ จิต ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด
๑๒. ธัมมายตนะ สภาพธรรมต่างๆ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุ ให้จิต เจตสิก เกิด องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน

๔. ธาตุ มี ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ จักขุ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่รูปารมณ์ มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตธาตุ โสตะ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่สัททารมณ์ มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ โสตปลาท
๓. ฆานธาตุ มานะ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่คันธารมณ์ มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาธาตุ ชิวหา ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่รสารมณ์ มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายธาตุ กายะ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่ โผฏฐัพพารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่กายปสาท
๖. รูปธาตุ รูปารมณ์ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบ กับจักขุปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ สีต่างๆ
๗. สัททธาตุ สัททารมณ์ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่ง การกระทบกับโสตปสาทได้องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่าง ๆ
๘. คันธธาตุ คันธารมณ์ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการ กระทบกับฆานปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ กลิ่น ต่าง ๆ
๙. รสธาตุ รสารมณ์ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบ กับชิวหาปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ รสต่างๆ
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการ กระทบกับกาย องค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ
๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการเห็น องค์ธรรมได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒
๑๒. โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการได้ ยืน องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒
๑๓. มานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการ รู้กลิ่น องค์ธรรมได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒
๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการ รู้รส องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๑๕. กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการ รู้สัมผัส องค์ธรรมได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒
๑๖. มโนธาตุ จิต ๓ ดวง ชื่อว่า มโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่ง การรู้ปัญจารมณ์อย่างสามัญ องค์ธรรมได้แก่ ปัญจทวารวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒
๑๗. มโนวิญญาณธาตุ จิต ๗๖ ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะทรง ไว้ซึ่ง การรู้อารมณ์เป็นพิเศษ องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๗๖ (เว้น ทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓)
๑๘. ธัมมธาตุ สภาพธรรม ๖๙ ชื่อว่า ธัมมธาตุ เพราะทรงไว้ ซึ่งสภาวลักษณะของคนๆ องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน

๕. อริยสัจจะ มี ๔ คือ

๑. ทุกขสัจจะ ธรรมที่เป็นทุกข์เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้น โลกะ) รูป ๒๘
๒. สมุทยสัจจะ ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๓. นิโรธสัจจะ ธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริย เจ้าทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ นิพพาน
๔. มรรคสัจจะ ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ เป็นความจริงของ พระอริยเจ้าทั้งหลายองค์ธรรมได้แก่ มัคคังคเจตสิก ๘ ดวง มีปัญญาเจตสิก เป็นต้น ที่ในมรรคจิต ๔

ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว


พิมพ์