สิ่งที่ควรรู้

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔

อริยสัจ หรือ จตุราริยสัจ หรือ อริยสัจ ๔ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ

ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์นี้ ในอรรถกถาบางที่เรียกว่า "สามัญลักษณะ ในฐานะเป็นลักษณะร่วม ที่มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ไม่ว่าสังขตะคือสังขาร หรืออสังขตะคือวิสังขาร ก็ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น

ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ หมายถึงตัวตนหรือชีวิตของตน อันประกอบด้วยฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ที่แยกออกเป็น ๕ ขันธ์หรือกอง อันประกอบด้วย รูป(กาย), เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ  ท่านได้แยกให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ว่า ความเป็นตัวตนหรือชีวิตนั้นเป็นสังขารอย่างหนึ่งที่หมายถึงเป็นสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา  จึงย่อมมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา

อายตนะ

อายตนะ

อายตนะ แปลว่า เครื่องติดต่อหรือที่เชื่อมต่อ โดยรวมแล้วหมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อใช้สำหรับในการติดต่อกันระหว่างสิ่งภายนอกและสิ่งภายใน โดยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ อย่างด้วยกัน นั่นก็คือ อายตนะภายนอก ที่หมายถึงสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเรา ๖ อย่าง และอายตนะภายใน หมายถึงสิ่งที่อยู่ภายในตัวเรา ๖ อย่าง โดยทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งที่ต้องคู่กันอยู่เสมอ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

อินทรีย์ ๕

อินทรีย์ ๕

อินทรีย์ ๕ นั้นได้แก่ธรรมะที่เป็นใหญ่เหนือกิเลส หรืออธรรม อกุศลธรรมที่ตรงกันข้าม และธรรมะที่เป็นอินทรีย์นี้เป็นข้อที่กล่าวว่า ผู้นั้นผู้นี้มีอินทรีย์อ่อน มีอินทรีย์แก่กล้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ผู้ฟัง ซึ่งมีอินทรีย์คือธรรมะที่เป็นใหญ่ดั่งนี้ ตามควรแก่อินทรีย์ของเขา เมื่ออินทรีย์ยังอ่อน ก็ทรงสอนให้ปฏิบัติทำอินทรีย์ให้แก่กล้าขึ้น และก็ทรงแสดงธรรมะโปรดไปโดยลำดับ แม้ผู้ที่เข้ามาบวชปฏิบัติเพื่อความพ้นกิเลสและกองทุกข์

ธาตุ

ธาตุ

ธาตุ ๔ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง คือมีอยู่โดยธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีอัตตา มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ เป็นส่วนประกอบของรูปขันธ์ หรือส่วนประกอบของชีวิตที่เป็นสสาร เช่น ส่วนที่เป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอ็น เนื้อ โลหิต น้ำเหลือง เป็นต้น ธาตุ ๔ หรือมหาภูตรูป (รูปใหญ่หรือร่างกายกาย คือ ส่วนประกอบที่สามารถมองเห็นได้และจับต้องได้ สัมผัสได้ ร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔

สังโยชน์

สังโยชน์

สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสที่ผู้กใจสัตว์หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับ ทุกข์ในสังสารวัฏฏ์เหมือนผู้กเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง

ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย ๑๒ เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับ

โพชฌงค์

โพชฌงค์

โพธิยาองฺโค โพชฺฌงฺโค ฯ องค์ที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ (อริยสัจจ ๔) นั้นชื่อ ว่า โพชฌงค์ โพธิ เป็นตัวรู้ โพชฌงค์ เป็นส่วนที่ให้เกิดตัวรู้ สิ่งที่รู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ มัคคจิต สิ่งที่เป็นผลแห่งการรู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ ผลจิต องค์ที่เป็นเครื่องให้รู้อริยสัจจ ๔ ที่มีชื่อว่า โพชฌงค์นี้มี ๗ ประการ

นิพพาน

นิพพาน

นิพพาน หมายถึง การดับหรือการหมดสิ้นไปของสังสารทุกข์ อันเป็นวนเวียนของกิเลส (กิเลสวัฏ) เป็นวนเวียนของกรรม (กรรมวัฏ) และวนเวียนของวิบาก (วิปากวัฏ)

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หลักธรรมแห่งความตรัสรู้

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หลักธรรมแห่งความตรัสรู้

โพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการ

๖ ขั้นตอนสู่การบรรลุนิพพาน บทความเดียวเหมือนอ่านทั้งเว็บ ( Guideline )

๖ ขั้นตอนสู่การบรรลุนิพพาน บทความเดียวเหมือนอ่านทั้งเว็บ ( Guideline )

๑. ทาน ๒. การรักษาศีล ๓. สมาธิ (สมถภาวนา) ๔. ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) ๕. วิปัสสนาญาณ ๖. มรรคผลนิพพาน

อนุปุพพิกถา ๕ และ อริยสัจ ๔ - การศึกษาตามลำดับลุ่มลึกลงสู่การพ้นทุกข์

อนุปุพพิกถา ๕ และ อริยสัจ ๔ - การศึกษาตามลำดับลุ่มลึกลงสู่การพ้นทุกข์

พระธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลําดับ จนจิตของบุคคลนั้นพร้อมที่จะเข้าใจในสัจธรรม จึงทรงแสดงอริยสัจธรรม ๕ อันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

เนกขัมมานิสังสกถา - การออกจากกาม

เนกขัมมานิสังสกถา - การออกจากกาม

ผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิด เพลินติดอยู่ในกาม มีฉันทะที่จะแสวงหาความดีงาม และความสุขสงบ ที่ประณีตยิ่งขึ้น การออกบวชเป็นบรรพชิต และการพ้นจากทุกข์ในอบาย

กรรม

กรรม

กรรม แปลว่า การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม

บรรลุนิพพาน

Nirvana Attain (บรรลุนิพพาน) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหน้าที่ของเราชาวพุทธบริษัท เพื่อหวังสืบทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์และพระอริยสงฆ์สาวกให้สืบต่อออกไปนานที่สุด โดยเนื้อหาจะประกอบด้วย "ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ" เพื่อให้ครบถ้วนสมบูณ์ในทุกแง่ของพระธรรมคำสอน โดยหวังว่าท่านทั้งหลายจะได้รับรสพระธรรมที่ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ค้นหาข้อมูล