ปริยัติธรรม
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖ รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
เจตสิก เป็นธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด (จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ) เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้นนี้ ต่างกันกับต้นไม้ที่ต้องอาศัยพื้นแผ่นดินเกิดขึ้น เพราะว่าพื้นแผ่นดินกับต้นไม้นั้น พื้นแผ่นดินเป็นฐานอาธาระส่วนต้นไม้เป็นฐานีอาเธยยะ สําหรับจิตและเจตสิกนั้น จิตเป็นนิสสยะ เจตสิกเป็นนิสสิตะ เหมือนกันกับอาจารย์และลูกศิษย์ ทั้งนี้ก็เพราะว่า เจตสิกทั้งหลายจะรู้ อารมณ์ได้ก็เพราะอาศัยจิตเป็นหัวหน้า ยกเว้นจิตเสียแล้ว เจตสิกก็รู้อารมณ์ไม่ได้ จําเป็นที่จะต้องอาศัยจิตเกิดเสมอไป ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้นย่อมเกิดในจิต หรือ ย่อมประกอบในจิตเป็นนิตย์ ดังมีวจนัตถะว่า เจตสิ ภวํ = เจตสิกํ (วา) เจตสิ นิยุตฺตํ = เจตสิกํ ธรรมชาติที่เกิดในจิต ชื่อว่า เจตสิก หรือธรรมชาติที่ประกอบในจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก
แสดงความเป็นไปของจิต เจตสิก และอารมณ์
ความเป็นไปของจิต เจตสิก และอารมณ์ ทั้ง ๓ อย่างนี้ อุปมาเหมือนหนึ่งกับช่างเขียนที่กําลังเขียนรูปภาพต่างๆ ลงบนผืนผ้า เมื่อยกจิต เจตสิก และอารมณ์ ทั้ง ๓ อย่างขึ้นมา เปรียบเทียบกันแล้วจิตเหมือนกับน้ำที่ถูกผสมกับสีต่างๆ เจตสิกเหมือนกับสีต่างๆ อารมณ์ คือ สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลายเหมือนกับผืนผ้า พู่กันเหมือนกับทวารทั้ง ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น ช่างเขียนเหมือนกับสัตว์ทั้งหลาย
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลาย แม้ว่ามีอวัยวะครบบริบูรณ์แล้วก็ตาม ถ้าขาดนามธรรม คือ จิตเจตสิก เสียแล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีความรู้สึก และไม่สามารถทําอะไรต่างๆ ได้ไม่ต่างอะไรกับรูปปั้น และในบรรดาจิตเจตสิกทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นธรรมชาติที่จะต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รับอารมณ์อันเดียวกัน และอาศัยวัตถุที่เกิดอันเดียวกัน จะแยกจากกันไม่ได้ อุปมาเหมือนหนึ่งเครื่องจักรที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้า ถ้ามีแต่เครื่องจักรนั้น ไม่อาจสามารถทํางานได้ และเครื่องจักรที่กําลังหมุนทํางานอยู่โดยอาศัยสายไฟฟ้านั้น ในสายไฟฟ้าก็จะต้อง ประกอบด้วยสาย ๒ สายร่วมอยู่ด้วยกัน ถ้าขาดสายใดสายหนึ่งไปแล้ว เครื่องจักรนั้นก็ไม่สามารถทํางานได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นเพื่อที่จะให้บัณฑิตทั้งหลายได้รู้ถึงความเป็นไปตามสภาวะของจิตเจตสิกนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงว่า
ลักษณะ ๔ ประการของเจตสิก
เอกุปปาทนิโรธา จ เอกาลมพนวตุกา
เจโตยุตตา ทวิปญญาส ธมุมา เจตสิกา มตา
พึงทราบธรรมชาติของเจตสิก ซึ่งมีจํานวน ๕๒ ดวง ที่ประกอบ กับจิต มีลักษณะดังนี้ คือ ๑. เกิดพร้อมกับจิต ๒. ดับพร้อมกับจิต ๓. มีอารมณ์เดียวกันกับจิต ๔. มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกันกับจิต
อธิบาย
พระอนุรุทธาจารย์แสดงคาถาบทนี้ เพื่อจะขยายความของคําว่า เจตสิกํ ที่กล่าวไว้ ในอารัมภบทเบื้องต้นของอภิธัมมัตถสังคหปกรณ์นี้ว่า
“จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถา”
และเพื่อทราบถึงลักษณะอาการ ที่ประกอบกับจิตของเจตสิก ๕๒ ดวงเหล่านี้ เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณ มีพร้อมด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑. เอกุปปาทะ เจตสิกนี้เกิดพร้อมกับจิตเสมอ หมายความว่า เมื่อจิตเกิด เจตสิก ก็เกิดขึ้นด้วยกัน จะว่าจิตเกิดก่อน เจตสิกเกิดทีหลัง หรือเจตสิกเกิดก่อน จิตเกิดทีหลังนั้นไม่ได้
๒. เอกนิโรธะ ในทํานองเดียวกันนั้น เมื่อจิตดับ เจตสิกก็ดับด้วยกัน ไม่มีใครดับ ก่อนหรือดับทีหลัง
๓. เอกาลัมพนะ อารมณ์ที่เจตสิกเข้าไปรับอยู่นั้น ก็เป็นอารมณ์เดียวกันกับที่จิต เข้าไปรับนั้นเอง เช่น จิตรับอารมณ์สีขาว เจตสิกก็รับสีขาวด้วย จิตรับอารมณ์สีดํา เจตสิกก็รับสีดําด้วย ดังนี้เป็นต้น
๔. เอกวัตถุกะ ที่อาศัยเกิดของเจตสิก ก็เป็นชนิดเดียวกันกับที่อาศัยเกิดของจิต เช่น จิตอาศัยตาเกิด เจตสิกก็อาศัยตาเกิดด้วย จิตอาศัยหูเกิด เจตสิกก็อาศัยหูเกิดด้วย จิต อาศัยหัวใจเกิด เจตสิกก็อาศัยหัวใจเกิดด้วย ดังนี้
เมื่อมีลักษณะครบทั้ง ๔ ประการดังกล่าวนี้แล้ว ก็ได้ชื่อว่า เจตสิก
ในบรรดาเจโตยุตตลักขณะทั้ง ๔ ประการนั้น เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ ทั้ง ๓ ประการนี้มีอยู่ในเจตสิกโดยแน่นอน ส่วนลักษณะที่ ๔ คือ เอกวัตถุกะ นั้นไม่ใช่ ลักษณะที่มีอยู่โดยแน่นอน เพราะว่าเจตสิกเหล่านี้เมื่อเกิดใน ปัญจโวการภูมิ จึงจะต้องอาศัย วัตถุเกิด แต่ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิ ก็ไม่จําเป็นต้องอาศัยวัตถุเกิด
จําแนกเจตสิก ๕๒ โดยราสี
เจตสิก ๕๒ ดวงนี้ แบ่งออกเป็น ๓ พวก เรียกว่า ราสี คือ อัญญสมานราสีเจตสิกพวก ๑ มีจํานวน ๑๓ ดวง อกุศลราสีเจตสิกพวก ๑ มีจํานวน ๑๔ ดวง โสภณราสีเจตสิกพวก ๑ มีจํานวน ๒๕ ดวง หรือจะเรียกว่าอัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕ ก็ได้
จําแนกราสี ๓ โดยประเภท
เจตสิกที่เป็นอัญญสมานราสีนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ประเภท ๑ ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ประเภท ๑
เจตสิกที่เป็นอกุศลราสีนั้น แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ โมจตุกเจตสิก ๔ ดวง ประเภท ๑ โลติกเจตสิก ๓ ดวง ประเภท ๑ โทจตุกเจตสิก ๔ ดวง ประเภท ๑ ถิทุก เจตสิก ๒ ดวง ประเภท ๑ วิจิกิจฉาเจตสิก ประเภท ๑
เจตสิกที่เป็นโสภณราสีนั้น แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง ประเภท ๑ วิรดีเจตสิก ๓ ดวง ประเภท ๑ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ประเภท ๑ ปัญญินทรีย์เจตสิก ประเภท ๑
ความหมายในเจตสิก ๕๒ ตามลําดับ
อัญญสมานเจตสิก ๑๓
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์
เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
สัญญา ธรรมชาติที่จําอารมณ์
เจตนา ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนและชักชวนสัมปยุตตธรรมในอารมณ์เพื่อให้ทําหน้าที่ของตนๆ
เอกัคคตา ธรรมชาติที่สงบและให้สัมปยุตตธรรมตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว
ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่รักษาสัมปยุตตธรรม
มนสิการ ธรรมชาติที่มุ่งและนําสัมปยุตตธรรมสู่อารมณ์
เจตสิก ๗ ดวงนี้ชื่อว่า สัพพจิตตสาธารณะ เพราะประกอบกับจิตทั่วไป เมื่อแยกบทแล้วคงได้ ๓ บท คือ สพฺพ + จิตฺต+สาธารณ สพฺพ = ทั้งหมด จิตฺต = จิต สาธารณ = ทั่วไป รวมทั้ง ๓ บทเป็น สพฺพจิตฺตสาธารณ = ทั่วไปแก่จิตทั้งหมด
ปกิณณกเจตสิก ๖
วิตก ธรรมชาติที่ยกสัมปยุตตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ คือ คิดอารมณ์
วิจาร ธรรมชาติที่มีการเคล้าคลึงอารมณ์
อธิโมกข์ ธรรมชาติที่ตัดสินอารมณ์
วิริยะ ธรรมชาติที่มีความพยายามในอารมณ์
ปีติ ธรรมชาติที่มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์
ฉันทะ ธรรมชาติที่ปรารถนาอารมณ์
เจตสิก ๖ ดวงนี้ชื่อว่า ปกิณณกเจตสิก เพราะประกอบกับจิตทั่วๆ ไป แต่เป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ ป+ กิณฺณก, ป = โดยทั่วๆ ไป กิณฺณ = เรี่ยราย ก = ไม่มีเนื้อความโดยเฉพาะ รวมทั้ง ๓ บทเป็น ปกิณณก = เรี่ยรายโดยทั่วๆ ไป หมายความว่า เจตสิก ๖ ดวงนี้ประกอบทั่วไปทั้งฝ่ายโลกียะ โลกุตตระ โสภณะ อโสภณะ กุศล อกุศล วิบาก กริยา ได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ต่างกันกับการประกอบของสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ซึ่งประกอบได้ทั่วไปและทั้งหมด
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ปกิณณกเจตสิก ๖ รวม ๑๓ ดวง ชื่อว่า อัญญสมานเจตสิก เพราะเจตสิกเหล่านี้มีสภาพที่เหมือนธรรมอื่นได้ กล่าวคือ โสภณเจตสิก มีศรัทธา เป็นต้นก็ดี อโสภณเจตสิก มี โมหะ เป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นธรรมอื่นแก่อัญญสมานเจตสิก แต่อัญญสมานเจตสิกก็เหมือนกับเจตสิกทั้ง ๒ พวกนั้นได้ จึงประกอบกับจิตร่วมกันได้ ต่างกับ อโสภณเจตสิกซึ่งไม่อาจเหมือนกับ โสภณเจตสิกได้ หรือโสภณเจตสิกซึ่งไม่อาจเหมือนกับ อโสภณเจตสิกได้ จึงประกอบกับจิตร่วมกันไม่ได้
อญฺญสมาน นี้ เมื่อแยกบทแล้ว คงได้ ๒ บท คือ อณฺญ + สมาน, อณฺญ = ธรรม อื่น สมาน = เหมือนกัน รวมทั้ง ๒ บทเป็น อญฺญสมาน = เหมือนธรรมอื่น
อกุศลเจตสิก ๑๔
โมจตุกเจตสิก ๔
โมหะ ธรรมชาติที่บังสภาพตามความเป็นจริงของอารมณ์ไว้ คือ หลง
อหิริกะ ธรรมชาติที่ไม่มีความละอายต่อทุจริต
อโนตตัปปะ ธรรมชาติที่ไม่กลัวต่อทุจริต
อุทธัจจะ ธรรมชาติที่ฟุ้งซ่าน คือรับอารมณ์ไม่มั่น
เจตสิก ๔ ดวงนี้ ชื่อว่า โมจตุกะ เพราะยกโมหเจตสิกเป็นประธาน และเจตสิก ๔ ดวงนี้แหละ ชื่อว่า สัพพากุศลสาธารณเจตสิก ด้วย เพราะเจตสิกพวกนี้ประกอบกับอกุศล จิต ๑๒ โดยทั่วไปทั้งหมด
โลติกเจตสิก ๓
โลภะ ธรรมชาติที่มีความต้องการ และติดใจในกามคุณอารมณ์
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่มีความเห็นผิดในอารมณ์
มานะ ธรรมชาติที่มีความเย่อหยิ่ง ถือตัว
เจตสิก ๓ ตวงนี้ ชื่อว่า โลติกะ เพราะยกโลภเจตสิกเป็นประธาน
โทจตุกเจตสิก ๔
โทสะ ธรรมชาติที่ประทุษร้ายในอารมณ์
อิสสา ธรรมชาติที่มีความไม่พอใจในสมบัติหรือคุณความดีของผู้อื่น
มัจฉริยะ ธรรมชาติที่มีความหวงแหนทรัพย์สมบัติหรือคุณความดีของตน
กุกกุจจะ ธรรมชาติที่มีความรําคาญใจในทุจริตที่ได้ทําไปแล้ว และในสุจริตที่ยังไม่ได้ทํา
เจตสิก ๔ ดวงนี้ ชื่อว่า โฑจตุกะ เพราะยกโทสเจตสิกเป็นประธาน
ถิทุกเจตสิก ๒
ถินะ ธรรมชาติที่ทําให้จิตเซื่องซึม ท้อถอยจากอารมณ์
มิทธะ ธรรมชาติที่ทําให้เจตสิกเซื่องซึม ท้อถอยจากอารมณ์
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑
วิจิกิจฉา ธรรมชาติที่มีความสงสัย ไม่ตกลงใจ คือ วิพากษ์วิจารณ์ ในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น
เจตสิก ๑๔ ดวงนี้ ชื่อว่า อกุศลเจตสิก เพราะประกอบกับอกุศลจิตพวกเดียว
โสภณเจตสิก ๒๕
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
ศรัทธา ธรรมชาติที่มีความเชื่อและเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตามความเป็นจริง เชื่อในกรรมและผลของกรรม
สติ ธรรมชาติที่มีความระลึกในอารมณ์ที่เกี่ยวด้วยกุศลธรรม มีคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น
หิริ ธรรมชาติที่มีความเกลียด และละอายต่อการงานอันเป็นทุจริต
โอตตัปปะ ธรรมชาติที่สะดุ้งกลัวต่อการงานอันเป็นทุจริต อโลภะ ธรรมชาติที่ไม่อยากได้ และไม่ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์
อโทสะ ธรรมชาติที่ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์
ตัตตรมัชฌัตตตา ธรรมชาติที่ทําให้จิต เจตสิกสม่ําเสมอในกิจของตนๆ ไม่ให้มีการยิ่งหย่อน
กายปัสสัทธิ ธรรมชาติที่เป็นความสงบของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตปัสสัทธิ ธรรมชาติที่เป็นความสงบของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายลหุตา ธรรมชาติที่เป็นความเบาของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตลหุตา ธรรมชาติที่เป็นความเบาของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายมุทุตา ธรรมชาติที่เป็นความอ่อนของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตมุทุตา ธรรมชาติที่เป็นความอ่อนของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายกัมมัญญตา ธรรมชาติที่เป็นความควรของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตกัมมัญญตา ธรรมชาติที่เป็นความควรของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายปาคุญญตา ธรรมชาติที่เป็นความคล่องแคล่วของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตปาคุญญตา ธรรมชาติที่เป็นความคล่องแคล่วของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายชูกตา ธรรมชาติที่เป็นความซื่อตรงของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตุชุกตา ธรรมชาติที่เป็นความซื่อตรงของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
ในบรรดาโสภณสาธารณเจตสิกนั้น ปัสสัทธิเจตสิก, ลหุตาเจตสิก, มุทุตาเจตสิก, กัมมัญญตาเจตสิก, ปาคุญญตาเจตสิก, อุชุกตาเจตสิก ทั้ง ๖ ดวงนี้ มีเป็นคู่ๆ กัน จึงรวมเป็น ๑๒ ดวง นับพร้อมด้วยศรัทธาเจตสิกเป็นต้นแล้ว โสภณสาธารณเจตสิกจึงมี ๑๙ ดวง เจตสิก เหล่านี้ชื่อว่า โสภณสาธารณเจตสิกนั้น เพราะประกอบในโสภณจิตทั่วไปทั้งหมด เมื่อแยก บทแล้วมี ๒ คือ โสภณ + สาธารณ, โสภณ = จิตที่มีความสวยงามอันไม่มีโทษ สาธารณ = ทั่วไป เมื่อรวม ๒ บทเป็น โสภณสาธารณ = ทั่วไปในจิตที่มีความสวยงามอันไม่มีโทษ
วิรตีเจตสิก ๓
สัมมาวาจา การกล่าววาจาที่เว้นจากวจีทุจริต ๔ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงานอันเป็นอาชีพ
สัมมากัมมันตะ การกระทําที่เว้นจากกายทุจริต ๓ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงานอันเป็นอาชีพ
สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพที่เว้นจากวจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓
เจตสิก ๓ ดวงนี้ชื่อว่า วิรตีเจตสิก เพราะมีเจตนาเว้นจากทุจริตเป็นประธาน
อัปปมัญญาเจตสิก ๒
กรุณา ธรรมชาติที่มีความสงสารต่อทุกขิตสัตว์คือผู้ที่กําลังได้รับความลําบากอยู่ หรือ จะได้รับความลําบากในกาลข้างหน้า
มุทิตา ธรรมชาติที่มีความยินดีต่อสุขิตสัตว์ คือ ผู้ที่กําลังได้รับความสุข หรือ ผู้ที่จะได้รับความสุขในกาลข้างหน้า
เจตสิก ๒ ดวงนี้ชื่อว่า อัปปมัญญาเจตสิก เพราะเกิดขึ้น โดยอาศัยทุกขิตสัตว์ หรือ สุขิตสัตว์ทั่วไปไม่จํากัด
ปัญญินทรีย์เจตสิก ๑
ปัญญา ธรรมชาติที่รู้สภาพธรรมโดยทั่วๆ ไป ตามความเป็นจริง เจตสิกดวงนี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะมีหน้าที่ปกครองในการรู้ต่างๆ โดยทั่วไป ตามความเป็นจริง
สังคหนัย
แสดงหลักสังคหนัยโดยย่อ
ฉตุฒิสานุตตเร ธมฺมา ปญจตส มหตุคเต อฏฐสาปี ลพภนุติ กามาวจรโสภเณ สตฺตวีสติ ปุญญมุติ ทวาทสาเหตุเกติ จ ยถาสมุภวโยเคน ปญจธา ตตฺถ สงคโห
สังคหนัย คือการนับจํานวนเจตสิกในจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ นั้น มี ๕ ประการ ตาม สมควรที่ประกอบได้ คือ
ในโลกุตตรจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๖ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณ เจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)
ในมหัคคตจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๕ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณ เจตสิก ๒๒ (เว้นวิรดีเจตสิก ๓)
ในกามาวจรโสภณจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๖ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕
ในอกุศลจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๒๗ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔
ในอเหตุกจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๒ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก)
อธิบาย
คาถานี้แสดงหลักของสังคหนัยโดยย่อ เพื่อให้นักศึกษาทั้งหลายยึดถือเป็นหลักไว้ก่อน แล้วจะแสดงขยายความในสังคหนัยโดยพิสดารต่อไป
จําแนกเจตสิก ๒๗ โดยอกุศลจิต ๑๒ (สตุตวีสติ ปุญญมุติ)
๑. โลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ ไมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ
๒. โลภมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ ถีทุกะ ๒
๓. โลภมูลจิตดวงที่ ๓ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ
๔. โลภมูลจิตดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ มีทุกะ ๒
๕. โลภมูลจิตดวงที่ ๕ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ
๖. โลภมูลจิตดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ ทุกะ ๒
๗. โลภมูลจิตดวงที่ ๗ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ
๘. โลภมูลจิตดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ ทุกะ ๒
๙. โทสมูลจิตดวงที่ ๙ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีต) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔
๑๐. โทสมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้น ปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔ ทุกะ ๒
๑๑. โมหมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๐ (เว้น อธิโมกข์, ปีติ, ฉันทะ) โมจตุกะ ๔ วิจิกิจฉา ๑
๑๒. โมหมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ตวง คือ อัญญสมานะ ๑๑ (เว้นปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔
จําแนกเจตสิก ๓๕ โดยมหัคคตจิต ๒๗ (ปญจติส มหยุคเต)
ปฐมฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณ เจตสิก ๒๒ (เว้นวีรตี ๓)
ทุติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตก) โสภณเจตสึก ๒๓ (เว้นวีรตี ๓)
ตติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานเจตสึก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวรตี ๓)
จตุตถฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้น วิตกวิจารปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรดี ๓)
ปัญจมฌานจิต ๑๕ มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้น วิตกวิจารปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวีรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)
คาถาสังคหะ แสดงสังคหนัย ๕ นัย ในมหัคคตจิต ๒๗
ปญจติส จตุตติส เตตุฒิส จ ยถากุกม
พาตติส เจว เสติ ปญจธาว มหคุคเต
ในมหัคคตจิต ๒๗ มีสังคหนัย ๕ นัย คือ
จํานวนเจตสิก ๓๕ ที่ประกอบในปฐมฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๔ ที่ประกอบในทุติยฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๓ ที่ประกอบในตติยฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๒ ที่ประกอบในจตุตถฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๐ ที่ประกอบในปัญจมฌานจิต ๑๕ นับเป็น ๑ นัย
แสดงความเป็นไปของจิต เจตสิก และอารมณ์
ความเป็นไปของจิต เจตสิก และอารมณ์ ทั้ง ๓ อย่างนี้ อุปมาเหมือนหนึ่งกับช่างเขียนที่กําลังเขียนรูปภาพต่างๆ ลงบนผืนผ้า เมื่อยกจิต เจตสิก และอารมณ์ ทั้ง ๓ อย่างขึ้นมา เปรียบเทียบกันแล้วจิตเหมือนกับน้ำที่ถูกผสมกับสีต่างๆ เจตสิกเหมือนกับสีต่างๆ อารมณ์ คือ สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลายเหมือนกับผืนผ้า พู่กันเหมือนกับทวารทั้ง ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น ช่างเขียนเหมือนกับสัตว์ทั้งหลาย
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลาย แม้ว่ามีอวัยวะครบบริบูรณ์แล้วก็ตาม ถ้าขาดนามธรรม คือ จิตเจตสิก เสียแล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีความรู้สึก และไม่สามารถทําอะไรต่างๆ ได้ไม่ต่างอะไรกับรูปปั้น และในบรรดาจิตเจตสิกทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นธรรมชาติที่จะต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รับอารมณ์อันเดียวกัน และอาศัยวัตถุที่เกิดอันเดียวกัน จะแยกจากกันไม่ได้ อุปมาเหมือนหนึ่งเครื่องจักรที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้า ถ้ามีแต่เครื่องจักรนั้น ไม่อาจสามารถทํางานได้ และเครื่องจักรที่กําลังหมุนทํางานอยู่โดยอาศัยสายไฟฟ้านั้น ในสายไฟฟ้าก็จะต้อง ประกอบด้วยสาย ๒ สายร่วมอยู่ด้วยกัน ถ้าขาดสายใดสายหนึ่งไปแล้ว เครื่องจักรนั้นก็ไม่สามารถทํางานได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นเพื่อที่จะให้บัณฑิตทั้งหลายได้รู้ถึงความเป็นไปตามสภาวะของจิตเจตสิกนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงว่า
ลักษณะ ๔ ประการของเจตสิก
เอกุปปาทนิโรธา จ เอกาลมพนวตุกา
เจโตยุตตา ทวิปญญาส ธมุมา เจตสิกา มตา
พึงทราบธรรมชาติของเจตสิก ซึ่งมีจํานวน ๕๒ ดวง ที่ประกอบ กับจิต มีลักษณะดังนี้ คือ ๑. เกิดพร้อมกับจิต ๒. ดับพร้อมกับจิต ๓. มีอารมณ์เดียวกันกับจิต ๔. มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกันกับจิต
อธิบาย
พระอนุรุทธาจารย์แสดงคาถาบทนี้ เพื่อจะขยายความของคําว่า เจตสิกํ ที่กล่าวไว้ ในอารัมภบทเบื้องต้นของอภิธัมมัตถสังคหปกรณ์นี้ว่า
“จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถา”
และเพื่อทราบถึงลักษณะอาการ ที่ประกอบกับจิตของเจตสิก ๕๒ ดวงเหล่านี้ เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณ มีพร้อมด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑. เอกุปปาทะ เจตสิกนี้เกิดพร้อมกับจิตเสมอ หมายความว่า เมื่อจิตเกิด เจตสิก ก็เกิดขึ้นด้วยกัน จะว่าจิตเกิดก่อน เจตสิกเกิดทีหลัง หรือเจตสิกเกิดก่อน จิตเกิดทีหลังนั้นไม่ได้
๒. เอกนิโรธะ ในทํานองเดียวกันนั้น เมื่อจิตดับ เจตสิกก็ดับด้วยกัน ไม่มีใครดับ ก่อนหรือดับทีหลัง
๓. เอกาลัมพนะ อารมณ์ที่เจตสิกเข้าไปรับอยู่นั้น ก็เป็นอารมณ์เดียวกันกับที่จิต เข้าไปรับนั้นเอง เช่น จิตรับอารมณ์สีขาว เจตสิกก็รับสีขาวด้วย จิตรับอารมณ์สีดํา เจตสิกก็รับสีดําด้วย ดังนี้เป็นต้น
๔. เอกวัตถุกะ ที่อาศัยเกิดของเจตสิก ก็เป็นชนิดเดียวกันกับที่อาศัยเกิดของจิต เช่น จิตอาศัยตาเกิด เจตสิกก็อาศัยตาเกิดด้วย จิตอาศัยหูเกิด เจตสิกก็อาศัยหูเกิดด้วย จิต อาศัยหัวใจเกิด เจตสิกก็อาศัยหัวใจเกิดด้วย ดังนี้
เมื่อมีลักษณะครบทั้ง ๔ ประการดังกล่าวนี้แล้ว ก็ได้ชื่อว่า เจตสิก
ในบรรดาเจโตยุตตลักขณะทั้ง ๔ ประการนั้น เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ ทั้ง ๓ ประการนี้มีอยู่ในเจตสิกโดยแน่นอน ส่วนลักษณะที่ ๔ คือ เอกวัตถุกะ นั้นไม่ใช่ ลักษณะที่มีอยู่โดยแน่นอน เพราะว่าเจตสิกเหล่านี้เมื่อเกิดใน ปัญจโวการภูมิ จึงจะต้องอาศัย วัตถุเกิด แต่ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิ ก็ไม่จําเป็นต้องอาศัยวัตถุเกิด
จําแนกเจตสิก ๕๒ โดยราสี
เจตสิก ๕๒ ดวงนี้ แบ่งออกเป็น ๓ พวก เรียกว่า ราสี คือ อัญญสมานราสีเจตสิกพวก ๑ มีจํานวน ๑๓ ดวง อกุศลราสีเจตสิกพวก ๑ มีจํานวน ๑๔ ดวง โสภณราสีเจตสิกพวก ๑ มีจํานวน ๒๕ ดวง หรือจะเรียกว่าอัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕ ก็ได้
จําแนกราสี ๓ โดยประเภท
เจตสิกที่เป็นอัญญสมานราสีนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ประเภท ๑ ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ประเภท ๑
เจตสิกที่เป็นอกุศลราสีนั้น แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ โมจตุกเจตสิก ๔ ดวง ประเภท ๑ โลติกเจตสิก ๓ ดวง ประเภท ๑ โทจตุกเจตสิก ๔ ดวง ประเภท ๑ ถิทุก เจตสิก ๒ ดวง ประเภท ๑ วิจิกิจฉาเจตสิก ประเภท ๑
เจตสิกที่เป็นโสภณราสีนั้น แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง ประเภท ๑ วิรดีเจตสิก ๓ ดวง ประเภท ๑ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ประเภท ๑ ปัญญินทรีย์เจตสิก ประเภท ๑
ความหมายในเจตสิก ๕๒ ตามลําดับ
อัญญสมานเจตสิก ๑๓
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์
เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
สัญญา ธรรมชาติที่จําอารมณ์
เจตนา ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนและชักชวนสัมปยุตตธรรมในอารมณ์เพื่อให้ทําหน้าที่ของตนๆ
เอกัคคตา ธรรมชาติที่สงบและให้สัมปยุตตธรรมตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว
ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่รักษาสัมปยุตตธรรม
มนสิการ ธรรมชาติที่มุ่งและนําสัมปยุตตธรรมสู่อารมณ์
เจตสิก ๗ ดวงนี้ชื่อว่า สัพพจิตตสาธารณะ เพราะประกอบกับจิตทั่วไป เมื่อแยกบทแล้วคงได้ ๓ บท คือ สพฺพ + จิตฺต+สาธารณ สพฺพ = ทั้งหมด จิตฺต = จิต สาธารณ = ทั่วไป รวมทั้ง ๓ บทเป็น สพฺพจิตฺตสาธารณ = ทั่วไปแก่จิตทั้งหมด
ปกิณณกเจตสิก ๖
วิตก ธรรมชาติที่ยกสัมปยุตตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ คือ คิดอารมณ์
วิจาร ธรรมชาติที่มีการเคล้าคลึงอารมณ์
อธิโมกข์ ธรรมชาติที่ตัดสินอารมณ์
วิริยะ ธรรมชาติที่มีความพยายามในอารมณ์
ปีติ ธรรมชาติที่มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์
ฉันทะ ธรรมชาติที่ปรารถนาอารมณ์
เจตสิก ๖ ดวงนี้ชื่อว่า ปกิณณกเจตสิก เพราะประกอบกับจิตทั่วๆ ไป แต่เป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ ป+ กิณฺณก, ป = โดยทั่วๆ ไป กิณฺณ = เรี่ยราย ก = ไม่มีเนื้อความโดยเฉพาะ รวมทั้ง ๓ บทเป็น ปกิณณก = เรี่ยรายโดยทั่วๆ ไป หมายความว่า เจตสิก ๖ ดวงนี้ประกอบทั่วไปทั้งฝ่ายโลกียะ โลกุตตระ โสภณะ อโสภณะ กุศล อกุศล วิบาก กริยา ได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ต่างกันกับการประกอบของสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ซึ่งประกอบได้ทั่วไปและทั้งหมด
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ปกิณณกเจตสิก ๖ รวม ๑๓ ดวง ชื่อว่า อัญญสมานเจตสิก เพราะเจตสิกเหล่านี้มีสภาพที่เหมือนธรรมอื่นได้ กล่าวคือ โสภณเจตสิก มีศรัทธา เป็นต้นก็ดี อโสภณเจตสิก มี โมหะ เป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นธรรมอื่นแก่อัญญสมานเจตสิก แต่อัญญสมานเจตสิกก็เหมือนกับเจตสิกทั้ง ๒ พวกนั้นได้ จึงประกอบกับจิตร่วมกันได้ ต่างกับ อโสภณเจตสิกซึ่งไม่อาจเหมือนกับ โสภณเจตสิกได้ หรือโสภณเจตสิกซึ่งไม่อาจเหมือนกับ อโสภณเจตสิกได้ จึงประกอบกับจิตร่วมกันไม่ได้
อญฺญสมาน นี้ เมื่อแยกบทแล้ว คงได้ ๒ บท คือ อณฺญ + สมาน, อณฺญ = ธรรม อื่น สมาน = เหมือนกัน รวมทั้ง ๒ บทเป็น อญฺญสมาน = เหมือนธรรมอื่น
อกุศลเจตสิก ๑๔
โมจตุกเจตสิก ๔
โมหะ ธรรมชาติที่บังสภาพตามความเป็นจริงของอารมณ์ไว้ คือ หลง
อหิริกะ ธรรมชาติที่ไม่มีความละอายต่อทุจริต
อโนตตัปปะ ธรรมชาติที่ไม่กลัวต่อทุจริต
อุทธัจจะ ธรรมชาติที่ฟุ้งซ่าน คือรับอารมณ์ไม่มั่น
เจตสิก ๔ ดวงนี้ ชื่อว่า โมจตุกะ เพราะยกโมหเจตสิกเป็นประธาน และเจตสิก ๔ ดวงนี้แหละ ชื่อว่า สัพพากุศลสาธารณเจตสิก ด้วย เพราะเจตสิกพวกนี้ประกอบกับอกุศล จิต ๑๒ โดยทั่วไปทั้งหมด
โลติกเจตสิก ๓
โลภะ ธรรมชาติที่มีความต้องการ และติดใจในกามคุณอารมณ์
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่มีความเห็นผิดในอารมณ์
มานะ ธรรมชาติที่มีความเย่อหยิ่ง ถือตัว
เจตสิก ๓ ตวงนี้ ชื่อว่า โลติกะ เพราะยกโลภเจตสิกเป็นประธาน
โทจตุกเจตสิก ๔
โทสะ ธรรมชาติที่ประทุษร้ายในอารมณ์
อิสสา ธรรมชาติที่มีความไม่พอใจในสมบัติหรือคุณความดีของผู้อื่น
มัจฉริยะ ธรรมชาติที่มีความหวงแหนทรัพย์สมบัติหรือคุณความดีของตน
กุกกุจจะ ธรรมชาติที่มีความรําคาญใจในทุจริตที่ได้ทําไปแล้ว และในสุจริตที่ยังไม่ได้ทํา
เจตสิก ๔ ดวงนี้ ชื่อว่า โฑจตุกะ เพราะยกโทสเจตสิกเป็นประธาน
ถิทุกเจตสิก ๒
ถินะ ธรรมชาติที่ทําให้จิตเซื่องซึม ท้อถอยจากอารมณ์
มิทธะ ธรรมชาติที่ทําให้เจตสิกเซื่องซึม ท้อถอยจากอารมณ์
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑
วิจิกิจฉา ธรรมชาติที่มีความสงสัย ไม่ตกลงใจ คือ วิพากษ์วิจารณ์ ในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น
เจตสิก ๑๔ ดวงนี้ ชื่อว่า อกุศลเจตสิก เพราะประกอบกับอกุศลจิตพวกเดียว
โสภณเจตสิก ๒๕
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
ศรัทธา ธรรมชาติที่มีความเชื่อและเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตามความเป็นจริง เชื่อในกรรมและผลของกรรม
สติ ธรรมชาติที่มีความระลึกในอารมณ์ที่เกี่ยวด้วยกุศลธรรม มีคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น
หิริ ธรรมชาติที่มีความเกลียด และละอายต่อการงานอันเป็นทุจริต
โอตตัปปะ ธรรมชาติที่สะดุ้งกลัวต่อการงานอันเป็นทุจริต อโลภะ ธรรมชาติที่ไม่อยากได้ และไม่ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์
อโทสะ ธรรมชาติที่ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์
ตัตตรมัชฌัตตตา ธรรมชาติที่ทําให้จิต เจตสิกสม่ําเสมอในกิจของตนๆ ไม่ให้มีการยิ่งหย่อน
กายปัสสัทธิ ธรรมชาติที่เป็นความสงบของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตปัสสัทธิ ธรรมชาติที่เป็นความสงบของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายลหุตา ธรรมชาติที่เป็นความเบาของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตลหุตา ธรรมชาติที่เป็นความเบาของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายมุทุตา ธรรมชาติที่เป็นความอ่อนของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตมุทุตา ธรรมชาติที่เป็นความอ่อนของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายกัมมัญญตา ธรรมชาติที่เป็นความควรของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตกัมมัญญตา ธรรมชาติที่เป็นความควรของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายปาคุญญตา ธรรมชาติที่เป็นความคล่องแคล่วของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตปาคุญญตา ธรรมชาติที่เป็นความคล่องแคล่วของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
กายชูกตา ธรรมชาติที่เป็นความซื่อตรงของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
จิตตุชุกตา ธรรมชาติที่เป็นความซื่อตรงของจิต ในการงานอันเป็นกุศล
ในบรรดาโสภณสาธารณเจตสิกนั้น ปัสสัทธิเจตสิก, ลหุตาเจตสิก, มุทุตาเจตสิก, กัมมัญญตาเจตสิก, ปาคุญญตาเจตสิก, อุชุกตาเจตสิก ทั้ง ๖ ดวงนี้ มีเป็นคู่ๆ กัน จึงรวมเป็น ๑๒ ดวง นับพร้อมด้วยศรัทธาเจตสิกเป็นต้นแล้ว โสภณสาธารณเจตสิกจึงมี ๑๙ ดวง เจตสิก เหล่านี้ชื่อว่า โสภณสาธารณเจตสิกนั้น เพราะประกอบในโสภณจิตทั่วไปทั้งหมด เมื่อแยก บทแล้วมี ๒ คือ โสภณ + สาธารณ, โสภณ = จิตที่มีความสวยงามอันไม่มีโทษ สาธารณ = ทั่วไป เมื่อรวม ๒ บทเป็น โสภณสาธารณ = ทั่วไปในจิตที่มีความสวยงามอันไม่มีโทษ
วิรตีเจตสิก ๓
สัมมาวาจา การกล่าววาจาที่เว้นจากวจีทุจริต ๔ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงานอันเป็นอาชีพ
สัมมากัมมันตะ การกระทําที่เว้นจากกายทุจริต ๓ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงานอันเป็นอาชีพ
สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพที่เว้นจากวจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓
เจตสิก ๓ ดวงนี้ชื่อว่า วิรตีเจตสิก เพราะมีเจตนาเว้นจากทุจริตเป็นประธาน
อัปปมัญญาเจตสิก ๒
กรุณา ธรรมชาติที่มีความสงสารต่อทุกขิตสัตว์คือผู้ที่กําลังได้รับความลําบากอยู่ หรือ จะได้รับความลําบากในกาลข้างหน้า
มุทิตา ธรรมชาติที่มีความยินดีต่อสุขิตสัตว์ คือ ผู้ที่กําลังได้รับความสุข หรือ ผู้ที่จะได้รับความสุขในกาลข้างหน้า
เจตสิก ๒ ดวงนี้ชื่อว่า อัปปมัญญาเจตสิก เพราะเกิดขึ้น โดยอาศัยทุกขิตสัตว์ หรือ สุขิตสัตว์ทั่วไปไม่จํากัด
ปัญญินทรีย์เจตสิก ๑
ปัญญา ธรรมชาติที่รู้สภาพธรรมโดยทั่วๆ ไป ตามความเป็นจริง เจตสิกดวงนี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะมีหน้าที่ปกครองในการรู้ต่างๆ โดยทั่วไป ตามความเป็นจริง
สังคหนัย
แสดงหลักสังคหนัยโดยย่อ
ฉตุฒิสานุตตเร ธมฺมา ปญจตส มหตุคเต อฏฐสาปี ลพภนุติ กามาวจรโสภเณ สตฺตวีสติ ปุญญมุติ ทวาทสาเหตุเกติ จ ยถาสมุภวโยเคน ปญจธา ตตฺถ สงคโห
สังคหนัย คือการนับจํานวนเจตสิกในจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ นั้น มี ๕ ประการ ตาม สมควรที่ประกอบได้ คือ
ในโลกุตตรจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๖ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณ เจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)
ในมหัคคตจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๕ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณ เจตสิก ๒๒ (เว้นวิรดีเจตสิก ๓)
ในกามาวจรโสภณจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๖ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕
ในอกุศลจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๒๗ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔
ในอเหตุกจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๒ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก)
อธิบาย
คาถานี้แสดงหลักของสังคหนัยโดยย่อ เพื่อให้นักศึกษาทั้งหลายยึดถือเป็นหลักไว้ก่อน แล้วจะแสดงขยายความในสังคหนัยโดยพิสดารต่อไป
จําแนกเจตสิก ๒๗ โดยอกุศลจิต ๑๒ (สตุตวีสติ ปุญญมุติ)
๑. โลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ ไมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ
๒. โลภมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ ถีทุกะ ๒
๓. โลภมูลจิตดวงที่ ๓ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ
๔. โลภมูลจิตดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ มีทุกะ ๒
๕. โลภมูลจิตดวงที่ ๕ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ
๖. โลภมูลจิตดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ ทุกะ ๒
๗. โลภมูลจิตดวงที่ ๗ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ
๘. โลภมูลจิตดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ ทุกะ ๒
๙. โทสมูลจิตดวงที่ ๙ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้นปีต) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔
๑๐. โทสมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๒ (เว้น ปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔ ทุกะ ๒
๑๑. โมหมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวง คือ อัญญสมานะ ๑๐ (เว้น อธิโมกข์, ปีติ, ฉันทะ) โมจตุกะ ๔ วิจิกิจฉา ๑
๑๒. โมหมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ตวง คือ อัญญสมานะ ๑๑ (เว้นปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔
จําแนกเจตสิก ๓๕ โดยมหัคคตจิต ๒๗ (ปญจติส มหยุคเต)
ปฐมฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณ เจตสิก ๒๒ (เว้นวีรตี ๓)
ทุติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตก) โสภณเจตสึก ๒๓ (เว้นวีรตี ๓)
ตติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานเจตสึก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวรตี ๓)
จตุตถฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้น วิตกวิจารปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรดี ๓)
ปัญจมฌานจิต ๑๕ มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้น วิตกวิจารปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวีรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)
คาถาสังคหะ แสดงสังคหนัย ๕ นัย ในมหัคคตจิต ๒๗
ปญจติส จตุตติส เตตุฒิส จ ยถากุกม
พาตติส เจว เสติ ปญจธาว มหคุคเต
ในมหัคคตจิต ๒๗ มีสังคหนัย ๕ นัย คือ
จํานวนเจตสิก ๓๕ ที่ประกอบในปฐมฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๔ ที่ประกอบในทุติยฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๓ ที่ประกอบในตติยฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๒ ที่ประกอบในจตุตถฌานจิต ๓ นับเป็น ๑ นัย
จํานวนเจตสิก ๓๐ ที่ประกอบในปัญจมฌานจิต ๑๕ นับเป็น ๑ นัย
ภาษาบาลี อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากใช้การสแกนเนื้อหา ในส่วนเนื้อหาภาษาไทยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว