ปริยัติธรรม
พระอภิธรรมใครว่ายาก เล่ม ๑ ความจริงเป็นที่สุด ๔ ประการ เรียบเรียงโดย ดร. วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
หลังจากที่พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ พรรษา คําสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ทั้งหมดรวบรวมได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุคําสอนและเรื่องราวของพระพุทธศาสนาไว้ โดยละเอียด แบ่งออกเป็น ๓ ปิฎก หรือ ๓ หมวต คือ
- ๑. พระวินัยปิฎก
- ๒. พระสุตตันตปิฎก
- ๓. พระอภิธรรมปิฎก
พระวินัยปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระวินัย เป็นบทบัญญัติ ของพระพุทธองค์เกี่ยวกับศีลของภิกษุและภิกษุณี ตลอดจนพิธีกรรมและธรรมเนียมของสงฆ์รวมถึงพุทธประวัติบางตอนและประวัติการทําสังคายนา มีทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระสุตตันตปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระสูตร เป็นหมวตที่รวบรวมพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์และของพระอริยสาวกที่ตรัสไว้หรือ แสดงไว้แก่ภิกษุ ภิกษุณี พราหมณ์ กษัตริย์ คฤหบดี สามัญชน เหล่าเทวดา และเจ้าลัทธิทั้งหลาย ดังนั้นจึงมีเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคลที่แสดงธรรม เข้ามาเกี่ยวข้อง มีคําสอนทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวด ที่กล่าวถึงหลักธรรมล้วน ๆ มีคําสอนทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรมเปรียบเสมือนไวยากรณ์อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
ธรรมะส่วนใหญ่ที่ปรากฏในพระอภิธรรมแท้จริงแล้วก็เป็นธรรมะที่ปรากฏอยู่ในพระสูตร แต่ในพระอภิธรรมจะนําหลักธรรมะเหล่านั้นมาจัด เป็นหมวดหมู่ เป็นประเภทอย่างเป็นระบบ และขยายความให้สุขุมลุ่มลึก ยิ่งขึ้นไปอีก โดยตัดเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแสดงธรรมนั้นๆ ออกไปเพื่อให้เหลือแต่หลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของ ปรมัตถธรรมล้วน ๆ
เนื้อหาโดยละเอียดของพระอภิธรรมปิฎกมีมากถึง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ - ๔๕ รวม ๓๒ เล่ม) โดยแบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ คือ
- ๑. คัมภีร์ธัมมสังคณี (เล่มที่ ๓๔)
- ๒. คัมภีร์วิภังต์ (เล่มที่ ๓๕)
- ๓. คัมภีร์ธาตุกถา (เล่มที่ ๓๖)
- ๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ (เล่มที่ ๓๖)
- ๕. คัมภีร์กถาวัตถุ (เล่มที่ ๓๗)
- ๖. คัมภีร์ยมก (เล่มที่ ๓๘ - ๓๔)
- ๗. คัมภีร์ปัฏฐาน (เล่มที่ ๔๐ - ๔๕)
การศึกษาพระอภิธรรมปิฎกโดยตรงเป็นเรื่องยาก เพราะเนื้อหา ของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์จะกล่าวถึงธรรมะชั้นสูงที่มีความละเอียด ลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น ก่อนจะเข้าไปศึกษาพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ จึงจําเป็น ต้องปูพื้นด้วยคัมภีร์ชั้นอรรถกถาชื่อว่า “อภิธัมมัตถสังคหะ” เสียก่อน เช่นเดียวกับการจะเรียนคณิตศาสตร์ชั้นสูง เช่นวิชาแคลคูลัส ได้นั้นจะต้อง มีความรู้คณิตศาสตร์ชั้นต้นมาก่อน
คัมภีธ์อภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร และมาจากไหน?
ราวปี พ.ศ. ๑๕๐๐ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่ง นามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ซึ่งมาศึกษาพระอภิธรรม อยู่ที่สํานักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธปุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉาน และได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับ การขอร้องจากนัมพะอุบาสกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็น คัมภีร์ที่มีความละเอียดลึกซึ้งและยากแก่การทําความเข้าใจให้สั้นและง่าย เพื่อสะดวกแก่การศึกษาและจดจำ พระอนุรุทธาจารย์จึงได้เรียบเรียง พระอภิธรรมฉบับย่อนี้ขึ้นและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า “อภิธัมมัตถสังคหะ”
อภิธมฺมตุถสงฺคห แยกเป็น ๓ บท คือ
อภิธมฺม แปลว่า ธรรมอันยิ่งใหญ่ ธรรมอันวิเศษ ได้แก่ พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
อตฺถ แปลว่า เนื้อความ
สงฺคท แปลว่า โดยย่อ
อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความ ของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ไว้โดยย่อ ซึ่งเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉทมีเนื้อหา โดยสังเขปดังนี้
ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค (จิตปรมัตถ์) แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อและโดยพิสดารทําให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต
ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค (เจตสิกปรมัตถ์) กล่าวถึงองค์ประกอบของจิต หรือเครื่องปรุงแต่งจิต (ภาษา ธรรมะ เรียกว่า เจตสิก) ที่ทําให้จิตสามารถทํางานได้ และทําให้จิตมีลักษณะ แตกต่างกันไปถึง ๘๙ ลักษณะ (โดยย่อ) หรือ ๑๒๓ ลักษณะ (โดยพิสดาร)
ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค แสดงการนําจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม ๖ หมวต ได้แก่ ความรู้สึกของจิต (เวทนา ๓ และ ๕) ต้นเหตุของกุศลและอกุศล (เหตุ ๖) หน้าที่ ๑๔ ประการของจิต (กิจ ๑๔) ช่องทางรับรู้ของจิต (ทวาร ๖) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์ ๖) และที่ตั้งที่อาศัยของจิต (วัตถุ ๖)
ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค แสดงวิถีจิต อันได้แก่ กระบวนการทํางานของจิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษา ปริจเฉทนี้แล้วจะทําให้ รู้กระบวนการทํางานของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิตที่ไหน เกิดที่วิถีจิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป จะมีจิตขณะหนึ่งเกิดขึ้นก่อน เพื่อคอยเปิดประตูให้เกิดจิตบุญหรือจิตบาป จิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) หรือการวางใจอย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาป เกิดขึ้นได้
ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค แสดงถึงการทํางานของจิตขณะใกล้ตาย ขณะตาย (จุติ) และขณะเกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตายการเกิตของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะใกล้ จะตายภาวะจิตเป็นเช่นไร ควรเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรจึงจะไปเกิดใน ภพภูมิที่ดี พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดในทันทีทันใด มิใช่ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องล่องลอยเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบายเรื่องของกรรม ลําดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้ อย่างละเอียดลึกซึ้งด้วย
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน (รูปปรมัตถ์ และ นิพพานปรมัตถ์) เมื่อได้ศึกษาทําความเข้าใจเรื่องจิตและเจตสิก อันเป็นนามธรรม มาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงองค์ประกอบที่สําคัญ อีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูปร่างกาย (รูปธรรม) โดยจําแนกออกเป็นรูปชนิดต่าง ๆ ถึง ๒๘ ชนิต และอธิบายถึง สมุฏฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปแต่ละอย่างไว้อย่างละเอียดพิสดาร ในตอนท้าย ยังได้กล่าวถึงเรื่อง “พระนิพพาน” ว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะทําให้เข้าใจ เรื่องของพระนิพพานได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค เมื่อได้ศึกษาปรมัตถธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ โดยความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อย เพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละบุคคล คนทั่วไป มักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้ จึงทําให้ชีวิตตกอยู่ใน วัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ได้แสดงธรรมสําคัญ ๆ ที่ควรรู้ ได้แก่ อกุศลประเภทต่าง ๆ อุปาทานขันธ์ ๕ (ขันธ์ ๕ ที่ถูกอุปาทาน ยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น) อายตนะ ๑๒ (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์) ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน) อริยสัจ ๔ (ความจริงที่ทําให้ ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูลการตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ และหมวดธรรมอื่น ๆ ที่สําคัญอีกมากมาย
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค ในปริจเฉทนี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาท (เหตุและปัจจัยที่ทําให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ) ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมาย ของบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นความจริงที่ชาวโลกบัญญัติขึ้นมา หรือสมมุติขึ้นมา เรียกว่า สมมุติสัจจะ หรือ สมมุติบัญญัติ (Artificial Truth , Conventional Truth) ที่ยังมิใช่ความจริงอันเป็นที่สุด ที่เรียกว่า ปรมัตถธรรม (Absolute Truth, Ultimate Reality)
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค กล่าวถึงกรรมฐาน ๒ แบบ คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ว่ามีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างไร ผลที่ได้รับ (อานิสงส์) ต่างกันอย่างไร เรื่องฌานสมาบัติ (รูปฌาน, อรูปฌาน) เรื่องอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ หนทางสู่วิมุตติ (วิสุทธิ ๗) สติปัฏฐาน ๔ วิปัสสนาภูมิ ๖ ไตรลักษณ์ วิปัสสนาญาณ ๑๖ การประหาณกิเลสของพระอริยะ และโลกุตตรธรรม ๙
เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด (ยกเว้นคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ) จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ โดยไม่มีบัญญัติธรรม (สมมุติบัญญัติ) เข้ามาเกี่ยวข้อง