หลวงปู่ดูลย์ อตุโล บรรลุอรหันต์ บิดาแห่งการภาวนาจิต

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล บรรลุอรหันต์ บิดาแห่งการภาวนาจิต

คำสอนพระอริยเจ้า

พระราชวุฒจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

อริยสัจแห่งจิต

 

ในการออกจาริกธุดงค์ จากวัดม่วงไข่ บ้านกุดก้อม อำเภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ในครั้ง นั้น หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พร้อมทั้งพระภิกษุสามเณรวัดม่วงไข่ และ พระภิกษุฝั้น อาจาโร ได้เดินทางรอนแรมไปตามป่าเขาลำเนาไพรไป เรื่อยๆ เพื่อติดตามค้นหา พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต

การเดินทางของหลวงปู่และสานุศิษย์ ไม่มีกำหนดการที่ แน่นอน เดินทางด้วยเท้าไปตลอด บางแห่งก็หยุดพัก ๕ วัน บาง แห่งก็ ๗ วัน ตามแต่สัปปายะและความเหมาะสมในการปรารภ ความเพียรของสถานที่แต่ละแห่ง

การจาริกธุดงค์ครั้งนั้น ถือว่าเป็นครั้งสำคัญของหลวงปู่ เนื่องจากท่านได้ดำรงตนมาสู่การเป็นผู้นำ ทางการปฏิบัติในกลุ่ม พระเณรที่ติดตาม โดยหลวงปู่ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ เหมือนกับ ที่พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ได้ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง

คณะของหลวงปู่ได้จาริกไปถึงถ้ำพระเวสฯ (ถ้ำพระเวสสันดร) ซึ่งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ในท้องที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม แล้วได้พำนักบำเพ็ญภาวนาอยู่ ณ สถานที่นั้นเป็นเวลาค่อนข้างนาน จนตลอดฤดูแล้งนั้น

คณะพระภิกษุสามเณร ลูกศิษย์ลูกหาที่ติดตามหลวงปู่ทุกองค์ ต่างบำเพ็ญเพียรกันอย่างเอาจริงเอาจัง และด้วยใจมุ่งมั่นจนกล่าวได้ ว่าทุกองค์ได้รับผลแห่งการปฏิบัติโดยทั่วกัน

ในการบำเพ็ญภาวนาของหลวงปู่เอง ณ ถ้ำพระเวสฯ แห่งนี้ หลวงปู่ได้เล่าให้สานุศิษย์ใกล้ชิดฟัง ดังนี้

“เราได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อหลักของกัมมัฏฐานที่ได้รับ จากพระอาจารย์ใหญ่ ที่ว่า สพฺเพสงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา ก็บังเกิดความสว่างไสวรู้แจ้งตลอดว่า

เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะไม่ได้ เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป และสภาพแห่ง ความเป็นตัวตนไม่มี ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร”

ดังได้เคยเล่าถึงในตอนต้นแล้วว่า ความรู้ในธรรมะดังกล่าวก็ คือ ความรู้แจ้งในหลัก ปฏิจจสมุปบาท คือ เหตุ และผลของการ เวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง

นอกจากนี้ หลวงปูยั่งได้ค้นพบธรรมะที่เป็นหัวใจ คำสอนใน พระพุทธศาสนา และได้รู้ซึ้งถึงแก่นในเหล่าธรรมทั้งหลาย แล้วสรุป ลงเป็น อริยสัจแห่งจิต ด้วยถ้อยคำ ของหลวงปู่เอง ว่า

 

จิตส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็น สมุทัย

ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็น ทุกข์

จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง   เป็น มรรค

ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็น นิโรธ

"จงทำญาณให้เห็นจิต เมื่อเห็นจิตได้ ก็จะสามารถแยกรูป ถอดด้วยวิชชามรรคจิต เพื่อที่จะแยกรูปกับกายให้อยู่คนละส่วน แล้วจะเข้าใจพฤติของจิตได้ในลำดับต่อไป"

จงทำ “ญาณให้เห็นจิต” เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกต "กิริยาจิต" ไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึง "เหตุปัจจัย" ของ "อารมณ์ความนึกคิด" ต่างๆได้แล้ว

"จิต" ก็จะค่อยๆ "รู้เท่าทัน" การเกิดของ "อารมณ์ต่างๆ" อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆดับไปเรื่อยๆ จน "จิตว่างจาก อารมณ์" แล้ว "จิต" ก็จะเป็น "อิสระ" อยู่ต่างหากจาก "เวทนาของรูปกาย"  ให้รักษาจิต อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง

การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วย "ปัญญาจักษุ"

 

หลวงปู่เล่าว่า “เมื่อพิจารณาตามหลักอริยสัจ ๔ โดยเห็นแจ้ง ดังนี้แล้ว ย่อมหมายถึงการผ่านเลยแห่งความรู้ใน ปฏิจฺจสมุปฺบาท ไปแล้ว เนื่องเพราะความรู้ในเหตุแห่งทุกข์ การดำรงอยู่แห่งทุกข์ และวิธีดับทุกข์นั้น คือ แก่นกลางแท้จริงของปฏิจฺจสมุปฺบาท

ที่สำคัญยิ่งก็คือ ธรรมะใน อริยสัจ ๔ นี้ เป็นธรรมะหมวด แรกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ภายใต้ต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็น ศิษย์ตถาคต ผู้หนึ่งที่สามารถให้ อรรถาธิบายได้อย่างแจ่มแจ้ง


พิมพ์