โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หลักธรรมแห่งความตรัสรู้

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หลักธรรมแห่งความตรัสรู้

ปริยัติธรรม

คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย

หลักธรรมแห่งการตรัสรู้: โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

โพธิ แปลว่า รู้ มีความหมายถึงรู้การทําให้สิ้นอาสวะ คือ รู้อริยสัจ ๔ และรู้การทําจิต ให้สงบ คือถึงฌานด้วย ปักขิยะ แปลว่า ที่เป็นฝ่าย ดังนั้น โพธิปักขิยธรรมจึงมีความหมาย ว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายให้รู้ถึงฌาน มรรคผล และนิพพาน ด้วยการปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ให้บริบูรณ์พร้อมกันหมดในขณะจิตเดียวของการบรรลุธรรม แปลกันสั้นๆ ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ ทั้งหมด ๗ กองรวม ๓๗ ประการ ได้แก่

๑. สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรม ในธรรม ทั้งภายในและภายนอก

 

๒. สัมมัปปธาน ๔

สัมมัปปธาน คือ ความเพียรพยายามทําชอบ ที่ประกอบด้วยความเพียรพยายามอัน ยิ่งยวด แม้ว่าเนื้อจะเดือดเลือดจะแห้งไป คงเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตาม ตราบใดที่ยัง ไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงถึงได้ ก็จะไม่ท้อถอยจากความเพียรนั้นเป็นอันขาด และความเพียร พยายามอันยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการจึงจะได้ชื่อว่า ตั้งหน้าทําชอบในโพธิปักขิยธรรมนี้ ได้แก่

ก) เพียรพยายามละอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป

ข) เพียรพยายามไม่ให้อกุสลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

ค) เพียรพยายามให้กุสลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

ง) เพียรพยายามให้กุสลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป


๓. อิทธิบาท ๔

อิทธิบาท คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผล สัมฤทธิผลในที่นี้หมายถึงความ สําเร็จ คือ บรรลุถึงกุสลญาณจิต และมรรคจิต อิทธิบาท มี ๔ ประการ คือ

ก) ฉันทะ คือความเต็มใจ ความปลงใจกระทํา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก

ข) วิริยะ คือ ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก

ค) จิตตะ คือ ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ จิต

ง) วิมังสา คือ ปัญญาเป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก

กิจการงานอันเป็นกุสลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๔ ที่เป็น องค์ธรรมของอิทธิบาทนี้เลย แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน บางทีฉันทะกล้า บางที่วิริยะกล้า บางทีจิตกล้า บางทีก็ปัญญากล้า ถ้าธรรมใดกล้าแล้ว เรียกธรรมที่กล้า นั่นแต่องค์เดียวว่าเป็น อิทธิบาท


๔. อินทรีย์ ๕

อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ หรือ ความเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี และ เฉพาะฝ่ายดีที่จะให้รู้ให้ถึงซึ่งฌานธรรม และอริยสัจ ซึ่งมี ๕ ประการ ดังนี้

สัทธินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก มี ๒ อย่าง คือ ปกติสัทธา และภาวนาลัทธา ปกติสัทธา ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา อย่างสามัญของชนทั้งหลายโดยปกติ ซึ่งสัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า เพราะอกุสลธรรมสามารถทําให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย ส่วนภาวนาสัทธา ได้แก่ สมถะหรือ วิปัสสนาที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานต่างๆ มีอานาปานสติเป็นต้น สัทธาชนิดนี้แรงกล้าและ แนบแน่นในจิตใจมาก ในสมถกัมมัฏฐาน อกุสลจะทําให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก แต่ถ้า เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน อกุสลไม่อาจจะทําให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย ภาวนาสัทธานี่แหละ ที่ได้ชื่อว่า สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ซึ่งต้องเป็น ความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ทั้ง ๔ แห่งสัมมัปปธาน จึงจะเรียกได้ว่าเป็น วิริยินทรีย์ ใน โพธิปักขิยธรรมนี้ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก

สตินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน ๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก

สมาธินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ในการทําจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งใจ มั่นอยู่ในอารมณ์ กัมมัฏฐาน องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก

ปัญญินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ว่าเต็มไป ด้วยทุกข์โทษภัย เป็นวัฏฏทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก


๕. พละ ๕

พละ หมายเฉพาะ กุสลพละ ซึ่งมีลักษณะ ๒ ประการ คือ อดทนไม่หวั่นไหวประการ หนึ่ง และย่ํายีธรรมที่เป็นข้าศึกอีกประการหนึ่ง พละนี้มี ๕ ประการ คือ สัทธาพละ คือ

ความเชื่อถือเลื่อมใส เป็นกําลังทําให้อดทนไม่หวั่นไหว และย่ํายีตัณหาอันเป็นข้าศึก องค์ธรรม ได้แก่ สัทธาเจตสิก

ปกติสัทธา คือ ความเป็นสัทธาที่ยังปะปนกับตัณหา หรือเป็นสัทธาที่อยู่ใต้อํานาจของ ตัณหา จึงยากที่จะอดทนได้ ส่วนมาก มักจะอ่อนไหวไปตามตัณหาได้โดยง่าย อย่างที่ว่า สัทธากล้า ก็ตัณหาแก่ ส่วนภาวนาสัทธา ซึ่งเป็นสัทธาที่เกิดมาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน จึง อดทน ไม่หวั่นไหว และย่ํายีหรือตัดขาดจากตัณหาได้

วิริยพละ คือ ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นกําลังทําให้อดทน ไม่หวั่นไหว และ ย่ํายีโกสัชชะคือความเกียจคร้านอันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ความเพียร อย่างปกติตามธรรมดาของสามัญชน ยังปะปนกับโกสัชชะอยู่ ขยันบ้าง เผื่อยๆ ไปบ้าง จนถึง กับเกียจคร้านไปเลย แต่ว่าถ้าความเพียรอย่างยิ่งยวด แม้เนื้อจะเดือดเลือดจะแห้ง ก็ไม่ ยอมท้อถอยแล้ว ย่อมจะอดทนไม่หวั่นไหวไป จนกว่าจะเป็นผลสําเร็จ และมีความ เกียจคร้านได้แน่นอน

สติพละ คือ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน เป็นกําลัง ทําให้อดทน ไม่หวั่นไหว และย่ํายีมุฏฐสติคือความพลั้งเผลอหลงลืม อันเป็นข้าศึก องค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิก

สมาธิพละ คือ ความตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน เป็นกําลัง ให้อดทน ไม่หวั่น ไหว และชีวิกเขปะ คือ ความฟุ้งซ่านอันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก

ปัญญาพละ คือ ความรอบรู้เหตุผลตามความเป็นจริง เป็นกําลัง ทําให้อดทนไม่หวั่น ไหว และย่ํายีสัมโมหะ คือความมืดมน หลงงมงายอันเป็นข้าศึก องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก

การเจริญสมถกัมมัฏฐานก็ดี วิปัสสนากัมมัฏฐานก็ดี จะต้องให้พละทั้ง ๕ นี้ สม่ําเสมอกัน จึงจะสัมฤทธิผล ถ้าพละใดกําลังอ่อน การเจริญสมถะหรือวิปัสสนานั้น ก็ตั้ง มั่นอยู่ไม่ได้ ถึงกระนั้นก็ยังได้ผลตามสมควร ตามสถานการณ์ต่อไปนี้ คือ

๑) ผู้มีกําลังสัทธามาก แต่พละอีก ๔ คือ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นั้นอ่อนไป ผู้นั้นย่อมรอดพ้นจากตัณหาได้บ้าง โดยมีความอยากได้โภคสมบัติน้อยลง ไม่ถึงกับแสวงหาใน ทางทุจริต มีความสันโดษ คือ สนตุฏฐี พอใจเท่าที่มีอยู่ พอใจ แสวงหาตามควรแก่กําลัง และพอใจแสวงหาด้วยความสุจริต

๒) ผู้ที่มีกําลังสัทธาและวิริยะมาก แต่พละที่เหลืออีก ๓ อ่อนไป ผู้นั้นย่อมรอดพ้น จากตัณหาและโกสัชชะได้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะเจริญกายคตาสติ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเป็นผลสําเร็จได้

๓) ผู้ที่มีกําลังสัทธา วิริยะและสติมาก แต่พละที่เหลืออีก ๒ อ่อนไป ผู้นั้นย่อม สามารถเจริญกายคตาสติได้ แต่ว่าเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานไม่สําเร็จได้

๔) ผู้ที่มีกําลังทั้ง ๔ มาก แต่ว่าปัญญาอ่อนไป ย่อมสามารถเจริญฌานสมาบัติได้ แต่ ไม่สามารถเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้

๕) ผู้ที่มีปัญญาพละมาก แต่พละอื่นๆ อ่อนไป ย่อมสามารถเรียนรู้พระปริยัติ หรือ พระปรมัตถ์ได้ดี แต่ว่าตัณหา โกสัชชะ มุฏฐะ และวิกเขปะ เหล่านี้มีกําลังทวีมากขึ้น

๖) ผู้ที่มีวิริยะพละและปัญญาพละ เพียง ๒ อย่างเท่านี้ แต่เป็นถึงชนิดอิทธิบาทโดย บริบูรณ์แล้ว การเจริญวิปัสสนาก็ย่อมปรากฏได้

๗) ผู้ที่บริบูรณ์ด้วยสัทธา วิริยะ และสติพละ ทั้ง ๓ นี้ย่อม สามารถที่จะทําการได้ ตลอดเพราะสัทธาพละสามารถประหารปัจจยามิสสตัณหา (ความติดใจ อยากได้ปัจจัย ๔ มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) และโลกามิสสตัณหา (ความติดใจอยาก ได้โลกธรรม ๔ มีลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข) ได้ วิริยพละประหารโกสัชชะ (ความเกียจ คร้าน) ได้ สติพละประหารมุฏฐสติ (ความหลงลืม) ได้ ต่อจากนั้น สมาธิพละและปัญญา พละก็จะปรากฏขึ้นตามกําลัง ตามสมควร

 

๖. โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ คือ เครื่องให้ตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) โพธิเป็นตัวรู้ โพชฌงค์เป็นส่วนที่ให้เกิด ตัวรู้ สิ่งที่รู้อริยสัจ ๔ นั้นคือ มรรคจิต สิ่งที่เป็นผลแห่งการรู้อริยสัจ ๔ นั้นคือ ผลจิต องค์ที่เป็นเครื่องให้รู้อริยสัจ ๔ ที่มีชื่อว่า โพชฌงค์นี้มี ๗ ประการ

 

๗. มรรคมีองค์ ๘

มรรค ๘ คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ ๔ จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการ


พิมพ์